เรือนไทย

General Category => ประวัติศาสตร์โลก => ข้อความที่เริ่มโดย: เทาชมพู ที่ 23 เม.ย. 22, 08:36



กระทู้: ้ขอความรู้เรื่องจีน จาก คุณ Wu Zetian และท่านอื่นๆ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 23 เม.ย. 22, 08:36
กำลังคิดถึงคุณ Wu Zetian อยู่ทีเดียว   เพราะมีเรื่องจีนจะต้องรบกวนขอความรู้
ส่วนท่านอื่นๆในเรือนไทย ถ้าหากว่าทราบก็กรุณาเข้ามาร่วมวงตอบด้วยนะคะ
ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

เรื่องมีอยู่ว่า  ดิฉันกำลังอ่านประวัติของท่านผู้ใหญ่ท่านหนึ่งที่ให้เกียรติดิฉันเขียนคำนิยม ในหนังสืออัตชีวประวัติของท่าน
ในต้นฉบับ  ท่านเล่าถึงบรรพบุรุษของท่านที่อพยพทิ้งบ้านเดิมจากจีนเข้ามาในสยาม ประมาณรัชกาลที่ 3  
ในบรรดาทรัพย์สินที่นำติดตัวมาจากบ้านเดิมที่ปักกิ่ง มีผ้าผืนนี้รวมอยู่    เป็นสมบัติตกทอดที่ลูกหลานเก็บรักษาไว้อย่างดี
เจ้าของหนังสือเรียกของชิ้นนี้เป็นภาษาอังกฤษ ว่า shoulder pad   แต่ดิฉันไปถาม ดร.ทางภาษาจีน (ที่เป็นคนไทย) เธอบอกว่า เรียกว่า พีหลิ่ง  เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องยศของเจ้านายจีนที่เป็นชาย

ข้อนี้สอดคล้องกับคำตอบที่ผู้เชี่ยวชาญทางปักกิ่งส่งมาให้ลูกหลานท่าน   เมื่อสอบถามไปเกี่ยวกับผ้าผืนนี้  ว่าเป็นบ่าเกียรติยศ น่าจะสวมใส่บนเสื้อคลุมได้เฉพาะผู้ที่เป็นเจ้าในราชวงศ์ชิง  ระดับรองลงมาจากจักรพรรดิ  อาจเป็นอ๋องหรือ junwang ในสมัยราชวงศ์ชิง  

ปัญหาคือ ท่านผู้นี้ใช้แซ่ว่า แซ่จู   สอดคล้องกับแซ่เดิมของราชวงศ์หมิง   แต่ในสมัยราชวงศ์ชิง ไม่มีเจ้านายชิงใช่แซ่จู   ดังนั้น คนแซ่จูจะมีเครื่องยศของราชวงศ์ชิงเป็นสมบัติที่ท่านหวงแหนถึงกับนำติดตัวมาด้วย  ด้วยเหตุผลใด
คุณ  Wu Zetian  อ่านแล้ว พอสันนิษฐานได้บ้างไหมคะ


กระทู้: ้ขอความรู้เรื่องจีน จาก คุณ Wu Zetian และท่านอื่นๆ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 23 เม.ย. 22, 10:43
ขอเล่าเรื่องราชวงศ์ชิงไปพลางๆก่อน ค่ะ

ราชวงศ์ชิง หรือบางครั้งเรียกว่า ราชวงศ์แมนจู ปกครองแผ่นดินจีนต่อจากราชวงศ์หมิง และถือเป็นราชวงศ์สุดท้ายของประเทศจีน ตั้งแต่ ค.ศ. 1636 ถึง ค.ศ. 1912
ราชวงศ์ชิงไม่ได้ก่อตั้งโดยชาวฮั่นซึ่งเป็นชนส่วนใหญ่ของประเทศจีน แต่เป็นชาวแมนจูซึ่งอาศัยอยู่ในเขตแมนจูเรีย ทางตะวันออกเฉียงเหนือของสาธารณรัฐประชาชนจีนในปัจจุบัน ในสมัยโน้น ชาวแมนจูเป็นเพียงชนกลุ่มน้อยเร่ร่อนทางตะวันออกเฉียงเหนือของจีน ซึ่งยังไม่มีคนรู้จักมากนั้น ในช่วงที่ราชวงศ์หมิงของชาวจีนฮั่นอยู่ในสภาพอ่อนแอ เกิดจลาจลและการเมืองไร้เสถียรภาพ

ราชวงศ์ชิงนั้นได้ก่อตั้งโดยชนเผ่าหนู่เจิน โดยตระกูลอ้ายซินเจว๋หลัวเป็นผู้นำ ตั้งอยู่ในดินแดนแมนจูเรีย ในปลายศตวรรษที่สิบหก นู่เอ๋อร์ฮาชื่อ ผู้นำเผ่าหนู่เจินได้แข็งข้อไม่ยอมขึ้นกับราชวงศ์หมิงและได้เริ่มจัดตั้งกองทัพแปดกองธงขึ้น ซึ่งเป็นกองทัพที่รวมเผ่าต่าง ๆ เข้าด้วยกัน อันได้แก่ ชาวหนู่เจิน, ชาวจีนฮั่นและ ชาวมองโกล นู่เอ๋อร์ฮาชื่อ ได้รวมเผ่าหนู่เจินเป็นปึกแผ่นและเปลี่ยนชื่อเป็น แมนจู
นู่เอ๋อร์ฮาชื่อ ถือได้ว่าเป็นผู้นำชาวแมนจูคนแรกที่ได้ถือโอกาสรวบรวมกำลังพล ในปี ค.ศ. 1637 หฺวัง ไถจี๋ โอรสของนู่เอ๋อร์ฮาชื่อ ได้นำกองทัพขับไล่กองทัพราชวงศ์หมิงออกจากคาบสมุทรเหลียวตง และก่อตั้งราชวงศ์ใหม่ ชื่อว่า ราชวงศ์ชิง

ในปี ค.ศ. 1636 ได้เกิดกบฎชาวนานำโดย หลี่ จื้อเฉิง นำกำลังเข้ายึดกรุงปักกิ่ง เมืองหลวงของราชวงศ์หมิง นำไปสู่การล่มสลายของราชวงศ์หมิง หลี่ จื้อเฉิงได้ตั้งตนเองเป็นจักรพรรดิก่อตั้งราชวงศ์ชุนขึ้นมาแทน แต่เป็นระยะสั้นๆ ราชวงศ์ชุนก็พ่ายแพ้กองทัพแมนจู  จนราชวงศ์ชุนล่มสลาย

จักรพรรดิแมนจูได้ปกครอบจีน สถาปนาอาณาจักรต้าชิงขึ้นมาแทน    ชาวแมนจูได้เข้าปกครองมีอำนาจเหนือชาวฮั่น

รัชสมัยจักรพรรดิเฉียนหลงแห่งต้าชิง  ถือเป็นยุคทองที่รุ่งเรืองของราชวงศ์ชิง พระองค์มีพระราชประสงค์ที่จะขยายอาณาเขตของจักรวรรดิต้าชิงโดยรวมเอเชียกลางและบางส่วนของ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ พม่าและเวียดนาม สิ่งนำไปสู่การรบครั้งใหญ่หรือที่เรียกว่า สิบการทัพใหญ่ ตลอดรัชสมัยของจักรพรรดิเฉียนหลงมีการใช้ระบบรัฐบรรณาการหรือจิ้มก้อง โดยจะมีการเรียกเครื่องราชบรรณาการจากบรรดาประเทศเพื่อนบ้าน

ราชวงศ์ชิงปกครองจีนมาจนถึงยุคล่าอาณานิคมของยุโรป   จักรวรรดิอังกฤษเป็นชาติแรกที่นำฝิ่นมามอมเมาชาวจีนทำให้ราชสำนักชิงอ่อนแอลง   นำไปสู่สงครามฝิ่นถึง 2 ครั้ง  ราชวงศ์ชิงเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ทำให้ต้องสูญเสียเกาะฮ่องกงแก่อังกฤษ อีกทั้งต้องทำสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมจำนวนมากกับชาติตะวันตก
จีนต้องเสียเกาะมาเก๊าให้โปรตุเกส รวมถึงเสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขต นอกจากนี้ ราชวงศ์ชิงยังพ่ายแพ้สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่ง ซึ่งทำให้จีนสูญเสียเกาหลีและเกาะไต้หวัน แก่ญี่ปุ่น อีกทั้งการเกิดกบฎนักมวย ในปี พ.ศ. 2442 ทำให้ชาวจีนรู้สึกอัปยศอดสูเป็นอย่างมาก จักรพรรดิกวางสูได้ทรงพยายามทำการปฏิรูปพัฒนาประเทศให้ทันสมัยแต่แผนการของพระองค์กลับถูกทำลายลงโดย พระนางซูสีไทเฮา ซึ่งถือเป็นผู้ขัดขวางการพัฒนาสู่สมัยใหม่ของจักรวรรดิต้าชิง

ตลอดระยะเวลาที่ราชวงศ์ชิงระส่ำระส่าย  ชาวจีนถูกชาวตะวันตกและญี่ปุ่น ขนานนามว่าเป็น "ขี้โรคแห่งเอเชีย" ทำให้ชาวจีนบางส่วนต้องการกอบกู้ศักดิ์ศรีของประเทศ โดยเปลี่ยนแปลงประเทศจากระบอบกษัตริย์เป็นประชาธิปไตย โดยมีขบวนการถงเหมิงฮุ่ย มี ดร. ซุน ยัตเซ็น เป็นผู้นำ

ราชวงศ์ชิงครองแผ่นดินจีนจนถึงปี พ.ศ. 2454 (ตรงกับรัชกาลที่ 6 ของไทย)  เกิดการปฏิวัติซินไฮ่ซึ่งเป็นการลุกฮือต่อต้านราชวงศ์ชิง ราชวงศ์ชิงถูกยึดอำนาจในปีนั้น และใน พ.ศ. 2455 จักรพรรดิผู่อี๋ จักรพรรดิองค์สุดท้ายถูกบังคับให้สละราชสมบัติ ถือเป็นจุดอวสานของราชวงศ์ชิง และการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่ยาวนานมากกว่า 5,000 ปี
 
ขบวนการถงเหมิงฮุ่ยได้เปลี่ยนแปลงประเทศนำไปสู่การปกครองแบบประชาธิปไตย   มีชื่อประเทศว่า สาธารณรัฐจีน


กระทู้: ้ขอความรู้เรื่องจีน จาก คุณ Wu Zetian และท่านอื่นๆ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 23 เม.ย. 22, 10:51
ภาพนี้คือเจ้าชายในราชวงศ์ชิง ชื่อ  Yinxiang (1686–1730), the first Prince Yi  ชื่อไทยว่าอะไรยังไม่ได้ไปค้น
รู้แต่ว่าเป็นโอรสองค์ที่ 13 ของจักรพรรดิคังซี หรือเรียกว่าองค์ชาย 13  ตามหนังจีนก็ได้ 
เอารูปมาให้ดูฉลองพระองค์ขององค์ชาย 13   มองเห็นผ้าคลุมบ่าพีหวิ่น  น่าจะแบบเดียวกับที่เป็นปริศนาอยู่ในกระทู้นี้ค่ะ


กระทู้: ้ขอความรู้เรื่องจีน จาก คุณ Wu Zetian และท่านอื่นๆ
เริ่มกระทู้โดย: Wu Zetian ที่ 23 เม.ย. 22, 22:21
1.บ่าเกียรติยศ (ผ้าคลุมไหล่) ในภาพ ภาษาจีนกลางเรียกว่า พี-เจียน (披肩) หรือเรียกว่า อวิ๋น-เจียน (云肩) ครับ
สืบค้นจาก https://m.sohu.com/a/327282515_120048357/?pvid=000115_3w_a#read

2.องค์ชาย 13 ที่เป็นพระโอรสของคังซีฮ่องเต้ ชื่อว่า อี๋ชินหวัง ซึ่งมีพระนามเดิมว่าอิ้นเสียง (胤祥) ครับ
สืบค้นจาก https://th.m.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87

3.ท่านผู้นี้ใช้แซ่ว่า แซ่จู   สอดคล้องกับแซ่เดิมของราชวงศ์หมิง   แต่ในสมัยราชวงศ์ชิง ไม่มีเจ้านายชิงใช้แซ่จู   ดังนั้น คนแซ่จูจะมีเครื่องยศของราชวงศ์ชิงเป็นสมบัติที่ท่านหวงแหนถึงกับนำติดตัวมาด้วย  ด้วยเหตุผลใด

ข้อมูลนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวนะครับ : คนแซ่จู (ชาวจีนเชื้อสายฮั่น) มีเครื่องยศของราชวงศ์ชิง (ชาวจีนเชื้อสายแมนจู) ได้อาจจะเป็นเพราะว่าเป็นการอภิเษกสมรสกันระหว่างชนชั้นสูง (กุ้ยจู贵族) ของชาวจีนเชื้อสายแมนจูกับชาวจีนเชื้อสายฮั่นที่มีบรรพชนสืบเชื้อสายมาจากจูหยวนจาง (ฮ่องเต้ที่สถาปนาราชวงศ์หมิง 朱元璋) ในสมัยนั้นก็อาจจะเป็นได้ครับ

สมัยรัชกาลที่ 3 ของไทย ตรงกับรัชสมัยของเต้ากวังฮ่องเต้ (道光皇帝) (พ.ศ.2367-2394 = ค.ศ.1824-1851) สมัยเต้ากวังฮ่องเต้สภาพบ้านเมืองอ่อนแอ มีสงครามฝิ่นครั้งที่ 1 และกบฏไท่ผิงครับ



กระทู้: ้ขอความรู้เรื่องจีน จาก คุณ Wu Zetian และท่านอื่นๆ
เริ่มกระทู้โดย: Wu Zetian ที่ 23 เม.ย. 22, 23:37
พอดีผมค้นข้อมูลเพิ่มเติมคิดว่าไม่น่าจะเป็นเรื่องของการสมรสระหว่างชนชั้นสูงครับ เนื่องจากชนชั้นสูงที่มีเชื้อชาติแมนจูและฮั่นไม่น่าจะสมรสกันได้เพราะเป็นจารีตของสังคมในสมัยนั้นครับ ผมจึงขอแสดงความคิดเห็นส่วนตัวเพิ่มเติมใหม่ ดังนี้ครับ

3.ท่านผู้นี้ใช้แซ่ว่า แซ่จู   สอดคล้องกับแซ่เดิมของราชวงศ์หมิง   แต่ในสมัยราชวงศ์ชิง ไม่มีเจ้านายชิงใช้แซ่จู   ดังนั้น คนแซ่จูจะมีเครื่องยศของราชวงศ์ชิงเป็นสมบัติที่ท่านหวงแหนถึงกับนำติดตัวมาด้วย  ด้วยเหตุผลใด

ข้อมูลนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวนะครับ : คนแซ่จู (ชาวจีนเชื้อสายฮั่น) มีเครื่องยศของราชวงศ์ชิง (ชาวจีนเชื้อสายแมนจู) ได้อาจจะเป็นเพราะว่าช่วงเวลานั้นราชสำนักอ่อนแอจึงทำให้สมบัติของชนชั้นสูงในราชสำนักชิงไปตกอยู่ในการครอบครองของชนชั้นสูงแซ่จูที่มีอำนาจอยู่ในขณะนั้น ทั้งนี้ ชาวจีนชนชั้นสูงแซ่จูผู้นี้เป็นชาวจีนเชื้อสายฮั่นผู้ที่สืบทอดเชื้อสายมาจากจูหยวนจางฮ่องเต้ที่สถาปนาราชวงศ์หมิง 朱元璋) ก็อาจจะเป็นไปได้ครับ

สมัยรัชกาลที่ 3 ของไทย ตรงกับรัชสมัยของเต้ากวังฮ่องเต้ (道光皇帝) (พ.ศ.2367-2394 = ค.ศ.1824-1851) สมัยเต้ากวังฮ่องเต้สภาพบ้านเมืองอ่อนแอ มีสงครามฝิ่นครั้งที่ 1 และกบฏไท่ผิงครับ

ผมไม่แน่ใจว่าข้อสันนิษฐานจะถูกต้องไหมครับ เพราะผมไม่ชำนาญด้านประวัติศาสตร์จีนครับ ดังนั้นผมจึงขอให้ท่านผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์จีนมาช่วยให้ความกระจ่างนะครับ ขอบพระคุณล่วงหน้าครับ


กระทู้: ้ขอความรู้เรื่องจีน จาก คุณ Wu Zetian และท่านอื่นๆ
เริ่มกระทู้โดย: Wu Zetian ที่ 23 เม.ย. 22, 23:53
ภาพ : บ่าเกียรติยศราชสำนักชิงจากเว็บไซต์นี้ มีลักษณะคล้ายคลึงกับภาพในกระทู้มาก ๆ ครับ
https://m.sohu.com/a/327282515_120048357/?pvid=000115_3w_a#read


กระทู้: ้ขอความรู้เรื่องจีน จาก คุณ Wu Zetian และท่านอื่นๆ
เริ่มกระทู้โดย: ธสาคร ที่ 24 เม.ย. 22, 06:44
การนำสัญลักษณ์มังกรมาใช้ ไม่ว่าจะเป็นรูปวาด รูปปั้น หรือประดับตามข้าวของเครื่องใช้ หากเป็นของจักรพรรดิ มังกรจะมี 5 เล็บ ของขุนนางจะมี 4 เล็บ ถ้าสามัญชนจะมี 3 เล็บเท่านั้น
.
จำนวนเล็บของมังกรแต่ละตัวจะไม่เท่ากัน มังกรที่ยิ่งใหญ่จึงจะมี 5 เล็บ นอกนั้นก็จะเป็น 4 เล็บหรือ 3 เล็บ
.
ในวังมีคนสวม "ฉลองพระองค์มังกร" ได้3คนเท่านั้น คือพระราชา(มังกร5เล็บ) , รัชทายาท(4เล็บ) โอรสองค์โตของรัชทายาท(3เล็บ)
.
3ข้อความข้างบน..ผมหาจากอินเตอร์เนต เพื่อสอบทานกับสิ่งที่ผมรู้อยู่เดิม ในประเด็นจำนวนเล็บของมังกร
รูปพีหลิ่งของคุณเทาชมพู ผมนับจำนวนเล็บไม่ได้ถนัดนัก แต่คิดว่าไม่4ก็5 ซึ่งเป็นระดับสูงมาก
ผมสันนิษฐานว่า พีหลิ่งผืนนี้เป็นของพระราชทาน เพื่อเป็นรางวัล
ไม่มีทางที่คนแซ่จู จะเป็นฮ่องเต้ หรือรัชทายาท ในราชวงศ์ชิง


กระทู้: ้ขอความรู้เรื่องจีน จาก คุณ Wu Zetian และท่านอื่นๆ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 24 เม.ย. 22, 17:10
ภาพ : บ่าเกียรติยศราชสำนักชิงจากเว็บไซต์นี้ มีลักษณะคล้ายคลึงกับภาพในกระทู้มาก ๆ ครับ
https://m.sohu.com/a/327282515_120048357/?pvid=000115_3w_a#read
ขอบคุณมากค่ะ
หน้าที่คุณ Wu  ลิ้งค์มาให้เป็นภาษาจีนล้วนๆ ดิฉันเลยอ่านไม่ออก
ขอถามว่าภาพในหน้านี้เป็นภาพใครคะ


กระทู้: ้ขอความรู้เรื่องจีน จาก คุณ Wu Zetian และท่านอื่นๆ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 24 เม.ย. 22, 17:29
การนำสัญลักษณ์มังกรมาใช้ ไม่ว่าจะเป็นรูปวาด รูปปั้น หรือประดับตามข้าวของเครื่องใช้ หากเป็นของจักรพรรดิ มังกรจะมี 5 เล็บ ของขุนนางจะมี 4 เล็บ ถ้าสามัญชนจะมี 3 เล็บเท่านั้น
.
จำนวนเล็บของมังกรแต่ละตัวจะไม่เท่ากัน มังกรที่ยิ่งใหญ่จึงจะมี 5 เล็บ นอกนั้นก็จะเป็น 4 เล็บหรือ 3 เล็บ
.
ในวังมีคนสวม "ฉลองพระองค์มังกร" ได้3คนเท่านั้น คือพระราชา(มังกร5เล็บ) , รัชทายาท(4เล็บ) โอรสองค์โตของรัชทายาท(3เล็บ)
.
3ข้อความข้างบน..ผมหาจากอินเตอร์เนต เพื่อสอบทานกับสิ่งที่ผมรู้อยู่เดิม ในประเด็นจำนวนเล็บของมังกร
รูปพีหลิ่งของคุณเทาชมพู ผมนับจำนวนเล็บไม่ได้ถนัดนัก แต่คิดว่าไม่4ก็5 ซึ่งเป็นระดับสูงมาก
ผมสันนิษฐานว่า พีหลิ่งผืนนี้เป็นของพระราชทาน เพื่อเป็นรางวัล
ไม่มีทางที่คนแซ่จู จะเป็นฮ่องเต้ หรือรัชทายาท ในราชวงศ์ชิง

ขอบคุณมากค่ะคุณธสาคร ที่เข้ามาร่วมวงให้ความรู้    ดิฉันพยายามนับเล็บมังกรอยู่หลายเที่ยว   เห็น 4 เล็บค่ะ

ทีนี้ ถ้าผ้าผืนนี้เป็นของพระราชทาน   งั้นผู้ที่ได้รับควรจะอยู่ในฐานะไหนในสังคมจีน ถึงได้รับพระราชทานได้ 

คือดิฉันเข้าใจว่า ฮ่องเต้คงไม่พระราชทานชาวบ้านร้านถิ่นที่ไม่อาจจะสวมใส่ผ้าผืนนี้ได้  จะรับมาแล้วเอาไปใส่กรอบ หรือเก็บลงหีบก็ดูไม่คุ้มเอาเลย  งั้นพระราชทานเงินทองเสียไม่ดีกว่าหรือ เขาได้เอาไปใช้ได้
คนที่ได้รับจากฮ่องเต้จะต้องเป็นคนที่สวมใส่บ่าเกียรติยศนี้ได้   ถึงพระราชทาน

การที่ท่านจูหอบหิ้วบ่าเกียรติยศ เมื่ออพยพออกจากประเทศจีนมาตั้งตัวใหม่ในต่างแดน   ก็แสดงว่าผ้าผืนนี้มีความสำคัญกับท่านมาก   จนละทิ้งไว้ข้างหลังไม่ได้   

ขอเพิ่มเติมข้อมูลเกี่ยวกับท่านจู ให้คุณ Wu  และคุณธสาครได้ทราบ เผื่อเกิดความคิดวิเคราะห์เพิ่มเติมนะคะ

คือลูกหลานเล่าต่อกันมาว่า เดิมท่านจูมีบ้านหลังใหญ่อยู่ในกรุงปักกิ่ง   ปัจจุบันเป็นพิพิธภัณฑ์ไปแล้ว แต่ยังสืบหาไม่พบว่าที่ไหน   พิพิธภัณฑ์ในปักกิ่งที่เดิมเป็นบ้านน่าจะมีหลายแห่ง
ท่านจูไม่ได้เดินทางมาอย่างนักแสวงโชค เสื่อผืนหมอนใบอย่างคนจีนส่วนใหญ่ที่มาสยามในสมัยรัชกาลที่ 3  แต่ท่านเอาเรือสำเภาลำใหญ่พร้อมกับทรัพย์สินเงินทอง   เดินทางลงทะเลจีนใต้ไปตั้งถิ่นฐานที่อินโดนีเซียก่อน อยู่นั่น 2-3 ปี สมรสกับหญิงชาวอินโด   แล้วจึงอพยพมาสยามประมาณปลายรัชกาลที่ 3   ตั้งห้างค้าขายอยู่ในกรุงเทพที่ถนนเจริญกรุง 
แต่มาถึงลูกหลานรุ่นหลังๆไม่ได้ค้าขายแล้วค่ะ ไปมีตำแหน่งการงานทางราชการกันแทน
ตระกูลท่านจูสนับสนุนให้ลูกหลานได้เรียนสูงๆค่่ะ  ไปเรียนเมืองนอกกันเกือบทั้งนั้น
พอสันนิษฐานได้เพิ่มเติมไหมคะ



กระทู้: ้ขอความรู้เรื่องจีน จาก คุณ Wu Zetian และท่านอื่นๆ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 24 เม.ย. 22, 20:17
https://m.sohu.com/a/327282515_120048357/?pvid=000115_3w_a#read
หน้าที่คุณ Wu  ลิ้งค์มาให้เป็นภาษาจีนล้วนๆ ดิฉันเลยอ่านไม่ออก
ขอถามว่าภาพในหน้านี้เป็นภาพใครคะ

เป็นภาพจากซีรีย์จีนเรื่อง 延禧攻略 (Story of Yanxi Palace) ชื่อไทยคือ เล่ห์รักวังต้องห้าม

ในภาพคือ จักรพรรดิเฉียนหลง (乾隆皇帝) แห่งราชวงศ์ชิง แสดงโดย เนี่ยหยวน (聂远)


กระทู้: ้ขอความรู้เรื่องจีน จาก คุณ Wu Zetian และท่านอื่นๆ
เริ่มกระทู้โดย: ธสาคร ที่ 25 เม.ย. 22, 00:39
จากละครโทรทัศน์เรื่องอุ้ยเสี่ยวป้อ ฮ่องเต้คังซีพระราชทานเสื้อเหลืองให้อุ้ยเสี่ยวป้อ เพื่อไปปฏิบัติราชการเสี่ยงภัย นัยว่าเพื่อเป็นขวัญกำลังใจ // ประวัติศาสตร์แท้ๆจะเป็นเช่นละครโทรทัศน์หรือไม่..ผมก็ไม่ทราบ // แต่ที่เก็บสาระจากละครได้คือ การพระราชทานของใช้ส่วนพระองค์แก่ขุนนาง (หมายถึงพระราชทานและอนุญาตให้ใช้สิ่งนั้นได้) เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ แม้จะเป็นเพียงบทประพันธ์ละคร ก็คงมีมูลอยู่บ้าง
.
หากพีหวิ่นผืนนั้นเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตราชการ ผู้รับพระราชทานก็จะผูกพันมากหน่อย // หากได้รับพระราชทานเป็นรางวัลเฉยๆ ในทำนองคนโปรด ผู้รับพระราชทานน่าจะไม่กล้านำมาสวมใส่ ด้วยความเจียมตน และที่สำคัญราชภัยอาจมาเยือนได้(ยามชังกัน บ่แลเหลียว นั่นแฮ) // สมมติว่าผมได้รับพระราชทานผ้าซับพระพักตร์ของเจ้านายพระองค์หนึ่ง ผมคงเก็บรักษาไว้ ไม่นำมาใช้งานครับ แต่ถ้าได้รับพระราชทานที่ดิน อันหลังนี้กล้าใช้ครับ (ฮา)
**ไม่ทราบว่าเรียก พีหลิ่ง หรือ พีหวิ่น เพราะคุณเทาชมพูกล่าวไว้2แห่ง มีความแตกต่างกัน
.
คนไทยส่วนใหญ่รวมทั้งผมด้วย รู้ประวัติศาสตร์จีนผ่านวรรณกรรม งิ้ว ละครโทรทัศน์ // ซึ่งมันไม่ใช่ประวัติศาตร์ตัวจริง // ทำนองคนจีนดูภาพยนตร์พันท้ายนรสิงห์ ตำนานสมเด็จพระนเรศวร แล้วทึกทักว่าเป็นประวัติศาสตร์ทั้งดุ้น // ผมคิดว่ายังมีคนจำนวนมากที่เชื่อว่า สามก๊กที่แพร่หลายทางสื่อทั่วไปเป็นประวัติศาสตร์แท้ // หลายคนเชื่อว่า ผู่อี้ มีชีวิตที่ยากลำบากตามภาพยนตร์เรื่อง The Last Emperor // เรื่องขุนศึกตระกูลหยาง ที่ผมเชื่อสนิทใจเมื่อวัยเด็กว่าเป็นประวัติศาสตร์นั้น ผมเพิ่งเข้าใจเมื่อไม่กี่ปีนี้เองว่าเป็นเรื่องแต่งแทบทั้งหมด (แบบว่าจู่ๆก็ประหวัดขึ้นมา แล้วก็เข้าใจขึ้นมาเอง) // พ่อผมเล่าว่า เมื่อนานมากๆมาแล้ว เคยมีคนแก่คนหนึ่งเอาไม้เท้ามาไล่ตีข้าราชการบนที่ว่าการอำเภอ (หน่วยงานราชการคงไปทำอะไรที่ขัดใจแก) ปกติของคนยุคกระโน้นจะกลัวข้าราชการ แต่แกกล้ากระทำอุกอาจบนที่ว่าการอำเภอ เรื่องเล่านี้จบลงด้วยความขำขันว่า ผู้เฒ่าคนนี้ได้รับพระราชทานไม้เท้าจากรัชกาลที่5 เมื่อคราวเสด็จประพาสต้น แกก็เก็บเงียบไม่ได้นำมาอวดใคร จนเกิดเหตุการณ์ดังที่เล่าไปแล้ว // ผู้เฒ่าคนนี้คงดูงิ้วเรื่องขุนศึกตระกูลหยาง ความตอนหนึ่งว่า แม่เฒ่าแห่งตระกูลหยางนำไม้เท้าหัวมังกร(ได้รับพระราชทานจากฮ่องเต้องค์ก่อน) จะไปตีสั่งสอนฮ่องเต้องค์ปัจจุบันโทษฐานเชื่อฟังขุนนางสอพลอ
.
หากข้อมูลแน่ชัดว่า ฉลองพระองค์ปักลายมังกร4เล็บเป็นสิทธิของรัชทายาทเท่านั้น การสันนิษฐานจะบีบวงแคบลงมาก // ไม่ใช่ซุ่นจื้อ(ฮ่องเต้องค์แรก)..เพราะครองราชย์ตั้งแต่ยังเด็ก // ไม่ใช่คังซี..เพราะครองราชย์ตั้งแต่ยังเด็ก // ไม่ใช่หย่งเจิ้น..เพราะมีปัญหาเรื่องการแย่งชิงราชบัลลังก์ ดังละครโทรทัศน์เรื่องศึกสายเลือด // อาจเป็นเฉียนหลง หรือเจียชิ่ง องค์ใดองค์หนึ่ง // เป็นเต้ากวงได้ยากหน่อย เพราะครองราชย์เกือบจะพร้อมกับรัชกาลที่3ของไทย ครั้นจะรับพระราชทานพีหวิ่นจากเต้ากวงตอนเป็นรัชทายาท แล้วลาออกจากราชการ อพยพมาสยามตอนเต้ากวงได้ขึ้นครองราชย์ ก็จะฟังทะแม่งๆ // ส่วนฮ่องเต้องค์หลังจากนี้ไม่ต้องพูดถึง เพราะอพยพออกมาแล้ว
.
บทความบางที่กล่าวว่า การแต่งตั้งรัชทายาทของราชวงศ์ชิง กระทำเป็นการลับแบบพินัยกรรม ฉะนั้นข้อสันนิษฐานดังย่อหน้าบนก็จะลดความขลังลงไปนิด // ใครมีสิทธิสวมฉลองพระองค์มังกร4เล็บ? อาจเป็นเพียงเจ้าชายองค์ใดองค์หนึ่งที่ไม่ใช่ฮ่องเต้ในอนาคต
.
ผมเชื่อว่าบรรพบุรุษตระกูลจู เป็นขุนนางครับ // การพระราชทานของใช้ส่วนพระองค์ บ่งบอกถึงความสนิทสนม ถวายงานใกล้ชิด // หากบรรพบุรุษตระกูลจู เป็นวรรณะพ่อค้า สิ่งของพระราชทานน่าจะเป็นสัมปทาน หรือป้ายชื่อร้าน คงถูกอกถูกใจพ่อค้ามากกว่าพีหวิ่น // จากการอ่านประวัติ"สิบสามห้าง"เมืองกวางโจว และดูละครโทรทัศน์ประวัติพ่อค้าใหญ่ชื่อเฉียวจื้อหย่ง แห่งเมืองไท่หยวน ทางราชสำนักจีนไม่ไยดีวรรณะพ่อค้าซักเท่าไร


กระทู้: ้ขอความรู้เรื่องจีน จาก คุณ Wu Zetian และท่านอื่นๆ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 25 เม.ย. 22, 10:26
กลับไปอ่าน บ่าเกียรติยศเรียกว่า "พีหลิ่ง" ค่ะ
ได้ข้อมูลเพิ่มมาว่า พีหลิ่งแบบนี้ ถ้าขุนนางสวมใส่ก็ต้องเป็นขุนนางชั้นอัครมหาเสนาบดี

อ้างถึง
สมมติว่าผมได้รับพระราชทานผ้าซับพระพักตร์ของเจ้านายพระองค์หนึ่ง ผมคงเก็บรักษาไว้ ไม่นำมาใช้งานครับ
เห็นด้วยค่ะ  คือถ้าเป็นของใช้ส่วนตัวที่ไม่เกี่ยวกับราชการ ก็เป็นไปได้แน่นอน เช่นไม้เท้า อย่างไม้เท้าพระราชทานที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯพระราชทานให้พวก "เพื่อนต้น"  (เช่นคุณตาคนที่ไล่ตีข้าราชการบนอำเภอนั่นแหละ)
ทีนี้ พีหลิ่ง ไม่ใช่ของส่วนตัว  ไม่ใช่ผ้าพันคอ  ถุงมือหรือถุงเท้าส่วนพระองค์ของฮ่องเต้  เป็นส่วนหนึ่งของฉลองพระองค์เต็มยศ   ฮ่องเต้จะพระราชทานขุนนางที่ไม่มีสิทธิ์แต่งเครื่องยศนี้ทำไม   

อ้อ  นึกถึงหนังจีนทางทีวีขึ้นมาได้เรื่องหนึ่ง นมนานมากแล้ว   จะเป็นศึกสองนางพญา หรือแปดเทพอสูรมังกรฟ้า อะไรก็จำไม่ได้  มีตัวละครที่ได้รับพระราชทานฉลองพระองค์จากฮ่องเต้  ทีนี้ถูกจับไปประหาร   พอจะลงดาบ แกก็ถอดเสื้อคัวนอกออกให้เห็นฉลองพระองค์ข้างใน  ทุกคนในที่นั้นต้องคุกเข่าลงหมดเลย เพราะเท่ากับเห็นฮ่องเต้มาอยู่ตรงนั้น    สรุปว่าประหารไม่ได้ 
ถ้าหากว่าท่านจู ได้รับพระราชทานแบบนี้ เป็นใบเบิกทางให้เดินทางจากปักกิ่งผ่านทะเลจีนตะวันออก ลงมาทะเลจีนใต้ได้โดยสะดวกง่ายดาย  ห้ามขัดขวาง ล่ะ
แต่งเรื่องมาถึงขั้นนี้แล้ว ก็เจอตออีกอย่างหนึ่งว่า ทำไมฮ่องเต้จะต้องช่วยเหลือถึงขั้นนั้น    เพราะท่านจูไม่ได้ถือราชสาส์นไปไหน    แต่อพยพทิ้งถิ่นเดิมไปอยู่ถิ่นใหม่เลย 
ก็เลยต้องจบลงแบบกลับไปที่จุดเริ่มต้นอีกค่ะ


กระทู้: ้ขอความรู้เรื่องจีน จาก คุณ Wu Zetian และท่านอื่นๆ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 25 เม.ย. 22, 10:51
ดิฉันลองสมมุติอีกอย่าง ว่า ท่านจูมีฐานะมั่งคั่ง  เมื่อมาสยามก็มาตั้งห้างที่ถนนเจริญกรุงในรัชกาลที่ 4   เป็นไปได้ไหมว่ามีคนเอาพีหลิ่งมาขาย ท่านก็รับซื้อไว้  โดยไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรเป็นส่วนตัว
มันก็นำไปสู่คำถามอีกว่า  งั้นคนที่มาขายพีหลิ่งเป็นใคร ทำไมถึงมีผ้าชิ้นนี้ในครอบครอง  เขาเอามาจากเมืองจีนได้อย่างไร  เอามาทำไม  เอามาใช้ประโยชน์อะไร   
คำตอบจากผู้เชี่ยวชาญในปักกิ่งที่ลูกหลานท่านจูหยุ่นส่งไปสอบถาม   ได้คำตอบมาว่าเป็นของแท้   ถ้าเป็นของปลอมทำเลียนแบบ(สมมุติว่าเป็นเครื่องแต่งกายละคร) ผู้เชี่ยวชาญคงจะแยกออก และตอบมาแล้วว่าเป็นเครื่องแต่งกายละคร  ไม่ใช่บ่าเกียรติยศของอ๋องหรือขุนนางชั้นหนึ่ง

นอกจากนี้ พ่อค้าจีนเชื้อสายฮั่น(ดูจากแซ่) จะเก็บรักษาส่วนหนึ่งของฉลองพระองค์ฮ่องเต้ราชวงศ์ชิงเอาไว้อย่างดี จนกลายเป็นมรดกตกทอดถึงลูกหลานทำไม   ถ้าท่านเป็นพ่อค้า  ท่านต้องดูออกว่าผ้าชิ้นนี้ขายในสยามคงไม่มีใครซื้อ  ถ้าเป็นหยกหรือทองคำก็ไปอย่าง   ท่านก็คงไม่รับซื้อแต่แรก   
ก็ยังเป็นปริศนาอยู่นั่นเอง



กระทู้: ้ขอความรู้เรื่องจีน จาก คุณ Wu Zetian และท่านอื่นๆ
เริ่มกระทู้โดย: Wu Zetian ที่ 25 เม.ย. 22, 10:53
สืบค้นจาก https://www.silpa-mag.com/history/article_48377

บทความนี้มีหัวข้อว่า คนจีน “แต้จิ๋ว” ที่มีบทบาทด้านการค้าการปกครอง ยุคธนบุรี-ต้นรัตนโกสินทร์ คือใคร? มาจากไหน?

เนื่องจากว่าผมไม่ชำนาญด้านประวัติศาสตร์จีน แต่เมื่อผมอ่านบทความนี้แล้วพบว่า ตอนท้าย ๆ ของบทความมีการกล่าวถึง แซ่จู  ผมไม่แน่ใจว่าข้อมูลนี้จะเกี่ยวข้องกับ ท่านจู ในกระทู้นี้หรือไม่ครับ จึงนำมาเผยแพร่เพิ่มเติมประกอบการค้นคว้าครับ

ขอบพระคุณครับ


กระทู้: ้ขอความรู้เรื่องจีน จาก คุณ Wu Zetian และท่านอื่นๆ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 25 เม.ย. 22, 11:11
ขอบคุณมากค่ะ น่าสนใจมาก ขอลอกมาลงทั้งหมดเลยนะคะ

คนจีนอพยพที่เข้ามามีปฏิสัมพันธ์กับคนไทยนั้นมีหลายกลุ่ม ที่สำคัญมีกลุ่มหนึ่งคือ คนจีน “แต้จิ๋ว” โดยเฉพาะในสมัยกรุงธนบุรีต่อกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นที่เริ่มมีบทบาทสำคัญมาก ทั้งทางด้านการค้าและการปกครอง

สามารถแบ่งคนจีนแต้จิ๋วออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มคหบดี และกลุ่มเจ้าหน้าที่ท่าเรือ

กลุ่มคหบดี คือเจ้าของสำเภาขนาดใหญ่ที่แล่นค้าขายระหว่างจีนกับไทย แต่คนจีนกลุ่มนี้มักว่าจ้างให้ผู้อื่นดำเนินธุรกิจซื้อขายแทน ขณะที่คนจีนที่เป็นเจ้าของสำเภาขนาดย่อมลงมา ที่มีฐานะปานกลางจะดำเนินกิจการด้วยตนเอง เป็นนายเรือเอง

กลุ่มเจ้าหน้าที่ท่าเรือ คือพวกท่าเรือ รับผิดชอบหน้าที่เกี่ยวกับการค้า ค่าภาษี ค่าเทียบท่า ฯลฯ มีความรอบรู้ เฉลียวฉลาด นอกจากนี้ ยังมีคนจีนอีกกลุ่มซึ่งเป็นลูกเรือ แต่ไม่มีบทบาทสำคัญนัก เพราะเป็นคนจีนอพยพมาใช้แรงงาน แสวงหาลู่ทางหากินใหม่ ส่วนใหญ่เป็นชาวนาและมีฐานะยากจน

แต่คนจีนทั้งหลายเหล่านี้ล้วนเป็นคนจีนแต้จิ้วที่อพยพมาปักหลักในไทยทั้งสิ้น คนจีนแต้จิ๋วที่สำคัญเช่น

อ๋องไหล่หู (Ong Lai-Hu) และบุตรครโตคือ มั่วเส็ง (Mua Seng) ทั้งสองรับราชการในสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ทำการค้าขายระหว่างจีนกับไทย มั่วเส็งได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นหลวงอภัยพานิช ส่งสำเภา 10-15 ลำไปค้ายังกว้างตุ้งในนามของพระมหากษัตริย์ไทย และมีสิทธิ์ต่อเรือได้เอง บุตรอีกคนหนึ่งของอ๋องไหล่หูคือ จีนเรือง (Chin Ruang) เป็นเศรษฐีอยู่ที่จันทบุรี ภายหลังก็ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เช่นกัน

หลิน หงู่ (Lin Ngou) หรือ หลิน วู่ (Lin Wu) ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์จากสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี เป็นพระพิไชยวารี รับผิดชอบการค้าสำเภาหลวง คนจีนแต้จิ๋วอีกคนหนึ่งคือ จีนกุน เป็นหลานชายของอ๋อง เฮงฉวน (Ong Heng-Chuan) และบุตรของจีนกุ๋ย ได้รับแต่งตั้งเป็นกรมท่าซ้าย แต่ได้ลาออกไปทำการค้า ต่อมาถูกบังคับให้ตัดผมเปียและเข้ารับตำแหน่งใหม่สมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และรัชกาลที่ต่อมาได้พระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น เจ้าพระยารัตนาธิเบศร์

จีนกุ๋ย มีหน้าที่รับผิดชอบการค้าสำเภา บ้านอยู่ที่ตำบลบ้านคลองโรงช้าง ราชบุรี บุตรชายคือจีนกุน ได้รับราชการแล้วย้ายมาอยู่ที่แม่กลอง สมุทรสงคราม ก่อนจะโยกย้ายมาอยู่หน้าวัดเลียบ กรุงเทพฯ แล้วยกที่ดินที่บ้านเดิมให้สร้างวัด คือวัดใหญ่

สันนิษฐานว่าจีนกุนใกล้ชิดสนิทสนมกับรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่ทรงเป็นหลวงยกกระบัตรเมืองราชบุรี และเมื่อย้ายมาอยู่ที่สมุทรสงครามก็คงคุ้นเคยกับพระญาติของพระมเหสีในรัชกาลที่ 1 มาก่อน จีนกุนจึงรับราชการเป็นขุนนางมีบรรดาศักดิ์ใหญ่โต มั่งคั่ง จนเรียกกันว่า “เจ๊สัวกุน” คำว่าเจ๊สัวเพี้ยนมาจากเจ้าสัว ซึ่งมาจากคำว่า โจ้ซาน (Cho Shan) ภาษาฮกเกี้ยน แปลว่าคนร่ำรวย ใจบุญสุนทาน

จีนกุนหรือเจ้าพระยารัตนาธิเบศร์รับราชการจนถึงรัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ จนถึงแก่อสัญกรรม เป็นต้นสกุล “รัตนกุล”

คนจีนแต้จิ๋วอีกคนคือ จีนเต้กฮะ มาจากตำบลคังตึ้ง เมืองซ่านโถว เป็นทายาทคนที่ 22 ของตระกูล “ตั้ง” เกิดในแผ่นดินพระเจ้าเฉียนหลงแห่งราชวงศ์ชิง เดินทางเข้ามาในไทยเมื่อย่างสู่วัยกลางคน ทำการค้าขายตั้งแต่ปลายกรุงศรีอยุธยาจนถึงสมัยรัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ รับราชการและค้าขายจนได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระยาศรีราชอากร มีภรรยาที่เมืองจีน แซ่ “จู” มีบุตรด้วยกันคน 6 คน บุตรคนโตได้สืบทอดกิจการในเมืองไทยและรับราชการจนได้เป็น พระยาสมบัติวานิช เป็นต้นสกุล “สมบัติศิริ”

นอกจากคนจีนแต้จิ้วจะมีบทบาทในด้านการค้าแล้ว สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรียังโปรดเกล้าฯ ให้คนจีนแต้จิ๋วรับราชการช่วยเหลืองานด้านทหาร กล่าวคือ ในปี 2314 คราวสงครามตีเมืองบันทายมาศ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้รองเจ้ากรมท่าซ้ายชื่อ พระยาพิพิธ เลื่อนตำแหน่งเป็นพระยาราชาเศรษฐีครองเมืองบันทายมาศ โดยมีทหารจีนจำนวนหนึ่งเป็นกองกำลัง

คนจีนแต้จิ๋วกลุ่มนี้ เป็นคนจีนอพยพกลุ่มแรก ๆ ที่เข้ามาในไทย มีบทบาทสำคัญต่อการปกครองและเศรษฐกิจ มีส่วนช่วยวางรากฐานและพัฒนาบ้านเมืองไม่น้อย กระทั่งสืบตระกูลกันหลายชั่วคน จนกลายเป็นคนไทยในที่สุด

https://www.silpa-mag.com/history/article_48377


กระทู้: ้ขอความรู้เรื่องจีน จาก คุณ Wu Zetian และท่านอื่นๆ
เริ่มกระทู้โดย: Wu Zetian ที่ 25 เม.ย. 22, 11:16
สืบค้นจาก

https://baijiahao.baidu.com/s?id=1669932697364782513&wfr=spider&for=pc&searchword=%E6%9C%B1%E5%A7%93%E4%BA%BA%20%E4%B8%9C%E5%8D%97%E4%BA%9A%20%E6%B3%B0%E5%9B%BD

ข้อมูลจากเว็บไซต์นี้ เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ แซ่จู มีการกล่าวถึงที่มาของ แซ่จู และการย้ายถิ่นฐานของคนจีนแซ่จู ไปตั้งถิ่นฐานใหม่ตามภูมิภาคต่าง ๆ ครับ บทความนี้มีชื่อของท่านจูหยุน 朱筠 ปรากฏในบทความด้วยครับ


กระทู้: ้ขอความรู้เรื่องจีน จาก คุณ Wu Zetian และท่านอื่นๆ
เริ่มกระทู้โดย: Wu Zetian ที่ 25 เม.ย. 22, 11:52
ข้อมูลนี้ ใช้ประกอบการค้นคว้านะครับ
ขอบพระคุณครับ

คัดลอกและตัดตอนมาจากบทความ ต้นกำเนิดของตระกูลจู

......"大量朱氏进入东南亚,则也是在明末清初,当年南明政权反清失败,永田皇帝率一批朱氏皇室成员逃亡缅甸,后来大部分或被缅甸人杀害或遣送回国,但应该仍有遗漏逃匿后而流落在缅甸的。在今日缅甸、泰国、越南等国,都有朱姓华人,但人数不算很多,势力也较弱小。"......


(แปลโดยสังเขป ถ้าหากข้อมูลผิดพลาดประการใด ต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วยนะครับ)
ชาวจีนแซ่จูเข้ามาตั้งถิ่นฐานในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะอยู่ในช่วงปลายสมัยราชวงศ์หมิงถึงช่วงต้นสมัยราชวงศ์ชิง ในสมัยนั้นกลุ่มชนชั้นสูงของราชวงศ์หมิงที่คิดจะล้มล้างราชสำนักชิงพ่ายแพ้ต่อราชสำนักชิง ฮ่องเต้หย่งเถียนนำชนชั้นสูงตระกูลจู (แซ่จู) อพยพลี้ภัยไปตั้งถิ่นฐานที่พม่า ต่อมาชนชั้นสูงตระกูลจูที่ไปอยู่พม่าถูกชาวพม่าในยุคนั้นฆ่าตาย บางคนก็ถูกส่งตัวกลับประเทศจีน แต่ก็น่าจะยังมีชนชั้นสูงตระกูลจูที่รอดชีวิตจากเงื้อมมือของชาวพม่าในยุคนั้น ชนชั้นสูงตระกูลจูที่รอดชีวิตบางคนก็ยังอาศัยอยู่ที่พม่าจนถึงปัจจุบัน ชนชั้นสูงตระกูลจูบางคนก็อพยพมาที่ประเทศไทย เวียดนาม ฯลฯ สืบทอดเชื้อสายมาเป็นชาวจีนโพ้นทะเลที่ใช้แซ่จูมาจนถึงปัจจุบัน แต่ก็มีจำนวนไม่มากนัก


กระทู้: ้ขอความรู้เรื่องจีน จาก คุณ Wu Zetian และท่านอื่นๆ
เริ่มกระทู้โดย: Namplaeng ที่ 25 เม.ย. 22, 13:22
กระทู้นี้ อาจารย์เทาชมพูเรียกผ้าปริศนาว่า “ พี หลิ่ง ” แต่ คุณWu Zetianท่านใช้ศัพท์ว่า “ พี เจียน ” ?

....

ขออนุญาตเรียนว่า พีหลิ่ง ( 披领 ) และ พีเจียน ( 披肩 ) ดูเหมือนกัน แต่ต่างกันครับ.

หลิ่ง หรือ 领 แปลว่า ปกเสื้อ ครับ 

พีหลิ่ง ท่านใช้เรียกส่วน ปก ของเสื้อทรง ( ใช้เฉพาะในพระราชพิธีสำคัญ ) ของเชื้อพระวงศ์ชั้นสูงครับ

ด้วยเหตุที่ พีหลิ่ง จะเย็บตรึงติดกับเสื้อทรงตรงส่วนที่เป็นปก

(https://www.picz.in.th/image/8J8OYg)


(https://www.picz.in.th/image/8JxpGJ)


(https://www.picz.in.th/image/8J8bRW)



กระทู้: ้ขอความรู้เรื่องจีน จาก คุณ Wu Zetian และท่านอื่นๆ
เริ่มกระทู้โดย: Namplaeng ที่ 25 เม.ย. 22, 13:48
พีเจียน ( 披肩 ) จะเป็นผ้าชิ้นปักลาย ที่ไม่ได้เย็บตรึงติดกับเสื้อคลุมพระราชทาน ( ผ้าปริศนาของกระทู้นี้ )

พีเจียน เป็น อิสริยาภรณ์ หรือ เครื่องประดับเกียรติยศ ที่ฮ่องเต้สมัยชิงพระราชทานแก่ เหล่าขุนนางที่รับใช้ใกล้ชิดพระองค์

พีเจียน เทียบได้กับการประดับ สายสะพายคู่เหรียญราชอิสริยาภรณ์ ที่เรารับวัฒนธรรมจากตะวันตก

ที่เราเรียกการแต่งชุดและสวมสายสะพายว่า เครื่องแบบเต็มยศ

(https://sv1.picz.in.th/images/2022/04/25/8JxJ5f.png)


กระทู้: ้ขอความรู้เรื่องจีน จาก คุณ Wu Zetian และท่านอื่นๆ
เริ่มกระทู้โดย: Namplaeng ที่ 25 เม.ย. 22, 13:54
จากภาพข้างต้น เสนาบดีท่านนี้มีลายสัตว์ทวิบาทประดับกลางอก

เมื่อเทียบหาแล้ว.... ท่านมีตำแหน่งขั้นสี่ หรือ ที่เสนาบดีดูแลกรมกองสามัญ แต่ไม่ถึงขั้นมหาเสนาอย่างที่ว่า ๆ กัน ครับ

(https://sv1.picz.in.th/images/2022/04/25/8Jxao9.png)


กระทู้: ้ขอความรู้เรื่องจีน จาก คุณ Wu Zetian และท่านอื่นๆ
เริ่มกระทู้โดย: Namplaeng ที่ 25 เม.ย. 22, 14:14
(https://sv1.picz.in.th/images/2022/04/25/8JvrRI.png)

ผ้าปริศนาของกระทู้นี้ เรียก พีเจียน ครับ เป็นอิสริยาภรณ์ ที่ฮ่องเต้ ( เฉพาะ ) สมัยราชวงศ์ชิงพระราชทานแก่เสนาบดี

ที่จะแต่งเข้าเฝ้าแต่ในยามที่พระราชสำนักประกอบพระราชพิธีสำคัญเท่านั้นครับ

เรียกการแต่งชุดข้าราชการประดับพีเจียนด้วยกันสวมทับบนไหล่นี้ว่า หลี่ฝู

(https://sv1.picz.in.th/images/2022/04/25/8JxGfb.png)


(https://sv1.picz.in.th/images/2022/04/25/8J8ju2.png)


กระทู้: ้ขอความรู้เรื่องจีน จาก คุณ Wu Zetian และท่านอื่นๆ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 25 เม.ย. 22, 14:23
สวัสดีค่ะคุณ  Namplaeng หายหน้าไปนานนะคะ  ดีใจที่เห็นคุณเข้ามาร่วมวงค่ะ  
เอาผ้าสมบัติของท่านจูมาให้ดูอีกครั้งค่ะ


กระทู้: ้ขอความรู้เรื่องจีน จาก คุณ Wu Zetian และท่านอื่นๆ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 25 เม.ย. 22, 14:27
ขอทวนคำบอกเล่าอีกทีนะคะ  
แปลว่าเจ้าของผ้าพีเจียนผืนนี้คือเสนาบดี สวมทับบนชุดหลีฝู่ เข้าเฝ้าฮ่องเต้ราชวงศ์ชิง ในยามที่พระราชสำนักประกอบพระราชพิธีสำคัญ

เสนาบดีชั้นไหน  มีพีเจียนลายมังกร 4 เล็บคะ  (จำนวนเล็บนี่ดิฉันนับเองค่ะ)


กระทู้: ้ขอความรู้เรื่องจีน จาก คุณ Wu Zetian และท่านอื่นๆ
เริ่มกระทู้โดย: Namplaeng ที่ 25 เม.ย. 22, 14:41
สวัสดีครับอาจารย์ _/\_

ขอวกออกไปคุยเรื่องของท่านแซ่จูสักนิดนะครับ ผมเข้าใจว่าเป็นประวัติที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงนักครับ

โดยเทียบกับประวัติของท่าน ปาต้าซันเยิน หรือท่านจูตา ( 朱耷 ) ประวัติว่า


หลังจากที่แมนจูเข้ายึดครองประเทศจีนสำเร็จทหารแมนจูตามฆ่าล้างคนแซ่จูสายที่ใกล้ชิดกับราชวงศ์หมิงเสียสิ้นครับ

ท่านจูตาถึงกับต้องเปลี่ยนชื่อแซ่ และออกบวช ทั้งระยะแรกยังต้องทำตัวประหนึ่งคนสติไม่สมประกอบด้วยซ้ำครับ.

ท่านจึงรอดพ้นจากการตามฆ่าของทหารแมนจูครับ


กระทู้: ้ขอความรู้เรื่องจีน จาก คุณ Wu Zetian และท่านอื่นๆ
เริ่มกระทู้โดย: Namplaeng ที่ 25 เม.ย. 22, 14:52
ในวัฒนธรรมจีน คนแซ่เดียวกัน หลายๆแซ่มีการสืบเชื้อ สืบสาย จากแหล่งต้นแซ่ต่างกันครับ

โดยท่านแสดงออกที่ป้ายสำคัญกลางศาลบรรพชน และตุ้ยเลี้ยง ที่อยู่กลางศาลฯ

คนแซ่เดียวกัน แต่ตุ้ยเลี้ยงที่ศาลบรรพชนต่างกัน เค้าก็ไม่ถือว่าตัวมีบรรพชนร่วมกันครับ

อย่างกรณีชะตากรรมของคนแซ่จู ในยุคปลายหมิง ต้นชิง หลายๆสายแซ่ของพวกแซ่จูอยู่รอดปลอดภัย

เพราะสามารถพิสูจน์ให้เห็นว่า มีการสืบสายแซ่ต่าง หรือคนละสายเซ่กับพวกราชวงศ์หมิงครับ.

ขออนุญาตเรียนไว้ ณ ที่นี้ เพราะในบ้านเรานักเขียนหลายท่านที่ไม่เข้าใจขนบนี้

ท่านชอบจะเขียนบทความเหมารวมให้คนที่มาจ้างเขียนประวัติตระกูล ชนิดโยงใยกันไปแบบไม่เข้าใจ.....

.


กระทู้: ้ขอความรู้เรื่องจีน จาก คุณ Wu Zetian และท่านอื่นๆ
เริ่มกระทู้โดย: Namplaeng ที่ 25 เม.ย. 22, 15:22
ประเพณีการปักลายมังกร...

บ้านเราคัดลอกพูดกันไปหลายกระแสครับ

ผมขออนุญาตอ้างอิง 汉典 ที่คนจีนนิยมและยอมรับในการใช้อ้างอิงทางวิชาการ ท่านว่า

 蟒绣 又叫蟒衫,蟒服,蟒衣,即蟒袍;明、清时皇子、亲王、一品至七品官所穿,衣上用金线绣蟒,形状像龙,四爪。蟒数自八至五,按等级区别。

ท่านกำหนดเรียกลายปักมังกรเพื่อประดับว่า หมั่ง ซิ่ว หรือ 蟒绣 ( เรียกสัตว์มงคลนั้นว่า หมั่ง ห้ามเรียกว่า หลง (龙) )

อนุญาตให้ใช้เฉพาะ ตั้งแต่ระดับองค์ชาย ลงมาระดับข้าราชการตั้งแต่ขั้นที่ 1 ถึง ต่ำระดับ 7 ( จาก 9 ระดับ )

หมั่ง มี 4 เล็บ ( เท่านั้น ) ครับ

.


กระทู้: ้ขอความรู้เรื่องจีน จาก คุณ Wu Zetian และท่านอื่นๆ
เริ่มกระทู้โดย: Namplaeng ที่ 25 เม.ย. 22, 15:41
 พีหลิ่ง จะเย็บตรึงติดกับเสื้อทรงตรงส่วนที่เป็นปกครับ

(https://sv1.picz.in.th/images/2022/04/25/8J8OYg.jpg)

(https://sv1.picz.in.th/images/2022/04/25/8JxpGJ.png)

(https://sv1.picz.in.th/images/2022/04/25/8J8bRW.jpg)

พีหลิ่ง มีใช้ทั้งกับฮ่องเต้ ฮ่องเอา และเจ้าจอมครับ

(https://sv1.picz.in.th/images/2022/04/25/8JxXtD.png)




กระทู้: ้ขอความรู้เรื่องจีน จาก คุณ Wu Zetian และท่านอื่นๆ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 26 เม.ย. 22, 10:35
ข้อมูลนี้ ใช้ประกอบการค้นคว้านะครับ

永田皇帝率一批朱氏皇室成员逃亡缅甸 …… ฮ่องเต้หย่งเถียนนำชนชั้นสูงตระกูลจู (แซ่จู) อพยพลี้ภัยไปตั้งถิ่นฐานที่พม่า

ไม่มีพระนาม ฮ่องเต้หย่งเถียน (永田皇帝) ใน รายพระนามจักรพรรดิราชวงศ์หมิง (https://th.m.wikipedia.org/wiki/รายพระนามจักรพรรดิราชวงศ์หมิง)

ฮ่องเต้หย่งเถียน คือใครกันหนอ ?


กระทู้: ้ขอความรู้เรื่องจีน จาก คุณ Wu Zetian และท่านอื่นๆ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 26 เม.ย. 22, 10:50
ขอสรุปข้อเท็จจริงในประวัติของท่านจู  ไม่รวมคำบอกเล่า
1  ในปลายรัชกาลที่ 3   ท่านจูเดินทางด้วยสำเภามาจากเมืองจีน ไปอินโดนีเซีย ก่อนมาตั้งถิ่นฐานในสยาม   
2  ท่านมีทรัพย์สินจำนวนมากติดตัวมากับเรือสำเภาของท่าน   สามารถตั้งห้าง(หรือร้าน)ที่ถนนเจริญกรุงในรัชกาลที่ 4
3  ท่านมีบุตรชายชื่อจูกวงหลี  เป็นลูกครึ่งจีน-อินโดนีเซีย   
4  ท่านตั้งชื่อร้านตามชื่อบุตรชาย ว่าห้าง(หรือร้าน)จูกวงหลี
5  ท่านจูกวงหลีดำเนินกิจการต่อจากบิดา  สมรสกับหญิงไทยที่เป็นลูกสาวขุนนางไทย มีบุตรธิดาตั้งชื่อแบบไทยทั้งหมด
6  ในสมบัติที่ตกทอดมา มีบ่าเกียรติยศของราชวงศ์หรือขุนนางชิงรวมอยู่  เก็บรักษาไว้อย่างดี

ึ7  พ่อค้าชาวจีนแซ่จู ซึ่งเป็นแซ่ของพวกฮั่น มีตัวเชื่อมอย่างไรกับเครื่องยศของราชวงศ์ชิงหรือขุนนางชิงไว้ จนเก็บไว้เป็นมรดกตกทอดลงมาถึงลูกหลาน


กระทู้: ้ขอความรู้เรื่องจีน จาก คุณ Wu Zetian และท่านอื่นๆ
เริ่มกระทู้โดย: Wu Zetian ที่ 26 เม.ย. 22, 13:28
ผมได้ลองค้นเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับต้นกำเนิดของตระกูลจู แล้วพบว่ามีขุนนางท่านหนึ่งชื่อว่า "จูจือปี้" เป็นขุนนางคนสำคัญสมัยราชวงศ์ชิง อยู่ในช่วงชุ่นจื้อและคังซี จึงนำข้อมูลนี้มาเผยแพร่ประกอบการค้นคว้าเพิ่มเติมครับ ขอบพระคุณครับ

朱之弼(1610—1683年)字右君,順天大興人,清朝大臣,歷經順治與康熙兩朝。

จูจือปี้ (คศ.1610-1683) เป็นขุนนางคนสำคัญสมัยราชวงศ์ชิง มีชีวิตอยู่ในสมัยชุ่นจื้อและคังซี

แหล่งสืบค้น
1.ประวัติชีวิตของ จูจือปี้
https://baike.baidu.hk/item/%E6%9C%B1%E4%B9%8B%E5%BC%BC/1703660

2.ต้นกำเนิดของตระกูลจู
http://www.zhzhus.com/wap/search/2851.html


กระทู้: ้ขอความรู้เรื่องจีน จาก คุณ Wu Zetian และท่านอื่นๆ
เริ่มกระทู้โดย: Wu Zetian ที่ 26 เม.ย. 22, 13:47
ข้อมูลนี้ ใช้ประกอบการค้นคว้านะครับ

永田皇帝率一批朱氏皇室成员逃亡缅甸 …… ฮ่องเต้หย่งเถียนนำชนชั้นสูงตระกูลจู (แซ่จู) อพยพลี้ภัยไปตั้งถิ่นฐานที่พม่า

ไม่มีพระนาม ฮ่องเต้หย่งเถียน (永田皇帝) ใน รายพระนามจักรพรรดิราชวงศ์หมิง (https://th.m.wikipedia.org/wiki/รายพระนามจักรพรรดิราชวงศ์หมิง)

ฮ่องเต้หย่งเถียน คือใครกันหนอ ?

เนื่องจากเว็บไซต์ภาษาจีนอาจจะมีการพิมพ์ตัวอักษรจีนผิดพลาดครับ ผมขอสันนิษฐานว่า จักรพรรดิที่นำชนชั้นสูงตระกูลจูไปตั้งถิ่นฐานที่พม่าคือ จักรพรรดิหย่งลี่ 永历帝 ครับ

ข้อมูลประกอบการค้นคว้าครับ

https://baijiahao.baidu.com/s?id=1665987623727769189&wfr=spider&for=pc&searchword=%E6%B0%B8%E7%94%B0%E7%9A%87%E5%B8%9D%20%E7%BC%85%E7%94%B8

https://th.m.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B9%88

https://zh.m.wikipedia.org/wiki/%E6%B0%B8%E5%8E%86%E5%B8%9D

ขอบพระคุณครับ




กระทู้: ้ขอความรู้เรื่องจีน จาก คุณ Wu Zetian และท่านอื่นๆ
เริ่มกระทู้โดย: ธสาคร ที่ 26 เม.ย. 22, 17:29
เป็นเกร็ดที่น่าสนใจครับ // คนไทยทั่วไปรับรู้เพียงว่าฮ่องเต้หมิงองค์สุดท้ายปลงพระชนม์ด้วยการผูกคอ ไม่มีใครเอ่ยถึงความเป็นไปของราชสกุลแซ่จู หลังจากตกบัลลังก์อีกเลย
ข้อมูลของคุณ Wu ทำให้ทราบว่า ขั้วอำนาจเก่าได้หนีไปยังพม่าและสถาปนาฮ่องเต้ขึ้นภายในกลุ่มตนเอง


กระทู้: ้ขอความรู้เรื่องจีน จาก คุณ Wu Zetian และท่านอื่นๆ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 27 เม.ย. 22, 10:33
อ่านเรื่องเชื้อสายราชวงศ์หมิงที่หนีไปพม่า ได้ที่ลิ้งค์นี้ค่ะ

https://pantip.com/topic/35685854


กระทู้: ้ขอความรู้เรื่องจีน จาก คุณ Wu Zetian และท่านอื่นๆ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 27 เม.ย. 22, 10:35
ข้อมูลของคุณ Wu ทำให้ทราบว่า ขั้วอำนาจเก่าได้หนีไปยังพม่าและสถาปนาฮ่องเต้ขึ้นภายในกลุ่มตนเอง

น่าจะกลับกันคือ ขั้วอำนาจเก่าสถาปนาฮ่องเต้ขึ้นภายในกลุ่มตนเอง และได้หนีไปยังพม่า

คุณศรีสรรเพชญ์เล่าเรื่องนี้ไว้ใน วิพากษ์ประวัติศาสตร์ (https://www.facebook.com/WipakHistory/photos/a.1050804244983045/4536261106437324/?type=3)

โดยทั่วไปถือว่าราชวงศ์หมิงสิ้นสุดตั้งแต่หลี่จื้อเฉิงยึดปักกิ่งได้ แต่ในทางปฏิบัติยังมีเจ้าเชื้อสายราชวงศ์หมิงสถาปนาตนเป็นจักรพรรดิสืบต่อมาในภาคใต้ของจีน ยุคสมัยนี้ถูกเรียกขานในประวัติศาสตร์ว่า "หมิงใต้" (南明) โดยมีจักรพรรดิองค์แรกคือ จูโหยวซง (朱由崧) ซึ่งขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิหงกวง (弘光) ที่เมืองหนานจิงใน ค.ศ. ๑๖๔๔ (พ.ศ. ๒๑๘๗)  

แต่ราชสำนักหมิงใต้มีปัญหาความขัดแย้งภายในขาดความเป็นเอกภาพ จักรพรรดิหงกวงครองราชย์เพียงปีเดียวก็ถูกกองทัพชิงตีแตกและจับสำเร็จโทษ  จักรพรรดิหลงอู่ (隆武) ครองราชย์เป็นองค์ต่อมาที่เมืองฝูโจว (福州) ประสบชะตากรรมไม่ต่างกันคือถูกต้าชิงจับสำเร็จโทษใน ค.ศ. ๑๖๔๖ (พ.ศ. ๒๑๘๙) จูอวี้เยวี่ย (朱聿鐭) พระอนุชาของจักรพรรดิหลงอู่หลบหนีไปกว่างโจว (廣州) สถาปนาตนขึ้นเป็นจักรพรรดิแทนที่ ใช้นามรัชศกว่า เซ่าอู่ (紹武) แต่ในเวลาเดียวกันจูโหยวหลาง (朱由榔) ผู้เป็นกุ้ยหวัง (桂王) ก็สถาปนาตนขึ้นเป็นจักรพรรดิ ใช้นามรัชศกว่า “หย่งลี่” (永曆) จักรพรรดิทั้งสองทำศึกชิงอำนาจกัน  แต่สุดท้ายใน ค.ศ. ๑๖๔๗ (พ.ศ. ๒๑๙๐) กองทัพชิงพิชิตเมืองกว่างโจวและจับจักรพรรดิเซ่าอู่ไปเป็นเชลยหลังจากครองบัลลังก์เพียง ๔๐ วัน  จึงเหลือเพียงจักรพรรดิหย่งลี่ผู้กลายเป็นจักรพรรดิองค์สุดท้ายของราชวงศ์หมิงใต้

จักรพรรดิหย่งลี่พยายามขยายอำนาจในดินแดนภาคใต้ของจีนและต่อต้านราชวงศ์ชิงได้หลายปี บรรดาขุนศึกแห่งต้าซีที่ต่อต้านแมนจู เช่น หลี่ติ้งกั๋ว (李定國) และซุนเข่อว่าง (孫可望)  บุตรบุญธรรมของจางเสี้ยนจง ก็เข้ามาสวามิภักดิ์ต่อราชสำนักหมิงใต้ใน ค.ศ. ๑๖๔๙ (พ.ศ. ๒๑๙๒)  นอกจากนี้ยังมีผู้ต่อต้านแมนจูกลุ่มอื่นมาเข้าร่วมด้วย

ใน ค.ศ. ๑๖๕๘ (พ.ศ. ๒๒๐๑) กองทัพชิงนำโดยอู๋ซานกุ้ยยกทัพลงมายึดครองคุนหมิงได้  หลี่ติ้งกั๋วพาจักรพรรดิหย่งลี่เสด็จหนีและพยายามจะต้านทานกองทัพชิงแต่พ่ายแพ้  ใน ค.ศ. ๑๖๕๙ (พ.ศ. ๒๒๐๒) จักรพรรดิหย่งลี่เสด็จหนีไปหย่งชาง (永昌府) แล้วหนีไปยังเถิงเย่ว์ (腾越)  ก่อนจะตัดสินใจหนีลงไปพม่า  ในขณะที่กองทัพหมิงใต้นำโดยหลี่ติ้งกั๋วเอาชนะทัพของอู๋ซานกุ้ยได้ที่ภูเขามั่วผาน (磨盤山) แต่ได้รับความเสียหายหนักและต้องล่าถอยลงมาในรัฐชานหรือดินแดนไทใหญ่


กระทู้: ้ขอความรู้เรื่องจีน จาก คุณ Wu Zetian และท่านอื่นๆ
เริ่มกระทู้โดย: Namplaeng ที่ 27 เม.ย. 22, 13:25
หมิงใต้ หรือ 南明  เป็นดินแดน หรือ อาณาจักรที่ไร้เอกภาพครับท่าน

ในข้อเท็จจริง หมิงใต้ เป็นเพียงพื้นที่ภายใต้การแย่งยึดครองของเหล่าขุนศึกที่แตกพ่ายมาจากทางเหนือ

ยุคที่นักประวัติศาสตร์จีนเรียก หมิงใต้ อยู่ในประวัติศาสตร์จีน นานประมาณ 18 ปี

แต่หมิงใต้ไม่ปรากฏในหนังสือประวัติศาสตร์จีนที่วางขายในตลาดบ้านเรา....

หลังจากที่กองทัพแมนจูบุกยึดปักกิ่งสำเร็จ พวกแม่ทัพนายกองที่ไม่ยอมจำนนต่อแมนจู ยกพลถอยหนีมาทางใต้

เหล่าแม่ทัพแย่งยึดพื้นที่ และเทิดพวกเชื้อพระวงศ์หมิง ขึ้นเป็น “ ตี้ ”  หรือเจ้าปกครอง ( ท่านไม่เรียกว่าฮ่องเต้ครับ )

เวลานั้นดินแดนจีนทางใต้มีสภาพเป็นก๊ก น้อยใหญ่ เช่นเดียวกันกับเมื่อครั้งกรุงศีอยุธยาแตกพ่ายแก่พม่าครับ

เหล่าเชื้อพระวงศ์ที่ถูกเทิดไม่มีท่านใดเป็นพระราชบุตร ทั้งไม่ใช่พระเชษฐาหรือพระอนุชาร่วมพระชนกกับฮ่องเต้ราชวงศ์หมิง

ความที่เป็นเพียงหุ่นเชิด ไม่มีอำนาจบังคับบัญชาใดๆ 

ก๊กต่างๆ ที่เรียกว่าหมิงใต้รบกับทหารชิงอย่างไม่เป็นเอกภาพ จึงค่อยๆถูกปราบปรามจนหมดสิ้นในช่วงระยะเวลา 18 ปี ครับ

(https://i2.shijizhuan.com/5c217410/5e227717/187b364eab2ed8c8404500.png)


 


กระทู้: ้ขอความรู้เรื่องจีน จาก คุณ Wu Zetian และท่านอื่นๆ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 27 เม.ย. 22, 13:31
อ่านแล้วเพลิดเพลิน จนเกือบลืมท่านแซ่จูไปเลย
เชิญเล่าต่อค่ะ   


กระทู้: ้ขอความรู้เรื่องจีน จาก คุณ Wu Zetian และท่านอื่นๆ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 28 เม.ย. 22, 10:35
เหล่าแม่ทัพแย่งยึดพื้นที่ และเทิดพวกเชื้อพระวงศ์หมิง ขึ้นเป็น “ ตี้ ”  หรือเจ้าปกครอง ( ท่านไม่เรียกว่าฮ่องเต้ครับ )

ฮ่องเต้ มาจากสำเนียงฮกเกี้ยนของคำว่า 皇帝 จีนกลางคือ หวงตี้ และแต้จิ๋วคือ อ้วงตี่

ตี้ มาจากสำเนียงจีนกลางของคำว่า 帝 ฮกเกี้ยนคือ เต้ แต้จิ๋วคือ ตี่

ทั้ง 皇帝 และ 帝 มีความหมายเหมือนกันคือ "จักรพรรดิจีน"


กระทู้: ้ขอความรู้เรื่องจีน จาก คุณ Wu Zetian และท่านอื่นๆ
เริ่มกระทู้โดย: Namplaeng ที่ 28 เม.ย. 22, 14:40
(https://sv1.picz.in.th/images/2022/04/28/8yMceD.png)


กระทู้: ้ขอความรู้เรื่องจีน จาก คุณ Wu Zetian และท่านอื่นๆ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 28 เม.ย. 22, 15:20
ไม่รู้ภาษาจีนค่ะ
ขอความกรุณาคุณ Namplaeng ช่วยอธิบายประกอบด้วยค่ะ
เดาจากที่วงไว้ว่าเป็นคนละคำกันกับคำที่คุณเพ็ญชมพูยกมา


กระทู้: ้ขอความรู้เรื่องจีน จาก คุณ Wu Zetian และท่านอื่นๆ
เริ่มกระทู้โดย: welikeqingdynasty ที่ 28 เม.ย. 22, 20:38
สวัสดีค่ะ แอดมินหญิงใหญ่จากเฟสบุ๊คแฟนเพจ ชมรมผู้สนใจข้อมูลราชวงศ์ชิง ค่ะ

ได้รับคำขอจากท่านผู้มีอุปการะคุณท่านหนึ่ง ให้ช่วยเข้ามาตอบคำถามที่คุณเทาชมพูได้ตั้งไว้ จึงขออนุญาตตอบตามประเด็นที่มีข้อสงสัยตั้งแต่ต้นนะคะ

ประเด็นเรื่องผ้าคลุมไหล่นี้ เป็นสิ่งของที่อยู่ในชุดที่เรียกว่า เฉาฝู(朝服) อันเป็นชุดทางการของเชื้อพระวงศ์ในราชวงศ์ชิง โดยเชื้อพระวงศ์และขุนนางที่มีสิทธิ์ใส่ชุดเฉาฝู
-ฝ่ายชาย ประกอบด้วย หวงตี้(จักรพรรดิ) หวงไท่จื่อ(รัชทายาท) หวงจื่อ(โอรสจักรพรรดิ) หวงชุน(นัดดาจักรพรรดิ) เหอซั่วชินหวัง ซื่อจื่อ ตัวหลัวจุ้นหวัง ฉางจื่อ ตัวหลัวเป้ยเล่อ กู้ซานเป้ยจื่อ เฟิ่งเอินเจิ้นกั๋วกง เฟิ่งเอินฟู่กั๋วกง ปู้หรูปาเฟินเจินกั๋วกง ปู้หรูปาเฟินฟู่กั๋วกง เจิ้นกั๋วเจียงจุน ฟู่กั๋วเจียงจุน เฟิ่งกั๋วเจียงจุน เฟิ่งเอินเจียงจุน ราชบุตรเขยกู้หลุนเอ๋อฟู่ ราชบุตรเขยเหอซั่วเอ๋อฟู่ ราชบุตรเขยจุ้นจวู่เอ๋อฟู่ ราชบุตรเขยเซี่ยนจวู่เอ๋อฟู่ ราชบุตรเขยจุ้นจุนเอ๋อฟู่ ราชบุตรเขยเซี่ยนจุนเอ๋อฟู่ ราชบุตรเขยเซี่ยงจุนเอ๋อฟู่ ขุนนางผู้มีบรรดาศักดิ์กง ขุนนางผู้มีบรรดาศักดิ์โหว ขุนนางผู้มีบรรดาศักดิ์ป๋อ ราชองครักษ์ขั้น 1-3 และขุนนางขั้น 1-9
-ฝ่ายหญิงประกอบด้วย หวงโฮ่ว หวงกุ้ยเฟย กุ้ยเฟย เฟย ผิน องค์หญิงกู้หลุนกงจวู่ องค์หญิงเหอซั่วกงจวู่ องค์หญิงจุ้นจวู่ องค์หญิงเซี่ยนจวู่ องค์หญิงจุ้นจุน องค์หญิงเซี่ยนจุน องค์หญิงเซี่ยงจุน พระชายาเอกของเชื้อพระวงศ์ชายตั้งแต่เหอซั่วชินหวังฝูจิ้นไปจนถึงเฟิ่งเอินเจียงจุนฟูเหริน ภรรยาของขุนนางที่มีบรรดาศักดิ์กง-ป๋อ และภรรยาขุนนางที่มีระดับขั้น 1-7 เท่านั้น(ขั้น 8-9 ภรรยาขุนนางจะไม่ใส่ชุดเฉาฝูค่ะ)

เนื่องจากแนบภาพไม่เป็น ขออนุญาตลิงก์ตัวภาพนะคะ
ตัวอย่างภาพชุดเฉาฝูของจักรพรรดิและผ้าคลุมไหล่ค่ะ
https://www.facebook.com/WeLikeQingDynasty/photos/a.2176879079003793/2179048472120187/

ตัวอย่างภาพชุดเฉาฝูของหวงจื่อและผ้าคลุมไหล่ค่ะ
https://www.facebook.com/WeLikeQingDynasty/photos/a.2176879079003793/2179048518786849/

ตัวอย่างภาพชุดเฉาฝูของหวงไท่โฮ่ว หวงโฮ่ว และหวงกุ้ยเฟยค่ะ
https://www.facebook.com/WeLikeQingDynasty/photos/a.2176879079003793/2179070235451344

ดังนั้น ผู้ที่สวมใส่ผ้าคลุมไหล่นี้ มีทั้งเชื้อพระวงศ์และขุนนางค่ะ ไม่จำเป็นต้องเป็นเชื้อพระวงศ์ก็ใส่ได้ ขอแค่เป็นขุนนางตามข้อกำหนดและมีการพระราชทานแต่งตั้งค่ะ

ลายมังกรที่ผ้าคลุมไหล่ ไม่จำเป็นว่าจักรพรรดิและเชื้อพระวงศ์ที่ใส่ได้นะคะ เพราะขุนนางก็ใส่เช่นกันค่ะ

ในราชวงศ์ชิง การรับราชการขุนนางมาจากเพียง 2 ระบบ คือ ระบบกองธงและระบบสอบเข้า
ซึ่งระบบกองธงนั้นคือระบบของผู้สวามิภักดิ์เมื่อตั้งราชวงศ์และหลังตั้งราชวงศ์ ส่วนแบบสอบเข้าคือการสอบจากท้องถิ่น ดังนั้นก็จะมีขุนนางท้องถิ่นจำนวนมากเช่นกันค่ะ

การสอบในราชวงศ์ชิง ไม่จำกัดเชื้อชาติ ดังนั้นจะแมนจู มองโกล จีนฮั่น หรือ เกาหลี ก็มาสอบเป็นขุนนางในราชวงศ์ชิงได้ทั้งหมดค่ะ

ดังนั้นเรื่องแซ่จู จึงไม่น่าจะมีปัญหาค่ะ เพราะว่าเป็นขุนนางได้ และใส่ชุดที่มีผ้าคลุมไหล่ได้ค่ะ


กระทู้: ้ขอความรู้เรื่องจีน จาก คุณ Wu Zetian และท่านอื่นๆ
เริ่มกระทู้โดย: welikeqingdynasty ที่ 28 เม.ย. 22, 20:51
ขออนุญาตแนบลิงก์ภาพเพิ่มเติมนะคะ

ผ้าคลุมไหล่ในราชวงศ์ชิง ที่เป็นเครื่องประกอบชุดเฉาฝูค่ะ
https://www.facebook.com/WeLikeQingDynasty/photos/a.278682565490130/7763873693637609/


กระทู้: ้ขอความรู้เรื่องจีน จาก คุณ Wu Zetian และท่านอื่นๆ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 28 เม.ย. 22, 21:27
ภาพผ้าคลุมไหล่ที่คุณแอดมินหญิงใหญ่ได้จากวังปักกิ่ง

(https://scontent.fnak1-1.fna.fbcdn.net/v/t39.30808-6/279436942_7763873670304278_2692045053534210120_n.jpg?stp=cp0_dst-jpg_e15_fr_q65&_nc_cat=104&ccb=1-5&_nc_sid=8024bb&_nc_ohc=abAESoKV33EAX9yuu1V&_nc_ht=scontent.fnak1-1.fna&oh=00_AT83PyKeMLT3zVfmjoIiXvFeXGjDEDUiFZmEiYQDpR2kGA&oe=626EB1FE)


กระทู้: ้ขอความรู้เรื่องจีน จาก คุณ Wu Zetian และท่านอื่นๆ
เริ่มกระทู้โดย: Namplaeng ที่ 29 เม.ย. 22, 05:06
ท่านมีข้อกำหนด การแต่งชุด เฉาฝู หรือ 朝服 ว่ามีองค์ประกอบ 6 ครับ....

(https://sv1.picz.in.th/images/2022/04/29/8FpdAP.png)

เฉาฝู ตามข้อกำหนดของระเบียบหลวงเป็นชุดเครื่องแบบที่สวมซ้อนทับกัน 2 ชั้น ประกอบด้วย

1. หมวก  朝冠

2. ผ้าคาดเอว  朝帶

3. เพ้า 朝袍  หรือ ชุดผ้านุ่งยาว หากเป็นเพ้าพระราชทานจะมีลายปักดิ้นที่มีสีและลวดลายสวยงาม


(https://sv1.picz.in.th/images/2022/04/29/8FpSke.png)


4. ชุดเครื่องแบบที่ใส่คลุมทับเพ้า หรือ 補掛  ที่ตรงกลางปักลายที่จะบ่งบอก สังกัด และระดับขั้นราชการ

(https://sv1.picz.in.th/images/2022/04/29/8FpNzv.png)


5. สายสร้อยมุกที่ได้รับพระราชทาน 朝珠

(https://sv1.picz.in.th/images/2022/04/29/8FpYOl.png)

6. รองเท้า  朝靴

ซึ่งการแต่งชุดเฉาฝู ถูกต้องตามระเบียบหลวง ก็จะเป็นดังภาพ...


(https://sv1.picz.in.th/images/2022/04/29/8Fp0et.png)


กระทู้: ้ขอความรู้เรื่องจีน จาก คุณ Wu Zetian และท่านอื่นๆ
เริ่มกระทู้โดย: Namplaeng ที่ 29 เม.ย. 22, 05:19
การแต่ง ชุดราชการและทับด้วยผ้าคลุมไหล่พระราชทาน จะเป็นการแต่งในโอกาสพิเศษ และท่านไม่เรียกว่า เฉาฝู มังครับ....

(http://[center]https://sv1.picz.in.th/images/2022/04/29/8Fp3KQ.png[/center])


กระทู้: ้ขอความรู้เรื่องจีน จาก คุณ Wu Zetian และท่านอื่นๆ
เริ่มกระทู้โดย: Namplaeng ที่ 29 เม.ย. 22, 05:28
(https://sv1.picz.in.th/images/2022/04/29/8Fp9PS.png)


กระทู้: ้ขอความรู้เรื่องจีน จาก คุณ Wu Zetian และท่านอื่นๆ
เริ่มกระทู้โดย: welikeqingdynasty ที่ 29 เม.ย. 22, 07:47
จากภาพที่นำมา คาดว่า คุณ Namplaeng อาจเข้าใจคลาดเคลื่อนนะคะ เพราะว่า ในราชวงศ์ชิง มีชุดเฉาฝู จี๋ฝู สิงฝู ฉางฝู

แต่ภาพที่คุณนำมาประกอบแล้วบอกว่าเป็นเฉาฝู มีภาพหนึ่งเป็นชุดจี๋ฝูค่ะ

วันนี้ไปฝึกแนบภาพมาแล้ว คิดว่าน่าจะได้ค่ะ
(https://sv1.picz.in.th/images/2022/04/29/8FvOFQ.md.jpg)

ชุดเฉาฝู เป็นชุดทางการตามพระราชประเพณี ใช้ในงานสำคัญระดับราชวงศ์ เช่น พิธีครองราชย์ พิธีสักการะฟ้า พิธีอภิเษกสมรส เป็นต้น
ชุดจี๋ฝู เป็นชุดลำลองกึ่งทางการ ใช้ในการเข้าร่วมงานว่าราชการ การทำงานราชการ งานสังสรรค์กลางคืน พิธีการต่าง ๆ ที่ไม่ต้องออกพระที่นั่งไท่เหอเตี้ยน เป็นต้น

ชุดเฉาฝู ถ้าของผู้ชาย มีองค์ประกอบค่ะ
-หมวกเฉากวน ซึ่งหมวกเฉากวนของเชื้อพระวงศ์และขุนนางจะมีความแตกต่างตรงที่ยอดของหมวกนั้น เชื้อพระวงศ์จะเป็นยอดทองคำ 3 ชั้นหลัก แล้วจึงมีไข่มุกประดับ ส่วนยอดหมวกของเชื้อพระวงศ์จะเป็นไข่มุกตงจูหรือทับทิม ตามแบบฉบับราชประเพณี แยกเป็นฤดูร้อนกับฤดูหนาวค่ะ หมวกเฉากวนมีจุดสังเกตอีกจุดคือพู่ไหมสีแดงเล็ก ๆ ที่เป้นหย่อม ๆ จะมีความหนามากกว่าปกติจนเห็นได้ชัด
-เสื้อเฉาผาว อันนี้เป็นข้อที่นำไปใช้จำไว้ได้นะคะ ว่า เสื้อเฉาผาวจะไม่มีลายน้ำลิ่วสุ่ยข้างล่าง ส่วนเรื่องฤดูนั้นแยกเป็นฤดูร้อนกับฤดูหนาวเช่นกัน และเสื้อเฉาผาวทุกตัวมีผ้าคลุมไหล่
-ประคำเฉาจู เป็นประคำ 108 ตามพระราชประเพณีเช่นกัน แต่ประคำเฉาจู อนุญาตให้สวมใส่กับชุดอื่นได้ ไม่ว่าจะเป็น จี๋ฝู ฉางฝู หรือ สิงฝู
-เข็มขัดเฉาไต้ เป็นเข็มขัดตามราชประเพณีที่จะใช้ผ้าไหมทำกระเป๋าเครื่องหอมผูกติดที่เข็มขัดและมีมีดสั้นพระราชทานควบคู่กันไป ห้อยไว้ที่เอว
เนี้ย ของผู้ชายมีแค่ 4 อย่างค่ะ

ชุดจี๋ฝู ถ้าของผู้ชาย ประกอบด้วย
-หมวกจี๋ฝูกวน หมวกจี๋ฝูกวนจะเป็นหมวกที่ยอดหมวกจะสั้นกว่าหมวกเฉากวน เทียบกันดูได้เลยค่ะว่าคนละขนาด คนละรูปแบบกันเลย จุดนี้ถ้าแยกออกก็ง่ายที่จะเข้าใจชุดในราชวงศ์ชิงค่ะ นอกจากนี้ หมวกจี๋ฝูกวนนั้น พู่ไหมจะมีการใช้ไหมเส้นใหญ่ แต่จะทำแบบเบาบางมาก เทียบภาพดูได้เลยค่ะว่า ก็คนละอันกับหมวกเฉากวน
-ประคำเฉาจู อันนี้อย่างที่บอกค่ะว่า ใส่ได้กับทุกชุด
-เสื้อหมางผาว เสื้อหลงผาวและหมางผาว เป็นเสื้อลายมังกรหรืองูยักษ์ ที่จะมี 9 ตัว และมีลายน้ำลิ่วสุ่ย(หลิวสุ่ย)ข้างล่างค่ะ ต่อให้เห็นแค่ชายกระโปรง ผู้ศึกษาชุดราชวงศ์ชิงก็จะแยกออกค่ะว่า คนใส่ในภาพ สวมชุดอะไรอยู่ โดยเสื้อหมางผาวนั้น ไม่มีผ้าคลุมไหล่นะคะ อันนี้เป็นข้อที่ควรจำ

เรื่องรองเท้าของทั้ง 2 นั้นไม่ต้องนับ เพราะในเอกสารราชวงศ์ชิง ไม่ระบุรองเท้าไว้เป็นข้อสำคัญค่ะ

ส่วนเสื้อคลุมปู่ฝู่
เสื้อคลุมปู่ฝู มีชื่อเรียกต่างกันไปตามแต่ผู้สวมใส่ โดยของจักรพรรดิเรียก กุ่นฝู ของรัชทายาทเรียกหลงกั้ว ของฝ่ายในเรียกหลงกั้ว ขององค์หญิงเรียกจี๋ฝูกั้ว ของเชื้อพระวงศ์ชายและขุนนางเรียก ปู่ฝู ซึ่งลักษณะก็จะแตกต่างกันไปตามฐานันดรศักดิ์และชั้นยศ ตัวอย่างเเช่น
-หวงตี้กุ่นฝู ปักมังกรทอง 5 เล็บ เป็นมังกรกลม ที่อก 1 ที่กลางหลัง 1 ที่ไหล่ทั้ง 2 ข้างอย่างละ 1
-ชินหวังปู่ฝู ปักมังกรทอง 5 เล็บ เป็นมังกรกลม ที่อก 1 ที่กลางหลัง 1 ที่ไหล่ทั้ง 2 ข้างอย่างละ 1
-เป้ยเล่อปู่ฝู ปักมังกร 5 เล็บ เป็นมังกรกลม ที่อก 1 ที่กลางหลัง 1
-กั๋วกงปู่ฝู ปักมังกร 4 เล็บ เป็นมังกรสี่เหลี่ยม ที่อก 1 ที่กลางหลัง 1
-ผู้รับบรรดาศักดิ์ กง-ป๋อ ปักมังกร 4 เล็บ เป็นมังกรสี่เหลี่ยม ที่อก 1 ที่กลางหลัง 1
-ขุนนางฝ่ายบริหาร ปักนกต่าง ๆ ซึ่งเป็นสัตว์ปีก ตามระดับของตน ที่อก 1 ที่กลางหลัง 1
-ขุนนางฝ่ายการทหาร ปักสัตว์สี่เท้า ตามระดับของตน ที่อก 1 ที่กลางหลัง 1

โดยชุดคลุมปู่ฝู เอาไว้ใส่คลุม เพื่อให้ง่ายต่อการบอกระดับค่ะว่า ขุนนางขั้นไหน


กระทู้: ้ขอความรู้เรื่องจีน จาก คุณ Wu Zetian และท่านอื่นๆ
เริ่มกระทู้โดย: welikeqingdynasty ที่ 29 เม.ย. 22, 07:56
เพิ่มเติมภาพ

เฉาผาว ซึ่งเป็นชุดประกอบของเฉาฝู จะมีผ้าคลุมไหล่ กับอีกฝั่ง หลงผาว/หมางผาว ซึ่งเป็นชุดประกอบของจี๋ฝู ชายผ้ามีลายน้ำลิ่วสุ่ย แต่จะไม่มีผ้าคลุมไหล่ค่ะ

ภาพจากพิพิธภัณฑ์พระราชวังเมืองปักกิ่ง กู้กงปั๋วอู้ก่วน ค่ะ

(https://sv1.picz.in.th/images/2022/04/29/8FG86E.jpg)

ซึ่งลองเทียบดูได้เลยค่ะว่า ถ้าเห็นภาพวาดคนใส่ชุดคลุม เห็นแค่ชายกระโปรง ก็รู้แล้วค่ะว่า ชุดที่ใส่ข้างในคืออะไรค่ะ


กระทู้: ้ขอความรู้เรื่องจีน จาก คุณ Wu Zetian และท่านอื่นๆ
เริ่มกระทู้โดย: welikeqingdynasty ที่ 29 เม.ย. 22, 08:17
เพิ่มเติมให้อีกกับภาพค่ะ เพราะจะได้เทียบได้ง่ายและไม่สับสนว่าอันไหนเฉาฝู อันไหนจี๋ฝู ค่ะ

ภาพที่ใช้เป็นภาพของจักรพรรดิเฉียนหลง ภาพนี้เก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์กู้กงปั๋วอู้ก่วนเช่นเดิมค่ะ

เทียบภาพจักรพรรดิเฉียนหลง ฉลองพระองค์เฉาฝู ซึ่งจะมีผ้าคลุมไหล่
กับภาพจักรพรรดิเฉียนหลง ฉลองพระองค์จี๋ฝู ซึ่งจะไม่มีผ้าคลุมไหล่

ดังนั้นการใส่ผ้าคลุมไหล่ ไม่เกี่ยวกับว่า ได้รับพระราชทานพิเศษนะคะ เพราะจุดนี้อยู่ที่ชุดและพิธีการที่เข้าร่วมค่ะ ถ้าใส่ชุดเฉาฝู ยังไงก็ต้องมีผ้าคลุมไหล่อยู่แล้วค่ะ

(https://sv1.picz.in.th/images/2022/04/29/8FGX1V.jpg)


กระทู้: ้ขอความรู้เรื่องจีน จาก คุณ Wu Zetian และท่านอื่นๆ
เริ่มกระทู้โดย: welikeqingdynasty ที่ 29 เม.ย. 22, 08:29
ส่วนของฝ่ายหญิง ก็มีแบบเฉาฝูมีผ้าคลุมมไหล่ กับจี๋ฝูไม่มีผ้าคลุมไหล่ค่ะ

ของฝ่ายหญิง เครื่องแต่งกายจะเยอะกว่าฝ่ายชาย ดังนั้นเวลาเรียกเฉพาะตัวเสื้อทางการที่เป็นการประกอบชุดเฉาฝู มีกฎมณเฑียรบาลกำหนดให้เรียกตัวเสื้อว่า เฉาผาว ค่ะ

ภาพที่นำมาแนบไว้เป็นภาพของพระนางฮุ่ยเสียนหวงกุ้ยเฟยจากสกุลเกา ในรัชกาลเฉียนหลง ซึ่งเป็นภาพที่เก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์กู้กงปั๋วอู้ก่วนค่ะ

ซึ่งเป็นภาพที่พระนางฮุ่ยเสียนหวงกุ้ยเฟย สวมใส่ชุดเฉาฝูกับจี่ฝู โดยที่ตัวเฉาผาวมีผ้าคลุมไหล่ แต่บนหลงผาวไม่มีผ้าคลุมไหล่ เพื่อยืนยันว่าการสวมใส่ผ้าคลุมไหล่ ไม่เกี่ยวกับการพระราชทานพิเศษ แต่เป็นพระพิธีการที่จะเข้าร่วมต่างหากค่ะ

(https://sv1.picz.in.th/images/2022/04/29/8FJoQ2.jpg)


กระทู้: ้ขอความรู้เรื่องจีน จาก คุณ Wu Zetian และท่านอื่นๆ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 29 เม.ย. 22, 09:39
สวัสดีค่ะคุณแอดมินหญิงใหญ่จากเฟสบุ๊คแฟนเพจ ชมรมผู้สนใจข้อมูลราชวงศ์ชิง 
ขอขอบคุณอย่างยิ่งที่เข้ามาให้ความรู้เรื่องผ้าคลุมไหล่ค่ะ
ดิฉันไม่รู้ภาษาจีน อ่านชื่อจีนมากๆเลยงง ทำให้จับประเด็นที่บอกมาไม่ได้ค่ะ

ดิฉันอยากทราบว่าเจ้าของผ้าเกียรติยศผืนน่าจะเป็นขุนนางระดับไหนได้บ้างคะ


กระทู้: ้ขอความรู้เรื่องจีน จาก คุณ Wu Zetian และท่านอื่นๆ
เริ่มกระทู้โดย: welikeqingdynasty ที่ 29 เม.ย. 22, 10:03
สวัสดีค่ะคุณเทาชมพู

จากภาพที่แนบมาเป็นผ้าคลุมไหล่บนชุดเฉาฝู

มังกรหันหน้าเข้าหาแก้ว แสดงว่าเป็นชุดของผู้ชาย

ขอบลายปักมิใช่แบบราช 8 มงคลของสำนักชั้นสูง จึงมิใช่ของเชื้อพระวงศ์และขุนนางชั้นสูง

ดังนั้นจะเหลือเพียง ผ้าคลุมไหล่บนชุดขุนนางฝ่ายบริหารขั้น 6-7 หรือฝ่ายการหทารขั้น 5-7 ซึ่งมีความเป็นไปได้มากที่สุดค่ะ

เพิ่มเติมอีกนิดค่ะ
ในราชวงศ์ชิงขุนนางขั้น 1-5 ฝ่ายบริหาร จะจัดเป็นขุนนางชั้นสูง ส่วนขั้น 6-9 จะเป็นขุนนางชั้นล่าง
ขุนนางขั้น 1-4 ฝ่ายการทหาร จะจัดเป็นขุนนางชั้นสูง ส่วนขุนนางขั้น 5-ขั้นไร้ระดับ(ต่ำกว่า 9) จะถือเป็นขุนนางชั้นล่าง ค่ะ

ในราชวงศ์ชิง ขุนนางทั้งบริหารและกลาโหม มีชุดเฉาฝูกันตั้งแต่ขุนนางขั้น 1 จนถึงขั้น 9 ค่ะ
แต่ชุดเฉาฝูของขุนนางที่เป็นพวกขั้น 8-9 ผ้าคลุมไหล่จะไม่ใช่มังกรค่ะ จะเป็นแค่ลายเมฆค่ะ



กระทู้: ้ขอความรู้เรื่องจีน จาก คุณ Wu Zetian และท่านอื่นๆ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 29 เม.ย. 22, 10:35
อยากให้คุณหญิงใหญ่ช่วยขยายความ  ความคิดเห็นในลิงก์นี้ (https://www.facebook.com/111221915569530/posts/7766221346736177/?d=n)

คุณวรพงษ์ : ราชวงศ์ชิงยังคงชุบเลี้ยงบุตรหลานที่สืบสายเลือดของฮ่องเต้ต้าหมิงเอาไว้ ทั้งยังพระราชทานบรรดาศักดิ์เหยียนเอินโหว มียศถาบรรดาศักดิ์สูง และให้ทำหน้าที่เฝ้าดูแลพระสุสานของฮ่องเต้หมิงด้วย

แอดมิน : ยังมีเลยที่เขียนว่าสกุลจูสวามิ​ภักดิ์เข้าร่วมกองธง


กระทู้: ้ขอความรู้เรื่องจีน จาก คุณ Wu Zetian และท่านอื่นๆ
เริ่มกระทู้โดย: welikeqingdynasty ที่ 29 เม.ย. 22, 10:44
ตอบคุณเพ็ญชมพูค่ะ

เรื่องราชวงศ์หมิงกับราชวงศ์ชิง มีประเด็นที่สามารถแยกความสัมพันธ์ได้ดังนี้ค่ะ

เมื่อครั้งที่ราชวงศ์หมิงครองแผ่นดิน กบฏชาวนานำโดยหลี่จื้อเฉิงบุกเข้าวังก่อนและสังหารเชื้อพระวงศ์หมิงจำนวนมาก เผาวังแทบวอดวาย เชื้อพระวงศ์หมิงบางส่วนหนีลงใต้ บางส่วนหนีไปหลบอยู่ที่อื่น ๆ

ในเวลานั้น แมนจูยังไม่ได้เข้าด่านเลยค่ะ

เมื่อแมนจูเข้าด่านปราบกบฏชาวนา แมนจูได้ให้สัญญาว่า เชื้อพระวงศ์หมิงที่สวามิภักดิ์ แมนจูจะชุบเลี้ยงอย่างดี ไม่ทำร้ายเด็ดขาด เมื่อประกาศดังนั้น เชื้อพระวงศ์หมิงที่หลบหนีบางส่วน ก็มาสวามิภักดิ์ต่อราชวงศ์ชิงค่ะ

ส่วนพวกเชื้อพระวงศ์หมิงที่หนีลงใต้ ก็แย่งกันเป็นใหญ่ ก่อตั้งราชวงศ์หมิงใต้ขึ้นมา เพื่อหวังจะฟื้นฟูค่ะ

ภายหลังเชื้อพระวงศ์หมิงที่ลงใต้ไปแล้วก่อตั้งแผ่นดินก็ถูกปราบค่ะ


ส่วนเชื้อพระวงศ์หมิงที่สวามิภักดิ์ ก็ได้รับการดูแลอย่างดี รับแต่งตั้งบรรดาศักดิ์ โหว ให้สืบไปจนสิ้นลูกสิ้นหลาน และอยู่ยาวมาจนสิ้นราชวงศ์ชิงเลยค่ะ

นอกจากนี้ คนในสกุลจูก็ยังมีบางส่วนที่สวามิภักดิ์เข้าสู่ระบบกองธง เพื่อเป็นขุนนางของราชวงศ์ชิงแบบไม่ต้องสอบค่ะ


กระทู้: ้ขอความรู้เรื่องจีน จาก คุณ Wu Zetian และท่านอื่นๆ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 29 เม.ย. 22, 11:55
ตอบคุณหญิงใหญ่ แอดมิน ค่ะ
ขอบคุณอย่างยิ่งอีกครั้งสำหรับคำตอบเรื่องผ้าคลุมบ่าค่ะ   

อย่างไรก็ตาม  หลานเหลนท่านจูหยุ่นได้ส่งคำถามเรื่องผ้าคลุมบ่าไปถามที่ปักกิ่งค่ะ   ดร.หลิงหลิง ผู้ที่ท่านถามได้ไปปรึกษาทางปักกิ่งแล้วเขียนตอบมาตามนี้

อยากจะขอให้คุณหญิงใหญ่อ่านแล้วพิจารณาอีกทีค่ะ   ถ้าคุณยังยืนยันว่าเป็นผ้าคลุมบ่าของขุนนางระดับล่าง   ไม่ใช่ระดับเจ้านายขุนนางชั้นสูง  ดิฉันจะส่งคำตอบของคุณให้เชื้อสายท่านจูหยุ่นนะคะ ให้ท่านพิจารณาเองค่ะ


กระทู้: ้ขอความรู้เรื่องจีน จาก คุณ Wu Zetian และท่านอื่นๆ
เริ่มกระทู้โดย: welikeqingdynasty ที่ 29 เม.ย. 22, 12:25
ตอบคุณหญิงใหญ่ แอดมิน ค่ะ
ขอบคุณอย่างยิ่งอีกครั้งสำหรับคำตอบเรื่องผ้าคลุมบ่าค่ะ   

อย่างไรก็ตาม  หลานเหลนท่านจูหยุ่นได้ส่งคำถามเรื่องผ้าคลุมบ่าไปถามที่ปักกิ่งค่ะ   ดร.หลิงหลิง ผู้ที่ท่านถามได้ไปปรึกษาทางปักกิ่งแล้วเขียนตอบมาตามนี้

อยากจะขอให้คุณหญิงใหญ่อ่านแล้วพิจารณาอีกทีค่ะ   ถ้าคุณยังยืนยันว่าเป็นผ้าคลุมบ่าของขุนนางระดับล่าง   ไม่ใช่ระดับเจ้านายขุนนางชั้นสูง  ดิฉันจะส่งคำตอบของคุณให้เชื้อสายท่านจูหยุ่นนะคะ ให้ท่านพิจารณาเองค่ะ

ขอยืนยันอีกครั้งว่าไม่ใช่ผ้าคลุมไหล่ของเชื้อพระวงศ์หรือขุนนางชั้นสูงแน่นอนค่ะ
เพราะหากเป็นผ้าคลุมไหล่ของเชื้อพระวงศ์ กุ๊นขอบจะต้องเป็นลายมงคล 8 ประการ
-หากเป็นผ้าคลุมไหล่ชุดของจักรพรรดิ ลายมังกรจะล่องอยู่บนพื้นเมฆ
-หากเป็นผ้าคลุมไหล่ของเชื้อพระวงศ์ตั้งแต่ชินหวังถึงเจียงจุน และขุนนางชั้นสูงบริหารขั้น 1-5 และฝ่ายทหารขั้น 1-4  มังกรทั้งสองจะล่องอยู่บนพื้นน้ำลิ่วสุ่ยค่ะ
-หากเป็นผ้าคลุมไหล่ของขุนนางชั้นล่าง บริหาร 6-7 และการหทาร 5-7 มังกรล่องอยู่บนดอกไม้
-หากเป็นผ้าคลุมไหล่ขุนนางชั้นล่างสุด บริหารและการทหาร 8-9 ไม่มีมังกร มีแต่เมฆค่ะ

อีกทั้ง หากพิจารณาองค์ประกอบอื่น...เชื้อพระวงศ์ในราชวงศ์ชิงจะแซ่จูได้อย่างไร


ดังนั้นขอยืนยันอีกครั้งค่ะว่าไม่ใช่ของเชื้อพระวงศ์หรือขุนนางชั้นสูงแน่นอนค่ะ

โดยส่วนตัวมีภาพฉลองพระองค์ที่ได้มาจากวังปักกิ่งโดยตรงประมาณ 200 กว่าภาพค่ะ เป็นภาพใหญ่คมชัด ดังนั้นก็เลยสามารถแยกได้โดยง่ายค่ะ


กระทู้: ้ขอความรู้เรื่องจีน จาก คุณ Wu Zetian และท่านอื่นๆ
เริ่มกระทู้โดย: welikeqingdynasty ที่ 29 เม.ย. 22, 12:33
ขอเรียนถามคุณเทาชมพูเพิ่มเติมค่ะ

ไม่ทราบว่าทายาทของท่านจู พอจะทราบไหมคะว่า ท่านจู รับราชการในสมัยใด บ้านเกิดจากเมืองใด พอจะมีอักษรจีนให้หรือไม่

เนื่องจากหญิงพอจะมีเอกสารที่ระบุได้อยู่ค่ะว่า หากมีชื่อนั้น เขาจะรับราชการในตำแหน่งใดค่ะ อันนี้จะง่ายต่อการเพิ่มเติมรายละเอียดข้อมูลได้อย่างดีเลยค่ะ


กระทู้: ้ขอความรู้เรื่องจีน จาก คุณ Wu Zetian และท่านอื่นๆ
เริ่มกระทู้โดย: Namplaeng ที่ 29 เม.ย. 22, 13:37
เป็นอีกวันที่ได้อ่านอะไรเพลินๆ อย่างคำของอาจารย์เทาชมพูท่านว่า

 “ อ่านแล้วเพลิดเพลิน ”     คริ คริ....

0000000000000000000000000000000000000000000000000

คุณ welikeqingdynast นิยาม เฉาฝู หรือ 朝服 ว่ามีองค์ประกอบ 6 ถูกต้อง หรือชอบแล้วไหมครับ ?

(https://sv1.picz.in.th/images/2022/04/29/8FpdAP.png)

เจตนาของผมก็เพียงให้ได้สังเกตนะครับว่า

โดยขนบและระเบียบ กาลเทศะ ในการแต่งเฉาฝู ท่านไม่สวมทับผ้าคลุมไหล่ครับ
[/b][/font][/color]


กระทู้: ้ขอความรู้เรื่องจีน จาก คุณ Wu Zetian และท่านอื่นๆ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 29 เม.ย. 22, 13:53
ไม่ทราบว่าทายาทของท่านจู พอจะทราบไหมคะว่า ท่านจู รับราชการในสมัยใด บ้านเกิดจากเมืองใด พอจะมีอักษรจีนให้หรือไม่
เนื่องจากหญิงพอจะมีเอกสารที่ระบุได้อยู่ค่ะว่า หากมีชื่อนั้น เขาจะรับราชการในตำแหน่งใดค่ะ อันนี้จะง่ายต่อการเพิ่มเติมรายละเอียดข้อมูลได้อย่างดีเลยค่ะ
ทราบแต่ว่าบุตรชายท่่านจู เกิดปี    1861  ถึงแก่กรรม    1928  ค่ะ
รู้เพิ่มเติมว่าท่านจู อยู่ที่เซี่ยงไฮ้ในสมัยจักรพรรดิเต้ากวงค่ะ
ชื่อยังสับสนกันอยู่ระหว่างจูหยุ่น กับจูกวงหลี     ทีแรกในประวัติบอกว่าจูหยุ่นเป็นบิดาจูกวงหลี  อยู่ที่ปักกิ่งก่อนอพยพออกมา
แต่หลังสุด ทราบมาว่า จูกวงหลีคือพ่อ  จูหยุ่นคือลูก   ค่ะ  และที่อยู่ก่อนอพยพคือเซี่ยงไฮ้ 

คุณหญิงใหญ่พอจะค้นชื่อจูกวงหลี ได้ไหมคะ

บุตรชายของท่านเมื่อมาเติบโตในสยาม  ลูกฟลานเล่าว่าท่านนับถือพุทธศาสนาอย่างเคร่งครัดมาก   
ท่านไม่มีสุสาน ไม่มีป้ายเกสิน  เมื่อถึงแก่กรรมให้เผาและบรรจุอัฐิในวัดอย่างคนไทยชาวพุทธค่ะ


กระทู้: ้ขอความรู้เรื่องจีน จาก คุณ Wu Zetian และท่านอื่นๆ
เริ่มกระทู้โดย: Namplaeng ที่ 29 เม.ย. 22, 13:55
แล้วภาพคำตอบ ของคุณ welikeqingdynast ก็ทำให้ผมได้ยิ้มครับ

เพราะะได้เข้าใจว่า ลักษณะนิสัย การอ่านเก็บความของท่านประณีต และคิดอ่านเป็นประการใด.....

ไม่ทราบว่า จนป่านนี้ คุณได้เข้าใจกับความคิด ความเห็นของตัวเองแล้วหรือยังครับ.....

(https://sv1.picz.in.th/images/2022/04/29/8FvOFQ.md.jpg)

และเมื่ออ่านข้อคิด ความเห็นของคุณต่อ ผมก็ได้เข้าใจครับว่า เกิดความผิดพลาดตรงไหน

ผมขออนุญาตแนะนำนะครับว่า ให้ขยันหมั่นตรวจสอบความหมายของ คำ และ ศัพท์

ที่มันจะช่วยให้เราได้พัฒนาความรู้ที่มีดีอยู่มากๆในขณะนี้ ให้รุดหน้าชนิดก้าวกระโดดเลยครับ

.


กระทู้: ้ขอความรู้เรื่องจีน จาก คุณ Wu Zetian และท่านอื่นๆ
เริ่มกระทู้โดย: welikeqingdynasty ที่ 29 เม.ย. 22, 13:59
เป็นอีกวันที่ได้อ่านอะไรเพลินๆ อย่างคำของอาจารย์เทาชมพูท่านว่า

 “ อ่านแล้วเพลิดเพลิน ”     คริ คริ....

0000000000000000000000000000000000000000000000000

คุณ welikeqingdynast นิยาม เฉาฝู หรือ 朝服 ว่ามีองค์ประกอบ 6 ถูกต้อง หรือชอบแล้วไหมครับ ?

(https://sv1.picz.in.th/images/2022/04/29/8FpdAP.png)

เจตนาของผมก็เพียงให้ได้สังเกตนะครับว่า

โดยขนบและระเบียบ กาลเทศะ ในการแต่งเฉาฝู ท่านไม่สวมทับผ้าคลุมไหล่ครับ
[/b][/font][/color]

หากบอกว่า มีองค์ประกอบแค่ 6 นั้น ไม่ถูกต้องค่ะ เพราะว่าทั้งชายและหญิงล้วนมีเฉาฝูค่ะ

ถ้าบอกว่ามีแค่ 6 เช่นนั้นของฝ่ายหญิงก็คงไม่มีแล้วค่ะ

ส่วนข้อมูลอ้างอิงที่หญิงใช้ เป็นข้อมูลจากกฎมณเฑียรบาลราชวงศ์ชิง ฉบับรัชกาลเฉียนหลงปีที่ 14 ค่ะ

ฝ่ายชาย
-หมวกเฉากวน
-เฉาผาว/เฉาฝู(มีผ้าคลุมไหล่)
-ประคำเฉาจู
-เข็มขัดเฉาไต้

ฝ่ายหญิง
-หมวกเฉากวน
-ผ้าคาดเศียรจินเย่
-ต่างหูเอ่อซื่อมุก 3 คู่
-สร้อยคอเสี้ยวจันทร์หลิงเย่
-ประคำเฉาจู 108 เม็ด 3 เส้น
-กระโปรงแดงด้านในเฉาฉุน
-เสื้อเฉาผาว(มีผ้าคลุมไหล่)
-เสื้อกั๊กเฉากั้ว
-ผ้าเช็ดหน้าไฉซุ่ย

นี่จึงเป็นไปตามแบบราชประเพณีค่ะ

ส่วนเสื้อคลุมปู่ฝู ไม่จำเป็นต้องใส่ตลอดนะคะ เพราะถ้าจะใส่คือแค่เพื่อบอกว่า เป็นเชื้อพระวงศ์ชั้นไหนหรือขุนนางระดับไหนก็เท่านั้นค่ะ

เดี๋ยวหญิงทำภาพให้ชมดีกว่าค่ะ จะได้เข้าใจได้ง่ายค่ะ


กระทู้: ้ขอความรู้เรื่องจีน จาก คุณ Wu Zetian และท่านอื่นๆ
เริ่มกระทู้โดย: welikeqingdynasty ที่ 29 เม.ย. 22, 14:02
แล้วภาพคำตอบ ของคุณ welikeqingdynast ก็ทำให้ผมได้ยิ้มครับ

เพราะะได้เข้าใจว่า ลักษณะนิสัย การอ่านเก็บความของท่านประณีต และคิดอ่านเป็นประการใด.....

ไม่ทราบว่า จนป่านนี้ คุณได้เข้าใจกับความคิด ความเห็นของตัวเองแล้วหรือยังครับ.....

(https://sv1.picz.in.th/images/2022/04/29/8FvOFQ.md.jpg)

และเมื่ออ่านข้อคิด ความเห็นของคุณต่อ ผมก็ได้เข้าใจครับว่า เกิดความผิดพลาดตรงไหน

ผมขออนุญาตแนะนำนะครับว่า ให้ขยันหมั่นตรวจสอบความหมายของ คำ และ ศัพท์

ที่มันจะช่วยให้เราได้พัฒนาความรู้ที่มีดีอยู่มากๆในขณะนี้ ให้รุดหน้าชนิดก้าวกระโดดเลยครับ

.

ไม่ทราบว่าหญิงตอบผิดตรงจุดไหนหรือเปล่าคะ ชี้แจงได้เลยนะคะ บางทีเผื่อหญิงอ่านเร็วไป

แต่หญิงมั่นใจว่าหญิงทำภาพเพื่อสื่อถึงชุดเฉาฝู กับ จี๋ฝู ว่าคนละชุดค่ะ จุดนี้ต้องแยกให้ออกก่อน มิเช่นนั้นก็จะไปต่อไม่ได้ค่ะ


กระทู้: ้ขอความรู้เรื่องจีน จาก คุณ Wu Zetian และท่านอื่นๆ
เริ่มกระทู้โดย: Namplaeng ที่ 29 เม.ย. 22, 14:14
(https://sv1.picz.in.th/images/2022/04/29/8Ik93f.png)

ขออนุญาตต่ออีกนิดนะครับ อ.เทาชมพู
 
คุณ welikeqingdynast เท่าที่อ่าน ผมว่าคุณยังมีความไม่เข้าใจมังครับว่า เฉาฝู และ เฉาเผา มีความหมายต่างกัน

เฉาฝู 朝服 cháo fú ท่านให้ความหมายว่า
 
臣子上朝觐见君主时所穿的服 เป็นชุดที่ข้าราชการใส่ยามเข้าเฝ้าฟังฮ่องเต้ว่าราชการครับ

อ้าง  https://www.zdic.net/hans/%E6%9C%9D%E6%9C%8D

ดังนั้น เฉาฝูจึงไม่ได้ข้องเกี่ยวอะไรกับฮ่องเต้ ฮองเฮา หรือ เชื้อพระวงศ์ ครับ

ชุดฮ่องเต้ข้างต้นนี้ ไม่ใช่ เฉาฝูครับ

เสื้อทรงในภาพ ที่ถูกต้องเรียก เฉาเผา หรือ 朝袍

朝袍 是清朝皇帝的礼服之一,是皇帝在朝贺和祭祀活动时穿的服装。

ซึ่งโดยขนบ ฮ่องเต้ก็หาได้ทรงชุดนี้ในยามว่าราชการปกติ หากแต่ใช้ในยามที่มีพิธีการเฉลิมฉลองสำคัญ เท่านั้นครับ

อ้าง 朝袍_百度百科



กระทู้: ้ขอความรู้เรื่องจีน จาก คุณ Wu Zetian และท่านอื่นๆ
เริ่มกระทู้โดย: welikeqingdynasty ที่ 29 เม.ย. 22, 14:32
(https://sv1.picz.in.th/images/2022/04/29/8Ik93f.png)

ขออนุญาตต่ออีกนิดนะครับ อ.เทาชมพู
 
คุณ welikeqingdynast เท่าที่อ่าน ผมว่าคุณยังมีความไม่เข้าใจมังครับว่า เฉาฝู และ เฉาเผา มีความหมายต่างกัน

เฉาฝู 朝服 cháo fú ท่านให้ความหมายว่า
 
臣子上朝觐见君主时所穿的服 เป็นชุดที่ข้าราชการใส่ยามเข้าเฝ้าฟังฮ่องเต้ว่าราชการครับ

อ้าง  https://www.zdic.net/hans/%E6%9C%9D%E6%9C%8D

ดังนั้น เฉาฝูจึงไม่ได้ข้องเกี่ยวอะไรกับฮ่องเต้ ฮองเฮา หรือ เชื้อพระวงศ์ ครับ

ชุดฮ่องเต้ข้างต้นนี้ ไม่ใช่ เฉาฝูครับ

เสื้อทรงในภาพ ที่ถูกต้องเรียก เฉาเผา หรือ 朝袍

朝袍 是清朝皇帝的礼服之一,是皇帝在朝贺和祭祀活动时穿的服装。

ซึ่งโดยขนบ ฮ่องเต้ก็หาได้ทรงชุดนี้ในยามว่าราชการปกติ หากแต่ใช้ในยามที่มีพิธีการเฉลิมฉลองสำคัญ เท่านั้นครับ

อ้าง 朝袍_百度百科




หากว่าหญิงกล่าวผิด เช่นนั้นขออนุญาตแนบข้อมูลเลยนะคะ
ข้อมูลจาก สารานุกรมรวม 钦定四库全书 เรื่อง 皇朝礼器图式 บทที่ 4 ซึ่งสารานุกรมนี้เป็นของจักรพรรดิเฉียนหลง

เขียนชัดนะคะ ว่านี่คือ 皇帝冬朝服一
(https://sv1.picz.in.th/images/2022/04/29/8I9VLJ.jpg)

ส่วนอันนี้ก็เขียนไว้ว่านี่คือ 皇帝冬朝服二
(https://sv1.picz.in.th/images/2022/04/29/8I9IAu.jpg)


ส่วนอันนี้ก็เขียนไว้ว่านี่คือ 皇帝夏朝服二
(https://sv1.picz.in.th/images/2022/04/29/8ITYze.jpg)

จักรพรรดิใส่เฉาฝู(朝服) ชัดเจนแล้วนะคะ
หากบอกว่าข้อมูลที่หญิงเอามานั่นผิดพลาดประการใด คงต้องบอกว่าผิดที่สารานุกรม 四库全书 ของจักรพรรดิเฉียนหลง ซึ่งเป็นข้อมูลต้นทางแล้วค่ะ


กระทู้: ้ขอความรู้เรื่องจีน จาก คุณ Wu Zetian และท่านอื่นๆ
เริ่มกระทู้โดย: Namplaeng ที่ 29 เม.ย. 22, 14:36
ขอโทษนะครับ คุณ welikeqingdynast  ขออนุญาตย้อนความไปที่ ความคิดเห็นที่ 39 ที่มีความเป็นข้อประเด็นว่า...


(https://sv1.picz.in.th/images/2022/04/29/8I9nMy.png)

และ ระบียบว่าด้วยเฉาฝู ที่มีองค์ประกอบ6 ไม่ใช่ความเห็นของผม

ยังไงคุณที่อ่านจีนได้คงสามารถย้อนสืบได้มังครับว่า

มีมาแต่ใด.......


กระทู้: ้ขอความรู้เรื่องจีน จาก คุณ Wu Zetian และท่านอื่นๆ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 29 เม.ย. 22, 14:36
รูปข้างบนใหญ่จนตกจอคอมดิฉัน เลยขอย่อรูปให้เห็นชัดๆนะคะ


กระทู้: ้ขอความรู้เรื่องจีน จาก คุณ Wu Zetian และท่านอื่นๆ
เริ่มกระทู้โดย: welikeqingdynasty ที่ 29 เม.ย. 22, 14:43
ขอโทษนะครับ คุณ welikeqingdynast  ขออนุญาตย้อนความไปที่ ความคิดเห็นที่ 39 ที่มีความเป็นข้อประเด็นว่า...


(https://sv1.picz.in.th/images/2022/04/29/8I9nMy.png)

และ ระบียบว่าด้วยเฉาฝู ที่มีองค์ประกอบ6 ไม่ใช่ความเห็นของผม

ยังไงคุณที่อ่านจีนได้คงสามารถย้อนสืบได้มังครับว่า

มีมาแต่ใด.......

หญิงว่าหญิงก็ตอบถูกนะคะ แต่เราอาจจะเข้าใจกันคนละประเด็นหรือเปล่าค่ะ

แต่ถึงอย่างไรก็แล้วแต่ค่ะ เฉาฝู หญิงได้ยืนยัน แล้วว่าเป็นชุดทางการของเชื้อพระวงศ์และขุนนาง ยังไงก็คือเฉาฝู ใช้ในงานพระราชพิธีสำคัญ คราองราชย์ สักการะฟ้า อภิเษกสมรส



ส่วนระเบียบการที่ว่า เฉาฝูมีองค์ประกอบ 6 อันนั้น หญิงก็อ่านแล้วค่ะว่าคุณเอามาในจากทีอื่น

แต่หญิงก็ตอบไปแล้วนะคะว่า มันไม่น่าจะถูก เพราะองค์ประกอบของเฉาฝู ต้องไปแยกว่าภายในมีทั้งชายและหญิง ดังนั้นจะแค่ 6 อันเป็นไปไม่ได้ค่ะ


หญิงไม่มั่นใจว่าหญิงเข้าใจคำของคุณผิด หรือคุณเข้าใจคำของหญิงผิด หรือ เราเข้าใจกันผิดคนละประเด็นตรงไหนคะ

อีกอย่างคือหญิงเรียกตามสารานุกรม 钦定四库全书 ของเฉียนหลง ที่เขาเรียกมาแบบนี้ จะให้หญิงไปเรียกตามตำราอื่นที่ไม่ใช่ตำราของราชวงศ์ชิง ก็คงจะใช่แล้วค่ะ

ถ้าเราเข้าใจผิดกันตรงไหน มาคุยกันทีละประเด็นนะคะ จะได้เข้าใจไปในทางเดียวกัน


กระทู้: ้ขอความรู้เรื่องจีน จาก คุณ Wu Zetian และท่านอื่นๆ
เริ่มกระทู้โดย: Namplaeng ที่ 29 เม.ย. 22, 14:54
.

.

(https://sv1.picz.in.th/images/2022/04/29/8ItWc1.png)

.

.

สารภาพว่า ดูภาพนี้แล้วให้คิดอคติต่อความคิดของคุณ welikeqingdynast  

แต่จะพยายามปรับใจตัวเองครับ หากผมผิดพลาดยังไง ก็กราบขออภัยไว้ ณ โอกาสนี้ครับ

ภาพทั้ง 3 ชื่อหลักเดียวกันว่า  皇帝冬朝服  ที่ผมขออนุญาตแปลความว่า ชุดทรงในยามออกว่าราชการของฮ่องเต้ในฤดูหนาว

(  皇帝 ฮ่องเต้ 冬  ฤดูหนาว 朝服 ชุดออกว่าราชการ )

ประเด็น คือ แน่ใจนะครับว่า ชุดนี้มีผ้าพาดไหล่ ?

.

ภาพ


กระทู้: ้ขอความรู้เรื่องจีน จาก คุณ Wu Zetian และท่านอื่นๆ
เริ่มกระทู้โดย: Namplaeng ที่ 29 เม.ย. 22, 15:04
หากคุณ welikeqingdynas จะเชื่อ และยืนยันว่า

เฉาฝู ใช้ในงานพระราชพิธีสำคัญ ครองราชย์ สักการะฟ้า อภิเษกสมรส


เช่นนั้น ชุดพิธีการนี้ท่านใช้ในยามใด....... ?

(https://sv1.picz.in.th/images/2022/04/29/8Fp9PS.png)


กระทู้: ้ขอความรู้เรื่องจีน จาก คุณ Wu Zetian และท่านอื่นๆ
เริ่มกระทู้โดย: welikeqingdynasty ที่ 29 เม.ย. 22, 15:11
.

.

(https://sv1.picz.in.th/images/2022/04/29/8ItWc1.png)

.

.

สารภาพว่า ดูภาพนี้แล้วให้คิดอคติต่อความคิดของคุณ welikeqingdynast  

แต่จะพยายามปรับใจตัวเองครับ หากผมผิดพลาดยังไง ก็กราบขออภัยไว้ ณ โอกาสนี้ครับ

ภาพทั้ง 3 ชื่อหลักเดียวกันว่า  皇帝冬朝服  ที่ผมขออนุญาตแปลความว่า ชุดทรงในยามออกว่าราชการของฮ่องเต้ในฤดูหนาว

(  皇帝 ฮ่องเต้ 冬  ฤดูหนาว 朝服 ชุดออกว่าราชการ )

ประเด็น คือ แน่ใจนะครับว่า ชุดนี้มีผ้าพาดไหล่ ?

.

ภาพ


ขอเรียนตามตรงนะคะว่า มีผ้าคลุมไหล่ค่ะ ลองมองบริเวณปกคอเสื้อนะคะ ว่าเห็นปกคอเสื้อถูกวาดทับลงไปหรือไม่คะ

เอาเป็นว่า ขอแนบอีกสักภาพ เป็นภาพด้านหลังก็แล้วกันนะคะ

(https://sv1.picz.in.th/images/2022/04/29/8IKTF1.jpg)

หวังว่าภาพผ้าคลุมไหล่ที่ถูกพับลงไปด้านหลัง จะเห็นชัดเจนนะคะ


กระทู้: ้ขอความรู้เรื่องจีน จาก คุณ Wu Zetian และท่านอื่นๆ
เริ่มกระทู้โดย: welikeqingdynasty ที่ 29 เม.ย. 22, 15:18
หากคุณ welikeqingdynas จะเชื่อ และยืนยันว่า

เฉาฝู ใช้ในงานพระราชพิธีสำคัญ ครองราชย์ สักการะฟ้า อภิเษกสมรส


เช่นนั้น ชุดพิธีการนี้ท่านใช้ในยามใด....... ?

(https://sv1.picz.in.th/images/2022/04/29/8Fp9PS.png)

ขุนนางต้องสวมชุดเฉาฝูเข้าร่วมพิธีการระดับราชวงศ์ค่ะ

ขุนนางเข้าร่วมในพิธีครองราชย์ที่ไท่เหอเตี้ยน สวมเฉาฝู

ขุนนางเข้าร่วมในพิธีอภิเษกสมรส(จริง ๆ อยากใช้คำไทยว่าแต่งงานค่ะ เพราะว่าน่าจะได้ความหมายที่ตรงไปตรงมาค่ะ)ที่ไท่เหอเตี้ยน สวมเฉาฝู ส่วนงานเลี้ยงที่คุนหนิงกง ขุนนางค่อยสวมจี๋ฝู

ขุนนางเข้าร่วมพิธีสักการะฟ้าที่หอเทียนถาน สวมชุดเฉาฝู

แต่ถ้าว่าราชการ ขุนนางสวมจี๋ฝูค่ะ


กระทู้: ้ขอความรู้เรื่องจีน จาก คุณ Wu Zetian และท่านอื่นๆ
เริ่มกระทู้โดย: Namplaeng ที่ 29 เม.ย. 22, 15:19
คุณ welikeqingdynas ขอบคุณครับสำหรับภาพคำตอบ _/\_

ยังไงอย่าลืมคำถามที่ผมรบกวนขอคำตอบใน ความคิดเห็นที่ 67 ด้วยนะครับ ;D


กระทู้: ้ขอความรู้เรื่องจีน จาก คุณ Wu Zetian และท่านอื่นๆ
เริ่มกระทู้โดย: Namplaeng ที่ 29 เม.ย. 22, 15:25
ขอโทษครับ เพิ่งเห็นว่าคุณตอบแล้ว ขอบคุณครับ


แต่ถ้าว่าราชการ ขุนนางสวมจี๋ฝูค่ะ......

?


กระทู้: ้ขอความรู้เรื่องจีน จาก คุณ Wu Zetian และท่านอื่นๆ
เริ่มกระทู้โดย: Namplaeng ที่ 29 เม.ย. 22, 15:53
ผมงงกับคำตอบครับ แต่ประเด็นนี้ไม่ต้องสนใจผมก็ได้ครับ ข้ามเถิด ไม่สนุกละ  :-X

ยังมีอีกประเด็นหนึ่ง ที่ท่านกรุณามาเล่าว่า.....

.

(https://sv1.picz.in.th/images/2022/04/29/8IgUCg.png)


ส่วนตัว ขออนุญาตเรียก “ เรื่องเล่าโลกสวย ” ครับ

เพราะในประวัติศาสตร์จริง แถบละแวกกรุงปักกิ่งเกิดกรณีจลาจล รบราฆ่าฟันกันตั้งแต่ คศ. 1644

แต่กรณีเรื่องเล่าพระราชสำนักชิงใจดี เพิ่งจะเกิดเรื่องเล่าในปี คศ.1688 ภายใต้ กุศโลบายทางการปกครองที่มุ่งจะสร้างความสามัคคึในจีน

โดยจักรพรรดิคังซี ทรงเสด็จไปไหว้สุสานราชวงศ์หมิงใน คศ. 1684 และ 1699 และดำริให้หาทายาทตระกูลจูสายราชวงศ์มาดูแลสุสาน

ซึ่งกว่าทางพระราชสำนักจีนจะควานเจอตัวทายาท และพิสูจน์ตัวตนได้ กว่าจะแต่งตั้งคนดูแลสุสาน ก็ตกในปี คศ.1724 ในรัชสมัยจักรพรรดิหย่งเจิ้น


ท่านดำเนินตามกุศโลบายลบรอยเกลียดชังได้สำเร็จก็เมื่อการรบราฆ่าฟันผ่านไป 6 , 70 ปี และต้องใช้เวลาสืบเสาะหาทายาทราชวงศ์หมิงที่รอดจากการฆ่าล้างนานกว่ายี่สิบปี.....

เรื่องนี้ใครสนใจ และรู้ภาษา ขออนุญาตแนะนำให้อ่านได้จาก https://www.sohu.com/a/367529850_760675 ครับ


โลกจริงไม่ได้สดสวยครับ.......  :'(


กระทู้: ้ขอความรู้เรื่องจีน จาก คุณ Wu Zetian และท่านอื่นๆ
เริ่มกระทู้โดย: welikeqingdynasty ที่ 29 เม.ย. 22, 16:12
ขอโทษครับ เพิ่งเห็นว่าคุณตอบแล้ว ขอบคุณครับ


แต่ถ้าว่าราชการ ขุนนางสวมจี๋ฝูค่ะ......

?

ในราชวงศ์ชิงการออกว่าราชการนั้น มีประวัติที่แตกต่างจากราชวงศ์หมิงค่อนข้างมากค่ะ

ก่อนอื่น ขอเกริ่นให้ทราบถึงความเป็นไปก่อนนะคะ

ในราชวงศ์ชิง เมื่อเข้าด่านมาสู่เมืองปักกิ่ง จะเริ่มต้นที่การสำเร็จราชการของรุ่ยชินหวัง หรือ องค์ชายตัวเอ่อร์กุ่น และเจิ้งชินหวัง หรือ องค์ชายจีเอ่อร์ฮาหลั่ง

องค์ชายตัวเอ่อร์กุ่นต้องมาปกครองปักกิ่ง ในขณะที่องค์ชายจีเอ่อร์ฮาหลั่งต้องปกครองที่เมืองเสิ่นหยางและดูแลจักรพรรดิซุ่นจื้อที่ต้องอยู่เสิ่นหยางไปจนกว่าสถานการณ์ที่ปักกิ่งจะสงบแล้วค่อยย้ายไปปักกิ่งแบบถาวรค่ะ

ในเวลานั้น ราชวงศ์ชิงมีการว่าราชการ 2 ที่ค่ะ

องค์ชายตัวเอ่อร์กุ่นที่ว่าราชการนั้น ว่าราชการที่พระที่นั่งอู่อิงเตี้ยน

สาเหตุที่ต้องว่าราชการที่พระที่นั่งอู่อิงเตี้ยน เพราะพระที่นั่งอื่น ๆ รวมถึงพระตำหนักส่วนใหญ่ ถูกกบฎชาวนาเผา แล้วใช้การไม่ได้ค่ะ

แม้ว่าองค์ชายตัวเอ่อร์กุ่นจะสั่งให้สร้างพระที่นั่งและพระตำหนักต่าง ๆ ขึ้นใหม่ แต่ก็ยากลำบาก ด้วยว่าแมนจูเข้าด่านมาแล้วก็จริง แต่การขนส่งวัสดุต่าง ๆ ที่จะนำมาสร้างใหม่นั้น ยากลำบากค่ะ

อาคารพระที่นั่งไท่เหอเตี้ยน ซึ่งเป็นพระที่นั่งหลัก ท้องพระดรงใหญ่ ก็ค่อย ๆ ซ่อมไป และไม่ใช้งานในการว่าราชการค่ะ

ในช่วงต้นรัชกาลซุ่นจื้อ ไม่มีชุดเฉาฝูที่เป็นทางการค่ะ เดิมเป็นแค่ชุดกระโปรงยาวที่ใช้ผ้าทอสีเหลือง เขียนลายด้วยสีทอง มีแต่จักรพรรดิเท่านั้นที่ใส่ คนอื่นไม่มีใส่ค่ะ อีกทั้งจักรพรรดิใส่แค่ตอนมาพิธีการสำคัญ แต่คนอื่นไม่มี


2 ปีหลังจากองค์ชายตัวเอ่อร์กุ่นเสียชีวิต ในปีซุ่นจื้อที่ 10 จักรพรรดิซุ่นจื้อย้ายมาพร้อมทั้งเชื้อพระวงศ์จำนวนมาก มาอยู่ปักกิ่ง แต่พระที่นั่งไท่เหอเตี้ยนยังซ่อมไม่เสร็จ จักรพรรดิซุ่นจื้อก็เลยว่าราชการที่พระที่นั่งเป่าเหอเตี้ยนแทนค่ะ

พระที่นั่งเป่าเหอเตี้ยน เป็นพระที่นั่งที่อยู่ถัดไปหลังจากไท่เหอเตี้ยนและจงเหอเตี้ยน

โดยจักรพรรดิซุ่นจื้อใช้เป็นทั้งที่พักและที่ว่าราชการค่ะ โดยชุดที่จะใช้ว่าราชการ ก็ลอกเลียนแบบลายปักกลางอกของขุนนางในราชวงศ์หมิงมาใช้ แต่ก็ยังไม่มีชุดเฉาฝูสำหรับขุนนางอยู่ดีค่ะ สวมใส่แบบชุดที่ปักลายกลางอกเหมือนสมัยหมิง เป็นชุดจี๋ฝูค่ะ


ภายหลังพระตำหนักเฉียนชิงกง พระที่นั่งเจียวไท่เตี้ยน และพระตำหนักคุนหนิงกง ที่เคยถูกเผาในสมัยกบฎชาวนา ได้ถูกสร้างใหม่จนเสร็จสิ้น จักรพรรดิซุ่นจื้อก็ค่อยย้ายไปประทับค่ะ

ในช่วงรัชกาลซุ่นจื้อ มีหวงโฮ่วคือพระนางเสี้ยวฮุ่ยจาง พระนางเป็นคนเริ่มคิดออกแบบชุดเฉาฝูสำหรับคนอื่น ๆ ขึ้นมา

การออกแบบชุดของพระนางยาวถึงรัชกาลคังซี ก่อกำเนิดเป็นชุดเฉาฝูสำหรับเชื้อพระวงศ์และขุนนางค่ะ

แต่ตอนนั้นพระตำหนักเฉียนชิงกงสร้างเสร็จไปนานแล้ว จักรพรรดิก็ว่าราชการที่นั่น อีกทั้งจักรพรรดิคังซีก็สนับสนุนให้มีการทำชุดจี๋ฝูแบบมาตรฐานขึ้นมาบ้าง เพราะชุดเฉาฝูจะเอามาใส่ว่าราชการก็ไม่ไหว ผ้าไหมในสมัยนั้นแพงมาก ไม่ใช่ของถูก ชุดเฉาฝูให้สงวนไว้ใช้ในงานพระราชพิธีสำคัญ ส่วนจี๋ฝู ก็ให้ทั้งเชื้อพระวงศ์และขุนนาง สวมใส่ในการเข้าร่วมว่าราชการ งานพิธีการแบบที่ไม่ใช่ระดับราชวงศ์ งานเลี้ยงทั่วไปในพระราชวัง งานออกรับทูตมองโกล เป็นต้น

ชุดจี๋ฝู จึงถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย แต่ก็ต้องคงลักษณะการใช้งานไว้ ให้อยู่ในขอบงานสำคัญที่รองจากงานระดับราชวงศ์ค่ะ

จี๋ฝู(吉服) นั้นมีทั้งเชื้อพระวงศ์และขุนนาง

หมวก เรียกเหมือนกันทั้งหมดว่า จี๋ฝูกวน

ตัวอย่างหมวกจี๋ฝูกวนของจักรพรรดิค่ะ
(https://sv1.picz.in.th/images/2022/04/29/8IxcfR.jpg)


ส่วนเสื้อ จะเรียกแตกต่างกันบ้าง
-ของหวงตี้ เรียกหลงผาว
-ของหวงไท่จื่อ เรียกหลงผาว
-ของฝ่ายในหวงโฮ่วลงไปถึงผิน เรียก หลงผาว
-ขององค์ชายชินหวังลงไปถึงเจียงจุน เรียก หมางผาว
-ขององค์หญิงกู้หลุนกงจวู่ลงไปถึงเซี่ยงจุน เรียก หมางผาว
-ของขุนนางชายขั้น 1-9 เรียก หมางผาว
-ของภรรยาขุนนางขั้น 1-7 เรียก หมางผาว(ภรรยาขุนนางขั้น 8-9 ไม่มีสิทธิ์สวมชุดทั้งเฉาฝูและจี๋ฝูค่ะ)


ตัวอย่างชุดจี๋ฝูของจักรพรรดิ เรียกว่า หลงผาวค่ะ
(https://sv1.picz.in.th/images/2022/04/29/8IRKQV.jpg)

ตัวอย่างชุดจี๋ฝูของกู้หลุนกงจวู่ เรียกว่า หมางผาวค่ะ
(https://sv1.picz.in.th/images/2022/04/29/8IRbU9.jpg)

ตัวอย่างชุดจี๋ฝูของขุนนาง เรียกว่า หมางผาวค่ะ
(https://sv1.picz.in.th/images/2022/04/29/8IxStW.jpg)


เข็มขัดจะมีแต่ฝ่ายชาย เรียกกันว่า จี่ฝูไต้ ซึ่งจะมีถุงหอมผ้าไหมและมีดสั้นประดับค่ะ

ตัวอย่างเข็มขัดจี๋ฝูไต้ของจักรพรรดิค่ะ
(https://sv1.picz.in.th/images/2022/04/29/8Ixg50.jpg)

โดยหลัก ๆ แล้ว ชุดจี๋ฝู จะเป็นแบบนั้นค่ะ

แต่จะมีออฟชั่นเสริม ที่จะใช้คลุมทับ นั่นคือ เสื้อคลุมปู่ฝูค่ะ
เสื้อคลุมปู่ฝู จะเป็นสีกรมท่าและดำ และมีชื่อเรียกแตกต่างกันไปค่ะ

-ของหวงตี้ เรียกกุ่นฝู
-ของหวงไท่จื่อ เรียกหลงกั้ว
-ของฝ่ายในหวงโฮ่วลงไปถึงผิน เรียก หลงกั้ว
-ขององค์ชายชินหวังลงไปถึงเจียงจุน เรียก ปู่ฝู
-ขององค์หญิงกู้หลุนกงจวู่ลงไปถึงเซี่ยงจุน เรียก จี๋ฝูกั้ว
-ของขุนนางชายขั้น 1-9 เรียก ปู่ฝู
-ของภรรยาขุนนางขั้น 1-9 เรียก ปู่ฝู(โดยภรรยาขุนนางทุกชั้นมีสิทธิ์ได้รับตัวเสื้อคลุมปู่ฝู หรือขอรับเฉพาะลายปักเพื่อนำไปเย็บติดกับเสื้อได้หากว่าสตรีนั้นเป็นชาวฮั่น และต้องการสวมแบบฮั่น)

ตัวอย่างชุดคลุมปู่ฝูของหวงตี้ เรียกกว่า กุ่นฝู ค่ะ
(https://sv1.picz.in.th/images/2022/04/29/8IxPSV.jpg)

ตัวอย่างชุดคลุมปู่ฝูของหวงโฮ่ว เรียกว่า หลงกั้ว ค่ะ
(https://sv1.picz.in.th/images/2022/04/29/8Ix2uS.jpg)

ตัวอย่างชุดคลุมปู่ฝูของขุนนาง เรียกว่า ปู่ฝู ค่ะ
(https://sv1.picz.in.th/images/2022/04/29/8IQWX0.jpg)

เมื่อสวมชุดปู่ฝูคลุมทับ ก็จะง่ายต่อการดูว่า ใครเป็นเชื้อพระวงศ์หรือขุนนางขั้นไหนค่ะ

นอกจากนี้ ประคำเฉาจูซึ่งเป็นประคำทางการ เอามาใส่กับชุดจี๋ฝูได้เลยค่ะ เพราะในราชวงศ์ชิง ประคำทางการเป็นของสำคัญ เชื้อพระวงศ์ทุกคนต้องมี แต่ขุนนางมีแค่ขุนนางขั้น 1-5 เท่านั้น(ภรรยาขุนนางขั้น 1-5 ก็จะมีค่ะ แต่ฝ่ายหญิงจะได้ 3 เส้น ฝ่ายชายจะมีเส้นเดียว)



หลังการย้ายมาประทับ ณ พระที่นั่งหยั่งซินเตี้ยน จักรพรรดิยงเจิ้งก็ให้ว่าราชการแบบเล็ก ๆ ใช้แค่ขุนนางสำคัญ แล้วกระจายงานกันค่ะ ดังนั้นชุดว่าราชการ จึงเป็นชุดจี๋ฝูทั้งหมด

ในรัชกาลเฉียนหลง ออกว่าราชการพิเศษที่ประตูเฉียนชิงเหมินทุก 15 วัน ขุนนางก็ใส่ชุดจี๋ฝูเพื่อเข้าร่วมการว่าราชการค่ะ


คำตอบนี้ยาวหน่อย แต่อยากให้ทราบถึงต้นสายปลายเหตุ และภาพชุดสวย ๆ จากพิพิธภัณฑ์พระราชวังกู้กงปั๋วอู้ก่วนค่ะ ซึ่งทางวังปักกิ่งขุดค้นและนำชุดเหล่านี้ออกมาจากหีบในสุสานของเชื้อพระวงศ์หลายองค์ และนำมาคืนสภาพ ซึ่งชุดที่นำมาคือชุดที่คืนสภาพได้เกือบสมบูรณ์ค่ะ แต่ก็มีชุดจำนวนมากที่คืนสภาพได้ยากค่ะ


กระทู้: ้ขอความรู้เรื่องจีน จาก คุณ Wu Zetian และท่านอื่นๆ
เริ่มกระทู้โดย: welikeqingdynasty ที่ 29 เม.ย. 22, 16:14
ผมงงกับคำตอบครับ แต่ประเด็นนี้ไม่ต้องสนใจผมก็ได้ครับ ข้ามเถิด ไม่สนุกละ  :-X

ยังมีอีกประเด็นหนึ่ง ที่ท่านกรุณามาเล่าว่า.....

.

(https://sv1.picz.in.th/images/2022/04/29/8IgUCg.png)


ส่วนตัว ขออนุญาตเรียก “ เรื่องเล่าโลกสวย ” ครับ

เพราะในประวัติศาสตร์จริง แถบละแวกกรุงปักกิ่งเกิดกรณีจลาจล รบราฆ่าฟันกันตั้งแต่ คศ. 1644

แต่กรณีเรื่องเล่าพระราชสำนักชิงใจดี เพิ่งจะเกิดเรื่องเล่าในปี คศ.1688 ภายใต้ กุศโลบายทางการปกครองที่มุ่งจะสร้างความสามัคคึในจีน

โดยจักรพรรดิคังซี ทรงเสด็จไปไหว้สุสานราชวงศ์หมิงใน คศ. 1684 และ 1699 และดำริให้หาทายาทตระกูลจูสายราชวงศ์มาดูแลสุสาน

ซึ่งกว่าทางพระราชสำนักจีนจะควานเจอตัวทายาท และพิสูจน์ตัวตนได้ กว่าจะแต่งตั้งคนดูแลสุสาน ก็ตกในปี คศ.1724 ในรัชสมัยจักรพรรดิหย่งเจิ้น


ท่านดำเนินตามกุศโลบายลบรอยเกลียดชังได้สำเร็จก็เมื่อการรบราฆ่าฟันผ่านไป 6 , 70 ปี และต้องใช้เวลาสืบเสาะหาทายาทราชวงศ์หมิงที่รอดจากการฆ่าล้างนานกว่ายี่สิบปี.....

เรื่องนี้ใครสนใจ และรู้ภาษา ขออนุญาตแนะนำให้อ่านได้จาก https://www.sohu.com/a/367529850_760675 ครับ


โลกจริงไม่ได้สดสวยครับ.......  :'(


จักรพรรดิยงเจิ้ง ค่ะ


กระทู้: ้ขอความรู้เรื่องจีน จาก คุณ Wu Zetian และท่านอื่นๆ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 29 เม.ย. 22, 16:22
ถามคุณหญิงใหญ่
ถ้าหากว่าท่านแซ่จูเป็นขุนนางสมัยฮ่องเต้เตากวง  ท่านจะแต่งกายแบบนี้ใช่ไหมคะ
เห็นมีผ้าคลุมไหล่ด่วย


กระทู้: ้ขอความรู้เรื่องจีน จาก คุณ Wu Zetian และท่านอื่นๆ
เริ่มกระทู้โดย: Namplaeng ที่ 29 เม.ย. 22, 16:34
คุณ welikeqingdynast

ขอบคุณครับ ที่ช่วยแก้คำสะกดผิดให้ 5 5 5.....

และ

การแต่งตั้งคนดูแลสุสานไม่ใข่เหตุการณ์ ระหว่างที่ทหารฝ่ายชิงเข้ามายึดครองจีนจริงไหมครับ ?

ยังไงลองอ่าน แปลความที่ลิ้งค์และฝากพิจารณานำไปบอกเล่าเหล่ากูรูที่เพจด้วยนะครับ

และหากมีเวลา

อยากขอเชิญก้าวออกจากมุมความชอบ หรือหลงไหลในเรื่องชิง

มาอ่านประวัติบุคคล ที่ผมว่าสนุกและมีเรื่องนอกประวัติกระแสหลักให้เรียนรู้ไม่น้อยครับ  :)


.


กระทู้: ้ขอความรู้เรื่องจีน จาก คุณ Wu Zetian และท่านอื่นๆ
เริ่มกระทู้โดย: welikeqingdynasty ที่ 29 เม.ย. 22, 16:57
คุณ welikeqingdynast

ขอบคุณครับ ที่ช่วยแก้คำสะกดผิดให้ 5 5 5.....

และ

การแต่งตั้งคนดูแลสุสานไม่ใข่เหตุการณ์ ระหว่างที่ทหารฝ่ายชิงเข้ามายึดครองจีนจริงไหมครับ ?

ยังไงลองอ่าน แปลความที่ลิ้งค์และฝากพิจารณานำไปบอกเล่าเหล่ากูรูที่เพจด้วยนะครับ

และหากมีเวลา

อยากขอเชิญก้าวออกจากมุมความชอบ หรือหลงไหลในเรื่องชิง

มาอ่านประวัติบุคคล ที่ผมว่าสนุกและมีเรื่องนอกประวัติกระแสหลักให้เรียนรู้ไม่น้อยครับ  :)


.

การแต่งตั้งคนดูแลสุสาน เกิดหลังจากเข้ายึดครองไปแล้วค่ะ ไม่ได้เกิดระหว่างการไปเข้ายึดครอง

กว่าจักรพรรดิคังซีจะอนุญาตให้ชาวฮั่นเข้าถิ่นกลับมาอยู่ในบริเวณเมืองหลวงได้ ก้น่าจะปีคังซีที่ 18 แล้ว ซึ่งก็ผ่านมาประมาณ 36 ปีของการครองแผ่นดินโดยแมนจู

กว่าจะมีการแต่งตั้งผู้ดูแลสุสาน ก็หลังจากนั้นอีกค่ะ


-------------------------------------

ส่วนใหญ่แล้ว ในราชวงศ์ชิง หญิงไม่ได้ชอบพวกเหตุการณ์ หรือตัวบุคคลอื่น ๆ นอกราชวงศ์เลยค่ะ

หญิงจะชอบแค่ไม่กี่อย่าง เช่น เสื้อผ้า เพราะว่าอันนี้คือหลงใหลเป็นพิเศษค่ะ ผู้หญิงกับเรื่องความสวยความงาม 555 เรื่องเสื้อผ้านี่ชอบมาก ทั้งประวัติการสวมใส่ตั้งแต่ก่อนจะมีชุดต่าง ๆ เทคนิคการวาดลงสีก่อนที่แมนจูจะรู้จักการปัก(ชาวซูโจว หางโจว เจียงหนิง ถูกนำมาสอนการปักที่วังในปลายรัชกาลคังซีค่ะ)

เรื่องพวกกฎมณเฑียรบาลในราชวงศ์ชิง ว่าใครเป็นลูกใครจะได้ฐานันดรศักดิ์ใด หรือ ได้เงินรายปีเท่าใด อันนี้ก็สนใจและถนัดเป็นพิเศษค่ะ

เรื่องตัวบุคคลที่เป็นเชื้อพระวงศ์องค์สำคัญ ๆ องค์หญิงองค์ชายที่เป็นลูกจักรพรรดิทุกรัชกาล อันนี้จำชื่อได้หมดค่ะ เพราะมีเอกสารพวกบันทึกราชโองการ จดหมายเหตุแต่ละรัชกาล พอได้อ่านก็จะได้พบความสัมพันธ์ที่อาจจะทำให้สงสัย อันนี้เลยชื่นชอบค่ะ

ตราประทับต่าง ๆ ความสำคัญ ความเป็นมา การใช้งาน

พระตำหนักต่าง ๆ ประวัติศาสตร์ของตัวพระตำหนัก ถูกเผา ถูกทุบทำลาย ศิลปะความแตกต่างของแมนจู มองโกล ฮั่น ที่ผสานในตัวอาคาร

นอกเหนือจากนี้ก็เป็นพวกเรื่อง ภาษาแมนจู ความแตกต่างของภาษาแมนจูและภาษามองโกล สกุลของชาวแมนจู


ส่วนเรื่องอื่น ๆ ในราชวงศ์ชิงก็ไม่ค่อยชื่นชอบค่ะ สงครามยิ่งไม่ค่อยชอบเลยค่ะ เพราะว่าส่วนตัวแล้วไม่ค่อยชอบเรื่องน่ากลัว บางครั้งก็ยอมรับค่ะว่าหญิงอยากอยู่ในโลกสวย ๆ ทุ่งลาเวนเดอร์ เพราะจะได้ไม่จิตตกมากค่ะ


กระทู้: ้ขอความรู้เรื่องจีน จาก คุณ Wu Zetian และท่านอื่นๆ
เริ่มกระทู้โดย: welikeqingdynasty ที่ 29 เม.ย. 22, 17:11
ถามคุณหญิงใหญ่
ถ้าหากว่าท่านแซ่จูเป็นขุนนางสมัยฮ่องเต้เตากวง  ท่านจะแต่งกายแบบนี้ใช่ไหมคะ
เห็นมีผ้าคลุมไหล่ด่วย

ภาพชุดในละคร ไม่ค่อยถูกต้องนักค่ะ


หากท่านจูเป็นขุนนางในราชวงศ์ชิง ควรจะแต่งกายแบบในภาพนี้ค่ะ

(https://sv1.picz.in.th/images/2022/04/29/8IOqIV.jpg)

ภาพที่แนบไป เป็นภาพขุนนางชั้นล่างในชุดเฉาฝู คลุมด้วยเสื้อคลุมปู่จือ และสตรีผู้เป็นภรรยาชาวฮั่น ซึ่งในราชวงศ์ชิง ตั้งแต่รัชกาลเฉียนหลง จักรพรรดิได้อนุญาตให้สตรีชาวฮั่นรับลายปู่จือไปปักบนชุดได้ค่ะ
ในภาพนี้เป็นฤดูหนาวนะคะ


----------------------------------------------------------------------

ขอเพิ่มเติมตรงนี้อีกนิดนะคะ

เผื่อบางท่านที่ได้เข้ามาอ่านแล้ว อาจจะคิดไปถึงว่า ขุนนางในราชวงศ์ชิง ร่ำรวยหรือไม่นั้น ตอบได้เลยค่ะว่า ร่ำรวยมาก

ขุนนางขั้นสูงสุด รับเงินรายปี 180 เหลียง คิดเป็น 81,000 มื้ออาหาร

คน 1 คนรับประทานอาหาร 1 ปี เป็น 1,095 มื้อ ดังนั้นก็สามารถเลี้ยงคนให้กินอยู่สบายแบบอิ่มหนำสำราญเต็มที่วันละ 3 มื้อได้ 73 คนต่อปี เลยค่ะ


ส่วนขุนนางชั้นล่างในราชวงศ์ชิง ก็ถือว่าร่ำรวยมากค่ะ เงินรายปีตั้งแต่ 31- 55 เหลียงต่อปี คิดเป็นมูลค่ามื้ออาหารก็ประมาณ 13,950 มื้ออาหาร ไปจนถึง 24,750 มื้ออาหารต่อปีค่ะ

แล้วขุนนางบางคนอาศัยในจวนของราชการ ไม่ได้จ่ายค่าเช่าบ้าน เงินจ้างคนในจวนเป็นเงินของท้องที่ อาจจะไม่ได้มีค่าใช้จ่ายอะไร ก็สามารถมีเงินเก็บไว้ใช้ในครอบครัวได้อย่างสบายเลยค่ะ


กระทู้: ้ขอความรู้เรื่องจีน จาก คุณ Wu Zetian และท่านอื่นๆ
เริ่มกระทู้โดย: ธสาคร ที่ 30 เม.ย. 22, 05:18
เหล่าแม่ทัพแย่งยึดพื้นที่ และเทิดพวกเชื้อพระวงศ์หมิง ขึ้นเป็น “ ตี้ ”  หรือเจ้าปกครอง ( ท่านไม่เรียกว่าฮ่องเต้ครับ )

ฮ่องเต้ มาจากสำเนียงฮกเกี้ยนของคำว่า 皇帝 จีนกลางคือ หวงตี้ และแต้จิ๋วคือ อ้วงตี่

ตี้ มาจากสำเนียงจีนกลางของคำว่า 帝 ฮกเกี้ยนคือ เต้ แต้จิ๋วคือ ตี่

ทั้ง 皇帝 และ 帝 มีความหมายเหมือนกันคือ "จักรพรรดิจีน"

皇帝 และ 帝 มีความหมายต่างกัน ในแง่ระดับของความยิ่งใหญ่
ยุคก่อนจิ๋นซี จะใช้เพียง 皇 หรือ 帝 เพียงคำใดคำหนึ่ง แล้วแต่พระราชาแห่งราชวงศ์โจว จะโปรดใช้คำใด
หลังจากจิ๋นซีรวบรวมแผ่นดินสำเร็จ ก็คิดประดิษฐ์คำใหม่ให้สมเกียรติยศยิ่งขึ้น โดยนำ 皇 มารวมกับ 帝 เป็นดับเบิ้ลคิง สมพระทัย

* การเมืองปลายยุคราชวงศ์โจว เจ้าครองแคว้นมีอำนาจสูง จน "ตี้" เป็นเพียงสิ่งที่ถูกยกไปไว้บนหิ้ง ใช้อ้างความภักดี ใช้ขอเครื่องราชฯ เครื่องยศ
แบบเดียวกับ ไดเมียว แต่ละแคว้น ที่มีอำนาจสูงมาก ไม่สนใจพระราชอำนาจของจักรพรรดิ (ไดเมียวที่มีอำนาจสูงสุด เรียกว่าโชกุน)


กระทู้: ้ขอความรู้เรื่องจีน จาก คุณ Wu Zetian และท่านอื่นๆ
เริ่มกระทู้โดย: ธสาคร ที่ 30 เม.ย. 22, 05:26
คุณ Namplaeng กล่าวไว้ถูกต้องแล้ว // ประมุขแห่งราชวงศ์หมิงใต้เป็นเพียง ตี้ เท่านั้น // พิธีบรมราชาภิเษกคงไม่สมบูรณ์ และพระราชอำนาจก็น่าจะน้อยกว่าอู๋ซานกุ้ยเสียอีก


กระทู้: ้ขอความรู้เรื่องจีน จาก คุณ Wu Zetian และท่านอื่นๆ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 01 พ.ค. 22, 11:35
ลองค้นภาพในเน็ต พระนามจักรพรรดิพระองค์สุดท้ายของ "หมิงใต้" จักรพรรดิหย่งลี่ บนป้ายหินสลักพระนาม มีทั้ง 永歷皇帝 (ซ้าย) และ 永曆帝 (ขวา)

แท้จริง หย่งลี่ (永曆) เป็นชื่อของรัชศก (era name) พระนามหลังสวรรคต (posthumous name) คือ 應天推道敏毅恭檢經文緯武禮仁克孝匡皇帝

ภาพจาก https://kknews.cc/history/p46y9bp.html


กระทู้: ้ขอความรู้เรื่องจีน จาก คุณ Wu Zetian และท่านอื่นๆ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 01 พ.ค. 22, 13:30
ใครช่วยแปลให้หน่อยได้ไหมคะ
ดิฉันลองใช้กูเกิ้ลแปลเป็นภาษาอังกฤษแล้วก็ยังอ่านไม่รู้เรื่อง


กระทู้: ้ขอความรู้เรื่องจีน จาก คุณ Wu Zetian และท่านอื่นๆ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 02 พ.ค. 22, 10:35
นึกถึง ๒ ท่าน คุณอู่ (Wu) และ คุณหาญปิง (han bing) น่าจะช่วยได้ ;D


กระทู้: ้ขอความรู้เรื่องจีน จาก คุณ Wu Zetian และท่านอื่นๆ
เริ่มกระทู้โดย: Wu Zetian ที่ 02 พ.ค. 22, 16:00
ใครช่วยแปลให้หน่อยได้ไหมคะ
ดิฉันลองใช้กูเกิ้ลแปลเป็นภาษาอังกฤษแล้วก็ยังอ่านไม่รู้เรื่อง

ผมแปลโดยสังเขปครับ เนื่องจากผมไม่ชำนาญคำศัพท์เฉพาะด้านประวัติศาสตร์จีน ถ้าหากว่าแปลผิดไปบ้าง ต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วยนะครับ

แหล่งสืบค้นข้อมูล https://kknews.cc/history/p46y9bp.html

实拍南明最后一位皇帝永历帝朱由榔陵寝,无一点帝陵迹象

原文網址:https://kkne.ws/4er56Z

明朝顺天府失陷后,由明朝皇室在南方组建的政权谓之南明,历经四帝一王,最后一位皇帝为永历帝朱由榔,明神宗朱翊钧之孙,在位16年,1661年,清军攻入云南,朱由榔用人不当,后逃至缅甸,吴三桂为维护云南局势,攻入缅甸,缅王将其献与吴三桂,1662年6月在昆明被绞死,时年40岁

永历帝遇难处 永历帝朱由榔遇难后,安葬在贵州都匀,又说是衣冠冢,帝墓左边是编修涂宏猷的发冢,右边是节愍侯邬昌期的衣带冢。

实拍南明最后一位皇帝永历帝朱由榔陵寝,无一点帝陵迹象 永历帝陵寝

实拍南明最后一位皇帝永历帝朱由榔陵寝,无一点帝陵迹象


ภาพถ่ายจริง : จูโหย่วหลาง (朱由榔) จักรพรรดิหย่งลี่ จักรพรรดิองค์สุดท้ายของราชวงศ์หมิงใต้ (หนานหมิง)

ที่มาของข้อมูล :https:......4er56z

หลังจากที่ "ชุ่นเทียนฝู่" (顺天府) (องค์กรการปกครองส่วนท้องที่ที่มีอำนาจสูงสุดที่ตั้งอยู่ในเมืองหลวงในสมัยราชวงศ์หมิงและชิง) ได้ถูกยึดครองโดยราชวงศ์ชิงแล้ว ชนชั้นสูงในราชวงศ์หมิงก็ได้มีการสถาปนาราชวงศ์หมิงใต้ (หนานหมิง) ขึ้นในทางตอนใต้ของประเทศจีนในสมัยนั้น ราชวงศ์หมิงใต้มีจักรพรรดิที่เรียกว่า "ตี้" อยู่ 4 พระองค์ และจักรพรรดิที่เรียกว่า "หวัง" (อ๋อง) 1 พระองค์ จักรพรรดิองค์สุดท้ายของราชวงศ์หมิงใต้คือ "จูโหย่วหลาง" (หย่งลี่ตี้) ซึ่งเป็นหลานปู่ (孙 ซุน) ของหมิงเฉินจงจูอี้จวิน (หมิงเฉินจงจูอี้จวิน 明神宗朱翊钧 เป็นฮ่องเต้ลำดับที่ 13 ในราชวงศ์หมิง) จูโหยวหลางครองราชย์ 16 ปี ในปีค.ศ.1661 กองทัพราชวงศ์ชิงบุกโจมตียูนาน จูโหยวหลางใช้คนไม่เหมาะสมกับหน้าที่ ต่อมาจูโหยวหลางก็อพยพไปที่พม่า อู๋ซานกุ้ยต้องการปกป้องยูนานเอาไว้ จึงโจมตีพม่า อ๋องของพม่า (缅王) ก็ได้ยอมจำนนต่ออู๋ซานกุ้ย อ๋องพม่าถูกรัดคอจนตายในเดือนมิถุนายน ปีค.ศ.1662 ในขณะที่มีอายุ 40 ปี

ในภาพ (ภาพแนวตั้ง : ตัวอักษรจีนสีแดง) = สถานที่ที่หย่งลี่ตี้ลี้ภัย หลังจากที่จูโหยวหลาง (หย่งลี่ตี้) ลี้ภัย ก็มีการตั้งสุสานที่กุ้ยโจวเมืองตูอวิ๋น (都匀) บ้างก็กล่าวว่า สุสานนี้ไม่ได้ฝังร่างของจูโหย่วหลาง ภายในสุสานมีแต่เสื้อผ้าเท่านั้น ด้านซ้ายเป็นสุสานที่ขุดขึ้นมาแล้วของถูหงโหยว ด้านขวาของสุสานเป็นสุสาน (ที่ไม่ได้ฝังร่างของมีแต่เสื้อผ้า) ของอูชางชี (邬昌期) (อูชางชีเป็นขุนนางเมืองตูอวิ๋น มณฑลกุ้ยโจว)



กระทู้: ้ขอความรู้เรื่องจีน จาก คุณ Wu Zetian และท่านอื่นๆ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 02 พ.ค. 22, 16:45
ใครช่วยแปลให้หน่อยได้ไหมคะ
ดิฉันลองใช้กูเกิ้ลแปลเป็นภาษาอังกฤษแล้วก็ยังอ่านไม่รู้เรื่อง

คุณเทาชมพูน่าจะหมายถึง พระนามหลังสวรรคตของจักรพรรดิหย่งลี่  應天推道敏毅恭檢經文緯武禮仁克孝匡皇帝


กระทู้: ้ขอความรู้เรื่องจีน จาก คุณ Wu Zetian และท่านอื่นๆ
เริ่มกระทู้โดย: Namplaeng ที่ 02 พ.ค. 22, 17:53
无一点帝陵迹象



无 =  ไม่  ไม่มี

一点  =  สักนิด

帝陵  =  สุสานหลวง

迹象  =  ร่องรอย รูปแบบ


กระทู้: ้ขอความรู้เรื่องจีน จาก คุณ Wu Zetian และท่านอื่นๆ
เริ่มกระทู้โดย: Wu Zetian ที่ 02 พ.ค. 22, 18:17
ใครช่วยแปลให้หน่อยได้ไหมคะ
ดิฉันลองใช้กูเกิ้ลแปลเป็นภาษาอังกฤษแล้วก็ยังอ่านไม่รู้เรื่อง

คุณเทาชมพูน่าจะหมายถึง พระนามหลังสวรรคตของจักรพรรดิหย่งลี่  應天推道敏毅恭檢經文緯武禮仁克孝匡皇帝

การแปลสมัญญา (ชื่อเฮ่า谥号) ของจักรพรรดิจีนที่สวรรคตไปแล้ว จะต้องแปลถอดความจากตัวอักษรจีนทีละคำครับ เพราะว่า (这是古代皇帝的尊称,习惯加上众多定语以显示其功德无量。没两个字表达一个意思需要单独解释) เป็นสมัญญาของจักรพรรดิจีนที่ประกอบด้วยตัวอักษรจีนแต่ละคำที่มีความหมายแฝงที่ลึกซึ้ง (具体解释也没有什么实际意义,都是一些美好品德、敬天行人道的美好词汇。) ในราชวงศ์หมิง สมัญญาโดยส่วนใหญ่มักจะเป็นถ้อยคำที่พรรณนาถึงคุณธรรม ความดีงาม คุณูปการที่สร้างไว้ (这些谥号都是一些美好词汇的累积, 而且明朝的谥号都是这种体例 ) ครับ

เนื่องจากการถอดความสมัญญาชื่อจักรพรรดิจีนที่สวรรคตไปแล้วเป็นองค์ความรู้เฉพาะทาง ผมไม่ชำนาญงานด้านนี้ ผมจึงไปสอบถามสหายชาวจีนที่เชี่ยวชาญด้านการถอดความสมัญญาครับ เอาไว้จะมาเขียนอธิบายให้ภายหลังครับ

ขอบพระคุณครับ

แหล่งค้นคว้าเพิ่มเติมเกี่ยวกับสมัญญาของจักรพรรดิจีนที่สวรรคตไปแล้ว

https://www.silpa-mag.com/history/article_84555


กระทู้: ้ขอความรู้เรื่องจีน จาก คุณ Wu Zetian และท่านอื่นๆ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 02 พ.ค. 22, 18:25
ขอบพระคุณ คุณอู่ ล่วงหน้า สำหรับคำแปล "สมัญญา" ของจักรพรรดิหย่งลี่ ;D

ขออนุญาตแสดงความเห็น

明朝顺天府失陷后,由明朝皇室在南方组建的政权谓之南明,历经四帝一王,最后一位皇帝为永历帝朱由榔

四帝一王

คุณอู่แปลว่า จักรพรรดิที่เรียกว่า "ตี้" อยู่ ๔ พระองค์ และจักรพรรดิที่เรียกว่า "หวัง" (อ๋อง) ๑ พระองค์

คำแปลที่ถูกต้องน่าจะเป็น จักรพรรดิ (帝) ๔ พระองค์ และ กษัตริย์ (王) ๑ พระองค์


กระทู้: ้ขอความรู้เรื่องจีน จาก คุณ Wu Zetian และท่านอื่นๆ
เริ่มกระทู้โดย: Wu Zetian ที่ 02 พ.ค. 22, 19:21
ใครช่วยแปลให้หน่อยได้ไหมคะ
ดิฉันลองใช้กูเกิ้ลแปลเป็นภาษาอังกฤษแล้วก็ยังอ่านไม่รู้เรื่อง

สมัญญาของจักรพรรดิหย่งลี่ ประกอบด้วยอักษรจีนทั้งหมด 19 ตัว สามารถแปลถอดความตัวอักษรจีนในแต่ละคำ โดยแบ่งเป็น 7 ข้อ ดังนี้ครับ

"1.应天  2.推道  3.敏毅  4.恭俭  5.经文纬武  6.礼仁克孝  7.匡皇帝"

1.应天,是顺应天意 = เป็นไปตามบัญชาของสวรรค์, เป็นไปตามชะตาที่ฟ้าได้ลิขิตเอาไว้

2.推道,是推行上天定下的道理 = เหตุผลที่ได้ให้สวรรค์เป็นผู้กำหนดสิ่งนี้ขึ้นมา

3.敏毅,是聪敏并且坚毅 = ฉลาดและเข้มแข็งอดทนอดกลั้น

4.恭俭,是儒家的温良恭俭让中的两项,恭顺俭朴的意思 = เคารพเชื่อฟังปฏิบัติตามผู้อาวุโสกว่าและประหยัดมัธยัสถ์ (คุณธรรมสองข้อนี้มาจากหลักปรัชญาจีนของหรูเจีย儒家)

5.经文纬武,是文武双强的意思 = เก่งทั้งบุ๋นและบู๊

6.礼仁克孝:待人有礼,尊崇长幼尊卑的秩序,能够克制自己随意的愿望达到孝顺长辈的程度 = มีสัมมาคารวะกับคนทั่วไป เคารพอ่อนน้อมถ่อมตัวต่อผู้ที่อาวุโสมากกว่าและน้อยกว่ารวมทั้งผู้ที่มีสถานะทางสังคมสูงกว่าและน้อยกว่า สามารถระงับความปรารถนาของตนเองเอาไว้ได้โดยที่ไม่ทำอะไรตามอำเภอใจ ให้ถึงขั้นกตัญญูกตเวทิตาต่อผู้ที่มีอาวุโสกว่า

7.匡皇帝:是匡正的意思,匡正除恶的皇帝 = เป็นจักรพรรดิที่บำบัดทุกข์บำรุงสุขให้กับราษฎร

เนื่องจากผมไม่ชำนาญการแปลถอดความ "สมัญญา" ของจักรพรรดิจีนที่สวรรคตไปแล้ว หากแปลผิดพลาดประการใด ต้องขออภัยล่วงหน้าไว้ ณ ที่นี้ด้วยนะครับ

ขอบพระคุณครับ


กระทู้: ้ขอความรู้เรื่องจีน จาก คุณ Wu Zetian และท่านอื่นๆ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 03 พ.ค. 22, 11:35
"สมัญญา" ของจักรพรรดิหย่งลี่ ข้อนี้น่าจะเป็นข้อสำคัญที่สุด

匡皇帝:是匡正的意思,匡正除恶的皇帝 = เป็นจักรพรรดิที่บำบัดทุกข์บำรุงสุขให้กับราษฎร

คุณกุ๊ก (google) แปลความว่า

匡皇帝:是匡正的意思,匡正除恶的皇帝 = จักรพรรดิกวง หมายถึง การแก้ไข, จักรพรรดิผู้แก้ไขและขจัดความชั่ว

คำแปลนี้สอดคล้องกับภารกิจของจักรพรรดิหย่งลี่ในการแก้ไขการล่มสลายของราชวงศ์หมิงและขจัดอิทธิพลของราชวงศ์ชิงผู้ชั่วร้าย (ในสายตาของราชวงศ์หมิง) ถึงแม้ว่าไม่สำเร็จก็ตาม


กระทู้: ้ขอความรู้เรื่องจีน จาก คุณ Wu Zetian และท่านอื่นๆ
เริ่มกระทู้โดย: Namplaeng ที่ 03 พ.ค. 22, 12:21
อ่านคำสนทนา ระหว่างซินแสโง้วกับท่านอาจารย์เพ็ญชมพูเพลินเลยครับ...

ขออนุญาต อาจารย์เทาชมพู ย้ำความเห็นของผมก่อนหน้านี้นะครับว่า

หลังจากที่กองทัพแมนจูบุกยึดปักกิ่งสำเร็จ พวกแม่ทัพนายกองที่ไม่ยอมจำนนต่อแมนจู ยกพลถอยหนีมาทางใต้

เหล่าแม่ทัพแย่งยึดพื้นที่ และเทิดพวกเชื้อพระวงศ์หมิง ขึ้นเป็น “ ตี้ ”  หรือเจ้าปกครอง ( ท่านไม่เรียกว่าฮ่องเต้ครับ )

เวลานั้นดินแดนจีนทางใต้มีสภาพเป็นก๊ก น้อยใหญ่ เช่นเดียวกันกับเมื่อครั้งกรุงศีอยุธยาแตกพ่ายแก่พม่าครับ

เหล่าเชื้อพระวงศ์ที่ถูกเทิดไม่มีท่านใดเป็นพระราชบุตร ทั้งไม่ใช่พระเชษฐาหรือพระอนุชาร่วมพระชนกกับฮ่องเต้ราชวงศ์หมิง

ความที่เป็นเพียงหุ่นเชิด ไม่มีอำนาจบังคับบัญชาใดๆ

ก๊กต่างๆ ที่เรียกว่าหมิงใต้รบกับทหารชิงอย่างไม่เป็นเอกภาพ จึงค่อยๆถูกปราบปรามทีละก๊กจนหมดสิ้นในช่วงระยะเวลา 18 ปี ครับ
[/size]

ความดังกล่าวปรากฏ “ ย้ำ ” ในบทความที่ท่านทั้งสองกล่าวอ้างว่า

政权谓之南明,历经四帝一王  หรืออำนาจ ปกครอง อาณาบริเวณหมิงใต้ อยู่ภายใต้นาม ตี้ (帝) 4 พระองค์ และ อ๋อง (王) 1 พระองค์

และขออนุญาตย้ำครับว่า  ในวัฒนธรรมจีน ฮ่องเต้ กับ ตี้ หาได้มีความหมายเสมอเหมือนกัน

ใครที่เรียนวัฒนธรรมจีน จักทราบว่า ตึ้ เป็นคำเรียกจักรพรรดิ ตั้งแต่ยุคชุนชิว จั่นกัว เมื่อครั้งที่ประเทศจีนอยู่กันเป็นรัฐเล็ก รัฐน้อย

วลี ฮ่องเต้ เกิดขึ้นเพื่อเทิดทูนจิ๋นซีฮ่องเต้ ซึ่งเป็นจักรพรรดิที่รวบรวมรัฐเล็กรัฐน้อยเข้าด้วยกันครับ

หวาง หรือ 皇 ท่านแปลว่า เป็นใหญ่ , ฮ่องเต้ หรือ 皇帝 จึงหมายถึง ผู้เป็นใหญ่เหนือตี้ หรือ มหาราช ที่ตรงกับ the great ในภาษาอังกฤษครับท่าน

.


กระทู้: ้ขอความรู้เรื่องจีน จาก คุณ Wu Zetian และท่านอื่นๆ
เริ่มกระทู้โดย: Namplaeng ที่ 03 พ.ค. 22, 12:33
ขณะอ่านบทสนทนาของอาจารย์ทั้งสอง ก็ให้นึกแปลกใจครับว่า

อะไรที่ทำให้เรื่องราวดำเนินไปเช่นนั้น เพราะ ชื่อบทความที่ท่านบอกเล่าอย่างสนุกนั้นคือ

(https://sv1.picz.in.th/images/2022/05/03/H7c1MQ.png)



實拍南明最後一位皇帝永曆帝朱由榔陵寢,
無一點帝陵跡象。

มีความหมายประมาณว่า

ภาพจริง สุสาน จู โหยวหลิง หรือ หย่งลี่ จักรพรรดิองค์สุดท้ายของหนานหมิง

ไม่มีร่องรอยของความเป็นสุสานหลวงสักนิด.

ซึ่งความ ไม่มีร่องรอยของความเป็นสุสานหลวงสักนิด  ผู้เขียนบทความยังย้ำอีกครั้งที่ท้ายของบทความ......

.



กระทู้: ้ขอความรู้เรื่องจีน จาก คุณ Wu Zetian และท่านอื่นๆ
เริ่มกระทู้โดย: Namplaeng ที่ 03 พ.ค. 22, 12:42
ในบทความที่ท่านสองสนทนากันอย่างสนุกนั้นปรากฏความว่า

吳三桂為維護雲南局勢,攻入緬甸,緬王將其獻與吳三桂,1662年6月在昆明被絞死,時年40歲

..

หรือความประมาณว่า เพื่อรักษาความมั่นคงของยูนนาน อู๋ซันกุ้ยจึงยกทัพลงมาโจมตีพม่า

ครั้งนั้นกษัตริย์พม่ายอมส่งมอบตัวจักรพรรดิหย่งลี่ให้กองทัพชิง พระองค์ถูกสำเร็จโทษด้วยการแขวนคอที่คุนหมิง เมื่อพระชนม์ 40 พรรษา ครับ


กระทู้: ้ขอความรู้เรื่องจีน จาก คุณ Wu Zetian และท่านอื่นๆ
เริ่มกระทู้โดย: Namplaeng ที่ 03 พ.ค. 22, 12:54
ขอโทษครับ ช่วยตอบข้อสงสัยหน่อยได้ไหมว่า

กษัตริย์ หรือ จักรพรรดิหย่งลี่ ถูกสำเร็จโทษโดยการแขวนพระศอ ที่คุยหมิง

แล้วใครที่ไหนจะมาเป็นผู้ถวายสมัญญานามนามครับ ?

เพราะการถวายสมัญญานามจะต้องเกิดแต่ที่ประชุมของเหล่าราชบัณฑิต ที่ต้องได้รับความดำริชอบจากผู้สืบราชวงศ์......


กระทู้: ้ขอความรู้เรื่องจีน จาก คุณ Wu Zetian และท่านอื่นๆ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 03 พ.ค. 22, 14:35
ผู้ถวายสมัญญาแด่จักรพรรดิหย่งลี่คือ เจิ้งจิง (鄭經)* บุตรของ เจิ้งเฉิงกง ขุนศึกราชวงศ์หมิง ซึ่งหนีภัยจากราชวงศ์ชิงไปตั้งอาณาจักร "ตงตู" (東都) บนเกาะไต้หวัน ซึ่งต่อมาในสมัยของเจิ้งจิงเปลี่ยนชื่อเป็น "ตงหนิง" (東寧)

* ข้อมูลจาก คุณวิกกี้ (wikipedia) (https://en.m.wikipedia.org/wiki/Zhu_Youlang)


กระทู้: ้ขอความรู้เรื่องจีน จาก คุณ Wu Zetian และท่านอื่นๆ
เริ่มกระทู้โดย: Namplaeng ที่ 03 พ.ค. 22, 18:23
เจิ้งจิง กับ เจิ้งเฉิงกง ท่านใดเป็นขุนศึกราชวงศ์หมิงครับ ?

แล้วที่ว่าเป็น ท่านเป็นขุนศึกจริงๆ หรือในนิยาย หรือแต่ในนามครับอาจารย์เพ็ญชมพู....

เริ่มที่เจิ่งเฉิงกง ท่านเป็นลูกครึ่งจีน-ญี่ปุ่น ที่มารดาเป็นชาวกิวชู ท่านเติบโตภายใต้การเลี้ยงดูของมารดาที่ญี่ปุ่น

ดังนั้นท่านชอบจะบอกใครๆว่า ตัวท่านเป็น 本藩 หรือชาวญี่ปุ่นด้วยซ้ำไป

ท่านมีนามญี่ปุ่นเขียนเป็นภาษาจีนว่า 國姓成功 อันเป็นเหตุให้ชาวตะวันตกเรียกท่านว่า โคซิก่า Koxinga

พื้นเพท่านเป็นโจรสลัด เคยเข้ากับพวกฮอลันดา และอาสานำทัพฮอลันดายึดเกาะใต้หวัน

แต่ภายหลังท่านหักหลังพวกฮอลันดา ตั้งตัวปกครองเกาะไต้หวันเสียเอง......... ครับ

พวกหมิงใต้อยากได้เป็นพวกจึงพยายามตั้งท่านเป็นแม่ทัพ ที่ไม่เคยฟังบัญชาของใคร   5 5 5.....

....

เจิ้งจิง เป็นบุตรของโคซิงก่า ภายหลังได้ขึ้นปกครองไต้หวันแทนบิดา และเมื่อจักรพรรดิหย่งลี่ถูกสำเร็จโทษ

เจิ่งจิง ตั้งตนเป็นอ๋อง และ เป็นผู้สืบอำนาจหมิงใต้

การถวายสมัญญาแด่จักรพรรดิหย่งลี่ ก็เพื่ออวดแสดงสถานะว่าเป็นผู้สืบอำนาจต่อ

การดังกล่าวไม่เป็นไปตามโบราณราชประเพณี ที่นักประวัติศาสตร์จีนเค้าเรียก ติ่งประวัติศาสตร์ นอกบันทึกหลักครับ.


กระทู้: ้ขอความรู้เรื่องจีน จาก คุณ Wu Zetian และท่านอื่นๆ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 03 พ.ค. 22, 20:15
เจิ้งจิง กับ เจิ้งเฉิงกง ท่านใดเป็นขุนศึกราชวงศ์หมิงครับ ?

เจิ่งจิง ตั้งตนเป็นอ๋อง และ เป็นผู้สืบอำนาจหมิงใต้

ใครเป็นขุนศึกราชวงศ์หมิง❓

เจิ้งจิงตั้งตนเองเป็นอ๋องจริงหรือ❓

สามารถหาคำตอบได้จากประวัติเจิ้งเฉินกงข้างล่างนี้ ;D

เจิ้งเฉิงกง (鄭成功 ค.ศ. ๑๖๒๔ - ๑๖๖๒) ขุนพลหนุ่มลูกครึ่งจีน - ญี่ปุ่น (พ่อเป็นโจรสลัดชาวฮั่น แม่เป็นชาวญี่ปุ่น) ในยุคราชวงศ์หมิงใต้ (南明) วีรบุรุษต้านชิงกู้หมิง (反清复明) ผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดผู้หนึ่งในประวัติศาสตร์จีน ชื่อเดิมคือเจิ้งเซิน (鄭森) ภายหลังจักรพรรดิหลงอู่ (隆武帝) แห่งหมิงใต้พระราชทานบรรดาศักดิ์กั๋วซิ่งเหยีย (國姓爺 ฮอลันดาและอังกฤษเรียกค็อกซิงกา Koxinga) และพระราชทานนามให้ใหม่ว่า เฉิงกง (成功) ต่อมาได้ตัดสินใจตัดขาดความเป็นพ่อลูกกับบิดาคือเจิ้งจือหลง (鄭芝龍) เมื่อทราบว่าเจิ้งจือหลงไปสวามิภักดิ์ต่อจักรพรรดิซุ่นจื้อแห่งราชวงศ์ชิง และได้นำกำลังออกสู้รบกับกองทัพแมนจูหลายครั้ง

ภายหลังไม่อาจต้านทานทหารแปดกองธงซึ่งเป็นกองทัพบกอันแข็งแกร่งของแมนจูได้ จึงตัดสินใช้ความถนัดของทัพตน คือกองทัพเรือ มุ่งเข้ายึดเกาะไต้หวันและหมู่เกาะเผิงหูจากพวกฮอลันดาที่ยึดเอาไว้ ขับไล่พวกฮอลันดาออกไป แล้วสถาปนาอาณาจักรตงหนิง (東寧王國) ที่ไต้หวัน ใช้ไต้หวันเป็นฐานกำลังต่อสู้กับแมนจูต่อไป จักรพรรดิหย่งลี่ (永曆帝) แห่งหมิงใต้แต่งตั้งให้เป็นเหยียนผิงอ๋อง (延平王) ครองไต้หวัน สกุลเจิ้งของเจิ้งเฉิงกงปกครองไต้หวันนานกว่า ๒๐ ปี มีผู้สืบทอดบรรดาศักดิ์เหยียนผิงอ๋องทั้งสิ้นสามคน จนถึงรุ่นที่สามคือเจิ้งเค่อส่วง (鄭克塽) จักรพรรดิคังซี(康熙帝) แห่งราชวงศ์ชิงจึงส่งแม่ทัพซือหลาง (施琅) นำทัพเรือไปปราบอาณาจักรตงหนิงได้สำเร็จใน ค.ศ. ๑๖๘๓ สิ้นสุดการปกครองของสกุลเจิ้งแต่เพียงเท่านั้น

จาก Asian Studies เอเชียศึกษา (https://www.facebook.com/385740758167512/posts/2469124109829156/?d=n)


กระทู้: ้ขอความรู้เรื่องจีน จาก คุณ Wu Zetian และท่านอื่นๆ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 04 พ.ค. 22, 11:45
วีรบุรุษเจิ้งเฉิงกง (https://en.m.wikipedia.org/wiki/The_Sino-Dutch_War_1661) (英雄郑成功)

https://youtu.be/zJyIzwJRTNU


กระทู้: ้ขอความรู้เรื่องจีน จาก คุณ Wu Zetian และท่านอื่นๆ
เริ่มกระทู้โดย: Namplaeng ที่ 04 พ.ค. 22, 12:07
สวัสดีครับอาจารย์เพ็ญชมพู เมื่อคืนหลับสบายดีนะครับ

ขอสารภาพว่า ตั้งแต่อ่านบทสนทนาเรื่อง ภาพถ่ายสุสานหย่งลี่ ที่คู่สนทนาทั้งสองละเว้นวรรค 無一點帝陵跡象 ที่เป็นหัวใจสำคัญแล้ว

มันให้รู้สึกระแวงกับความเห็นที่ตามมายังไงชอบกลครับ.....

เช่นกันครับ เมื่อคืนผมก็อดข้องใจไม่ได้ครับว่า

ระดับอาจารย์ที่ค้นอ่านได้หลายภาษา ทำไมถึงอ้างบทความของ Asian Studies เอเชียศึกษา


ทั้งที่ความดังกล่าวมีข้อผิดพลาดหลายๆประเด็น..... ( ? )  เช่นความว่า

จักรพรรดิหลงอู่ (隆武帝) แห่งหมิงใต้พระราชทานบรรดาศักดิ์กั๋วซิ่งเหยีย (國姓爺)

ทั้งๆที่ เอกสารจีน และข้อมูลบนเวปจีน พูดในแนวทางเดียวกันว่า

隆武帝将当朝最尊崇的朱姓赐给郑成功,并将原名森改为成功。从这时起,郑森的名字就成了朱成功。

หรือ หลงอู่ตี้ชื่นชมในอัธยาศัยของนายทหารติดตามของ เจิ้งจื่อหลง (郑芝龙 /บิดาของเจิ้งเฉิงกง) ครั้งที่เจิ้งจื่อหลงเข้าสวามิภักดิ์

จึงพระราชทาน (เพียง) แซ่จู และนาม เฉิงกง ให้ใช้แทนชื่อแซ่เดิม  หาได้พระราชทานบรรดาศักดิ์ใดให้เลยครับ

อาจารย์ลองสืบค้นหา ความจริง ดูสิครับ.

国姓爷 แปลประมาณว่า นายผู้ได้รับประราชทานแซ่ของแผ่นดิน 

กั๋วซิ่งเหยีย  เป็นเพียงฉายาที่ชาวบ้านชาวเมืองเรียกท่านด้วยความยกย่องครับ ไม่ใช่บรรดาศักดิ์อะไรทั้งสิ้นครับ




กระทู้: ้ขอความรู้เรื่องจีน จาก คุณ Wu Zetian และท่านอื่นๆ
เริ่มกระทู้โดย: Namplaeng ที่ 04 พ.ค. 22, 12:33
สกุลเจิ้งของเจิ้งเฉิงกงปกครองไต้หวันนานกว่า ๒๐ ปี มีผู้สืบทอดบรรดาศักดิ์เหยียนผิงอ๋องทั้งสิ้นสามคน ...

เป็นอีกเรื่องที่คนมีความรู้ไม่น่าพลาดครับ 

ซึ่งผมจะพยายามคิดว่า เป็นการหลงลืม...

เพราะในระบบการแต่งตั้งแบบจีน เมื่อผู้รับบรรดาศักดิ์ หรือได้รับการแต่งตั้ง โดยขนบทายาทหาได้มีการรับช่วงบรรดาศักดิ์กันโดยอัตโนมัติครับ

ทายาทจะต้องส่งสาส์นกราบบังคมทูลผู้แต่งตั้ง เพื่อเจ้าผู้แต่งตั้งจะพิจารณา และส่งผู้แทนมาตรวจพิสูจน์สถานะการบ้านเมือง

แล้วจึงมีพิธีส่งมอบสารตราตั้ง ให้เข้ารับบรรดาศักดิ์....

ตัวอย่างเปรียบเทียบให้เห็นก็คือ ในบันทึกหมิงสือลู่ ที่มีความว่า

(พ.ศ. 1938) (ค.ศ. 1395) ปีที่ 28 ในรัชกาลหงหวู่

เจาลู่ฉินอิงส่งราชทูตมาถวายเครื่องราชบรรณาการและกราบทูลให้ทรงทราบว่าพระราชบิดาสวรรคต6

(จักรพรรดิ) โปรดให้ขันทีชื่อ เจ้าต๋า (เตี้ยตั๊ก) และ ซุ่ง ฝู (ซ่งฮก) นําพระบรมราชโองการแต่งตั้งองค์รัชทายาทให้ดํารงตําาแหน่งกษัตริย์ต่อไป

ปัญหามีว่า.......


กระทู้: ้ขอความรู้เรื่องจีน จาก คุณ Wu Zetian และท่านอื่นๆ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 04 พ.ค. 22, 12:45
จักรพรรดิหลงอู่ (隆武帝) แห่งหมิงใต้พระราชทานบรรดาศักดิ์กั๋วซิ่งเหยีย (國姓爺 ฮอลันดาและอังกฤษเรียกค็อกซิงกา Koxinga)

กั๋วซิ่งเหยีย  เป็นเพียงฉายาที่ชาวบ้านชาวเมืองเรียกท่านด้วยความยกย่องครับ ไม่ใช่บรรดาศักดิ์อะไรทั้งสิ้นครับ

กั๋วซิ่งเหยีย (國姓爺) คงไม่ใช่เป็นเพียงฉายาที่ชาวบ้านชาวเมืองเรียกกัน ต้องมีคนแรกตั้งชื่อ ซึ่งน่าจะเป็น จักรพรรดิหลงอู่ (隆武帝) และชื่อนี้ก็คงไม่ใช่บรรดาศักดิ์ดังที่คุณน้ำเพลิงแย้ง ถ้าเรียกให้ถูกต้องคือเป็น "ราชทินนาม" ;D


กระทู้: ้ขอความรู้เรื่องจีน จาก คุณ Wu Zetian และท่านอื่นๆ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 04 พ.ค. 22, 13:00
(พ.ศ. 1938) (ค.ศ. 1395) ปีที่ 28 ในรัชกาลหงหวู่

รัชกาลหงอู่ (洪武)


กระทู้: ้ขอความรู้เรื่องจีน จาก คุณ Wu Zetian และท่านอื่นๆ
เริ่มกระทู้โดย: Namplaeng ที่ 04 พ.ค. 22, 13:25
ใครแต่งตั้งเจิ้งจิงขึ้นรับสืบทอดอำนาจปกครอง

ในบันทึกจีน

ช่วงเวลาที่หย่งลี่ตี้ ถูกทหารชิงควบคุมตัวเพื่อรอการพิจารณาโทษอยู่ที่คุนหมิงนั้น ทางอาณาจักรตงหนิงที่อยู่ภายใต้การนำของเจิ้งเฉิงกงก็กำลังเผชิญกับปัญหารุมเร้ารอบด้าน ทั้งการรบพุ่งกับทหารชิงที่ยกกองทัพลงมาปราบ ทั้งมีปัญหาอันเกิดจากเจิ้งจิง (บุตรจากภริยาหลวงของเจิ้งเฉิงกง)

เจิ้งจิง ลักลอบเป็นชู้กับแม่นมในวังจนมีบุตร ที่ถือเป็นเรื่องผิดขนบร้ายแรง อันเป็นเหตุให้ต้องโทษประหาร แต่เจิ้งจิงถูกคนรอบปลดปล่อยให้หนีไปได้

ความเครียดจากการต้องรบหนัก ประกอบกับปัญหาในครอบครัวทำให้ทุกข์ใจ เป็นเหตุเจิ้งเฉิงกงล้มป่วย ยิ่งภายหลังได้ข่าวการสำเร็จโทษหย่งลี่ตี้ อาการป่วยของเจิ้งเฉิงกงก็หนักขึ้นจนเป็นเหตุให้เสียชีวิต....

เหล่าข้าราชบริพาร พร้อมใจกันยกอนุชาของเจิ้งเฉิงกงขึ้นปกครองอาณาจักรตงหนิง

เจิ้งจิงถือโอกาสที่บ้านเมืองอยู่ระหว่างการผลัดเปลี่ยน ยกกำลังทหารคู่ใจเข้ามาแย่งชิงอำนาจปกครองสำเร็จ ทั้งสำเร็จโทษเสด็จอาและข้าใกล้ชิดเสียสิ้น

เจิ้งจิง ขึ้นสู่อำนาจปกครองอาณาจักรตงหนิงโดยการแย่งชิง ฆ่าฟัน แล้วสถาปนาตัวเองเป็นอ๋องครับ


กระทู้: ้ขอความรู้เรื่องจีน จาก คุณ Wu Zetian และท่านอื่นๆ
เริ่มกระทู้โดย: Namplaeng ที่ 04 พ.ค. 22, 13:38
ในเมื่อคุณเพ็ญชมพู กรุณาเป็น บก. ตรวจแก้คำผิดให้ด้วยความเมตตาแล้ว

แทนที่จะใช้คำว่า ซึ่งน่าจะเป็น

การค้น และ อ้างความ  เพื่อพิสูจน์ความจริงเรื่อง

อ้างถึง
กั๋วซิ่งเหยีย (國姓爺) คงไม่ใช่เป็นเพียงฉายาที่ชาวบ้านชาวเมืองเรียกกัน ต้องมีคนแรกตั้งชื่อ ซึ่งน่าจะเป็น จักรพรรดิหลงอู่ (隆武帝) และชื่อนี้ก็คงไม่ใช่บรรดาศักดิ์ดังที่คุณน้ำเพลิงแย้ง ถ้าเรียกให้ถูกต้องคือเป็น "ราชทินนาม" ยิงฟันยิ้ม

เพื่อให้เพื่อนสมาชิกเห็นประจักษ์

คงไม่ลำบากใช่ไหมครับ ถ้านั่นไม่ใช่เป็นเพียงคำอ้างให้เรื่องพ้นตัว.

.


กระทู้: ้ขอความรู้เรื่องจีน จาก คุณ Wu Zetian และท่านอื่นๆ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 04 พ.ค. 22, 18:35
การค้น และ อ้างความ  เพื่อพิสูจน์ความจริงเรื่อง

อ้างถึง
กั๋วซิ่งเหยีย (國姓爺) คงไม่ใช่เป็นเพียงฉายาที่ชาวบ้านชาวเมืองเรียกกัน ต้องมีคนแรกตั้งชื่อ ซึ่งน่าจะเป็น จักรพรรดิหลงอู่ (隆武帝) และชื่อนี้ก็คงไม่ใช่บรรดาศักดิ์ดังที่คุณน้ำเพลิงแย้ง ถ้าเรียกให้ถูกต้องคือเป็น "ราชทินนาม" ;D

เพื่อให้เพื่อนสมาชิกเห็นประจักษ์

國姓爺 ในสำเนียงฮกเกี้ยน คือ Koxinga (ค็อกซิงงา)

จาก คุณวิกกี้ (https://en.m.wikipedia.org/wiki/Koxinga)


กระทู้: ้ขอความรู้เรื่องจีน จาก คุณ Wu Zetian และท่านอื่นๆ
เริ่มกระทู้โดย: CrazyHOrse ที่ 04 พ.ค. 22, 22:06
Koxinga มาจากการออกเสียง 国姓爷 ด้วยสำเนียงฮกเกี้ยนว่า กกสิ่งเอี๊ย ครับ

ประวัติของกกสิ่งเอี๊ยรายละเอียดเยอะ และเล่ากันหลายเวอร์ชั่น จะบอกว่าเรื่องไหนจริงที่สุดคงไม่ง่ายนัก แต่ที่ผมคิดว่าจริงแท้แน่นอนมีอยู่สองสามเรื่อง
1. กกสิ่งเอี๊ยจะสู้เพื่อฟื้นฟูราชวงศ์หมิงหรือจะสู้เพื่อตัวเองก็ไม่แน่นัก แต่ที่แน่ๆคือ กลุ่มของกกสิ่งเอี๊ยเป็นขุนศึกที่เรียกว่าเป็นกลุ่มสุดท้าย(หรือท้ายๆ) ที่ปฏิเสธอำนาจของราชวงศ์ชิง
2. ยุคของการต่อต้านของกกสิ่งเอี๊ยและลูกหลานจบลงตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 17 หลังจากนั้นกำลังส่วนย่อยๆของพวกขุนศึกที่ไม่ยอมอยู่ในอำนาจราชวงศ์ชิงต้องทิ้งแผ่นดินเกิดไปตั้งมั่นนอกพื้นที่ของจีน ส่วนหนึ่งก็ไปพึ่งพาก๊กเหงวียนกว๋างนามที่เว้ กลายเป็นกำลังสำคัญของก๊กเหงวียนในการขยายอำนาจลงใต้ หมักกื๋ว บิดาของหมักเทียนตื๊อพระยาราชาเศรษฐีแห่งเมืองห่าเตียนก็อ้างตนเป็นขุนศึกต้านชิงกู้หมิงที่ลี้ภัยมาเหมือนกัน แต่น่าสนใจว่าถึงยุคปลายอยุธยา (กลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 ขึ้นมา หมักเทียนตื๊อเองก็คบค้ากับราชสำนักชิงผ่านข้าหลวงที่กวางตุ้งแล้ว อุดมการณ์โค่นชิงกู้หมิงถึงแม้ความเชื่อนี้มันจะมีอยู่ลึกๆมาตลอด แต่ที่เป็นกองกำลังปฏิบัติการทางทหารเพื่ออุดมการณ์นี้ก็ไม่เหลือแแล้ว แม้กระแสนี้ถูกปลุกขึ้นมาจนสัมฤทธิผลในยุคของซุนยัดเซ็น มันก็ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับเชื้อพระวงศ์ราชวงศ์หมิงอีกต่อไปครับ

เรื่องกกสิ่งเอี๊ยน่าจะแยกออกเป็นอีกกระทู้หนึ่งที่ไม่เกี่ยวข้องกับกระทู้นี้ครับ



กระทู้: ้ขอความรู้เรื่องจีน จาก คุณ Wu Zetian และท่านอื่นๆ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 04 พ.ค. 22, 22:35
ขอบพระคุณ คุณม้า สำหรับคำเรียกในสำเนียงฮกเกี้ยนที่ถูกต้อง ;D

ก่อนจะจบเรื่องของ กกสิ่งเอี๊ย ในกระทู้นี้ ขออนุญาตส่งท้ายด้วยคลิปนี้

วีรบุรุษเจิ้งเฉิงกง (https://en.m.wikipedia.org/wiki/The_Sino-Dutch_War_1661) (英雄郑成功)

https://youtu.be/zJyIzwJRTNU

ชื่อภาษาไทยไม่สื่อถึง เจิ้งเฉิงกง เลย  แต่เรื่องนี้มีพากษ์ภาษาไทย ดูได้เข้าใจมากกว่า

มังกรระห่ำดาบปราบพยัคฆ์ (http://www.iseehistory.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538787067&Ntype=4)

https://youtu.be/QLMBpWo_ME4


กระทู้: ้ขอความรู้เรื่องจีน จาก คุณ Wu Zetian และท่านอื่นๆ
เริ่มกระทู้โดย: Namplaeng ที่ 05 พ.ค. 22, 13:57
ขออนุญาตอาจารย์เทาชมพูทำย่อเรื่องนะครับ

1. ผมเข้ามาเสนอความเห็นเสริมเกี่ยวกับสถานะการณ์ว่าในช่วงคาบเกี่ยวระหว่างต้นชิง ปลายหมิง ใน คห. 34 ว่า

“ หลังจากที่กองทัพแมนจูบุกยึดปักกิ่งสำเร็จ พวกแม่ทัพนายกองที่ไม่ยอมจำนนต่อแมนจู ยกพลถอยหนีมาทางใต้

เหล่าแม่ทัพแย่งยึดพื้นที่ และเทิดพวกเชื้อพระวงศ์หมิง ขึ้นเป็น “ ตี้ ”  หรือเจ้าปกครอง ( ท่านไม่เรียกว่าฮ่องเต้ครับ ) ”

[ เสริม เชื้อพระวงศ์ที่ถูกเชิดขึ้นเป็น ตี้ ในระยะเวลาใกล้เคียงกัน เช่น
- หงกวงตี้ (弘光帝) นามเดิม จู อิ๋วซง (朱由崧) ถูกขุนศึกที่ยึดนานจิงได้ เชิดขึ้นเป็นตี้ อยู่ได้ปีเดียวก็ถูกสำเร็จ
- หลู่อ๋อง (鲁王) นามเดิม จู  อีไห่ (朱以海) ถูกเหล่าขุนศึกที่ยึดเซ่าซิง ( 绍兴 ) เชิดขึ้นปกครองเซ่าซิงที่เปลี่ยนชื่อเมืองเป็น เจียนกั๊ว ( 监国 ) แต่ยังไม่ทันจะประกอบพิธีสถาปนาหลู่อ๋องขึ้นเป็นตี้ เจียนกั๊วก็ถูกทหารชิงตีแตกเสียก่อน...
- ถังอ๋อง ( 唐王 ) นามเดิม จู วี่เจี่ยน ( 朱聿鍵 ) ถูกกลุ่มกำลัง (โจรสลัด) ตระกูลเจิ้ง ที่นำโดย พี่น้อง เจิ้งจือหลง ( 郑芝龙 / บิดาเจิ้งเฉิงกง ) และ เจิ้งหงขุย ( 郑鸿逵 ) เชิดขึ้นครองเมืองฝูโจว และเฉลิมพระนามว่า หลงอู่ตี้ ( 隆武帝 ) เหตุนี้ กระมังหลงอู่ตี้จึงพระราชทานแซ่จู ของพระองค์ พร้อมชื่อ เฉิงกง ให้กับเจิ้งเซิงเป็นการตอบแทน ]

2. คุณเพ็ญชมพู ให้ คห. 36 ว่า

“ ทั้ง 皇帝 และ 帝 มีความหมายเหมือนกันคือ "จักรพรรดิจีน" ”

3. ใน คห. 81 คุณเพ็ญชมพู นำภาพถ่ายป้ายสุสาน ที่กำกับคำว่า 皇帝  มายืนยัน พร้อมกับคำว่า 應天推道敏毅恭檢經文緯武禮仁克孝匡皇帝

ทั้งที่ภาพมาจากบทความจีนที่มีชื่อว่า

實拍南明最後一位皇帝永曆帝朱由榔陵寢,
無一點帝陵跡象。
หรือ
ภาพจริง สุสาน จู โหยวหลิง หรือ หย่งลี่ จักรพรรดิองค์สุดท้ายของหนานหมิง
ไม่มีร่องรอยของความเป็นสุสานหลวงสักนิดที่

บทมีเนื้อหาปฏิเสธ ไม่ยอมรับสุสานในภาพ....

คุณเพ็ญชมพูรับภายหลังว่า 應天推道敏毅恭檢經文緯武禮仁克孝匡皇帝

ท่านยกมาจากอีกที่หนึ่งไม่ใช่จากบทความของภาพถ่าย

3. ความที่สมัญญา ( หรือ ชื่อเฮ่า / 谥号 ) ของจักรพรรดิจีน ต้องเริ่มจากที่ประชุมของเหล่าราชบัณฑิต เมื่อมีฉันทามติ จึงถวายองค์จักรพรรดิที่สืบราชสมบัติเพื่อทรงมีพระวินิจฉัยเห็นชอบ
นามที่จักรพรรดิในฐานะองค์รัชทายาทของจักรพรรดิที่สรรคตไป ทรงเห็นชอบแล้วจึงจะประกาศใช้ได้

ในเมื่อยามที่หย่งลี่ตี้สวรรคต ปลอดผู้สืบราชสมบัติโดยธรรม
จึงไม่อาจจะมีสมัญญาที่ชอบด้วยขนบตามมาภายหลัง.

4. คุณเพ็ญชมพูแถลงความใน คห. 95 ว่า

“ ผู้ถวายสมัญญาแด่จักรพรรดิหย่งลี่คือ เจิ้งจิง (鄭經)* บุตรของ เจิ้งเฉิงกง ขุนศึกราชวงศ์หมิง ”

ผมเอง ไม่เห็นด้วยกับข้ออ้าง ด้วยเหตุที่

เจิ้งจิงหาใช่ทายาทสืบราชสมบัติ ของหย่งลี่ตี้ ที่มีหน้าที่ถวายพระสมัญญานาม..



กระทู้: ้ขอความรู้เรื่องจีน จาก คุณ Wu Zetian และท่านอื่นๆ
เริ่มกระทู้โดย: Namplaeng ที่ 05 พ.ค. 22, 14:00
ก่อนจะจบประเด็น เจิ้งเฉิงกง ขออนุญาตเรียนว่า

นาม 国姓爷 ในเอกสารจีนมีกระแสเดียวครับ
ทั้งไม่ใช่ ราชทินนาม ( นามที่พระเจ้าแผ่นดินโปรดเกล้าฯ )
ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลจากหน่วยงานราชการของจีน หรือ ปทานุกรมมาตรฐานของจีน

ล้วนว่าตรงกันครับว่า 国姓爷  เป็นนามที่ชาวบ้านเรียกขานท่านเจิ้งหลังจากได้รับพระราชทานแซ่ ไม่ว่าจะออกเสียง 国姓爷  เป็นสำเนียงจีนกลาง หรือฮกเกี้ยน ครับ

และที่สำคัญ  国姓爷  หรือ Koxinga ล้วนไม่ใช่ตำแหน่งของขุนทหาารแต่อย่างไรครับ

ผิดถูกยังไงก็รบกวนตรวจทานด้วยครับ

อ้าง

1. สำนักงานปกครองท้องถิ่นฝูโจว 福州市人民政府办公厅

http://www.fuzhou.gov.cn/zgfzzt/zjrc/mdfc/mdrj/202201/t20220110_4288107.htm

隆武帝感慨地说:“可惜我没有公主,否则就招你做驸马。你一定要尽忠报国,千万不要忘记!”当即赐他和皇帝同姓,把他的本名“森”改为“成功”。

此后,人们都称他为“国姓爷”。

2. https://zh.wikipedia.org/wiki/%E9%84%AD%E6%88%90%E5%8A%9F

鄭森幼名「福松」,自被賜姓朱、改名成功後,便以「國姓成功」自名,此後終身不改。

民間多稱為國姓爺(白話字:Kok sèng iâ;荷蘭語:Koxinga),或鄭賜姓、鄭國姓。

3.https://baike.baidu.com/item/%E9%83%91%E6%88%90%E5%8A%9F/142

郑成功(1624.08.28-1662.06.23) [1]  ,本名森,又名福松,字明俨、大木。 福建泉州南安人,祖籍河南固始。 [2-3]  汉族,明末清初军事家,抗清名将,民族英雄。其父郑芝龙,其母名田川氏。因蒙隆武帝赐明朝国姓“朱”,赐名成功,并封忠孝伯,

世称“郑赐姓”、“郑国姓”、“国姓爷”。

4. https://baike.sogou.com/v95489.htm

隆武政权成立后,郑芝龙将郑成功引荐给隆武帝,隆武帝非常赞赏郑成功的才华,他叹息说:“惜无一女配卿,卿当忠吾家,勿相忘也!”皇帝以女儿给人做妻子,在封建时代是最高的荣誉,为了表示对郑成功的宠爱,隆武帝将当朝最尊崇的朱姓赐给郑成功,并将原名森改为成功。从这时起,郑森的名字就成了朱成功。

自是,朝廷内外都称朱为国姓,普通百姓尊称他为国姓爷。

.


กระทู้: ้ขอความรู้เรื่องจีน จาก คุณ Wu Zetian และท่านอื่นๆ
เริ่มกระทู้โดย: CrazyHOrse ที่ 05 พ.ค. 22, 19:40
เห็นด้วยครับ ชื่อแบบนี้ไม่ใช่ชื่อแบบทางการแน่นอน

เรื่องนี้เว็บภาษาไทยข้อมูลน้อยมากครับ wiki ไม่มีด้วยซ้ำไป

ถ้าคุณนามแปลงจะเป็นเจ้าภาพเปิดกระทู้เล่าเรื่องนี้ ผมสนับสนุนเต็มที่ครับ


กระทู้: ้ขอความรู้เรื่องจีน จาก คุณ Wu Zetian และท่านอื่นๆ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 05 พ.ค. 22, 21:38
มาสนับสนุนอีกหนึ่งเสียงให้คุณนามแปลง เปิดกระทู้ใหม่ เล่าเรื่องนี้ค่ะ

ส่วนกระทู้นี้น่าจะจบได้แล้ว   ดิฉันรวบรวมข้อมูลจากท่านทั้งหลาย เรียบเรียงส่งให้เชื้อสายท่านจูหยุ่นเรียบร้อยแล้วค่ะ
ขอขอบคุณทุกท่านที่เอื้อเฟื้อข้อมูล ให้ความรู้แก่ดิฉันและคนอื่นๆที่เข้ามาอ่าน
ขอบคุณอย่างยิ่งค่ะ


กระทู้: ้ขอความรู้เรื่องจีน จาก คุณ Wu Zetian และท่านอื่นๆ
เริ่มกระทู้โดย: Namplaeng ที่ 06 พ.ค. 22, 00:34
.

.

_/\_

.

.

(https://sv1.picz.in.th/images/2022/05/06/H4xJqb.png)

Cr. ภาพ Thai Decor