เรือนไทย

General Category => ชมรมอนุรักษ์ภาพจิตรกรรมไทย => ข้อความที่เริ่มโดย: หัวโบราณ ที่ 10 ก.ค. 11, 17:37



กระทู้: ขอสมัครเป็นสมาชิกใหม่ของชมรมหน่อยนะครับ
เริ่มกระทู้โดย: หัวโบราณ ที่ 10 ก.ค. 11, 17:37
ขอสมัครเป็นสมาชิกใหม่ด้วยนะครับ  หลังจากได้แต่อ่านอยู่นาน

พอดีมีเรื่องขอความรู้จากผู้รู้ทั้งหลายหน่อยนะครับ
คือ  อยากรู้เกี่ยวกับ การจัดวางองค์ประกอบ หรือการวางลำดับชั้นตั้งแต่กษัตริย์จนถึงชาวบ้านในงานจิตรกรม
ทั้งฝ่ายในและฝ่ายนอก  มีในการเชื่อต่อกันยังงัยบ้างอ่ะครับ
เช่นการวางตำแหน่งการเข้าเฝ้า การให้ความสำคัญกับตำแหน่งแต่ละระดับชั้น
ถามเยอะเกินไปป่าวอ่ะรับ 
พอดีช่วงนี้หาข้อมูลเพื่อนำไปทำงานส่ง อ.อยู่อ่ะครับ  มึนๆงงๆมาก 


กระทู้: ขอสมัครเป็นสมาชิกใหม่ของชมรมหน่อยนะครับ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 10 ก.ค. 11, 19:36
เข้ามาทักทายครับผม

แวะมาแปะภาพจิตรกรรมฝาผนัง วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เรื่องรามเกียรติ์ จับตอนพระรามแต่งงาน ครับ


กระทู้: ขอสมัครเป็นสมาชิกใหม่ของชมรมหน่อยนะครับ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 10 ก.ค. 11, 19:39
2.


กระทู้: ขอสมัครเป็นสมาชิกใหม่ของชมรมหน่อยนะครับ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 10 ก.ค. 11, 19:42
วัดคงคาราม จ.ราชบุรี


กระทู้: ขอสมัครเป็นสมาชิกใหม่ของชมรมหน่อยนะครับ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 10 ก.ค. 11, 19:46
วัดสุทัศน์ฯ


กระทู้: ขอสมัครเป็นสมาชิกใหม่ของชมรมหน่อยนะครับ
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 10 ก.ค. 11, 19:57
นอกจากที่คุณsiamese แนะนำไปแล้ว ผมขอเพิ่มเติมงานที่วัดดุสิตารามอีกแห่งหนึ่งครับ
ในภาพนี้เป็นฉากตอนทำนายพระลักษณะ มีฉากกั้นแบ่งแสดงที่นั่งของฝ่ายในด้วยครับ

การจัดวางตำแหน่งของจิตรกรรมฝาผนังมักจะเน้นประธานของเรื่องเป็นหลัก เพื่อจัดวางลำดับความสำคัญ
ในการเล่าเรื่อง แม้ตัวเอกของเรื่องจะไม่ใช่กษัตริย์เขาก็มักจะเขียนให้ทรงเครื่องอย่างกษัตริย์


กระทู้: ขอสมัครเป็นสมาชิกใหม่ของชมรมหน่อยนะครับ
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 10 ก.ค. 11, 20:03
ขอขัดจังหวะหน่อยนะครับ อด "แซว" ไม่ได้จริงๆ

"อ่ะครับ"  นี่ มีหมายความว่าอย่างไรครับ หรือว่าจะเป็น "คำไทยที่หายไป"

และคำว่า "ยังงัย" นี่ น่าจะเป็นคำว่า "อย่างไร" ใช่ไหมครับ



กระทู้: ขอสมัครเป็นสมาชิกใหม่ของชมรมหน่อยนะครับ
เริ่มกระทู้โดย: หัวโบราณ ที่ 10 ก.ค. 11, 20:06
ขอบคุณอย่างมากเลยครับ

แล้ววิธีการวางตำแหน่ง หรือลักษณะของตัวภาพแต่ละตัว  นอกจากตำแน่งของตัวภาพที่นั่งบนฐานที่ต่างกันแล้ว
และเครื่องแต่งกาย  เราพอจะมีอะไรที่สามารถ บ่งชี้ว่าแต่ละตัวภาพอยู่ในฐานะอะไร ได้บ้างอ่ะครับ


รบกวนผู้รู้ด้วยนะครับ

ผมต้องขอโทษเรื่องการพิมพ์ภาษด้วยนะครับ  แฮ่ๆ
พอดีติดภาษพูด  กับภาษที่ใช้พิมพ์คุยบน msn ไปหน่อยนะครับ  ขอบคุณที่เตือนครับ
จะปรับปรุงในครั้งต่อไปครับ


กระทู้: ขอสมัครเป็นสมาชิกใหม่ของชมรมหน่อยนะครับ
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 10 ก.ค. 11, 20:16
จิตรกรรมไทยประเพณีมักเขียนเรื่องไม่หลากหลายมากนัก อย่างทศชาติ พุทธประวัติ
เพราะฉะนั้นคนที่ดูมักจะต้องพอเข้าใจเรื่องอยู่แล้วครับ

ผมยกตัวอย่างงานจากวัดช่องนนทรีครับ เล่าเรื่องพระวิฑูรบัณฑิต
ที่แม้ตัวเอกจะไม่ใช่พระราชาแต่ก็แต่งกายอย่างพระราชา
ทั้งนี้อาจจะมาจากความเข้าใจที่ว่า ตัวเอกของเรื่องเป็นพระโพธิสัตว์ก็ได้


กระทู้: ขอสมัครเป็นสมาชิกใหม่ของชมรมหน่อยนะครับ
เริ่มกระทู้โดย: หัวโบราณ ที่ 10 ก.ค. 11, 20:24
ขอบคุณมากครับ

พอดีช่วงนี้กำลังทำข้อมูลรายงานอยู่ 
ยังงงกับการเชื่อมโยงกันของกลุ่มตัวภาพในองค์ประกอบทั้งที่เกี่ยวเนื่องในปราสาท  และขบวนช้าง ม้าต่างๆอยู่เยอะครับ
เช่นการรับส่งอากัปกิริยาของเหล่านางสนม หรือเหล่าเสนาอยู่ครับ  ขอบคุณที่ช่วยแนะนำมากครับ


กระทู้: ขอสมัครเป็นสมาชิกใหม่ของชมรมหน่อยนะครับ
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 10 ก.ค. 11, 20:28
อีกตัวอย่างหนึ่งที่สำคัญก็คือ จิตรกรรมฝาผนังจากพระที่นั่งพุทไธสวรรย์
เลือกฉากขบวนเสด็จของพระนางสิริมหามายาครับ จะสังเกตได้ว่ารอบๆพระนาง
แม้แต่คนแบกพระราชยานก็เป็นผู้หญิง นี่แสดงให้เห็นถึงการใส่รายละเอียด
ในการเล่าเรื่องสะท้อนธรรเนียมในแต่ละยุคสมัยเข้าไปครับ


กระทู้: ขอสมัครเป็นสมาชิกใหม่ของชมรมหน่อยนะครับ
เริ่มกระทู้โดย: totoae ที่ 10 ก.ค. 11, 20:38
ฝากเนื้อ - ฝากตัวด้วย ครับ เพิ่งเข้ามาใหม่
มีข่าวสารอันใด อัพเดทกันเยอะๆนะครับ  :D


กระทู้: ขอสมัครเป็นสมาชิกใหม่ของชมรมหน่อยนะครับ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 10 ก.ค. 11, 21:26
ขอบคุณอย่างมากเลยครับ

แล้ววิธีการวางตำแหน่ง หรือลักษณะของตัวภาพแต่ละตัว  นอกจากตำแน่งของตัวภาพที่นั่งบนฐานที่ต่างกันแล้ว
และเครื่องแต่งกาย  เราพอจะมีอะไรที่สามารถ บ่งชี้ว่าแต่ละตัวภาพอยู่ในฐานะอะไร ได้บ้างอ่ะครับ


การแต่งกายในจิตรกรรมไทย เท่าที่ผมทราบเบื้องต้น การแต่งกายจะแยกตามฐานะอย่างชัดเจน คือ

๑. กษัตริย์ จะทรงเครื่องประดับร่างกาย กรองคอ ชายไหว ชายแครง สวมเสื้อ หรือ ไม่สวมก็ได้ สวมเครื่องประดับศรีษะ และสีที่ใช้จะมีสีทองเป็นหลัก

๒. สตรีชนชั้นสูง จะทรงเครื่องประดับร่างกาย มีสังวาลย์ เครื่องประดับร่างกาย นุ่งจีบโจง สวมเครื่องประดับศรีษะ

๓. ชายมีฐานะทางสังคม เช่น ข้าราชการ นุ่งโจงกระเบนมีลายและสีพื้นหลาย ๆ สี เช่น เขียว แดง น้ำเงิน สวมเสื้อมีลาย และไม่มีลาย ไม่มีเครื่องประดับศรีษะ

๔. สตรีมีฐานะทางสังคม เช่น นางกำนัล นุ่งโจงกระเบนมีลาย ห่มผ้าสไบ ไม่มีเครื่องประดับศรีษะ

๕. ชายสามัญ นุ่งโจงกระเบนสีมอ ผ้าพื้นไม่มีลาย ไม่สวมเสื้อ

๖. สตรีสามัญ นุ่งโจงกระเน สีมอ ผ้าพื้นไม่มีลาย ห่มสไบ

๗. พราหมณ์ นุ่งขาว ห่มขาว

๘. พระสงฆ์ ห่มอย่างพระสงฆ์

๙. เทวดา นางฟ้า ไม่สวมเสื้อ มีเครื่องสวมศรีษะ มีเครื่องประดับตาบทิศ สร้อยสังวาลย์ นุ่งกางเกงมีชายไหว ชายแครง กางเกงมีลวดลาย


กระทู้: ขอสมัครเป็นสมาชิกใหม่ของชมรมหน่อยนะครับ
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 10 ก.ค. 11, 21:36
ชอบจิตรกรรมไทยยุคก่อนมีภาพถ่ายน่ะครับ ในหัวคนสมัยนั้นคงจะบริสุทธิ์จริงๆ ไม่เคยเห็นภาพถ่าย จึงไม่มีความคิดเรื่องทัศนวิทยาเข้ามารบกวน ไม่ต้องกลัวว่าวาดแล้วจะผิดเปอร์สเปคทีฟ


แต่ปัจจุบัน การจะกำจัดความคิดนี้ออกจากหัวมันยากจริงๆครับ จำได้่ว่าตอนเด็กๆมากๆ เวลาวาดรูป ต้องตีเส้นขึ้นมาเส้นนึง สมมติว่าเป็นพื้นดิน ทุกอย่างต้องวางอยู่บนพื้นดิน เพราะวาดให้ลึกเข้าไปในกระดาษไม่เป็น คนโบราณเอง มีเปอร์ อยู่ในระดับหนึ่ง แต่ก็ไม่ได้เคร่งครัดมากจนรัดตัวเองไว้ ก็คงคล้ายๆกันมั้งครับ


กระทู้: ขอสมัครเป็นสมาชิกใหม่ของชมรมหน่อยนะครับ
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 11 ก.ค. 11, 10:08
บางทีช่างเขียนอาจจะไม่ได้เข้าใจระเบียบของราชสำนักมากมาย การจัดองค์ประกอบจึงกระทำในแง่สัญลักษณ์
ให้ดูเข้าใจง่ายมากกว่า เมื่อคนดูพอเข้าใจเนื้อเรื่องก็เป็นอันว่าเข้าใจตรงกัน

สัญลักษณ์ที่ใช้แบ่งก็ไม่พ้นเรื่องเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย ที่มีระดับลดทอนต่างกันไป
แต่ก็มีข้อยกเว้นตามความสำคัญของแต่ละบุคคล อย่างเช่นนางสุชาดาอาจจะแต่งเครื่องทรง
อย่างชนชั้นกษัตริย์ก็ได้

เดี๋ยวจะลองหาภาพมาให้ชมเพิ่มเติมครับ


กระทู้: ขอสมัครเป็นสมาชิกใหม่ของชมรมหน่อยนะครับ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 11 ก.ค. 11, 10:35
อย่างหนึ่งที่เห็นลักษณะเด่น เมื่อจัดองค์ประกอบภาพในลักษณะที่มี การวาดตัวปราสาทราชวัง ตัวเมือง กำแพงเมือง จะจัดวางเป็นรูปสามเหลี่ยม
องค์ประกอบกษัตริย์จะตรงกลาง ลงมาเป็นระดับขุนนาง และบุคคลทั่วไป


กระทู้: ขอสมัครเป็นสมาชิกใหม่ของชมรมหน่อยนะครับ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 11 ก.ค. 11, 10:40
ลองจัดสามเหลี่ยมเข้าภาพดู


กระทู้: ขอสมัครเป็นสมาชิกใหม่ของชมรมหน่อยนะครับ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 11 ก.ค. 11, 10:42
ภาพงานพระเมรุ


กระทู้: ขอสมัครเป็นสมาชิกใหม่ของชมรมหน่อยนะครับ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 11 ก.ค. 11, 10:51
ท้าวมาลีวราชว่าความ


กระทู้: ขอสมัครเป็นสมาชิกใหม่ของชมรมหน่อยนะครับ
เริ่มกระทู้โดย: jean1966 ที่ 11 ก.ค. 11, 22:12
ไอ้เราก็นึกว่ชมรมฯจะร้างซะแล้ว โล่งใจเลยที่เห็นยังมีคนสนใจอยู่ สวัสดีสมาชิกชมรมทุกท่าน ร่วมทั้งท่านอาวุโสตางๆที่เข้ามาตอบกระทู้ หัวหน้าชมรมฯเลยคิดว่าชีวิตนี้เลยยังมีหวังแม้จะน้อยนิดก็ตาม ว่าด้วยเรื่องที่ถามมา ต่างคนก็ต่างความคิดสุดที่จะวิเคราะห์ อีกเรื่องนึงที่ชัดเจนในงานจิตรกรรมไทยก็คือการใช้สีจำแนกสถานภาพของบุคคล
     คตินิยมในการเขียนภาพจิตรกรรมไทยโดยทั่วไป มีลักษณะรูปแบบเป็นภาพสัญญลักษณ์นิยม สัญญลักษณ์นิยมนี้ปรากฎชัดเจนกับภาพประเภทบุคคล คือ การกำหนดรูปแบบบุคคลประเภทต่างๆในภาพให้สัมพันธ์กับคติที่ถ่ายทอดสืบต่อกันมาจนเป็นคตินิยม(Myhology)ในที่สุด เช่นการกำหนดว่า พระนารายณ์มี4กร พระอินทร์กายสีเขียว หนุมานเป็นลิงสีขว(เผือก)จากที่กล่าวมานั้นเป็นที่สังเกตได้ว่า ในภาพจิตรกรรมไทยได้ใช้สีกำหนดฐานะและความสำคัญของรูปแบบให้แตกต่างกันออกไป ลำดบของสีที่ปรากฎบนพื้นผิวของรูปแบบบุคคล อาจจะลำดับฐานะและความสำคัญแห่งรูปแบบบุคคลโดยสรุปได้ดังนี้ 
    1.ผิวสีทอง เป็นผิวสีเนื้อ ภาพพระพุทธเจ้า
    2.ผิวสีขาว เป็นผิวเนื้อ ภาพบุคคลที่มีฐานะเป็นท้าวพระยามหากษัตริย์
    3.ผิวสีขาวนวล ครีม เป็นผิวเนื้อ ภาพบุคคลประเภทที่มีฐานะบุคคลชั้นสูง
    4.ผิวสีดินตัดหรือสีน้ำตาลอ่อน เป็นผิวเนื้อ ภาพบุคลประเภทไพร่พล หรือสามัญชน
    5.ผิวสีคล้ำ หรือสีหมึก เป็นผิวเนื้อภาพประเภท "กาก"หรือคนชั้นต้ำ ไพร่ คนชั่ว
    นอกจากนี้ ยังมีเรื่องเส้นและรูปทรง เข้ามาเกียวข้องอีกมากมายเกินกว่าจะบรรยายได้หมด ขอแนะนำให้ไปหาอ่านเอาในหนังสือชื่อ"การเข้าถึงศิลปะในงานจิตรกรรมไทย"โดย อาจารย์ ชลูด นิ่มเสมอ สำนักพิมพ์กรมศิลปากรพิมพ์เมื่อปี 2532 ครับ
    รูปประกอบจากวัดกำแพงบางจาก,กันมาตุยาราม,รามเกียรติ์ในกรอบกระจกวัดสุทัศน์เทพวราราม


กระทู้: ขอสมัครเป็นสมาชิกใหม่ของชมรมหน่อยนะครับ
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 11 ก.ค. 11, 23:27

สวัสดีค่ะคุณ jean1966

       น้อมรับความรู้ที่แบ่งปันกันมา     ความคิดที่แตกต่างกันกระตุ้นให้มี

การสนทนาแลกเปลี่ยนความรู้


กระทู้: ขอสมัครเป็นสมาชิกใหม่ของชมรมหน่อยนะครับ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 12 ก.ค. 11, 07:31
นางเบญจกายในภาพพร้อมหนุมาน งดงามมากครับ


กระทู้: ขอสมัครเป็นสมาชิกใหม่ของชมรมหน่อยนะครับ
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 12 ก.ค. 11, 14:34
องค์ประกอบสามเหลี่ยมน่าสนใจมากครับ
สวัสดีครับพี่ยีนส์


กระทู้: ขอสมัครเป็นสมาชิกใหม่ของชมรมหน่อยนะครับ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 12 ก.ค. 11, 14:51
องค์ประกอบสามเหลี่ยมน่าสนใจมากครับ
สวัสดีครับพี่ยีนส์


ใช่ครับคุณ virain สีเหลี่ยมผืนผ้าก็มี เช่น ภาพเทพชุมนุม

ส่วนภาพไตรภูมิ ก็เป็นวงกลม ผสมสามเหลี่ยม

ผมเข้าใจว่า การนำสามเหลี่ยมมาใช้ในจิตรกรรมไทย และงานสถาปัตยกรรมไทย ตลอดจนข้าวของเครื่องใช้ของไทยทั้งหลาย ผูกพันกับหลักไตรภูมิ ส่วนภาพวาดที่เน้นสามเหลี่ยม อาจจะให้ความรู้สึกสูง ชะลูดขึ้นสู่ด้านบน ดูแล้วไม่หนักทับตัวเองกระมังครับ


กระทู้: ขอสมัครเป็นสมาชิกใหม่ของชมรมหน่อยนะครับ
เริ่มกระทู้โดย: หัวโบราณ ที่ 12 ก.ค. 11, 22:03
โอ้  บ้านนี้ช่างอบอุ่นที่สุด

ขอบคุณทุกความคิดเห็นมากมายเลยครับ
ได้ความรู้เยอะและครบถ้วนมาก
กำลังว่าจะมาถามเรื่องการวางตำแหน่งตัวภาพในแต่ละระดับ
ก็ได้ท่านผู้รู้มาตอบให้แล้ว  ขอบคุณมากมายเลยครับ


กระทู้: ขอสมัครเป็นสมาชิกใหม่ของชมรมหน่อยนะครับ
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 12 ก.ค. 11, 22:51
ด้วยความเอื้อเฟื้อไฟล์ภาพ......โดยมิหวง...........จากคุณ jean1966แห่งเรือนไทย
วัดบ้านนอกเล็กๆแห่งหนึ่งในกาญจนบุรี ก็ได้ภาพจิตรกรรมฝาผนังที่งดงามด้วยฝีมือช่างท้องถิ่น ที่แม้อายุน้อย แต่ความตั้งใจสูง มาประดับผนังโบสถ์
โดยช่างวาดได้จำลองความงามของแม่พระธรณีจากวัดชมพูเวก มาไว้ด้วยศรัทธา

ทุกท่านที่เกี่ยวข้องได้ฝากขอบคุณเวปเรือนไทยและคุณjean1966


 :D


กระทู้: ขอสมัครเป็นสมาชิกใหม่ของชมรมหน่อยนะครับ
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 12 ก.ค. 11, 22:56



สว่างและแจ่มใสเหมือนน้ำใจผู้ให้