เรือนไทย

General Category => ประวัติศาสตร์ไทย => ข้อความที่เริ่มโดย: sash_cee ที่ 25 มิ.ย. 20, 07:44



กระทู้: การศึกษาไทยหลังปฏิวัติการปกครอง
เริ่มกระทู้โดย: sash_cee ที่ 25 มิ.ย. 20, 07:44
อยากจะรบกวนสอบถามรูปแบบของการศึกษาในสมัยนั้นครับ เข้าใจว่าคณะราษฎรมีการยกเลิก ม.7-8 กลายมาเป็นสิ้นสุดที่ ม.6 แบบปัจจุบัน แต่ถ้าต้องการต่อระดับอุดมศึกษาจะต้องผ่านการเรียนเตรียมฯอีกสองปีซึ่งโรงเรียนเตรียมฯตอนนั้นมีแค่ที่จุฬาฯหรือเปล่าครับ? ถ้าเป็นแบบที่ผมเข้าใจผู้ที่ได้ศึกษาระดับอุดมศึกษาน่าจะไม่ต่างกับสมัยก่อนมากหรือเปล่าครับ?

แล้วการกระจายตัวของการศึกษาระดับอื่นๆเป็นอย่างไรบ้างครับ? มีการจูงใจให้คนไปศึกษาอย่างไร เพราะเท่าที่ผมเคยอ่านน่าจะมีโรงเรียนเปิดมากขึ้นเทียบกับก่อน พ.ศ. 2475 (ผมสงสัยว่ามีการเอางบจากส่วนไหนไปเปิดโรงเรียนเพิ่มหรือครับ? แล้วตอนนั้นสามารถผลิตครูอาจารย์มาป้อนโรงเรียนได้อย่างไร?) และรวมๆเพื่อนๆคิดว่าประชาชนสมัยนั้นสามารถเข้าถึงการศึกษาที่จำเป็นได้แตกต่างกับก่อนการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้างครับ?

ขอบคุณครับ



กระทู้: การศึกษาไทยหลังปฏิวัติการปกครอง
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 25 มิ.ย. 20, 07:59
มีการประกาศใช้แผนการศึกษาชาติ หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยแล้ว โดยจัดตั้งคณะกรรมการการศึกษาและทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ๆ ให้ตั้งสภาการศึกษา พ.ศ. 2475 ประกาศใช้แผนการศึกษาชาติ ต่อมามีการปรับปรุงการจัดการศึกษาภาคบังคับจาก 6 ปี เหลือ 4 ปี และประกาศใช้แผนการศึกษาชาติ พ.ศ. 2479

การมอบให้ท้องถิ่นจัดการศึกษา พ.ศ. 2476 และยกฐานะท้องถิ่นขึ้นเป็นเทศบาลตราพระราชบัญญัติเทศบาลขึ้น และเทศบาลได้จัดการศึกษาอย่างแท้จริงใน พ.ศ. 2478

การปรับปรุงหน่วยงานที่มีส่วนรับผิดชอบในการจัดการศึกษาและเหตุการณ์สำคัญทางการศึกษา ดังเช่น

ปี พ.ศ. 2476 มีการปรับปรุงส่วนราชการในกระทรวงธรรมการและประกาศตั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง

ปี พ.ศ. 2477 โอนคณะนิติศาสตร์ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยไปสมทบกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง

ปี พ.ศ. 2478 ประกาศใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษาทั่วประเทศ

ปี พ.ศ. 2488 ประกาศใช้พระราชบัญญัติครูพุทธศักราช 2488