เรือนไทย

General Category => ชมรมอนุรักษ์ภาพจิตรกรรมไทย => ข้อความที่เริ่มโดย: jean1966 ที่ 27 ต.ค. 09, 17:43



กระทู้: บทสรุปทริป3ของชมรมฯพร้อมข้อมูลแต่ละวัด
เริ่มกระทู้โดย: jean1966 ที่ 27 ต.ค. 09, 17:43
การเดินทางทริปที่3ของชมรมอนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนังและศิลปะไทยโดยภาพถ่าย เมื่อวันที่25ต.ค.2552 มีผู้เดินทางทั้งหมด6ท่านประกอบด้วยผม คุณยุทธ คุณเน คุณแพร คุณเอเซียและคุณทอมมี่ เดินทางด้วยรถยนต์2คัน คือรถผมและรถคุณแพร รถผมนั้นเบนซ์แต่แอร์ดันเสีย เลยไปทั้งร้อนๆกับคุณทอมมี่ ได้อารมณ์ไปอีกแบบ ออกเดินทางไปพบกันยังจุดนัดหมายแรกวัดหัวกระบือบางขุนเทียนพบกันประมาณ8โมงเช้าขอพบท่านเจ้าอาวาส ปรากฎว่าท่านกำลังจะออกไปกิจนิมนต์บวชนาคแต่ท่านก็ยังเมตตาให้โอกาสเข้าพบและยังอนุญาตให้นำสมุดข่อยของแท้ต้นฉบับพุทธคัมภีร์ปีพ.ศ.2286ออกมาให้ถ่ายภาพแถมอีก1เล่มที่เก็บไว้ด้วยกัน ซึ่งน่าจะเก่าน้อยกว่า คำนวนกันว่าน่าจะประมาณรัชกาลที่1 ทั้งนี่หลวงพ่อบอกกับผมว่ายังมีอีกหลายเล่ม แต่ไม่มีเวลค้นให้ แต่คงไม่มีฉบับใดที่สวยเท่าฉบับปีพ.ศ.2286นั้นอีกแล้ว หลวงพ่อบอกทางวัดยังไม่มีงบสร้างพิพิธภัณฑ์จัดเก็บได้แต่ห่อเก็บไว้ในห้องหลวงพ่อเท่านั้น และปกติมักจะไม่นำต้นฉบับมาให้ดู จะให้ดูจากหนังสือที่จัดพิมพ์ไว้แทน ซึ่งคงได้ชมกันแล้วในกระทู้ภาพพรวมทริปของชมรมฯที่คุณยุทธโพสต์ไว้ กระทู้นี้ผมจะนำประวัติของแต่ละวัดที่ได้ไปพร้อมรูปประกอบ เพื่อทุกท่านที่สนใจจะได้มีข้อมูลประกอบเพื่อการศึกษาต่อไป ทริปนี่ผมเจ็บใจตัวเองอย่างยิ่งที่ไม่เตรียมความพร้อมเรื่องกล้องถ่ายภาพให้ดี เพราะแบตเตอรี่กล้องไม่ได้เช็คว่าไม่มีไฟเมื่อถ่ายได้เพียงวัดหัวกระบือแบตเตอรี่ก้อนแรกก็แทบหมด พอเปลี่ยนอีกก้อนก็ไม่มีไฟ กรรมเลยครับ ดีที่ติดกล้องเล็กไป ก็พอถ่ายได้แต่คุณภาพของภาพไม่ดีเท่า จึงต้องขออภัยมานะที่นี้ และขอเซิญสมาชิกชมรมเข้ามาโพสต์เสริมเรื่องรูปได้เลยครับ


กระทู้: บทสรุปทริป3ของชมรมฯพร้อมข้อมูลแต่ละวัด
เริ่มกระทู้โดย: jean1966 ที่ 27 ต.ค. 09, 17:56
       วัดศรีษะกระบือ หรือ ชาวบ้านเรียกวัดหัวกระบือ อยู่ในแขวงท่าข้าม เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร โคลงนิราศนรินทร์ และกลอนนิราสสามเณรกลั่น เขียนไว้เกี่ยวกับวัดนี้ มีความหมายสอดคล้องกันว่าเกี่ยวข้องกับรามเกียรติ์ ตอนปราบทรพี โดยพาลีตัดหัวทรพี ขว้างไปตก ที่ย่านนี้ แต่ตำนานการสร้างวัดของกรมศาสนาบันทึกเรื่องเล่าของชาวบ้านว่าเกี่ยวข้องกับเรื่องขุนช้างขุนแผน ตอนพระพันวษาโปรดการประพาสล่าควายป่า ขุนไกรบิดาของขุนแผนได้ฆ่าตัดหัวกระบือเป็นจำนวนมาก จึงโปรดให้สร้างวัดขึ้นให้ชื่อว่า วัดหัวกระบือ รายละเอียดของสมุดข่อยได้โพสต์ละเอียดไปแล้วในกระทู้สมุดข่อยวัดหัวกระบือขอให้ดูที่นั่น กระทู้นี้ขอลงภาพรวมๆของทั้งเล่ม ซึ่งปัจจุบันสมุดข่อยฉบับพุทธคัมภีร์นี้อยู่ในสภาพขาดเป็นช่วงๆไปตามความเก่าแม้สภาพโดยรวมของภาพเขียนยังอยู่แต่ก็เก่าน่าใจหายว่าจะอยู่กับเราไปอีกเท่าไหร่
       


กระทู้: บทสรุปทริป3ของชมรมฯพร้อมข้อมูลแต่ละวัด
เริ่มกระทู้โดย: jean1966 ที่ 27 ต.ค. 09, 18:12
ลักษณะสมุดข่อยที่นี่ หน้าปกก็เป็นลายรดน้ำปิดทอง ซึ่งอยู่ในสภาพกรอบแตกหลุดร่อนไปเสียมากดังรูป ลายละะเอียดตัวภาพก็ยังอยู่ครบทุกรูป จะโพสต์ให้ดูบางรูปเต็มเล่มว่าเป็นอย่างไร


กระทู้: บทสรุปทริป3ของชมรมฯพร้อมข้อมูลแต่ละวัด
เริ่มกระทู้โดย: jean1966 ที่ 27 ต.ค. 09, 18:29
อีก1เล่มที่คำนวนว่าน่าจะอายุประมาณร.1 เพราะฝีมือไม่สู้ดีนักและสไตล์การเขียนก็เปลี่ยนไป เนื่องจากไม่มีความรู้เรื่องภาษาแต่ดูแล้วตัวอักษรน่าจะเป็นบาลีแต่ไม่ทราบว่าเขียนเรื่องอะไร หน้าปกเขียนลายรดน้ำ ตรงหน้าปกนี่แหละที่ดูแล้วฝีมือรายรดน้ำใกล้เคียงกับฉบับพุทธคัมภีร์แทบจะเหมือนกันแต่ทำไมภายในเขียนไม่สวยเท่าจนดูเป็นสมัยร.1 ซึ่งในความเป็นจริงอาจเป็นอยุธยาก็ได้แต่ช่างฝีมือด้อยกว่ากันมากเลยไม่สวยเท่า (รูปแรกฉบับใหม่รูปที่2ฉบับเดิมพุทธคัมภีร์)


กระทู้: บทสรุปทริป3ของชมรมฯพร้อมข้อมูลแต่ละวัด
เริ่มกระทู้โดย: jean1966 ที่ 27 ต.ค. 09, 18:36
ฉบับรอง(ขอใช้คำนี้)ของวัดหัวกระบือ ก็เก่าขาดเป็นช่วงๆ(ไม่ต่อกันเป็นเล่ม)เหมือนกับเล่มพุทธคัมภีร์ เขียนเรื่องพระมาลัย แล้วดูจะเขียนไม่เสร็จด้วย


กระทู้: บทสรุปทริป3ของชมรมฯพร้อมข้อมูลแต่ละวัด
เริ่มกระทู้โดย: jean1966 ที่ 27 ต.ค. 09, 18:40
กลับหัวซะงั้น


กระทู้: บทสรุปทริป3ของชมรมฯพร้อมข้อมูลแต่ละวัด
เริ่มกระทู้โดย: jean1966 ที่ 27 ต.ค. 09, 18:47
ออกจากวัดหัวกระบือเกือบ11โมงไปวัดใหญ่จอมปราสาท สมุทรสาครต่อ
วัดใหญ่จอมปราสาท เป็นวัดเก่าแก่สมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์
 ตั้งอยู่ริมแม่น้ำท่าจีน ตำบลท่าจีน อำเภอเมืองสมุทรสาคร เป็นพระอารามหลวงจากหลักฐานซึ่งเป็นโบราณสถานและโบราณวัตถุโดยเฉพาะวิหารเก่าสันนิษฐานว่าสร้างมาไม่ต่ำกว่า 400-500 ปี ศาลาการ
 เปรียญสันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณมหาราช เป็นอาคาร
 ก่ออิฐถือปูนยกพิ้นใต้ถุนสูง  ช่องหน้าต่างมีรูปทรงแปลกตา   เช่น
 รูปใบโพธิ์ รูปไข่  รูปสี่เหลี่ยมย่อมุม  ที่หลักของศาลาประกอบไป
 ด้วยลวดลายจำหลักสวยงาม รูปทรงภายนอกเป็นแบบโค้งด้านหน้า
 ด้านหลังเชิดขึ้นคล้ายเรือสำเภาหลังคามุงกระเบื้องดินเผาพื้นปูด้วย
 ไม้สักแผ่นใหญ่เพดาลเขียนลายดอกพิกุล และดอกพุดตาลสีเหลือง
 และสีน้ำเงินอย่างสวยงามโบราณวัตถุล้ำค่าอีกชิ้นหนึ่งก็คือบานประตู
 โบสถ์ไม้สักและแกะสลักลวดลายวิจิตรพิศดาร กรมศิลปากรได้สงวน
 ไว้เป็นวัตถุของชาติ เมื่อปี พ.ศ.2505 รูปต่างในวัดดูได้ในกระทู้ภาพรวมทริปครั้งที่3(คุณยุทธนา)
(ภาพประกอบวิหารสมัยพระมหาจักรพรรดิ์อายุประมาณ4-500 ปี)




กระทู้: บทสรุปทริป3ของชมรมฯพร้อมข้อมูลแต่ละวัด
เริ่มกระทู้โดย: jean1966 ที่ 27 ต.ค. 09, 18:50
ลวดลายที่เหลืออยู่ของตัววิหาร


กระทู้: บทสรุปทริป3ของชมรมฯพร้อมข้อมูลแต่ละวัด
เริ่มกระทู้โดย: jean1966 ที่ 27 ต.ค. 09, 18:55
ภาพซุ้มหน้าต่างของวิหาร ที่ปัจจุบันบานหน้าต่างและบานประตูแกะสลักไม้นำไปติดตั้งยังอุโบสถใหม่ที่ตั้งอยู่ข้างวิหาร ทั้งกรอบประตูหน้าต่างสมัยยังดีอยู่น่าจะมีลวดลายปูนปั้นที่สวยงามประกอบเป็นแน่


กระทู้: บทสรุปทริป3ของชมรมฯพร้อมข้อมูลแต่ละวัด
เริ่มกระทู้โดย: jean1966 ที่ 27 ต.ค. 09, 19:19
บานประตูและหน้าต่างรอบพระอุโบสถแกะสลักอย่างสวยงามและประณีตมาก(นำมาจากวิหารเดิม)  มีผู้สันนิษฐาน ว่าช่างผู้แกะสลักบานประตูและหน้าต่างนี้ เป็นช่างชาวจีนที่มากับเรือสำเภา เพราะลวดลายนั้นมี ต้นไม้จีนอยู่ด้วย แต่ผมว่าหาใช่เช่นนั้นไม่ เพราะยังมีหลายบานที่เป็นลายไทยอย่างชัดเจน บานหน้าต่างแกะลายไม่ละเอียดนัก สู้บานประตูไม่ได้ซึ่งในเชิงช่างเรียกกันว่าแกะลงไปในเนื้อไม้ถึง4ชั้น


กระทู้: บทสรุปทริป3ของชมรมฯพร้อมข้อมูลแต่ละวัด
เริ่มกระทู้โดย: jean1966 ที่ 27 ต.ค. 09, 19:23
ศาลาการเปรียญสมัยพระนารายณ์


กระทู้: บทสรุปทริป3ของชมรมฯพร้อมข้อมูลแต่ละวัด
เริ่มกระทู้โดย: jean1966 ที่ 27 ต.ค. 09, 19:29
รูปดูเพิ่มที่กระทู้คุณยุทธประกอบเลยครับ เพราะที่ศาลาการเปรียญนี่ คงมีการบูรณะมาโดยต่อเนื่อง เพราะภาพเขียนสีบนเพดาน ชื่อคานของศาลาน่าจะเขียนในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นไม่น่าจะเกินรัชกาลที่3เป็นแน่


กระทู้: บทสรุปทริป3ของชมรมฯพร้อมข้อมูลแต่ละวัด
เริ่มกระทู้โดย: jean1966 ที่ 27 ต.ค. 09, 19:38
ออกจากวัดใหญ่จอมปราสาท11โมงครึ่งหิวกันแล้ว เลยแวะทานข้าวกันที่ดอนหอยหลอด6คนสั่งเพียบแค่1085บาทร้านคุณเป๋า(ร้านแนะนำการท่องเที่ยว) อากาศร้อนแต่อยู่ริมทะเลลมเย็นสบาย อาหารรสชาดยังไม่ถึงแค่พอทานได้น่าจะอร่อยกว่านี้ ออกจากร้านบ่ายโมงไปวัดบางกระพ้อม วัดที่มีพระเกจิชื่อดัง หลวงพ่อคงวัดบางกระพ้อม ประวัติวัดมีดังนี้
วัดบางกะพ้อม   ตำบลอัมพวา วัดบางกะพ้อมเป็นวัดโบราณ สร้างขึ้นในราว ปี พ.ศ.2312 สมัยกรุงศรีอยุธยา แต่ไม่ปรากฎนามผู้สร้างมีตำนานเล่าขานกันมาว่า มีตระกูลคหบดีมีฐานะดีตระกูลหนึ่ง ได้ลงเรือพาครอบครัวพร้อมทั้งทรัพย์สินหนีข้าศึก เมื่อครั้งเสียกรุงศรีอยุธยา รอมแรมถึงแหลมบางกะพ้อมแห่งนี้ เห็นเป็นที่เหมาะสมร่มรื่น จึงได้พักแรม สร้างที่อยู่อาศัยอยู่ โดยอาศัยการสานกระบุง ตระกร้าเสื่อรำแพน และกะพ้อมใส่ข้าว เป็นสินค้านำไปขายเพื่อเป็นค้ายังชีพ ต่อมามีคนมาบอกว่ากองทัพข้าศึกยกมา กำลังทำการสู้รบกันอยู่ที่ค่ายบางกุ้งให้รีบหนี แต่คหบดีผู้นั้นเห็นว่าคงหลบหนีไม่ทัน จึงได้เข้าไปแอบอยู่ในกะพ้อมที่สานเอาไว้เพื่อจะขาย พร้อมกันนั้นได้ตั้งสัตยธิษฐานต่อ พระรัตนตรัย
และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายว่า "ขออย่าให้ทหารข้าศึกพบเลย หาก รอดพ้นไปได้จะจัดการสร้างวัดและวิหารขึ้นตรงนี้" ซึ่งทหารข้าศึกก็ผ่านไปโดยมิได้พบเห็น ต่อมาจึงได้จัดสร้างวิหารวัดบางกะพ้อมขึ้นตามที่ตั้งสัตยธิษฐานไว้โดยตั้งชื่อว่า "วัดบังกับพ้อม" ต่อมาคงเพี้ยนไปบ้าง หรือเพื่อความเหมาะสมจึงชื่อ "วัดบางกะพ้อม" มาจนถึงปัจจุบัน  ว่ากันว่าครอบครัวของผู้สร้างวัดนี้ ร่วมด้วยพุทธศาสนิกชนในสมัยนั้นได้สร้างอุโบสถเรือนไม้ มี พระพุทธรูป ศิลาแลง สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นพระประธาน และได้สร้างวิหารเป็นที่ประดิษฐ์รอยพระพุทธบาท 4 รอย เดิมสร้างไม่เสร็จเรียบร้อย มีเรื่องเล่าสืบต่อกันมาว่ามีเชื้อพระวงศ์ในพระราชจักรี ทรงผนวช และจำพรรษา ณ วัดนี้ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระเถระ
ผู้ใหญ่และเป็นเจ้าอาวาสวัด ท่านได้บูรณะภาพจิตรกรรมฝาผนังนูน อันเป็นภาพจิตรกรรมฝาผนังที่สร้างด้วยมืออันประณีตงดงาม



กระทู้: บทสรุปทริป3ของชมรมฯพร้อมข้อมูลแต่ละวัด
เริ่มกระทู้โดย: jean1966 ที่ 27 ต.ค. 09, 19:48
ดูรูปรวมๆของวัด
1.หน้าบันวิหาร
2.ซุ้มประตูทางเข้าวิหารทรงกลม
3.ภายในประดิษฐานพระพุทธบาทสี่ร้อย


กระทู้: บทสรุปทริป3ของชมรมฯพร้อมข้อมูลแต่ละวัด
เริ่มกระทู้โดย: jean1966 ที่ 27 ต.ค. 09, 19:57
ผนังด้านในด้านทางเข้าปั้นเป็นรูปพระพุทธเจ้าและพระสาวกโมคัลลานะและพระสารีบุตรและกิจวัตรของสงฆ์ในการปลงอศุภ จริงๆแล้วน่าจะเรียกว่างานศิลปฝาผนังที่นี่น่าจะเรียกว่าประติมากรรมไทยนูนสูงลายเขียนสี แต่ที่นิยมเรียกกันคือจิตรกรรมฝาผนังนูนสูงเขียนสี ก็น่าจะถูกทั้ง2อย่างแต่บอกได้ว่ามีแห่งเดียวในประเทศไทยและในโลก


กระทู้: บทสรุปทริป3ของชมรมฯพร้อมข้อมูลแต่ละวัด
เริ่มกระทู้โดย: jean1966 ที่ 27 ต.ค. 09, 20:18
รูปไม่มาเอาใหม่


กระทู้: บทสรุปทริป3ของชมรมฯพร้อมข้อมูลแต่ละวัด
เริ่มกระทู้โดย: jean1966 ที่ 27 ต.ค. 09, 20:44
ดูรูปรวมๆไปแล้วกันครับ
1.พระพุทธเจ้าแสดงปฏิหารโปรดพุทธสาวกชาวจีน มุมซ้ายของภาพการทำนาในร่องสวน
ของชาวบ้านสมัยก่อน
2.พระพุทธบาทที่ประดิษฐานอยู่ ณ ภูเขาสุวรรณบรรพต
จ.สระบุรี ของประเทศไทย(ผนังด้านนี้จะเล่าเรื่องที่ประดิษฐานพระพุทธบาท5รอย)




กระทู้: บทสรุปทริป3ของชมรมฯพร้อมข้อมูลแต่ละวัด
เริ่มกระทู้โดย: jean1966 ที่ 27 ต.ค. 09, 20:48
เอาใหม่รูปรอยพระพุทธบาท


กระทู้: บทสรุปทริป3ของชมรมฯพร้อมข้อมูลแต่ละวัด
เริ่มกระทู้โดย: jean1966 ที่ 27 ต.ค. 09, 21:00
1.ขณะพักอยู่ใต้ร่มพฤกษาต้นหนึ่งได้เห็น อาชีวกผู้หนึ่งถือดอกมณฑารก
กั้นเป็นร่ม เดินทางมาแต่ไกล   หวังจะไปเมืองตาวาย พระเถระเจ้าถามถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า   อาชีวกตอบว่าพระสัมนะโคดมปรินิพพานได้ 7 วัน ณ วันนี้แล้ว
2.ก่อนถวายพระเพลิงพระบรมศพพระมหากัสสปะเดินทางมาถึงพระพุทธเจ้าสำแดงปาฏิหารย์ยื่นพระบาทออกมาให้กราบ


กระทู้: บทสรุปทริป3ของชมรมฯพร้อมข้อมูลแต่ละวัด
เริ่มกระทู้โดย: jean1966 ที่ 27 ต.ค. 09, 21:13
ไม่รู้เป็นไรโพสต์แล้วค้างรูปไม่ขึ้นอีก ขอพักก่อนครับงานนี้


กระทู้: บทสรุปทริป3ของชมรมฯพร้อมข้อมูลแต่ละวัด
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 27 ต.ค. 09, 23:19
วันนี้ไปวัดไชยทิศ กับวัดนางนองกับคุณแพร ปรากฏว่าวัดนางนองกำลังจะซ่อมลายรดน้ำและภาพเขียนในพระอุโบสถ
เลยอยากจะไปเก็บภาพก่อนซ่อมใหญ่ครั้งนี้อีกครั้ง เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับใน พศ.นี้ แต่เกรงว่าจะติดนั่งร้าน
อยากให้พี่ยีนส์ กับพี่ยุทธตั้งกระทู้วัดนางนองบ้างน่ะครับ เพราะสวยขาดใจจริงๆ 555

ภาพจากหอไตรวัดบางแคใหญ่


กระทู้: บทสรุปทริป3ของชมรมฯพร้อมข้อมูลแต่ละวัด
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 28 ต.ค. 09, 11:51
ในฐานะผู้เสพศิลปและชมชอบจิตรกรรม/ศิลปไทย  ขอขอบคุณทุกท่านที่ร่วมกระบวนไปนำเรื่องและภาพมาให้ชม...ขอบคุณจากใจจริง....หากเป็นได้อยากให้ลดจำนวนวัดในแต่ละทริป...จะได้รายละเอียดครบถ้วน...ที่สำคัญ-ไม่เหนื่อยมากเกินไป...เห็นใจทุกท่านงงงคงเหนื่อยกันมาก...ยอดมนุษย์จริงำ

จำกัดอายุสมาชิกหรือเปล่า...ถ้าไม่...ทริปหน้าอยากตามไปสังเกตุการณ์ด้วยจัง


กระทู้: บทสรุปทริป3ของชมรมฯพร้อมข้อมูลแต่ละวัด
เริ่มกระทู้โดย: yutthana ที่ 28 ต.ค. 09, 12:39
ยินดีต้อนรับร่วมขบวนครับ ชมรมเราไม่เคยจำกัดอายุครับ   การที่เราไปหลายวัดนั้นเพราะเหมือนเป็นการสำรวจล่วงหน้าก่อนครั้งหนึ่งและหวังอย่างยิ่งที่จะไปยังจุดเดิมอีกเพื่อเก็บลายละเอียดให้มากขึ้น  เราหวังอย่างยิ่งที่จะมีสมาชิกอยู่หลายพื้นที่และจัดกลุ่มกระจายกันไปถ่ายรูปและมาแลกเปลื่ยนความรู้กันและกัน  เพราะพื้นที่ไกลๆคงมีโอกาสจัดทริปไปได้น้อยแต่ก็พยายามที่จะไป  การเดินทางบางครั้งเหนื่อยบ้างร้อนบ้างทุรักทุเลบ้างแต่ก็ชื่นใจเมื่อเห็นศิลปกรรมนั้น ๆ  วันอาทิตย์นี้ผมจะไปวัดนางนองอีกครั้งหนึ่งเพื่อเก็ยลายละเอียดทั้งหมดให้มากที่สุดเนื่องจากว่าทางกรมศิลปากรได้มีการซ่อมแซมใหม่  ซึ่งข้อนข้างเสี่ยงกับการเปลี่ยนแปลงทางศิลปกรรมเป็นอย่างมาก  เพื่อความปลอดภัยจึงต้องถ่ายบันทึกไว้ครับ   ผมบอกตรงๆว่าภาพที่เคยซ่อมตรงบานหน้าต่างนั้นซ่อมได้ไม่เหมือนของเดิมเลยซึ่งผมเองเคยเห็นของเก่าเมื่อครั้งลายทองลอกหมดแล้วเหลือแต่รอยนูนที่เหลือ แต่ด้วยความเป็นเด็กเลยไม่สนใจถ่ายเพราะไม่มีลายทองอยู่ ซึ่งซ่อมแล้วก็ไม่เหมือนเดิมอย่างตัวอย่างในรูปที่นำมาให้ดูคร่าวๆ   สำหรับผู้ศึกษางานศิลปะไทยคงจะรับรู้อารมณ์ได้บ้างนะครับว่าการซ่อมงานโดยผู้ขาดความรู้ความเข้าใจทางศิลปะไทยเป็นอย่างไรและเศร้าใจเพียงไหน  นี่เพียงบานหน้าต่างด้านนอกผมก็เสร้าใจพออยู่แล้ว   ถ้าเป็นการเปลี่ยนแปลงแบบที่ซ่อมครั้งแรกตามรูปนี้บอกตามตรงอยากร้องไห้   และนี่เองกระมังจึงเป้นเหตุให้เกิดชมรมนี้ขึ้นก็ขอเภาวนาให้ถ่ายรูปทันเถอะครับ อย่าให้ไปสายเหมือนที่บานประตูทางเข้าเจดีย์ที่วัดประยูรเลยครับพ่อใสลายทองออกแล้วเขียนใหม่หมดแทนที่จะเก็บบานเก่าไว้ในพิพิธภัณฑ์ขอบคุณครับที่ฟังผมบ่น มันอึดอัดจริงๆ  สำหรับยกระทู้วัดนางนองรอดูคืนนี้ครับกำลังเตรียมข้อมูลอยู่ครับ


กระทู้: บทสรุปทริป3ของชมรมฯพร้อมข้อมูลแต่ละวัด
เริ่มกระทู้โดย: asia ที่ 28 ต.ค. 09, 17:07
จริงๆๆครับ นิสัยคนไทยที่ชอบของใหม่ ชอบทำอะไรใหญ่ๆเข้าว่า ลาดลายโบราณของช่างโบราณ ที่เป็นฝีมือชั้นครูต้องสูญหายก็เพราะคนสมัยเรานี่เอง
ดูแล้วมันน่าเสร้าจริงขอรับ


กระทู้: บทสรุปทริป3ของชมรมฯพร้อมข้อมูลแต่ละวัด
เริ่มกระทู้โดย: ฉันรักบางกอก ที่ 28 ต.ค. 09, 17:44
เมื่อวานแอบควงน้องเน ไปเที่ยววัดแถวๆฝั่งธนฯ และแวะที่วัดนางนอง ก็เลยเห็นว่า กำลังบูรณะซ่อม ลายรดน้ำ ที่บานประตู และหน้าต่าง ตั้งนั่งร้านจนเต็ม แต่สีทองเหลืออร่ามสวยงาม สุดยอดจริง

เพราะฉะนั้นเราต้องรีบไปนะคะ ก่อนที่จะสายไปกว่านี้


กระทู้: บทสรุปทริป3ของชมรมฯพร้อมข้อมูลแต่ละวัด
เริ่มกระทู้โดย: jean1966 ที่ 28 ต.ค. 09, 20:24
สัตว์โลกยอมเป็นไปตามกรรมดังเช่นศิลปะไทยก็กำลังจะสูญสิ้นจิตวิญญาณเดิมเมื่อครั้งบรรพบุรุษสร้างสู่น้ำมือช่าง(เขาเถอะ)ที่มีอยู่เกลื่อนเมือง สิ่งใดจะสิ้นสูญย่อมเป็นสัจธรรม แต่เราเหล่าชมรมฯนี่แหละจะมุ่งบันทึกหลักฐานทางศิลปะเหล่านี้เก็บไว้ให้ลูกหลานสืบไป การเดินทางไปแต่ละวัด ผมว่าเราเหล่าทีมงานใช้เวลาศึกษามากพอสมควรครับ ขึ้นอยู่กับหลักฐานทางศิลปะ แต่เชื่อหรือไม่หากจะเอาความซาบซึ้งในศิลปะเป็นที่ตั้งบางท่านอาจจะอยากอยู่วัดหนึ่งวัดใดทั้งวันก็ได้ ดังนั้นการไปวัดของทีมงานแต่ละครั้งผมจะพยายามเตรียมข้อมูลการเดินทางไปก่อนเพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐาน แล้วไปร่วมวิเคราะห์ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันในสถานที่นั้นจากภูมิปัญญาของแต่ละท่านอาจจะมีข้อสรุปหรือไม่ก็ได้ถูกต้องหรือไม่ก็ได้นำมาประมวลสรุปโพสต์เป็นกระทู้นำเสนอเพื่อต่อยอดทางความคิดสืบไป*แค่คิดก็เหนื่อยแล้ว


กระทู้: บทสรุปทริป3ของชมรมฯพร้อมข้อมูลแต่ละวัด
เริ่มกระทู้โดย: jean1966 ที่ 28 ต.ค. 09, 21:15
มาดูข้อมูลกันต่อวัดบางแคใหญ่
     วัดบางแคใหญ่แม้เป็นวัดราษฎร์อยู่ในท้องถิ่นที่เป็นเรือกสวนห่างไกลแหล่งชุมชน แต่ก็มีโบราณวัตถุสถานบางอย่างที่ระบุว่าเป็นวัดใหญ่และมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ไทยแต่ยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น ตามประวัติกล่าวว่า สร้างโดยมี ผู้บรรดาศักดิ์สูงซึ่งมีอำนาจทางบ้านเมือง และภาพเขียนที่ทางวัดรักษาไว้อย่างดีนี้ ก็มีภาพเรื่องราวเกี่ยวกับการทำสงครามไทย - พม่า อย่างน่าศึกษายิ่ง วัดบางแคใหญ่ ตั้งอยู่ในภูมิสถานที่มีน้ำโอบคือ มีคลองบางแค ( คลองย่อยจากแม่น้ำแม่กลอง ) ผ่านทางทิศตะวันออก คลองเมรุ ทางทิศเหนือ และคลอง บางลี่ทางทิศใต้ สภาพแวดล้อมของวัดร่มรื่นไปด้วยสวนส้ม สวนตาล สวนมะพร้าว และสวนลิ้นจี่ หากพิจารณาในแง่การแบ่งเขตการปกครองแล้ว วัดนี้จะอยู่ในเขตตำบลแควอ้อม อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
ประวัติวัด     ตามคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ในละแวกวัดและท่านเจ้าอาวาส ( พระครูโฆษิตสุตคุณ ) ซึ่งเกิดที่บ้านนี้ขณะนี้มีอายุ ๙๓ ปี (นับจาก พ.ศ.๒๕๓๑) กล่าวว่าวัดนี้ เจ้าพระยาวงษาสุรศักดิ์ ( แสงวงศาโรจน์ ) สร้างให้กับภรรยาหลวงของท่าน จึงได้ชื่อว่าวัดบางแคใหญ่ นอกจากนี้ท่านได้สร้างวัดบางแคน้อย ซึ่งอยู่ไม่ไกลนักให้ภรรยาน้อยด้วย ภายหลังได้มีวัดบางแคกลางอีก แต่มิได้เกี่ยวข้องกับสองวัดแรกแต่อย่างใด ส่วนหลักฐานทางประวัติศาสตร์โบราณคดีปรากฏที่ผนังภายใน ด้านหน้าอุโบสถ ซึ่งเป็นแผ่นหินชนวนมีตัวอักษรไทยภาษาไทย อ่านได้ความชัดเจนว่า "วันอาทิตย์ เดือนห้า ขึ้นค่ำหนึ่ง จุลศักราชพันร้อยเจดสิบสาม ปิ์มะแม ตรีศก เจ้าพญาวงษาสุรศักดิ์ผู้วามีสมุหะพระกลาโหม ได้สร้างพระอารามนิแล้วแต่ณะวันสุกร เดือนสิบ แรมสิบค่ำ พุทธศักราชล่วงแล้วได้สองพันสามร้อยห้าสิบเจด ปีจอฉ้อศก" หากถอดความเป็นภาษาไทยที่อ่านได้ง่าย ๆ คือ "วันอาทิตย์ เดือนห้า ขึ้นหนึ่งค่ำ จุลศักราชหนึ่งพันหนึ่งร้อยเจ็ดสิบสาม ปีมะแม ตรีศก เจ้าพระยาวงษาสุรศักดิ์ผู้ว่าสมุหพระกลาโหม ได้สร้างพระอารามนี้แล้ว ณ วันศุกร์ เดือนสิบ แรมสิบค่ำ พุทธศักราชล่วงแล้วได้สองพันสามร้อยห้าสิบเจ็ด ปีจอฉอศก" คือ เจ้าพระยาวงษาสุรศักดิ์ ได้สร้างวัดนี้เมื่อ พ.ศ.๒๓๕๗ อันเป็นช่วงต้นแผ่นดินรัชกาลที่ ๒ แห่งราชวงศ์จักรี วัดนี้ดูจากแผนผังของวัดพอจะคำนวณประวัติวัดได้อย่างหยาบ ๆ คือ
๑. จากพระพุทธรูปหินทรายแดงรอบพระระเบียง นิ้วพระหัตถ์กางแบบ ปาละ หน้าพระเป็นรูปไข่แบบอู่ทองหน้านาง เห็นได้ชัดว่าจะเป็นประติมากรรมสมัยก่อนกรุงศรีอยุธยา แสดงว่าอาจจะนำมาจากที่อื่นหรือเป็นของเก่าแก่ดั่งเดิมของวัด อย่างใดอย่างหนึ่ง ล่วงมาในสมัยอยุธยา หรือรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีการเอาปูนมา ปั้นพอกพระศิลาทรายแดงไว้ บางองค์ก็ทำทรงเครื่องด้วย
๒. สิ่งที่บอกอายุของวัดคือ ใบเสมาหินทรายแดงขนาดเล็กสมัยอยุธยา ตระกูลอัมพวา เป็นแบบเดียวกับวัดหลวงพ่อบ้านแหลมและวัดโบราณสมัยอยุธยาตอนปลายในเขตจังหวัดสมุทรสงครามโดยทั่วไป บ่งว่ามีการปฏิสังขรณ์ให้เป็นวัดขึ้นมาใหม่สมัยอยุธยาตอนปลาย
๓. หลักฐานอีกประการหนึ่งคือ เจดีย์เหลี่ยมย่อมุมสิบสองสมัยพระนารายณ์ อยู่บนลานหน้าพระอุโบสถที่มีพระระเบียงล้อมรอบ เจดีย์เหลี่ยมย่อมุมสิบสองนี้เป็นแบบสมัยพระนารายณ์หรือพระเพทราชาโดยตรง ต่อมาสมัยพระบรมโกศใช้เจดีย์ย่อมุมยี่สิบแปด เช่น เจดีย์ที่สร้างไว้หน้าอุโบสถ วัดบรมพุทธาราม (สร้างสมัยพระเพทราชา) เจดีย์ย่อมุมสิบสองสมัยพระเพทราชาที่แท้ อยู่หน้าอุโบสถวัดพญาแมนริมคลองสระบัว จังหวัดอยุธยา วัดสมัยอยุธยาตอนปลายจะสร้างเจดีย์เหลี่ยมย่อมุมยี่สิบสองบ้างย่อมุมยี่สิบแปดบ้างอยู่หน้าโบสถ์เสมอ เช่น วัดกำแพงแก้ว ต.สะพานไทย อ.บางบาล วัดพรหมนิวาส จ.พระนครศรีอยุธยา (วัดนอก) จ.สมุทรปราการ วัดในวรวิหาร จ.สมุทรปราการ ดังนี้ เป็นต้น
๔. กฎีสงฆ์หลังที่มีภาพเขียนนั้น เดิมเป็นเรือนไทยมีเสาต่ำมาภายหลังทางวัดรื้อลงแล้วก่อห้องข้างล่างเป็นปูน มีเสาแน่นหนายกเรือนสูงขึ้น ด้วยภาพเขียนถูกทอดไม้กระดานเป็นชิ้น ๆ เอามาปะติดปะต่อในภายหลัง โดมมีการเขียนชอล์กตัวเลขกำกับแผ่นไว้บนภาพเขียน ดังนั้นหากกล่าวโดยรวม ๆ วัดบางแคใหญ่น่าจะเป็นวัดมีมาแต่สมัยอยุธยาแล้วและเจ้าพระยาวงษาสุรศักดิ์มาสร้างปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ในสมัยรัชกาลที่ ๒(พ.ศ.๒๓๕๗)

ประวัติท่านผู้แต่ง     เจ้าพระยาวงษาสุรศักดิ์สมุหพระกลาโหม มีนามเดิมว่า แสง วงศาโรจน์ เป็นบุตรของเจ้าพระยาราชบุรี (เสม วงศาโรจน์) ซึ่งรับราชการมีความดีความชอบมาตั้งแต่ครั้งต้นแผ่นดินรัชกาลที่ ๑ ทั้งเป็นต้นตระกูล "วงศาโรจน์"ดังสืบสายมาจนถึงปัจจุบัน เชื้อสายของตระกูลวงศาโรจน์สืบสายหนึ่งมาจากราชนิกูลบางช้าง กล่าวคือ พระยาราชบุรี (เสม วงศาโรจน์) เป็นบุตรของท่านยายเดื่อ และท่านตาขุนแกล้ว ท่านยายเดื่อเป็นธิดาของท่านยายเมืองซึ่งเป็นพี่สาวของท่านนาค หรือสมเด็จพระรูปศิริโสภาคย์มหานาคนารี พระชนนีของสมเด็จพระอัมรินทราพระบรมราชินีพระองค์แรกแห่งราชวงศ์จักรี อันมีนิวาสถานเดิมอยู่แถบอัมพวานั้นเอง และเชื้อสายราชนิกูลสายนี้มักรับราชการสนองพระเดชพระคุณในแถบสมุทรสงคราม สมุทรสาคร ต่อมาถึงราชบุรีด้วย (มณฑลราชบุรี, ๒๔๖๘) เจ้าพระยาวงษาสุรศักดิ์ (แสง วงศาโรจน์) ได้รับราชการมีความดีความชอบมาโดยสม่ำเสมอตั้งแต่ครั้งต้นแผ่นดินรัชกาลที่ ๑ แล้ว กล่าวคือในขณะที่ผู้บิดาคือ พระยาราชบุรี (เสม วงศาโรจน์) ได้รับพระราชทานเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าพระยาราชบุรี หลังจากปราบดาภิเษกเสร็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีแล้ว (พ.ศ.๒๓๒๕) ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานบรรดาศักติ์นายแสงในคราวเดียวกันนี้ ตามความว่า "ให้นายแสง เป็นพระยาสมุทรสงคราม" พระยาสมุทรสงคราม (แสง) นับว่าเป็นบุคคลที่มีความสามารถเป็นพิเศษ เพราะมิได้รับราชการเฉพาะตำแหน่งว่าราชการเมืองแถบถิ่นราชบุรี สมุทรสงครามเท่านั้น หากมีความดีความชอบถึงขนาดได้เป็นสมุหพระกลาโหม บังคับบัญชาทหารทั้งปวง ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ แห่งพระบรมราชวงศ์จักรี หลังจากทรงบรมราชาภิเษกแล้ว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งข้าราชการผู้มีความรับผิดชอบในการนี้มีเจ้าพระยาวงษาสุรศักดิ์รวมอยู่ด้วย เจ้าพรยาวงษาสุรศักดิ์ สมุหพระกลาโหม ได้รับพระราชโองการให้เป็นแม่ทัพไปราชการสงครามกับพม่าที่ชายแดนไทยอยู่เสมอ และในคราวที่คาดว่าเป็นเหตุการณ์ใกล้เคียงกับเรื่องราวที่ปรากฏในภาพจิตรกรรมบนฝาประจัน ณ วัดบางแคใหญ่นี้ ก็น่าจะเป็นครั้งที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โปรดให้ไปขัดตาทัพที่ราชบุรี เมื่อปีมะเส็ง พ.ศ.๒๓๖๔ นั่นเอง

วัดบางแคใหญ่
     วัดบางแคใหญ่แม้เป็นวัดราษฎร์อยู่ในท้องถิ่นที่เป็นเรือกสวนห่างไกลแหล่งชุมชน แต่ก็มีโบราณวัตถุสถานบางอย่างที่ระบุว่าเป็นวัดใหญ่และมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ไทยแต่ยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น ตามประวัติกล่าวว่า สร้างโดยมี ผู้บรรดาศักดิ์สูงซึ่งมีอำนาจทางบ้านเมือง และภาพเขียนที่ทางวัดรักษาไว้อย่างดีนี้ ก็มีภาพเรื่องราวเกี่ยวกับการทำสงครามไทย - พม่า อย่างน่าศึกษายิ่ง วัดบางแคใหญ่ ตั้งอยู่ในภูมิสถานที่มีน้ำโอบคือ มีคลองบางแค ( คลองย่อยจากแม่น้ำแม่กลอง ) ผ่านทางทิศตะวันออก คลองเมรุ ทางทิศเหนือ และคลอง บางลี่ทางทิศใต้ สภาพแวดล้อมของวัดร่มรื่นไปด้วยสวนส้ม สวนตาล สวนมะพร้าว และสวนลิ้นจี่ หากพิจารณาในแง่การแบ่งเขตการปกครองแล้ว วัดนี้จะอยู่ในเขตตำบลแควอ้อม อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
ประวัติวัด     ตามคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ในละแวกวัดและท่านเจ้าอาวาส ( พระครูโฆษิตสุตคุณ ) ซึ่งเกิดที่บ้านนี้ขณะนี้มีอายุ ๙๓ ปี (นับจาก พ.ศ.๒๕๓๑) กล่าวว่าวัดนี้ เจ้าพระยาวงษาสุรศักดิ์ ( แสงวงศาโรจน์ ) สร้างให้กับภรรยาหลวงของท่าน จึงได้ชื่อว่าวัดบางแคใหญ่ นอกจากนี้ท่านได้สร้างวัดบางแคน้อย ซึ่งอยู่ไม่ไกลนักให้ภรรยาน้อยด้วย ภายหลังได้มีวัดบางแคกลางอีก แต่มิได้เกี่ยวข้องกับสองวัดแรกแต่อย่างใด ส่วนหลักฐานทางประวัติศาสตร์โบราณคดีปรากฏที่ผนังภายใน ด้านหน้าอุโบสถ ซึ่งเป็นแผ่นหินชนวนมีตัวอักษรไทยภาษาไทย อ่านได้ความชัดเจนว่า "วันอาทิตย์ เดือนห้า ขึ้นค่ำหนึ่ง จุลศักราชพันร้อยเจดสิบสาม ปิ์มะแม ตรีศก เจ้าพญาวงษาสุรศักดิ์ผู้วามีสมุหะพระกลาโหม ได้สร้างพระอารามนิแล้วแต่ณะวันสุกร เดือนสิบ แรมสิบค่ำ พุทธศักราชล่วงแล้วได้สองพันสามร้อยห้าสิบเจด ปีจอฉ้อศก" หากถอดความเป็นภาษาไทยที่อ่านได้ง่าย ๆ คือ "วันอาทิตย์ เดือนห้า ขึ้นหนึ่งค่ำ จุลศักราชหนึ่งพันหนึ่งร้อยเจ็ดสิบสาม ปีมะแม ตรีศก เจ้าพระยาวงษาสุรศักดิ์ผู้ว่าสมุหพระกลาโหม ได้สร้างพระอารามนี้แล้ว ณ วันศุกร์ เดือนสิบ แรมสิบค่ำ พุทธศักราชล่วงแล้วได้สองพันสามร้อยห้าสิบเจ็ด ปีจอฉอศก" คือ เจ้าพระยาวงษาสุรศักดิ์ ได้สร้างวัดนี้เมื่อ พ.ศ.๒๓๕๗ อันเป็นช่วงต้นแผ่นดินรัชกาลที่ ๒ แห่งราชวงศ์จักรี วัดนี้ดูจากแผนผังของวัดพอจะคำนวณประวัติวัดได้อย่างหยาบ ๆ คือ
๑. จากพระพุทธรูปหินทรายแดงรอบพระระเบียง นิ้วพระหัตถ์กางแบบ ปาละ หน้าพระเป็นรูปไข่แบบอู่ทองหน้านาง เห็นได้ชัดว่าจะเป็นประติมากรรมสมัยก่อนกรุงศรีอยุธยา แสดงว่าอาจจะนำมาจากที่อื่นหรือเป็นของเก่าแก่ดั่งเดิมของวัด อย่างใดอย่างหนึ่ง ล่วงมาในสมัยอยุธยา หรือรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีการเอาปูนมา ปั้นพอกพระศิลาทรายแดงไว้ บางองค์ก็ทำทรงเครื่องด้วย
๒. สิ่งที่บอกอายุของวัดคือ ใบเสมาหินทรายแดงขนาดเล็กสมัยอยุธยา ตระกูลอัมพวา เป็นแบบเดียวกับวัดหลวงพ่อบ้านแหลมและวัดโบราณสมัยอยุธยาตอนปลายในเขตจังหวัดสมุทรสงครามโดยทั่วไป บ่งว่ามีการปฏิสังขรณ์ให้เป็นวัดขึ้นมาใหม่สมัยอยุธยาตอนปลาย
๓. หลักฐานอีกประการหนึ่งคือ เจดีย์เหลี่ยมย่อมุมสิบสองสมัยพระนารายณ์ อยู่บนลานหน้าพระอุโบสถที่มีพระระเบียงล้อมรอบ เจดีย์เหลี่ยมย่อมุมสิบสองนี้เป็นแบบสมัยพระนารายณ์หรือพระเพทราชาโดยตรง ต่อมาสมัยพระบรมโกศใช้เจดีย์ย่อมุมยี่สิบแปด เช่น เจดีย์ที่สร้างไว้หน้าอุโบสถ วัดบรมพุทธาราม (สร้างสมัยพระเพทราชา) เจดีย์ย่อมุมสิบสองสมัยพระเพทราชาที่แท้ อยู่หน้าอุโบสถวัดพญาแมนริมคลองสระบัว จังหวัดอยุธยา วัดสมัยอยุธยาตอนปลายจะสร้างเจดีย์เหลี่ยมย่อมุมยี่สิบสองบ้างย่อมุมยี่สิบแปดบ้างอยู่หน้าโบสถ์เสมอ เช่น วัดกำแพงแก้ว ต.สะพานไทย อ.บางบาล วัดพรหมนิวาส จ.พระนครศรีอยุธยา (วัดนอก) จ.สมุทรปราการ วัดในวรวิหาร จ.สมุทรปราการ ดังนี้ เป็นต้น
๔. กฎีสงฆ์หลังที่มีภาพเขียนนั้น เดิมเป็นเรือนไทยมีเสาต่ำมาภายหลังทางวัดรื้อลงแล้วก่อห้องข้างล่างเป็นปูน มีเสาแน่นหนายกเรือนสูงขึ้น ด้วยภาพเขียนถูกทอดไม้กระดานเป็นชิ้น ๆ เอามาปะติดปะต่อในภายหลัง โดมมีการเขียนชอล์กตัวเลขกำกับแผ่นไว้บนภาพเขียน ดังนั้นหากกล่าวโดยรวม ๆ วัดบางแคใหญ่น่าจะเป็นวัดมีมาแต่สมัยอยุธยาแล้วและเจ้าพระยาวงษาสุรศักดิ์มาสร้างปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ในสมัยรัชกาลที่ ๒(พ.ศ.๒๓๕๗)
    เจ้าพระยาวงษาสุรศักดิ์สมุหพระกลาโหม มีนามเดิมว่า แสง วงศาโรจน์ เป็นบุตรของเจ้าพระยาราชบุรี (เสม วงศาโรจน์) ซึ่งรับราชการมีความดีความชอบมาตั้งแต่ครั้งต้นแผ่นดินรัชกาลที่ ๑ ทั้งเป็นต้นตระกูล "วงศาโรจน์"ดังสืบสายมาจนถึงปัจจุบัน เชื้อสายของตระกูลวงศาโรจน์สืบสายหนึ่งมาจากราชนิกูลบางช้าง กล่าวคือ พระยาราชบุรี (เสม วงศาโรจน์) เป็นบุตรของท่านยายเดื่อ และท่านตาขุนแกล้ว ท่านยายเดื่อเป็นธิดาของท่านยายเมืองซึ่งเป็นพี่สาวของท่านนาค หรือสมเด็จพระรูปศิริโสภาคย์มหานาคนารี พระชนนีของสมเด็จพระอัมรินทราพระบรมราชินีพระองค์แรกแห่งราชวงศ์จักรี อันมีนิวาสถานเดิมอยู่แถบอัมพวานั้นเอง และเชื้อสายราชนิกูลสายนี้มักรับราชการสนองพระเดชพระคุณในแถบสมุทรสงคราม สมุทรสาคร ต่อมาถึงราชบุรีด้วย (มณฑลราชบุรี, ๒๔๖๘) เจ้าพระยาวงษาสุรศักดิ์ (แสง วงศาโรจน์) ได้รับราชการมีความดีความชอบมาโดยสม่ำเสมอตั้งแต่ครั้งต้นแผ่นดินรัชกาลที่ ๑ แล้ว กล่าวคือในขณะที่ผู้บิดาคือ พระยาราชบุรี (เสม วงศาโรจน์) ได้รับพระราชทานเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าพระยาราชบุรี หลังจากปราบดาภิเษกเสร็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีแล้ว (พ.ศ.๒๓๒๕) ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานบรรดาศักติ์นายแสงในคราวเดียวกันนี้ ตามความว่า "ให้นายแสง เป็นพระยาสมุทรสงคราม" พระยาสมุทรสงคราม (แสง) นับว่าเป็นบุคคลที่มีความสามารถเป็นพิเศษ เพราะมิได้รับราชการเฉพาะตำแหน่งว่าราชการเมืองแถบถิ่นราชบุรี สมุทรสงครามเท่านั้น หากมีความดีความชอบถึงขนาดได้เป็นสมุหพระกลาโหม บังคับบัญชาทหารทั้งปวง ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ แห่งพระบรมราชวงศ์จักรี หลังจากทรงบรมราชาภิเษกแล้ว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งข้าราชการผู้มีความรับผิดชอบในการนี้มีเจ้าพระยาวงษาสุรศักดิ์รวมอยู่ด้วย เจ้าพรยาวงษาสุรศักดิ์ สมุหพระกลาโหม ได้รับพระราชโองการให้เป็นแม่ทัพไปราชการสงครามกับพม่าที่ชายแดนไทยอยู่เสมอ และในคราวที่คาดว่าเป็นเหตุการณ์ใกล้เคียงกับเรื่องราวที่ปรากฏในภาพจิตรกรรมบนฝาประจัน ณ วัดบางแคใหญ่นี้ ก็น่าจะเป็นครั้งที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โปรดให้ไปขัดตาทัพที่ราชบุรี เมื่อปีมะเส็ง พ.ศ.๒๓๖๔ นั่นเอง (ภาพประกอบในส่วนนี้ สมาชิกชมรมฯไม่มีใครถ่ายมามีผมถ่ายมาเพียงคนเดียวในส่วนภาพผนัง ขอเชิญทัศนา)



กระทู้: บทสรุปทริป3ของชมรมฯพร้อมข้อมูลแต่ละวัด
เริ่มกระทู้โดย: jean1966 ที่ 28 ต.ค. 09, 21:44
ภาพทหารไทยไล่ฆ่าชาวมอญอย่างเลือดเย็น


กระทู้: บทสรุปทริป3ของชมรมฯพร้อมข้อมูลแต่ละวัด
เริ่มกระทู้โดย: jean1966 ที่ 28 ต.ค. 09, 21:47
ภาพหมู่บ้านเรือนคหบดีชาวมอญ แสดงวิถีความเป็นอยู่อย่างน่าชมยิ่ง


กระทู้: บทสรุปทริป3ของชมรมฯพร้อมข้อมูลแต่ละวัด
เริ่มกระทู้โดย: jean1966 ที่ 29 ต.ค. 09, 19:41
ไม่รู้เป็นไรกระทู้ตัวเองโพสต์รูปไม่ติดและโหลดช้าอยู่เรื่อยจนโพสต์วันเดียวไปจบเสียที ดูแต่รูปแล้วกันครับกระทู้จืดหมดแล้ว


กระทู้: บทสรุปทริป3ของชมรมฯพร้อมข้อมูลแต่ละวัด
เริ่มกระทู้โดย: jean1966 ที่ 29 ต.ค. 09, 20:02
ดูต่อ


กระทู้: บทสรุปทริป3ของชมรมฯพร้อมข้อมูลแต่ละวัด
เริ่มกระทู้โดย: jean1966 ที่ 29 ต.ค. 09, 20:16
ดูต่อ


กระทู้: บทสรุปทริป3ของชมรมฯพร้อมข้อมูลแต่ละวัด
เริ่มกระทู้โดย: jean1966 ที่ 29 ต.ค. 09, 20:32
จิตรกรรมฝาผนังวัดบางแคใหญ่ ตำบลแควอ้อม อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ผู้ที่อยู่ในแวดวงศิลปกรรมไทยมักรู้จักจิตรกรรมที่ฝาประจัน (ฝากั้นห้อง) กุฏิสงฆ์ที่เขียนเรื่องราวสงครามระหว่างไทยกับพม่า ซึ่งน่าจะเป็นสงครามครั้งรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ ๒) โปรดฯ ให้ไปขัดตาทัพที่ราชบุรีเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๖๔ แต่วัดบางแคใหญ่ยังมีจิตรกรรมฝาผนังในหอไตรปิฎก ฝีมือช่างหลวงสมัยรัชกาลที่ ๓ ซึ่งเพิ่งเปิดเผยให้ได้รับรู้กันทั่วไปเมื่อไม่นานมานี้
หอไตรปิฎก วัดบางแคใหญ่  เดิมปลูกไว้กลางสระน้ำ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกจากที่ตั้งปัจจุบันประมาณ ๕๐ เมตร ต่อมาถูกรื้อมาปลูกสร้างใหม่บนบกใกล้หอระฆัง โดยดัดแปลงยกพื้นให้สูงขึ้นเป็นอาคารสองชั้น ใต้ถุนโล่ง เจาะบันไดทางขึ้นภายในตัวอาคาร อาคารสองชั้น ใต้ถุนโล่ง เจาะบันไดทางขึ้นภายในตัวอาคาร
ส่วนชั้นบนที่เป็นหอไตรปิฎกเดิมเป็นอาคารไม้ทรงไทย หลังคามุงกระเบื้อง ช่อฟ้า ใบระกา หน้าบัน แกะสลักไม้ประดับกระจกใหม่ทั้งหมด
ผนังรอบนอกเป็นฝาไม้แบบฝาปะกน เจาะช่องหน้าต่างใส่ลูกกรงเหล็ก ไม่มีบานหน้าต่าง มีประตูทางเข้าหนึ่งช่อง มีห้องเก็บตู้พระไตรปิฎกอีกชั้นหนึ่ง (ปัจจุบันไม่มีตู้พระไตรปิฎกเก็บรักษา) ประตูทางเข้าห้องชั้นในตรงกันกับตำแหน่งประตูทางเข้าด้านนอก หน้าต่างห้องด้านในมีกรอบซุ้มยอดแหลม ฐานกรอบหน้าต่างโค้งมน กรอบประตูหักมุมทั้งสี่ด้าน คล้ายกับกรอบประตูที่กุฏิสงฆ์
ฝาผนังด้านในต่อไม้เข้าลิ้นเป็นพื้นเรียบแบบฝาถังของจีน ฝาผนังด้านนอกมีร่องรอยลงพื้นดินสอพองกับกาวเม็ดมะขาม ปิดทองลวดลายฉลุพุ่มข้าวบิณฑ์บนพื้นสีใดสีหนึ่ง ปัจจุบันไม่ปรากฎหลักฐานสีของพื้นและลวดลายให้เห็น เหลือเพียงเค้าโครงลวดลายเลือนราง
จิตรกรรมเขียนอยู่บนฝาผนังด้านในห้องเก็บตู้พระไตรปิฎก เขียนด้วยสีฝุ่นผสมกาวบนพื้นไม้ที่เตรียมพื้นด้วยดินสอพองกับกาวเม็ดมะขามเหมือนด้านนอก เป็นภาพเล่าเรื่อง โดยใช้ระยะห่างของต้นเสาและไม้คร่าวยึดฝาผนังเป็นกรอบภาพแบ่งเรื่องราวเป็นตอนๆ เนื้อหาของภาพมีทั้งพุทธประวัติ มโหสถชาดก เนมิราชชาดก พระมาลัยบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เจดีย์จุฬามณี เทพชุมนุม และการปลงอสุภะกัมมัฎฐาน ๑๐ เป็นต้น เรื่องราวอาจจบในช่องเดียวหรือต่อเนื่องกับภาพที่อยู่ใกล้เคียงกัน

เนื่องจากหอไตรถูกปิดตายมานาน ทำให้ภาพเขียนถูกทำลายไปเพราะอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงไม่คงที่ ความชื้นจากหลังคารั่ว การขาดการดูแลรักษาที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ ตลอดจนการรื้อถอนโยกย้ายมาสร้างในที่แห่งใหม่ ทำให้ภาพจิตรกรรมหลายๆ ช่องหลุดล่อนเสียหายไปจนหมด ส่วนที่ยังคงเหลืออยู่ก็พร้อมจะหลุดล่อนได้ทุกเวลา

อย่างไรก็ดี ภาพจิตรกรรมได้แสดงให้เห็นเนื้อแท้ของศิลปกรรมฝีมือช่างรัชกาลที่ ๓ อย่างแท้จริง ทว่าสิ่งแปลกปลอมที่ปรากฏเข้ามาในภาพ คือเครื่องหมายกำหนดตำแหน่งตั้งแต่ครั้งที่รื้อย้ายเพื่อให้สะดวกในการการประกอบใหม่ภายหลัง ตลอดจนร่องรอยต่อเติมโดยเด็กๆ ที่ขึ้นไปวิ่งเล่นซุกซนในระยะหลังช่วงที่อาคารไม่ได้ปิดแบบเมื่อครั้งอดีต



กระทู้: บทสรุปทริป3ของชมรมฯพร้อมข้อมูลแต่ละวัด
เริ่มกระทู้โดย: jean1966 ที่ 29 ต.ค. 09, 20:44
รูปที่1ภาพรอยพระพุทธบาทยังไม่เคยเห็นปรากฎเขียนที่ไหนละเอียดแบบนี้ งดงามจริงๆ
รูปที่2ตอนมโหสถนี้ฝีมือการเขียนตัวกากใกล้เคียงกับครูคงแป๊ะมาก เรียกว่าถ้าไม่ใช่ก็ใกล้เคียงแถมยังเป็นการเขียนตอนถนัดของครูคงแป๊ะเสียด้วย
รูปที่3ภาพมโหสถที่วัดบางยี่ขันฝีมือครูคงแป๊ะ


กระทู้: บทสรุปทริป3ของชมรมฯพร้อมข้อมูลแต่ละวัด
เริ่มกระทู้โดย: jean1966 ที่ 29 ต.ค. 09, 20:54
รูปที่1น่าจะเป็นตอนเนมีราช
รูปที่2ภาพพระภิกษุปลงอศุภ
รูปที่3ภาพพวงระย้าดอกไม้ประกอบเครื่องมงคลจีน ได้แก่ โคมไฟ เหรียญเงิน ค้างคาว และพู่ห้อย เขียนอย่างประณีตงดงาม (ผนังทิศใต้ฝั่งซ้าย) เขียนได้งดงามจริงๆ


กระทู้: บทสรุปทริป3ของชมรมฯพร้อมข้อมูลแต่ละวัด
เริ่มกระทู้โดย: jean1966 ที่ 29 ต.ค. 09, 21:05
ภาพเขียนที่วัดบางแคใหญ่ทั้งที่ฝาประจันและที่หอไตรนั้นถือได้ว่าเป็นจิตรกรรมฝีมือสกุลช่างที่น่าจะมีฝีมือถึงช่างหลวงที่งดงามนักควรค่าแก่การอนุรักษ์สืบไป


กระทู้: บทสรุปทริป3ของชมรมฯพร้อมข้อมูลแต่ละวัด
เริ่มกระทู้โดย: jean1966 ที่ 29 ต.ค. 09, 21:14
วัดสุดท้ายที่ผมไปกันแค่2คนกับคุณทอมมี่เสียดายที่แตเตอรี่กล้องเล็กก็กำลังจะหมดจึงถ่ายมาได้ไม่มากวัดประดู่ เป็นวัดโบราณที่สร้างขึ้นมาในราวสมัยอยุธยาตอนปลาย สร้างขึ้นประมาณปี พ.ศ. 2320 จะพอมีหลักฐานได้ก็เพียงอุโบสถหลังเก่าซึ่งเป็น ศิลปอยุธยา แต่ได้ทำการรื้อถอนหมดแล้วเพื่อสร้างอุโบสถหลังใหม่ ซึ่งหลังเดิมได้ชำรุดทรุดโทรมจนเกือบจะพังลงมาให้ได้ มีภาพจิตรกรรมเพดาน ศาลาการเปรียญ ซึ่งเขียนขึ้นในราว รัชกาลที่ 2*ส่วนตัวผมคิดว่า น่าจะเขียนในสมัยร.5มากกว่า ซึ่งก็เขียนเรื่องราวที่แปลกตาส่วนบนคอสองใต้เพดานเขียนเรื่องพุทธประวัติ ฝีมือน่าจะเป็นช่างพื้นบ้านสกุลอัมพวา เพราะวัดในแถบนี้ยังมีอีกหลายวัดที่นิยมเขียนภาพบนเพดานแบบนี้


กระทู้: บทสรุปทริป3ของชมรมฯพร้อมข้อมูลแต่ละวัด
เริ่มกระทู้โดย: jean1966 ที่ 29 ต.ค. 09, 21:26
จังหวัดสมุทรสงครามแบ่งเป็น 3 อำเภอ คือ อำเภอ เมือง , อำเภอ บางคนที และอำเภออัมพวา
 ถือว่าเป็นจังหวัดที่เล็กที่สุดในประเทศไทย แต่ก็มีเกจิอาจารย์ระดับปรมาจารย์ที่ศักดิ์สิทธิ์เชี่ยวชาญในด้านอภิญญาหลายองค์ด้วยกัน เช่น หลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม, หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี, หลวงพ่อสาย วัดจันทร์เจริญสุข, หลวงปู่ใจ วัดเสด็จ และหลวงปู่หยอด วัดแก้วเจริญและพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองคือหลวงพ่อบ้านแหลมวัดเพชรสมุทรวรวิหาร และจะลืมเสียไม่ได้ จังหวัดสมุทรสงคราม เป็นเมืองราชนิกูลเป็นที่ประสูติของ รัชกาลที่ 2 กษัตริย์ไทยแห่งราชวงศ์จักรี และที่สำคัญยังมีแหล่งศิลปะไทยให้ศึกษาอีกหลายวัดที่ชมรมยังไม่ได้ไป อย่างวัดเขายี่สาร วัดอัมพวาเจติยาราม วัดคู้สนามจันทร์ วัดภมรินทร์กุฎีทองและอีกมากมายหลายวัด นอกจากนั้นยังมีสถานที่ท่องเทียวที่สวยงามอีกมากมายถ้ามีเวลา สำหรับคนที่รักศิลปะไทยและการท่องเที่ยวสมควรหาเวลาไปเที่ยวชมเป็นอย่างยิ่ง จึงขอจบสรุปทริปการเดินทางของชมรมฯครั้งที่3ไว้เพียงเท่านี้


กระทู้: บทสรุปทริป3ของชมรมฯพร้อมข้อมูลแต่ละวัด
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 02 พ.ย. 09, 11:15
รอโอกาสดีๆกับทริปต่อไป ว่าแต่พี่ยีนส์อย่าลืมวัดกลางบางแก้วนะครับ
ระหว่างนี้ผม พี่แพร พี่เซีย ก็จัดทริปเล็กดูนั่นดูนี่ใกล้ๆกันไปก่อน บางที่ก็แยกๆกันไปหาข้อมูล
วันอาทิตย์ที่ผ่านมาตั้งใจจะไปวัดนางนาองแต่พี่ยุทธไม่ว่าง ผม พี่แพรกับพี่เซีย เลยไปดูต้นเสา
ลายทองฝีมือช่างวังหน้าที่ วัดมะกอก บางละมาด แต่ปรากฏว่าทางวัดรื้อทิ้งสร้างใหม่ไปนานแล้ว
เศษซากที่เหลือก็มีแตช่่อฟ้านาคสะดุ้งบางชิ้น เลยรู้สึกเสียดายกันอยู่พอสมควร


กระทู้: บทสรุปทริป3ของชมรมฯพร้อมข้อมูลแต่ละวัด
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 02 พ.ย. 09, 11:24
และเหลือปรางค์เก่าองค์หนึ่ง พระสงฆ์ที่เป็นคนพื้นเพเดิมที่นั่นเล่าว่าแต่ก่อนจะมีเจดีย์-ปรางค์เรียง
เป็นแนวยาวไปรอบๆพระอุโบสถ แต่รื้อลงหมดเหลืออยู่แค่อันเดียว คงเป็นแบบวัดโบราณที่มีเจดีย์
บรรจุอัฐิเรียงอยู่รอบๆโบสถ์ แต่สร้างโดยฝีมือช่างเก่าเป็นงานปั้นที่บอกถึงศิลปะของท้องถิ่นได้เหมือนกัน


กระทู้: บทสรุปทริป3ของชมรมฯพร้อมข้อมูลแต่ละวัด
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 02 พ.ย. 09, 11:33
พระเล่าต่ออีกว่าศาลาการเปรียญหลังเดิมด้านในเป็นเสากลมขนาดใหญ่ มีลายรดน้ำเขียนอยู่
และยังมีที่หอสวดมนต์หรือหอฉันด้วย แต่ภายหลังจะสร้างใหม่เป็นศาลาคอนกรีตจึงรื้อลงหมด
เสากลมขนาดใหญ่จึงถูกทิ้งลงไปในร่องน้ำ ??..!! เพราะแต่ก่อนบริเวณรอบๆวันเป็นสวนท้องร่อง
และทางวัดก็จะถมที่เสากลมลายทองจึงมีขนาดพอเหมาะกับร่องน้ำพอดี ทุกวันนี้เสาไม้เหล่านั้น
ก็ถูกกลบโบกปูนทับกลายเป็นอดีตไป


กระทู้: บทสรุปทริป3ของชมรมฯพร้อมข้อมูลแต่ละวัด
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 02 พ.ย. 09, 11:41
ผมไม่ค่อยอยากจะลงข้อมูลในลักษณะแบบนี้ เพราะยิ่งพูดกันไปต่างฝ่ายก็มีเหตุผลที่จะป้องกันตัวเองทั้งนั้น
เพียงแต่ผมได้ข้อมูลมาเลยอยากจะนำมาบอกต่อ เพราะมีคนติดตามจะไปดูเสาลายทองชุดนี้อยู่เรื่อยๆ
และถามกับทางวัดเสมอ วัดเป็นศูนย์รวมของศรัทธาบวกกับโลกที่ต้องเปลี่ยนไป ของเหล่านี้เป็นสิ่งที่ต้องใช้งาน
พระท่านก็ต้องใช้ทำกิจสงฆ์ ถึงเวลาเปลี่ยนมันก็ต้องเปลี่ยนไม่เที่ยงแท้ ..... เฮ้อ


กระทู้: บทสรุปทริป3ของชมรมฯพร้อมข้อมูลแต่ละวัด
เริ่มกระทู้โดย: jean1966 ที่ 02 พ.ย. 09, 13:19
เสาเดิมของพระราชวังในวังหน้าสมัยรัชกาลที่1 ที่อยู่ที่วัดมะกอก คลองบางระมาด เดิมอยู่วัดชนะสงคราม นำมาจาก"พระพิมานดุสิดา"ซึ่งสร้างอยู่กลางสระกับพระที่นั่งโกงอันเป็นพระที่นั่งทรงปืนหรือพระที่นั่งทรงธรรม เขียนลายรดน้ำบนพื้นรักเป็นรูปเถาไม้เลื้อยพันเสาประกอบด้วยสัตว์จตุบท ทวิบาท งดงามมาก ในหน้งสือวังหน้ากรุงรัตนโกสินทร์กล่าวไว้ว่า" พระพิมานดสิดา ที่สร้างไว้เป็นหอพระแทนปราสาทที่กลางสระเห็นจะชำรุด โปรดให้รื้อทั้งพระวิมานและพระระเบียงเอาตัวไม้ที่ยังใช้ได้ไปทำในวัดชนะสงคราม ซึ่งกรมพระราชวังบวรฯในรัชกาลที่๑ได้ทรงสถาปนาไว้ สะพานข้ามสระ๔สะพานก็รื้อเหมือนกัน ที่นั้นทำสวนเลี้ยงนก เลี้ยงปลา เป็นที่ประพาส......."   สถานที่ตั้งพระพิมานดุสิตานี้ปัจจุบันคือ บริเวณหอประชุมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ส่วนตัวไม้ของพระพืมานดุสิดาที่รื้อเอาไปสร้างในวัดชนะสงคราม ภายหลังถูกระเบิดในสงครามโลกครั้งที่2ตัวไม้ที่เป็นลายทองมีค่าสมัยร.๑กองอยู่ สมภารวัดมะกอกในคลองบางระมาดจึงขอเอาไปสร้างเป็นเสาศาลาการเปรียญกับหอสวดมนต์ ปัจจุบันถ้าถูกนำไปทิ้งท้องร่องก็เป็นที่น่าเสียดาย (ดูรูปประวัติศาสตร์นี้ไปละกัน)


กระทู้: บทสรุปทริป3ของชมรมฯพร้อมข้อมูลแต่ละวัด
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 02 พ.ย. 09, 17:36
ขอบคุณมากครับพี่ยีนส์ สำหรับข้อมูลละเอียดๆและภาพ ตัวผมเองยังไม่เคยเห็นภาพเสานี้เหมือนกัน
ตอนได้ยินทางวัดพูดอย่างนั้นพวกผมต่างก็พูดไม่ออกครับ


กระทู้: บทสรุปทริป3ของชมรมฯพร้อมข้อมูลแต่ละวัด
เริ่มกระทู้โดย: ฉันรักบางกอก ที่ 04 พ.ย. 09, 14:43
เห็นภาพแล้ว โอ๊ยๆๆ

วันนั้นเป็นวันที่หดหู่ใจจริงๆ ฟังพระท่านพูดแล้วอารมณ์เสีย

อีกหน่อย คงจะมีแต่นิทรรศการภาพ แม้แต่ซาก อิฐสักก้อน คงจะไม่มีบุญได้ดู