เรือนไทย

General Category => ศิลปะวัฒนธรรม => ข้อความที่เริ่มโดย: cinephile ที่ 16 ก.พ. 18, 15:41



กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: cinephile ที่ 16 ก.พ. 18, 15:41
ผมเป็นน้องใหม่ครับ พึ่งเข้าเรือนไทยเป็นครั้งแรกก็เลยยังไม่รู้ขนบประเพณีของเรือนไทยว่าจะต้องทำอะไรบ้าง
ณ เวลานี้ผมกำลังเขียนเรื่อง (บท). เรื่องสยามประเทศ เป็นเรื่องของสมัย รศ. ๑๑๒ หรือจะเป็นเรื่องการเสียดินแดนก็
คงจะได้. แต่เรื่องของผมเริ่มเรื่อง สมัย รศ.๑๐๔ เมื่อพระนายไวยฯ. ได้เดินทางไปรบฮ่อที่แคว้นหัวพันห้าทั้งหก โดย Base เรื่อง
จากประวัติการของจอมพล เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี, นิลาศหลวงพระบางของหลวงทวยหาญ Travel Reports of the Pavie Mission
และอื่นๆ อีกหลายเล่ม นอกจากนั้นก็เอามาจากพระราชหัตถเลขา จากจดหมายเหตุอื่นๆ และจากสมุดบันทึก ฯลฯ.
ตัวละคอนในเรื่องจะเป็นบุคลในจินตนาการล้วนๆ ไม่มีตัวตน (หวังว่าเช่นนั้น) พระเอกของเรื่องเป็นหม่อมราชวงค์ คือ ร้อยโท มรว.เต็ม อัษฎาภักดี นางเอกจะเป็นไฮโซในยุคนั้นคือคุณนงเยาว์ รัษฎากร บุตรสาวของพระยารัษฎามหาสมบัติ (พุกแซ่ตัน) ไม่ต้องไปเปิดทำเนียบดูหรอกครับเพราะเป็นพระยาในจินตนาการล้วนๆ
สิ่งที่ผมกำลังตามหาคือรูปถ่ายที่มีอยู่ในประวัติของเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี เช่นรูปของค่ายเมืองซ่อน ค่ายของพระยาว่านที่ห้วยห้อม ภาพของพระศรีสุมังฯ ฯลฯ. ไม่รู้ว่ามีใครมีบ้างหรือเปล่าครับ
Cinephile  `


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 16 ก.พ. 18, 15:54
ไม่มีรูป,แต่เข้ามาแสดงความยินดีที่ท่าน Cinephile มาเยือนเรือนไทยครับ


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 16 ก.พ. 18, 16:13
เข้ามาต้อนรับท่าน cinephile  อีกคนค่ะ
รู้สึกเป็นเกียรติที่ท่านเข้ามาเป็นสมาชิกเรือนไทยค่ะ   


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 16 ก.พ. 18, 16:17
เจอรูปนี้ในกระทู้เก่า ที่คุณ NAVARAT.C  โพสไว้ค่ะ
เป็นภาพของทหารมะรีน    มีคำอธิบายว่า

ในส่วนงานหลวงนั้น ทหารมะรีนได้ขยายกำลังขึ้นเป็นกรม โดยมีตัวกัปตันริชลิวเองเป็นผู้บังคับการกรมทหารแกตลิง มีกำลังพล ๔กองปืนกลแกตลิง ๑กองปืนใหญ่ และ ๔กองทหารราบ รับนายทหารเรือชาติเดนมาร์กเข้าประจำอยู่ในกรมนี้หลายคน เช่น ร้อยโท ราสมูเซน (LT. H.Rasmusen) ร้อยโท วาสคัม (LT. Vaskum) ร้อยโท วันสโตรม (LT. C. Wanstroem) นับว่ากรมทหารมะรีน “KROMSANG MARINE FORCE” หน่วยนี้คือรากเง่าของกรมทหารนาวิกโยธินในปัจจุบัน

แม้จะมีชื่อเสียงโดดเด่นมากและถูกเรียกไปปฏิบัติภารกิจพิเศษอยู่เนืองๆ แต่ที่ไปรบจริงๆเห็นจะมีแค่ในพ.ศ.๒๔๒๗ ที่ทางราชการมีคำสั่งให้ทหารมะรีน นายร้อยตรี ๑นาย พลทหาร ๒๔นาย พร้อมด้วยปืนกลแกตลิง ๒กระบอก ร่วมไปกับกองทัพของเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสงชูโต)ที่ขึ้นไปปราบฮ่อทางภาคเหนือเท่านั้น  งานนี้ เรือเอกหลุยส์ ดู ปรีชีส์ เดอ ริชลิว น้องชายของกัปตันริชลิวได้ร่วมเดินทางไปด้วยในเรื่องเกี่ยวกับแผนที่


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 16 ก.พ. 18, 16:18
ยินดีต้อนรับสมาชิกใหม่ผู้มีนามน่าสนใจ  

คนเดียวกับ cinephile แห่งพันทิปหรือเปล่าหนอ  ;D


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 16 ก.พ. 18, 16:25
ภาพนี้ถ่ายเมื่อ  ๒๑ กันยายน พ.ศ. ๒๔๒๘ จอมพลเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต) เมื่อครั้งยังเป็นนายพันเอก จมี่นไวยวรนาถ แม่ทัพปราบฮ่อ ถ่ายภาพร่วมกับเจ้าราชวงศ์ (คำสุก) แห่งนครหลวงพระบาง (ต่อมาขึ้นครองราชสมบัติเป็นกษัตริย์หลวงพระบาง ทรงพระนามว่า พระเจ้าสักรินทรฤทธิ์) ที่กองบัญชาการปราบฮ่อฝ่ายไทย ณ เมืองซ่อน ในเขตประเทศลาวปัจจุบัน

ธงในภาพ คือธงจุฑาธุชธิปไตย ซึ่งเป็นธงชัยเฉลิมพลที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเป็นธงชัยเฉลิมพลประจำกองทหารครั้งแรกของไทย เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๗


(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=4197.0;attach=16938;image)


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 16 ก.พ. 18, 16:32
ยินดีต้อนรับสมาชิกใหม่ผู้มีนามน่าสนใจ  

คนเดียวกับ cinephile แห่งพันทิปหรือเปล่าหนอ  ;D

คงไม่มีสองคนกระมังหนอ  ;)


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 16 ก.พ. 18, 16:41
(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=5620.0;attach=40240;image)

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=5620.0;attach=40235;image)

หนังสือนิราศเมืองหลวงพระบางและรายงานปราบเงี้ยวฉบับกรมศิลปากร ๒๕๔๘ อธิบายภาพว่า

ช้างบรรทุกปืนใหญ่ ซึ่งแม่ทัพคิดขึ้นใหม่ จะได้เดิรกระบวนเข้ากองทัพไปทางเมืองน่านถึงเมืองหลวงพระบาง (ครั้งที่ ๑)

อธิบายความตามหนังสือ แม่ทัพในที่นี้คือเจ้าหมื่นไวยวรนารถ ซึ่งเป็นแม่ทัพยกไปปราบฮ่อเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ.๒๔๒๘ ครับ ไม่ได้หมายความว่าศึกนี้เป็นศึกฮ่อครั้งที่ ๑

ถูกผิดอย่างไรผมไม่เกี่ยวนะครับ เป็นเพียงพลนำสาร


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 16 ก.พ. 18, 16:47
ท่าน cinephile อาจจะมีแล้ว แต่ขอนำมาลงอีกครั้งสำหรับผู้สนใจ
ภาพนี้คือเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีเมื่อครั้งเป็นเจ้ามื่นไวยวรนารถ   ไปปราบฮ่อ    และท่านผู้หญิงเลื่อม สุรศักดิ์มนตรี


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 16 ก.พ. 18, 17:27
ในกระทู้ ทัพสยามแพ้ฮ่อ แต่บันทึกว่าชนะ ? (http://www.reurnthai.com/index.php?topic=5545.0)  มีรูปประกอบจากคุณนวรัตนอยู่หลายรูป  ;D




กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 16 ก.พ. 18, 18:06
ขอคารวะท่าน cinephile ขอรับกระหม่อม

ความจริงรูปต่างๆในกระทู้ที่คุณเพ็ญชมพูทำระโยงไว้ให้^   ก็น่าจะหมดภูมิของผมแล้ว แต่จะทำการบ้านต่อให้ครับ  หากพบอะไรที่ยังไม่เคยนำมาลงไว้  จะนำมาเพิ่มเติมในนี้
ว่าแต่ว่า ท่านไม่สนใจ “ริชลิว-นักธุรกิจข้ามชาติในมาดนายพลเรือสยาม” บ้างหรือครับ ชีวิตของท่านยอดจะดราม่า มีทั้งบทบู๊ บนบุ๋น บทรัก บทโศก ทั้งในสยามและเด็นมาร์ก  แบบแทบว่าจะไม่ต้องแต่งแต้มสีสันอะไรเลย  

http://www.reurnthai.com/index.php?topic=5686.0



กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 16 ก.พ. 18, 19:32
นิราศหลวงพระบาง ของหลวงทวยหาญรักษา  มีให้อ่านในเน็ตด้วยค่ะ

http://vajirayana.org/node/3997


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 ก.พ. 18, 09:39
ผมเป็นน้องใหม่ครับ พึ่งเข้าเรือนไทยเป็นครั้งแรกก็เลยยังไม่รู้ขนบประเพณีของเรือนไทยว่าจะต้องทำอะไรบ้าง
ณ เวลานี้ผมกำลังเขียนเรื่อง (บท). เรื่องสยามประเทศ [u เป็นเรื่องของสมัย รศ. ๑๑๒ หรือจะเป็นเรื่องการเสียดินแดนก็คงจะได้.[/u] แต่เรื่องของผมเริ่มเรื่อง สมัย รศ.๑๐๔ เมื่อพระนายไวยฯ. ได้เดินทางไปรบฮ่อที่แคว้นหัวพันห้าทั้งหก โดย Base เรื่องจากประวัติการของจอมพล เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี, นิลาศหลวงพระบางของหลวงทวยหาญ Travel Reports of the Pavie Mission และอื่นๆ อีกหลายเล่ม นอกจากนั้นก็เอามาจากพระราชหัตถเลขา จากจดหมายเหตุอื่นๆ และจากสมุดบันทึก ฯลฯ.

ตัวละคอนในเรื่องจะเป็นบุคลในจินตนาการล้วนๆ ไม่มีตัวตน (หวังว่าเช่นนั้น) พระเอกของเรื่องเป็นหม่อมราชวงค์ คือ ร้อยโท มรว.เต็ม อัษฎาภักดี นางเอกจะเป็นไฮโซในยุคนั้นคือคุณนงเยาว์ รัษฎากร บุตรสาวของพระยารัษฎามหาสมบัติ (พุกแซ่ตัน) ไม่ต้องไปเปิดทำเนียบดูหรอกครับเพราะเป็นพระยาในจินตนาการล้วนๆ

สิ่งที่ผมกำลังตามหาคือรูปถ่ายที่มีอยู่ในประวัติของเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี เช่นรูปของค่ายเมืองซ่อน ค่ายของพระยาว่านที่ห้วยห้อม ภาพของพระศรีสุมังฯ ฯลฯ. ไม่รู้ว่ามีใครมีบ้างหรือเปล่าครับ
Cinephile  `

ถ้าเป็นตามที่ท่านเขียนไว้ ไม่ทราบว่าท่านจะเน้นเหตุการณ์ตอนไหน แต่ถ้าเป็น ร.ศ.๑๑๒ แล้ว   ผมใคร่จะขอให้ท่านได้อ่านเรื่องราวของริชลิว (พลเรือโท พระยาชลยุทธโยธิน) ผู้บัญชาการรบทางเรือที่ปากน้ำ   ตามที่ผมได้ค้นคว้าเขียนขึ้นจากข้อมูลทางอินเทอเน็ต ทั้งของไทย ฝรั่งเศสและอังกฤษชาติเป็นกลาง  กรองแล้วน่าจะใกล้เคียงกับความเป็นจริงที่เกิด  ทั้งนี้จะได้เป็นมูลฐานสำหรับท่าน  ที่จะจินตนาการเรื่องราวสำหรับสร้างเป็นภาพยนต์ต่อไป

อนึ่ง ข้อมูลในเรื่องของผมจะหักล้างกับข้อเขียนเก่าๆที่ชอบลอกกันมาลงซ้ำซากว่า  เพราะเจ้านายสมัยโน้นนิยมนอนตื่นสาย โทรเลขจากปารีสให้เรือรบฝรั่งเศสระงับที่จะล่วงล้ำเข้าสันดอนแม่น้ำเจ้าพระยา มาถึงกระทรวงต่างประเทศแล้ว แต่ไม่มีใครกล้าปลุกเจ้านาย  ต้องรอให้ทรงตื่นบรรทมเองเมื่อได้ยินเสียงปืนใหญ่จากปากน้ำ  ซึ่งตามข้อเท็จจริง แม้เรื่องนี้แม้เสนาบดีจะยังไม่ทรงทราบ แต่งานราชการก็ดำเนินไปตามกลไกที่วางไว้ตามปกติของมัน  เรื่องด่วนดังกล่าวถูกต่อไปที่นายพลริชลิวทันที และท่านก็รีบนำไปมอบให้ ม.ปาวี ที่สถานฑูตฝรั่งเศสด้วยตนเอง  แล้วตกลงกันว่าจะให้นายทหารฝรั่งเศสคนหนึ่งนำโทรเลขดังกล่าวไปกับเรือไทย  เพื่อไปรอมอบให้ผู้บัญชาการกองเรือที่นอกสันดอนในทันทีที่มาถึง   แต่ทว่า เรื่องร้ายก็เกิดขึ้นจนได้   เพราะอะไร…?

ผมได้สรุปเรื่องจากเรือนไทยไปลงไว้ในเฟซบุคของผมถึง ๑๓ ตอน แต่ที่เกี่ยวข้องกับกรณีย์พิพาทกับฝรั่งเศสมี ๔ ตอน ดังนี้ครับ

ริชลิว-นักธุรกิจข้ามชาติ ในมาดนายพลเรือสยาม (๓)
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=1340953635968331&id=1174884455908584

ริชลิว-นักธุรกิจข้ามชาติ ในมาดนายพลเรือสยาม (๔)
https://www.facebook.com/permalink.php?id=1174884455908584&story_fbid=1342089879188040

ริชลิว-นักธุรกิจข้ามชาติ ในมาดนายพลเรือสยาม (๕)
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=1343022062428155&id=1174884455908584

ริชลิว-นักธุรกิจข้ามชาติ ในมาดนายพลเรือสยาม (๖)
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=1344152405648454&id=1174884455908584




กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 ก.พ. 18, 10:38
แม้จะยังหาภาพที่ท่านต้องการเป๊ะๆไม่ได้ แต่ภาพเหล่านี้ก็คงเป็นประโยช์แน่

ชุดนี้เป็นภาพทหารฝรั่งเศสคราวที่สยามขึ้นไปปราบฮ่อ แล้วเกิดข้อขัดแย้งเรื่องชายแดนพัวพันทั้งห้าทั้งหกที่ติดกับญวน ซึ่งกลายเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศสไปแล้ว ทหารฝรั่งเศสในยุคโน้นเรียกว่า The Tonkin Expeditionary Corps (French: corps expéditionnaire du Tonkin) แต่งเครื่องแบบสีแสบทรวงอย่างนี้ครับ


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 ก.พ. 18, 10:48
เปรียบเทียบกับตอนที่ได้เขมรตะวันออกไปจากสยามอีกเกือบยี่สิบปีต่อมา


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 ก.พ. 18, 10:57
ปืนแกตลิ่ง ( Gatling Gun) ๒ กระบอกที่บรรทุกหลังช้างไปนั้น ของจริงต้องเป็นโมเดลนี้นะครับ


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 ก.พ. 18, 11:23
ภาพพระศรีสุมังเจ้าเมืองซ่อน ยังหาไม่เจอครับ เจอแต่พระปทุมเทวาภิบาล (เคน) เจ้าเมืองหนองคายร่วมสมัย


ในปี ๒๔๒๐ พวกฮ่อได้ยกกองทัพเข้าตีเมืองเวียงจันทน์ได้ แล้วสะสมเสบียงอาหารจะเข้าตีเหมืองหนองคาย  ขณะนั้นพระปทุมเทวาภิบาล (เคน) เจ้าเมืองหนองคายไม่อยู่ ได้มอบให้ ท้าวจันทร์ศรีสุราช รักษาเมืองแทน  พอได้รับข่าวศึกก็มิได้คิดสู้รบ ราษฎรพากันอพยพหนีออกจากเมือง  ทำให้พวกฮ่อยกกองทัพเข้าเมืองหนองคายได้โดยง่าย   แต่ท้าวจันทน์ศรีสุราช ได้พาครอบครัวหนีไปอยู่บ้านสามพร้าว จังหวัดอุดรธานีก่อนหน้า  และพระยาพิไสยสรเดช (หนู) เจ้าเมืองโพนพิสัยพร้อมด้วยกรมการเมืองก็พาราษฎรหนีออกจากเมืองไปเช่นเดียวกัน

เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงทราบข่าวศึกฮ่อยกกองทัพเข้ามาตีเมืองหนองคาย จึงทรงมีพระบรมราชโองการ ให้พระยามหาอำมาตย์ซึ่งได้รับมอบหมายให้ไปปราบฮ่อที่เมืองอุบลราชธานีอยู่แล้ว ยกกองทัพเข้าเมืองหนองคาย พวกฮ่อรู้ข่าวก็หนีข้ามโขงกลับไปตั้งหลักที่เวียงจันทน์  พระยามหาอำมาตย์สั่งให้จับท้าวจันทน์ศรีสุราช กับ พระยาพิไสยสรเดช มาประหารชีวิตเสียทั้งคู่

จากนั้น  จึงได้เกณฑ์กำลังจากเมืองนครพนม มุกดาหาร เขมราฐ นครราชสีมา และร้อยเอ็ด มาสมทบกันที่เมืองหนองคาย แล้วยกกองทัพข้ามแม่น้ำไปตีพวกฮ่อจนถึงเมืองเวียงจันทน์ พวกฮ่อพ่ายแพ้  พระปทุมเทวาภิบาล เจ้าเมืองหนองคายซึ่งร่วมทัพไปรบครั้งนี้ด้วยได้เลือนขึ้นเป็น พระยาวุฒาธิคุณ



กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 17 ก.พ. 18, 12:53
ภาพบรรยากาศตลาดเมืองหลวงพระบาง พุทธศักราช 2428


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 17 ก.พ. 18, 12:55
ภาพคำกุยและคำลา บุตรของเจ้าไล พร้อมกับกลุ่มธงดำ ในสงครามปราบฮ่อ


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 17 ก.พ. 18, 12:59
ภาพบรรยากาศเมืองซ่อน ในระหว่างวันเฉลิมพระชนม์พรรษาในหลวงรัชกาลที่ 5 (20 กันยายน)


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 17 ก.พ. 18, 13:00
ท้าวฉิพเพี้ย กรมการเมืองสบแอด


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 17 ก.พ. 18, 13:08
การศึกฮ่อ ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2428
ครั้นถึงวันอังคาร เดือน ๔ ขึ้น ๕ ค่ำ ปีระกา เวลา ๓ โมงเช้า เจ้าหมื่นไวยวรนาถยกกองทัพ ๒,๕๐๐ คนออกจากเมืองหลวงพระบาง เดินทางยกไป ๑๐ วัน ข้ามลำน้ำอูไปถึงที่พักเมืองงอย เห็นทางดินทัพกันดาร เจ้าหมื่นไวยวรนาถ ปรึกษากับพระยาศุโขไทย และเจ้าราชวงศ์เมืองหลวงพระบางเห็นพ้องกันว่า จะรีบยกกองทัพขึ้นไปเมืองซ่อนทั้งหมด เสบียงอาหารคงส่งไม่ทั้น จะตั้งอยู่เมืองงอยให้เสบียงอาหารพร้อมก็จะช้าไป
- แม่ทัพจึงแบ่งทหารหัวเมืองให้พระยาศุโขไทยกับนายพันตรี พระพาหนพลพยุหเสนา (กิ่ม) คุมพลอยู่เมืองงอยกองหนึ่ง เพื่อจะได้ลำเลียงเสบียงส่งไป
- แต่งตั้งให้เจ้าราชวงศ์คุมไพร่พลยกไปตั้งมั่นอยู่ตำบลสบซาง คอยรับเสบียงที่จะส่งไปเมืองเมืองซ่อนอีกกองหนึ่ง
- ฝ่ายแม่ทัพกับนายจ่ายวดและไพร่พลทหารกรุงเทพฯ จะรีบยกไปยังเมืองซ่อน
ครั้นแล้ววันอังคาร เดือน ๔ แรม ๑๑ ค่ำ เจ้าหมื่นไวยวรนาถและนายทัพนายกอง กับทหารหัวเมืองเข้าสมทบกันที่เมืองงอย แล้วจึงยกจากเมืองงอย ข้ามห้วยธารเทือกเขาไป ๑๓ วัน ถึงเมืองซ่อน วันเสาร์ เดือน ๕ ขึ้น ๗ ค่ำ ปีจอยังเป็นสัปตศก
หาข่าว
.
เมื่อกองทัพตั้งมั่นที่เมืองซ่อนแล้ว ได้ความว่าพวกฮ่อได้เข้ามาตั้งค่ายที่
๑.   ตำบลบ้านใด แขวงเมืองสบแอด
๒.   ตำบลบ้านนาป่า แขวงเมืองสบแอด
๓.   ค่ายเมืองพูน
.
เมื่อสืบทราบได้มั่นคงแล้ว แม่ทัพจึงให้นายร้อยเอกหลวงดัษกรปลาศ (อยู่) กับ เจ้าราชภาคินัย คุมทหารกรุงเทพ กับทหารหัวเมืองรวม ๓๐๐ คน ยกไปทางสายตะวันออกเฉียงเหนือไปตีค่ายฮ่อบ้านใดและบ้านนาปา
นายร้อยเอกหลวงจำนงยุทธกิจ (อิ่ม) กับ เจ้าราชวงศ์ คุมทหารกรุงเทพกับทหารหัวเมือง ๔๐๐ คน ยกไปทางสายตะวันออกเฉียงใต้ ตีค่ายฮ่อที่เมืองพูน
อนึ่งในขณะที่ตั้งทัพที่เมืองซ่อนนั้น
หัวพันเมืองพูนได้นำครอบครัวอพยบหนีฮ่อลงมา ๔๐ ครัว รวม ๔๑๘ คน
หัวพันเมืองโสย นำครอบครัวหนีมา ๑๕ ครัว รวม ๑๘๘ คน
หัวเมืองสบแอดนำมา ๔๐ ครอบครัว รวม ๔๙๕ คน
แม่ทัพต้องรับไว้ที่เมืองซ่อนทั้งสิ้น และหยิบยืมที่น่าของราษฎรเมืองให้แบ่งปันทำมาหากิน โคสำหรับกองทัพอันมิใช่สำหรับโคพาหนะ แม่ทัพก็ให้ยืมไว้สำหรับไถนา และให้เจ้าราชวงศ์จัดกระบือส่งขึ้นไปตามสมควร


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 17 ก.พ. 18, 13:11
บรรยากาศผู้คนในเมืองไล


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: cinephile ที่ 17 ก.พ. 18, 16:45
ขอบคุณคุณหญิงกับคุณ navarat.c กับคุณ Siamese มากเลยครับ รูปที่ให้ผมมาส่วนใหญ่ผมจะมีอยู่แล้ว
แต่ไม่ค่อยชัดอย่างที่ post มาครับ อันที่ผมไม่เคยเห็นคือที่คุณหญิง post มาครับ ทั้งรูปพระนายไวยฯ สมัยหนุ่มกับ
รูปท่านผู้หญิงเลื่อม (สงสัยว่าท่านผู้หญิงผู้นี้เป็นคนเดียวกับที่เป็นคดีชู้สาวกับนางเอกละครของเจ้าพระยามหินทรศักดิธำรงค์)
หรือเปล่าครับ ผมจำได้คลับคล้ายคลับคลาต้องกลับไปอ่ายจดหมายเหตุอีกครั้งครับ

ส่วนรูปขปงคุณ Navatat ชัดกว่าที่ผมมีเยอะเลยครับ ขอขอบคุณมากเลยครับ


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 ก.พ. 18, 16:49
^


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: cinephile ที่ 17 ก.พ. 18, 17:31
ผมไม่รู้วิธีส่ง file ครับ ลองส่งดูอีกครั้ง จะเป็นรูปของพญาศรีสุมังฯ เจ้าเมืองซ่อนครับ
รูปไม่ค่อยชัดนัก มีใครมีรูปที่ชัดๆ ช่วยหน่อยครับ


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: cinephile ที่ 17 ก.พ. 18, 17:43
แผนที่ที่คุณ siamese ลงผมเคยเดินทางสำรวจตลอดเส้นทางมาแล้วครับ จากหลวงพระบางไปเมืองงอย
โดยเลาะไปตามแม่น้ำอูกับแม่น้ำงา และจากเมืองงอย ลุยไปเมืองซ่อนโดยผ่านภูฟ้า (รถเกือบตกหน้าผาตาย
แบบเดียวกับที่ช้างของพระนายไวยตกหน้าผานั่นแหละครับ) จากภูฟ้าไปเมืองซ่อนที่พระนายไวยฯ ตั้งฐานทัพ
อยู่ที่นั่น ตามหาห้วยฮ้อมที่กองทัพใช้พวกไพร่ให้แต่งตัวเป็นทหารเพราะทหารจริงๆ ป่วยเป็นไข้ป่า พวกไพร่อาสา
สามารถเอาชนะพวกข่าแจะที่เป็นเจืองลูกน้องของพระยาว่านได้
มาถึงช่วงนี้ผมเกิดสงสัยว่าใครคือเจ้าก่ำที่หลวงทวยหาญฯ พ๕ดถึงครับ


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: cinephile ที่ 17 ก.พ. 18, 17:53
หลวงทวยหาญเรียกว่าเจ้ากล่ำครับ

๏ แม่ทัพฟังดังไฟมาไหม้สุม    ด้วยไข้รุมทหารรอนลงนอนทั่ว
จึ่งประชุมควาญช้างพวกต่างวัว    ช่วยจับตัวแจะเจืองที่เคืองใจ
รวมได้คนพลอาสาห้าสิบเศษ    ต่างก้มเกศนอบนบสบสมัย
จะขอฆ่าฝ่าฟันให้บรรลัย    มิทันให้พริบตาเวลาเดียว
เลือกนายทัพจับไข้ไม่เป็นส่ำ    ได้เจ้ากล่ำปากกล้าแต่ตาเหมียว
จะให้คุมโยธาคิดบิดเป็นเกลียว    ดูหน้าเซียวถอดสีไม่มีเสบย
ต้องขู่เข็ญเป็นเวลาเข้าตาทัพ    จึ่งจำรับรีบไปมิได้เฉย
แกกลัวงกตกประหม่าก็ลาเลย    ด้วยไม่เคยคิดสู้กับผู้ใด
ถึงค่ายข่าตาตื่นอกตื่นเต้น    แกเข้าเต๊นท์ยิงยัดให้ตัดษัย
จะถูกผิดกิจการสถานใด    ไม่เข้าใจยิงกลุ้มสุ่มตะรัง
เป็นสามวันหวั่นไหวมิได้ลด    ยิงจนหมดลูกดินสิ้นหลายถัง
ข่าก็สู้อยู่ในค่ายมิพ่ายพัง    แกยิ่งสั่งลูกดินส่งให้จงทัน ๚ะ
๏ แม่ทัพแจ้งแคลงใจเห็นไม่จบ    มัวแต่รบนอนเร้นในเต๊นท์มั่น
พอเล็บแจไข้จางสร่างขึ้นพลัน    ก็จัดสรรปืนใหญ่ให้ไปยิง
พอถึงค่ายรายคนเข้าค้นดัก    คอยรบกักกันไว้มิให้วิ่ง
ปืนใหญ่วางกลางเนินบนเผินพิง    พอได้ดิ่งกระตุกปับดังฉับฮุม
แตกทลายกระจายจบศพไม่นับ    บ้างหนีลับหลบไพล่ลงในหลุม
ทหารห้อมล้อมรายเข้าค่ายคุม    ไล่ตะลุมบอนล้างให้วางวาย

น่าจะเป็นน้องชายของเจ้าราชภาคิไนบุนคง ลูกของ เจ้าสุวรรณพรหมา หรือไม่ใช่ก็ไม่รู้
เพราะนิสัยของทั้งสองตรงกันข้ามเลยทีเดีนวครับ คนหนึ่งนักบู๊อักคนขี้ขลาด"ปากกล้าแต่ตาเหมียว"
(แปลว่าอะไรก็ไม่รู้ครับ)


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: cinephile ที่ 17 ก.พ. 18, 18:05
รูปห้วยฮ้อมครับ
อยากได้ที่เห็นชัดๆ เห็นแม่น้ำแอดที่อยู่ในพื้นหน้ากับภูเขาที่อยู่ใน BG ตรับ


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 17 ก.พ. 18, 19:12
อันที่ผมไม่เคยเห็นคือที่คุณหญิง post มาครับ ทั้งรูปพระนายไวยฯ สมัยหนุ่มกับรูปท่านผู้หญิงเลื่อม (สงสัยว่าท่านผู้หญิงผู้นี้เป็นคนเดียวกับที่เป็นคดีชู้สาวกับนางเอกละครของเจ้าพระยามหินทรศักดิธำรงค์)
หรือเปล่าครับ ผมจำได้คลับคล้ายคลับคลาต้องกลับไปอ่ายจดหมายเหตุอีกครั้งครับ

ขออภัย พิมพ์ชื่อท่านผู้หญิงผิดไปค่ะ  ท่านชื่อท่านผู้หญิงเลี่ยม ไม่ใช่ เลื่อม
ท่านผู้หญิงเลี่ยมเป็นธิดาคนที่ 12 ของเจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) หรือที่คนทั่วไปเรียกว่าเจ้าคุณทหารหรือเจ้าคุณกลาโหม  เกิดจากภรรยาชื่อ ท่านหลี    ท่านผู้หญิงเลี่ยมสมรสกับเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต) ซึ่งสูงวัยกว่าท่านมาก  แต่ไม่มีบุตรธิดาด้วยกัน ต่อมาได้สมรสกับหลวงพรตพิทยพยัต ผู้ก่อตั้งร.ร.พรตพิทยพยัต   ท่านทั้งสองก็ไม่มีบุตรธิดาเช่นเดียวกัน 
ชีวิตรักของเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี ท่านผู้หญิงเลี่ยมและคุณหลวงพรตฯ  เป็นเรื่องที่มีสีสันดราม่ามาก  จนไม่น่าเชื่อว่าเกิดขึ้นได้จริงๆ ในสยามสมัยรัชกาลที่ 5   
เสียดายท่าน cinephile  มีพระเอกนางเอกไว้เรียบร้อยแล้ว   ไม่งั้นดิฉันจะยุให้นำชีวิตจริงๆมาเขียน  ไม่น่าเชื่อยิ่งกว่านิยายหลายเท่า


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: cinephile ที่ 17 ก.พ. 18, 20:52
พระเอกนางเอกของผมมีหลายคนครับ พระนายไวยฯ ท่านเป็นแต่เพียงแม่ทัพที่พระเอกคนหนึ่ง
สังกัดอยู่ครับ ส่วนนางเอกก็มีหลายคนขึ้นอยู่ว่าเป็นส่วนไหนของเรื่องครับ
รศ.112 มันไม่ใช่แต่การรบที่ปากน้ำครับ ฝรั่งเศสโจมตีเราหลายแห่งครับ จาก
หัวพันห้าทั้งหกในกรณีบางเบียง หลวงพระบาง ลงไปถึงกรณีพระยอดเมืองขวางกับกรอสกุแรง แล้วกรณี
เขาบันไดแก้ว แล้วมีกรณีเชียงแตง และท้ายสุดคือกรณีปากน้ำ
แต่ละอันก็มีพระเอกนางเอกครับ
ส่วนใหญ่พระเอกนางเอกของผมไม่มีตัวตนครับ แต่งขึ้นมาเองอย่างแม่พลอยในสี่แผ่นดินครับ
ที่มีตัวตนผมก็พยายามเลี่ยงเพื่อไม่ให้เกิดปัญหา เช่นนางเอกของผมเดิมทีเป็นลูกสาวของเจ้าพระยาโชฎึกราชเศรษฐี
ก็ต้องเปลี่ยนเพราะเกรงใจลูกหลานของท่าน แต่บางท่านผมจำเป็นจะต้องใช้ตัวจริงในนิยายของผมเช่น กสร.กุหลาบ กับเทียนวรรณ
ย้งหารูปชัดๆของคุณกุหลาบไม่ได้ บางทีคุณมนันยา อาจจะมี
คุณหญิงรู้จักคุณมนันทยาไหมครับ


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 17 ก.พ. 18, 21:04
รู้จักคุณมนันยาดีค่ะ
รูปนายกุหลาบ ที่ชัดที่สุดเห็นจะมีได้แค่นี้ค่ะ
บางทีคุณเพ็ญชมพูหรือท่านอื่นๆอาจจะมีชัดกว่านี้


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: cinephile ที่ 17 ก.พ. 18, 21:10
คุณมนันยาแกเป็นหลานปู่หรือหลานทวดของคุณกุหลาบก็อาจจะมีนะครับ
รูที่คุณหญิงให้มาผมมีแล้วครับ ขอบคุณมากครับ
อัอ ได้ข่าวจากในวังว่า902 ได้เด็จลงมานั่งรถ golf ได้แล้วนะครับ


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 17 ก.พ. 18, 21:17
ภาพ ก.ศ.ร.กุหลาบ และ ก.ห.ชาย จากสยามประเภท เล่ม ๒

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=3201.0;attach=8948;image)


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 17 ก.พ. 18, 21:24
ดิฉันจะติดต่อ ถามพี่มนันยาให้ค่ะ  เธอย้ายไปอยู่ต่างจังหวัดหลายปีแล้ว  ไม่ทราบว่าขนรูปคุณทวดไปด้วยหรือเปล่า
แต่จะสอบถามให้โดยเร็วค่ะ

อัอ ได้ข่าวจากในวังว่า902 ได้เด็จลงมานั่งรถ golf ได้แล้วนะครับ
นับเป็นข่าวมหามงคล ก่อความปีติอย่างที่สุด  
กราบขอบพระคุณท่าน cinephile อย่างยิ่งค่ะ

ป.ล.ขออนุญาตใช้ศัพท์ธรรมดากับท่านนะคะ  ถ้าหากว่าใช้ศัพท์ไม่ธรรมดา  เกรงว่าสมาชิกอื่นๆจะหายตัว  ไม่กล้าเข้ามาร่วมวงกันหมดค่ะ  ข้อมูลที่จะได้มาเพิ่มเติมก็จะพลอยหายไปด้วย


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 18 ก.พ. 18, 07:45
เรื่องราวการปราบฮ่อเมื่อ ร.ศ. ๑๐๔ เคยนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ครั้งแรกในชื่อเรื่อง "ปักธงไชย" เป็นภาพยนตร์ไทยอิงประวัติศาสตร์ ระบบ ๓๕ มม.ไวด์สกรีน สีอีสต์แมน (โกดั๊กโครม) เสียงพากย์ในภาพยนตร์เป็นของบริษัทละโว้ภาพยนตร์ บทพระนิพนธ์, บทภาพยนตร์และลำดับภาพโดย พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ (ล.อัศวดารา) บันทึกเสียงโดย หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล อำนวยการสร้างและกำกับการแสดงโดย หม่อมอุบล ยุคล ณ อยุธยา นำแสดงโดย รัตนาภรณ์ อินทรกำแหง และ สมยศ อินทรกำแหง ออกฉายครั้งแรกปลายปี พ.ศ. ๒๕๐๐ ที่โรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมกรุง ในช่วงต้อนรับปีใหม่ พ.ศ. ๒๕๐๑

ภาพยนตร์ดังกล่าวใช้เหตุการณ์สงครามปราบฮ่อ สมัยรัชกาลที่ ๕ ในปี พ.ศ. ๒๔๒๘ ซึ่งมีน้อยเรื่องที่นำมาใช้เป็นฉากหลักของภาพยนตร์ เนื้อหาว่าด้วยความพยายามของร้อยตรีเต็มและทหารในบังคับบัญชาในการเดินทางจากกองบัญชาการทหารไทยที่เมืองซ่อน เพื่อส่งเสบียง กระสุนปืน และเวชภัณฑ์ ให้แก่ค่ายทหารไทยที่เมืองได ซึ่งกำลังขาดแคลนเสบียงเหล่านี้อย่างมาก โดยจะต้องปิดเป็นความลับมิให้ฝ่ายจีนฮ่อล่วงรู้ เพราะหากความแตก ค่ายทหารไทยที่เมืองไดจะถูกบุกโจมตีจนพ่ายแพ้ในที่สุด

https://th.wikipedia.org/wiki/ปักธงไชย (https://th.wikipedia.org/wiki/ปักธงไชย)

https://youtu.be/tS0x21YTImE


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: ninpaat ที่ 18 ก.พ. 18, 07:51

อัอ ได้ข่าวจากในวังว่า902 ได้เด็จลงมานั่งรถ golf ได้แล้วนะครับ

นับเป็นข่าวมหามงคล ก่อความปีติอย่างที่สุด 
กราบขอบพระคุณท่าน cinephile อย่างยิ่งค่ะ

ป.ล.ขออนุญาตใช้ศัพท์ธรรมดากับท่านนะคะ  ถ้าหากว่าใช้ศัพท์ไม่ธรรมดา  เกรงว่าสมาชิกอื่นๆจะหายตัว  ไม่กล้าเข้ามาร่วมวงกันหมดค่ะ  ข้อมูลที่จะได้มาเพิ่มเติมก็จะพลอยหายไปด้วย

ผมขอร่วมกราบขอบพระคุณท่าน cinephile เป็นอย่างสูง
ที่กรุณานำข่าวดีนี้ มาแจ้งให้สมาชิกเรือนไทยทุกท่านได้ทราบครับ

ดีใจจริงๆครับ



กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 18 ก.พ. 18, 09:12
ขอขอบพระคุณในข่าวดีของท่านด้วยคนหนึ่งครับ
พร้อมกันนี้ขอส่งการบ้าน เป็นภาพถ่ายของ ก.ส.ร.กุหลาบ ผมขอมาจากหลานทวดของท่านเมื่อคืน เธอส่งมาให้ ๒ รูป อีกรูปหนึ่งก็ที่คุณเพ็ญชมพูมาลงไว้แล้ว แต่ภาพนี้ยังไม่มีการเผยแพร่ในอินเทอเน็ทแน่นอน

นายกุหลาบ เมื่อบวชเป็นภิกษุที่วัดพระเชตุพล สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระปรมานุชิตชิโนรส อุปัชฌาย์ ทรงตั้งฉายาประทานให้ว่า เกสโร ซึ่งเป็นภาษาบาลีที่ไม่มีตัว ศ.ศาลา มีแต่ ส. เสือ อันเป็นที่มาของนามปากกา ก.ส.ร. แต่ไม่ทราบด้วยเหตุใดจึงกลายเป็น ก.ศ.ร. ไป


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 18 ก.พ. 18, 09:13
เสียดายที่คุณภาพของรูปนี้ไม่ดีเท่าไหร่ พยายามแต่งเต็มที่แล้วได้เท่านี้ครับ


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 18 ก.พ. 18, 09:32
เราก็คงต้องลุ้นกันว่าท่าน cinephile จะใส่บท ให้ ก.ส.ร.กุหลาบช่วงไหนอย่างไร  แต่ก.ส.ร.กุหลาบดังขึ้นมาก็เพราะได้พิมพ์พงศาวดารเมืองสุโขทัย เล่าจนถึงตอนเสียกรุงศรีอยุธยาว่า พระเจ้าแผ่นดินที่ครองราชย์ทรงพระนามว่า พระปิ่นเกษมีพระราชโอรสทรงพระนามว่าพระจุลปิ่นเกศ ไม่มีความสามารถที่จะรักษาบ้านเมืองไว้ได้จึงเสียเมืองแก่พม่า เป็นการกระทบเบื้องพระยุคลบาทจากการที่สยามต้องเสียดินแดนริมฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงให้ฝรั่งเศสในร.ศ. ๑๑๒  จึงโปรดเกล้าให้เอาตัวไปขังไว้ที่โรงพยาบาลบ้าเสีย ๗ วัน และปล่อยออกมา

ส่วน Timeline ในเรื่องศึกฮ่อที่กลายมาเป็นศึกฝรั่งเศสนี้ กินเวลาเกือบสิบปี หนังของท่านคงจะยาวหลายตอน

พ.ศ. ๒๔๑๘ เกิดศึกฮ่อครั้งแรกที่เมืองหนองคาย และหลวงพระบาง  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยามหาอำมาตย์ (ชื่น กัลยาณมิตร) จัดส่งกองทัพจากกรุงเทพขึ้นไปปราบ

พ.ศ. ๒๔๒๖ ฮ่อยกกำลังมารุกรานเมืองหลวงพระบางอีก  โปรดให้พระยาพิชัย (มิ่ง) พระยาสุโขทัย (ครุธ) คุมกำลังไปช่วยก่อน แล้วให้พระยาราชวรานุกูล (เอก บุญยรัตนพันธุ์) เป็นแม่ทัพยกตามไป  ทั้งสองฝ่ายยันกันอยู่สองปี ทัพสยามจึงได้ถอนกำลัง กลับมายังเมืองหนองคาย เนื่องจากขาดเสบียงอาหาร  และแม่ทัพคือพระยาราชวรากูลถูกฮ่อยิงบาดเจ็บ

พ.ศ. ๒๔๒๘  โปรดเกล้าให้กรมทหารที่ได้รับการฝึกหัดตามแบบยุโรปขึ้นไปปราบฮ่อ  โดยจัดเป็นสองสายคือกองทัพฝ่ายใต้กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคมทรงเป็นแม่ทัพ ยกขึ้นไปตั้งกองบัญชาการที่เมืองหนองคาย และกองทัพฝ่ายเหนือ นายพันเอก เจ้าหมื่นไวยวรนาถ (เจิม แสง-ชูโต) เป็นแม่ทัพยกไปตั้งค่ายในแคว้นหัวพันห้าทั้งหก  ทำให้ถูกฝรั่งเศสกล่าวหาว่าไทยรุกล้ำเข้าไปในดินแดนของลาวส่วนที่เป็นของญวน  ซึ่งฝรั่งเศสกำลังจัดการปกครองอยู่  

พ.ศ.๒๔๓๐ ไทยกับฝรั่งเศสได้เจรจาเรื่องปัญหาเขตแดนระหว่างกัน  โดยตั้งกรรมการผสม โดยมี ม.ปาวี ไวซ์กงสุล ประจำเมืองหลวงพระบาง เป็นหัวหน้าคณะ ฝ่ายไทยมีนายแมคคาธีย์ วิศวกรชาวอังกฤษที่รัฐบาลจ้างมา ออกทำการสำรวจภูมิประเทศชายแดน และทำแผนที่

พ.ศ.๒๔๓๑ ม.ปาวีเข้าพบแม่ทัพไทย ขอให้ถอยออกไปให้พ้นเขตสิบสองจุไท และหัวพันทั้งห้าทั้งหก  ซึ่งเป็นเมืองขึ้นของญวน แต่เจ้าหมื่นไวยวรนาถปฏิเสธ  โดยได้ยืนยันสิทธิและอำนาจของสยาม เหนือดินแดนดังกล่าว และแจ้งว่าพร้อมที่จะรบหากฝรั่งเศสใช้กำลัง  แต่จะไม่ยอมถอนทหาร จนกว่าจะได้รับคำสั่งจากรัฐบาลที่กรุงเทพ
ในที่สุด นายพันตรี เปนเนอแกง ผู้บังคับการทหารฝรั่งเศสในแคว้นสิบสองปันนา  ได้ทำสัญญากับพระยาสุรศักดิ์มนตรี เมื่อวันที่ ๒๓ ธันวาคม สรุปความได้ว่าในระหว่างที่รัฐบาลทั้งสองฝ่ายยังไม่ได้ข้อตกลงกัน  ทหารฝรั่งเศสจะตั้งอยู่ในสิบสองจุไท ทหารสยามจะตั้งอยู่ในหัวพันทั้งห้าทั้งหก และเมืองพวน ต่างฝ่ายต่างจะไม่ล่วงเข้าไปในเขตซึ่งกันและกัน ส่วนที่เมืองแถงนั้นทหารสยามและทหารฝรั่งเศส จะตั้งรักษาอยู่ด้วยกันจนกว่ารัฐบาลทั้งสองฝ่ายจะตกลงกัน รวมทั้งจะช่วยกันปราบฮ่อที่เป็นโจรผู้ร้ายอยู่ตามแนวชายแดนให้สงบ
๒๓ มกราคม พ.ศ.๒๔๓๑ เจ้าหมื่นไวยวรนาถถอนทัพกลับกรุงเทพ

พ.ศ.๒๔๓๒ ม.ปาวี ได้รับแต่งตั้งให้เป็นไวซ์กงสุลฝรั่งเศสประจำกรุงเทพ ฯ เพื่อติดตามเรียกร้องดินแดนที่ว่า

พ.ศ.๒๔๓๔  โปรดเกล้าให้รวมหัวเมืองฝ่ายเหนือ รวมทั้งลาว และจัดแบ่งออกเป็นภาค ๆ โดยมีข้าหลวงไปประจำรักษาเป็นภาคๆ  วันที่๓๐ พฤศจิกายน ม. มาสซี เจ้าหน้าที่สถานกงสุลฝรั่งเศสเมืองหลวงพระบางฆ่าตัวตาย ฝรั่งเศสกล่าวหาว่าถูกคนไทยบีบคั้น

พ.ศ.๒๔๓๕ วันที่ ๔ กุมภาพันธ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฝรั่งเศสชื่อ ม.เดอลองดล์ ได้เสนอญัตติต่อรัฐสภา ให้รัฐบาลฝรั่งเศสใช้กำลังกับไทยในปัญหาดินแดน ซึ่งเคยเป็นของญวนและเขมร  โดยให้เอามรณกรรมของ ม.มาสซี มาใช้เป็นข้ออ้าง รัฐสภาฝรั่งเศสผ่านความเห็นชอบ และให้รัฐบาลรับดำเนินการต่อไป

วันที่ ๒ มีนาคม หนังสือพิมพ์ เดลินิวส์ของอังกฤษ ได้เสนอข่าวว่า กรณีพิพาทเรื่องเขตแดนฝั่งซ้ายของลำน้ำโขง ระหว่างไทยกับฝรั่งเศสนั้น รัฐบาลฝรั่งเศสไม่ยอมให้มหาประเทศที่เป็นกลางตัดสิน และทางฝรั่งเศสได้มีคำสั่งไปยังราชฑูตฝรั่งเศสประจำกรุงเทพให้แจ้งต่อรัฐบาลไทยให้ทราบว่า ไม่ยอมให้ผู้ใดล่วงล้ำเขามาย่ำยีเขตแดนฝั่งซ้ายลำน้ำโขงอีกต่อไป  ถือว่าดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงเป็นของฝรั่งเศสแล้ว และได้สั่งให้ราชฑูตจัดการให้สำเร็จจนได้
เพื่อให้มีอำนาจสมบูรณ์ขึ้น ม.ปาวี ได้เลื่อนฐานะเป็นราชฑูตฝรั่งเศสประจำกรุงเทพ ฯ เมื่อเดือนมิถุนายน  จากนั้นฝรั่งเศสได้ยกกำลังทหารเข้ามาประชิดฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง

พ.ศ. ๒๔๓๖ วันที่ ๒๖ พฤษภาคม เกิดเหตุการณ์พระยอดเมืองขวาง  ต่อมาในวันที่ ๑๓ กรกฎาคม  ฝรั่งเศสส่งเรือลูแตงเข้ามากรุงเทพ เริ่มต้นการนำไปสู่การรบที่ปากน้ำอันเป็นที่สุดของกรณีย์พิพาท ร.ศ. ๑๑๒


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 18 ก.พ. 18, 09:44
พอไหวไหมครับ


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 18 ก.พ. 18, 10:03
พี่มนันยามีรูปเดียวกันกับที่คุณ NAVARAT.C หามาให้ค่ะ


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 18 ก.พ. 18, 10:08
ก.ส.ร.กุหลาบดังขึ้นมาก็เพราะได้พิมพ์พงศาวดารเมืองสุโขทัย เล่าจนถึงตอนเสียกรุงศรีอยุธยาว่า พระเจ้าแผ่นดินที่ครองราชย์ทรงพระนามว่า พระปิ่นเกษมีพระราชโอรสทรงพระนามว่าพระจุลปิ่นเกศ ไม่มีความสามารถที่จะรักษาบ้านเมืองไว้ได้จึงเสียเมืองแก่พม่า เป็นการกระทบเบื้องพระยุคลบาทจากการที่สยามต้องเสียดินแดนริมฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงให้ฝรั่งเศสในร.ศ. ๑๑๒  จึงโปรดเกล้าให้เอาตัวไปขังไว้ที่โรงพยาบาลบ้าเสีย ๗ วัน และปล่อยออกมา

เรื่องนี้คุณหลวงเล็กเคยทำให้ข้อมูลกระจ่างขึ้นครั้งหนึ่งแล้ว

สวนดุสิต

มีพระบรมราชโองการดำรัสเหนือเกล้าฯ สั่งว่า  ....จนในที่สุดนี้บังอาจแต่งความโกหกลงในหนังสือสยามประเภทว่า   มีบาญชีพระนามเจ้าแผ่นดินครั้งกรุงศุโขทัยทุกพระองค์   ไม่มีเหตุอันใดซึ่งเกี่ยวข้องแก่เรื่องที่ตั้งขึ้น   จะกล่าวแลไม่มีผู้ใดไต่ถามบังอาจกล่าวคำโกหกว่าพระเจ้าแผ่นดินที่สุดวงษ์สุโขทัยทรงพระนามว่าพระจุลปิ่นเกษ   เหตุด้วยแต่ก่อนได้โกหกไว้ว่า   เจ้าแผ่นดินสุโขทัยองค์หนึ่งชื่อพระปิ่นเกษ   ที่ให้มีจุลปิ่นเกษขึ้นนั้นด้วยหวังจะเทียบพระจอมเกล้าแลพระจุลจอมเกล้า   หมายความเปนเทียบว่าเหมือนเปนที่สุดวงษ์ด้วยกัน ....

แต่ทรงพระราชดำริห์ว่า   นายกุหลาบก็เปนคนมีอายุมากนับว่าชราอยู่แล้ว   แลความฟุ้งส้านเดิมของอัทยาศรัยนายกุหลาบใกล้ไปข้างทางเสียจริตนั้น   ก็ย่อมปรากฏอยู่แล้ว   การที่แต่งถ้อยคำฟุ้งส้านหนักขึ้นครั้งนี้จะเปนด้วยความเสียจริตนั้นกล้าขึ้นก็ได้   จึงดำรัสสั่งให้พระยาอินทราธิบดีสีหราชรองเมืองจับตัวนายกุหลาบไปส่งโรงพยาบาลคนเสียจริตไปคุมขังไว้กว่าจะสิ้นพยศเปนปรกติ

มีพระบรมราชโองการดำรัสสั่งแต่วันที่  ๘  กันยายน  รัตนโกสินทร ศก ๑๒๕

สยามินทร


พระราชหัตถเลขาฉบับต่อมา  ซึ่งเกี่ยวเนื่องกัน

ที่ ๒๘/๑๐๐๕
พระที่นั่งไอสวรรค์ทิพยอาศน์  เกาะบางปอิน
วันที่ ๑๓ ตุลาคม รัตนโกสินทร ศก ๑๒๕

ถึง  กรมหลวงนเรศรวรฤทธิ์

ด้วยได้รับหนังสือมีมาที่กรมขุนสมมตอมรพันธ์  ที่  ๑๗๐/๙๗๐๕  ลงวันที่  ๑๐  ตุลาคม  ส่งเรื่องราวนายกุหลาบขอความกรุณาพ้นจากการคุมขังที่โรงพยาบาลเสียจริตมานั้น   ได้ตรวจดูแล้ว
เห็นว่าเรื่องราวไม่ฟุ้งส้าน   ค่อยสงบระงับลงแล้ว   ยอมเชื่อทานบล  ให้ปล่อยตัวไป  เมื่อไปฟุ้งส้านอีก  ก็จะต้องรักษากันอีก

สยามินทร

จากพระราชหัตถเลขา ๒ ฉบับข้างต้น  เท่ายืนยันได้ว่า  นายกุหลาบถูกคุมขังที่โรงพยาบาลเสียจริต จากกรณีที่เขียนเรื่องพระปิ่นเกษและพระจุลปิ่นเกษ เมื่อ ร.ศ. ๑๒๕  เป็นเวลานาน ๑ เดือนเศษ  (๓๓ วัน)  ไม่ใช่ ๗ วันตามที่เคยว่าตามกันมา

จากข้อมูลของคุณหลวงเล็กที่กรุณาค้นหามาแสดง ทำให้เราทราบว่าพระนิพนธ์สมเด็จเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพตอนนี้มีความคลาดเคลื่อนอยู่ ๒ ประการคือ

๑. ในสยามประเภท พระจุลปิ่นเกษไม่ใช่พระราชโอรสของพระปิ่นเกษ แต่เป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายของสุโขทัย

๒. ก.ศ.ร.กุหลาบ ถูกคุมขังที่โรงพยาบาลเสียจริตเป็นเวลา ๓๓ วัน ไม่ใช่ ๗ วัน

เรื่องผิดพลาดในการเขียนประวัติศาสตร์เกิดขึ้นได้เสมอ ทั้งโดยตั้งใจและไม่ตั้งใจ


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 18 ก.พ. 18, 10:24
อ้างถึง
จากพระราชหัตถเลขา ๒ ฉบับข้างต้น  เท่ายืนยันได้ว่า  นายกุหลาบถูกคุมขังที่โรงพยาบาลเสียจริต จากกรณีที่เขียนเรื่องพระปิ่นเกษและพระจุลปิ่นเกษ เมื่อ ร.ศ. ๑๒๕  เป็นเวลานาน ๑ เดือนเศษ  (๓๓ วัน)  ไม่ใช่ ๗ วันตามที่เคยว่าตามกันมา

ถ้าเช่นนั้นก็คงไม่น่าจะนับเนื่องกับเหตุการณ์ใน ร.ศ. ๑๑๒


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 18 ก.พ. 18, 11:41
สิ่งที่ผมกำลังตามหาคือรูปถ่ายที่มีอยู่ในประวัติของเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี เช่นรูปของค่ายเมืองซ่อน ค่ายของพระยาว่านที่ห้วยห้อม ภาพของพระศรีสุมังฯ ฯลฯ. ไม่รู้ว่ามีใครมีบ้างหรือเปล่าครับ
Cinephile  `

ภาพค่ายของฝ่ายไทย ท่านก็มีแล้ว ผมขอส่งภาพค่ายพวกฮ่อก็แล้วกัน ภาพขวานั้นมาจากฝรั่งเศส แต่ภาพซ้าย แม้จะเป็นเหตุการณ์ในพม่าที่อังกฤษขนกำลังรบจากอินเดียไปตามปราบพวกทหารแตกทัพพม่า(Dacoit) ที่รวมกำลังกันทำสงครามกองโจรกับอังกฤษหลังมัณฑเลย์แตก แต่ก็ถือว่าร่วมสมัยในอุษาคเนย์


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 18 ก.พ. 18, 14:22
ค่ายทหารไทยที่พระตะบองก็ดูจะไม่แตกต่างเท่าไหร่


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 18 ก.พ. 18, 14:41
แถมปืนใหญ่ภูเขาแบบ steel/bronze ขณะบรรทุกบนหลังช้าง (วิธีเอาขึ้นเอาลงคงจะลำบากน่าดู)
นอกจากทหารมะรีน ทหารราบและทหารปืนใหญ่อันเป็นกำลังหลักในการรบกับฮ่อ และการปะทะกับทหารฝรั่งเศสบริเวณริมฝั่งแม่น้ำโขงในปีต่อๆมา


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 18 ก.พ. 18, 15:01
สำหรับอาวุธบนหลังช้างของทหารมะรีนที่ขนไปปราบฮ่อกระบอกนี้ พิจารณาสัดส่วนที่ยาวเทียบกับขนาดลำกล้องแล้ว  น่าจะเป็นพวกปืนหามแล่นหรือปืนขานกกระยาง อาวุธค่อนข้างจะโบราณเทียบกับปืนกลแกตลิ่ง ของจริงน่าจะมีเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์ทหารสรรพาวุธ  ถนนนครไชยศรี


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: cinephile ที่ 18 ก.พ. 18, 23:45
คุณ NAVARAT.C รูปที่มีค่ายแล้วมีช้างสองเชือกบรรทุกปืนใหญ่ ผมคิดว่าฝรั่งพลาดไปแล้ว
ที่ระบุว่าเป็นค่ายที่พะตะบอง แต่ผมคิดว่าน่าจะเป็นที่หน้าค่ายเมืองซ่อนมากกว่า
ข้อที่ ๑ พระนายไวยไม่เคยยกทัพไปเขมร ดังนั้นจึงเป็นไปไม่ได้ว่าจะมีช้างที่บรรทุก
ปืนใหญ่
ข้อที่ ๒ ปืนใหญ่บนหลังช้างเป็นปืนภูเขาอาร์มสตรองที่พระนายไวยซื้อจากห้างแรมเซย์
แล้วเอาขึ้นหลังช้างมาจากเมืองงอย (ปืนเฮาาิสเซอร์รางเลื่อนกับปืนแกตริงกันพระนายไวยฯ
ไม่ได้เอาติดกองทัพมาด้วย ปืนเฮาวิสเซอร์รางเลื่อนพระนายไวย์ทิ้งเอาไว้ที่เมืองงอย ส่วนแกตริงกัน
พระนายไวยฯ ทิ้งเอาไว้ที่หลวงพระบางครับ)
ข้อที่ ๓ ปืนอาร์มสตรองสองกระบอกนี้ปรากฎอยู่หน้าทำเนียบในค่ายเมืองซ่อนในรูปหมู่ที่ถ่ายวันเฉลิมพระชนม์พรรษา
ครับ
ค่ายเมืองซ่อนนี้ตั้งอยู่บนเนิน ระดับเดียวกับวัดสีบุนเฮืองที่อยู่บนยอดเนินใกล้ๆ กันครับ


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 19 ก.พ. 18, 05:29
นับถือครับ นับถืออย่างยิ่ง


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 19 ก.พ. 18, 07:01
แถมปืนใหญ่ภูเขาแบบ steel/bronze ขณะบรรทุกบนหลังช้าง (วิธีเอาขึ้นเอาลงคงจะลำบากน่าดู)

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=6878.0;attach=67023;image)

Zoom out  ;D


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 19 ก.พ. 18, 07:45
คุณ NAVARAT.C รูปที่มีค่ายแล้วมีช้างสองเชือกบรรทุกปืนใหญ่ ผมคิดว่าฝรั่งพลาดไปแล้ว
ที่ระบุว่าเป็นค่ายที่พะตะบอง แต่ผมคิดว่าน่าจะเป็นที่หน้าค่ายเมืองซ่อนมากกว่า
ข้อที่ ๑ พระนายไวยไม่เคยยกทัพไปเขมร ดังนั้นจึงเป็นไปไม่ได้ว่าจะมีช้างที่บรรทุก
ปืนใหญ่
ข้อที่ ๒ ปืนใหญ่บนหลังช้างเป็นปืนภูเขาอาร์มสตรองที่พระนายไวยซื้อจากห้างแรมเซย์
แล้วเอาขึ้นหลังช้างมาจากเมืองงอย (ปืนเฮาาิสเซอร์รางเลื่อนกับปืนแกตริงกันพระนายไวยฯ
ไม่ได้เอาติดกองทัพมาด้วย ปืนเฮาวิสเซอร์รางเลื่อนพระนายไวย์ทิ้งเอาไว้ที่เมืองงอย ส่วนแกตริงกัน
พระนายไวยฯ ทิ้งเอาไว้ที่หลวงพระบางครับ)
ข้อที่ ๓ ปืนอาร์มสตรองสองกระบอกนี้ปรากฎอยู่หน้าทำเนียบในค่ายเมืองซ่อนในรูปหมู่ที่ถ่ายวันเฉลิมพระชนม์พรรษา
ครับ
ค่ายเมืองซ่อนนี้ตั้งอยู่บนเนิน ระดับเดียวกับวัดสีบุนเฮืองที่อยู่บนยอดเนินใกล้ๆ กันครับ


กราบขอประทานอภัยครับ ขออนุญาตถามต่อ  หากปืนใหญ่ภูเขาอาร์มสตรองบนหลังช้างเป็นปืนที่พระนายไวยซื้อจากห้างแรมเซย์ แล้วเอาขึ้นหลังช้างมาจากเมืองงอย  ซึ่งปืนอาร์มสตรองสองกระบอกนี้ปรากฎอยู่หน้าทำเนียบในค่ายเมืองซ่อนนั้น
 
หากพิจารณาจากภาพนี้  น่าจะเป็นขานำออกจากค่ายหนึ่งเพื่อจะไปยังอีกค่ายหนึ่ง  ค่ายที่นำออกจึงน่าจะเป็นค่ายเมืองงอยไม่ใช่หรือครับ  ด้วยความเคารพ ภาพที่เห็นจึงควรเป็นค่ายเมืองงอย ทำไมท่านจึงคิดว่าเป็นค่ายเมืองซ่อน  เป็นเหตุผลที่ได้จากการไปเห็นภูมิประเทศจริงมาแล้วหรืออย่างไรครับ


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: cinephile ที่ 19 ก.พ. 18, 08:11
ผมไปนอนที่เมืองงอยอยู่หลายวันครับ แล้วมีภาพค่ายเมืองงอยเกือบทุกมุม ทั้งมุมสูง มุมที่ถ่ายจากแม่น้ำอู
จึงบืนยันได้ว่าภาพค่ายที่เห็นไม่ใช่ภาพค่ายที่เมืองงอยครับ


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: cinephile ที่ 19 ก.พ. 18, 08:21
อีกมุมของค่ายเมืองงอยครับ
จะเป็นทำเนียบของค่ายครับ ในพื้นหลังจะเป็นหอสังเกตุการณ์ครับ บนเนิน
ด้านหลังค่ายจะเป็นวัดที่ทหารไทยไปสร้างเจดีย์ (แต่ถูกฝรั่งเศสรื้อทำลาย)
จะเห็นว่าไม่มีอะไรเหมือนกับรูปในหนังสือพิมพ์ของฝรั่งเศสเลยครับ


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 19 ก.พ. 18, 08:35
ขอบพระคุณในคำเฉลยครับ
ท่านรู้จริงถึงขนาดนี้ จะทรงสิทธิ์ใน Dramatic license อย่างไรคงไม่มีใครกล้าก้าวล่วง


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: cinephile ที่ 19 ก.พ. 18, 08:36
ที่ตุณ NAVARAT ว่าก็น่าจะมีเค้าเหมือนกันนะครับ ช้างที่บรรทุกปืนใหญ่
น่าจะเป็นพลายน่าน ช้างของพระนายไวยที่ได้มาจากเมืองน่าน ผู้ที่อยู่บนหลัง
พลายน่านน่าจะเป็นเลบแจ(เลบเตอร์แนนต์ แจ) นายทหารปืนใหญ่จำเป็น
(คนอื่น ๆ ป่วยเป็นใข้ป่ากันยกค่าย พระนายไวยถึงต้องใช้พวกไพร่ให้แต่ง
เครื่องแบบทหารไปรบกับพวกอ้ายข่าแจะที่เป็นเจือง ลูกน้องของพญาว่าน)
ความเป็นไปได้สูงครับ


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: cinephile ที่ 19 ก.พ. 18, 08:47
รูปที่คุณเพ็ญชมพู post น่าจะเป็นตอนที่พระนายไวยยกกองทัพออกจาก
หลวงพระบางครับ ยอดปราสาทที่เห็นอยู่ข้างหลังน่าจะเป็นยอดปราสาท
วังของเจ้าอุ่นคำ (วังเดิมก่อนที่จะถูกเผาโดยพวกเมืองไล) ทหารที่เดินนำ
ถือกระบี่อาจจะเป็นร้อยเอกหลวงดัษกรปลาศ ส่วนคนที่อยู่บนหลังช้างอาจ
จะเป็นเลบแจ จะเห็นว่าจะมีแต่นายทหารเท่านั้นที่ใส่เฮลเมท ส่วนพลทหารจะใส่หมวก
ทรงหม้อตาล (หรือทรงอะไรก็ไม่รู้ ใครรู้ช่วยเฉลยหน่อยครับ) แต่ฝรั่งพลาดที่ให้พล
ทหารใส่รองเท้า สมัยนั้นเราจะเป็นทหารตีนเปล่าครับ (ตีนเปล่าสามารถลุยขี้ตมปีนป่ายเขา
ได้ง่ายกว่า)


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 19 ก.พ. 18, 08:51
ท่านไปได้ลึกมากแล้ว คนที่นี่ยังแค่เริ่มต้นคลาน


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: Naris ที่ 19 ก.พ. 18, 09:29
กราบสวัสดีครับ
 


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 19 ก.พ. 18, 09:49
แต่ฝรั่งพลาดที่ให้พลทหารใส่รองเท้า สมัยนั้นเราจะเป็นทหารตีนเปล่าครับ (ตีนเปล่าสามารถลุยขี้ตมปีนป่ายเขาได้ง่ายกว่า)

น่าจะพลาดตรงผ้าโพกหัวของควาญช้างด้วย ในรูปถ่ายศีรษะควาญเปลือยเปล่า โชว์ผมทรงมหาดไทยชัดเจน

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=6878.0;attach=67030;image) (http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=5620.0;attach=40235;image)


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: cinephile ที่ 19 ก.พ. 18, 10:01
ลองเทียบภาพนี้กับคคห 48 ดูสิครับ รูปนี้เป็นรูปที่ถ่ายที่เมืองซ่อน  (น่าจะเป็นภาพที่ถ่าย
โดยทหารไทย) จะเห็นว่าศาลา (กระท่อม?) เป็นศาลาเดียวกันกับ คคห. 48 ครับ
สังเกตุเปรียบเทียบกันให้ดีจะเห็นว่าถ่ายที่เดียวกันครับ


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 19 ก.พ. 18, 10:08
 ;D

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=6878.0;attach=67029;image) (http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=6878.0;attach=67035;image)


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: cinephile ที่ 19 ก.พ. 18, 11:52
เห็นหนังในคคห.35 แล้วนึกถึงสมัยที่ผมช่วยพ่อทำหนังเรื่องนั้น พ่อของผม
ก็พยายาม research คงจะไม่ต่างจากที่ผมทำตอนนี้ แต่ก็ใช้ dramatic License
มากพอสมควร เช่นในตอนต้นจะเห็นทหารส่งโทรเลข ซึ่งในปีนั้นโทรเลขยัง
ไปไม่ถึงเมืองซ่อน ขาดเดินทางจากเมืองงอยไปเมืองซ่อนยังยากเย็นแสนเข็ญ
จนแทบจะล้มประดาตาย เป็นต้นว่าช้างลื่นตกเขา (สูงราวๆ 400 เมตร) ขนาดทุกวันนี้
รถ off road ที่ผมนั่งมาด้วยก็ลื่นขี้ตมแทบตกหน้าผา ดีไปพะหับต้นไผ่ที่ขึ้นข้างทาง
ม่ายงั้นรถก็ตกหน้าผาสูง 400 เมตรไปแล้ว
อย่างไรก็ตามพ่อก็พยายามทำให้ตรงกับข้อเท็จจริงมากที่สุด เช่นทำเนียบที่ค่ายเมืองซ่อน
เหมือนของจริงมาก และเรื่องการเอายาฝ่าดงฮ่อไปค่ายบ้านไดก็เป็นเรื่องจริง แต่ทหารที่เอา
ยากับลูกปัสตันเป็นทหารในจินตนาการของพ่อครับ ซึ่งถ่ายทอดมาถึงผม ตัวพระเอกของพ่อ
คือร้อยตรีเต็ม ของผมก็ร้อยตรีเต็มเหมือนกัน แต่เป็นหม่อมราชวงศ์ครับ ส่วนตัวนางเอกของผม
อยู่กรุงเทพฯ ครับ
ผมเดินทางไปที่เมืองไดสองหนแต่ตัวค่ายไม่มีเหลือแล้ว มีแต่พูนดินที่ใช้เป็นบังเกอร์ ครับ
พ่อของผมเอาข้อมูลมาจากหนังสือ "ประวัติการของจอมพลเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี ภาค ๑ ตอน ปราบฮ่อ"
หนังสือต้นฉบับจะมีรูปประกอบสวยๆ (ที่ผมมีผ่านการ copy มาหลายครั้งหลายหนจนไม่มี detail เหลือ)
ฉบับที่พ่อใช้ผมก็เสือกไปให้แผนกศิลปของคุณพรพจน์ยืมแล้วก็โดนอมไปเนียนๆ ผมพยายามค้นหาจากหอจดหมายเหตุ
กับห้องสมุดที่ท่าวาสุกรีก็ไม่มี เลยคิดขึ้นมาได้ว่าเรือนไทยมีนักเลงเล่นหนังสือโบราณอยู่หลายคน ผมเลยปรึกษากับคุณหญิง
เทาชมพู ท่านก็เมตตาสมัครให้ผมเป็นสมาชิกเรือนไทยครับ หวังว่าคงจะช่วยผมได้บ้าง
ปล. ผมทำresearch เรื่องนี้มา ห้าปีแล้วครับ คิดว่าอีก ห้าปีคงจะสำเร็จ แต่บังเอิญได้ยินว่าน้อยกำลังคิดจะทำเรื่องรศ.๑๑๒ ต่อ
จากศรีอโยธยา ก็เลยต้องเร่ง reseach ให้เร็วขึ้นเพราะน้อยคงใช้ Dramatic License เขียนบทเป็นแน่
 


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 19 ก.พ. 18, 12:22
แต่บังเอิญได้ยินว่าน้อยกำลังคิดจะทำเรื่องรศ.๑๑๒ ต่อจากศรีอโยธยา


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: cinephile ที่ 19 ก.พ. 18, 12:31
บริเวณที่ตั้งค่ายเมืองซ่อนครับ


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 19 ก.พ. 18, 13:03
เมืองซ่อนนี่ ปัจจุบันชื่ออะไรครับ

อ้างถึง
"ประวัติการของจอมพลเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี ภาค ๑ ตอน ปราบฮ่อ"
หนังสือต้นฉบับจะมีรูปประกอบสวยๆ (ที่ผมมีผ่านการ copy มาหลายครั้งหลายหนจนไม่มี detail เหลือ)

ผมไม่มีหนังสือเล่มที่ท่านแสวงหา แต่มีเล่มนี้ ภาพภายในอาจจะซ้ำกันบ้าง ผมจะเอาภาพที่เกี่ยวข้องมาลงให้ ถ้าท่านมีแล้วก็ถือว่าเอาคำบรรยายภาพมาให้อ่านนะครับ


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 19 ก.พ. 18, 13:04
ภาพนี้ยอดนิยม ท่านคงมีแล้ว


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 19 ก.พ. 18, 13:04
แต่บังเอิญได้ยินว่าน้อยกำลังคิดจะทำเรื่องรศ.๑๑๒ ต่อ



กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 19 ก.พ. 18, 13:07
ต้องรีบช่วยค่ายนี้กันหน่อย เพื่ออนาคตประวัติศาสตร์จะได้ไม่หลอน
v
ภาพนี้ท่านเอ่ยมาทีหนึ่งเรื่องปืนใหญ่ เอามาเผื่อผู้มาเยี่ยมจะไดไม่ต้องไปค้นหา


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 19 ก.พ. 18, 13:08
ไม่แน่ใจว่าเป็นปืนรุ่นเดียวกันหรือเปล่า


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 19 ก.พ. 18, 13:09
ท่านผู้นี้มีบทในเรื่องของท่านหรือเปล่ามิทราบได้


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 19 ก.พ. 18, 13:10
อีกท่านหนึ่งครับ


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 19 ก.พ. 18, 13:11
ส่วนเณรพวกนี้คงมีบทแน่


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 19 ก.พ. 18, 13:12
บ้านพักทหาร คงจะประมาณนี้

หมดเท่านี้ครับ


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 19 ก.พ. 18, 13:51
ภาพเมืองซ่อนในปัจจุบัน สวยๆ


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 19 ก.พ. 18, 13:52
ภาพทุ่งนาเมืองซ่อน (ภาพจากกูเกิ้ล)


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 19 ก.พ. 18, 13:53
อ้าวเจอตัวจริงในหนังสือเล่มเดียวกัน
แต่มันไปไม่ถึงเมืองซ่อน เสียดาย ไปแค่หลวงพระบางเท่านั้น


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 19 ก.พ. 18, 13:54
เมืองซ่อน ปัจจุบันคือเมืองอะไร ?


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 19 ก.พ. 18, 14:46
เมืองซ่อน ปัจจุบันคือเมืองอะไร ?


ปัจจุบันก็คือ เมืองซ่อน เช่นเดิมครับ


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 19 ก.พ. 18, 15:21
แผนที่เมืองซ่อน


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 19 ก.พ. 18, 15:24
เมืองซ่อน (ເມືອງຊ່ອນ) เป็นเมืองหนึ่งใน แขวงหัวพัน (ແຂວງ ຫົວພັນ) หรือในอดีตคือ หัวพันห้าทั้งหก

ภาพจาก เรื่องจีนฮ่อ และสงครามปราบฮ่อ (http://www.reurnthai.com/index.php?topic=4228.msg78992#msg78992) โดย คุณหนุ่มสยาม

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=4228.0;attach=17045;image)


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 19 ก.พ. 18, 16:01
ขอบคุณทุกท่านครับ


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 19 ก.พ. 18, 16:15
ผ่านมา 128 ปี


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 19 ก.พ. 18, 16:18
แปลกว่า ในกูเกิลต้องซูมเข้าไปมากจึงจะเจอเมืองเล็กๆนี้ และดูไม่น่าจะเป็นจุดยุทธศาสตร์อะไรเลย ทำไมทัพสยามจึงไปตั้งค่ายที่นั่น


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: cinephile ที่ 19 ก.พ. 18, 16:58
ตวามสำคัญชองเมืองซ่อนคือเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญเป็นทางสามแพร่ง ทิศตะวันออก
เฉียงเหนือ เดินไปถึงเมืองสบแอดใช้เวลาเดินไม่เกินแปดวัน ทางทิศตะวันอกเฉียงใต้มีทาง
เดินไปเมืองแวน เมือง พูน เมืองโสย ใช้เวลาเดินสิบวัน อีกทางตัดลงทุ่งเชียงคำ ใช้เวลาเดิน
สิบวัน
จากค่ายเมืองซ่อน พระนายไวยฯ ส่งหลวงดัษกรปลาศกับเจ้าราชภาคิไนยยกทัพไปตีเมืองใด
ที่อยู่ใกล้ๆ กับเมืองสบแอด แล้วเลยไปตีเมืองสบแอดกับเมืองนาปา ที่ล้วนเป็นค่ายใหญ่ของพวกฮ่อ

หลวงจำนงค์ยุทธกิจกับเจ้าราชวงศ์คำสุกไปตีค่ายฮ่อที่เมืองโสยเมืองแวนกับเมืองพูน

ดังนั้นเมืองซ่อนจึงเป็นจุดศูนย์กลาง ของศึกนี้ขอรับ


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: cinephile ที่ 19 ก.พ. 18, 17:10
พึ่งเห็นภาพเมืองซ่อนจากที่คุณหญิงเทาชมพู Post มา ตกใจมากที่เห็น
ที่ทำการของแขวงสร้างเสร็จแล้ว ทับอยู่บริเวณค่ายของสยามเลยครับ
 ก่อนนี้ไม่มีใครสนใจเมืองซ่อน ทางเข้าไปเป็นถนนลูกรัง จนกระทั่งคน
จากเมืองซ่อนได้รับเลือกตั้งเข้าไปนั่งในสภา ก็เลยมีการก่อสร้างกันเป็น
การใหญ่ถนนก้เป็นถนนดำรถวิ่งขึ้นไปถึงเมืองซ่อนภายในไม่กี่ชั่วโมงครับ
ตอนผมไป ผมเลือกไปทางที่พระนายไวยยกทัพขึ้นไปเมืองซ่อน คือจากเมืองงอย
ผ่านบ้านนาขึ้นไปบนยอดภูหลวง ลงน้ำมี เป็นทางดิน ถ้าฝนแล้งก็จะมีแต่ขี้ไหง่ (ฝุ่นดินแดง)
ถ้าฝนตกทางก็จะเป็นขี้ตม ติดยางรถต้องหยุดรถมาขูดออก ขี้ตมนี่ลื่นมาก เกือบทำให้รถของ
ผมตกเหวตาย


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 19 ก.พ. 18, 17:16
ภาพนี้คือค่ายเมืองไหนครับ


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 19 ก.พ. 18, 17:26
ขยายเมืองซ่อนมาให้เห็นชัดขึ้นค่ะ

http://1.bp.blogspot.com/-QKBmpqxs0Sw/WWwRas3UFsI/AAAAAAAAdXM/txl3bgrodqEohmXP2Hgi_HGvS-Itb36xgCK4BGAYYCw/s1600/DJI_0123-768530.JPG


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: cinephile ที่ 19 ก.พ. 18, 17:31
เมืองซ่อนจากมุมของค่ายสยามครับ


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 19 ก.พ. 18, 17:42
เมืองซ่อนในปัจจุบัน


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 19 ก.พ. 18, 17:43
วัดน่าจะอยู่มาตั้งแต่สมัยปราบฮ่อ


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: cinephile ที่ 19 ก.พ. 18, 18:16
ขอย้อนกลับไปคุยกันเรื่องภรรยาของพระนายไวยนะครับ
ภรรยาของพระนายไวยคนแรกน่าจะเป็นขีด บุตรีของนายเขียนสวัสดิ์ชูโต แต่
อยู่กันได้เพียง 2 ปีก็เลิกกัน ต่อมาอีกสิบปีหลังจากขีดเสียชีวิตไป พระนายไวยฯ ก็ได้
ภรรยาคนที่สองซึ่งเป็นภรรยาพระราชทานชื่อไร (ไลย?) เป็นบุตรีของพระยาศรีสุริยวงศ์ไวยวัฒน์ (วอน บุนนาค)
อยู่ด้วยกันมาจนถึง ปีกุน พ.ศ. ๒๔๓๐ ไรจึงถึงแก่กรรม
ถ้าจะมีบทบาทในสยามประเทศในช่วงที่พระนายไวยฯ ไปทำราชการปราบฮ่อ ก็คงจะต้องเริ่มกันที่ท่านผู้หญิงไรนี่แหละครับ
ท่านผู้หญิงไรคงจะไม่รักพระนายไวยฯ สักเท่าไรนัก เพราะท่านผู้หญิงไรมีความรักกับนางละคอนของเจ้าพระยามหินทรธำรงค์
ชื่อหวิง มีการเขียนจดหมายรักและเพลงยาวถึงกัน


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: cinephile ที่ 19 ก.พ. 18, 18:30
วัดชื่อวัดสีบุนเฮือง (ศรีบุญเรือง) ครับ เป็นวัดเดียวในเมืองซ่อนตอนที่
พระนายไวยไปตั้งค่ายอยู่ที่นั่นครับ โบสถ (หรือวิหาร)สร้างใหม่ทับของเก่า
มีสาธุอยู่ 4 รูปครับ


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: cinephile ที่ 19 ก.พ. 18, 18:32
รูปของโบสถวัดสีบุนเฮืองครับ


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: cinephile ที่ 19 ก.พ. 18, 18:41
อีกมุมของวัดศรีบุนเฮืองครับ


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 19 ก.พ. 18, 18:50

ภรรยาคนที่สองซึ่งเป็นภรรยาพระราชทานชื่อไร (ไลย?) เป็นบุตรีของพระยาศรีสุริยวงศ์ไวยวัฒน์ (วอน บุนนาค)
อยู่ด้วยกันมาจนถึง ปีกุน พ.ศ. ๒๔๓๐ ไรจึงถึงแก่กรรม

ท่านผู้หญิงไรคงจะไม่รักพระนายไวยฯ สักเท่าไรนัก เพราะท่านผู้หญิงไรมีความรักกับนางละคอนของเจ้าพระยามหินทรธำรงค์
ชื่อหวิง มีการเขียนจดหมายรักและเพลงยาวถึงกัน

ท่านผู้หญิงไร  น่าจะเรียกว่า "คุณหญิงไร" เพราะตอนนั้นเจ้าหมื่นไวยฯยังไม่ได้เป็นเจ้าพระยา   ไม่แน่ว่าเป็นพระยาแล้วหรือยัง   
ท่านเป็นพี่สาวท่านผู้หญิงเลี่ยม ค่ะ   บิดาท่านต่อมาเลื่อนขึ้นเป็นเจ้าพระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) ที่สมุหพระกลาโหม
คุณหญิงไรถึงแก่กรรมโดยไม่มีบุตรธิดา    ท่านผู้หญิงเลี่ยมน้องสาวก็เลยได้เป็นภรรยาของเจ้าหมื่นไวยฯ แทน  เมื่อสามีได้เป็นเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี  ท่านก็เป็นท่านผู้หญิง    แต่ก็ไม่มีบุตรธิดาเช่นกัน  ตอนท้ายก็หย่าร้างกับเจ้าพระยาสุรศักดิ์ไปสมรสใหม่กับคุณหลวงพรตฯ  
เสียดาย ดิฉันไม่มีรูปคุณหญิงไรค่ะ


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: cinephile ที่ 19 ก.พ. 18, 19:22
คุณหญิงไรน่าจะดูเป็นทอมนะครับ  ;D แต่ก็เดาไม่ถูก เรื่องนี้คงจะถึงพระเนตร
พระกรรณพระเจ้าอยู่หัวนะครับ เพราะเมื่อพระนายไวยฯ ขอให้คุณหญิงมาหาที่
เมืองซ่อน ท่านก็อณุญาติโดยดี
"อนึ่งกรมหมื่นเทวะวษแจ้งความว่า หลวงนายสิทธิ์มาบอกว่าพระนายไวยคิดจะรับเมียขึ้นไป
เราก็ได้อนุญาตแล้ว แต่จะมีท้องตราส่งไปโดยทางราชการนั้นผิดตำราอยู่ จึงได้ยอมส่งขึ้นมา
โดยการเงียบๆ เมื่อมาลาเมื่อใด จึงจะให้ปันฝากสิ่งของขึ้นไปตามควร
                                                            สยามินทร์


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: cinephile ที่ 19 ก.พ. 18, 19:26
ภาพที่คุณ NAVARAT post มามีประโยชน์มากเลยครับเพราะชัดกว่าที่ผมมีเยอะมาก
ขอขอบคุณมากครับ


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 19 ก.พ. 18, 19:36
ตีความจากจดหมาย  คุณหญิงไรเป็นทอม  ไม่น่าสงสัยเลยค่ะ  ท่าทางจะหลงรักแม่นางละครคนนี้มาก 
ที่จริงหญิงรักหญิงในสมัยนั้นเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นแพร่หลาย    ยิ่งในรั้วในวังแล้วการเล่นเพื่อนเป็นของธรรมดาเลยทีเดียว
กลับมาที่คุณหญิงไร    พลาดพลั้งปล่อยหลักฐานรั่วไหลถึงขนาดนี้  คงจะรู้ถึงพระเนตรพระกรรณอย่างที่ท่าน cinephile ว่า
การส่งตัวไปให้สามีก็คงจะเพื่อพรากให้ห่างจากนางละคร  ให้สามีคุมไว้ไกลบ้านไกลเมือง  จะได้หมดเรื่องอื้อฉาว 
สงสัยว่าคุณหญิงไรถึงแก่กรรมด้วยสาเหตุอะไร 


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: cinephile ที่ 19 ก.พ. 18, 21:23
เรื่องที่ผมเรียกท่านผู้หญิงไรก็มาจากจดหมายเหตุนี่แหละครับที่ตอนท้ายระบุว่าเป็น
ลายมือของ “ท่านผู้หญิงไลย์” ก็เลยงงๆ ครับ หรือว่าคุณไรเป็นเจ้าสาวพระราชทาน
ครับ มีใครรู้มั่งครับ


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: cinephile ที่ 19 ก.พ. 18, 21:25
ลายมือท่านผู้หญิงไลย ครับ


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 19 ก.พ. 18, 21:26
ภาพที่คุณ NAVARAT post มามีประโยชน์มากเลยครับเพราะชัดกว่าที่ผมมีเยอะมาก
ขอขอบคุณมากครับ


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 19 ก.พ. 18, 21:27

กระทู้นี้กำไรแก่คนอ่านจริงๆครับ​ ปักหมุดเลยครับผม


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 19 ก.พ. 18, 21:34
เรื่องที่ผมเรียกท่านผู้หญิงไรก็มาจากจดหมายเหตุนี่แหละครับที่ตอนท้ายระบุว่าเป็น
ลายมือของ “ท่านผู้หญิงไลย์” ก็เลยงงๆ ครับ หรือว่าคุณไรเป็นเจ้าสาวพระราชทาน
ครับ มีใครรู้มั่งครับ

มีลายพระหัตถ์ของพระองค์เจ้าปฤษฤางค์ กล่าวถึงภรรยาคนแรกของพระยาสุรศักดิ์มนตรี ชื่อคุณหญิงไรครับ


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 19 ก.พ. 18, 21:40
งั้นขอสะกดตามท้ายจดหมายนะคะ ว่า ท่านผู้หญิงไลย์
คำที่ปัจจุบัน สะกดว่า -ัย   สมัยก่อนสะกดว่า ไ-ย  เช่นคำว่า ชัย เมื่อก่อนสะกดว่า ไชย  ชื่อท่านผู้หญิงไลย์ แปลว่าอะไรไม่ทราบ  ถ้าเป็นสมัยนี้น่าจะเป็น ลัย

ส่วนบรรดาศักดิ์ของเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี  ลำดับได้ว่า  เมื่อไปทำสงครามปราบฮ่อ ท่านยังเป็นจมื่นไวยวรนารถ  หัวหมื่นมหาดเล็ก   ภรรยาของท่านเห็นทีจะยังไม่ได้เป็นคุณหญิง
ท่านได้เลื่อนขึ้นเป็นพระยาสุรศักดิ์มนตรี จางวางมหาดเล็ก  เมื่อพ.ศ. ๒๔๓๐  เป็นปีที่ท่าน cinephile บอกว่าท่านผู้หญิงไลย์ถึงแก่กรรม   ถ้ายังไม่ถึงแก่กรรมก็คงทันเป็นคุณหญิงไลย์ สุรศักดิ์มนตรีอยู่ได้ไม่กี่เดือน
ล่วงมาอีก ๙ ปี  ถึง พ.ศ. ๒๔๓๙ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ จึงโปรดเกล้าฯให้เป็นเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี   คนที่เป็นท่านผู้หญิงในขณะนั้นคือท่านผู้หญิงเลี่ยม
ส่วนเจ้าสาวพระราชทานจะได้รับเกียรติให้เป็นท่านผู้หญิง ตั้งแต่สามียังไม่ได้เป็นพระยา  ข้อนี้ไม่ทราบจริงๆค่ะ


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: cinephile ที่ 19 ก.พ. 18, 22:00
ตามประวัติแล้วพระนายไวยฯ มีภรรยาคนแรกชื่อขีด เป็นบุตรีของ เขียน สวัสดิ์ ชูโต แต่
อยู่กินกันได้เพียงสองปี (ตอนนั้น พระนายไวยฯ อายุได้เพียง 18 ปี) แต่ไม่แต่งงานใหม่จน
ขีดตาย คืออีกสิบปีต่อมา ได้รับพระราชทานเจ้าสาวคนต่อไปก็คือไร (หรือไลยนี่แหละครับ)
พอไรตายพระนายไวยฯ ก็ได้เลี่ยมที่เป็นน้องสาวของไลยเป็นภรรยาครับ
คุณหญิงเทาชมพูน่าจะเล่าได้ดีกว่าผมนะครับ เมื่อตอนอ่านจดหมายเหตุผมคิดว่าผมรู้แต่ตอนนี้
ชักไม่แน่ใจแล้วครับ


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 19 ก.พ. 18, 22:02
   จดหมายรักของคุณหญิงไร (ท่านผู้หญิงไลย์) ที่มีวงเล็บไว้ตอนท้ายว่า ลายมือท่านผู้หญิงไลย์   ตอนอ่าน ดิฉันตีความว่าจดหมายฉบับที่เราเห็นกันนี้เป็นฉบับคัดลอก  เห็นได้จากวงเล็บว่า (สำเนา) เอาไว้ตอนต้น 
    ผู้คัดลอกคืออาลักษณ์   เพราะลายมือแบบที่เห็น เล่นหางยาวเฟื้อยนี้คือลายมือแบบอาลักษณ์   เห็นได้ตามสมุดข่อยต่างๆก็ลายมือแบบนี้ละค่ะ
    ถามว่าคัดลอกไปทำไม คำตอบคือคัดลอกเอาไว้เป็นหลักฐาน   เพราะจดหมายตัวจริงจะต้องถูกนำขึ้นถวายให้ทอดพระเนตร    อาจจะมีพระบรมราชโองการสั่งลงไปที่เจ้านายพระองค์ใดพระองค์หนึ่งที่รับผิดชอบเรื่องนี้ จึงต้องมีสำเนาเอกสารเก็บเข้าแฟ้ม
    ส่วนวงเล็บที่ว่า (ลายมือท่านผู้หญิงไลย์) คือหมายเหตุระบุเอาไว้ท้ายข้อความ ว่า จดหมายตัวจริงเขียนด้วยลายมือท่านผู้หญิงไลย์  ค่ะ

    ทำไมคิดไปเสียไกล แทนที่จะคิดตรงๆว่า ท่านผู้หญิงเขียนเองแล้วแถลงเองว่านี่ลายมือฉันนะจ๊ะ   ก็เพราะนึกไม่ออกว่า ในเมื่อท่านมีรักเร้นที่ผิดประเพณีขนาดนี้ ย่อมต้องปกปิด ท่านจะอุตส่าห์ทำสำเนาจดหมายไว้เป็นหลักฐานมัดตัวเองทำไม   แถมยังยืนยันด้วยว่านี่ลายมือฉันนะ  อย่าเข้าใจผิดว่าเป็นลายมือคนอื่นล่ะ


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 19 ก.พ. 18, 22:13
ตามประวัติแล้วพระนายไวยฯ มีภรรยาคนแรกชื่อขีด เป็นบุตรีของ เขียน สวัสดิ์ ชูโต แต่
อยู่กินกันได้เพียงสองปี (ตอนนั้น พระนายไวยฯ อายุได้เพียง 18 ปี) แต่ไม่แต่งงานใหม่จน
ขีดตาย คืออีกสิบปีต่อมา ได้รับพระราชทานเจ้าสาวคนต่อไปก็คือไร (หรือไลยนี่แหละครับ)
พอไรตายพระนายไวยฯ ก็ได้เลี่ยมที่เป็นน้องสาวของไลยเป็นภรรยาครับ
คุณหญิงเทาชมพูน่าจะเล่าได้ดีกว่าผมนะครับ เมื่อตอนอ่านจดหมายเหตุผมคิดว่าผมรู้แต่ตอนนี้
ชักไม่แน่ใจแล้วครับ

ดิฉันก็รู้เท่าที่เรียนให้ท่าน Cinephile ทราบเท่านั้นละค่ะ   
ลองเรียงลำดับแล้วได้ความว่า
เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีมีภรรยา 3 คน
1  คุณขีด  แต่งงานเมื่อฝ่ายชายอายุ 18 ประมาณพศ. 2412    อยู่กินกัน 2 ปี  เลิกกัน
2  คุณหญิงไร หรือไลย์   แต่งกันเมื่อเจ้าพระยาสุรศักดิ์ฯอายุประมาณ 30 ปี  ประมาณ พ.ศ. 2422
    คุณหญิงไรถึงแก่กรรม พ.ศ. 2430   เจ้าพระยาสุรศักดิ์อายุ 38 ปี
3  ท่านผู้หญิงเลี่ยม  เลิกกัน ไม่ปรากฎปี พ.ศ.


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 20 ก.พ. 18, 01:02

ทรงพระราชทานคุณไรให้แต่งกับพระนายไวยฯ ปี พ.ศ. ๒๔๒๕ ครับ
ปีเดียวกันมีเหตุการณ์ที่น่าสนใจหลายเรื่อง เช่น
พระนายไวยฯ ตกม้าเทศที่หลุยส์ เลียวโนเวนส์ ไปซื้อมาให้
พระนายไวยฯ ไปปราบผู้ร้ายที่สุพรรณ

ปี พ.ศ. ๒๔๒๔-๒๔๒๗ พระนายไวยฯ คุมก่อสร้างโรงทหารหน้า
ปี พ.ศ. ๒๔๒๗ พระนายไวยฯ ติดตั้งไฟฟ้าโคมไฟระย้า พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท
แล้วจึงติดธุระไปปราบฮ่อ

หลวงนายสิทธ คนช่วยจัดการเรื่องส่งคุณไรไปเมืองซ่อน เป็นบุตรของเจ้าพระยามหินทรฯ
ได้ช่วยแก้ปัญหาให้ทั้งบิดาและพระนายในคราวเดียวกัน

ปี พ.ศ. ๒๔๓๐ มีไข้ป่าระบาดที่เมืองซ่อน หรือว่าคุณหญิงไรจะป่วยเป็นมาลาเรีย

เจ้าเมืองสุพรรณเป็นพี่ชายของพระนายไวยฯ
ภรรยาเจ้าเมืองสุพรรณก็คนที่หนีตามพระองค์เจ้าปฤศฎางค์ไปสิงคโปร์นั่นแหละครับ
เรื่องอะไรมันจะ drama ปานนั้น สำหรับพี่น้องตระกูลแสง-ขูโตสองท่านนี้
เรียกได้ว่ามีภรรยาล้ำสมัยทั้งคู่

หรือว่าเป็นเพราะท่านพระนายไวยฯและพี่ชาย ตั้งใจทำราชการการมากเกินไปครับ


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 20 ก.พ. 18, 02:10
แปะรูป cannon loading/unloading ช้างเมืองไหนยังไม่ทราบครับ


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 20 ก.พ. 18, 05:29
เรื่องที่ผมเรียกท่านผู้หญิงไรก็มาจากจดหมายเหตุนี่แหละครับที่ตอนท้ายระบุว่าเป็น
ลายมือของ “ท่านผู้หญิงไลย์” ก็เลยงงๆ ครับ หรือว่าคุณไรเป็นเจ้าสาวพระราชทาน
ครับ มีใครรู้มั่งครับ

มีลายพระหัตถ์ของพระองค์เจ้าปฤษฤางค์ กล่าวถึงภรรยาคนแรกของพระยาสุรศักดิ์มนตรี ชื่อคุณหญิงไรครับ

ความข้างบนเขียนจากความจำ ซึ่งไม่เที่ยงเสียแล้ว เมื่อคืนจึงพยายามหาต้นฉบับที่เป็นลายพระหัตถ์ที่ว่า แต่ไม่ไหว ทั้งยาวทั้งหวัดเหลือเกิน แต่กลับไปเจอที่ทรงเขียนไว้ในพระประวัติ(ฉบับพิมพ์) กลายเป็นคุณหญิงไล

อ้างถึง
คนที่หนีตามพระองค์เจ้าปฤศฎางค์ไปสิงคโปร์
คงไม่เที่ยงเหมือนกันมังครับ เขาไปเจอกันที่ไซ่ง่อน


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 20 ก.พ. 18, 07:31

 :-[
แหะๆ​ ขออภัยในความผิดพลาดครับ​


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 20 ก.พ. 18, 10:15
แปะรูป cannon loading/unloading ช้างเมืองไหนยังไม่ทราบครับ

มีคำบรรยายภาพว่าเป็นช้างศึกไทย น่าจะเป็นเรื่องมโนของฝรั่ง  ;D

http://www.alamy.com/stock-photo-war-elephant-of-the-siamese-army-elephants-were-trained-and-used-for-83338164.html


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 20 ก.พ. 18, 11:02
จากข้อมูลประวัติเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี
ปืนใหญ่ที่ไปประจำทัพมี
1.   ปืนครกทองเหลือง กระสุนแตก 2 กระบอกมีเครื่องใช้สำหรับปืนพร้อม
2.   ปืนมอร์ตาร์ (กระสุนลูกแตกกระบอกละ 100 นัด)
3.   ปืนใหญ่ทองเหลืองรางล้อ (เฮาวิสเชอร์) ทั้งกระสุน 100 นัด จำนวน 2 กระบอก
4.   ปืนใหญ่อาร์มสตรอง พร้อมยิมลูกแตกและกรวดเหล็กสำหรับเผาค่าย
ปืนใหญ่อาร์มสตรองนี้พระนายไวยซื้อมาจากห้างแรมเซ ห้างได้ซื้อเข้ามาในกรุงสยามนานหลายปีมาแล้วเพื่อจะขายให้กับรัฐบาล เมื่อไปถามราคาก็โก่งราคาสูงแต่ท่านก็ได้ต่อรองราคาและซื้อมาทั้งสองกระบอกเป็นราคา 400 บาท และเครื่องกรวดในราคา 100 บาทเศษ
.
เมื่อเวลาก่อนยกทัพไปทางเมืองงอยนั้น นายทหารปืนใหญ่สัญชาติอิตาลี ชื่อ “บินซอน” รับอาสาว่าจะเป็นผู้ฝึกหัดให้ทหารยิงตรงศูนย์ได้ แต่ะระหว่างทางที่อยู่หลวงพระบาง มิสเตอร์บินซอนเกิดวิวาทกับพวกทหารเลยต้องส่งตัวกลับกรุงเทพ ทำให้ไม่มีการฝึกทหารยิงปืนใหญ่ ส่วนฝ่ายกระทรวงมหาดไทยที่เกณฑ์ “ขุนสิงหนาท” ข้าราชการฝ่ายกรมพระราชวังบวรมาในศึกนี้ก็เคยแต่คุมทหาร ไม่มีความรู้ในการยิงปืนใหญ่นี้มาก่อน


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: cinephile ที่ 20 ก.พ. 18, 13:08
คคห. 86 ที่คุณNAVARAT ถสมว่าเป็นค่ายของใคร ความจริงเป็นที่เก็บ
สัมภาระของพระวิภาคภูวดล (เจมส์ แมคคาร์ธี) ที่ริมแม่น้ำคาน ต่อมาถูก
ยกให้ม.ปาวี ทำเป็นกงศุลฝรั่งเศส จนถูกเผาในปี 2430 โดยพวกเมืองไลครับ

หาดูได้ในหนัวสือ Pavie Mission Exploration work  (vol 1) หน้า284 ครับ


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: cinephile ที่ 20 ก.พ. 18, 13:38
ย้อนกลับมาที่ตุรหญิงไลย เอาจดหมายของคุณหญิงไลย (ท่านผู้หญิงไลย) ครับ
(มีจดหมายอีกหลายฉบับ แต่ก็เหมือนๆ กันทุกฉบับครับ)


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 20 ก.พ. 18, 13:39
คคห. 86 ที่คุณNAVARAT ถสมว่าเป็นค่ายของใคร ความจริงเป็นที่เก็บ
สัมภาระของพระวิภาคภูวดล (เจมส์ แมคคาร์ธี) ที่ริมแม่น้ำคาน ต่อมาถูก
ยกให้ม.ปาวี ทำเป็นกงศุลฝรั่งเศส จนถูกเผาในปี 2430 โดยพวกเมืองไลครับ

หาดูได้ในหนัวสือ Pavie Mission Exploration work  (vol 1) หน้า284 ครับ

ขอบพระคุณครับ


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: cinephile ที่ 20 ก.พ. 18, 13:40
ครึ่งหลังของจดหมายฉบับที่ผ่านมาครับ


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: cinephile ที่ 20 ก.พ. 18, 13:48
แผ่นต่อมาครับ


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 20 ก.พ. 18, 18:27
หลายปีอยู่เรือนไทยไม่ลำบาก
มายอดยากเจอเพลงยาวเจ้าคุณหญิง
ยิ่งเวียนอ่านยิ่งเวียนหัวตามัวจริง
ยิ่งซูมภาพเป็นระวิง ยิ่งจนใจ

จึงเสี่ยงสารมาสมานไมตรีมอบ
วานท่านอื่นช่วยตอบหน่อยได้ไหม
ถอดรหัสยากยิ่งคุณหญิงไลย์
เพื่ออ่านทั่วกันได้ขอบใจเอย


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 20 ก.พ. 18, 19:18
หลายปีอยู่เรือนไทยไม่ลำบาก
มายอดยากเจอเพลงยาวเจ้าคุณหญิง
ยิ่งเวียนอ่านยิ่งเวียนหัวตามัวจริง
ยิ่งซูมภาพเป็นระวิง ยิ่งจนใจ

จึงเสี่ยงสารมาสมานไมตรีมอบ
วานท่านอื่นช่วยตอบหน่อยได้ไหม
ถอดรหัสยากยิ่งคุณหญิงไลย์
เพื่ออ่านทั่วกันได้ขอบใจเอย


ลองถอดความเพลงยาวเอาสักหน่อย
คุณหญิงไลยเรียงร้อยถ้อยอักษร
ถึงน้องนางใช่เล่นเป็นคำกลอน
เขียนเว้าวอนอ้อนหลายด้วยหมายปอง

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=6878.0;attach=67087;image)

ได้ทราบสร้อยศักรวานิษฐาสนอง
เปรียบดังพวงผกามาลาตรอง
ใส่พานทองถมยามาประทาน

พี่ยินดีดังพานวิมานเมศ
ดังสบเนตรนิ่มนุชสุดสงสาร
ประคองกร....ขึ้นใส่พาน
ถนอมสารวางริมเขนยนอน

เมื่อจวนค่ำรำพึงคนึงคิด
จึงขึ้น...อยู่บนเตียงเคียงอักษร
เฝ้าคลี่สารอ่านสาร...กลอน
ทรวงสท้อนหวนหาน้ำตาตวง

ได้ชมแต่สไบบางไม่สร่างโศก
ยิ่งวิโยคมิได้วายหายเป็นห่วง
ถ้าเหาะได้พี่จะไปอยู่แนบทรวง
พอเดือนล่วงลอยลับจะกลับพลัน

นี่ทำไฉนจึ่งได้พบประสบภักตร์
ให้ร่วมรักร่วมห้องประคองขวัญ
พี่หมายเห็นเป็นกระต่ายจะหมายจันทร์
ตัวของฉันแลจะอายเขาปลายมือ

สู้ลำบากพากเพียรเวียนไปหา
เมื่อกลับมาโศกสร้อยน้อยไปฤๅ
นี่แก้...ฦๅแก้เผ็ดให้เข็ดมือ
ใจพี่ฦๅรักแท้ไม่แปรปรวน


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 20 ก.พ. 18, 20:22
ขอบคุณมากค่ะ


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 21 ก.พ. 18, 07:32

พ่อของผมเอาข้อมูลมาจากหนังสือ "ประวัติการของจอมพลเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี ภาค ๑ ตอน ปราบฮ่อ"หนังสือต้นฉบับจะมีรูปประกอบสวยๆ (ที่ผมมีผ่านการ copy มาหลายครั้งหลายหนจนไม่มี detail เหลือ)
ฉบับที่พ่อใช้ผมก็เสือกไปให้แผนกศิลปของคุณพรพจน์ยืมแล้วก็โดนอมไปเนียนๆ ผมพยายามค้นหาจากหอจดหมายเหตุกับห้องสมุดที่ท่าวาสุกรีก็ไม่มี เลยคิดขึ้นมาได้ว่าเรือนไทยมีนักเลงเล่นหนังสือโบราณอยู่หลายคน ผมเลยปรึกษากับคุณหญิงเทาชมพู ท่านก็เมตตาสมัครให้ผมเป็นสมาชิกเรือนไทยครับ หวังว่าคงจะช่วยผมได้บ้าง


ผมได้ลองค้นดูว่าท่านพอจะหาหนังสือเล่มที่ว่าได้ที่ไหนบ้าง พบว่า ง่ายที่สุดคือห้องหนังสือหายาก หอสมุดปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ท่านส่งคนตามไปดูได้เลยครับ


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 21 ก.พ. 18, 09:13
แผนที่สำรวจภูมิประเทศจากแผนที่ของพระวิภาคภูวดล ฉบับระวางปี พ.ศ. 2431 จัดเฉพาะบริเวณแขวงหัวพันทั้งห้าทั้งหก และมีการวัดความสูงของภูเขา (หน่วยฟุต)


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: cinephile ที่ 21 ก.พ. 18, 10:03
เพลงยาวมันยาวจริงๆ ครับ 2 หน้ากระดาษทีเดียว แล้วยิ่งมีข้อกำหนด
ว่า post ได้ไม้เกิน 130 k ผมก็จนใจไม่รู้ว่าจะ Post อย่างไร เอาเป็น
ผม จะ emai ไปให้คุรหญิงก็คงจะอ่ายออกนะครับ

แต่จดหมายและเพลงยาวพวกนี้ยังไม่สำคัญเท่าจดหมายเหตุที่คุณหญิงไล
พูดถึงอำแดงหวิงเรื่องหลอกเอาเงินและของขวัญ และจดหมายเหตุอำแดงหวิง
แก้ต่างครับ

จากจดหมายเหตุเหล่านี้เกิดขึ้นในปี พศ. ๒๔๓๕ แสดงว่าคุณหญิงไลย์ยังมีชีวิตอยุ๋ เพราะเชื่อกันว่าคุณหญิงไลย์ตาย
เมื่อพศ. ๒๔๓๐

งงครับ แต่ดีที่พระนายไวยฯ ท่านเป็นเพียงแต่ Supporting role เท่านั้นครับ
ถ้าเป็น main ก็จะมีคำถามอีกมากมายที่ผมไม่รู้ เช่นท่านแต่งงานกับท่านผู้หญิงเลี่ยมเมือไหร่
หย่ากับพระนายไวยฯ หรือรอให้พระนายไวยฯ ตายถึงแต่งงานใหม่
คุณหญิงน่าจะตอบได้ดีกว่าผมแน่ๆ ครับ


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 21 ก.พ. 18, 10:19
สิ่งที่ผมกำลังตามหาคือรูปถ่ายที่มีอยู่ในประวัติของเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี เช่นรูปของค่ายเมืองซ่อน ค่ายของพระยาว่านที่ห้วยห้อม ภาพของพระศรีสุมังฯ ฯลฯ. ไม่รู้ว่ามีใครมีบ้างหรือเปล่าครับ

ภาพพญาศรีสุมังยังไม่ได้ พบแต่ภาพภรรยาของท่าน  ;D

จากหนังสือ ประวัติการ ของ จอมพลและมหาอำมาตย์เอก เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต)

http://www.lungthong.com/view_product.php?product=108328&cat_id=121&page=1&pg=product.php


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 21 ก.พ. 18, 10:39
คนอื่น ๆ ป่วยเป็นใข้ป่ากันยกค่าย


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 21 ก.พ. 18, 10:50
ภาพจากนวนิยายเรื่อง “สุดสองทวีป โดย จ่าน้อม ทหารหน้า” หาอ่านได้ในเน็ท ท่าน cinephile คงเห็นแล้ว ผมขออนุญาตนำภาพบางภาพมาเผื่อสำหรับผู้ติดตามอ่านกระทู้นี้ครับ


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 21 ก.พ. 18, 10:56
อันนี้สอดคล้องกับภาพที่คุณคนโคราชได้นำมาลงไว้


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 21 ก.พ. 18, 10:58
เมืองสุดท้ายแดนสยามก่อนจะข้ามไปลาว


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 21 ก.พ. 18, 11:00
ถึงหลวงพระบาง


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 21 ก.พ. 18, 11:01
ผู้เขียนได้ไปสำรวจตามเส้นทางเดินทัพเช่นกัน


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 21 ก.พ. 18, 11:02
ค่ายทหารไทยในเมืองงอย และวิวเดิมที่เห็นในปัจจุบัน


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 21 ก.พ. 18, 11:03
ตอบคห. 124
ท่าน cinephile  ส่งไฟล์เพลงยาวมาให้ดิฉันทางอีเมลได้เลยค่ะ    ถ้าดิฉันพบว่าไม่สามารถย่อลงในกระทู้ได้ จะส่งต่อให้แอดมินผู้เชี่ยวชาญทางเทคนิค  จัดการให้แทน

ชีวิตรักของเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีและหนึ่งคุณนาย หนึ่งคุณหญิงและหนึ่งท่านผู้หญิง เป็น drama ที่มีสีสันจนนิยาย
แดเนียล สตีลอายราบ     ขืนนำลงในกระทู้ตอนนี้   เดี๋ยวเพลิดเพลินเรื่อยเจื้อยไปจนลืมเรื่องปราบฮ่อและร.ศ. 112    
อีกอย่างพวกเชื้อสายบุนนาคและแสงชูโต อาจจะมาเจอกระทู้นี้หรือแม้แต่กำลังอ่านกระทู้นี้อยู่ก็ได้   หลายท่านดิฉันก็รู้จัก  
อย่างท่าน cinephile คงไม่มีใครกล้ามาต่อว่า   แต่อย่างดิฉันอาจจะโดนเต็มๆ  

ขอกลับไปที่เรื่องเดิม   เรียนถามท่านว่า เส้นทางที่ท่านเดินทางไปเมืองซ่อนในปัจจุบันกาล  เป็นเส้นทางซ้ำรอยหรือแตกต่างกับการเดินทัพของเจ้าพระยาสุรศักดิ์ฯมากน้อยแค่ไหนคะ
รู้สึกประทับใจกับสถานที่ในเมืองซ่อนโดยเฉพาะวัดสีบุนเฮือง ว่าสิ่งที่ท่าน cinephile ได้เห็น ทัพไทยเมื่อหนึ่งร้อยกว่าปีก่อนก็เคยได้เห็นแล้วเช่นกัน    เห็นบันไดวัดแล้วรู้สึกว่าใช้ทดสอบสุขภาพเรื่องความแข็งแรงของหัวใจได้ดีทีเดียว


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 21 ก.พ. 18, 11:05
ทำเนียบท่านแม่ทัพ และทุ่งที่ใช้ซ้อมยิงปืนใหญ่อาร์มสตรอง


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 21 ก.พ. 18, 11:07
.


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 21 ก.พ. 18, 11:08
หมดชุดเท่านี้ก่อนครับ
ถ้าท่าน cinephile  ยังไม่เคยเห็นเว็บที่ผมนำมานี้ ผมก็จะเอาภาพที่เกี่ยวข้องมาลงต่อครับ


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: cinephile ที่ 21 ก.พ. 18, 11:21
จ่าน้อมทหารหน้าเป็นเพื่อนของผมครับ ท่านเป็นหนึ่งของที่ปรึกษา
ของผมครับ ตัวละคอนตัวหนึ่งในสยามประเทศก็คือจ่าน้อม ทหารหน้า
ครับ เพราะจ่าน้อมเกิดอุบัติเหตุรถคว่ำใน Australia ถึงกระดูกสันหลังหัก
ไม่สามารถขยับตัวได้จากคอลงไป ผมจึงอยากให้จ่าน้อมได้กลับมาโลดแล่น
ในศึกรบฮ่ออีกครั้งครับ ให้จ่าน้อมที่จ่าน้อมทหารหน้า เขียนเอาไว้ว่าเป็นขึ้เมา
เปลี่ยนเป็นทหารกล้าแนวเสือหมอบแมวเซาครับ
จดหมายรักของคุณหญิงไลย์คุณเพ็ญชมพุช่วยถอดระหัสให้แล้ว ผมจะลงช่วงที่คุณหญิงไลย์
ให้การว่าอำแดงหวิงหลอกเอาของขวัญจากคุณหญิงไลย์อย่างไรนะครับ



กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 21 ก.พ. 18, 11:33
^


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 21 ก.พ. 18, 12:00
ท่าน cinephile ส่งไฟล์เอ๊กซคลูสีฟของคุณหญิงไลย์มาให้แล้ว  ดิฉันลดขนาดไฟล์ลงนิดหน่อยให้ไม่เกิน 250 kb ตามที่ระบบกำหนด  เพื่อจะได้ลงได้


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 21 ก.พ. 18, 12:01
(ต่อ)


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 21 ก.พ. 18, 12:10
ท่านผู้อ่านเรือนไทย พอจะอ่านคำให้การของคุณหญิงไลย์ออกไหมคะ


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 21 ก.พ. 18, 12:29
อ่านจากมือถือก็ยังชัดเจนครับ


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 21 ก.พ. 18, 12:48
ดีจังค่ะ ได้ไม่ต้องลำบากคุณเพ็ญชมพูมาถอดรหัสให้อีก
ต่อไปคือหนังสือร้องทุกข์ของอำแดงหวิง   กล่าวโทษเจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 21 ก.พ. 18, 12:48
หน้าที่สอง


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: Naris ที่ 21 ก.พ. 18, 13:56
อาจารย์ครับ "ผู้มีชื่อ" ในจดหมายนี้คือใครหรือครับ เพราะปรากฎนามหลายครั้งอยู่ครับ เช่น

"...เจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรงฯ ได้บังคับให้ผู้มีชื่อ เก็บเงินที่ผู้มีบรรดาศักดิ์ ที่ผู้มีชื่อชายหญิงที่มาดูละครได้เงินเป็นอันมาก..."
"...ในระหว่างนี้เจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรงฯ ได้บังคับให้ผู้มีชื่อเฆี่ยนตีข้าพระพุทธเจ้าหลายครั้งหลายหน..."
"...เจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรงฯ บังคับให้ผู้มีชื่อคอยระวังตรวจตราโดยแข็งแรงยิ่งกว่าที่กักขังในที่อื่นทั้งสิ้น..."



กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: cinephile ที่ 21 ก.พ. 18, 14:19
เส้นทางจากเมืองงอยไปเมืองซ่อนตามประวัติการของเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี
จากเมืองงอยไปบ้านนา ข้ามแม่น้ำงอย แล้วเริ่มขึ้นเขา ไปภูกุด กิ่วเหี้ย แล้วมาถึงป่าเมี่ยง


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: cinephile ที่ 21 ก.พ. 18, 14:36
เมืองงอยก่อนออกเดินทางตามรอยพระนายไวยฯครับ
ภูเขาที่เห็นอยู่ในพื้นหลังชาวบ้านเรียกว่าภูบึ้มครับ แต่ผมไม่เชื่อ
ว่าเป็นชื่อจริง น่าจะเป็นเพราะอเมริกันมาทิ้งบอมบ์ก็เลบชื่อ
ว่าภูบึ้ม เดาเอาล้วนๆ ครับ ถ้ามีใครรู้ชื่อจริงช่วยบอกด้วยครับ


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: cinephile ที่ 21 ก.พ. 18, 14:44
จุดหมายต่อไปคือบ้านนาครับ ที่พระนายไวยฯ ต้องหยุดพักแรม
เพราะฝนยังไม่หยุดตก


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: cinephile ที่ 21 ก.พ. 18, 14:55
จากบ้านนา ข้ามแม่น้ำงอยก็เริ่มปีนเขาเรื่อยไป นึกว่าจะเห็นหมู่บ้าน
ที่ภูกุดแต่ปรากฎว่าทางการไล่ต้อนพวกชาวบ้านให้ลงมาข้างล่าง
เหลือแต่ต้นขนุนเพียงต้นเดียวที่บอกว่าเคยเป้นหมู่บ้านภูกุดมาก่อน


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 21 ก.พ. 18, 15:54
"ผู้มีชื่อ" ในจดหมายนี้คือใครหรือครับ

อ่านความตามคำให้การแลหนังสือร้องทุกข์ คำว่า "ผู้มีชื่อ" น่าจะหมายถึง "คน, คนผู้หนึ่ง" นั่นแล


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: cinephile ที่ 21 ก.พ. 18, 17:15
ณ วันพฤหัสบดี แรม ๑๓ ต่ำ เดือน ๔ ปี ระกา สัปตศก จุลศักราช
๑๒๔๗ พศ. ๒๔๒๘ เวลาย่ำรุ่งแล้ว (๖​กท.) ออกจากที่พักแรมป่าเมี่ยง
ขึ้นเขาไปอีก ขึ้นสูงไปทุกที ๆ


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: cinephile ที่ 21 ก.พ. 18, 17:27
เวลาเช้า ๑ โมง (๗กท.) ถึงยอดเขาภูฟ้า ได้หยุดพักถ่ายรูปเมื่อขึ้นไปอยู่บนยอดเขา
แลไปทั้ง ๔ ทิศเห็นมีแต่ภูเขาดุจลูกคลื่นในทะเล


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 21 ก.พ. 18, 18:25
เห็นภาพแล้วเดาไม่ถูกว่า สมัยพระนายไวยฯเดินทัพผ่านเทือกเขาเหล่านี้ สภาพป่าจะเหมือนดังภาพที่ถ่ายในยุคปัจจุบันหรือเปล่า ได้ยินว่าทางลาวก็มีขบวนการโค่นไม้ทำลายป่าเช่นกันแต่คิดว่าไม่น่าจะหนักกว่าเมืองไทย แต่นึกว่าสมัยรัชกาลที่ ๕ ป่าจะดิบกว่านี้


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 21 ก.พ. 18, 18:29
แต่ภาพนี้ ลักษณะป่าเขาก็คล้ายๆกับภาพถ่ายเหมือนกัน


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 21 ก.พ. 18, 20:00
เห็นภาพแล้วเดาไม่ถูกว่า สมัยพระนายไวยฯเดินทัพผ่านเทือกเขาเหล่านี้ สภาพป่าจะเหมือนดังภาพที่ถ่ายในยุคปัจจุบันหรือเปล่า ได้ยินว่าทางลาวก็มีขบวนการโค่นไม้ทำลายป่าเช่นกันแต่คิดว่าไม่น่าจะหนักกว่าเมืองไทย แต่นึกว่าสมัยรัชกาลที่ ๕ ป่าจะดิบกว่านี้

ตามหนังสือประวัติฯ กล่าวว่า เมื่อช้างมาถึงเมืองงอยนั้นช้างบอบช้ำมาก และการเดินทางจากเมืองงอยไปเมืองซ่อนนั้นให้นำของหนักบรรทุกทางแพล่องแม่น้ำไปยังเมืองซ่อน และให้ช้างบรรทุกของเบาๆ เพื่อทำการผ่อนแรง ประกอบกับฤดูฝนด้วยทำให้การเดินทางยากลำบาก


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: cinephile ที่ 21 ก.พ. 18, 22:50
จากบันทึกของพระนายไวยฯ "ลงจากยอดเขาภูฟ้าต่ำลงเป็นชั้น ๆ ทางนี้ไม่มีน้ำ บนเขามีแต่ป่าไม้ไผ่
ไปจนถึงเวลาบ่าย ๒ โมง ๓๐ นาที (๒ง๓๐ ลท.)  ถึงที่ห้วยน้ำมี"


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: cinephile ที่ 21 ก.พ. 18, 22:57
จากบันทึกของพระนายไวยฯ "หยุดพักแรม ๑ คืน เขาที่อยู่ใกล้น้ำนี้ไม่มีไม้อื่น
มีแต่ไม้ไผ่และหญ้าทั้งสิ้น"


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: cinephile ที่ 21 ก.พ. 18, 22:59
ตอนที่ผมกับคณะมาถึงห้วยน้ำมี ฝนตกหนัก


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: cinephile ที่ 21 ก.พ. 18, 23:04
ห้วยน้ำมีตอนที่ผมเข้าไปสำรวจหาที่ยั้งทัพของพระนายไวยฯ ผมพบว่าบ้าน
นีไม่มีไฟฟ้า ไม่มี TV ไม่มี internet สิ่งเดียวที่ให้ความบันเทิงก็มาจากเพศตรงกันข้าม
เช่นบ้านนี้ แม่บ้านยังเป็นเด็กอยู่แต่มีลูกเป็นโขลง


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: cinephile ที่ 21 ก.พ. 18, 23:35
จากบันทึกของพระนายไวยฯ "ณ วันศุกร์ แรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๔ ปีระกา สัปตศก จุลศักราช ๑๒๔๗ พศ. ๒๔๒๘
เวลาย่ำรุ่ง ๑๕ นาที (๖.๑๕ กท.) ยกออกจากห้วยน้ำมีเดินขึ้นเขาสูงไปหลายลูก เวลาบ่าย ๒ โมง (๒ ลท.)
ถึงที่กาสุม พักแรม ๑ คืน"
 พระนายไวยฯ มีคำปรารภในสมุดพกอีกฉบับหนึ่ง ดังได้คัดลงไว้ดังต่อไปนี้
       " ตั้งแต่ออกจากเมืองงอยก็ถูกฝนตามทางจนถึงเมืองซ่อน ทางที่มาเดินยากเป็นที่สุด ขึ้นเขาลงห้วยลงจากเขาแต่ละที
หนทางลื่นเป็นอย่างยิ่ง
      ผู้คนช้างม้าและโคต่างก็ล้มลุกคลุกคลานมาตามทาง ช้างนั้นจะต้องเฉาะเขาเป็นขั้นบันไดให้ขึ้นลง ถึงคังนั้นช้างก็ยังตกเขาตาย
น่ากลัวเป็นที่สุด"
เรื่องทางลื่นนี้คณะของผมเจอมาแล้วตรับ ตอนที่อยู่ที่ห้วยน้ำมีเกิดฝนตกหนัก ถนนกลายเป็นขี้ตมตลอดสาย รถของพวกเราต้องเร่ง
ออกจากห้วยน้ำมีเพื่อไปให้ถึงกาสุม (เป็นภาษาขมุพื้นบ้านครับ) รถของผมลื่นตกลงไปในร่องทำให้ลื่น รถหมุนจะตกลงหน้าผาที่มี
ความลึก 200 เมตร แต่ยังโชคดีที่รถหมุนไปปะทะกอไผ่ทำให้ค้างเติ่งอยู่อย่างนั้น มันทำให้ผมเข้าใจบันทึกของพระนายไวยฯ ขึ้นมาทัน
ทีเลยครับ


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: cinephile ที่ 22 ก.พ. 18, 00:02
แผนที่จะไให้ถึงกาสุมเป็นอันล้มเลิก เราใช้รถอีกคันแล่นไปถึงเมืองที่ใหญ่
ที่สุดคือเมืองบ้านโดน ซึ่งเป็นเมืองของพวกขมุ ว่าจ้างรถอีแต๋นที่พวกขมุใช้ขนไม้
จากในป่าให้ไปช่วยลากรถที่ติดอยู่ริมหน้าผา ต้องจ้างพวกขมุให้เอาจอบเอาเสียม
มาขุดรถให้ขึ้นจากหล่ม (ใต้ท้องรถจมตม ต้องขุดเอารถขึ้นมา) ค่าจ้างรวมทั้งหมด
สองหมื่น และไม่ใช่สองหมื่นกีบแต่เป็นสองหมื่นบาทครับ
ในขณะที่ทีมไปกู้รถผมก็พักอยู่ที่หมบ้านโดน ซึ่งขณะนั้นกำลังมีตลาดนัดอยู่พอดีจึงมี
ผู้คนมากมาย จะมีคนญวนเอาของใส่ท้ายรถเครื่องมาวางขายที่ตลาดนัด และมีอาหาร
ขายกินกันตายได้ อาหารพื้นๆ ก็คือเฝอ แต่จะเป็นเฝอเนื้อควาย เอ้าเนื้อควายก็เนื้อควาย
เวลาหิวกินได้ทั้งนั้นแหละครับ


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 22 ก.พ. 18, 07:07
ขอบพระคุณครับ ดึกดื่นแล้วท่านยังอุตส่าห์มาตอบกระทู้
 
ภาพนี้น่าสนใจ  รอยบาดแผลที่ปรากฏบนภูเขาไม่ได้เกิดจากใครมาระเบิดหิน หรือทำเหมืองลูกรังไปขายผู้รับเหมาทำถนน แต่เป็นการถล่มของดิน (landslide) ตามธรรมชาติ เมื่อปีใดเกิดฝนตกหนักผิดปกติ

แสดงว่าเนื้อดินบนเขาแถบนี้เป็นดินลูกรัง มิน่าจึงไม่มีไม้ใหญ่ๆมากนัก แต่ต้นไม้ใหญ่จะมาขึ้นเป็นป่าดิบในบริเวณหุบเขา ซึ่งเป็นที่สะสมของตะกอนดินอันเป็นโอชะของพืช รวมถึงบริเวณที่ราบชายเขาที่กลายมาเป็นไร่นาสวนของชาวบ้านด้วย

ท่านโชคดีที่ได้ไปที่นั่นในปีนั้น เพราะฝนที่ตกขนาดเกิดดินถล่มคงไม่ได้มีทุกปีขอรับ


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 22 ก.พ. 18, 08:44
ไม่แน่ใจว่า บริเวณที่สมัยนี้เต็มไปด้วยรีสอร์ทตรงจุดที่ผมวงกลมไว้ จะเป็นที่ตั้งค่ายกองทหารไทยในสมัยโน้นหรือไม่ครับ


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: cinephile ที่ 22 ก.พ. 18, 10:06
แม่นแล้วล่ะครับ ค่ายเมืองงอยของพระนายไวยฯ จริงๆ ด้วย
ภาพนี้ถ่ายจาก resort ริมแม่น้ำอูครับ จะเห็นเกาะในแม่น้ำอู
ชัดเจนครับ


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 22 ก.พ. 18, 10:17
แล้วภาพนี้ มีคำบรรยายว่า Seen of rustic and Siamese occupied Mueang Houaphan Province, Laos during the long stretch of the regional conflict - 1883 เป็นค่ายที่งอย หรือที่ท่านกำลังหาอยู่หรือเปล่าครับ


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: cinephile ที่ 22 ก.พ. 18, 10:35
วัดที่เห็นในภาพของตุณ NAVARAT.C ตือวัด โอกาด ไชยะราม (Vat Okad Sayaram) จะเป็น
วัดที่อยู่บนเนินเหนือค่ายของทหารไทยตนับ พระนายไวยกับพวกทหารสร้างเจดีย์อยู่ที่วัดนี้ครับ
แต่ถูกพวกฝรั่งเศสรื้อทำลาย ต่อมาจึงมีการสร้างโบสถทับตำแหน่งที่เคยมีเจดีย์ครับ


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: cinephile ที่ 22 ก.พ. 18, 10:43
ไม่น่าจะเป็นเมืองงอยหรือเมืองซ่อนนะครับ เพราะเรามีภาพของทั้งสอง
ค่ายมากพอที่จะบอกว่าไม่ใช่ ถ้าให้ผมเดาน่าจะเป็นค่ายเมืองใดที่อยู่
ใต้บังคับบัญชาของหลวงดัษกรปลาศกับเจ้าราชภาคิไนย ถ้าเดาผิดขอ
อภัยด้วยครับ ว่าแต่ว่าคุณ NAVARAT ขุดภาพมาจากไหนครับ บอก
ตรงๆ ว่าไม่เคยเห็นครับ


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 22 ก.พ. 18, 11:02
หาโดยใช้ key note เป็นภาษาอังกฤษ แต่กลับเจอใน Teak door ครับ ลอยๆอยู่รูปเดียว อาจจะมั่วก็ได้


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: cinephile ที่ 22 ก.พ. 18, 11:15
จากห้วยน้ำมีจะไปเมืองกาสุม(พวกขมุเรียกว่าตางซัม) แต่ฝนตกหนักไม่หยุด
เลยตัองเปลี่ยนแผน ลงจากเขาไปนอนที่เมืองเหี้ยม ตั้งใจว่าจะนั่งเรือไปตาม
แม่น้ำแซงเพื่อไปที่สบซาง ที่พระนายไวยฯ บันทึกเอาไว้ว่า "ถึงทำเนียบที่พักแรม
บ้านสบทราง(สบซาง) เวลาเช้า ๒ โมง (๘ กท.) ทำเนียบนี้ทำใหญ่โตพอกับกองทัพ
 มีบ้านเรือนราษฎร ตั้วอยู่ ๒๗ หลังเรือน บ้านสบซางนี้เป็นที่พักเสบียง"

ฤๅรูปที่คุณ NAVARET post จะเป็นทำเนียบที่พักแรมสบซาง?
จากเมืองเหี้ยมก็ตรงไปเมืองซ่อนเลยครับ (ไม่ต้องไปทางวิบากขึ้นเขาครับ)


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: cinephile ที่ 22 ก.พ. 18, 11:42
ลองมาเล่นท่ายากกันดีกว่าครับ ผมพบเรื่องนี้ที่พงศาวดารของโกสุมพิสัย ก็เดาไม่ถูกว่าไอ้ตังแกโบมันเป้นใคร ชาติอะไรกันแน่

อ้ายตังแกโบซึ่งตั้งบ้านอยู่ ณ บ่อทองคำ ตำบลภูโงก ลำน้ำเซซวน แขวงเมืองแสนปาง กระทำการขัดแยงอำนาจราชการบ้านเมืองขึ้นต่างๆ
คือแย่งชิงร่อนทองคำในบ่อหลวง แลขัดแขงไม่ยอมเสียภาษีแก่เจ้าภาษีซึ่งรัฐบาลตั้ง แลจับเจ้าพนักงานภาษีจำจองแล้วตั้งตัวเองเปนเจ้าภาษี
เก็บเอาทองแก่ผู้ขุดร่อนได้เดือนละ ๒ หุนครึ่ง ถ้าผู้ไม่ได้ส่งก็เก็บเอาเหล็กคนละ ๔ ดวง คิดราคาเหล็กดวงตามที่ใช้สอยกัยอยู่ในตำบลนั้น
แลเวลานั้น ๘, ๙, ๑๐, ดวงต่อบาท แลตั้งศาลเตี้ยบังคับความจับกุมราษฎรข่าลาวชาวบ้านมาชำระปรับไหมลงเอาเงิน แลจับขังจำจองโดย
อำนาจพลการ แลคุมพรรคพวกไปเที่ยวปล้นตีจับเอาไพร่ข่าไปแลกเปลี่ยนซื้อขาย แลตั้งเกลี้ยกล่อมซ่องสุมผู้คนกระทำโจรกรรมต่างๆ กำเริบขึ้น
โดยลำดับ จนเมื่อที่สุด ได้จับเจ้าพนักงานแลทหาร ซึ่งออกไปรักษาด่านปากน้ำสระไทย แขวงเมืองแสนปาง แลจับกรมการของเจ้านครจำปาศักดิ
ซึ่งเจ้านครจำปาศักดิใช้ให้ถือหนังสือออกมาตามตัวอ้ายตัวแกโบจำไว้ จนความนั้นได้ทราบถึงพระประชาคดีกิจ (แช่ม) ข้าหลวงผู้จัดราชการหัวเมืองฝ่ายใต้
ครั้นวันที่ ๒๐ มิถุนายน พระประชาจึ่งพร้อมด้วยหลวงสุนทรอุไทยพิทักษ์นายร้อยคร้าม นายร้อยตรีถมยา แลพระยาเมืองแพนจำปาศักดิ ราชวงษ์เมืองสีทันดร
ราชวงษ์เมืองเชียงแตง คุมทหาร ๓๘ คน จู่ไปจับอ้ายตังแกโบถึงที่อยู่อ้ายตังแกโบ เวลานั้นอ้ายตังแกโบรู้ตัวออกหลบอยู่นอกบ้าน พระประชาพูดแต่โดยดี
อ้ายตังแกโบไม่รับผิดพระประชาจึ่งให้นายร้อยตรีถมยาจับอ้ายตังแกโบ แตพอจับข้อมืออ้ายตังแกโบ ทันใดนั้นพรรคพวกอ้ายตังแกโบประมาณ ๘๐ คนเศษ
ซึ่งซุ่มอยู่ก็ยิงพวกพระประชา จะแย่งชิงอ้ายตังแกโบ ฝ่ายพวกทหารกองจับต้องสู้รบยิงถูกพวกอ้ายตังแกโบตายคนหนึ่ง แลจับเปนได้ ๒๐ คนพร้อมทั้งเครื่อง
สาตราวุธเปนอันมาก แล้วพระประชาได้บอกส่งอ้ายตังแกโบแลพรรคพวกที่จับได้มาถวายพระจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากรข้าหลวงใหญ่ ณ เมืองอุบล
พิจารณาได้ความจริง โปรดให้ตัดสิน (ประหารชีวิต) ตามโทษานุโทษ

ภุโงก แม่น้ำเซซวน เมืองแสนปาง อยู่ระหว่างลาวกับเขมรครับ ไอ้ตังแกโบก็น่าจะเป็นเขมร ใครรู้ภาษาเขมรช่วยหน่อยครับว่าชื่อตังแกโบมันภาษาอะไรกันแน่
ขอขอบคุณล่วงหน้าครับ
ปล. อยากรู้ก่อนที่ผมจะไปท่องเขมร ไปเมืองเชียงแตงสยามโบแล้วภูโงกนี่แหละครับ



กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 22 ก.พ. 18, 13:28
คิดถึงคุณ CrazyHOrse  ไม่ทราบว่ามีเวลาแวะเข้ามาอ่านบ้างหรือเปล่า

ผมประมาณคล้ายชื่อคนจีนน่ะครับ พวกนี้ร้ฐบาลสยามชอบตั้งให้เป็นเจ้าภาษีเพราะมีวิญญาณอั้งยี่อยู่ แต่บางคนอาจมีมากไปหน่อยเช่นเจ้าตังแกโบนี้


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 22 ก.พ. 18, 18:22

สนับสนุน เปรียบเทียบภาพเมืองงอยครับ


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 22 ก.พ. 18, 18:54
ช่วยหน่อยครับว่าชื่อตังแกโบมันภาษาอะไรกันแน่

ดูเหมือนคุณสุจิตต์ วงษ์เทศจะทราบเบาะแสของ "อ้ายตังแกโบ"  โดยกล่าวถึงตอนหนึ่งในบทความเรื่อง "กุลาร้องไห้ เมื่อค้าขายเดินทางข้ามทุ่งกุลา" (http://oknation.nationtv.tv/blog/nitimada3/2016/08/18/entry-12/comment)

"ปัญหาสำคัญของการค้า คือโจรผู้ร้ายชุกชุม ชาวกุลา หรือชาวจีนมักประสบปัญหาการถูกโจรปล้นสะดมเอาเงินทอง วัว ควาย ไปบ่อย ๆ

แต่บางครั้งก็พบว่าชาวกุลาตั้งตัวเป็นโจรปล้นสะดมเอาเงินทอง วัว ควาย หรือรับซื้อของโจร เช่น กรณีอ้ายตังแกโบ เมืองแสนปาง นครจำปาศักดิ์"


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: cinephile ที่ 22 ก.พ. 18, 20:32
ตุณสุจิตต์ วงษ์เทศ คิดว่าตังแก โบเป็นพวกกุลาเหรอครับ แต่ปัญหาก็คือ
เมืองแสนปางอยู่ห่างจากทุ่งกุลาโขอยู่ ถ้าว่ามันเป็นพวกข่ายังดูหน้าเชื่อมากกว่า
ผมมีรูปอยู่รูปหนึ่งเขียนว่าไปจะบโจร แต่ไม่แน่ใจว่าโจรอะไรและเมื่อไหร่ครับ
พอมีคนรู้บ้างไหมครับ น่าจะเป็นสมัยใหม่ ปืนที่หัวหน้าถือน่าจะเป็นปืนเมา้ซอร์ต่อ
ด้าม ส่วนหัวหน้าดูละม้ายคล้ายจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 23 ก.พ. 18, 07:09
คุณสุจิตต์ วงษ์เทศ คิดว่าตังแกโบเป็นพวกกุลาเหรอครับ แต่ปัญหาก็คือ
เมืองแสนปางอยู่ห่างจากทุ่งกุลาโขอยู่

จิตร ภูมิศักดิ์เล่าถึงพวกกุลาไว้ในหนังสือ "ข้อเท็จจริงว่าด้วยชนชาติขอม" ว่า

กุลา เป็นคำที่ ชาวพะม่าใช้พูดเป็นภาษาปากตลาดเรียกชาวอินเดีย และมีความหมายเชิงดูถูกเหยียดหยามว่าเป็นคนชั้นต่ำ

ไตลื้อ ออกเสียงคำนี้เป็น กะลา และยังคงใช้หมายถึงชาวอินเดีย

ไทยพายัพ (คนเมือง) ใช้ว่า กูลวา เป็นคำพื้นเมืองเก่าที่ใช้เรียกชาวอินเดียเช่นกัน และยังมีอีกคำหนึ่งในภาษาโบราณว่า กูลวาขาว ใช้เรียกฝรั่ง

ไทยภาคกลางใช้ว่า คุลา มาแต่โบราณ มีการละเล่นในงานพิธีที่เรียกว่า คุลาตีไม้ มีกลอนกลบทชนิดหนึ่งเรียกว่า คุลาซ่อนลูก พจนานุกรมบอกว่า คุลา หมายถึง ชนชาติต้องสู้ และ ไทยใหญ่ ซึ่งเป็นชนชาติส่วนน้อยอยู่ในพะม่า

จะเห็นว่าความหมายของคำเดินทางพ้นจากอินเดียมาแล้ว

ในภาษาลาว กุหล่า เป็นคำเรียกชนพวกหนึ่งที่มาจากพะม่าเหนือ, สะพายสัมภาระเร่ขายไปตามละแวกบ้าน, แต่ที่เข้าใจรวม ๆ  ว่าคือพะม่า ก็มี.

ในภาษาเขมร คำนี้เป็น กุฬา (ออกเสียง โกะลา). พจนานุกรม เขมร-ฝรั่งเศสฉบับหนึ่งให้คำแปลคำ กุฬา เป็นภาษาฝรั่งไว้ว่า ชาวพะม่าา, แต่มีภาษาเขมรอธิบายเพิ่มเติมไว้ว่า เป็นชนชาติหนึ่งในเอเซีย ปัจจุบันอยู่ในประเทศพะม่า.

ที่จังหวัดพระตะบอง มีอำเภอที่ลือชื่อเรื่องพลอยอยู่แห่งหนึ่ง ชื่ออำเภอไพลิน. ชาวเขมรเรียกชนพวกหนึ่งที่ตั้งรกรากขุดพลอยอยู่ที่นั่นว่ากุฬา. ข้าพเจ้าเคยไปที่นั่นครั้งหนึ่งเมื่อราวยี่สิบปีมาแล้ว, ยังจำได้ว่ารูปร่างทรวดทรง หน้าตา ผิวพรรณของชาวกุฬาก็คือพะม่าเราดี ๆ นี่เอง, ศิลปในการสร้างวัด สลักพระพุทธรูปหินอ่อนสีขาวและตัวอักษรก็เป็นแบบพะม่าทั้งสิ้น. แม้ชื่ออำเภอที่เรียกว่า ไพลินก็สงสัยว่าจะเป็นชื่อที่ชนพวกนี้นำติดตัวมาจากพะม่า, คือนำมาจากชื่อเมืองเพ่ลิน ในพะม่าเหนือ, อันเป็นเขตที่มีทับทิมและพลอย, อยู่ทางทิศตะวันตกของเมืองบ่อแสงเขียวซึ่งเป็นเขตของไตคำตี่ (บ่อแสงเขียว คือบ่อนิลสีคราม, แสงในภาษาไตแปลว่าเพชรหรือพลอย).
"

อ่านจากที่คุณจิตรเล่ามา จะเห็นได้ว่าพวกกุลาคงไม่ได้มีอยู่เฉพาะแถวทุ่งกุลา หากมีอยู่ทั่วไปในอุษาคเนย์  


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: CrazyHOrse ที่ 23 ก.พ. 18, 21:21
ตังแกโบ ชื่อสามพยางค์อย่างจีนนิยม แต่วรรณยุกต์ไม่มีเลย แซ่ตัง ถ้าใกล้เคียงก็คงเป็นสำเนียงแต้จิ๋วว่าแซ่ตั้ง (หรือฮกเกี้ยนว่าตัน) ชื่อที่พบเห็นในเรื่องกบฎฮ่อ อย่างชื่อปวงนันซี งออาจง ฯลฯ (ซึ่งล้วนเป็นสำเนียงกลุ่มฮกเกี้ยนแต้จิ๋วตามสำเนียงของจีนที่รับราชการอยู่ในสมัยนั้น) ส่วนชื่อแกโบนั้นเดาไม่ถูกว่ามาจากคำไหน ดังนั้นจะเป็นจีนหรือไม่ยังน่าสงสัยอยู่ครับ

แต่ถ้าพิจารณาจากพงศาวดารโกสุมพิสัย http://www.bl.msu.ac.th/bailan/sarakham/histrory/Kosum.asp เหมืองทองตรงเซซานนั้นคนพบเป็นคนท้องถิ่นชาวข่า (ขมุ) ปัจจุบันพื้นที่นี้อยู่ในเขมรแถบสตึงเตรง เป็นพื้นที่ที่อยู่ไกลจากศูนย์กลางอำนาจของมณฑลลาวกาวมาก นับจากชายฝั่งทะเลซึ่งมีพวกจีนอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานมากตั้งแต่ช่วงต้นราชวงศ์ชิง ก็อยู่ลึกเข้ามามาก ยิ่งอ่านพงศาวดารนี้ทั้งเรื่องแล้ว ดูเหมือนว่าคนจีนไม่น่าจะเข้ามาถึง ถึงมีก็ไม่น่ามากขนาดจะซ่องสุมกันตั้งตัวเป็นใหญ่ได้อย่างนี้

โดยส่วนตัวผมเอนเอียงไปข้างที่ว่าอ้ายตังแกโบจะเป็นขมุนะครับ  



กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: CrazyHOrse ที่ 23 ก.พ. 18, 22:10
มีข้อมูลเกี่ยวกับฮ่อเล็กๆน้อยๆที่ผมเคยค้นเก็บไว้เผื่อจะค้นต่อ (แต่ยังหาฤกษ์เหมาะๆไม่ได้) ขอแปะไว้ตรงนี้ครับ เพราะเรื่องฮ่อพากย์ไทยของเรากับของชาวบ้านอ้างชื่อตัวนายกันไปคนละโลก ถ้าผูกไม่ถูกก็ตัน ไม่รู้จะไปค้นต่อได้ยังไง

ลิวตายัน คือ หลิวหย่งฝู
https://en.wikipedia.org/wiki/Liu_Yongfu
ชื่อลิวตายันเป็นสำเนียงจีนกลาง ลิวมาจากแซ่หลิว
ตายัน ผมเข้าใจว่าน่าจะมาจากต้าเอียน (dayan) 大烟 ที่แปลว่าฝิ่น ซึ่งเป็นรายได้สำคัญอย่างหนึ่งของพวกฮ่อธงดำ
คนถอดเสียงเป็นลิวดายันน่าจะถอดมาตามอย่างที่ฝรั่งเขียนว่า Liu Dayan

ง่ออาจง คือ 吳亞終
https://zh.m.wikipedia.org/wiki/%E5%90%B3%E4%BA%9E%E7%B5%82
จีนกลางออกเสียงว่า อู๋อาจง แต้จิ๋วว่าโหง่วอาจง เห็นว่าคนถอดเสียงจะเป็นแต้จิ๋วครับ

ปวงนันซีหรือปวงนันสี คือ 黃崇英 จีนกลางว่าหวงจงอิง ฝรั่งเขียน Huang Ch'ung-ying ถ้าเขียนอย่าจีนสมัยนี้จะเป็น Huang Chongying ครับ
ชื่อนี้หลุดไปไกลมาก เพราะชื่อปวงนันซีที่ไทยเรียก เป็นนามแฝงหรือจะเรียกว่าชื่อปลอมก็ว่าได้ คือ 盤倫四 จีนกลางอ่าน ผานหลุนซื่อ, แต้จิ๋วว่า เผว่งหลุ่งสี หรือฮกเกียนจะว่า ปั่วง์หลุ่นสี่ จะมาจากแต้จิ๋วหรือฮกเกี้ยนอย่างไรก็ไม่ทราบครับ


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 23 ก.พ. 18, 22:50
คุณม้าเข้ามาครั้งเดียว ตอบหลายกระทู้คุ้มเลย แล้วพอมีตัวอย่างชื่อของชาวขมุแท้ๆบ้างไหมครับ ผมพยายามเสิร์ชหาแล้ว ไม่เจอเลย


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 24 ก.พ. 18, 07:38
นำเสนอทุกภาษาเราชาวน่าน
คราวนี้ ขอเป็นภาษาขมุ ก่อนนะครับ

อุปกรณ์เครื่องมือที่ใช้กับชีวิตประจำวัน พูดว่า เทรืองติ๊

คำไทย                       คำขมุ
-มีด-----------------------เอื้อร
-กระติ๊บข้าว ---------------แอ๊บหม่า
-ถังน้ำ---------------------อัมคุ
-น้ำต้น --------------------อันแงน
-ไม้กวาด ------------------พระน่อกาง
-ไม้ขีดไฟ -----------------กั๊บซีด
-ครก ---------------------ซรก
-ช้อน ---------------------ระหนีบ
-หม้อแกง -----------------ทะล่อ
-รองเท้า------------------แค๊ป
-ไม้ถูพื้น -----------------มู่อ้อดก่าง
-ถาดอาหาร --------------เพื่อน
-แก้วน้ำ -----------------แก้ว
-ไม้เสียบพริก------------ระหนูดหพริ

คำ เรียกพ่อแม่พี่น้อง
พ่อ-----------------------โหย่ง
แม่-----------------------หม่า
พี่ชาย-------------------ใต้บร่อ
พี่หญิง-------------------ใต้ห.กึ้น
น้องชาย-----------------แฮ้มมาร่อ
น้องหญิง----------------แฮ้มห.กึ้น
พ่อของพ่อของแม่--------โหย่งอุ้ย,หม่าอุ้ย
สาวสวย-----------------ก้อนนึมเปรีย
บ่าวหล่อ----------------มร่อเปรีย
เด็ก---------------------ก้อนแหนะ
เด็กเพิ่งคลอด-------------ก้อนประ

การถามไถ่

คำไทย--------------------คำขมุ
ไปไหน-------------------หย่อเม่อะ
สบายดีหรือเปล่า-----------สบายแด้
กินข้าวกับอะไร------------เปอะหม่ากั้บเมอะ
ไปในเมืองมา-------------หย่อต่าเวียง
กินข้าวกับน้ำพริก----------เปอะหม่ากั้นพริแจว

การนับเลข หนึ่งถึงร้อย

คำไทย-------------------คำขมุ
หนึ่ง---------------------โมย
สอง----------------------ปราน.ร
สาม----------------------เป้
สี่------------------------ป้วน
ห้า-----------------------เฟื้อง
หก-----------------------ตอนร
เจ็ด-----------------------หนด
แปด----------------------ระติ๊
เก้า-----------------------หไก่
สิบ------------------------สิ๊บ
สิบเอ็ด--------------------สิ๊บเอ็ด
สิบสอง--------------------สิบส้อง

จาก http://thaigoodview.com/node/53293

ชาวขมุ คือคนพื้นเมืองของน่านเผ่าพันธุ์หนึ่ง ภาษาก็คล้ายๆภาษาท้องถิ่นในเมืองไทยเหนือทั้งหลาย ผมจึงสงสัยว่า ชื่อของชาวขมุ(สมัยโน้น)มีกี่พยางค์ จะผ่าเหล่าไปออกทางจีนๆได้อย่างไร นี่ไม่ได้ปักหลักค้านนะครับ


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: cinephile ที่ 24 ก.พ. 18, 12:51
เห็นด้วยกับคุณม้าบ้า ว่านายตังแกโบเป็นข่า (ขมุ) เพียงแต่ตังแกโบแปลว่าอะไร
มีความหมายว่าอะไร


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: cinephile ที่ 24 ก.พ. 18, 13:25
นึกออกมาได้ว่าที่บ้านมีคนงานข่าอยู่หลายคน ลองถามไปว่า
ตังแกโบแปลว่าอะไร เด็กข่าบอกว่าไม่รู้ แต่จะโทรถามคนแก่
ที่บ้าน (ลาว สวันเขตุครับ) ปรากฏว่าพวกข่าแก่ๆ รู้ทันทีว่าตังแก
แปลว่า”ตาแก่”ครับ ตังแกโบคงจะหมายถึง “ตาแก่โบ”ครับ


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 24 ก.พ. 18, 14:13
หมดคำถามครับท่าน


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: cinephile ที่ 24 ก.พ. 18, 14:17
ผมยังไม่แน่ 100% ว่าใช่หรือเปล่า ต้องลงพื้นที่ก่อนแล้วถาม
คนแถวนั้นดูครับ


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: cinephile ที่ 24 ก.พ. 18, 22:41
มีแัญหาอีกอันหนึ่งครับ อยู่ในพงศาวดารเมืองโกสุมพิสัยเหมือนกัน คือมีการพูดถึงฝรั่งคนหนึ่ง
มาตั้งตัวเป็นใหญ่อยู่ในลาว

"รัฐบาลฝรั่งเศส ได้แจ้งต่อรัฐบาลสยามว่า มองซิเออเดอมาเรียนา ฤาเลอ กอมเต เดอ ดะเร ซึ่งตั้งตัวเปนเจ้าแผ่นดินเมืองซิดัง
ได้หนีมาจากปารีศไปเมืองซิดัง ( แขวงข่าระแด ตั้งอยู่ตำบลที่เรียกว่าโปโล ปลายลำน้ำเซโขงฤาเซกอง ฝั่งโขงตะวันออก )
กับคนยุโรป ๕ คน มีปืน ๔๘ หีบ ขอให้รัฐบาลสยามช่วยสืบจับ"

แต่ผมหาตัว "มองซิเออเดอมาเรียนา ฤาเลอ กอมเต เดอ ดะเร" ไม่เจอไม่รู้ว่าเป็นใครหน้าตาอย่างไร บางทีพวกเราในเรือนไทย
อาจจะมีร่องรอยของฝรั่งคนนี้บ้าง

คิดว่า Joseph Conrad เอาเรื่องมาเขียนเป็นนิยาย Heart of Darkness หรือ Lord Jim ตอนนั้น อีตา Conrad แกอยู่เมืองไทย
มีใครรู้จักกอมเต เดอ คะเร นายคนนี้บ้างครับ


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 25 ก.พ. 18, 10:07
ชื่อฝรั่งคนนี้ คือMonsieur de Mariana  หรืออีกชื่อคือ  Le Comte de Dare
คำหลังถ้าแปลเป็นอังกฤษ ก็คงเป็น The Count of Dare (มีขีดข้างบนตัว e)
คำว่า ดะเร ไม่แน่ใจว่าสะกดอย่างไรค่ะ  อาจจะ Dare   หรือ Dares  หรืออย่างอื่นก็ได้   ถ้ารู้ตัวสะกดก็คงหาได้ง่ายขึ้น


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: cinephile ที่ 26 ก.พ. 18, 22:58
ผมพยายามตามหา มองซิเออเดอมาเรียนา ฤาเลอ กอมเต เดอ ดะเร มาหลายเดือน
แล้วครับ แต่ไม่มีวี่แววไม่ว่าจะมาจากหนังสือไทยหรือหนังสือฝรั่ง ให้อาจารย์ไกรฤกษ
ช่วยหาก็ยังหาไม่ได้ครับ เห็นจะต้องพึ่งสยามสมาคมเป็นแน่ เสียอย่างเดียวภาษาฝรั่ง
เศสของผมมันไม่กระดิกหูเอาเสียเลย

เอาเรื่องง่ายๆ ก่อนก็แล้วกันเกียวกับหลวงเทเพนทรเทพ กับหลวงเทเพนทร์ นี่เป็นคนเดียวกันหรือ
เปล่าครับ พอจะรู้ประวัติของหลวงเทเพนทรเทพบ้างไหมครับ   


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 27 ก.พ. 18, 15:50
เมืองซิดัง เขียนเป็นภาษาฝรั่งว่าอะไรคะ


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 28 ก.พ. 18, 09:50
หลวงเทเพนทร์ เจ้ากรมมหาดไทยตำรวจภูบาล ฝ่ายขวา
หลวงธรเณรท์ เจ้ากรมมหาดไทยตำรวจภูบาล ฝ่ายซ้าย


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: cinephile ที่ 28 ก.พ. 18, 13:54
หลวงเทเพนทร์นี่ครเดียวกับคนนี้หรือเปล่าครับ

กรมหลวงพิชิตปรีชากรทรงบรรยายความด้อยสมรรภาพของทหารพื้นเมืองไว้ดังนี้ "---ให้ไปรบ แพ้ไม่กลับมา เพราะกลัวถูกฆ่า เกรงจะไปเป็นไส้ศึก"  "----อนึ่งการอันตรายแก่ราชการครั้งนี้ก็มีนายไพร่ จะไม่ตั้งใจจะต่อสู้กับข้าศึก เหมือนอย่างหลวงเทเพนทร์ กับ นายร้อยโทเล็ก เห็นข้าศึกใกล้เข้ามา ก็ทิ้งไพร่หนีเสีย ราชบุตรสารคาม แลท้าวบุตตะวงษ์ ข้าศึกมาไม่ต่อสู้ไม่หนี ยอมให้จับทั้งนายไพร่ ให้มันเอาปืนไปหลายร้อย"


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 02 มี.ค. 18, 14:00
หลวงเทเพนทร์นี่ครเดียวกับคนนี้หรือเปล่าครับ

กรมหลวงพิชิตปรีชากรทรงบรรยายความด้อยสมรรภาพของทหารพื้นเมืองไว้ดังนี้ "---ให้ไปรบ แพ้ไม่กลับมา เพราะกลัวถูกฆ่า เกรงจะไปเป็นไส้ศึก"  "----อนึ่งการอันตรายแก่ราชการครั้งนี้ก็มีนายไพร่ จะไม่ตั้งใจจะต่อสู้กับข้าศึก เหมือนอย่างหลวงเทเพนทร์ กับ นายร้อยโทเล็ก เห็นข้าศึกใกล้เข้ามา ก็ทิ้งไพร่หนีเสีย ราชบุตรสารคาม แลท้าวบุตตะวงษ์ ข้าศึกมาไม่ต่อสู้ไม่หนี ยอมให้จับทั้งนายไพร่ ให้มันเอาปืนไปหลายร้อย"

ใบบอกที่ศาลาว่าการกรมมหาดไทย ณ วันอังคาร เดือน ๘ แรม ๑๒ ค่ำ ปีจออัฐศก ศักราช ๑๒๔๘ (พ.ศ. ๒๔๒๙)
ใบบอกความว่า ข้าพระพุทธเจ้าพระยามหาอำมาตยาธิบดี แม่ทัพเมืองเขมราฐ ได้นำความขึ้นกราบบังคมทูลความว่า หลวงเทเพนมีใบบอกมายังข้าพระพุทธเจ้าว่าจะยกออกจากเมืองจำปาศักดิ์จะไปตรวจทางโทรเลข ที่เมืองขุขันธ์ เมืองสังฆะ ความแจ้งอยู่ในใบบอกของหลวงเทเพนนั้นแล้ว
.
ครั้นวันพุธ เดือน ๖ ขึ้น ๓ ค่ำ ปีจออัฐศก หลวงโจมพินาศข้าหลวงพระยาทิพมนตรีเมืองนครจำปาศักดิ์ได้มีใบบอกมายังข้าพระพุทธเจ้าฉบับ ๑ ว่า หลวงเทเพนลงไปถึงเมืองขุขันธ์ ณ วันเดือน ๕ ขึ้น ๔ ค่ำปีจอยังเป็นสัปตศก จึงได้พร้อมกันกับหลงนคร กรมการเมืองปราจีณบุรี หลวงโจมพินาศ พระยาทิพมนตรี เมืองนครจำปาศักดิ์ ว่าจะลงไปตรวจดูทางที่จะขึ้นเขา จนถึงเมืองนครเสียมราฐ  หลวงเทเพน หลวงนคร กรมการเมืองปราจีณบุรี พระยาทิพมนตรีเมืองนครจำปาศักดิ์ กับผู้ว่าราชการเมืองกรมการ เมืองขุขันธ์ เมืองสังฆะ ไปถึงทุ่งฉะง้ำ ปากช่องเกณฑ์ หลวงเทเพนป่วยเป็นไข้จับ หลวงนครจึ่งให้พระยาทิพมนตรีพาหลวงเทเพนกลับมาให้ ถึงหลวงโจมพินาศที่เมืองขุขันธ์
.
พระยาทิพมนตรี เมืองนครจำปาศักดิ์พาหลวงเทเพนมาถึงกลางทาง ยังหาถึงเมืองขุขันธ์ไม่ หลวงเทเพนป่วยเป็นไข้ จับอาการมากลง ถึงแก่กรรม พระยาทิพมนตรีจึงได้คุมศพหลวงเทเพนขึ้นไปถึงเมืองขุขันธ์ หลวงโจมพินาศได้บังคับให้ผู้ว่าราชการเมืองกรมการต่อหีบยกศพหลวงเทเพนลงไว้แล้ว ปลูกโรงไว้ศพตามสมควร
.
คัดจากราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๓ แผ่นที่ ๑๘ หน้า ๑๔๑ วันอาทิตย์ เดือนเก้า ขึ้นสองค่ำ ปีจออัฐศก ๑๒๔๘


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: cinephile ที่ 03 มี.ค. 18, 17:01
ตกลงว่าหลวงเทเพนทรกับหลวงเทเพนทรเทพเป็นคนละคนกัน
มีใครรู้ว่าหลวงเทเพนทรเทพเป็นใคร หน้าตาเป็นอย่างไร อายุเท่าไรในปี ๒๔๓๐ มีรูปด้วยก็ดี
ครับ
หลวงเทเพนทรเทพจะเป็นหนึ่งในผู้ป้องกันเมืองสีทันดรตอนรศ.๑๑๒ ครับ
เช่นตอนที่ฝรั่งเศสยกพลขึ้นบกที่ดอนสาคร หลวงเทเพนทรเทพก็มีบทบาทในการสู้รบกับฝรั่งเศส

"แต่ฝรั่งเศสไม่ยกพลขึ้นบกตามที่หลวงเทเพนทรเทพคาดคะเน คือหลวงเทเพนทรเทพ เดาว่าฝรั่งเศส
จะยกพลขึ้นบกที่ท่าสนาม ท้ายคอนหรือดอนสะดำ แต่ฝรั่งเศส ยกทหารมาประมาณ 400 ค น มาด้วย
เรือ 26 ลำ เข้าจอดที่ดอนละงา พบหลวงเทเพนทรเทพ ซึ่งคุมกำลังไปสะกัดอยู่ทางนั้นหลวงเทเพนทรเทพ
จึงเข้าไปไต่ถามฝรั่งเศส และห้ามไม่ให้ฝรั่งเศส ยกทหารเข้ามาในพระราชอาณาเขตสยาม  ฝรั่งเศสหายอมไม่
 กลับบอกว่า ตำบลเหล่านี้เป็นของฝรั่งเศส ให้หลวงเทเพนทรเทพ ถอยไปเสีย ถ้าไม่ถอย ฝรั่งเศสจะรบทันที
ทั้งได้เป่าแตรเรียกทหาร เตรียมรบแล้วด้วยหลวงเทเพนทรเทพเห็นว่า ฝรั่งเศสไม่ยอมทำตามคำห้ามปราม
 กับทั้งเตรียมทหารจะรบด้วยเช่นนี้ หลวงเทเพนทรเทพ จึงได้ถอยทหารมาอยู่ดอนสม รอฟังคำสั่งของพระประชา
คดีกิจต่อไป"


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: cinephile ที่ 03 มี.ค. 18, 17:16
หลวงเทเพนทรเทพ ต่อสู้กับฝรั่งเศสโดยไม่เกรงกลัวฝรั่งเศสแม้แต่น้อย

"นายสุจินดา  นายร้อยโทพุ่ม ซึ่งพระประชาคดีกิจ ให้คุมกำลัง ๔๐๐ คน ไปตั้งรับฝรั่งเศสอยู่ ณ ดอนสาคร นั้น  ได้ล่องเรือมาถึงหัวดอนสาคร  ฝรั่งเศสที่ตั้งค่ายอยู่
ณ ดอนสาครนั้น  ก็แลเห็น  จึงสั่งให้ทหารปืนใหญ่น้อย  ยิงลงมายังกองเรือนายสุจินดาเป็นอันมาก  นายสุจินดาจึงสั่งให้ยิงตอบไปบ้าง  ทั้งสองฝ่ายได้ยิงโต้ตอบกัน
อยู่ตั้งบ่าย๑โมงจนบ่าย๒โมงเศษ  จึงหยุดสงบกันไป
ฝ่ายหลวงเทเพนทรเทพ  ซึ่งได้รับคำสั่งจากพระประชาคดีกิจ ให้ไปรักษาท้ายดอนสะดำและท้ายดอนสาครนั้น  ได้ยินเสียงปืนต่อสู้กันหนาแน่นมาก  จึงสั่งขุนศุภมาตรา
แบ่งกำลังไปท้ายดอนสะดำก่อน  ส่วนตัวหลวงเทเพนทรเทพกับนายร้อยตรีถมยานั้น  ได้แยกเข้าท้ายดอนนางชม  ด้านตะวันออกดอนสาคร  เข้าประชิดค่ายฝรั่งเศส
ประมาณ ๑๗-๑๘ วา  ฝรั่งเศสเห็นก็ได้ยิงปืนกราดออกมาเป็นอันมาก  หลวงเทเพนทรเทพก็ได้บากบั่นคุมกำลังเข้าไปตั้งในวัดบ้านดอน  เอาวัดเป็นที่ตั้งมั่นได้  จึงได้ยิง
กราดไปที่ค่ายฝรั่งเศสบ้าง  ฝรั่งเศสจึงสงบไป


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: cinephile ที่ 03 มี.ค. 18, 17:35
เรื่องของหลวงเทเพนทรเทพยังมีอีกเยอะเช่นกรณีจับร้อยเอกโทเรนซ์
และเรื่องป้องกันดอนสม (ค่ายใหญ่ของทหารไทยที่เมืองสีทันดร)
ผมเห็นว่าเรารู้จักเรื่องรศ.๑๑๒ เพียงแต่เรื่องการสู้รบที่ปากน้ำ แต่สมรภูมิอื่นๆ
เช่นที่สีทันดอน พระยอดเมืองขวาง ภูบันไดแก้ว อัตปือ บางเบียง เรื่องทั้งหมด
ที่ทำให้เราเสียดินแดนฝั่งซ้ายและเกือบจะเสียเอกราชไป ผมจึงพยายามค้นคว้าถึง
สมรภูมิอื่นๆ ที่เราเสียเลือดเสียเนื้อไปไม่ใช่เบา
หวังว่าเพื่อนๆ คงช่วยผมค้นคว้าหาตัวแสดงในสมรภูมิเหล่านั้นนะขอรับ :D



กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 03 มี.ค. 18, 17:45
ตกลงว่าหลวงเทเพนทรกับหลวงเทเพนทรเทพเป็นคนละคนกัน


คงจะเป็น หลวงเทเพนทร์(เอี่ยม) ที่วายชนม์ไป กับ หลวงเทเพนทร์(เทพ)


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: cinephile ที่ 03 มี.ค. 18, 20:34
ผมยังงงๆอยู่นะครับคุญ Siamese ที่ว่าหลวงเทเพนทร์ตายศักราช ๑๒๔๘ (พศ. ๒๔๒๙)จากราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๓ แผ่นที่ ๑๘ หน้า ๑๔๑ วันอาทิตย์ เดือนเก้า ขึ้นสองค่ำ ปีจออัฐศก ๑๒๔๘

แต่ตอนรศ.๑๑๐ มีหลักฐานระบุว่าหลวงเทเพนทร์เป็นข้าหลวงเมืองศรีธันดร
พฤติการณ์ของฝรั่งเศสตามที่ปรากฏในรายงานแต่ละฉบับ กรมหลวงพิชิตปรีชากรทรงมีความเห็นว่า ฝรั่งเศสมุ่งคุกคามหัวเมืองชายแดน โดยใช้กำลังข่มขู่ไทยมากยิ่งขึ้น จึงทรงเตรียมป้องกันชายแคน โดยทรงจัดข้าหลวงไปประจำตามด่านต่าง ๆ และโปรดให้เตรียมเสบียงอาหารไว้เพียงพอแก่ความต้องการ ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้
๑.   ให้หลวงเทเพนท์ไปจัดตั้งป้อมค่ายและเป็นผู้จัดการด่านชั้นในที่แก่งหลี่ผี
๒.   ให้ท้าวเพี้ยเมืองสีทันดร ไปปลูกยุ้งฉางและปลูกพลับพลาที่เมืองสีทันดร
๓.   ให้หลวงธนสารสุทธารักษ์ (หว่าง) ไปจัดซื้อข้าวขึ้นฉางที่เมืองสุรินทร์
๔.   ให้นายสุดจินดา (เลี่ยม ณ นคร) ไปจัดซื้อข้าวและประจำราชการเมืองกาฬสินธ์
๕.   ให้พระศรีพิทักษ์ ข้าหลวงขุขันธ์ ไปต่อสายโทรเลขและตรวจราชการเมืองเสียมราฐ และให้กรมการเมืองขุขันธ์ ตัดทางเพื่อต่อสายโทรเลข ตั้งแต่เมืองขุขัณธ์ไปจนถึงเมืองอุบลราชธานี

  กจช. ม. ๖๒.๑/๓๒ ใบบอกที่ ๖ พระประชาฯ คดีกิจ กราบทูล กรมพระพิชิตปรีชากร ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๑๐

หรือว่ามีหลวงเทเพนทร์หลายคน คุณSiamese มีความเห็นอย่างไรครับ




กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 05 มี.ค. 18, 16:05

ตามรอยหลวงเทเพนทร์


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 05 มี.ค. 18, 16:13

แผนที่การรบสมรภูมิดอนสม รศ.112   (13-22 July 1893)


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 05 มี.ค. 18, 23:01

หลวงเทเพนทร์ น่าจะเสียชีวิตในที่รบ ค่ายดอนสม เช้าวันที่ 20 กรกฎาคม ร.ศ. 112 ครับ


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 06 มี.ค. 18, 01:25

ตามรอยหลวงเทเพนทร์ต่อครับ
น่าจะอายูมากกว่าพระประชาคดีกิจเล็กน้อยครับ (เป็นตุณหลวงก่อน)


โปรดเกล้า ฯ ให้พระพิศณุเทพ (ช่วง) ข้าหลวงที่ ๒ ขึ้นไปเปลี่ยนพระยามหาอำมาตย์ (หรุ่น) ณเมืองนครจำปาศักดิ แลโปรด ให้หลวงสุเทพนุรักษ์ หลวงเทเพนทรเทพ หลวงบุรินทามาตย์ หลวงเทพนเรนทร์ ขุนมหาวิไชย ขุนวิชิตชลหาร เปนข้าหลวงผู้ช่วยไปด้วยพระพิศณุเทพ ๆ กับข้าหลวงผู้ช่วยไปถึงนครจำปาศักดิ เมื่อมิถุนายน ร.ศ. ๑๐๙

พระยามหาอำมาตย์ (หรุ่น) มอบราชการเสร็จแล้ว ได้เดินจากนครจำปาศักดิ กลับมาเฝ้าทูลลอองธุลีพระบาทณกรุงเทพ ฯ เมื่อเดือนกรกรฎาคม ร.ศ. ๑๐๙


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 06 มี.ค. 18, 20:51
ได้ความรู้เพิ่มจากกระทู้เก่าอีกนิดหน่อย ว่า 
๑ หลวงเทเพนทร์ (ถนอม อินทุสูต)กับคุณนายนวม ภรรยา มีบุตรสาวคนหนึ่งชื่อจำเริญ ต่อมาสมรสกับพระยาโบราณราชธานินทร์    คุณหญิงจำเริญได้รับพระราชทานเครื่องราชจุลจอมเกล้าชั้นตติยจุลจอมเกล้าฯ  มีบุตรธิดากับพระยาโบราณฯด้วยกัน ๕ คน
๒  ยังมีหลวงเทเพนอีกคนหนึ่งชื่อเดิมว่า หง มีบ้านอยู่ตรงกับประตูช่องกุดทาง ทิศตวันออกเฉียงเหนือ

จะพยายามรวบรวมให้ว่า มีหลวงเทเพนทรฯ กี่คนกันแน่ ค่ะ


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 07 มี.ค. 18, 10:10
ได้มาอีกภาพหนึ่ง เผื่อท่าน cinephile จะยังไม่เคยเห็น


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 07 มี.ค. 18, 10:45
เมื่อวานนี้ ด้วยความประมาท  พิมพ์ลงช่องข้อความแทนที่จะพิมพ์ลง notepad   คลิกผิดทีเดียว หายหมด กู้คืนไม่ได้
ต้องก้มหน้าก้มตาพิมพ์ใหม่


หน้าที่การงานของหลวงเทเพนทร์ คือ เจ้ากรมมหาดไทยตำรวจภูบาล ฝ่ายขวา คู่กับหลวงธรเณรท์ เจ้ากรมมหาดไทยตำรวจภูบาล ฝ่ายซ้าย

หลวงเทเพนทร์ เท่าที่รวบรวมได้ คือ
หลวงเทเพนทร์คนที่ ๑   ประวัติงานแย่มาก   เห็นข้าศึกใกล้เข้ามายังไม่ทันรบ ก็ใจฝ่อหนีเอาดื้อๆ  ท่าน cinephile ไม่ได้บอกว่าเป็นการรบครั้งไหน   รู้ว่าอยู่ในรัชกาลที่ ๕
หลวงเทเพนทรคนที่ ๒   อยู่ที่เมืองจำปาศักดิ์ ออกเดินทางไปตรวจทางโทรเลขที่เมืองขุขันธ์   ป่วยเป็นไข้ถึงแก่กรรม เมื่อพ.ศ. ๒๔๒๙
สองคนนี้อาจเป็นคนเดียวกัน  คือจบบทบาทไปตั้งแต่พ.ศ. ๒๔๒๙

ต่อมาก็เริ่มบทบาทของหลวงเทเพนทรเทพ  เป็นหนึ่งในผู้ป้องกันเมืองสีทันดร ตอนรศ.๑๑๒  (พ.ศ. ๒๔๓๖)
เช่นตอนที่ฝรั่งเศสยกพลขึ้นบกที่ดอนสาคร หลวงเทเพนทรเทพก็มีบทบาทในการสู้รบกับฝรั่งเศส
หลวงเทเพนทร(เทพ) (น่าจะ) เสียชีวิตเมื่อ ร.ศ. ๑๑๒  (พ.ศ. ๒๔๓๖)
หลวงเทเพนทร(เทพ)  เป็นพ่อตาของพระยาโบราณราชธานินทร์  ชื่อเดิมว่า ถนอม อินทุสูต


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 07 มี.ค. 18, 10:52
บรรดาศักดิ์ เทเพนทร  และ เทเพนทรเทพ น่าจะเป็นบรรดาศักดิ์เดียวกัน   มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา    เดิมเป็นแค่ขุน  ในสมัยหลังจึงเป็น "หลวง"

คุณศรีสรรเพชญเคยเล่าไว้ในกระทู้เก่าว่า

คำว่า 'เจ้าขุนหลวง' ยังพบในพระตำราบรมราชูทิศ เรื่องกัลปนาวัดในเมืองพัทลุง เมื่อปีจอ พ.ศ.๒๑๕๓ รัชสมัยพระเจ้าทรงธรรมครับ
โดยมีการระบุชื่อขุนนางที่ได้ปรากฏตัวอยู่ตอนทำพระตำรา ซึ่งกล่าวถึงบรรดาศักดิ์ของสมุหพระกลาโหมว่า เจ้าขุนหลวงมหาอำมาตยาธิบดีศรีรักษาองคสมุหพระกลาโหม
และบรรดาศักดิ์ของสมุหนายกคือ  เจ้าขุนหลวงมหาเสนาบธิดีศรีองครักษสมุหนายก (บางฉบับเขียนแค่ เจ้าขุน เข้าใจว่าน่าจะเขียนตกไป)

'สํมเด็จบรมบพิตร(มี)พระราชบันทูล ตรัสแก่ออกพระศรีภูริปรีชญาธิราชเสนาบดีศรีสาลักษณ์ ให้ทำพระดำราแลตราพระราชโองการนี้ต่อหน้าออกพระเสดจสุรินทรราชาธิบดีศรีสุปราช  เจ้าขุนหลวงมหาอำมาตยาธิบดีศรีรักษาองคสมุหพระกลาโหม  เจ้าขุนหลวงมหาเสนาธิบดีศรีองครักษสมุหนายก  ออกพระอินทราธิราชภักดีศรีธรรมราชพระนครบาล  ออกพระบุรินายกราชภักดีศรีรัตนมณเทียรบาล  ออกพระพลเทพราชเสนาบดีศรีไชยนพรัตนเกษตราธิบดี  ออกพระศรี(อัค)ราชอำมาตยานุชิตพิพิทรัตนราชโกษาธิบดี  ออกพระธรรมราชภักดีศรีสมุหสังการีย ออกพระศรีพิพัทราชโกษาธิบดี  พขุนสุเรนธรเทพเสนาบดีศรีกาลสมุดสมุหพระดำรวจ  พขุนสุรินทรราชเสนาบดีศรีเทพณรายสมุหพระดำรวจ  พขุนธรเนนทราเทพพระดำรวจ  พขุนเทเพนทรเทพพระดำรสจ  พขุน(พิศ)นูเทพพระดำรวจ  พขุนภาสุเทพพระดำรวจ  พขุนมหามนตรีศรีองครักสมุหพระดำรวจ  พขุนมหาเทพเสบกษัตรพระดำรวจ  พขุนมงคลรัตนราชมนตรีศรีสมุหพระสรรพากร  พขุนอินทรมนตรีศรี(จัน)ทรกุมารสมุหพระสรรพากร  พขุนอินทราทิตยพิพิทรักษาสมุหพระสนม  พขุนจันทราทิพพิพิทรักสาสมุหพระสนม  หัวหมีนหัวพันนายแวงกรมแดงนักมุขทังหลายนงงในวันเดียวนั้น'


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: cinephile ที่ 07 มี.ค. 18, 15:29
ขอบคุณมากครับทุกท่าน แต่บังเอิญตอนนี้ผมกำลัง tour โรงพยาบาลอยู่ครับ เริ่มจาก
ลูกสาวที่เป็นสโตรค ตามด้วยพี่เขยคุณทวีศักดิ์ หัวใจวาย แล้วภรรยาสรพงค์เลือดออก
ในกระเพาะอาหาร ตามมาด้วยลูกสะไภ้ที่เป็นมะเร็งเต้านม และผมเองเข้ามาตรวจในโรงพยาบาล
ครับ
จะคุยต่อเมื่อมีเวลาครับ


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 07 มี.ค. 18, 16:57
ขอเอาใจช่วยให้ผ่านไปด้วยดีครับ


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: cinephile ที่ 07 มี.ค. 18, 18:18
สถานการณ์ชายแดนของไทยในตอนนี้จึงอยู่ในสภาพคับขัน กรมหลวงพิชิตปรีชากรโปรดให้จหมื่นวิไชยยุทธ์
คุมกำลังทหารจากอุบล 1,000 คน ยกไปตั้งรับฝรั่งเศสที่เมืองเขมราฐ และโปรดให้เกณฑ์กำลังเมืองคำทองใหญ่
ไปตั้งรับฝรั่งเศสที่ฝั่งแม่น้ำเซบังเหียน 500 คน (กจช. ฝ.๑๘.๑/๒ สำเนาโทรเลขลับ ล.ค) ปัญหาเฉพาะหน้าซึ่งกรม
หลวงพิชิตปรีชากรเผชิญอยู่ในขณะนี้คือ กองทัพขาดอาวุธ และขาดประสิทธิภาพในการรบ ดังปรากฎในโทรเลขกรม
หลวงพิชิตปรีชากร ดังนี้ “ข้าศึกมาสองทางคือทางคอนดอน และทางสองคอน คนก็เสียใจด้วยไม่มีอะไรจะต่อสู้ หม่อม
ฉันขอถวายชีวิตสิ้นความคิดอยู่แล้ว” (กจช. ฝ. ๑๘.๒/ สำเนาโทรเลขลับ กรมหลวงพิชิตปรีชากร ทูลกรมหมื่นดำรงราชานุภาพ
ลงวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ร.ศ.๑๑๒) อีกฉบับส่งมาติดๆ กันมีความว่า “ขอให้ส่งกองทัพอาวุธจากกรุงเทพไปช่วย” กรมหลวงพิชิต
ปรีชากรทรงบรรยายความด้อยสมรภาพของทหารพื้นเมืองไว้ดังนี้ “—-ให้ไปรบแพ้ไมกลับมาเพราะกลัวถูกฆ่า เกรงจะเป็นไส้ศึก”
“—-อนึ่งการอันตรายแก่ราชการครั้งนี้ก็มีนายไพร่ จะไม่ตั้งใจจะต่อสู้กับข้าศึกเหมือนอย่างหลวงเทเพนทร์กับนายร้อยโทเล็ก เห็น
ข้าศึกใกล้เข้ามาก็ทิ้งไพร่หนีเสีย ราชบุตรสารคาม แลท้าวบุตตะวงษ์ ข้าศึกมาไม่ต่อสู้ไม่หนี ยอมให้จับทั้งนายไพร่ ให้มันเอาปืนหลายร้อย”
(กจช. ฝ. ๑๘.๑/๙ สำเนาโทรเลขลับ กรมหลวงพิชิตปรีชากร ทูลกรมหมื่นดำรงราชานุภาพ ลงวันที่ ๑๑ มิถุนายน ร.ศ. ๑๑๒

อันนี้พอจะตอบคำถามของคุณหญิงได้หรือเปล่าครับ พแเดาออกไหมครับว่าหลวงเทเพนทรืท่านนี้เป็นใคร



กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: cinephile ที่ 07 มี.ค. 18, 18:20
ขอบคุณคุณ Navarat มากครับ


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 07 มี.ค. 18, 20:24
ขอเอาใจช่วยให้ทุกท่านที่เจ็บไข้ได้ป่วยอยู่ตอนนี้ อาการดีขึ้นจนหายในเร็ววันค่ะ

พอทราบว่าหลวงเทเพนทรฯหนีข้าศึกเป็นเหตุการณ์เกิดขึ้นในร.ศ. 112  (พ.ศ. 2436)   ก็ต้องมาเรียงลำดับกันใหม่

ก่อนหน้าร.ศ. 112  ย้อนหลังไป 7 ปี ตรงกับพ.ศ. 2429  มีข้าราชการคนหนึ่งชื่อหลวงเทเพนทร   ชื่อตัวว่ากระไรไม่ทราบ อาจเป็นได้ว่าชื่อหง ที่มีบ้านอยู่หน้าประตูช่องกุดในกรุงเทพ  
คุณหลวงป่วยไข้ถึงแก่กรรมระหว่างทางที่ไปตรวจทางโทรเลขที่เมืองขุขันธ์  

เมื่อคุณหลวงคนเดิมตาย  ข้าราชการคนอื่นก็ได้เลื่อนตำแหน่งและบรรดาศักดิ์เป็นหลวงเทเพนทรฯ แทน  
ดังนั้นเหตุการณ์ในปีหลังจาก 2429  ถ้ามีชื่อหลวงเทเพนทรฯเข้าไปเกี่ยวข้อง ขอให้รู้ว่าเป็นคุณหลวงคนใหม่


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 07 มี.ค. 18, 21:27
     เมื่อพ.ศ. 2434  ก่อนหน้าเหตุการณ์ร.ศ. 112  สองปี   พระเจ้าน้องยาเธอกรมหลวงพิชิตปรีชากร ทรงได้รับตำแหน่งข้าหลวงใหญ่หัวเมืองลาวกาว   ก็เสด็จไปประจำอยู่ที่นครจำปาศักดิ์   หลวงเทเพนทร์เป็นหนึ่งในขุนนางที่ไปประจำอยู่ทางนั้นด้วย
     หลวงเทเพนทร์ได้รับตำแหน่งเป็นข้าหลวงเมืองศรีธันดร(สีทันดร)  ต่อมาเมื่อศึกกับฝรั่งเศสเริ่มคุกรุ่นขึ้นในหัวเมืองชายแดน   กรมหลวงพิชิตปรีชากร จึงทรงเตรียมป้องกันชายแดน โดยทรงจัดข้าหลวงไปประจำตามด่านต่าง ๆ และโปรดให้เตรียมเสบียงอาหารไว้เพียงพอแก่ความต้องการ
     ในปี 2434 (ร.ศ. 110) หลวงเทเพนท์ได้รับมอบหมายให้ไปจัดตั้งป้อมค่ายและเป็นผู้จัดการด่านชั้นในที่แก่งหลี่ผี  พูดง่ายๆว่าไปเป็นขุนศึกเตรียมพร้อมรบกับฝรั่งเศส


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 07 มี.ค. 18, 21:38
ข้อความข้างล่างนี้ ไปหามาเองค่ะ

      วันที่ 31 เดือนมีนาคม พ.ศ. 2436 ฝรั่งเศสรุกสยามทางบก   นายทหารชื่อ ปัสตา คุมทหารญวนจากเมืองไซง่อน 200 คน และทหารเขมรจากนครพนมเปญอีกหลายร้อยคนลงเรือทั้งหมด 33 ลำ มีอาวุธพร้อม ล่องมาตามแม่น้ำโขงขับไล่ทหารไทยซึ่งรักษาด่านต่าง ๆ
     ที่เมืองเชียงแตง มีหลวงพิพิธสุนทรเป็นนายทหาร ร้อยโท คร้าม เป็นข้าหลวงและมีพลทหารอยู่ 12 คน ไม่มีทางที่ทหารไทย 12 คนจะต่อสู้ทหารญวน และเขมรหลายร้อยคนนั้นได้ ทหารไทยต้องถูกขับไล่ ประชาชนเมืองเชียงแตกก็แตกตื่นตกใจ เพราะฝ่ายไทยมิได้ให้ความคุ้มครอง ทหารฝรั่งเศสบุกรุกต่อมายึดฝั่งตะวันออกและเกาะต่างๆ ในลำน้ำโขง และตั้งมั่นอยู่ที่เมืองหลวงพระบาง
     พระ ประชาคดีกิจข้าหลวง หน้าที่หัวเมืองลาวฝ่ายใต้ประจำอยู่ที่เมืองศรีทันดรเห็นฝรั่งเศสปฏิบัติผิด สัญญาพระราชไมตรี จึงแต่งตั้งข้าราชการฝ่ายทหารและพลเรือนให้มีหน้าที่เกณฑ์พลป้องกันราช อาณาจักร และทำหนังสือประท้วงห้ามปรามฝรั่งเศสทันที ฝ่ายฝรั่งเศสก็หัวเราะเยาะ ไม่ฟังหนังสือประท้วงไทยแต่อย่างใด

      ทัพ ฝรั่งเศสอีกกองหนึ่งมีพลทหาร 400 คน ยกมาเป็นกระบวนเรือ 26 ลำ เข้าจอดที่ดอยละงา ขึ้นบกเดินแถวมาปะทะกับหลวงเทเพนทรเทพซึ่งคุมกำลังไทยไปตั้งสะกัดอยู่ หลวงเทเพนทรเทพจึงทักทายกับนายทหารฝรั่งเศส และสั่งให้ออกไปเสียจากพระราชอาณาเขตสยาม ฝรั่งเศสก็ตอบว่าตำบลเหล่านี้เป็นของเขาแล้ว หลวงเทเพนทรเทพนั่นแหละควรถอยกำลังไปเสีย มิฉะนั้นจะเกิดการรบขึ้นแน่ 
      ว่าแล้วฝรั่งเศสก็เป่าแตร เรียกทหารตั้งแถวเตรียมรบทันที หลวงเทเพนทรเทพเห็นท่าจะสู้ไม่ได้ จึงยอมถอยกำลังมาตั้งที่ดอนสมและแจ้งเหตุการณ์มายังพระประชาคดีกิจ


    เหตุการณ์ตรงนี้ละค่ะ ที่กรมหลวงพิชิตปรีชากรทรงสรุปไว้ว่า

    "----อนึ่งการอันตรายแก่ราชการครั้งนี้ก็มีนายไพร่ จะไม่ตั้งใจจะต่อสู้กับข้าศึก เหมือนอย่างหลวงเทเพนทร์ กับ นายร้อยโทเล็ก เห็นข้าศึกใกล้เข้ามา ก็ทิ้งไพร่หนีเสีย ราชบุตรสารคาม แลท้าวบุตตะวงษ์ ข้าศึกมาไม่ต่อสู้ไม่หนี ยอมให้จับทั้งนายไพร่ ให้มันเอาปืนไปหลายร้อย"
           


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 07 มี.ค. 18, 21:43
หลวงเทเพนทรเทพ ต่อสู้กับฝรั่งเศสโดยไม่เกรงกลัวฝรั่งเศสแม้แต่น้อย

"นายสุจินดา  นายร้อยโทพุ่ม ซึ่งพระประชาคดีกิจ ให้คุมกำลัง ๔๐๐ คน ไปตั้งรับฝรั่งเศสอยู่ ณ ดอนสาคร นั้น  ได้ล่องเรือมาถึงหัวดอนสาคร  ฝรั่งเศสที่ตั้งค่ายอยู่
ณ ดอนสาครนั้น  ก็แลเห็น  จึงสั่งให้ทหารปืนใหญ่น้อย  ยิงลงมายังกองเรือนายสุจินดาเป็นอันมาก  นายสุจินดาจึงสั่งให้ยิงตอบไปบ้าง  ทั้งสองฝ่ายได้ยิงโต้ตอบกัน  อยู่ตั้งบ่าย๑โมงจนบ่าย๒โมงเศษ  จึงหยุดสงบกันไป
ฝ่ายหลวงเทเพนทรเทพ  ซึ่งได้รับคำสั่งจากพระประชาคดีกิจ ให้ไปรักษาท้ายดอนสะดำและท้ายดอนสาครนั้น  ได้ยินเสียงปืนต่อสู้กันหนาแน่นมาก  จึงสั่งขุนศุภมาตราแบ่งกำลังไปท้ายดอนสะดำก่อน  ส่วนตัวหลวงเทเพนทรเทพกับนายร้อยตรีถมยานั้น  ได้แยกเข้าท้ายดอนนางชม  ด้านตะวันออกดอนสาคร  เข้าประชิดค่ายฝรั่งเศส  ประมาณ ๑๗-๑๘ วา  ฝรั่งเศสเห็นก็ได้ยิงปืนกราดออกมาเป็นอันมาก  หลวงเทเพนทรเทพก็ได้บากบั่นคุมกำลังเข้าไปตั้งในวัดบ้านดอน  เอาวัดเป็นที่ตั้งมั่นได้  จึงได้ยิงกราดไปที่ค่ายฝรั่งเศสบ้าง  ฝรั่งเศสจึงสงบไป

ดิฉันยังงงๆกับข้อความข้างบนนี้ที่ ท่าน Cinephile ยกมา   ฝากคุณ NAVARAT  คุณหนุ่มสยาม คุณเพ็ญชมพูหรือคุณคนโคราช  หรือท่านอื่นๆช่วยดูที  ว่ามันเหตุการณ์เดียวกันหรือคนละเหตุการณ์กันแน่คะ


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: cinephile ที่ 08 มี.ค. 18, 13:54
เรียนคุณหญิงขอรับ

กระผมขอต่อเติมที่ตุณหญิงเล่าให้พวกเราฟังถึงการยึดเมืองเชียงแตงดังนี้ขอรับ

"ครั้งถึงวันที่ ๒๔ มีนาคม ร.ศ. ๑๑๑ (พ.ศ.๒๔๓๕)ฝรั่งเศสเห็นว่า การที่จะเจรจาทางทูตนั้นคงจะไม่สำเร็จเท่าใช้อาวุธ จึงได้ตั้งให้ มองซิเออร์เรซิดังต์ ปัสตาเป็นแม่ทัพ พร้อมด้วยนายร้อยเอก โทเรอซ์ นายร้อยตรีโมโซ, มองซืเออร์คูลชอง คุมทหารญวน 200 คน มาด้วยเรือเขมรพนมเปญ 22 ลำ ขับไล่ทหารไทยที่ตั้งรักษาด่านอยู่ ณ ตำบลตะบงขลา แขวงเมืองเชียงแตง(เมืองสตึงแตรง) ด่านเสียมโบก และเมื่อ ด่านเสียมโบกแตกแล้ว ทหารฝรั่งเศสกองนี้ก็ยกรุกมาถึงเมืองเชียงแตง
เอกสารของฝรั่งเศสระบุว่า วันที่ 24 มีนาคม ค.ศ. 1893 (พ.ศ. ๒๔๓๖) นายพลแปร์โนต์ (Gènèral Permot) ผู้บัญชาการกองพลน้อยแห่งเวียดนามตอนใต้ มีคำสั่งถึง ร้อยเอก โทเรอซ์ (Captain Thoreux) ผู้บังคับกองร้อยทหารเวียดนามตอนกลาง (Tirailleurs Annamites) ว่า ร้อยเอก โทเรอซ์รับผิดชอบในการเข้ายึดฐานปฏิบัติการสยามที่เมืองเชียงแตงและแก่งหลี่ผีซึ่งตั้งอยู่บนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง และให้ใช้การปฏิบัติการทางทหารสนับสนุนการเจรจาภายใต้การนำของผู้ว่าราชการซึ่งเดินทางไปด้วย
ร้อยเอกโทเรอซ์พร้อมทหาร 106 นายออกเดินทางโดยเรือยาว (pirogue) จากเมืองซาเดก (Sadec)  ในคืนวันที่ 25 มีนาคม และวันที่ 1 เมษายน เวลา 16.00 น. สามารถยึดเมืองเชียงแตงได้ด้วยการเจรจาของผู้ว่าราชการคูลชอง (Coulgeans) โดยไม่มีการสู้รับกันแต่อย่างใด
เมื่อทหารฝรั่งเศสยกมาถึงเมืองเชียงแตง ก็ลงมือขับไล่ หลวงพิพิธสุนทร(ทองอิน) กับ นายร้อยโทคล้าม ข้าหลวงเมืองเชียงแตง กับทหารไทย 12 คน ให้ออกไปจากเมืองเชียงแตง ให้ยกข้ามแม่น้ำโขงไปยังเมืองธาราบริวัติ ที่อยู่ฝั่งขวาของแม่น้ำโขง พร้อมด้วยทหารไทยประมาณ 20 คน หลังจากนั้นฝรั่งเศสก็มุ่งหน้าไปทางแก่งหลี่ผี และยึดแห่งนี้ได้ในวันที่ ๔ เมษายน

เมืองซาเดก (Sadec) เป็นเมืองที่อยู่เกือบจะถึงปากแม่น้ำโขงขอรับ ใช้เวลา 5 วันในการเดินทางไปเมืองเชียงแตงขอรับ


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: cinephile ที่ 08 มี.ค. 18, 14:05
ลืมมีอ้าอิงขอรับ
ข้างบนเป็นคำสั่งนายพลแปร์โนต์ ถึงร้อยเอกโทเรอซ์ 24 มีนาคม ค.ศ. 1893 M.D. Asie 84

ตอนนี้เรามาลองพิจารณาเหตุการณ์นี้จากมุมมองของไทยดูบ้าง

"เขียนที่บ้านสำอางแขวงธาราบริวัตร วันที่ ๒ เมษายน ร.ศ. ๑๑๒
ข้าพเจ้า หลวงพิพิธสุนทร นายร้อยโทคร้าม ข้าหลวงเมืองเชียงแตง เมืองธาราบริวัตร บอกมายังท่านหลวงเทเพนทร์ข้าหลวง(เมืองศรีธันดร) ได้ทราบ ด้วยตามที่ข้าพเจ้าบอกมา เขียนดินสอฝรั่ง ลงวันที่ ๒ นั้นแล้ว ในวันที่ ๒ นั้น ฝรั่งยกกองทัพเลยขึ้นมาตามลำน้ำโขง ขึ้นมาทางดอน เวลาเช้า ๑ โมง ข้าพเจ้าพร้อมด้วยทหารตั้งอยู่ที่เมืองธาราบริวัตรเห็นดังนั้นแล้ว จึงได้เกณฑ์คนเมืองธารา หากรมการก็ไม่พบ พบแต่หลวงต่างใจคนหนึ่ง พระคลังคนหนึ่ง ไปรวบรวมเกณฑ์คนเพื่อที่จะออกสู้รบกั้นไว้ ในเวลานั้น เกณฑ์คนอยู่ประมาณ ๕โมงไม่ได้คน ข้าพเจ้าจึงเรียกตัวผู้รักษาฉางหลวงก็ไม่ได้ตัว แต่หม่อม ป็อก(?) มารดาพระภักดีว่าไม่มีเข้า(ข้าว?) ในฉางหลวงเลย ข้าพเจ้าจึงได้เรียกหาเกณฑ์คนจะให้ส่งใบบอก ก็หามีผู้ใดรับส่งบอกไม่ ข้าพเจ้าจึงได้ปฤกษาพร้อมกันว่า จะนิ่งเฉยอยู่เช่นนี้ ก็ไม่ประโยชน์ในราชการสิ่งใด แลหนังสือที่มีบอกไปเมืองศรีธันดรนั้นจะถึงฤๅไม่ถึงก็ไม่ทราบ แลฝรั่งก็ยกเลยขึ้นมาแล้ว ถ้าเมืองศรีธันดรไม่รู้ตัวก็จะเสียราชการอีกเหมือนเชียงแตง ก็เพราะสำคัญใจเสียว่า ฝรั่งบันทุกสินค้ามาตั้งค้าขายตามท้องตราสั่งไว้แต่ก่อน ประการหนึ่งเมื่อได้ผ่อนเวลาไปปฤกษาราชการที่บ้านราชวงษที่เชียงแตงนั้นแล้ว คิดว่าจะต่อสู้ ไพร่พลเมืองก็มาในที่ปฤกษาแต่ ๑๒-๑๓ คนเท่านั้น บังคับให้ถือปืนขึ้น ยัดปืนก็ไม่ยัดถือปืนนิ่งอยู่ บ้างก็วางปืนวิ่งไปบ้าง มีอยู่แต่กรมการผู้ใหญ่สามนายเท่านั้นที่นั่งอยู่ปรกติ เพราะดังนั้น ครั้นเวลาที่ฝรั่งมาพบข้าพเจ้าครั้งที่สุด ทหารญวนเขมร เตรียมพร้อมที่ทำเนียบเก่า ฝรั่งก็ทำอำนาจจับข้าพเจ้าว่า ถ้าไม่ไปจากเมืองเชียงแตงเดี๋ยวนี้ก็จะเอาไปไว้ในกองทัพฝรั่งเศส ข้าพเจ้าจึงตริตรองอยู่ในที่นั้น เห็นว่าจะยอมให้อยู่ในที่กักขังในเวลานี้ยังไม่ได้บอกข้อราชการมานั้นไม่ควร หรือประการหนึ่งถึงจะตายในระหว่างที่ไม่เสียเปรียบแล้วก็ควรตาย แต่เวลานี้ยังไม่ควรให้กักขัง ถึงข้าพเจ้าจะดื้อดึงไม่ยอมก็คงทานกำลังไม่ได้ เพราะพลเมืองไม่มาในที่ปฤกษาก็เห็นว่าลาวไม่ช่วยแล้วดังนี้ ข้าพเจ้าจึงยอมไปจากบ้านเมือง แต่ถึงดังนั้นเมื่อมาในที่กว้างแล้ว ถ้ามีไพร่พอสมควรในที่ใดแล้ว หรือกองทัพเมืองศรีธันดรจะยกไปทันก็คงรบรับไว้ให้เต็มกำลังที่เมืองเชียงแตง ครั้นหันพึ่งกำลังเมืองธาราก็ไม่ได้ไพร่พล แต่ชั้นอาหารก็ไม่ให้พอเป็นกำลังราชการได้ เพราะดังนั้นจึงเห็นว่าควรจะถอยมาตั้งมั่นในต้นทางแยกที่บ้านสำอางทางลงทางบ้านคอนได้ จะได้มีบอกราชการทางลัดในที่ใกล้ให้ทันราชการ แลจะได้หากำลังพอที่จะกันไม่ให้โอบหลังเมืองธาราได้ เพราะข้าพเจ้าได้บอกไปเมืองมโนไพรฉบับหนึ่งแล้ว ถ้าเมืองศรีธันดรจะยกมาทางที่ข้าพเจ้าตั้งอยู่โดยเร็วแล้ว ข้าพเจ้าจะยกสกัดกันไว้มิให้โอบหลังทางนี้ได้ หรือจะให้กำลังมาช่วยข้าพเจ้าสัก ๔๐-๕๐ คน ข้าพเจ้าจะยกไปรบกลับเอาเมืองเชียงแตงให้ได้ เพราะเดี๋ยวนี้มีปืนสะนิเดอร์ (สไนเดอร์) อยู่ก็น้อยเต็มที ปัศตัน(ลูกปืน) ทหารก็ว่ายิงไม่ออก โดยมากใน ๑๐๐ หนึ่งเอา ๑๐ ไม่ใครจะได้ และที่ปืนยิงไม่ออกนั้นชาวเมืองเชียงแตงรู้ทั่วกันด้วย คงจะรู้ถึงฝรั่งเศสเหมือนกัน แลบัดนี้ข้าพเจ้ารวบรวมได้คนอีกประมาณ ๓๐ เสศ แต่ไม่มีปืนแลดินปืนในกองข้าพเจ้าไม่มีดินดำ แต่ข้าพเจ้าจะตั้งมั่นรวบรวมผู้คนคอยรับกองทัพฝรั่งเศส หรือกองทัพสยามอยู่ในตำบลนี้ แต่เสบียงไม่มี ถ้าท่านจะแต่งคนไปสืบสวนฉันใด ก็ให้ไปขึ้นบ้านท่าไฮ ให้ท่านคิดการตอบไปโดยเร็ว ถ้าช้าเสบียงจะหมด อนึ่งเจ้าเมืองเชียงแตงอย่าให้กลับเอากักไว้ก่อน เพราะในวันนี้ข้าพเจ้าจะยกจากธารา พระเจริญ(เจ้าเมืองเชียงแตง?) ให้คนนั่งมาพูดดูการอยู่ทั้งวัน จนถึงข้าพเจ้าต้องไล่ให้ไป และครั้นข้าพเจ้าเลื่อนยก(?) มาตามทางในเวลา ๒ ยามเสศ พระเจริญมีหนังสือให้คนเชียงแตง ๔ คนตามไปให้ข้าพเจ้า กับนายร้อยโทคร้ามในหนังสือทวงเอาขวดน้ำมันที่ข้าพเจ้า ๆ จึงเป็นที่ปลาดใจ ว่าของเล็กน้อยไม่ควรตาม ข้าพเจ้าจึงถามคน ๔ คนว่าพระเจรืญสั่งมาว่าอย่างไรบ้าง คน ๔ คนแจ้งว่าพระเจริญสั่งให้ตามข้าพเจ้าให้พบให้จงได้ ถึงไกลใกล้อย่างไรก็ให้พบ ข้าพเจ้าจึงเห็นว่าพระเจริญให้มาสืบราชการ ข้าพเจ้าจึงให้ทหารคุมตัวไว้ทั้งสี่คน ครั้นเวลา ๓ ยามเสศข้าพเจ้าจะยกไป ข้าพเจ้าจึงให้คนสองคนนั้นหาบของ แต่ครั้นจะจำจองเครื่องจำก็ไม่มี แลราชการทัพฝรั่งเศสคน ๔ คนนี้ก็ไม่ทราบ ข้าพเจ้าจึงปล่อยให้คนกลับไป ๒ คน ข้าพเจ้าอุบายพูดสั่งไปว่า กองทัพเมืองมะโนไพร เมืองศรีธันดร ยกมาช่วยถึงชายดงแล้ว ผูคนเมืองธาราในป่าดงก็รวมกันได้ ๑๐ บ้าน พร้อมแล้วเพราะตั้งรับกองทัพทั้ง ๒ เข้าไป แต่ไม่มีของให้มึงช่วยหาบแล้ว ให้มึงกลับไปเถิด แต่คน ๒ คนนี้เป็นคนชอบคุ้นเคยกับเรา ๆ จะขอให้ช่วยหาบของไปกับเราก่อน พอมีคนอื่นช่วยหาบจะให้กลับข้าพเจ้ากับทหารก็ยกไป ๆ อีกไม่ช้านาน ชื่อตาแดงคนเชียงแตงที่ให้หาบของมานั้นเป็นคนแก่ ป่วยอยู่บ้างเดินไม่ไหว ข้าพเจ้าจึงได้ปล่อยให้ไปอีกคน ๑ แต่ ๓ คนที่กลับไปนั้น ทหารเลวไม่ทราบ ทหารจะไปตามจับ ข้าพเจ้าก็ยกเลยไปไม่ให้ตาม แลสำนวนความในบอกที่มีมาทั้งปวงแต่ก่อนๆ ทุกฉบับ เขียนโดยเวลารีบร้อน ขาดความบ้างเหลือบ้างประการใด ขอให้ท่านตริตรองดูบ้าง แต่ใจความตรงอยู่ดังนั้น ขอท่านได้ส่งไปถึงคุณพระประชาคดีกิจโดยเร็ว ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด แลท่านต้องเข้าใจว่าใบบอกในเรื่องนี้ทุกฉบับ เป็นไปรเวต ไม่ควรให้หัวเมืองทราบเต็มความ ในเรื่องนี้ข้าพเจ้าได้บอกมา ๔ ฉบับนี้แล้ว---"

    กจช. ฝ. (?) สำเนาที่ ๑๔๕๘  หลวงพิพิธสุนทธร ถีง หลวงเทเพนทร์ ลงวันที่ ๒ เมษายน ร.ศ. ๑๑๒




กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 08 มี.ค. 18, 14:54
จัดระเบียบข้อความใหม่  ให้เข้าใจง่ายขึ้นหน่อยค่ะ    ว่าเกิดอะไรขึ้นที่เมืองเชียงแตง  เมื่อฝรั่งยกกองทัพเลยขึ้นมาตามลำน้ำโขง ขึ้นมาทางดอน (หมายถึงขึ้นบก?)

๑  ท่านข้าหลวงเมืองเชียงแตง เห็นฝรั่งเศสยกพลมา  สั่งเกณฑ์คนเมืองธารา หากรมการเมืองก็ไม่พบ หายหัวไปกันหมด 
๒  พบแต่ข้าราชการ ๒ คน ชื่อหลวงต่างใจคนหนึ่ง กับพระคลังคนหนึ่ง ก็สั่งให้ไปรวบรวมเกณฑ์คนเพื่อที่จะออกรับศึกฝรั่งไว้
    ฝรั่งเศสมา ๗ โมงเช้า  สั่งอยู่จน ๑๑ โมงเช้า  ก็ไม่ได้ไพร่พล  แสดงว่าข้าราชการ ๒ คนนั่นรับคำสั่งแล้วไม่ทำ  หรือไม่ก็พยายามสั่งการไปแล้วแต่ชาวเมืองหายตัวหมด  เลยเกณฑ์ไม่ได้
๓  ข้าราชการที่พลอยหายตัวไปด้วยอีกคน คือพลาธิการของเมือง หรือเรียกในที่นี้ว่า "ผู้รักษาฉางหลวง"    หายไม่หายเปล่า   หอบเอาข้าวในยุ้งฉางติดไปด้วย
๔  ที่หายไปอีกฝ่ายคือพนักงานฝ่ายสื่อสาร  เรียกว่าผู้ส่งใบบอก 
  ท่านข้าหลวงหาพนักงานสื่อสารเพื่อจะให้ส่งใบบอกไปเตือนเมืองอื่นๆใกล้เคียง   พนักงานสื่อสารไม่เหลือติดเมือง       ไม่มีใครทำหน้าที่นี้ได้
๕  ในออฟฟิศท่านข้าหลวงเชียงแตง  ขนาดเรียกประชุมด่วนเพราะเกิดเรื่องใหญ่ ข้าศึกมาจ่ออยู่ประตูบ้าน  ปรากฏว่ามีที่ปรึกษาโผล่มาให้เห็นหน้า  ๑๒-๑๓ คนเท่านั้น
    ในบรรดาผู้คนหรอมแหรมแค่นี้   พอส่งอาวุธปืนให้ ยังอิดเอื้อนไม่อยากรับปืน  ต้องสั่งบังคับให้ถือเอาไว้   ให้บรรจุกระสุนก็ไม่ทำ  ถือปืนงงๆอยู่ยังงั้น   หนักเข้าไม่อยากตายเลยวางปืนลง วิ่งหนีออกไปเสียดื้อๆ
     มีอยู่แต่กรมการผู้ใหญ่สามนายเท่านั้นที่นั่งอยู่ปรกติ 


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: cinephile ที่ 08 มี.ค. 18, 15:01
หลวงเทเพนทร์ ก็มีปัญหาเดียวกันกับหลวงพิพิธสุนทร คือปัญหาเรื่องไพร่พล, ศาสตราวุธ และเสบียงอาหาร ดังปรากฏในใบบอกของหลวงเทเพทร์ ถึง พระประชาคดีกิจ ลงวันที่ ๓ เมษายน ร.ศ. ๑๑๒ ว่า "---ด้วยข้าพเจ้ากราบลาคุมกำลังยกออกจากเมืองสีธันดร วันที่ ๒ เมษายน เวลาบ่าย ๔ โมงเสศ ตามบอกของข้าพเจ้า ฉบับที่ ๓ ลงวันที่ ๒ เมษายน ร.ศ. ๑๑๒ ข้าพเจ้าไปถึงบ้านด่านคอนวันที่ ๓ เมษายน ร.ศ. ๑๑๒ เวลาเช้าโมงเสศ ได้เรียกเพี้ยปัญญาพิจิตรนายด่านมาตรวจบาญชีคนกองด่านก็หาได้ตัวพร้อมไม่ ที่มีอยู่ชายฉกรรจ์ ๔๑ คนก็ภากันมีใจระส่ำระสาย ไม่เป็นปรกติ จะหาปืนชะเลยสัก(ปืนเถื่อน) สำหรับบ้านก็ไม่มี ข้าพเจ้าได้ตรวจดูเข้า(ข้าว)ค่าหางนาที่เก็บแก่คนกองด่านยกไว้สำหรับมีราชการที่ด่าน มีเข้าเปลือก ๒๐๐ ถังเสศ ได้เกณฑ์ขอแรงคนสีซ้อม ถ้าเป็นเข้าสารแล้วก็คงอยู่เพียง ๑๐๐ ถัง คน ๒๐๐ คนรัปทานได้เพียง ๑๐ วัน ถ้ามีราชการมากก็ต้องจะเข้าที่เมืองสีธันดรส่งไปจึงจะทันการ ครั้นข้าพเจ้าจะล่องเลยลงไปเมืองเชียงแตงเป็นการเร็วเห็นจะไม่ได้ เพราะการที่ด่านคอน พวกไพร่ก็รวนเรตามกัน ประการหนึ่งช่องทางที่หมู่ปัจจามิตรจะขึ้นก็ไม่มีที่กีดกันอย่างใด ถ้าพวกฝรั่งเศสขึ้นมาก็จะล่วงเลยได้โดยสดวก---"
(กจช. ฝ. (?) สำเนา ๑๔๕๙ ที่ ๔/๔ หลวงเทเพนทร์ ถึงพระประชาฯ คดีกิจ ลงวันที่ ๓ เมษายน ร.ศ. ๑๑๒)

ดังนั้นหลวงเทเพนทร์ จึงวางแผนต่อต้านพวกฝรั่งเศสดังต่อไปนี้ ด้วยเหตุที่บริเวณของสีทันดอนจะมีน้ำตก(แก่ง)พาดกลางแม่น้ำโขงซึ่งตามปกติแล้วจะไม่มีทางที่จะข้ามน้ำตกเหล่านี้ไปได้ ดังนั้นหลวงเทเพนทร์จะตั้งแนวป้องกันสีทันดอนดังนี้

"---ข้าพเจ้าจึ่งให้ราชวงษ์ ท้าวขัติยราช ท้าวศรีสุราช กรมการคุมไพร่ยกจากบ้านด่านคอน ไปตั้งอยู่ดอนสะดำ เกณฑ์ตั้งค่ายน่ากระดานถมเชิงเทินขึ้นไว้ภอจะได้รับป้องกันพวกฝรั่งเศสที่ทางขึ้นตำบลหนึ่งให้เป็นที่ลง ข้าพเจ้ายังจัดการอยู่ที่คอน วันที่ ๔ จี่งจะยกไป ข้าพเจ้าได้แต่งให้ขุนพิทักษ์กองด่านกับไพร่ ๒ คนลงเรือน้อย มีแหสำหรับเหมือนคนเที่ยวหาปลาให้ถือหนังสือตอบไปยังหลวงพิพิธ เมืองธาราบริวัตรใจความชี้แจงโดยละเอียด แลว่าข้าพเจ้าเกณฑ์กำลังทหารแลไพร่พลเมืองได้คน ๒๐๐ ยกแต่เมืองสีธันดร วันที่ ๒ เมษายน เวลาบ่าย เมื่อหนังสือไปถึง ข้าพเจ้าจะมาพักจัดการตั้งค่ายที่ดอนสะดำให้เป็นที่มั่นคง เตรียมเสบียงอาหารไว้แล้วจะรีบยกมาช่วยหลวงพิพิธคิดการชั้นต้นนี้ก่อน ให้ตริตรองประคองการเหนี่ยวหน่วงถ่วงเวลาให้ดีกว่าจะได้กำลังเพิ่มเติมแลฟังบังคับบัญชาท่านอธิบดีจะได้คิดทำการต่อไป ได้ให้ขุนพิทักษ์มาสืบราชการ ให้หลวงพิพิธสุนทรรีบชี้แจงไปให้ทราบโดยเร็ว ความแจ้งอยู่ในหนังสือที่ข้าพเจ้ามีไปยังหลวงพิพิธ ได้คัดสำเนาสอดซองส่งมาด้วยแล้ว กับได้สั่งขุนพิทักษ์ว่าถ้าเหนพวกฝรั่งเศสยกกำลังขึ้นมา ก็ให้ขุนพิทักษ์รีบล่วงน่าขึ้นมาให้ทราบเป็นการเร็ว ถ้าฝรั่งเศสยกเป็นกระบวนขึ้นมา ทัพเจ้าจะว่ากล่าวห้ามไว้ ขืนอุกอาจไม่ฟังประการใด จำเป็นจะต้องรับพระราชทานต่อต้านด้วยกำลังไว้ชั้นหนึ่งภอชามือ แต่คนกำลังก็ไม่มีปืนครบมือ ข้าพเจ้าจะรอฟังในวันสองวัน ถ้าพวกฝรั่งเศสไม่ยกขึ้นมา ข้าพเจ้าจะกราบลาล่องไปฟังราชการที่หลวงพิพิธสุนทรเมืองธาราบริวัตร ควรจะต้องคิดจัดการประการใดข้าพเจ้าจะขอพระราชทานทำไปตามสมควร เมื่อจัดกำลังเพิ่มเติมลงไปโปรดบังคับประการใด ข้าพเจ้าจะฉลองพระเดชพระคุณโดยเต็มกำลัง แต่ในชั้นต้นนี้จะไว้ใจแก่ราชการไม่ได้ ข้าพเจ้ามีทหารแลกรมการนายไพร่ยกไปแต่ ๒๐๐ คน เหนจะไมภอกำลัง ข้าพเจ้าได้มีหนังสือมายังคุณผาดมหาดเล็ก กับอุปฮาดผู้รักษาเมืองให้รีบเกณฑ์คนกำลังเหนือเมืองสีธันดร พร้อมด้วยปืนอาวุธครบมือ ๔๐๐ คน มีเข้าเสบียงคนละสิบทนาน ประจำตัว ให้กรมการผู้ใหญ่คุมลงไปตั้งรักษาราชการที่ด่านคอนอีกพวกหนึ่ง แต่คนใต้เมืองเป็นที่ใกล้ต้องรอไว้เรียกเมื่อหนักหนา กับให้จัดลำเลียงเสบียงอาหารส่งให้ทันจึ่งจะภออุดหนุนต่อไป ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด (เซ็น) หลวงเทเพนทร์ ---"
"---ข้าพเจ้าจึ่งให้ราชวงษ์ ท้าวขัติยราช ท้าวศรีสุราช กรมการคุมไพร่ยกจากบ้านด่านคอน ไปตั้งอยู่ดอนสะดำ เกณฑ์ตั้งค่ายน่ากระดานถมเชิงเทินขึ้นไว้ภอจะได้รับป้องกันพวกฝรั่งเศสที่ทางขึ้นตำบลหนึ่งให้เป็นที่ลง ข้าพเจ้ายังจัดการอยู่ที่คอน วันที่ ๔ จี่งจะยกไป ข้าพเจ้าได้แต่งให้ขุนพิทักษ์กองด่านกับไพร่ ๒ คนลงเรือน้อย มีแหสำหรับเหมือนคนเที่ยวหาปลาให้ถือหนังสือตอบไปยังหลวงพิพิธ เมืองธาราบริวัตรใจความชี้แจงโดยละเอียด แลว่าข้าพเจ้าเกณฑ์กำลังทหารแลไพร่พลเมืองได้คน ๒๐๐ ยกแต่เมืองสีธันดร วันที่ ๒ เมษายน เวลาบ่าย เมื่อหนังสือไปถึง ข้าพเจ้าจะมาพักจัดการตั้งค่ายที่ดอนสะดำให้เป็นที่มั่นคง เตรียมเสบียงอาหารไว้แล้วจะรีบยกมาช่วยหลวงพิพิธคิดการชั้นต้นนี้ก่อน ให้ตริตรองประคองการเหนี่ยวหน่วงถ่วงเวลาให้ดีกว่าจะได้กำลังเพิ่มเติมแลฟังบังคับบัญชาท่านอธิบดีจะได้คิดทำการต่อไป ได้ให้ขุนพิทักษ์มาสืบราชการ ให้หลวงพิพิธสุนทรรีบชี้แจงไปให้ทราบโดยเร็ว ความแจ้งอยู่ในหนังสือที่ข้าพเจ้ามีไปยังหลวงพิพิธ ได้คัดสำเนาสอดซองส่งมาด้วยแล้ว กับได้สั่งขุนพิทักษ์ว่าถ้าเหนพวกฝรั่งเศสยกกำลังขึ้นมา ก็ให้ขุนพิทักษ์รีบล่วงน่าขึ้นมาให้ทราบเป็นการเร็ว ถ้าฝรั่งเศสยกเป็นกระบวนขึ้นมา ทัพเจ้าจะว่ากล่าวห้ามไว้ ขืนอุกอาจไม่ฟังประการใด จำเป็นจะต้องรับพระราชทานต่อต้านด้วยกำลังไว้ชั้นหนึ่งภอชามือ แต่คนกำลังก็ไม่มีปืนครบมือ ข้าพเจ้าจะรอฟังในวันสองวัน ถ้าพวกฝรั่งเศสไม่ยกขึ้นมา ข้าพเจ้าจะกราบลาล่องไปฟังราชการที่หลวงพิพิธสุนทรเมืองธาราบริวัตร ควรจะต้องคิดจัดการประการใดข้าพเจ้าจะขอพระราชทานทำไปตามสมควร เมื่อจัดกำลังเพิ่มเติมลงไปโปรดบังคับประการใด ข้าพเจ้าจะฉลองพระเดชพระคุณโดยเต็มกำลัง แต่ในชั้นต้นนี้จะไว้ใจแก่ราชการไม่ได้ ข้าพเจ้ามีทหารแลกรมการนายไพร่ยกไปแต่ ๒๐๐ คน เหนจะไมภอกำลัง ข้าพเจ้าได้มีหนังสือมายังคุณผาดมหาดเล็ก กับอุปฮาดผู้รักษาเมืองให้รีบเกณฑ์คนกำลังเหนือเมืองสีธันดร พร้อมด้วยปืนอาวุธครบมือ ๔๐๐ คน มีเข้าเสบียงคนละสิบทนาน ประจำตัว ให้กรมการผู้ใหญ่คุมลงไปตั้งรักษาราชการที่ด่านคอนอีกพวกหนึ่ง แต่คนใต้เมืองเป็นที่ใกล้ต้องรอไว้เรียกเมื่อหนักหนา กับให้จัดลำเลียงเสบียงอาหารส่งให้ทันจึ่งจะภออุดหนุนต่อไป ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด (เซ็น) หลวงเทเพนทร์ ---"
"---ข้าพเจ้าจึ่งให้ราชวงษ์ ท้าวขัติยราช ท้าวศรีสุราช กรมการคุมไพร่ยกจากบ้านด่านคอน ไปตั้งอยู่ดอนสะดำ เกณฑ์ตั้งค่ายน่ากระดานถมเชิงเทินขึ้นไว้ภอจะได้รับป้องกันพวกฝรั่งเศสที่ทางขึ้นตำบลหนึ่งให้เป็นที่ลง ข้าพเจ้ายังจัดการอยู่ที่คอน วันที่ ๔ จี่งจะยกไป ข้าพเจ้าได้แต่งให้ขุนพิทักษ์กองด่านกับไพร่ ๒ คนลงเรือน้อย มีแหสำหรับเหมือนคนเที่ยวหาปลาให้ถือหนังสือตอบไปยังหลวงพิพิธ เมืองธาราบริวัตรใจความชี้แจงโดยละเอียด แลว่าข้าพเจ้าเกณฑ์กำลังทหารแลไพร่พลเมืองได้คน ๒๐๐ ยกแต่เมืองสีธันดร วันที่ ๒ เมษายน เวลาบ่าย เมื่อหนังสือไปถึง ข้าพเจ้าจะมาพักจัดการตั้งค่ายที่ดอนสะดำให้เป็นที่มั่นคง เตรียมเสบียงอาหารไว้แล้วจะรีบยกมาช่วยหลวงพิพิธคิดการชั้นต้นนี้ก่อน ให้ตริตรองประคองการเหนี่ยวหน่วงถ่วงเวลาให้ดีกว่าจะได้กำลังเพิ่มเติมแลฟังบังคับบัญชาท่านอธิบดีจะได้คิดทำการต่อไป ได้ให้ขุนพิทักษ์มาสืบราชการ ให้หลวงพิพิธสุนทรรีบชี้แจงไปให้ทราบโดยเร็ว ความแจ้งอยู่ในหนังสือที่ข้าพเจ้ามีไปยังหลวงพิพิธ ได้คัดสำเนาสอดซองส่งมาด้วยแล้ว กับได้สั่งขุนพิทักษ์ว่าถ้าเหนพวกฝรั่งเศสยกกำลังขึ้นมา ก็ให้ขุนพิทักษ์รีบล่วงน่าขึ้นมาให้ทราบเป็นการเร็ว ถ้าฝรั่งเศสยกเป็นกระบวนขึ้นมา ทัพเจ้าจะว่ากล่าวห้ามไว้ ขืนอุกอาจไม่ฟังประการใด จำเป็นจะต้องรับพระราชทานต่อต้านด้วยกำลังไว้ชั้นหนึ่งภอชามือ แต่คนกำลังก็ไม่มีปืนครบมือ ข้าพเจ้าจะรอฟังในวันสองวัน ถ้าพวกฝรั่งเศสไม่ยกขึ้นมา ข้าพเจ้าจะกราบลาล่องไปฟังราชการที่หลวงพิพิธสุนทรเมืองธาราบริวัตร ควรจะต้องคิดจัดการประการใดข้าพเจ้าจะขอพระราชทานทำไปตามสมควร เมื่อจัดกำลังเพิ่มเติมลงไปโปรดบังคับประการใด ข้าพเจ้าจะฉลองพระเดชพระคุณโดยเต็มกำลัง แต่ในชั้นต้นนี้จะไว้ใจแก่ราชการไม่ได้ ข้าพเจ้ามีทหารแลกรมการนายไพร่ยกไปแต่ ๒๐๐ คน เหนจะไมภอกำลัง ข้าพเจ้าได้มีหนังสือมายังคุณผาดมหาดเล็ก กับอุปฮาดผู้รักษาเมืองให้รีบเกณฑ์คนกำลังเหนือเมืองสีธันดร พร้อมด้วยปืนอาวุธครบมือ ๔๐๐ คน มีเข้าเสบียงคนละสิบทนาน ประจำตัว ให้กรมการผู้ใหญ่คุมลงไปตั้งรักษาราชการที่ด่านคอนอีกพวกหนึ่ง แต่คนใต้เมืองเป็นที่ใกล้ต้องรอไว้เรียกเมื่อหนักหนา กับให้จัดลำเลียงเสบียงอาหารส่งให้ทันจึ่งจะภออุดหนุนต่อไป ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด (เซ็น) หลวงเทเพนทร์ ---"
(กจช. ฝ. (?) สำเนา ๑๔๕๙ ที่ ๔/๔ หลวงเทเพนทร์ ถึงพระประชาฯ คดีกิจ ลงวันที่ ๓ เมษายน ร.ศ. ๑๑๒)



กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 08 มี.ค. 18, 15:14
  ในเมื่อสภาพในเมืองเชียงแตงเป็นแบบนี้  จึงไม่น่าแปลกใจว่าทหารฝรั่งเศสเดินลอยชายขึ้นจากเรือเข้ามาถึงจวนท่านข้าหลวง อย่างสะดวกง่ายดายยิ่งกว่าขุนแผนขึ้นเรือนขุนช้างเสียอีก   ไม่ต้องเปลืองแรงสะกดผู้คน
   จากนั้นฝรั่งก็สั่งให้เจ้าเมืองออกจากเมืองไปซะดีๆ ถ้าไม่อยากตาย    เจ้าเมืองท่านก็เป็นคน practical พอสมควรในสถานการณ์เช่นนี้    คงเห็นว่าดื้อดึงไม่ยอมทำ ก็คงไม่มีอะไรดีขึ้น มีแต่ตายกับตาย เพราะบรรดาข้าราชการชาวบ้านร้านถิ่นเผ่นหนีออกจากเมืองเข้าป่านอกเมืองกันไปหมดแล้ว   ท่านก็เลยยอมออกจากเมือง
   แต่ท่านก็หวังว่าเมืองอื่นๆ รู้ข่าวอาจจะยกพลมาช่วยตั้งรับฝรั่งได้  หรือไม่ออกจากเมืองแล้ว ไปหากำลังคนมาได้จากนอกเมืองก็ค่อยว่ากันอีกที
   ท่านก็ส่งสารฉบับนี้ไปขอกำลังพลจากคุณพระเทเพนทรเจ้าเมืองศรีทันดร  เพื่อจะกลับไปสู่ฝรั่งชิงเมืองเชียงแตงกลับมา  ท่านยังบอกด้วยว่าอาวุธที่มีอยู่ก็น้อยเต็มที แถมยังมีคุณภาพเหมือนแท่งเหล็กเปล่าๆ คือยิงไม่ออก
   ตอนท้าย เนื้อความบอกให้รู้ว่าข้าหลวงผู้เขียนหนังสือฉบับนี้กับพระเจริญ เจ้าเมืองเชียงแตง ไม่ถูกกัน  เพราะคุณพระเจริญเองก็อยู่ในเมืองเชียงแตง แต่ไม่ได้ช่วยเหลือ แถมยังส่งคนมาสืบความตอนท่านข้าหลวงถูกไล่ออกจากเมืองเสียอีก    อ้างว่ามาทวงขวดน้ำมัน(?) แต่ความจริงสั่งคนมาตามให้ไปพบ แต่ท่านข้าหลวงแคลงใจเสียแล้วเลยไม่ไป

    สรุปแล้ว ก็ได้ความว่าเมืองเชียงแตงนั้นไม่ได้ตระเตรียมการสู้รบ หรือแม้แต่ตั้งรับ    ชาวเมืองกับฝ่ายปกครองอยู่กันคนละส่วน  ไม่ได้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน    พอเห็นฝรั่งนั่งเรือมาชาวบ้านก็เผ่นหนีออกจากเมืองไปซุ่มซ่อนตัวอยู่ตามป่าเขานอกเมืองกันหมด    ข้าราชการบางคนหูไวตาไวรู้จากชาวบ้าน ก็พลอยเผ่นหนีออกจากเมืองเอาตัวรอดไปด้วย
    ตัวข้าราชการใหญ่ๆคือข้าหลวงกับข้าราชการระดับซี.สูงๆของเมือง นั่งงงไม่รู้เรื่อง   ฝรั่งก็เลยเดินขึ้นจากเรือมาถอดจากหน้าที่การงานไล่ออกจากเมืองไปง่ายๆ   ไม่ต้องเสียเวลาสู้รบ


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: cinephile ที่ 08 มี.ค. 18, 15:32
ดอนแปลว่าเกาะครับ อย่างเช่นดอนเดช ดอนสาคอน ดอนสะดำ ฯลฯ ครับ

หลวงเทเพนทร์ส่งท้าวขัติยราช ท้าวศรีสุราช เกณฑ์คนไปตั้งค่ายที่ดอนสะดำ ขุดดินถมขึ้นมาเป็นกำแพงสูง ขึ้นเพื่อกันไม่ให้ฝรั่งเศสบุกขึ้นดอนสะดำได้ ง่ายๆ บวกกับดอนสะดำมีตลิ่งสูงชัน ยากที่ทหารฝรั่งเศสจะปีนป่ายขึ้นไปได้ง่ายๆ  ท้าวขัติยราชกับท้าวศรีสุราชน่าจะเป็นลาว แต่จะเป็นคนลาวที่อยู่ที่สีทันดอนหรือเปล่าผมก็ไม่รู้ หวังว่าพวกเราคงจะเสาะหามาเล่าสู่กันฟังบ้างนะครับ

รูปที่ผมลงมาคือรูปของดอนสะดำครับ ตลิ่งของดอนสูงจนผมถอดใจไม่ได้ปีนขึ้นไปดูครับ


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 08 มี.ค. 18, 15:54
ในค.ห. 615  เห็นวันที่ลงถี่ยิบติดๆกัน
ขอเรียนถามท่าน cinephile ว่าหลวงเทเพนทรรู้หรือยังว่าหลวงพิพิธ ข้าหลวงเมืองเชียงแตง ถูกฝรั่งเศสไล่ออกจากเมือง กลายเป็นเจ้าไม่มีศาลไปแล้ว
เพราะเห็นบอกว่า 
"ถ้าพวกฝรั่งเศสไม่ยกขึ้นมา ข้าพเจ้าจะกราบลาล่องไปฟังราชการที่หลวงพิพิธสุนทรเมืองธาราบริวัตร"
ถ้าเข้าเมืองก็คงไม่เจอคุณหลวงพิพิธ  ท่านออกจากเมืองไปรวบรวมผู้คนอยู่สักพัก    จากนั้นคงจะเดินทางมาเมืองสีทันดร เพื่อสมทบกำลังกับหลวงเทเพนทร 
ก็เลยยังไม่เข้าใจตอนนี้ค่ะ ว่าสองคนนี้รู้เรื่องกันหรือยังว่าฝรั่งเศสยึดเมืองแล้ว


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: cinephile ที่ 08 มี.ค. 18, 16:00
คำถามของคุณหญิงผมยังไม่แน่ใจนัก
แต่ขอต่อการรบที่ดอนคอนครับ

ส่วนหลวงเทเพนทร์พาทหารไปตั้งรับที่ท่าสนามกับท่าท้ายคอน
ครับ เพราะเป็นที่เหมาะในการยกพลขึ้นบก

"   "---ข้าพเจ้าได้เตรียมการคอยรบสู้ แต่คนหามีอาวุธครบมือไม่ ในบัดนี้ท้าวไชยราชถือหนังสือหลวงพิพิธสุนทร มาถึงข้าพเจ้าฉบับ๑ กับนายร้อยโทคร้ามมีหนังสือนำกำชับ มาถึงเมืองเซสำเภา ให้จัดเรือไว้รับส่งหนังสือฉบับ ๑ ข้าพเจ้าได้ตรวจดู ทราบความโดยลเอียดทุกประการแล้ว กำลังนี้เวลาค่ำทุ่มเศษ ข้าพเจ้ากับทหารซุ่มอยู่ที่ปากทางจะขึ้นมาจากท่าสนามแลท่าท้ายคอน ถ้าขึ้นมาในเวลากลางคืนก็ได้รบกันในกลางคืน ขอจงรีบเกณฑ์กองทัพไปช่วยโดยเร็ว การเข้มแขงนัก ข้าพเจ้าได้ส่งต้นฉบับหนังสือมาด้วย-
     (กจช. ฝ. (?) ที่ ๕/๕ (สำเนาที่ ๑๔๖๐ หลวงเทเพนทร์ ถึงพระประชาฯ คดีกิจ วันที่ ๓ เมษายน ร.ศ. ๑๑๒)

ที่ท่าสนามกับท่าท้ายคอนจะเป็นบริเวณที่ใช้ซุ่มโจมดี เพราะขึ้นจากแม่น้ำจะต้องข้ามชายหาด ซึ่งเลยจากหาดจะเป็นเนินสูง
ที่ทหาร(ไทย)สามารถซุ่มยิงลงมาได้ (นั่นถ้าฝรั่งเศสยกพลขึ้นบกที่นั่น)



กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: cinephile ที่ 08 มี.ค. 18, 16:07
ภาพที่คือเนินที่หลวงเทเพนทร์สามารถยิงลงมาที่พวกฝรั่งเศสครับ (คิดว่าน่าจะเป็น
เช่นนั้น เพราะที่ท่าสนามก็มีเนินนี่แหละที่หลวงเทเพนทร์จะซุ่มได้ขอรับ


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: cinephile ที่ 08 มี.ค. 18, 16:30
แต่ฝรั่งเศสไม่โง่นักเพราะเดาว่าไทยจะต้องตั้งรับที่ดอนสะดำหรือจึงหาทางหลีกเลี่ยงกับดัก
ของหลวงเทเพทร์โดยการแอบเข้ามาระหว่างดอนสะดำกับท้ายสนามที่หลวงเทเพนทร์ซุ่มอยู่
เข้ามาขึ้นบกที่ดอนละงา หลวงเทเพนทร์รีบย้ายทหารของเขามาตรึงที่ดอนละงาแต่ก็สายเกินไป
เพราะฝรั่งเศสยกพลขึ้นบกเป็นที่เรียบร้อยแล้ว


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 08 มี.ค. 18, 16:37
รออ่านว่าหลวงเทเพนทรฯ ทำรายงานถึงนาย  เล่าเหตุการณ์ตอนปะทะกับฝรั่งเศสว่าอย่างไร ค่ะ


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: cinephile ที่ 08 มี.ค. 18, 17:14
เดี๋ยวให้ผมค้นหาว่าหลวงเทเพนทร์รายงานถึงนายว่าอย่างไร

ฝรั่งเศส ยกทหารมาประมาณ 400 คน มาด้วยเรือ 26 ลำ เข้าจอดที่ดอนละงา พบหลวงเทเพนทรเทพ ซึ่งคุมกำลังไปสะกัดอยู่ทางนั้นหลวงเทเพนทรเทพ จึงเข้าไปไต่ถามฝรั่งเศส และห้ามไม่ให้ฝรั่งเศส ยกทหารเข้ามาในพระราชอาณาเขตสยาม  ฝรั่งเศสหายอมไม่ กลับบอกว่า ตำบลเหล่านี้เป็นของฝรั่งเศส ให้หลวงเทเพนทรเทพ ถอยไปเสีย ถ้าไม่ถอย ฝรั่งเศสจะรบทันที ทั้งได้เป่าแตรเรียกทหาร เตรียมรบแล้วด้วยหลวงเทเพนทรเทพเห็นว่า ฝรั่งเศสไม่ยอมทำตามคำห้ามปราม กับทั้งเตรียมทหารจะรบด้วยเช่นนี้ หลวงเทเพนทรเทพ จึงได้ถอยทหารมาอยู่ดอนสม รอฟังคำสั่งของพระประชาคดีกิจต่อไป

จะทะเลาะกับทหาร 400 คนอาวุธครบมือก็ยากอยู่นะครับคุณหญิง


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: cinephile ที่ 08 มี.ค. 18, 17:18
โทรเลชของขุนวิชิตชลหาญ ข้าหลวงเมืองจำปาศักดิ์ ส่งหนังสือไปกราบทูลพระน้องยาเธอกรมหลวงพิชิตปรีชากรว่า
"---ว่าฝรั่งเศษคุมทหารขึ้นมาแย่งเอาดอนลิผี ได้วันที่ ๔ เมษายน ร.ศ. ๑๑๒ คนลาวแตกหนี หลวงเทเพนทร์กับทหาร ๒๐ คน ละถอยมาตั้งอยู่ที่ดอนสม ห่างกันประมาณ ๑๐๐ เส้น"
(กจช. ฝ. (?) สำเนาที่ ๑๔๖๕ ขุนวิชิตชลหาร ทูลพระเจ้าน้องยาเธอกรมหลวงพิชิตปรีชากร วันที่ ๙ เมษายน ร.ศ. ๑๑๒)

ส่วนทหารฝรั่งเศสก็ยกพลขึ้นบกเดินแล้วเดินเป็นขบวนทัพมาตั้งค่ายอยู่ที่ดอนคอน(สาคร) ครั้นพระประชาคดีกิจ ได้รับรายงานจากหลวงเทเพนทรเทพแล้ว พระประชาคดีกิจจึงได้เตรียม โปรเตสสำหรับที่จะยื่นแก่ฝรั่งเศส แล้วลงเรือเล็กไปหาฝรั่งเศส ณ ค่ายดอนสาคร ถามได้ความว่า นายทหารฝรั่งเศสที่เป็นแม่ทัพมานั้นชื่อ เรซิดัง โปลิติค กอมมันดัง มิลิแตร ให้มารักษาเมืองสีทันดรและแก่งหลี่ผี พระประชาคดีกิจ จึงขอร้องให้ถอยทัพไปเสียจากพระราชอาณาเขต เพราะว่าที่นี่ เป็นพระราชอาณาเขตสยาม แม่ทัพฝรั่งเศสตอบว่า "ที่ตำบลนี้ ราชทูตไทยที่กรุงปารีส และรัฐบาลสยาม ยกให้ฝรั่งเศสแล้ว ฝรั่งเศสจึงได้มาตั้งรักษาจะขับไล่ให้กลับนั้น ไม่ยอมกลับ ไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับเมืองไทย อยู่รักษาด่านของฝรั่งเศสต่างหาก  ขอให้พระประชาฯ ฯ. ยกกำลังไปเสีย" พระประชาฯ ตอบว่า "ยังไม่ได้รับคำสั่งจากกรุงเทพ ยังไปไม่ได้ ให้ฝรั่งเศสถอยทหารไปก่อน" ฝรั่งเศสหายอมไม่ พระประชาฯ  จึงยื่นโปรเตส ไว้ต่อนายทัพฝรั่งเศส พระประชาฯ สังเกตดูมีทหารญวนประมาณ ๓๐๐ เศษ ตั้งรักษาด่านแข็งแรง กับพระปะชาทราบว่า ทัพบกยกเติมเข้ามาทางด่านจะหลับ จะมาเมืองสีทันดรทีเดียว พลเมืองแตกหนีเสียเป็นอันมาก ปืนกระสุนดินดำ ก็เบาบาง


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: cinephile ที่ 08 มี.ค. 18, 17:26
ขอเรียนถามท่าน cinephile ว่าหลวงเทเพนทรรู้หรือยังว่าหลวงพิพิธ ข้าหลวงเมืองเชียงแตง ถูกฝรั่งเศสไล่ออกจากเมือง กลายเป็นเจ้าไม่มีศาลไปแล้ว
เพราะเห็นบอกว่า 
"ถ้าพวกฝรั่งเศสไม่ยกขึ้นมา ข้าพเจ้าจะกราบลาล่องไปฟังราชการที่หลวงพิพิธสุนทรเมืองธาราบริวัตร"
ถ้าเข้าเมืองก็คงไม่เจอคุณหลวงพิพิธ  ท่านออกจากเมืองไปรวบรวมผู้คนอยู่สักพัก    จากนั้นคงจะเดินทางมาเมืองสีทันดร เพื่อสมทบกำลังกับหลวงเทเพนทร 
ก็เลยยังไม่เข้าใจตอนนี้ค่ะ ว่าสองคนนี้รู้เรื่องกันหรือยังว่าฝรั่งเศสยึดเมืองแล้ว

หลวงพิพิธสุนทรได้โดนไล่ไปอยู่ธาราบริวัตรที่เป็นเมืองที่อยู่ตรงกันข้ามกับเชียงแตง แต่อยู่ฝั่งขวาของแม่น้ำโขง ส่วนหลวง
เทเพนทร์ก็ได้รับใบบอกของหลวงพิพิธฯ ท่านถึงได้เตรียมรับพวกฝรั่งเศสอย่างที่ผมเขียนมาตอนต้นๆ ขอรับ


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: cinephile ที่ 08 มี.ค. 18, 17:27
ขอเรียนถามท่าน cinephile ว่าหลวงเทเพนทรรู้หรือยังว่าหลวงพิพิธ ข้าหลวงเมืองเชียงแตง ถูกฝรั่งเศสไล่ออกจากเมือง กลายเป็นเจ้าไม่มีศาลไปแล้ว
เพราะเห็นบอกว่า 
"ถ้าพวกฝรั่งเศสไม่ยกขึ้นมา ข้าพเจ้าจะกราบลาล่องไปฟังราชการที่หลวงพิพิธสุนทรเมืองธาราบริวัตร"
ถ้าเข้าเมืองก็คงไม่เจอคุณหลวงพิพิธ  ท่านออกจากเมืองไปรวบรวมผู้คนอยู่สักพัก    จากนั้นคงจะเดินทางมาเมืองสีทันดร เพื่อสมทบกำลังกับหลวงเทเพนทร 
ก็เลยยังไม่เข้าใจตอนนี้ค่ะ ว่าสองคนนี้รู้เรื่องกันหรือยังว่าฝรั่งเศสยึดเมืองแล้ว

หลวงพิพิธสุนทรได้โดนไล่ไปอยู่ธาราบริวัตรที่เป็นเมืองที่อยู่ตรงกันข้ามกับเชียงแตง แต่อยู่ฝั่งขวาของแม่น้ำโขง ส่วนหลวง
เทเพนทร์ก็ได้รับใบบอกของหลวงพิพิธฯ ท่านถึงได้เตรียมรับพวกฝรั่งเศสอย่างที่ผมเขียนมาตอนต้นๆ ขอรับ


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: cinephile ที่ 08 มี.ค. 18, 17:45
 ค่ายของฝรั่งเศสที่ดอนสาครนั้น ขุนวิชิตชลหาญ ทำหนังสือกราบทูลพระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นดำรงราชานุภาพ อธิบดีกรมมหาดไทยว่า "---ด้วยพระประชาฯ มีหนังสือมาว่า ฝรั่งเศสอยู่ที่ "ขอน" (ดอนสาคร) ตั้งค่ายเสาไม้แก่น สูงห้าศอก (2.5 เมตร) ค่ายกว้างเส้นหนึ่ง (40 เมตร) ยาวสามเส้น (120 เมตร) แลพลเรือใหญ่ขนเสบียงอาวุธกับทหารตามเนื่องมา วันที่ ๑๑ เมษายน (พระ)ภักดีภุมเรศบอกมาว่า ฝรั่งยกทหารมาทางเรือประมาณ ๓๐๐ คน---"
(กจช. ฝ. (?) ขุนวิชิตชลหาญ กราบทูลพระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นดำรงราชานุภาพ วันที่ ๑๗ เมษายน ร.ศ. ๑๑๒)
ภาพข้างล่างคือค่ายของฝรั่งเศสที่ดอนสาครขอรับ


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 08 มี.ค. 18, 18:20

ฝรั่งเศส ยกทหารมาประมาณ 400 คน มาด้วยเรือ 26 ลำ เข้าจอดที่ดอนละงา พบหลวงเทเพนทรเทพ ซึ่งคุมกำลังไปสะกัดอยู่ทางนั้นหลวงเทเพนทรเทพ จึงเข้าไปไต่ถามฝรั่งเศส และห้ามไม่ให้ฝรั่งเศส ยกทหารเข้ามาในพระราชอาณาเขตสยาม  ฝรั่งเศสหายอมไม่ กลับบอกว่า ตำบลเหล่านี้เป็นของฝรั่งเศส ให้หลวงเทเพนทรเทพ ถอยไปเสีย ถ้าไม่ถอย ฝรั่งเศสจะรบทันที ทั้งได้เป่าแตรเรียกทหาร เตรียมรบแล้วด้วยหลวงเทเพนทรเทพเห็นว่า ฝรั่งเศสไม่ยอมทำตามคำห้ามปราม กับทั้งเตรียมทหารจะรบด้วยเช่นนี้ หลวงเทเพนทรเทพ จึงได้ถอยทหารมาอยู่ดอนสม รอฟังคำสั่งของพระประชาคดีกิจต่อไป

จะทะเลาะกับทหาร 400 คนอาวุธครบมือก็ยากอยู่นะครับคุณหญิง
ค่ะ ท่าน Cinephile  มันก็จริง
แต่น้อยใจนิดหน่อย   ทีก่อนหน้านี้ละก็  ในรายงานแผนรบ พี่หลวงไม่ได้ว่าง่ายยังงี้นี่นา 
 "ถ้าฝรั่งเศสยกเป็นกระบวนขึ้นมา ทัพเจ้าจะว่ากล่าวห้ามไว้ ขืนอุกอาจไม่ฟังประการใด จำเป็นจะต้องรับพระราชทานต่อต้านด้วยกำลังไว้ชั้นหนึ่งภอชามือ แต่คนกำลังก็ไม่มีปืนครบมือ"

จะว่าเดาไม่ออกว่าทัพฝรั่งเศสมีพลานุภาพ ก็ไม่ใช่   เพราะการยกพลไป 200 ก็ต้องรู้ว่าฝรั่งเศสไม่ได้มา 100 เดียวแน่  แล้วอาวุธฝ่ายเขาก็ต้องเหนือกว่าฝ่ายเรา ที่ของหลวงก็แทบไม่มี ของชาวบ้านก็ไม่ไหว

พอประจัญหน้าเข้าจริงๆ   พี่หลวงเปลี่ยนยุทธวิธีจนกองเชียร์ข้างเวทีกลับตัวไม่ทัน


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: cinephile ที่ 08 มี.ค. 18, 20:24
อย่าว่าแต่คุณหญิงจะงง ผมเองก็งงเหมือนกัน (บทของผมยังไม่ถึงสีทันดอนครับ คงจะ
อีกเดือนถึงจะเขียน ตอนนี้แค่ทำ research กับทำความเข้าใจในเหตุการณ์ขอรับ) ที่
บอกว่างงก็คือหลวงเทเพนทร์คุมกำลังไปซุ่มดักรอพวกฝรั่งเศส แต่ฝรั่งเศสมันแสนรู้ยกพล
ขึ้นบกที่ดอนละงา ซึ่งที่นั่นจะมีหลวงเทเพนทรเทพคอยอยู่รับมืออยู่ คุณหญิงคิดว่าหลวง
เทเพนทร์กับหลวงเทเพทรเทพจะเป็นคนละคนกันจะเป็นไปได้ไหมครับ

มันคือคำถามแรกของผมที่อยากรู้ว่าหลวงเทเพนทร์กับหลวงเทเพนทรเทพเป็นคนละคนกันใช่ไหมครับ


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 08 มี.ค. 18, 21:05

ในเหตุการณ์​ ร.ศ.112
ราชกิจจาฯ​ กล่าวถึงหลวงเทเพนทร์
ตำนานหัวเมืองอิสาณ​ กล่าว​ถึง​ หลวงเทเพนทรเทพ​ ในเหตุการณ์ที่เทียบเคียง​กันได้​ ดังนั้นจึงควรเป็นบุคคลเดียวกันครับท่าน

ที่ดอนสาคอน​ หลวงเทเพนทร์รู้ว่ารบไปก็ตายเปล่า​จึงยอมถอยไปตั้งรับที่ดอนสม​ พอรบกันที่ดอนสมท่านก็ตายจริงๆ
และน่าจะเป็นนาย​ทหารสัญญาบัตรนายเดียวที่เสียชีวิตในการรบด้านนี้​ ส่วนคนอื่นๆที่รอดและได้เลื่อนยศกันถ้วนหน้า


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 08 มี.ค. 18, 21:22
เห็นด้วยกับคุณคนโคราชว่า มีหลวงเทเพนฯ คนเดียวค่ะ

ถ้าบรรยายอย่างข้างล่างนี้ ท่าน cinephile จะหายงงไหมคะ

 ทัพ ฝรั่งเศสกำลังพล 400 คน ยกมาเป็นกระบวนเรือ 26 ลำ  ทีนี้ฝรั่งเศสอาจจะเดา หรือไม่ก็มีหน่วยลาดตระเวนชาวลาวที่ชำนาญทาง  ประสานงานให้  จึงรู้ว่าพระเทเพนทรฯตั้งรับที่ดอนสะดำ 
ฝรั่งเศสจึงหาทางหลีกเลี่ยงกับดักของหลวงเทเพนทร   โดยไม่ขึ้นเรือตามที่ทางฝ่ายไทยซุ่มอยู่   แต่ไปขึ้นบกที่ดอนละงา
 หลวงเทเพนทร รู้เรื่อง อ้าว ฝรั่งเศสไปขึ้นทางโน้น  ก็รีบย้ายทหารจากดอนสะดำมาตรึงที่ดอนละงา    แต่ก็สายเกินไป  เพราะฝรั่งเศสยกพลขึ้นบกเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
  ฉากเผชิญหน้าก็เกิดขึ้น  จบลงด้วยการไม่เสียเลือดเนื้อ   หลวงเทเพนทรฯสั่งทหารถอยโดยไม่ลงไม้ลงมือกันสักแปะเดียว   
  ถ้ามองในแง่ดีคือคุณหลวงก็เก่ง รักษาชีวิตฝ่ายไทยไว้ได้โดยไม่เสียเลือดเนื้อ  เพราะไทย 200 ฝรั่ง 400 อาวุธเขาครบครัน ของเรายิงได้สัก 2 กระบอกก็เก่งแล้ว   ขืนตะลุมบอนแบบประชิดตัว  อาจจะสูญเกือบ 200 เลยก็ได้
  ถ้ามองในแง่ร้ายก็อย่างที่กรมหลวงพิชิตปรีชากรทรงประณามน่ะค่ะ


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 08 มี.ค. 18, 21:23

ในเหตุการณ์​ ร.ศ.112
ราชกิจจาฯ​ กล่าวถึงหลวงเทเพนทร์
ตำนานหัวเมืองอิสาณ​ กล่าว​ถึง​ หลวงเทเพนทรเทพ​ ในเหตุการณ์ที่เทียบเคียง​กันได้​ ดังนั้นจึงควรเป็นบุคคลเดียวกันครับท่าน

ที่ดอนสาคอน​ หลวงเทเพนทร์รู้ว่ารบไปก็ตายเปล่า​จึงยอมถอยไปตั้งรับที่ดอนสม​ พอรบกันที่ดอนสมท่านก็ตายจริงๆ
และน่าจะเป็นนาย​ทหารสัญญาบัตรนายเดียวที่เสียชีวิตในการรบด้านนี้​ ส่วนคนอื่นๆที่รอดและได้เลื่อนยศกันถ้วนหน้า

คุณคนโคราชคะ สนใจมรณกรรมของคุณหลวงเทเพนทรมากค่ะ      อยากทราบว่าได้จากที่ไหนคะ  ถ้าลอกข้อความมาให้อ่านได้ก็ยิ่งดีใหญ่ค่ะ ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 08 มี.ค. 18, 21:53

คุณ​ Michael Smithies​ แปลไว้ใน​ วารสารสยามสมาคม​ ปี​ 2011 ครับ
เรื่อง​ The​ French​ Army​ and​ Siam, 1893-1914
สมาคมท่านให้ดาวน์โหลด​ pdf  ไฟล์มาอ่านได้เลยครับ
ฝรั่งเศสบันทึกว่าในวันที่​ 20​ กรกฎาคม​ The​ Siam​ commander was​ killed
Taking Don Som​ is​ the​ bloodiest event​ of​ the​ Franco-Siam crisis​ of​ 1893.


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 09 มี.ค. 18, 00:28

แต่จากจดหมายเหตุ​ ร.ศ.112​
พระณรงค์วิชิตบอกว่าในเดือนสิงหาคมพระเทเพนทร์ยังมีชีวิตอยู่
ในจดหมายเหตุนี้ฉายหนังคนละม้วนกับบันทึกของฝรั่งเศส
บอกว่าพวกฝรั่งเศสมักยกธงขาวบังหน้าเข้ามาลอบยิงไทยเสมอ


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 09 มี.ค. 18, 10:12
เป็นไปได้ไหมคะ    ว่า Siam commander ที่ดอนสม คือข้าราชการอื่น ไม่ใช่หลวงเทเพนทร   อาจไม่ใช่ commander เป็นแค่ officer คนหนึ่งเท่านั้น

ประชุมพงศาวดารภาคที่ ๔ “เหตุสงครามระหว่างฝรั่งเศส" ให้ภาพการรบที่ดอนสมไว้ดังนี้

วันที่ ๒๒ พฤษภาคม ฝรั่งเศสคุมกองทัพเพิ่มเติมยกมาถึงบ้านพละคันอีกประมาณพันเศษ พระประชาเห็นศึกเหลือกำลังกล้า จึงให้เลิกค่ายท้ายดอนไปรวมตั้งรับที่ดอนสะดำ และเลิกค่ายหัวดอนคอนไปรวมตั้งรับ ณ ค่ายดอนเดช ดอนสม และในวันนี้เวลาบ่าย ๕ โมงเศษ กองทัพฝรั่งเศสยกขึ้นมาตั้งที่บ้านเวินยางฝั่งตะวันตก ตรงค่ายกองทัพสยามที่ดอนสะดำ และฝรั่งเศสระดมปืนใหญ่น้อย และกระสุนแตกมาที่ค่ายสยาม ณ ดอนสะดำเป็นอันมาก หลวงเทเพนทรเทพ นายร้อยตรีถมยา เห็นจะตั้งรับอยู่ที่ดอนสะดำมิได้ จึงได้ล่าถอยมาตั้งค่ายรับอยู่ ณ ดอนสม

วันที่ ๒๖ พฤษภาคม ฝรั่งเศสยกกองทัพขึ้นตั้งดอนเดชประชิดค่ายสยาม แล้วระดมยิงกระสุนแตกมาที่ค่ายสยามเป็นอันมาก ฝ่ายกองทัพสยามมิได้ยิงตอบ ครั้นฝรั่งเศสยกกองทหารรุกเข้ามาใกล้ ฝ่ายสยามจึงได้ระดมยิงกองทัพฝรั่งเศส ทหารฝรั่งเศสถูกกระสุนปืนล้มตายหลายคน แตกถอยกลับไป ฝ่ายสยามถูกกระสุนปืนเจ็บป่วย ๓ คน ในวันนี้พระประชา(แช่ม)ได้จัดให้นายทัพนายกองคุมกำลังไปตั้งค่ายรับที่ดอนสมอีกครั้งหนึ่ง

ในเดือนนี้ฝ่ายรัฐบาลฝรั่งเศส และสยามได้ปรึกษาตกลงกันเลิกสงคราม และฝ่ายสยามได้เรียกให้กองทัพทุกๆ กองกลับ และได้ตกลงสัญญากันเมื่อวันที่ ๓ ตุลาคม

ไม่มีการพูดถึงข้าราชการที่ตายในการรบค่ะ


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 09 มี.ค. 18, 10:38
คุณหมอวิบูล วิจิตรวาทการ ให้ภาพการรบที่ดอนสมไว้อีกภาพหนึ่ง ซึ่งไม่มีในพงศาวดารข้างบนนี้

เริ่มจากหลวงเทเพนทรตั้งหลักอยู่ที่ดอนสม

         พระประชาคดีกิจจึงไปเจรจาอีกทีหนึ่ง ว่าเขตแดนเหล่านี้เป็นของอาณาจักรสยาม ฝรั่งเศสไม่มีสิทธิบุกรุก นายทัพฝรั่งเศสก็ตอบว่า ราชทูตไทยที่กรุงปารีส และรัฐบาลสยามที่กรุงเทพฯได้ยอมยกตำบลหมู่บ้านเหล่านี้ให้แก่ฝรั่งเศสหมด แล้ว พระประชาจึงตอบว่า จะยอมเชื่อคำของท่านนั้นไม่ได้ เพราะไม่ได้รับคำสั่งจากรัฐบาลสยามเลยว่าได้ยกดินแดนเหล่านี้ให้แก่ฝรั่งเศส เมื่อตกลงกันไม่ได้ พระประชาจึงลากลับ หลังจากนั้น ฝ่ายฝรั่งเศสก็เคลื่อนทัพและเริ่มระดมยิงกองรักษาดินแดนของเราก่อน

          เราถูกเขายิงแล้ว ก็มิได้ยิงโต้ตอบต่อสู้ เพียงแต่หดหัวหลบอยู่เฉย ๆ โดยมีเหตุผลว่า ประเทศสยามยังไม่ได้ขาดสัญญาพระราชไมตรีต่อฝรั่งเศส ไม่มีคำสั่งจากรัฐบาลให้ต่อสู้ทหารไทยจึงเพียงแต่ตั้งมั่นปล่อยให้ฝรั่งเศส ยิงข้างเดียว เมื่อฝรั่งยิงเราหนักขึ้น เราก็โต้ตอบโดยเขียนหนังสือไปห้ามปรามว่า อย่ายิงอีกนะ ฝรั่งเศสได้รับหนังสือ ก็ชอบใจระดมยิงด้วยปืนทั้งใหญ่และน้อย จนในที่สุดฝ่ายไทยอดรนทนไม่ได้จึงเริ่มต้นยิงโต้ตอบบ้าง แต่ถึงกระนั้นก็ยังมีบันทึกไว้ว่า

               “ฝ่าย สยามจึงได้ยิงโต้ตอบไปบ้างแต่เล็กน้อย โดยมิได้มีเจตนาที่จะทำลายชีวิตผู้คนอย่างใด เป็นแต่แสดงให้เห็นว่าฝ่ายไทยก็มีปืนบ้างเหมือนกันเท่านั้น”

               เมื่อ เรายิงโดยมิตั้งใจให้ถูกต้องข้าศึก ทางฝรั่งเศสยิ่งรู้สึกซาบซึ้งในความกรุณาของเรา หนุนเนื่องรุกรบเข้ามาทุกที จนในที่สุดเหล่าท่านข้าราชการผู้ใหญ่ของประเทศสยามเริ่มรู้สึกตื่นตัว เข้าใจว่าฝรั่งเศสเขาเอาจริง จึงมีการเกณฑ์ไพร่พลต่อสู้ฝรั่งกันมากขึ้นเพระเจ้าน้องยาเธอกรมหลวงพิชิต ปรีชากร ข้าหลวงใหญ่หัวเมืองลาวกาวโปรดให้เกณฑ์กำลังเมืองศรีสะเกษ ขุขันธ์ สุรินทร์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด เมืองละ 800 คน รวมเป็น 4,000 คน จากเมืองสุวรรณภูมิ และยโสธรอีก 1,000 คน รวมทั้งทหารจากเมืองอุบลฯ ที่พระองค์ประทับอยู่อีก 600 คน ยกไปช่วยทัพของพระประชาคดีกิจ ที่เมืองศรีทันดร

               ถึง วันที่ 20 เมษายน ฝรั่งเศสชื่อกองซือ กับทหารญวน 19 คน อาวุธครบมือตรงมาที่เมืองอัตปือ ซึ่งอยู่ภายใต้ความควบคุมของไทย เป่าประกาศต่อราษฎรว่า เมืองอัตปืออยู่ในอารักขาของฝรั่งเศสแล้ว ขอให้ชนชาวเมืองอย่าเกรงกลัวต่อข้าราชการไทยอีกต่อไป ขณะนั้นมีทหารไทยใจกล้าคนหนึ่ง ชื่อ ร้อยโทพุ่ม มีหน้าที่รักษาราชการเมืองอัตปือ ร้อยโทพุ่มนำพรรคพวกขับไล่ทหารฝรั่งเศสและญวนออกไปเสีย

               อีก อาทิตย์หนึ่งต่อมา ทหารฝรั่งเศสคุมญวน 800 คน ยกมาที่เมืองตะโปน ขับไล่เจ้าหน้าที่ฝ่ายสยามถอยมาอยู่ที่เมืองพินเหตุการณ์สงบอยู่ถึงวันที่ 5 พฤษภาคม วันนั้นนายสุจินดา ผู้ควบคุมทหารไทย 400 คน ตั้งมั่นอยู่ที่ดอนสาคร ล่องเรืออยู่ในน้ำ ทหารฝรั่งเศสเห็นเข้าจึงระดมยิงด้วยปืนใหญ่ปืนเล็ก ตั้งแต่เวลาบ่ายโมงจนถึงบ่ายสองโมง

               หลวง เทเพนทรเทพ ซึ่งคุมทหารไทยอยู่รักษาดอนสะดำ และดอนสาครด้วย ได้ยิงเสียงปืนหนาแน่น จึงยกทหารไทย แบ่งออกเป็น 2 กอง กองหนึ่งให้ขุนศุภมาตรา อีกกองหนึ่งให้ร้อยตรีถมยา ยกเข้าประชิดค่ายของฝรั่งเศส ฝ่ายฝรั่งเศสระดมยิงกราดมาที่ไทย ส่วนไทยนั้นตั้งกองทัพแน่นอยู่ที่วัดบ้านดอน ยิงตอบโต้ฝรั่งเศสแข็งขัน



น่าเสียดายว่าข้อเขียนนี้ขาดหายไปเพียงแค่นี้  หาหน้าต่อไปไม่เจอค่ะ   ใครเจอกรุณามาต่อให้ด้วยนะคะ

http://www.sereechai.com/index.php/2013-05-01-06-34-27/2013-05-01-07-28-02/130-2013-05-02-04-54-44


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 09 มี.ค. 18, 11:38
กำลังช่วยท่านcinephile หารูปทัพช้าง ก็บังเอิญเจอภาพนี้ครับ
.
.
.
.
.
.
.
.
เปลี่ยนบรรยากาศนิดนึง


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: cinephile ที่ 09 มี.ค. 18, 12:47
อยากให้อาจารย์ศรีสรรเพชรมาพิจารณาเรื่องเทเพนทร์กับเทเพนทรเทพว่าเป็นคนเดียว
กันหรือสองคนกันแน่
ไม่ใช่ดื้อให้เป็นสองคน แต่มีข้อสงสัยเยอะมากเช่นนิสัยไม่เหมือนกันคนหนึ่งกล้าหาญอีก
คนขลาด และสงสัยว่าอายุไม่เท่ากันด้วยครับ
แต่นั่นเป็นเพียงข้อสงสัยเท่านั้นเองครับ


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 09 มี.ค. 18, 13:07
ประกาศตั้งขุนนาง
.
ให้หลวงศรีรณรงค์ (เอี่ยม) เป็นหลวงเทเพนทร์ ตั้งแต่ ณ วัน ๔ ฯ  ๒ ค่ำ ปีมะแม เบญจศก ศักราช ๑๒๔๕ (ตรงกับพุทธศักราช ๒๔๒๖)


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 09 มี.ค. 18, 13:19

ข้อมูลที่ว่าหลวงเทเพนทร์เป็นคนขลาดอาจเริ่มน่าสงสัยครับ
อาจต้องวิเคราะห์กันว่าใครเป็นผู้เพ็ดทูลข้อมูลดังกล่าวให้แก่กรมหลวงพิชิตปรีชากร​ในเมื่อพระองค์ท่านอยู่ที่อุบล​ พระประชาคดีกิจอยู่ที่ศรีทันดร​ ในขณะที่หลวงเทเพนทร์วิ่งแก้ปัญหาอยู่ที่ด่านหน้าตลอดเหตุการณ์​
ัตัว​พระประชานั้นไว้วางใจหลวงเทเพนทร์อย่างเป็นที่แน่นอน


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 09 มี.ค. 18, 14:05
ในรัชกาลที่ ๕ มีหลวงเทเพนทร์กี่คน?

ด้านส่วนตัว   (พระยาโบราณราชธานินทร์)
ท่านสมรสกับน.ส.จำเริญ  ธิดาหลวงเทเพนทร์ (ถนอม อินทุสูต)กับนางนวม   ตั้งแต่ยังเป็นหลวงอนุรักษ์ภูเบศร์   คุณหญิงจำเริญได้รับพระราชทานเครื่องราชจุลจอมเกล้าชั้นตติยจุลจอมเกล้าฯ
มีบุตรธิดาด้วยกัน ๕ คน
นอกจากนี้ท่านยังมีบุตรธิดากับภรรยาอื่นๆอีกรวม ๑๑ คน   ทุกคนใช้นามสกุล เดชะคุปต์

ประกาศตั้งขุนนาง
.
ให้หลวงศรีรณรงค์ (เอี่ยม) เป็นหลวงเทเพนทร์ ตั้งแต่ ณ วัน ๔ ฯ  ๒ ค่ำ ปีมะแม เบญจศก ศักราช ๑๒๔๕ (ตรงกับพุทธศักราช ๒๔๒๖)


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 09 มี.ค. 18, 14:20
พระยาโบราณฯ เกิดเมื่อพ.ศ.2414  เมื่อเกิดศึกกับฝรั่งเศสในปี 2436  ท่านอายุ 22 ปี
ท่านสมรสกับลูกสาวหลวงเทเพนทร์ เมื่อตัวท่านเองได้เป็นหลวงอนุรักษ์ภูเบศ    ตามประวัติบอกว่าท่านได้เป็นคุณหลวง ในพ.ศ. 2439  อายุ 25 ปี ถัดมาอีก 2 ปีก็ได้เลื่อนขึ้นเป็นพระ
ดังนั้น  ท่านคงแต่งงานราวๆพ.ศ. 2439-40 
ในยุคนั้น  ชายไทยแต่งงานกันในวัย 20 กว่าๆ     คะเนว่าลูกเขยกับพ่อตาน่าจะอายุห่างกัน  25-30 ปี  (เผื่อเอาไว้ว่าคุณหญิงจำเริญไม่ได้เป็นลูกคนแรกของหลวงเทเพนทร์) 

ตอนที่คุณหลวงเทเพนทร์รบอยู่ที่ดอนสม     ถ้าว่าที่ลูกเขยท่านตอนนั้นอายุ 22 ปี  ตัวท่านก็น่าจะอายุ 47-52 ปี  น่าจะแก่ไปเสียแล้วสำหรับการออกไปสมบุกสมบันอยู่ชายแดน 


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 09 มี.ค. 18, 15:43
เพราะฉะนั้น จึงเกิดคำถามว่า   หลวงเทเพนทร์คนที่เป็นพ่อตาของพระยาโบราณราชธานินทร์  มีชื่อตัวว่า ถนอม อินทุสุต เป็นคนเดียวกับหลวงเทเพนทร์ที่ไปรบกับฝรั่งเศสหรือเปล่า
หรือว่าหลวงเทเพนทร์ที่ไปรบ เป็นคนที่ชื่อ เอี่ยม  ตามที่คุณหนุ่มสยามไปค้นมา

พวกอินทุสุต ยังมีลูกหลานมาจนถึงปัจจุบัน เช่นคุณไมตรี อินทุสุต อดีตปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
ท่านเพิ่งเกษียณเมื่อปีก่อน คงจะมีเวลาว่างพอจะตอบคำถามท่าน cinephile ได้ว่า คุณหลวงเทเพนร์(ถนอม)
 บรรพบุรุษของท่าน เคยไปรบกับฝรั่งเศสหรือเปล่า
นอกจากนี้ยังมีโรงเรียนอินทุสุตศึกษา อยู่ที่ปทุมธานี   ถ้าเป็นร.ร.ที่ลูกหลานคุณหลวงก่อตั้งขึ้น  ก็น่าจะมีประวัติท่าน อาจจะมีรูปถ่ายให้เห็นด้วยค่ะ

แต่ถ้าไม่ใช่ เป็นคนละคน   กลายเป็นคุณหลวงเทเพนทร์(เอี่ยม) ไม่รู้นามสกุล   ข้อนี้ก็จนใจค่ะ



กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 09 มี.ค. 18, 19:55

ข้อมูลที่ว่าหลวงเทเพนทร์เป็นคนขลาดอาจเริ่มน่าสงสัยครับ
อาจต้องวิเคราะห์กันว่าใครเป็นผู้เพ็ดทูลข้อมูลดังกล่าวให้แก่กรมหลวงพิชิตปรีชากร​ในเมื่อพระองค์ท่านอยู่ที่อุบล​ พระประชาคดีกิจอยู่ที่ศรีทันดร​ ในขณะที่หลวงเทเพนทร์วิ่งแก้ปัญหาอยู่ที่ด่านหน้าตลอดเหตุการณ์​
ัตัว​พระประชานั้นไว้วางใจหลวงเทเพนทร์อย่างเป็นที่แน่นอน

ถ้าเป็นนิยายหรือหนัง ก็ตีความได้หลายเวอร์ชั่นค่ะ
เวอร์ชั่น 1    คุณหลวงเป็นคนองอาจกล้าหาญ   อาสานายแข็งขันไม่กลัวเหนื่อยยาก   วางแผนการรบอย่างถี่ถ้วน  เป็นที่ไว้ใจของพระประชามาก
เมื่อเผชิญข้าศึกที่กำลังมากกว่าเท่าตัว   อาวุธก็ดีกว่า ชนิดเทียบกันไม่ได้   คุณหลวงเทเพนทร์ก็ไม่มีทางอื่น   
ต้องเลือกรักษาชีวิตตัวเองและไพร่พลไว้ก่อน  ดีกว่าจะยอมตายเอาดื้อๆทั้งกองร้อยโดยไม่ได้ชัยชนะอยู่ดี   
การเผชิญหน้าจึงจบลงด้วยการไม่เสียเลือดเนื้อ   คุณหลวงก็ยอมล่าถอย หรือถ้าไม่ล่าถอยก็อยู่เฉยๆไม่ได้ทำอะไรฝรั่ง   เพื่อรักษากำลังเอาไว้สู้ในโอกาสต่อไป
เป็นยุทธศาสตร์ที่ดี คือ ถ้ารบแล้วไม่ "ได้"  ก็ต้องประคองไว้ไม่ให้ "เสีย"

พอข่าวไปถึงกรมหลวงพิชิตปรีชากร   ท่านทรงตัดสิน "ผล" เป็นหลัก  ไม่ได้ตัดสินที่ "เหตุ"  คือพอทรงทราบว่าฝรั่งผ่านด่านเข้ามาสะดวกง่ายดาย    ไม่มีข่าวรบ ไม่มีข่าวตายของทั้งสองฝ่าย    ท่านก็ทรงเห็นว่าเป็นไปได้ทางเดียวคือฝ่ายไทยยอมแพ้ข้าศึกเอาง่ายๆ ไม่ยอมสู้    การที่ไม่มีข่าวฝรั่งจับไทยเป็นเชลย  ก็ตีความได้อีกอย่างว่าไทยเปิดหนี  หลวงเทเพนทร์จึงถูกประณามเพราะรูปการณ์เป็นแบบนี้



กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 09 มี.ค. 18, 21:06
เวอร์ชั่น 2 
การเตรียมการของข้าราชการไทยที่ไปประจำอยู่ชายแดน มีแต่ความหละหลวม  ไม่มีความพร้อมเลยจนอย่างเดียวไม่ว่าการข่าว การฝึกซ้อม   งบประมาณ กำลังคน อาวุธยุทโธปกรณ์  ล้มเหลวทั้งหมด   ทั้งๆก็รู้กันมาก่อนหน้านี้แล้วถึงความตึงเครียดของสถานการณ์   แต่ก็ปล่อยปละละเลยไม่รับผิดชอบ
การปกครองในเมืองเชียงแตง  กับเมืองศรีธันดร ดูจากหลักฐานแล้วน่าจะเหลวเป๋วพอกัน     หลวงเทเพนทร์เองก็รู้ดีว่าทั้งอาวุธ ทั้งฝีมือคน ไม่พอเพียงจะทำอะไรได้สักอย่าง   แต่เมื่อเกิดศึกขึ้นมาจริงๆ  ท่านก็ต้องโชว์ฝีมือให้ผู้บังคับบัญชารู้ ด้วยการทำหนังสือแจ้งไปว่ากำลังวางแผนจะทำโน่นทำนี่ (ดังที่ท่าน cinephile โพสในค.ห.215)สั่งให้คนนั้นทำอย่างนี้   คนนี้ทำอย่างนั้น  ตั้งค่ายที่นั่นที่นี่
เอาเข้าจริง ฝรั่งเศสมาอีกทาง   ที่วางแผนไว้ไม่ได้ใช้เลยทั้งหมด  แสดงว่าหลวงเทเพนทร์คงไม่ชำนาญภูมิประเทศแถวนั้น จึงกะไม่ถูกว่าฝรั่งจะมาทางไหน ขึ้นบกที่ไหน     อุตส่าห์ไปตั้งทัพซุ่มดักฝรั่ง   ฝรั่งขึ้นบกมาแทบจะเดินชนกัน ยังไม่รู้เลย   แสดงว่าหน่วยลาดตระเวนของคุณหลวงไม่มี หรือมีก็ไม่ได้เรื่อง  อาจจะหนีฝรั่งเข้าป่าไปแล้วแบบชาวเมืองเชียงแตงก็เป็นได้

การวางแผนรบ จะทำขึงขังเท่าใดก็ได้ เพราะยังไม่ถึงขั้นตอนของการลงมือ    แต่พอลงมือแล้วถึงจะพิสูจน์ได้ว่ารบเป็นหรือเปล่า
เมื่อเผชิญหน้ากับฝรั่ง  หลวงเทเพนทร์กับหลวงพิพิธดูเหมือนจะตกที่นั่งเดียวกันคือไม่สามารถต่อรองอะไรได้สักอย่าง  ยอมแพ้ลูกเดียว    จึงเป็นเหตุให้กรมหลวงพิชิตปรีชากรกริ้ว

อาจจะมีเวอร์ชั่น ๓ หรือ ๔  แต่ดิฉันคิดออกแค่นี้ค่ะ   


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: cinephile ที่ 09 มี.ค. 18, 23:35
เป็นเรื่องที่น่าคิดนะครับคุณหญิง

ถ้าเราเอาข้อมูลจาก Amable Sablon du Corail ที่แปลโดย Smithi แล้วไม่เอาความรักชาติเป็นที่ตั้ง
ก็ลองพิจารณาที่ Corail เขียนเอาไว้ว่าทหารไทยห่วยแตก "ไม่มีทหารมืออาชีพ จะรบทีก็เกณฑ์พวกชาวบ้านสองสามพันคน
อย่างเร่งรีบ เกณฑ์โดยบีบบังคับ โดยไม่มีการฝึกฝนเลยแม้แต่น้อย ไม่มีความกระตือรือร้นในการสู้รบ
และยิ่งไปกว่านั้นคือชาวบ้านที่ถูกเกณฑ์มารบส่วนใหญ่จะเป็นคนลาว ที่ไม่ต้องการที่จะพลีชีพเพื่อกษัตริย์ไทย"
มันเป็นเรื่องจริงทีเดียวอย่างที่ผม post เรื่องที่ฝรั่งเศสยึดเชียงแตงนั่นแหละครับ
แต่เรื่องอาวุธยุทโธปกรณ์ของเราไม่เลวไปกว่าของฝรั่งเศสเลยนะครับ Corail เขียนต่อไปว่าทหารไทยได้รับปืนที่เหมาะสม
เป็นปืนที่ทำในยุโรปขนาด 80 ถึง 120 มม. และเหนือกว่านั้นคือปืน Mannlicher ที่ทำในออสเตรีย วึ่งยิงได้ไกลกว่า เร็วกว่า และแม่นกว่าปืน 1874 gras ซึ่งเป็นปืนที่พวกทหารเกณฑ์ชาวอันนัมใช้ (ฝรั่งเศสไม่กล้าเอาปืนดีๆ เช่นปืนLebel ที่ใช้กระสุนไร้ควัน ซึ่งมีวิถีกระสุนไกลกว่าปืน Mannlicher เพราะกลัวว่าทหารรับจ้างชาวญวนจะหันกลับมาเล่นงานตนได้)
นายทหารของสยามพิศูจน์ให้เห็นถึงความตั้งใจในการรบ แต่ก็ไม่สามารถที่จะบดบังความอ่อนด้อยในการฝึกฝน


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: cinephile ที่ 09 มี.ค. 18, 23:55
อ้างถึง
ถึง วันที่ 20 เมษายน ฝรั่งเศสชื่อกองซือ กับทหารญวน 19 คน อาวุธครบมือตรงมาที่เมืองอัตปือ ซึ่งอยู่ภายใต้ความควบคุมของไทย เป่าประกาศต่อราษฎรว่า เมืองอัตปืออยู่ในอารักขาของฝรั่งเศสแล้ว ขอให้ชนชาวเมืองอย่าเกรงกลัวต่อข้าราชการไทยอีกต่อไป ขณะนั้นมีทหารไทยใจกล้าคนหนึ่ง ชื่อ ร้อยโทพุ่ม มีหน้าที่รักษาราชการเมืองอัตปือ ร้อยโทพุ่มนำพรรคพวกขับไล่ทหารฝรั่งเศสและญวนออกไปเสีย

เรื่องอัตปือนี่เป็นเรื่องใหญ่ที่ทำให้ ร.๕ ทรงพิโรธมากในเรื่องเรื่องสมรรถภาพของทหารไทยครับ
      "ครั้นถึงวันที่ ๒๐ เมษายน ร.ศ.๑๑๒ มีฝรั่งเศสคนหนึ่ง  ชาวบ้านนั้นเรียก "กงกือ"  หรือ  "ตงซือ"  คุมทหารญวน ๑๙ คน ลงเรือมาจากเมืองแกวภูซุน(เมืองเว้) มาบังคับเอาเสบียงจากเมืองอัตปือ เมืองแสนปาง แล้วสั่งว่าตั้งแต่นี้ต่อไป  ไม่ให้ฟังคำบังคับบัญชาของไทย  เพราะเมืองเหล่านี้เป็นของฝรั่งเศสแล้ว  เจ้าราชวงศ์และนายร้อยโทพุ่ม  ผู้รักษาราชการเมืองอัตปือบอกว่า  เมืองนี้ยังเป็นของไทยอยู่  นายทหารฝรั่งเศสและทหารญวนเหล่านั้นก็ลงเรือกลับไป ข่าวนี้ทำให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพิโรธมากดังมีพระดำริว่า "การซึ่งจะให้เป็นอันสำเร็จเด็ดขาดโดยตกลงพูดจากัน ดูยิ่งจะเป็นการยากหนักขึ้นเสียแล้ว ด้วยฝรั่งเศสมีความหมิ่นประมาทเหลือเกินจนถึงได้ใช้คนเพียง 20 คนเท่านี้"
(กจช. ฝ. ๑๘.๑/๒ ไปรเวตที่ ๑๒๒/๒๑๙๘ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวถึง กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ ลงวันที่ ๘ พฤษภาคม ร.ศ.๑๑๒)

เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริที่จะใช้วิธีการรุนแรงโต้ตอบฝรั่งเศส กรมหลวง
เทวะวงศ์วโรปการได้กราบบังคมทูลท้วงติงไว้ว่า
   "---ทางที่ฝรั่งเศสประพฤติทั้งนี้ ก็ไม่เป็นที่ขัดขวางของฝ่ายไทยไม่ให้เดินทางเช่นนั้นบ้าง แต่ข้อสำคัญที่ฝ่ายไทยจะต้องทำนั้นจะเป็นการอย่างไร ๆ ก็ดี ต้องให้ปรากฏว่าเป็นการต่อสู้ป้องกันเท่านั้น  แลการที่จะกระทำนั้นจะเป็นการตีเอาที่ดินคืนก็ดี ฤๅเป็นการป้องกันต่อสู้ก็ดี ต้องให้เชื่อได้แน่ว่าจะกระทำสำเร็จ ก็เป็นการควรกระทำได้ไม่ต้องรั้งรอ มีความสงสัยว่ากำลังของฝ่ายไทยที่มีอยู่ในเวลานี้จะยังไม่พอการให้สำเร็จได้ ถ้ามีคำสั่งออกไปให้ต่อตีเอาที่ฝรั่งเศสยึดนั้นคืนแล้ว  จะเป็นการได้ทีฤๅเสียทีนั้น เป็นที่สงสัยนัก  ยังมีการฝ่ายไทยที่ตระเตรียมกำลังที่จะจัดสำหรับรักษาพระนครต่อไป  ก็ยังไม่พร้อมมูลบริบูรณ์ทั้งสิ้นนี้ ก็เป็นข้อสำคัญที่จะต้องพิจารณาก่อนจะกระทำการรบพุ่งชิงไชยแลเมื่อจะมีเหตุเล็กน้อยยังไม่พอที่จะให้ลุกลาม ก็จำเป็นต้องแก้ใขระงับไว้ ที่คิดกระทำการจัดอยู่ทุกวันนี้ จะต้องให้ปรากฏแก่โลกทั้งปวงว่าฝรั่งเศสข่มเหงไทยก่อนแล้วจึงควรจะคิดรบพุ่งกับฝรั่งเศส  แลไว้ใจว่ากรมพิชิตฯ คงจะได้ทรงดำริจัดการทั้งปวงรอบคอบแล้ว การส่งอาวุธไปอุดหนุนอย่างใดก็เห็นว่า ไม่ขัดขวางการที่กระทำอยู่ในยุโรบและกรุงเทพฯ การที่เจรจากับฝรั่งเศสในเรื่องนี้ ก็จำใจต้องทำไปตามคติของโลกทั้งหลายที่นับถือว่า การเช่นนี้เป็นหนทางของเมืองอันรุ่งเรืองจะต้องดำเนิร หนทางการทั้งปวงที่ได้ปรนิบัติราชการแลผลที่ปรากฏแก่คนทั้งปวงแต่ต้นในเรื่องฝรั่งเศสเป็นการดี อยู่ในที่ถูกต้อง เป็นที่คนทั้งปวงแต่ต้นในเรื่องฝรั่งเศสเป็นการดี อยู่ในที่ถูกต้อง เป็นที่คนทั้งปวงที่เป็นกลางติเตียนไม่ได้แล้ว ถ้าแม้จะมีเหตุอันเสียสติไปไม่เป็นที่พอใจแก่กันเอง จะกระทำการผลุนผลันพันแล่นอย่างไรแล้วก็จะเป็นที่เสียใจยิ่งนัก---"
(กจช. ฝ. ๑๘.๑/๒ ไปรเวตที่ ๑๒๒/๒๑๙๘ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวถึง กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ ลงวันที่ ๘ พฤษภาคม ร.ศ.๑๑๒)
คำกราบบังคมทูลของกรมหลวงเทวะวงศ์วโรปการ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตอบว่า
   "ซึ่งชวนให้ระงับใจไว้นั้น ก็เห็นชอบด้วยแล้ว  แต่อดกลั้นความเดือดขึ้นมาไม่ได้ ด้วยฉันไม่เข้าใจเลยว่า ฝรั่งเศสเดินผ่านเมืองอัตปือ เมืองแสนปาง ฉันเข้าใจว่ามันเดินย่ำมาบนกระบานหัวทั้งยี่สิบคน"
(กจช. ฝ. ๑๘.๑/๒ สำเนาที่ ๖๗/๒๒๖๔ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวถึงกรมหลวงเทวะวงศ์วโรปกร ลงวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ร.ศ. ๑๑๒)


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 10 มี.ค. 18, 10:20

ราชกิจจาฯ เล่ม 3 หน้า 141 ตีพิมพ์ใบบอกจากพระยามหาอำมาตย์ แจ้งข่าว
หลวงเทเพนทร์(เอี่ยม) ป่วยตายที่หัวเมืองอิสาณ ตามข้อมูลของคุณหนุ่มสยามครับ

หลังจากนั้นมีหลวงเทเพนท์คนใหม่ถูกส่งไปจับผู้ร้ายที่สระบุรี
ขุนประชาคดีกิจเลื่อนเป็นหลวงประชาคดีกิจ ให้ร่วมคณะพระวิภาคภูวดลไปสำรวจทำแผนที่เมืองเหนือ

เมษายน ร.ศ. 109 หลวงเทเพนทร์ ร่วมคณะพระพิษณุเทพ ไปประจำการเมืองจำปาศักดิ์
พฤจิกายน ร.ศ. 110 หลวงประชาคดีกิจ กลับมาจากเมืองเหนือเลื่อนเป็นพระประชาคดีกิจ ร่วมคณะกรมหลวงพิชิตปรีชากรไปอุบล
                   พระประชาคดีกิจเป็นข้าหลวงที่เมืองสีทันดร กลายเป็นผู้บังคับบัญชาสายตรงของหลวงเทเพนทร์ที่คุมทหารในแถบสี่พันดอนแก่งหลี่ผี
                   อายุของหลวงเทเพนทร์ท่านนี้จึงน่าจะใล่เลี่ยกับพระประชาคดีกิจหรือมากกว่าเล็กน้อยครับ (เกณฑ์อายุประมาณ 30 ปี)

มีตัวละครที่น่าสนใจอีกคนหนึ่งคือ นายสุดจินดา(เลื่อน) ที่เข้ามาแทรกสายการบังคับบัญชาระหว่างพระประชาคดีกิจกับหลวงเทเพนทร์ครับ
นายสุดจินดาคนนี้ต่อมาได้เลื่อนเป็นพระณรงค์วิชิต และได้เขียน จดหมายเหตุ ร.ศ. 112
http://ebookstou.org/view/0000358600000001738817574/index/#p=1 (http://ebookstou.org/view/0000358600000001738817574/index/#p=1)
ซึ่งบางครั้งมีการบรรยายเหตุการณ์ที่แปลกประหลาด และไม่ตรงกับหลักฐานอื่นครับ  


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 10 มี.ค. 18, 10:56
หลวงเทเพนทร์คนที่ป่วยเป็นไข้ตาย  ตายตั้งแต่ปี 2429  7 ปีก่อนเหตุการณ์รบที่ดอนสม ไม่ใช่หรือคะ 
ดิฉันอ่านตัวเลขไม่ถนัด ว่า ปีจออัฐศก ศักราช ๑๒๒๘ หรือ อะไรแน่   
ตรงไหนที่ระบุชื่อว่า หลวงเทเพนทร์คนนี้ชื่อ เอี่ยม คะ ยังหาไม่เจอ

ถ้าหลวงเทเพนทร์อายุประมาณ ๓๐ ในพ.ศ. ๒๔๓๖  (รศ.๑๑๒) ท่านเป็นพ่อตาของพระยาโบราณราชธานินทร์ไม่ได้แน่ๆ  เพราะปี ๒๔๓๖  พระยาโบราณฯอายุ ๒๒ ปีแล้ว

ขอพูดต่อเรื่องปืนของฝ่ายไทย
ตามหลักฐานที่ท่าน cinephile ยกมา ไทยมีอาวุธทันสมัยไม่แพ้ฝรั่งหรือมากกว่าเสียอีก   แต่จากหนังสือของเมืองเชียงแตงและเมืองศรีทันดร อาวุธปืนกลายเป็นปัญหาใหญ่       
ขอให้อ่านข้อความต่อไปนี้นะคะ

๑ เมืองเชียงแตง
ไพร่พลเมืองก็มาในที่ปฤกษาแต่ ๑๒-๑๓ คนเท่านั้น บังคับให้ถือปืนขึ้น ยัดปืนก็ไม่ยัดถือปืนนิ่งอยู่ บ้างก็วางปืนวิ่งไปบ้าง มีอยู่แต่กรมการผู้ใหญ่สามนายเท่านั้นที่นั่งอยู่ปรกติ
ตรงนี้แสดงว่า ในเมืองมีอาวุธ (จะทันสมัยหรือไม่ ยกไว้ก่อนเพราะไม่ได้ระบุชัดขนาดนั้น)แต่หาคนใช้อาวุธไม่ได้ บรรดาทหารเกณฑ์ชาวลาวที่ถูกจับยัดปืนใส่มือ  ไม่ยอมถือปืน  สั่งให้บรรจุกระสุนก็ไม่ทำ  ถือปืนทื่ออยู่ยังงั้น  ลักษณะแสดงว่ายิงไม่เป็น  หรือไม่ยอมยิงเพราะกลัว  ข้อนี้เห็นได้จากคำที่ว่า "บ้างก็วางปืนวิ่งไปบ้าง" คือทิ้งปืนเผ่นหนีลงจากจวนท่านข้าหลวงไปต่อหน้าต่อตา
ก็แสดงว่าปืนทันสมัยที่ได้มา   ตกอยู่ในมือของคนที่ใช้ไม่เป็น  แปลว่าไม่มีการฝึกอาวุธมาก่อน  และถึงฝึกบ้าง พอเอาเข้าจริง  บรรดาทหารเกณฑ์ลาวก็ไม่เชื่อถือในปืนที่ตัวเองถืออยู่   คิดแต่ว่าจะไม่ยอมตายเพื่อคนไทย ดังที่ฝรั่งเศสบันทึกไว้
๒ เมืองศรีทันดร
 ที่มีอยู่ชายฉกรรจ์ ๔๑ คนก็ภากันมีใจระส่ำระสาย ไม่เป็นปรกติ จะหาปืนชะเลยสัก(ปืนเถื่อน) สำหรับบ้านก็ไม่มี ข้าพเจ้าได้ตรวจดูเข้า(ข้าว)ค่าหางนาที่เก็บแก่คนกองด่านยกไว้สำหรับมีราชการที่ด่าน มีเข้าเปลือก ๒๐๐ ถังเสศ ได้เกณฑ์ขอแรงคนสีซ้อม ถ้าเป็นเข้าสารแล้วก็คงอยู่เพียง ๑๐๐ ถัง คน ๒๐๐ คนรัปทานได้เพียง ๑๐ วัน
แต่คนกำลังก็ไม่มีปืนครบมือ
  หลวงเทเพนทร์เกณฑ์คนได้ 200 คน  ต้องไปหาปืนชะเลยสัก(ปืนเถ่ื่อน) มาเพิ่มเติม    แสดงว่าอาวุธที่มี ไม่พอสำหรับคน 200 คน   กลาโหมซื้อปืนมาจำนวนเท่าไหร่ก็ไม่ทราบ  แต่พอแจกจ่ายไปถึงปลายทางแล้ว   ไม่พอแม้แต่กองร้อยเล็กๆ 
  นอกจากนี้  เมืองศรีทันดรรู้ว่าสถานการณ์ตึงเครียด จะเกิดศึกขึ้นมาวันใดก็ได้  แต่ก็ไม่ยักเตรียมเสบียงยุ้งฉางไว้ล่วงหน้าให้พร้อม   มีข้าวกินเผื่อ 10 วันเท่านั้นเอง

 ข้าพเจ้าได้มีหนังสือมายังคุณผาดมหาดเล็ก กับอุปฮาดผู้รักษาเมืองให้รีบเกณฑ์คนกำลังเหนือเมืองสีธันดร พร้อมด้วยปืนอาวุธครบมือ ๔๐๐ คน มีเข้าเสบียงคนละสิบทนาน
ทัพบกยกเติมเข้ามาทางด่านจะหลับ จะมาเมืองสีทันดรทีเดียว พลเมืองแตกหนีเสียเป็นอันมาก ปืนกระสุนดินดำ ก็เบาบาง
 ยังมีอีกที่หนึ่ง ระบุว่าปืนไม่เพียงพอ   แค่นี้ก็พอเห็นแล้วว่าต้นน้ำกับปลายน้ำมันมีความต่างกันมากเรื่องการส่งอาวุธ   ปืนอาจจะไปกองกันอยู่ในเมืองใหญ่ๆ  แต่เมืองเล็กๆริมแม่น้ำโขงซึ่งเป็นด่านแรกในการปะทะ  ขาดแคลนทั้งเสบียง อาวุธ  การวางแผนรบ และการประสานงานระหว่างราชการกับท้องถิ่น

ท่าน Cinephile  คงเคยอ่าน "พม่าเสียเมือง" ของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช   ตอนอังกฤษยกพลลงเรือล่องมาตามแม่น้ำจะไปยึดเมืองหลวง   เมืองเล็กๆสองข้างทางก็ทำกันคล้ายๆอย่างนี้ละค่ะ อาจจะแย่กว่านี้ด้วยซ้ำ


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 10 มี.ค. 18, 11:19
หลวงเทเพนทร์คนที่ป่วยเป็นไข้ตาย  ตายตั้งแต่ปี 2429  7 ปีก่อนเหตุการณ์รบที่ดอนสม ไม่ใช่หรือคะ  
ดิฉันอ่านตัวเลขไม่ถนัด ว่า ปีจออัฐศก ศักราช ๑๒๒๘ หรือ อะไรแน่    
ตรงไหนที่ระบุชื่อว่า หลวงเทเพนทร์คนนี้ชื่อ เอี่ยม คะ ยังหาไม่เจอ

ถ้าหลวงเทเพนทร์อายุประมาณ ๓๐ ในพ.ศ. ๒๔๓๖  (ร.ศ.๑๑๒) ท่านเป็นพ่อตาของพระยาโบราณราชธานินทร์ไม่ได้แน่ๆ  เพราะปี ๒๔๓๖  พระยาโบราณฯอายุ ๒๒ ปีแล้ว

ราชกิจจาฯ เล่ม ๑ หน้า ๒๑๖ ว่า หลวงศรีณรงค์เลื่อนเป็นหลวงเทเพนทร์
เจ้ากรมมหาดไทย ตำรวจภูบาล จ.ศ. ๑๒๔๕
อีกสามปีต่อมาหลวงเทเพนทร์คนนี้ป่วยที่ขุขันธ์ ตามราชกิจจาฯ จ.ศ. ๑๒๔๘ คือ พ.ศ. ๒๔๒๙ ตรงตามที่คุณหนุ่มสยามว่ามาครับ
ส่วนจะชื่อเอี่ยมจริงๆหรือไม่ต้องตามไปดูตอนตั้งหลวงศรีณรงค์ครับ

ราวๆ ร.ศ.๑๐๘ มีชื่อ หลวงเทเพนทร์คนใหม่แล้ว คนใหม่นี้คือคนที่ไปอยู่ในเหตุการณ์ ร.ศ.๑๑๒


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 10 มี.ค. 18, 11:24
มีหลวงเทเพนทรอีกคนหนึ่งชื่อ หง นะคะ บ้านอยู่หน้าประตูช่องกุด ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ
http://www.reurnthai.com/index.php?topic=4741.msg92525#msg92525


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 10 มี.ค. 18, 12:05

แผนที่ประกอบเรื่องจากหนังสือของ มสธ. ครับ

ร.ศ. ๑๑๒ พระประชาคดีกิจ กับหลวงเทเพนทร์ ตั้งแนวรับอยู่ที่สีทันดรแล้ว
กลางเดือนเมษา นายสุดจินดาถูกส่งจากอุบลมาช่วย เขียนจดหมายแจ้งพระประชาว่า
ถูกแต่งตั้งให้เป็นแม่ทัพหน้าของกองทัพหลวงให้ลงมาช่วย
ตรงนี้ทำให้สายการบังคับบัญชาที่หน้าด่านเริ่มยุ่งเหยิง


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 10 มี.ค. 18, 12:32

เรื่องอัตปือนี่เป็นเรื่องใหญ่ที่ทำให้ ร.๕ ทรงพิโรธมากในเรื่องเรื่องสมรรถภาพของทหารไทยครับ
      "ครั้นถึงวันที่ ๒๐ เมษายน ร.ศ.๑๑๒ มีฝรั่งเศสคนหนึ่ง  ชาวบ้านนั้นเรียก "กงกือ"  หรือ  "ตงซือ"  คุมทหารญวน ๑๙ คน ลงเรือมาจากเมืองแกวภูซุน(เมืองเว้) มาบังคับเอาเสบียงจากเมืองอัตปือ เมืองแสนปาง แล้วสั่งว่าตั้งแต่นี้ต่อไป  ไม่ให้ฟังคำบังคับบัญชาของไทย  เพราะเมืองเหล่านี้เป็นของฝรั่งเศสแล้ว  เจ้าราชวงศ์และนายร้อยโทพุ่ม  ผู้รักษาราชการเมืองอัตปือบอกว่า  เมืองนี้ยังเป็นของไทยอยู่  นายทหารฝรั่งเศสและทหารญวนเหล่านั้นก็ลงเรือกลับไป ข่าวนี้ทำให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพิโรธมากดังมีพระดำริว่า "การซึ่งจะให้เป็นอันสำเร็จเด็ดขาดโดยตกลงพูดจากัน ดูยิ่งจะเป็นการยากหนักขึ้นเสียแล้ว ด้วยฝรั่งเศสมีความหมิ่นประมาทเหลือเกินจนถึงได้ใช้คนเพียง 20 คนเท่านี้"
(กจช. ฝ. ๑๘.๑/๒ ไปรเวตที่ ๑๒๒/๒๑๙๘ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวถึง กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ ลงวันที่ ๘ พฤษภาคม ร.ศ.๑๑๒)


กรณีีอัตปือ กรุงเทพฯได้รับแจ้งช่าวทางโทรเลขตั้งแต่ก่อนวันที่ ๘ พฤษภาคม ร.ศ.๑๑๒
แต่พระประชา ที่สีทันดร ได้รับแจ้งข่าว ๒๙ พฤษภาคม ร.ศ.๑๑๒
แสดงให้เห็นว่าเริ่มมีการเตะตัดขากันโดยข้าราชการไทยแถวๆจำปาศักดิ์กันแล้วครับ


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 10 มี.ค. 18, 12:45

ในกรณีอัตปือเหมือนกัน
นายสุดจินดาบันทึกรายงานว่า ทราบเรื่องในวันที่ 3 พฤษภาคม ร.ศ. ๑๑๒


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 10 มี.ค. 18, 13:07

วันที่ 6 พฤษภาคม ร.ศ.๑๑๒ นายสุดจินดาส่งหนังสือให้ฝรั่งเศสยอมวางอาวุธและหลบหนีออกไป
ให้ฝรั่งเศสมีความเกรงกลัวในกำลังที่เหนือกว่าของไทย
เรื่องแปลกๆ ยุ่งเหยิงก็เกิดขึ้นในหมู่คนไทยเอง


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 10 มี.ค. 18, 14:49

เหตุการณ์ล้อมค่ายฝรั่งเศส ที่ดอนสาคอน วันที่ ๕ พฤษภาคม ร.ศ. ๑๑๒ นั้น
พระประชาคดีกิจ และ นายสุดจินดา ต่างบันทึกเหตุการณ์ไปคนละทาง เป็นหนังคนละม้วน
วันที่ ๗ พฤษภาคม ร.ศ. ๑๑๒ ลูกน้องพระประชา ไล่ตามจับร้อยเอกโทเรอ ได้


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 10 มี.ค. 18, 15:04
พระประชาคดีกิจ  ต่อมาได้เลื่อนขึ้นเป็นพระยาประชากิจกรจักร(แช่ม บุนนาค) เป็นบุตรพระพรหมธิบาล (จอน บุนนาค) มารดาชื่อ เปรม เข้ารับราชการในสมัยรัชกาลที่ ๕ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทุติยจุลจอมเกล้า เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๘
สมรสกับ คุณหญิงปราย มีบุตร ๔ คน ได้แก่ จมื่นเทพศิรินทร์ (ประณีต) จ่าแกว่นประกอบการ (ประสิทธิ์) นาย สุดจำลอง (ประเสริฐ) และพันตำรวจเอกพระราชญาติรักษา (ประกอบ)
ท่านเป็นผู้แต่งหนังสือ  พงศาวดารลาวเฉียง (พงศาวดารโยนก)
https://th.wikisource.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%89%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87_%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A3_(%E0%B9%81%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%A1_%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%84)

บ้านของท่าน ยังหาดูได้ที่นี่ค่ะ
https://www.facebook.com/Rattanakosineha/posts/884535298265051


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 10 มี.ค. 18, 15:24

ในเดือน พฤษภาคม ร.ศ.๑๑๒
พระประชาคดีกิจ กับ นายสุดจินดา เล่นชักคะเย่ออำนาจกัน ต่างฝ่ายต่างมี backup
โดยมีหลวงเทเพนทร์เป็นคนกลางยืนดูกระพริบตาปริบๆ


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: เงินปุ่นสี ที่ 11 มี.ค. 18, 15:37
ข้อมูล หลวงเทเพนทร์เทพ เท่าที่สืบค้นได้มีตามนี้ื นะครับ

ตั้งแค่ พ.ศ.๒๔๒๕ จนถึง พ.ศ.๒๔๒๙  ->  หลวงเทเพนทร์เทพ (เอี่ยม) ...เดิมเป็นหลวงศรีณรงค์                 (ระบุชื่อเดิมไว้ใน สารบาญบัญชีฯ พ.ศ.๒๔๒๖)
ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๓๐                         ->  หลวงเทเพนทร์เทพ (ถนอม อินทุสุต) ...เดิมเป็นเมืองอุไทยธานี     (ระบุชื่อเดิมไว้ใน ทำเนียบข้าราชการ พ.ศ.๒๔๔๒)



กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 12 มี.ค. 18, 09:28
ข้อมูล หลวงเทเพนทร์เทพ เท่าที่สืบค้นได้มีตามนี้ื นะครับ

ตั้งแค่ พ.ศ.๒๔๒๕ จนถึง พ.ศ.๒๔๒๙  ->  หลวงเทเพนทร์เทพ (เอี่ยม) ...เดิมเป็นหลวงศรีณรงค์                 (ระบุชื่อเดิมไว้ใน สารบาญบัญชีฯ พ.ศ.๒๔๒๖)
ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๓๐                         ->  หลวงเทเพนทร์เทพ (ถนอม อินทุสุต) ...เดิมเป็นเมืองอุไทยธานี     (ระบุชื่อเดิมไว้ใน ทำเนียบข้าราชการ พ.ศ.๒๔๔๒)





กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 12 มี.ค. 18, 11:25
ขอบคุณคุณเงินปุ่นสีมาก   คุณมาถูกทางแล้วค่ะ
ล่าสุด ท่าน cinephile แจ้งมาว่าได้พบหลานตาของหลวงเทเพนทร์แล้ว     ใช่หลวงเทเพนทร์(ถนอม อินทุสุต)จริงๆ
ถ้าท่าน cinephile ว่างพอจะเข้าเน็ตได้เมื่อไร คงจะมาเล่ารายละเอียดให้ฟังกันค่ะ


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 12 มี.ค. 18, 11:30
บุคคลที่น่าสนใจอีกคนคือนายสุดจินดา    ไม่ทราบว่าท่านนี้เป็นใครมาจากไหน และหมดงานนี้ ไปสู่ตำแหน่งใด
รู้จากชื่อ "นายสุดจินดา" ว่าเป็นหัวหมื่นมหาดเล็กชั้นหุ้มแพร    ยังไม่ได้ออกจากวังมาเป็นคุณหลวงในกระทรวงอื่นด้วยซ้ำ   ก็ถูกส่งตัวมาชายแดน
แสดงว่ามีฝีมือ ได้รับความไว้วางใจจากเจ้านายมากๆ
แล้วยังกล้าคานอำนาจคุณพระประชาฯซึ่งเป็นขุนนางตระกูลบุนนาคเสียอีก     ถึงแม้สิ้นสมเด็จเจ้าพระยาฯไปแล้ว พวกบุนนาคก็ยังรับราชการตำแหน่งสำคัญๆกันอยู่อีกมาก     นายสุดจินดานี้มาจากตระกูลสำคัญสายไหนหนอ?


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: cinephile ที่ 14 มี.ค. 18, 11:01
ข้อมูลเกี่ยวกับหลวงเทเพนทร์จากอาจารย์วรรณศิริ เดชะคุปต์ ผู้เป็นธิดาคนสุดท้องของพระยา
โบราณราชธานินทร์ (พร เดชะคุปต์)
อ.วรรณศิริเล่าว่าพระยาโบราณฯ ท่านเป็นเขยของหลวงเทเพทร์(ถนอม อินทุสุต) กับนางนวม
ผู้ที่หลวงเทเพทร์พบตอนที่รับราชการอยู่ที่จำปาสัก ดังนั้นกระผมค่อนข้างจะมั่นใจว่าหลวงเทเพนทร์
ที่รบอยู่ที่สีทันดอนก็คือพ่อตาของพระยาโบราณราชธานินทร์นั่นเอง รูปของหลวงเทเพนทร์ที่กระผม
ได้จากอ.วรรณศิริ น่าจะเป็นภาพถ่ายในสมัยหลัง

แต่ผมพยายามหาภาพของพระยาประชากิจกรจักร(แช่ม บุนนาค)กับภาพของนายสุดจินดา แต่ยัง
หาไม่ได้เลย ซึ่งน่าจะหาได้ง่ายๆ เพราะพระยาประชากิจกรจักร(แช่ม บุนนาค) เป็นคนดัง อย่างน้อยก็เป็น
คนที่แต่ง พงศาวดารลาวเฉียง (พงศาวดารโยนก)ที่เรารู้จัก แต่ก็ต้องหาต่อไปครับ


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 14 มี.ค. 18, 11:11
ยินดีด้วยที่หาตัวหลวงเทเพนทร์เจอแล้วค่ะ
รูปพระยาประชากิจฯ(แช่ม บุนนาค) ดิฉันยังหาในกูเกิ้ลไม่เจอ   คุณหนุ่มสยามหรือคุณเพ็ญชมพูน่าจะมีนะคะ


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 14 มี.ค. 18, 17:14

ผมขอเรียนเสนอตัวละครหลักในฉากการรบที่สีทันดร ครับ

1. พระประชาคดีกิจ
2. หลวงเทเพนทร์
3. นายสุดจินดา
4. ร้อยตรีถมยา
5. หลวงอภัย

เฉพาะที่เกี่ยวกับตัวละครกลุ่มนี้ เรื่องราวจะพลิกกลับไปมาสามสี่รอบครับ


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: cinephile ที่ 14 มี.ค. 18, 17:42
อะไรคือตำรจภูบาลครับ


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 14 มี.ค. 18, 20:25
เข้ามาตอบการบ้านข้อใหม่ของท่าน cinephile

ตำรวจภูบาล ตั้งขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา   แผ่นดินพระบรมไตรโลกนาถ  โปรดให้ตราระเบียบการปกครองแผ่นดิน เป็น 4 เหล่า เรียกว่า “จตุสดมภ์” ได้แก่ เวียง วัง คลัง นา ซึ่งพร้อมกันนี้ได้โปรดเกล้าฯ  ให้มีการตำรวจขึ้นด้วย   โดยให้ขึ้นอยู่กับเวียง   มีการกำหนดศักดินาของข้าราชการตำรวจตำแหน่งต่าง ๆ ไว้ในบทพระอัยการเช่นเดียวกับข้าราชการฝ่ายพลเรือน
ตำรวจภูบาลทำหน้าที่คล้ายตำรวจกองปราบปรามและตำรวจสันติบาลร่วมกันคือ สืบสวนสอบสวนคดีเมือง สอดส่องพฤติกรรม ของเจ้านายที่ทุจริต ปราบปรามข้าราชการทุจริต ทำการช่วยเหลือตำรวจท้องที่คือ ตำรวจภูธรและนครบาลสืบจับ  ผู้กระทำผิดคดีสำคัญ นอกจากนี้มีหน้าที่เกี่ยวกับพิสูจน์หลักฐานและลายพิมพ์นิ้วมืออย่างกองวิทยาการ เดี๋ยวนี้ด้วย 
ตำรวจพิเศษ มีขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5   เป็นตำรวจส่วนกลางทำหน้าที่อย่างตำรวจสอบสวนกลาง คือ ทำหน้าที่ปราบปรามโจรผู้ร้าย ทั้งในหัวเมืองและจังหวัดพระนคร และยังมีหน้าที่ทางทะเบียนและสถิติอีกด้วย เช่นการตรวจโรงรับจำนำ ออกรูปพรรณของหาย รับจดทะเบียนรถยนต์ จัดการเกี่ยวกับการตรวจพิมพ์ลายนิ้วมือ การปล่อยนักโทษ การเนรเทศ 

จนกระทั่งในสมัยรัชกาลที่ 4 ราวปี พ.ศ.2403 จึงได้มีการเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบบตำรวจสมัยใหม่ โดยได้มีการจ้างชาวต่างชาติมาจัดตั้งกองตำรวจ โดยเรียกว่า " กองโปลิสคอมสเตเบิ้ล " มาในสมัยรัชกาลที่ 5 มีการปฏิรูปการปกครองของประเทศใหม่ ยกเลิกระบบจตุสดมภ์ นำเอาระบบการปกครองแบบกระทรวงมาใช้ในการบริหารราชการแผ่นดิน หน่วยงานตำรวจจึงมาอยู่ในกระทรวงมหาดไทย ซึ่งแต่เดิมมีอยู่ 2 กรม คือ กรมตำรวจภูธร และกรมตำรวจภูบาล ซึ่งกรมตำรวจภูบาลทำหน้าที่คล้ายๆ ผู้ตรวจการกระทรวงมหาดไทยปัจจุบัน ตรวจตราด้านหัวเมืองทุกมณฑล ผู้ดำรงตำแหน่งเจ้ากรมตำรวจภูบาล คนแรก คือ หลวงดำรงแพทยาคุณ ( เทียนฮี้ ) ซึ่งต่อมาได้มีการพยายามจะจัดกรมตำรวจภูบาลเป็นกรมนักสืบ ซี ไอ ดี ขึ้นอีกกรมหนึ่งแต่ไม่สำเร็จ
    ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 7 สมัยสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิจ เป็นเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ได้ตั้งชื่อใหม่ว่า กรมตำรวจกลาง สำหรับเป็นกำลัง ส่งไปช่วยปราบปรามโจรผู้ร้ายในเมือง กรณีเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้นเหลือกำลังตำรวจท้องที่จะปราบปรามได้
    หลังจากได้ตั้งขึ้นเป็นการทดลองอยู่ชั่วระยะหนึ่งก็ได้ประกาศตั้งเป็นทางการ เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2473 แต่ชื่อเป็นทางการกลับเรียกชื่อว่า ตำรวจภูบาล ( ที่มาของตำรวจสอบสวนกลาง ) อีกครั้งหนึ่ง แต่ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 ได้ยกเลิกกรมตำรวจภูบาลและตำรวจกลาง และจัดวางโครงสร้างกรมตำรวจขึ้นใหม่ แบ่งส่วนราชการออกเป็น 4 ส่วน คือ 1. กองบังคับการ, 2. ตำรวจนครบาล, 3. ตำรวจภูธร และ 4. ตำรวจสันติบาล ( ซึ่งเปลี่ยนชื่อมาจากกรมตำรวจภูบาล )

อ้างอิง
http://www.csd.go.th/pages/p11_about_us.asp
http://www.cib.police.go.th/about_history.php


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: cinephile ที่ 15 มี.ค. 18, 14:27
ขอบคุณมากครับคุณหญิง


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 22 มี.ค. 18, 15:46

รูปคำฮุม เจ้าเมืองไล กับฮ่อธงดำ ถ่ายเมื่อปี คศ. 1890 ครับ


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 22 มี.ค. 18, 16:08

พระยอดเมืองขวาง ครับ



กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 22 มี.ค. 18, 16:50

รูปหลวงพิศณุเทพ ถ่ายที่หน้าเต๊นท์ของปาวี ร.ศ. ๑๐๘
หลวงพิศณุเทพต่อมาเลื่อนเป็นพระพิศณุเทพผู้นำคณะหลวงเทเพนทร์ไปจำปาศักดิ์ ใน ร.ศ. ๑๐๙ ครับ


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: cinephile ที่ 28 มี.ค. 18, 12:54
สุดยอดเลยครับคํณหนุ่มโคราช ผมไม่เคยเห็นมาก่อนเลยครับ (โดยเฉพาะพระยอดครับ)


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 28 มี.ค. 18, 13:39

ขอบพระคุณครับท่าน​ Cinephile


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: cinephile ที่ 29 มี.ค. 18, 09:17
รูปพระยอดเมืองขวางที่คุณหนุ่มโคราช Post เป็นรปที่หน้าสนใจมากครับ เป็นภาพ
ปริศนาว่าถ่ายที่ไหน เมื่อไหร่ อยู่ในเหตุการณ์อะไร
ดูจากในรูปจะเห็นว่าพระยอดฯ กำลังอพยพ ย้ายบ้าน ซึ่งน่าจะอยู่ในเหตุการที่เรซิดัง
ลูซ บังคับให้พระยอดฯ กับครอบครัวชาวไทยให้ออกไปจากคำม่วน ซึ่งเป็นที่ตั้งของ
ค่ายสยามที่พระยอดฯ เป็นเจ้าเมืองอยู่ โดยมี มองซิเออร์ กรอสกุแรง กับทหารอาสา
ญวนคุมตัวเพื่อไปขึ้นเรือมี่แก่งเจ็กเพื่อนำครัวไทยนั่งเรือข้ามแม่น้ำโขงกลับไปท่าอุเทน
ดูจากรูปแล้วขอเดาว่าพระยอดคงตั้งค่ายอยู่ที่เวียงกระแส (Vieng Kassen) ในเดือน
มิถุนายน ร.ศ. ๑๑๒ ดูจากภาพที่คุณหนุ่มโคราช post มาจะเห็นว่าพระยอดฯ ขนข้าวของ
ทั้งหมดที่มีติดตัวมาด้วย เครื่องแต่งกายของพระยอดฯ ดูเป็นการแต่งกายอย่างเป็นทางการ
เสื้อกระดุมห้าเม็ด นุ่งโจงกระเบนมีผ้าพันแข้งและรงเท้าหนัง มือถือไม้เท้า (?) ของที่เห็นในรูป
จะมีลัง(หีบ) เครื่องใช้ ตะเกียงทองเหลือง ม้านั่ง ฯลฯ. ให้ภาพของการย้ายบ้าน
ภาพนี้น่าจะถ่ายก่อนที่พระยอดฯ จะเข้าตีทำเนียบที่พวกฝรั่งเศสพำนักครับ
ใครมีความเห็นอะไรบ้างครับ


กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 29 มี.ค. 18, 18:49

เรียน ท่าน Cinephile

ภาพดังกล่าวอาจจะเป็นตอนที่พระยอดเมืองขวาง อำนวยความสะดวกให้คณะสำรวจฝรั่งเศสสักสองสามปีก่อนหน้านั้นครับ
ซึ่งอาจทำให้เราทราบว่าพระยอดเมืองขวางเป็นหนึ่งในข้าราชการสยามหัวเมืองที่มีความคุ้นเคยรู้จักนิสัยของฝรั่งเศสเป็นอย่างดี



กระทู้: ตามหารูปสมัยรบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 29 มี.ค. 18, 19:03

ภาพประกอบเพิ่มเติมครับ

พงษาวดารหัวเมืองมณฑลอิสาณ

รัตนโกสินทรศก ๑๑๑ ปีมโรงจัตวาศก จุลศักราช ๑๒๕๔
...
วันที่ ๓๑ ตุลาคม พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร ทรงออกประกาศให้ราษฎรในมณฑลลาวกาวทำสารกรมธรรม์ต่าง ๆ ด้วยกระดาษพิมพ์หลวง ถ้าใครไม่ทำสารกรมธรรม์ด้วยกระดาษพิมพ์หลวงภายหลังวันออกประกาศนี้แล้ว ห้ามมิให้ข้าหลวงผู้ว่าราชการกรมการรับพิจารณา

วันที่ ๒๙ พฤศจิกายน มองซิเออมาซี ฝรั่งเศสมาจากเมืองหลวงพระบาง พักอยู่ดอนเบงเมืองสีทันดร เปนไข้ถึงเสียจริตเอาปืนยิงตนตาย

ธันวาคม มองซิเออดอมเร พ่อค้าฝรั่งเศสเมืองนครจำปาศักดิ นำเอาสินค้ามาจำหน่ายที่เมืองอุบล

พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร ให้พระพิศณุเทพ ข้าหลวงนครจำปาศักดิ แลเจ้าอุปราชนครจำปาศักดิ ราชวงษ์ผู้รักษาเมืองสีทันดร ท้าวสุทธิสารผู้รักษาเมืองมูลปาโมกข์ แลหมอควาญช้าง คุมต้นไม้เงินทองเครื่องราชบรรณาการ แลช้างพลายเผือกของเมืองนครจำปาศักดิ แลช้างพลายสีปลาดของเมืองสีทันดรมาถวายณกรุงเทพ ฯ

ส่วนน่าที่ข้าหลวงนครจำปาศักดิ โปรดให้ถอนขุนวิชิตพลหาร ข้าหลวงเมืองเดชอุดมเมืองโดมประดิษฐ ไปเปนข้าหลวงนครจำปาศักดิ

แลให้หลวงเทพนเรนทร์ ไปเปนข้าหลวงเมืองเดชอุดม เมืองโดมประดิษฐ

พระพิศณุเทพแลเจ้าอุปราชมาถึงกรุงเทพฯ ประจวบเวลาทรงพระประชวร จึ่งโปรดเกล้า ฯ ให้พักช้างสีปลาดไว้ที่บ่อโพงกรุงเก่า ส่วนช้างเผือกนั้นเปนเผือกเอก ได้เอาลงแพมาขึ้นโรงสมโภชที่เกาะ (ช้างเผือก) ณพระราชวังบางปอิน แต่ยังหาทันได้ขึ้นระวางไม่ ช้างนั้นล้มเสีย

มองซิเออมาซี คือคนชุดขาวยืนติดกับปาวีกลางรูปครับ