เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 17 18 [19] 20 21 ... 32
  พิมพ์  
อ่าน: 71088 พระมหาเถระเจ้าอุทุมพร พระวิบากของพระองค์ในปัจจุบันกาล
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 270  เมื่อ 12 พ.ย. 17, 09:37

สถูปเจดีย์เก่าแก่โบราณ  ขนาดไม่ได้นับพวกสถูปบรรจุอัฐิพระสงฆ์รวมเข้าไปด้วย  เอาเฉพาะพระพุทธเจดีย์ก็มีมากมายมหาศาลไม่รู้กี่พันแห่งที่ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน  ส่วนใหญ่ก็ถูกพวกอังกฤษเจาะทำลายเอาสมบัติไปหมด เสร็จแล้วถูกปล่อยทิ้งให้พังทลายไปเองตามธรรมชาติ  แต่เมื่อใดหากมีญาติโยมประสงค์จะบูรณะพุทธเจดีย์นั้นขึ้น  กฏหมายของเขาระบุชัดเจนว่าจะทำครึ่งๆกลางๆไม่ได้  ต้องบรรจุพระบรมสารีริกธาตุลงบนส่วนคอฆอระฆัง และต้องทำให้จบยอดเจดีย์ด้วย  ซึ่งเมื่อทำเช่นนั้นแล้ว กฏหมายจะให้ความคุ้มครองทันที ใครจะรื้อทำลายไม่ได้อีกต่อไป

ดังนั้นถ้าตั้งใจจะสถาปนาพระพุทธเจดีย์ขึ้นมาใหม่ดังเดิม แนวทางสงวนรักษาสภาพตามที่เห็นก็ตกไป  และจะต้องอนุรักษ์ตามแนวทางที่ผมอธิบายหลักการไปแล้วในคคห.ที่ ๒๖๓  ส่วนองค์สถูปที่จะทำขึ้นใหม่ในยุคนี้นั้น  แบบที่ฝ่ายไทยนำเสนอเข้าไปพิจาณา ผู้เชี่ยวชาญฝ่ายพม่ามีความเห็นว่าก็ยังไม่ตรงกับแบบในสมัยของพระเจ้าปะดุง ฝ่ายเราก็ดีใจที่เขาจะเป็นผู้รับผิดชอบตรงนี้  ซึ่งเขาชำนาญในเรื่องข้อกำหนดกฏเกณฑ์ของพม่า (คคห.๒๓๒) มากกว่า  ที่ดีอีกข้อนึงก็คือ หากเสร็จแล้วใครไม่ต้องใจ อยากจะด่าจะได้เชิญไปด่าฝ่ายพม่าคนออกแบบโน่นเลย

แต่ขอบอกก่อนนะครับ ผู้ออกแบบคืออูวินหม่อง  คนนี้เป็นสถาปนิกผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการยอมรับนับถืออันดับหนึ่งของพม่า  มีผลงานเต็มไปหมดทั้งในพม่าและต่างประเทศ  ที่ไหนมีงานด้านอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมของพม่า ถ้าขอร้องมาที่รัฐบาลพม่าๆก็จะส่งคนนี้ไป  คราวที่วัดศรีชุม เมืองลำปาง ไฟไหม้เมื่อปี ๒๕๓๕  แบบเดิมเป็นอย่างไรก็ไม่มี มีแต่ภาพถ่ายข้างล่างแผ่นเดียวนี่แหละ กรมศิลปากรก็ขาดความรู้เรื่องศิลปกรรมพม่าที่ต้องใช้ในองค์ประกอบของอาคาร จึงได้ขอให้รัฐบาลพม่าช่วย เขาก็ส่งอูวินหม่องคนนี้แหละมาอยู่ถึง ๓ เดือน กลับไปแล้วก็เขียนแบบส่งกลับมา จนกระทั่งสร้างใหม่ได้อย่างสวยงามดังที่คนทุกวันนี้เห็น


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 271  เมื่อ 12 พ.ย. 17, 09:41

ตอนที่อธิบดีกรมศิลปากรไปที่ลินซินกอง อูวินหม่องจึงอุส่าห์มารับรองจะอธิบายข้อสงสัย  คนในคณะที่รู้จักเขาก็มี แต่ไม่เห็นสนใจจะซักถามอะไร กลัวจะเสียเวลาไปเที่ยวต่อตามรายการทัวร์

สำหรับองค์พุทธเจดีย์ที่เห็นตามภาพถ่ายนั้นแหละ เขาออกแบบ อูวินหม่องกล่าวว่าสถูปเจดีย์ในสมัยพระเจ้าปะดุงได้รับอิทธิพลของโยเดียมาพอสมควร  งานที่เขาออกแบบนั้น ศึกษาจากฐานที่เหลืออยู่จะบ่งบอกถึงลักษณะและสัดส่วนจากสถูปร่วมสมัย  แต่รายละเดียดนั้น เขาได้นำศิลปะที่ดูแล้วเป็นพม่าก็ไม่ใช่ ไทยก็ไม่เชิง  พวกพม่าเชื้อสายโยเดียชอบมาก  Everybody’s happy.


บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 272  เมื่อ 12 พ.ย. 17, 16:02

ขอบพระคุณมากครับ คำอธิบายละเอียดชัดเจนมากครับ น่าจะเป็นประโยชน์กับใครที่ผ่านมาและข้องใจอย่างผมครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 273  เมื่อ 12 พ.ย. 17, 16:21

น่าคิดว่าเรื่องนี้ยาวนานหลายปี ผ่านอธิบดีกรมศิลปากรหลายท่าน (และหลายรัฐบาลหลายขั้วการเมือง) แต่ท่าทีของกรมศิลป์ก็ดูเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันอย่างน่าสนใจนะครับ

ผมอยากจะแสดงความเห็นอะไรต่อในเรื่องนี้บ้าง แต่ดูจะกลายเป็นตีแผ่อคติในใจผมที่มีต่อคณะของกรมศิลปากรที่เกี่ยวข้องไปเสียหมด แต่แล้วก็ได้รับสำเนานี้มา เป็นบทความในหนังสือของ ดร.วรพัฒน์ อรรถยุกติ ที่ปรึกษากระทรวงการต่างประเทศ ผู้เดินทางไปร่วมกับคณะของรองอธิบดีกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ นายดำรง ใคร่ครวญ เพื่อพบปะสนทนากับผู้ว่าการรัฐมัณฑเลย์ เมื่อวันที่ ๒๘ กันยายน ๒๕๕๕ ท่านเขียนเล่าเรื่องราวต่างๆที่ได้ลงพื้นที่ร่วมกับข้าราชการกระทรวงต่างประเทศและกรมศิลปากร รวมแล้วหลายหน้ากระดาษ ผมคงไม่นำมาเสนอซ้ำซาก แต่อยากให้อ่านในตอนสุดท้ายที่กล่าวถึงความเห็นของข้าราชการกรมศิลปากรโดยสรุป

นั่นละครับ ตามนั้นเลย
และเป็นเรื่องที่น่าคิดต่อไป ว่าถึงพ.ศ.นี้แล้ว หลักฐานต่างๆผุดงอกออกมามากมาย คนรุ่นใหม่ในกรมศิลป์ได้เปลี่ยนทัศนะคติไปบ้างหรือยัง


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 274  เมื่อ 13 พ.ย. 17, 10:30

http://lek-prapai.org/home/view.php?id=967
สถูปเจ้าฟ้าอุทุมพร และลูกหลานชาวโยดะยาในพม่า “คุณหมอทิน มอง จี”
บทความโดย วลัยลักษณ์ ทรงศิริ

ตัดตอนมาให้อ่านตอนหนึ่งค่ะ
สำหรับสถูปทรงดังกล่าวนี้ อาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดมแนะนำให้ไปเปรียบเทียบกับสถูปรูปยอดบัวที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันมาก อันเป็นที่บรรจุอัฐิธาตุของพระครูหลวงโพนสะเม็กหรือ “ยาคูขี้หอม” ที่วัดธาตุฝุ่น เมืองจำปาสัก ทางเขตลาวตอนใต้

ลักษณะสถูปที่บรรจุอัฐิธาตุของพระสงฆ์ผู้ใหญ่ของคนสองฝั่งโขงมีรูปแบบแทบจะเหมือนทั้งหมดหรือคล้ายคลึงจนกล่าวได้ว่า น่าจะมีวิธีคิดและความตกผลึกในทางวัฒนธรรมจากแหล่งที่มาที่ใกล้เคียงหรือในกลุ่มเดียวกัน

การใช้สถูปที่บรรจุอัฐิธาตุของบรรพบุรุษเป็นรูปยอดบัวและตัวเรือนเป็นเสารูปกลมหรือสี่เหลี่ยม ไม่ใช่เป็นเรื่องประหลาดแต่อย่างใดในสังคมการปลงศพและบูชาบรรพบุรุษหรือผู้ใหญ่ที่ล่วงลับไปแล้วในสังคมไต-ลาว ที่นับถือพุทธศาสนา ดังที่พบสถูปบรรจุอัฐิของพระสงฆ์ผู้ใหญ่ของชุมชนในวัดทางอีสานหลายแห่ง เช่น ที่วัดเก่าแก่แบบคนลาวบ้านลุมพุก อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีษะเกษซึ่งอยู่ในกลุ่มคนเชื้อสายเขมรเป็นส่วนใหญ่ ก็มีการสร้างสถูปบรรจุอัฐิธาตุของพระผู้ใหญ่ของชุมชนแบบดั้งเดิม และรูปแบบสถูปเป็นแบบคู่สองแห่ง รูปแบบเช่นนี้พบคล้ายคลึงกับการทำสถูปคู่ทำจากหินทรายที่เชิงเขาทางฝั่งไทยก่อนทางขึ้นปราสาทพระวิหารเช่นกัน

“การเข้าบัว” เป็นประเพณีบูชาบรรพบุรุษที่สำคัญอย่างหนึ่งทางภาคใต้ “บัว” คือสถูปที่บรรจุกระดูกของบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วในตระกูลต่างๆ การใช้สัญลักษณเป็นรูปดอกบัวในการบรรจุอัฐิธาตุไว้สำหรับบูชานั้นจึงเป็นพื้นฐานของสังคมทางพุทธศาสนาแบบไต-ลาว ที่รวมไปถึงวัฒนธรรมการบูชาบรรพบุรุษของผู้นับถือพุทธศาสนาทางคาบสมุทร รูปแบบสถูปบรรจุอัฐิเช่นนี้คงไม่พบในสังคมการปลงศพแบบพม่าหรือทางมอญ จึงถูกกล่าวว่า รูปแบบของสถูปที่ค้นพบไม่เหมือนกับสถูปหรือเจดีย์อื่นใดในกลุ่มเมืองเก่า เช่น สะกาย อังวะ อมรปุระ หรือมัณฑะเลย์ 
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 275  เมื่อ 13 พ.ย. 17, 11:12

ผลการพิสูจน์ทางโบราณคดีของอาจารย์ปฏิพัฒน์ พุ่มพวงแพทย์ของสถูปทรงโกศที่มียอดบัวดังกล่าว ปรากฏว่าเป็นเสา เพราะข้างในตัน ไม่ใช่ที่บรรจุอัฐิ นักวิชาการพม่าให้ความเห็นว่านั่นเป็นเครื่องหมายของตำแหน่งที่ถวายพระเพลิงพระบรมศพ ซึ่งอาจารย์ปฏิพัฒน์กล่าวสนับสนุนความเชื่อดังกล่าวในคลิป คคห. ๒๕๔ ว่า เสายอดบัวนี้พบมากในวัดโคกพระเมรุ สถานที่สำเร็จโทษเจ้านายสมัยกรุงศรีอยุธยา แสดงสัญญลักาณ์เครื่องหมายที่ฝังพระศพเจ้านายเหล่านั้น
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 276  เมื่อ 13 พ.ย. 17, 11:22

เมื่อวันที่ 31 ต.ค. นายสมชาย เสียงหลาย ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กล่าวภายหลังการประชุมหารือกับนักวิชาการเรื่องการตรวจสอบข้อเท็จจริงและข้อยุติเกี่ยวกับสถูปสมเด็จพระเจ้าอุทุมพร ที่เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า ซึ่งเชื่อว่าบรรจุพระบรมอัฐิของสมเด็จพระเจ้าอุทุมพร (ขุนหลวงหาวัด) พระมหากษัตริย์ในยุคเสียกรุงศรีอยุธยา ครั้งที่ 2 ซึ่งพระองค์ถูกควบคุมไปยังพม่าและสิ้นพระชนม์ที่เมืองมัณฑะเลย์ ว่า ที่ประชุมหารือกับนักวิชาการที่เคยศึกษาเรื่องดังกล่าว อาทิ นายพิเศษ เจียจันทร์พงษ์ นายสุเนตร ชุติธรานนท์ หม่อมราชวงศ์รุจยา อาภากร และสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งได้ศึกษาเรื่องนี้มานานกว่า 9 ปี

ทั้งนี้ ที่ประชุมเห็นตรงกันยังไม่มีหลักฐานและเอกสารยืนยันชัดเจน จึงมีความเห็นเป็น 2 แนวทาง ได้แก่ 1.กรณียังไม่มีเอกสารยืนยันชัดเจนนั้นว่าเป็นของสถูปสมเด็จพระเจ้าอุทุมพร จึงเห็นตรงกันว่าให้กรมศิลปากรรวบรวมเอกสารทั้งหมดของนักวิชาการที่เคยศึกษามาแล้ว ที่สำคัญให้ไปศึกษาข้อมูลจากห้องสมุดและพิพิธภัณฑ์ในประเทศอังกฤษด้วย เพราะเคยมาปกครองพม่า เนื่องจากอาจจะมีหลักฐานและข้อมูลบ่งชี้เกี่ยวกับสถูปดังกล่าวบ้าง

อ่านข่าวต่อได้ที่: https://www.thairath.co.th/content/302759
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 277  เมื่อ 13 พ.ย. 17, 11:39

กว่าที่กระทรวงวัฒนธรรมจะได้จัดประชุมขึ้นตามที่ได้แถลงข่าวไว้ก็เป็นเวลาอีกสามสัปดาห์ โดยนายสมชาย เสียงหลายปลัดกระทรวงเองได้นั่งเป็นประธานการประชุมนี้เมื่อวันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๕   และเชิญนายวิจิตร ชินาลัย ในฐานะตัวแทนของสมาคมสถาปนิกสยามเข้าร่วมด้วย เพื่อขอทราบรายละเอียดในงานที่ได้ทำไปแล้ว

ปัญหาหลักที่ฝ่ายพม่าต้องการให้รัฐบาลไทยเข้าไปดำเนินการในเรื่องนี้ต่ออย่างรวดเร็วนั้น เป็นเรื่องที่รัฐบาลไทยสนองต่อได้ยาก เพราะกว่าจะของบประมาณและผ่านการอนุมัติก็ต้องใช้เวลาสองปีเข้าไปแล้ว กว่าจะใช้งบได้จริงๆก็คงอีกร่วมปี ในขณะที่ผู้แทนสมาคมสถาปนิกสยามกล่าวว่าไม่มีปัญหาทางด้านการงานและเงิน ไม่ว่าโครงการนี้จะต้องใช้อีกเท่าไร เมื่อใด ที่ประชุมจึงเป็นพ้องว่าควรจะบูรณาการความร่วมมือระหว่าภาครัฐกับเอกชน อันได้แก่กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงต่างประเทศ และ สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยกำหนดบทบาทของกระทรวงการต่างประเทศที่จะเป็นผู้ประสานกับรัฐบาลพม่า ตลอดจนอำนวยความสะดวกแก่คณะผู้แทนฝ่ายไทย อันมีผู้เชี่ยวชาญทางด้านโบราณคดี(จากกรมศิลปากร) และผู้แทนของสมาคมสถาปนิกสยาม  ในฐานะผู้ดำเนินการสำรวจและขุดค้นเพื่อหาหลักฐานอันจะเป็นประโยชน์ต่อไป

ความคิดเห็นที่ ๓๓

^ ข้างบนของท่านอาจารย์เป็นเรื่องเก่าตั้งแต่ ปลายปี ๒๕๕๕ นะครับ ซึ่งที่ปลัดว่าจะทำอะไรนั้น เอาเข้าจริงถึงบัดนี้ยังไม่ได้ทำ

อนึ่งการย้ายสถูปคงทำไม่ได้ ที่สมาคมสถาปนิกตั้งใจจะทำแต่แรกก็คือ ขอขุดหาหลักฐานภายในพระสถูป(ที่กำลังจะถูกไถทิ้ง) ถ้าเจอสิ่งของภายใน ก็จะนำไปบรรจุในสถูปองค์ใหม่ ที่จะสร้างขึ้นในวัดที่อยู่ใกล้เคียง และได้รับความเห็นชอบจากเจ้าอาวาสแล้ว


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 278  เมื่อ 13 พ.ย. 17, 13:22

ที่ยกมา ไม่ได้ตั้งใจจะให้เห็นว่าเก่าหรือใหม่ค่ะ   แต่จะยกมาให้ท่านที่อาจสงสัยว่าทำไมวงวิชาการถึงเงียบนักในเรื่องนี้   ก็เลยยกมาให้ดูว่า นักวิชาการที่เชี่ยวชาญทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ เข้าประชุมในระดับกระทรวง  (คือสูงกว่ากรม) รับรู้เรื่องนี้กันทั้งนั้น
แต่หลักฐานที่หาได้ ยังคลุมเครือ  ไม่ชัดเจนพอจะฟันธงลงไปได้ว่าเป็นสถูปของพระเจ้าอุทุมพรจริง
ตอนนี้ดิฉันก็พยายามหาว่ามีหลักฐานอะไรเพิ่มเติมขึ้นอีกไหม   ก็ยังไม่เจอว่ามีการค้นพบอะไรใหม่ๆ ที่ชัดเจนขึ้น 
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 279  เมื่อ 13 พ.ย. 17, 13:51


เอาเป็นหลักฐานของพม่า ที่เขาแสดงมาความรู้เรื่องคนโยเดียในบ้านเขาให้เราฟัง ตั้งแต่ปี ๒๕๕๖ ๒๕๕๗ ยังไม่สนใจจะไปขอตรวจหลักฐานอะไรเขา แต่รอให้ค้นพบอะไรใหม่ในบ้านเรานั้น เห็นจะเหวงเต็มทน ยิ่งเดี๋ยวนี้คนพวกนั้นเกษียณ หรือเปลี่ยนตำแหน่งไปหมดแล้ว หมดคนสนใจจะสานต่อตามวัฒนธรรมของข้าราชการไทย ถ้าไม่มีผู้ใหญ่จริงๆจี้ลงมา

ตอนนี้ฝ่ายรัฐของไทยจะฟันธงอย่างไร คงไม่มีใครสนใจแล้ว เพราะอย่างไรก็ตาม โบราณสถานตรงนั้นก็ได้รับการคุ่มครองจากกฏหมาย ไม่มีใครจะสามารถทำลายได้อีก ส่วนอนุสรณ์สถานพระมหาเถระเจ้าอุทุมพรก็เสร็จไปกว่าแปดสิบเปอร์เซนต์ รอเวลาที่จะได้กลับไปทำ finishing touch เท่านั้น
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 280  เมื่อ 13 พ.ย. 17, 13:52

 เพิ่งพูดโทรศัพท์กับดร.สุเนตร ชุตินธรานนท์มาเมื่อกี้นี้เอง
ท่านก็ติดตามและสนใจเรื่องสถูปพระเจ้าอุทุมพรอยู่นะคะ    แต่เรื่องยังค้างเติ่งอยู่จนบัดนี้ ก็เพราะหลักฐานที่ค้นพบได้ ไม่เพียงพอที่จะชี้ลงไปได้ว่าเป็นสถูปที่บรรจุพระอัฐิของพระเจ้าอุทุมพร
นอกจากภาชนะประดับกระจกสีเขียว บรรจุอัฐิแล้ว   ไม่มีหลักฐานที่ระบุได้ว่าเจ้าของอัฐินั้นเป็นใคร  ไม่พบข้าวของเครื่องใช้ หรือหลักฐานอะไรอย่างอื่นบ่งชี้     ดังนั้น เจ้าของอัฐิอาจจะเป็นบุคคลสำคัญ ในเพศฆราวาส หรือบรรพชิต ท่านใดท่านหนึ่งของพม่า หรือเป็นคนชาติอื่นไม่ใช่พม่า แต่มีความสำคัญทางใดทางหนึ่งอยู่ในถิ่นนั้น   ก็เป็นได้ทั้งสิ้น
ก็มีแต่คำบอกเล่าของชาวบ้านต่อๆกันมา   ซึ่งยังต้องอาศัยหลักฐานประกอบทางอื่นเพิ่มด้วย  มีหลายๆหลักฐานมายันกันชัดเจนลงไปถึงจะบอกได้ค่ะ

บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 281  เมื่อ 13 พ.ย. 17, 14:00

ก็ตามนั้นแหละครับ อาจารย์ปฏิพัฒน์คนขุดเองยังบอกทำนองว่าหลักฐานแวดล้อมเพียบ แต่ไม่พบนามบัตรของท่าน ใส่ไว้ว่า ชื่อว่าอุทุมพร
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 282  เมื่อ 13 พ.ย. 17, 14:05

เพิ่งพูดโทรศัพท์กับดร.สุเนตร ชุตินธรานนท์มาเมื่อกี้นี้เอง
ท่านก็ติดตามและสนใจเรื่องสถูปพระเจ้าอุทุมพรอยู่นะคะ    แต่เรื่องยังค้างเติ่งอยู่จนบัดนี้ ก็เพราะหลักฐานที่ค้นพบได้ ไม่เพียงพอที่จะชี้ลงไปได้ว่าเป็นสถูปที่บรรจุพระอัฐิของพระเจ้าอุทุมพร
นอกจากภาชนะประดับกระจกสีเขียว บรรจุอัฐิแล้ว   ไม่มีหลักฐานที่ระบุได้ว่าเจ้าของอัฐินั้นเป็นใคร  ไม่พบข้าวของเครื่องใช้ หรือหลักฐานอะไรอย่างอื่นบ่งชี้     ดังนั้น เจ้าของอัฐิอาจจะเป็นบุคคลสำคัญ ในเพศฆราวาส หรือบรรพชิต ท่านใดท่านหนึ่งของพม่า หรือเป็นคนชาติอื่นไม่ใช่พม่า แต่มีความสำคัญทางใดทางหนึ่งอยู่ในถิ่นนั้น   ก็เป็นได้ทั้งสิ้น
ก็มีแต่คำบอกเล่าของชาวบ้านต่อๆกันมา   ซึ่งยังต้องอาศัยหลักฐานประกอบทางอื่นเพิ่มด้วย  มีหลายๆหลักฐานมายันกันชัดเจนลงไปถึงจะบอกได้ค่ะ



ดังนั้น เจ้าของอัฐิอาจจะเป็นบุคคลสำคัญ ในเพศฆราวาส หรือบรรพชิต ท่านใดท่านหนึ่งของพม่า หรือเป็นคนชาติอื่นไม่ใช่พม่า ตัดคำว่าเพศฆราวาสออกได้เลย เพราะอัฐิเจอในบาตร เหลือแต่ว่าเป็นพระ ซึ่งต้องเป็นพระที่มีสมณศักดิ์สูงด้วย พระพม่าทรงสมณศักดิ์ในรัชกาลนั้น จดหมายเหตุของพม่าจดชื่อไว้น่าจะทุกองค์ แต่มีองค์เดียวที่มีหลักฐานชัดเจนว่าได้รับพระราขทานเพลิงพระศพอย่างสมพระเกียรติที่เนินลินซิน คือ(อดีต)กษัตริย์โยเดีย
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 283  เมื่อ 13 พ.ย. 17, 14:17

บาตร(สำหรับใส่อั)ฐิ พระระดับรองสังฆนายกร่วมสมัย ทั้งหมดเป็นดินเผาลงรักลวดลายประดับกระจก เปรียบเทียบกับที่ขุดพบ (ขาดฝาบาตรยอดบัวตูมและพานแว่นฟ้า เป็นไม้ประดับกระจกซึ่งผุไปหมดแล้ว เหลือแต่กระจกเขียนลายกินรี)


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 284  เมื่อ 13 พ.ย. 17, 14:18

ภาชนะที่ขุดพบ


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 17 18 [19] 20 21 ... 32
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.062 วินาที กับ 18 คำสั่ง