เรือนไทย

General Category => ศิลปะวัฒนธรรม => ข้อความที่เริ่มโดย: ภูมิ ที่ 23 ม.ค. 02, 22:11



กระทู้: คิดอย่างไรกับประโยคที่ว่า"ครูคือผู้สอนให้ทำอาจารย์คือผู้สอนให้คิด"
เริ่มกระทู้โดย: ภูมิ ที่ 23 ม.ค. 02, 22:11
ตามหัวข้อนั้นแหละครับ
คิดอย่างไรกับประโยคที่ว่า"ครูคือผู้สอนให้ทำอาจารย์คือผู้สอนให้คิด"
เมื่อวานวันครูมีคนมาพูดให้ฟัง
ผมก็ไม่รู้ว่าเขาไปเอามาจากไหนเหมือนกัน


กระทู้: คิดอย่างไรกับประโยคที่ว่า"ครูคือผู้สอนให้ทำอาจารย์คือผู้สอนให้คิด"
เริ่มกระทู้โดย: นนทิรา ที่ 18 ม.ค. 02, 17:55
ดิฉันว่าเป็นประโยคที่ไม่เข้าท่า แต่ดิฉันอาจจะผิดเองก็ได้ค่ะ เพราะดิฉันไม่ทราบความหมายตามรากศัพท์ของคำว่าครูและอาจารย์ แล้วก็ไม่ทราบข้อแตกต่างระหว่างคำว่าครูกับอาจารย์ด้วย

แต่ดิฉันว่าคนเป็นครู(ส่วนใหญ่) ก็ย่อมอยากจะพาลูกศิษย์ไปให้ถึงฝั่งทั้งนั้น ไม่ว่าจะให้ถึงฝั่งโดยการทำหรือคิด ซึ่งจริงๆแล้วถ้าจะให้ดี ก็ควรมีทั้งสองอย่างประกอบกัน คิดแล้วทำ ทำแล้วคิดต่ออีก ส่วนอาจารย์ก็น่าจะเหมือนครู รึเปล่าคะ


กระทู้: คิดอย่างไรกับประโยคที่ว่า"ครูคือผู้สอนให้ทำอาจารย์คือผู้สอนให้คิด"
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 18 ม.ค. 02, 18:31
คุณนนทิราให้ความเห็นไปแล้ว   ดิฉันเห็นด้วยค่ะ

ดิฉันไม่ทราบจุดมุ่งหมายของผู้พูด   ถ้าพูดเพื่อเท่ก็ไม่เท่เลยนะคะ  แบ่งแยกกันให้จำยุ่งยากด้วยซ้ำ

พูดถึงสองคำนี้
ตอนดิฉันอยู่อนุบาล มีแต่ครูทั้งนั้นค่ะ ไม่มีอาจารย์
ที่โรงเรียนเดิม เรียนตั้งแต่ต้นจนจบม.ต้น  มีครูทั้งโรงเรียน อาจารย์คือคนที่สอนพี่โตๆชั้นม.ปลาย
กลับไปอีกทีตอนเป็นศิษย์เก่า  ครูที่เคยสอน กลายเป็นอาจารย์หมดแล้ว  น้องๆเขาเรียกกันอย่างนั้น
ดิฉันมาต่อม.ปลายที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา  มีอาจารย์ทั้งหมด ในมหาวิทยาลัยก็มีแต่อาจารย์ ไม่เคยเรียกใครว่าครู
เคยเข้าไปเรียนคณะเดียวกับคุณนกข.มา ๑ ปี  เพื่อนๆ เรียกคณบดีว่า"ป๋า" ด้วยซ้ำ แต่เรียกลับหลัง

คุณแม่ของดิฉันเคยเล่าว่า สมัยคุณแม่  คำว่าอาจารย์ใช้เรียกสำหรับครูที่เรียนจบปริญญา โดยมากจะสอน ม.ปลาย  ส่วนครูทั่วไปจบป.ม.  ก็เรียกว่าครู
แต่มาถึงสมัยนี้ ครูที่ไหนๆก็จบปริญญากัน  คำจำกัดความดั้งเดิมก็ใช้ไม่ได้อีกต่อไป

เดี๋ยวนี้  บางภาควิชา ลูกศิษย์เขาก็เรียกครูกันทั้งภาคนะคะ  แม้บางคนจบปริญญาเอกมาก็เถอะค่ะ  นิสิตเรียกครูแล้วต่อด้วยชื่อเล่นของครู

คุณภูมิล่ะคะ  เรียกคำไหน


กระทู้: คิดอย่างไรกับประโยคที่ว่า"ครูคือผู้สอนให้ทำอาจารย์คือผู้สอนให้คิด"
เริ่มกระทู้โดย: ภูมิ ที่ 21 ม.ค. 02, 12:03
ความที่ผมเรียนโรงเรียนสาธิตมาตั้งแต่ ป.๑
ทำให้ผมเรียกอาจารย์จนติดปาก
มีเพียงอาจารย์สอนดนตรีไทยข้างนอกเท่านั้นที่ผมเรียกว่าครูเพราะที่ที่ไปเรียนเขาเรียกครูกันทั้งน้นก็เลยเรียกตามเขา(อาจารย์สอนดนตรีไทยในโรงเรียนก็เรียกอาจารย์อยู่ดี)

สำหรับคณะวิศวะที่ผมอยู่ตอนนี้
คำว่าครูจะใช้กับครูปฎิการ (ครูสอนแลป) ส่วนอาจารย์คือผู้สอนเล็คเชอร์
ซึ่งก็อาจเป็นได้ถึงที่มาของคำข้างต้น
ผมก็ไม่แน่ใจว่าควรมีการแยกการใช้คำหรือไม่ ก็เลย นำมาถามที่นี่ว่าคิดเห็นเช่นไร

แต่โดยทางการแล้วก็จำเป็นต้องแยกอยู่ขณะนี้


กระทู้: คิดอย่างไรกับประโยคที่ว่า"ครูคือผู้สอนให้ทำอาจารย์คือผู้สอนให้คิด"
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 21 ม.ค. 02, 12:24
ทางการ ในที่นี้คงหมายถึงคณะวิศวฯ หรือเปล่าคะ
แต่ทางราชการของมหาวิทยาลัย  นึกไม่ออกว่าใช้คำว่า ครู  
ครูปฎิการ เป็นการระบุอย่างเป็นทางการ เลยหรือคะ?
ดิฉันรู้จักแต่คำว่าอาจารย์  หมายถึงผู้ที่อยู่ในสาย ก. ตั้งแต่ระดับ ๓ ไปจนถึง ๗  แล้วขั้นตันแค่นั้น  ไม่มีผลงานทางวิชาการหรือมีแต่ไม่ขอให้ประเมิน
ถ้ามีผลงานทางวิชาการผ่านการประเมิน ถึงจะใช้คำว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ สูงสุดดูเหมือนจะระดับ ๘
ถ้ารองศาสตราจารย์ สูงสุดถึงระดับ ๙
ถ้าศาสตราจารย์ก็ ๑๐ และสูงสุดคือระดับ ๑๑
โดยมากจะขอกันเป็นลำดับ   นานๆจะมีคนใจเด็ดขอทีเดียว ผ่านจากอาจารย์เป็นศาสตราจารย์
เท่าที่นึกออกคือ ศ.ดร. นิธิ เอียงศรีวงศ์

ทางด้านอักษรศาสตร์  มีน้อยคนจะขอถึงศาสตราจารย์ ระดับ ๑๐
เพราะว่าขอยากมาก   เนื่องจากผลงานทางอักษรศาสตร์ เป็นงานด้านบรรยายความคิดเห็นและตีความ  ไม่ใช่งานทดลองทางวิทยาศาสตร์ที่สามารถได้ผลออกมาชัดเจนว่าเป็นหมู่หรือเป็นจ่า
ถ้าผู้ตรวจทางอักษรศาสตร์มีความเห็นไม่ตรงกับผู้ขอ  ก็ให้ตกได้แล้ว

ในคณะอักษรฯ เมื่อเรียนอยู่ ไม่มีคำว่าครูที่เรียกเป็นทางการ  มีผู้ที่มาควบคุมแล็บภาษา หรือห้องปฏิบัติการทางภาษา  เป็นเทคนิเชี่ยน  เรียกเขาว่า "คุณ" ค่ะ


กระทู้: คิดอย่างไรกับประโยคที่ว่า"ครูคือผู้สอนให้ทำอาจารย์คือผู้สอนให้คิด"
เริ่มกระทู้โดย: ภูมิ ที่ 24 ม.ค. 02, 10:11
>ครูปฎิการ เป็นการระบุอย่างเป็นทางการ เลยหรือคะ?
คิดว่าใช่ครับ เป็นตำแหน่ง
ถือว่าเป็นข้าราชการสายข