เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 8
  พิมพ์  
อ่าน: 59069 ราชาศัพท์ที่แปลว่า "ถึงแก่กรรม"
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 60  เมื่อ 22 ก.พ. 06, 16:13

 แก้ม เคยเห็นว่าพระปราง แต่กระพุ้งแก้มว่า พระกำโบล นี่เพิ่งเคยได้ยินเหมือนกันครับ
บันทึกการเข้า
UP
แขกเรือน
องคต
*****
ตอบ: 516


ความคิดเห็นที่ 61  เมื่อ 22 ก.พ. 06, 16:29

 แหม คุณเทาชมพูก็ให้ผมเฉลยคำนี้จนได้ หากผมจำความหมายของพระจูจุกะไม่ผิดนะครับ เพราะตอนนี้หนังสือเล่มนั้นไม่อยู่ในมือ



"พระจูจุกะ" นั้นเป็น subset ของพระปโยธรครับ ที่ผมเคยได้ยินครูบาอาจารย์หรือผู้หลักผู้ใหญ่ท่านเรียกอวัยวะส่วนนี้ ท่านจะเรียกว่า "ยอดพระถัน" ..เท่านี้ท่านทั้งหลายก็คงทราบแล้วว่าคืออะไร



ส่วน "พระปโยธร" นั้น ผมถนัดใช้ว่า "พระถัน" จะเข้าใจและคุ้นเคยกับคนไทยกว่ามาก "ถัน" นั้นฟังดูเป็นปทุมถันเต้านมอย่างนางในวรรณคดีไทยที่เรารู้จัก ส่วน "ปโยธร" นั้นชวนให้ผมนึกไปถึงนมนางในมหากาพย์ของแขกอินเดีย จำพวกมหาภารตะโน่น



"รก" นั้นก็ใช้กันมาว่า "พระสกุน" พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานก็เก็บคำว่าพระสกุนไว้ พิธีเวลาพระราชกุมารหรือพระราชกุมารีประสูติ ก็มี การฝังพระสกุน แล้วปลูกต้นไม้มีหนามทับ ไม่เคยได้ยินว่าพิธีฝังพระครรภมลสักที "ครรภมล" ฟังดูเหมือนท้องสกปรกยังไงไม่ทราบ



เอ..หรือว่า "ครรภมล" มีมารากมาจากคำว่า "สกปรก 'รก' รุงรัง --มล" ใน "ท้อง --ครรภ" ก็ไม่ทราบ ...อย่าถือเป็นสาระนะครับ ผมพูดไปเรื่อยเปื่อย
บันทึกการเข้า
UP
แขกเรือน
องคต
*****
ตอบ: 516


ความคิดเห็นที่ 62  เมื่อ 22 ก.พ. 06, 16:38

 ส่วน "พระผาสุกะ" เห็นแล้วก็นึกไปถึงคำว่า "ผาสุก" ไม่ทราบว่ามีเทือกเถาเหล่ากอของคำที่เกี่ยวข้องกันหรือไม่

ขออำนวยพรให้ท่านประสบแต่ความผาสุก จะกลายเป็นอวยพรให้ท่านได้รับประทาน BBQ Ribs หรือจะอวยพรให้ท่านพ้นจากภัยซี่โครงเดาะหรือไม่ ไม่ขอยืนยันครับ

วันนี้ ผมเพ้อเจ้ออีกแล้วครับ สงสัยจะผมง่วงมากแล้ว
บันทึกการเข้า
โกยถ่าน
อสุรผัด
*
ตอบ: 1


ความคิดเห็นที่ 63  เมื่อ 23 ก.พ. 06, 04:04

 ขอถามอีกคำนะครับ

คำว่า "สมรภูมิ" มาจากการสนธิของคำใดเหรอครับ

เท่าที่คิด น่าจะมาจาก "สมร"+"ภูมิ"

ซึ่งคำแปลที่ได้มันไม่ค่อยจะตรงกับความหมายที่ใช้ในปัจจุบันเอาซะเลย (สมร=ผู้หญิง!?!)
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33596

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 64  เมื่อ 23 ก.พ. 06, 07:08

 ส = ร่วม
มร = ตาย (อย่างที่เราใช้คำว่า มรณะ)

สมรภูมิ =  พื้นที่ของผู้ตายร่วมกัน

คนละคำกับคำว่า สมร  ที่แปลว่าผู้หญิง ค่ะ
บันทึกการเข้า
B
แขกเรือน
ชมพูพาน
***
ตอบ: 148


ความคิดเห็นที่ 65  เมื่อ 23 ก.พ. 06, 07:49

 แฮ่ะ อาจารย์คะ ตอนแรกหนูคิดว่าใช้ สมรภูมิ เพราะผู้หญิงชอบชวนทะเลาะเสียอีกแน่ะค่ะ  

คำราชาศัพท์ที่อาจารย์ยกมา ทำเอาหนูมึนตึ้บค่ะ หนูกำลังสงสัยว่ามีกี่คนกันนะที่ทราบความหมายและนำมาใช้ได้ถูกต้องนะคะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33596

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 66  เมื่อ 23 ก.พ. 06, 10:55

 ไม่อยากให้คุณ B และท่านอื่นๆมึนตึ้บกว่านี้   แต่ไหนๆก็ไหนๆ

คำต่อไปนี้ดิฉันเคยเรียนมาว่า เป็น "คำสุภาพ " แต่ในหนังสือของคณะกรรมการเอกลักษณ์ รวมเป็นราชาศัพท์ ไปด้วย
คำว่า "ราชาศัพท์ " เลยมีความหมายกว้างขวางมาก  แทบจะครอบจักรวาล
แม้แต่คำเรียกสัตว์ และพืช ก็มีราชาศัพท์(ด้วยแฮะ)
จัดอยู่ในหมวด ที่ 6 สัตว์และเบ็ดเตล็ด

ลองอ่านดูนะคะ  ราชาศัพท์หมวดสัตว์และพืช
กระบือ
กล้วยสั้น
กล้วยเปลือกบาง  กล้วยกระ
ขนมดอกเหล็ก  ขนมทราย
ขนมสอดไส้

ดอกขจร
ดอกมณฑาขาว
ดอกสามหาว
ดอกเหล็ก

ต้นจะเกรง
ต้นอเนกคุณ
ถั่วเพาะ

ปลายาว
ปลามัจฉะ

ผลอุลิต
ผักรู้นอน
เห็ดปลวก

ใคร (ยกเว้นคุณ UP) รู้บ้างว่าแปลว่าอะไร
บันทึกการเข้า
B
แขกเรือน
ชมพูพาน
***
ตอบ: 148


ความคิดเห็นที่ 67  เมื่อ 23 ก.พ. 06, 11:06

 กระบือ-ควาย
กล้วยสั้น-กล้วยไข่
กล้วยเปลือกบาง กล้วยกระ
ขนมดอกเหล็ก ขนมทราย-ขนมขี้หนู
ขนมสอดไส้-ขนมใส่ไส้

ดอกขจร
ดอกมณฑาขาว
ดอกสามหาว-ผักตบ
ดอกเหล็ก-ขี้เหล็ก

ต้นจะเกรง
ต้นอเนกคุณ
ถั่วเพาะ-ถั่วงอก

ปลายาว-ปลาไหล
ปลามัจฉะ

ผลอุลิต-แตงโม
ผักรู้นอน-ผักกระเฉด
เห็ดปลวก

คำที่เว้นไว้ไม่ตอบ เพราะเดาไม่ถูกจริงๆค่ะ
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 68  เมื่อ 23 ก.พ. 06, 11:19

 กระบือ     = ควาย
กล้วยสั้น = กล้วยกุ
กล้วยเปลือกบาง กล้วยกระ=กล้วยไข่
ขนมดอกเหล็ก ขนมทราย = ขนมขี้หนู
ขนมสอดไส้ =ขนมใส่ไส้

ดอกขจร=ดอกสลิด
ดอกมณฑาขาว=ดอกยี่หุบ
ดอกสามหาว=ผักตบชวา
ดอกเหล็ก=ดอกขี้เหล็ก



ต้นจะเกรง=?
ต้นอเนกคุณ=ต้นตำแย
ถั่วเพาะ=ถั่วงอก

ปลายาว=ปลาไหล
ปลามัจฉะ=ปลาร้า

ผลอุลิต=แตงโม
ผักรู้นอน=ผักกระเฉด
เห็ดปลวก=เห็ดโคน
บันทึกการเข้า
UP
แขกเรือน
องคต
*****
ตอบ: 516


ความคิดเห็นที่ 69  เมื่อ 23 ก.พ. 06, 15:33

 ขอนอกเรื่องอีกนิดเถิดครับ

คำว่า "อเนกคุณ" ที่แปลว่าตำแย นั้นชวนให้ผมคิดไปถึงเรื่องเล่าจากคณะกรรมการที่คิดชื่อเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลใหม่ล่าสุด คือเครื่องราชอิสริยาภรณ์ดิเรกคุณาภรณ์

ว่ากันว่ามีผู้เสนอชื่อสำหรับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลใหม่นี้หลายชื่อ เช่น เครื่องราชอิสริยาภรณ์พระครุฑพ่าห์ ฯลฯ และหนึ่งในจำนวนนั้นคือ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ "อเนกคุณาภรณ์" ฟังดูไพเราะดีใช่มั้ยครับ อาภรณ์แห่งผู้ทรงคุณความดีอย่างมาก

แต่มีผู้หลักผู้ใหญ่ท่านหนึ่งทักขึ้นว่า "อเนกคุณ" นั้นคือต้นตำแย เกรงว่าผู้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลนี้จะไม่สะดวกใจนัก เกรงจะคัน จึงเป็นอันระงับชื่อนี้ไป

ในที่สุด ด้วยพระราชอัจฉริยภาพอันวิเศษ ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่ง "ดิเรกคุณาภรณ์" มีความหมาย แถมเสียงของคำก็ไพเราะ ที่สำคัญคือไม่มีความหมายนัยแฝงใดๆ ให้ชวนคิดอย่าง "อเนกคุณ" อีกด้วย
บันทึกการเข้า
UP
แขกเรือน
องคต
*****
ตอบ: 516


ความคิดเห็นที่ 70  เมื่อ 23 ก.พ. 06, 15:37

 อ้อ...ศิลปินแห่งชาติทุกท่านได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ด้วย

มั่นใจว่าผู้เมตตาให้ความรู้ในเรือนไทยนี้บางท่านคงรู้จักเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลนี้เป็นอย่างดี และเคยได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้เป็นเกียรติยศแล้ว
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33596

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 71  เมื่อ 23 ก.พ. 06, 16:12

ผู้ใหญ่ท่านที่ท้วงคำว่า อเนกคุณาภรณ์ เป็นท่านที่จำราชาศัพท์ได้แม่นยำมาก

บันทึกการเข้า
เจ้าพระยายุทธาวุฒิ
อสุรผัด
*
ตอบ: 3

โรงเรียนมัธยมสาธิตวัดพระศรีมหาธาตุ มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร


ความคิดเห็นที่ 72  เมื่อ 24 ก.พ. 06, 13:12

 สวัสดีครับ ผมเป็นน้องใหม่ของที่นีครับ ขอฝากเนื้อฝากตัวด้วยคร้าบ
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 73  เมื่อ 24 ก.พ. 06, 18:49

 เทพบุตร "จุติ" ลงมาเกิด
อยากให้คนมีบุญ "จุติ" ลงมาในครรภ์

อยากทราบว่าในบริบทของสองประโยคข้างต้น ต้องการคำว่า "ตาย" หรือไม่คะ เหตุใดจึงไม่ใช้ว่า
อยากให้เทวดาลงมาเกิด แต่ต้องไปย้ำว่าตายก่อน แล้วค่อยมา
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33596

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 74  เมื่อ 25 ก.พ. 06, 09:50

 คำว่า "จุติ" เคยอธิบายไว้ในกระทู้ใดกระทู้หนึ่งก่อนหน้านี้แล้ว

ความหมายเป็นยังงี้ค่ะ
ก่อนลงมา "เกิด" เป็นมนุษย์  เทวดาต้อง "ตาย" ซะก่อน  

จุติคือการเปลี่ยนสภาพอย่างหนึ่งไปเป็นอีกอย่าง  ก็คือ "ตาย"น่ะค่ะพูดง่ายๆ
ใช้กับเทวดา ไม่ใช้กับมนุษย์หรือสัตว์

เทวดาจุติลงมาเกิด คือเทวดาองค์นั้น"ตาย" จากความเป็นเทวดาซะก่อน
ผ่านขั้นตอนนี้แล้วจึงมา" เกิด " ในท้องของแม่คนใดคนหนึ่งบนโลกมนุษย์

ประโยคที่สอง ที่คุณนุชนายกมา  มักใช้กันผิดๆ เพราะนึกว่าจุติแปลว่า "ลงมาเกิด"  ที่จริงความหมายคือ "ตาย" ก่อนจะลงมาเกิด

คุณนุชนาเคยดู Star Trek ไหมคะ   เวลากัปตันหรือลูกเรือบนยานเอนเทอไพรซ์เขาจะลงไปสำรวจดาวดวงไหน เขาก็เดินเข้าไปในเครื่องแปลงสสารร่างกาย
ตัวเขาก็วูบหายจากเครื่อง แล้วมา...วู้บบบ.. ใหม่ สสารก็รวมตัวกันเข้ามาเป็นมนุษย์ตามเดิม   บนดาวดวงนั้น

ขั้นตอนเทวดาจุติก็คล้ายๆกัน คือพอหมดบุญ ร่างกายอันเป็นทิพย์ก็วูบ...หายจากสวรรค์ เรียกว่า"จุติ"
มาวู้บ...เป็นตัวอ่อนในท้องแม่   (ไม่เหมือนในหนังที่ไม่มีขั้นตอนการเจริญเติบโต) เรียกว่าปฏิสนธิ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 8
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.231 วินาที กับ 19 คำสั่ง