เรือนไทย

General Category => ชมรมอนุรักษ์ภาพจิตรกรรมไทย => ข้อความที่เริ่มโดย: virain ที่ 13 ก.ค. 09, 11:29



กระทู้: เรือนยอดพระที่นั่งวิหารสมเด็จ
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 13 ก.ค. 09, 11:29
พระที่นั่งสำคัญในพระบรมมหาราชวังกรุงศรีอยุธยา  ที่รู้จักันกว้างขวางคือพระที่นังสรรเพ็ชญ์ปราสาท
แต่พระที่นั่งสำคัญอีกองค์ก็คือพระที่นั่งวิหารสมเด็จ  ซึ่งเรือนยอดเป็นอย่างไรกันแน่ ข้อมูลแต่ละที่ก็ว่าต่างกันไป
บ้างก็ว่าเป็นยอดปรางค์ห้ายอด อย่างในรูปโมเดลของเมืองโบราณ  หรือจะเป็นยอดพรหมพักตร์แต่ยอดปรางค์นั้น จะลีบเล็ก
ทรงคล้ายๆพระเมรุทิศวัดไชยวัฒนาราม
สำหรับภาพประกอบภาพแรกน่าจะเป็นไปได้แต่ภาพสองผมว่ามันดูแปลกเกินไป และที่สำคัญตกลงว่าเรือนยอดเป็นทรงปรางค์จริงๆหรือครับ
ยังเหลือพระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์ บรรยงค์รัตนาสน์ จักรวรรดิ์ไพชยนต์ ที่ยังคาใจผมอยู่เหมือนกันครับ

รูปประกอบนำมาจาก multiply ของคุณ phongthepwow



กระทู้: เรือนยอดพระที่นั่งวิหารสมเด็จ
เริ่มกระทู้โดย: jean1966 ที่ 13 ก.ค. 09, 19:59
ปราสาท5ยอดแบบนี้ ปัจจุบันไม่มีเหลืออยู่แล้วจะเห็นมีก็แต่ในวัดเช่นที่วัดมหาธาตุ เพชรบุรีเท่านั้น


กระทู้: เรือนยอดพระที่นั่งวิหารสมเด็จ
เริ่มกระทู้โดย: jean1966 ที่ 13 ก.ค. 09, 21:25
แล้วก็ในจิตรกรรมฝาผนังเท่านั้นแบบนี้


กระทู้: เรือนยอดพระที่นั่งวิหารสมเด็จ
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 13 ก.ค. 09, 22:17
ภาพจิตรกรรมวัดประดู่ฯที่เขียนซ่อมในสมัย รัชกาลที่สี่ใช่ไหมครับ  ที่พี่ยีนส์เคยเอามาให้ดูผมก็สะดุดตาอยู่
แบบนี้พอมีงานจากสมัยอยุธยามาเทียบค่อยมีความน่าจะเป็นไปได้หน่อยครับ

สำหรับวัดมหาธาตุก็มาซ่อมที่หลังนสมัยรัตนโกสินทร์ไม่ใช่หรือครับ 
แต่อาจจะทำตามแผนเดิมก็ได้ล่ะมั้ง  ปราสาทห้ายอดผมเคยเห็นก็มีพระที่นั่งมหิศรอีกที่ล่ะครับ
แต่ไม่เป็นยอดปรางค์  (แต่เคยมีคนบอกว่าพระที่นั่งสรรเพ็ชญ์อาจเป็นปราสาทห้ายอดไปโน่นอีก)


กระทู้: เรือนยอดพระที่นั่งวิหารสมเด็จ
เริ่มกระทู้โดย: jean1966 ที่ 14 ก.ค. 09, 20:37
อันนี้ปราสาทยอดปรางค์เดี่ยว จิตรกรรมฝาผนังวัดดุสิตดาราม


กระทู้: เรือนยอดพระที่นั่งวิหารสมเด็จ
เริ่มกระทู้โดย: ohm md ที่ 26 ก.ค. 09, 17:17
หวัดดีคับ
เปนสมาชิก เพิ่งมาใหม่ สนใจในงานศิลปะไทยตั้งแต่เด็กๆ
ได้มาอ่านและดูของจริงมากขึ้นตอนเรียนมหาลัย
ตอนนี้มาทำงานที่เพชรบุรี เลือกมาที่นี่เพราะอยากเที่ยววัดเมืองเพชร
แต่ตอนนี้ได้เที่ยวแค่ไม่กี่วัดเอง ทำแต่งาน

ผมขอเสนอว่ายอดควรเป็นแบบเมรุรายวัดไชยวัฒนารามอ่ะคับ
เหตุผล ไม่รู้เหมือนกัน (อ้าว)
แต่เห็นว่ากรมพระราชวังบวร รัชกาลที่ 1 ท่านทำพุทธปรางค์ปราสาท
ถวายพระพุทธสิหิงค์ ในพระที่นั่งพุทไธศวรรย์
ก็ทำทรงอย่างโบราณ ทั้งมีพรหมพักตร์ที่คนรัตนโกสินทร์ไม่ทำกันแล้ว


กระทู้: เรือนยอดพระที่นั่งวิหารสมเด็จ
เริ่มกระทู้โดย: ohm md ที่ 26 ก.ค. 09, 17:21
เอ้อ ปราสาทยอดมณฑปห้ายอดนั้นคือพระที่นั่งศิวาลัยหรือมหิศรกันแน่คับ

และพระวิหารสมเด็จเมืองโบราณนั้น
เคยทราบมาว่านำแบบมาจากปรางค์วัดเชิงท่า อยุธยา
เราจะเห็นว่า ปรางค์ดูโบราณๆคล้ายอยุธยายุคต้น
แต่มีการต่อวิหารออกมาสี่ทิศ คล้ายปราสาทปรางค์ห้ายอดอย่างนั้น


กระทู้: เรือนยอดพระที่นั่งวิหารสมเด็จ
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 26 ก.ค. 09, 18:47
สวัสดีคุณ ohm md  ครับผม ขอบคุณนะครับที่เข้ามาช่วยให้ความรู้เพิ่มเติม
ผมเองก็อยากจะไปเมืองเพชรอีก เพราะเคยไปแค่ครั้งเดียวยังไงก็คง้องหาเวลาไปแน่ๆเลย

พระที่นั่งฯนั้นส่วนตัวผมก็คิดว่าอาจจะเป็นยอดทรงเอาอย่างพระเมรุทิศวัดไชยฯเหมือนกัน
เพราะเคยได้ยินว่าพระที่นั่งวิหารสมเด็จก็มาซ่อมในสมัยพระเจ้าปราสาททอง
พระที่นั่งองค์นี้ยังมีชื่เล่นว่าปราสาททองไปด้วย ลยคิดว่าน่าจะคล้ายๆกันเพราะไม่รู้จะหาหลักฐานอื่นที่ไหน
ส่วนเรื่องจะเป็นพรหมพักตร์ไหมอันนี้ก็สุดความคิดครับ แต่ก็คิดเองว่าคงจะมีเพราะอทธิพลจากเขมรมาบ้าง



กระทู้: เรือนยอดพระที่นั่งวิหารสมเด็จ
เริ่มกระทู้โดย: jean1966 ที่ 27 ก.ค. 09, 15:38
ปราสาท5ยอดที่พูดถึงที่วัดพระแก้วนั้นคือพระที่นั่งศิวาลัยมหาปราสาทครับ ร.5ทรงโปรดเกล้าให้พระยาราชสงคราม(กร)เป็นนายช่างก่อสร้าง ซึ่งพระยาราชสงครามได้ถวายตัวอย่างเป็นปราสาท5ยอด สมเด็จกรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ทรงตรัสติพระที่นั่งศิวาลัยมหาปราสาทว่า"หลังคาเครื่องยอดแบบนี้ดีแต่ดูงาม แต่ตามหลักวิชาการช่างแล้วใช้ไม่ได้เลย เพราะรั่ว แก้เท่าใดก็ไม่หาย ไม่ควรถือเป็นแบบอย่าง ถ้าสนใจเรื่องนี้จริงๆขอแนะนำให้ไปอ่านหนังสือของอ.เสนอ นิลเดช เล่มนี้ครับ


กระทู้: เรือนยอดพระที่นั่งวิหารสมเด็จ
เริ่มกระทู้โดย: ohm md ที่ 28 ก.ค. 09, 18:46
ชอบเว็บนี้มากเลยคับ รู้สึกว่าสมาชิกทุกๆคนมีใจรักและเห็นค่า
เห็นความสามารถของบรรพบุรุษของเรากันมากๆ

นอกจากเครื่องยอดพระวิหารสมเด็ต ก็ยังมีการจัดวางแบบอื่นๆในสมัยอยุธยาที่เรายังไม่รู้และนึกไม่ถึงอีกมาก
ทั้งมณฑปพระพุทธบาทสมัยพระพุทธเจ้าเสือ ที่บอกว่ามียอดใหญ่ และมียอดเล็กอีก4
ยอดเล็กนั้นกมียอดเล็กลงไปอีกล้อมรอบ
รวมไปมาในพงศาวดารบอกมี 25 ยอด ผมนับไม่ได้อย่างนั้นอ่ะคับ
และถ้า 25 ยอดจริง การคุมทรงคุมจังหวะให้เป็นจอมแหนั้นนับว่ายากมาก ขนาดวาดรูปยังยาก
และยิ่งสร้างออกมาเป็นรูปธรรมจริงๆนับว่าเป็นงานขั้นวิเศษ
แต่ผมว่าช่างอยุธยาคงทำได้จริงๆและคงมีรูปแบบที่ลงตัว แต่เรายังนึกกันไม่ออก

พระที่นั่งสรรเพชญก็บอกมีเก้ายอด ทางเมืองโบราณได้ตีความว่าเก้ายอดนั้นหมายถึงยอดมณฑปประดับด้วยนภศูลเก้าแฉก
นับว่าแปลกเพราะเมื่อทำมณฑป คน(รัตนโกสินทร์อย่างเราๆ)ก็ไม่เคยเอานภศูลไปต่อมณฑปเลย
ทั้งก็ยังมีชฎาที่เรียกห้ายอด เครื่องต้นของพระมหากษัตริย์ มียอดชฎาใหญ่ยอดเดียวแต่ที่เรียกห้ายอดเพราะมีแฉกๆข้างบนยอดนั้น 5 แฉก
แปลว่าทางภาษาคนโบราณก็อาจเรียกได้อย่างนั้นจริงๆ

แต่ที่น่าคิดอีกอย่าง เราคงเคยเห็นจิตรกรรมที่วัดสะกาย(?)ในเมืองพม่านั่น ก็ยังวาดเป็นธรรมาสน์เก้ายอด(จริงๆ)ได้
แล้วทำไมพระที่นั่งสรรเพชญที่พรรณนากันอย่างอลังการขนาดนั้นจะมีเก้ายอดจริงๆไม่ได้ ...

ยังมีเรื่องสงสัยอีกว่า ในหนังสือต่างๆล้วนบอกว่า
กรมพระราชวังบวรฯรัชกาลที่1 สร้าง ปรางค์ปราสาทห้ายอด ถวายพระพุทธสิหิงค์
แล้วกรมพระราชวังบวรฯ มหาศักดิพลเสพย์ ถอดไปถวายวัดไพชยนต์พลเสพย์
ไปมาๆ ทำไมเดี๋ยวนี้มียอดเดียว??
และทำไมต้องรื้อปรางค์ปราสาทนี้ไปด้วย เพราะตามตำราเก่าก็บอกว่าพระพุทธสิหิงค์นั้นสมัยอยุธยานั้นก็ประดิษฐานอยู่ในปรางค์ปราสาท ในพระวิหารวัดพระศรีสรรเพชญเหมือนกัน



กระทู้: เรือนยอดพระที่นั่งวิหารสมเด็จ
เริ่มกระทู้โดย: jean1966 ที่ 28 ก.ค. 09, 21:01
คุณ0hm md นี่น่าจะคลั่งไค้ลอยุธยาอย่างเดียวกับคุณvirain ข้อมูลที่อ้างถึงนั้นมีทีไปที่มาอย่างไรครับที่ว่า"กรมพระราชวังบวรฯรัชกาลที่1 สร้าง ปรางค์ปราสาทห้ายอด ถวายพระพุทธสิหิงค์
แล้วกรมพระราชวังบวรฯ มหาศักดิพลเสพย์ ถอดไปถวายวัดไพชยนต์พลเสพย์
ไปมาๆ ทำไมเดี๋ยวนี้มียอดเดียว??
และทำไมต้องรื้อปรางค์ปราสาทนี้ไปด้วย เพราะตามตำราเก่าก็บอกว่าพระพุทธสิหิงค์นั้นสมัยอยุธยานั้นก็ประดิษฐานอยู่ในปรางค์ปราสาท ในพระวิหารวัดพระศรีสรรเพชญเหมือนกัน" เรื่องจิตรกรรมที่วัดเมืองสะกายนั้น รูปธรรมมาสน์ช่างคงเขียนขึ้นจากที่เคยเห็นธรรมมาสน์ในสมัยอยุธยาที่ทำเป็นยอดปราสาทอย่างที่มีปรากฎองค์ธรรมมาสน์จริงสมัยอยุธยาตอนปลายที่ยังหลงเหลืออยู่หลายวัด แม้กระทั่งของที่ทำขึ้นใหม่เลียนแบบสมัยอยุธยาอย่างที่วัดเกาะแก้วสุทธารามนั่นประไรก็ทำทรงปราสาทแถมยังสวยงามไม่แพ้สมัยอยุธยา ส่วนในเรื่องสถาปัตยกรรมนั้น ผมว่าในการก่อสร้างมิได้ง่ายอย่างเขียนรูป  อย่างที่กรมพระยานริศฯนายช่างเอกแห่งกรุงสยามท่านตรัสเกี่ยวกับพระที่นั่งศิวาลัยนั้นประไร


กระทู้: เรือนยอดพระที่นั่งวิหารสมเด็จ
เริ่มกระทู้โดย: jean1966 ที่ 28 ก.ค. 09, 21:24
เรื่องการสร้างปราสาททอง5ยอดถวายพระพุทธสิหิงห์นั้น มิได้เป็นการสร้างตัวพระที่นั่งนะครับ เป็นแต่เพียงการสร้างในลักษณะบุษบกเพื่อประดิษฐานพระพุทธสิหิงห์เท่านั้นนะครับ ภายหลังการเสด็จทิวงคตของสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงพระราชดำริว่า "พระพุทธรูปเงินทองและของพุทธบูชามีอยู่ในพระที่นั่งสุทธาสวรรย์มาก หากทิ้งไว้ผู้ร้ายจะลักเอาไปเสีย" ดังนั้น จึงโปรดฯ ให้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์และพระพุทธรูปอื่น ๆ มาประดิษฐานไว้ที่พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ตั้งแต่นั้นมา ในสมัยสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ พระองค์โปรดให้รื้อปราสาททองห้ายอดซึ่งเคยประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์ออก แล้วให้ตั้งพระแท่นเศวตฉัตรแทนเพื่อใช้เป็นที่เสด็จออกแขกเมือง และพระสงฆ์ถวายพระธรรมเทศนา ต่อมา สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพทรงปฏิสังขรณ์พระที่นั่งสุทธาสวรรย์ใหม่ ซึ่งสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงพระนิพนธ์ไว้ว่า การปฏิสังขรณ์ในครั้งนี้เป็นที่น่าชมอย่างหนึ่งที่ของเดิมสิ่งใดดีเอาไว้หมดทุกอย่าง เป็นแต่ซ่อมแซมที่ชำรุด จึงยังแลเห็นของเดิมที่ทำโดยประณีตบรรจงมาจนทุกวันนี้*จะว่าซ่อมตามแบบของเดิมทีเดียวก็หาไม่ เพราะได้มีการปรับเปลี่ยนตัวอาคารให้มีพาไลล้อมรอบแบบพระราชนิยมในรัชกาลที่3ในการนี้ด้วย* พร้อมกันนี้ พระองค์ทรงเปลี่ยนนาม "พระที่นั่งสุทธาสวรรย์" เป็น "พระที่นั่งพุทไธสวรรย์" อาจจะด้วยเหตุผล 3 ประการ ได้แก่

เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้าง พระที่นั่งสุทไธสวรรย์ ขึ้นภายในพระบรมมหาราชวัง ซึ่งมีชื่อที่ใกล้เคียงกับพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ ดังนั้น สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพจึงเปลี่ยนนามพระที่นั่งเพื่อให้แตกต่างไป
สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพโปรดให้สร้างพระที่นั่งอิศราวินิจฉัยขึ้นใหม่ ดังนั้น จึงได้เปลี่ยนชื่อพระที่นั่งเป็น "พระที่นั่งพุทไธสวรรย์" เพื่อให้ชื่อคล้องจองกัน
หลังจากการสร้างพระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พระองค์ทรงให้ย้ายพระแท่นเศวตฉัตรซึ่งเดิมตั้งอยู่ที่พระที่นั่งสุทธาสวรรย์ไปไว้ที่พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พระองค์คงมีพระราชดำริให้พระที่นั่งสุทธาสวรรย์เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปดังที่เคยเป็น จึงเปลี่ยนพระที่นั่งใหม่เป็น "พระที่นั่งพุทไธสวรรย์"
หลังจากนั้น เมื่อพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จมาประทับที่พระบวรราชวัง พระองค์ได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้อัญเชิญไปประดิษฐาน ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม กลับมาประดิษฐาน ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ดังเดิม





กระทู้: เรือนยอดพระที่นั่งวิหารสมเด็จ
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 28 ก.ค. 09, 21:38
สวัสดีครับ วันนี้นั่งอ่านคุณohm mdตอบกระทู้แล้วผมก็นึกไปถึงโครงสร้างเครื่องหลังคาพระที่นั่งไท่เหอในพระราชวังต้องห้ามของจีน
ว่าสมัยหนึ่งเคยเกิดเพลิงไหม้ ทำให้โครงสร้างเครื่องบนถูกทำลายเป็นเถ้าถ่านจนหมด จักรพรรดิของจีนในสมัยนั้นต้องพยายามหาช่างฝีมือ
ที่จะมาหาวิธีประกอบโครงสร้างอันมหึมาของพระที่นั่งขึ้นใหม่ เป็นเรื่องที่ผมก็ไม่นึกว่าประเทศไทยก็มีโครงสร้างปราสาท 25 ยอดอยู่ด้วย
ที่ไม่รู้จะทำให้ลงตัวยังไง และถ้าทำยอดแบบแอ่นตามฐานโค้งสำเภาอีกคงจะยากไปใหญ่ ผมเคยเห็นธรรมาสน์ยอดแบบที่เขาทำเป็นชั้นแอ่นๆไล่ไปจนถึงปลียอด
แต่ผมคิดว่าไม่ต้องถึง 25 แค่เก้ายอดก็คงหาวิธีทำให้ลงตัวลำบากแล้ว เพราะอย่างที่พี่ยีนส์บอกว่ายอดพระที่นั่งศิวาลัยสมเด็จฯท่านก็ทรงติไว้แล้วว่ารั่ว
อืม พี่ยีนส์ครับบุษบกห้ายอดนี่ยังมีให้เห็นที่ไหนบ้างอีกหรือครับ แต่ก็เหมือนจะเคยเห็นแวบๆที่วัดโพธิ์ และอีกที่ก็งานศิลป์แผ่นดินที่พระที่นั่งอนันตฯล่ะครับ
ไม่รู้ยังมีที่อื่นแบบอื่นอีกไหม

ขอบคุณพี่ยีนส์ที่แนะนำหนังสือครับ วันเสาร์ว่าจะไปหาอ่านในหอสมุดไม่รู้ว่าจะมีหรือเปล่า  ;D
ภาพนี้เป็นบุษกเล็กๆสมัยอยุธยาอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร เขาทำบราลีให้แหลมๆสูงๆหน่อยจนมองเป็นยอดต่างหาก ภาพอาจมองไม่ค่อยชัดนะครับ


กระทู้: เรือนยอดพระที่นั่งวิหารสมเด็จ
เริ่มกระทู้โดย: ฉันรักบางกอก ที่ 29 ก.ค. 09, 00:00
เข้ามาลงชื่อคะ ;D


กระทู้: เรือนยอดพระที่นั่งวิหารสมเด็จ
เริ่มกระทู้โดย: ohm md ที่ 29 ก.ค. 09, 07:38
ยอดทรงมณฑปห้ายอดในตอนนี้ที่นึกออกก็คือตู้พระไตรปิฎกทองใหญ่ ในพระมณฑปวัดพระศรีรัตนศาสดาราม

เรื่องปรงค์ปราสาทนั้น ผมเคยเห็นของจริงมาที่วัดไพชยนต์อ่ะคับ ทราบว่าไม่ได้เปนพระที่นั่ง
สร้างคล้ายๆเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปแบบในล้านนายังไงยังงั้น
แต่ผมสงสัยว่าทำไมมียอดเดียว ทั้งที่การเรียกก็เรียกห้ายอดมาตลอดอ่ะคับ

เรื่องมณฑปหลายยอดมีที่ไหนอีกมั่งคับ


กระทู้: เรือนยอดพระที่นั่งวิหารสมเด็จ
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 29 ก.ค. 09, 09:52
เอารูปปราสาทในพระที่นั่งวายุสถานอมเรศมาลงก่อนแล้วกันครับ
เขาทำหลังคาเชิดคล้ายงานสมัยอยุธยา เคยใช้ประดิษฐานพระอัฐิของกรมพระราชวังบวรพระองค์แรกๆ


กระทู้: เรือนยอดพระที่นั่งวิหารสมเด็จ
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 29 ก.ค. 09, 10:27
อันนี้ภาพเขียนจากวัดปราสาท นนทบุรีครับ เขาเขียนเป็นรูปปราสาทมีเรือนยอดเหมือนจะเป็นยอดเล็กทับกับยอดใหญ่ที่อยู่ถัดไป
ยอดใหญ่เขียนเป็นมุขเชิดซ้อนไล่กันขึ้นไป แต่ยอดเล็กใช้บันแถลงประดับวาดได้เห็นโครงสร้างเลย เสียดายว่าจางไปหน่อย
ที่จริงมีรูปเรือนยอดของบุษบกราชรถในเรื่องเนมิราชด้วยครับ  แต่จางมากไปหน่อย


กระทู้: เรือนยอดพระที่นั่งวิหารสมเด็จ
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 29 ก.ค. 09, 18:07
วันนี้ได้เข้าไปอ่านหนังสือเรื่องพระที่นั่งวิหารสมเด็จที่หอสมุดแห่งชาติ ของอาจารย์เสนอ นิลเดชมาแล้วครับ(แต่อ่านไม่จบเขาปิดก่อน)
ได้ความคร่าวๆว่าท่านอ้างอิงอาคารแบบเชื่อมกับปรางค์จากพระปรางค์วัดเชิงท่าอย่างที่คุณohm md เคยบอกส่วนหนึ่ง และเรือนยอดอ้างอิงจากภาพเขียนวัดประดู่ฯ
ที่พี่ยีนส์เคยเอามาให้ดูส่วนหนึ่ง (ท่านกล่าวอ้างว่าช่างในสมัย ร.4 อาจเคยเห็นซากของพระที่นั่ง) อ้างอิงจากหัวเม็ดทรงปรางค์ของกำแพงแก้ว
วัดพระพุทธบาท สระบุรีอีกส่วนหนึ่ง (ท่านให้เหตุผลว่าเป็นงานในสมัยพระเจ้าปราสาททอง) และก็ออกมาเป็นหุ่นจำลองสองแบบที่อยู่ในเมืองโบราณ
ที่ลงไว้ตั้งแต่แรกครับ ส่วนตัวผมได้ดูภาพจำลองแบบสามมิติแล้วค่อนข้างแปลกๆในสายตาส่วนตัว
อย่างแรกคือทรงของปรางค์ดูใหญ่เกินไปเหมือนกับองค์ปราสาทกลางพระที่นั่งมีสองชั้น หรือเหมือนจะเอาพระปรางค์ตั้งไว้บนอาคาร
ทำให้ดูไม่สง่างามเหมือนปราสาทพระเทพบิดรถ้าจะเทียบกัน
อย่างที่สองทรงอาคารของท้องพระโรงส่วนหน้าและส่วนหลังฐานไม่มีการตกท้องช้าง แต่มุขหน้า(ผมอาจใช้ศัพท์ไม่ถูกขออภัยด้วยครับ)กับมุขข้าง
ที่ต่อยื่นออกมาคล้ายๆกับมุขเด็จพระที่นังสรรเพ็ชญ์กลับทำเป็นแบบตกท้องช้าง ทำให้พาไลด้านมุขเด็จนั้นต้องแอ่นตามฐานแต้ด้านตามแนวยาวกลับไม่แอ่น
รูปทรงจึงดูเหมือนจะขัดกันทั้งอาคาร
แต่ก็มีข้อมูลต่อว่่าในสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศได้ทำการรื้อเครื่องบนแล้วซ่อมใหม่โดยเจ้าฟ้ากุ้งทรงเป็นแม่กอง จึงไม่ค่อยแน่ใจว่าการซ่อมครั้งนั้นจะทำให้ทรงยอดปราสาท
เปลี่ยนไปจากสมัยพระเจ้าปราสาททองหรือไม่ ผมเลยคิดต่อว่าถ้าอย่างนั้นยอดปรางค์ของปราสาทจะเป็นโครงสร้างไม้แต่ไม่รู้จะใช้โครงสร้างแบบไหนรับน้ำหนัก
เพราะในงานวิจัยท่านเขียนไว้ว่าไม่มีการก่อเสาขึ้นไปรับนำ้้หนักโครงสร้างเรือนยอด
แต่อย่างไรก็ดีก็ทำให้เราได้ทำการสำรวจโบราณสถานแห่งนี้อย่างเป็นรูปธรรมอีกครั้งซึ่งเป็นประโยชน์มากๆ
ขอออกตัวก่อนครับว่าผมกล่าวในฐานะแสดงความคิดเห็นครับ แต่เกรงใจอาจารย์กับคณะวิจัยของท่านจัง



กระทู้: เรือนยอดพระที่นั่งวิหารสมเด็จ
เริ่มกระทู้โดย: ohm md ที่ 29 ก.ค. 09, 20:15
คับ รูปในความเห็น 16 เนี่ย ก็เหมือนลายปูนปั้นอาคารทรงสูงที่วัดไผ่ล้อมเพชรบุรี เหมือนกับยอดส่วนต้นของเมรุราย วัดไชย
และก็ยังเหมือนในภาพเขียนชาวต่างชาติ ที่วาดงานพระเมรุพระนารายณ์(หรือพระเจ้าปราสาททอง? )

ทำให้ผมคิดว่าเรือนยอดพระที่นั่งอยุธยานั้นคงไม่เหมือนกับสมัยรัตนโกสินทร์ที่เราคุ้นๆกัน
คือสมัยนั้นคงทำเรือนยอดแต่ละชั้นออกมาจริงๆจังๆ คือเป็นรูปทรงจำลองของปราสาทองค์ข้างล่างต่อๆกันขึ้นไป
คล้ายๆปราสาทพม่าที่เราเห็นกัน
เพราะอย่าลืมว่า เราได้ถ่ายทอดอะไรหลายอย่างให้พม่าไปในคราวนั้น2310
เป็นไปได้หรือไม่ว่า ปราสาทพม่าที่เราเห็นกันตอนนี้ คล้ายลักษณะเรือนยอดสมัยอยุธยา
มากกว่าปราสาทรัตนโกสินทร์ที่เราเห็นๆกัน


กระทู้: เรือนยอดพระที่นั่งวิหารสมเด็จ
เริ่มกระทู้โดย: jean1966 ที่ 29 ก.ค. 09, 20:23
ในเอกสารเรื่อง"พรรณนาภูมิสถานพระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นเอกสารจากหอหลวง มีกล่าวถึงสถานที่ซึ่งเป็นหลักเป็นประธานและเป็นเกียรติยศพระนครในสมัยอยุธยา คือ พระที่นั่งมหาปราสาทยอดปรางค์3องค์ หนึ่งในนั้นคือ พระที่นั่งมังคลาภิเศกมหาปราสาท ระบุว่ามีปรางค์5ยอดภายหลังเพลิงไหม้จึงทำใหม่เปลี่ยนนามว่าพระที่นั่งวิหารสมเด็จพระมหาปราสาท พระที่นั่งนี้แรกเริ่มเดิมทีสร้างในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่1 เพราะปรากฎในกฎหมายตราสามดวง ว่า เสด็จออก ณ พระที่นั่งนี้เพื่อตราพระราชกำหนดพิสุทดำน้ำลุยเพลิงในพ.ศ.๑๘๙๙และกล่าวไว้ในกฎมนเทียรบาลว่าเป็นที่ถือพระพิพัทสัตยาของบรรดาเจ้านาย นอกจากพระภรรยาเจ้าทั้งสี่และพระราชกุมารนอกจากนี้ยังเป็นที่ตั้งการพระราชพิธีสำคัญในสมัยโบราณ เช่น การพระราชพิทธีดุลาภารในเดือน๙อีกด้วย  ในเอกสารดังกล่าวมีบทที่กล่าวถึงมหาปราสาทและพระที่นั่งต่างๆในสมัยอยุธยา กล่าวถึงพระที่นั่งวิหารสมเด็จมหาปราสาทนี้ มียอดปรางค์ห้ายอด หลังคามุงดีบุก ยอดหุ้มดีบุกปิดทองเป็นปราสาทสำคัญในพระนคร เปนที่บุษยาภิเศกพระมหากษัตรแต่ก่อนมา มีมุขโถงยาวออกมาจากองค์ ที่มุขโถงนั้นมียอดมณฑปต่างหากจากองค์ปราสาทใหญ่ในมุขโถงนั้นมีพระแท่นมณฑปตาม(ติด ประดับ)แว่นฟ้า เปนพระที่นั่งตั่งในมุขโถง ต่อน่าพระที่นั่งวิหารสมเด็จมหาปราสาทออกมามีทิมดาบคดซ้ายขวา มีกำแพงแก้วสูงสองศอกล้อมพระมหาปราสาท ที่ชานชาลาพระมหาปราสาทนั้นปูศิลาอ่อน มีเสาโคมทำด้วยศิลาจีนตั้งอยู่๘ทิศ มีสิงหสิลา แลรูปภาพทหารจีนตั้งเรียงรายไปตามชานชาลาพระมหาปราสาท(รูปประกอบจิตรกรรมฝาผนังปราสาทยอดปรางค์ดูลบเลือนมากแต่น่าจะเป็น5ยอด)ที่วัดโชติการาม


กระทู้: เรือนยอดพระที่นั่งวิหารสมเด็จ
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 01 ส.ค. 09, 23:15
ผมได้เห็นภาพพุทธปรางค์ของวังหน้าที่ถวายให้วัดไพชยนต์ฯแล้วครับ ทรงของเรือนยอดคล้ายกับยอดพระเมรุทิศวัดไชยฯ
มากกว่าแบบพระปรางค์อย่างวัดเชิงท่าหรือเสาเม็ดวัดพระพุทธบาทแถมยังมีพรหมพักตร์ประดับด้วย
และคุณohm md เองก็บอกไว้ว่าพุทธปรางค์ปราสาทนี้ก็ทำเอาย่างโบราณตามพระปรงค์ของกรมพระราชวังบวรฯท่าน
เพราะพระองค์เคยเห็นพระวิหารสมเด็จมาก่อน ผมเลยค่อนข้างเชื่อว่าพระวิหารสมเด็จน่าจะมีเรือนยอดทรงนี้มากกว่าแบบอื่น
เพราะการใช้ทรงปรางค์แบบนี้เหมาะกับการคุมทรงพระที่นั่งให้สง่างามได้มากกว่า และที่สำคัญตามการสำรวจซากฐานพระที่นั่ง
ก็ไม่พบเสาที่ขึ้นไปรับเครื่องบนแต่อย่างไร  รูปทรงแบบยอดพระเมรุทิศนี้น่าจะคุมน้ำหนักได้ดีกว่า

รูปประกอบพระที่นั่งเวชยันต์วิเชียร พระนครคีรี


กระทู้: เรือนยอดพระที่นั่งวิหารสมเด็จ
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 01 ส.ค. 09, 23:28
พระที่นั่งสรรเพชญปราสาทจำลองในเมืองโบราณนั้นก็ได้แบบมาจากเรือนสวดวัดพระศรีรัตนมาธาตุเมืองพิษณุโลก
มาสัณนิฐานรูปทรงได้อย่างสง่างาม ถ้าหากจะสัณิฐานรูปทรงเครื่องยอดพระวิหารสมเด็จก็อาจใช้พุทธปรางค์ปราสาทนี้เป็นแนวทางได้
เสียดายที่ว่าพุทธปรางค์ปราสาทเป็นปรางค์ยอดเดี่ยว แต่พระวิหารสมเด็จเป็นพระปรางค์ห้ายอดตามที่ระบุไว้ในข้อมูลทางประวัติศาสตร์
ก็เลยไม่ค่อยแน่ชัดว่าสี่ยอดรองที่เหลือจะซ้อนทับอยู่บนสันหลังคาทั้งสี่ด้านอย่างพระที่นั่งเวชยันต์วิเชียร
หรือจะเป็นยอดที่แทรกบนทรงจอมแห แล้วกันรั่วด้วยการอุดชันเคลือบดีบุกปิดทอง
แก้ไขเรื่องแบบฐานที่จริงแบบของหุ่นจำลองในภาพแรกนั้นมีการแ่นโค้งที่ฐานอยู่
(แสดงความคิดเห็นจากหนังสือเรื่องพระที่นั่งวิหารสมเด็จของอาจารย์เสนอนิลเดช)
รูปประกอบเป็นภาพประตูเข้าโบสถ์ของวัดปราสาทนนทบุรีมี แต่เดิมมีสี่ยอดแต่ยอดที่อยู่ด้านหน้าพังลงมาเลยมีการซ่อมแซม
แก้ให้เหลือสามยอดอย่างในปัจจุบันยังเห็นร่องรองของการซ่อมแซมชัดเจน 


กระทู้: เรือนยอดพระที่นั่งวิหารสมเด็จ
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 05 ส.ค. 09, 23:23
หลังจากได้อ่านข้อมูลเกี่ยวกับพระที่นั่งวิหารสมเด็จมาแล้ว ก็เลยนิึกอยากจะลองเขียนทรงเรือนยอดของพระที่นั่งองค์นี้ดู
ผมลองเอาลักษณะการแทรกยอดรองทั้งสี่ยอดมาจากประตูทางเข้าพระอุโบสถวัดปราสาท นนทบุรี
ทรงยอดปรางค์เลียนจากพระเมรุทิศวัดไชยฯ และเพิ่มหน้าพรหมพักตร์มาใส่  ก็ออกมาเป็นภาพที่ผมลงไว้ด้านล่างครับ 
อาจไม่ถูกต้องก็ขออภัยด้วยครับเนื่องจากเป็นแนวคิดของผมเอง

ภาพใหญ่ http://s398.photobucket.com/albums/pp64/amon123/Architec/?action=view&current=IMG_5028_1.jpg


กระทู้: เรือนยอดพระที่นั่งวิหารสมเด็จ
เริ่มกระทู้โดย: Agonath ที่ 06 ส.ค. 09, 08:39
เข้ามาชม สวยงามมากครับ


กระทู้: เรือนยอดพระที่นั่งวิหารสมเด็จ
เริ่มกระทู้โดย: ohm md ที่ 06 ส.ค. 09, 14:46
สุดยอดคับ อยุธยายุคนิยมเขมรมากๆๆๆ
อุตส่าห์ปรับเชิงกลอนให้แอ่นด้วยนะ ถ้าต่อเสาตั้งยืดยอดแต่ละชั้นออกไปอีกอาจจะดูเรียวพุ่งๆกว่านี้นะคับ
ผมคิดเอาเองว่ายอดปราสาทอยุธยาคงทำให้ซุ้มบันแถลงแต่ละชั้นสัมพันธ์ได้ส่วนกับหลังคาด้วย
ไม่เหมือนปราสาทรัตนโกสินทร์ที่จับเอายอดมณฑปไปครอบลงบนเรือนจตุรมุขเฉยๆๆ

ช่วงนี้เหงาเคว้งคว้างมากคับ เพราะต้องออกมาทำงานที่ รพชุมชนของโคราชสามเดือน
อำเภอครบุรี ไกลมากก มีแต่ดินลูกรังง
คิดถึงเมองเพชรมากคับ หันซ้ายขวาบนตึก รพ เห็นแต่ปรางค์ห้ายอด เห็นหลังคาวัดนู้นวัดนี้ทำแอ่นโค้ง
สมชื่ออยุธยาที่มีชีวิต งานเมืองเพชรดูทันสมัย แต่ก็ดูมีหลักมีฐานว่าคนทำคนซ่อมเค้ารู้ความหมายความคิดเดิม
ของงานช่างไทย 

คิดถึงเพชรบุรีมากเลยยยค้าบบ ฮือๆๆ


กระทู้: เรือนยอดพระที่นั่งวิหารสมเด็จ
เริ่มกระทู้โดย: jean1966 ที่ 07 ส.ค. 09, 11:45
ต้องชมน้องเนในความพยายาม แต่การจับลักษณะของรูปแบบศิลปกรรมแต่ละชนิดมาผสมผสานกันนั้นจะต้องมีพื้นฐานความเข้าใจในเชิงช่างเสียก่อนนะครับ อย่างรูปที่วาดมานั้นพรหมพักตร์สี่หน้ายอดมงกุฎก็ไม่น่าจะเป็นแบบนั้นเพราะไม่ใช่ลักษณะของมงกุฎ การใส่ซุ้มบันแถลงและบราลีก็คงไม่ใช่ในลักษณะนั้นเช่นเดียวกัน ถ้าดูแบบ2มิติที่วาดมาจะมองดูสวยดี แต่ถ้าออกมาเป็น3มิติแล้วแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย แต่ยังไงน้องเนก็บอกแล้วว่าเป็นความคิดเห็นส่วนตัว ต้องชื่นชมอยู่ดี เรื่องทริปเที่ยวในวันที่15-16นี้ เห็นทีพี่ต้องเลื่อนไปก่อน เพราะมีปัญหาส่วนตัว ต้องขอโทษสมาชิกที่เฝ้ารอด้วยครับไม่สะดวกจริงๆและช่วงนี้อาจจะหายไปอีกนานครับ


กระทู้: เรือนยอดพระที่นั่งวิหารสมเด็จ
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 07 ส.ค. 09, 23:53
ขอบคุณสำหรับคำติชมทั้งหมดเลยครับ ต้องยอมรับว่าผมลองเอาโน่นเอานี่ผมผสมกัน
ด้วยยังไม่เจนเลยอาจทำให้ดูขัดไปบ้าง (แค่ได้ยินว่าสวยก็ใจชื้นแล้วครับ  นึกว่าจะโดนว่าซะแล้ว)
ที่ผมเอาหน้าพรหมพักตร์ไปไว้ในชั้นที่หก ก็เพราะว่าจะดันให้ได้เก้าชั้นแต่เท่าที่ดู
เขาก็ทำกันแค่เจ็ดชั้นเท่านั้นเองแล้วส่งเป็นช่วงระฆัง  แต่สำหรับยอดปรางค์ก็ไม่ต้องใช้
ระฆังก็ควรจะเอาทรงปรางค์เป็นมงกุฏของพรหมพักตร์ในชั้นบนสุด  พี่ยีนส์คงจะหมายถึงแบบนั้น

สวัสดีคุณ ohm md ด้วยครับยังไงก็ลองเปลี่ยนแนวไปดูปราสาทหินแก้ขัดไปก่อนนะครับ 
ครบุรีกับรอบๆก็เหมือนว่าจะมีอยู่หลายที่เลย  หรือถ้าว่างๆก็เข้าเมืองไปถ่ายวัดบึงมาลงให้ชมก็ได้นะครับ
ผมยังไม่เคยเห็นเลย

ขอบคุณคุณ Agonath ด้วยครับ

พี่ยีนส์ติธุระก็ไม่เป็นไรจะรอทริปต่อไปครับ


กระทู้: เรือนยอดพระที่นั่งวิหารสมเด็จ
เริ่มกระทู้โดย: ohm md ที่ 09 ส.ค. 09, 15:36
มีหลายที่ แต่ก้อเหลือแต่กรอบประตูกับหินเท่านั้นอ่ะคับ
ผมเป็นคนลุ่มแม่น้ำ คิดถึงทุ่งนาเขียวๆต้นตาล วัดวาอาราม
คิดถึงเมืองเพชรมากเลยย
ตอนนี้ก็ยังไม่ชินกับครบุรี เมืองบนเขาคับ

นึกออกบางอย่าง ในหนังสือวิหารสมเด็จของ อ. เสนอ
ท่านอ้างถึงปราสาทห้ายอดที่วัดพระพุทธฉาย(หรือพระพุทธบาท??)
ที่โดนซ่อมแล้วกลายเป็นยอดเดียวไปแล้วว
น่าเสียดายนะคับ


กระทู้: เรือนยอดพระที่นั่งวิหารสมเด็จ
เริ่มกระทู้โดย: sittisak ที่ 08 ก.ย. 09, 17:04
สนใจเรื่องนี้เหมือนกันเลยครับ กำลังศึกษาอยู่เลย เมื่อวานเพิ่งไปซื้อหนังสือของอาจารย์นิลเดช เรื่องพระที่นั่งวิหารสมเด็จพอดี ถ้ามีทริปจัดไปอยุธยาว่ามาเลยนะคับ ไปด้วยๆๆๆๆ


กระทู้: เรือนยอดพระที่นั่งวิหารสมเด็จ
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 08 ก.ย. 09, 17:30
เลื่อมใสครับ..เลื่อมใส...แต่  AA Alkaline ยี่ห้อ AIN ตรงมุมล่างขวาของภาพ 22 สื่อความหมายอะไรคร๊าบ...อิ..อิ..อิ


กระทู้: เรือนยอดพระที่นั่งวิหารสมเด็จ
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 08 ก.ย. 09, 21:14
ขอบคุณครับคุณsrisiam แวะเข้ามแซวด้วย 555
คุณsittisak ผมก็ลองอ่านหนังสือเล่มนั้นมาที่หอสมุดแห่งชาติครับ มีข้อสงสัยบ้าง คิดต่างบ้าง
แต่ก็ชื่นชมอยู่เหมือนกัน เพราะเป็นการรวบรวมข้อมูลที่ดีครับ


กระทู้: เรือนยอดพระที่นั่งวิหารสมเด็จ
เริ่มกระทู้โดย: sittisak ที่ 09 ก.ย. 09, 12:41
คับ ผมลองอ่านตามที่อาจารย์ท่านเขียนไว้ ส่วนตัวผมชอบแบบที่หนึ่งมากว่าดังเช่นโมเดลรูปแรกของพี่อะคับ ดูเป็นไปได้ในทางสถาปัตยกรรม(ส่วนตัวผมจบกราฟิคดีไซน์ แต่ทุกๆวันผมจะนั่งเขียนแต่ วัด พระที่นั่งตามจินตนาการ ไม่เคยเรียนจริงๆจัง อาศัยสนใจดูและค้นคว้าเอง ไว้วันหลังจะส่งให้ดูนะคับ ) ระยะหลังสนใจแต่งานยุคอยุธยา(ตอนนี้เจาะเฉพาะเรื่องเรือพระราชพิธีสมัยนั้นอยู่) แต่ผมว่ายังมีอีกหนึ่งพระที่นั้งที่น่าสนใจคือ พระที่นั่งสุริยาศ์อมรินทร์ นะคับ โดยเทคนิคและรูปทรงน่าสนใจมาก เพราะตำราบอกว่าเหมือนพระที่นั่งดุสิต แต่พระที่นั่งดุสิตมีชั้นเดียวใช่ไหมครับ แต่องค์สุริยาศ์อมรินทร์มีสองชั่้นนิน่าาาา น่าสงสัยๆๆๆๆ ถ้าไม่เป็นการรบกวน มีMSN ไหมคับ หรือถ้าจัดการคุยแลกความรู้ บอกด้วยนะคับ อยากไปนั้งฟังด้วยยย


กระทู้: เรือนยอดพระที่นั่งวิหารสมเด็จ
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 09 ก.ย. 09, 16:07
ผมความรู้น้อยครับ อาศัยอ่านบ้างจำบ้าง เรื่องแบบแผนงานสถาปัตยกรรมไทยนับว่าอ่อนหัดครับ
เพราะศึกษาด้วยตัวเอง เลยชอบใช้การจินตนาการส่วนตัวมากกว่า วันศุกร์นี้ผมก็จะไปอยุธยา
จะถ่ายรูปมาฝากครับ amonrain@hotmail.com


กระทู้: เรือนยอดพระที่นั่งวิหารสมเด็จ
เริ่มกระทู้โดย: asia ที่ 08 ต.ค. 09, 20:44
สวัสดดีครับ ผมชื่อเอเชียน่ะครับ มีความฃอบในศิลปะอยุธยามากครับ เรื่องเรือนยอดพระที่นั่งวิหารสมเด็จนั้นน่าจะเหมือนยอดพระเมรุของ รัชกาลที่4ครับ ที่เป็นปรางค์ห้ายอด ยังงัยขอสมัครเป็นสามชิกชมรมอนุรักษ์จิตรกรรมไทยด้วยคนน่ะครับ mail ผมครับ asia08511@hotmail.com


กระทู้: เรือนยอดพระที่นั่งวิหารสมเด็จ
เริ่มกระทู้โดย: asia ที่ 08 ต.ค. 09, 20:51
พวกพี่ๆไปวัดในกลาง เมืองเพชรบุรีมาแล้วยังครับ มีศาลาการเปรียญที่ว่าเคยเป็นพระตำหนักในกรุงเก่ามาก่อนนะครับ วันหลังถ้าไปก็ชวนนะครับ เพราะว่าถ้าคุยกับคนที่พูดภาษาเดียวกันคงจะดีคับ
และฃอบเหมือนๆๆกันคงจะมีความสุขนะครับ


กระทู้: เรือนยอดพระที่นั่งวิหารสมเด็จ
เริ่มกระทู้โดย: yutthana ที่ 08 ต.ค. 09, 20:58
ยินดีต้อนรับสมาชิกใหม่ครับเพชรบุรีเป็นอีกแห่งที่ชมรมเราวางแผนที่จะไปกันครับเนื่องจากที่เพชรบุรีเป็นแหล่งงานศิลปกรรมที่งดงามแห่งหนึ่งครับ


กระทู้: เรือนยอดพระที่นั่งวิหารสมเด็จ
เริ่มกระทู้โดย: asia ที่ 10 ต.ค. 09, 01:46
พี่ครับมีเรื่องอยากทราบอีกเรื่องหนึ่งครับ คือชื่อประตูเมืองรอบกรุงรัตนโกสินทร์ทั้งหมดครับ ทราบชื่อเฉพาะประตูรอบวังหลวงและประตูเมืองกรุงเก่าเท่านั้น แต่ของกรุงเทพนี่ไม่ทราบจริงๆที่หาได้ก็มีประตูนกยูง
ประตูสะพานหัน ประตูสามยอด ประตูท่าพระ ประตูพฤธิบาศ ประตูวัดพรหมสุรินทร์ นอกนั้นแล้วไม่ทราบจริงๆใครที่เป็นผู้รู้ช่วยตอบด้วยน่ะครับ ขอบคุณครับแล้วยังงัยไปเมืองเพชรบุรีเมื่อไหร่ก็บอกน่ะครับ


กระทู้: เรือนยอดพระที่นั่งวิหารสมเด็จ
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 10 ต.ค. 09, 09:27
อยากไปด้วยจริงๆ...........แต่เกรงยาดม 3 โหลก็เอาไม่อยู่.. ;)


กระทู้: เรือนยอดพระที่นั่งวิหารสมเด็จ
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 19 ต.ค. 09, 20:10
จากการที่ได้ไปพิษณุโลกมา เลยได้พบกับโบราณวัตถุสมัยอยุธยาชิ้นหนึ่ง
เป็นรูปปราสาทดินเผาจำลอง คิดว่าเดิมคงใช้เป็นของตกแต่งเขามอประดับ
ในพระอาราม ปราสาทดินเผาจำลองชิ้นนี้ผมเห็นแล้วคิดว่าเป็นประโยชน์
ในการนำมาใช้ศึกษาเกี่ยวกับเรือนยอด พระราชมณเฑียร ของอยุธยาได้บ้าง
เพราะเป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่ต่างออกไปจากเรือนยอดที่เคยเห็นกัน ถึงแม้จะอ้างอิง
ไม่ได้ทั้งหมด แต่คิดว่าคงจะน่าสนใจสำหรับคนที่สนใจในเรื่องการจินตนาการ
รูปทรงพระมหาปราสาทในกรุงศรีอยุธยา เลยนำมาฝากกันครับ


กระทู้: เรือนยอดพระที่นั่งวิหารสมเด็จ
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 19 ต.ค. 09, 20:29
จากรูปทรงของอาคารและการทำช่องที่ผนัง อาจทำให้คิดไปว่าได้รับรูปแบบ
หรือเป็นแบบอยุธยาตอนต้น ล่างลงมาตรงช่องคล้ายๆว่าจะทำแบบกระจังปฎิญาณ
ตรงช่องหน้าต่าง (หย่อง?) ฐานสิงห์ด้านล่างก็เดาว่าคล้ายๆกับขาสิงห์แบบอยุธยาตอนต้น
หลังคามุมกระเบื้องลอนติดเชิงชาย เรือนยอดปราสาทแตกต่างจากเรือนยอด
ในสมัยรัตนโกสินทร์ชัดเจน คือจากที่เป็นการออกซุ้มรังไก่ติดบันแถลงแบบยอดมณฑปทั่วไป
ถึงปราสาทจำลองชิ้นนี้จะไม่ทำเป็นจตุรมุข แต่เรือนยอดก็ทำเป็นมุขยื่นซ้อนออกมาจริงๆ
น่าจะเป็นรูปแบบปราสาทแบบเก่า


กระทู้: เรือนยอดพระที่นั่งวิหารสมเด็จ
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 19 ต.ค. 09, 20:32
...


กระทู้: เรือนยอดพระที่นั่งวิหารสมเด็จ
เริ่มกระทู้โดย: sittisak ที่ 20 ต.ค. 09, 17:20
วะว้าวววว เห็นอีกรูปแบบหนึ่งจริงๆด้วยย มหัศจรรยือีกแล้วอะ  ถ้าใช่สถาปัตยกรรมตอนต้น ก็น่าคิดว่าช่วงสุโขทัย เรือนยอดจะเป็นเช่นนี้ไหมครับ เพราะเคยเห็นเครือ่งเคลือมรุปแบบนี้เหมือนกัน...น่าสนใจๆๆ เดี่ยวขึ้นแบบอีกดีกว่าา ตอนนี้กำลังสนใจพระที่นั่งสุริยาศนือมรินทร์อย่างแรงงงง คุณอมรินมีแนวทางมั้งไหมคับ เหมือนพระที่นั่งดุสิตเป๊ะเลยไหมคับ


กระทู้: เรือนยอดพระที่นั่งวิหารสมเด็จ
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 20 ต.ค. 09, 21:44
เรียกผม เน เฉยๆก็ได้ครับ ที่คุณ sittisak สนใจพระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์อยู่ ผมเองก็ยังไม่ได้ลองหาข้อมูลมาอ่านเลย
ช่วงนี้มัวกำลังตระเวณหาดูโน่นดูนี่ 55 พระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์ดูจากข้อมูลคร่าวๆผมเองคิดว่าชั้นล่างอาจทำเป็นทรงอาร์ครับน้ำหนัก
ยกพื้นขึ้นไปเป็นชานระเบียงแล้วสร้างเป็นองค์พระที่นั่้งด้านบน คงดูคล้ายๆปราสาทพระเทพบิดรที่สร้างบนฐานไพทีที่สูงขึ้นไป
เพียงแต่พระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์ด้านล่างอาจเป็นโถง แต่ทั้งหมดเป็นการจินตนาการของผมนะครับ ยังไม่เคยอ่านผลการสำรวจรางวัด
เลยเหมือนกันเลยไม่แน่ใจ คงต้องรอผู้รู้เข้ามาแนะนำก่อนครับ

ส่วนเรื่องราวเทียนผมลองถามหาข้อมูลได้ความว่าที่วัดพระพุทธบาทมีราวเทียนอันหนึ่ง เป็นรูปเรือสุพรรณหงส์คล้ายกับภาพวาดของชาวฟรั่งเศษ
(ไม่แน่ใจว่าเป็นตาชาร์ดหรือลาลูแบร์) แต่ทางวัดนำไปเก็บรักษาไว้แล้วไม่รู้ว่าอยู่ที่ไหนเหมือนกันครับ แต่ราวเทียนที่เป็นนาคราชยังไม่ได้ข้อมูล
เลยครับ


กระทู้: เรือนยอดพระที่นั่งวิหารสมเด็จ
เริ่มกระทู้โดย: ohm md ที่ 24 ต.ค. 09, 15:30
วัดไผ่ล้อมคับ

ขอเพิ่มเติมอีกว่า
อ.ล้อม เคยเขียนถึงรูปแบบพระปรางค์วัดมหาธาตุ เมืองเพชรเดิมก่อนที่จะถล่มลงมาสมัย ร ๗ ว่า
น่าจะมีพรหมพักตร์เป็นองค์ประกอบอยู่ด้วย
โดยอ้างจากนิราศสักเรื่องของสุนทรภู่


กระทู้: เรือนยอดพระที่นั่งวิหารสมเด็จ
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 25 ต.ค. 09, 18:36
เป็นพรหมพักตร์ก็คงเท่ห์มากๆเลยนะครับ ยังอยากไปวัดไผ่ล้อมอยู่เหมือนกันครับ
ไม่รู้ว่าตอนนี้ชำรุดไปถึงไหนแล้ว


กระทู้: เรือนยอดพระที่นั่งวิหารสมเด็จ
เริ่มกระทู้โดย: han_bing ที่ 30 พ.ย. 09, 14:11
อ่านแล้วผมขอร่วมเดาบ้างได้ไหมครับแม้เดาบ้างได้ไหมครับ ผมว่ายอดปรางค์ของพระที่นั่งวิหารสมเด็จอาจคล้ายของวัดเชิงท่า ไม่น่าจะเป็นแบบเมรุรายของวัดไชยวัฒนาราม หรือพุทธปรางค์ปราสาทที่กรมพระราชวังบวรท่านสร้างไว้
ประการแรกที่ผมที่เดาว่าไม่น่าจะคล้ายกับเมรุทิศวัดไชยวัฒนาราม เพราะเชื่อตามอาจารย์พิริยะ ไกรฤกษ์ท่านสันนิษฐานว่าเมรุรายยองวัดชัยวัฒนารามอาจสร้างในสมัยอยุธยาตอนปลายรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกฐ เมื่อพระที่นั่งองค์วิหารสมเด็จสร้างในสมัยพระเจ้าปราสาททอง ทรงของเครื่องยอดน่าจะเก่าเมรุรายของวัดไชยวัฒนาราม
ปราการสองที่เดาว่าไม่น่าจะคล้ายกับพุทธปรางค์ปราสาท เนื่องจากพุทธปรางค์ปราสาทสร้างในสมัยรัตนโกสินทร์ แม้จะเลียนแบบจากอยุธยา ก็เป็นอยุธยาตอนปลาย ไม่ใช่แบบสมัยพระเจ้าปราสาททอง ทรวดทรางปรางค์ต่างกันมาก เพราะสมัยของพระเจ้าปราสาททองทรวดทรางยังหนาหนักอยู่เลย เข้าช่วงราชวงศ์บ้านพลูหลวงแล้วโดยเฉพาะสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกฐยิ่งเรียวเพรียว (แม้ไม่เท่ารัตนโกสินทร์ก็ตาม)
ตัวพระที่นั่งวิหารสมเด็จสร้างก่อนเวลาดังกล่าวจึงลักษณะไม่น่าจะเหมือนกัน
ด้วยเหตุดังกล่าวนี้ เมื่อพระที่นั่งดังกล่าวเก่าเมรุรายวัดไชยวัฒนาราม และพุทธปรางค์ปราสาท ผมจึงเดาว่าคงเป็นแบบปรางค์ยุคอยุธยาตอนต้นๆหรือกลางๆที่ทรวดทรงออกจะหนาหนัก
มองไปมองมาเห็นว่าวัดเชิงท่านี้แลที่ดูเข้าทีที่สุด
แต่ปัญหาคือวัดเชิงท่าสร้างในสมัยใด...นั้นก็เป็นอีกคำถาม
ดังนั้นผมจึงเดา - ขอแค่เดาไว้ก่อน - ว่าคล้ายของวัดเชิงท่า
 ผิดถูกอย่างไรก็ขออภัยด้วยนะครับ
(ปล. มีใครไปถ่ายรูปจิตรกรรมวัดแบบพระราชนิยมของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวบ้างไหมครับ อยากขอแบ่งปันบ้าง)


กระทู้: เรือนยอดพระที่นั่งวิหารสมเด็จ
เริ่มกระทู้โดย: pansa ที่ 04 ธ.ค. 09, 22:12
สำหรับผมคิดว่าไม่ใช่แบบวัดเชิงท่า เพราะเดิมที่วัดเชิงท่าเป็นปรางค์มาเพิ่มเติมวิหารในภายหลัง(เคยได้ยิน รึอ่านมาจำไม่ได้ถ้าผิดพลากก็ขอโทษที)

อีกอย่างคือ ตัวโถงกลางที่อยู่รองรับปรางค์คงต้องตันเพื่อรองรับน้ำหนักปรางค์ขนาดใหญ่เช่นนั้นได้ ลำพังแค่ใช้โครงสร้างกำแพงผนังทำคานรับไม่มีทางรับน้ำหนักได้  

ภาพที่ไกล้เคียงว่าถ้าเป็นแบบพรหมปรางค์แบบวัดเชิงท่าก็คงต้องไปดูปราสาทบายน ของเขมร ไม่ก็ซุ้มประตูในวัดพระแก้ว ด้านข้างพระที่นั่งอัมรินทร์

รูปร่างจะน่าออกมาแบบนั้น แล้ววิหารสมเด็จเครื่องยอดอาจจะสร้างด้วยไม้แทนเครื่องปูนรึเปล่า แค่ความเห็นต่างส่วนตัว ไม่ว่ากันนะครับ





กระทู้: เรือนยอดพระที่นั่งวิหารสมเด็จ
เริ่มกระทู้โดย: ajjuve ที่ 06 ธ.ค. 09, 19:43
แวะมาเก็บความรู้ กับภาพที่สวยงาม


กระทู้: เรือนยอดพระที่นั่งวิหารสมเด็จ
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 09 ธ.ค. 09, 01:16
ผมคิดว่าเป็นเครื่องไม้ครับคุณpansa ตามแบบที่อาจารย์เสนอสันนิษฐานไว้
แต่ก็เคยเดาว่าถึงไม่มีเสาปูนขึ้นไปรับเครื่องบน อาจใช้เสาไม้จะเป็นไปได้หรือเปล่า
ไม่รู้ว่าที่ซากฐาน จะพอมีร่องรอยของเสาไม้สักสี่ต้นที่โถงกลางไหม ถ้ามีก็คงจะลงตัว
เรื่องการรับน้ำหนักของเครื่องยอดพระที่นั่ง แต่สำหรับเรื่องทรงของพระปรางค์นั้นผมเอง
ก็ยังสงสัยและติดขัดอยู่หลายๆเรื่องครับ ต้องขอบคุณข้อมูลเพิ่มเติมจากคุณ han_bing
ด้วยครับ

สวัสดีคุณ ajjuve ครับ






กระทู้: เรือนยอดพระที่นั่งวิหารสมเด็จ
เริ่มกระทู้โดย: sittisak ที่ 09 ธ.ค. 09, 09:16
หวัดดีทุกคนค้าบบบบ เรื่องเรือนยอดนี้มันสนุกในการแลกความรู้จริงๆๆ คราวที่แล้วทอมมีได้เสนอไปว่าน่าจะเป็นเมรุรายที่วัดไชย แต่งานพระเจ้าปราสาททองจะเป็นรูปเพรียวเช่นนั้นหรือไม่น่าาา หรืออาจจะเป็นแบบยอดปรางค์ของปราสาทนครหลวง แต่ทำด้วยเครื่องไม้ ใกล้ๆๆรูปแบบประตูยอดพรหมพักตร์ในพระบรมมหาราชวัง ทางเข้าพระราชฐานชั้นใน ด้านพระที่นั่งบรมพิมานนั้นไง ใครมีความรู้อะไรแลกมาเลย เออ น้องเนเรื่องเคยได้ยินจิตรกรรมวัดยม ใกล้ๆสถานีรถไฟ ที่อยุธยาไหม มีบันทึกไว้ว่า มีการเขียนรุปแบบประตูในวังหลวงของอยุธยา บางทีอาจจะมีการบันทึกรูปแบบของมหาปราสาทต่างๆๆๆ แต่ยังไม่ได้เช็คอัพเดตนะว่าอยู่ หาย ทลาย ไม่ให้เข้า หรือป่าวววววววววว


กระทู้: เรือนยอดพระที่นั่งวิหารสมเด็จ
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 09 ธ.ค. 09, 23:26
ยิ่งคิดยิ่งคิดไม่ออกนะครับ ถ้าอย่างนั้นก็ดูทรงปรางค์ของพระปรางค์ประธานวัดไชยฯไปเลยไม่ได้หรือครับ
เรื่องวัดยมเข้าใจว่าไม่เหลือแล้วไม่ใช่หรือครับ นอกจากที่คัดลอกไว้ในสมุดข่อยหรือยังไง??


กระทู้: เรือนยอดพระที่นั่งวิหารสมเด็จ
เริ่มกระทู้โดย: han_bing ที่ 10 ธ.ค. 09, 19:42
ว่าไปคุณ virian พูดมาก็มีเค้านะ เพราะพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทเก่ายังมีเคยมีเสารับน้ำหนักตั้งในองค์พระที่นั่งเลย พึ่งมาตัดออกเมื่อรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวนี้เอง พระที่นั่งวิหารสมเด็จอาจมีก็ได้นะ ใครจะรู้
ส่วนเครื่องหลังคาผมเดาว่าน่าจะเป็นเครื่องไม้นะครับ เพราะถ้าสร้างใหญ่ขนาดนั้นหากเป็นปูนไม่น่าจะทานน้ำหนักไหว
อันนี้เป็นแค่ความเห็นส่วนตัวนะครับ


กระทู้: เรือนยอดพระที่นั่งวิหารสมเด็จ
เริ่มกระทู้โดย: offzaa ที่ 10 มี.ค. 10, 23:20
งืมๆๆ... ;D  น่าสนใจคับค้นคว้ากันต่อไป  แม้ยากจะหาโครงเคร้ามิอาจเดาแน่ชัด  แต่ความสงสัยในพระที่นั่งวิหารสมเด็จนั้นย่อมจะกระจ่างในวันข้างหน้า 

"...คุณ virain เขียนแบบสวยนะคับ เส้นชัดมองแล้วเข้าใจ สวยๆๆๆ..."


กระทู้: เรือนยอดพระที่นั่งวิหารสมเด็จ
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 11 มี.ค. 10, 11:16
ผมยังต้องขอคำแนะนำอีกเยอะครับ  ; :)

เรื่องพระที่นี่งวิหารสมเด็จนั้นก็ยังไม่ได้คำตอบกันต่อไป ผมเองยังต้องไปหาดูงานเครื่องไม้อยุธยาให้มากขึ้นกว่านี้
บางทีอาจต้องลงแรงกลับไปดูชิ้นงานเดิมๆ เผื่อจะเจอจุดอื่นๆที่ผ่านเลยไป ส่วนแนวร่วมของผมตอนนี้กำลังพาไป
จินตนาการพระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์แล้วครับ รออีกสักยี่สิบปีคงได้เห็นทั้งวัง หากรอดไม่เจอวิกฤตการณ์...ไปก่อนนะครับ
55555


กระทู้: เรือนยอดพระที่นั่งวิหารสมเด็จ
เริ่มกระทู้โดย: sittisak ที่ 11 มี.ค. 10, 13:13
แนวร่าวมแก เนี่ย พี่ใช่ไหมเจ้าเน............ตอนนี้เดินไปส่วนพระราชฐานชั้นนอกละ  ตรงๆๆ พระที่นั่งจักรววรรดิ์ไพชยยนตร์!!!  ขอลงสีก่อนนะ ใครมีตัวอย่างการปูกระเบื้องกาบูร หรือรูปถ่าย อนุเคารหะ์ผมที.....อยากดูรูปแบบจะได้ใส่ในเครื่องบนของพระที่นั่งต่างๆ


กระทู้: เรือนยอดพระที่นั่งวิหารสมเด็จ
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 11 มี.ค. 10, 23:57
ก็จะใครล่ะครับ 5555 ภาพตัวศาลาการเปรียญวัดใหญ่น่าจะพอใช้ได้นะครับ ที่นั่นเขาฉาบปูนทับแต่ก็พอดูได้
ไม่รู้ว่าภาพของผมนี้จะช่วยได้หรือเปล่านะ


กระทู้: เรือนยอดพระที่นั่งวิหารสมเด็จ
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 11 มี.ค. 10, 23:59
ว่างๆต้องมานั่งนัดเจอกันพูดคุยอีกสักทีนะครับ เผื่อใครเจอใครได้แนวคิดอะไรใหม่ๆจะเอามาคุยกัน
แบบไม่คิดอะไรมาก สไตล์เราๆ ;D


กระทู้: เรือนยอดพระที่นั่งวิหารสมเด็จ
เริ่มกระทู้โดย: offzaa ที่ 12 มี.ค. 10, 11:43
งืมๆๆ...ยิ่งหลายความคิดเห็นยิ่งน่าสนใจ  เสียดายผมความรู้ยังด้อยนัก มิอาจแลกเปลี่ยนทัศนะอย่างท่านอื่นๆ ได้ จำต้องเรียนรู้..และเพิ่มเติมจากคุณๆ ทั้งหลายหากเจนจัดในวิชาแล้วคงได้เจรจาพาที ผมยังอยู่ในระดับศิษย์น้อยด้อยปัญญา ช่วงนี้ขอเป็นผู้อ่าน(ฟัง)ที่ดีก่อนคับ ;D ;D ;D


กระทู้: เรือนยอดพระที่นั่งวิหารสมเด็จ
เริ่มกระทู้โดย: ohm md ที่ 12 มี.ค. 10, 23:32
ผมคิดว่ายอดทรงเมรุรายวัดไชยเนี่ย เป็นยอดที่มีอยู่จริง และใช้งานกันจริงๆ เห็นจากงานจิตรกรรม ลายทองที่หอเขียน  ปรางค์ปราสาทกรมพระราชวังบวร น่าจะเป็นลักษณะของชั้นที่ซับซ้อน ก่อนที่คนรัตนโกสินทร์จะไปตัดรายละเอียดต่างๆออกนะครับ

พระที่นั่งวิหารสมเด็จก็ปฏิสังขรณ์สมัยในหลวงบรมโกศนะคับ


กระทู้: เรือนยอดพระที่นั่งวิหารสมเด็จ
เริ่มกระทู้โดย: ติบอ ที่ 12 มี.ค. 10, 23:55
อยุธยาหล่อคอนกรีตไม่เป็นครับ
เพราะฉะนั้นสถาปัตยกรรมที่มีคานยาวและเสาเข็มได้ก็ต้องสร้างด้วยไม้
อาคารขนาดใหญ่ถึงจะสร้างด้วยปูนแต่ก็ต้องทำโครงหลังคาด้วยไม้
หรือบางครั้งก็ต้องใช้ไม้ฝังเข้าไปในผนังเพื่อทำเป็นทับหลังประตูด้วย

เมรุทิศวัดไชยวัฒนารามอาจจะเป็นการจำลองสถาปัตยกรรมจริงมาสร้างอย่างคุณ ohm md ว่าก็ได้
แต่ก็น่างสงสัยว่าทำไมถึงพบที่นี่เพียงที่เดียว ?
ถ้าลองตั้งสมมุติฐานง่ายๆ ว่าเป็นอาคารปูนที่สร้างตามรูปแบบของสถาปัตยกรรมไม้ (เมรุจริง)
ก็อาจจะต้องสรุปว่าช่างไม่สามารถถ่ายทอดรูปแบบของงานออกมาให้เหมือนกันได้ (เนื่องจากไม่มีคานคอนกรีต)
เพราะถ้าลองดูจากงานจิตรกรรม หรือพระเมรุจริงในสมัยรัตนโกสินทร์ อัตราส่วนทางสถาปัตยกรรมก็ไม่ใช่แบบนี้นี่ครับ ?


กระทู้: เรือนยอดพระที่นั่งวิหารสมเด็จ
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 14 มี.ค. 10, 00:26
มาถึงตรงนี้แนวความคิดของผมก็เปลี่ยนไปเรื่อยๆ และตามตรงก็หาสรุปไม่ได้ครับ
โดยความคิดส่วนตัว เรื่องการจะเอาพระเมรุทิศวัดไชยมาเป็นส่วนในการสันนิษฐาน
ผมชื่อเองว่า องค์พระเมรุทิศน่าจะทำในสมัยพระเจ้าปราสาททอง แต่การจะมาซ่อม
ในสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศแค่ไหนก็ต้องดูอีกที แต่คิดว่าคงไม่ใช่การแก้ทรงของ
พระเมรุทิศใหม่ทั้งหมด

ถึงอย่างนั้นการจะเอายอดพระเมรุทิศ ไปเสียบเป็นยอดพระที่นั่งวิหารสมเด็จก็ยังขัดในความรู้สึก
เพราะอาจไม่จำเป็นที่จะต้องเหมือนกัน เพียงแต่อ้างอิงในฐานะภาพรวมหรือความคิดของเขา
ในยุคนั้น ก็เลยต้องใช้เวลาที่จะเข้าไปทำความรู้จักกับความคิด อารมณ์ของเขา อะไรแบบนั้นครับ

...  ;D


กระทู้: เรือนยอดพระที่นั่งวิหารสมเด็จ
เริ่มกระทู้โดย: ohm md ที่ 14 มี.ค. 10, 22:16
ผมเคยคิดว่า บรรดาเครื่องยอดต่างๆที่เราเคยเห็นกันจนชินตาในสมัยนี้ ก็คงเหมือนกับสมัยอยุธยาแหละมั้ง คงไม่มีอะไรแตกต่าง
ทั้งที่ความเป็นจริง คนสมัยก่อนท่านไม่ได้ติดในกรอบว่าต้องทำตามแบบโบราณทุกกระเบียดเหมือนสมัยนี้
ท่านก็แตกความคิด แตกทรวดทรงอะไรกันไปมากมาย
ยอดธรรมาสน์อยุธยา ก็ไม่เหมือนงานรัตนโกสินทร์ที่จะทำเรียบกว่า ตัดรายละเอียดไปมาก บรรดาลายตกแต่งต่างๆก็เล็ก และถูกจับมาเข้าแถวจนเป็นระเบียบเรียบร้อย ผิดกับงานยุคเก่าๆที่ช่างแกก็ขัดเกลา พลิกแพลงไปมาเรื่อยๆ กระจังแต่ละตัวยังไม่เหมือนกันเลย
ยอดพระเมรุ เราก็เคยเห็นแต่พระเมรุสสมัย ร 4 ซึ่งก็ทิ้งช่วงมานานนม ผมก็ไม่คิดว่าเมรุของ ร4 จะสร้างให้เหมือนกับ ร 1 ช่างคงลืมอะไรๆไปมากแล้ว กระสวน สัดส่วนต่างๆก็คงลดทอนไปตามพระราชนิยม เพราะขนาดดาวเพดานที่สมัย ร 1 เรายังสร้างกันอลังการ ก็กลับโดน ร 4 ท่านกันซีน โดยบอกว่า เป็นเกือกพวงบ้าง ดูแลรักษายากบ้าง จนในที่สุด ก็เหลือแต่ลายกลมๆแบนๆติดเพดานเท่านั้น


กระทู้: เรือนยอดพระที่นั่งวิหารสมเด็จ
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 09 เม.ย. 10, 01:36
ไม่อยากให้กระทู้นี้หล่นไปเลยครับ เลยขอร่วมสนทนาด้วยคนนะครับ

เมื่อวานได้แรงบันดาลใจจากพระที่นั่งวิหารสมเด็จองค์จริงที่อยุธยา รู้สึกทึ่งกับการใช้ผนังรับน้ำหนักของอาคารหลังนี้มาก เนื่องจากไม่มีเสาเลย (ไม่ทราบว่าบูรณะผิดถูกอย่างไร) แต่ใช้ผนังหนาเกือบเมตรรับน้ำหนักเครื่องยอดทั้งหมด โดยไม่มีแกนกลางรับแบบพุกามด้วย จึงคิดว่าอาคารหลังนี้ไม่น่าจะมียอดขนาดมหึมาที่หนักทึบตัน

ในความคิดผมจึงคิดว่า น่าจะเป็นยอดปรางค์แบบเมรุทิศวัดหน้าพระเมรุมากกว่า ซึ่งเมรุทิศนี้ยืดเรือนธาตุเสียสูงเป็นเหมือนเมรุจริงๆ เป็นอาคารสูงศักดิ์ที่น่าจะเอามาใช้กับปราสาทด้วย และเนื่องจากอยู่ในสมัยพระเจ้าปราสาททองเช่นเดียวกัน

 ยอดบริวารก็คงแซมอยู่บนสันหลังคาซ้อนชั้นมากกว่าบนจอมแหเดียวกัน แบบปราสาทรัชกาลที่ 4 ที่เพชรบุีรี อาจจะทำให้น้ำหนักเบาลง?

อย่างไรก็ตาม เป็นแค่การสันนิษฐานเท่านั้น เนื่องจากผมก็ไม่เคยสร้างจริงๆครับ ผิดพลาดอย่างไรก็อภิปรายกันดีกว่าครับ



กระทู้: เรือนยอดพระที่นั่งวิหารสมเด็จ
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 09 เม.ย. 10, 01:37
พระที่นั่งวิหารสมเด็จที่ไปมาเมื่อวานนี้ มีน้องหมาเข้าไปออกลูก น่ารักมาก :-[


กระทู้: เรือนยอดพระที่นั่งวิหารสมเด็จ
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 09 เม.ย. 10, 01:39
ยังไม่ได้ขัดเกลารายละเอียดครับ เป็นแบบร่างก่อนเฉยๆ โดยเฉพาะสัดส่วนฐานและมุข คิดว่าถ้าเอาเมรุทิศแปะเข้าไปจะเป็นอย่างนี้?


กระทู้: เรือนยอดพระที่นั่งวิหารสมเด็จ
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 09 เม.ย. 10, 01:40
อยากลองเอาปรางค์บริวารไปแปะไว้ตรงจอมแหของยอดประธานดูบ้าง


กระทู้: เรือนยอดพระที่นั่งวิหารสมเด็จ
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 09 เม.ย. 10, 01:42
 :)


กระทู้: เรือนยอดพระที่นั่งวิหารสมเด็จ
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 09 เม.ย. 10, 01:45
ิอยากทำสันหลังคาแอ่นโค้ง แต่เนื่องจากฐานดูแ้ล้วไม่ค่อยแอ่น (จริงๆก็คงยังไม่แอ่นสำเภา) ก็เลยเว้นไว้ก่อนครับ ส่วนบราลีก็ยังไม่เสร็จ :-X


กระทู้: เรือนยอดพระที่นั่งวิหารสมเด็จ
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 09 เม.ย. 10, 01:49
เมื่อก่อนคงอลังการมาก เพราะแค่ฐานก็สูงท่วมหัวแล้วครับ


กระทู้: เรือนยอดพระที่นั่งวิหารสมเด็จ
เริ่มกระทู้โดย: han_bing ที่ 09 เม.ย. 10, 05:43
เรียนสมาชิกเรือนไทยทราบ
                 ถ้าข้าพเจ้าเข้ามาสันนิษฐาน ข้อสันนิษฐานของข้าพเจ้าอาจถูกกล่าวหาว่ากากเดน แต่ไม่เป็นไร มั่นใจในความสามารถช่างโบราณทั้งไทยและจีนว่าเป็นเลิศในสามโลก ขอท่านลองอ่านดูละกัน
                 กล่าวคือ การสร้างอาคารจีนแต่โบราณนั้น โดยเฉพาะการสร้างเจดีย์ที่เป็นเครื่องไม้ (ให้นึกถึงเจดีย์หินจีนแต่ขยายขนาดขึ้นน่ะนะ) นายช่างชาวจีนโบราณ (รวมถึงปัจจุบัน) จะใช้ระบบคานรับน้ำหนักที่เรียกกว่า "โตว่กง" (斗拱: Dou gong) ซึ่งจะเป็นการน้ำเครื่องไม้มาว่างไขว้กันซ้อนไปซ้อนมาซ้อนไปซ้อนมาเรื่อยๆ แต่ว่าจะทำแปลกกว่าอาคารที่เป็นสี่เหลี่ยมกล่าวคือ จะทำให้วางเรียงล้อมเป็นรูปวงกลม ผลที่ได้คือตรงกลางอาคารไม่จำเป็นต้องมีเสาค้ำยัน ปล่อยเป็นที่ว่างไว้ นอกเหนือจากการทำเจดีย์แล้ว การทำเพดานโรงงิ้วเล็กๆก็ใช้วิธีนี้ได้เช่นกัน
                 ด้วยเหตุประการฉะนี้ ข้าพเจ้าจึงสงสัยยิ่งนัก ว่าพระที่นั่งวิหารสมเด็จเราจะนำเอาอิทธิพลดังกล่าวมาผสมผสารหรือไม่ ข้อนี้ข้าพเจ้าไม่รู้จริงๆ แค่เสนอความคิดไป ไว้ว่างๆจะเอารูปและเรื่องมาลงให้ท่านทั้งหลายถกเถียงกันเล่นๆ
                 อนึ่ง กระทู้เรื่องพระที่นั่งวิหารสมเด็จนี้อมตะจริงๆเนอะ เชื่อไหม เข้าสมัครเรือนไทยครั้งแรกก็เพราะกระทู้พระที่นั่งองค์นี้แหละ
                 ปล. ไม่มีใครสนใจสวนขวาเลย... :'(...อยากได้รูป สอบเสร็จวันที่ ๒๓ นี้แล้ว ส่งๆมากันหน่อยเน้อ


กระทู้: เรือนยอดพระที่นั่งวิหารสมเด็จ
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 09 เม.ย. 10, 06:57
ไม่ีทราบว่าโต่วกงของคุณ hang_bing จะหน้าตาอย่างนี้หรือเปล่าครับ อันนี้เป็นดาวเพดานระบายสีเลียนแบบเครื่องไม้ที่ถ้ำโม่เกาหรือตุ้นฮวง (จำไม่ได้แล้ว) เอาไม้ตีไขว้กันขึ้นไปเรื่อยๆแบบเครื่องบนพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท


กระทู้: เรือนยอดพระที่นั่งวิหารสมเด็จ
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 09 เม.ย. 10, 07:02
เครื่องไม้แบบนี้มีในอินเดียด้วย ไม่ทราบว่าคิดกันได้เองหรือมีความคิดส่งถึงกัน แต่คล้ายกันมาก โดยเฉพาะเครื่องไม้ในศิลปะคันธาระ แถวปากีสถาน อัฟกานิสถาน ซึ่งอยู่ในเส้นทางสายไหมติดต่อกันจีนอยู่แล้วครับ

ภาพดาวเพดานแกะเลียนแบบเครื่องไม้ที่บามิยันครับ ศิลปะคันธาระ คล้ายกันกับจีนมากๆ


กระทู้: เรือนยอดพระที่นั่งวิหารสมเด็จ
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 09 เม.ย. 10, 07:05
ลืมที่มาของภาพครับ  :-X

ที่มา :  http://huntington.wmc.ohio-state.edu/public/index.cfm?recID=1&fuseaction=browseResults&SiteID=5276&CFID=8380202&CFTOKEN=80533625

พระพุทธรูปประทับในอาคาร ของจีนจากเส้นทางสายไหม ราชวงศ์เว่ยเหนือ?


กระทู้: เรือนยอดพระที่นั่งวิหารสมเด็จ
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 09 เม.ย. 10, 07:14
ของอินเดียครับ พระพุืทธเจ้าประทับในปราสาทแบบกรีก


กระทู้: เรือนยอดพระที่นั่งวิหารสมเด็จ
เริ่มกระทู้โดย: asia ที่ 09 เม.ย. 10, 21:46
พูดถึงพระที่นั่งวิหารสมเด็จแล้ว ให้นึกถึง บทละครอิเหนาครั้งกรุงเก่า
 
          อันแว่นแคว้นแดนขัณฑเสมา สนุกดังเมืองฟ้าสรวงสวรรค์
      อันปรางค์ปราสาททั้งสี่นั้น       ล้วนสุวรรณมณีจินดา
     ทั้งหางหงส์ช่อฟ้าปราลี           เลิศล้วนมณีมีค่า
      มรฑปเก้ายอดโอฬาร์            มีเทวาถือฉัตรประนมเรียง
     อันเทพอัปสรกินริน                ดีดพิณมณีประโคมเสียง
    ไพเราะครื้นครั่นสนั่นเวียง       เพียงนางบำเรอสหัสนัยน์
    มีปรางค์ปราสาทน้อยรายรอบ   ประกอบกาบสุรกาญจน์ไม่นับได้
   กนกกระหนาบคาบคั่นเป็นชั้นไป   อำไพเลิศโลกละลานตา
  เพดานในไว้เดือนระยับย้อย       ระย้าห้อยเพชรดีมีค่า
  ตรีมุขสิงหาสน์ดาษดา            ด้วยมหาเนาวรัตน์อันยิ่งยง
   หน้าบันบรรเจิดเลิศนัก          เฉลาฉลักวิจิตรพิศวง
สุบรรณยุดนาคินทร์บรรจง       หางหงส์ระยับเพียงพรรณราย
 แสงแก้วประกอบกาญจน์กุดั่นดวง  วิเชียรช่วงประดับเลิศเฉิดฉาย
มีพรหมสี่หน้าเรียงราย             ถือประทุมถวายบังคมคัล
อันแท่นรองปราสาทกนกห้อย   ระยับพลอยมรกตสดสีสัน
มีสิงห์อัดหยัดหย่องเรียงรัน      ทั้งเก้าชั้นวิไลยรรยง





กระทู้: เรือนยอดพระที่นั่งวิหารสมเด็จ
เริ่มกระทู้โดย: sittisak ที่ 10 เม.ย. 10, 13:30
โอ้ว น้องกุลุ ใกล้เคียงกับที่พี่คิดเลย งามๆๆๆ  แต่ทรงแบบยอดเมรุรายตามแบบวัดไชยนั้น มีอยู่มี่เดียวจริงๆนั้นคือมีที่วัดไชย  ไม่พบเห็นที่อื่นอีกเลย  แล้วยอดปรางค์ของพระที่นั่งจักรวรรดฺ์ละ น่าจะเป็นรุปแบบเดียวกันใช่หรือไม่ เพราะเป็นการสร้างขึ้นในรัชสมัยพระเจ้าปราสาททองด้วยกันะ.....อันแน่..ไปวังเก่าไม่เรียกเลยยยยยย   อยากไปด้วยยยยยคับบ


กระทู้: เรือนยอดพระที่นั่งวิหารสมเด็จ
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 11 เม.ย. 10, 09:25
ไว้บ้านเมืองสงบก่อนแล้วค่อยไปเที่ยวกันนะครับพี่


กระทู้: เรือนยอดพระที่นั่งวิหารสมเด็จ
เริ่มกระทู้โดย: yuttasin ที่ 17 เม.ย. 10, 00:21
ผมรักจิตรกรรมไทยเเต่ไม่ค่อยรู้อะไร ไม่รู้เพราะอะไรถึงชอบ  พวกพี่ๆสุดยอดเลย หาคำพูดจะขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆไม่ถูก วันนี้อึดอัดอยากจะระบายความขอบคุณเพราะที่ผ่านมาเเสดงความคิดเห็นในกระทู้ไม่ได้ (ไม่ได้สมัครสมาชิก)ยังไงก็ขอจะขอเป็นเเฟนพันธ์เเท้กระทู้เจ๋งๆนี้ไปจนเว็ปล่มอะคับ เป็นกำลังใจให้ครับ สู้ๆ


กระทู้: เรือนยอดพระที่นั่งวิหารสมเด็จ
เริ่มกระทู้โดย: ohm md ที่ 17 เม.ย. 10, 06:15
นอกเหนือจากวัดไชย ยังมีที่วังหน้านะคับ
ตอนนี้ไปอยู่วัดไพชยนต์แล้ว


กระทู้: เรือนยอดพระที่นั่งวิหารสมเด็จ
เริ่มกระทู้โดย: ohm md ที่ 17 เม.ย. 10, 06:20
รูปจากเนตคับ ไม่เห็นยอดสุด แต่ก็เห็นว่ามีพรหมพักตร์ และก้อยอดปรางค์แน่ๆ


กระทู้: เรือนยอดพระที่นั่งวิหารสมเด็จ
เริ่มกระทู้โดย: sittisak ที่ 17 เม.ย. 10, 09:48
ใช่เลยครับ น้องให้น้ำหนักที่วัดไพชยยนตร์มากมาย น่าจพใกล้เคียงในรูปแบบและดครงสร้าง รวมถึงจังหวะ  แต่งานของวังหน้านี้เราอ้างอิงถึงช่วงปลายของกรุงได้ไหมครับ หรือว่าจริงๆมันก็คือรูปแบบเดียวกัน เพียงแต่เรามากำหนดสกุลช่างกันเองในภายหลัง


กระทู้: เรือนยอดพระที่นั่งวิหารสมเด็จ
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 17 เม.ย. 10, 20:52
เห็นด้วยกับคุณโอมว่าเรือนยอดของบุษบกยอดปรางค์วัดไพชยนต์อาจจะเป็นเรือนยอดของพระที่นั่งวิหารสมเด็จได้ แต่ก็ยังไม่มีหลักฐานยืนยันแน่ชัด เนื่องจากบุษบกยอดปรางค์อาจจะมีใช้ได้ทั่วไปในกรุงศรีอยุธยาครับ อีกทั้งประตูต่างๆในกรุงศรีอยุธยาที่มีพรหมพักตร์ก็ยังหลงเหลือหลักฐานอยู่บ้าง

คราวก่อนยังไม่ได้ทำรายละเอียดของเรือนยอดพระที่นั่ง คราวนี้เลยขอลองสันนิษฐานดูว่าจะเป็นยังไง เอาแบบวัดไชยวัฒนารามผสมวัดไพชยนต์ครับ

หมดสงกรานต์แล้ว หวังว่าสมาชิกจะกลับมาอุ่นหนาฝาคั่งเหมือนเดิมนะครับ บอร์ดร้างไปหลายวันแล้ว  :'(


กระทู้: เรือนยอดพระที่นั่งวิหารสมเด็จ
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 17 เม.ย. 10, 20:53
หน้าพรหมสร้างยาก ตอนนี้ก็ยังทำไม่ได้ครับ เครื่องคอมเริ่มออกอาการไม่ให้ความร่วมมือเสียด้วย


กระทู้: เรือนยอดพระที่นั่งวิหารสมเด็จ
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 17 เม.ย. 10, 21:00
จริงๆเรือนชั้นซ้อนควรจะมีประมาณ 7 ชั้น แต่่ตัดให้เหลือแค่ 3 ชั้น เพราะคล้ายๆกันและจะได้เน้นเฉพาะส่วนยอด


กระทู้: เรือนยอดพระที่นั่งวิหารสมเด็จ
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 17 เม.ย. 10, 21:27
อีกรูปครับ ขอคำแนะนำด้วยนะครับ 8)


กระทู้: เรือนยอดพระที่นั่งวิหารสมเด็จ
เริ่มกระทู้โดย: asia ที่ 17 เม.ย. 10, 21:47
คงน่าจะเป็นเรือนยอดอย่างที่คุณ ku สร้างนี้ละมั่งคับ  หรือใครเห็นว่าอย่างไรคับ ผม


กระทู้: เรือนยอดพระที่นั่งวิหารสมเด็จ
เริ่มกระทู้โดย: sittisak ที่ 18 เม.ย. 10, 14:04
เจ๋งอะ.....ดปรแกรมไรอะน้องกุลุ  พี่ขอมาลงหน่อยจิ เริ่ดดดดดดดดดดดดดด


กระทู้: เรือนยอดพระที่นั่งวิหารสมเด็จ
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 18 เม.ย. 10, 23:05
google sketchup ครับพี่  sittisak ใช้ง่ายดาย  ตอนนี้มีุถึงเวอร์ชั่น 7.1 แล้ว เหมาะสำหรับคนที่ไม่เคยเรียนออกแบบหรือทำ 3D มา (อย่างผม  :-[) โหลดได้จากเนตครับ

อยากลองใช้ V-Ray ดูบ้าง จะได้เพิ่มแสงสีเข้าไปให้เหมือนจริง แต่คอมอืดอาด คงต้องซื้อเสปคเครื่องดีกว่านี้


กระทู้: เรือนยอดพระที่นั่งวิหารสมเด็จ
เริ่มกระทู้โดย: han_bing ที่ 19 เม.ย. 10, 12:08
เรียนสมาชิกเรือนไทย (โดยเฉพาะกลุ่มพระที่นั่งวิหารสมเด็จ)
             ขอไชโยให้กับความอุตส่าหวิริยะจริงๆ กับแฟนๆกระทู้อมตะนี้ ในการรังสรรค์ภาพอันยิ่งใหญ่ของพระที่นั่งวิหารสมเด็จขึ้นมา (ถึงจะยังไม่รู้ว่าใช่แน่แท้หรือไม่ แต่ก็ถือว่าใกล้เคียง) ขอให้จำลองได้ทั้งองค์เลยนะท่านทั้งหลาย
                ติดตามให้กำลังใจต่อไป  8)
                สวัสดี
                ปล. จะลองหาโปรแกรมนี้ดูบ้าง โก้มากๆเลยแฮะ


กระทู้: เรือนยอดพระที่นั่งวิหารสมเด็จ
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 19 เม.ย. 10, 21:17
โอ้... ;)

เคยเอาแบบจากพระเมรุวังสวนผักกาดมาแปลงครับ ลองเขียนๆดูแล้ว ต่อให้ยอดเป็นเครื่องปูนก่ออิฐยังทำได้เลยได้ครับ
แต่ถ้าทำเป็นยอดเครื่องไม้ก็ต้องจินตนาการโครงสร้างเครื่องไม้กัน เพราะโครงสร้างปราสาทยอดเครื่องไม้ลักษณะนี้
ไม่มีแบบหลงเหลือให้ดู ดีใจที่วัันนี้มีแบบใหม่ๆมาเป็นข้อมูลสำหรับพระที่นั่งองค์นี้อีกครับ


กระทู้: เรือนยอดพระที่นั่งวิหารสมเด็จ
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 19 เม.ย. 10, 23:06
ยังแปลกใจโมเดลของเมืองโบราณ ว่าทำไมพระที่นั่งองค์นี้ถึงใหญ่โตมโหฬารเหลือเกิน มุขยาว ยาวด้านละเก้าห้องสิบห้อง มุขสั้นก็กว้างตั้ง 3 ห้อง (ลองนับช่องหน้าต่างหว่างเสาดูครับ)

รวมกันทั้งองค์มิยาวถึงยี่สิบกว่าห้องหรือ คงจะใหญ่กว่าพระอุโบสถวัดสุทัศน์เสียอีก

ผมคิดว่า ทั้งพระที่นั่งทั้งองค์ยาวเพียง 9 ห้องก็ใหญ่เหลือเกินแล้ว (ขนาดวัดชื่อวัดเก้าห้อง ใหญ่โตโอฬาร ยังนับได้แค่ 7 ห้อง?)

ส่วนยอดหลังคา ใช้ระบบผนังรับน้ำหนักทั้งหมด ไม่มีเสาร่วมในเลย ผนังจึงหนามาก แต่จะว่าเป็นเครื่องไม้รับอิฐก็เป็นไปได้ เมืองไทยนิยมอยู่แล้ว แม้จะทราบดีว่าพังง่ายก็ตาม



กระทู้: เรือนยอดพระที่นั่งวิหารสมเด็จ
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 19 เม.ย. 10, 23:58
โมเดลของเมืองโบราณ เห็นว่าสร้างตามหนังสือพระที่นั่งวิหารสมเด็จ ของอาจารย์เสนอ นะครับ
และมีบันทึกการสำรวจรังวัดไว้ด้วย ผมจำตัวเลขแน่นอนไม่ได้ ต้องวานพี่ทอมมี่ หรือท่านอื่น
ที่มีหนังสือเล่มดังกล่าวอีกที แต่ที่จำได้ก็คือ กว้างใหญ่กว่าพระที่นั่งสรรเพ็ชญ์ฯมากอยู่เหมือนกัน
และช่วงเสาที่ก่อเป็นเสาเก็จใช้กำหนดห้องนั้นไม่เหลือร่องรอย เรื่องห้องก็คงน่าจะไม่น่าเกินเก้ามั้งครับ??
ถ้าดูจากภาพยนตร์ตำนานสมเด็จพระนเรศวร พระที่นั่งสรรเพ็ชญ์ฯซึ่งสร้างตามขนาดจริง ก็นับว่าไม่
ได้ใหญ่โตนัก เพียงแต่ในภาพยนตร์ ตั้งบัลลังก์แบบพระที่นั่งอมรินทร์ฯ คือเลื่อนพระแท่นนพปฏลฯ
ลงมาจากอัฒจรรย์ที่ตั้งบุษบกเกรินไว้ด้านบน แบบนี้ตัวพระแท่นดังกล่าวจะกินพื้นที่ของท้องพระโรงมาก
ซึ่งผมคิดว่าอยุธยาคงไม่ตั้งลักษณะนี้แน่นอน เพราะทำให้ดูแคบเกินไป

สำหรับพระที่นั่งวิหารสมเด็จซึ่งถ้าจำไม่ผิดขนาดของมุขโถงหน้านั้นจะกว้างใหญ่กว่า ของพระที่นั่งสรรเพ็ชญ์ฯ
เกือบเท่านึง?? ซึ่งก็นับว่าใหญ่พอสมควร ทำให้คิดเอาเองว่าพระที่นั่งสรรเพ็ชญ์ฯ ที่มีนามว่ามหาปราสาทแต่
ขนาดเล็กว่านั้น คงเป็นเพราะเป็นพระที่นั่งสำคัญที่ใช้ในพิธีบรมราชาภิเษกและตั้งภัทรบิฐ
(ไม่รู้ว่าจะใช่ปัญงคกาญจนเนาวรัตน์ไหม)
ส่วนพระที่นั่งวิหารสมเด็จคงใช้ในการประชุมว่าราชการ การเสด็จออกมหาสมาคม หรือพระราชพิธีใหญ่ๆอื่นใด??

สถานที่จริงไปซะนานลืมความรู้สึกไปแล้ว ส่วนเรื่องเครื่องยอดถ้าก่ออิฐโค้งจากผนังให้กลาย
เป็นโดม ผมว่าก็ตั้งเครื่องยอดเป็นปูนได้นะครับ เหมือนพระเมรุทิศ แต่เขาว่าต้องหุ้มดีบุกปิดทองด้วย
ก็อาจเป็นเครื่องยอดไม้ เพราะถ้ายอดเป็นเครื่องปูน ก็ต้องบุแผ่นทองแดงแล้วปิดทอง
หรืออย่างอื่นใดอีกครับ


กระทู้: เรือนยอดพระที่นั่งวิหารสมเด็จ
เริ่มกระทู้โดย: ติบอ ที่ 20 เม.ย. 10, 07:42
ก็คงจะเหมือนเครื่องยอดเมรุทิศอย่างที่คุณ virain ว่าไว้ได้ครับ
แต่ผมก็ยังไม่เดาว่าจะเป็นอย่างนั้น
เพราะดูแล้วยอดเมรุทิศวัดไชยวัฒนารามผิดส่วนอยู่มาก
คือ แทบจะไม่เหลือที่ให้ปรางค์แล้ว (จนหลายคนก็ดูแล้วเผลอคิดว่าเป็นเหม)

ในขณะที่จิตรกรรมรูปปราสาทยอดปรางค์สมัยอยุธยา
ต่อให้ผิดส่วนแค่ไหนปรางค์ก็ไม่หายย่นร่นย่อไปจนเหลือแค่ 3 ชั้นอย่างนั้น
น่าจะเพราะเครื่องไม้กับเครื่องอิฐมีรายละเอียดในงานสถาปัตยกรรมต่างกันมากมั้งครับ

โดยส่วนตัวผมเดาว่าอาจจะเป็นไม้ปิดทองประดับกระจก (หรือเปล่า ?) ครับ


กระทู้: เรือนยอดพระที่นั่งวิหารสมเด็จ
เริ่มกระทู้โดย: sittisak ที่ 20 เม.ย. 10, 12:38
ไปถก หาข้อสัญนิฐานและวิเคาราหะกันที่หน้างานกันไหม..........เป็นไปได้ทั้งหมด เดี่ยวกลับไปเปิดหนังสือก่อนนะเจ้าเน เดี่ยวมาบอก...


กระทู้: เรือนยอดพระที่นั่งวิหารสมเด็จ
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 20 เม.ย. 10, 19:13
เรื่องขนาดของพระที่นั่งวิหารสมเด็จนั้น ถ้าน้องเนลองเปิดกูเกิ้ลเอิร์ธดูก็จะพบว่ามิได้ใหญ่กว่าพระที่นั่งสรรเพชญปราสาทเลย ตรงกันข้ามจะมีขนาดเท่าๆกันเสียด้วยซ้ำ

เรื่องเสาเก็จแบ่งห้องนั้น แม้จะไม่มีร่องรอยเหลือ แต่มีแกนอิฐรองรับไม้กระดานปูพื้นพระที่นั่งแบ่งเป็นตาราง ไม่ทราบว่าจะใช้แบ่งห้องได้หรือไม่ เพราะแต่ละช่องตารางก็ไม่ได้ใหญ่โตนัก

ในความคิดส่วนตัวนะครับ ผมว่าพระที่นั่งองค์นี้มีมุขหน้า สี่ห้องไม่รวมมุขเด็จ มุขหลังสองห้องและเป็นโถง (แบบโถงที่พาไลมุขวัดพระแก้ว) อีกเสียสองห้อง และห้องโถงกลางขนาดใหญ่รับยอดปราสาทอีกห้อง ลองเปิดดูกูเกิ้ลเอิร์ธ จะเห็นโครงอิฐรับไม้กระดานตีเป็นตารางชัดเจนครับ น่าจะใช้แบ่งห้องได้ หรือหากข้องใจเรื่องความใหญ่โตของพระที่นั่ง กูเกิ้ลเอิร์ธก็มีไม้บรรทัดให้ครับ


เรื่องการตั้งบัลลังก์ แต่เดิม พระที่นั่งพุดตานกาญจนสิงหาสน์ก็มิได้ตั้งอยู่ในพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยอยู่แล้ว หากจำไม่ผิดจะย้ายจากพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทมาประดิษฐานไว้ในสมัยรัชกาลที่หก ครับ แต่ที่แน่ๆคือพระที่นั่งพุดตานเคลื่อนย้ายได้ หากอ่านจดหมายเหตุทูตต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นรัชกาลที่สามหรือสี่ ทรงออกรับราชทูตบนพระที่นั่งบุษบกมาลามหาพิมานทั้งสิ้น






กระทู้: เรือนยอดพระที่นั่งวิหารสมเด็จ
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 20 เม.ย. 10, 19:34
ส่วนการตั้งพระราชบัลลังก์ในกรุงศรีอยุธยาจะเป็นอย่างไรนั้น หากเป็นพระราชพิธีใหญ่อย่างเสด็จออกมหาสมาคมรับราชทูต คงเป็นอย่างในภาพเขียนพระนารายณ์รับทูตฝรั่งเศส คือออกพระบัญชร เห็นเพียงครึ่งพระองค์ ในภาพนั้น มักกล่าวกันทั่วไปว่าเสด็จออกมุขพระที่นั่งดุสิตสวรรค์ธัญมหาปราสาท เมืองลพบุรี เพราะซากสถานที่ชวนให้นึกเห็นเช่นนั้น

 แต่แท้จริงแล้วเสด็จออกรับชวาเลียร์ เดอ โชมอง ในกรุงศรีอยุธยาตามบันทึกของบาทหลวงตาชาร์ด และสถานที่นั้นคงเป็นพระที่นั่งสรรเพชญปราสาท เพราะหากไปชมซากฐานที่เหลือ ก็ยังมีร่องรอยก่ออิฐแบบพระบัญชรเช่นนี้ จึงเชื่อว่าพระที่นั่งราชบัลลังก์แต่ก่อนคงมีลักษณะเป็นบัญชรยื่นออกมาจากผนังมากกว่า

แต่หากเป็นพิธีรองลงมา อาจจะตั้งพระที่นั่งพุดตานอย่างอมรินทร์วินิจฉัยก็เป็นได้ แต่ก็ไม่มีหลักฐานยืนยันแน่ชัด

การที่พระราชบัลลังก์ออกแบบมาเป็นบัญชรเช่นนี้ ผมคิดว่าอาจจะสะท้อนออกมาในลักษณะของธรรมาสน์ (ซึ่งเป็นการจำลองอาคารฐานันดรสูง) พระภิกษุที่ขึ้นเทศน์ก็ขึ้นมาจากด้านหลัง เมื่อมองจากด้านหน้า ก็จะเห็นเพียงครึ่งองค์เช่นกัน 

ส่วนคุณติบอ ผมคงจะเขียนไม่ค่อยเคลียร์ หรือมีปัญหาในการสื่อสาร คือโมเดลนี้ตัดเรือนยอดมาเพียงสามชั้นครับ จริงๆมันต้องมีเจ็ดชั้นเก้าชั้นไปตามเรื่องอยู่แล้ว มิได้มีเพียงเท่านี้


กระทู้: เรือนยอดพระที่นั่งวิหารสมเด็จ
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 20 เม.ย. 10, 19:53
ขอโทษด้วยครับพี่กุ ผมเองก็อ่านหนังสือเล่มนั้นมานานแล้ว ก็เลยพูดไปตามความรู้สึกที่จำได้ไม่ได้ส่องเช็คดู
แต่ก็เป็นอย่างที่พี่กุว่าไว้ครับ ว่าถ้าดูจากภาพถ่ายทางอากาศแล้ว ขนาดของพระที่นั่งทั้งสององค์ก็ดูจะไม่ต่างกัน
แต่ก็ยังคาใจเรื่องขนาดรังวัดอยู่ ยังไงวานพี่ทอมมี่เอาข้อมูลมาไขข้อกังขาเร็วๆนะครับ
ส่วนเรื่องมุขหลัง อาจารย์เสนอท่านก็เสนอไว้สองแบบ คือโมเดลในภาพแรกมุขหลังทำเป็นหลังคาคลุม
เหมือนแบบพระระเบียงสามห้อง แล้วมีเฉลียงแบบพระอุโบสถวัดพระแก้ว แต่โมเดลแบบที่สองเป็นมุขหลัง
ยื่นออกมาหนึ่งห้องแล้วปล่อยพื้นที่ด้านหลังไว้ คาดว่าคงดูตามแบบเสารองรับไม้กระดาน อย่างที่พี่กุบอกไว้
ส่วนมุขหน้าทำเป็นมุขเด็จ ส่วนเรื่องตารางคานกระดานสงสัยอาจารย์เสนอ คงไม่ได้แบ่งห้องตามกระดานมั้งครับ






กระทู้: เรือนยอดพระที่นั่งวิหารสมเด็จ
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 20 เม.ย. 10, 20:04
โอ้โห ฐานยาวตั้งแปดสิบเมตรเลยหรือเนี่ย พี่เองก็ไม่เคยส่องสักที แปดสิบเมตร แปดสิบเมตร


กระทู้: เรือนยอดพระที่นั่งวิหารสมเด็จ
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 20 เม.ย. 10, 20:33
ที่จริงผมอยากได้แผนที่รังวัดแล้วก็ไปเดินดูเองเหมือนกันนะ ว่าแล้วก็ชวนกันไปดีไหมครับ
เอ้...กบแดงหายไปไหนนะ 555
 ;D
แต่ตอนนี้อยากไปหลายที่มาก ราชบุรี อู่ทอง นครปฐม จันเสน สรรคบุรี ฟ้าแดดฯ ขอนแก่น โคราช ฯลฯ

ส่วนเรื่องเรือนยอด ที่ทำแบบเรือนธๆตุ?? ซ้อนลดขนาดกันขึ้นไป ผมว่ามันอาจไม่ต้องถึงเก้าก็ได้นะครับ
แต่ก็ไม่แน่ใจนะครับ เพราะเคยลองพยายามทำให้ได้เก้า มันก็ไม่อยู่ในทรงแถมยังดูเกินๆไป ถ้าสักห้าจะกำลังดีแล้วต่อเป็น
ยอดปรางค์ ตัวปรางค์ก็จะไม่ลีบเล็กเกินไปแต่จะใส่พรหมพักตร์หรือไม่คงต้องขอความรู้เพิ่มเติม เพราะจากที่เคยอ่านมาบ้าง
เหมือนจะมีเอกสารที่ทั้งกล่าวถึงพรหมพักตร์และไม่กล่าวถึง ส่วนเรื่องยอดรองอีกสี่ยอด ตามที่พรรณาฯ เขียนไว้เขาบอกว่า
มุขโถงทำยอดแยกออกมาเอง แต่ไม่รู้จะใช้อ้างอิงได้แค่ไหนนะครับ แต่ถ้าเอกสารเขียนไว้อย่างนี้ก็คือหลักฐานนี้
ไปก่อน มีแนวทางใหม่ๆก็ว่ากันอีกที

"...ยอดหุ้มดีบุกปิดทอง เปนปราสาทสำคัญในพระนคร เปนที่บุษยาภิเศกพระมหากษัตรแต่ก่อนมา
มีมุขโถงยาวออกมาจากองค์ ที่มุขโถงนั้นมียอดมณฑปต่างหากจากองค์ปราสาทใหญ่..."

แสดงว่ายอดไม่รวมตัวกันอยู่??บนหลังคาชั้นที่หนึ่ง แต่อยู่บนหลังคาชั้นที่ถัดลงมา อาจะเป็นชั้นที่สองหรือสาม? ไม่ด้อยู่ในตัวของปราสาท(ห้องที่เป็นมณฑป)
แต่ถ้าแยกออกมาก็ดูเหมือนจะเป็นเรื่องอีกครับ ว่าจะใช้โครงสร้างยังไง เพราะแค่รับยอดในทรงมณฑปก็คิดยากแล้ว แต่นั่ยอดมาตั้งบนสันหลังคาอกไก่??
พี่กุหรือท่านอื่นๆว่าอย่างไรครับ ผมขอความคิดเห็นต่อ


กระทู้: เรือนยอดพระที่นั่งวิหารสมเด็จ
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 20 เม.ย. 10, 22:50
สำหรับวิมานชั้นซ้อนนั้น จากโมเดลที่ผมลองทำดู ก็ใช้แบบจากปราสาทพระเทพบิดร ซึ่งซ้อนกันเจ็ดชั้น แล้วต่อด้วยยอดปรางค์ที่มีวิมานอีกเจ็ดชั้น ส่วนยอดปรางค์ทำให้หัวมันบวมๆหน่อยกันอากาศกิน


ประตูหลายประตูในพระบรมมหาราชวังก็ใช้ระเบียบนี้ ก็ยังสามารถคุมยอดให้สวยงามได้ครับ มีประตูนึงจำชื่อไม่ได้ ทำห้ายอดจริงๆ มียอดเล็กวางอยู่บนสันหลังคา และมียอดปรางค์น้อยๆ แซมอยู่บนซุ้มรังไก่ ถ้านับดูคงได้หลายยอดอยู่

สำหรับผมคิดว่า การที่บอกว่ามุขโถงมียอดมณฑปแยกออกจากยอดปราสาทใหญ่ ยิ่งแสดงให้เห็นชัดว่า ปราสาทหลังนี้ควรจะมีลักษณะคล้ายๆพระเวชยันต์ที่เพชรบุรี คือถ้าบอกว่า มีห้ายอดที่ยอดกลาง และมียอดแยกที่สันหลังคาอีกสี่ยอด ลองเป็นใครถ้าให้นับ ก็ต้องบอกว่ามีเก้ายอด มิใช่่ห้ายอด

ส่วนการที่ยอดอยู่บนสันหลังคาก็มิใช่เรื่องยากเย็น เพราะเราไม่รู้ว่ายอดมันใหญ่แค่ไหน จะประดับพอเป็นพิธีสักกระจุ๋มนึงก็ได้ครับ


กระทู้: เรือนยอดพระที่นั่งวิหารสมเด็จ
เริ่มกระทู้โดย: ติบอ ที่ 20 เม.ย. 10, 23:03
ส่วนคุณติบอ ผมคงจะเขียนไม่ค่อยเคลียร์ หรือมีปัญหาในการสื่อสาร คือโมเดลนี้ตัดเรือนยอดมาเพียงสามชั้นครับ จริงๆมันต้องมีเจ็ดชั้นเก้าชั้นไปตามเรื่องอยู่แล้ว มิได้มีเพียงเท่านี้

ผมหมายถึงยอดของเมรุทิศ-เมรุรายที่วัดไชยวัฒนารามครับ
ไม่ได้หมายถึงภาพของคุณกุรุกุลา เข้าใจครับว่าที่คุณวาดมาให้พวกเราดูกันเป็นงาน study
โอกาสที่จะได้ภาพออกมายังไม่ถูกใจคนวาดก็มีได้เสมอๆ
ดีใจครับที่คุณวาดมาให้ชมกัน และแอบชื่นชมมานานแล้วครับในความอุตสาหะของคุณ
ต้องขอโทษคุณกุรุกุลาด้วยนะครับ ที่ทำให้เข้าใจผิด



แสดงว่ายอดไม่รวมตัวกันอยู่??บนหลังคาชั้นที่หนึ่ง แต่อยู่บนหลังคาชั้นที่ถัดลงมา อาจะเป็นชั้นที่สองหรือสาม? ไม่ด้อยู่ในตัวของปราสาท(ห้องที่เป็นมณฑป)
แต่ถ้าแยกออกมาก็ดูเหมือนจะเป็นเรื่องอีกครับ ว่าจะใช้โครงสร้างยังไง เพราะแค่รับยอดในทรงมณฑปก็คิดยากแล้ว แต่นั่ยอดมาตั้งบนสันหลังคาอกไก่??
พี่กุหรือท่านอื่นๆว่าอย่างไรครับ ผมขอความคิดเห็นต่อ

ยอดบนสันหลังคาอกไก่เป็นของพื้นๆในศิลปะอยุธยาครับ
ตัวอย่างที่เห็นกันแล้วมักผ่านตาไป คือ พระเจดีย์ศรีสุริโยทัย
เพราะชอบคิดกันว่าเป็นงานก่ออิฐและต่างจากงานไม้ แต่ที่จริงแล้วมีต้นแบบทางความคิดร่วมกันอยู่
เวลาการสร้างก็อยู่ก่อนหน้าพระที่นั่งสรรเพชญ์ปราสาทไม่นานนักด้วยนะครับ





ส่วนเรื่องจำนวนยอดเห็นด้วยกับคุณกุรุกุลาครับ ว่าอาจจะเป็น 9 ยอดมากกว่า 5 ยอด
แต่ก็ยังสงสัยอยู่ว่าจะมีโอกาสเป็น 3 หรือ 7 ยอดได้มั้ย ? คือ 1 หรือ 5 ยอดที่ใจกลาง
และอีก 2 ยอด (?) บนมุขหน้า-หลัง

เพราะเท่าที่ผ่านตามาจากยอดเจดีย์ทรงปราสาท และปราสาทจริงๆ
บางครั้งก็ลงด้วยเลข 7 หรือ 11 ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็น 5 และ 9 เสมอไปนี่ครับ





บางทีเรื่องใกล้ๆ ภาษาเข้าใจได้ หลักฐานยังอยู่ทนโท่ให้เห็นตำตาก็ยังเถียงกันได้ตั้งมากตั้งมาย
เรื่องที่ไกลออกไป คลุมเครือ และทำความเข้าใจได้ยากกว่า การใส่จินตนาการเข้าไปก็สนุกดีนะครับ


กระทู้: เรือนยอดพระที่นั่งวิหารสมเด็จ
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 20 เม.ย. 10, 23:46
เข้ามาหาเรื่องเถียงต่อดีกว่า นอนไม่หลับ ... :(

ถ้าเป็นลักษณะของปราสาทเก้ายอดอย่างที่พี่กุว่ามา ก็พอจะดึงพระที่นั่งสรรเพชญ์มาเกี่ยวได้ว่าเป็นแบบนั้น
แต่พระที่นั่งวิหารสมเด็จที่โถงกลาง(ปราสาท-มณฑป) ผมคิดว่าเป็นพระปรางค์ยอดเดี่ยว แล้วถ้าเชื่อว่ามียอด
แยกออกไปที่สันหลังคาอกไก่ ของมุขที่ยื่นไปแต่ละด้าน ทั้งหมดก็น่าจะมีองค์รวมที่ห้ายอดครับ เพราะถ้า
ประดับยอดเล็กไปแล้วเดี่ยวไม่กินกับบราลี  หรือเปล่าครับ??

ส่วนเรื่องโครงไม้ที่ใช้รับยอดบนสันหลังคาอกไก่ ที่แยกออกมาต่างหาก ผมสังเกตว่าตัวมุขโถงด้านหน้าที่แยกออกมานั้น
มีความก้างราวๆสิบเมตรเศษ ซึ่งถ้าไม่มีเสาขึ้นไปรับเครื่องยอดที่ยกออกมาต่างหากนั้น ก็ดูจะลำบากเหมือนกัน ลำพังจะอาศัยผนัง
รับน้ำหนักคงจะไม่ไหว เพราะถ้าดูจากพระอุโบสถของวัดไชยฯซึ่งมีความกว้างราวๆกัน ด้านในยังมีเสาร่วมในรับขื่อเอกด้วย
แต่พระที่นั่งวิหารสมเด็จอาจจะใช้โครงสร้างแบบตั้งตุ๊กตา หรือแบบพระอุโบสถวัดพระแก้วที่ไม่มีเสาร่วมใน อีกประการคือผนังแต่ละห้อง
คงจะต้องมีหน้าต่างด้วย หากจะอาศัยผนังรับเครื่องบนทั้งหมดคงจะไม่ได้ เพราะฉะนั้นตามความคิดเห็นของผมถ้าจะต้องมียดอแยกออกมา
ในลักษณะนี้แล้วคงจะต้องมีเสาอย่างน้อยหนึ่งคู่นะครับ ??
การตั้งยอดบนอกไก่ที่คุณติบอบอกไว้อาจจะเป็นรูปแบบพื้นๆของชาวอยุธยา ก็ทำให้ย้อนกลับไปนึกถึงเรื่องน้ำรั่ว ที่เคยพูดถึงกันไปตอนต้นๆกระทู้
อีกเรื่องถ้าลองวางดูแล้วบางทีอาจจะดูไม่ลงตัวสำหรับพระที่นั่งก็ได้ครับ เพราะปกติมุขโถงจะยาวออกไปแต่เรื่อนยอดอยู่เถิบออกมา ทำให้ดูไม่จบ
เพราะยอดต้องวางอยู่โดดๆ ไม่เหมือนยอดบนซุ้มจระนำที่ยื่นมาไม่ไกล ดังนั้นถ้าจะแก้อาจต้องลดหลังคาลงอีกชั้นถัดจากเรือนยอดรองเหล่านนี้
นี่เป็นอีกประเด็นที่ชวนให้ขบคิดว่า ช่างไม้สมัยอยุธยานั้นเขาแก้ปัญหาอย่างไร งานช่างหลวงอยุธยามีน้อยเหลือมาให้ดู ไม่แน่ว่าช่างปูนอยุธยาอาจจะ
ไม่เก่งมาก(??) แต่งานไม้อาจจะขั้นเทพไม่แพ้ใครในเอเซียอาคเนย์ เพราะส่วนเล็กส่วนน้อยพวกนี้ เวลาเราคิดงานถ้ามันยังดูขาดดูโหว่มันก็เลยคิดว่าไม่ใช่
สิ่งที่ดีที่สุด ต้องขอโทษด้วยที่แสดงความคิดเห็นยืดเยื้อหน้าเบื่อมากไปครับ แหะๆ

ปล.ขออภัยอีกครั้งเรื่องศัพท์ต่างๆ ที่อาจเรียกผิดเรียกถูกครับ


กระทู้: เรือนยอดพระที่นั่งวิหารสมเด็จ
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 21 เม.ย. 10, 00:02
ลงรูปปราสาทพระเทพบิดรประกอบครับ และขอบคุณคุณโอมด้วยครับที่อุตสาห์หาภาพปราสาทจากวัดไพชยนต์มาฝาก
ผมเองยังไม่เคยไปชมเลย ....



กระทู้: เรือนยอดพระที่นั่งวิหารสมเด็จ
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 21 เม.ย. 10, 00:04
...


กระทู้: เรือนยอดพระที่นั่งวิหารสมเด็จ
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 21 เม.ย. 10, 10:46
ถึงขนาดนอนไม่หลับเลยหรือน้องเน อิอิอิอิ

ในความคิดของผม อย่างไรก็คงจะต้องมียอดปรางค์บริวารบนสันหลังคาซ้อนชั้น ที่ถัดลงมาจากยอดปรางค์ใหญ่ ขณะเดียวกัน สันหลังคานี้ น่าจะกินพื้นที่ไม่เกินยกกระเปาะนอกสุดของห้องประธาน (ที่มีลักษณะเป็นกล่องอิฐย่อมุมขนาดใหญ่)

ถ้าซ้อนชั้นหลังคารับน้ำหนักด้วยโครงอิฐของกล่องห้องประธานแล้ว ก็คงไม่จำเป็นต้องตั้งเสากลางห้อง(มุขโถง) อีก อีกทั้งยังใช้กระเปาะอิฐที่ยื่นออกมานั่นแหละเป็นพระบัญชรตั้งพระราชบัลลังก์ ตำแหน่งยอดปรางค์ด้านนอกก็จะตรงกับที่ประทับพอดี

ที่พูดมาเพิ่งจะคิดเมื่อตะกี๊ครับ ยังไม่ได้ลองทำดูว่าจะคุมทรงออกมาอย่างไร ตอนนี้คอมเจ๊งไปเรียบร้อยแล้ว คงจะต้องรอสักพักนะครับ แต่คิดว่าโมเดลแบบแรกของเมืองโบราณน่าจะเป็นไปได้อย่างที่น้องเนพูดนั่นแหละ

เรื่องน้ำรั่วไม่รั่วนั้น ช่างอยุธยาคงแก้ได้ มิฉะนั้นวัดไชยวัฒนารามคงไม่มีจิตรกรรมฝาผนังหลงเหลือให้เราเห็น




กระทู้: เรือนยอดพระที่นั่งวิหารสมเด็จ
เริ่มกระทู้โดย: ติบอ ที่ 21 เม.ย. 10, 15:48
ยังนึกอะไรไม่ออกครับ กลัวนึกออกแล้วจะมีคนตาค้างอีก
ขออนุญาตเข้ามาเป็นกำลังใจให้คอมพ์ของคุณกุรุกุลาพักรักษาตัวให้ดีก่อนดีกว่า



ส่งดอกไม้ร้องเพลงมาฝากคอมพ์ของคุณกุรุกุลาครับ
หวังว่าจะหายป่วยได้ในเร็ววันนะครับ


กระทู้: เรือนยอดพระที่นั่งวิหารสมเด็จ
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 21 เม.ย. 10, 17:37
คอมเจ๊งพร้อมกันสองตัวเลยครับ เอาไปซ่อมมาแล้วตัวนึง แต่ยังต่อเนตไม่ได้  :'(

ส่วนประเด็นจะพูด ก็ไม่มีแล้ว หมดสิ้นความคิดจินตนาการ ไปไม่เป็นเหมือนกันครับ ต้องขอโทษทุกๆคนด้วยนะครับ


กระทู้: เรือนยอดพระที่นั่งวิหารสมเด็จ
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 21 เม.ย. 10, 21:34
มาหมดมุขอะไรกันครับ สงสัยจะมีเรื่องให้คิดกันมากสินะครับ หุหุ
...ใช่เลยครับพี่กุลักษณะแบบนี้ผมเห็นด้วยเลยครับ เพราะฉะนั้นภาพรวมแบบมองง่ายๆก็คล้ายกับพระที่นั่งดุสิตสวรรย์ฯ
มีท่านหนึ่งไม่ใกล้ไม่ไกลนี้เคยแสดงความคิดเห็นไว้ว่า บางทีการทำช่องหน้าต่างแบบสีหบัญชรในการเสด็จออกนี้
อาจเป็นแบบแผนอย่างพม่า ซึ่งอาจเป็นความคิดที่พ้องหรือเราได้แบบอย่างมา ประเด็นนี้ผมเองก็เชื่อว่ามีความ
เป็นไปได้อยู่เหมือนกันนะครับ เพราะมีเค้าอยู่เหมือนกันว่าพระที่นั่งวิหารสมเด็จอาจสร้างในสมัยสมเด็จพระนเรศวร
ซึ่งพระองค์อาจนำรูปแบบมาใช้ด้วยก็ได้ ถึงแม้จะมีการรื้อซ่อมใหม่ในมัยต่อมาก็ตาม แต่อาจคงรูปแบบไว้ ทำให้ส่งต่อ
ไปยังพระที่นั่งที่ลพบุรีด้วยก็ได้

ส่วนการตั้งพระแท่นราชบัลลังก์ (แบบพระที่นังพุดตาน)
ท่าหนึ่งท่านนั้นคิดว่าอาจเริ่มสมัยพระนารายณ์ ?? เพราะรูปแบบเช่นนี้ดูเหมาะที่จะตั้งในปราสาทจตุรมุข แต่สำหรับผมกลับคิดว่า
เราอาจจะใช้พระเท่นแบบพระที่นั่งพุดตานมาก่อนแล้ว แต่รูปแบบอาจเปลี่ยนไปเพราะพระทวาราวดีเองยังมีท่านั่งแบบยุโรป ??
ซึ่งอาจจะดูเกี่ยวหรือไม่เกี่ยวกัน ผมคงต้องศึกษาหลักฐานมากกว่านี้ถึงจะพูดได้เต็มปาก เพราะฉะนั้นประเด็นพวกนี้ไม่อาจจะ
ตัดทิ้งลงไปได้ เพราะถ้าดูภาพการวางตำแหน่งในท้องพระโรงพระที่นั่งสรรเพ็ชญ์ ที่เมืองโบราณทำไว้ ผมว่าองค์ประกอบแบบ
มองหลวมๆก็น่าเชื่ออยู่นะครับ โดยการจัดตำแหน่งของซุ้มพระทวารสำหรับเสด็จออก หรืออาจทำเป็นบุษบกเกริน??สำหรับออก
แบบประทับสีหบัญชร แต่อัฒจรรย์ด้านหน้าเอาไว้ตั้งพระราชบัลลังก์ เพราะเคลื่อนย้ายได้ เพื่อไว้ใช้สำหรับออกว่าราชการ
ในกรณีที่อาจต้องการความสะดวก ?? โดยอาจเปิดช่องทางขึ้นอัฒจรรย์ไว้ด้านหน้าด้ววย ตรงนี้อาจดูแปลกๆไปบ้างแต่ก็อยาก
จะลองฝากไว้แบบคิดเล่นๆดูน่ะครับ ใครมีอะไรดีๆอยากให้ลองแสดงความคิดเห็นบ้างนะครับ

ปล.ที่นอนไม่หลับเพราะอากาศร้อนครับ(บ้านเมืองด้วย) เป็นนักศึกษาอยู่ห้องเช่าเล็กๆไม่มีแอร์   :(    .. T-T ..
ผนังอิฐคายความร้อน พอตอนกลางคืนก็ร้อน ไม่รู้จะทำยังไงเวลานอนก็ถอดจนไม่มีอะไรให้ถอดอยู่แล้ว 555
ผมยังต้องตัดสั้นเลยครับ ถ้าไม่กลัวว่าจะเมื่อยก็จะลงไปนอนบนพื้นปูนเย็นๆแทนแล้วครับ ดึกๆลงไปข้างล่าง
เห็นหมานอนบนพื้นปูนมีลมพัด ...... ต่างชีวิต ต่างจิตใจจริงๆ เหอะๆ


กระทู้: เรือนยอดพระที่นั่งวิหารสมเด็จ
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 21 เม.ย. 10, 23:40
น่าสงสารน้องเนจัง คริคริ ทีหลังอย่าอยู่เลยตำหนักตีก มันอบความร้อน ไปปลูกเรือนเก้าห้องฝากระดานหลังเจียด ประดับรดน้ำพื้นแดงอยู่ดีกว่า คงจะเย็นกว่านะ

ฤดูีระด่าวร้อน                      แดนไตร
ลามผ่าวพฤกษ์พรากใบ            หล่นแล้ง
ทรวงพี่ผ่าวเผาไฉน                 นะนาฏ เรียมเอย
ยังยิ่งทินกรแจ้ง                    จวบสิ้นสูญกัลป์


นทีสี่สมุทรม้วย                    หมดสาย
ติมิงคล์มังกรนาคผาย              ผาดส้อน
หยาดเหมพิรุณหาย                เหือดโลก แล้งแม่
แรมราคแสนร้อยร้อน             ฤเถ้า เรียมทน 8)


กระทู้: เรือนยอดพระที่นั่งวิหารสมเด็จ
เริ่มกระทู้โดย: sittisak ที่ 22 เม.ย. 10, 08:41
ฝากบอกเจ้าเนว่าให้มาปลุกเรือนใกล้ๆเรือนจันทร์ที่ พี่ กับหญิงแพรอยู่ ใกล้ๆฝ่ายในดีไหมน้องกุ.....หญิงแพรกำลังสนุกอยู่กับการต้อนรับขับสู้กับแขกบ้านแขกเมืองที่ปากน้ำ  อะเพิ่งหาหนังสือเจอ....ดังนี้ จากรากฐานของตัวพระมหาปราสาทกว้าง25 เมตร ยาว 23เมตร มีมุขหน้าด้านทิศตะวันออก และมุขหลังด้านทิศตะวันตก เฉพาะมุขหน้ายาว 31 เมตร มุขหลัง 25.5 เมตร  เฉพาะมุขหลังแบ่งเป็นสองตอน ตอนสีหบัญชรทำเป็นมุขมีผนังและแบ่งเป็นมุขโถงตอนหลังยาว 11เมตร เฉพาะมุขเด็จยาว3.5 เมตร กว้าง 8 เมตร โดยเฉพาะความยาวของพระที่นั่งจากมุขหน้าถึงมุขหลังยาวทั้งหมด>>>>>81 เมตร จากหนังสือพระที่นั้งวิหารสมเด็จ ของอาจารย์เสนอ นิลเดชนะคับ


กระทู้: เรือนยอดพระที่นั่งวิหารสมเด็จ
เริ่มกระทู้โดย: ฉันรักบางกอก ที่ 22 เม.ย. 10, 17:38
เฮ้ออ...เค้าไม่มีอะไรจะเสริมเลยอ่ะ

แต่จะบอกว่า เรือนของเรา หัวกะไดคงเปียกน่าดู อิอิ


กระทู้: เรือนยอดพระที่นั่งวิหารสมเด็จ
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 22 เม.ย. 10, 19:35
ลำพังแค่เรือนฝาปะกนก็หรูแล้วมั้งครับพี่กุ จะให้เอาเรือนเก้าห้องเขียนลายทองคงไม่ไหว
กลัวจะร้อนกว่าเดิม :o

ขอบคุณพี่ทอมมี่มากครับ แสดงว่าความจำผมเลอะเทอะไปซะแล้ว 555 สงสัยคงเข้าใจผิดเวลาอ่าน
เลยจำผิดๆมาครับ .. หุหุ




กระทู้: เรือนยอดพระที่นั่งวิหารสมเด็จ
เริ่มกระทู้โดย: asia ที่ 22 เม.ย. 10, 21:12
      สวัสดีคับทุกคน เพิ่งจะมีเวลาว่างขอร่วมแจมด้วยน่ะเดี๋ยวจะลืมกันไปเสียก่อน ขอยกพระราชนิพนธ์ของสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท กล่าวว่า

          " พระที่นั่งทั้งสามงามไสว  ตั้งเรียบระเบียบชั้นหลั่นไป
          อำไพวิจิตรรจนา                มุขโถง มุขเด็จ มุขกระสัน
        เป็นเชิงชั้นลวดลายล้วนเลขา   เพดานในไว้ดวงดารา
        ผนังฝาคาดแก้วดั่งวิมาน        ทั้ตั้งบัลลังก์แก้วทุกองค์
      ทวารลงอัฒจันทร์หน้าฉาน      ปราบพื้นรื่นราบดังพระลาน
       มีโรงคชาธารตระการตา        ทิมดาบคดลดพื้นกำแพงแก้ว
     เป็นถ่องแถวยืดยาวกันหนักหนา เป็นที่แขกเฝ้าเข้าวันทา
     ดังเทวานฤมิตรประดิษฐ์ไว้        สืบทรงวงศ์กษัตริย์มาช้านาน
    แต่บุราณแล้วไม่นับพระองค์ได้   พระที่นั่งซึ่งตั้งอยู่ข้างใน
     มีสระชลาลัยชลธี                 ชื่อที่นั่งบรรยงค์รัตนาสน์
    ที่ประพาสมัจฉาในสระศรี       ทางเสด็จเสร็จสิ้นสาระพันมี
    เป็นที่กษัตริย์สืบมา 

แหมเข้ากับบรรยากาศกระทู้มัยล่ะคับ ขอว่าด้วยท้องพระโรงด้านในด้วยคนน่ะ ที่ว่าด้วยฐานอัฒจันทร์และตั้งพระที่นั่งนั้น จะเป็นไปได้มัยว่า
จะเหมือนกับท้องพระโรงหลังของหมู่พระมหามณเฑียร องค์กลางที่เรียกว่าพระที่นั่งไพศาลทักษิณ(ถ้าจำไม่ผิดน่ะ)มีฐานอัฒจันทร์บันไดขนาบข้างซ้ายขวาหรือ
เหมือนพระทวารเทวราชมเหศวร ตรงกลางตั้งพระทีนั่งพุฒตานแต่ก็อาจจะเป็นพระบัญชรอย่างของน้องเนว่าก็ได้ ส่วนลายข้างในนั้นจะประดับกระจก
หรือเขียนลายอย่างที่ปรากฏในเมรุทิศวัดไชยนั้นก็น่าคิดอยู่นะครับ






กระทู้: เรือนยอดพระที่นั่งวิหารสมเด็จ
เริ่มกระทู้โดย: ติบอ ที่ 23 เม.ย. 10, 00:50
คุณกุรุกุลานี่ใจร้ายจัง พระที่นั่งสุริยามรินทร์ยัง 5 ห้องเองนา
เห็นคุณกุรุกุลาบ่นว่าตัน เลยอยากลองชวนคุยเรื่องพระที่นั่งองค์อื่นๆดูบ้าง
เพราะหลักฐานที่เหลืออยู่ก็ไม่ได้อ่อนด้อยไปกว่าพระที่นั่งวิหารสมเด็จ
แต่แฟนๆหนังสือของ อ.เสนอ คงจะหาอ่านยากสักหน่อย เพราะเป็นเอกสารเก่า

ที่อ.เสนอ ท่านยกเอาอาคารหลังนี้ขึ้นมาทำ ผมเดาว่าเพราะชื่อติดหู และเหลือฐานอยู่มาก
จะเติมแต่งอะไรก็ไม่ต้องขึ้นรูปใหม่ตั้งแต่ฐานยันยอด (อย่างน้อยก็มีฐานให้เห็นอยู่แล้ว)
แต่ข้อด้อยของอาคารหลังนี้คือรูปทรงออกแนวจะพื้นๆอยู่มากกว่าพระมหาปราสาทหลังอื่นๆ
โดยเฉพาะคู่ที่ผังแทบจะเป็นแฝดกัน คือ พระที่นั่งบรรยงรัตนาสน์มหาปราสาท และพระที่นั่งเบญจรัตนมหาปราสาท
ต่างกันที่องค์หนึ่งอยู่บนเกาะกลางน้ำ อีกองค์อยู่บนบก


ผมลองยกเอาคำอธิบายสัณฐานของพระมหาปราสาททั้งสองหลัง
มาจากหนังสืออยุธยายศยิ่งฟ้าของคุณสุจิตต์ วงษ์เทศ ให้อ่านกันเล่นๆไปก่อน
ถ้าหากพึงใจจะบอกกล่าวเล่าถึงกันต่อไปก็จะรับหน้าที่ค้นคว้าหาเอกสารเก่าเล่มอื่นๆ
เป็นต้นว่าบันทึกการขุดค้นพระราชวังเดิมของท่านเจ้าคุณโบราณมาประกอบให้อีกทีนะครับ



พระที่นั่งบรรยงก์รัตนาสน์มหาปราสาท เป็นยอดมณฑปเดียวมีมุขใหญ่ทั้งสี่ด้าน
มีพระแท่นแว่นฟ้าบุษบกตั้งในมุขโถงทั้งสี่ทิศ มีเกยหน้ามุขโถงมีบันไดนาคราชทั้งสี่เกย
มีกำแพงแก้วล้อมรอบชาลาพระมหาปราสาท
แล้วมีสระล้อมรอบกำแพงแก้วชาลาพระมหาปราสาททั้ง 4 ด้าน สระกว้างด้านละ 6 วา

ในสระระหว่างมุขโถงมุมพระมหาปราสาทด้านเหนือ
มีพระตำหนักปลูกปักเสาลงในสระด้านเหนือหลังหนึ่ง 5 ห้อง
ฝากระดานเขียนลายรดน้ำทองคำเปลว พื้นทารัก มีช่อฟ้า หางหงส์ มุขซ้อนสองชั้น
มีพระบัญชรลูกกรงเหล็ก ระเบียงชานเฉลียงรอบนั้นมีลูกมะหวดกลึงล้อมรอบ
มีสะพานลูกกรงข้ามมาจากพระมหาปราสาทถึงพระตำหนัก

พระตำหนักนี้เป็นที่มีเทศนาพระมหาชาติคำหลวงทุกปีมิได้ขาด

ในสระระหว่างมุขโถงด้านใต้นั้น ปลูกพระที่นั่งปรายข้าวตอกหลังหนึ่ง
เสาลงในสระหลังคามีช่อฟ้า หางหงส์ มุขซ้อนสองชั้น ฝาไม่มี มีแต่ลูกกรงมะหวดรอบพระเฉลียง
เสารายทารักเขียนทองคำเปลวลายทรงข้าวบิณฑ์ มีภาพพรหมพักตร์ต้นเสา-ปลายเสา

มีสะพานลูกกรงข้ามมาจากพระมหาปราสาทถึงพระที่งนั่งปรายข้าวตอก

พระที่นั่งปรายข้าวตอกนี้สำหรับเสด็จทรงประทับโปรยข้าวตอกพระราชทานปลาหน้าคน ปลากะโห้ ปลาตะเพียนทอง และปลาต่างๆ

ในท้องสระระหว่างมุมมุขโถงด้านตะวันออกนั้น
ปลูกเป็นพระที่นั่งทอดพระเนตรดาว ฝังเสาลงในท้องสระ ไม่มีหลังคา มีแต่พื้นและลูกกรงมะหวดรอบ
มีสะพานข้ามสระออกมาจากมุมพระมหาปราสาทถึงพระที่นั่งทรงดาว
พระที่นั่งทรงดาวนี้สำหรับทอดพระเนตรดาวและทอดพระเนตรสุริยุปราคากับจันทรุปราคา
ชีพ่อพราหมณ์ทำพิธีถวายน้ำกรด น้ำสังข์ ในวันสุริย-จันทร เมื่อโมกขบริมุทธิ์บนพระที่นั่งทรงดาวทุกคราวไป

ในท้องสระระหว่างมุมมุขโถงด้านตะวันตกนั้น ปลูกเป็นสะพานพระฉนวน
มีหลังคาร่มสะพานข้ามออกมาจากพระมหาปราสาท
เสาสะพานพระฉนวนนั้นมีระยะห่างๆแต่พอเรือน้อยพายลอดได้ใต้สะพาน





สำหรับพระที่นั่งเบญจรัตน์มหาปราสาทนั้นมียอดมณฑป 5 ยอด
มีมุขศร 4 ชั้นเสมอกันทั้ง 4 ด้าน มีมุขยาวออกมาจากมุขใหญ่ทั้ง 4 ด้าน
แต่มุขยาวทั้ง 4 ด้านนั้นมีหน้ามุขเป็นจตุรมุข มียอดมณฑปทุกมุขเป็นสี่ยอด
แต่พื้นมุขทั้ง 4 ด้านต่ำเป็นท้องพระโรงทั้ง 4 ด้านสำหรับเสด็จออกว่าราชการตามฤดูทั้ง 3 ฤดู 3 มุข
แต่มุขด้านหลังเป็นมุขฝ่ายใน สำหรับเสด็จออกว่าราชการฝ่ายใน

ฝ่ายพระมหาปราสาทและฝามุขใหญ่เป็นผนังปูนทารัก ประดับกระจกปิดทองคำเปลวเป็นลายทรงข้าวบิณฑ์
ใต้พระบัญชรเป็นรูปสิงห์ทุกช่อง ซุ้มจระนำพระบัญชรเป็นรูปพรหมพักตร์ทุกช่อง
ฐานป้ทม์พระมหาปราสาทเป็นรูปปั้น ชั้นต้นเป็นกุมภัณฑ์ ชั้นสองเป็นครุฑจับนาค
ชั้นสามเป็นรูปเทพนมถวายกร จึงถึงชั้นรูปสิงห์รับพระบัญชร
บานพระบัญชรจำหลักเป็นรูปเทพบุตรและเทพธิดาเป็นคู่กันทุกช่อง
บานพระทวารเป็นรูปนารายณ์สิบปาง บานละปาง
มีทิมคดล้อมรอบพระมหาปราสาทและมีประตูด้านหนึ่ง

พระมหาปราสาทองค์นี้เป็นที่ทรงพิพิกษาตราสินคดีและกิจการพระนครสำคัญ
เป็นที่ประชุมใหญ่ฝ่ายมหามาตยาธิบดี





เอามาเท่านี้ก่อนดีกว่าครับ เดี๋ยวจะอยุธยาแฟนตาซีเกินเหตุ....


กระทู้: เรือนยอดพระที่นั่งวิหารสมเด็จ
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 23 เม.ย. 10, 08:34
คุณติบอไปเปิดกระทู้ใหม่เลยครับ เผื่อใครเขาเข้ามาดูจะได้ไม่สับสน แล้วก็เป็นหมวดหมู่ค้นหาง่ายดีด้วย

พระที่นั่งทรงดาวนี่ฟังดูคล้ายๆเตี๊ยะแชเหลา (หอปลิดดาว) ในเฟิงเฉินเหรินอวี้ห้องสินเลย สงสัยว่าคนแต่งจะอ่านนิยายพงศาวดารจีนมาก อิอิอิ

บานพระทวารเขียนพระนารายณ์สิบปางนี่ เริ่มไม่แน่ใจแล้วจะทำให้เอกสารเล่มนี้กลายเป็นคำให้การชาวกรุงเก่าที่กลับมาเกิดใหม่สมัยรัชกาลที่สี่หรือเปล่า เพราะรัชกาลนี้กำลังฮิตพอดีเลยครับ


กระทู้: เรือนยอดพระที่นั่งวิหารสมเด็จ
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 23 เม.ย. 10, 09:25
พระที่นั่งเบญจรัตน์มหาปราสาท ผมเคยสงสัยเหมือนกันว่ารากฐานอยู่ตรงไหนครับ
เพราะอ่านดูแล้วรูปทรงค่อนข้างแปลก และถ้าทำอย่างนี้จริงก็น่าสนใจอยู่เพราะ
รูปทรงอย่างนี้ไม่มีพระมหาปราสาทองค์ไหนเหมือนเลย ?? อีกอย่างคำให้การเรื่องนี้
ผมจำได้ว่ามีการออกชื่อพระที่นั่ง บางหลังที่เข้าใจว่ารื้อไปแล้วขึ้นมาอีก เลยยังค่อนข้าง
งงๆกับเอกสารอยู่บ้างนะครับ แต่ก็นะครับเอกสารมีอยู่จะทิ้งไปซะก็ไม่ได้ ต้องดูไปก่อน
แล้วมองภาพหลักฐานจริงๆกันอีกที

ขอบคุณคุณติบอที่เอามาลงให้อ่านครับ ตกลงจะให้เป็นแนวแฟนตาซีเลยหรือครับฉบับนี้ ...  ;D


กระทู้: เรือนยอดพระที่นั่งวิหารสมเด็จ
เริ่มกระทู้โดย: ติบอ ที่ 23 เม.ย. 10, 10:27
ถ้าอย่างนั้นผมขออนุญาตยกไปคุยกันกระทู้ใหม่เลยนะครับ