เรือนไทย

General Category => ชมรมอนุรักษ์ภาพจิตรกรรมไทย => ข้อความที่เริ่มโดย: ฉันรักบางกอก ที่ 02 มิ.ย. 10, 17:11



กระทู้: สมัยไหน
เริ่มกระทู้โดย: ฉันรักบางกอก ที่ 02 มิ.ย. 10, 17:11
 ;Dเมื่อวานแวะไปวัดค้างคาว จ.นนทบุรี พบเสมาหินทรายแดง
อ่านในหนังสือวิวัฒนาการลายไทยแล้วไม่แน่ใจ

เข้ามาตอบกันเร็ว


กระทู้: สมัยไหน
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 02 มิ.ย. 10, 20:49
สวัสดีัครับพี่แพร  ;D

ประภัสสร์ ชูวิเชียร,ลวดลายบางแบบบนใบเสมาวัดค้างคาวจังหวัดนนทบุรี = some designs on boundary stones at Wat Khang Khao, Nonthaburi.

เมือง โบราณ. ปีที่ 29, ฉบับที่ 1 (ม.ค. - มี.ค. 2546) : หน้า 72-78


กระทู้: สมัยไหน
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 02 มิ.ย. 10, 22:43
 ;D


กระทู้: สมัยไหน
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 02 มิ.ย. 10, 22:44
อุ๊ย ซ้ำ แปลว่าใจตรงกัน อิอิ


กระทู้: สมัยไหน
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 02 มิ.ย. 10, 22:45
 8)


กระทู้: สมัยไหน
เริ่มกระทู้โดย: jean1966 ที่ 03 มิ.ย. 10, 09:53
วัดค้างคาว             ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก ตรงข้ามวัดเขมาภิรตาราม ในพื้นที่ ตำบลบางไผ่ อำเภอเมือง ฯ เนื่องจากบริเวณนี้มีค้างคาวอยู่มาก ชาวบ้านจึงเรียกว่าวัดค้างคาว จากโบราณสถานในวัด สันนิษฐานว่าสร้างสมัยอยุธยาตอนกลาง ในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ และได้รับการบูรณะครั้งใหญ่ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โบราณสถานที่สำคัญมีดังนี้
   พระอุโบสถ มีขนาดใหญ่ก่ออิฐถือปูน มีมุขหน้าหลัง หน้าบันเป็นลวดลายไม้จำหลักรูปเทวดาประทับในปราสาท ล้อมรอบด้วยลายกนกออกช่อเทพนม มีความประณีตงดงามมาก เครื่องลำยอง ช่อฟ้า ใบระกา นาคสะดุ้ง หางหงส์ ค้นทวยรับเชิงชาย ล้วนมีความประณีตงดงาม บานประตูหน้าต่างเป็นลวดลายไม้จำหลัก มีซุ้มจรนำประดิษฐานพระพุทธรูปทรงเครื่องศิลปกรรมสมัย อยุธยาตอนกลาง เรียกว่า หลวงพ่อเก้า กำแพงแก้วเป็นแบบกำแพงบัวหลังเจียด ช่องประตู หัวเสาเม็ดทรงมัณฑ์ พระพุทธรูปในพระอุโบสถเป็นศิลปกรรม สมัยอยุธยามีจำนวน ๒๘ องค์ เท่ากับอดีตพระพุทธเจ้า ประดิษฐานอยู่ในลักษณะที่หันพระพักตร์ไปทั้งสี่ทิศ ซึ่งพบเสมอในวัดที่สร้างในสมัยอยุธยา
   หลวงพ่อเก้า เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นทรงเครื่องปางห้ามญาติ ขนาดสูงเท่าคนธรรมดา ศิลปกรรมสมัยอยุธยาตอนกลาง ประดิษฐานในซุ้มจรนำด้านหน้าพระอุโบสถ การที่เรียกว่าหลวงพ่อเก้าเนื่องจากนิ้วพระหัตถ์ซ้ายมีเพียงสี่นิ้ว
   ใบเสมา ทำด้วยหินทรายแดงล้อมพระอุโบสถ ตั้งอยู่บนฐานขาสิงห์โหย่งเป็นคู่มีจำนวน ๑๖ ใบ มีลวดลายจำหลักแบบต่าง ๆ ไม่ซ้ำกัน เช่น ลวดลายพันธุ์พฤกษา ลวดลายเครือวัลย์ ใบเสมาดังกล่าวนี้มีอายุเก่าแก่กว่าใบเสมาเดียวกันที่จำหลักลายกนกในสมัยอยุธยาตอนต้น หรือก่อนสมัยอยุธยา (สมัยอโยธยา น่าจะใช่)    เจดีย์ ตั้งอยู่รายรอบพระอุโบสถมีอยู่สองแบบด้วยกันคือ เจดีย์ทรงระฆังฐานแปดเหลี่ยมทรงสูง สมัยอยุธยา และเจดีย์ย่อไม้สิบสอง แบบรัตนโกสินทร์

 
 


กระทู้: สมัยไหน
เริ่มกระทู้โดย: ฉันรักบางกอก ที่ 03 มิ.ย. 10, 11:18
ขอบคุณคะพี่ยีนส์

โพสต์ปั่นกระทู้ไปอย่างนั้นแหละคะ เห็นเงียบๆ

คิดว่าเป็นสมัยอโยธยา ตามหนังสือ อ. ณ แต่ไม่แน่ใจ ว่าจะเก่าได้ขนาดนั้น เสียดายตอนนี้กล้องเสีย ไม่อย่างนั้นจเก็บภาพมาอีกเยอะๆ

ขอบคุณสำหรับภาพเพิ่มเติมคะ คุณ kurukula :P




กระทู้: สมัยไหน
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 03 มิ.ย. 10, 11:37
ุถ่ายมาหมดแล้วครับ พี่แพร แต่ไม่กล้าเอาลง กลัวมนุษย์ความสามารถเหมือนเทวดาที่อ้างตนว่านับถือพระพุทธศาสนาตามทะเบียนบ้านเข้ามาวนเวียนในบอร์ดแล้วจะลักเอากลับไปบูชาปักไว้ริมรั้วบ้านตัวเอง


กระทู้: สมัยไหน
เริ่มกระทู้โดย: puyum ที่ 03 มิ.ย. 10, 22:35

   ที่วัดเก้าห้องรัตนาราม บางบาล อยุธยา
   ที่มีเหรียญดัง หลวงพ่อขี่มอเตอร์ไซ ก็มี
   ท่าน ณ ปากน้ำ ว่าไว้เหมือนกัน


กระทู้: สมัยไหน
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 03 มิ.ย. 10, 23:17
 :o


กระทู้: สมัยไหน
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 04 มิ.ย. 10, 07:55
ผิดรูปๆ เสมาวัดเก้าห้องรัตนาราม บางบาลครับ


กระทู้: สมัยไหน
เริ่มกระทู้โดย: sittisak ที่ 07 มิ.ย. 10, 12:35
ยัยแพร ขอภาพอุโบสถด้วยจิ......อยากเห็นทรง  ส่วนน้องกุลุ อั้นแน่...ทำโมเดลวัดพระศรีสรรเพชญ ไม่ผิดแน่...แต่ถามน้องกุลุทีว่า เครื่องบนยอดมณฑปสามองค์เรียงต่อกันนั้น นั้นจะเป็นแบบยอดมณฑปเกลี้ยงๆแบบข้างปรางค์ประธานวัดพุทไธสววรค์ เคยเห็นไหม? หรือปักเครื่องยอด บราลี นาคปักเต็มอัตราแบบยอดธรรมมาศยุคสมัยปลาย หรือแบบมณฑปแบบวัดพระแก้ว กรุงณัตนโกสินทร์...ตอบพี่ให้แจ้งทีเถิด......


กระทู้: สมัยไหน
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 08 มิ.ย. 10, 12:45
ไม่ทราบเลยครับพี่ทอมมี่ แต่คิดว่าน่าจะเป็นแบบพระศรีรัตนมณฑปมากกว่า เพราะสร้างมาแต่รัชกาลที่ 1 ถ้าเป็นมณฑปหลังคาลาดธรรมดาคงไม่สมฐานะวัดหลวงเท่าไรนัก


กระทู้: สมัยไหน
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 09 มิ.ย. 10, 09:34
เกรงว่าบอร์ดจะร้างไป ต้องเคลื่อนไหวบัญชีบ้างครับ อิอิ

เอาเสมาวัดค้างคาวมาให้ชม วัดค้างคาวเป็นวัดที่ไม่ธรรมดาเลยในสายตาผม เพราะเป็นวัดปากคลองอ้อม ฝั่งตรงข้ามเป็นวัดเขมา ซึ่งก็เก่าแก่พอๆกัน 

คลองอ้อมแต่ก่อนเป็นรูปตัว U อ้อมมากมาย แต่คงจะมีทางน้ำเล็กๆสำหรับชาวสวนให้ลัดตรง ตัดหัวตัว U ไปออกวัดท้ายเมืองได้ ต่อมา สมัยพระเจ้าปราสาททอง ทรงโปรดให้ขุดคลองลัดขึ้น ในพ.ศ.2179 เพราะไกลเหลือเกิน

ทุกวันนี้ คลองลัดกลายเป็นแม่น้ำเจ้าพระยาสายมหึมา กว้างใหญ่ไพศาลกว่าช่วงอื่นๆด้วยซ้ำ



กระทู้: สมัยไหน
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 09 มิ.ย. 10, 09:39
วัดค้างคาวเป็นของใหญ่โตที่หาได้ยากในหัวเมือง พระอุโบสถขนาดมหึมา เห็นแล้วตะลึง อุโบสถสมัยอยุธยาตอนปลายใหญ่โตขนาดนี้ หาดูได้ยากแม้ในกรุงศรีอยุธยา

ดูจากขนาดธรรมาสน์ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ก็คะเนขนาดศาลาการเปรียญได้เลย ว่าอย่างน้อยต้องสูงใหญ่เท่าห้องในหมู่พระวิมานวังหน้า ซึ่งศาลาการเปรียญสมัยอยุธยาสูงใหญ่ขนาดนั้น ผมยังไม่เคยเห็น นอกจากวัดราชาธิวาส ซึ่งสร้างสมัยรัชกาลที่ 5

เอาเสมามาให้ชมกันอีกครับ


กระทู้: สมัยไหน
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 09 มิ.ย. 10, 09:42
จากลวดลายที่เีลียนแบบบัวคอเสื้อ หยักโค้ง 3 ที คล้ายหัวหลูอี่ จริงๆนิยมมากในสมัยราชวงศ์หยวนมงโกล ในพุทธศตวรรษที่ 18 แต่ในปูนปั้น เริ่มเข้ามาในลายไทยช่วงพุทธศตวรรษที่ 21 เช่้นที่วัดจุฬามณี พิษณุโลก กับมหาธาตุ ที่สุพรรณบุรีครับ


กระทู้: สมัยไหน
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 09 มิ.ย. 10, 09:45
ลายกนกไขว้กันเหมือนเฉลว มีมาตั้งแต่หินสลักในวัดมหาธาตุ อยุธยา ซึ่งสร้างสมัยอยุธยาตอนต้น แต่ที่อื่นๆ เห็นนิยมกันในช่วงอยุธยาตอนกลาง


กระทู้: สมัยไหน
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 09 มิ.ย. 10, 09:48
 :o


กระทู้: สมัยไหน
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 09 มิ.ย. 10, 09:53
หลวงพ่อเก้าครับ ซ่อมแล้วแต่ยังเห็นร่องรอยความเป็นพระทรงเครื่องสมัยอยุธยาตอนปลายอย่างชัดเจน แต่ก่อนคงจะสวยงามมาก


กระทู้: สมัยไหน
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 09 มิ.ย. 10, 09:56
ซุ้มพระครับ  ;D


กระทู้: สมัยไหน
เริ่มกระทู้โดย: ฉันรักบางกอก ที่ 09 มิ.ย. 10, 23:50
ขอบคุณมากที่ทำให้กระทู้ สมบูรณ์ขึ้น

เสียดายกล้องยังพัง ต้องถ่ายจากมือถือ เลยไม่อยากถ่ายมาก แสงไม่ได้ คนไปด้วยก็ไม่รอ

เฮ้ออออ.....

อยากใปอีก ข้างในพระพุทธรูป น่าจะมีงามๆ ให้ชมบ้าง น้อง kuru เข้าไปหรือยังจ๊ะ


กระทู้: สมัยไหน
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 10 มิ.ย. 10, 22:54
เคยเข้าไปทีนึง ไม่ค่อยมีพระงามๆหรอกครับ แต่ผนังเจาะเป็นช่องกลีบบัว เฉพาะเหนือหน้าต่าง เป็นแถวเรียงเดี่ยว 1 แถว และข้างหลังอุโบสถมีพระปรางค์พังๆเหลือแต่ซากกองอิฐอยู่ 1 กอง


กระทู้: สมัยไหน
เริ่มกระทู้โดย: sittisak ที่ 11 มิ.ย. 10, 09:17
มีคนเคยบอกว่าอยากเห็นซุ้มเรือนแก้วอันนี้ ไม่รู้มีใครรู้ไหมว่าที่ใด.......สมัยไหนอะน้องกุ พี่หาไปหามาเจอ....ได้ข้อมูลวัดมาแล้วด้วย น่าไปดูเนอะ แปลกดี


กระทู้: สมัยไหน
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 11 มิ.ย. 10, 09:47
ไม่เคยเห็นเลยครับพี่ทอมมี่ แต่พระหน้ายังงี้เคยเห็นในระเบียงคดวัดโพธิ์ มีัเป็นเซทๆ 4-5 องค์ อยู่ตรงมุมระเบียงคด สักทิศ องค์ใหญ่โต และพระพักตร์ยาวๆ ติดเหลี่ยมๆ เึคยสงสัยมานานแล้วว่ามาจากไหน น่าจะเป็นอีกสกุลช่างหนึ่ง พี่ทอมมี่ไปเจอมาจากจังหวัดไหนครับ เผื่อจะได้กำหนดสกุลช่างได้เสียที


กระทู้: สมัยไหน
เริ่มกระทู้โดย: sittisak ที่ 11 มิ.ย. 10, 09:55
แล้วลักษณะของซุ้มเรือนแก้วละน้อง....พี่มองเห็นว่ารูปทรงซุ้มนั้นน่าสนในลักษณะศิลปะ สามารถกำหนดอายุได้ไหม 


กระทู้: สมัยไหน
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 11 มิ.ย. 10, 10:15
ต้องเห็นลายชัดๆกว่านี้แล้วล่ะครับ แต่ผมว่าน่าจะต้องไปมากไปกว่าอยุธยาตอนกลาง


กระทู้: สมัยไหน
เริ่มกระทู้โดย: ติบอ ที่ 11 มิ.ย. 10, 11:11
จากลวดลายที่เีลียนแบบบัวคอเสื้อ หยักโค้ง 3 ที คล้ายหัวหลูอี่ จริงๆนิยมมากในสมัยราชวงศ์หยวนมงโกล ในพุทธศตวรรษที่ 18 แต่ในปูนปั้น เริ่มเข้ามาในลายไทยช่วงพุทธศตวรรษที่ 21 เช่้นที่วัดจุฬามณี พิษณุโลก กับมหาธาตุ ที่สุพรรณบุรีครับ



ขออนุญาตค้านคุณ กุรุฯ เรื่องนี้หน่อยได้ไหม
ลายชุดนี้เข้ามาในสุวรรณภูมิตั้งแต่ราชวงศ์หยวนจริงๆน่ะแหละ

แต่ปัญหาของราชสำนักจีน คือ เมื่อสิ้นราชวงศ์หยวน
ราชวงศ์หมิงดันปิดประเทศไปตอนต้นราชวงศ์
ชุดลายและความเป็นจีนที่เคยทะลักท่วมปราสาทขอมสมัยปลายเมืองพระนครอยู่
ก็ค่อยๆปรับตัวไปทางอื่นในสมัยก่อนอยุธยา ถึงอยุธยาตอนต้น

แล้วจึงค่อยกลับมามีหน้าตาเป็นจีนอีกทีก็ราวๆราชวงศ์หมิงออกเดินทะเลกันแล้ว
คือ ราวๆรัชกาลพระนครินทร์ลงมาอย่างที่คุณกุรุฯ ว่าไว้นี่แหละ



ปล. โดยส่วนตัวไม่ได้ชำนาญประวัติศาสตร์จีน
คิดว่าสมาชิกท่านอื่นๆน่าจะอธิบายได้ดีกว่าผมครับ


กระทู้: สมัยไหน
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 11 มิ.ย. 10, 11:44
เป็นที่น่าแปลกใจว่า อิทธิพลจีนในสมัยอยุธยาตอนต้น ดูจะมากกว่าสมัยอยุธยาตอนกลางเสียอีก ถึงขนาดปั้นพระไทย ให้แต่งจีวรจีนได้ ดังมีมากมาย ทั้งในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ หรือเอาก่อนหน้านี้ ก็มีในวัดมหาธาตุ สมัยขุนหลวงพ่องั่ว เมืองเพชรบุรีก็มีพระีจีนจำพวกนี้เช่นกัน

ในตำนานไทยเอง ก็ชอบเหลือเกินไปได้ลูกสาวเจ้ากรุงจีนนี่ แล้วก็เป็นตำนานสมัยอยุธยาตอนต้นหรือก่อนอยุธยาทั้งสิ้น ทั้งตำนานเมืองเพชร ตำนานเจ้านางทองสมุทร ตำนานเจ๊สร้อยดอกหมาก ก็ร่วมสมัยปลายราชวงศ์หยวน ต้นราชวงศ์หมิงทั้งสิ้น

ส่วนเรื่องปิดประเทศ ผมว่าเป็นไปได้ที่เมืองเป่ยจิงนะ แต่ชายแดน ไปทางน้ำไม่ได้ก็ไปทางบกสิครับ เมืองจีนออกกว้างใหญ่ไพศาล เดินเข้าตรงไหนก็ได้

พูดเีรื่องลาย เอาช่าง เิอานักวิชาการ เอานักเรียน เอาพระ เอาคนเขียนลายข้างโลงมาพูดกัน 10 คนก็ไม่เหมือนกันสักคน แล้วก็พูดถูกทุกคนแหละครับ

เหมือนมะกอกสามตะกร้าปาไม่ถูก ก็ฉันจะแตกลายของฉันยังงี้ มันมีคัมภีร์ไหนเขียนห้ามไปบ้าง ช่างไม่กลัวตกนรกหรอกครับ อิอิ

ลายไทย จึงเป็นหนึ่งในเรื่องละเอียดอ่อน ที่ผมคิดว่าถ้ายังไม่มีอาวุโสพอ ผมก็จะพูดแต่น้อย


กระทู้: สมัยไหน
เริ่มกระทู้โดย: ติบอ ที่ 11 มิ.ย. 10, 23:14
คุณกุรุฯแบ่งอยุธยาตอนต้นและตอนกลางช่วงไหนหรือครับ ?
พุทธศตวรราที่ 21 นี่ ถือว่าต้นหรือกลางดีเอ่ย ?


กระทู้: สมัยไหน
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 11 มิ.ย. 10, 23:32
พุทธศตวรรษที่ 21 เป็นอยุธยาตอนกลางครับ ขออนุญาตไม่แบ่งตามอาจารย์น.ณ ปากน้ำครับ


กระทู้: สมัยไหน
เริ่มกระทู้โดย: ติบอ ที่ 12 มิ.ย. 10, 00:12
จากลวดลายที่เีลียนแบบบัวคอเสื้อ หยักโค้ง 3 ที คล้ายหัวหลูอี่ จริงๆนิยมมากในสมัยราชวงศ์หยวนมงโกล ในพุทธศตวรรษที่ 18 แต่ในปูนปั้น เริ่มเข้ามาในลายไทยช่วงพุทธศตวรรษที่ 21 เช่้นที่วัดจุฬามณี พิษณุโลก กับมหาธาตุ ที่สุพรรณบุรีครับ

เป็นที่น่าแปลกใจว่า อิทธิพลจีนในสมัยอยุธยาตอนต้น ดูจะมากกว่าสมัยอยุธยาตอนกลางเสียอีก ถึงขนาดปั้นพระไทย ให้แต่งจีวรจีนได้ ดังมีมากมาย ทั้งในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ หรือเอาก่อนหน้านี้ ก็มีในวัดมหาธาตุ สมัยขุนหลวงพ่องั่ว เมืองเพชรบุรีก็มีพระีจีนจำพวกนี้เช่นกัน

พุทธศตวรรษที่ 21 เป็นอยุธยาตอนกลางครับ ขออนุญาตไม่แบ่งตามอาจารย์น.ณ ปากน้ำครับ




ตกลงส่าเป็นลายอยุธยาตอนต้น หรือตอนกลางครับ?
อ่านแล้วสับสนครับ


กระทู้: สมัยไหน
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 12 มิ.ย. 10, 11:04
ผมพูดตามเขาพูดๆกันมา ถ้าเป็นผมพูด ผมก็ว่าลายมันใ้ช้มาแต่อยุธยาตอนต้น - ตอนกลาง เพราะผมยังไม่เห็นใครจัดจำแนกไอ้เสมาหินทรายสีแดงนี่ได้เป๊ะๆสักที กำหนดกันไว้พุทธศตวรรษที่ 20-21 มันก็คร่อมอยุธยาต้น อยุธยากลางน่ะสิ

ให้ผมกำหนดลงไปว่าต้น ว่ากลาง ก็มัดตัวเองนะสิครับ

ผมว่าผมคุยกะคุณติบอเรื่องอยุธยาตอนต้นตอนกลางจบที่ไหนไปหลายรอบแล้ว เอาอีกสักครั้งนะครับ ว่าอยุธยาตอนกลาง ผมให้สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ต้นพุทธศตวรรษที่ 21 ส่วนเจ้าสามพระยาเป็นหัวเลี้ยวหัวต่อ ทั้งทางศิลปะและการเมือง


ถ้าคุณติบอสนใจเสมาหินทรายแดง ก็กรุณาไปตรวจเช็กวิจัยมาให้อย่างเป็นขั้นเป็นตอน สำรวจเสมาหินทรายแดงทั้งหมด แล้วเอาทำซีเรลเอชั่น เทียบสมัยกับอายุของวัด ถ้าได้ตำราเล่มหนึ่งดีๆ ผมก็จะเชื่อครับ


กระทู้: สมัยไหน
เริ่มกระทู้โดย: ติบอ ที่ 12 มิ.ย. 10, 21:11
เรื่องเสมาหินทรายสีแดง ผมไม่มีอะไรจะใฝ่ใจใคร่ถาม
เสียใจด้วย ถ้าคุณกุรุฯ หมายใจว่าผมสงสัยในเรื่องนั้น


จากลวดลายที่เีลียนแบบบัวคอเสื้อ หยักโค้ง 3 ที คล้ายหัวหลูอี่ จริงๆนิยมมากในสมัยราชวงศ์หยวนมงโกล ในพุทธศตวรรษที่ 18 แต่ในปูนปั้น เริ่มเข้ามาในลายไทยช่วงพุทธศตวรรษที่ 21 เช่้นที่วัดจุฬามณี พิษณุโลก กับมหาธาตุ ที่สุพรรณบุรีครับ

เป็นที่น่าแปลกใจว่า อิทธิพลจีนในสมัยอยุธยาตอนต้น ดูจะมากกว่าสมัยอยุธยาตอนกลางเสียอีก ถึงขนาดปั้นพระไทย ให้แต่งจีวรจีนได้ ดังมีมากมาย ทั้งในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ หรือเอาก่อนหน้านี้ ก็มีในวัดมหาธาตุ สมัยขุนหลวงพ่องั่ว เมืองเพชรบุรีก็มีพระีจีนจำพวกนี้เช่นกัน

พุทธศตวรรษที่ 21 เป็นอยุธยาตอนกลางครับ ขออนุญาตไม่แบ่งตามอาจารย์น.ณ ปากน้ำครับ




เมื่อเป็นเช่นนี้ผมก็คงต้องถามคุณกุรุกุลาใหม่ให้เข้าใจ
เพราะประเด็นที่ผมใส่ใจและยังสับสนอยู่ คือเรื่อง "ลวดลายจีน"

ที่ความคิดเห็นหนึ่ง คุณอธิบายว่าเริ่มในลายไทยช่วงพุทธศตวรรษที่ 21
และอีกความคิดเห็นหนึ่ง คุณก็อธิบายว่า พบในสมัยอยุธยาตอนต้นมากกว่าตอนกลาง

เมื่อผมถามต่อว่าพุทธศตวรรษที่ 21 เป็นอยุธยาตอนต้นหรือตอนกลาง
คุณก็ตอบว่าเป็นอยุธยาตอนกลาง




ทั้งหมดนี่จากในเวบเรือนไทยที่คุณโพสต์ไว้
ช่วยอธิบยายความหมายให้เข้าใจได้ไหม
เพราะอ่านแล้วไม่เข้าใจว่าตกลงคุณจะสื่อว่า "ลวดลายแบบจีน"
พบชุกในสมัยอยุธยาตอนต้น หรือตอนกลางกันแน่หรือครับ ?


กระทู้: สมัยไหน
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 12 มิ.ย. 10, 21:24
ขอโทษครับที่อธิบายไม่ละเอียด ไอ้ลายบัวคอเสื้อ มันเจอมากในปูนปั้นในสมัยพุทธศตวรรษที่ 21 ลงมามากมาย

แต่อีกคำอธิบายหนึ่งที่อ้างมา ผมไม่ได้พูดถึงลายบัวคอเสื้อสักคำ ผมพูดถึง ลายจีนว่ามันเจอมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้น และตัวอย่างที่ผมยกมาคือ พระจีน ด้วยซ้ำ

เอาเถิด ผมก็คิดว่าคุณมีแนวทางของคุณอยู่แล้ว ถามไปก็ไม่ได้ใช้ประโยชน์อะไร เวปเรือนไทยก็ไม่ค่อยมีใครเช้า อยู่กันสองคนอย่างนี้ มันไม่ทำให้เยาวชนแห่งชาติไขว้เขวไปได้เท่าไหร่หรอก

สรุปว่า ลายบัวคอเสื้อพบในปูนปั้นมากในสมัยอยุธยาตอนกลาง แต่ิอิทธิพลจีนมีมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้นแล้ว

พูดไปก็เหมือนสอนหนังสือสังฆราชครับ


กระทู้: สมัยไหน
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 12 มิ.ย. 10, 21:33
เอารูปจิตรกรรมจีนในกรุพระปรางค์วัดราชบูมาให้ชม


กระทู้: สมัยไหน
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 12 มิ.ย. 10, 21:40
 :-X