เรือนไทย

General Category => ประวัติศาสตร์ไทย => ข้อความที่เริ่มโดย: CVT ที่ 29 พ.ค. 10, 20:27



กระทู้: ลายมือเขียน
เริ่มกระทู้โดย: CVT ที่ 29 พ.ค. 10, 20:27
สืบเนื่องจากกระทู้ นี้
http://www.reurnthai.com/index.php?topic=3304.msg64710;topicseen#msg64710
ผมอ่านลายมือตนกูยิหวาแล้วคุ้นตามากเลย
เพราะอักษรลายมือท่านคล้ายกับลายมือปู่ผมมากเลย
โดยเฉพาะการเล่นหาง


กระทู้: ลายมือเขียน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 29 พ.ค. 10, 20:42
คล้ายลายมือนี้ด้วยไหมคะ?


กระทู้: ลายมือเขียน
เริ่มกระทู้โดย: CVT ที่ 29 พ.ค. 10, 21:14
ลายมือปู่ผมเป็นแบบนี้ครับ



กระทู้: ลายมือเขียน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 29 พ.ค. 10, 21:44
คุณ CVT จะให้ดิฉันแยกกระทู้ไปตั้งใหม่ เรื่องลายมือเขียน  ไหมคะ   อาจมีตัวอย่างมาให้เห็นได้อีกหลายค.ห.
ว่าคนรุ่นปู่ย่าตาทวดของเราเขียนหนังสือด้วยลายมือแบบไหน


กระทู้: ลายมือเขียน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 29 พ.ค. 10, 22:16
.


กระทู้: ลายมือเขียน
เริ่มกระทู้โดย: CVT ที่ 29 พ.ค. 10, 22:25
ดีครับ อาจารย์
เอาตั้งแต่ คคห ๑๓๐ ไปเลยครับ


กระทู้: ลายมือเขียน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 30 พ.ค. 10, 07:30
 ;D


กระทู้: ลายมือเขียน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 30 พ.ค. 10, 08:29
ขออัญเชิญลายพระราชหัตถเลขาพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ในพระราชนิพนธ์บทละครร้องเรื่อง "พระร่วง" มาเตือนสติคนไทยก่อนเลยครับ


กระทู้: ลายมือเขียน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 30 พ.ค. 10, 08:34
ขอรับใส่เกล้าใส่กระหม่อม


กระทู้: ลายมือเขียน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 30 พ.ค. 10, 08:44
.


กระทู้: ลายมือเขียน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 30 พ.ค. 10, 08:45
http://www.panyathai.or.th

ขออัญเชิญพระราชหัตถเลขาในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗  พระราชทานแก่โรงเรียนพลตำรวจ เมื่อ ๒๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๐ มาลงไว้ให้อ่านค่ะ


กระทู้: ลายมือเขียน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 30 พ.ค. 10, 08:52
เกิดอุบัติเหตุ  ชนกันกลางอากาศกับคห.คุณ Navarat   
ทำเอาไฟล์แนบของคุณในคห.๑๐ หายไปหรือเปล่าคะ?  :o


กระทู้: ลายมือเขียน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 30 พ.ค. 10, 09:22
มิได้ครับ ผมผิดพลาดทางเทคนิกไปบางประการในการอัญเชิญลายพระราชหัตถเลขาครั้งแรก
แก้แล้วแต่เหลือร่องรอยที่เห็น


กระทู้: ลายมือเขียน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 30 พ.ค. 10, 10:08
พระราชหัตถเลขาครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์  คือพระราชหัตถเลขาในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงสละราชสมบัติ  ในพ.ศ. ๒๔๗๗  หลังเหตุการณ์กบฏบวรเดช


กระทู้: ลายมือเขียน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 30 พ.ค. 10, 10:11
ต่อ


กระทู้: ลายมือเขียน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 30 พ.ค. 10, 17:10
ลายพระราชหัตถเลขา ในรัชกาลที่ ๕


กระทู้: ลายมือเขียน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 30 พ.ค. 10, 17:13
พระราชหัตถเลขา ในรัชกาลที่ ๕ เช่นกัน


กระทู้: ลายมือเขียน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 30 พ.ค. 10, 20:33
เล่าคั่นเวลา ก่อนคุณ CVT จะเอาลายมือมาให้ดูอีก

เมื่อดิฉันเรียนชั้นประถม   มีวิชา "คัดไทย"  เป็นวิชาสำหรับปั้นลายมือเขียนของนักเรียนให้สวย   เพราะแต่ละคน เมื่อหัดเขียนตั้งแต่ป. ๑ ลายมือยังเบี้ยวๆบูดๆอยู่
สมุดแบบฝึกหัด เล่มใหญ่ยาว  แต่ละหน้ามีแบบตัวอักษรไทย ประด้วยเส้นจุดตรงหัวบรรทัดแรก ให้นักเรียนเขียนไปตามนั้น   จากตัวแรกก็ค่อยๆบรรจงเขียนเอง   ตามแบบตัวแรก เรื่อยไปจนหมดเนื้อที่
ครูกวดขันนักหนา ให้
๑   ห้ามเขียนตัวโย้หน้า หรือเรียกว่าเอนหน้า
๒   เขียนพยัญชนะแต่ละตัว ยกเว้น ก ไก่และ ธ ธง ให้เริ่มเขียนจากหัวก่อน ลากไปจนปลาย  ห้ามเขียนจากปลายมาต้น
๓   เขียนพยัญชนะแต่ละตัว ต้องมีหัวพยัญชนะ  คือเม็ดกลมๆที่ประดับอยู่ทุกตัว ยกเว้น ก ไก่

ลายมือมีทั้งบรรจง  และหวัดแกมบรรจง
อย่างหลังนี้ เคยเขียนจดหมายสั้นๆ  ตอบแฟนหนังสือไปคนหนึ่งเมื่อหลายปีมาแล้ว   เธอตื่นเต้นมาก  ไม่ใช่ตื่นเต้นว่าเขียนตอบ  แต่ตื่นเต้นลายมือ เพราะไม่เคยเห็นใครเขียนลายมือแบบนี้มาก่อน 
เธอถามกลับมาว่าอะไร  เพราะเขียนบรรจงก็ไม่ใช่  หวัดก็ไม่เชิง     แสดงว่าลายมือหวัดแกมบรรจง หายไปแล้วจากความเข้าใจของคนรุ่นหลังดิฉัน

เมื่อก่อน ลายมือดิฉันพอไปวัดไปวาได้      แต่หลังจากใช้พิมพ์ดีดไฟฟ้า และเปลี่ยนเป็นคอมพิวเตอร์เมื่อปี 2535        ลายมือเขียนก็เอามาโชว์ใครไม่ได้อีก

มีสมาชิกในเรือนไทยคนไหน จำความหลังเรื่องคัดลายมือได้บ้างคะ


กระทู้: ลายมือเขียน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 30 พ.ค. 10, 20:54
พอขึ้นชั้นมัธยม  ครูก็ให้เปลี่ยนจากดินสอมาเป็นปากกา     ปากกาที่พวกเราใช้มีแต่ปากกาหมึกซึม   พวกปากกาลูกลื่นเข้ามาทีหลัง    ปากกาลูกลื่นทำให้ลายมือกระด้าง  ไม่นิ่มนวลเท่าปากกาหมึกซึม    

ยิ่งเขียนตัวบรรจงแล้ว  ปากกาหมึกซึมเขียนได้เนียนสวยที่สุด  
เวลาจับปากกา พลิกปากนิดหน่อย จะเขียนลายเส้นให้หนาหรือบางได้   เหมาะกับคัดลายมือ
ตัวอักษรไทยแต่ละตัว  เส้นไม่เท่ากัน  มีทั้งเส้นหนาและเส้นบาง  อย่าง  ก ไก่   ตรงจงอยปาก ก ถ้าเขียนด้วยปากกาหมึกซึม  จะต้องพลิกปากกาเขียนเส้นให้บาง   แต่ตรงส่วนที่เป็นเส้นตั้งตรง  เขียนให้หนา

ไปหาฟ้อนท์ที่ใกล้เคียงกับตัวที่เคยคัดลายมือ  ได้มาแบบนี้ค่ะ


กระทู้: ลายมือเขียน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 30 พ.ค. 10, 21:15
ปากกาหมึกซึมสมัยนั้นยี่ห้อแพงที่สุดคือเชฟเฟอร์   (Sheaffer)  กับ ปาร์คเกอร์  (Parker) โดยมากผู้ใหญ่รุ่นพ่อหรือลุงใช้กัน    นิยมปลอกทองเหน็บกระเป๋าเสื้อ    อวดกันได้เหมือนนาฬิกาโรเลกซ์สมัยนี้
แต่เด็กๆอย่างพวกเราใช้ยี่ห้อเซลเลอร์ค่ะ   ราคาย่อมเยา    ไปค้นจากกูเกิ้ล ยังเห็นมีขายอยู่

อุปกรณ์คู่กันคือหมึก    เขียนๆไปหมึกก็จะหมดหลอดเร็วมาก ทุกวัน ต้องมึขวดหมึกไว้สูบหมึกเข้าหลอด   
ขวดหมึกยอดนิยมตอนนั้นคือหมึกควิ๊งค์     มีหลายสี เช่นน้ำเงิน แดง ดำ   
นักเรียนใช้สีน้ำเงิน   ดิฉันใช้สีรอยัลบลู เป็นสีน้ำเงินสวย    ถ้าเป็นบลูแบล็ค จะออกมาน้ำเงินแก่    ส่วนเอกสารราชการเขียนด้วยหมึกดำ

อ้อ มีปากกาคอแร้งอีกอย่าง  จุ่มหมึก เขียนลายเส้นในวิชาวาดเขียน  ไม่ค่อยทนเท่าไร ปากหักเอาง่ายๆ
พอปากกาลูกลื่นเข้ามาตีตลาด    ปากกาหมึกซึมก็หายไปจากชีวิตนักเรียน พร้อมกับลายมือหนักเบาแบบเก่า 


กระทู้: ลายมือเขียน
เริ่มกระทู้โดย: CVT ที่ 30 พ.ค. 10, 21:28
อ.เทาชมพู สั่งให้ย้อนความหลังเรื่องคัดลายมือ
รุ่นเด็กอย่างผม ยังจำได้ว่า ตอนเด็กๆจะมีแบบฝึกหัดคัดลายมือ
มี ๒ สำนักพิมพ์ ขายแข่งกัน ไทยวัฒนาพาณิชย์ กับ วัฒนาพาณิชย์
เป็นหนังสือที่เป็นเล่มยาวๆ ในแนวนอน
ตัวหนังสือจะถูกทำเป็นจุดไข่ปลา แล้วให้เขียนตามจุด ตั้งแต่ ก ถึง ฮ
และภาษาอังกฤษ ตั้งแต่ A ถึง Z แต่ภาษาอังกฤษ จะมี ๔ แบบ คือตัวเขียนใหญ่ ตัวเขียนเล็ก ตัวพิมพ์ใหญ่ ตัวพิมพ์เล็ก
พอขึ้น ป.๕ เริ่มใช้ปากกา จะถูกบังคับให้ใช้ปากกาหมึกซึม ส่วนคัดลายมือต้องใช้ปากกาคอแร้ง
ปากกาหมึกซึม เด็กบ้านนอก ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างผม ใช้ยี่ห้อ Hero เป็นของจีนแดง ที่ซื้อจากร้านขายของหนีภาษี
ส่วนใหญ่ก็ข้ามไปซื้อที่ฝั่งรันตูปันยัง สุไหงโกลก หรือไม่ก็ปาดังเบซาร์ สะเดา
น้ำหมึกที่ใช้จะเป็นยี่ห้อ Geha สี Royal blue
ไม่มีวาสนาได้ใช้ Sailor, Parker, Sheffer ครับ

อ.เทาชมพูครับ ผมมีข้อสังเกตลายพระหัตถ์ของ ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๕ มีหลายรูปแบบมาก
ผมเลยเข้าใจเอาเองว่าพระองค์ท่านมีพนักงานอาลักษณ์เขียนให้ แล้วทรงลงพระปรมาภิไธย สยามินทร์ เท่านั้น

ผมจะรื้อเอกสาร ที่เป็นลายมือคนบ้านนอกแถวปัตตานีมาให้ดูครับว่าเขาเขียนกันอย่างไร


กระทู้: ลายมือเขียน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 30 พ.ค. 10, 21:43
รอดูค่ะ คุณ CVT

มาถึงคัดลายมือภาษาอังกฤษ  ทางร.ร. ฝึกให้ลากเส้นตัวอักษรต่อกันไปจนจบคำ    ไม่ต้องยกปากกาขึ้น ถึงจะเรียกว่าสวย
แล้ว capital letter คือตัวใหญ่ตอนขึ้นต้นประโยค  ก็ต้องหัดเขียนม้วนปลายอย่างวิจิตรพิสดาร    บางตัวถ้าไม่รู้มาก่อนว่าเป็นตัวอะไร จะดูไม่ออก  อย่างตัว T  และ F  ดูยากมาก

เอาตัวอย่างมาให้ดูค่ะ


กระทู้: ลายมือเขียน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 30 พ.ค. 10, 21:49
ตัวแรก คือ F   ตัวที่สอง คือ T


กระทู้: ลายมือเขียน
เริ่มกระทู้โดย: CVT ที่ 30 พ.ค. 10, 22:02
ตัวแรก คือ F   ตัวที่สอง คือ T

ใช่เลยครับ ผมถูกสอนให้คัดลายมือแบบนี้เหมือนกัน
มีที่คล้ายกันอีก คือ E กับ G และ L กับ S ในตัวเขียนใหญ่


กระทู้: ลายมือเขียน
เริ่มกระทู้โดย: CVT ที่ 30 พ.ค. 10, 22:07
(http://img245.imageshack.us/img245/4416/scan00026131379.jpg)

เจ้าของลายมือ เกิด พ.ศ.๒๔๑๑ ครับ


กระทู้: ลายมือเขียน
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 31 พ.ค. 10, 08:17
ลายพระราชหัตถ์ ในพระราชหัตถเลขารัชกาลที่ ๕  ที่คุณเทาชมพู ยกมาแสดงนั้น  น่าจะเป็นลายมือของพนักงานอาลักษณ์มากกว่า     ลายพระราชหัตถ์ของรัชกาลที่ ๕ แท้ๆ  จะอ่านยากกว่านี้  ไว้จะเอาลงมาให้ดูกันนะครับ ;)


กระทู้: ลายมือเขียน
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 31 พ.ค. 10, 08:32
พระราชหัตถเลขารัชกาลที่ ๕ ถึง กรมดำรง (สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ) จากลอนดอน อังกฤษ



กระทู้: ลายมือเขียน
เริ่มกระทู้โดย: CVT ที่ 31 พ.ค. 10, 08:42
ขอบคุณครับ
อยากให้มีการแจกกิ๊ฟท์แบบพันทิปจังเลย


กระทู้: ลายมือเขียน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 31 พ.ค. 10, 08:54
คุณม้า เวบมาสเตอร์ยังไม่ได้ทำกิ๊ฟ    ดิฉันเลยหาอีโมตัวนี้มาแทนไปก่อน


กระทู้: ลายมือเขียน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 31 พ.ค. 10, 08:57
ระหว่างรอคุณหลวงเล็ก  ก็ขออัญเชิญลายพระราชหัตถเลขา ในรัชกาลที่ ๕ มาอีกครั้ง


กระทู้: ลายมือเขียน
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 31 พ.ค. 10, 10:13
        ทันยุคปากกาหมึกซึม ต่อกับปากกาลูกลื่น ครับ
         ปากกาคือเครื่องหมายว่าเป็นเด็กโต - ขึ้นมัธยมแล้ว
         หมึกสมัยนั้นมียี่ห้อดังคือ Quink, Geha, นก Pelikan และ Pilot ที่ราคาถูกกว่า
         รอยหมึกทั้งโดยเจตนาและอุบัติเหตุบนเสื้อขาวเป็นเรื่องปกติสำหรับนักเรียนบางคน
 
         มีปัญหาคัดลายมือไทยแล้วตัวเอนไปข้างหลัง จึงชอบคัดลายมือภาษาอังกฤษมากกว่า แม้ว่าจะต้อง
จำทั้งตัวใหญ่ ตัวเล็ก และเส้นที่ลากขึ้นเบาบาง - ลากลงหนักหนา

         สอบคัดไทย จะเป็นวิชาเดียวที่นักเรียนไม่มีการลอก หรือแอบดูคำตอบกัน
แต่ สำหรับคัดอังกฤษแล้ว จะมีการแอบดู โดยเฉพาะอย่างยิ่งตัวคัดใหญ่ที่มีเส้นสายวิจิตร บางคนจำไม่ได้

เมษายน ๒๕๕๓ - ๖๐ ปี มหามงคลราชาภิเษกสมรส


กระทู้: ลายมือเขียน
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 31 พ.ค. 10, 10:25
ที่คุณเทาชมพูเอามาแสดงนี่แหละ  ลายพระราชหัตถ์รัชกาลที่ ๕


กระทู้: ลายมือเขียน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 31 พ.ค. 10, 10:35
สลับฉากด้วยเรื่องปากกาลูกลื่น
ปากกาลูกลื่นเป็นของใหม่ ตอนดิฉันเรียนอยู่ม.ต้น  เขาเรียกว่าปากกาหมึกแห้ง 
มียี่ห้อเดียวคือ  Bic   แท่งยาวสีเหลือง มีปลอกสีน้ำเงิน   ไม่มีสีอื่นให้เลือก    เมื่อเทียบกับปากกาหมึกซึมที่มีหลายสี   ปากกาลูกลื่นดูเชยของแท้
แต่ดีกว่าตรงที่หมึกไม่เลอะเทอะ   สมชื่อหมึกแห้ง    โดนน้ำก็ไม่เป็นไร  และไม่ต้องเติมหมึก  ใช้ไปจนกว่าจะหมดแท่ง
สมุดของพวกเราที่เขียนด้วยปากกาหมึกซึม  เจอน้ำหก  หรือถือตากฝนไม่ได้    ละลายเลอะเทอะหมด 
เหน็บปากกาหมึกซึมไว้บนปากกระเป๋าเสื้อนักเรียน  หรือเก็บในกระเป๋านักเรียน   หมึกจะซึมสมชื่อ  ออกมาเปื้อนเสื้อและกระเป๋า     เสื้อเปื้อนหมึกซักออกยาก

ปากกาหมึกแห้ง หรือปากกาลูกลื่นก็เลยเป็นที่นิยมอย่างรวดเร็ว   เมื่อเข้ามหาวิทยาลัย   ไม่เห็นใครใช้ปากกาหมึกซึมกันอีกเลยค่ะ

ในที่สุดก็หาตัวอย่างลายพระราชหัตถเลขาในรัชกาลที่ ๕ มาให้ได้  ;D

ลายพระราชหัตถเลขาในรัชกาลที่ ๖  หาได้ง่ายกว่า   มีในหนังสือพระราชนิพนธ์หลายเรื่องด้วยกัน


กระทู้: ลายมือเขียน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 31 พ.ค. 10, 11:36
ลายพระราชหัตถเลขา ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  เมื่อทรงพระเยาว์


กระทู้: ลายมือเขียน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 31 พ.ค. 10, 18:14
ลายพระหัตถ์สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า


กระทู้: ลายมือเขียน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 31 พ.ค. 10, 18:18
ลายพระหัตถ์สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี   ทรงมีถึงท่านผู้หญิงศรีนาถ สุริยะ  พระอาจารย์


กระทู้: ลายมือเขียน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 01 มิ.ย. 10, 19:44
ลายพระราชหัตถเลขาในรัชกาลที่ ๖  ภาษาอังกฤษ


กระทู้: ลายมือเขียน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 02 มิ.ย. 10, 10:21
พระปรมาภิไธย ๒ รัชกาล  และพระนามาภิไธย


กระทู้: ลายมือเขียน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 02 มิ.ย. 10, 18:16
ลายพระราชหัตถเลขาที่ท่านอาจารย์นำมาลงในคคห.36เป็นของปลอมเลียนแบบทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษครับ ไม่มีเหตุผลใดที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวท่านจะทรงพระอักษรสองภาษาประชันกันเช่นนี้

องค์จริง คือที่ผมสแกนมาให้ชม มีอยู่4หน้า เป็นพระราชหัตถเลขาที่ทรงมีไปถึงเสนาบดีกระทรวงธรรมการ ขณะนั้นคือเจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี  (หม่อมราชวงศ์เปีย มาลากุล) บิดาหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ท่านผู้นี้ในอดีตสมัยเป็นที่พระมนตรีพจนกิจ  ได้รับการไว้วางพระราชหฤทัยจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้เป็นผู้อภิบาล สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ  ระหว่างแรกเสด็จไปทรงศึกษาต่อ ณ ประเทศอังกฤษ เข้าใจว่าการที่ต้องใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อตลอดเพื่อจะ “ติวเข้ม” ให้ทรงใช้ภาษาของเขาได้รวดเร็ว  ดังนั้นจึงทำให้ทรงชินที่จะใช้ภาษาอังกฤษกับท่านเจ้าพระยาสืบมา

เมื่อทรงขึ้นครองราชย์ใหม่ๆ ธรรมเนียมปฏิบัติแต่เดิมพระราชกรณียกิจแรกของพระเจ้าแผ่นดินพระองค์ใหม่ก็คือการสร้างวัดประจำรัชกาล คงเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเห็นว่าวัดมีเกินพอแล้ว จึงจะทรงสร้างโรงเรียนแทน และโรงเรียนของพระองค์ที่จะทรงใช้พับบลิกสกูลของอังกฤษเป็นต้นแบบนั้น คงจะไม่เข้ากับหลักสูตรการศึกษาของกระทรวงธรรมการสักเท่าใด จึงทรงมีพระราชหัตถเลขาไปยังพระอาจารย์ของพระองค์ เพื่ออธิบายพระราชประสงค์นั้น


กระทู้: ลายมือเขียน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 02 มิ.ย. 10, 18:17
.


กระทู้: ลายมือเขียน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 02 มิ.ย. 10, 18:18
.


กระทู้: ลายมือเขียน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 02 มิ.ย. 10, 18:19
.


กระทู้: ลายมือเขียน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 02 มิ.ย. 10, 18:23
ส่วนภาษาไทย เป็นคำแปลพระราชหัตถเลขาโดยหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ปราชญ์ทางการศึกษาผู้บุตร อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการตำแหน่งเดิมของท่านบิดานั่นเอง หม่อมหลวงปิ่นท่านเป็นเอกะทัคคะทางพระราชประวัติและพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวหาผู้ใดเสมอเหมือนมิได้ ดังนั้นแม้จะมีด็อกเตอร์บางคนแย้งว่าบางประโยคยังแปลไม่โดนกับที่ทรงหมายความในภาษาอังกฤษ แต่ก็ไม่มีใครกล้าบังอาจไปแตะต้องคำแปลนี้ 


กระทู้: ลายมือเขียน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 02 มิ.ย. 10, 18:24
.


กระทู้: ลายมือเขียน
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 02 มิ.ย. 10, 18:53
แรกเห็นลายพระราชหัตถ์ที่ท่านอาจารย์เทาชมพูเชิญมาลงไว้ในความเห็นที่ ๓๖  ก็ว่าจะเรียนให้ทราบกันว่า ลายพระราชหัตถ์นั้นมีเฉพาะภาษาอังกฤษ  ก็พอดีคุณพี่ Navarat C. ท่านกรุณามาชี้แจงแล้ว  จึงขอขยายความแต่เพียงว่า ลายพระราชหัตถ์ภาคภาษาไทยนั้นเป็นการทำขึ้นโดยใช้ลอกลายพระราชหัตถ์ภาษาไทยเป็นรายอักษร  แล้วมาประมวลเป็นข้อความตามที่ท่าน ม.ล.ปิ่น  มาลากุลแปลไว้  เคยพบกับเจ้าของความคิดในการแปลงลายพระราชหัตถ์นี้และท้วงท่านว่า ความในพระราชบันทึกนั้นทรงมุ่งหมายถึงการจัดการศึกษาในโรงเรียนมหาดเล็กหลวง  แต่ท่านผู้นั้นซึ่งเคยมีตำแหน่งแห่งหนใหญ่โตในกระทรวงศึกษาธิการถึงชั้นได้รับพระราชทานสายสะพาย  ท่านย้อนผมมาว่า เป็นพระบรมราโชบายในการจัดการศึกษาของชาติต่างหาก  ผู้น้อยอย่างผมจึงต้องยอมแพ้  และสถาบันการศึกษาแห่งหนึ่งในภาคเหนือก็ยังคงอ้างอิงลายพระราชหัตถ์นี้ว่า เป็นพระบรมราโชบายที่พระราชทานแก้สถานศึกษานั้นมาจนถึงทุกวันนี้


กระทู้: ลายมือเขียน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 02 มิ.ย. 10, 19:00
อ้างถึง
ลายพระราชหัตถเลขาที่ท่านอาจารย์นำมาลงในคคห.36เป็นของปลอมเลียนแบบทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษครับ ไม่มีเหตุผลใดที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวท่านจะทรงพระอักษรสองภาษาประชันกันเช่นนี้
:o :o :o :o :o
ข้อความภาษาไทยได้มาจากประวัติโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย  ค่ะ

...ข้าไม่ต้องการตำราเรียนที่เดินได้ ที่ข้าอยากได้นั้น ก็คือเยาวชนที่เป็นสุภาพบุรุษ ซื่อสัตย์ สุจริต มีอุปนิสัยใจคอดี...

พระบรมราโชบายของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระผู้สถาปนาโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย...

ดิฉันเข้าใจว่าทรงไว้ทั้ง ๒ ภาษาและมีการตัดต่อมาลงเป็นภาพนี้    ถ้าผิดพลาด ก็เสียใจอย่างยิ่ง


กระทู้: ลายมือเขียน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 02 มิ.ย. 10, 19:09
กำลังนึกถึงคุณ V_Mee อยู่ทีเดียว  ตั้งแต่อ่านคำท้วงของคุณนวรัตน    เพราะเชื่อว่าคุณนวรัตนเป็นฝ่ายถูก   มีหลักฐานพอจะชี้ความผิดพลาดเรื่องนี้ได้
เลยนึกต่อไป อยากถามถึงที่มาของเรื่องลายพระราชหัตถ์ปลอม   ก็พอดีคุณ V_Mee  เปิดประตูเข้ามายังกะปาฏิหาริย์
ดิฉันจะไม่ลบค.ห.นะคะ   เพราะจะได้ใช้เป็นหลักฐานยืนยันเผื่อมีความเข้าใจผิดทำนองนี้เกิดขึ้นในเว็บไซต์อื่นๆ  จะได้มีค.ห.คุณนวรัตน และคุณ V_Mee ยืนยัน


กระทู้: ลายมือเขียน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 02 มิ.ย. 10, 20:14
ท่านอาจารย์ไม่มีเหตุจะต้องเสียใจอย่างยิ่งหรอกครับ ขอประทานโทษ วิญญูชนก็คงเข้าใจอย่างนั้นถ้าเห็นเข้าโดยไม่ทราบเรื่องจริงมาก่อน
ผู้ที่ควรจะต้องเสียใจก็คือ คนที่ปลอมแปลงพระราชหัตถเลขามาลงแพร่สู่สาธารณะเพื่อสื่อความเข้าใจที่ผิดไปจากพระราชประสงค์นั่นแหละ ที่น่าถูกตำหนิ

ผมก็เพิ่งทราบข้อเท็จจริงในแหล่งที่มาของพระราชหัตถเลขาฉบับปลอมจากคุณวี_มี และที่ท่านอาจารย์ยืนยันว่าใช่นี่เอง
เมื่อเห็นในกระทู้นี้มิได้ทราบมาก่อน จึงนึกว่าเป็นฝีมือเด็กนักเรียนวชิราวุธแปลงเอามาลงในบล็อกของตนอะไรทำนองนั้น
ถ้าเป็นเด็กก็คือเด็ก อาจรู้เท่าไม่ถึงการณ์ แต่ถ้าเป็นผู้ใหญ่มีวุฒิภาวะระดับเป็นครูบาอาจารย์ หรือระดับที่คุณวี_มีเล่าให้ฟัง ก็น่าเศร้าจริงๆ

เออ ถ้าใช้ตัวพิมพ์ธรรมดา แล้วอย่าเอาพระปรมาภิไธยมาลงแบบนั้น ก็อาจจะไม่น่ารังเกียจเท่านี้นะครับ


กระทู้: ลายมือเขียน
เริ่มกระทู้โดย: bookaholic ที่ 02 มิ.ย. 10, 21:03
ผมขอประท้วงและตำหนิการปลอมพระราชหัตถเลขา ร. 6   ไม่ว่าจะมีจุดประสงค์ตั้งใจให้ดีงามแค่ไหน ก็ไม่สมควรครับ  ถือเป็นการล่วงละเมิด  เป็นความผิดพลาดที่ไม่ควรปล่อยละเลยไว้   พอๆกับกลอนของคุณถนอม อัครเศรณีที่ยังอ้างกันผิดๆว่าเป็นพระราชนิพนธ์ร. 6   เสิชน้องกู๊กก็ยังเห็นอยู่หลายเวบ    กลอนที่ขึ้นต้นว่า เมืองใดไม่มีทหารหาญ  เมืองนั้นไม่นานเป็นข้า อ่ะครับ
ขอเชียร์คุณ Navarat C. และคุณ V_Mee ที่ยืนยันความจริงเรื่องลายพระราชหัตถ์ให้ปรากฏครับ


กระทู้: ลายมือเขียน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 03 มิ.ย. 10, 08:59
คุณบุ๊คคงจะหมายถึงกลอนบทข้างล่างนี้   
ก็เห็นยังอ้างกันในหลายเว็บว่าเป็นพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๖    ที่จริงเป็นกลอนของคุณถนอม อัครเศรณี หรือ"ศิราณี" นักตอบปัญหาหัวใจในไทยรัฐเมื่อหลายทศวรรษก่อน

http://202.143.164.123/policy/sectiondata/thaisp2/handbook/%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%203%20%E0%B8%94%E0%B8%B5.pdf


กระทู้: ลายมือเขียน
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 03 มิ.ย. 10, 10:11
เมืองใดไม่มีทหารหาญ            เมืองนั้นไม่นานเป็นข้า
เมืองใดไร้จอมพารา               เมืองนั้นไม่ช้าอับจน
เมืองใดไม่มีพาณิชเลิศ            เมืองนั้นย่อมเกิดขัดสน
เมืองใดไร้ศิลป์โสภณ             เมืองนั้นไม่พ้นเสื่อมทราม
เมืองใดไม่มีกวีแก้ว               เมืองนั้นไม่แคล้วคนหยาม
เมืองใดไม่มีนารีงาม              เมืองนั้นสิ้นความภูมิใจ
เมืองใดไม่มีดนตรีเลิศ            เมืองนั้นไม่เพริศพิสมัย
เมืองใดไร้ธรรมอำไพ             เมืองนั้นบรรลัยแน่เอย

บทประพันธ์ชิ้นนี้ ผู้แต่งที่แท้จริงคือ ถนอม อัครเศรณี ใช้นามปากกาว่า อัครรักษ์ ผู้เขียนให้ชื่อว่า "หัวใจเมือง"

ถนอม อัครเศรณี เขียนหนังสือไปยืนยันกับ อิงอร ว่า

"ต่อมาอีกไม่นาน ทางมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้จัดนิทรรศการเกี่ยวกับหนังสือและผลงานของนักเขียน ผมได้รับการติดต่อให้เขียนหนึ่งชิ้น โดยขอให้เป็นลายมือของผมเอง ผมเห็นกลอน หัวใจเมือง ยังไม่เป็นที่แพร่หลาย จึงเขียนส่งไป

ครั้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๙-๒๕๒๐ อยู่ ๆ ผมก็ตกใจเมื่อได้ยินเพลงออกอากาศทางโทรทัศน์และสถานีวิทยุทหารลั่นไปหมด ที่ตกใจเพราะคำร้องของเพลงนี้ขึ้นต้นว่า สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า พระราชนิพนธ์

อิงอรเพื่อนรัก คิดดูเอาก็แล้วกัน ถ้าเพื่อนฝูงเป็นตัวผมจะรู้สึกอย่างไร ผมมิได้นิ่งนอนใจ ติดต่อแจ้งให้อาแจ๋วทราบ และขอให้แก้ความเข้าใจของประชาชนคนฟังเสียให้ถูกต้อง อาแจ๋วก็รับจะเขียนชี้แจงใน ฟ้าเมืองไทย ให้ พร้อมกับปรารภว่า ไม่รู้เทปเพลงนี้ออกอากาศได้อย่างไร ผมก็บอกให้อาแจ๋วทำหนังสือแจ้งสถานีโทรทัศน์และวิทยุนั้น ๆ ทราบความจริงเสียแต่ต้น ซึ่งอาแจ๋วก็รับคำ

ต่อมาปีแล้วปีเล่า ผมก็ยังได้ยินเพลงนี้เป็นครั้งคราว แต่ในระยะหลังจะได้ยินเฉพาะ คำร้องที่เป็นกลอนของผม มาไม่สบายใจหนักเมื่อวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๒๖ เป็นวาระคล้ายวันสวรรคตของสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า ผมได้ยินสยามานุสสติ ยกกลอน บทดังกล่าว ระบุว่าสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า พระราชนิพนธ์ พร้อมอ่านกลอนดังกล่าวแต่ต้นจนจบ

เพื่อนฝูงคิดดูเถิด บทกลอนของผมเปรียบได้เพียงเศษธุลี เป็นละอองธุลีพระบาทของพระราชนิพนธ์ในพระองค์ท่าน เมื่อเหตุการณ์ทำให้ประชาชนเกิดความสำคัญผิดพลาดเช่นนี้ ขืนเพิกเฉยไปก็เท่ากับผมปล่อยให้ราคี เกิดขึ้นแปดเปื้อนแก่พระราชนิพนธ์ในพระองค์ท่าน ด้วยความมิบังควรเช่นนั้นละหรือ"

ข้อมูลจาก บทความเรื่อง แน่วแน่แก้ไขและยืนยันความถูกต้อง โดย  สุดสงวน
นิตยสารสกุลไทย ฉบับที่ ๒๗๒๕ ปีที่  ๕๓ ประจำวันอังคาร ที่  ๙ มกราคม  ๒๕๕๐

http://www.sakulthai.com/DSakulcolumndetailsql.asp?stcolumnid=5318&stissueid=2725&stcolcatid=2&stauthorid=17


กระทู้: ลายมือเขียน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 03 มิ.ย. 10, 10:31
ขอบคุณมากค่ะ  คุณเพ็ญ  ที่ไปหาจดหมายของคุณถนอมมายืนยัน  ว่าเจ้าตัวเองก็วิตกทุกข์ร้อนกับความเข้าใจผิดข้อนี้
ทั้งๆคุณถนอมเองก็ไม่ได้มีส่วนรู้เห็นเป็นใจกับความผิดพลาดที่เกิดขึ้น   ท่านก็พยายามแก้ไขทุกทาง  แต่จนทุกวันนี้ก็ยังเข้าใจผิดกันอยู่ 
คนรุ่นคุณถนอม ยังรู้จักกาลเทศะและการควรมิควร ดีอยู่มาก
กลับไปค้นหาเรื่องนี้อีกครั้งในกูเกิ้ล    พบด้วยความอัศจรรย์ใจหนักยิ่งขึ้นไปอีกว่าเป็นพระบรมราโชวาทที่ถูกนำมาอ้างอิงในกิจการลูกเสือไทยไปเสียแล้ว   มีลงในเว็บลูกเสือไทย  และเว็บของราชการอีกด้วย

http://gotoknow.org/blog/kppculture/276992 
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร

จงสร้างลูกเสือให้เป็นลูกเสือตามแนวทางที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  พระบิดาแห่งการลูกเสือไทย  ได้ให้พระบรมราโชวาทไว้ว่า  “ ข้าไม่ต้องการตำราเรียนที่เดินได้  ที่ข้าอยากได้นั้นคือเยาวชนที่เป็นสุภาพบุรุษ  ซื่อสัตย์สุจริต  มีอุปนิสัย ใจคอดี"
                                                             โดย..    นายวันชัย  กลิ่นหอม

                                                             รองประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอพรานกระต่าย



กระทู้: ลายมือเขียน
เริ่มกระทู้โดย: anong-s ที่ 03 มิ.ย. 10, 17:53
ดีใจจังเลย ที่บ้านเรายังมีสาวงาม ติดอันดับ นางงามจักรวาลโลก นางงามยิ้มสวย ถ้าไม่งั้นอายเขาแย่เลย
555+


กระทู้: ลายมือเขียน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 04 มิ.ย. 10, 09:57
พระราชหัตถเลขา  สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี


กระทู้: ลายมือเขียน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 04 มิ.ย. 10, 10:00
ขอถามว่านี่คือลายพระราชหัตถฯ ในรัชกาลที่ ๕ หรือเปล่าคะ  หรือว่าเฉพาะพระปรมาภิไธย


กระทู้: ลายมือเขียน
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 04 มิ.ย. 10, 16:31
ชื่อเมืองภูเก็จ หรือ ภูเก็ต ของนักเรียนอีกคน ๑ (พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว)