เรือนไทย

General Category => ภาษาวรรณคดี => ข้อความที่เริ่มโดย: CrazyHOrse ที่ 09 เม.ย. 07, 16:15



กระทู้: เจือง
เริ่มกระทู้โดย: CrazyHOrse ที่ 09 เม.ย. 07, 16:15
มีวรรณคดีโบราณสำคัญของคนตระกูลไทอยู่เรื่องหนึ่งคือ ท้าวฮุ่ง หรือ เจือง หรือ ขุนเจือง

ชื่อ เจือง นี้น่าสนใจ เพราะเป็นคำที่มีใช้กันแพร่หลายในหลายชนชาติในภูมิภาคนี้

ในขณะที่ทางล้านช้าง เรียกว่า เจือง
เวียดนาม ใช้คำว่า เจื๋อง (trưởng - ออกเสียงลากจากเสียงเอกไปจบที่เสียงจัตวา) ในความหมายว่า หัวหน้า, ผู้เป็นใหญ่
และเป็นคำเดียวกับคำจีนว่า 長 ซึ่งจีนแต้จิ๋วออกเสียงว่า เจี้ยง (คำนี้ออกเสียงได้หลายอย่างและมีหลายความหมาย แต่ในความหมายว่า ผู้เป็นใหญ่ ต้องออกเสียงอย่างนี้ครับ)
และจีนกลางออกเสียงว่า จ่าง ครับ


กระทู้: เจือง
เริ่มกระทู้โดย: ศศิศ ที่ 10 เม.ย. 07, 22:37
ถือว่า "ขุนเจื๋อง" เป็นบุคคลที่สำคัญในแถบลุ่มน้ำของ

โดยชาวไทลื้อ ถือว่า บรรดาเจ้าฟ้าหอคำเมืองเชียงรุ่ง สืบสายมาจากขุนเจื๋อง

และทางล้านนา เรียกเดือนแรก ว่าเดือนเกี๋ยง ก็เกี่ยวกับขุนเจื๋องด้วย

แต่ก่อน สระเอือ ไม่มีในแถบนี้ แต่อาจจะออกเป็น สระเออ ไปในกลุ่มลื้อ และสระเอีย ในกลุ่มดินแดนที่เป็นล้านนา

จากเจื๋อง กลายเป็น เจี๋ยง

บางทีก็เรียกว่า เดือนเจี๋ยง  แล้วจึงกลายเสียงมาเป็นเดือนเกี๋ยง

แต่ไทลื้อ ไทใหญ่ ออกเสียงว่า เดิน(เหลิน)เจ๋ง



กระทู้: เจือง
เริ่มกระทู้โดย: CrazyHOrse ที่ 10 เม.ย. 07, 23:53
เจืองยังถูกเอามาใช้ในอีกความหมายหนึ่งคือ ผีบุญ

น่าจะราวๆช่วงร.๓ ที่มีกบฎผีบุญทางภาคอีสาน ทางกรุงเทพฯเรียกการกระทำนี้ว่า ทำเจือง

นัยว่าหัวหน้าผู้ก่อการอ้างตัวเป็นขุนเจืองมาเกิดครับ


กระทู้: เจือง
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 01 เม.ย. 24, 13:35
เจือง ในภาษาอีวาน แปลว่า จอม เจ้า ยอดเยี่ยม เป็นเอก คนผู้มีอำนาจวาสนาบารมีแผ่ปกไปทั่วสารทิศ เรียก เจื่อง เจือง ก็ว่า อย่างว่า ธรรม์ยำเจืองเจื่องเมืองเลยต้าน ดาความให้ถามผีด้ำใหญ่ หอช่อฟ้าเฮือนฮ้านฮ่มขวาง (ฮุ่ง).

จาก พจนานุกรมภาษาอีสาน (https://esan108.com/dict/view/เจือง) โดย ดร.ปรีชา พิณทอง