เรือนไทย

General Category => ประวัติศาสตร์โลก => ข้อความที่เริ่มโดย: nt.nat ที่ 18 พ.ย. 12, 16:45



กระทู้: ขอสอบถามข้อมูล เกี่ยวกับสถาปัตยกรรมชิโน-โปรตุกีส ในจังหวัดภูเก็ต ค่ะ
เริ่มกระทู้โดย: nt.nat ที่ 18 พ.ย. 12, 16:45
สวัสดีค่ะ ตอนนี้กำลังทำวิทยานิพนธ์ เกี่ยวกับสถาปัตยกรรมชิโน-โปรตุกีส ในจังหวัดภูเก็ต โดยนำสถาปัตยกรรมนี้มาออกแบบเป็นเครื่องแต่งกายค่ะ
ในบทที่ 4 จะต้องนำมาวิเคราะห์เกี่ยวกับโครงสร้างและลักษณะ การตกแต่งโครงสร้าง การตกแต่งลวดลาย และสีของตึกแถว ปัญหาที่ตอนนี้เจอคือ ทางอาจารย์ อยากให้วิเคราะห์โครงสร้าง
ในแต่ละช่วงๆ ของสถาปัตฯ ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันเพื่อให้เห็นการเปลี่ยนแปลงและพัฒนา  จำนวน 5 ภาพ ซึ่งจะต้องระบุปี พ.ศ แหล่งที่มา เพื่อนำที่วิเคราะห์นี้มาออกแบบเครื่องแต่งกายค่ะ


รบกวนสอบถามผู้ที่รู้เกี่ยวกับสถาปัตยกรรมนี้ค่ะ ว่าจะต้องหารูปและเนื้อหาอย่างไร (ในตอนแรกอาจารย์ให้ลงไปสำรวจพื้นที่ แต่มีปัญหาทางด้านการเงินจึงไม่สะดวกที่จะลงไป)


กระทู้: ขอสอบถามข้อมูล เกี่ยวกับสถาปัตยกรรมชิโน-โปรตุกีส ในจังหวัดภูเก็ต ค่ะ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 18 พ.ย. 12, 18:34
มานึกขึ้นได้ ในวงการสถาปัตยกรรมบ้านเรา มีศัพท์หนึ่งใช้เรียกตึกแถวในเมืองที่เป็นถิ่นเหมืองดีบุก เช่นภูเก็ตและพังงา ว่าเป็นแบบ ชิโนโปรตุกีส ( Sino-Portuguese Architecture) ซึ่งมีผู้ไปนิยามไว้ในวิกี้ว่า คือรูปแบบของสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานระหว่างตะวันออกและตะวันตก ในแหลมมลายูในยุคสมัยแห่งจักรวรรดินิยมของตะวันตก ราวปี พ.ศ. 2054 สามารถพบเห็นได้ในเมืองมะละกา เมืองปีนัง ประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์ หรือมาเก๊า รวมไปถึงประเทศไทย

กระทู้นี้ชื่อ “โปรตุเกสเข้าเมือง” โดยไม่ระบุว่าเมืองไหน ผมจึงตัดสินใจเล่นเรื่องนี้ แม้จะเป็นห่วงอยู่นิดๆ กลัวจะเป็นวิชาการเกินไป แขนงนี้เขาก็ไม่ค่อยจะสนใจกันอยู่แล้ว แต่ที่ไหนได้ พอค้นในเวปเข้าจริงๆ ก็เจออะไรคล้ายตะปิ้งเข้าอีก สงสัยจะสนุก

โปรดติดตาม อย่าหยุดกระพริบตานะครับ
.
.
.
.

.

เดี๋ยวตาจะบอด

(หน้าโฆษณา)

คุณณัฐลองติดตามอ่านความเห็นของคุณนวรัตนในเรื่องนี้ดู

อาจได้ข้อมูลใหม่ที่ยังนึกไม่ถึง

  ;D


กระทู้: ขอสอบถามข้อมูล เกี่ยวกับสถาปัตยกรรมชิโน-โปรตุกีส ในจังหวัดภูเก็ต ค่ะ
เริ่มกระทู้โดย: han_bing ที่ 18 พ.ย. 12, 20:33
ขอแทรกละกันนะครับ

สถาปัตยกรรมแบบนี้มีอยู่ทั่วไปแถบมะละกา เรื่องราวแบบฝรั่งเป็นฉันใดผมไม่ค่อยจะทราบ แต่ว่ารายละเอียดการประดับตบแต่งอาคารด้วยศิลปะแบบจีนจะเป็นแบบสถาปัตยกรรมตระกูลหมินหนาน ที่มีการใช้กระเบื้องตัดเป็นชิ้นมาประดับเป็นลาย นอกจากการใช้ลายปูนปั้นเดี่ยวๆ หมินหนานในที่นี้คือคำเรียกเขตวัฒนธรรมของฟูเจี้ยน หรือที่เราเรียกว่าฮกเกี้ยน และแถบเฉาซาน หรือที่เราเรียกว่าแต้จิ๋ว ทั้งนี้ถ้าเป็นการใช้กระเบื้องหล่อเป็นรูปมาประดับจะเป็นแบบกวางตุ้ง ไม่เคยเห็น แต่น่าจะหลงๆมีมาบ้าง แบบนี้เรียกว่าแบบหลิงหนาน หลิงหนานนี้คือเขตวัฒนธรรมแถบกว่างตง หรือที่เราเรียกว่ากวางตุ้ง

ผมเขียนลงไว้ ลองอ่านเล่นๆได้ เผื่อช่วยอะไรได้บ้างครับ

อันนี้เป็นสถาปัตยกรรมแบบหมินหนาน

http://www.reurnthai.com/index.php?topic=4984.0

สถาปัตยกรรมแบบหลิงหนาน

http://www.reurnthai.com/index.php?topic=5040.0


กระทู้: ขอสอบถามข้อมูล เกี่ยวกับสถาปัตยกรรมชิโน-โปรตุกีส ในจังหวัดภูเก็ต ค่ะ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 18 พ.ย. 12, 20:46
ภูเก็ต พ.ศ. ๒๔๗๙


กระทู้: ขอสอบถามข้อมูล เกี่ยวกับสถาปัตยกรรมชิโน-โปรตุกีส ในจังหวัดภูเก็ต ค่ะ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 18 พ.ย. 12, 20:48
ชาวบ่าบ๋า อำเภอถลาง
เครดิตภาพ คุณไข่


กระทู้: ขอสอบถามข้อมูล เกี่ยวกับสถาปัตยกรรมชิโน-โปรตุกีส ในจังหวัดภูเก็ต ค่ะ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 18 พ.ย. 12, 20:54
บ้านชาวจีน ที่ภูเก็ต 2479
เครดิตภาพ คุณไข่


กระทู้: ขอสอบถามข้อมูล เกี่ยวกับสถาปัตยกรรมชิโน-โปรตุกีส ในจังหวัดภูเก็ต ค่ะ
เริ่มกระทู้โดย: nt.nat ที่ 18 พ.ย. 12, 23:21
ขอบคุณมากๆนะคะ สำหรับข้อมูลดีๆ ของพี่ๆทุกคน :D


กระทู้: ขอสอบถามข้อมูล เกี่ยวกับสถาปัตยกรรมชิโน-โปรตุกีส ในจังหวัดภูเก็ต ค่ะ
เริ่มกระทู้โดย: sigree ที่ 21 พ.ย. 12, 10:48
ทางปีนังทำไว้ครับ

https://www.facebook.com/media/set/?set=oa.349225265121032&type=1

จริงๆส่วนตัวไม่ค่อยชอบใจคำว่า ชิโน โปตุกิส นัก  คนทำงานศึกษาด้านนี้เรียนว่า บ้านแถว Shop House มากกว่า ขอบเขตคำครอบคลุมกว่า


กระทู้: ขอสอบถามข้อมูล เกี่ยวกับสถาปัตยกรรมชิโน-โปรตุกีส ในจังหวัดภูเก็ต ค่ะ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 21 พ.ย. 12, 12:40
จากกระทู้ "โปรตุเกสเข้าเมือง "

ตกลง สถาปัตยกรรมแบบชิโนโปรตุกีส ในโลกนี้มีแต่ในภูเก็ตเท่านั้นเองคะรับท่านผู้อ่าน

แต่ก็เออ ดีไปอย่างนะครับ ออกเสียงให้นักท่องเที่ยวฟังง่ายดี
แล้วก็ออกจะดูโก้กว่าที่จะบอกว่าเป็นแบบ“Straits” Eclectic Style



กระทู้: ขอสอบถามข้อมูล เกี่ยวกับสถาปัตยกรรมชิโน-โปรตุกีส ในจังหวัดภูเก็ต ค่ะ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 25 พ.ย. 12, 20:34
ผมไปต่างประเทศมาหลายวัน เพิ่งจะกลับบ้านและเข้าเรือนไทยมาเห็นคำถามของหลานคนนี้ทางหลังไมค์ ซึ่งผมคิดว่าน่าจะตอบในกระทู้เลยจะดีกว่า

ก่อนอื่นต้องขอปรารภว่าอาจารย์สั่งงานให้ศิษย์อย่างนี้โหดมาก เพราะเนื้อหาของวิทยานิพนธ์เป็นการออกแบบเครื่องแต่งกาย ที่ต้องการแค่รูปลักษณ์งานสถาปัตยกรรม เพื่อเอาไปเป็นแนวทางการออกแบบลวดลายบนผืนผ้า แต่ท่านเล่นให้ไปค้นคว้าถึงโครงสร้าง คุณลูกศิษย์ก็จริงจังมาก ถึงกับอยากจะเดินทางไปภูเก็ตเพื่อค้นคว้าแบบเจาะลึกเลยทีเดียว ดีแล้วครับที่ไม่ได้ไป ผมเองเป็นสถาปนิกที่มีพื้นฐานทางงานอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรม เคยไปภูเก็ตและเห็นสถาปัตยกรรมที่เขาอ้างว่าเป็นชิโนโปรตุกีสมานับครั้งไม่ถ้วน ผมยังไม่อาจแยกแยะตามโจทย์ที่อาจารย์ให้มาได้เลย ถ้าไม่เข้าไปพบเว็ปของทางปินังเขา
 
ก่อนอื่น เมื่อพูดถึงสถาปัตยกรรมแบบ “ชิโนโปรตุกีส” ผมอยากให้เข้าไปดูความเห็นของผมก่อนในเรื่องที่คุณเพ็ญชมพูกรุณาแนะนำไว้ในคคห.ต้นๆ เพื่ออำนวยความสะดวก ผมขอโยงให้อีกที

http://www.reurnthai.com/index.php?topic=4376.75  

จากคคห.๘๐ เป็นต้นไป


กระทู้: ขอสอบถามข้อมูล เกี่ยวกับสถาปัตยกรรมชิโน-โปรตุกีส ในจังหวัดภูเก็ต ค่ะ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 25 พ.ย. 12, 20:40
ดังที่ผมแสดงความเห็นไว้โดยชัดเจนว่า สถาปัตยกรรมแบบ“ชิโนโปรตุกีส”ไม่มีในโลก ใครก็ไม่ทราบประดิษฐ์คำนี้ขึ้นมาเรียกสถาปัตยกรรมในยุคทองของภูเก็ตให้ฟังดูโก้เก๋ เรียกร้องความสนใจจากนักท่องเที่ยว เพราะไม่อยากยอมรับว่านายหัวคนจีนในภูเก็ตไปเอาแบบฉบับมาจากปีนัง รวมทั้งนำเข้าช่างฝีมือจากที่โน่นมาด้วย สมัยโบราณที่ถนนหนทางสำหรับรถจะวิ่งยังไม่มี การติดต่อสัมพันธ์ระหว่างภูเก็ตกับปีนัง สะดวกสบายกว่ากรุงเทพมาก คนจีนนั่งเรือข้ามไปข้ามมาแบบบ้านพี่เมืองน้อง ที่โน่นเจริญกว่าก็รับอารยธรรมของเขามา สถาปัตยกรรมที่ภูเก็ตจึงเป็นสถาปัตยกรรมแบบปินัง
ดังนั้น ถ้าคุณอยากจะทราบว่าเขาแบ่งสถาปัตยกรรมแบบนี้กันเป็นกี่ยุคกี่สมัย ก็ตามรอยที่คนปินังเขาค้นคว้าไว้แล้วเอามาใช้ได้เลย โครงสร้างอะไรๆก็มีวิเคราะห์ไว้ ไม่ผิดกันเท่าไหร่กับของภูเก็ต

ผมโยงเอาไว้ให้แล้วครับ

http://penangshophouse.blogspot.com/2010/04/penang-shophouse-styles.html


กระทู้: ขอสอบถามข้อมูล เกี่ยวกับสถาปัตยกรรมชิโน-โปรตุกีส ในจังหวัดภูเก็ต ค่ะ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 25 พ.ย. 12, 20:45
เอารูปแบบสถาปัตยกรรมที่เขาแบ่งยุคสมัยนั้น มาเทียบกับอาคารเก่าของภูเก็ตที่คุณจะโหลดมาได้ตามใจชอบตามโยงนี้ ก็พอจะมีผลงานส่งอาจารย์ได้เป็นอย่างดี โดยไม่ต้องลงทุนลงแรงเดินทางไปถึงที่นั่น ซึ่งคงอาจจะได้แค่ภาพถ่ายในมุมที่ต้องการ นอกนั้นก็ไม่น่าจะได้อะไรเป็นชิ้นเป็นอันตามโจทย์ที่อาจารย์ท่านต้องการ


https://www.google.co.th/search?hl=th&q=phuket%20heritage%20shophouse&psj=1&bav=on.2,or.r_gc.r_pw.r_qf.&bpcl=38897761&biw=1280&bih=589&wrapid=tlif135384931091710&um=1&ie=UTF-8&tbm=isch&source=og&sa=N&tab=wi&ei=DxqyULGWAsTKsgad4IGoCQ#um=1&hl=th&tbo=d&tbm=isch&sa=1&q=%E0%B8%A0%E0%B8%B9%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B9%87%E0%B8%95+%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%B2&oq=%E0%B8%A0%E0%B8%B9%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B9%87%E0%B8%95+%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%B2&gs_l=img.12...28067.51618.2.53612.24.21.1.2.2.0.694.4748.0j18j1j5-2.21.0...0.0...1c.1.d3GNKJVDqxo&bav=on.2,or.r_gc.r_pw.r_qf.&fp=180d0dd321a28e44&bpcl=38897761&biw=1280&bih=589

ขอให้สำเร็จการศึกษาด้วยดีตามที่ปรารถนานะครับ




กระทู้: ขอสอบถามข้อมูล เกี่ยวกับสถาปัตยกรรมชิโน-โปรตุกีส ในจังหวัดภูเก็ต ค่ะ
เริ่มกระทู้โดย: sigree ที่ 01 ธ.ค. 12, 08:01
เคยคุยกับผู้รู้ท่านหนึ่ง  ซึ่งท่านร่วมในคณะที่เลือกใช่คำว่า ชิโนโปรตุกิส

ความประมาณว่าในขณะที่เลือกถกเถียงกันมาก  ในที่สุดมองว่าโปรตุเกสเป็นชาติแรกๆที่เข้ามาในไทย และภูเก็ตจึงเลือกคำนี้

ทั้งๆที่ว่าตามสถาปัตยกรรม โปรตุเกสแทบไม่มีส่วนอะไรใดๆกับรูปแบบทางสถาปัตยกรรมนี้เลย

ผลคือ  ภายหลังสงขลาทำผังเมืองเก่าที่ถนน นครนอก นครใน ก็มองว่าคำว่า ชิโนโปรตุกิส เพราะมันไม่ใช่  เขาเลยเลือกใช่คำว่า ชิโน ยูโรเปี้ยน Sino European

(https://fbcdn-sphotos-f-a.akamaihd.net/hphotos-ak-ash4/376832_4140428142916_680671673_n.jpg)

สำหรับ มาเลย์  หลังจากมีการศึกษาจำนวนมาก  ก็ได้ใช่คำว่า Shop House เนื่องจากการค้นคว้าพบว่าเรือนแบบนี้หลายหลายกว่ารูปแบบ จีนผสมฝรั่ง
(http://www.encyclopedia.com.my/volume5/images/43_shophouse.jpg)

จุดร่วมสำคัญที่พบคือผัง  ด้านหน้า 2 ชั้นชั้นล่างขายของ ชั้นบนนอน ตรงการเปิดโล่งมีบ่อ ด้านหลังเป็นเรือนครัว
(http://www.36stewartlane.com/wp-content/uploads/2010/02/early-chinese-eclectic-style.jpg)

หลังจากเรือนพวกนี้เกิดขึ้น  ทำให้มีเือนรูปแบบอื่นๆที่เกิดตามเช่น
เรือนจีนผสมงานไม่แบบมลายู Cino Kampung
(https://fbcdn-sphotos-f-a.akamaihd.net/hphotos-ak-snc7/417569_3469036167033_726071896_n.jpg)
สังเกตหลังคาโค้งแบบจีน งานผนังไม้เครื่องสับแบบมลายู

เรือนแถวไม้แบบมลายู

(https://fbcdn-sphotos-c-a.akamaihd.net/hphotos-ak-prn1/564866_3247037057194_471502104_n.jpg)

สังเกตว่าผังแบบเดียวกัน  ส่วนเรือนครังทำหลังคา 2 ชั้นระบายควัน

ภาพด้านหน้า  จาก ซุ้มโค้งปูนหน้าบ้าน เป็นใต้ถุนไม้

(https://fbcdn-sphotos-a-a.akamaihd.net/hphotos-ak-ash3/547474_3247036817188_144094738_n.jpg)

ฯลฯ

ผมมองว่าการเลือกคำนี้ทำให้เกิดความจำกัดในการศึกษาพอสมควร  อาคารที่เกิดจากผลพวกของอาคารแนว เนียงยา ในไทยไม่ค่อยได้รับการศึกษานักเพราะไม่จัดในกลุ่มเดียวกัน  ทั้งๆที่มีวัฒนธรรมร่วมกัน


กระทู้: ขอสอบถามข้อมูล เกี่ยวกับสถาปัตยกรรมชิโน-โปรตุกีส ในจังหวัดภูเก็ต ค่ะ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 01 ธ.ค. 12, 08:23
ขอบคุณอย่างยิ่งสำหรับคำอธิบายและภาพประกอบค่ะ
เป็นห่วงอย่างเดียวว่า รูปที่โพสต์จากลิ้งค์   วันร้ายคืนร้ายจะถูกลิขสิทธิ์ดึงกลับไป กลายเป็นรูปกบอยู่ในกล่อง อย่างที่เคยเจอมาก่อน
ขอความกรุณาว่า ถ้าจะโพสรูปอีก  ขอให้เซฟรูปแล้วนำลงค.ห.ละ 1 รูปได้ไหมคะ  มันจะได้อยู่ถาวร


กระทู้: ขอสอบถามข้อมูล เกี่ยวกับสถาปัตยกรรมชิโน-โปรตุกีส ในจังหวัดภูเก็ต ค่ะ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 01 ธ.ค. 12, 08:24
อ้างถึง
ผมมองว่าการเลือกคำนี้ทำให้เกิดความจำกัดในการศึกษาพอสมควร  อาคารที่เกิดจากผลพวกของอาคารแนว เนียงยา ในไทยไม่ค่อยได้รับการศึกษานักเพราะไม่จัดในกลุ่มเดียวกัน  ทั้งๆที่มีวัฒนธรรมร่วมกัน

อาคารแนวเนียงยาคืออะไรคะ


กระทู้: ขอสอบถามข้อมูล เกี่ยวกับสถาปัตยกรรมชิโน-โปรตุกีส ในจังหวัดภูเก็ต ค่ะ
เริ่มกระทู้โดย: sigree ที่ 01 ธ.ค. 12, 11:08
อ้างถึง
ผมมองว่าการเลือกคำนี้ทำให้เกิดความจำกัดในการศึกษาพอสมควร  อาคารที่เกิดจากผลพวกของอาคารแนว เนียงยา ในไทยไม่ค่อยได้รับการศึกษานักเพราะไม่จัดในกลุ่มเดียวกัน  ทั้งๆที่มีวัฒนธรรมร่วมกัน

อาคารแนวเนียงยาคืออะไรคะ

เนียงยา Nyonya บางสำเนียงเรียก ยอนยา  บางครั้งเรียกกลุ่มนี้ว่า Peranakan"เปอรานากัน" ซึ่งเป็นกลุ่มชาวจีนฮกเกี้ยนที่อาศัยอยู่ทั่วแหลมมลายู(ผมหมายถึงภาคใต้ไทยด้วยนะ) แล้วแต่งานกับคนท้องถิ่นซึ่งโดยมากเป็นมลายู

ส่วนใหญ่จะอาศัยที่ SOM หรือ Strait of Malacca ช่องแคบมะละกา บางครั้งเรียกตัวเองว่า Cino Melaka หรือ จีนช่องแคบ

เป็นกลุ่มวัฒนธรรมที่อยู่ในบ้านแบบที่คนไทยเรียก ชิโนโปรตุกิส  นั้นแหละครับ  มีวัฒนธรรมผสมจีนและมลายู  หากสนใจลองหาหนังสิงคโปร Little Nyonya มาชม

ลองดูอาหาร การแต่งตัว การกินอาหารกับมือ(พวกนี้เดิมไม่ใช่ตะเกียบ)  จะว่าไปเคยมีสำรวจว่าคนกลุ่มนี้พูดจีนหรืออ่านจีนไม่ได้ด้วย และพูดมลายูและเขียนยาวีได้


กระทู้: ขอสอบถามข้อมูล เกี่ยวกับสถาปัตยกรรมชิโน-โปรตุกีส ในจังหวัดภูเก็ต ค่ะ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 01 ธ.ค. 12, 11:15
ขอทราบความแตกต่างระหว่าง "เนียงยา" กับ "บาบ๋า" หน่อยครับ

หย่าหย๋า หรือ บาบ๋า เป็นคำเรียกถึงชาวจีนฮกเกี้ยนที่แต่งกับชาวมาเลย์พื้นเมือง หรืออาจจะเรียกได้ว่าเป็นพันธุ์ทาง มีลักษณะการแต่งกายผสมผสานกันระหว่างจีนและมาเลย์..ที่มา สยามประเภท


กระทู้: ขอสอบถามข้อมูล เกี่ยวกับสถาปัตยกรรมชิโน-โปรตุกีส ในจังหวัดภูเก็ต ค่ะ
เริ่มกระทู้โดย: sigree ที่ 01 ธ.ค. 12, 11:38
ขอทราบความแตกต่างระหว่าง "เนียงยา" กับ "บาบ๋า" หน่อยครับ


หย่าหย๋า หรือ บาบ๋า เป็นคำเรียกถึงชาวจีนฮกเกี้ยนที่แต่งกับชาวมาเลย์พื้นเมือง หรืออาจจะเรียกได้ว่าเป็นพันธุ์ทาง มีลักษณะการแต่งกายผสมผสานกันระหว่างจีนและมาเลย์..ที่มา สยามประเภท
บาบ๋า เป็นคำเรียกผู้ชายของ เนียงยา

คนมลายูท้องถิ่นบางครั้งเรียกกลุ่มนี้ว่า พวก บาบ๋า
ส่วน หย่าหย๋า ไม่แน่ใจจริงว่าเพี้ยนเสียงมาจากคำว่า ยอนยา ที่หมายถึง ชาวเนียงยาอีกคำไหม?

หลายคนสงสัยทำไมมีหลายคำ  ต้องบอกแล้วแต่พื้นที่และสำเนียงของภาษาครับ

ในสำเนียงมลายู บางท้องถิ่น สระ า  จะออกเสียงเป็น ออ และ อัง แล้วแต่พื้นที่ไป

เท่าที่เคยสัมผัส กลุ่มนี้ส่วนใหญ่ลูกผสมหรือไม่งั้นก็อยู่ในพื้นที่นานมาก มากกว่า 3 รุ่น และมีทั้งลูกครึ่งและไม่ใช่ลูกครึ่  แต่โดยความคืออยู่มานาน นานจนส่วนใหญ่พูดหรือเขียนจีนไม่ได้อย่างที่บอก
ใช่วัฒนธรรมผสม
สังเกตจากชุด เสื้อแบบมาเลย์ ผ้าถุงปาเต๊(บาติกในสำเนียง อินโด)
(http://3.bp.blogspot.com/-6wfgmnfQ0-A/T_yDw-7VJ2I/AAAAAAAAQkQ/N2ATZH2BSF4/s320/nyonya_ages.jpg)
แต่ดัดแปลงให้กระชับ แขนสั้นขึ้นเพื่อสะดวกในการทำงาน
ชุดมาเลย์ บายู กุหรง
(http://www.chonghwakl.edu.my/2007news_php/2007wenhuajie/Johor_3.jpg)

ส่วนคนจีนที่เป็นจีนแบบจีนเลยนั้นแยกไปอีกกลุ่มเลยครับ  เหมือนพ่อค้าสำเภามากกว่า มาแล้วก็ไปมีบ้างที่อยู่ในพื้นที่แต่ก็ถือเป็นอีกกลุ่มไป


กระทู้: ขอสอบถามข้อมูล เกี่ยวกับสถาปัตยกรรมชิโน-โปรตุกีส ในจังหวัดภูเก็ต ค่ะ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 01 ธ.ค. 12, 14:12
เคยได้ยินคำว่า "บ้าบ๋า" และ "ย่าหยา" สมัยยังเด็ก    ผู้ใหญ่ออกเสียงอย่างนี้ค่ะ   ถามว่าเป็นพวกไหน แม่บอกว่าเป็นคนจีนผสมมลายู (สมัยนั้นยังไม่มีคำว่ามาเลย์)  เขามีวัฒนธรรมหลายอย่างของเขาเอง รวมทั้งการแต่งกายด้วย 
ผู้หญิงมีคำเรียกว่า ย่าหยา  ผู้ชายเรียกว่า บ้าบ๋า

ต่อมาเคยไปประชุมเรื่องวรรณกรรมที่บาหลี   ผู้ร่วมประชุมเป็นคนจีนจากสิงคโปร์  เธอออกเสียงว่า บาบา กับ ยายา   ไม่ได้ออกเสียงสูงอย่างคนไทย      ฟังอยู่หลายครั้งกว่าจะนึกขึ้นมาได้ว่าน่าจะหมายถึงบ้าบ๋ากับย่าหยาน่ะเอง


กระทู้: ขอสอบถามข้อมูล เกี่ยวกับสถาปัตยกรรมชิโน-โปรตุกีส ในจังหวัดภูเก็ต ค่ะ
เริ่มกระทู้โดย: sigree ที่ 01 ธ.ค. 12, 15:14
เรือนแถวแบบมลายู

เกิดหลังเรือนแถวแบบ ชิโนฯ ชาวมลายูเลยเอาอย่าง

(http://static.panoramio.com/photos/large/16886889.jpg)

อย่างไรก็ดี เรื่องแถวแบบนี้มีไม่มาก  เพราะมลายูทำกันเองไม่เหมือนในเขตของชาวเนียงยา ที่มีกฏหมายควบคุมจากอังกฤษ เลยมีเป็นหลังๆกระจายไป ไม่ได้มีเป็นย่านแบบ อาคารตระกูลชิโนฯ

อย่างที่บอกนั้นแหละครับ ผังเหมือนกัน ด้านหน้า 2 ชั้น ตรงกลางเปิดโล่งมีบ่อ ด้านหลังเป็นครัว


กระทู้: ขอสอบถามข้อมูล เกี่ยวกับสถาปัตยกรรมชิโน-โปรตุกีส ในจังหวัดภูเก็ต ค่ะ
เริ่มกระทู้โดย: sigree ที่ 01 ธ.ค. 12, 15:22
แต่ปูนเป็นของแพง  เลยทำให้เกิดห้องแถวไม้แทน

ซุึ่งถือว่าผิดความตั้งใจเดิมมาก  เพราะการสร้างอาคารปูนเนื่องจากอังกฤษกลัวไฟไหม้  เลยสั่งให้สร้างอาคารเป็นปูน และมีทางเดินหลบฝน(ระบุเป็นกฏหมาย) เลยเกิดอาคารแนวชิโนฯ

เรือนแถวไม้ที่เกิดขึ้นถือว่าผิดจุดประสงค์เดิม  และมีแต่นอกเขตปกครองพิเศษอังกฤษ

แต่เหมือนเดิมคือ 2 ชั้น ตรงกลางเปิดโล่งมีบ่อ

ยังคงระบบเสา ทางเดินลอดเช่นเดิม
(https://fbcdn-sphotos-a-a.akamaihd.net/hphotos-ak-ash3/528186_3469036607044_498772117_n.jpg)
(https://fbcdn-sphotos-g-a.akamaihd.net/hphotos-ak-ash3/544911_427632587300944_101178518_n.jpg)

อีกหลังของสายบุรี ทรงกลันตัน

(https://fbcdn-sphotos-b-a.akamaihd.net/hphotos-ak-snc7/578370_3924386870516_2018128126_n.jpg)

สิ่งที่เปลี่ยนไปคือซุ้มทางเดินหายไป เพราะอาคารแบบไม้ไม่ต้องมีเสามารับแบบอาคารปูน  แค่ยื่นหลังคาออกไปและอาคารที่ยื่นแบบนี้ถือเป็นยุคสุดท้ายของบ้านแบบห้องแถว


กระทู้: ขอสอบถามข้อมูล เกี่ยวกับสถาปัตยกรรมชิโน-โปรตุกีส ในจังหวัดภูเก็ต ค่ะ
เริ่มกระทู้โดย: sigree ที่ 01 ธ.ค. 12, 15:34
เทียบให้ดู ไม้กับปูน

(https://fbcdn-sphotos-f-a.akamaihd.net/hphotos-ak-prn1/67100_427629940634542_658590628_n.jpg)

(http://www.36stewartlane.com/wp-content/uploads/2010/02/early-chinese-eclectic-style.jpg)


กระทู้: ขอสอบถามข้อมูล เกี่ยวกับสถาปัตยกรรมชิโน-โปรตุกีส ในจังหวัดภูเก็ต ค่ะ
เริ่มกระทู้โดย: sigree ที่ 01 ธ.ค. 12, 15:38
แบบสุดท้าย บ้านแถวชนบท

คือเห็นในเมืองแล้วเอากลับไปทำในเขตชนบท
(https://fbcdn-sphotos-b-a.akamaihd.net/hphotos-ak-ash3/539221_3666085206974_444379369_n.jpg)

จริงๆค่อนข้างตลก  เพราะที่ตามชนบทเยอะแต่มีบ่อในบ้านเหมือนกัน  ที่พิเศษอีกอย่างคือ บางหลังอาคารด้านหน้าชั้นเดียว ผิดจุดประสงค์ที่สร้างเพื่อค้าขาย  อันนี้สร้างเพื่ออยู่เลียนแบบคนเมือง

(https://fbcdn-sphotos-f-a.akamaihd.net/hphotos-ak-ash3/553072_3469046247285_867736254_n.jpg)


กระทู้: ขอสอบถามข้อมูล เกี่ยวกับสถาปัตยกรรมชิโน-โปรตุกีส ในจังหวัดภูเก็ต ค่ะ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 01 ธ.ค. 12, 17:34
อาคารแบบที่ยังเรียกกันว่าชิโน-โปรตุกีส ในภูเก็ต


กระทู้: ขอสอบถามข้อมูล เกี่ยวกับสถาปัตยกรรมชิโน-โปรตุกีส ในจังหวัดภูเก็ต ค่ะ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 01 ธ.ค. 12, 18:15
ที่ประเทศโปรตุเกส มีพิพิธภัณฑ์ของโลกตะวันออกที่ได้เก็บรวบรวมสิ่งชองที่โปรกุเกสเป็นเจ้าอาณานิคม และถ่ายทอดศิลปะต่าง ๆ โดยเรียกศิลปด้านสถาปัตยกรรมเหล่านี้ว่า "Indo-Potugese" โดยลักษณะเป็นห้องแถวมีทางเดินด้านหน้า ซึ่งกว้าง 5 ฟุต จีนเรียกว่า "หง่อพาขี่" เป็นทางเดินเท้าที่ให้คนเดินหน้าร้าน ด้านบนก็เป็นพื้นที่ระเบียง ซึ่งสถาปัตยกรรมแบบนี้ในสมัยรัชกาลที่ ๔ ซึ่งพระองค์ได้โปรดเกล้าฯให้ถ่ายแบบลักษณะโครงสร้างดังกล่าวมาทำการสร้างตึกแถวในถนนบำรุงเมือง และอีกครั้งในสมัยรัชกาลที่ ๕ หลังจากเสด็จประพาสสิงคโปร์เมื่อต้นรัชกาล ก็โปรดให้ถ่ายแบบอาคารห้องแถวเหล่านี้มาปลูกสร้างเพิ่มเติมตามถนนสายต่าง ๆ ในพระนคร


กระทู้: ขอสอบถามข้อมูล เกี่ยวกับสถาปัตยกรรมชิโน-โปรตุกีส ในจังหวัดภูเก็ต ค่ะ
เริ่มกระทู้โดย: han_bing ที่ 01 ธ.ค. 12, 21:15
อันนี้ขอเรียนถามหน่อยครับ คำว่า Nyonya คนมาเลเซียกับอินโดนิเซียออกเสียงว่า น่อนหยา

คำว่า เหนียงยา ผมไม่เคยได้ยินมาก่อน เลยไม่แน่ใจว่าเป็นสำเนียงแบบไหน แต่ถ้าออกเป็นภาษาจีน แบบจีนกลาง ออกเสียง เหนียงเร่อ (娘惹:niang re)

ถ้าแบบภาษาฮกเกี้ยนออกเสียงอย่างไรไปตามฟังได้จากเว็ปนี้ http://cn.voicedic.com/ แล้วก็กด ที่ปุ่มว่า 闽南话

คำว่า น่อนหยา ใช้เรียกผู้หญิง ส่วนผู้ชาย เรียกว่า บ้าบ๋า (峇峇)

คนกลุ่มนี้เรียกโดยรวมว่า เพอรานากัน แปลว่าเกิดในท้องถิ่น

คนกลุ่มนี้เป็นลูกผสมจีนฮกเกี้ยนกับชาวมลายูท้องถิ่น แต่ภายหลังไม่ใช้ฮกเกี๊ยนก็พอนับผ่านไปได้ แต่โดยมาถือเอาลูกผสมมลายูกับฮกเกี้ยนเป็นหลัก

พวกนี้พูดภาษาจีนฮกเกี้ยนได้บางพอเป็นพิธี แต่เลือนหายไปเยอะแล้ว โดยมาพูดเป็นภาษามลายูพื้นถิ่น

อย่างไรก็ตาม ชาวภูเก็ตที่เราถือว่าเป็นพวกบ้าบ๋า ไม่เหมือนใครอื่น กล่าวคือ เราไม่นับเฉพาะลูกจีนที่เกิดจากชาวฮกเกี้ยนเท่านั้น ลูกจีนใดๆนับหมด ขอให้เกิดในไทยก็พอ และเราจะไม่เรียกว่า ย่าหยา บ้าบ๋า แต่เรียกรวมๆว่าบ้าบ๋าไปเลย

อนึ่ง บ้านตึกแถวไม้แบบนั้น มีที่โล่งตรงกลางน่าอยู่มาก เพราะมันเย็น - เป็นผู้มีประสบการณ์ตรง เพราะบ้านตัวเองเป็นเช่นนั้นแล คุณตาเป็นจีนไหหลำมาจากทางใต้ ก่อนมาอยู่ชัยภูมิ ไม่รู้ไปลอกแบบมาหรือเปล่า แต่เหมือนกันทุกประการ

ทุกวันนี้ตึกแถวไม้แบบมีทางเดินคุมแดดคุมฝนยังมีอยู่ในชัยภูมิ แต่ควรรีบไปดูโดยไว เพราะหายไปเยอะแล้ว



กระทู้: ขอสอบถามข้อมูล เกี่ยวกับสถาปัตยกรรมชิโน-โปรตุกีส ในจังหวัดภูเก็ต ค่ะ
เริ่มกระทู้โดย: sigree ที่ 01 ธ.ค. 12, 23:02
ที่ประเทศโปรตุเกส มีพิพิธภัณฑ์ของโลกตะวันออกที่ได้เก็บรวบรวมสิ่งชองที่โปรกุเกสเป็นเจ้าอาณานิคม และถ่ายทอดศิลปะต่าง ๆ โดยเรียกศิลปด้านสถาปัตยกรรมเหล่านี้ว่า "Indo-Potugese" โดยลักษณะเป็นห้องแถวมีทางเดินด้านหน้า ซึ่งกว้าง 5 ฟุต จีนเรียกว่า "หง่อพาขี่" เป็นทางเดินเท้าที่ให้คนเดินหน้าร้าน ด้านบนก็เป็นพื้นที่ระเบียง ซึ่งสถาปัตยกรรมแบบนี้ในสมัยรัชกาลที่ ๔ ซึ่งพระองค์ได้โปรดเกล้าฯให้ถ่ายแบบลักษณะโครงสร้างดังกล่าวมาทำการสร้างตึกแถวในถนนบำรุงเมือง และอีกครั้งในสมัยรัชกาลที่ ๕ หลังจากเสด็จประพาสสิงคโปร์เมื่อต้นรัชกาล ก็โปรดให้ถ่ายแบบอาคารห้องแถวเหล่านี้มาปลูกสร้างเพิ่มเติมตามถนนสายต่าง ๆ ในพระนคร

ผมไม่เข้าใจนะ

คนไทยส่วนใหญ่ ผมใช่คำว่าส่วนใหญ่พยามเรียกคำว่า หงอกากี เป็นคำอื่น  หง่อพาขี่  หงอคากี่ หงอพาชี ฯลฯ ส่วนใหญ่เข้าใจด้วยว่าคำนี้มาจากภาษาจีน 100 % ทั้งๆที่คำนี้ลูกผสม

มีระบุอยู่ในพิพิธภัณฑ์แห่งชาติถลาง และพิพิธภัณฑ์ในมะละกา และ ปีนัง ว่าซุ้มโค้งทางเดินเรียก

หงอคากี Goh kha ki

หงอ = 5 (เป็นภาษาจีน) สะกด Goh
คากี=เท้า ก้าว (ภาษามาเลย์) สะกด  kha ki เพี้ยนเสียงจากคำว่า กากี Kaki-เท้า

มีระบุอยู่ในพิพิธภัณฑ์แห่งชาติถลาง และพิพิธภัณฑ์ในมะละกา และ ปีนัง

ในบางท้องถิ่นเรียก กากีลีมา Kaki Lima หรือ Kaki-เท้า Lima-ห้า

Nyonya หยอนยา ครับ

ขออภัย ตัว NY นานๆเจอที  ติดวิธีการอ่านแบบภาษาอังกฤษ ในอักษรมาเลย์แบบไม่ควรให้อภัย
ขออภัย
 
เทียบกับอักษร ยาวี
(http://2.bp.blogspot.com/_RYqEEzqhGzY/S5R7HsKtJqI/AAAAAAAAAF8/BxRD8Z5IsC8/s320/huruf_abjad+jawi.jpg)

NY = หย

ไม่น่าจะออกเสียง น