เรือนไทย

General Category => ประวัติศาสตร์ไทย => ข้อความที่เริ่มโดย: Koratian ที่ 24 พ.ค. 19, 13:44



กระทู้: ข้อมูลประวัติศาสตร์ไทยสมัยอยุธยาจากหนังสือต้นฉบับของหมอเกมเฟอร์
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 24 พ.ค. 19, 13:44
ผมมีโอกาสได้อ่านหนังสือสรุปความจากต้นฉบับลายมือของหมอเกมเฟอร์

KAEMPFER WERKE 4 "Engelbert Kaempfer in Siam" สำนักพิมพ์ iudicium เยอรมัน (2003)
บรรณาธิการ  Prof.Barend Jan Terweil


เป็นเรื่องเกี่ยวกับรายละเอียดจากต้นฉบับลายมือของหมอเกมเฟอร์ ที่บางส่วนไม่ได้ปรากฏในฉบับพิมพ์
และบางส่วนก็แตกต่างไปจากฉบับพิมพ์
เมื่อพิจารณาแล้วเห็นว่าอาจจะเป็นประโยชน์ต่อผู้สนใจทั่วไป จึงขอนำข้อมูลที่น่าสนใจบางส่วนมากล่าวถึงในที่นี้ครับ


กระทู้: ข้อมูลประวัติศาสตร์ไทยสมัยอยุธยาจากหนังสือต้นฉบับของหมอเกมเฟอร์
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 24 พ.ค. 19, 16:44
1. ว่าด้วย พระมงกุฏ พระมาลา หมวกขุนนาง

เกมเฟอร์เขียนว่า

Königlich Mütze ist von solcher Gestalt, als versa pagina anzeiger, triplici diademate ac procul dubio vom besten Metall und gestein Vide supra -//
ราชมาลาเป็นมงกุฏสามชั้น และไม่ต้องสงสัยเลยว่าทำจากโลหะและอัญมณีที่ดีเยี่ยม

Tiara Siamensis a    เครื่องประดับศรีษะชาวสยาม a
Principes, filii scilicet Regis, Pileus b.   เจ้าชายพระราชบุตร สวมหมวกปีกกว้าง  b

Mit welchem Er sic unlangst sehen lieƁe mit laubwerk von gold und gesteinten belegt, und einer guldenen ketten umb den kin. Ist ein Europischer zuckerhuht, mit bemahlten Ornamenten auffgeprunkt. In audientia hat Er ihn nicht auff.
ทรงปรากฏพระองค์เมื่อไม่นานนี้ ทรงพระมาลาประดับลวดลายทองคำและอัญมณี มีสายสร้อยทองรัดคาง ลักษณะเหมือนหมวกทรงสูงของชาวยุโรป แต้มด้วยลายเขียนสี เมื่อเข้าเฝ้าจะถอดพระมาลาออก

Mutzen der mandaryns c. หมวกของพวกขุนนาง c.

sind papier mit feinem betilies bezogen warden auch nicht auffgesetzt dan in koniglicher procession vel stats aus reitung, non in concessu Regio. Die klein Crohne de quo meminit Tachard, ist nicht drümb, ohne aliquando ein guldener besticker, gemmisque distinctum cingulum. 
พันด้วยผ้ามัสลินบางๆ และเช่นเดียวกัน จะไม่สวมเมื่ออยู่ต่อหน้าพระที่นั่ง ห่วงครอบเล็กที่ ตาชาร์ดกล่าวถึงเป็นทองประดับด้วยอัญมณี

ลองเปรียบเทียบกับ พระมหามงกุฏ พระมาลาเส้าสูง และ ลอมพอก ดูครับ
อาจได้พิจารณาที่มาของเครื่องประดับศรีษะเหล่านี้ต่อไปว่าเป็นอย่างไร


กระทู้: ข้อมูลประวัติศาสตร์ไทยสมัยอยุธยาจากหนังสือต้นฉบับของหมอเกมเฟอร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 24 พ.ค. 19, 17:07
ถือโอกาสแนะนำหมอเกมเฟอร์ สำหรับสมาชิกที่ยังไม่รู้จักค่ะ

เอ็งเงิลแบร์ท เค็มพ์เฟอร์ (เยอรมัน: Engelbert Kaempfer; 16 กันยายน ค.ศ. 1651 – 2 พฤศจิกายน ค.ศ. 1716) หรือ "หมอแกมป์เฟอร์" เป็นนักธรรมชาติวิทยา แพทย์ นักเขียนและนักสำรวจชาวเยอรมัน ที่ออกเดินทางมายังรัสเซีย เปอร์เซีย อินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และญี่ปุ่น ระหว่างปี ค.ศ. 1683–1693 เขาประพันธ์หนังสือ 2 เล่ม สำหรับการเดินทางครั้งนี้คือ Amoenitatum Exoticarum ตีพิมพ์ ค.ศ. 1712 เป็นหนังสือการสังเกตทางการแพทย์ที่สำคัญและพูดถึงพืชพรรณญี่ปุ่น อีกเล่มหนึ่งคือ The History of Japan ตีพิมพ์หลังเขาเสียชีวิตแล้ว ในปี ค.ศ. 1727 เป็นแหล่งข้อมูลที่สำคัญให้แก่ชาวตะวันตก เกี่ยวกับประเทศต่าง ๆ ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19

เค็มพ์เฟอร์เดินทางมายังประเทศไทย ตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระเพทราชาเพิ่งผลัดแผ่นดินใหม่ได้ 2 ปี แต่เข้าใจผิดว่าเป็นปีเดียว ในระหว่างวันที่ 12 มิถุนายน ถึง 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2233 รวม 23 วัน เพื่อถวายพระราชสาส์นของราชทูตแก่กรุงศรีอยุธยา เขาได้เล่าเหตุการณ์การผลัดแผ่นดินใหม่ ซึ่งผิดกับที่ปรากฎในพงศาวดารฉบับต่าง ๆ เป็นประเด็นอันน่าวิเคราะห์วิจารณ์เป็นอย่างยิ่ง นอกจากนี้ยังกล่าวถึงลำดับยศขุนนาง การปกครองคณะสงฆ์ วัด ปราสาทราชมนเทียร การศึกษา การคมนาคม วันนักขัตฤกษ์และพิธี ตลอดจนกล่าวถึงเงินไทยและการนับปีเดือนวัน ซึ่งบางอย่างก็ถูกต้อง และบางอย่างก็ผิดอย่างน่าขัน[1]

https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B9%87%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%97_%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B9%87%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%9F%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C


กระทู้: ข้อมูลประวัติศาสตร์ไทยสมัยอยุธยาจากหนังสือต้นฉบับของหมอเกมเฟอร์
เริ่มกระทู้โดย: ศรีสรรเพชญ์ ที่ 04 มิ.ย. 19, 15:09
น่าสนใจมากครับ พอจะมีหนังสือฉบับเต็ม ให้ศึกษามั้ยครับ


กระทู้: ข้อมูลประวัติศาสตร์ไทยสมัยอยุธยาจากหนังสือต้นฉบับของหมอเกมเฟอร์
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 04 มิ.ย. 19, 22:45
น่าสนใจมากครับ พอจะมีหนังสือฉบับเต็ม ให้ศึกษามั้ยครับ

คุณศรีฯ ลองดูที่ link Prof.Terweil ก่อนนะครับ

https://uni-hamburg.academia.edu/BarendTerwiel (https://uni-hamburg.academia.edu/BarendTerwiel)

ผมมีแต่หนังสือที่สรุปความแกะลายมือมาแล้วข้างต้น
ตัวต้นฉบับจริงอยู่ที่ Collection ของ British Library หาฉบับ digital ยังไม่ได้


กระทู้: ข้อมูลประวัติศาสตร์ไทยสมัยอยุธยาจากหนังสือต้นฉบับของหมอเกมเฟอร์
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 04 มิ.ย. 19, 22:54
เรื่องรอยเท้าแมวบนต้นฉบับของแกมป์เฟอร์

https://blogs.bl.uk/asian-and-african/2016/02/kaempfers-cat.html (https://blogs.bl.uk/asian-and-african/2016/02/kaempfers-cat.html)


กระทู้: ข้อมูลประวัติศาสตร์ไทยสมัยอยุธยาจากหนังสือต้นฉบับของหมอเกมเฟอร์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 05 มิ.ย. 19, 11:00
เจ้าชายพระราชบุตร สวมหมวกปีกกว้าง  ทรงปรากฏพระองค์เมื่อไม่นานนี้ ทรงพระมาลาประดับลวดลายทองคำและอัญมณี มีสายสร้อยทองรัดคาง ลักษณะเหมือนหมวกทรงสูงของชาวยุโรป แต้มด้วยลายเขียนสี เมื่อเข้าเฝ้าจะถอดพระมาลาออก

ช่างละม้ายคล้ายคลึงกับหมวกขุนนางในละครประวัติศาสตร์ของเกาหลียิ่งนัก  ;D


กระทู้: ข้อมูลประวัติศาสตร์ไทยสมัยอยุธยาจากหนังสือต้นฉบับของหมอเกมเฟอร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 05 มิ.ย. 19, 12:01
หรือแบบนี้?


กระทู้: ข้อมูลประวัติศาสตร์ไทยสมัยอยุธยาจากหนังสือต้นฉบับของหมอเกมเฟอร์
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 05 มิ.ย. 19, 12:47
Sugarhat


กระทู้: ข้อมูลประวัติศาสตร์ไทยสมัยอยุธยาจากหนังสือต้นฉบับของหมอเกมเฟอร์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 05 มิ.ย. 19, 13:08
ช่างละม้ายคล้ายคลึงกับหมวกขุนนางในละครประวัติศาสตร์ของเกาหลียิ่งนัก

ว่าด้วยเรื่องหมวก

สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงมีลายพระหัตถ์ไปยังพระยาอนุมานราชธน ลงวันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๔๗๙ มีพระอธิบายเรื่องหมวกไว้ว่า หมวกต่าง ๆ ที่ไทยมีน่าจะมาจากต่างประเทศ ชาวเราแต่เดิมน่าจะใช้ผ้าโพกมาก่อนดูอย่างพม่าและญวนเป็นต้น ที่ว่ามาจากต่างประเทศนั้น ทรงตั้งข้อสังเกตดังนี้

๑. หมวกกลีบลำดวน เห็นรูปพลธนูของฝรั่งใส่หมวกทรงเดียวกัน เว้นแต่ทำด้วยเหล็กและไม่มีกลีบ
๒. หมวกหนัง เห็นรูปทหารฝรั่งโบราณใส่ แต่ทำด้วยเหล็ก ที่ทำด้วยเหล็กนั้นต้องการกันอาวุธ เราทำด้วยหนังก็เพื่อกันอาวุธเช่นกัน
๓. หมวกทรงประพาส เห็นรูปอินเดียมี ทั้งฝรั่งก็ดูเหมือนมีด้วยเหมือนกัน แต่ปกคอปกหูเขาทำลูกโซ่เกี่ยวกันเป็นแผ่นดุจผ้าเพื่อกันอาวุธ ของเราทำด้วยผ้า คิดว่าแต่ก่อนคงเอาแผ่นเหล็กหรือหนังสอดไว้ข้างใน เพื่อกันอาวุธเหมือนกัน
๔. พระมาลาเส้าสูง เคยเห็นรูปชาวเมืองเกาหลีใส่กันเป็นพื้นเมือง ถ้าเราจะได้มาแต่เมืองเกาหลีก็ไม่ประหลาด เพราะธงที่เราใช้ในการแห่ก็มีธงเสือปีก ซึ่งเป็นธงประจำประเทศเกาหลี ย่อมจะได้มาด้วยกัน ส่วนพระมาลาคือพระมาลัยทองรัดรอบหมวกนั้นเราประดับเติมเข้า ขนนกนั้นเราจำอย่างมาจากแขกยังเรียกอยู่ว่า พระยี่ก่า ซึ่งตรงกับคำแขก เห็นจะเป็นภาษาเปอร์เซียร์เรียกอย่างเดียวกัน
๕. พระมาลาเส้าสะเทิ้น เขาว่ามาแต่ฝรั่ง เป็นหมวกครั้งพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ แห่งเมืองฝรั่งเศส
๖. พระมาลาเบี่ยง เห็นเหมือนกับเครื่องเกราะญี่ปุ่น

สำหรับลำดับศักดิ์ของหมวก ทรงอธิบายไว้ดังนี้

สำหรับพล
- หมวกกลีบลำดวน เป็นหมวกสำหรับพลเช่นพวกกลองชนะใส่
- หมวกหนัง รูปเหมือนฟักตัดมีกระบังรอบ เคลือบสีแดง

สำหรับนาย
- หมวกทรงประพาส

สำหรับเจ้าพระยา
- มาลาเส้าสูงไม่มีขนนก

สำหรับเจ้านายและพระเจ้าแผ่นดิน
- พระมาลาเส้าสูงปักขนนกตั้ง และพระมาลาเส้าสะเทิ้นปักขนนกนอน  (คำบรรยายในภาพที่นำมาลงนี้สลับกัน)
- พระมาลาเบี่ยง เป็นหมวกหนังสำหรับพระเจ้าแผ่นดิน

ที่มาภาพและข้อมูล: บันทึกเรื่องความรู้ต่าง ๆ เล่ม ๑

จาก https://www.facebook.com/100001769293827/posts/2146189178783371?s=100006582436536&sfns=mo


กระทู้: ข้อมูลประวัติศาสตร์ไทยสมัยอยุธยาจากหนังสือต้นฉบับของหมอเกมเฟอร์
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 05 มิ.ย. 19, 13:16
เขาว่า ?


กระทู้: ข้อมูลประวัติศาสตร์ไทยสมัยอยุธยาจากหนังสือต้นฉบับของหมอเกมเฟอร์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 05 มิ.ย. 19, 15:17
จาก ตำราเครื่องต้นเครื่องทรงแต่โบราณ ประกอบด้วยพระอธิบายของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ และคำวินิจฉัยของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์  หน้า ๗๐-๗๑

https://wisdom.sc.mahidol.ac.th/archives/files/PDF/Royal/Coronation_part_2.pdf


กระทู้: ข้อมูลประวัติศาสตร์ไทยสมัยอยุธยาจากหนังสือต้นฉบับของหมอเกมเฟอร์
เริ่มกระทู้โดย: ศรีสรรเพชญ์ ที่ 08 มิ.ย. 19, 22:42
มาลาเส้าสูง ที่สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ทรงมีพระวินิจฉัยว่ามาจากหมวกเกาหลีนั้น  ในภาษาเกาหลีเรียกว่า คัต (갓) เป็นหมวกผู้ชายในสมัยโชซอน

ทำจากโครงไม้ไผ่สานด้วยขนม้า มีหลายขนาดเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัยครับ

(http://www.korea.net/upload/content/editImage/140205_korean_culture3.jpg)

(http://www.korea.net/upload/content/editImage/140205_korean_culture1.jpg)


กระทู้: ข้อมูลประวัติศาสตร์ไทยสมัยอยุธยาจากหนังสือต้นฉบับของหมอเกมเฟอร์
เริ่มกระทู้โดย: ศรีสรรเพชญ์ ที่ 08 มิ.ย. 19, 22:44
แต่ผมมีความคิดเห็นต่างจากพระวินิจฉัย โดยเห็นว่ามาลาเส้าสูงน่าจะได้อิทธิพลมาจากหมวกของชาวดัตช์ในช่วงคริสต์ศตวรรษ์ที่ 17 มากกว่าครับ


ในสมัยนั้นชาวดัตช์นิยมสวมหมวกสีดำปีกกว้างทรงสูง ซึ่งเป็นที่นิยมของชาวยุโรปหลายชาติ เช่น พวกพิวริตันในอังกฤษ สอดคล้องตามที่เกมเฟอร์ระบุลักษณะมาลาเส้าสูงว่า "ลักษณะเหมือนหมวกทรงสูงของชาวยุโรป" และพระมาลาเส้าสูงในปัจจุบันทำด้วยสักหลาด ปีกขยับได้ ใกล้เคียงกับหมวกยุโรปที่ทำจากผ้าหรือขนสัตว์เช่นขนบีเวอร์  ไม่เหมือนหมวกเกาหลีที่ทำจากโครงไม้ไผ่ครับ


มาลาเส้าสูงที่แกมเฟอร์วาด มีความสูงของหมวกใกล้เคียงกับหมวกดัตช์ในยุคนั้นมาก แต่มาลาเส้าสูงในปัจจุบันเหมือนจะเตี้ยกว่าเล็กน้อย ทั้งหมวกฝรั่งในยุคนั้นก็มีความสูงหลายระดับ อาจจะมีการปรับเปลี่ยนตามยุคสมัย


ดัตช์เป็นชาติยุโรปที่เข้ามามีอิทธิพลในสยามมากตั้งแต่ช่วงรัชกาลสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมถึงต้นรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ จนถึงสมัยพระเพทราชาก็เข้ามามีบทบาทในราชสำนักอีก การที่สยามจะได้รับอิทธิพลด้านเครื่องแต่งกายมาจึงไม่แปลกประหลาด ดูมีความเป็นไปได้สูงกว่าเกาหลีที่ไม่ค่อยมีบทบาทและความสัมพันธ์ทางการค้ากับสยามเท่าไหร่ครับ


ภาพวาดชาวดัตช์ สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 17
(http://www.kipar.org/archive/costume-workshop/images/lesson3/1660_gentleman-in-black_terborch.jpg)

(https://learnodo-newtonic.com/wp-content/uploads/2017/01/Rembrandt-Famous-Paintings-Featured.jpg)

(https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/1/18/Governors_of_the_Wine_Merchant%27s_Guild.jpg)


ภาพวาด Sir Richard Saltonstall ชาวอังกฤษ
(https://www.tate.org.uk/art/images/work/T/T02/T02020_10.jpg)


กระทู้: ข้อมูลประวัติศาสตร์ไทยสมัยอยุธยาจากหนังสือต้นฉบับของหมอเกมเฟอร์
เริ่มกระทู้โดย: ศรีสรรเพชญ์ ที่ 08 มิ.ย. 19, 23:29
ส่วนพระมาลาเส้นสะเทิน แทบไม่มีความแตกต่างจากพระมาลาเส้าสูงนอกจากเตี้ยกว่า เชื่อว่าได้อิทธิพลมาจากยุโรปเหมือนกันครับ

พระมาลาเส้นสะเทินน่าจะได้อิทธิพลมาจากหมวกที่เรียกว่า Cavalier hat ซึ่งเป็นหมวกปีกกว้างที่นิยมในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ส่วนใหญ่ทำจากสักหลาด มีขอบโค้งงอ หรือพับปีกขึ้นข้างหนึ่ง (เรียกว่า slouch hat) และประดับด้วยขนนก ใกล้เคียงกับพระมาลาของไทยที่พับปีกประดับพระยี่ก่าปีกขนนกการเวกครับ  มีความสูงหลายระดับ แต่จากภาพเขียนส่วนใหญ่ดูไม่สูงมากนัก ออกไปทางกลางหรือเตี้ย

บางทีพระมาลาเส้าสูงแบบปัจจุบันที่ไม่ได้สูงเท่าภาพของแกมเฟอร์ ก็อาจจะได้รับอิทธิพลมาจาก Cavalier hat เหมือนกัน เพียงแต่เรียกแยกตามความสูงเท่านั้นครับ


หมวกชนิดนี้เริ่มมาจากอังกฤษในสมัยพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 โดยกลุ่มแควาเลียร์ (Cavalier) ที่นิยมระบอบกษัตริย์  และกลายเป็นที่นิยมไปทั่วยุโรป

(https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/1/17/Frans_Hals_-_detail_showing_Cavalier_hats.jpg/800px-Frans_Hals_-_detail_showing_Cavalier_hats.jpg)

(https://i.pinimg.com/736x/03/ad/51/03ad512d65818ef863817a8c01656800.jpg)

(https://europebetweeneastandwest.files.wordpress.com/2016/02/a-love-supreme-king-wladyslaw-iv-vasa-credit-paul-peter-rubens.jpg)


(https://thetavernknight.files.wordpress.com/2015/08/cropped-bartholomeus_van_der_helst_-_het_compagnie_van_kapitein_roelof_bicker_en_luitenant_jan_michielsz_blaeuw_1639.jpg)

(https://i306.photobucket.com/albums/nn264/Idzit/17th%20century%20costumes/17th%20c%20hats%20and%20hairstyles/17thcenturyhats01.jpg)



ช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 17 ยุโรปเริ่มนิยมหมวกทรง tricorn พับปีกขึ้นสามด้าน ทำให้หมวกเป็นรูปร่างสามเหลี่ยม แต่ของไทยพับแค่ด้านเดียวครับ

(https://i306.photobucket.com/albums/nn264/Idzit/17th%20century%20costumes/17th%20c%20hats%20and%20hairstyles/17thcenturyhats05.jpg)

(https://i.pinimg.com/originals/c8/76/68/c8766879bdf7532c036aa09732a827d1.jpg)


กระทู้: ข้อมูลประวัติศาสตร์ไทยสมัยอยุธยาจากหนังสือต้นฉบับของหมอเกมเฟอร์
เริ่มกระทู้โดย: ศรีสรรเพชญ์ ที่ 10 มิ.ย. 19, 10:42
มีข้อสังเกตคือ มงกุฎสยาม (Tiara Siamensis) ที่แกมเฟอร์วาดไว้ เป็นมงกุฎแบบยุโรปซ้อนกันสามชั้น ลักษณะใกล้เคียงกับมงกุฎพระสันตปาปา (Papal tiara)

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=7000.0;attach=71105;image)




ซึ่งในบันทึกของชาวยุโรปร่วมสมัยก็บันทึกไว้ใกล้เคียงกัน เช่น บาทหลวงตาชารด์บันทึกว่า เมื่อสมเด็จพระนารายณ์เสด็จออกรับราชทูตฝรั่งเศส ทรงศิราภรณ์ทรงสูงยอดแหลมลักษณะคล้ายลอมพอก ที่มีเกี้ยวซ้อนกันสามชั้น ซึ่งบังเอิญไปตรงกับ papal tiara นอกจากนี้ก็พบว่าภาพพิมพ์สมเด็จพระนารายณ์และโกษาปานที่ฝรั่งเศสเขียนขึ้น ก็สวมศิราภรณ์ในลักษณะเดียวกัน



ภาพโมเสกพระสันตปาปาเคลเมนต์ที่ 8 (Clement VIII)

(https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/d/d1/Clement_VIII_mosaic.jpg)




ภาพพิมพ์โกษาปานใน ค.ศ. 1690 ที่ฝรั่งเศสระบุว่าเป็นพระเจ้ากรุงสยาม
https://www.facebook.com/WipakHistory/photos/a.1050804244983045/2212192758844182/?type=3

(https://scontent.fbkk14-1.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/56189951_2212192765510848_1847400953112690688_n.jpg?_nc_cat=104&_nc_oc=AQlV7JpFu04g56jn77a9BkjW0YHqf344p_IYPivJ1Cmxo3dzMO6BaQ4_HDEtTI-FKJQ&_nc_ht=scontent.fbkk14-1.fna&oh=492f729579284be01f891372360e4be6&oe=5D930B0D)




เกี้ยวที่ซ้อนกันสามชั้นที่กล่าวมา จริงๆ แล้วคงเป็นแบบที่พบในมงกุฎหรือชฎาของไทยมากกว่า แต่ในสายตาฝรั่งคงเห็นว่ารูปทรงเหมือน tiara ก็หรือมงกุฎแบบตะวันตกครับก็เลยวาดๆ ไปโดยอาจไม่ได้เหมือนจริงมากนัก ทั้งนี้ลอมพอกที่แกมเฟอร์วาดก็ไม่เหมือนของจริงเหมือนกัน  ลักษณะจริงๆ น่าจะใกล้เคียงกับมงกุฎไทยในจิตรกรรมสมัยอยุทธยาครับ


จิตรกรรมในสมุดภาพไตรภูมิกรุงศรีอยุธยา หมายเลข ๖ อายุราวรัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง-สมเด็จพระนารายณ์

(https://www.silpa-mag.com/wp-content/uploads/2017/07/%E0%B8%94%E0%B8%B8%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%95.jpg)



เทวดาวัดใหญ่สุวรรณาราม เพชรบุรี

(http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2009/02/K7566455/K7566455-9.jpg)



ทวารบาลวัดใหญ่สุวรรณาราม เพชรบุรี

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=3170.0;attach=8271;image)



มงกุฎพระพุทธนิมิตวิชิตมารโมลีศรีสรรเพชญบรมไตรโลกนาถ วัดหน้าพระเมรุ

(https://scontent-yyz1-1.cdninstagram.com/vp/d51966ff100cbb83fa6e32a52e40136a/5D8392E5/t51.2885-15/e35/59375036_137109094097093_8247132350749210966_n.jpg?_nc_ht=scontent-yyz1-1.cdninstagram.com)


กระทู้: ข้อมูลประวัติศาสตร์ไทยสมัยอยุธยาจากหนังสือต้นฉบับของหมอเกมเฟอร์
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 10 มิ.ย. 19, 12:05

รูปมงกุฏของพระเพทราชาที่เกมเฟอร์วาดรูปทรงคล้ายเทริดจากสมัยอยุธยาตอนกลาง
ซึ่งอาจลอกแบบจากพระพุทธรูปทรงเครื่องที่เกมเฟอร์พบเห็นในระหว่างเที่ยวสำรวจเกาะอยุธยา

อย่างไรก็ตาม มงกุฏสามชั้นที่กล่าวถึงอาจเป็น พระชฎาขาวริมทอง ที่ใช้ในพิธีออกแขกเมือง


กระทู้: ข้อมูลประวัติศาสตร์ไทยสมัยอยุธยาจากหนังสือต้นฉบับของหมอเกมเฟอร์
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 10 มิ.ย. 19, 12:13

ตาชาร์ดกล่าวถึงสมเด็จพระนารายณ์

"พระราชาทรงสวมศิราภรณ์อันแพรวพราวด้วยอัญมณี
เป็นหมวกทรงสูงยอดแหลมคล้ายปิระมิด
ล้อมรอบด้วยแหวนทองคำสามวง แยกจากกันเป็นระยะ"

ลองดูรูปจำลองที่ทำเปรียบเทียบครับ


กระทู้: ข้อมูลประวัติศาสตร์ไทยสมัยอยุธยาจากหนังสือต้นฉบับของหมอเกมเฟอร์
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 10 มิ.ย. 19, 12:33

พระนารายณ์ทรงพระชฎาพอก ในพระราชพิธีฟันน้ำ ?

"พระราชาประทับบนบัลลังก์รูปทรงปิระมิดที่ประดับอย่างสวยงาม
ฉลองพระองค์ประดับทองและอัญมณีมีค่า ทรงสวมหมวกขาวปลายแหลม
ล้อมรอบด้วยแหวนทองประดับดอกไม้ไหวและอัญมณี"

ตาชาร์ด


กระทู้: ข้อมูลประวัติศาสตร์ไทยสมัยอยุธยาจากหนังสือต้นฉบับของหมอเกมเฟอร์
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 11 มิ.ย. 19, 16:55

ลอมพอกและแหวนทองสามวงที่สมเด็จพระนารายณ์สวมออกรับแขกเมือง ในปี ค.ศ. 1686
ลักษณะคล้ายกับ ลอมพอกและแหวนทองสามวงที่สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมทรงสวมในปี ค.ศ. 1628

สเคาเตน (Schouten) หัวหน้าพ่อค้าชาวดัชท์ บรรยายว่า

"...It looked like three thrones, the middle one was broadest,
highest and projecting somewhat in front of the side ones,
having below a broad foot, diminishing upwards in the form of a pyramid,
artfully inlaid with mother-of-pearl and gilded,
in some  places there was black lacquer, the whole making a splendid impression.
Halfway up on this throne, about twenty feet up, was a quadrangular high window frame
with three small  pillars, and in front of these the king showed himself from the waist up,
dressed in a white loose shirt embroidered with gold.
On his head, he wore a pyramidal white turban, almost an asta or cubit high,
around which there was a three-fold golden crown decorated with precious stones,
not unlike the pope’s crown.


บนพระเศียร พระองค์ทรงสวมผ้าโพกหัวสีขาวทรงปิระมิด สูงราวๆศอกหนึ่ง
ล้อมรอบด้วยมงกุฏทองคำสามชั้นที่ประดับด้วยอัญมณีมีค่า
คล้ายกันกับมงกุฏของพระสันตปาปา
  
Directly in front of the king stood an umbrella on a golden pole,
certainly 25-feet high, exquisitely embroidered in seven diminishing levels to a sharp end.
On each side of this umbrella stood a smaller, similar one, in five layers,
corresponding with the lower thrones on each side of the king’s seat."


 
Barend J. Terwiel, De Marees and Schouten Visit the Court of King Songtham, 1628 ,Journal of the Siam Society, Vol. 107, Pt. 1 (2019)


กระทู้: ข้อมูลประวัติศาสตร์ไทยสมัยอยุธยาจากหนังสือต้นฉบับของหมอเกมเฟอร์
เริ่มกระทู้โดย: ศรีสรรเพชญ์ ที่ 15 มิ.ย. 19, 18:23
ถ้าเป็นมงกุฎแบบที่แกมเฟอร์วาดสามชั้นนั้น ดูจากรูปแบบแล้วเห็นว่าเป็นมงกุฎจริง ไม่ใช่ชฎาขาว เห็นได้ชัดจากการมีกระบังด้านหลังเป็นรูปแบบเดียวกับมงกุฎทรงเทริด หากเป็นชฎาขาวจะไม่มีกระบังด้านหลังครับ

(https://scontent.cdninstagram.com/vp/e6619b3e41d8eabbfd42e3e7c4d8ae92/5D994C5D/t51.2885-15/e35/c0.135.1080.1080a/s480x480/26066549_666990326805057_5553758224034824192_n.jpg?_nc_ht=scontent-dfw5-1.cdninstagram.com)



ส่วนพระชฎาขาวริมทองซึ่งตาชารด์บันทึกว่ามีวงแหวนสามชั้น เห็นจะเป็นแบบเดียวกับชฎาขาวของพระเวสสันดรในสมุดภาพไตรภูมิกรุงศรีอยุธยาหมายเลข ๖ คือมีวงแหวนสามชั้น ประดับด้วยอัญมณีสีต่างๆ ตรงกับที่สเคาเตนบรรยายไว้ครับ แต่ในสมัยหลังคงจะทำปลายยอดให้เรียวขึ้นเหมือนลอมพอกหรือพระชฎาเดินหน


กระทู้: ข้อมูลประวัติศาสตร์ไทยสมัยอยุธยาจากหนังสือต้นฉบับของหมอเกมเฟอร์
เริ่มกระทู้โดย: ศรีสรรเพชญ์ ที่ 15 มิ.ย. 19, 18:27
(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=7000.0;attach=71176;image)

จากข้อความที่ระบุว่า "a Ring of Gold" นี้เข้าใจว่าพระชฎาพอกของพระเจ้าแผ่นดินจะมีทั้งแบบที่มีแหวนวงเดียว และแหวนสามวง สำหรับทรงในโอกาสต่างๆ กันครับ


กระทู้: ข้อมูลประวัติศาสตร์ไทยสมัยอยุธยาจากหนังสือต้นฉบับของหมอเกมเฟอร์
เริ่มกระทู้โดย: ศรีสรรเพชญ์ ที่ 15 มิ.ย. 19, 18:30
บางทีลักษณะอาจจะใกล้เคียงกับพระชฎาพอกที่ใช้ทรงพระบรมศพสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีก็เป็นได้ครับ บริเวณยอดดูเหมือนวงแหวนประดับด้วยอัญมณีตรงตามที่ฝรั่งบรรยายไว้ ต่างกันที่มีหลายชั้นกว่าครับ

(https://reallaliworld.files.wordpress.com/2016/10/k6272308-201.jpg?w=700&h=649)


กระทู้: ข้อมูลประวัติศาสตร์ไทยสมัยอยุธยาจากหนังสือต้นฉบับของหมอเกมเฟอร์
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 18 มิ.ย. 19, 19:38


2. ว่าด้วยทรงผม

แกมเฟอร์บันทึกว่า

Raczuk’ ist eine halbe corona, so Siamer frauen tragen (vidi et viros) pflücken es à juventute aus.
หญิง(และชาย)จะระจุก (โกนจุก ?) เมื่อพ้นวัยเยาว์

Sie gehen nicht mehr mit langen haaren quia incidentes luctus super mortes
Regum ac consanguineorum  eos jubent præscindere, ita ut in consuetudinem transiverit capite hirsuto incedere.
พวกเขาจะโกนผมในช่วงไว้ทุกข์เมื่อพระราชวงศ์สิ้นพระชนม์

Die princess pflege doch, et aliæ modo etsi raro, mot lagen haaren zugehen.
เจ้าหญิงและพวกผู้หญิงไว้ผมยาว

Barma, Pegu, Laos, Cambodia tragen sie lang.
พวกพม่า พะโค ลาว กัมพูชาไว้ผมยาว

Männer tragen Sie finger lang, und ist la mode wie figura a. Die weiber vero, wie figura b.
ผู้ชายไว้เล็บยาว แลมีลักษณะดังรูป a. ภริยา ดังรูป b.  



กระทู้: ข้อมูลประวัติศาสตร์ไทยสมัยอยุธยาจากหนังสือต้นฉบับของหมอเกมเฟอร์
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 24 มิ.ย. 19, 14:18

3. แผนที่เกาะเมืองอยุธยา

แกมเฟอร์ลงเรือสำรวจและทำแผนที่เกาะเมืองอยุธยาและร่างภาพไว้อย่างค่อนข้างละเอียด 
แสดงให้เห็นรายละเอียดของเกาะเมืองอยุธยาที่น่าสนใจ
เช่น ประตูเมือง ประตูน้ำ ตลาดน้ำ ย่านการค้า ที่จอดเรือสำเภา สะพาน มณฑปพระมงคลบพิตร ฯลฯ


กระทู้: ข้อมูลประวัติศาสตร์ไทยสมัยอยุธยาจากหนังสือต้นฉบับของหมอเกมเฟอร์
เริ่มกระทู้โดย: paganini ที่ 25 มิ.ย. 19, 14:35
จากบันทึกของหมอเกมเฟอร์ บางท่านเชื่อว่าเจดีย์ยุทธหัตถีองค์จริงก็คือเจดีย์ภูเขาทองที่อยู่ชานเมืองอยุธยานั่นเอง


กระทู้: ข้อมูลประวัติศาสตร์ไทยสมัยอยุธยาจากหนังสือต้นฉบับของหมอเกมเฟอร์
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 25 มิ.ย. 19, 19:45

ภูมิแผนที่พระนครศรีอยุธยา, พระยาโบราณราชธานินทร์

"คลองในเมืองและมีคลองเล็กใหญ่ในพระนครก็หลายคลอง คลองใหญ่คือคลองท่ออยู่ท้ายวัง ไปออกทางแม่น้ำด้านใต้ตรงหน้าวัดพุทไธสวรรย์ ปากคลองทางโน้นเรียกว่าคลองฉะไกรใหญ่ คลองประตูข้าวเปลือกที่ตำบลท่าทรายตรงไปออกแม่น้ำด้านใต้ ปากคลองทางโน้นเรียกว่าคลองประตูจีน คลองนี้เมื่อปลายแผ่นดินพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ ในเวลาทรงพระประชวร พระบรมโกศกับเจ้าฟ้าอภัย เจ้าฟ้าบรเมศร์ทำศึกชิงราชสมบัติกัน พระบรมโกศตั้งค่ายรายริมคลองฟากตะวันออก เจ้าฟ้าอภัย เจ้าฟ้าบรเมศร์ตั้งค่ายรายริมคลองตะวันตก เอาคลองเป็นเขตกั้น คลองประตูหอรัตนชัยอยู่ใต้วังจันทร์เกษมด้านตะวันออกไปออกแม่น้ำริมป้อมเพ็ชร ปากคลองทางโน้นเรียกว่าคลองในไก่ และที่ใต้สะพานช้างมีคลองแยกจากคลองประตูข้าวเปลือกไปทะลุคลองหลังวังจันทร์ จะไปออกคลองหอรัตนชัยหรือคลองในไก่ก็ได้ ด้านใต้เหนือคลองในไก่ขึ้นไปถึงคลองประตูจีน พ้นคลองประตูจีนก็ถึงคลองประตูเทพหมี ตอนปากึคลองเลี้ยวหัวหน่อยหนึ่ง แล้วตรงไปในบึงชีขัน คลองประตูเทพหมีนี้ ว่าเรียกตามชื่อหลวงเทพอรชุณ(หมี)ผู้ตั้งบ้านเรือนอยู่ในที่นั้น เหนือคลองประตูเทพหมีก็มีคลองฉะไกรน้อย ไปทางข้างวัดบรมพุทธารามถึงวัดป่าใน แล้วเลี้ยวผ่านคลองประตูเทพหมีคลองประตูจีนไปบรรจบคลองประตูในไก่ ทางด้านตะวันตกมีคลองประตูท่าพระตรงมาทางตะวันออก ผ่านคลองฉะไกรใหญ่มาบรรจบคลองฉะไกรน้อย และยังมีคลองซอยคลองแยก ตามระหว่างคลองใหญ่เป็นหลายสาย"


กระทู้: ข้อมูลประวัติศาสตร์ไทยสมัยอยุธยาจากหนังสือต้นฉบับของหมอเกมเฟอร์
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 25 มิ.ย. 19, 19:53
ท่าเรือป้อมเพชร ตลาดบางกระจะ ย่านวัดพนัญเชิง


กระทู้: ข้อมูลประวัติศาสตร์ไทยสมัยอยุธยาจากหนังสือต้นฉบับของหมอเกมเฟอร์
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 25 มิ.ย. 19, 19:55
วัดพระรามวัด พระศรีสรรเพชญ มณฑปพระมงคลบพิตร


กระทู้: ข้อมูลประวัติศาสตร์ไทยสมัยอยุธยาจากหนังสือต้นฉบับของหมอเกมเฟอร์
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 26 มิ.ย. 19, 14:36

คำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม

มีแพลอยพวกลูกค้าไทยจีนแขกเทศแขกจาม นั่งร้านแพขายสรรพสิ่งของต่าง ๆ กันทั้งสองฟากฝั่งแม่น้ำ ตั้งแต่ท้ายปากคลองวัดสุวรรณดาราราม ตลอดลงมาจนน่าพระราชวังหลัง แถวนี้เปนฝั่งพระนคร แต่ฝั่งตรงพระนครนั้นแพจอดตั้งแต่ท้ายวัดเจ้าพระนางเชิง ตลอดมาจนท้ายวัดพุทไธยสวรรค์ แลเลยไปจอดเปนระยะจนน่าวัดไชยวัฒนารามแลแม่น้ำตรงตลอดมีแพลูกค้าพานิชจอดฝั่งตระวันตก ตั้งแต่ปากคลองตะเคียนเรี่ยรายขี้นมาถึงน่าวัดแขกตะเกียมีชุกชุมมากขึ้นมาจนถึงท้ายวัดกุฎบางกะจะ ตรงวัดเจ้าพระนางเชิงฝั่งตะวันออกตั้งแต่ท้ายเกาะเรียนมีแพจอด เรี่ยรายขึ้นมาจนถึงท่าเสือข้าม มีแพชุกชุมมากขึ้นมาจนถึงท้ายวัดเจ้าพระนางเชิง ประมาณแพแต่บริเวณกรุงศรีอยุทธยารอบพระนครนั้น ราวสักสองหมื่นเสศพันปลายเปนแน่ ทั้งแพอยู่แลแพค้าขายในแขวงจังหวัดรอบกรุง ไม่น้อยต่ำลงมาจากสองหมื่นเสศพันเลยเป็นแน่

 
ครั้นถึงระดูลมสำเภาพัดเข้ามาในกรุง เปนมรสุมเทศกาลพวกลูกค้าพานิชสำเภาจีนแลลูกค้าแขกสลุป ลูกค้าฝรั่งกำปั่น ลูกค้าแขกกุศราช และพวกลูกค้าแขกสุรัดแขกชวามาลายูแขกเทศฝรั่งเศส ฝรั่งโลสงโปรตุเกศวิลันดาอิศปันยอนอังกฤษ แลฝรั่งดำฝรั่งเมืองลังกุนีแขกเกาะ เปนพ่อค้าพานิช คุมสำเภาสลุปกำปั้นแล่นเข้ามาทอดสมออยู่ท้ายคู ขนสินค้าขึ้นมาไว้บนตึกห้างในกำแพงพระนครกรุงศรีอยุทธยา ตามที่ของตนซื้อแลเช่าต่าง ๆ กัน เปิดร้านห้างตึกขายของตามเพศตามภาษา ๑


กระทู้: ข้อมูลประวัติศาสตร์ไทยสมัยอยุธยาจากหนังสือต้นฉบับของหมอเกมเฟอร์
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 27 มิ.ย. 19, 09:31

คำให้การขุนหลวงหาวัด ฉบับหลวง

"อันพระนารายน์นั้นมิได้มีราชบุตรเปนกุมาร จึ่งกุมารผู้หนึ่งชื่อหม่อมเตี้ย พระนารายน์เอามาเลี้ยงไว้เปนที่ (พระปิย์) ลูกหลวง ยังหลานองค์หนึ่ง ชื่อพระศรีศิลป์ เปนลูกพระไชยาทิตย์ผู้เปนเชษฐา แล้วพระองค์จึ่งสร้างอ่างแก้วแลน้ำพุทั้งวังหลวงวังน่า แลปราสาทในวังทั้งปวงจึ่งแปลงให้ก่ออิฐ แลผนังทั้งสิ้นนั้นปิดทองประดับกระจก เสวยราชย์อยู่ในกรุงทวาราวดีนั้นได้ ๑๐ ปี แล้วเสด็จไปสร้างเมืองอยู่ที่เมืองเก่าอันหนึ่ง ชื่อเมืองละโว้ จึ่งสมมุตินามเรียกว่าเมืองลพบุรี มีกำแพงแลป้อม แลสร้างปราสาทชื่อดุสิตมหาปราสาท แล้วมีพระที่นั่งฝ่ายขวา ชื่อสุธาสวรรย์ ฝ่ายซ้ายชื่อจันทพิศาล มีพระปรัศซ้ายขวา แล้วมีน้ำพุอ่างแก้ว มีน้ำดั้นน้ำดาษ แล้วจึ่งสร้างทเลชุบศรแลสระแก้ว แล้วจึ่งสร้างวัดทรางวัด ๑ วัดมหาธาตุวัด ๑ จึ่งสร้างพระปรางค์สามยอดองค์ ๑ แล้วจึ่งสร้างเครื่องต้นแลพระมาลา ​ทั้งเส้าสูงเส้าสเทิน แลพระยี่ก่า แลฉลองพระองค์อย่างเทศอย่างยี่ปุ่นมีมาแต่ครั้งนั้น ๚"


กระทู้: ข้อมูลประวัติศาสตร์ไทยสมัยอยุธยาจากหนังสือต้นฉบับของหมอเกมเฟอร์
เริ่มกระทู้โดย: ศรีสรรเพชญ์ ที่ 02 ก.ค. 19, 09:43
(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=7000.0;attach=71191;image)


แกมเฟอร์วาดทรงผมผู้ชายเหมือนในสมุดภาพไตรภูมิกรุงศรีอยุทธยา หมายเลข ๖ (ราวรัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาททองถึงสมเด็จพระนารายณ์) มากครับ



กระทู้: ข้อมูลประวัติศาสตร์ไทยสมัยอยุธยาจากหนังสือต้นฉบับของหมอเกมเฟอร์
เริ่มกระทู้โดย: ศรีสรรเพชญ์ ที่ 02 ก.ค. 19, 09:57
ส่วนทรงผมผู้หญิงที่ไว้ยาวประบ่า ผมหาไม่พบในสมุดภาพไตรภูมิกรุงศรีอยุทธยา หมายเลข ๖ พบแต่เกล้ามวยสูงเป็นส่วนใหญ่ หรือเกล้ามวยด้านข้าง หรือไว้ผมปีกแบบตัดสั้นรอบศีรษะเหมือนผู้ชาย

สันนิษฐานว่าผมยาวประบ่าอาจจะเป็นทรงผมที่เริ่มมีตั้งแต่ราวสมัยสมเด็จพระนารายณ์เป็นต้นมาครับ


จิตรกรรมวัดเกาะแก้วสุทธาราม สมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ พ.ศ. ๒๒๗๗
(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=3114.0;attach=8849;image)


จิตรกรรมสมุดภาพไตรภูมิกรุงธนบุรี ฉบับกรุงเบอร์ลิน


กระทู้: ข้อมูลประวัติศาสตร์ไทยสมัยอยุธยาจากหนังสือต้นฉบับของหมอเกมเฟอร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 02 ก.ค. 19, 10:01
ผู้ชายไว้ผมทรงหลักแจว หรือทรงมหาดไทยใช่ไหมคะ
แต่คงปั้นปลายปีกผมให้งอนขึ้น ด้วยสีผึ้ง
พอมาถึงรัตนโกสินทร์   ไม่งอนอีกแล้ว แต่ทรงยังอยู่


กระทู้: ข้อมูลประวัติศาสตร์ไทยสมัยอยุธยาจากหนังสือต้นฉบับของหมอเกมเฟอร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 02 ก.ค. 19, 10:02
ทรงหลักแจวหรือมหาดไทยสมัยรัตนโกสินทร์


กระทู้: ข้อมูลประวัติศาสตร์ไทยสมัยอยุธยาจากหนังสือต้นฉบับของหมอเกมเฟอร์
เริ่มกระทู้โดย: ศรีสรรเพชญ์ ที่ 02 ก.ค. 19, 10:21
สังเกตดูผมทรงมหาดไทยในจิตรกรรมสมัยอยุทธยาส่วนใหญ่ยังไม่ได้โกนผมรอบศีรษะออกหมดเหมือนที่นิยมในสมัยรัตนโกสินทร์ครับ เข้าใจว่าแค่ตัดให้สั้นเท่านั้น


แต่แบบไถข้างจนหมดก็มีอยู่ในสมุดภาพไตรภูมิกรุงศรีอยุทธยา หมายเลข ๖ สังเกตจากทรงผมของข้าราชการ (ตำรวจ?) ที่สวมครุยถือกระบี่และโล่ ด้านข้างศีรษะไถออกหมดจนเห็นเป็นศีรษะด้านข้างเป็นสีเทา  ต่างจากภาพอื่นที่ยังเป็นสีดำอยู่ครับ


กระทู้: ข้อมูลประวัติศาสตร์ไทยสมัยอยุธยาจากหนังสือต้นฉบับของหมอเกมเฟอร์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 02 ก.ค. 19, 15:49
ภาพลายเส้น "หญิงชาวสยามกับลูกชาย" จากหนังสือ "จดหมายเหตุ ลา ลูแบร์"


กระทู้: ข้อมูลประวัติศาสตร์ไทยสมัยอยุธยาจากหนังสือต้นฉบับของหมอเกมเฟอร์
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 02 ก.ค. 19, 16:03

ชาวสยาม ในรูปวาดจาก Boxer Codex  สมัยพระนเรศวรครับ


กระทู้: ข้อมูลประวัติศาสตร์ไทยสมัยอยุธยาจากหนังสือต้นฉบับของหมอเกมเฟอร์
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 02 ก.ค. 19, 16:11

จดหมายเหตุของโยส เซาเต็น
(สมัยพระเจ้าทรงธรรม-พระเจ้าปราสาททอง)

"ชาวสยามมีร่างกายสมส่วน ผิวค่อนข้างจะน้ำตาลระหว่างดำกับเหลือง ชาวสยามเป็นทหารที่ดีไม่ได้ แต่บางครั้งก็โหดร้ายทารุณกับพวกเชลยศึกเหมือนกัน ชาวสยามมีท่าทางหยิ่งจองหอง แต่เมื่อมีกิจธุระต้องติดต่อกันก็สุภาพเรียบร้อยและมีกิริยาอัชฌาสัย คนพวกนี้ชอบสนุก ตามธรรมชาติ เป็นคนขลาดขี้ระแวง มีนิสัยประจบ ชอบหลอกลวงและพูดไม่จริงอย่างที่สุด ชายชาวสยามมีนิสัยเกียจคร้านไม่ชอบทำงาน ดังนั้นงานการทั้งหลายทั้งปวง หญิงจึงต้องทำ ผู้หญิงที่นี่มีร่างกายแข็งแรง ความสวยงามนั้นปานกลาง งานในนาก็ดี หรือในบ้านก็ดี หญิงสยามทำด้วยความขยันขันแข็งอย่างยิ่ง และมักจะทำร่วมกับข้าทาสบริวาร ส่วนชายนั้นไม่ค่อยได้ทำอะไร นอกจากราชการงานทหารและก็ออกไปเดินเล่นหาความเพลิดเพลินเท่านั้น

ทั้งหญิงชายแต่งตัวด้วยผ้าผ่อนน้อยชิ้น เพราะประเทศนี้เป็นประเทศร้อน เขาชอบผ้าสีต่างๆ นุ่งสำหรับส่วนล่างของร่างกาย ส่วนบนนั้นชายใส่เสื้อชั้นในแขนครึ่งท่อน ส่วนหญิงนั้นมีผ้าบางๆ พาดไหล่หรือปิดหน้าอก บนศีรษะมักจะมีปิ่นทองปักผมไว้และสวมแหวนทองที่นิ้วมือ การแต่งกายเช่นนี้แต่งด้วยกันทั้งคนจนคนมีจึงยากที่จะดูว่าใครรวยใครจน นอกจากจะรู้ราคาชนิดผ้าที่นุ่งห่มนั้น วิธีสังเกตคนมั่งมีและมีอำนาจราชศักดิ์สังเกตได้ง่ายจากผู้คนในขบวนที่ห้อมล้อมเจ้านายของเขา ราษฎรสามัญเดินไปตามถนนมีข้าทาสคนหนึ่งหรือสองคนตามมา คนมั่งมีมีข้าทาสบริวารมากกว่านี้ ส่วนผู้ยิ่งใหญ่มีอำนาจราชศักดิ์มักจะมีบริวารติดตามมาด้วยถึง ๓๐ คน หรือมากกว่าก็มี"



กระทู้: ข้อมูลประวัติศาสตร์ไทยสมัยอยุธยาจากหนังสือต้นฉบับของหมอเกมเฟอร์
เริ่มกระทู้โดย: Naris ที่ 04 ก.ค. 19, 08:13
อ้างถึง
ชาวสยามมีร่างกายสมส่วน ผิวค่อนข้างจะน้ำตาลระหว่างดำกับเหลือง

เมื่อเร็วๆนี้ ดิสนีย์ ได้สร้างการ์ตูนอนิเมชั่น เรื่อง Amphibia ซึ่งมีนางเอกเป็นเด็กหญิงลูกครึ่ง ไทย-อเมริกัน ชื่อ แอน บุญช่วย (Anne Boonchuy) ซึ่งในความเห็นผมก็ออกแบบมาได้น่ารักดีครับ

ทว่า น้องแอน มีสีผิวที่ออกคล้ำ จึงมีประเด็นในโลกโซเชียลไปแล้วหนึ่งยกครับ 


กระทู้: ข้อมูลประวัติศาสตร์ไทยสมัยอยุธยาจากหนังสือต้นฉบับของหมอเกมเฟอร์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 12 ก.ค. 19, 11:35
https://www.youtube.com/watch?v=mFhe57-em6c


กระทู้: ข้อมูลประวัติศาสตร์ไทยสมัยอยุธยาจากหนังสือต้นฉบับของหมอเกมเฟอร์
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 19 ก.ค. 19, 11:22

หลังคาพระที่นั่งในพระราชวังอยุธยา วาดโดยแกมป์เฟอร์ 



กระทู้: ข้อมูลประวัติศาสตร์ไทยสมัยอยุธยาจากหนังสือต้นฉบับของหมอเกมเฟอร์
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 19 ก.ค. 19, 14:50

พระสังกัจจายน์ วัดพระยาพระคลัง



กระทู้: ข้อมูลประวัติศาสตร์ไทยสมัยอยุธยาจากหนังสือต้นฉบับของหมอเกมเฟอร์
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 19 ก.ค. 19, 15:10


"ตามกำแพงรอบกรุงศรีอยุทธยานั้น มีป้อมปืนใหญ่ น้อยยี่สิบสองป้อม มีประตูใหญ่มียอดทาแดงยี่สิบสามประตู มีประตูช่องกุฎหกสิบเอดประตู"

คำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม เอกสารจากหอหลวง

Moenia ita apparent  กำแพงเมืองที่แกมป์เฟอร์เห็นจากแม่น้ำ


กระทู้: ข้อมูลประวัติศาสตร์ไทยสมัยอยุธยาจากหนังสือต้นฉบับของหมอเกมเฟอร์
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 12 ส.ค. 19, 18:25

ประตูไชยเป็นประตูน้ำ

แผนที่ของเกมป์เฟอร์ให้รายละเอียดตำแหน่งประตูเมืองกรุงศรีอยุธยาด้านทิศใต้ไว้ค่อนข้างละเอียด
สามารถเทียบกับรายละเอียดในคำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรมได้เป็นอย่างดี
ทำให้เราสามารถระบุได้อย่างชัดเจนว่าประตูไชยเป็นประตูน้ำ
ไม่ใช่ประตูบกผ่านเข้าออกพระนครที่ส่วนใหญ่เป็นช่องกุต 

รายละเอียดชุดเดียวกันนี้สามารถนำไประบุสถานที่ในภาพวาดของวิงบูนส์ได้เช่นเดียวกัน


กระทู้: ข้อมูลประวัติศาสตร์ไทยสมัยอยุธยาจากหนังสือต้นฉบับของหมอเกมเฟอร์
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 12 ส.ค. 19, 18:50

เปรียบเทียบกำแพงเมืองอยุธยา  นครราชสีมา และ นครศรีธรรมราช


กระทู้: ข้อมูลประวัติศาสตร์ไทยสมัยอยุธยาจากหนังสือต้นฉบับของหมอเกมเฟอร์
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 28 ส.ค. 19, 18:31

ประตูชัยเป็นประตูน้ำ ท่าประตูชัยอยู่ด้านในแนวกำแพงเมืองอยุธยาด้านใต้
ติดปลายถนนมหารัถยาที่พุ่งตรงไปยังพระบรมมหาราชวัง


กระทู้: ข้อมูลประวัติศาสตร์ไทยสมัยอยุธยาจากหนังสือต้นฉบับของหมอเกมเฟอร์
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 28 ส.ค. 19, 18:43
ลงตำแหน่งท่าประตูไชย ในแผนที่แกมป์เฟอร์


กระทู้: ข้อมูลประวัติศาสตร์ไทยสมัยอยุธยาจากหนังสือต้นฉบับของหมอเกมเฟอร์
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 28 ส.ค. 19, 18:44

แถมเรื่อง ปทาคูจาม ปละท่าคูจาม อยู่ที่ไหน


กระทู้: ข้อมูลประวัติศาสตร์ไทยสมัยอยุธยาจากหนังสือต้นฉบับของหมอเกมเฟอร์
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 03 ก.ย. 19, 17:09

แผนที่จากข้อมูลของ de la Mare นายช่างฝรั่งเศส
คลองคูจาม เขียนว่า Petit Cocham
เปอตีคูจาม คือ ปทาคูจาม ?
ปทาคูจามจึงอยู่ฝั่งตรงข้ามประตูไชย หรือ บริเวณใกล้กับวัดพุทไธยสวรรค์

เมื่อมี Petit Cocham จึงต้องมี Grand Cocham
ซึ่งฝรั่งยกให้เป็นคลองลครไชยไป


กระทู้: ข้อมูลประวัติศาสตร์ไทยสมัยอยุธยาจากหนังสือต้นฉบับของหมอเกมเฟอร์
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 03 ก.ย. 19, 19:24

ปทาคูจาม​ = พุทไธยสวรรย์​ = บันทายฉมาร์​ = ป้อมเล็ก​ = เวียงเหล็ก


กระทู้: ข้อมูลประวัติศาสตร์ไทยสมัยอยุธยาจากหนังสือต้นฉบับของหมอเกมเฟอร์
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 05 ก.ย. 19, 12:06

   ๏ แถลงปางพลพ่าหไท้   เอารส ท่านนา
  นบนอบพระขอเชอญ   ช่วยป้อง
  แถลงปางท่านลาพรต   ครองราษฎร
  ทุกเทศทุกท้าวสร้อง   ส่วยถวาย ฯ
   ๏ ปางสร้างอาวาศแล้ว   ฤๅแสดง
  คือพุทไธสวรรยหมาย   ชื่อชี้
  ปางถกลกำแพงพระ   พิศณุโลกย แล้วแฮ
  อยู่ช่างพระเจ้าฟี้   เฟื่องบร ฯ

   ลิลิตยวนพ่าย


เรื่องชื่อปทาคูจามกับชื่อเขมรคงยังไม่จบง่าย ๆ ต้องเดากันต่อไปจนกว่าจะมีหลักฐานเพิ่ม

ปทา = บันทาย = พุทไธ = ป้อม = เวียง   ตรงนี้ไม่น่ามีปัญหาอะไร

ปทาคูจาม = ป้อมคูจาม                      ไม่มีปัญหา
พุทไธสวรรย์ = บันทายสร็วง  = ป้อมสูง   พอไปได้

บันทายฉมาร์ = ป้อมเล็ก                     แปลตรงตัว

ป้อมเล็ก = เวียงเล็ก = เวียงเหล็ก ?       ตรงนี้ต่างคนต่างสำนักท่านก็ว่ากันไป

บันทายฉมาร์ = ปทาคูจาม                  ตรงนี้เอาสีข้างเข้าถูอย่างเดียวไม่มีอะไรยืนยัน


กระทู้: ข้อมูลประวัติศาสตร์ไทยสมัยอยุธยาจากหนังสือต้นฉบับของหมอเกมเฟอร์
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 11 ก.ย. 19, 09:33

วัดเจ้าพระยาพระคลัง อยู่ทีใด ?


กระทู้: ข้อมูลประวัติศาสตร์ไทยสมัยอยุธยาจากหนังสือต้นฉบับของหมอเกมเฟอร์
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 11 ก.ย. 19, 15:56

แกมป์เฟอร์กล่าวถึงวัดพระคลัง เป็นสิ่งก่อสร้างที่น่าสนใจ อยู่ริมคลองนอกเกาะเมือง ทางทิศตะวันออก
ปัจจุบัน กรมศิลปากร กำหนดว่าวัดพระคลังคือ วัดสมณโกฏ คู่กับวัดกุฎีดาว
บางสำนักบอกว่าเป็นวัดประดู่คู่กับวัดโรงธรรม
เราลองพิจารณาดูว่าวัดพระยาพระคลังควรอยู่ที่ใด


กระทู้: ข้อมูลประวัติศาสตร์ไทยสมัยอยุธยาจากหนังสือต้นฉบับของหมอเกมเฟอร์
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 11 ก.ย. 19, 16:12

จากเอกสารและแผนที่ของแกมป์เฟอร์
1. วัดพระคลังอยู่ที่มุมบนขวาของสี่เหลี่ยม
    ที่ล้อมรอบด้วยแม่น้ำป่าสักด้านตะวันตก คลองข้าวเม่าด้านใต้ และคูเมืองอโยธยาเดิมด้านตะวันออก
2. ปากคลองด้านเหนือที่ผ่านวัด ไปออกแม่น้ำป่าสักเหนือแนวถนนน่าวังตรา
3. มีวัดสองแห่งริมคลองดังกล่าว มีแนวเจดีย์วางตัวในแนวเหนือ-ใต้
4. พระเพทราชา เสด็จไปร่วมพิธีศพของแม่ของพระคลัง (โกษาปาน) ที่วัดแห่งนี้

ตำแหน่งดังกล่าวควรจะเป็นวัดใดในปัจจุบัน


กระทู้: ข้อมูลประวัติศาสตร์ไทยสมัยอยุธยาจากหนังสือต้นฉบับของหมอเกมเฟอร์
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 15 ก.ย. 19, 18:26

เมื่อเราพิจารณาข้อมูลอย่างละเอียดก็จะพบว่า
สิ่งก่อสร้างและโบราณวัตถุที่แกมป์เฟอร์กล่าวถึง
ยังปรากฏให้เห็นในปัจจุบัน​อย่างน่าสนใจยิ่ง


กระทู้: ข้อมูลประวัติศาสตร์ไทยสมัยอยุธยาจากหนังสือต้นฉบับของหมอเกมเฟอร์
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 17 ก.ย. 19, 11:54

สิ่งก่อสร้างและโบราณวัตถุในวัดพระยาพระคลัง ยังปรากฏให้เห็นในปัจจุบัน
พระเจดีย์ พระปรางค์ และวิหาร
รวมทั้งรูปเคารพต่างๆ หลังจากเวลาผ่านไป 330 ปี
*เจอแล้ว*
 ;D


กระทู้: ข้อมูลประวัติศาสตร์ไทยสมัยอยุธยาจากหนังสือต้นฉบับของหมอเกมเฟอร์
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 24 ต.ค. 19, 10:26

ตำแหน่งที่ตั้งของวัดพระคลัง  Temple of Barkalon

จากแผนที่ของแกมเฟอร์ ระบุชัดเจนว่า วัดพระคลังอยู่ที่มุมตะวันออกเฉียงเหนือของพื้นที่สี่เหลี่ยม
ด้านทิศตะวันออกของเกาะเมือง ที่ล้อมรอบด้วย คูคลองสี่ด้านคือ
1. คลองด้านเหนือ (ตรงนี้กำหนดว่าเป็นคลองวัดเดิมก่อน ซึ่งจะได้อธิบายต่อไป)
2. คูขื่อหน้า/แม่น้ำป่าสัก ทางทิศตะวันตก
3. คลองข้าวเม่า หรือคลองบ้านบาตรด้านทิศใต้
4. คลองวัดกุฎีดาว ทางทิศตะวันออก

คู คลอง 2, 3 และ 4 ยังปรากฎให้เห็นในปัจจุบัน
เหลือแต่คลองหมายเลข 1 ที่ต้องระบุตำแหน่งต่อไป

เมื่อใช้เกณฑ์ตำแหน่งของวัดที่อยู่ติดกับคลอง หมายเลข 4 เพียงอย่างเดียว
จะมีตำแหน่งวัดพระคลังที่เป็นไปได้ คือตำแหน่งของวัดดังต่อไปนี้
ก. วัดดุสิดาราม  ข. วัดอโยธยา  ค. วัดโบสถ์ราชเดชะ ง. วัดจักรวรรดิ์
จ. วัดกุฎีดาว  ฉ. วัดสมณโกฏฐาราม

จากการเทียบภาพวาดของแกมป์เฟอร์ เราระบุได้ไม่ยากว่า "Another square"
วัดที่อยู่ติดกับวัดพระคลังคือ วัดเดิม หรือ วัดอโยธยา ในปัจจุบัน

ดังนั้น เราตัด ง. วัดจักรวรรดิ์ จ. วัดกุฎีดาว  ฉ. วัดสมณโกฏฐาราม ได้ว่าไม่ใช่ Temple of Barkalon
เหลือการวางตำแหน่งแนวคลองหมายเลข 1. ให้ถูกต้องก็จะสามารถระบุได้ว่า

วัดพระคลัง  Temple of Barkalon ในสมัยของแกมป์เฟอร์คือวัดดุสิดารามในปัจจุบัน



กระทู้: ข้อมูลประวัติศาสตร์ไทยสมัยอยุธยาจากหนังสือต้นฉบับของหมอเกมเฟอร์
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 25 ต.ค. 19, 10:46

วัดอโยธยา

ภาพพิมพ์จากหนังสือของแกมป์เฟอร์


กระทู้: ข้อมูลประวัติศาสตร์ไทยสมัยอยุธยาจากหนังสือต้นฉบับของหมอเกมเฟอร์
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 28 ต.ค. 19, 16:02
เจดีย์ ปรางค์ วัดอโยธยา กับภาพวาดของแกมป์เฟอร์


กระทู้: ข้อมูลประวัติศาสตร์ไทยสมัยอยุธยาจากหนังสือต้นฉบับของหมอเกมเฟอร์
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 28 ต.ค. 19, 16:05

ต่อไปเราจะดูว่า วัดพระคลัง หรือ วัดดุสิดารามในปัจจุบัน มีร่องรอยอะไรเหลืออยู่บ้าง


กระทู้: ข้อมูลประวัติศาสตร์ไทยสมัยอยุธยาจากหนังสือต้นฉบับของหมอเกมเฟอร์
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 18 พ.ย. 19, 15:50

ภาพวาดต้นฉบับ วัดพระคลัง โดยแกมป์เฟอร์


กระทู้: ข้อมูลประวัติศาสตร์ไทยสมัยอยุธยาจากหนังสือต้นฉบับของหมอเกมเฟอร์
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 18 พ.ย. 19, 15:51

ตำแหน่งวัดพระคลัง ตรงกับวัดดุสิดาราม ปัจจุบันมีเจดีย์ฐานแปดเหลี่ยม ยกฐานสูง รูปทรงคล้ายกับเจดีย์วัดใหญ่ไชยมงคล ปรากฏอยู่

แกมป์เฟอร์ระบุว่ามี Bacuss's idol และรอยเท้าศิลา ซึ่งปัจจุบันยังมีปรากฏให้เห็นได้
น่าจะเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจอีกแห่งหนึ่ง

ต่อไปจะไปดูว่า บางขดาน อยู่ที่ใดตามที่แกมป์เฟอร์ระบุในแผนที่



กระทู้: ข้อมูลประวัติศาสตร์ไทยสมัยอยุธยาจากหนังสือต้นฉบับของหมอเกมเฟอร์
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 16 ม.ค. 20, 11:09

ตำแหน่งของบางขดาน

     ๏ ชลธีปละปลั่งค้าง   ทางสินธุ์
     นาเวศนาวาวาง       วาดน้ำ
     ตกบางขดานดิน       สดือแม่
     ดลฤดูสั่งล้ำ             ไล่ชล

     ๏ ไล่ชลนาเวศแล้ว    เมือโรง
     อ่อนระทวยนวยกล    กึ่งก้ม
     เรียมพายระโงงโหง    หกอยู่
     เพราะเพื่อพลพายห้ม ห่มแรง

บางขดานเป็นสถานที่สำหรับพระราชพิธีฟันน้ำ ไล่ชล สมัยอยุธยา

มีตำแหน่งของสถานที่น่าสนใจที่แกมป์เฟอร์บันทึกไว้
  1. วัดภูเขาทอง (Phahkton temple)
  2. วัดพระคลัง (Berklam temple) + วัดเดิม
  3. วัดเจ้าพญาไทย (Tiampiatai)
  4. บ้านฮอลันดา (Holl.)
ุ  5. ขนอนภาษี (Canon custom house)
ุ  6. บางขดาน (Ban Kedan)
  7. บางปะอิน (Ban Tten ?)
  8. วัดสำหรับพระราชพิธีประจำปี (Templum annui sacrifiey)

คำถามคือตำแหน่งวัดหมายเลข 8 คือวัดอะไรและพระราชพิธีใด


กระทู้: ข้อมูลประวัติศาสตร์ไทยสมัยอยุธยาจากหนังสือต้นฉบับของหมอเกมเฟอร์
เริ่มกระทู้โดย: นโม ตสฺส ที่ 21 พ.ค. 20, 11:21
มีการสันนิษฐานว่าวัดพระยาพระคลังคือวัดประดู่และวัดโรงทาน (วัดโรงธรรม) โดยมีคลองวัดประดู่คั่นครับ

https://www.blockdit.com/articles/5ebe15cf70eebe0811c5f0ea?fbclid=IwAR2x_aeeYDtVl3QWb6HDABeR96jt_LJqLYDtJ1Z3W8G-51CzzyeLF8O49Z8


กระทู้: ข้อมูลประวัติศาสตร์ไทยสมัยอยุธยาจากหนังสือต้นฉบับของหมอเกมเฟอร์
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 21 พ.ค. 20, 13:32

จากแผนที่แนวคลองวัดเดิมก็ชัดเจนครับ

วัดพระคลังคือวัดดุสิดาราม คู่กับ วัดเดิมหรือวัดอโยธยา
จะเป็นอย่างอื่นยาก


กระทู้: ข้อมูลประวัติศาสตร์ไทยสมัยอยุธยาจากหนังสือต้นฉบับของหมอเกมเฟอร์
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 21 พ.ค. 20, 19:54

ในแผนที่แกมป์เฟอร์​ คลองทรายไหลลงคลองวัดเดิม​ ในคำให้การชาวกรุงเก่าก็ระบุตำแหน่งปากคลองวัดเดิม​ ไว้สอดคล้องกับแผนที่ฮอลันดา

ตัดเรื่องวัดประดู่ไปได้เลยครับ​ ไม่ใช่แน่นอน​ อีกอย่าง​ สิ่งก่อสร้างและโบราณวัตถุที่ระบุในหนังสือ
สามร้อยปีที่แล้วก็ยังหลงเหลือให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน
ท่านใดสนใจก็ไปดูได้ที่วัดอโยธยาและวัดดุสิดารามได้เลย​ ตรงนี้กรมศิลป์ท่านก็ยังว่าเป็นวัดสมณโกศอยู่ของท่านเหมือนเดิม


กระทู้: ข้อมูลประวัติศาสตร์ไทยสมัยอยุธยาจากหนังสือต้นฉบับของหมอเกมเฟอร์
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 09 มิ.ย. 20, 15:27

คลองวัดเดิมในแผนที่ต่าง ๆ

A. de la Loubere 1688
B. Kaempfer  1690
C. de la Mare 1687
D. พระยาโบราณราชธานินทร์



กระทู้: ข้อมูลประวัติศาสตร์ไทยสมัยอยุธยาจากหนังสือต้นฉบับของหมอเกมเฟอร์
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 09 มิ.ย. 20, 16:34

1.  ประตูน้ำคลองหอรัตนชัย
2.  ปากคลองวัดเดิม
3.  คลองทราย
4.  คลองวัดเดิม
5.  ทำนบรอ
6.  แม่น้ำลพบุรีสายเก่า


กระทู้: ข้อมูลประวัติศาสตร์ไทยสมัยอยุธยาจากหนังสือต้นฉบับของหมอเกมเฟอร์
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 09 มิ.ย. 20, 16:46

  "รัชกาลสมเด็จพระเจ้าอุทุมพร  ถึง ณ เดือน ๗ ขึ้น ๖ ค่ำ (จ.ศ. ๑๑๒๐ พ.ศ. ๒๓๐๑ )
จึงตั้งการพระราชพิธีปราบดาภิเษก ณ พระที่นั่งสรรเพ็ชญ์ปราสาท
กรมขุนอนุรักษ์มนตรีเสด็จไปอยู่ณพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์
ครั้น แรม เดือน ๗ เสด็จพระราชดำเนินไปถวายราชสมบัติแก่สมเด็จพระเชษฐาธิราชแล้ว
ถึงเดือน ๘ ข้างขึ้น ก็ เสด็จทรงเรือพระที่นั่งกิ่งเป็นกระบวนพยุหยาตรา ออกไปพระผนวชวัดเดิม แล้วเสด็จไปอยู่ ณ วัดประดู่"
 

พงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ ( เจิม )


(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=7000.0;attach=71812;image)


กระทู้: ข้อมูลประวัติศาสตร์ไทยสมัยอยุธยาจากหนังสือต้นฉบับของหมอเกมเฟอร์
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 09 มิ.ย. 20, 17:37

นอกจากเจดีย์ประธานที่เห็นเด่นชัด  และวิหารอันสวยงาม (ปัจจุบันเหลือแต่ฐานราก)
แกมป์เฟอร์บอกว่า วัดพระคลังมี Bacuss's idol และรอยเท้าศิลา

Bacuss's idol คือ พระสังกัจจายน์
รอยเท้าศิลา คือ รอยพระพุทธบาท

ท่านผู้สนใจลองไปสำรวจดูนะครับ ที่วัดดุสิดาราม อยู่ในศาลาเจ้าแม่ดุสิต ด้านหลังวัด


กระทู้: ข้อมูลประวัติศาสตร์ไทยสมัยอยุธยาจากหนังสือต้นฉบับของหมอเกมเฟอร์
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 09 มิ.ย. 20, 19:04

วัดพระคลัง หมายถึงพระคลังท่านใด

เนื่องจากโกษาปาน เพิ่งขึ้นเป็นออกญาพระคลัง ได้ไม่นานดังนั้นจึงมิใช่ผู้ปฏิสังขรณ์วัดนี้
นิโกลาส แชร์แวส์ เล่าว่า พระคลังคนเดิม (โกษาเหล็ก) เป็นผู้ปฏิสังขรณ์วัดแห่งหนึ่งที่ใหญ่โตและสวยงาม เมื่อเจ็ดแปดปีก่อน



กระทู้: ข้อมูลประวัติศาสตร์ไทยสมัยอยุธยาจากหนังสือต้นฉบับของหมอเกมเฟอร์
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 10 มิ.ย. 20, 11:25

รูปจากบทความของ Prof. Terwiel
พระสังกัจจายน์และรอยพระพุทธบาทยังมีให้เห็นที่วัดดุสิดาราม 


กระทู้: ข้อมูลประวัติศาสตร์ไทยสมัยอยุธยาจากหนังสือต้นฉบับของหมอเกมเฟอร์
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 14 ก.ค. 20, 16:03

อายุของเจ้าฝ่ายหน้า หลวงสรศักดิ์ พระเจ้าเสือ

ในหนังสือฉบับพิมพ์ ภาษาอังกฤษ ระบุว่า
".. .at present, in 1690, it is inhabited by the Prince Royal, who is twenty years of age."
"... ปัจจุบันในปี 1690 เป็นที่อาศัยของเจ้าอุปราช ผู้มีอายุยี่สิบปี"


เมื่อตรวจสอบกับต้นฉบับแล้วไม่พบว่า แกมป์เฟอร์ได้บันทึกอายุของพระอุปราชไว้
ดังนั้น ข้อมูลที่ว่าเจ้าอุปราชมีอายุยี่สิบปี อาจเป็นการแต่งเติมเพิ่มเข้ามาโดยการตีความของ J.G. Scheuchzer ผู้แปลภาษาอังกฤษเอง

ข้อมูลดังกล่าวนับว่าเป็นปัญหา และขัดกับหลักฐานร่วมสมัยอื่นๆ
ปัจจุบันนักประวัติศาสตร์นับว่าปีประสูตรของพระเจ้าเสือคือ พ.ศ. ๒๒๐๔ หรือ ค.ศ. 1661
ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลของ นิโกลาส์ แชร์แวส์ ที่บ่งชี้ว่าหลวงสรศักดิ์น่าจะมีอายุประมาณ สามสิบปีในเวลาดังกล่าว



กระทู้: ข้อมูลประวัติศาสตร์ไทยสมัยอยุธยาจากหนังสือต้นฉบับของหมอเกมเฟอร์
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 18 ส.ค. 20, 11:31

ในปี 1688 ลาลูแบร์ เขียนว่า

ในขณะที่เดินทางมาถึงนั้น พระสงฆ์ถูกจับสึกไปเยอะหลายพันรูปเพราะ สอบบาลีไม่ผ่าน
โดยออกหลวงสรศักดิ์ ชายหนุ่มผู้มีอายุยี่สิบแปดถึงสามสิบปี
บุตรชายของพระเพทราชา เจ้ากรมคชบาล
เป็นแม่กองสอบบาลี พระสงฆ์ฝ่ายคามวาสี

ดังนั้น ในปี 1690 เมือแกมป์เฟอร์เข้ามา พระอุปราชควรอายุประมาณสามสิบปี


กระทู้: ข้อมูลประวัติศาสตร์ไทยสมัยอยุธยาจากหนังสือต้นฉบับของหมอเกมเฟอร์
เริ่มกระทู้โดย: ประกอบ ที่ 19 ส.ค. 20, 13:51
พอดีเคยไปโหลดหนังสือ "ไทยในจดหมายเหตุแกมป์เฟอร์" มาจากเพจแห่งหนึ่งเมื่อนานมาแล้ว แปลและจัดพิมพ์โดยกรมศิลปากร ไม่มั่นใจเรื่องลิขสิทธิ์ แต่ใครสนใจลองโหลดไปอ่านได้ครับ

shorturl.at/jqP89 (http://shorturl.at/jqP89)