เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 36201 เจ้าหญิงนิทราในเมืองจีน - สุสานหญิงสูงศักดิ์ในราชวงศ์ฮั่น
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



 เมื่อ 05 ม.ค. 14, 20:54

ในเมืองจีน มีคำกล่าวว่า 南有马王堆‘东方睡美人’辛追夫人,北有老海州‘古墓丽影’美女凌惠平。 Nán yǒu mǎ wáng duī'dōngfāng shuì měirén'xīn zhuī fūrén, běi yǒu lǎo hǎi zhōu'gǔ mù lì yǐng'měinǚ línghuìpíng.

แปลเป็นไทยว่า ทางใต้มีท่านผู้หญิงซินจุยแห่งเนินอ๋องหม่า ทางเหนือมีหลิงฮุ่ยผิงคนงามของสุสานเมืองไหโจ่ว

สุภาพสตรีทั้งสองคนคือใคร และทำไมได้รับการยกย่องเช่นนี้

ภาพท่านผู้หญิงซินจุย 辛追夫人


บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 05 ม.ค. 14, 20:55

ภาพแม่นางหลิงฮุ่ยผิง


บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 05 ม.ค. 14, 21:16

ท่านผู้หญิงซินจุย (辛追夫人:Xīn zhuī fūrén) เป็นสุภาพสตรีบรรดาศักดิ์ยุคราชวงศ์ฮั่นผู้หนึ่ง ซึ่งชื่อเสียงเรียงนามไม่ปรากฎในประวัติศาสตร์ แต่การการที่ได้ค้นพบหลุมฝังศพของท่านผู้หญิงในปี ๑๙๗๒ เมืองฉางซา 长沙 มณฑลหูหนาน 湖南 ท่านภริยาของอัครเสนาบดีหลี่ซาง (利苍:Lì cāng) ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ร่วมต่อสู้สร้างแผ่นดินกับพระจักรพรรดิฮั่นเกาจู ภายหลังได้รับตำแหน่งอ๋องแห่งเมืองฉางซา  เนื่องด้วยสภาพศพของท่านผู้หญิงศพรักษาดีมากๆ ซึ่งอ่อนนุ่มขนาดที่ขยับข้อมือข้อเท้าศพได้ตามปรกติ ประหนึ่งพึ่งฝังได้ไม่กี่วันทำให้กลายเป็นมีชื่อเสียงโด่งดังทั่วโลก

สุสานที่พบนี้เป็นสุสานสามหลุมฝังรวมกันในที่เดียวกัน มีอายุ ๑๘๖ ปีก่อนคริสตกาล ศพที่ ได้แก่ ท่านอัครเสนาบดี ท่านผู้หญิง และบุตรชาย (สันนิษฐานว่าเป็นบุตรชายคนรอง) แต่เดิมคนในเมืองฉางซาก็เล่ากันแล้วว่าบริเวณนี้เป็นหลุมศพ กษัตริย์โบราณในเมืองฉางซา ในสมัยห้าราชวงศ์สิบอาณาจักร เป็นอ๋องแห่งแคว้นฉู่พระนามว่าหม่ายิน (楚王马殷 chu wáng mǎ yīn) และเรียกสืบกันมาว่า เนินอ๋องหม่า (马王堆:mǎ wáng duī) นอกจากนี้ยังมีเนินดินอีกเนินมีตำนานเล่าว่าเป็นที่ฝังพระศพของพระนางถังซื่อ (唐氏:táng shì) ผู้เป็นพระมารดาอ๋องแคว้นฉางซา ชื่อ หลิวฟา (刘发:liúfā ) และพระศพของพระสนมเฉิงซื่อ (程氏二姬:chéng shì èr jī)

ภาพสุสานและการค้นสุสานในสมัยนั้น



บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 05 ม.ค. 14, 21:18

สุสานที่พบนี้เป็นสุสานสามหลุมฝังรวมกันในที่เดียวกัน มีอายุ ๑๘๖ ปีก่อนคริสตกาล ศพที่ ได้แก่ ท่านอัครเสนาบดี ท่านผู้หญิง และบุตรชาย (สันนิษฐานว่าเป็นบุตรชายคนรอง) แต่เดิมคนในเมืองฉางซาก็เล่ากันแล้วว่าบริเวณนี้เป็นหลุมศพ กษัตริย์โบราณในเมืองฉางซา ในสมัยห้าราชวงศ์สิบอาณาจักร เป็นอ๋องแห่งแคว้นฉู่พระนามว่าหม่ายิน (楚王马殷 chu wáng mǎ yīn) และเรียกสืบกันมาว่า เนินอ๋องหม่า (马王堆:mǎ wáng duī) นอกจากนี้ยังมีเนินดินอีกเนินมีตำนานเล่าว่าเป็นที่ฝังพระศพของพระนางถังซื่อ (唐氏:táng shì) ผู้เป็นพระมารดาอ๋องแคว้นฉางซา ชื่อ หลิวฟา (刘发:liúfā ) และพระศพของพระสนมเฉิงซื่อ (程氏二姬:chéng shì èr jī)

สภาพหลุมศพคู่ของท่านผู้หญิง และท่านอ๋องผู้สามี


บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 05 ม.ค. 14, 21:25

ศพท่านผู้หญิงสันนิษฐานว่าน่าจะเสียชีวิตช่วงอายุประมาณ ๕๐ ปี ดูจากลักษณ์ร่างกายเคยมีบุตรมาแล้ว มีความสูงประมาณ ๑๕๐ เซนติเมตร จากการชันสูตร พบว่าท่านผู้หญิงสุขภาพไม่แข็งแรง แขนขวาเคยหักมาก่อน เป็นวัณโรคปอด ถุงน้ำดีผิดรูปแต่กำเนิด มีพยาธิหลายชนิดในร่างกาย นอกจากนี้พบว่าในท้องพบเมล็ดแตงหวานอยู่ ๑๓๘ เม็ด จึงสันนิษฐานว่าน่าจะเสียชีวิตขณะกินผลแตงในช่วงฤดูร้อน ซึ่งอาจจะกินมาเกินไป ทำให้ร่างกายเย็นจัด ส่งผลให้ทางเดินน้ำดีทำงานผิดปกติ ส่งผลให้กล้ามเนื้อกระตุก และหัวใจวายเฉียบพลัน




บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 05 ม.ค. 14, 21:29

การรักษาสภาพศพของท่านผู้หญิงดีมาก และทำซับซ้อน มีการห่อด้วยเสื้อผ้าสี่ฤดู ในโลงมีการใส่น้ำบางอย่างใสๆลงไปหล่อ นอกจากนี้โลงยังห่อหลายชั้นด้วยไม้ดำอย่างดี โลงชั้นนอกสุดทำเป็นพื้นที่กว้างสำหรับใส่ของรอบๆ ของที่ใส่ลงไปก็มีจำนวนมากมาย ตั้งแต่เครื่องเขิน อาหาร ตั้งแต่อาหารทะเลยันอาหารป่า เหล้าชนิดต่างๆ เครื่องเทศ ดังขิงหรือเมล็ดหมาล่า ผลไม้ ลูกท้อ ลูกสาลี่ รากบัวหั่นเป็นแว่นๆ ซึ่งของอย่างหลังนี้เมื่อเปิดจากหลุมดูสดใหม่มาก แต่เมื่อเจออากาศก็ย่อยสลายไป ทั้งยังมีตำรายา ตำราประวัติศาสตร์ ตำราขงจื้อ ผ้าไหม เสื้อผ้า เครื่องดนตรี ฯลฯ มากเกินจะบรรยาย

สภาพโลงศพและการวางของรอบๆโลง




บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 05 ม.ค. 14, 21:31

นอกจากจะเป็นโลงหลายชั้น รอบโลงยังใส่ห่อด้วยเสื่อ แล้วก็ถมรอบๆด้วยฐานไม้กว่า ๕ ตัน และรอบถ่านไม้ เป็นดินเหนียวอ่อนนุ่มสีขาว อัดแน่น ชนิดต้องใช้เครื่องมือเจาะถึงเจาะได้

ตระกูลของท่านผู้หญิงนี้นับว่ายิ่งใหญ่ด้วยสามีเป็นอ๋องประจำแดนไต้โฮ่ว (轪侯:Dài hóu) ต่อมีบุตรสองคน บุตรชายคนโตชื่อว่าลี่ซี่ (利豨:lì xī) ได้รับตำแหน่งต่อ การที่หลุมฝังศพของท่านผู้หญิงใหญ่โตถึงเพียงนี้ สันนิษฐานว่าน่าจะได้รับการซ่อมแซมภายหลังโดยรุ่นหลานชื่อว่าหลี่ ฝู (利扶:Lì fú) ภายหลังตำแหน่งนี้สูญหายไปด้วยรุ่นหลานคนหนึ่งที่ได้รับตำแหน่งประมุขตระกูลตำผิด จึงถูกระงับการสืบทอดตำแหน่ง

สภาพโลงชั้นใน และข้าวของที่ขุดพบ




บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 05 ม.ค. 14, 21:47

ต่อมาในปี ๒๐๐๒ ณ เมืองเหลียนหยุนกัง 连云港 มณฑลเจียงซู 江苏 เป็นโลงศพเรียงกันสี่โลงในหนึ่งหลุม ทำจากไม้ดำเนื้อดี สันนิษฐานว่าเป็นการฝังศพรวมกันของคนในครอบครัวเดียวกันตามธรรมเนียมจีน (นึกไม่ออกใครเคยไปไหว้เจ้าแล้วสุสานอากงกับอามารวมกันในหลุมเดียวก็อย่างนั้นแหละ)

สามโลงแรกเปิดมาไม่มีอะไร ศพผุพังไปหมดแล้ว แต่ที่ชวนตะลึงคือหลุมที่สองกลับมีศพสภาพสมบูรณไม่เน่าเปื่อยอยู่ เป็นศพสตรีอายุประมาณ ๔๐ ปี ความสูง ๑๖๐ เซ็นติเมตร สภาพศพดีมาก สันนิษฐานว่าอายุผ่านมาถึง ๒๐๐๐ ปีแล้ว พบของฝังรวมในสุสาน ๘๑ ชิ้น เหมือนกับเป็นสุสานท่านผู้หญิงซินจุย 

ภาพขณะทำการขุดค้น



บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 05 ม.ค. 14, 21:53

หลุมศพใหม่ที่พบนี้ หลังจากตรวจสอบหลักฐานของที่ฝั่งรวมกับศพที่พึ่งพบ สันนิษฐานว่าเธอน่าจะอยู่ในตระกูลสูง ที่ตกต่ำลงไปแล้ว หรือไม่ก็อาจจะเกิดทุกภิขภัยอันใด ไม่ก็สงครามทำให้รีบร้อนฝังศพ โดยไม่ได้ใส่อะไรลงไปมากมาย เพราะของฝั่งด้วยไม่ค่อยหรูหรา

แม้ของจะไม่ได้หรูหรา แต่ว่าเป็นของชั้นดีตามคนมีบรรดาศักดิ์สูง ภายหลังพบตราประทับเล็กๆรูปเต่าทำจากทองแดงในโลงศพของเธอ เมื่อพิมพ์ออกมาได้ชื่อของเธอเขียนว่า หลิง ซื่อ ฮุ่ย ผิง (凌氏惠平:Líng shì huì píng) ทำให้สันนิษฐานได้ว่าเธอน่าจะมีชื่อว่า หลิงฮุ่ยผิง ในยุคราชวงศ์ฮั่นคนจะมีตราประทับเช่นนี้ได้ต้องมีบรรดาศักดิ์ อย่างน้อย ๓๐๐ - ๒๐๐๐ ซื่อ ตามลำดับศักดินาจีน ปรกติแล้วสตรีไม่น่าจะมีตราประทับเช่นนี้ได้ แต่ว่าอาจะเป็นไปได้ว่าเธอจะได้รับบรรดาศักดิ์เช่นเดียวกับสามี

โลงใหญ่ที่ฝังติดกันสันนิษฐานว่าเป็นโลงของสามีเธอ มีชื่อติดว่า "ตงกง" (东公:dong gong) แปลแบบไทยๆคงได้อารมณ์ว่าพระยาบูรพา ทั้งมีรายชื่อขุนนางมาร่วมงานศพด้วย ตำแหน่งผู้มาร่วมพิธีศพเช่น ตงไฮ่ไท่โซ่ว 东海太守 เหอหนานไท่โซว่ 河南太守 ตำแหน่งไท่โซว่นี้ถือเป็นตำแหน่งเจ้าเมืองในยุคราชวงศ์ฮั่น มีอำนาจมาก จึงสันนิษฐานได้ว่าสามีของเธอน่าจะมีศักดิ์เป็นเจ้าเมืองขึ้นไป

ภาพสิ่งของที่พบในสุสาน



บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 05 ม.ค. 14, 21:54

นักวิทยาศาสตร์ค้นคว้ากันสุดกำลังว่าทำไมว่าไม่เน่าเปื่อย ศพแรกที่เคยค้นพบที่เมืองฉางซา มณฑลหูหนาน อยู่ได้ด้วยน้ำที่หล่อไว้ในโลง ซึ่งมีฤทธิ์เป็นกรดแบบฟอร์มาลีน และอยู่ในโลงที่ปิดแน่น ทำให้แบททีเรียไม่เจริญเติมโต ศพนี้มีน้ำหล่อเช่นกัน แต่ว่าน้ำที่หล่อเป็นน้ำที่ไม่มีฤทธิ์เป็นกรดทำลายแบททีเรีย แต่เป็นน้ำที่ช่วยให้จุลินซีเจริญเติบโตได้ เขาเลยสันนิษฐานไว้ก่อนว่า บางทีมันอาจจะฆ่าแบคทีเรียที่ทำให้ศพเน่า แต่ส่งเสริมให้จุลินซีที่รักษาศพอยู่ เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ศพไม่เน่า

แต่ก็ค้นคว้าต่อไปถึงปัจจัยอื่นๆอีก

เมื่อมีการตรวจสอบสภาพศพต่อ พบว่าอวัยวะภายในต่างๆยังอยู่ดีใน ตำแหน่งเดิม แต่มีข้อสังเกตุว่า อาหารในท้องเธอน้อยมาก เหมือนก่อนเสียชีวิตไม่น่าจะกินอะไรมาหลายวัน นอกจากนี้ร่างด้านขวาดูผอมกว่าด้านซ้าย ตลอดจนขาสองข้างไม่เสมอกัน รวมถึงที่ช่องท้องมีร่องรอยคล้ายรอยแตก นอกจากนี้ปากเธอยังอ้าปากค้าง ซึ่งไม่ใช่เรื่องปรกติของศพคนตายแบบปรกติที่จะต้องหุบปาก เว้นเสียแต่จะเจ็บปวดมาก หรือตกใจมากๆก่อนตาย

เธอจะตายด้วยเหตุผลกลใดไม่รู้ แต่บางทีมีการสันนิษฐานว่า เธออาจจะถูกฝังทั้งเป็น

สภาพศพในโลง



บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 05 ม.ค. 14, 22:00

การฆ่าใครเพื่อฝังตามลงไปรับใช้ในยมโลก ไม่ใช่เรื่องที่คนราชวงศ์ฮั่นนิยมทำกัน (แต่ก่อนยุคราชวงศ์ฮั่นนะชอบ) และปรกติแล้วไม่นิยมฝังทั้งเป็น นิยมฆ่าให้ตายก่อน ถ้าจะนำไปฝังร่วม ด้วยเหตุนี้จึงสันนิษฐานไว้ดังนี้

สตรีผู้นี้เป็นสตรีบรรดาศักดิ์สูง เกิดล้มป่วยในฤดูหนาวอันหนาวเหน็บ กินอะไรไม่ลง สุดท้าย ก็สลบไป แน่นิ่ง เหมือนคนตาย คนในบ้านปลุกเท่าไรก็ไม่ตื่น จนหลายคนคิดว่าเธอตาย จึงนำเธอไปใส่โลงปิดผนึกไว้

ต่อมาเธออาจจฟื้นขึ้นกลางโลง แต่เมื่อพื้นขึ้นมาก็พบว่าตัวเองถูกขังในโลกเสียแล้ว ดังนั้นจึงพยายามตะโกนร้องให้ช่วย และสูดหายใจ สุดท้ายก็เสียชีวิตในโลง ทำให้สภาพศพอ้าปากค้าง

อย่างไรก็ตาม การที่เธอหายใจก่อนตาย ทำให้ออกซิเจนในโลงหมดไปสนิท จุลินซีอะไรเลยไม่ทำงาน แถมในท้องก็ไม่มีอาหารที่จะช่วยให้เน่าเปื่อย ดังนั้นจึงช่วยรักษาสภาพศพเธอไว้อย่างดี ประกอบกับโลงก็แน่นหนา ทำจากไม้ดำชั้นดี

เรื่องนี้จริงหรือไม่ข้าพเจ้าไม่ทราบ แต่บางคนคิดว่าเธอน่าจะเสียชีวิตอย่างปรกติ ไม่เช่นนั้นท่าทางในโลงคงไม่ใช่นอนนิ่งๆ การที่ศพยังมีสภาพดี อาจเพราะฝังไว้ช่วงฤดูหนาว ประกอบกับการรักษาศพ ทำให้ศพเธอไม่เน่าเปื่อย การที่ศพอ้าปากค้าง นักวิทยาศาสตร์จีนสันนิษฐานหลายประการ อาจเป็นเพราะเจ็บป่วยหนัก หรือเจ็บปวดหนักก่อนตาย กระทั่งตกใจก่อนตายก็เป็นได้

ภาพนักวิทยาศาสตร์กำลังชันสูตร


บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 05 ม.ค. 14, 22:08

การค้นพบสุสานของหลิงฮุ่ยผิง นับว่าน่าตื่นเต้น และเป็นเรื่องลึกลับซับซ้อนพอๆยิ่งกว่าสุสานราชวงศ์ฮั่นของท่านผู้หญิงชินจุนที่เคยพบ เพราะสภาพการรักษาศพไม่น่าจะดีเท่า แต่ทำไมถึงรักษาได้ดีถึงเพียงนี ด้วยการรักษาดีมากมายหลายชั้นทำให้ศพศพของท่านผู้หญิงซินจุยไม่เน่าเปื่อยนับว่าไม่น่าแปลกใจเท่าไรนัก แต่ขณะที่ของหลิงฮุ่ยผิงนี้ไม่ควรจะรักษาได้ดีถึงเพียงนี้เลย แม้ข้าวของทางโบราณคดีอาจจะมีไม่มาก แต่ว่าเรื่องทางวิทยาศาสตร์และเรื่องราวของเธอนับว่าน่าสนใจ

ถือได้ว่าการค้นพบหลุมฝังศพเหล่านี้ เป็นการบอกเล่าเรื่องราวสมัยราชวงศ์ฮั่นได้อย่างดี ว่าคนเมื่อ ๒๐๐๐ ปีก่อนมีชีวิตอย่างไร

ภาพรูปจำลองท่านผู้หญิงชินจุย และภาพรูปจำลองแม่นางหลิงฮุ่ยผิงขณะที่ทั้งสองยังมีชีวิตอยู่



บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 05 ม.ค. 14, 22:17

ที่มา

http://baike.baidu.com/link?url=7FMhS_Zw7iJOwTZ4E7C489aiMqFCCuttV2PlbIWMdI2iO2dmXPTMBV4klIYtwFPViTYrfaw6vOrGr6Tjx9cPLa

http://baike.baidu.com/link?url=PScpNJr43opSNLnGCJzAZd1v3an1i6om0a2dGghZcEq5bSVCAA7hpvkotiCJb3mNs-Skdxgvst67xsKJpGkFfq

http://www.yiyuanyi.org/a/ls/kg/2009/1229/34970.html
บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 06 ม.ค. 14, 02:03

เคยดูสารคดีของแม่นางซินจุยยังรู้สึกประทับใจจนถึงตอนนี้ นี่ถ้าคุณ han-bing ไม่มาเล่าไว้ คงไม่รู้ว่ายังมีศพไม่เน่าของแม่นางหลิงฮุ่ยผิงด้วย
บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 06 ม.ค. 14, 08:21

เคยดูสารคดีชิ้นนี้ทึ่งในความสามารถรักษาดองศพให้นุ่ม ไม่แข็งเหมือนมัมมี่ทางอียิปต์ได้ ไม่ใช่รายนี้รายเดียว แต่ก็พบอีกรายเป็นชาย

ศพของนาง นักโบราณคดีคาดว่าเป็นเจ้าเมืองสตรี เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจกระทันหัน เพราะอ้วน นางเสียชีวิตในขณะมีงานเลี้ยงเพราะว่าพบเมล็ดแตงโมในกระเพาะหาร

ส่วนชื่อของนางนั้น พบว่า มีการหยอดชิ้นลูกเต๋า จารึกชื่อไว้พบอยู่ในลำคอของนางทำให้ทราบว่า นางชื่อ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.069 วินาที กับ 19 คำสั่ง