เรือนไทย

General Category => ประวัติศาสตร์ไทย => ข้อความที่เริ่มโดย: chounws ที่ 26 ธ.ค. 12, 12:41



กระทู้: สอบถามเรื่องการใช้ปีพุทธศักราช
เริ่มกระทู้โดย: chounws ที่ 26 ธ.ค. 12, 12:41
รบกวนสอบถามท่านผู้รู้ในคำถามที่เกิดความสงสัยขึ้นว่า
การใช้ปีพุทธศักราชที่เราใช้ๆกันอยู่นี้ เริ่มต้นเมื่อใด ก่อนหน้านี้เราใช้วิธีกำหนดปีอย่างใด เพื่อนบ้านเราโดยรอบ รวมทั้งอินเดียเคยใช้อย่างไรมาก่อนครับ
ขออภัยที่ขี้สงสัยเกินไปในเรื่องที่อาจจะไม่เป็นเรื่องนะครับ  :)


กระทู้: สอบถามเรื่องการใช้ปีพุทธศักราช
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 26 ธ.ค. 12, 14:10
พุทธศักราช ซึ่งทางราชการไทยใช้กันอยู่ทุกวันนี้ มีคติตั้งแต่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรินิพพาน โดยไทยถือตามมติของลังกา คือถือว่า ทรงปรินิพพาน 543 ปีก่อนคริสต์ศักราช แม้ว่าเราจะใช้พุทธศักราชกันมานานแล้ว แต่ทางราชการเพิ่งจะบังคับใช้ ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ตรมประกาศลงวันที่ 21 กุมภาพันธ์ รัตนโกสินทรศก 131 ความว่า

          "...ทรงพระราขดำริว่า พระพุทธศักราชนั้น ได้เคยใช้ในราชการทั่วไป ถ้าจะให้ใช้พระพุทธศักราชแทนปีรัตนโกสินทรศกแล้ว ก็จะเป็นการสะดวก แก่การอดีตในพงศาวดาร ของกรุงสยามมากยิ่งขึ้นฯลฯ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้พระพุทธศักราช ในราชการทั้งปวงทั่วไป ฯลฯ " หลังประกาศฉบับนี้ หนังสือไทยทุกประเภท จึงลงศักราช เป็นพุทธศักราชมาจนทุกวันนี้

ที่มา
http://webboard.yenta4.com/topic/205754

จะเห็นว่าเราใช้พุทธศักราชนั้นใช้กันมานานแล้ว เช่น "พุทธศาสกาลล่วงแล้ว XXXX พรรษา" แต่ในสมัยรัชกาลที่ ๖ ทรงกำหนดให้ใช้อย่างเป็นทางการในการเขียนจดหมาย


กระทู้: สอบถามเรื่องการใช้ปีพุทธศักราช
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 26 ธ.ค. 12, 14:23
ยกตัวอย่างการใช้พุทธศักราชก่อนที่จะประกาศใช้อย่างเป็นทางการ

จารึกการบูรณะวัดประเสริฐสุทธาวาส  ด้านที่ ๑ พุทธศักราช  ๒๓๘๑

ความว่า

ศุภมัสดุ พุทธศักราชล่วงแล้วได้ สองพันสามร้อยแปดสิบเอ็ด ปีจอ สัมฤทธิศก จัดอยู่ในวสันตฤดู เดือนสิบสอง"

ที่มา ข้อมูลจารึกทั่วประเทศ


กระทู้: สอบถามเรื่องการใช้ปีพุทธศักราช
เริ่มกระทู้โดย: chounws ที่ 26 ธ.ค. 12, 14:34
ยกตัวอย่างการใช้พุทธศักราชก่อนที่จะประกาศใช้อย่างเป็นทางการ

จารึกการบูรณะวัดประเสริฐสุทธาวาส  ด้านที่ ๑ พุทธศักราช  ๒๓๘๑

ความว่า

ศุภมัสดุ พุทธศักราชล่วงแล้วได้ สองพันสามร้อยแปดสิบเอ็ด ปีจอ สัมฤทธิศก จัดอยู่ในวสันตฤดู เดือนสิบสอง"

ที่มา ข้อมูลจารึกทั่วประเทศ
ขอบพระคุณ คุณ siamese อย่างยิ่งครับ นึกแล้วว่าที่นี่ให้ข้อมูลได้อยู่เสมอ
ขออ่านและทำความเข้าใจก่อนนะครับ เผื่อจะมีคำถามเพิ่มเติมอีก
อย่างเช่นคำถามตอนนี้ว่า มีใคร(ชนชาติหรือประเทศ)ใดอีกบ้างที่ใช้ พุทธศักราช  ครับ


กระทู้: สอบถามเรื่องการใช้ปีพุทธศักราช
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 26 ธ.ค. 12, 14:34
ในสมัยกรุงศรีอยุธยาก็มีการใช้พุทธศักราชในหนังสือเช่นกัน ยกตัวอย่างของหนังสือออกพระวิสุทธสุนธรถึง เมอร์สิเออร์ เดอ ลายี

ออกพระวิสุทธสุนธรและคณะทูตกล่าวแสดงความขอบคุณต่อเมอร์สิเออร์ เดอ ลายี และฝากฝังให้ช่วยดูแลนักเรียนไทยในฝรั่งเศสรวมทั้งขอให้เป็นธุระนำเครื่องราชบรรณาการที่เหลืออยู่ส่งมายังกรุงศรีอยุธยา

ท้ายหนังสือลงไว้เรื่องการบอกเวลาไว้ว่า "วันพุธ เดือนแปดแรมสองค่ำ ปีเถาะนพศก ศักราช ๒๒๓๑"


กระทู้: สอบถามเรื่องการใช้ปีพุทธศักราช
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 26 ธ.ค. 12, 15:08
ในทางพระศาสนา  ไทยเรามีการบอกศักราชกันมาช้านานแล้ว  ในเวลาพระลงอุโบสถทำสังฆกรรม  จะมีการสวดที่เรียกว่า "บอกศักราช" ก่อนที่จะเริ่มปฏิบัติพิธีกรรมตลอดมา  โดยเริ่มบอกวันเดือนปีแล้วจึงต่อด้วยพระพุทธศาสนกาลล่วงแล้วเป็นเวลา...ปี  การบอกศักราชนี้น่าจะมีมาตั้งแต่ไทยเรารับพระพุทธศาสนามาเป็นศาสนาประจำชาติ

ส่วนการนับศักราชของไทยเรานี้นับต่างจากอินเดีย  ตรงที่อินเดียเริ่มนับ ๑ นับแต่พระพุทธเจ้าปรินิพพาน  ส่วนไทยเราเริ่มนับเมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานครบปีแล้วจึงเริ่มนับ ๑


กระทู้: สอบถามเรื่องการใช้ปีพุทธศักราช
เริ่มกระทู้โดย: chounws ที่ 26 ธ.ค. 12, 16:08
ในทางพระศาสนา  ไทยเรามีการบอกศักราชกันมาช้านานแล้ว  ในเวลาพระลงอุโบสถทำสังฆกรรม  จะมีการสวดที่เรียกว่า "บอกศักราช" ก่อนที่จะเริ่มปฏิบัติพิธีกรรมตลอดมา  โดยเริ่มบอกวันเดือนปีแล้วจึงต่อด้วยพระพุทธศาสนกาลล่วงแล้วเป็นเวลา...ปี  การบอกศักราชนี้น่าจะมีมาตั้งแต่ไทยเรารับพระพุทธศาสนามาเป็นศาสนาประจำชาติ

ส่วนการนับศักราชของไทยเรานี้นับต่างจากอินเดีย  ตรงที่อินเดียเริ่มนับ ๑ นับแต่พระพุทธเจ้าปรินิพพาน  ส่วนไทยเราเริ่มนับเมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานครบปีแล้วจึงเริ่มนับ ๑

ขอบพระคุณครับ คุณ V_Mee เป็นข้อมูลที่น่าสนใจมากครับ


กระทู้: สอบถามเรื่องการใช้ปีพุทธศักราช
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 26 ธ.ค. 12, 16:16
มีข้อมูลเกี่ยวกับความคลาดเคลื่อนของการนับพุทธศักราชมาให้คุณ chounws ทราบเพิ่มเติม

จากคอลัมน์ "คัมภีร์จากแผ่นดิน"


หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ที่ 57 ฉบับที่ 17638 วันอาทิตย์ ที่ 7 พฤษภาคม 2549


ว่าด้วยเรื่อง พ.ศ.ผิด 60 ปี ตามเนื้อความว่าดังนี้


"การนับพุทธศักราช...เริ่มนับกันตั้งแต่ปีที่พระพุทธเจ้าปรินิพพาน แต่กระนั้น ตัวเลขพุทธศักราช...ของบางประเทศ ก็ไม่ตรงกัน เหตุเพราะมีคติการนับที่ไม่เหมือนกัน


ตัวอย่างใกล้ตัว...ประเทศลังกา และพม่า ใช้หลัก เลข 544 บวกกับเลข ค.ศ. เป็นพุทธศักราช แต่ประเทศไทย...ใช้หลัก เลข 543 บวกกับเลข ค.ศ. เป็นพุทธศักราช


เพราะฉะนั้น พ.ศ.ของลังกา และพม่า จึงเร็วกว่าของไทยอยู่หนึ่งปี


ก็เป็นอันว่า เมื่อไทยนับว่า พระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้ว 2499 ปี ลังกา พม่า ก็จะเป็น 2500 ปี


เหตุที่เป็นเช่นนี้ ศาสตราจารย์ประเสริฐ ณ นคร อธิบายไว้ในหนังสือ ประวัติศาสตร์ เบ็ดเตล็ด ศิลปวัฒนธรรมฉบับพิเศษ สำนักพิมพ์มติชน...ว่า


เพราะพวกหนึ่ง นิยมนับปีย่าง...อีกพวกนับปีเต็ม


ตัวอย่าง นาย ค. อายุ 29 ปี 3 เดือน พวกที่นับเต็ม ก็จะนับว่า อายุ 29 ปีเต็ม พวกที่นับปีย่าง ก็จะนับว่า อายุ 30 ปีย่าง


เพราะความนิยมนับต่างกันแบบนี้ อาจารย์ประเสริฐ ท่านพบว่า ตัวเลข พระพุทธศักราช จึงเกินความจริงไป 1 รอบ หรือหกสิบปี


อาจารย์สันนิษฐานว่า อินเดียไม่ได้ใช้ พ.ศ.ติดต่อกันมาตั้งแต่พระพุทธเจ้าปรินิพพาน ใช้การนับเป็นรอบ รอบละ 60 ปีเรื่อยมา


จนมาเริ่มใช้ พ.ศ. ก็จะคำนวณกันว่า พระ พุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้วกี่รอบ และเศษอีกกี่ปี


แต่เพราะวิธีนับรอบ ต่างกันเป็นสองพวก พวกหนึ่งนับรอบแบบอดีตล่วงไปแล้ว เช่น พ.ศ.80 ก็เรียกว่า พระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้ว 1 รอบ กับ 20 ปี


แต่อีกพวก นับรอบใหม่ที่ย่างเข้า...เช่น พ.ศ.80 ก็ถือว่าเป็นปีที่ 20 ในรอบที่สอง


เมื่อพวกหนึ่ง...ได้ยินว่า พระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้ว รอบที่สอง ปีที่ 20 ก็เข้าใจว่า ล่วงไปแล้วสองรอบ กับอีก 20 ปี


จึงเรียกว่า พ.ศ.140 ผิดความจริงไปรอบหนึ่ง


ศาสตราจารย์ประเสริฐ บอกว่า การเรียก พ.ศ.ผิดนี้ เริ่มตั้งแต่สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ตามชินกาลมาลีปกรณ์ ระบุว่า พระเจ้าอโศกเสวยราชย์ ระหว่าง พ.ศ.214-255


ที่ทราบว่าผิดความจริง ก็เพราะพระองค์ส่งสมณทูตไปตามเมืองต่างๆ (กระทั่งสุวรรณภูมิ) เมืองเหล่านี้มีศักราชจดไว้แน่นอน เทียบศักราชดูแล้ว พบว่า นับ พ.ศ.มากเกินไป 1 รอบ คือ 60 ปี


แต่จะเปลี่ยนแก้ว่าปีนี้ สมมติ พ.ศ. 2539 ควรจะเปลี่ยนเป็น พ.ศ.2479 ก็ทำไม่ได้ เพราะเหตุการณ์ที่จดไว้เมื่อ 60 ที่แล้ว ก็จดว่า พ.ศ.2479 ไปแล้วครั้งหนึ่ง."



ตกลงมันผิดไปรอบหนึ่งจริงหรือเปล่าครับผม แล้วมีผลต่อตำรามากน้อยแค่ไหนครับนี่


แนะนำให้อ่านเรื่องที่คุณวิกกี้อธิบายเกี่ยวกับ Chronology of the Buddhist Era (http://en.wikipedia.org/wiki/Buddhist_calendar#Chronology_of_the_Buddhist_Era) เพิ่มเติม

สวัสดีปีใหม่ พ.ศ ๒๔๙๖

 ;D


กระทู้: สอบถามเรื่องการใช้ปีพุทธศักราช
เริ่มกระทู้โดย: chounws ที่ 26 ธ.ค. 12, 16:38
มีข้อมูลเกี่ยวกับความคลาดเคลื่อนของการนับพุทธศักราชมาให้คุณ chounws ทราบเพิ่มเติม

ขอบพระคุณอย่างสูงครับ


กระทู้: สอบถามเรื่องการใช้ปีพุทธศักราช
เริ่มกระทู้โดย: hobo ที่ 26 ธ.ค. 12, 17:01
งั้นฉลอง 25 พุทธศตวรรต จะมีอีกไหมครับ
น่าจะจัดกันอีกสักครั้ง จะได้สนุกครึกครื้นกันอีก


กระทู้: สอบถามเรื่องการใช้ปีพุทธศักราช
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 26 ธ.ค. 12, 17:26
ตัวอย่างใกล้ตัว...ประเทศลังกา และพม่า ใช้หลัก เลข 544 บวกกับเลข ค.ศ. เป็นพุทธศักราช แต่ประเทศไทย...ใช้หลัก เลข 543 บวกกับเลข ค.ศ. เป็นพุทธศักราช


เพราะฉะนั้น พ.ศ.ของลังกา และพม่า จึงเร็วกว่าของไทยอยู่หนึ่งปี


ก็เป็นอันว่า เมื่อไทยนับว่า พระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้ว 2499 ปี ลังกา พม่า ก็จะเป็น 2500 ปี

ดูตัวอย่างศักราชของพม่าข้างล่างนี้

พม่าใช้ พ.ศ. เฉพาะเกี่ยวกับศาสนาเท่านั้นเรียกว่า "ศาสนศักราช"

ข้างล่างเป็นป้ายทองเหลืองบอกวันเดือนปีที่สร้าง เจดีย์อุปปตศานติ  (http://en.wikipedia.org/wiki/Uppatasanti_Pagoda) ที่ เนปิดอ (http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%B5%E0%B8%94%E0%B8%AD) เมืองหลวงใหม่

เทียบกัน ๓ ศักราช พ.ศ. - จ.ศ. - ค.ศ.


(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=4947.0;attach=28965;image)

พ.ศ. ๒๕๕๒ = ค.ศ. ๒๐๐๙ ต่างกัน ๕๔๓ ปี เหมือนของไทย ทำไมไม่เร็วกว่า

ใครอธิบายได้บ้างว่าทำไมถึงเป็นเช่นนี้

เรื่องนี้มีคำตอบ


 ;D



กระทู้: สอบถามเรื่องการใช้ปีพุทธศักราช
เริ่มกระทู้โดย: chounws ที่ 26 ธ.ค. 12, 21:55
ขอสงสัยต่อนะครับ
แล้วทางอินเดียเองล่ะ โดยเฉพาะก่อนฝรั่งอังกฤษมาครอบครอง ใช้ปีอย่างไร
แล้วทางเขมร กับ ทางใต้เช่นมาเลย์กับอินโดฯ
คงไม่ถามเยอะไปนะครับ ;)


กระทู้: สอบถามเรื่องการใช้ปีพุทธศักราช
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 28 ธ.ค. 12, 08:57
พ.ศ. ๒๕๕๒ = ค.ศ. ๒๐๐๙ ต่างกัน ๕๔๓ ปี เหมือนของไทย ทำไมไม่เร็วกว่า

ใครอธิบายได้บ้างว่าทำไมถึงเป็นเช่นนี้

เรื่องนี้มีคำตอบ


โปรดสังเกตวันที่ปรากฏในแผ่นทองเหลืองคือ "วันเสาร์ที่ ๗ มีนาคม ค.ศ. ๒๐๐๙"

พม่าเปลี่ยนศักราชหลังสงกรานต์ในเดือนเมษายนเหมือนไทยสมัยก่อน

ดังนั้นในพม่า  พ.ศ. - ค.ศ. = ๕๔๔  ก็ต่อเมื่อหลังสงกรานต์

ปฏิทินพม่าแสดงการเปลี่ยนศักราช (จ.ศ.) ในเดือนเมษายน

พม่าเปลี่ยนศักราชวันสงกรานต์ในเดือนเมษายนเหมือนกัน

ตัวเลขพม่าในกรอบสีน้ำเงินบนขวาคือ ๑๓๗๓-๗๔

สงกรานต์พม่าหยุดงานกันเป็นสัปดาห์

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=4947.0;attach=28917;image)

พ.ศ. ก็ทำนองเดียวกัน

 ;D


กระทู้: สอบถามเรื่องการใช้ปีพุทธศักราช
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 28 ธ.ค. 12, 09:42
ในแต่ละประเทศนิยมใช้ศักราชกันอย่างไร อาจจะดูได้จากการใช้ในหนังสือพิมพ์

หนังสือพิมพ์ไทยใช้พุทธศักราชแน่นอน แต่ในประเทศเพื่อนบ้านเราดูจะไม่ใช่เป็นอย่างนั้น

ตัวอย่างหนังสือพิมพ์พม่า

จุลศักราชเป็นศักราชของพม่า ปัจจุบันก็ยังใช้อยู่

ตัวอย่างประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรีของพม่าในหนังสือพิมพ์ฉบับวันเสาร์ที่ ๒๘ มกราคม ค.ศ. ๒๐๑๒ ตรงกับ 5 th Waxing of Tabodwe 1373 ME

5 th Waxing of Tabodwe  คือ ขึ้น ๕ ค่ำ

ME คือ Myanmar Era หรือ จุลศักราช นั่นเอง


(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=4947.0;attach=28915;image)

ยังคงใช้จุลศักราชหรือศักราชพม่ากันอยู่

 ;D


กระทู้: สอบถามเรื่องการใช้ปีพุทธศักราช
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 28 ธ.ค. 12, 12:59
หนังสือพิมพ์กัมพูชา ใช้คริสตศักราช ไม่ใช้พุทธศักราชแฮะ

โปรดสังเกตตัวเลข เลขไทยกับเขมรเหมือนกันทุกตัว เหตุเพราะเรายืมเขมรก็ใช้นั่นเอง

แต่สัตว์หิมพานต์ ๒ ตัว ที่ยืนขนาบชื่อหนังสือพิมพ์ หน้าตาคุ้น ๆ น่าจะยืมของไทยเรา เอาไปใช้

 ;D



กระทู้: สอบถามเรื่องการใช้ปีพุทธศักราช
เริ่มกระทู้โดย: chounws ที่ 28 ธ.ค. 12, 15:09
ในแต่ละประเทศนิยมใช้ศักราชกันอย่างไร อาจจะดูได้จากการใช้ในหนังสือพิมพ์

หนังสือพิมพ์ไทยใช้พุทธศักราชแน่นอน แต่ในประเทศเพื่อนบ้านเราดูจะไม่ใช่เป็นอย่างนั้น

ตัวอย่างหนังสือพิมพ์พม่า



ยังคงใช้จุลศักราชหรือศักราชพม่ากันอยู่

 ;D
เป็นข้อมูลที่น่าสนใจมากครับ


กระทู้: สอบถามเรื่องการใช้ปีพุทธศักราช
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 28 ธ.ค. 12, 15:37
หนังสือพิมพ์ลาวก็ใช้คริสตศักราช  พุทธศักราชก็มีใช้เหมือนกันคงทำนองเดียวกับพม่าที่ใช้เกี่ยวกับศาสนาและประเพณี

ปีใหม่ลาวก็เช่นเดียวกับพม่า ซึ่งยังคงเปลี่ยนพุทธศักราชหลังสงกรานต์ในเดือนเมษายน

ขอให้สังเกตเลขลาว เหมือนไทยเพียงบางตัวเท่านั้น  

สะบายดีปีใหม่ พสใดเอ่ย

 ;D


กระทู้: สอบถามเรื่องการใช้ปีพุทธศักราช
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 29 ธ.ค. 12, 11:50
ขออนุญาตเสริมเรื่องศักราชของญี่ปุ่นและจีน  แม้คุณ chounws ไม่ได้ถาม แต่อยากตอบ   ;)

หนังสือพิมพ์ญี่ปุ่น

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=5274.0;attach=34909;image)

อักษรคันจิบนสุดตรงกลางมีความหมายว่า "วันที่ ๔ เดือน ๔ ปีโชวะที่ ๒๐"

ปีโชวะคืออะไร คุณประกอบให้คำตอบไว้ดังนี้

เพิ่มเติมซักนิด จริงๆ แล้วคำว่าเมจิ ไทโช โชวะ หรือเฮเซ เป็นคำที่ใช้เรียกรัชสมัยของจักรพรรดิแต่ละพระองค์ ซึ่งจริงๆ แล้วจักรพรรดิจะมีพระนามด้วย เช่นจักรพรรดิมัซสุฮิโต ใช้ชื่อรัชสมัยว่าเมจิ หรือจักรพรรดิโยชิฮิโต ใช้ชื่อรัชสมัยไทโช  อย่างปัจจุบันจักรพรรดิอากิฮิโต ใช้ชื่อรัชสมัยเฮเซเป็นต้น

รัชสมัยของจักรพรรดิฮิโรฮิโต เรียกว่าสมัยโชวะ

ญี่ปุ่นยังนิยมใช้คริสตศักราชควบคู่ไปกับปีรัชสมัยของจักรพรรดิอีกด้วย ดังตัวอย่าง

คุณ takuan21a (http://takuan21a.exblog.jp/17868005/) เจ้าของภาพ บรรยายไว้ดังนี้

2012年 03月 14日
タイ王国大使館(旧浜口邸)  

竣工:1934年(昭和9年)
場所:品川区上大崎3-14


๑๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๕
สถานเอกอัครราชทูตราชอาณาจักรไทย (บ้านเก่าของตระกูลฮามากุจิ)

สร้างเสร็จ : พ.ศ. ๒๔๗๗ (ปีโชวะที่ ๙)
ที่ตั้ง : ๓-๑๔ คามิโอซากิ เขตชินากาวา

 ;D


กระทู้: สอบถามเรื่องการใช้ปีพุทธศักราช
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 29 ธ.ค. 12, 11:58
ศักราชของจีน แต่ก่อนก็เรียกตามรัชสมัยของจักรพรรดิเช่นเดียวกับญี่ปุ่น  ปัจจุบันใช้คริสตศักราช

จีนไม่ได้ใช้ ค.ศ มาแต่เดิมครับ แต่ก่อนเขานับปีตามแบบของเขาครับ เพิ่งจะมาใช้ ค.ศ. ทีหลังเมื่อคบฝรั่งแล้ว แถมไม่ยอมเรียกว่า "คริสต์" ศักราช เขาเรียกของเขาในภาษาจีนพอจะแปลได้ว่า General /Common Era หรือ "ศักราชสากล"

สมัยเขามีกษัตริย์ เขานับปีตามรัชกาล ดังนั้นแปลว่าเปลี่ยนรัชกาลทีก็เปลี่ยนคำเรียกศักราชที เช่น (สมมติ) "ศักราชเฉียนหลงปีที่ 44" คล้ายๆ กับที่เราลงท้ายในพระบรมราชโอการของเราเดี๋ยวนี้ว่า "พศ..... เป็นปีที่ ... ในรัชกาลปัจจุบัน"  ซึ่งเป็นวิธีเดียวกับที่ญี่ปุ่นใช้อยู่จนเดี๋ยวนี้ ญี่ปุ่นเขามีคำเรียกปีแบบของเขาใช้คู่กับ ค.ศ. ตามรัชกาลจักรพรรดิเหมือนกัน อย่างรัชกาลที่แล้วพระเจ้าฮิโรฮิโต เรียกปีศักราชว่า โชวะ ปีโชวะที่ 21 ปีโชวะที่เท่าไหร่ๆ ก็คือเป็นปีที่เท่านั้นในรัชกาลของพระองค์  รัชกาลปัจจุบันพระจักรพรรดิอากิฮิโต ดูเหมือนเรียกศักราชว่า เฮย์เซ (มั้ง?)

จนกระทั่งจีนเลิกมีฮ่องเต้ กลายเป็นสาธารณรัฐแล้วสมัยซุนยัตเซนก็ยังไม่เลิกใช้วิธีนับอย่างนี้ ควบคู่กันไปกับ ค.ศ. แต่เปลี่ยนเป็น "ศักราชสาธารณรัฐปีที่...."  แทน แต่ตอนที่ปู่เหมาแกทำปฏิวัติสำเร็จ แกไม่ยักใช้  "ศักราชคอมมิวนิสต์ปีที่..."  เลยเหลือแค่ ค.ศ. เฉยๆ

 ;D


กระทู้: สอบถามเรื่องการใช้ปีพุทธศักราช
เริ่มกระทู้โดย: chounws ที่ 29 ธ.ค. 12, 19:21
ศักราชของจีน แต่ก่อนก็เรียกตามรัชสมัยของจักรพรรดิเช่นเดียวกับญี่ปุ่น  ปัจจุบันใช้คริสตศักราช


มารายงานตัวว่าคอยอ่านอยู่ไม่ได้ทิ้งกระทู้ มีข้อมูลต้องย่อยต้องศึกษาต่อยอดเยอะเลยครับ ขอบพระคุณมาก


กระทู้: สอบถามเรื่องการใช้ปีพุทธศักราช
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 03 ม.ค. 13, 11:16
ในขณะที่ไทยเราเปลี่ยนพุทธศักราชในวันที่ ๑ มกราคม เพื่อนบ้านของเราไม่ว่าจะเป็น พม่า, ลาว, เขมร ล้วนเปลี่ยนพุทธศักราชหลังสงกรานต์ทั้งสิ้น

เขมรนับ พ.ศ. เช่นเดียวกับพม่า จึงสวัสดีปีใหม่ พ.ศ. ๒๕๕๖ ไปเรียบร้อยแล้วตั้งแต่เมษายนปีที่แล้ว

 ;D


กระทู้: สอบถามเรื่องการใช้ปีพุทธศักราช
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 03 ม.ค. 13, 11:41
ส่วนลาวนับ พ.ศ. เช่นเดียวกับเรา

 ;D


กระทู้: สอบถามเรื่องการใช้ปีพุทธศักราช
เริ่มกระทู้โดย: chounws ที่ 03 ม.ค. 13, 12:24
ส่วนลาวนับ พ.ศ. เช่นเดียวกับเรา

 ;D
รายงานตัวครับ ข้อมูลมีค่ายิ่งครับ
เรื่องที่ในแถบนี้นับวันเริ่มต้นปีใหม่ในวันสงกรานต์เป็นเรื่องน่าสนใจนะครับ ทำให้อดสงสัยไม่ได้ว่าถือคติทางไหนครับ ทางพราหม์หรือพุทธฯหรืออื่นๆ


กระทู้: สอบถามเรื่องการใช้ปีพุทธศักราช
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 03 ม.ค. 13, 13:47
เรื่องที่ในแถบนี้นับวันเริ่มต้นปีใหม่ในวันสงกรานต์เป็นเรื่องน่าสนใจนะครับ ทำให้อดสงสัยไม่ได้ว่าถือคติทางไหนครับ ทางพราหม์หรือพุทธฯหรืออื่นๆ

คุณสุจิตต์ วงษ์เทศได้ให้คำตอบเรื่องนี้ไว้ในหนังสือพิมพ์มติชนฉบับวันจันทร์ที่ ๙, วันอังคารที่ ๑๐ และวันพุธที่ ๑๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๕ ดังนี้

สาดน้ำสงกรานต์ “ประเพณีร่วม” ของอาเซียน (http://www.sujitwongthes.com/2012/04/siam09042555/)

รดน้ำ, สาดน้ำ น่าจะเป็นประเพณีในศาสนาผีของชุมชนอุษาคเนย์มาแต่ดึกดำบรรพ์ แม้ไม่พบหลักฐานโดยตรง แต่ร่องรอยทางประเพณีพิธีกรรมก็เชื่อมโยงได้อย่างนั้น

ในพิธีเลี้ยงผีของชุมชนดั้งเดิมทั้งสุวรรณภูมิและอุษาคเนย์ ใช้น้ำทำความสะอาดเรือนและเครื่องมือทำมาหากินด้วยวิธีรด, ล้าง, สาด แล้วยังใช้อาบให้บรรพชนที่ตายไปแล้ว แต่มีกระดูกหรืออัฐิเหลือไว้บูชาเซ่นไหว้ตามประเพณีอุษาคเนย์ รวมทั้งอาบให้บรรพชนที่ยังมีชีวิตอยู่ เช่น ปู่ย่าตายาย ฯลฯ

เมื่อเสร็จพิธีแล้วก็สาดน้ำขึ้นหลังคาเรือน ตลอดจนต้นไม้ใบหญ้าที่อยู่โดยรอบ เป็นสัญลักษณ์ของการชำระล้างขับไล่สิ่งไม่ดีให้หมดสิ้นไป ยังมีเหลืออยู่ในประเพณีของเผ่าพันธุ์ต่าง ๆ แล้วเคยมีอยู่ในราชสำนักของบ้านเมืองในหุบเขาทางล้านนาและล้านช้าง

น้ำในพิธีกรรมยังมีสืบเนื่องไม่ขาดสาย

ต่อมาเมื่อสงกรานต์จากอินเดียแพร่ถึงอุษาคเนย์ คนพื้นเมืองก็ผนวกพิธีเลี้ยงผีให้เข้ากับสงกรานต์ แล้วกลายเป็นเล่นสาดน้ำสงกรานต์

สงกรานต์ ขึ้นปีใหม่ดั้งเดิมของบ้านเมืองบริเวณสุวรรณภูมิ เช่น พม่า, ลาว, กัมพูชา, ไทย, รวมถึงสิบสองพันนาในยูนนานของจีน

ทุกแห่งต่างอ้างว่าสงกรานต์เป็นประเพณีขึ้นปีใหม่ของตนทั้งนั้น ทั้ง ๆ แท้จริงแล้วต่างรับสงกรานต์ของศาสนาพราหมณ์จากอินเดีย ล้วนไม่ใช่ประเพณีดั้งเดิมของตน

สงกรานต์เป็นช่วงฤดูร้อนที่น้ำแล้ง คนจึงชอบเล่นรดน้ำ, สาดน้ำ โดยไม่จำกัดวัย, เพศ, และชาติพันธุ์

ประชาคมอาเซียน โดยเฉพาะที่อยู่บริเวณแผ่นดินใหญ่ ควรพิจารณาร่วมกัน ให้รดน้ำ, สาดน้ำ เป็นประเพณีร่วมของอาเซียน ไม่เป็นของชาติใดชาติหนึ่ง แล้วจัดงานฉลองร่วมกันทั้งอาเซียน

โดยแต่ละชาติจะสร้างสรรค์รดน้ำ, สาดน้ำ ให้มีลักษณะเฉพาะของตัวเองก็ได้ แล้วดีด้วย จะได้มีความหลากหลายให้คนเลือกเล่น

 ;D


กระทู้: สอบถามเรื่องการใช้ปีพุทธศักราช
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 03 ม.ค. 13, 13:52
สงกรานต์ลาว ปีใหม่ลาว (http://www.sujitwongthes.com/2012/04/siam10042555/)

สงกรานต์ในลาว ถือเป็นปีใหม่ลาว

ผู้เชี่ยวชาญพงศาวดาร เคยอธิบายว่าราชสำนักลาวน่าจะรับสงกรานต์จากราชสำนักกัมพูชา เพราะวัฒนธรรมจากกัมพูชาแผ่ถึงสองฝั่งโขงบริเวณเวียงจัน ตั้งแต่ยุคพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ มีพยานสำคัญคือจารึกเมืองซายฟอง อยู่ทางใต้เวียงจัน
 
แต่นักค้นคว้าบางคนบอกว่า เจ้าฟ้างุ้ม กษัตริย์ลาว เป็นเครือญาติกษัตริย์กัมพูชา ได้พระพุทธรูปที่เรียกต่อมาว่า “พระบาง” จากกัมพูชา เป็นพยานว่าขนบธรรมเนียมประเพณี ผี-พราหมณ์-พุทธ จากเมืองพระนครหลวง แผ่ขึ้นไปถึงเวียงจัน ซึ่งน่าจะมีประเพณีสงกรานต์รวมอยู่ด้วย

(เจ้าฟ้างุ้ม เป็นเครือญาติร่วมยุคพระเจ้าอู่ทองกรุงศรีอยุธยา และพญาลิไทยกรุงสุโขทัย)

บรรพชนคนไทยสายหนึ่งเป็นลาว ทยอยเคลื่อนย้ายจากสองฝั่งโขง ตั้งแต่หลวง พระบางและเวียงจัน ลงลุ่มน้ำน่าน, ยม เข้าสู่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา แล้วประสมกลมกลืนกับตระกูลมอญ-เขมรที่อยู่มาก่อน จนกลายเป็นคนไทยในกรุงศรีอยุธยาและกรุงสุโขทัย

นักวิชาการประวัติศาสตร์ไทย-ลาวจึงอธิบายว่า สงกรานต์จากราชสำนักสยามกรุงศรีอยุธยา (ที่รับจากพราหมณ์อินเดียมาก่อนแล้ว) ก็แผ่ขึ้นไปถึงเวียงจันตั้งแต่ครั้งนั้น แล้วสืบเนื่องจนทุกวันนี้

สงกรานต์ เป็นคติพราหมณ์ในอินเดีย ไม่ใช่ประเพณีดั้งเดิมของลาว

ประเพณีดั้งเดิมของลาวก็เหมือนของไทย คือขึ้นฤดูกาลใหม่ (เรียกปีใหม่อย่างสากล) ตอนเดือนอ้าย แปลว่า เดือนที่หนึ่ง (ตามปฏิทินจันทรคติ) ช่วงหลังลอยกระทง เดือนสิบสอง

 ;D


กระทู้: สอบถามเรื่องการใช้ปีพุทธศักราช
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 03 ม.ค. 13, 13:55
สงกรานต์เขมร ปีใหม่เขมร (http://www.sujitwongthes.com/2012/04/siam11042555/)

สงกรานต์ในเขมร ถือเป็นปีใหม่เขมร มีก่อนไทย

ศิลาจารึกเขมรสมัยเมืองพระนคร ระบุชัดเจนว่าสงกรานต์มีแล้วในราชสำนัก ตั้งแต่ราวหลัง พ.ศ. ๑๖๐๐

ขณะนั้นบริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยาในไทยอยู่ปลายยุคทวารวดี ยังไม่มีกลุ่มชนเรียกตัวเองว่า“คนไทย” และยังไม่มีรัฐอยุธยา, รัฐสุโขทัย มีแต่พวกสยามพูดตระกูลภาษาไทย-ลาว เป็นประชากรชั้นล่าง ๆ ของบ้านเมืองสมัยนั้น

ราชสำนักกัมพูชายุคแรก ๆ นับถือศาสนาพราหมณ์ มีพราหมณ์ประกอบประเพณีพิธีกรรมที่ได้แบบแผนจากอินเดียโดยตรง เช่น สงกรานต์ หลังจากนั้นก็แพร่หลายไปยังบ้านเมืองโดยรอบ เช่น ลาว, ไทย

ราชสำนักอยุธยา สืบมาจากราชสำนักขอมเมืองละโว้ (ลพบุรี) ที่เป็นเครือญาติใกล้ชิดราชสำนักเขมรที่นครวัด, นครธม

สมัยแรก ๆในราชสำนักอยุธยาใช้ภาษาเขมร แล้วมีพิธีกรรมตามแบบราชสำนักเขมร โดยประสมประสานกับพิธีกรรมดั้งเดิมของตระกูลไทย-ลาวบ้าง

ครั้นนานไปเมื่อเปลี่ยนใช้ภาษาไทยสื่อสารในชีวิตประจำวัน ก็ยกย่องภาษาเขมรเป็นราชาศัพท์เพื่อรักษาจารีตขอมไว้

ประเพณีพิธีกรรมในราชสำนักอยุธยาจึงทำตามราชสำนักกัมพูชาที่นับถือศาสนาพราหมณ์มาก่อน แล้วเอามาปรับใช้บ้างให้เหมาะสม เช่น ถือน้ำพระพัทธ์, อินทราภิเษก, สงกรานต์, ฯลฯ

สงกรานต์ จึงไม่ใช่ปีใหม่ไทยเท่านั้น แต่เป็นปีใหม่เขมร, ปีใหม่ลาว, ปีใหม่พม่า ด้วย เพราะรับแบบแผนจากแขกอินเดียเหมือน ๆ กัน

 ;D




กระทู้: สอบถามเรื่องการใช้ปีพุทธศักราช
เริ่มกระทู้โดย: chounws ที่ 03 ม.ค. 13, 15:24
สงกรานต์เขมร ปีใหม่เขมร (http://www.sujitwongthes.com/2012/04/siam11042555/)


สงกรานต์ จึงไม่ใช่ปีใหม่ไทยเท่านั้น แต่เป็นปีใหม่เขมร, ปีใหม่ลาว, ปีใหม่พม่า ด้วย เพราะรับแบบแผนจากแขกอินเดียเหมือน ๆ กัน

 ;D



อธิบายได้เห็นภาพชัดเจนครับ หมดข้อสงสัยในด้านประเพณีสงกรานต์ที่แพร่เข้ามาบ้านเราอย่างไร


กระทู้: สอบถามเรื่องการใช้ปีพุทธศักราช
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 03 ม.ค. 13, 18:38
ประกาศให้ใช้วันอย่างใหม่ในรัชกาลที่ ๕ ตามลิงค์ด้านล่างนี้  น่าจะให้คำตอบที่ชัดเจนเรื่องปฏิทินสุริยคติและจันทรคติได้ชัดเจนครับ
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2431/052/451_1.PDF


กระทู้: สอบถามเรื่องการใช้ปีพุทธศักราช
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 03 ม.ค. 13, 19:42
ขอให้สังเกตว่า ประกาศให้ใช้วันอย่างใหม่ในรัชกาลที่ ๕ นี้ เริ่มต้นเดือนที่หนึ่งคือ "เมษายน"   


กระทู้: สอบถามเรื่องการใช้ปีพุทธศักราช
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 03 ม.ค. 13, 19:59
ต่อเมื่อจนถึงวันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๓ จึงมีประกาศให้ใช้วันที่ ๑ มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่

 ;D