เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
อ่าน: 15868 อัลบั้มชีวิต วิลาศ มณีวัต
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 06 เม.ย. 12, 15:42


ขึ้นจุฬาฮาเฮ

บางเสี้ยวแห่งชีวิต  วิลาศ  มณีวัต     เขียน


       "สำหรับรุ่นพี่ ๆ นั้น  ผมรักใคร่ใกล้ชิดและบูชามากอยู่คนเดียว  คือ  คุณบุญมาก  รุนสำราญ  เพราะท่านแต่งกลอนเก่ง

เหลือหลาย   ตอนนั้นผมอยากจะแต่งกลอนให้ได้อย่างคุณบุญมากบ้าง  จึงเที่ยวได้ค้นดูจากหนังสือ "มหาวิทยาลัย"  ฉบับย้อนหลัง 

เห็นนักกลอนยอด ๆ นอกจากบุญมาก  รุนสำราญ  ก็มี  ประเสริฐ  ทรัพย์สุนทร  และ  ศุภร  ผลชีวิน


        พวกพี่ ๆ  เขาเห็นผมชอบแต่งกลอน  อยากจะเป็นกระวีกระวาด   เขาจีงเอากลอนใต้ดินมาให้ดู       เด็ดจริงๆครับ

ที่ผมเรียกว่า "กลอนใต้ดิน"  ก็เพราะคุณบุญมากแอบเขียนแก้ง่วงตอนที่อาจารย์ อาภรณ์  กฤษณามาระ   กำลังสอนอยู่    ไม่ใช่ว่าท่านสอนไม่ดี 

แต่ท่านเคราะห์ร้ายต้องสอนชั่วโมงบ่าย  หลังจากที่คุณบุญมากกินมื้อกลางวันเข้าไปจนอิ่ม  หนังท้องตึง  หนังตาก็เลยหย่อนทำท่าจะหลับเอา

ก็เลยเขียนกลอนชมโฉมเพื่อนฝูง

              เฉลิม  เมือง  ประสิทธิ์  ประเสริฐ  นั้นเฉิดฉัน
         เผด็จ  อรัณ  จันทรคุปต์  ทุบกันมี่
         ตริน  บุนนาคอยากจะนอนในตอนนี้
         เหลียวอีกทีชมสาวชาวจุฬา

        ...............................
        ...............................

        อันที่จริงกลอนสำนวนนี้อะไรอะไรก็ดีหมด        เสียอย่างเดียวไม่ยอมบอกชื่อคนแต่ง   กลัวจะถูกเพื่อนหญิงรุมหยิกเอากระมัง

จะให้สมบูรณ์ดีแน่แท้จริง  ก็จะต้องต่อไปอีกหน่อยว่าดังนี้

        จบอักษร  กลอนประตู  แต่งแสนยาก
    ผมบุญมาก  รุนสำราญ  คนขานไข
    แม้นเกินบาท  พลาดพลั้ง  ขออภัย
    มิใช่ใคร  เพื่อนกัน  ทั้งนั้นเลย

        เมื่อผมแต่งกลอนส่งไปให้   ได้ความว่าคุณบุญมากยิ้มลูกเดียว       มิได้วิจารณ์ว่าอย่างใด  หรือจะวิจารณ์  แต่คนเล่าไม่กล้าบอกผมก็ไม่ทราบ"             

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 07 เม.ย. 12, 05:04


กลกระแจะจุณเจิม....เจิดเกล้า

ก.  สุรางคนางค์   เล่าถึงเบบี๋

        "เราผูกพันกันยิ่งกว่าญาติ   ตอนนั้นบ้านดิฉันขายหนังสืออยู่ที่ถนนดินสอ      คุณวิลาศเขายังเป็นนักเรียนสวนกุหลาบอยู่

เขาต้องเดินผ่านทุกวัน ๆ        เขาแวะดูหนังสือก็เลยพูดคุยกัน    เขาถามอะไรต่อมิอะไร      คุยกันถูกใจ

เขาถามประโยคหนึ่งว่า   คนแต่งเรื่องหญิงคนชั่วเป็นผู้หญิงใช่ไหม   ก็บอกว่าใช่  เป็นผู้หญิง   เขาถาม ...ทำไมผู้หญิงถึงได้รู้อะไรต่ออะไร(หัวเราะ)

ก็บอกเขาว่านักเขียนฝรั่งที่เขียนเร่ื่องไปนรกไปสวรรค์น่ะ   เขาก็ไม่เคยไปกัน   ทำไมเขาเขียนได้

        ดิฉันย้ายร้านเล็กมาอยู่ร้านใหญ่ตรงข้ามเฉลิมกรุง  แล้วก็ออกหนังสือพิมพ์เมืองทอง -  หนังสือพิมพ์รายวัน   ตอนนั้นเกิดสงครามแล้ว

ก็ตั้งเป็นสำนักงานวรรธนะสิน   สั่งหนังสือต่างประเทศเข้ามา   แล้วก็ออกหนังสือพิมพ์รายวัน   เขาก็มาช่วยทำหนังสือพิมพ์

อยู่ไม่นานระเบิดมันลง  ก็เก็บแท่นพิมพ์ไปบ้านที่ฝั่งธน   เขาก็ตามไปเยี่ยมเรา   ลูกระเบิดมันลงเขาก็ย้ายจากถนนดินสอ  ไปอยู่ฝั่งธน

ก็บอกเขาว่า    อย่าเพิ่งออกจากบ้านไปเลย  เพราะลูกระเบิดมันลง   ก็เลยอยู่ด้วยกันมา   ทีนี้เขาก็เลยติดตามมาเรื่อย   เขาชอบคุณปกรณ์มาก

        ตอนดิฉันย้ายบ้านจากถนนหลังสวนไปอยุ่ดงหัวโขด   ซึ่งเป็นสวนไผ่ตงที่ปราจีณบุรี   เขาก็ไปอยู่ด้วยพักหนึ่ง    สงครามยังไม่สงบ

วิลาศก็กลับไปบ้านดอนเพราะมหาวิทยาลัยปิด           ระหว่างสงคราม  พวกเราในกรุงเทพฯ ต้องอพยพหนีระเบิด         คุณสด  กูมะโรหิต

คุณเนียน  ไปอยู่บางเลนซึ่งเป็นคลองเล็กๆ  แยกจากบางใหญ่          พวกเรานักเขียนหลายครอบครัวก็อพยพไปอยู่ด้วยกันแถวคลองนั้น

เป็นคลองลัดอ้อมออกเมืองนนท์ได้        คุณวิลาศกลับจากบ้านดอนก็ไปอยู่ด้วย


        เราอยู่ที่ไหน   คุณวิลาศก็ไปอยู่ด้วย   จากบ้านฝั่งธนมาบ้านหลังสวน  ซึ่งอยู่ไม่นานนัก   เราขายบ้านหลังสวน  เอาเงินไปซื้อไร่หน่อไม้ไผ่ตง 

ที่ดงหัวโขด ปราจีณบุรี   คุณวิลาศก็ไปอยู่กับเรา   อยู่ที่ไหนเขาก็ตามไป   คือเราผูกพันยิ่งกว่าญาติ        โดยมากเขาติดคุณปกรณ์  เรื่องหนังสือเรื่องอะไร

เขาก็คุยกับคุณปกรณ์   เขาเป็นเด็กสำหรับเราเสมอ        ทำให้ดิฉันเรียกเขาว่า  'เบบี๋'  ติดปากมาจนทุกวันนี้"   
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 07 เม.ย. 12, 05:22


เรื่องราวของวงการนักอ่านหนังสือเก่า


        หนังสืออนุสรณ์คุณปกรณ์  บูรณปกรณ์ เป็นที่ต้องการของนักอ่านเสมอมา

วันหนึ่ง   สหายเจ้าของร้านหนังสือมือสอง  ขนหนังสือโบราณมาให้หลายกล่อง

มีหนังสือเล่มนี้ปนมาด้วย    จึงตะครุบแยกไว้ด้วยความยินดี    วันต่อมาสหายมาติดต่อ

ขอคืนเพราะเพิ่งนึกออกว่าไม่น่าปล่อยหนังสือมาเลย         จึงขอความยินยอม  ถ่ายเอกสารไว้สองฉบับ   หลังจากนั้นมาชีวิตก็

วุ่นวายไประยะหนึ่งเพราะมีข่าวออกไปว่าดิฉันครอบครองหนังสือเล่มนี้      นักสะสมก็มีงอนนิด ๆ  คิดว่าดิฉันอาจให้เขาได้

นักอ่านแทบทุกคนก็พอใจเพียงที่ได้อ่านเท่านั้น

        รายละเอียดที่ ก. สุรางคนางค์ เล่าถึง เบบี๋  นี้  ละเอียดมากทีเดียว

        เป็นที่ยินดีของสหายที่เก็บประวัติการพิมพ์เป็นที่ยิ่ง
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 07 เม.ย. 12, 05:50


กลกระแจะจุลเจิมเจิดเกล้า

เมื่อยาขอบจะขอยืมคำของน้อง


        "เมื่อพี่โชติ  (แพร่พันธ์) ของเรา  วิวและนิตา  หรือยาขอบ  พญาอินทรี  ผู้ผงาดเด่นอยู่บนคัคนัมพร

บรรณพิภพไทย  ด้วยบทประพันธ์อมตะ  "ผู้ชนะสิบทิศ"  จะเขียนคำไว้อาลัย  'พี่เริ่ม'  หรือ ร.จันทพิมพะ  เพื่อนนักเขียน

ของท่านที่จากไป    พี่โชติผู้เป็นเศรษฐีแห่งสำนวนหวาน   กลับกล่าวสั้น ๆ   ตอนสรุปบทอาลัยของพี่โชติว่า

        "ร. จันทพิมพะ...ชั่วระยะเวลาอันสั้น   เพียงที่เข้ามาใช้การเขียนหนังสือเป็นวิชาชีพจริงจังของเธอ   เขียนหนังสือไว้มากมายเอาการ

บทประพันธ์จากขวัญใจแห่งวงการประพันธ์เมืองไทยคนหนึ่งผู้นี้   ดีชั่วก็ได้ประจักษ์  และมีผู้พูดถึงกันไม่น้อยแล้ว"     


และพี่โชติก็ตบท้ายว่า

"ป่วยการกล่าวไปใยอีกให้ยาก   จะขอยืมคำคุณวิลาศ  มณีวัต  ที่เคยใช้สั้น ๆ   ต่อหนังสือเรื่องหนึ่งของข้าพเจ้า (คือ  ยาขอบ) มาใช้  คือ

'ไม่มีประโยชน์ที่จะจุดไม้ขีดก้านหนึ่งเพื่อหวังจะช่วยเพิ่มความโชติช่วงให้แก่แสงจันทร์'  เท่านี้พอ


        วิวจ๋า  เป็นเกียรติ  เป็นประดุจกระแจะจุณเจิม  อันบรรเจิดแก่เศียรเกล้าของนักเขียนรุ่นน้อง  สุดจะกล่าวนะจ๊ะ"
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 08 เม.ย. 12, 04:20


ก่อนที่เราจะพบกัน

        "วิวเล่าว่า  วิวเป็นเด็กปักษ์ใต้  เกิดที่บ้านดอน  สุราษฎร์ธานี  เมื่อวันพระจันทร์เกือบเต็มดวง   คือวันขึ้น ๑๔ ค่ำ  เดือนหก

ปีชวด  ตรงกับวันที่ ๑๖​ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๗  หนึ่งวันก่อนวันพระขึ้น ๑๕​ค่ำ  ซึ่งเป็นวันวิสาขบุรมีมาส  อันถือเป็นวันประสูติ

ตรัสรู้  และปรินิพพาน  ของสมเด็จพระอรหันตสัมมาสัมพุทธิเจ้าแห่งชาวพุทธเรา   ความที่เป็นลูกชายคนแรก  เกิดในวาระซึ่งเกือบเป็นเดือนเพ็ญ   

เวลาตกฟากก็เป็นยามรุ่งสาง   ตรงกับเวลาพระภิกษุออกบิณฑบาตโปรดสัตว์      คุณพ่อถือเป็นแก้วมณีที่หยาดมาจากฟ้า   จึงให้ชื่อลูกชายว่า

"มณีหยาดฟ้า"      ซึ่งพอวิวโตได้สักหน่อยก็ออกอายว่า  ดูจะเป็นพระเอกลิเก     ท่านจึงเปลี่ยนชื่อให้เป็น "วิลาศ"   โดยนำเอาอักษรชื่อย่อ  ว.ล.  มาจากชื่อ วัลลภ

ชื่อของคุณพ่อมาตั้งให้ลูกชายว่า  "วิลาศ"
 
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 08 เม.ย. 12, 05:02


จากบางเสี้ยวของชีวิต  โดย  วิลาศ  มณีวัต


        "ผมเลิกเขียนบันทึกประจำวัน   หันกลับไปแสวงหาความสุขในเวิ้งนาครเกษมอย่างเก่าอีก    ตอนนั้น

ไปพบ "ดวงประทีป" ซึ่ง หลวงวิจิตรวาทการ รับเหมาเขียนคนเดียวทั้งฉบับเกือบจะตลอดทั้งฉบับ   ผมพยายามตามเก็บมา

รวบรวมไว้  เพราะเห็นว่าอ่านง่ายและให้ความรู้ดี

        แล้ววันที่ตื่นเต้นที่สุดก็มาถึง

        วันนั้น   เจ้าของร้านในเวิ้งฯ   ซึ่งเป็นหนุ่มจีน   ชื่อเป็นไทยว่า "ทรวง"  หรือจะเป็นภาษาจีนก็ไม่ทราบ  เพราะคนไทยคงไม่ชื่อว่า "นายทรวงอก" เป็นแน่       

แต่นายทรวงอกคนนั้นแหละมาถามผมว่า

        "เคยอ่านเล่มนี้ไหม"

        แล้วก็ยื่นหนังสือเล่มนั้นให้ดู   ที่หน้าปกมีข้อความว่า "ละครแห่งชีวิต"  โดย ม.จ. อากาศดำเกิง  รพีพัฒน์

        ผมเฉย ๆ ไม่เคยได้ยินชื่อ  ม.จ. อากาศดำเกิงมาก่อน    บอกตรง ๆ  ว่าผมกลัวเจ้า   มีเจ้าดีอยู่องค์เดียวเท่านั้น  คือ ม.จ. วงษ์มหิป  ชยางกูร

       "เล่มนี้ดีนา  ผมอ่านไม่เบื่อเลย"

        ผมทนคำรบเร้าของคุณทรวงอกไม่ได้ก็เลยซื้อมา

        ยังนึกขอบคุณเขาอยู่จนเดี๋ยวนี้   เพราะคืนนั้นผมอ่านหนังสือเล่มนั้นอยู่จนตีห้า...   วางไม่ลงจริง ๆ

        อ่านจบแล้วก็อยากจะเป็นอย่าง  วิสูตร  ศุภลักษณ์  ในนิยายเรื่องนั้น       ในบรรดาหนังสือที่เคยอ่านมาแล้วทั้งหมด   ไม่มีเล่มไหนจะสู้กับเล่มนั้นได้

ในหนังสือได้ลงพิมพ์ภาพผู้แต่ง  คือ ม.จ. อากาศดำเกิงไว้ด้วย   และภาพนั้นติดตาผมอยู่หลายปี

        เป็นหนังสืออีกเล่มหนึ่งที่มีอิทธิพลอย่างใหญ่หลวงต่อชีวิตผม  พอ ๆ กับ "สงครามชีวิต"  ของ "ศรีบูรพา"

        เมื่อโรงเรียนปิดภาคหน้าร้อน   ผมก็เดินทางกลับไปเยี่ยมบ้านที่สุราษฎร์    ไม่ลืมที่จะติดเอา "สงครามชีวิต"  และ "ละครชีวิต"  ลงไปอ่านที่บ้านด้วย

หนังสือสองเล่มนั้นทำให้ผมมองเห็นโลกกว้างขึ้น   และเกิดความคิดที่อยากจะทำประโยชน์ให้แก่โลกและเพื่อนมนุษย์"

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 08 เม.ย. 12, 10:26


บางเสี้ยวของชีวิต

เทือกเถาเหล่ากอฝ่ายพ่อ  โดย  วิลาศ  มณีวัต


        "ปู่ของผมเป็นจีนมาจากสิงคโปร์  ชื่อ วั่นสุย     มาค้าขายแถวสุราษฎร์์์ธานี    ก็เลยมาชอบพอกับสาวไทย

ชื่อร่วง    มีบุตรด้วยกันถึง ๙ คน   และคนสุดท้องก็คือ  พ่อของผม

        เดิมพ่อผมชื่อ  "วันล่อง"   ต่อมาภายหลังจึงได้เปลี่ยนเป็น "วัลลภ"

        ในสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่หก   เมื่อเริ่มมี พ.ร.บ. นามสกุล   พ่อซึ่งเป็นลูกคนสุดท้อง  เป็นคนจัดการขอนามสกุล

แทนที่ผู้เป็นพี่ ๆ  จะเป็นผู้ขอพระราชทานนามสกุล  เพราะพวกพี่ ๆ เห็นว่า พ่ออยู่ฝ่ายศึกษาธิการ   ซึ่งสมัยโน้นเรียกว่ากระทรวงธรรมการ

มีความชำนาญในเรื่องนี้"

        "ผมเกิดที่ริมฝั่งแม่น้ำตาปี  ทางฟากที่เจริญของแม่น้ำตาปี  คือตัวจังหวัด   ฟากตรงกันข้ามเป็นป่าโกงกางและต้นจาก    เรียกกันว่าในบาง

บางที่ผมคุ้นที่สุดคือบางใบไม้        ผมจึงได้เขียนเรื่อง "ยุวกวีแห่งบางใบไม้"   ลงใน  "นิกรวันอาทิตย์"

                      บางเอ๋ยบางใบไม้

                      ตัวข้าได้กำเนิดเกิดที่นี่

                      จะแทนคุณบางนั้นฉันใดดี

                      จึงจะมีชีวิตชื่นและยืนนาน"
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12604



ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 28 ส.ค. 12, 14:18


        "เมื่อพี่โชติ  (แพร่พันธ์) ของเรา  วิวและนิตา  หรือยาขอบ  พญาอินทรี  ผู้ผงาดเด่นอยู่บนคัคนัมพร

บรรณพิภพไทย  ด้วยบทประพันธ์อมตะ  "ผู้ชนะสิบทิศ"  จะเขียนคำไว้อาลัย  'พี่เริ่ม'  หรือ ร.จันทพิมพะ  เพื่อนนักเขียน

ของท่านที่จากไป    พี่โชติผู้เป็นเศรษฐีแห่งสำนวนหวาน   กลับกล่าวสั้น ๆ   ตอนสรุปบทอาลัยของพี่โชติว่า

        "ร. จันทพิมพะ...ชั่วระยะเวลาอันสั้น   เพียงที่เข้ามาใช้การเขียนหนังสือเป็นวิชาชีพจริงจังของเธอ   เขียนหนังสือไว้มากมายเอาการ

บทประพันธ์จากขวัญใจแห่งวงการประพันธ์เมืองไทยคนหนึ่งผู้นี้   ดีชั่วก็ได้ประจักษ์  และมีผู้พูดถึงกันไม่น้อยแล้ว"
     


และพี่โชติก็ตบท้ายว่า

"ป่วยการกล่าวไปใยอีกให้ยาก   จะขอยืมคำคุณวิลาศ  มณีวัต  ที่เคยใช้สั้น ๆ   ต่อหนังสือเรื่องหนึ่งของข้าพเจ้า (คือ  ยาขอบ) มาใช้  คือ

'ไม่มีประโยชน์ที่จะจุดไม้ขีดก้านหนึ่งเพื่อหวังจะช่วยเพิ่มความโชติช่วงให้แก่แสงจันทร์'
  เท่านี้พอ

คุณวันดีพอจะมีประวัติของ ร. จันทพิมพะ เพิ่มจากที่คุณ วิกกี้ แนะนำไหมหนอ

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 28 ส.ค. 12, 15:27



รู้จักคุณพิมพา  น้องท่านค่ะ

ประวัติของท่านต้องเขียนขึ้นใหม่เอง

อาจจะมีเอกสารจากหนังสือเก่าบางเล่มค่ะ

หนังสืออนุสรณ์ไม่มีค่ะ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12604



ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 28 ส.ค. 12, 15:59

ที่ถามถึงเพราะเห็นว่าคุณมะตูมอาจจะสนใจ

ส่วน ร.จันทพิมพะ เกิด ปี พ.ศ.2452 ดังนั้นใน พ.ศ. 2473 ท่านจึงมีอายุ 21 ปี เริ่มทำงานเขียนพ.ศ. 2483 และมีชื่อเสียงตั้งแต่นั้น

ได้ภาพวาดหน้าปกจากหนังสือรวมเรื่องสั้นเกียรติยศของนักเขียนสุภาพสตรี ร. จันทพิมพะ

บรรยายภาพปกว่า เขียนจากภาพถ่ายตัวจริง โดย จิตรกร

หน้าตาท่านสวยทีเดียว

 ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
Matoom
อสุรผัด
*
ตอบ: 32


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 28 ส.ค. 12, 17:00

คุณเพ็ญชมพู ขอบคุณยิ่ง
ผมเจอคำตอบแล้วครับ ขนลุกซู่เลย
อยู่ที่นี่...

http://kb.tsu.ac.th/jspui/handle/123456789/372
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12604



ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 28 ส.ค. 12, 17:23

ยินดีกับความสำเร็จของคุณมะตูม

 ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 28 ส.ค. 12, 17:27


เรียนท่านผู้อ่านที่นับถือ

        วันนี้ และ พรุ่งนี้     ข้าพเจ้ามีกิจต้องนำ คณะนักอ่านหนังสือเก่าชั้นอนุบาล  ไปซื้อหนังสือที่ งานหนังสือ

ซึ่งก็คงเป็นการจับปูใส่กระด้งเป็นแน่แท้   ได้นัดดีลเล่อร์ระดับเดินถนนทุกวันให้นำหนังสืออนุสรณ์

มาให้ชมด้วยในราคาที่ต่ำกว่าราคาตามบู้ธเล็กน้อย     มีท่านผู้เชี่ยวชาญในวิทยาการพิเศษ(สมาชิกใหม่ของ "เรือนไทย")ตามมาด้วย

คณะพรรคมิมีการขัดข้องเลย  เพราะขนมของกินที่ท่านผู้เชี่ยวชาญเอื้อเฟื้อเคยนำมานั้น  อร่อยมาก  จนคณะพรรค

แย่งกันหลังจากเก็บส่วนแจกของตนเข้าใส่ถุงย่ามไปแล้ว

        เราจะไปตามราชกิจจา ฯ  ชุดสีแดง ของสำนักพิมพ์ต้นฉบับที่บางเล่มขาดตลาดไปแล้ว(ขนาดคณะอนุบาลนะเนี่ย)

ดังนั้น กระทู้นี้จะหายว่อบ ๆ แว่บ ๆ ไป   ในวันนี้และพรุ่งนี้

        สำหรับข่าวลือที่ว่า  งานหนังสือไม่มีหนังสือดี  นั้น   ไม่ถูกต้อง

หนังสือวิเศษหลายเล่มและหลายชุดได้ปรากฎตัวขึ้น  ในกล่องกระดาษที่เจ้าของร้านซ่อนไว้ใต้ผ้าคลุม  ฮ่ะ ๆ


       กำลังจะคัดลอกที่ คุณสุชาติ  สวัสดิ์ศรี  เล่าเรื่อง  โฉมหน้า  วิลาศ  มณีวัต  เชียว     เกรงว่าจะไม่จบง่าย ๆ

จึงเรียนมา   เพราะเรื่องสนุก ๆนั้นจะเก็บไว้ได้คนเดียวอย่างไรได้


อยากติดสอยห้อยท้ายไปด้วย แต่ไม่ทราบว่าที่ไหน เวลาใด ... พอจะขานไขให้ทราบบ้างได้ไหมครับ

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 28 ส.ค. 12, 21:27



ระหว่างงานหนังสือก็จะประจำอยู่แถวซอยหนังสือเก่าค่ะ     

แลกเปลี่ยนข้อมูลกับเพื่อน ๆ

นำหลาน ๆ ไปซื้อหนังสือที่สำคัญ ๆ  ควรมีไว้ประจำตู้หนังสือ

ต่อรองราคาให้นักอ่านหน้าใหม่

คอยดักนักสะสมที่ผ่านทางมาเพื่อนัดหมายไปยืมหนังสือที่บ้านหรือโกดัง

คัดลอกคำนำของหนังสือเก่า   นำไปเขียนต่อหรือหักล้างประวัติการพิมพ์ที่ลอกต่อ ๆ กันมา

ขว้างยิ้มให้นักสะสม   ดั่งนี้เป็นต้นค่ะ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 29 ส.ค. 12, 13:40

ปู่ของผมเป็นจีนมาจากสิงคโปร์  ชื่อ วั่นสุย     

มาค้าขายแถวสุราษฎร์์์ธานี

คุณวิลาสบอกไหมว่าคุณปู่เป็นจีนอะไร 
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.064 วินาที กับ 18 คำสั่ง