เรือนไทย

General Category => ศิลปะวัฒนธรรม => ข้อความที่เริ่มโดย: ละอองทอง ที่ 19 พ.ค. 12, 11:59



กระทู้: อยากทราบเกี่ยวกับพิธีกลบบัตรสุมเพลิง
เริ่มกระทู้โดย: ละอองทอง ที่ 19 พ.ค. 12, 11:59
คือดิฉันอยากทราบเกี่ยวกับพิธีกลบบัตรสุมเพลิงค่ะ ขอความกรุณาท่านผู้รู้ช่วยอธิบายให้ดิฉันทราบหน่อยนะคะว่า เป็นมาอย่างไร และพิธีนี้ทำอย่างไร :)


กระทู้: อยากทราบเกี่ยวกับพิธีกลบบัตรสุมเพลิง
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 19 พ.ค. 12, 14:11
ขอให้ความหมายเบื้องต้นก่อนว่าพิธีกลบบัตรสุมเพลิง เป้นพิธีทางพราหมณ์ กระทำขึ้นโดยนัยให้ใช้ไฟ (พระเพลิง) ปัดเสนียดจัญไรอันเกิดจากการเจ็บไข้ได้ป่วย การตาย การคลอดลูกของสามัญชนที่เกิดขึ้นภายในเขตพระบรมมหาราชวัง โดยเฉพาะการคลอดลูกในพระบรมมหาราชวังจะต้องเป็นพระหน่อในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเท่านั้น


"วันนี้ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2462 เวลา 6.00 ล.ท.  พราหมณ์พฤฒิบาศ ได้ตั้งพระราชพิธีกลบบัตรสุมเพลิง ที่หน้าประตูสวัสดิโสภา ตามประเพณีเพราะเหตุที่ เมื่อคืนนี้ เวลา 2.00 ก.ท. ฝนตก จ่าตรีเขียน กรมยุทธศึกษาทหารเรือ เดินทางมาเกรงฝนจะเปียก จึงถอดเครื่องแบบหนีเข้าไปแฝงอยู่ใกล้ซุ้มประตู

บังเอิญอสุนีบาตตกต้องยอดซุ้มประตูนั้น แตกออกเป็น 3 เสี่ยง ยอดนภสูลตกปูนพังลงมา บางส่วนตกลงมาในพระบรมมหาราชวัง ทับหลังคาโรงทหารรักษาวัง กองพันที่ 1 กองร้อยที่ 3 ชำรุดยาวประมาณ 1 วาแต่จ่าตรีเขียนผู้ที่แฝงอยู่นั้น ได้ล้มลงตายอยู่ที่ริมประตูภายนอก ห่างประมาณ 2 ศอก ทหาร รักษาวังทราบเหตุ จึงได้โทรศัพท์ไปที่กองสารวัตร ทหารฯ บอกไปที่กรมยุทธศึกษาทหารเรือฯ ได้มารับศพไปแต่เวลา 4.00 ก.ท. ในวันเดียวกันแพทย์ทหารเรือตรวจว่า ไม่มีบาดแผลฉกรรจ์ ที่จะทำให้ถึงตายได้ สันนิษฐานว่า จ่าตรีเขียนคงจะตายด้วยหัวใจหยุด"

ที่มา ส.พลายน้อย


กระทู้: อยากทราบเกี่ยวกับพิธีกลบบัตรสุมเพลิง
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 19 พ.ค. 12, 14:27
การพิธีเริ่มจาก
1. ปลูกศาลเพียงตา
2. ให้ขุดดินบริเวณที่มีเลือดตกยางออก ที่คนตาย กว้างสองศอก ยาวสองศอก ลึกศอกเศษ
3. นำแกลบกลบลงในหลุมที่ขุดไว้
4. ก่อไฟบริเวณหลุม
5. พรามณ์กระทำพิธีโปรยเครื่องสังเวยเจ็ดหยิบ โปรยใส่กองไฟ
6. ขณะเดียวกันพราหมณ์อ่านโองการขับไล่เสนียดจัญไร
7. เสร็จแล้วกลบหลุมนั้นเป็นอันเสร็จพิธี


กระทู้: อยากทราบเกี่ยวกับพิธีกลบบัตรสุมเพลิง
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 19 พ.ค. 12, 14:36
บัตร ในคำว่า "กลบบัตร" อาจเขียนได้อีกหลายแบบเช่น บาต, บาตร และบาท

ราชกิจจานุเบกษาได้ลงข่าวการพระราชพิธีกลบบาทสุมเพลิงปักผังพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน  เมื่อวันพฤหัสบดีที่  ๒๒  สิงหาคม  พ.ศ. ๒๔๕๕   ไว้ว่า

“."..ครั้นถึงเวลาเช้า ๓ โมง  กับ ๓๐ นาทีอันเปนศิริมงคลได้ฤกษ์  ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นายมั่น นายคง  นายอยู่  นายไชย  กระทำพิธีกลับพื้นปถพีปักผังตามพระราชประเพณีแต่โบราณมา  แล้วโปรดเกล้าฯ พระราชทานรางวัลเงินคนละ ๑๒ บาท  กับเสื้อผ้าแก่คนทั้ง ๔ นี้คนละสำรับ  ฝ่ายพระสิทธิไชยบดีก็กระทำพิธีกลบบาทสุมเพลิง  ในขณะเมื่อเริ่มกลับพื้นปถพี  พระมหาราชครูพิธีก็หลั่งน้ำสังข์บนพื้นปถพีที่กลับตามแบบพราหมณ์แล้วเปนเสร็จการ...”  


 ;D


กระทู้: อยากทราบเกี่ยวกับพิธีกลบบัตรสุมเพลิง
เริ่มกระทู้โดย: ละอองทอง ที่ 19 พ.ค. 12, 16:10
ขอบคุณ คุณsiameseและคุณเพ็ญชมพู มากนะคะที่ให้ความกระจ่างกับดิฉัน แล้วดิฉันอยากทราบอีกว่า นอกจากในราชสำนักแล้วชาวบ้านธรรมดามีการทำพิธีนี้รึเปล่าคะ :)


กระทู้: อยากทราบเกี่ยวกับพิธีกลบบัตรสุมเพลิง
เริ่มกระทู้โดย: ละอองทอง ที่ 19 พ.ค. 12, 16:15
แล้วถ้าท่านใดมีภาพเก่าเกี่ยวกับพิธีนี้ ดิฉันขอความกรุณาช่วยนำมาลงให้ดูหน่อยได้ใหมคะ


กระทู้: อยากทราบเกี่ยวกับพิธีกลบบัตรสุมเพลิง
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 19 พ.ค. 12, 18:15
แล้วดิฉันอยากทราบอีกว่า นอกจากในราชสำนักแล้วชาวบ้านธรรมดามีการทำพิธีนี้รึเปล่าคะ :)

คุณกิเลน ประลองเชิง แห่งไทยรัฐ บอกให้ลองทำดู

http://www.thairath.co.th/column/pol/chuckthong/240029

 ;D


กระทู้: อยากทราบเกี่ยวกับพิธีกลบบัตรสุมเพลิง
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 27 พ.ค. 12, 15:49
จดหมายเหตุในสมัยรัชกาลที่ ๔ กล่าวเรื่องการกลบบัตรสุมเพลิงไว้ว่า

การวิวาทตบตีฟันแทงกันให้โลหิตตกในพระราชวังก็ดี และหญิงสาวใช้ทาสไทยผู้ใดคลอดแท้งลูกในพระราชวังก็ดี ท่านให้บัดพลีวังท่าน ให้ตั้งโรงพิธี ๔ ประตู ใบศรี ๔ สำรับ บัด ๕ ชั้น ๔ อัน ไก่เป็นประตูละคู่ ให้วงด้ายคารอบพระราชวัง นิมนต์พระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์ ๓ วัน ไปหาพ่อชีพราหมณ์มากระทำบวงสรวงตามธรรมเนียม

ให้มีระบำ พิณพาทย์ ฆ้อง กลอง ดุริยางค์ประโคมทั้ง ๔ ประตู ครั้นเสร็จพิธีแล้วให้เอาไก่นั้นไปปล่อยเสียนอกกำแพงเมือง ให้มันพาเสนียดจัญไร ภัย อุบาทว์จัญไร ไปพ้นพระนคร


กระทู้: อยากทราบเกี่ยวกับพิธีกลบบัตรสุมเพลิง
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 28 พ.ค. 12, 08:35
จดหมายเหตุในสมัยรัชกาลที่ ๔ กล่าวเรื่องการกลบบัตรสุมเพลิงไว้ว่า

การวิวาทตบตีฟันแทงกันให้โลหิตตกในพระราชวังก็ดี และหญิงสาวใช้ทาสไทยผู้ใดคลอดแท้งลูกในพระราชวังก็ดี ท่านให้บัดพลีวังท่าน ให้ตั้งโรงพิธี ๔ ประตู ใบศรี ๔ สำรับ บัด ๕ ชั้น ๔ อัน ไก่เป็นประตูละคู่ ให้วงด้ายคารอบพระราชวัง นิมนต์พระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์ ๓ วัน ไปหาพ่อชีพราหมณ์มากระทำบวงสรวงตามธรรมเนียม

ให้มีระบำ พิณพาทย์ ฆ้อง กลอง ดุริยางค์ประโคมทั้ง ๔ ประตู ครั้นเสร็จพิธีแล้วให้เอาไก่นั้นไปปล่อยเสียนอกกำแพงเมือง ให้มันพาเสนียดจัญไร ภัย อุบาทว์จัญไร ไปพ้นพระนคร

เมื่อจะนำเอาไก่ที่ใช้ในการประกอบพิธีกลบบัตรสุมเพลิงไปปล่อยนอกกำแพงเมือง
เพื่อให้ไก่พาเอาเสนียดจัญไรต่างๆ ออกไปนอกเมืองนั้น  โบราณท่านให้ตัดขนหางไก่ด้วย
(คงตัดขนหางสัก ๓ - ๔ เส้น พอเป็นเครื่องสังเหตุได้ว่า  เป็นไก่ปล่อยแก้เสนียด
ไก่เหล่านี้ ได้ยินเล่าต่อๆ กันมาว่า  นิยมเอาไปปล่อยตามวัดวาอารามนอกกำแพงเมือง
เพื่อไม่ให้คนจับเอาไก่นั้นไปฆ่าแกงกิน  เพราะในเขตวัดเป็นเขตอภัยทาน

อนึ่ง  การปล่อยไก่ให้นำพาเสนียดจัญไรออกไปนี้  ก็ทำในหมู่ชาวบ้านด้วย
เช่นว่า  เมื่อผู้ใดเจ็บป่วยหนัก หรือได้รับอันตรายต่างๆ หรือสงสัยว่าจะเคราะห์ร้าย
ก็จะหาไก่มาทำพิธีปัดรางควานจากผู้ป่วยหรือผู้มีเคราะห์ไปอยู่ในตัวไก่  แฃ้วเอาไก่ไปปล่อยที่วัด
นี่ก็เป็นที่มาของสำนวนว่า  ตัดหางปล่อยวัด  ซึ่งบางเข้าใจผิดว่า  เอาสุนัขมาตัดหางแล้วปล่อยที่วัด


กระทู้: อยากทราบเกี่ยวกับพิธีกลบบัตรสุมเพลิง
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 28 พ.ค. 12, 09:24
อนึ่ง  การปล่อยไก่ให้นำพาเสนียดจัญไรออกไปนี้  ก็ทำในหมู่ชาวบ้านด้วย
เช่นว่า  เมื่อผู้ใดเจ็บป่วยหนัก หรือได้รับอันตรายต่างๆ หรือสงสัยว่าจะเคราะห์ร้าย
ก็จะหาไก่มาทำพิธีปัดรางควานจากผู้ป่วยหรือผู้มีเคราะห์ไปอยู่ในตัวไก่  แฃ้วเอาไก่ไปปล่อยที่วัด
นี่ก็เป็นที่มาของสำนวนว่า  ตัดหางปล่อยวัด  ซึ่งบางเข้าใจผิดว่า  เอาสุนัขมาตัดหางแล้วปล่อยที่วัด

ไม่เกี่ยวกับเรา

(http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/94/51094/images/0053.jpg)

นอนดีกว่า ฮิ ฮิ

 ;D


กระทู้: อยากทราบเกี่ยวกับพิธีกลบบัตรสุมเพลิง
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 28 พ.ค. 12, 19:59
จดหมายเหตุในสมัยรัชกาลที่ ๔ กล่าวเรื่องการกลบบัตรสุมเพลิงไว้ว่า

การวิวาทตบตีฟันแทงกันให้โลหิตตกในพระราชวังก็ดี และหญิงสาวใช้ทาสไทยผู้ใดคลอดแท้งลูกในพระราชวังก็ดี ท่านให้บัดพลีวังท่าน ให้ตั้งโรงพิธี ๔ ประตู ใบศรี ๔ สำรับ บัด ๕ ชั้น ๔ อัน ไก่เป็นประตูละคู่ ให้วงด้ายคารอบพระราชวัง นิมนต์พระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์ ๓ วัน ไปหาพ่อชีพราหมณ์มากระทำบวงสรวงตามธรรมเนียม

ให้มีระบำ พิณพาทย์ ฆ้อง กลอง ดุริยางค์ประโคมทั้ง ๔ ประตู ครั้นเสร็จพิธีแล้วให้เอาไก่นั้นไปปล่อยเสียนอกกำแพงเมือง ให้มันพาเสนียดจัญไร ภัย อุบาทว์จัญไร ไปพ้นพระนคร

เมื่อจะนำเอาไก่ที่ใช้ในการประกอบพิธีกลบบัตรสุมเพลิงไปปล่อยนอกกำแพงเมือง
เพื่อให้ไก่พาเอาเสนียดจัญไรต่างๆ ออกไปนอกเมืองนั้น  โบราณท่านให้ตัดขนหางไก่ด้วย
(คงตัดขนหางสัก ๓ - ๔ เส้น พอเป็นเครื่องสังเหตุได้ว่า  เป็นไก่ปล่อยแก้เสนียด
ไก่เหล่านี้ ได้ยินเล่าต่อๆ กันมาว่า  นิยมเอาไปปล่อยตามวัดวาอารามนอกกำแพงเมือง
เพื่อไม่ให้คนจับเอาไก่นั้นไปฆ่าแกงกิน  เพราะในเขตวัดเป็นเขตอภัยทาน

อนึ่ง  การปล่อยไก่ให้นำพาเสนียดจัญไรออกไปนี้  ก็ทำในหมู่ชาวบ้านด้วย
เช่นว่า  เมื่อผู้ใดเจ็บป่วยหนัก หรือได้รับอันตรายต่างๆ หรือสงสัยว่าจะเคราะห์ร้าย
ก็จะหาไก่มาทำพิธีปัดรางควานจากผู้ป่วยหรือผู้มีเคราะห์ไปอยู่ในตัวไก่  แฃ้วเอาไก่ไปปล่อยที่วัด
นี่ก็เป็นที่มาของสำนวนว่า  ตัดหางปล่อยวัด  ซึ่งบางเข้าใจผิดว่า  เอาสุนัขมาตัดหางแล้วปล่อยที่วัด

การตัดหางปล่อยวัด ควรมาจากการตัดกรรม ปล่อยเคราะห์มากว่าที่จะเรียกตามอย่างไก่ที่เอามาจากการกลบบัตรสุมเพลิง เนื่องจากชาววัง ทั้งหลายต่างเข้าใจกันดีว่าควรจะต้องทำตัวอย่างไร เมื่อเข้าไปในรั้ววัง การตัดหางไก่ในเรื่องสะเดาะเคราะห์นั้นชาวบ้านร้านตลาดคงจะเห็นได้ง่ายกว่า จึงจำการเรียกแบบนี้จนติดปาก
น่าจะถามคุณหลวงเล็กเสียเหลือเกินว่า "วัดนอกกำแพงพระนคร...ท่านควรเอาไปปล่อยวัดใด ช่วยบอกข้าพเจ้าด้วยเทอญ"


กระทู้: อยากทราบเกี่ยวกับพิธีกลบบัตรสุมเพลิง
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 29 พ.ค. 12, 06:28
ตัดกรรม  เป็นคำสมัยใหม่   กรรมเป็นของตัดไม่ขาด  กรรมแต่ละอย่างก็ส่งผลสนองกลับแตกต่างกันไป
และเป็นของที่คาดเดาไม่ได้ว่า  กรรมอย่างนั้นอย่างนี้จะมาสนองแก่ผู้กระทำกรรมเมื่อไร อย่างไร และแต่ละคน
แม้ทำกรรมอย่างเดียวกัน  ก็ใช่ว่าจะได้ผลกรรมสนองเหมือนกัน

คนสมัยก่อนรู้จักแต่สะเดาะเคราะห์  ตัดกงตัดกรรมคงยังไม่มี  
อย่างมากถ้ารู้ว่ามีเคราะห์กาจ จงอย่ายาตรยุทธนา  เอาพัสตราสตรี สวมอินทรีย์สร่างเคราะห์ โอ๊ะๆ ไม่ใช่สิ
ก็ทำพิธีเสริมดวงชะตา  ทำบุญทำทาน  เพื่อเพิ่มกุศลบารมีตนเอง  หนุนให้ดวงชะตาดีขึ้น  สบายใจขึ้น

การกลบบัตรสุมเพลิงในวัง  ทำได้ในหลายกรณี  ไม่เฉพาะมีเหตุวิวาทตบตีจนเลือดตกในวัง
หรือลุก แท้งลูกในวัง  กรณีมีสามัญชนมาถึงแก่กรรมในวัง  ก็ต้องทำพิธีนี้เหมือนกัน
ช้าง ม้าล้มในวังก็ต้องทำ   จะขุดดินปลูกสร้างอาคารอะไรก็ทำ   เกิดเหตุอุบาทว์อันใดในวัง
ก็ต้องทำเพื่อความสวัสดี  บำรุงขวัญมงคลของวัง  และขอขมาเทพารักษ์รักษาวัง

พิธีกรรมในวัง  อาจจะมีพิธีรีตองมากกว่าของชาวบ้านก็ไม่แปลก  กลบบัตรสุมเพลิงเป็นการชำระปัดรางควาน
ส่วนการเอาไก่มาใช้ในพิธีนั้น  ก็เพื่อให้ไก่เป็นพาหะนำเคราะห์เสนียดออกไป  ถามว่าทำไมต้องเป็นไก่
เป็นเป็ดเป็นปลาเป็นนกหรือสัตว์อื่นไม่ได้หรือ  ก็คงได้  แต่บัญญัติในพิธีและธรรมเนียมในวังท่านกำหนดไว้เป็นแบบแผน
เป็นกฎหมายไว้  ทุกคนก็ต้องทำตามกฎ  อีกทั้งไก่ก็เป็นสัตว์ที่หามาได้ง่าย (สมัยก่อน สมัยนี้อีกเรื่อง)
จะนำมาประกอบพิธีก็สะดวก




กระทู้: อยากทราบเกี่ยวกับพิธีกลบบัตรสุมเพลิง
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 29 พ.ค. 12, 07:17
^
วัฒนธรรมชาวไท เซ่นสรวงวิญญาณ ตลอดจนเสี่ยงทาย ใช้ไก่เป็นตัวแทนการสื่อสารระหว่างสิ่งศักดิ์สิทธ์กับมนุษย์ เท่าที่ทราบเป็นการทายกระดูกไก่


กระทู้: อยากทราบเกี่ยวกับพิธีกลบบัตรสุมเพลิง
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 29 พ.ค. 12, 09:14
^
วัฒนธรรมชาวไท เซ่นสรวงวิญญาณ ตลอดจนเสี่ยงทาย ใช้ไก่เป็นตัวแทนการสื่อสารระหว่างสิ่งศักดิ์สิทธ์กับมนุษย์ เท่าที่ทราบเป็นการทายกระดูกไก่

การเสี่ยงทายเป็นอีกเรื่องหนึ่ง  แม้จะใช้ไก่เหมือนกัน แต่วัตถุประสงค์ต่างกัน
อันที่จริงไม่เฉพาะกลุ่มชนในวัฒนธรรมไท  เท่านั้น มอญ เขมร ก็ใช้เหมือนกัน
แต่ขอถามออกขุนว่า ที่ว่าทายกระดูกไก่  เขาเอากระดูกส่วนใดของไก่มาทาย
แล้วอยากให้ลองยกตัวอย่างการเสี่ยงโดยวิธีการดังกล่าวมาให้ดูด้วย


กระทู้: อยากทราบเกี่ยวกับพิธีกลบบัตรสุมเพลิง
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 29 พ.ค. 12, 09:43
^
วัฒนธรรมชาวไท เซ่นสรวงวิญญาณ ตลอดจนเสี่ยงทาย ใช้ไก่เป็นตัวแทนการสื่อสารระหว่างสิ่งศักดิ์สิทธ์กับมนุษย์ เท่าที่ทราบเป็นการทายกระดูกไก่

การเสี่ยงทายเป็นอีกเรื่องหนึ่ง  แม้จะใช้ไก่เหมือนกัน แต่วัตถุประสงค์ต่างกัน
อันที่จริงไม่เฉพาะกลุ่มชนในวัฒนธรรมไท  เท่านั้น มอญ เขมร ก็ใช้เหมือนกัน
แต่ขอถามออกขุนว่า ที่ว่าทายกระดูกไก่  เขาเอากระดูกส่วนใดของไก่มาทาย
แล้วอยากให้ลองยกตัวอย่างการเสี่ยงโดยวิธีการดังกล่าวมาให้ดูด้วย

เรื่องไก่ในการเซ่นสังเวย ให้คุณหลวงหาอ่านที่ ความหมายและบทบาทของ “ไก่” ในโลกทัศน์ของชาวอ่าข่า (http://museum.mfu.ac.th/download-pdf/Introduction_of_Chicken_bones.pdf)

เอกสารดังกล่าวได้อธิบายถึง ประเพณีชาวอาข่า ที่ผูกพันกับไก่ ซึ่งนับถือผี และพิธีกรรมการเสี่ยงทายเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของไก่ เช่น เนื้อ กระดูก ตับ หัว ตลอดจนใช้ไข่ไก่ในการเสี่ยงทาย


กระทู้: อยากทราบเกี่ยวกับพิธีกลบบัตรสุมเพลิง
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 29 พ.ค. 12, 09:53
ออกขุน  ตั้งคำถามไว้ว่า
น่าจะถามคุณหลวงเล็กเสียเหลือเกินว่า "วัดนอกกำแพงพระนคร...ท่านควรเอาไปปล่อยวัดใด ช่วยบอกข้าพเจ้าด้วยเทอญ"

วัดอะไรอยู่นอกกำแพงพระนคร  ก็เอาไปปล่อยได้ทั้งนั้น  จะต้องให้ระบุด้วยหรือ
ถ้าจะระบุวัด  แสดงว่าคนออกกฎน่าจะมีนอกมีในอะไรกับพระวัดนั้นเป็นแน่
หรือไม่วัดที่ถูกระบุ  คงจะเป็นฟาร์มเลี้ยงไก่ย่อยๆ  ขี้ไก่คงเหม็นคลุ้งไปทั้งวัด  
ที่ท่านไม่ระบุ  ก็เพราะให้ผู้นำไก่ไปปล่อยพิจารณาตามความเหมาะสม ความสะดวก และสติปัญญาของตนเอง
จะไปปล่อยไกลถึงวัดแถวทุ่งรังสิต  แขวงเมืองปทุม  หรือวัดศรีเอี่ยม  แถบทุ่งบางพลี  ก็ไม่ว่ากัน

อันที่จริง  เมื่อหลายปีมาแล้ว  ถ้าใครพอยังจำข่าวเรื่องมีการปลงพระชนม์ชีพพระราชวงศ์กษัตริย์เนปาลในพระราชวัง
ซึ่งเป็นข่าวครึกโครมสะเทือนใจไปทั่วโลก  หลังจากที่ได้มีการจัดการพระศพในคราวนั้นแล้ว
ได้มีการทำพิธีคล้ายกันกับไทย  คือ มีการเชิญพราหมณ์คนหนึ่งมาทำพิธีปัดรางควานในพระราชวัง
และเลี้ยงอาหารแก่พราหมณ์นั้นอย่างอิ่มหนำสำราญ  เมื่อพราหมณ์เหวยเสร็จแล้วก็ได้เวลาเนรเทศพราหมณ์
คือให้พราหมณ์ขึ้นช้างออกไปนอกเมืองไกลๆ   พราหมณืนี้เอง  เป็นผู้อาสานำความอัปมงคลที่เกิดขึ้นออกไปจากพระราชวัง
โดยใช้ตนเองเป็นพาหะ  ผมจำไม่ได้ว่่า  พราหมณ์ผู้นั้นจะต้องไม่มาเข้าใกล้หรือเข้ามาในเมืองนั้นเป็นเวลานานเท่าใด
อาจจะเป็นเวลาหลายปี หรืออาจจะตลอดชีวิต   ความเชื่อนั้นก็เป็นเหมือนกับการเอาไก่พาสิ่งอัปมงคลไปปล่อยที่วัด

ส่วนที่ตัดหางไก่นั้น  เข้าใจว่า เป็นการทำให้เป็นเครื่องหมายสังเกตว่า  นี่คือไก่ที่เขาเอามาปล่อยสะเดาะเคราะห์
หรือปล่อยเสนียด  ใครเห็นเข้าก็รู้  จะไม่หลงเข้าใจว่าเป็นไก่ใครหลุดมา (ไก่หลง) แล้วจับเอาไปเลี้ยงหรือทำแกงกิน
ส่วนการตัดไก่  ก็คือทำให้เสียโฉม  (แต่ไม่เสียเลือดเสียเนื้อ) ของเสียโฉมถือเป็นของอัปมงคล
แม้แต่พระพุทธรูป เทวรูป ตุ๊กตา  ศาลพระภูมิ หรือสิ่งของอันใดที่หัก แตก มีรอยร้าวรอยราน  ชาวบ้านมักถือว่า
ไม่ควรเก็บไว้ใช้   จะเป็นเสนียดแก่ตัวแก่บ้านและครอบครัว  ให้เอาไปจำเริญ (ทิ้ง) ตามโคนโพธิ์โคนไทร
ตามวัดวาอาราม  หรือทางแพร่ง  ไก่ที่ตัดหางแล้ว ก็เหมือนของที่ชำรุด  ต้องเอาไปปล่อยที่วัด  (ของดีๆ ไม่ยักกะเอาไปปล่อยวัด)
แต่ขนหางไก่นั้น  เมื่อถึงเวลาหนึ่ง ขนหางที่ถูกตัดไป ก็จะหลุดไป มีขนหางใหม่งอกขึ้นมาแทน
พอไก่ขนงามดังเดิม  ทีนี้ก็ตัวใครตัวมัน  ถ้าไก่เดินออกมานอกวัด  ก็อาจจะถูกจับไปเลี้ยงหรือ ลงหม้อ ก็ได้


การใช้ไก่เป็นของพาเคราะห์ หรือรับเคราะห์แทนนี้ ก็คล้ายๆ กับเอาตุ๊กตาดินปั้นใส่กระบะกาบกล้วยหรือกระทงบัตรพลี
ไปเซ่นตามทางสามแพร่ง (สี่แพร่ง ห้าแพร่งก็ได้)  แล้วต่อยให้หัวตุีกตาหลุด  เพื่อเป็นการสะเด๊าะเขราะห์ ต่อชะตา
เหมือนกัน


กระทู้: อยากทราบเกี่ยวกับพิธีกลบบัตรสุมเพลิง
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 29 พ.ค. 12, 10:00

การเสี่ยงทายเป็นอีกเรื่องหนึ่ง  แม้จะใช้ไก่เหมือนกัน แต่วัตถุประสงค์ต่างกัน
อันที่จริงไม่เฉพาะกลุ่มชนในวัฒนธรรมไท  เท่านั้น มอญ เขมร ก็ใช้เหมือนกัน
แต่ขอถามออกขุนว่า ที่ว่าทายกระดูกไก่  เขาเอากระดูกส่วนใดของไก่มาทาย
แล้วอยากให้ลองยกตัวอย่างการเสี่ยงโดยวิธีการดังกล่าวมาให้ดูด้วย

เรื่องไก่ในการเซ่นสังเวย ให้คุณหลวงหาอ่านที่
ความหมายและบทบาทของ “ไก่” ในโลกทัศน์ของชาวอ่าข่า (http://museum.mfu.ac.th/download-pdf/Introduction_of_Chicken_bones.pdf)

เอกสารดังกล่าวได้อธิบายถึง ประเพณีชาวอาข่า ที่ผูกพันกับไก่ ซึ่งนับถือผี และพิธีกรรมการเสี่ยงทายเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของไก่ เช่น เนื้อ กระดูก ตับ หัว ตลอดจนใช้ไข่ไก่ในการเสี่ยงทาย

ถามแค่ว่าเอากระดูกส่วนใดของไก่มาทาย  ออกขุนก็ออกไปไหนๆ  ไม่ต้องถึงเผ่าอาข่าหรอกออกขุน
ขี้เกียจปีนดอยไปดู  เอาแถวที่ราบนี่ก็พอยกตัวอย่างได้เหมือนกัน  ไม่อยากให้กลายเป็นกระทู้ Folklore ไป


กระทู้: อยากทราบเกี่ยวกับพิธีกลบบัตรสุมเพลิง
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 23 มิ.ย. 12, 07:28
ข้อมูลจากจดหมายเหตุพระราชกิจรายวันในรัชกาลที่ ๖  วันอังคารที่  ๕  กุมภาพันธ์  พ.ศ. ๒๔๖๖  บันทึกไว้ดังนี้

วันนี้มีเหตุเกิดขึ้นเรื่อง ๑ คือ เวลา ๑.๕๐ ก.ท.  นางสาวข้าหลวงพระองค์ผ่องคลอดบุตรในวังหลวง 
เจ้าน่าที่ได้จัดการนำออกในคืนนั้น  โปรดให้ตั้งการสังเวยอธิไทยโพธิบาทว์  พระอิศวร  พระอินทร 
พระนารายณ์  พระเพลิง  พระยม  พระพิรุณ  พระพาย  พระไพศรพณ์  ที่ประตูทั้ง ๔ ทิศ คือ
ประตูแถลงราชกิจ ๑  ประตูวิจิตรบรรจง ๑  ประตูศรีสุดาวงศ์ ๑  ประตูสนามราชกิจ ๑
กำหนดวันที่  ๒๐  กุมภาพันธ์  ศกนี้  เวลา ๔.๐๐ ล.ท.  พระสงฆ์๔ รูป  สวดมนต์ที่พระที่นั่งดุสิดาภิรมย์
รุ่งขึ้นเวลา ๑๑.๐๐ ก.ท. เลี้ยงพระ  แล้วจะได้ตั้งการบวงสรวงสังเวยประตูตามพระราชประเพณีและมีลคร
ที่ประตูแถลงราชกิจเปนสมโภชด้วยโรง ๑

เรื่องนี้สอบสวนคงได้ความว่า เมื่อสิงหาคมศกก่อน  นางจูได้ทำสัญญารับเงินล่วงน่าจากเจ้าจอมมารดาแข
แล้วให้นางเล็กบุตรีทำการแทนมาตอน ๑ ครั้นถึงมีนาคมในศกนั้นเอง  นางเล็กไปมีสามี  จึงให้นางสวน
บุตรีอีกคน ๑ ทำการแทนต่อมา  นางสวนผู้นี้ไม่ใช่คนกักขังใช้เข้าออกนอกวังอยู่เสมอ  นางสวนเปนคนอ้วนใหญ่
ตั้งแต่พระองค์ผ่องลงไปจนข้าหลวงและนายประตูสังเกตเห็นไม่ได้ว่ามีครรภ์  ต่อมาเมื่อ ๒ - ๓ เดือน
ก่อนที่จะคลอด  ได้มีผู้โจทย์กันว่านางสวนมีครรภ์  เจ้าน่าที่ฝ่ายในได้เรียกตัวมาพิจารณาและสอบสวน
นางสวนปฏิเสธว่าไม่มีสามี  เจ้าน่าที่เชื่อถ้อยคำจึงได้อยู่ในวังหลวงจนวันคลอด  จึงปรากฏว่ามีสามีชื่อนายมี
การที่นางสวนได้ให้ถ้อยคำเท็จต่อเจ้าน่าที่ฝ่ายในว่า  ไม่ได้มีครรภ์และไม่มีสามี  แล้วและคลอดลูก
โลหิตตกในพระบรมมหาราชวังซึ่งผิดต่อกฎมณเฑียรบาล  เสนาบดีวังได้ให้อัยการวังไต่สวนว่ากล่าว
ตามความผิดอีกโสด ๑