เรือนไทย

General Category => ทันกระแส => ข้อความที่เริ่มโดย: เทาชมพู ที่ 13 ก.ค. 18, 21:19



กระทู้: 13 หมูป่า : วีรกรรมถ้ำหลวง
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 13 ก.ค. 18, 21:19
  เชื่อว่าทุกท่านที่เข้ามาอ่านเรือนไทย คงใจจดใจจ่อติดตามข่าวนักฟุตบอลเยาวชนทีมหมูป่า 12 คนและโค้ชทีม"หมูป่า" รวม 13 คน ติดอยู่ภายในถ้ำหลวง วนอุทยานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน อ.แม่สาย จ.เชียงราย  ตั้งแต่เย็นวันที่ 23 มิถุนายน 2561   จนกระทั่งวันที่ 10 กรกฎาคม 2561  หมูป่ากลุ่มสุดท้ายก็ถูกพาออกจากถ้ำหลวงได้สำเร็จ
  ช่วงเวลานั้น ไม่เฉพาะแต่คนไทยที่ใจจดใจจ่อติดตามข่าวว่าทางภาครัฐและเอกชนของไทย ตลอดจนความช่วยเหลือของนานาชาติที่หลั่งไหลกันเข้ามาไม่ขาดสาย     ทั่วโลกประชากรหลายพันล้านก็พากันจับตามองข่าวนี้แทบจะไม่หายใจ   นับเป็นปรากฏการณ์ที่เหนือคำบรรยาย  ไม่รู้จะใช้คำว่าอะไรดี  แม้แต่คำว่า "มหัศจรรย์" หรือ "ปาฎิหาริย์" ก็เหมือนจะยังไม่พอ

   มัวแต่ติดตามเหตุการณ์ ด้วยความหวังในวันแรก  สิ้นหวังเมื่อผ่านไป 1 สัปดาห์  มีความหวังริบหรี่ขึ้นมาอีก เมื่อหน่วยต่างๆยังมุมานะไม่ยอมเลิก  และจบลงด้วยความปีติสุดขีด     ดิฉันก็เลยลืมที่จะตั้งกระทู้บันทึกเหตุมหัศจรรย์ระดับโลกนี้เอาไว้
   ตอนนี้สงบอารมณ์ลงได้แล้ว เลยรีบมาตั้ง

   กระทู้นี้ตั้งขึ้นเพื่อขอร้องให้ท่านทั้งหลาย มีส่วนร่วมในการบันทึกไว้หน่อยนะคะ  จะเป็นอะไรก็ได้   เช่นข่าวหรือข้อเขียนที่น่าสนใจซึ่งเก็บมาจากสื่อ   ความรู้สึกส่วนตัวในการติดตามเหตุการณ์วันต่อวัน   ความประทับใจ   ข้อคิด ข้อสะกิดใจ บทเรียน   ความเห็นต่อผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายไม่ว่าไทยหรือเทศ  รัฐหรือเอกชน  ฯลฯ
    ความรู้สึกที่ยังใหม่ๆ สดๆร้อนๆนี่แหละ มันจะสะท้อนรสชาติความรู้สึกและความจริงใจต่อเรื่องนี้   บันทึกไว้ให้ลูกหลานของพวกเราอ่านกันในอนาคต  เมื่อวันเวลาผ่านไปนานจนคนอื่นๆอาจจะลืมเลือนกันไปบ้างแล้ว   แต่ข้อมูลอะไรที่บันทึกไว้ในโซเชียลมิเดีย จะยังล่องลอยอยู่ไม่สูญหายไปไหน


กระทู้: 13 หมูป่า : วีรกรรมถ้ำหลวง
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 13 ก.ค. 18, 21:26
ทีมหมูป่า อะคาเดมี มีใครบ้าง
https://www.sanook.com/news/7075782/


กระทู้: 13 หมูป่า : วีรกรรมถ้ำหลวง
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 14 ก.ค. 18, 08:30
REBRANDING THAILAND IN A DARK CAVE
Burton Blume

You may not realize it, but Thailand just got rebranded in a dark cave by twelve boys and their young football coach.

And it’s a wonderful thing.

Why “branding”? Because branding is simply bringing shared values to life.

Rather than the usual fare of elephants, cultural festivals, tempting cuisine and pristine seas, the world has been treated to an epic drama of human fortitude and challenges overcome.

After two decades of campaigns by the Tourism Authority of Thailand, the “Amazing Thailand” slogan has finally been proven in the most heroic terms. The story of the lost boys, which gripped the emotions of people everywhere, and will not be forgotten soon.

Set against images of torrential rains, muddy water and deepening darkness, determined Thai rescue workers and volunteers from around the world worked around the clock to beat the odds and win.

Think about it. A rural football team of 12 scrappy boys almost upstaged the playoffs of the FIFA World Cup, which was running simultaneously. For 18 days, the Internet and television pumped this virtual experience into millions of homes and communities. Trump who?

By the time the Wild Boars emerged from the Tham Luang cave, the world saw Thailand in a new light:

Tolerance: In the far north, four nations meet. The borders are sometimes porous, immigrants often attend schools with native Thais and are given sanctuary in temples and communities… This stands is sharp contrast to the less tolerant nations in Europe or North America.

Cooperation: More Thais travel abroad than ever before and thousands of foreigners are residents of the kingdom. International bonds are firmly established. No wonder so many dropped what they were doing and rallied to Thailand’s support.

Joy in Unity: The most beautiful Thai smiles are not the ones you see in the luxury emporiums of Sukhumvit Road. They are worn by people united in common cause — regardless of wealth, position or the possibility of commercial gain.

Courage: There was no greater example of courage than retired Thai Navy diver, Saman Gunan, who lost his life while preparing the tunnels for the boys’ evacuation. His personal sacrifice inspired the rescuers not to give up.

Leadership: Narongsak Osotthanakorn, the tireless governor of Chiang Rai, marshalled resources for an impossibly complex operation involving police, military, government ministries and volunteer organizations. Multiple rescue options were considered and risks calculated. With only a small window of opportunity, his task force made the right decision.

Mindfulness: Thailand is a largely Buddhist nation. The ability of many of the actors in this drama to keep their minds clear must surely come from the practice of meditation. We know the young coach, a former monk, helped his young charges stay calm during their long wait. The divers, as well, probably used breathing exercises to steady their nerves for their long journeys through the dark cave.

More stories will emerge in the coming days but none will alter the truth that we have witnessed: Nations are defined by the values of their people.


กระทู้: 13 หมูป่า : วีรกรรมถ้ำหลวง
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 14 ก.ค. 18, 08:32
ผมแปลเองครับ
การเปลี่ยนโฉมใหม่ประเทศไทยในถ้ำมืด

คุณคงอาจจะยังไม่ตระหนัก แต่ประเทศไทยได้เปลี่ยนโฉมใหม่ไปแล้วในความมืดของถ้ำ โดยเด็กผู้ชายสิบสองคนกับโค้ชของพวกเขา
ซึ่งมันก็เป็นสิ่งมหัศจรรย์มาก

ทำไมต้องเปลี่ยนโฉมใหม่ ? ก็เพราะการเปลี่ยนโฉมใหม่ง่ายที่จะเพิ่มคุณค่าแห่งชีวิตที่คนทั้งปวงมีร่วมกันได้
แทนที่จะขายประสบการณ์กับช้าง งานประเพณี อาหารที่ดึงดูดใจและทะเลบริสุทธิ์ โลกได้รับความสุขจากเรื่องราวอันกล้าหาญในการเอาชนะความยากลำบากด้วยความทรหดอดทนของมนุษย์

หลังสองทศวรรษแห่งการโฆษณาประชาสัมพันธ์โดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ในที่สุดคำขวัญที่ว่า “อเมซิ่งไทยแลนด์” ก็ผ่านการยอมรับในรูปแบบสุดยอดของวีรกรรมอันเนื่องมาจากเด็กที่สูญหาย ซึ่งเกาะกุมอารมณ์ของผู้คนทั่วทุกหนทุกแห่ง แบบที่จะไม่ลืมเลือนไปโดยเร็ววัน

ท่ามกลางภาพฝนที่ตกกระหน่ำ น้ำโคลน และความมืดมิด หน่วยกู้ภัยของไทยและอาสาสมัครผู้มุ่งมั่นจากทั่วโลกทำงานตลอดยี่สิบสี่ชัวโมงเพื่ออาชนะสิ่งที่ไม่เคยพบเคยเห็นมาก่อน

คิดดูซิ ทีมฟุตบอลบ้านนอกของเด็กที่ไม่มีใครเคยให้ค่า 12 คน เกือบจะได้ไปขึ้นเวทีฟุตบอลโลกโลกโดยฟีฟ่า 18 วันมานี้ ทั้งสื่ออินเทอเน็ตและโทรทัศน์ได้กระหน่ำภาพให้ดูเสมือนอยู่ในเหตุการณ์จริงๆไปยังทุกบ้านทุกครัวเรือน

ใครคือพระเอก

พร้อมๆกับเวลาที่เด็กๆได้ถูกนำออกมาจากถ้ำอย่างปลอดภัย โลกจึงได้เห็นประเทศไทยภายใต้แสงไฟดวงใหม่ที่สาดส่อง

ความใจกว้าง : สุดเหนือของประเทศไทยเป็นที่ชุมนุมของประชาชนสี่ชาติ ซึ่งบางครั้งพรมแดนก็มิอาจกั้น เด็กต่างชาติที่อพยพเข้ามามักจะได้ไปเรียนโรงเรียนเดียวกับเด็กไทย และได้พำนักลี้ภัยอยู่ในวัดหรือชุมชนต่างๆ จุดยืนของไทยนี้ตรงกันข้ามกับชาติในยุโรปหรืออเมริกาที่ใจไม่กว้างเท่า

ความร่วมมือร่วมใจ : คนไทยไปเที่ยวต่างประเทศมากกว่าที่เคยเป็นมา และชาวต่างชาติหลายพันหลายหมื่นคนมาพำนักอยู่ในประเทศไทย ความสัมพันธ์อันแนบแน่นในระดับโลกจึงได้ก่อตัวขึ้น ไม่แปลกที่หลายคนจะทิ้งงานที่ตนเองกำลังทำอยู่มาร่วมชุมนุมในกองหนุนประเทศไทย

ความสุขสามัคคี : ยิ้มสวยของคนไทยนั้นมิใช่ว่าจะพบเห็นได้เฉพาะในศูนย์การค้าเอมโพเรี่ยมอันหรูเริ่ดบนถนนสุขสุมวิทเท่านั้น ผู้ที่มาร่วมชุมนุมในงานที่มีจุดประสงค์ร่วมกัน ก็จะมีรอยยิ้มที่ไม่เกี่ยวกับความรวย ตำแหน่ง หรือความเป็นไปได้ที่จะได้รับประโยชน์ทางธุรกิจ

ความมุ่งมั่น : ไม่มีตัวอย่างใดที่จะยิ่งใหญ่ไปกว่ากรณีย์ของทหารเรือนอกราชการ สมาน กุนัน ผู้เสียชีวิตในระหว่างงานเตรียมการในอุโมงค์เพื่อจะนำเด็กๆออกมา ความเสียสละของเขาได้เป็นแรงบันดาลใจของเหล่านักกู้ภัยที่จะไม่ยอมแพ้

ความเป็นผู้นำ : ณรงค์ศักดิ์ โอสถาธนากร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงรายผู้ไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย ได้กำกับทรัพยากรทุกอย่างที่มีในปฏิบัติการที่แทบไม่น่าจะเป็นไปได้ เกี่ยวพันกับตำรวจ ทหาร ข้าราชการกระทรวงต่างๆ และเหล่าอาสาสมัคร แนวทางเลือกการกู้ภัยต่างๆได้ถูกนำมาพิจารณาและประเมินความเสี่ยง เมื่อมีโอกาสที่เปิดให้แม้เพียงน้อยนิด หน่วยเฉพาะกิจของผู้ว่าก็ตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง

สัมมาสติ : ประเทศไทยเป็นชาติใหญ่ที่นับถือพุทธศาสนา ความสามารถของตัวแสดงในสุขนาฏกรรมเรื่องนี้เกิดจากสติปัญญาอันโปร่งใส อันเป็นผลจากการปฏิบัติสมาธิ เราได้รู้จักโค้ชหนุ่ม อดีตพระภิกษุ ผู้ช่วยให้เด็กๆอยู่อย่างสงบในระหว่างการรอคอยอันยาวนาน นักดำน้ำ บางทีก็น่าจะใช้การฝึกหายใจ ที่ช่วยให้ประสาทมั่นคงในระหว่างการเดินทางฝ่าความมืดมิดในถ้ำ

เรื่องต่างๆคงถูกนำออกมากล่าวขวัญกันมากขึ้นอีกในวันต่อๆไป แต่จะไม่มีวันเปลี่ยนแปลงความจริงที่เราได้ประจักษ์ไปแล้ว
: ประเทศชาติทั้งปวงถูกประเมินค่าจากคุณภาพประชากรในชาตินั้นๆ


กระทู้: 13 หมูป่า : วีรกรรมถ้ำหลวง
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 14 ก.ค. 18, 08:37
(เอามาจากเฟซบุ๊คของผมครับ)
.
คำว่า REBRAND ซึ่งเป็นศัพท์ของนักการตลาดนั้น ส่วนใหญ่เขาใช้ทับศัพท์กัน หมายถึงเอาสินค้าโบร่ำโบราณบนหิ้งที่ขายได้เรื่อยๆเฉื่อยๆ มาเปลี่ยนโลโก้ ออกแบบ ทำบรรจุภัณฑ์ใหม่ให้ทันสมัย เพื่อขายในมูลค่าที่เพิ่มขึ้น ของบางอย่างถ้าตั้งราคาไว้ถูกๆคนก็ไม่ซื้อซะอีก เพราะคิดว่าเป็นของไม่ดี แต่พอเปลี่ยนโฉมแล้วขึ้นราคาไปสักห้าเท่าสิบเท่า จ้างพรีเซนเตอร์ดังๆมาโฆษณาออกสื่อ ก็ขายดิบขายดียอดขายทะลุเพดาน สินค้าที่ว่านี้ในตลาดก็มีหลายตัว

แล้วคุณ Burton Blume นักการตลาดชื่อดังก็นำคำว่า rebrand มาใช้กับประเทศไทยในบทความเรื่อง REBRANDING THAILAND IN A DARK CAVE ที่ผมแปลให้อ่านเมื่อเย็นวาน โดยให้ชื่อเป็นภาษาไทยล้วนๆว่า การเปลี่ยนโฉมใหม่ประเทศไทยในถ้ำมืด
ประเทศกับสินค้ามันต่างหรือเหมือนกันอย่างไร เพื่อความเข้าใจตรงจุด ผมอยากจะนำข้อเขียนที่เพื่อนไลน์มาให้อ่าน นายคนนี้เป็นนักลอกแล้วป้ายตัวยง คงไม่ได้เขียนขึ้นเอง ส่วนคนเขียนเป็นใครผมก็ไม่ทราบ จึงไม่สามารถให้เครดิตได้ แต่สิ่งที่เขาเขียนแจ่มแจ้งว่าการ rebrand ประเทศไทยหมายถึงอะไร


.... ผมเป็นคนชอบดูหนังฝรั่งโดยเฉพาะหนังแอ็คชั่นบู๊ล้างผลาญเพราะแต่ละฉากมันสร้างความเร้าใจได้สมจริง แต่ถ้าเรื่องไหนมีการกล่าวเรื่องราวในเมืองไทยเมื่อภาพของเมืองไทยปรากฏในจอผมจะรู้สึกหงุดหงิดและตั้งคำถามอยู่ในใจว่า “บ้านเมืองของกูนี่มันดิบถ่อยเถื่อนและโกโรโกโสอย่างนั้นจริงๆหรือวะ!”

น่าจะราวๆปีหนึ่งเห็นจะได้ผมนั่งดูซีรี่ย์ Criminal minds Beyound Border ss1 ที่มี "แกรี่"พระเอกมาดขรึมของ CSI-NY แสดงนำ ตอนหนึ่งที่ทีม FBI เข้ามาทำคดีฆาตกรรมในเมืองไทย ในเนื้อเรื่องเจ้าหน้าที่ FBI ได้ประสานการทำงานกับตำรวจกองปราบปรามของไทย สภาพของกองบัญชาการกองปราบปรามติดพัดลมเพดานเก่าๆ หมุนช้าๆ เจ้าหน้าที่ตำรวจแต่ละนายนั่งอยู่ในห้องทำงานโทรมๆ เหงื่อซึมจนเปียกเสื้อ ใบหน้ามันเยิ้มด้วยความร้อนของอากาศ แถมในเรื่องยังบอกด้วยว่าทั้งกองปราบปรามมีตำรวจหญิงเพียงคนเดียว

นี่ขนาดซีรี่ย์ยอดฮิตมึงก็ยังดูถูกกูอีกจนได้

ภาพซ้ำๆของประเทศเราอย่างนี้ถูกเผยแพร่ออกไปทั่วโลกอย่างต่อเนื่องและยาวนานด้วยฝีมือฮอลลีวู้ด แน่นอนว่าคงมีคนต่างประเทศจำนวนไม่น้อยมองว่าบ้านเมืองเรามันแย่มากๆ เวลาคนไทยเราเดินทางไปในประเทศที่เจริญแล้วจึงถูกเพ่งมองด้วยสายตาและท่าทีที่ไม่ค่อยจะดีนัก

แต่เพียง 2 สัปดาห์ เหตุการณ์ที่ถ้ำหลวงได้เปลี่ยนมุมมองของชาวโลกที่มีต่อเมืองไทยผ่านการถ่ายทอดภาพที่แท้จริงโดยสื่อของตะวันตกเองไม่รู้ว่ากี่ช่องต่อกี่ช่อง

กลางป่าถ้ำหลวงเรามีสัญญาณอินเตอร์เน็ตให้สื่อได้ถ่ายทอดสดภาพข่าวตลอด 24 ชั่วโมง เรื่องไฟฟ้ายิ่งไม่ต้องพูดถึง

ทีมกู้ภัยแต่ละทีมทั้งของรัฐและเอกชนต่างมียูนิฟอร์มของตัวเองจัดอยู่ในชั้นมาตรฐานโลก เครื่องมือและอุปกรณ์พร้อมสรรพ

อาหารการกินถูกสุขลักษณะและอุดมสมบูรณ์ นักข่าวต่างประเทศคนหนึ่งถึงกับกล่าวว่า “พวกเขา(แม่ครัว)ป้อนเราจนอ้วน”

ภาพบรรยากาศของความสามัคคีพร้อมเพรียงและความมีน้ำใจที่งดงามของคนทุกหมู่เหล่ามีให้เห็นจนเป็นเรื่องปกติของคนไทยที่น่าทึ่งในสายตาของคนต่างชาติ

หลังจากดูคลิปนาทีแรกที่นักดำน้ำจากอังกฤษพบเด็กทั้ง 13 คน มีการสนทนาโต้ตอบกันรู้เรื่อง คนญี่ปุ่นถึงกับตั้งคำถามว่าการศึกษาไทยไปไกลถึงขั้นนี้แล้วหรือ

ในชนบทที่ห่างไกลของประเทศไทยก็ยังมีทีมฟุตบอลเยาวชนด้วยแฮะ

Elon Musk นักธุรกิจของอมริกาที่คนรู้จักกันทั่วโลกแอบมาถ้ำหลวงแบบเงียบๆ เมื่อกลับไปแล้วเขาได้ทวิตว่า “Thailand is so beautiful.”

คนจีนเห็นภาพห้องพักฟื้นของเด็กๆในโรงพยาบาลของรัฐประจำจังหวัดเชียงรายถึงกับบอกว่าทันสมัยกว่าโรงพยาบาลเอกชนของบ้านเขาเสียอีก

เพียงสิบกว่าวันภาพของประเทศไทยที่ถูกบรรจงสร้างให้โกโรโกโสโดยฮอลลีวู้ดได้ถูกทำลายลงไปสิ้น

การรีแบรนด์ประเทศไทย มันเกิดขึ้นแล้วจากเหตุการณ์นี้


กระทู้: 13 หมูป่า : วีรกรรมถ้ำหลวง
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 14 ก.ค. 18, 08:53
REBRANDING THAILAND IN A DARK CAVE - โฉมใหม่ภาพลักษณ์ประเทศไทยจากมุมมืดแห่งถ้ำลึก

More stories will emerge in the coming days but none will alter the truth that we have witnessed: Nations are defined by the values of their people.

เราอาจประสบเรื่องราวต่าง ๆ ในวันข้างหน้า แต่ไม่ว่าจะมีอีกกี่เรื่องก็ตาม จะไม่มีเรื่องไหนเปลี่ยนแปลงความจริงที่เราได้ประจักษ์กันไปแล้ว : ความเป็นประเทศที่แท้จริง บอกได้จากค่านิยมของคนในประเทศนั่นเอง


คำแปลจากเฟซบุ๊กของคุณ Burton Blume

https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=495215210898898&id=454480918305661


กระทู้: 13 หมูป่า : วีรกรรมถ้ำหลวง
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 14 ก.ค. 18, 09:19
ตามนี้ครับ


กระทู้: 13 หมูป่า : วีรกรรมถ้ำหลวง
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 14 ก.ค. 18, 09:27
ประเทศกับสินค้ามันต่างหรือเหมือนกันอย่างไร เพื่อความเข้าใจตรงจุด ผมอยากจะนำข้อเขียนที่เพื่อนไลน์มาให้อ่าน นายคนนี้เป็นนักลอกแล้วป้ายตัวยง คงไม่ได้เขียนขึ้นเอง ส่วนคนเขียนเป็นใครผมก็ไม่ทราบ จึงไม่สามารถให้เครดิตได้ แต่สิ่งที่เขาเขียนแจ่มแจ้งว่าการ rebrand ประเทศไทยหมายถึงอะไร

จากเฟซบุ๊กของคุณ Vikij Phenphak

https://www.facebook.com/100007810651819/posts/2140318126238522/


กระทู้: 13 หมูป่า : วีรกรรมถ้ำหลวง
เริ่มกระทู้โดย: ninpaat ที่ 14 ก.ค. 18, 09:40
เป็นบทความของคุณ Burton Blume ที่ทำให้ผมทึ่ง จริงๆ ครับ
โดยเฉพาะตรงที่มีการกล่าวถึง ประสิทธิภาพของการเจริญสัมมาสติ (Mindfulness) เมื่ออยู่ในภาวะคับขันอย่างที่สุดของชีวิต

คนคำนวณ มิสู้ฟ้าลิขิต


กระทู้: 13 หมูป่า : วีรกรรมถ้ำหลวง
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 14 ก.ค. 18, 10:02
              จุดหนึ่งซึ่ง(อาจจะมีแต่)ไม่เห็นใครพูดถึง(หรือเน้น) คือ จุดที่ว่า ผู้ประสบภัย ล้วนเป็นเด็กเล็กลูกชาวบ้าน
คนชายขอบ, เป็นเด็กไร้สัญชาติ
              พวกเขาได้รับความช่วยเหลืออย่างเต็มที่และดีที่สุดจากทั้งคนไทย(ทั้งชาติ) และชาวต่างนานาชาติแบบที่
เรียกว่า ไร้พรมแดน คล้ายๆ กับเมื่อครั้งเกิดเหตุการณ์ซึนามิที่ปักษ์ใต้บ้านเรา
              อดคิดไม่ได้ว่าถ้าหากผู้ประสบภัยเป็น ลูกท่านหลานนักการเมือง แล้วได้รับการระดมสรรพความช่วยเหลือ
ขนาดนี้ คงจะมีดรามาเกิดขึ้นไม่มากก็น้อย

วันนี้เป็นวันพิธีพระราชทานเพลิงศพวีรบุรุษถ้ำหลวง

Lives of great men all remind us                          
We can make our lives sublime.                        
And departing leave behind us                          
Footprints on the sand of time.                            

         Henry Wordsworth Longfellow  

      ประวัติวีรบุรุษไซร้     เตือนใจ เรานา
ว่าอาจจะยังชนม์            เลิศได้
แลยามจะบรรลัย            ทิ้งซึ่ง
รอยบาทเหยียบแน่นไว้     แทบพื้นทรายสมัย

           พระราชนิพนธ์รัชกาลที่ ๖


กระทู้: 13 หมูป่า : วีรกรรมถ้ำหลวง
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 14 ก.ค. 18, 10:36
ผมพลาดไปคำนึง ผู้ปกครองกลายเป็นผู้ปกคอง ในเฟซบุ๊กหรือไลน์เขาไม่ค่อยถือสากัน แต่ในเรือนไทยมีคุณหมอเพ็ญกำกับดูแลความถูกต้องของการใช้ภาษาไทยอยู่ ผมขอน้อมรับผิดและขออภัยครับ


กระทู้: 13 หมูป่า : วีรกรรมถ้ำหลวง
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 14 ก.ค. 18, 11:04
มิกล้า ๆ  ผิดเล็กน้อยโดยไม่ตั้งใจ แก้ไขแล้วก็ไม่มีปัญหาดอก    ;)


คุณวิกกี้ได้สรุปปฏิบัติการกู้ภัยบรรลือโลกครั้งนี้ ไว้ทั้งเวอร์ชั่นไทยและเทศ

https://en.wikipedia.org/wiki/Tham_Luang_cave_rescue (https://en.wikipedia.org/wiki/Tham_Luang_cave_rescue)

https://th.wikipedia.org/wiki/ปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัยถ้ำหลวง (https://th.wikipedia.org/wiki/ปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัยถ้ำหลวง)

รายละเอียดหลายอย่างอาจถูกแก้ไขหรือเพิ่มเติมในอนาคตเมื่อควันความเหตุการณ์นี้จางลง มีหลายสิ่งหลายอย่างที่น่าชื่นชม อย่างเช่นเรื่องนี้

นักดำน้ำที่เข้าร่วมภารกิจช่วยชีวิต "ทีมหมูป่า" ได้เขียนเอาไว้หน้าถ้ำหลวงเพื่อเป็นแนวทางในการทำงาน มีข้อความแปลเป็นไทยได้ว่า "พวกเรามาที่นี่เพื่อวัตถุประสงค์เดียวกัน" โดยมีจรรยาบรรณ ๖ ข้อในการปฏิบัติงานร่วมกัน ดังนี้

      RESPECT!!! (เคารพซึ่งกันและกัน)
      SPEAK HUMAN LANGUAGE (พูดกันด้วยภาษามนุษย์ เข้าใจง่าย ไม่ใช่ศัพท์เทคนิคหรือภาษาที่ยุ่งยาก)
      COMMUNICATE : Clear, Concise and Direct to the point (สื่อสารกันให้กระจ่าง เข้าใจง่าย และชัดเจน)
      RESPECT DIVERSITY (เคารพความหลากหลาย)
      NO DISCRIMINATION (ไม่แบ่งแยกเชื้อชาติ)
      NO IDEA IS STUPID IDEA (ไม่มีความคิดเห็นใดที่โง่ ทุกแนวคิดมีคุณค่า)

ในบรรทัดสุดท้ายเขียนไว้ว่า "We're only one TEAM" ซึ่งหมายความว่าพวกเราคือทีมเดียวกัน

https://www.sanook.com/news/7165530/

ทุกคนในเรือนไทยสามารถรับมาใช้และปฏิบัติได้ทันที
 ;D


กระทู้: 13 หมูป่า : วีรกรรมถ้ำหลวง
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 14 ก.ค. 18, 20:13
10 ฮีโร่ถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน ภารกิจกู้ภัยทีมหมูป่า 13 ชีวิตที่ติดในถ้ำหลวง

http://singlenew.com/?p=7031

ที่จริงมีมากกว่านี้   ทุกคนที่เข้าไปสละแรงกายแรงใจที่ถ้ำหลวง เพื่อให้การช่วยชีวิตคน 13 คนลุล่วงไปได้ ล้วนเป็นฮีโร่ทั้งสิ้น




กระทู้: 13 หมูป่า : วีรกรรมถ้ำหลวง
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 14 ก.ค. 18, 20:41
http://www.newtv.co.th/news/18355

รวมหน้าหนึ่ง นสพ. ทั่วโลก ลงข่าวทีม “หมูป่า”


กระทู้: 13 หมูป่า : วีรกรรมถ้ำหลวง
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 14 ก.ค. 18, 21:06
ครูบาบุญชุ่ม

เมื่อวันที่ 29 มิ.ย. พระครูบาบุญชุ่ม ญาณสํวโร แห่งวัดพระธาตุดอนเรือง เมืองพง รัฐฉาน ประเทศพม่า ได้มาทำพิธีเปิดทางเพื่อช่วยเหลือเด็กๆ และโค้ช 13 ชีวิต ที่ติดอยู่หน้าถ้ำหลวง วนอุทยานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน อ.แม่สาย จ.เชียงราย ท่ามกลางเจ้าหน้าที่ ญาติๆ และประชาชน ที่มาเฝ้าชมการทำพิธีจำนวนมาก โดยหลังทำพิธี พระครูบาบุญชุ่ม ได้เปิดเผยว่า ไม่มีปัญหา อีก 1-2 วันได้ออกมาแน่

https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_1279050


กระทู้: 13 หมูป่า : วีรกรรมถ้ำหลวง
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 14 ก.ค. 18, 21:44
https://www.thairath.co.th/content/1329965
ซีล สวมประคำข้อมือ 'ครูบาบุญชุ่ม' ผนึกกำลัง นำน้องๆ ทีมหมูป่ากลับบ้าน




กระทู้: 13 หมูป่า : วีรกรรมถ้ำหลวง
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 15 ก.ค. 18, 09:51
จากFBของผมเช่นกัน

ชัดเจนว่าความสำเร็จนี้มาจากฝีมือของมนุษยผู้มากด้วยประสบการณ์และความเชี่ยวชาญ มีความเข้าใจปัญหาที่แท้จริงในการวางแผน ตลอดจนการฝึกเพื่อป้องกันความผิดพลาดก่อนการปฏิบัติ

ก็ถูกอยู่หากท่านจะคิดว่าท่านไม่ใช่ฮีโร่ ที่ส่วนใหญ่จะใช้ความกล้าหาญและเสียสละเป็นตัวนำ แต่ที่ท่านทำ เพราะความมั่นใจว่าจะทำได้สำเร็จโดย(แทบจะ)ไม่มีความเสี่ยง


https://www.facebook.com/BBCThai/videos/2135978186623210/UzpfSTEwMDAwMTg5NzY5OTI1MDoyMTYzMzc3NDIzNzM1NDkz/


กระทู้: 13 หมูป่า : วีรกรรมถ้ำหลวง
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 15 ก.ค. 18, 09:59
หาเจอไหมครับ หน้าของเขาเล็กนิดเดียว เล็กกว่าเจ้าของเรือดำน้ำที่มาเอาวันสุดท้ายเสียอีก


กระทู้: 13 หมูป่า : วีรกรรมถ้ำหลวง
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 15 ก.ค. 18, 10:53
อ่านเจอใน Facebook  ของคุณ Bhanu Inkawat  แต่ไม่ทราบว่าเจ้าของข้อเขียนนี้เป็นใคร  คุณภาณุไม่ได้บอกไว้ค่ะ


Bhanu Inkawat
14 ชม. ·
อ่านคอลัมน์ข้างล่างนี้ แล้วลองคิดในมุมของการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารข่าว หรือ Operation หรือการคิด Business Solution ใดๆก็ตาม

2 สิ่งที่ผมชอบมากๆจากคอลัมน์ที่ผมขอ FWD มาแชร์ให้อ่านกัน
- บทสรุปที่ว่า Idea คือสิ่งสำคัญที่สุดในการทำให้คนเข้าใจและชนะใจคน
- ความสำคัญของการทำงานแบบสากลที่คิด วางแผน มีกลยุทธ์ เป็นมืออาชีพ อย่างที่นักข่าวคนนี้ได้วิเคราะห์ไป

************************

ถ้ำหลวงกับสื่อมวลชน จากมุมมองของคนทำงานสื่อสารคนหนึ่ง

เด็กๆ สมัยนี้คงไม่รู้ว่า สมัยที่คนรุ่นพ่อแม่กำลังเติบโตมานั้น กว่าเราจะรับรู้ข่าวจากประเทศอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นในภูมิภาคเดียวกันหรืออีกซีกโลกหนึ่ง ก็ต้องรอจนค่ำวันรุ่งขึ้นหรือวันถัดๆ ไป ถึงจะได้รับชม ‘ข่าวต่างประเทศ’ ทางจอทีวี

โลกหมุนไปไวว่อง ในวันนี้ สิ่งที่เกิดขึ้น ณ วินาทีนี้ ไม่ว่าจะเกิดที่ไหน โลกรับรู้ได้ทันที

โลกแห่งสื่อสารมวลชนได้เปลี่ยนไป

ช่วงนี้กำลังเตรียมเอกสารเพื่อไปเล่าสู่กันฟัง (ไม่อยากใช้คำว่าสอนหนังสือ เพราะไม่ใช่ครูอาจารย์อะไรกับใครเขา) ให้กับกลุ่มคนที่ทำงานด้านสื่อสารด้วยกันในเรื่องการวางแผนกลยุทธ์ประชาสัมพันธ์ในสัปดาห์หน้า จึงอดไม่ได้ที่จะนึกถึงปฏิบัติการพาหมูป่ากลับบ้านซึ่งเพิ่งจะผ่านพ้นไป

ในแง่ของการ PR นั้น ได้เสนอความคิดเห็นไปแล้วว่าทีมไทยแลนด์ชนะทุกประตูสำหรับงานนี้ ใครเลยจะคิดว่าเราจะได้เห็นอีลอน มัสก์ทวีตว่าเมืองไทยนั้นสวยงามหลังจากแวะมาแบบคนน้อยคนนักรู้ล่วงหน้า หรือได้เห็นสถานีโทรทัศน์ช่องข่าวชั้นนำของโลกออกอากาศสดเป็นเวลาหลายสิบนาทีต่อวัน หรือนักฟุตบอลและทีมฟุตบอลระดับโลกเอ่ยถึงทีมหมูป่าขนาดที่เรียกว่าแย่งซีนฟุตบอลโลกที่กำลังแข่งขันกันในช่วงนี้เลยก็ว่าได้

อีกมุมหนึ่งที่มีการกล่าวขวัญกันตลอดระยะเวลาเกือบ 20 วัน ก็คือมุมของสื่อ

ถ้าเปรียบการทำงานของสื่อระหว่างปฏิบัติการถ้ำหลวงเป็นการแข่งขันฟุตบอล ก็เรียกได้ว่าสื่อทีมเหย้าได้ต้อนรับสื่อทีมเยือนที่ไม่ใช่ระดับธรรมดาๆ แต่เป็นสื่อระดับมหากาฬอย่าง CNN NBC NHK ABC ฯลฯ ที่มาเยือนแบบไม่ทันตั้งตัว

ช่วงแรกๆ เห็นได้ว่าเจ้าบ้านนั้นเป๋กันไปเป็นแถบๆ ด้วยความที่ยังทำงานในรูปแบบเถิดเทิงแบบไทยๆ ที่คุ้นชิน ตั้งแต่ไปวุ่นวายอยู่บริเวณหน้าถ้ำ พยายามไล่สัมภาษณ์คนโน้นนี้นั้น จนบางครั้งก็ขัดขวางการทำงานของเจ้าหน้าที่ ไปจนถึงเสนอข่าวร่างทรง เรื่องผี ฤาษี เรื่องข่าวลือต่างๆ นานาหรือการตั้งคำถามสัมภาษณ์พ่อแม่ของน้องๆ ด้วยคำถามเดิมๆ ที่ผู้ฟังฟังแล้วหงุดหงิด เช่น รู้สึกอย่างไรที่ลูกหายไปยังหาไม่พบ เรียกว่าสื่อไทยนั้นโดนผู้ชมข้างสนามโห่ฮาเอาเป็นระยะๆ แถมยังมีเพจต่างๆ ในเฟซบุ๊กมาช่วยโห่ฮาจุดกระแสเข้าไปใหญ่

ในขณะที่ทีมเยือนนั้นพกประสบการณ์มาอย่างเต็มที่ เทคโนโลยีเต็มร้อย การจับประเด็นในการเสนอข่าวแบบมืออาชีพ เทคนิคสนับสนุนแพรวพราว อินโฟกราฟฟิกชัดเจน เป็นที่ชื่นชอบของผู้ชม

แต่ในขณะเดียวกันสื่อทีมเยือนบางรายไม่ต้องใช้เทคโนโลยีใดๆ เข้าช่วย ก็สามารถอธิบายเรื่องราวต่างๆ ได้โดนใจผู้ชม สื่อทีมเยือนที่เล่นฟุตบอลอยู่ในบ้านตนเองก็สามารถแสดงให้เห็นความแคบของถ้ำ หรือความข้นและสกปรกของน้ำในถ้ำได้ด้วยกล่องพลาสติกเพียงกล่องเดียวเท่านั้น แค่นั้นผู้ชมข้างสนามก็เป่าปากปิ๊วป๊าวอย่างถูกใจแล้ว

ผ่านไประยะหนึ่ง ทีมเหย้าเริ่มหายตกใจและตั้งตัวได้ เริ่มมีการปรับปรุงปั๊ดตะนา มีอินโฟกราฟฟิคหลากลีลาในถ้ำนอกถ้ำมานำเสนอ แต่ทีมเยือนก็ยังได้เปรียบในแง่มุมของการนำเสนอด้วยความเจนสนามมากกว่า ในขณะที่ทีมเหย้ายังเฝ้าอยู่หน้าถ้ำย้ำประเด็นเดิมๆ ทีมเยือนอย่าง BBC ก็แหวกมุมไปนำเสนอเรื่องของจิตอาสา เช่น ผู้รับซักผ้า ทำอาหาร ทำความสะอาด ฯลฯ ออกมาได้น่าประทับใจ ส่วน ABC นอกจากจะมีนักข่าวหน้าตาดีขวัญใจสาวแก่แม่หม้ายเป็นตัวชูโรงแล้ว ยังนำมุมสวยๆ ธรรมชาติของเชียงรายที่ไม่ค่อยได้เคยเห็นกันมาก่อนมานำเสนอ หรือเอาเรื่องข้าวปลาอาหาร สิ่งแปลกๆ ในสายตาของเขาแต่เป็นสิ่งที่เราคุ้นชินไปนำเสนอในมุมที่น่ารักๆ เล่นเอาแม่ยกทั้งหลายคอยยกป้ายไฟเชียร์แบบไม่มีเมื่อย

แม้งานนี้ท่านผู้ว่าฯ จะจัดระเบียบสื่ออย่างเด็ดขาดแบบที่ไม่เคยเห็นมาก่อนในเหตุการณ์ใดๆ จนกลายเป็นที่ถูกใจของผู้ชมในสนามนอกสนามยิ่งนัก แต่สื่อทีมเหย้าก็ยังผู้เล่นบางคนที่มีพฤติกรรมแหกคอก ลอบฟังวิทยุของเจ้าหน้าที่บ้าง บินโดรนตามเฮลิคอปเตอร์บ้าง หรือพยายามเปิดเผยชื่อน้องๆ ที่ไปรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล ระหว่างที่ปฎิบัติการยังไม่เรียบร้อย ให้โดนโห่ฮากันต่อ

จนจบปฏิบัติการ ในขณะที่สื่อทีมเยือนสรุปภาพสวยงาม สะท้อนชัยชนะของมนุษยชาติให้ผู้ชมข้างสนามได้ชื่นใจ ผู้ชมทั้งหลายก็ยังกังวลกับพฤติกรรมของสื่อทีมเหย้า การตั้งคำถามกับพ่อแม่คนใกล้ชิดระหว่างที่น้องๆ หมูป่ายังรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล และการเข้าหาทีมหมูป่าเพื่อขอสัมภาษณ์หลังออกจากโรงพยาบาล หรือพาไปออกรายการทีวีเรียกเรตติ้ง เป็นต้น

โลกเปลี่ยนไปมาก

จากยุคที่สื่อมวลชนซึ่งเป็นผู้เดียวที่เข้าถึงข้อมูลที่ตนจะเสนอต่อประชาชนผู้มีหน้าที่รับสื่ออย่างเดียว สู่ยุคที่ใครๆ เป็นสื่อได้ในปัจจุบัน หลายครั้งหลายวาระที่สื่อกระแสหลักนำข่าวที่เป็นประเด็นในโลกโซเชียลไปเสนอกันง่ายๆ เสียด้วย สื่อโซเชียลหลายแหล่งหลายเพจนั้นไปๆ มาๆ มีผู้ชอบผู้ชมมากกว่าสื่อกระแสหลักเสียอีก

ในห้วงเวลาที่ผ่านมานั้น ทวิตเตอร์เอ็มไทยร้อนแรงมาก มีคนติดตามกันอย่างมหาศาล พลิกประวัติศาสตร์โซเชียล มีเดียที่คนเชื่อถือมากกว่าสื่อกระแสหลัก หลายคนเพิ่งสมัครทวิตเตอร์เป็นครั้งแรกเพื่อติดตามเอ็มไทยอย่างเดียวเท่านั้น เป็นเครื่องพิสูจน์ว่า หากสื่อเสนอข่าวอย่างมีคุณภาพ น่าเชื่อถือ ผู้ติดตามก็จะมาเอง

ในวันนี้ สื่อทั้งกระแสหลักและสื่อโซเชียลถูกจับตามองเขม็ง เพราะข้อมูลกลายเป็นของหาง่าย ใครๆ ก็เสนอได้ ดังนั้นความคาดหวังต่อสื่อมวลชนมืออาชีพจึงยิ่งมีมากขึ้น ในการที่จะนำเสนอข้อมูลนั้นๆ อย่างมืออาชีพ

เรียกได้ว่า ปฏิบัติการหมูป่านี้ ทำเอาสื่อมวลชนมืออาชีพทีมเหย้าของเราเป๋ไปไม่น้อย

แต่ก็ต้องยอมรับกันว่าเราขาดสื่อมวลชนไม่ได้ โดยเฉพาะสื่อกระแสหลัก แม้จะมีสื่อโซเชียลเข้ามาร่วมสนามด้วย เมื่อเย็นเพิ่งได้อ่านว่ามีข้อมูลจากนีลเซ็นว่าข่าว 13 หมูป่าติดถ้ำนั้นได้สร้างปรากฏการณ์ใหม่ให้กับอุตสาหกรรมทีวีดิจิทัล โดยตลอดเวลา 17 วัน ตั้งแต่ 24 มิย.-10 กค. เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของเดือนก่อนหน้า ภาพรวมคนดูโทรทัศน์ในประเทศเพิ่มขึ้นถึง 18% หรือมีคนดูเพิ่มขึ้น 1.13 ล้านคน

ในฐานะคนทำงานด้านการสื่อสาร คนที่ทำงานกับสื่อ ก็ยังอยากเห็นสื่อทีมเหย้า ใช้โอกาส 17 วันหน้าถ้ำนี้เป็นโอกาสแห่งการเรียนรู้ วิธีการนำเสนอ วิธีการเลือกประเด็น วิธีการผลิตข่าว วิธีตั้งคำถาม ฯลฯ ของสื่อทีมเยือน เพื่อปรับปรุงการทำงานให้ดียิ่งขึ้น มีคุณภาพยิ่งขึ้น

เทคโนโลยีหรืออุปกรณ์แพงๆ อาจไม่จำเป็นเสมอไป ถ้ามีไอเดีย

มั่นใจว่ากล่องพลาสติกใบเดียวของรายการข่าวของญี่ปุ่นช่องนั้น จะเป็นที่ติดตราตรึงใจสื่อทีมเหย้าและผู้ชมทั้งในและนอกสนามไปอีกนาน

เป็นกำลังใจให้สื่อน้ำดี เรารู้ว่ายังมีพวกคุณอยู่อีกไม่น้อย และคุณเจ็บปวดทุกครั้งที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์แบบเหมารวม

น้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่าฉันใด ประชาชนผู้อยากเสพข่าวก็ยังต้องพึ่งสื่อฉันนั้น ขอเพียงอย่างเดียว อย่าจับประชาชนเป็นตัวประกัน อย่าอ้างว่าเพราะประชาชนต้องการเสพข่าว สื่อจึงต้องข้ามเส้นต่างๆ เพื่อนำข่าวมาเสนอ

ปฎิบัติการถ้ำหลวงนี้ นอกจากจะเป็นโอกาสแห่งการเรียนรู้แล้ว ยังเป็นโอกาสที่จะได้สะท้อนบทบาทของตัวเอง พินิจพิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อน หาช่องว่างสำหรับการพัฒนา เพื่อความกล้าแกร่งเช่นเดียวกับสื่อทีมเยือนในอนาคต

เราคนไทยด้วยกัน ถ้าไม่สนับสนุนกัน แล้วจะไปสนับสนุนใคร


กระทู้: 13 หมูป่า : วีรกรรมถ้ำหลวง
เริ่มกระทู้โดย: ninpaat ที่ 15 ก.ค. 18, 11:07
เครดิต : Twitter ของคุณ #Thinker และ retweeted โดยคุณ stephffart

เป็นเรื่องของคุณ John Vollanten สั้นๆ ครับ



กระทู้: 13 หมูป่า : วีรกรรมถ้ำหลวง
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 15 ก.ค. 18, 11:16
    ถ้าวีรกรรมของนักดำน้ำทั้งเทศและไทยคือลำต้นไม้ใหญ่  ก็มีวีรกรรมเล็กๆของคนเล็กๆเป็นกิ่งใบที่ช่วยประกอบให้ไม้ใหญ่ต้นนี้ยืนหยัดอย่างสง่างาม จนหมดภารกิจ

   (5 ก.ค. 61) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการปฏิบัติหน้าที่ของทีมค้นหา 13 ชีวิต ติดถ้ำหลวง ที่ต้องทำงานตลอดกว่าสัปดาห์ ท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่มีแต่ดิน โคลน และฝน ส่งผลให้เสื้อผ้าต้องเปียกตลอดทั้งวัน จึงได้มีอาสาสมัครชาวเชียงราย ประกาศรับซักผ้าให้เจ้าหน้าที่ฟรี ทราบชื่อคือ น.ส.รวินท์มาศ ลือเลิศ อายุ 38 ปี เจ้าของร้านซักอบรีด มิสไวท์ ตั้งอยู่เลขที่ 368 ม.2 ต.จันจว้าใต้ (จัน-จั้ว ใต้ ) อ.แม่จัน จ.เชียงราย หนึ่งในอาสาสมัคร ที่ประกาศรับบริการซักผ้าฟรีให้แก่ชุดปฏิบัติการค้นหาและช่วยเหลือ 13 ชีวิต ทีมหมูป่าออกจากถ้ำหลวง หรือแม้กระทั่งผู้สื่อข่าวที่อยู่ในพื้นที่ ผ่านการประกาศทางเฟซบุ๊ก ซึ่งทางร้านได้บริการไปรับและส่งถึงหน้าถ้ำหลวง

น.ส.รวินท์มาศ เผยว่า เมื่อมีคนติดต่อมาให้เธอซักผ้าครั้งแรก เมื่อกลางดึกของวันที่ 28 มิ.ย. ที่ผ่านมา จำนวน 8 ชุด และเมื่อเห็นเสื้อผ้าที่เธอนำไปส่งสะอาดเรียบร้อย จนถึงขณะนี้จึงมีชุดปฏิบัติการในถ้ำหลวงต่างนำชุดให้เธอซักวันละ 50-60 ชุด และหลังพบตัวน้องๆ ทีมหมูป่า ทั้ง 13 คน ก็ยังคงมีเสื้อผ้าให้เธอซักวันละ 80–100 ชุด โดยตอนนี้เธอต้องขยายเวลาปิดร้านจากเวลา 21.00 น. ไปจนถึงเช้าของทุกวัน จึงมีการซักผ้าตลอด 24 ชั่วโมง

ซึ่งมีการแบ่งพนักงานทำงานในร้านเป็นสองกะ เพราะต้องรีบซักและอบให้แห้งก่อนจะนำผ้าไปส่งตั้งแต่ตี 4 ของทุกวัน เพื่อให้เจ้าหน้าที่มีเสื้อผ้าสะอาดสวมใส่ขณะปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งหลังรับเสื้อผ้า พนักงานจะตรวจสอบและแยกซักทีละชุด ป้องกันเสื้อผ้าของแต่ละคนสลับกัน ซึ่งซักด้วยผงซักฟอก และน้ำยาซักผ้าแบบละลายโคลน 3-4 ครั้ง ก่อนจะล้างจนสะอาด และใช้น้ำยาปรับผ้านุ่ม อบและฉีดน้ำหอมอย่างดี ก่อนจะนำส่งเจ้าหน้าที่

นอกจากนี้ น.ส.รวินท์มาศ ยังเล่าอีกว่า เธอดีใจที่ได้เป็นหนึ่งในส่วนร่วมในการช่วยเหลือน้องๆ ทั้ง 13 คน ซึ่งก่อนหน้านี้เธอและเพื่อนๆ เคยทำอาหารข้าวเหนียวหมูทอดบ้าง แต่ก็ต้องไปจ้างคนอื่นทำ เธอเห็นว่าเป็นงานที่ไม่ถนัด จึงประกาศรับซักผ้าฟรี สำหรับผ้าที่เธอรับซัก หากรับจ้างเธอจะคิดตัวละ 10-20 บาท เฉลี่ยทั้งเครื่องคิดค่าบริการ 50 บาท แต่การที่มารับซักผ้าฟรี ทำให้ต้องสูญเสียรายได้วันละ 4,000-5,000 บาท โดยเธอยังเผยอีกว่า เธอจะบริการรับซักจนทุกคนจะเสร็จสิ้นภารกิจในถ้ำหลวง หลังจากการนำน้องออกจากถ้ำ และเจ้าหน้าที่เข้าไปทำความสะอาด และเก็บเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ จนเรียบร้อย


กระทู้: 13 หมูป่า : วีรกรรมถ้ำหลวง
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 15 ก.ค. 18, 11:21
สาวเชียงรายจิตอาสาร่วมซักผ้าฟรีในภารกิจถ้ำหลวง สุดตื่นเต้น ทหารสหรัฐฯ เรียกไปพบเพื่อแสดงความขอบคุณพร้อมมอบของที่ระลึก ก่อนกลับฐานทัพ USPACOM ที่ญี่ปุ่น

เมื่อวันที่ 14 ก.ค. เฟซบุ๊ก “Aunyarat Wonghu” ซึ่งเป็นหนึ่งในจิตอาสาที่ไปช่วยซักอบรีดเสื้อผ้าร่วมกับ เปรม-น.ส.รวินธ์มาศ ลือเลิศ​ เจ้าของร้านซักผ้า “มิสไวท์คลีน” ใน อ.แม่จัน จ.เชียงราย ได้โพสต์ภาพหมู่ร่วมกับนาวิกโยธินชาวสหรัฐอเมริกาภาคพื้นแปซิฟิก (USPACOM) ที่มาช่วยเหลือในการค้นหา น้องๆ ทีมหมูป่าทั้ง 13 คน ณ ถ้ำหลวง อุทยานแห่งชาติถ้ำหลวง-ขุนนางนอน ต.โป่งผา อ.แม่สาย จ.เชียงราย ที่โรงแรมเลอ เมอริเดียน เชียงราย รีสอร์ต อ.เมืองฯ จ.เชียงราย ก่อนเดินทางกลับด้วยเครื่องบินพิเศษกองทัพอากาศสหรัฐอเมริกา ไปยังฐานทัพบนเกาะโอกินาว่า ประเทศญี่ปุ่น พร้อมข้อความระบุว่า

“ได้รับโทรศัพท์ตั้งแต่เมื่อคืน คือ ดีใจมาก ที่ทีมทหารสหรัฐฯ ขอนัดเจอพวกเราตอนเช้าของวันนี้ค่ะ เพื่อจะขอบคุณ พวกเรา ที่ซักผ้าให้ตั้งแต่ต้นจนจบภารกิจ ไม่รู้จะอธิบายรูปภาพว่าอะไร มันคือความภาคภูมิใจครั้งหนึ่ง ในชีวิตที่ฉันได้ของขวัญตอบแทนจากพวกคุณ ฉันจะจดจำตลอดไป พวกเราขอขอบคุณมากกว่าที่ทีมทหารสหรัฐฯ ได้เข้ามาช่วยน้องน้องทีมหมูป่าทำให้คนไทยทั้งประเทศ ที่เฝ้าติดตามข่าวรู้สึกดีใจและขอบคุณทีมงานของพวกท่านที่มาช่วยเราขอบคุณจริงๆ ค่ะ”

เจ้าของเฟซบุ๊กยังกล่าวอีกว่า ขอบคุณพี่เปรม (เจ้าของร้าน) เช่นกัน เพราะเราคือทีม จะเหนื่อแค่ไหนเมื่อเราทำด้วยใจแล้วก็ต้องทำให้สำเสร็จภารกิจ ขอบคุณมิตรภาพดีดีที่เพิ่มเข้ามาใหม่อย่างมากมาย ที่ชื่นชมกัน


กระทู้: 13 หมูป่า : วีรกรรมถ้ำหลวง
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 15 ก.ค. 18, 11:25
เมื่อวันที่ (9 ก.ค.) มีผู้ใช้เฟซบุ๊ก “พอ วัชรดล” ได้โพสต์รูปภาพและเรื่องราวของร้าน มิสไวน์ คลีน ซัก อบ รีด อ.แม่จัน จ.เชียงราย ซึ่งเป็นทีมที่ดูแลทางด้านรับซักผ้าฟรี ให้กับเจ้าหน้าที่เข้ามาช่วยเหลือ “ทีมหมูป่า” โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น ภายหลังเจ้าหน้าที่จากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้มอบใบประกาศนียบัตรให้กับทางเจ้าของร้าน น.ส.รวินท์มาศ ลือเลิศ ที่ได้เข้ามาดูแลตลอดระยะเวลาการทำงานให้เจ้าหน้าที่ทุกนายทำงานจนจบภารกิจ


กระทู้: 13 หมูป่า : วีรกรรมถ้ำหลวง
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 15 ก.ค. 18, 12:41
เรื่องของวิทย์และไสยในปฏิบัติการกู้ภัยระดับโลก !!!

ท่ามกลางภาพฝนที่ตกกระหน่ำ น้ำโคลน และความมืดมิด หน่วยกู้ภัยของไทยและอาสาสมัครผู้มุ่งมั่นจากทั่วโลกทำงานตลอดยี่สิบสี่ชัวโมงเพื่ออาชนะสิ่งที่ไม่เคยพบเคยเห็นมาก่อน

เมื่อวันที่ 29 มิ.ย. พระครูบาบุญชุ่ม ญาณสํวโร แห่งวัดพระธาตุดอนเรือง เมืองพง รัฐฉาน ประเทศพม่า ได้มาทำพิธีเปิดทางเพื่อช่วยเหลือเด็กๆ และโค้ช 13 ชีวิต ที่ติดอยู่หน้าถ้ำหลวง

ปฏิบัติการช่วยเด็กติดถ้ำ วิทย์กับไสย…ไปด้วยกันได้

การหายตัวไปของทั้ง ๑๓ คนในถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน ได้ถูกผูกโยงเข้ากับความเชื่อว่าด้วยเรื่องศาสนา-ภูตผี-เจ้าที่เจ้าทาง-การขอขมาในทันทีที่ข่าวการหายตัวไปถูกยืนยันและเผยแพร่ออกสู่สาธารณชนโดยไม่ต้องผ่านการค้นคว้าหรือพิสูจน์ตรรกะเหตุผลใดทั้งสิ้น

ในทางวิทยาศาสตร์ ได้มีการระดมกำลังผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายแขนงทั้งในและต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยทำลายใต้น้ำจู่โจม (หน่วยซีล) ทีมนักดำน้ำจากประเทศอังกฤษ (และนานาประเทศ-เพ็ญชมพู) ทีมช่วยเหลือทางด้านการแพทย์และการรักษาพยาบาล นักภูมิศาสตร์ การอำนวยความสะดวกด้วยอุปกรณ์ต่าง ๆ จากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และค่ายมือถือยักษ์ใหญ่ รวมทั้งยังมีการใช้เทคโนโลยีอย่างหุ่นยนต์ดำน้ำและเครื่องโดรนตรวจจับความร้อน ฯลฯ

ส่วนฝั่งความเชื่อต่อเรื่องเหนือธรรมชาติหรือไสยศาสตร์ได้เริ่มขึ้นหลังมีการยืนยันว่าทีมหมูป่าอะคาเดมีและโค้ชหายตัวไป ซึ่งจะไล่เรียงโดยแบ่งไสยออกเป็น ๒ สาย คือ ไสยในแง่ความเชื่อเรื่องภูตผี และไสยในแง่ของพิธีกรรมทางศาสนาพุทธ

๑. ไสยในแง่ความเชื่อเรื่องภูตผี

-พิธีขอขมาเจ้าแม่นางนอน : สิ่งที่บรรดาผู้ปกครองของเด็ก ๆ ทีมหมูป่าเลือกกระทำเป็นลำดับแรก คือ การประกอบพิธีสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์และขอขมาเจ้าแม่นางนอน มีการบนบานว่า หากเด็กทั้งหมดออกมาได้อย่างปลอดภัยจะให้บวช ๙ วัน

-พิธีฮ้องขวัญ : พิธีฮ้องขวัญเป็นความเชื่อตามประเพณีดั้งเดิมของคนพื้นถิ่นทางภาคเหนือ โดยมีความเชื่อว่า ปกติแล้วขวัญประจำตัวของคนเรามีทั้งหมด ๓๒ ขวัญ เมื่อเกิดเหตุการณ์ร้ายแรงแก่ชีวิตจะทำให้ขวัญกระเจิดกระเจิง จึงต้องทำพิธีฮ้องขวัญเพื่อเรียกขวัญที่หายไปกลับคืนมาอย่างสมบูรณ์

-ร่างทรง : เป็นประเด็นที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก เพราะการมาของร่างทรงทำให้ผู้ปกครองต่างรู้สึก “ใจเสีย” กับคำพูดที่ร่างทรงบอกว่า เด็กที่ติดอยู่ในถ้ำได้สื่อสารผ่านตัวเธอว่า “หนูหิว หนูกลัว”

๒. ไสยในแง่ความเชื่อทางศาสนา

-ครูบาประกอบพิธีกรรมทางศาสนา-ช่วยเปิดปากถ้ำ-สื่อสารกับเจ้าที่เจ้าทาง : ไสยในแง่นี้ได้รับความสนใจจากทั้งคนในพื้นที่และประชาชนทั่วประเทศที่ติดตามข่าวนี้ ในเวลา ๙ วันที่เด็กติดอยู่ในถ้ำมีพระเกจิอาจารย์เดินทางไปประกอบพิธีทางศาสนาช่วยเปิดปากถ้ำ ๓ รูป ได้แก่ ครูบาบุญชุ่ม ญาณสังวโร ครูบาน้อย เตชปญโญและครูบาแสงหล้า ซึ่งที่ถูกพูดถึงมากที่สุดคือครูบาบุญชุ่ม พระเกจิที่ได้รับความเลื่อมใสศรัทธาจากประชาชนเป็นจำนวนมาก เนื่องจากครองตนในผ้าเหลืองมาเป็นเวลานาน และเป็นที่เลื่องลืออย่างมากในหมู่ศิษยานุศิษย์เมื่อครั้งเข้าไปนั่งวิปัสสนากรรมฐานในถ้ำตามลำพังเป็นระยะเวลา ๓ ปี ๓ เดือน ๓ วัน

ร.ศ.ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี อาจารย์ประจำภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับข้อถกเถียงต่อปรากฏการณ์นี้ว่า วิกฤตเรื่องถ้ำสะท้อนให้เห็นว่าคนในสังคมไทยจำนวนไม่น้อยมองสิ่งที่มิใช่มนุษย์ (non-human) ในฐานะที่เป็นวัตถุที่มีชีวิต มองถ้ำเป็นเสมือนบุคคลที่มีชีวิต มีอารมณ์ และมีอำนาจ ดังนั้นเราจึงเห็นว่าสิ่งที่เกิดขึ้นพร้อม ๆ กับการพยายามหาทางช่วยชีวิตเด็กและโค้ชที่ติดอยู่ในถ้ำ คือการพยายามที่จะ “สื่อสาร” กับ “สิ่งที่มีชีวิต” ให้ “ปล่อย” เด็กและโค้ชออกมา เราจะเห็นได้ว่าบทกวี บทเพลง ถูกประพันธ์ออกมา พิธีกรรมที่ถูกประกอบขึ้นไม่ว่าจะโดยพุทธหรือโดยผี ต่างก็ต้องการสื่อสารกับเจ้าแม่นางนอนราวกับว่าเจ้าแม่ตนนี้คือตัวถ้ำหลวง ทั้งในแง่ที่เป็นอุปลักษณ์และในแง่พิธีกรรม

สิ่งที่ต้องทำความเข้าใจ คือ ความเชื่อที่ว่าวัตถุทางกายภาพนั้นเป็นบุคคล เป็นสิ่งที่มีมานานในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ และยังคงดำรงอยู่แม้ในสังคมที่รุ่งเรืองทางวิทยาศาสตร์ ความเชื่อดังกล่าวไม่จำเป็นต้องขัดแย้งกับความเชื่อทางวิทยาศาสตร์เสมอไป เราจะพบการ syncretize และ hybridize (การผสมผสานความเชื่อที่มีมากกว่าหนึ่งความเชื่อเข้าด้วยกัน) ความเชื่อหลากหลายกระแสในสังคมอยู่ตลอดเวลา

เป็นกรณีตัวอย่างที่น่าสนใจของการพยายาม accommodate โลกแห่งความจริงหลายประเภท สะท้อนให้เห็นความยืดหยุ่นในวิธีคิดของคนไทยอยู่ไม่น้อย ไม่มีใครอุตริเห็นว่า เพียงนั่งสมาธิหรือประกอบพิธีกรรมสื่อสารกับเจ้าแม่นางนอนเฉย ๆ เด็ก ๆ ก็จะเดินออกจากถ้ำมาเอง

ในทางตรงกันข้ามเราจะเห็นว่า สิ่งที่เกิดขึ้นหน้าถ้ำคือ ความพยายามเปิดโอกาสให้ศาสตร์และความเชื่อประเภทต่าง ๆ ได้ทำงานร่วมกันในโลกที่ตนเองเชื่อและในความถนัดที่ตนเองมี ครูบาอาจจะประกอบพิธีกรรม แต่ครูบาก็เชื่อมั่นในความสามารถของเจ้าหน้าที่ สร้างขวัญและกำลังใจให้เจ้าหน้าที่เหล่านั้นฝ่าฟันอุปสรรคในทางกายภาพไปจนกระทั่งพบเด็ก ๆ ได้ ทุกคนทำหน้าที่ตามความเชื่อและความเชี่ยวชาญของตนด้วยภูมิปัญญาและความสามารถทางกายภาพของผู้เชี่ยวชาญเหล่านั้นได้ทำให้ค้นพบเด็ก ๆ ในที่สุด

“สังคมที่เปิดกว้างและให้เสรีภาพต่อการแสดงออกทางความเชื่อ วิพากษ์วิจารณ์บนพื้นฐานของการเคารพในความต่าง ไม่เหยียด และไม่เบียดขับโลกที่ด้อยอำนาจ ควรเป็นเป้าหมายสำคัญของสังคมไทย ซึ่งจริง ๆ ก็คือสิ่งที่เกิดขึ้นหน้าถ้ำ ซึ่งตรงกันข้ามอย่างสิ้นเชิงกับโลกออนไลน์ในปัจจุบัน” ร.ศ.ปิ่นแก้วกล่าวปิดท้ายไว้อย่างน่าฉุกคิด

https://www.prachachat.net/d-life/news-187416



กระทู้: 13 หมูป่า : วีรกรรมถ้ำหลวง
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 15 ก.ค. 18, 16:25
ขอพูดเรื่องนี้ก่อนคร้าบ

https://www.facebook.com/chai.navarat.9/videos/2163861520353750/



กระทู้: 13 หมูป่า : วีรกรรมถ้ำหลวง
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 15 ก.ค. 18, 16:48
ขอเสริมอีกนิดค่ะ
https://www.youtube.com/watch?v=zMFRvtkTSHo


กระทู้: 13 หมูป่า : วีรกรรมถ้ำหลวง
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 15 ก.ค. 18, 17:24
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ได้จัดทำคลิปสั้นความยาว ๓๐ วินาที ชื่อ "The World Is One" เพื่อขอบคุณประชาคมโลกที่มาร่วมช่วยเหลือเยาวชนทีมหมูป่าและผู้ฝึกสอนรวม ๑๓ คน ที่ถ้ำหลวง ขุนน้ำนางนอน อ.แม่สาย จ.เชียงราย  คลิปจบลงด้วยด้วยรอยยิ้มและการไหว้ขอบคุณของคุณแม่เมื่อทราบว่าลูกอายุ ๑๑ ปีที่ติดอยู่ข้างในถ้ำปลอดภัยแล้ว ออกอากาศไปทั่วโลกโดยเริ่มจากสถานีโทรทัศน์ CNN ตั้งแต่วันนี้ (๑๕ กรกฎาคม ๒๕๖๑) เป็นต้นไป
 
https://youtu.be/xiDr8RgfHXk


กระทู้: 13 หมูป่า : วีรกรรมถ้ำหลวง
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 16 ก.ค. 18, 06:25
รายละเอียดระหว่างการปฏิบัติงานที่นักดำน้ำอังกฤษเปิดเผย ในเฟซบุคของ Sherry Sheradia ครับ
ถึงแม้จะไม่มีใครเปิดเผยว่าทำไมออกซิเจนในถังของจ่าแซมจึงหมดในขณะที่คนอื่นยังไม่หมด หากอ่านเรื่องนี้แล้วก็คงพอจะเข้าใจได้ว่าการสละชีวิตของวีรบุรุษผู้นี้เกิดขึ้นเพราะสาเหตุใด

นักดำน้ำถ้ำสองคน ที่เป็นคนที่หอบหิ้วเด็กออกมาคือ คริสโตเฟอร์ จีเวลล์ และ เจสัน มัลลินสัน มีไปให้สัมภาษณ์กับ Daily Mail (https://goo.gl/AA3cty) สองคนนี้เป็นนักดำน้ำถ้ำชุดหลัง ที่สภากู้ภัยถ้ำแห่งบริติช ส่งมาช่วย จอห์น โวลันเธน กับ ริค แสตนตัน

หลังจากมาถึง แล้วได้ดำสำรวจเพื่อสร้างความคุ้นเคยกับจุดต่าง ๆ ภายในอุโมงค์น้ำของถ้ำหลวง ก็ได้รับมอบหมายภารกิจดำไปเป็นคู่ ขนข้าวของไปที่จุดที่เด็กอยู่ มีทั้งสมุดบันทึก ที่ไปให้เด็กเขียนจดหมายถึงครอบครัว และต้องไปวัดปริมาณออกซิเจนในอากาศ และปริมาณออกซิเจนในเลือดเด็ก มัลลินสันบอกว่า สภาพอากาศในจุดที่เด็กอยู่น้อยมาก ชนิดที่ขึ้นมาจากน้ำแล้วไปยังเนินดิน ยังรู้สึกหอบ เหมือนอยู่ในที่สูง

การสัมภาษณ์ของสองคนนี้ เป็นการยืนยันแบบที่ โวลันเธน ได้ให้สัมภาษณ์กับทาง BBC Points West ไปก่อนหน้า (https://goo.gl/y33UzE) คือ มีการฝึกซ้อมกับเด็กในท้องถิ่นที่สระว่ายน้ำ มีการระดมพลมาเสริมจากทาง BCRC องค์กรกู้ภัยถ้ำองค์กรอื่นในยุโรป และทีมคุณหมอจากออสเตรเลีย (https://goo.gl/xZQF51)

การอพยพ ใช้นักดำน้ำหลัก 4 คน คือ จอห์น โวลันเธน, ริค แสตนตัน, คริสโตเฟอร์ จีเวลล์ และ เจสัน มัลลินสัน หิ้วเด็กออกมา ในลักษณะ หนึ่งต่อหนึ่ง ด้านหลังเด็กมีหูหิ้ว (แบบบที่โวแลนเธน เปรียบเทียบก่อนหน้า เหมือนหิัวถุงช็อปปิ้งออกมา) บางจุดก็หิ้วด้านล่างแบบในรูป แต่จุดที่เตี้ย ก็ต้องมาสลับเอามากอดไว้ด้านข่าง หรือบางจุดคือต้องผล้กเอาเฉพาะตัวเด็กให้รอดไปก่อน ส่วนมืออีกข้างหนึ่ง ก็ต้องอาศัยคลำเชือกนำทางไปเรื่อย แล้วยังต้องระวังพวกโขดหิน ที่อาจจะกระแทรกโดนเด็กด้วย ทั้งหมดนี้ ทำงานภายใต้สภาวะที่ทัศนวิสัยที่แย่มาก มองอะไรแทบไม่เห็น แบบที่บางคนเรียกว่า zero visibility (ทัศนวิสัยเป็นศูนย์) กันทีเดียว ขนาดหน้ากากเด็ก ขณะดำ บางทีก็ไม่เห็น แต่ก็ต้องกังวลเรื่องการหายใจของเด็กยังต้องคงเป็นปกติอยู่ตลอดเวลา เลยใช้วิธีทำความคุ้นเคยกับลักษณะการหายใจของเด็ก แล้วอาศัยฟังเสียงจากฟองอากาศที่ออกมาจากท่อด้านข้างหน้ากาก เด็กบางคนก็ออกมาแบบสม่ำเสมอ บางคนออกมา แล้วเว้นช่วงไปนาน สองคนนี้ ลงทุนไม่ใส่ถุงมือ เพราะกลัวว่าจะสูญเสียประสาทสัมผัสเวลาคลำทาง แล้วทำให้เด็กไปชนกับหินได้ ดังนั้นสภาพหลังทำงานเสร็จ คือมือพังเยิน

ระหว่างแต่ละอุโมงค์น้ำ จะมีเนินดิน ที่เป็นจุดที่นักดำน้ำสนับสนุน จะช่่วยกันเรื่อถอดเปลี่ยนใส่ถังอากาศให้เด็ก และตรวจสภาพของเด็ก ก่อนที่จะดำต่อในอุโมงน้ำถัดไป

จีเวลล์ เล่าว่า ในวันที่สามของการอพยพเด็กออก เขาได้รับมอบหมายให้หอบหิ้วเด็กคนที่ลำดับเกือบสุดท้ายออกมา ระหว่างที่ออกจากโถง 4 มายังโถง 3 ดันพลาด ทำเชือกนำทางที่คลำอยู่หลุดมือ พยายามหาเท่าไร ก็ไม่เห็น เลย สุดท้ายนึกได้ว่า พื้นใต้ล่างจะมีสายไฟอยู่ เลยต้องอาศัยคลำสายไฟแทน ปรากฏว่า สุดท้าย แทนที่จะไปข้างหน้า ยังโถง 3 ดันดำวนกลับมาที่โถง 4 แล้วเห็น มัลลินสันที่รับผิดชอบ นำคนสุดท้ายออกมา กำลังจะออกดำต่อ เลยให้มัลลิสันกับเด็กที่ทีแรกว่าเป็นคนสุดท้าย ดำไปก่อน(มัลลินสัน ที่ต้องดำซ้ำสองครั้งในอุโมงน้ำแรก เพราะวันสุดท้ายแผนการอพยพ เปลี่ยนเป็น 5 คน ต่างจากสองวันก่อนหน้าที่ เป็น 4 คน ที่ โวเลนเธน สแตนตัน จีเวลล์ และมัลลิสัน จะแค่คนละรอบ ประกบเด็กแต่ละคน วันสุดท้ายเขาเลยอยู่ตำแหน่งที่ไปรับเด็กคนแรก แล้วส่งต่อให้นักดำน้ำคนอื่นที่มาช่วยเสริม แล้วจึงไปรับคิวเด็กคนสุดท้าย)

จีเวลล์กับเด็กที่เขาดูแล อยู่ที่โถง 4 เพื่อรอหมอแฮร์ริส ที่ดำตามมาท้ายสุดมาถึง แล้วส่งเด็กต่อให้หมอแฮร์ริสนำพาต่อไปข้างหน้า และจีเวลล์มาตามหลัง

เรื่องเล่าตื่นเต้นแบบนี้ เป็นวัตถุดิบมาก เหมาะนำไปสร้างหนังจริง ๆ lol

สองคนนี้ มีแอบบ่น ทีมไทย ไม่มีความรู้เรื่องการดำน้ำในถ้าเลย ตั้งแต่ขั้นตอนการปฏิบัติงาน ยันอุปกรณ์ที่ใช้ พวกเขาตกใจมากว่า ขนาดนักดำน้ำถ้้ำที่มีประสบการณ์สูง ทุกครั้งที่ทำงาน จะเตรียมตัวทุกอย่างแบบเผื่อหมด ถังอากาศไม่ต่ำกว่า 2 เรกูเลเตอร์ 2 ไฟส่องทาง 3 แต่เจอนักดำน้ำไทย ลงไปดำโดยมีถ้งอากาศแค่อันเดียว ไม่มีการคิดเผื่อว่ามีอะไรฉุกเฉินเกิดขึ้นใต้น้ำเลย แม้แต่หน่วยซีลไทยที่ไปอยู่กับเด็ก สุดท้ายไม่ได้มีการเตรียมตัวถังอากาศที่จะดำออกมาพอเพียง จนสุดท้าย ทั้ง 4 คน โวลันเธน แสตนตัน จีเวลล์ และมัลลิสัน ที่ปฏิบัติการขนเด็กออกมากันหมดแล้ว ต้องดำกันกลับเข้าไปอีกรอบ เพื่อขนถังอากาศและไฟเข้าไป เพื่อให้หน่วยซีลที่เหลือดำออกมาได้

ถ้าวิเคราะห์ตามความเป็นจริง ที่เขาบ่นเนี่ย มันก็ไม่แปลก ลักษณะการทำงานของประเทศเรา safety first แทบไม่เคยมาเป็นประเด็นแรก ดังนั้นไม่ควรไปนอยด์ จริง ๆ เราก็พอมี excuse อย่างว่า ไม่เคยมีประสบการณ์เรื่องดำน้ำในถ้ำหรือกู้ภัยคนติดถ้้ำมาก่อน แต่เหตุการณ์ครั้งนี้ผ่่านไป ก็ควรศึกษาหาความรู้ แล้วปรับมาตราฐานการกู้ภัยของเรา ให้คำนึงถึงความปลอดภัยของคนเข้าไปกู้ภัยเป็นอันดับหนึ่ง ไม่ใช่แค่ว่า อยากช่วย อยากอาสา เจตนาดีอย่างเดียว มันไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาอะไร สุดท้าย มันต้องอาศัยการวางแผนการทำงานอย่างมีระบบ และใช้คนที่มีประสบการณ์และรู้งานจริง


กระทู้: 13 หมูป่า : วีรกรรมถ้ำหลวง
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 16 ก.ค. 18, 06:27
และผมเห็นด้วยกับ Sherry Sheradia ผู้เขียน  ว่าความสำเร็จที่เกิดไม่ใช่เรื่องของปาฏิหารย์ แต่เป็นฝีมือล้วนๆ


เครก แชลเลน สัตว์แพทย์จากเมืองเพิร์ธ ที่เป็นคู่บัดดี้ดำน้ำถ้ำของคุณหมอแฮร์ริส และอยู่ในกลุ่มนักดำน้ำถ้ำ Wet Mules (ดังที่เคยเล่ารายละเอียดใน https://goo.gl/nJfFE2) ได้ให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น ประจำเมืองเพิร์ธ Sunday Times เกี่ยวกับภาระกิจการนำเด็กออกจากถ้ำหลวงฯ

คุณหมอแชลเลนและแฮร์ริส มาถึงที่ถ้ำหลวงฯ จริง ๆ คือวันพฤหัสบดีที่ 5 ก. ค. (สื่อหลายที่ทีแรกรายงานเป็นวันเสาร์ที่ 7 ก. ค. ซึ่งอันนี้น่าจะเป็นวันที่ดำเข้าไปในถ้ำเตรียมการ) แล้วก็เข้าไปพูดคุยกับทีมบริติช เรื่องแผนการนำเด็กออกจากถ้ำ ทีมบริติชมีวางแผนกันคร่าว ๆ แล้ว แต่คุณหมอทั้งสองแค่ไปช่วยออกความเห็นในพวกเครื่องมือ อุปกรณ์ แล้วก็ได้ผลสรุปในรายละเอียดของปฏิบัตการในครั้งนี้ แชลเลนให้เครดิตแผนการนำเด็กออกจากถ้ำในครั้งนี้ เป็นของทีมบริติช (They really deserve the credit for the extraction plan)

ส่วนเรื่องการปฏิบัติ ไม่ต่างกับที่โวลันเธนให้สัมภาษณ์กับทาง BBC Points West (https://goo.gl/QqPYkZ) คือเด็กแต่ละคน ถูกหอบหิ้วออกมาโดยนักดำน้ำของสภากู้ภัยถ้ำแห่งบริติช BCRC (John Volanthen, Rick Stanton, Jason Mallinson และ Chris Jewell) แบบหนึ่งต่อหนึ่ง เด็กสวมหน้ากากแบบ full- face mask ถังอากาศติดด้านหน้า มีสายยึดติดกับนักดำน้ำถ้าที่หอบหิ้วออกมา เด็กมีการให้ยา เพื่อมิให้มีการตื่นกลัว ส่วนที่ได้เพิ่มเติมจากคุณหมอแชลเลน คือ ไม่มีนักดำน้ำอีกคนตามหลัง เพราะมันไม่มีประโยชน์ เนื่องจากทัศนวิสัยของน้ำแย่มากแค่อยู่ในช่วงระยะ 10 ซม. เท่านั้น นักดำน้ำถ้ำสนับสนุน คืออยู่ประจำช่วยในจุดที่ยาก แล้วก็ประจำในจุดที่เป็นเนินผืนดิน (ถ้าใครเคยเห็นแผนที่เส้นทางจากจุดโถง 3 ถึงจุดที่เด็กอยู่ มันไม่ใช่การดำน้ำตลอด มีจุดที่ขึ้นมาเดินด้วย) เพื่อเข้าช่วยเด็กในการถอดอุปกรณ์ และใส่กลับไปเข้าไปใหม่ อย่างคุณหมอแชลเลนเองก็ประจำที่เนินหนึ่ง ร่วมกับนักดำน้ำต่างชาติอีกสองสามคน จุดที่คุณหมอแชลเลนอยู่ เด็กแต่ละคนจะขึ้นมา ห่างกันรอบละ 45 นาที

อีกประเด็นหนึ่งที่ต่างกันชนิดคนละเรื่องกับสื่อที่ออกมาก่อนหน้าว่า นำเสนอว่าคุณหมอแฮร์ริส เป็นคนจัดลำดับว่าเด็กคนไหนจะออกก่อนหลัง ปรากฏคุณหมอแชลเลนแกบอกว่า ไม่ใช่ คือพอได้บทสรุปเรื่องการนำเด็กอพยพออกจากถ้ำช้ดเจนแล้ว ก็ดำกันเข้าไปในถ้ำพูดคุยกับทีมหมูป่าและหน่วยซีลไทยที่อยู่กับเด็ก ๆ อธิบายให้เข้าใจถึงแผนการแล้วบอกพวกเขาว่า ให้ตัดสินใจจัดลำดับว่าใครจะออกก่อนหลัง ทีมหมูป่าตัดสินใจจัดลำดับของเขาเอง แล้วทีมทำงานทั้งหมด ก็ตามลำดับนั้น

(We told them what the plan was and to pick who was going first. They did all of that, it wasn't us. I don't know specfically if it was the coach, but collectively the team decided what order the boys would come out, not us. Then we just went for it.)

อีกประเด็นหนึ่งที่มีการไปแนะนำกันก่อนหน้านี้ว่า ควรให้เด็กอยู่ในนั้นไป แล้วใช้วิธีส่งสเบียงอาหารกันไป จนหมดฤดูมรสุม คุณหมอแชลเลนบอกว่า ทีมประเมินกันแล้ว เป็นไปไม่ได้ คือหลังจากนี้ จะไม่สามารถดำกันเข้าไปถึงจุดที่เด็ก ๆ อยู่เพื่อให้เสบียงได้ แล้วเด็กก็จะเริ่มติดเชื้อแล้วมีปัญหาสุขภาพ จนเสียชีวิตได้ ยังไงก็ต้องเอาเด็กออกมา

เมื่อถูกถามถึงความยากของปฏิบัติการครั้งนี้ คุณหมอแชลเลนบอกว่า การกู้ภัยในถ้ำ ส่วนใหญ่จะเป็นลักษณะการไปค้นหา นำศพออกมา การกู้ภัยที่เอาคนมีชีวิตออกมา งานใหญ่ที่แกนึกถึงคือที่เม็กซิโกของแสตนตัน ในปี 2004 (อันนี้ขอขยายความให้ค่ะ คือ ริค แสตนตัน ที่ดำน้ำร่วมกับจอห์น โวลันเธน สองคนที่ค้นหาทีมหมูป่าจนเจอ ประวัติก่อนหน้า สแตตันเคยไปช่วยคนบริติช 6 คน ที่ติดที่ถ้ำ Cuetzalan ที่เม็กซิโก เป็นกรณีคล้ายทีมหมูป่า คือติดอยู่นานสิบวัน จนทีมช่วยเหลือเข้าไปเจอ จากนั้นมีการสอนให้ใช้อุปกรณ์ดำน้ำ แล้วนำออกมาทีละคน สแตนตันได้เครื่องราชย์ MBE (Most Excellent Order of the British Empire) จากการปฏิบัติการในครั้งนู้น) แต่เมื่อเทียบกับกรณีถ้ำหลวงฯ คุณหมอแชลเลนบอกว่า มันมีความยากกว่าในกรณี ตรงที่ระยะทางที่ต้องดำยาวกว่า และคนที่ต้องนำออกมาคือเด็ก แล้วพูดภาษาที่ต่างกันด้วย แกบอกว่านี่เป็นครั้งแรกจริง ๆ ที่แกเจออะไรแบบนี้ และขอให้เป็นครั้งสุดท้าย หรือถ้ามีเกิดขึ้นอีกครั้ง ก็ขอให้ตอนนั้นแกเลิกดำน้ำในถ้ำไปแล้ว

คุณหมอแชลเลนเนี่ยดูแล้วมาแนวสายฮา กวน ๆ ผิดกับคุณหมอแฮร์ริส ที่จะแนวร่าเริง พูดอะไรก็แนว nice ตลอด บางคำถามคุณหมอแชลเลน ตอบกวนมาก อาทิ ถามว่าดีใจไหม ที่ได้กลับถึงบ้าน แกบอกว่า รู้สึกว่า รู้งี้อยู่เมืองไทยต่อดีกว่า ถ้ารู้ว่ากลับมาเป็นจุดสนใจ แล้วเจอนักข่าวรุมล้อมไปหมดแบบนี้ หรือมีอีกคำถามที่ถามว่า จริงไหมที่จุดที่แคบที่สุดของถ้ำ กว้างเพียง 38 ซม. แกบอกว่า ไม่มีใครรู้หรอกว่ากว้างเท่าไรกันแน่ ก็เห็นว่ากัน 38 ซม. ก็ไม่รู้ใครเอาสายวัดไปวัด แต่ที่แน่ ๆ ทีมดำน้ำ ไม่มีใครพกสายวัดเข้าไป .... LOL

จะเห็นการแถลงข่าวของทางการไทย แทบไม่มีรายละเอียดของสิ่งที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับการอพยพเด็กในส่วนในของถ้ำ (จากเนินนมสาวถึงโถง 3) ต้องมาอาศัยอ่านแล้วประมวลผลเอง จากการสัมภาษณ์ของคนที่ทำงานอยู่ตรงนั้น ทีนี้ทาง BCRC ก็จะมีการแถลงข่าวที่เป็นลักษณะเป็นทางการ ไม่ลงรายละเอียดมาก ข้อมูลเยอะสุดตอนนี้คือที่คุณหมอแฮร์ริสเขียนในเฟซบุ๊ค แล้วเสริมด้วยบทสัมภาษณ์ของโวลันเธนกับ BBC Points West ตอนนี้ที่รอฟังคือของริค สแตนตัน ที่เป็นผู้นำหลักของการอพยพเอาเด็กออกจากถ้ำในครั้งนี้ ก็ไม่รู้เจ้าตัวจะมีการให้สัมภาษณ์แบบลงรายละเอียดหรือเปล่า เพราะสังเกตจากงานแถลงข่าวที่สนามบินฮีทโธรว์ เมื่อวันก่อน (https://goo.gl/nwiapj) จะเห็นว่าเป็นคนระวังตัวมากเรื่องการพูดให้สัมภาษณ์ ทั้ง ๆ ที่เป็นหนึ่งในคนที่รู้จริงที่สุดของงานนี้ จะเห็นว่า แทบทุกคนที่เกี่ยวข้อ จะอ้างชื่อ ริค แสตนตัน แม้แต่อีลอน มัสค์ กรณีเรื่อง mini-sub https://goo.gl/o7Cxup

แล้วขอสรุปเหมือนเดิมว่า จากข้อมูลที่แตละคนที่ทำงานจริงบริเวณส่วนในของถ้ำ ให้ออกมา จะยิ่งรู้สึกว่า มีแต่มืออาชีพจริง ๆ ที่ไปทำงานตรงนั้น รู้เรื่องจริง แล้วมีการคิด ตระเตรียม วางแผนกันมาดี และนี่คือสิ่งที่เรา ควรได้เรียนรู้ว่า ปฏิบัติการช่วยเหลือทีมหมูป่า จนรอดชีวิตกันออกมาได้เนี่ย ไม่มีความบังเอิญหรือปาฏิหาริย์ อาศัยความสามารถและสติปัญญาของทีมที่เข้าไปทำงานล้วน ๆ


กระทู้: 13 หมูป่า : วีรกรรมถ้ำหลวง
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 16 ก.ค. 18, 06:49
บทเรียนจากปรมาจารย์ดำน้ำกู้ภัยระดับโลกนี้ทำให้หน่วยซีลของไทยได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริงมากมาย วันหนึ่งหากเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้นอีกไม่ว่าที่ไหน นักดำน้ำไทยคงจะชำระหนี้บุญคุณโลกได้

และอีกเรื่องหนึ่งของคุณ Surakhuang Asavanich ที่สมควรบันทึกไว้

เผยเรื่องเล่าในถ้ำหลวงจากอดีตซีลของเชฟรอน ภารกิจสุดหินในถ้ำหลวงที่พลาดไม่ได้แม้นาที

สวัสดีครับ หลายคนคงจะทราบแล้วว่าเรามีอดีตซีลหรือหน่วยซีลนอกราชการ ที่ปัจจุบันเป็นพนักงานของเชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต ไปช่วยปฏิบัติงานสนับสนุนภารกิจดำน้ำในถ้ำหลวงถึ่ง 3 คน วันนี้เมื่อผมได้ข่าวว่าทุกๆ ท่านได้เสร็จจากภารกิจและเดินทางกลับศูนย์เศรษฐพัฒน์ของเชฟรอนที่ จ. สงขลา กันแล้ว ผมจึงติดต่อไปและได้มีโอกาสพูดคุยกับ อาจารย์ สุธน ทะวา หน่วยซีลนอกราชการ ซึ่งปัจจุบันเป็น Security Specialist ประจำที่ฐานปฏิบัติการบนฝั่ง สงขลา ขอให้ท่านแชร์ประสบการณ์ที่ถ้ำหลวงให้ฟัง ซึ่งเป็นเรื่องที่ทั้งน่าตื่นเต้นและน่าประทับใจ แบบอินไซท์สุดๆ ผมจึงขออนุญาตอาจารย์สุธนนำประสบการณ์ของท่านมาแบ่งปันให้ชาวเพจเอราวัณ 36 ได้ฟังกันบ้าง น่าประทับใจและท้าทายขนาดไหน มาฟังกันครับ

เล่าเรื่องขวดอากาศ (หรือที่คนทั่วไปเรียกถังออกซิเจน แต่จริงๆ คือถังบรรจุอากาศเพื่อหายใจขณะดำน้ำ) ให้ฟังหน่อยได้มั้ยครับ ที่กลายเป็นข่าวไปทั่ว social media นี่ เชฟรอนเข้าไปช่วยได้ยังไงครับ

ตอนนั้นน่าจะประมาณวันที่ 30 มิถุนายนครับ ทาง ผ.บ. หน่วยซีลแจ้งมาทางอาจารย์พุก (คุณดุลยพินิจ ภู่อยู่) ว่าขวดอากาศไม่พอ จะขอสนับสนุนจากทางเชฟรอนได้ไหม เพราะต้องใช้อีกถึง 200 ขวด ผมเลยคุยกับทางแผนกจัดซื้อฯ ตอนทุ่มนึงว่าจะหาขวดอากาศให้เขาได้ยังไง ตอนแรกเราดูว่าจะเช่าได้ไหม แต่ไม่มีที่ไหนให้เช่าเลย เพราะต้องเอาไปทำงานหนัก พวกเขากลัวขวดพัง เราจึงกลับมาตรงทางเลือกว่าซื้อ และติดต่อไปทางคุณกิตติพงศ์ ที่เป็น Bangkok Incident Commander หรือหัวหน้าหน่วยบัญชาการภารกิจนี้ที่กรุงเทพฯ โดยให้ทางแผนกจัดซื้อฯ ประเมินราคาของมาประมาณเกือบ 2 ล้าน โดยถามคุณกิตติพงศ์ว่าเราจะซื้อได้ไหม รอแค่ 10 นาทีเท่านั้นครับ ก็ได้รับแจ้งมาว่าผู้บริหารอนุมัติแล้วตามที่ร้องขอ ไม่มีปัญหาอะไรเลย ผมจึงส่งข้อความไปบอกทางหน่วยซีลว่าทางเชฟรอนอนุมัติแล้ว พวกเขาก็ร้อง เย้.. ดีใจกันใหญ่เลยครับ

เรายังส่ง backpack ไปให้ด้วยครับ (เป้สะพายหลังที่ใช้ใส่ขวดอากาศ) แต่เราหาทั้งประเทศไทยมีแค่ 64 อัน ทางเชฟรอนก็เหมาส่งไปให้ทั้งหมดเลยครับ เราหาทุกอย่างเท่าที่เราหาได้ในประเทศไทยเพื่อไปสนับสนุนงานนี้

อาจารย์สุธนตามไปสมทบที่หน้าถ้ำได้ยังไงครับ

จริงๆ แล้วผมบอกอาจารย์มิ่ง (คุณมัจฉริยะ ครไชยศรี) กับอาจารย์พุกว่าผมขอเป็นฝ่ายสนับสนุนกองหลัง จะได้เป็นฝ่ายประสานงานหาวัสดุอุปกรณ์ต่างๆให้ เพราะกลัวไปที่หน้างานกันหมดแล้วการติดต่อสื่อสารจะไม่สะดวก พอเหตุการณ์ผ่านไปสักพักจึงคิดว่าอุปกรณ์ของเราน่าจะครบถ้วนแล้ว ผมจึงขอตามไปสมทบในพื้นที่ โดยผมได้เอา Gas Detector 5 เครื่อง (สามารถวัดระดับอ๊อกซิเจนในอากาศได้) จากศูนย์เศรษฐพัฒน์ไปด้วย เพราะทางทีมช่วยเหลือร้องขอมา เมื่อออกจากสนามบิน ผมตรงไปที่ถ้ำเลย ผมได้บรีฟเรื่องการใช้เครื่องวัดออกซิเจนในถ้ำ และข้อจำกัดเรื่องความปลอดภัยต่างๆ ให้ทีมดำน้ำฟัง โดยที่เราได้ยินข่าวที่ออกมาว่าออกซิเจนภายในถ้ำลดระดับลง ก็เป็นผลมาจากเครื่อง gas detector ที่ทางเรานำไปมอบให้ครับ

เล่าเรื่องภารกิจในการดำน้ำหน่อยได้ไหมครับ

ช่วงประมาณวันที่ 7 กรกฏา ก่อนน้องๆ หมูป่าออกจากถ้ำ ผมได้ร่วมภารกิจดำน้ำเพื่อนำอาหารและขวดอากาศเข้าไปด้านในโถง 3 การดำน้ำเข้าโถง 3 ทำงานค่อนข้างลำบาก มือขวาสาวเชือก มือซ้ายลากขวดอากาศ มุดลอดช่องหินขึ้นไปส่งของด้านในครับ ก็ได้สัมผัสประสบการณ์ตรงเลยว่ากระแสน้ำแรงมาก และต้องดำทวนน้ำตลอด จริงๆ ก่อนหน้านั้นก็มีคนมาอธิบายก่อนว่าดำน้ำไปจะเจออะไรบ้าง ต้องระวังเชือกพันคอ สายโทรศัพท์ ฯลฯ ทัศนวิสัยไม่เห็นอะไรเลยครับ เหมือนหลับตาดำน้ำ แล้วในถ้ำก็เป็นเนินชันๆ ค่อนข้างอันตราย ความน่ากลัวอีกอย่างคือ เมื่อพักเครื่องปั๊มน้ำ (จะพัก 20 นาที ทุกชั่วโมง) แค่ 10 นาที ระดับน้ำจะสูงขึ้นถึง 20 เซ็น น้ำขึ้นไวมากๆ ต้องเตือนกันล่วงหน้าเพื่อไม่ให้ตกใจ

เห็นว่ามีส่วนร่วมในการนำเด็กๆและโค้ชออกมาจากถ้ำด้วยหรอครับ

ใช่ครับ วันแรกที่นำเด็กออกมาได้เป็นวันอาทิตย์ เราแบ่งเป็นทีมละ 5 ทีม เพื่อรับเด็กจากโถงสาม ผ่านโถงสองไปที่ปากถ้ำ แต่ละทีมมีจำนวนคนน้อยมากแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับ ระยะทางและลักษณะเส้นทางแคบกว้าง หน้าที่ของพวกเราคือ รับเด็กที่อยู่ในเปลสนามจากโถง 3 แล้วลำเลียงต่อกันมาเรื่อยๆกระทั่งถึงปากถ้ำด้วยความปลอดภัย โดยผมเป็นหัวหน้าทีมชุดที่ 5 พื้นที่ที่รับผิดชอบคือพื้นที่สุดท้ายก่อนออกจากถ้ำ เพื่อนร่วมทีมวันแรกมี 10 คน วันที่สองเพิ่มเป็น 12 คน วันที่สาม ขอเพิ่มเป็น 18 คน เพราะยิ่งทำยิ่งรู้ว่ามีความเสี่ยงสูงหากใช้คนน้อยๆ เราทำงานร่วมกันกับทหารบก ซีลประจำการ และซีลนอกราชการครับ ตอนนั้นต้องระวังมากๆ เพราะเส้นทางในการนำพาน้องๆ มาปากถ้ำค่อนข้างอันตรายมีทั้งทางดิ่ง มีเนินขึ้นเนินลงที่ชันมาก ทางแคบ และลื่น ก่อนเคลื่อนย้ายจากจุดรับส่งทุกจุด จะมีแพทย์ พยาบาลประจำการแต่ละจุดคอยวัดชีพจรและค่าออกซิเจนของเด็ก รวมทั้งระหว่างการเคลื่อนย้ายจะมีเจ้าหน้าที่แพทย์พยาบาล ทั้งไทยและต่างประเทศคอยประกบตลอดเวลา เพื่อสังเกตุอาการเพื่อให้แน่ใจว่าสภาพร่างกายของเด็กๆ โอเคอยู่ เป็นงานที่ค่อนข้างกดดัน เราจะพลาดไม่ได้แม้แต่น้อยครับ เพราะทุกวินาทีมีชีวิตของน้องๆ ทีมหมูป่าเป็นเดิมพัน

สุดท้ายนี้มีความประทับใจอะไรเกี่ยวกับภารกิจนี้บ้างครับ

ผมว่าทุกคนภูมิใจที่ได้มีส่วนร่วมในภารกิจนี้ครับ สำหรับผมก็เป็นโอกาสที่มีไม่บ่อยนัก ที่จะได้กลับไปร่วมงานกับหน่วยซีลที่ผมเคยสังกัดอยู่ สิ่งที่ประทับใจคือทางผู้บริหารเชฟรอนให้การสนับสนุนและตอบสนองอย่างรวดเร็วมากๆ ทีมสนับสนุนจากกรุงเทพฯ ก็ทำงานกันเต็มที่ พนักงานทั้งบริษัทฯ ก็ส่งกำลังใจมาให้อย่างท่วมท้น ส่วนตัวผมตั้งแต่ทำงานมา ไม่เคยเห็นความร่วมมือกันที่ยิ่งใหญ่ขนาดนี้ ทุกๆ คนต่างเป็นจิ๊กซอว์สู่ความสำเร็จ ตลอดภารกิจก็พบเจอแต่ผู้คนที่มีน้ำใจ หลายๆโรงแรมพอรู้ว่ามาช่วยทำภารกิจนี้ก็จะไม่คิดเงิน เสื้อผ้าก็มีคนรับซักให้ฟรี หรือแม้แต้ร้านอาหารที่แม่สาย ถ้าใครมาช่วยงานนี่ก็ทานฟรีแทบทุกร้านครับ!!


กระทู้: 13 หมูป่า : วีรกรรมถ้ำหลวง
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 16 ก.ค. 18, 06:51
ที่เข้าใจกันว่าการนำเด็กออกมาใช้วิธีการดังภาพล่าง แต่จากการเปิดเผยล่าสุดของนักดำน้ำอังกฤษเมื่อกลับถึงบ้านแล้ว ปรากฏว่าแผนเปลี่ยน เพราะนักดำน้ำที่ตามหลังถึงไปก็ไม่มีประโยชน์อันใดเพราะน้ำขุ่นจนมองไม่เห็น ต้องใช้มือคลำอย่างเดียว พวกเขาจึงใช้นักดำน้ำคนต่อคนในการพาเปลเด็กไปสู่โลกภายนอก


กระทู้: 13 หมูป่า : วีรกรรมถ้ำหลวง
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 16 ก.ค. 18, 06:52
ภาพชุดนี้มีภาพแรกเท่านั้นที่ต้องแก้ไข แต่ภาพอื่นๆถูกต้องตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง


กระทู้: 13 หมูป่า : วีรกรรมถ้ำหลวง
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 16 ก.ค. 18, 07:05
ภาพแก้ไข


กระทู้: 13 หมูป่า : วีรกรรมถ้ำหลวง
เริ่มกระทู้โดย: Naris ที่ 16 ก.ค. 18, 09:14
ผมขออนุญาต นำบทความนี้มารวมไว้ด้วยครับ


Why we couldn't stop watching the Thai cave rescue
by Jay Parini
Updated 1541 GMT (2341 HKT) July 10, 2018

https://edition.cnn.com/2018/07/08/opinions/thai-cave-rescue-mission-bravery-parini/index.html

(CNN)All eyes were on Thailand, as we watched the brave divers who risked their lives to bring a trapped boys' soccer team and their young coach to safety.

Our hearts went out to these divers, who have shown not only great courage but incredible skill. One can hardly imagine the difficulty of this rescue effort, which took place deep underground in impossibly narrow and jagged areas, with powerful currents pushing against divers who had to perform a complex task in near-zero visibility in parts of the cave.

It was inspiring to see this effort in part, I suspect, because of the international make-up of the rescue team, with British, American, Australian and Japanese divers (among others) joining Thai divers, and with other countries adding their expertise. This joint effort was symbolic, and it suggests a world where, at least for a time, it's possible to work together in a constructive way toward a common goal.

In the Thai cave, there were no skin colors, religious differences or questions of sexual identity. Nobody wrapped himself in a flag or questioned the science at hand. This was one of those rare times when we see how much we can achieve against terrifying odds when people work in unison, selflessly, to do something important.
Putting the welfare of these children first, in itself, is admirable. We've all made mistakes, and it occasionally takes a village at times to make up for those mistakes.

I don't think anyone, anywhere, begrudges the amount of money it cost to rescue a dozen boys and their coach. What's interesting to me is that nobody is counting. Everyone knows that the value of life can't be measured in money.
And everyone is beholden to Saman Gunan, the Thai diver who lost his life a few days ago while making his way out of the Tham Luang complex of caves. His willingness to put his life on the line for the trapped boys and their coach was remarkable. He showed us courage in its purest form.

It doesn't surprise me that countless people around the globe were riveted to their screens, waiting for the boys to emerge, one by one, eager to hear that the divers also were okay and that the coach was rescued in good health as well.
There is high drama here, of course: underground rescues always hold our attention.

I remember being glued to the TV set during the Chilean mine disaster of 2010, when 33 miners were rescued under what seemed at the time like impossible circumstances. They were trapped far underground in great danger for 69 days, and the world (an estimated one billion people) watched the rescue.

The fact that the whole world watched and prayed for these boys in Thailand was part of the drama. Everyone knows that each of these children, and their coach, matters to his anxious family.

I have three boys myself, and I can only imagine the fear and trembling in homes as parents and other family members wait for news. The pain of separation between parents and children is an intolerable pain, and something that all people with a shred of humanity in their hearts will appreciate.

Let's hope this successful international effort to rescue a dozen boys and their coach in a remote cave in Thailand lifts us all, bringing us back into the light where we can stand together and be grateful for those who teach us to care this deeply.





กระทู้: 13 หมูป่า : วีรกรรมถ้ำหลวง
เริ่มกระทู้โดย: ninpaat ที่ 16 ก.ค. 18, 12:51
ผมขอขอบพระคุณท่านอาจารย์นวรัตน์ เป็นอย่างสูงครับ
ที่ได้กรุณาให้รายละเอียดกระบวนการช่วยเหลือทีมหมูป่า
ทำให้ผมหายสงสัย ในเรื่องนี้ที่คาใจผม มาเกือบอาทิตย์นึงเต็ม

และผมขอเพิ่มเติม เรื่องดีๆ น่ารักๆ เบื้องหลังของคุณริชาร์ด สแตนตัน ผู้ซึ่งเป็นหนึ่งในทีมช่วยเหลือจากอังกฤษ

โดยเป็นข่าวจาก สำนักข่าวสปริงนิวส์ รายการเจาะลึกทั่วไทย “ดนัย เอกมหาสวัสดิ์” และ“อมรรัตน์ มหิทธิรุกข์”
ที่ได้นำเอาข่าว จากสำนักข่าว เดลี่ เมล์ ของประเทศอังกฤษ มาเป็นข่าวนำเสนอส่งต่อ รายละเอียดตามนี้ครับ

เปิดตัว "สาวไทย" ของนักดำน้ำชาวอังกฤษ "ริชาร์ด สแตนตั้น" (http://www.youtube.com/watch?v=KDz2OQxdJrk)


กระทู้: 13 หมูป่า : วีรกรรมถ้ำหลวง
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 16 ก.ค. 18, 13:06
ข่าวจาก สำนักข่าวสปริงนิวส์ รายการเจาะลึกทั่วไทย “ดนัย เอกมหาสวัสดิ์” และ“อมรรัตน์ มหิทธิรุกข์”
ที่ได้นำเอาข่าว จากสำนักข่าว เดลี่ เมล์ ของประเทศอังกฤษ มาเป็นข่าวนำเสนอส่งต่อ

http://www.dailymail.co.uk/news/article-5946671/Hero-British-diver-rescued-12-Thai-boys-trapped-cave-finds-love-local-nurse.html


กระทู้: 13 หมูป่า : วีรกรรมถ้ำหลวง
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 16 ก.ค. 18, 14:08
หมอยอดมนุษย์กับหมูป่าทั้งสิบสาม  ;D

สิ่งที่ผมประทับใจเด็ก ๆ ทีมหมูป่า

- ความสดใสซื่อเดียงสา มองโลกในแง่ดี มีขวัญ & กำลังใจดีเยี่ยม แม้จะอยู่ในสภาพแวดล้อม/สถานการณ์วิกฤต  ทุกวันเด็ก ๆ จะไปขุดโพรงหาทางออกโดยใช้เศษหิน (ได้ลึกถึง ๕ เมตรเลย) ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้กินข้าว

- มีวินัย...รวบรวมเศษขยะ หลังกินแต่ละมื้อ ทิ้งลงถุงดำ โค้ชเอกสอนเด็ก ๆ เสมอว่าไม่ให้เก็บสิ่งของจากในถ้ำเอากลับไปเป็นของตนเอง ซึ่งเด็ก ๆ ทุกคนก็เชื่อฟังและปฏิบัติตามเป็นอย่างดี

- โค้ชเอก จิตใจดีงาม เป็นผู้เสียสละอย่างแท้จริง ผมแอบสังเกตตั้งแต่วันแรก เอกจะให้เด็ก ๆ อิ่มก่อนโดยแบ่งอาหารในส่วนของตนให้เด็ก ๆ  ผมมั่นใจในการดูแลเอาใจใส่เด็ก ๆ อย่างดีก่อนที่ทีมจะมาพบเด็ก ๆ เพราะสุขภาพกาย &ใจ ของเด็ก ๆ ทุก ๆ คน ดีกว่าที่ผมคาดการณ์ไว้มากทีเดียว

เด็ก ๆ ทีมหมูป่าทุกคนทราบถึงความเสียสละของทุกคนในการค้นหาพวกเค้า และผมมีความมั่นใจว่าเด็ก ๆ หมูป่าจะเติบโต เป็น 'บุคลากรที่ยอดเยี่ยมของประเทศ ทำคุณประโยชน์ และ ชื่อเสียงให้ประเทศไทยในอนาคตต่อไป'

พันโท นายแพทย์ ภาคย์ โลหารชุน

๑๖ กรกฎาคม ๒๕๖๑

https://www.facebook.com/100000838303140/posts/1708249335879660/


กระทู้: 13 หมูป่า : วีรกรรมถ้ำหลวง
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 16 ก.ค. 18, 16:39
 :)


กระทู้: 13 หมูป่า : วีรกรรมถ้ำหลวง
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 16 ก.ค. 18, 16:39

Document ที่น่าสนใจคือ ภาพที่วาดโดย นักดำน้ำไทย
และเผยแพร่ใน facebook วันที่ 26 มิถุนายน 2018
แผนที่นี้แสดงให้เห็นว่านักดำน้ำไทยไปถึง พัทยาบีชในวันนั้นแล้ว แต่ยังไม่ได้วางเชือกนำทาง



กระทู้: 13 หมูป่า : วีรกรรมถ้ำหลวง
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 16 ก.ค. 18, 18:50
คำต่อคำ 'จอห์น โวลันเธน' เปิดใจกับ 'บีบีซี' ครั้งแรกหลังจบภารกิจกู้ 13 ชีวิตออกจากถ้ำหลวง

นี่คือบทสัมภาษณ์แบบคำต่อคำของ จอห์น โวลันเธน ซึ่งเขาบอกว่าจะให้สัมภาษณ์กับ บีบีซี เพียงครั้งเดียว

โวลันเธน - ผมเป็นสมาชิกทีมกู้ภัยของเวลส์ตอนกลางและตอนใต้ การกู้ภัยภายในถ้ำในสหราชอาณาจักรจะแบ่งออกตามพื้นที่ เพื่อที่จะได้มีผู้เชี่ยวชาญในถ้ำในแต่ละพื้นที่ เราเป็นกลุ่มระหว่างประเทศด้วย และก่อตั้งขึ้นมานานแล้ว ผมรู้มาจากชาวอังกฤษที่อยู่ในเมืองไทยว่าเกิดปัญหาขึ้นที่นั่น และเขาแจ้งเราว่า จำเป็นต้องมีนักดำน้ำที่เชี่ยวชาญเฉพาะทาง เราต้องได้รับคำสั่งจากใครสักคนจากทางการ ตอนนั้นผมทำงานอยู่ในแอสเทกเวสต์ เวลาประมาณบ่ายสามโมง ผมก็ได้รับโทรศัพท์แจ้งว่า มีการจองเที่ยวบินไปเมืองไทยเวลา 9 โมงเช้าให้กับผมแล้ว

ถาม - แจ้งปุบปับอย่างนั้นเลยเหรอครับ?
โวลันเธน - ใช่ครับ การแจ้งมักจะกะทันหันอยู่แล้ว โดยเฉพาะถ้ำที่เสี่ยงน้ำท่วม เวลาเป็นเรื่องสำคัญมาก

ถาม - แล้วคุณรู้ไหมว่าจะต้องเจอกับอะไรบ้าง?
โวลันเธน - เราได้รับข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้น แต่เหตุการณ์ทำนองนี้ ข้อมูลที่คุณได้รับก็ไม่สมบูรณ์หรอกครับ และมักจะไม่ถูกต้อง ดังนั้น คำตอบก็คือ คาดว่าคงจะได้เจอกับสิ่งที่ไม่คาดว่าจะได้เจอ

ถาม - ช่วยเล่าให้ฟังหน่อยครับ เพราะเราเห็นในวิดีโอนิดเดียว ช่วงที่คุณโผล่พ้นน้ำมาพบเด็ก ๆ
โวลันเธน - คุณเหมือนจะข้ามไป 1 สัปดาห์นะครับ ช่วงที่มีงานต้องทำมหาศาล, ใช้ความพยายามอย่างมาก, ต้องติดต่อประสานงาน, ดำน้ำ และอีกหลายอย่างก่อนที่ถึงเวลานั้น เรื่องเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องที่จู่ ๆ ก็เกิดขึ้น เราทำงานกันอย่างหนักไปพร้อมกับกองทัพเรือไทย เพื่อไปให้ถึงจุดนั้น เราได้ดำน้ำเข้าไปภายถ้ำลึกมากขึ้นเรื่อย ๆ มาก่อนแล้วหลายครั้ง ในการดำน้ำครั้งนั้น เราได้รับกล้องเพื่อใช้ถ่ายภาพพื้นที่ภายในถ้ำที่กองทัพเรือไทยอยากเห็น แต่อย่างที่เห็น เราโชคดีที่พบเด็ก ๆ มีการรายงานโดยสื่อหลายแห่งบอกว่า เป็นเพราะโชคดี ผมคงบอกว่า นั่นไม่ใช่เลย การทำงานของเราในสถานการณ์นี้คือ เรากำลังว่ายน้ำไปตามทางที่อยู่ใต้น้ำ ตรงไหนที่มีพื้นที่ว่าง เราก็จะโผล่พ้นน้ำขึ้นมา เราตะโกนเรียก แล้วก็เราดมกลิ่นด้วย ในกรณีนี้ เราได้กลิ่นเด็กก่อนที่จะพบตัว หรือได้ยินเสียงเด็กเสียอีก

ถาม - จากนั้น คุณก็เรียกพวกเขา คุณพูดอะไร?
โวลันเธน - วิดีโอที่คุณเห็นเป็นแค่ส่วนหนึ่งของเหตุการณ์ สิ่งที่คุณไม่เห็นคือ บนฝั่งตรงข้าม เราได้ถอดอุปกรณ์ส่วนใหญ่ของเราออก เรากำลังเตรียมจะไปหาพวกเขา เราเห็นว่าพวกเขาอยู่ตรงไหน และผมคิดว่า เราคงดีใจกันมาก และอยากรู้ว่า พวกเขาสบายดีกันทุกคนไหม ปรากฏว่า พวกเขาทุกคนแข็งแรงดี

ถาม - ตอนคุณเห็นพวกเขาที่นั่น คุณกำลังคิดอะไรอยู่ คุณคิดไหมว่า ผมจะพาเด็ก ๆ ออกไปอย่างไร? คุณว่าปฏิบัติการนี้มีโอกาสสำเร็จมากแค่ไหน?
โวลันเธน - ความคิดตอนที่พบพวกเขาคือ มันเหลือเชื่อ เหลือเชื่อจริง ๆ ครับ เมื่อดูจากปริมาณน้ำที่เราเห็นว่าไหลออกมาจากถ้ำในช่วง 2-3 วันก่อนหน้า ไม่น่าเชื่อว่าเราจะพบพวกเขา และทุกคนก็แข็งแรงดี ผมคิดว่าทั้งริกและผมรู้ดีถึงสิ่งที่ต้องทำมหาศาลเพื่อพยายามอพยพเด็ก ๆ ออกไป ส่วนหนึ่งเป็นเพราะจำนวนเด็ก ๆ มีกัน 13 คน ซึ่งไม่ใช่คนจำนวนน้อยเลย

ถาม - คุณไปถึงตรงนั้น ก็ชัดเจนว่า ก็เป็นไปได้ที่จะออกมา มีปัญหาอะไรบ้างที่คุณเผชิญอยู่ตอนนั้น?
โวลันเธน - ปัญหาจริง ๆ คือ มันมืดสนิทเลยในนั้น คุณมีเพียงไฟฉายที่เอาติดตัวไป วิสัยทัศน์ในน้ำต่ำมาก ๆ อยู่ที่ระยะ 2-3 นิ้ว นอกจากนี้ยังมีเศษชิ้นส่วนต่าง ๆ มากมายจากความพยายามเข้ามาก่อนหน้านั้นตอนที่หลายพื้นที่ของถ้ำแห้งอยู่ มีทั้งสายเคเบิล, สายไฟ, ปั๊ม, ท่อ, อะไรต่าง ๆ ความเย็นก็เป็นปัญหาเหมือนกัน เด็กบางคนยังค่อนข้างเล็กอยู่ เราจึงค่อนข้างห่วงว่า เด็กเล็กจะทนได้ดีแค่ไหนในช่วงที่ต้องฝ่าน้ำออกไป

ถาม - สิ่งที่ทำให้ผมประหลาดใจจากภาพที่เห็นคือ เด็กบางคนยิ้มได้
โวลันเธน - พวกเขาน่าทึ่งมาก ตอนนั้น พวกเขาค่อนข้างดีใจ ผ่อนคลาย และขอพูดอีกครั้งที่ไม่เห็นในวิดีโอ คือทางลาดที่คุณเห็น มันขึ้นไปถึงพื้นที่ที่กว้างกว่าบนนั้น ซึ่งเป็นจุดที่พวกเขาใช้พักอาศัย เราอยู่ที่นั่นไม่นาน พยายามให้กำลังใจพวกเขา ก่อนที่เราจะกลับออกมา เพราะเราไม่มีอาหารให้พวกเขาเลย เรามีแต่ไฟฉายให้พวกเขา แต่ในแง่ของ ขวัญกำลังใจแล้ว เราสามารถมั่นใจได้ว่า พวกเขา... (จับความไม่ได้)

ถาม - ตอนที่ต้องกลับออกมา เพื่อวางแผนและอื่น ๆ คุณมั่นใจแค่ไหนว่า จะได้เห็นพวกเขามีชีวิตอีกครั้ง?

โวลันเธน - ผมสัญญากับพวกเขาว่า ผมจะกลับมา แล้วเราก็ทำอย่างที่พูด เรากลับไปพร้อมกับอาหาร ผมมั่นใจอย่างมาก แต่อย่างที่เคยพูดไป การมีชีวิตรอดในถ้ำ กับการมีชีวิตรอดนอกถ้ำ มันเป็นคนละเรื่องกัน เป็นเรื่องยากมากที่จะเข้าใจได้ว่า คนเราจะมีความสุขและสุขภาพดีในการอยู่ที่สถานที่ใดสถานที่หนึ่งโดยที่ไม่สามารถออกไปไหนได้ได้อย่างไร ความยากลำบากในการออกมานั้น เป็นเรื่องปกติสำหรับนักสำรวจถ้ำและนักดำน้ำในถ้ำ คุณต้องออกมาทางเดียวกับทางที่เข้าไป แต่มันเป็นเรื่องที่ยากในการอธิบายให้คนอื่น ๆ ฟัง ทำไมเฮลิคอปเตอร์ หรือ เลเซอร์อวกาศ ถึงไม่สามารถเสกให้คุณออกมาข้างนอกได้

ถาม - ไม่มีทางลัด?
โวลันเธน - ไม่มีทางลัดใด ๆ

ถาม - ลองพูดถึงภาพที่เป็นช่วงที่แคบมาก ๆ ที่คนพูดถึงกันมาก ผมรู้สึกเสียวสันหลังวาบ เมื่อคิดถึงตอนที่ต้องมุดผ่านพ้นช่วงนั้น
โวลันเธน - แผนผังส่วนใหญ่ที่ปรากฏในสื่อไม่ถูกต้อง มีหลายจุดที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งแต่ละจุดใช้เทคนิคต่างกันไปในการหาทางออกมา ทั้งออกมาคนเดียวหรืออุ้มเด็กออกมาด้วย บางครั้ง ถ้าทางที่ผ่านออกมาต่ำมาก คุณอาจจะต้องอุ้มเด็กไว้ที่ด้านข้าง บางจุดที่แคบมาก ต้องดันเด็กไปข้างหน้า ขึ้นอยู่กับถ้ำว่าเป็นอย่างไร และพวกเขาต้องอยู่ตรงไหนกับคุณเพื่อผ่านช่องทางนั้นออกมา ถ้ำไม่ธรรมดาอยู่แล้ว นั่นคือสิ่งที่มันเป็น

ถาม - มีเด็ก 12 คน และผู้ใหญ่ 1 คน แล้วคุณทำอย่างไร เด็กอยู่ใต้แขน ว่ายน้ำกับพวกเขา หรือคุณพาพวกเขาออกมาอย่างไร?
โวลันเธน - ทุกอย่างอยู่ภายใต้การควบคุม และไม่มีการตื่นตระหนก มีการพิจารณาอย่างถี่ถ้วน เราโชคดีมากที่มีเด็กไทยที่สโมสรว่ายน้ำในพื้นที่ที่เราได้ฝึกร่วมกับพวกเขาที่สระก่อน เราให้เด็กใส่เสื้อที่เป็นทุ่นลอย(buoyancy compensator) ซึ่งเป็นเสื้อดำน้ำประเภทหนึ่ง ถังอากาศอยู่ที่หน้าอกพวกเขา เราทำเสื้อที่เป็นทุ่นลอยนี้ให้เป็นที่สำหรับใช้ควบคุม ทำให้เรากลายเป็นหน่วยเดียวกันเพื่อให้ควบคุมตัวเองได้อย่างสมบูรณ์ เด็กจะมีหน้ากากแบบเต็มใบหน้าแบบพิเศษ ซึ่งช่วยให้หายใจได้ง่ายขึ้น แต่พวกเขาก็ยังคงถูกผูกโยงติดกับเราด้วยเชือก เพื่อพวกเขาจะได้ไม่หลุดหายไป ทำให้เราเคลื่อนย้ายพวกเขาได้ง่ายกว่าการที่มัดตัวพวกเขาติดกับนักดำน้ำโดยตรง

ถาม - ขอโทษครับที่ขัดจังหวะ ช่วยพูดอีกทีได้ไหมครับ (เสียงเครื่องบินรบกวน)
โวลันเธน - เราใช้วัสดุอุปกรณ์จำนวนมากที่หาได้จากจุดนั้นที่มาจากหลากหลายองค์กร เราสร้างบังเหียนติดอยู่บนเสื้อพยุงตัวในน้ำของกองทัพเรือไทย เรารัดถังอากาศไว้ที่ด้านหน้าเด็ก พวกเขาสวมหน้ากากเต็มใบหน้า ซึ่งเป็นวิธีที่ทำให้มั่นใจว่าพวกเขาหายใจได้ง่ายกว่าการใช้เรกูเลเตอร์ (อุปกรณ์ช่วยหายใจใต้น้ำ) ที่ปากมาก เรามีที่จับที่ติดอยู่ที่ด้านหลังเด็ก คุณต้องพาคนออกมาด้วยการคว่ำหน้าลงเสมอ น้ำจะได้ออกจากหน้า เราเคลื่อนย้ายพวกเขาแบบนั้น แต่พวกเขาก็ยังคงถูกผูดยึดไว้กับพวกเรา เพื่อที่ถ้าพวกเขาหลุดไปในช่วงที่วิสัยทัศน์ย่ำแย่ เราจะได้หาตัวพวกเขากลับคืนมาได้ในทันที

ถาม - คุณดันพวกเขาออกมา เหมือนกับรถเข็นเหรอครับ
โวลันเธน - ย้ำอีกครั้งครับ มันเป็นเรื่องสำคัญมากที่ต้องเข้าใจว่า สิ่งที่เราทำเกี่ยวพันกับชีวิตมนุษย์ นั่นจำเป็นต้องทำด้วยความเคารพและระมัดระวังอย่างสมควร แต่ถ้าอธิบายให้เห็นภาพ ก็คงน่าจะเหมือนกับถุงช้อปปิ้งมากกว่า บางครั้งคุณก็ถือมันไว้ติดกับหน้าอกถ้าทางแคบและลึก แต่ถ้าต่ำและกว้างก็ถือไว้ด้านข้าง พาเขาผ่านอุปสรรคต่าง ๆ ที่อยู่ในเส้นทาง

ถาม- ผมคงจะตระหนกมาก คุณทำให้พวกเขาไม่ตื่นตระหนักได้อย่างไร?

ตอบ - คุณหมอแฮร์รี แพทย์ชาวออสเตรเลีย มีวิธีการปฏิบัติต่อคนไข้ดีมาก ผมพบว่า สำเนียงออสเตรเลียนของเขาทำให้คนตลก และเด็ก ๆ ก็ดูเหมือนจะรู้ว่า เขาเป็นคนตลกด้วย เขาเยี่ยมมากและผ่อนคลายมาก

ถาม - คุณไม่ใช่คนที่ชอบตื่นตระหนก ใช่ไหม?
โวลันเธน - ไม่ครับ ผมไม่ใช่คนที่ชอบตื่นตะหนก ไม่เลย อะไรทำให้คุณคิดแบบนั้น?

ถาม - คุณนิ่งมาก ไม่น่าเชื่อ แต่ก็มีช่วงเวลาที่น่าเศร้า ตอนที่นักดำน้ำไทยเข้าไป และเสียชีวิต
โวลันเธน - ตอนนั้น ผม... อย่างที่พูดไปก่อนหน้านี้ ผมขอแสดงความเสียใจต่อครอบครัวของสมาน และญาติของเขาอีกครั้ง น่าเสียดาย เพราะการกู้ภัยประสบความสำเร็จ แต่มันก็เรื่องสุขและเศร้าในเวลาเดียวกัน มันเป็นเรื่องน่าเศร้ามาก

ถาม - คนทั้งโลกเฝ้าตามติดเรื่องนี้ คุณรู้หรือเปล่า?
โวลันเธน - ผมมั่นใจว่า คุณรู้ดีว่า เราไม่สนใจสื่อ ในช่วงที่ปฏิบัติการคืบหน้ามากขึ้น ทางไทยได้กันพวกเขาออกไปให้ห่างจากเรา นั่นทำให้เราสบายใจมาก

https://www.bbc.com/thai/international-44839515?ocid=socialflow_facebook



กระทู้: 13 หมูป่า : วีรกรรมถ้ำหลวง
เริ่มกระทู้โดย: ninpaat ที่ 16 ก.ค. 18, 20:04
คำต่อคำ 'จอห์น โวลันเธน' เปิดใจกับ 'บีบีซี' ครั้งแรกหลังจบภารกิจกู้ 13 ชีวิตออกจากถ้ำหลวง

นี่คือบทสัมภาษณ์แบบคำต่อคำของ จอห์น โวลันเธน ซึ่งเขาบอกว่าจะให้สัมภาษณ์กับ บีบีซี เพียงครั้งเดียว

ถาม - มีเด็ก 12 คน และผู้ใหญ่ 1 คน แล้วคุณทำอย่างไร เด็กอยู่ใต้แขน ว่ายน้ำกับพวกเขา หรือคุณพาพวกเขาออกมาอย่างไร?
โวลันเธน - ทุกอย่างอยู่ภายใต้การควบคุม และไม่มีการตื่นตระหนก มีการพิจารณาอย่างถี่ถ้วน เราโชคดีมากที่มีเด็กไทยที่สโมสรว่ายน้ำในพื้นที่ที่เราได้ฝึกร่วมกับพวกเขาที่สระก่อน
เราให้เด็กใส่   เสื้อที่เป็นทุ่นลอย(buoyancy compensator) ซึ่งเป็นเสื้อดำน้ำประเภทหนึ่ง
ถังอากาศอยู่ที่หน้าอกพวกเขา เราทำเสื้อที่เป็นทุ่นลอยนี้ให้เป็นที่สำหรับใช้ควบคุม ทำให้เรากลายเป็นหน่วยเดียวกันเพื่อให้ควบคุมตัวเองได้อย่างสมบูรณ์
เด็กจะมีหน้ากากแบบเต็มใบหน้าแบบพิเศษ ซึ่งช่วยให้หายใจได้ง่ายขึ้น แต่พวกเขาก็ยังคงถูกผูกโยงติดกับเราด้วยเชือก
เพื่อพวกเขาจะได้ไม่หลุดหายไป ทำให้เราเคลื่อนย้ายพวกเขาได้ง่ายกว่าการที่มัดตัวพวกเขาติดกับนักดำน้ำโดยตรง


Scuba Buoyancy Compensator (http://www.youtube.com/watch?v=XiXACaR7F0I)


กระทู้: 13 หมูป่า : วีรกรรมถ้ำหลวง
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 17 ก.ค. 18, 14:18
นักข่าวสาวออสซี่ ติดใจ พี่สุธีร์-รังนกลิบงตอนที่ให้สัมภาษณ์ ทำให้เธอ"ขนลุกจนถึงวันนี้"

อลิซ มันฟรีส์ นักข่าวสาวชาวออสเตรเลีย ได้พูดถึงความประทับใจที่เดินทางมาทำข่าวปฏิบัติการช่วยเหลือเด็ก ๆ และโค้ช ทีมหมูป่า อะคาเดมี ออกจากถ้ำหลวง ที่รวมถึงน้ำใจของอาสาสมัครทีมเก็บรังนกจากเกาะลิบง

อลิซ มันฟรีส์ ผู้สื่อข่าวของสถานีโทรทัศน์ ไนน์ นิวส์ ของออสเตรเลีย บอกว่า บางครั้งคุณก็ไม่สามารถหาคำที่ห่อหุ้มความรู้สึกหรือช่วงเวลาหนึ่ง  แต่บางที มีคำพูด บทกวีเพลง หรือแม้กระทั่งเนื้อเพลงบรรทัดเดียว ที่พูดแทนทุกสิ่งทุกอย่างได้อย่างสมบูรณ์ ซึ่งเกือบทำให้คิดว่ามันถูกเขียนขึ้นเพื่อโอกาสนี้ ดังเช่น เนื้อเพลงท่อนที่ว่า "Imagine there's no countries .... The world will be as one." (จินตนาการว่าไม่มีประเทศและโลกกลายเป็นหนึ่งเดียว)

ถ้อยคำเหล่านี้ ถูกปลดปล่อยโดย "สุธีร์ สมมาตร" สมาชิกทีมอาสาสมัครกู้ภัยที่โล่งใจและดีใจอย่างเหลือล้น เมื่อเขาเลือกเพลง "Imagine" ของจอห์น เลนนอน โดยไม่ได้เตรียมตัวมาก่อนและแสดงถึงความจริงใจ ตอนที่ให้สัมภาษณ์ถึงความรู้สึกตอนที่เด็กคนสุดท้าย ได้รับการช่วยเหลือออกจากถ้ำหลวงฯ ซึ่งมันฟรีส์ บอกว่า มันทำให้เธอถึงกับขนลุกจนถึงวันนี้ ซึ่งแม้จะผ่านมาหลายวันแล้ว แต่ช่วงเวลานั้นมันทำให้เธอรู้สึกหัวใจพองโต และเห็นได้ชัดว่า มันยังคงตราตรึงอยู่ในใจของคนไทยนับล้าน ๆ คน รวมถึงผู้ที่เฝ้าติดตามทั่วโลก และทำให้สุธีร์กลายเป็นคนดังชั่วข้ามคืน


https://www.facebook.com/howidadth/videos/285186818715526/

ปฏิบัติการกู้ภัยนานาชาติ ที่ยิ่งใหญ่ มีผู้คนร่วมแรงร่วมใจกันมากกว่าหนึ่งพัน ที่ทำงานกันตลอด ๒๔ ชั่วโมง และเป็นศูนย์รวมของผู้เชี่ยวชาญที่ดีที่สุดจากทั่วโลก ในด้านการดำน้ำ, นักผจญภัยถ้ำ, แพทย์, วิศวกร, นักกู้ภัยพิบัติและวางแผน ที่ต่างมาร่วมแบ่งปันความรู้ ความสามารถและความเชี่ยวชาญในปฏิบัติการครั้งนี้

พวกเขาทำงานเคียงข้างกัน แข่งกับเวลา ฤดูฝนที่ใกล้เข้ามา และระดับน้ำที่เพิ่มขึ้น เพื่อช่วยเด็กชาย ๑๒ คน กับโค้ช ออกมาอย่างปลอดภัยและกลับไปอยู่กับครอบครัว และแม้แต่คนที่ไม่ได้เชี่ยวชาญ ก็ยังอาสามาช่วยทุกอย่างเท่าที่จะทำได้ เช่น ทำอาหารส่งน้ำ รับ-ส่งบริเวณหน้าถ้ำ บริจาคถุงเท้าและเสื้อผ้าให้ทีมกู้ภัยและสื่อ แจกรองเท้าบู้ทยาง ยากันยุง และครีมทากันแดด และที่น่าทึ่งมีบริการนวดให้ด้วย นอกจากนี้ ยังมีอาสาสมัครอีกมากกว่า ๓ พัน รวมทั้งเด็ก ๆ หลายร้อยคน ที่ลงชื่อเพื่อช่วยทำความสะอาด หลังสิ้นสุดปฏิบัติการ

มันฟรีส์ ทิ้งท้ายว่า ช่างเป็นตัวอย่างอันน่าทึ่งของผู้คนที่มาร่วมแรงร่วมใจกัน โดยไม่สนใจเรื่องเชื้อชาติ การเมืองและศาสนา เพื่อให้บรรลุภารกิจที่ถูกประกาศไว้ในตอนแรกว่า "เป็นไปไม่ได้"  มันเป็นเรื่องของมนุษยธรรมและเป็นตัวอย่างที่สมบูรณ์และดีที่สุดของบทเพลงในทศวรรษที่ ๗๐ ของจอห์น เลนนอน ในท่อนที่ว่า "จินตนาการว่าไม่มีประเทศ ... และโลกกลายเป็นหนึ่งเดียว"


http://www.nationtv.tv/main/content/378641491/

https://www.9news.com.au/national/2018/07/16/18/44/thai-cave-rescue-alice-monfries-looks-back-on-moment-suthee-sommart-sang


กระทู้: 13 หมูป่า : วีรกรรมถ้ำหลวง
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 ก.ค. 18, 17:39
ดีใจที่คิดตรงกันครับ

http://www.mcot.net/view/5b4d6d56e3f8e4f609863bbb?utm_source=TNA&utm_medium=TOPNEWS&utm_campaign=fixtna


กระทู้: 13 หมูป่า : วีรกรรมถ้ำหลวง
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 17 ก.ค. 18, 18:28
 :'(


กระทู้: 13 หมูป่า : วีรกรรมถ้ำหลวง
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 17 ก.ค. 18, 18:55
ภูมิใจ


กระทู้: 13 หมูป่า : วีรกรรมถ้ำหลวง
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 17 ก.ค. 18, 21:00
https://www.thairath.co.th/content/1336369

ครูบาบุญชุ่ม ร่วมสวดมนต์ถวายสวัสดิมงคล เข้าเฝ้าพระสังฆราช


กระทู้: 13 หมูป่า : วีรกรรมถ้ำหลวง
เริ่มกระทู้โดย: ninpaat ที่ 18 ก.ค. 18, 17:07
.


กระทู้: 13 หมูป่า : วีรกรรมถ้ำหลวง
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 18 ก.ค. 18, 21:30
ปรากฎการณ์! สื่อนอกพร้อมใจยิงสดเปิดใจ'หมูป่า'กระหึ่มทั่วโลก
http://www.naewna.com/inter/352465


กระทู้: 13 หมูป่า : วีรกรรมถ้ำหลวง
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 19 ก.ค. 18, 08:25
เรื่องเล่าจากหมูป่า
หลังออกมาจากถ้ำหลวง
เรื่องจริงสิ่งทั้งปวง
บันทึกไว้ให้ทราบกัน


https://youtu.be/DGuy5OoRR4g


กระทู้: 13 หมูป่า : วีรกรรมถ้ำหลวง
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 19 ก.ค. 18, 11:40
คำเตือนจากรุ่นพี่
ด้วยหวังดีกับน้องหนา
ระวังสังคมพา
หวนสู่ถ้ำดำมืดมน


อดีตคนงานเหมืองทองคำชิลีที่เคยติดอยู่ในเหมืองใต้ดินนาน ๖๙ วันเมื่อ ๘ ปีก่อนให้คำแนะนำเยาวชนทีมฟุตบอลหมูป่าอะคาเดมีและโค้ชของไทย โดยเล่าประสบการณ์เรื่องปัญหาที่ประดังเข้ามาในชีวิตหลังเป็นข่าวใหญ่ระดับโลก

นายหลุยส์ เออร์ซัว วัย ๖๒ ปี หนึ่งในคนงาน ๓๓ คน แนะนำเด็ก ๆ ให้อยู่กับครอบครัวเอาไว้ อย่าสนใจข้อเสนอการเงินที่หลายฝ่ายพากันหยิบยื่น ตัวเขาเองหลังจากที่ได้รับการช่วยเหลือขึ้นมาก็ถูกรุมล้อมไปด้วยสื่อมวลชนมาขอสัมภาษณ์ ทนายความอาสาเป็นตัวแทนดูแลเรื่องสัญญาผลประโยชน์ นักการเมืองโหนกระแส เยาวชนไทยและครอบครัวไม่สามารถรับมือกับสิ่งเหล่านี้ได้แน่นอน เขาและเพื่อน ๆ ซึ่งเป็นผู้ใหญ่ยังไม่สามารถรับมือได้เลย นายเออร์ซัวเผยว่า เขาและครอบครัวสวดภาวนาระหว่างติดตามข่าวทุกวัน ขอยกย่องทางการไทยที่รับมือกับสถานการณ์นี้อย่างรอบคอบ ไม่เปิดเผยตัวเด็กและดูแลเรื่องสุขภาพอย่างดีเยี่ยม เด็ก ๆ จะต้องค่อย ๆ กลับเข้าสู่สภาพแวดล้อมเดิมทีละน้อย และเล่าเรื่องที่เกิดขึ้นเมื่อพร้อมจะเล่าแล้วเท่านั้น

นายโอมาร์ เรย์กาดาส อดีตคนงานเหมืองอีกคนยอมรับว่า ติดตามข่าวการช่วยเหลือเยาวชนไทยที่ถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอนจนตัวเองเครียดและต้องไปรับการบำบัด ขณะที่นายฆอร์จ กัลเยกียอส วัย ๖๔ ปี เล่าว่า ชีวิตเปลี่ยนไปอย่างฉับพลัน จากคนงานเหมืองธรรมดากลายเป็นคนดังระดับโลก ได้รับเชิญไปฮอลลีวูด ไปอิสราเอล เข้าทำเนียบประธานาธิบดีชิลี ใคร ๆ ก็พูดถึง ลงข่าวทุกสื่อ คนนั้นคนนี้รับปากให้โน่นให้นี่ แล้วไม่นานก็ถูกลืม หวังว่าสิ่งเหล่านี้จะไม่เกิดขึ้นกับทีมเยาวชนไทย


http://www.mcot.net/view/5b456befe3f8e4f605861de4?utm_source=TNA&utm_medium=TOPNEWS&utm_campaign=fixtna


กระทู้: 13 หมูป่า : วีรกรรมถ้ำหลวง
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 19 ก.ค. 18, 17:05

https://www.facebook.com/search/top/?q=Wassana%20Nanuam%20%20%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%A2%E0%B9%8C


กระทู้: 13 หมูป่า : วีรกรรมถ้ำหลวง
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 20 ก.ค. 18, 11:01
ABC ของออสเตรเลีย ทำสารคดีเรื่องการกู้ภัยที่ถ้ำหลวงในรายการ Four Corners โดยมีไฮไลต์คือการสัมภาษณ์นักดำน้ำอังกฤษ ผู้บังคับทีมช่วยเหลือของสหรัฐ และคู่ดำน้ำของ Dr. Richard Harris ชาวออสเตรเลีย

https://youtu.be/binQjU8LQ1M

Jason Mallinson นักดำน้ำในถ้ำชาวอังกฤษที่เราน่าจะจำกันได้ให้กล่าวว่า นี่เป็นหนึ่งในภารกิจที่ยากที่สุด อันตรายที่สุด และเสี่ยงที่สุดที่เขาเคยทำ ไม่ใช่ในแง่ของความปลอดภัยของเขา แต่เป็นในแง่ของความปลอดภัยของคนที่เขาจะต้องรับผิดชอบ เขาไม่เคยทำอะไรที่เสี่ยงขนาดนี้มาก่อน และคิดว่าคงจะไม่ต้องทำอะไรแบบนี้อีกแล้ว แต่นั่นเป็นทางเลือกเดียวในตอนนั้น

เขาเสริมว่าตัวเขาเองมั่นใจว่าจะพาตัวเองออกมาได้ มั่นใจว่าจะเชือกนำทางจะไม่หลุดมือ มั่นใจว่าจะนำเด็กออกมาได้ แต่เขาไม่มั่นใจ ๑๐๐ % ว่าเด็กที่นำออกมาจะมีชีวิตอยู่หรือไม่

เช่นเดียวกับนาวาอากาศตรี Charles Hodges ของกองทัพสหรัฐ ซึ่งเป็นหัวหน้าทีมกู้ภัยของสหรัฐที่ทำหน้าที่รับเด็กจากนักดำน้ำและตรวจสอบสุขภาพเด็กในโถง ๓ กล่าวว่า ความเป็นไปได้ที่ภารกิจนี้จะสำเร็จนั้นต่ำมากเท่าที่จะนึกออก เขาทำใจไว้ว่าอาจจะต้องมีเด็ก ๓, ๔ หรือ ๕ คนที่เสียชีวิตในระหว่างการกู้ภัย และเขาก็บอกกับท่านผู้ว่าไปว่าเขามั่นใจว่ามีโอกาสที่ภารกิจจะสำเร็จ ๖๐ - ๗๐ %

เขายังเผยว่าการดำน้ำพาเด็กออกมานั้นเป็นทางเลือกสุดท้ายจริง ๆ แต่ถ้าให้เด็กอยู่ในนั้นเป็นเวลา ๔ - ๕ เดือน และประมาณการว่าจะต้องเตรียมอาหารแห้งให้เด็กขั้นต่ำสุดวันละ ๑ มื้อ เท่ากับจะต้องเตรียมอาหารถึง ๑,๘๐๐ มื้อเป็นอย่างน้อยเข้าไปข้างใน ซึ่งไม่มีที่พอในถ้ำ และจะต้องใช้การดำน้ำเข้าออกถึง ๑๘ เที่ยว ดังนั้นการให้เด็กรอคนหมดหน้าฝนจึงเป็นทางเลือกที่เป็นไปไม่ได้ ยิ่งเมื่อพิจารณาจากฝนที่กำลังเข้ามาซึ่งอาจทำให้นักดำน้ำไม่สามารถส่งอาหารได้ครบตามที่คำนวณไว้

เขาเสริมว่าเขารู้สึกดีใจเป็นอย่างมากที่ไม่เพียงแต่มันจะเป็นข่าวดี แต่เด็ก ๆ ยังได้กลับไปพบผู้ปกครอง และนั่นคือสิ่งสำคัญที่อยู่ในใจของเขา

และหนึ่งในผู้ที่มีบทบาทสำคัญก็คือ Dr. Richard Harris และคู่บัดดี้ดำน้ำคือ Craig Challen ผู้ทำหน้าที่ตรวจสอบสุขภาพเด็ก ๆ และให้ยาระงับอาการตกใจก่อนที่จะนำเด็กออกมา รวมถึงประเมินสุขภาพเด็กตลอดทาง ซึ่งเขาเป็นฟันเฟืองสำคัญในความสำเร็จของภารกิจนี้

Jason Mallinson ยังบอกอีกว่าถ้าไม่มี Dr. Richard Harris ภารกิจนี้ก็ไม่มีทางสำเร็จ เพราะเขาอยู่กับเด็ก ๆ พูดกับเด็ก ๆ ทำให้เด็กสงบลง ด้วยความเชี่ยวชาญจากการเป็นแพทย์ฉุกเฉิน (คุณหมอ Harris เป็นแพทย์ในบริษัท medSTAR ซึ่งเป็นบริษัทขนย้ายผู้ป่วย - ผู้แปล)

ส่วนคู่บัดดี้ของคุณหมอคือ Craig Challen (ซึ่งเป็นสัตวแพทย์ - เพ็ญชมพู) เผยว่าพวกเขาเกือบพลาดรับโทรศัพท์จากรัฐบาลไทยที่โทรมาขอความช่วยเหลือ เพราะเขาจัดกระเป๋าเตรียมไปเที่ยวทุ่ง Nullarbor ในออสเตรเลียใต้เรียบร้อยแล้ว แต่กลับกันพวกเขาต้องรื้อของทุกอย่างออก เตรียมอุปกรณ์ดำน้ำให้พร้อม และไปสนามบินภายใน ๔๕ นาที

ทั้งสองเดินทางมาถึงถ้ำหลวงในวันที่ ๖ ก.ค. ซึ่งเป็นวันเดียวกับที่ จ่าเอกสมาน กุนัน (ยศในขณะนั้น) เสียชีวิต เมื่อถูกถามว่าข่าวการเสียชีวิตของจ่าเอกสมานทำให้ตระหนักถึงอันตรายของภารกิจมากขึ้นหรือไม่ Craig Challen กล่าวว่า ไม่ต้องสงสัยว่านี่เป็นภารกิจที่อันตราย แต่เราซึ่งเป็นนักดำน้ำในถ้ำนั้นสามารถดูแลตัวเองได้เพราะนี่คือสิ่งที่เราทำมาตลอด แต่สำหรับคนอื่น ๆ และ หน่วยซีลของกองทัพเรือไทย ซึ่งแม้จะเป็นกลุ่มคนที่มีความสามารถสูงมากแต่นี่ไม่ใช่สภาวะแวดล้อมที่พวกเขาคุ้นเคยและได้รับการฝึกมา

นาวาอากาศตรี Charles Hodges เสริมว่าเมื่อจ่าเอกสมานเสียชีวิต ทุกคนพักภารกิจ ถอยออกมา และมาประเมินความเสี่ยงกันใหม่ว่ามีความเสี่ยงใดที่ยอมรับได้ แต่ในขณะเดียวกันพวกเขาก็ตระหนักว่ามันก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลงอะไร เพราะสุดท้ายก็ยังมีเด็ก ๆ และโค้ชที่ต้องช่วยออกมาอยู่ดี ดังนั้นยังไงเราก็ต้องเดินหน้าต่อ ดังนั้น แม้ว่าการเสียชีวิตของจ่าเอกสมานจะเป็นเรื่องที่น่าเศร้าและในใจของเขาก็ระลึกว่าจ่าเอกสมานคือวีรบุรุษของคนไทยและคนทั้งโลก แต่พวกเขาก็รอช้าไม่ได้ และพวกเขาจะไม่ปล่อยให้การเสียชีวิตของจ่าเอกสมานต้องสูญเปล่า


กระทู้: 13 หมูป่า : วีรกรรมถ้ำหลวง
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 20 ก.ค. 18, 11:02
หลังจากการค้นพบเด็ก ๆ แล้ว ทีมกู้ภัยทุกคนเริ่มรู้ตัวลึก ๆ ว่าการนำเด็กออกมาด้วยการดำน้ำคงต้องเป็นทางเลือกเดียว ทางหน่วยซีลของไทยได้เข้าพบกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยของไทยเพื่ออธิบายให้ท่านฟัง รวมถึงทีมกู้ภัยทั้งหมดที่อธิบายแผนการเป็นขั้นเป็นตอนให้กับท่านรัฐมนตรีฟัง ซึ่งตัวนาวาอากาศตรี Charles Hodges มั่นใจว่าแผนจะได้รับการอนุมัติเพราะเขาเชื่อว่าแผนการนี้ได้ถูกออกแบบมาเป็นอย่างดี

นาวาอากาศตรี Charles Hodges กล่าวกับท่านรัฐมนตรีว่า ท่านครับ โลกทั้งโลกกำลังดูเราอยู่ เรามีเด็ก ๑๒ คนและโค้ชติดอยู่ในถ้ำ และเรามีความรู้สึกร่วมกับเหตุการณ์เป็นอย่างมาก แต่โชคร้ายที่ในสถานการณ์แบบนี้เราจะไม่ใช้อารมณ์ ดังนั้นเราตัดสินใจทุกอย่างด้วยเหตุและผลและพยายามเอาอารมณ์ออกทั้งหมด และตอนนี้สถานการณ์มาถึงจุดที่เหลือทางเลือกเพียงทางเลือกเดียว และถ้าไม่ตัดสินใจที่จะดำน้ำพาเด็กออกมา สถานการณ์จะกลายเป็นผู้ตัดสินใจให้เราแทน

เขาคิดว่าท่านรัฐมนตรีเข้าใจในเหตุและผล ซึ่งหลังจากนั้นไม่นานหน่วยซีลของไทยก็มาบอกกับเขาว่า แผนการทั้งหมดได้รับการอนุมัติและเราจะเดินหน้าทันที

พันจ่าอากาศเอก Derek Anderson หนึ่งในนักดำน้ำจากกองทัพอากาศสหรัฐกล่าวว่า หลังจากนั้นพวกเขาก็เริ่มฝึกกันในสระน้ำที่ได้รับอนุเคราะห์จากโรงเรียนละแวกนั้น และได้เด็ก ๆ มาเป็นตัวอย่างฝึก การฝึกเริ่มจากง่าย ๆ และใช้อุปกรณ์จำลอง และเป็นการฝึกความเข้าใจก่อนที่จะเริ่มใช้อุปกรณ์จริง และเด็กตัวอย่างจริง ซึ่งก็จะเริ่มฝึกจากการใส่อุปกรณ์ให้เด็ก การนำเด็กดำน้ำ การส่งผ่านเด็กไปยังนักดำน้ำคนอื่น และพยายามลงรายละเอียดไปเรื่อย ๆ จนมั่นใจว่าทุกคนได้ฝึกมากที่สุดเท่าที่ทักษะของตนจะมี ทุกคนได้ฝึกร่วมกัน และทุกคนจะทำให้ดีที่สุดแม้ว่าจะมีความเสี่ยงมากก็ตาม

จุดเล็ก ๆ อย่างข้อความของเด็ก ๆ ที่ Jason Mallinson เกิดไอเดียให้เด็ก ๆ เขียนออกมาให้ผู้ปกครองได้กลายเป็นหนึ่งในเหตุการณ์สร้างกำลังใจชั้นดีที่ทำให้ทีมกู้ภัยมั่นใจมากขึ้น Jason Mallinson ยังย้ำถึงความกล้าหาญที่น่าทึ่งของเด็ก ๆ ที่เมื่อพวกเขาอธิบายแผนการให้เด็ก ๆ ฟัง ไม่มีใครเลยที่แสดงอาการตกใจหรือร้องไห้ เด็ก ๆ ยอมปฏิบัติตามภารกิจทั้งหมด ซึ่งมันน่าทึ่งมากเมื่อเทียบกับอายุของพวกเขา

Craig Challen เสริมอีกว่าในบ่ายวันเสาร์ เขาและหมอ Harris เข้าไปตรวจสอบเด็ก ๆ และพบว่าพวกเขามีกำลังใจดีมาก โดยหน่วยซีลทั้ง ๔ นายที่อยู่กับเด็ก ๆ ทำหน้าที่ได้ดีมากในการเสริมกำลังใจให้เด็ก ๆ ดังนั้นทุกอย่างดูพร้อมมาก แม้ว่า Jason Mallinson จะซ่อนความกังวลไว้ข้างในว่า ถ้าฝนจะตกหนักอย่างที่พยากรณ์ไว้จริง ทุกอย่างมันจะยิ่งยุ่งยากขึ้นก็ตาม

และนั่นเป็นปัจจัยที่ทำให้ท่านผู้ว่าตระหนักว่าปฏิบัติการจะต้องเริ่มภายในวันอาทิตย์นั้น และท่านก็ประกาศวัน D-Day นักดำน้ำต่างชาติ ๑๓ คนพร้อมหน่วยซีลของไทย ๕ คนเริ่มดำน้ำเข้าไปหาเด็ก ๆ

เช่นเดียวกับการแถลงข่าวของทีมหมูป่า ที่คงจะได้ฟังกันไปแล้ว นักดำน้ำออสเตรเลียบอกว่าผู้ที่ตัดสินใจว่าใครจะออกมาเป็นกลุ่มแรกคือเด็ก ๆ และหน่วยซีลของไทย โดยพวกเขารอรับการตัดสินใจเท่านั้น หลังจากนั้น เมื่อพิจารณาถึงความสามารถในการดำน้ำของเด็ก ๆ อุปสรรคทางภาษา และอายุของเด็ก ๆ ทำให้ทุกคนตัดสินใจที่จะต้องทำทุกอย่างให้เด็ก ๆ โดยเด็ก ๆ ไม่ต้องทำอะไร

พันจ่าอากาศเอก Derek Anderson จากกองทัพอากาศสหรัฐกล่าวว่าทีมกู้ภัยแบ่งถ้ำออกเป็น ๙ โถง ในส่วนที่ซับซ้อนที่สุดจะเป็นหน้าที่ของนักดำน้ำอังกฤษซึ่งมีประสบการณ์มากกว่า ๓๐  ปี ในส่วนอื่น ๆ ก็จะแบ่งกันไปตามความเชี่ยวชาญและทักษะของแต่ละคน เรื่อยไปจนถึงคนเกือบ ๑๕๐ คนที่รับผิดชอบตามจุดต่าง ๆ ตั้งแต่โถง ๙ จนถึงหน้าถ้ำ ทุกคนทำงานกันเป็นทีมเดียวกันแต่มีหน้าที่ต่างกัน

Jason Mallinson หนึ่งในนักดำน้ำอังกฤษที่รับหน้าที่พาเด็ก ๆ ดำน้ำออกมากล่าวว่าในวันแรก ๆ ทัศนวิสัยยังดีอยู่ แต่ในวันสุดท้ายเขามองไม่เห็นอะไรเลย นั่นทำให้พวกเขาเหนื่อยมากในแง่ของจิตใจ

Dr. Richard Harris จะดำน้ำมากับเด็ก ๆ ในช่วง ๓๕๐ เมตรแรก และเมื่อมาถึงช่วงแห้งที่ยาว ๒๐๐ เมตร Craig Challen จะรับหน้าที่ถอดหน้ากากของเด็ก ๆ ออก ตรวจสอบอุปกรณ์ และพาเด็ก ๆ สไลด์ข้ามเนินดินไปจนถึงช่วงที่จะต้องดำน้ำอีกครั้ง ใส่อุปกรณ์ และพากลับลงน้ำ ซึ่งจะเห็นได้ว่าถ้าจะต้องใช้นักดำน้ำ ๒ คนต่อเด็ก ๑ คนมันจะต้องใช้เวลานานมาก สุดท้ายก็เลยกลายเป็นการดูแลหนึ่งต่อหนึ่ง

และก็จะมีช่วงแห้งที่เป็นช่วงสูงชันที่จะต้องแขวนเด็กเอาไว้บนเชือกกู้ภัยและค่อย ๆ พาเด็กไปราว ๆ ๑๕๐ เมตร เพราะมันอันตรายเกินไปที่จะให้เด็กลงเดินและข้ามช่วงสูงชันนั้น โดยเด็ก ๆ จะถูกแขวนด้วยเชือกแขวนที่ปรับปรุงพิเศษเพื่อการนี้ Jason Mallinson เสริมว่าจะมีช่วงที่ต้องดำน้ำขึ้นตรง ๆ ซึ่งนักดำน้ำไม่มีทางรู้ว่าจะถึงช่วงนั้นเมื่อไหร่จนกว่าจะเอาหัวโขกกับผนังถ้ำ ซึ่งเมื่อมันเกิดขึ้น นักดำน้ำก็จะรู้ว่าจะต้องดำขึ้นตรง ๆ ไปตามช่องแคบ ๆ นักดำน้ำต้องลองว่าจะพาเด็กกับนักดำน้ำไปพร้อมกันได้หรือไม่ ถ้าไม่ได้ก็ต้องถอย และลองให้นักดำน้ำดำคนเดียวดู ถ้าไม่ได้ก็ต้องถอย ลองดันเด็กไปตามช่องดู ถ้าไม่ได้ก็ต้องถอยอีก มันเป็นกระบวนการที่กินเวลานานและน่ากลัวมาก เพราะถ้าเกิดดันเด็กไปชนผนังถ้ำและกระแทกหน้ากากของเด็ก ๆ หลุด เด็กก็จะต้องเสียชีวิต หรือถ้านักดำน้ำทำเชือกนำทางหลุดมือ พวกเขาก็จะตกอยู่ในอันตรายมาก


กระทู้: 13 หมูป่า : วีรกรรมถ้ำหลวง
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 20 ก.ค. 18, 11:04
แต่เมื่อทุกคนพาเด็กสี่คนแรกออกมาได้ทุกคนก็ทั้งโลงใจและรู้สึกหมดแรงในเวลาเดียวกัน แต่ความกดดันก็ยังมีอยู่เพราะทุกคนรู้ว่าฝนกำลังมาแล้ว และนั่นไม่ได้ทำให้ความเสี่ยงลดลงเลย พันจ่าอากาศเอก Derek Anderson กล่าวว่ามันจึงเป็นการฉลองสั้น ๆ หลังจากนั้นทุกคนก็ต้องกลับไปตั้งสมาธิ ทำตัวเป็นมืออาชีพ เพราะทุกคนรู้ว่านี่เป็นความสำเร็จเล็ก ๆ ในภารกิจที่ใหญ่กว่า และรู้ว่าถ้าฝนตกลงมาก่อนหน้าที่คาดไว้แม้เพียงนิดเดียว ภารกิจกู้ภัยจะต้องยุติลง เพราะมันจะเสี่ยงมากเกินไปต่อทั้งเด็ก ๆ และนักดำน้ำเอง และแม้เด็กชุดที่สองจะออกมาสำเร็จซึ่งหมายถึงความสำเร็จ ๘ ครั้งจากความพยายาม ๘ ครั้ง มันก็ไม่ทำให้พวกเขาเบาใจลง

เขาจำได้ว่าหลังจากวันที่สอง เขาเข้าไปบอกกับนักดำน้ำอังกฤษว่า พวกคุณสุดยอดอย่างกะ Rock Star และนี่จะต้องถูกจารึกในประวัติศาสตร์แน่นอน

ในภารกิจวันสุดท้าย Dr. Richard Harris เลือกที่จะอยู่กับเด็ก ๆ และหน่วยซีลของไทยเป็นกลุ่มสุดท้าย ซึ่ง Craig Challen บอกว่าทำงานของหมอ Harris ว่ายอดเยี่ยมมาก ๆ

นาวาอากาศตรี Charles Hodges เล่าถึงช่วงสุดท้ายของภารกิจว่า เมื่อคุณรู้ว่าเด็ก ๆ ออกมากันหมดแล้ว หน่วยซีลของไทยออกมากันแล้ว ในตอนสี่ทุ่มที่ทุกคนยืนอยู่ตรงนั้นทุกคนก็ปล่อยให้อารมณ์กลับเข้ามาในจิตใจอีกครั้ง มันรู้สึกได้ว่าทุกคนได้ทำอะไรสักอย่างสำเร็จ ทุกคนที่มาจากต่างที่กันมาทำงานด้วยกัน และโลกก็เฝ้ามองอยู่ Craig Challen เสริมว่าเขารู้สึกโลงมาก แต่หน่วยซีลของไทยยังมีงานต้องจัดการ ดังนั้นเขาจึงออกมากันช้ากว่า ๒-๓ ชั่วโมง

ซึ่งนั่นก็ทำให้มีเรื่องดราม่าในตอนสุดท้ายของภารกิจจนได้ พันจ่าอากาศเอก Derek Anderson สารภาพตามตรงว่ามันอาจจะเป็นเรื่องเหนือธรรมชาติ แต่ ณ วินาทีนั้นปั้มน้ำหนึ่งตัวในโถง ๓ เสีย และยังมีคนอีกจำนวนหนึ่งรอรับหน่วยซีลกลุ่มสุดท้ายให้ออกมา เมื่อได้รับแจ้งว่าระดับน้ำกำลังเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ทุกคนตื่นเต้นมาก แต่สุดท้าย ทุกคนออกออกมาได้อย่างปลอดภัย

Craig Challen บอกว่านักดำน้ำได้ไปเยี่ยมเด็ก ๆ ที่โรงพยาบาลหลังจากนั้น ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่ดีมาก เด็ก ๆ นั่งกินอาหารกันอย่างมีความสุข พวกเราไม่สามารถบรรยายได้ว่าพวกเรามีความสุขมากขนาดไหน เพราะตอนแรกทุกคนคาดว่าภารกิจนี้จะเป็นภารกิจกู้ศพแทนที่จะเป็นภารกิจนำผู้ป่วยออกมาทั้ง ๆ ที่ยังมีชีวิต เขายังต้องถามตัวองว่าสิ่งนี่มันเป็นความจริงหรือเปล่า เพราะมันดูเหมือนจะดีเกินกว่าที่จะเป็นความจริง

เรืออากาศเอก Jessica Tait มาเสริมเป็นคนสุดท้ายว่า เธอจำได้ว่าเมื่อมาถึงที่ถ้ำใหม่ ๆ มีใครในทีมบางคนที่แม้จะเป็นคนที่แข็งแกร่งมากบ่นว่า เขาไม่รู้ว่าแม้แต่ตัวเขาเองจะมีชีวิตรอดจากเหตุการณ์แบบนี้ได้ไหม แต่นี่เป็นแค่เด็ก ๆ เท่านั้น และสำหรับเธอ มันแสดงให้เห็นถึงความพยายามที่จะมีชีวิตรอดของเด็ก ๆ และโค้ชที่คอยนำเด็ก ๆ ให้รอดชีวิตได้ คนพวกนี้คือผู้ที่กล้าหาญและเธอรู้ว่าเหตุการณ์นี้จะต้องถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์สำหรับความกล้าหาญของพวกเขา

TAF แปล จาก เฟซบุ๊กของ ThaiArmedForce.com (http://www.facebook.com/377261239611/posts/10156688247864612/)


กระทู้: 13 หมูป่า : วีรกรรมถ้ำหลวง
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 20 ก.ค. 18, 11:34
ขอกราบความกล้าหาญ น้ำใจและความเสียสละของทุกท่านที่เกี่ยวข้องกับวีรกรรมนี้


กระทู้: 13 หมูป่า : วีรกรรมถ้ำหลวง
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 20 ก.ค. 18, 16:28
ABC ของออสเตรเลีย ทำสารคดีเรื่องการกู้ภัยที่ถ้ำหลวงในรายการ Four Corners โดยมีไฮไลต์คือการสัมภาษณ์นักดำน้ำอังกฤษ ผู้บังคับทีมช่วยเหลือของสหรัฐ และคู่ดำน้ำของ Dr. Richard Harris ชาวออสเตรเลีย

คลิปที่หายไปสามารถดูได้จากลิ้งก์นี้

http://www.abc.net.au/4corners/out-of-the-dark/10000580


กระทู้: 13 หมูป่า : วีรกรรมถ้ำหลวง
เริ่มกระทู้โดย: ninpaat ที่ 20 ก.ค. 18, 16:53
ปรากฏการณ์ถ้ำหลวงขุนน้ำดอยนางนอน นี้ทำท่าจะเป็นมหากาพย์
ผมจึงขออนุญาตลอง update link บน youtube อีกสักครั้งครับ

Divers reveal extraordinary behind-the-scenes details of Thailand cave rescue (https://www.youtube.com/watch?v=-esjQLvsgTs)


กระทู้: 13 หมูป่า : วีรกรรมถ้ำหลวง
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 20 ก.ค. 18, 17:18
มันเป็น  mission impossible จริงๆด้วยค่ะ


กระทู้: 13 หมูป่า : วีรกรรมถ้ำหลวง
เริ่มกระทู้โดย: superboy ที่ 20 ก.ค. 18, 21:02
จากเฟสบุค Thai NavySEAL ครับ  แต่ทำไมผมหาต้นฉบับไม่เจอไม่ทราบเหมือนกัน เลยนำมาจากไทยโพสซึ่งเขานำมาลงอีกที

https://www.thaipost.net/main/detail/13627 (https://www.thaipost.net/main/detail/13627)


 เรื่องเล่าในถ้ำหลวงจากอดีตซีลของเชฟรอน ภารกิจสุดหินในถ้ำหลวง


สวัสดีครับ หลายคนคงจะทราบแล้วว่าเรามีอดีตซีลหรือหน่วยซีลนอกราชการ ที่ปัจจุบันเป็นพนักงานของเชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต ไปช่วยปฏิบัติงานสนับสนุนภารกิจดำน้ำในถ้ำหลวงถึ่ง 3 คน วันนี้เมื่อผมได้ข่าวว่าทุกๆ ท่านได้เสร็จจากภารกิจและเดินทางกลับศูนย์เศรษฐพัฒน์ของเชฟรอนที่ จ. สงขลา กันแล้ว ผมจึงติดต่อไปและได้มีโอกาสพูดคุยกับ อาจารย์ สุธน ทะวา หน่วยซีลนอกราชการ ซึ่งปัจจุบันเป็น Security Specialist ประจำที่ฐานปฏิบัติการบนฝั่ง สงขลา ขอให้ท่านแชร์ประสบการณ์ที่ถ้ำหลวงให้ฟัง ซึ่งเป็นเรื่องที่ทั้งน่าตื่นเต้นและน่าประทับใจ แบบอินไซท์สุดๆ ผมจึงขออนุญาตอาจารย์สุธนนำประสบการณ์ของท่านมาแบ่งปันให้ชาวเพจเอราวัณ 36 ได้ฟังกันบ้าง น่าประทับใจและท้าทายขนาดไหน มาฟังกันครับ


#เล่าเรื่องขวดอากาศ (หรือที่คนทั่วไปเรียกถังออกซิเจน แต่จริงๆ คือถังบรรจุอากาศเพื่อหายใจขณะดำน้ำ) ให้ฟังหน่อยได้มั้ยครับ ที่กลายเป็นข่าวไปทั่ว social media นี่ เชฟรอนเข้าไปช่วยได้ยังไงครับ

ตอนนั้นน่าจะประมาณวันที่ 30 มิถุนายนครับ ทาง ผ.บ. หน่วยซีลแจ้งมาเลยครับ แจ้งมาทางอาจารย์พุก (คุณดุลยพินิจ ภู่อยู่) ว่าขวดอากาศไม่พอ จะขอสนับสนุนจากทางเชฟรอนได้ไหม เพราะต้องใช้อีกถึง 200 ขวด ผมเลยคุยกับทางแผนกจัดซื้อฯ ตอนทุ่มนึงว่าจะหาขวดอากาศให้เขาได้ยังไง ตอนแรกเราดูว่าจะเช่าได้ไหม แต่ไม่มีที่ไหนให้เช่าเลย เพราะต้องเอาไปทำงานหนัก พวกเขากลัวขวดพัง เราจึงกลับมาตรงทางเลือกว่าซื้อ และติดต่อไปทางคุณกิตติพงศ์ ที่เป็น Bangkok Incident Commander หรือหัวหน้าหน่วยบัญชาการภารกิจนี้ที่กรุงเทพฯ โดยให้ทางแผนกจัดซื้อฯ ประเมินราคาของมาประมาณเกือบ 2 ล้าน โดยถามคุณกิตติพงศ์ว่าเราจะซื้อได้ไหม รอแค่ 10 นาทีเท่านั้นครับ ก็ได้รับแจ้งมาว่าผู้บริหารอนุมัติแล้วตามที่ร้องขอ ไม่มีปัญหาอะไรเลย ผมจึงส่งข้อความไปบอกทางหน่วยซีลว่าทางเชฟรอนอนุมัติแล้ว พวกเขาก็ร้อง เย้.. ดีใจกันใหญ่เลยครับ

เรายังส่ง backpack ไปให้ด้วยครับ (เป้สะพายหลังที่ใช้ใส่ขวดอากาศ) แต่เราหาทั้งประเทศไทยมีแค่ 64 อัน ทางเชฟรอนก็เหมาส่งไปให้ทั้งหมดเลยครับ เราหาทุกอย่างเท่าที่เราหาได้ในประเทศไทยเพื่อไปสนับสนุนงานนี้



#อาจารย์สุธนตามไปสมทบที่หน้าถ้ำได้ยังไงครับ

จริงๆ แล้วผมบอกอาจารย์มิ่ง (คุณมัจฉริยะ ครไชยศรี) กับอาจารย์พุกว่าผมขอเป็นฝ่ายสนับสนุนกองหลัง จะได้เป็นฝ่ายประสานงานหาวัสดุอุปกรณ์ต่างๆให้ เพราะกลัวไปที่หน้างานกันหมดแล้วการติดต่อสื่อสารจะไม่สะดวก พอเหตุการณ์ผ่านไปสักพักจึงคิดว่าอุปกรณ์ของเราน่าจะครบถ้วนแล้ว ผมจึงขอตามไปสมทบในพื้นที่ โดยผมได้เอา Gas Detector 5 เครื่อง (สามารถวัดระดับอ๊อกซิเจนในอากาศได้) จากศูนย์เศรษฐพัฒน์ไปด้วย เพราะทางทีมช่วยเหลือร้องขอมา เมื่อออกจากสนามบิน ผมตรงไปที่ถ้ำเลย ผมได้บรีฟเรื่องการใช้เครื่องวัดออกซิเจนในถ้ำ และข้อจำกัดเรื่องความปลอดภัยต่างๆ ให้ทีมดำน้ำฟัง โดยที่เราได้ยินข่าวที่ออกมาว่าออกซิเจนภายในถ้ำลดระดับลง ก็เป็นผลมาจากเครื่อง gas detector ที่ทางเรานำไปมอบให้ครับ



#เล่าเรื่องภารกิจในการดำน้ำหน่อยได้ไหมครับ

ช่วงประมาณวันที่ 7 กรกฏา ก่อนน้องๆ หมูป่าออกจากถ้ำ ผมได้ร่วมภารกิจดำน้ำเพื่อนำอาหารและขวดอากาศเข้าไปด้านในโถง 3 การดำน้ำเข้าโถง 3 ทำงานค่อนข้างลำบาก มือขวาสาวเชือก มือซ้ายลากขวดอากาศ มุดลอดช่องหินขึ้นไปส่งของด้านในครับ ก็ได้สัมผัสประสบการณ์ตรงเลยว่ากระแสน้ำแรงมาก และต้องดำทวนน้ำตลอด จริงๆ ก่อนหน้านั้นก็มีคนมาอธิบายก่อนว่าดำน้ำไปจะเจออะไรบ้าง ต้องระวังเชือกพันคอ สายโทรศัพท์ ฯลฯ ทัศนวิสัยไม่เห็นอะไรเลยครับ เหมือนหลับตาดำน้ำ แล้วในถ้ำก็เป็นเนินชันๆ ค่อนข้างอันตราย ความน่ากลัวอีกอย่างคือ เมื่อพักเครื่องปั๊มน้ำ (จะพัก 20 นาที ทุกชั่วโมง) แค่ 10 นาที ระดับน้ำจะสูงขึ้นถึง 20 เซ็น น้ำขึ้นไวมากๆ ต้องเตือนกันล่วงหน้าเพื่อไม่ให้ตกใจ



#เห็นว่ามีส่วนร่วมในการนำเด็กๆและโค้ชออกมาจากถ้ำด้วยหรอครับ

ใช่ครับ วันแรกที่นำเด็กออกมาได้เป็นวันอาทิตย์ เราแบ่งเป็นทีมละ 5 ทีม เพื่อรับเด็กจากโถงสาม ผ่านโถงสองไปที่ปากถ้ำ แต่ละทีมมีจำนวนคนน้อยมากแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับ ระยะทางและลักษณะเส้นทางแคบกว้าง หน้าที่ของพวกเราคือ รับเด็กที่อยู่ในเปลสนามจากโถง 3 แล้วลำเลียงต่อกันมาเรื่อยๆกระทั่งถึงปากถ้ำด้วยความปลอดภัย โดยผมเป็นหัวหน้าทีมชุดที่ 5 พื้นที่ที่รับผิดชอบคือพื้นที่สุดท้ายก่อนออกจากถ้ำ เพื่อนร่วมทีมวันแรกมี 10 คน วันที่สองเพิ่มเป็น 12 คน วันที่สาม ขอเพิ่มเป็น 18 คน เพราะยิ่งทำยิ่งรู้ว่ามีความเสี่ยงสูงหากใช้คนน้อยๆ เราทำงานร่วมกันกับทหารบก ซีลประจำการ และซีลนอกราชการครับ ตอนนั้นต้องระวังมากๆ เพราะเส้นทางในการนำพาน้องๆ มาปากถ้ำค่อนข้างอันตรายมีทั้งทางดิ่ง มีเนินขึ้นเนินลงที่ชันมาก ทางแคบ และลื่น ก่อนเคลื่อนย้ายจากจุดรับส่งทุกจุด จะมีแพทย์ พยาบาลประจำการแต่ละจุดคอยวัดชีพจรและค่าออกซิเจนของเด็ก รวมทั้งระหว่างการเคลื่อนย้ายจะมีเจ้าหน้าที่แพทย์พยาบาล ทั้งไทยและต่างประเทศคอยประกบตลอดเวลา เพื่อสังเกตุอาการเพื่อให้แน่ใจว่าสภาพร่างกายของเด็กๆ โอเคอยู่ เป็นงานที่ค่อนข้างกดดัน เราจะพลาดไม่ได้แม้แต่น้อยครับ เพราะทุกวินาทีมีชีวิตของน้องๆ ทีมหมูป่าเป็นเดิมพัน



#สุดท้ายนี้มีความประทับใจอะไรเกี่ยวกับภารกิจนี้บ้างครับ

ผมว่าทุกคนภูมิใจที่ได้มีส่วนร่วมในภารกิจนี้ครับ สำหรับผมก็เป็นโอกาสที่มีไม่บ่อยนัก ที่จะได้กลับไปร่วมงานกับหน่วยซีลที่ผมเคยสังกัดอยู่ สิ่งที่ประทับใจคือทางผู้บริหารเชฟรอนให้การสนับสนุนและตอบสนองอย่างรวดเร็วมากๆ ทีมสนับสนุนจากกรุงเทพฯ ก็ทำงานกันเต็มที่ พนักงานทั้งบริษัทฯ ก็ส่งกำลังใจมาให้อย่างท่วมท้น ส่วนตัวผมตั้งแต่ทำงานมา ไม่เคยเห็นความร่วมมือกันที่ยิ่งใหญ่ขนาดนี้ ทุกๆ คนต่างเป็นจิ๊กซอว์สู่ความสำเร็จ ตลอดภารกิจก็พบเจอแต่ผู้คนที่มีน้ำใจ หลายๆโรงแรมพอรู้ว่ามาช่วยทำภารกิจนี้ก็จะไม่คิดเงิน เสื้อผ้าก็มีคนรับซักให้ฟรี หรือแม้แต้ร้านอาหารที่แม่สาย ถ้าใครมาช่วยงานนี่ก็ทานฟรีแทบทุกร้านครับ!!


                                                               -------------------------------------------------------------------


ส่วนอันนี้จากเพจ Erawan36 ครับ

https://web.facebook.com/Erawan36/?hc_ref=ARTx3TfT4ifraQViReb2QvxFJsWJEwG4pgmUMPZNH6XdAgnFY0TCWjx3OEogZkJqZRM&fref=nf&_rdc=1&_rdr (https://web.facebook.com/Erawan36/?hc_ref=ARTx3TfT4ifraQViReb2QvxFJsWJEwG4pgmUMPZNH6XdAgnFY0TCWjx3OEogZkJqZRM&fref=nf&_rdc=1&_rdr)


ถอดบทเรียนปฏิบัติการด้านวิศวกรรมช่วย13ชีวิตหมูป่า


เมื่อวานนี้ ผมได้มีโอกาสไปร่วมรับฟังการเสวนา “ถอดบทเรียนปฏิบัติการทางวิศวกรรมช่วย 13 หมูป่า…กู้ภัย ระดับโลก“ ซึ่งจัดขึ้นที่วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย หลังจากที่หลายภาคส่วนทั้งภาครัฐและเอกชน ประชาชน จากหลายสาขาวิชาชีพ ได้ระดมทุกสรรพกำลังลงไปช่วยเหลือ 13 ชีวิตทีมฟุตบอลหมูป่าอะคาเดมี่ ที่ประสบภัยติดอยู่ในถ้ำหลวง ให้กลับออกมาได้อย่างปลอดภัยทั้งหมด


งานเสวนาครั้งนี้ได้รับความสนใจจากพี่ๆ สื่อมวลชนจำนวนมาก โดยในช่วงเช้า เป็นการพูดคุยกันในภาพกว้างเกี่ยวกับการควบคุมและจัดการปฏิบัติการช่วยชีวิตน้องๆ 13 หมูป่า และ งานสำรวจจัดทำแผนที่ภูมิประเทศ ส่วนในช่วงบ่าย เป็นการถอดบทเรียนในเรื่องของ งานเจาะถ้ำ สำรวจธรณีวิทยา และการสูบน้ำออกจากถ้ำ รวมทั้งการแนะนำทีมวิศวกรอาสาและผู้ลงพื้นที่ปฏิบัติภารกิจ โดยงานนี้มีพี่ๆ นักธรณีวิทยาและวิศวกรจากทางเชฟรอน ที่เข้าร่วมปฏิบัติการครั้งนี้มาตั้งแต่เริ่มต้น เข้ามาร่วมรับฟังด้วยครับ


แง่มุมน่าปลาบปลื้มใจที่ผมได้ฟังจากวิทยากรบนเวทีนั้น คือ ท่านจงคล้าย วรพงศธร รองอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ซึ่งได้กล่าวขอบคุณทุกภาคส่วนที่มาร่วมภารกิจครั้งนี้ โดยในส่วนของเชฟรอน ท่านกล่าวว่าประทับใจในเรื่องความรวดเร็วในการจัดหาอุปกรณ์ และอาจารย์ สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ ซึ่งเป็นประธานคณะอนุกรรมการวิศวกรรมปฐพี คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ ได้สรุปเอาไว้ว่า ภารกิจนี้ถือเป็นงานที่สามารถร่วมแรงร่วมใจจากทุกฝ่าย ทั้งผู้เชี่ยวชาญ และเครื่องมืออุปกรณ์ทางด้านธรณีวิทยา อย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน โดยแต่ละบริษัทถึงแม้ในทางธุรกิจอาจจะเป็นคู่แข่งขันกัน แต่เมื่อมาถึงหน้างานที่ต้องปฏิบัติภารกิจ ทุกคนก็กลายเป็นทีมเดียวกัน เอาโจทย์ปัญหาเป็นตัวตั้งและร่วมมือช่วยกันแก้ไขอย่างสุดกำลัง


ในการถอดบทเรียนงานส่วนของการสูบน้ำออกจากถ้ำ ซึ่งเป็นหนึ่งในภารกิจที่มีส่วนสำคัญในการช่วยพี่ๆ หน่วยซีลให้พาน้อง13 หมูป่าออกมาได้สำเร็จ และทางเชฟรอนได้จัดส่งทั้งนักธรณีวิทยาและวิศวกรพร้อมทั้งอุปกรณ์เข้าไปช่วยตามที่ภาคสนามมีความต้องการมาตั้งแต่ต้นนั้น ฟังแล้วก็มีความเข้าใจมากขึ้นว่า นอกจากจะต้องมีเครื่องสูบน้ำที่มีกำลังแรงที่เพียงพอแล้ว ยังต้องมีส่วนของการช่วยเบี่ยงทางน้ำที่จะไหลเข้ามาที่ถ้ำด้วย


งานนี้ ดร.กัมปนาท ขวัญศิริกุล นักธรณีวิทยาซึ่งทำงานอยู่ที่กรมชลประทาน ที่รับผิดชอบงานเบี่ยงทางน้ำ บอกว่า เมื่อมีการสำรวจพบว่า มวลน้ำบริเวณดอยผาหมี เป็นจุดสำคัญที่ทำให้น้ำไหลลงไปเติมในถ้ำอยู่ตลอดเวลา จึงต้องมีการทำฝายเพื่อเบี่ยงทางน้ำ คำนวณดูแล้วต้องใช้ท่อที่มีความยาวถึง 2,400 เมตร ไม่รู้จะไปจัดหาจากไหนให้ทันเวลา ก็โทรหาน้องที่บริษัทแห่งหนึ่งได้ท่อมารวมกันได้ขนาดความยาว 400 เมตร ยังขาดอีก 2,000 เมตร จึงโทรหาน้องอีกคนที่เชฟรอน ก็ต้องถือเป็นความโชคดีที่ทางเชฟรอน มีท่อรวมกันขนาดความยาว 2,000 เมตรพอดี และรีบช่วยกันจัดส่งมาที่หน้างานทันที นำลำเลียงขึ้นไปทำฝายบนดอยผาหมี จนสามารถเบี่ยงทางน้ำได้สำเร็จ และยิ่งดีใจมากเมื่อประสานกับส่วนงานสูบน้ำภายในถ้ำ แล้วรู้ว่าการเบี่ยงทางน้ำบนดอยผาหมีนั้นมีส่วนช่วยลดระดับน้ำภายในถ้ำลงได้จริง


นั่งฟังเสวนาถอดบทเรียนที่ถ้ำหลวงก็ต้องขอขอบคุณพี่ๆ ทุกๆ คนที่มีส่วนร่วมในการปฏิบัติภารกิจครั้งนี้จนสำเร็จ แม้ว่าจะพบปัญหาต่างๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการทำงาน แต่ทุกคนก็ไม่ย่อท้อ ต่างทุ่มเททั้งแรงกายและแรงใจ จนทำให้ภารกิจที่เหมือนไม่น่าจะเป็นไปได้จบลงด้วยความสำเร็จครับ


กระทู้: 13 หมูป่า : วีรกรรมถ้ำหลวง
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 20 ก.ค. 18, 21:09
ยิ่งอ่านยิ่งเห็นว่าเป็นปาฎิหาริย์แห่งการร่วมมือร่วมใจกันโดยแท้ค่ะ    ทุกภาคส่วนของไทยทั้งรัฐและเอกชน  และทุกภาคส่วนของโลกที่มีผู้ช่วยเหลือได้ ก็ตรงมากันหมด
และที่สำคัญ  ด้วยพระบารมีปกเกล้าฯ งานจึงลุล่วงไปด้วยอย่างยอดเยี่ยม    เกินความคาดหมายแม้แต่ผู้เชี่ยวชาญเอง ก็ไม่คิดว่าจะทำได้สำเร็จขนาดนี้


กระทู้: 13 หมูป่า : วีรกรรมถ้ำหลวง
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 20 ก.ค. 18, 21:55
อีกเรื่องที่คนไม่รู้! ทีมสูบน้ำภายในถ้ำหลวง ทำงานปิดทองหลังพระ

https://mgronline.com/local/detail/9610000072468

นครปฐม - เผยเรื่องที่ยังไม่รู้ภารกิจ นำหมูป่า 13 ชีวิตออกจากถ้ำหลวง ยังมีจิตอาสาฮีโร่ที่ยังไม่ได้ถูกเปิดเผยอีกทีม หัวหน้าทีมเผยถึงสถานการณ์สุดระทึก ท่ามกลามความเหนื่อย แต่รู้สึกภูมิใจที่ได้มีส่วนร่วมจนสามารถนำ ทุกคนออกมาได้ทั้งหมดอย่างปลอดภัย แม้ไม่มีใครชื่นชมแต่ย้ำคือความสำเร็จของคนไทย

จากกรณีที่ ทีมนักฟุตบอลเยาวชน “หมูป่าอะคาเดมี” จังหวัดเชียงราย จำนวน 12 คน พร้อมโค้ชเอก อีก 1 คน รวม 13 ชีวิต เข้าไปติดอยู่ภายในถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน อ.แม่สาย จ.เชียงรายโดยที่ยังไม่ทราบชะตากรรม จึงต้องมีการระดมทีมเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานต่าง ๆ และกลุ่มจิตอาสาจากทั่วทุกมุมโลก เพื่อค้นหาและช่วยเหลือออกมาให้ได้
แต่แล้วก็ต้องเจอกับปัญหาหลายเรื่องในเวลาเดียวกัน เนื่องจากน้ำภายในถ้ำปิดทางเข้าจนไม่สามารถเข้าไปทำการค้นหาและช่วยเหลือได้

หลังจากกลุ่มผู้ประกอบการรับสูบน้ำจากบ่อเลี้ยงปลาและบ่อเลี้ยงกุ้ง มีการส่งทีมสูบน้ำจากทีมท่อสูบน้ำซิ่งของจังหวัดนครปฐม จังหวัดราชบุรี เป็นกลุ่มจิตอาสาไปช่วยระดมสูบน้ำออกจากบริเวณหน้าถ้ำเพื่อระบายน้ำออกและเร่งส่งทีมค้นหาไปช่วยเหลือกระทั่งพบตัวทุกคนและต้องเร่งสูบน้ำออกเพื่อให้เกิดความสะดวกในการนำผู้ประสบเหตุออกมาให้ได้อย่างปลอดภัย

ยังมีอีกหนึ่งกลุ่มจิตอาสาที่ได้เข้าส่งทีมงานและเครื่องสูบน้ำลงช่วยระดมสูบน้ำภายในถ้ำหลวงอีก 1 ทีม ที่ยังไม่เคยได้เปิดเผยเรื่องราวในการทำงานด้วยการนำเครื่องสูบน้ำขนาดเล็กจำนวนหลายตัวระดมสูบน้ำภายในพื้นที่ตั้งศูนย์บัญชาการภายในนถ้ำ เพื่อให้มีการส่งทีมซีล และทีมนักดำน้ำในการปฎิบัติงานจนประสบผลสำเร็จและได้รับคำชมไปทั่วโลก

นายกันตพงศ์ ฐิติพงศ์วัฒนกุล ประธานบริษัท เฟรนด์เทค เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด เลขที่ 73 หมู่ 2 ตำบลถนนขาด อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม ซึ่งเป็นผู้แทนจำหน่ายเครื่องสูบน้ำยี่ห้อ Griendex (ไดโว่) โดยเป็นเครื่องสูบน้ำขนาด 6 นิ้ว ซึ่งผลิตจากต่างประเทศ ที่สามารถสูบน้ำได้ตลอดโดยไม่ต้องหยุดพักเครื่อง ซึ่งได้ส่งออกจำหน่วยในราคาเครื่องละกว่า 7 แสนบาท

โดยในภารกิจการติดตามหาตัวหมูป่า 13 ชีวิต ได้มีการส่งเครื่องสูบน้ำไปร่วมในภารกิจจำนวน 10 เครื่อง พร้อมทีมงานไปสแตนบายรอที่หน้าถ้ำหลวง หลังรับทราบเรื่องราวจากข่าวที่ทราบจากสื่อมวลชน จนกระทั่งมีการอนุมัติให้รีบนำเครื่องสูบน้ำดังกล่าวเข้าไปติดตั้งสูบน้ำภายในถ้ำหลวง จากศูนย์อำนวยการร่วม (ศอร.)

โดยนายกันตพงศ์ ฯ เผยว่า หลังจากได้ส่งเครื่องสูบน้ำเข้าไปติดตั้งภายในถ้ำหลวงและเห็นสภาพ
ที่เลวร้ายภายในถ้ำ ที่มีน้ำมากกว่าที่คิด จึงอยากจะนำเครื่องสำรองอีกประมาณ 40 เครื่อง เข้ามาติดตั้งเสริมหวังระบายน้ำออกให้เร็วที่สุด แต่เนื่องจากเกิดปัญหาและมีอุปสรรคหลายอย่างภายในถ้ำ จึงนำลงไปติดตั้งได้แค่ 8 เครื่องเท่านั้น และเครื่องแต่ละเครื่องก็มีน้ำหนักหลายตัน ต้องใช้เจ้าหน้าที่ทหารจำนวนนับ 10 นาย

จึงจะสามารถแบกเครื่องสูบน้ำทยอยเข้าไปติดตั้งได้ที่ละเครื่องซึ่งเป็นเรื่องที่ยากลำบาก การสูบน้ำทำอย่างหนักตลอดเวลา 24 ชั่วโมงไม่ได้หยุดพักทั้งคนทั้งเครื่อง โดยในวันที่มีการนำหมูป่า 13 ชีวิตออกมาได้ ก่อนจะมีทีมของหมอภาคย์ ออกมาจนครบก็เกิดปัญหาเนื่องจากมวลน้ำภายในถ้ำหลวงได้สูงขึ้นมาปิดทางเข้าและมีระดับที่สูงมากขึ้นตลอดเวลา ทำให้ทุกคนต้องเร่งออกมา ทำให้มีเครื่องสูบน้ำรวมมูลค่า 2 ล้านบาท ที่กำลังสูบอยู่ภายใน จมอยู่ใต้ผิวน้ำ

นายกันตพงศ์ กล่าวปิดท้ายว่า แม้จะเสียเครื่องมือไป แต่ก็ไม่ได้เสียดายและคิดว่าเป็นความคุ้มค่าที่สามารถทำให้การปฏิบัติงานภายในถ้ำหลวงซึ่งบุคคลภายนอกไม่มีใครรู้ว่ามีความยากลำบากและมีปัญหาต่าง ๆนานามากกว่าที่มีข้อมูลเผยแพร่ไปทางสื่อต่างๆ แต่ทุกคนที่ไปร่วมในภารกิจรู้สึกว่าเป็นการช่วยเหลือที่คุ้มค่าและเป็นการทำงานจิตอาสาไปด้วยใจ แม้จะไม่มีใครรู้จักหรือชื่นชมแต่ก็รู้สึกดีที่ได้ช่วยสังคมและเป็นส่วนหนึ่งของการประสบความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ ของประเทศไทยในสายตาของคนทั่วโลก


กระทู้: 13 หมูป่า : วีรกรรมถ้ำหลวง
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 21 ก.ค. 18, 06:47
น่าเสียดาย สิ่งที่สุทธิชัย หยุ่น ไม่ถามและไม่มีการเอ่ยถึงเลยในรายการเดินหน้าประเทศไทยเลย

https://www.youtube.com/watch?v=r_jptUuRAkE (https://www.youtube.com/watch?v=r_jptUuRAkE)


กระทู้: 13 หมูป่า : วีรกรรมถ้ำหลวง
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 21 ก.ค. 18, 07:39
เครคิต
John JB Bowring ผู้ถอดความ
จากเพจ ThaiArmedForce.com

ริก แสตนตัน หนึ่งในนักดำน้ำกู้ภัยชาวอังกฤษในภารกิจช่วยเหลือทีมหมูป่า ให้รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับขั้นตอนการช่วยเหลือเด็กทั้ง 12 คนและโค้ช ผ่านการให้สัมภาษณ์กับสื่อ (iTV) ในประเทศอังกฤษ

ริก เริ่มต้นย้อนไปถึงตอนที่เจอกับทีมหมูป่าครั้งแรกภายในถ้ำว่า ในตอนนั้นริกและจอห์น (John Volanthen) อยู่ในขั้นตอนการวางเชือกนำทางภายในถ้ำ และในช่วงเวลาที่เชือกก็กำลังจะหมดลงพอดี พวกเขาจึงขึ้นมาเหนือน้ำซึ่งพอจะมีช่องอากาศอยู่บ้าง ริกได้กลิ่นอะไรบางอย่างซึ่งเชื่อว่าน่าจะเป็นกลิ่นของเด็ก ๆ ในขณะเดียวกัน เด็ก ๆ ก็ได้ยินเสียงของนักดำน้ำทั้งสองคุยกันเช่นเดียวกัน

ริกเห็นเด็ก ๆ ค่อย ๆ เดินออกมาจากมุมมืด ลงมาตามทางลาดทีละคน ๆ ริกจึงเริ่มค่อย ๆ นับจำนวนเด็กที่เค้าเห็นทันทีด้วยความกังวล จนเมื่อครบทั้ง 13 คน เค้าจึงโล่งใจ ซึ่งก็พอดีกับจอห์นที่เอ่ยถามเด็ก ๆ ขึ้นว่า “How many of you?”

ก่อนที่พวกเค้าจะได้ยินคำตอบจากเด็ก ๆ แต่ตอนนั้นริก ก็รู้ในใจแล้วว่า เด็ก ๆ มีชิวิตรอดกันครบทั้งหมดทุกคน

แต่ริกก็รู้ดีว่านี่เป็นแค่จุดเริ่มต้น เพราะเค้าก็ยังไม่รู้เหมือนกันว่าจะช่วยพวกเด็ก ๆ ออกมาจากถ้ำได้อย่างไร

ในขั้นตอนการช่วยเหลือ พวกเขาจำเป็นจะต้องทำให้เด็ก ๆ ได้รับยาซึ่งทำให้ไม่รู้สึกตัว เพื่อลดความกังวล ซึ่งโดยจรรยาบรรณแล้ว พวกเขาจำเป็นจะต้องบอกให้เด็ก ๆ รับทราบและได้รับความยินยอมก่อน พวกเขาจึงตัดสินใจบอกกับเด็ก ๆ หนึ่งวันก่อนหน้าที่ภารกิจการช่วยเด็กกลุ่มแรกจะเริ่มขึ้น

“พวกเด็ก ๆ ไม่รู้สึกตัว และพวกเขาก็คงจะจำอะไรไม่ได้เลย เกี่ยวกับช่วงที่ถูกพาตัวออกมา” ริก กล่าว

การนำตัวเด็กออกมาแต่ละคนจะใช้นักดำน้ำทั้งหมด 4 คน เด็ก ๆ จะต้องสวมใส่ชุดดำน้ำ (wet suit) พร้อมกับอุปกรณ์ซึ่งช่วยในการพยุงตัว ถังอากาศ และก็หน้ากากดำน้ำแบบเต็มหน้า (full-face mask) ทุกอย่าง (รวมทั้งเด็กตัวเด็ก) จะถูกแพ็ครวมกันอย่างดี แล้วให้นักดำน้ำหิ้วออกมาเหมือนกับหิ้วถุงชอปปิ้ง

ในขณะที่พาเด็ก ๆ ดำน้ำออกมา ริกจะดึงเด็ก ๆ มาไว้ใกล้ตัวมาก หน้าของเด็กและของริกแทบจะอยู่ในระดับเดียวกัน ซึ่งการทำแบบนี้ นอกจากจะเป็นการใช้ตัวของริกกำบังเด็ก ๆ แล้ว (เวลากระแทกเพดาน ริกจะโดนก่อน) ยังช่วยให้ริกทราบด้วยว่า เด็ก ๆ ยังมีชีวิตอยู่ จากการสังเกตฟองน้ำที่ลอยออกมาจากหน้ากาก

ริกและนักดำน้ำทุกคนตระหนักดีว่า ชีวิตของเด็ก ๆ ขึ้นอยู่กับพวกเขาจริง ๆ

“มันเป็นความรับผิดชอบอันใหญ่หลวงมาก พวกเราเคยดำน้ำพร้อมกับขนสิ่งของต่าง ๆ มากมาย แต่กับการนำส่งคนที่มีชีวิตนี่ เป็นภาระความรับผิดชอบที่หนักอึ้งสุด ๆ” ริก ให้สัมภาษณ์

ริกยังเล่าให้ฟังต่ออีกว่า เมื่อวันก่อนเค้ายังฝันถึงเหตุการณ์ที่ถ้ำหลวงอยู่เลย เค้าฝันว่าค้นพบเด็ก ๆ แล้ว แต่ยังพาออกมาไม่ได้ ...โชคดีที่มันเป็นแค่ความฝัน

ทุกวันนี้ริกยังได้รับข้อความมากมาย นับหลาย ๆ ร้อยที่ส่งมาจากคนที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อน เพื่อขอบคุณในสิ่งที่ริกทำ และขอบคุณที่เค้าเป็นตัวอย่างให้กับคนทั้งโลก

https://www.youtube.com/watch?v=SnXwvyZhm24&feature=share (https://www.youtube.com/watch?v=SnXwvyZhm24&feature=share)


กระทู้: 13 หมูป่า : วีรกรรมถ้ำหลวง
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 21 ก.ค. 18, 07:50
จากแนวความคิด กลายมาเป็นแผนการทำงาน - ตวจสอบความเป็นไปได้ - ฝึกซ้อม - และปฏิบัติการ แล้วการที่เทพยาดาฟ้าดินส่งวิสัญญีแพทย์นักดำน้ำ ดร.แฮร์ริสจากออสเตรเลียมาร่วมทีม ก็ทำให้การนำเด็กออกมาจากถ้ำแทบจะไม่มีความเสี่ยง 

https://www.facebook.com/ThaiSEAL/posts/1663048723818520


กระทู้: 13 หมูป่า : วีรกรรมถ้ำหลวง
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 21 ก.ค. 18, 09:50
 ขอเปลี่ยนบรรยากาศจากความตื่นเต้นระทึกใจของการกู้หมูป่าน้อยจากถ้ำ มาเป็นแนวลึกลับบ้าง    นึกอยู่แล้วว่าถ้ำที่มีตำนานยาวนานติดตัวมา ข้างในก็ซับซ้อนเกินสำรวจได้ทั่วถึง ย่อมจะมีความลึกลับน่าพิศวงแอบแฝงอยู่
  ส่วนจะเชื่อหรือไม่ แล้วแต่วิจารณญาณของแต่ละท่านค่ะ    เจ้าตัวผู้เป็นข่าวนี้เขาก็ไม่ได้เรียกร้องให้ใครเชื่อ  แต่ออกมาในรูปของการบอกเล่าประสบการณ์มากกว่า

https://mgronline.com/live/detail/9610000072420
มุดโพรงถ้ำหลวง ลอดปล่องลี้ลับ “บังโฟล์ค” นักปีนเขา…กับเรื่องเล่าเขย่าขวัญ!


แบกเป้พร้อมอุปกรณ์ฉายเดี่ยวจากใต้ขึ้นเหนือสุดระยะทาง 1,811 กิโลเมตรกับภารกิจช่วยเหลือ 13 ชีวิต ด้วยทักษะประสบการณ์ปีนเขาที่บ่มเพาะมานับ 20 ปี จิตอาสากู้ชีพกู้ภัยอย่าง บังโฟล์ค - กำพลศักดิ์ สัสดี สถาปนิกหนุ่มสตูล วัย 41 ปี จึงไม่รีรอที่จะขอเป็นหนึ่งแรงร่วมค้นหาช่วยชีวิตหมูป่า พร้อมเรื่องเล่าลี้ลับตลอดสิบวันกับเหตุการณ์น่าพิศวงชวนอ้าปากค้างของ “ญิน” ในโพรงถ้ำสุดเร้นลับจำแลงมาในรูปแบบ แสง สี เสียง สะพรึง!ลงไปสองคนขากลับขึ้นมาสาม! พร้อมกลุ่มคนจาก “เมืองลับแล” ที่ฟังแล้วขนหัวลุก!


กระทู้: 13 หมูป่า : วีรกรรมถ้ำหลวง
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 21 ก.ค. 18, 15:16
ข่าวหมูป่าไม่เพียงเป็นที่สนใจของสือทั้งไทยและต่างประเทศ ยังเป็นที่สนใจของสื่อต่างดาวอีกด้วย

ขออนุญาตคั่นรายการด้วยเรื่องเล่าหน้าม่านของคุณวินทร์ เลียววาริณ ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๖



"มนุษย์ต่างดาวทำข่าวหมูป่า"

(https://scontent.fnak1-1.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/37397701_2127345130874775_6886455278556938240_o.jpg?_nc_cat=0&oh=1495f04c6b8d8ebba5473bd1533eb5b1&oe=5C110D90)


ลูกค้ารายนี้เหมือนคนปกติทั่วไป นั่งดื่มอย่างสงบเสงี่ยม ทว่าเหตุที่ข้าพเจ้าบอกว่าเขาเหมือนคนปกติทั่วไป ก็เพราะเขาไม่ใช่มนุษย์โลกเรา เขามาจากดาวมะตูมะดาหงา...

“ที่ถูกคือ มะตู๊มะด๊าหงา” เขาเอ่ยแก้คำผิด ราวกับมีพลังโทรจิตอ่านใจข้าพเจ้าได้

“คุณมาทำไม? ที่มะตู๊มะด๊าหงาไม่มีเหล้าขายหรือไฉน?”

“มี แต่ผมชอบรสเหล้าที่นี่มากกว่า อย่างไรก็ตาม ผมไม่ได้เดินทางข้ามดาราจักรหลายร้อยปีแสงมาที่นี่เพราะอยากกินเหล้า ผมมาเพราะสภานักข่าวดาราจักรส่งตัวผมมาให้ทำข่าวเรื่องหนึ่งบนโลกคุณ”

“ทำข่าวเรื่องอันใดเอย?”

“สภานักข่าวดาราจักรสงสัยว่า เกิดอะไรขึ้นบนโลกของคุณ เห็นวุ่น ๆ คล้ายเกิดสงครามโลก อเมริกาส่งทหารไปที่ไทย อีลอน มัสค์ ส่งเรือดำน้ำ อังกฤษส่งนักดำน้ำ ออสเตรเลียส่งหมอ แม้แต่คนทำรังนกยังไป”

“คุณก็รู้ มันไม่ใช่สงครามโลก ตรงกันข้าม มันเป็นเรื่องสันติภาพ โอนลี่”

เขาฮัมเพลง “Imagine there’s no countries
It isn’t hard to do
Nothing to kill or die for...”

“ที่แท้มนุษย์ต่างดาวก็ร้องเพลงได้”

“ผมเป็นแฟน จอห์น นอนเล่น”

“จอห์น เลนนอน”

“นั่นแหละ เรารับคลื่นเพลงได้”

“ถ้าเช่นนั้นคุณก็รู้แล้วว่า ชาวโลกร่วมกันช่วยกู้ภัยหมูป่า”

“ใช่ ตอนนี้ผมรู้แล้ว และส่งข่าวไปให้เจ้านายผมที่มะตู๊มะด๊าหงาเรียบร้อยแล้ว”

“งั้นคุณมากินเหล้าเพราะทำข่าวเสร็จ”

“เปล่า ยังไม่เสร็จ ยังเหลือรอดูสิบสามหมูป่าออกรายการพบปะประชาชนในวันนี้”

เขาชี้ไปยังจอโทรทัศน์ที่กำลังถ่ายทอดสด

“อ้าว! ทำไมคุณไม่ไปทำข่าวที่เชียงรายล่ะ?”

“ผมก็ไปทำข่าวที่เชียงรายอยู่”

“แต่คุณอยู่ที่ร้านเหล้านี้”

“มนุษย์ต่างดาวอย่างผมสามารถแบ่งภาคได้ ตัวตนหนึ่งทำข่าว อีกตัวตนหนึ่งดื่มเหล้า”

“ดีนะ ผู้ชายโลกผมคงอยากแบ่งภาคได้บ้าง ตัวตนหนึ่งอยู่กับเมีย อีกตัวตนหนึ่งไปกินเหล้าข้างนอก ว่าแต่ว่า ในฐานะนักข่าวจากต่างดาว คุณมีความเห็นอย่างไรต่อเหตุการณ์นี้?”

“เป็นเรื่องดี เวรี่ กู๊ด น่าจะเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์มนุษยชาติที่ทุกฝ่ายร่วมมือร่วมใจทำเรื่องยาก สมัครสมานสามัคคี...”

“แต่ อีลอน มัสค์ ทะเลาะกับนักประดาน้ำ”

“ไม่ได้ทะเลาะกันนี่ เขายังมีสัมมาคารวะเรียกอีกคนว่า พี่โด่”

“ที่แท้คำว่า pedo มิใช่คำด่า แต่เรียกพี่”


กระทู้: 13 หมูป่า : วีรกรรมถ้ำหลวง
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 21 ก.ค. 18, 15:19
“โดยรวมการกู้ภัยหมูป่าเป็นการร่วมมือที่ดี ทำให้สภาทหารดาราจักรตัดสินใจเลื่อนแผนยึดโลกไปก่อน”

“ทำไมจะยึดโลก?”

“ก็เพราะพวกคุณทำให้โลกร้อน”

“แต่โลกร้อนมันเรื่องของโลกผม ไม่เกี่ยวกับดาราจักร”

“เกี่ยวซี! เคยได้ยินไหมว่าเด็ดดอกไม้หนึ่งดอกสะเทือนไปถึงดวงดาว? อีกประการ พวกคุณทะเลาะอะไรกัน เราก็ได้ยินนะ เรามีเทคโนโลยีรับคลื่นเสียงได้”

“คุณจะรับคลื่นจากโลกเรา มีใบอนุญาตหรือเปล่า?”

“ไม่มี ไปรับคลื่นโลกอื่นก็ได้”

“แล้วมีอะไรอีกไหมที่คุณว่ามนุษย์ควรเรียนรู้จากเหตุการณ์นี้?”

“การที่สิบสามหมูป่าบอกเล่าความจริง ทำให้เรารู้อย่างหนึ่งว่า เมื่อเกิดเหตุการณ์ชุลมุน ข่าวสารถูกบิดเบือนง่ายมาก อาจโดยไม่ตั้งใจ แม้แต่สำนักข่าวระดับโลกยังเป็น ยกตัวอย่างเช่น เด็ก ๆ ไปฉลองวันเกิดเพื่อนในถ้ำ ไม่ใช่เรื่องจริง เด็ก ๆ ว่ายน้ำไม่เป็น ก็ไม่จริง”

“คงเพราะตอนนั้นใคร ๆ ก็อยากได้ข่าว”

“ผมเป็นนักข่าว เข้าใจดี”

“เราชาวโลกจะพยายามปรับปรุงตัว แต่มันยากนะในเมื่อข่าวปลอมเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของเราไปแล้ว อ้อ! มีอะไรอีกไหมที่คุณคิดว่าน่าสนใจ ต่างจากโลกคุณ?”

“มีสองเรื่อง เรื่องแรกคือ ลำดับก่อนหลังการส่งเด็กออกนอกถ้ำ ไม่ได้ใช้เกณฑ์ความแข็งแรง-อ่อนแอ แต่คือบ้านใครไกลกว่า ออกไปก่อน เออ! คิดได้ไง! อย่างนี้มนุษย์ต่างดาวอย่างผมนึกไม่ออก”

“เรื่องที่สองล่ะ?”

“เรื่องสองน่าขำ นั่นคือ เด็ก ๆ ตั้งใจว่าออกจากถ้ำแล้ว จะขี่จักรยานกลับบ้าน! แต่กลับพบว่าข้างนอกถ้ำไม่มีจักรยาน มีแต่รถยนต์ รถพยาบาล รถตำรวจ รถทหาร รถสูบ รถขุดเจาะ เรือดำน้ำ เฮลิคอปเตอร์ กองทัพ ฯลฯ และคนทั้งโลกจับตาดูอยู่”

“รวมทั้งมนุษย์ต่างดาวก็ยังสนใจ”

“ใช่”

“คุณจะกลับมะตู๊มะด๊าหงาเมื่อไร?”

“ทีแรกผมจะกลับพรุ่งนี้ แต่สภานักข่าวดาราจักรเพิ่งส่งข่าวมาให้ผมอยู่ต่อเพื่อทำข่าวอีกเรื่อง”

“เรื่องอะไร?”

“เรื่องว่าทำไมนักท่องเที่ยวจีนจึงหายไปจากเมืองไทย คุณพอรู้สาเหตุมั้ย?”

https://www.facebook.com/1501588676783760/posts/2127346357541319/


กระทู้: 13 หมูป่า : วีรกรรมถ้ำหลวง
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 24 ก.ค. 18, 16:11
ออสเตรเลียมอบเหรียญสดุดีนักประดาน้ำร่วมภารกิจกู้ภัยในถ้ำหลวง

ซิดนีย์ ๒๔ กรกฎาคม - ทางการออสเตรเลียจัดพิธีอย่างเป็นทางการวันนี้เพื่อมอบเหรียญเชิดชูเกียรติและสดุดีความกล้าหาญของพลเมืองชาวออสเตรเลีย ๙ คนที่เข้าร่วมปฏิบัติการช่วยนักฟุตบอลทีมหมูป่า ๑๓ ชีวิตออกจากถ้ำหลวง  โดยนายกรัฐมนตรีมัลคอล์ม เทิร์นบูลกล่าวว่า การทำงานเป็นทีมของพวกเขาเป็นแบบอย่างที่ดีสำหรับผู้นำทั่วโลก 


ภารกิจช่วยเหลือนักฟุตบอลเยาวชนทีมหมูป่า ๑๒ คน และโค้ช ๑ คนที่ติดอยู่ท่ามกลางน้ำท่วมภายในถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน จ.เชียงรายตั้งแต่ปลายเดือนมิถุนายน ทำให้นักประดาน้ำและอาสาสมัครจากทั่วโลกเข้ามาช่วยเหลือ และประสบความสำเร็จเมื่อ ๑๐ กรกฎาคมที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรีเทิร์นบูลได้จัดงานเพื่อเป็นเกียรติให้กับพลเมืองชาวออสเตรเลียที่เข้าร่วมในปฏิบัติการช่วยเหลือซึ่งเป็นข่าวที่ทั่วโลกให้ความสนใจมาหลายสัปดาห์และถือเป็นความร่วมมือระดับนานาชาติเป็นพิเศษ เซอร์ปีเตอร์ คอสโกรฟ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในสมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธที่ ๒ ของอังกฤษเป็นประธานในพิธีซึ่งจัดขึ้นที่เรือนรับรองของผู้สำเร็จราชการในกรุงแคนเบอร์รา

นายกรัฐมนตรีเทิร์นบูลกล่าวในพิธีที่มีเอกอัครราชทูตไทยประจำออสเตรเลียเข้าร่วมด้วยว่า พวกเขาเป็นแบบอย่างให้กับผู้นำโลกที่ควรจะร่วมมือกัน ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์มอบเหรียญเกียรติยศดวงดาวแห่งความกล้าหาญ ซึ่งเป็นเครื่องหมายประดับเกียรติและยกย่องความกล้าหาญของพลเรือนออสเตรเลียซึ่งนับว่าสูงสุดเป็นอันดับ ๒ให้กับนายแพทย์ริชาร์ด แฮร์ริส วิสัญญีแพทย์ที่ช่วยประเมินสุขภาพทีมหมูป่า เขาออกจากถ้ำหลวงเป็นคนสุดท้ายและยังได้รับข่าวร้ายว่าบิดาถึงแก่กรรม  และนายสัตวแพทย์เคร็ก ชาลเลน สัตวแพทย์ที่ช่วยสอนทีมหมูป่าให้ใช้อุปกรณ์ระหว่างปฏิบัติการออกจากถ้ำ  นอกจากนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจ ๖ นาย และเจ้าหน้าที่กองทัพเรือ ๑ นายยังได้รับมอบเหรียญกล้าหาญเพื่อยกย่องในปฏิบัติการช่วยทีมหมูป่าด้วย

ข่าวจาก สำนักข่าวไทย (http://www.mcot.net/view/5b56d997e3f8e40adcf4a22d?utm_source=TNA&utm_medium=TOPNEWS&utm_campaign=fixtna)


กระทู้: 13 หมูป่า : วีรกรรมถ้ำหลวง
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 24 ก.ค. 18, 16:16
 :D


กระทู้: 13 หมูป่า : วีรกรรมถ้ำหลวง
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 25 ก.ค. 18, 14:31
อังกฤษจัดงานเลี้ยงเพื่อเป็นเกียรติแก่นักดำน้ำในปฏิบัติการถ้ำหลวง

ลอนดอน ๒๕ กรกฎาคม – นายกรัฐมนตรีเธเรซา เมย์ ของอังกฤษ เป็นเจ้าภาพจัดงานเลี้ยงต้อนรับเพื่อเป็นเกียรติแก่นักดำน้ำชาวอังกฤษที่เข้าร่วมในปฏิบัติการช่วยเหลือเด็กนักเรียนและโค้ชทีมฟุตบอลเยาวชนหมูป่า อะคาเดมี ที่ติดอยู่ในถ้ำหลวงในจังหวัดเชียงราย

บรรดาผู้ที่เข้าร่วมในงานเลี้ยงในครั้งนี้ มีนายจอห์น โวลันเธน หนึ่งในนักประดาน้ำ ซึ่งเป็นบุคคลแรกที่ไปพบเด็ก ๆ ที่หายตัวไปในถ้ำในระหว่างปฏิบัติการช่วยเหลือ ที่มีหน่วยซีลของกองทัพเรือไทยเป็นแกนนำและทีมนักประดาน้ำและผู้เชี่ยวชาญด้านถ้ำจากนานาประเทศเข้าร่วมด้วย นายกรัฐมนตรีกล่าวกับนายโวลันเธนว่า ปฎิบัติการช่วยเหลือถือเป็นการทำงานที่น่ามหัศจรรย์มาก แม้นายโวลันเธนจะบอกว่า เขาไม่ใช่ฮีโร่ แต่นางเมย์กล่าวว่า คนส่วนใหญ่เชื่อว่า เขาเป็นฮีโร่ นอกจากนั้น นางเมย์ยังกล่าวแสดงความไว้อาลัยแก่ นาวาตรีสมาน กุนัน อดีตสมาชิกหน่วยซีล ที่เสียชีวิตในระหว่างปฏิบัติการในครั้งนี้ด้วย เธอกล่าวว่า นาวาตรีสมานสละชีวิตตนเองเพื่อช่วยชีวิตบุคคลอื่น ในขณะที่นายโวลันเธนกล่าวว่า เขารู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้ร่วมในภาระกิจที่เป็นความพยายามอย่างเหลือเชื่อในการช่วยชีวิตเด็ก ๆ ครั้งนี้ เขากล่าวว่า เขารู้สึกยินดีที่ได้พบตัวเด็กในถ้ำแต่ก็กังวลเรื่องการพาตัวออกไปจากถ้ำ และเมื่อสามารถช่วยออกมาได้ก็รู้สึกโล่งใจมาก และเขาไม่ได้ให้ความสนใจที่สื่อทั่วโลกที่มาให้ความสนใจ แต่เขามุ่งทำในสิ่งที่จำเป็นต้องทำในขณะนั้น

นายพิษณุ สุวรรณะชฎ เอกอัครราชทูตไทย ประจำกรุงลอนดอน เป็นหนึ่งในแขกรับเชิญที่เข้าร่วมในงานเลี้ยงดังกล่าว ซึ่งจัดขึ้นที่บ้านเลขที่ ๑๐ ถนนดาวนิ่ง ในกรุงลอนดอน ซึ่งเป็นทำเนียบนายกรัฐมนตรีอังกฤษ เมื่อช่วงบ่ายวันอังคารตามเวลาท้องถิ่น นายพิษณุได้ยืนถ่ายรูปพร้อมกับนายกรัฐมนตรีเมย์และคณะนักดำน้ำที่ด้านหน้าประตูสีดำ ซึ่งเป็นทางเข้าบ้านเลขที่ ๑๐ ถนนดาวนิ่ง สภาการดำน้ำกู้ภัยในถ้ำอังกฤษ กล่าวว่า มีนักดำน้ำในถ้ำ ๘ คน และเจ้าหน้าที่กู้ภัยในถ้ำ ๓ คน เข้าร่วมในภารกิจครั้งนี้

 ข่าวจาก สำนักข่าวไทย (http://www.mcot.net/view/5b57cbf8e3f8e40adcf4a55f?utm_source=TNA&utm_medium=TOPNEWS&utm_campaign=fixtna)

https://youtu.be/76WPY4qZ8Rg


กระทู้: 13 หมูป่า : วีรกรรมถ้ำหลวง
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 28 ก.ค. 18, 12:27
https://youtu.be/45rl8XaZxLU

เลื่อนจัดเลี้ยงขอบคุณทีมช่วยเหลือหมูป่าอะคาเดมี

กรุงเทพฯ ๒๘ กรกฎาคม - ปลัดสำนักฯ เผยนายกฯ สั่งให้เลื่อนจัดงานเลี้ยงขอบคุณทีมช่วยเหลือหมูป่าอะคาเดมี ออกไปก่อน เหตุเพราะแขกร่วมงานส่วนใหญ่ไปช่วยน้ำท่วมที่ สปป.ลาว ยืนยันการจัดงานยังคงมีตามเดิม-สถานที่เดิม-รูปแบบเดิมตามที่กำหนด

นางพัชราภรณ์ อินทรียงค์ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้หารือกับ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องการจัดงานเลี้ยงขอบคุณผู้ร่วมปฏิบัติหน้าที่ในการช่วยเหลือเยาวชนและผู้ฝึกสอน ทีมหมูป่าอะคาเดมี ๑๓ คน ออกจากวนอุทยานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน อ.แม่สาย จ.เชียงราย ซึ่งจากเดิมงานเลี้ยงดังกล่าวจะมีขึ้นในวันพุธที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๖๑ แต่เนื่องจากแขกรับเชิญส่วนใหญ่ ทั้งหน่วยกู้ภัย หน่วยงานภาครัฐ เอกชน และประชาชน อยู่ระหว่างปฏิบัติภารกิจให้ความช่วยเหลือกรณีเขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อยแตกที่แขวงอัตตะปือ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ทำให้เกิดน้ำท่วม มีผู้เสียชีวิตและผู้สูญหาย ประชาชนไร้บ้านที่อยู่อาศัย นายกรัฐมนตรีจึงสั่งการให้เลื่อนการจัดงานเลี้ยงดังกล่าวออกไปอย่างไม่มีกำหนด จนกว่าจะถึงเวลาที่เหมาะสม พร้อมยืนยันว่าการจัดงานยังคงมีตามเดิม สถานที่เดิม รูปแบบเดิมตามที่กำหนด

ข่าวจาก สำนักข่าวไทย (http://www.tnamcot.com/view/5b5be62ce3f8e40ad2f4a94b)


กระทู้: 13 หมูป่า : วีรกรรมถ้ำหลวง
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 30 ก.ค. 18, 08:20
จาก FB  ของ Warat Karuchit

หมอ Harris เผยรายละเอียดปฎิบัติการถ้ำหลวง

Dr. Richard Harris ฮีโร่ถ้ำหลวง ได้ไปพูดที่งาน Swan Trauma ที่ออสเตรเลีย เกี่ยวกับรายละเอียดการนำตัวหมูป่าออกจากถ้ำ ดังนี้

- ยาที่ใช้คือ 0.5mg Alprazolam กินทางปาก จากนั้นฉีด Ketamine, 5mg/kg เข้ากล้ามเนื้อ และฉีดเพิ่มอีก 2-4mg/kg ระหว่างทางโดยนักดำน้ำที่ไม่ใช่แพทย์ ด้วยเข็มฉีดยาที่เตรียมไว้แล้ว และยังฉีด Atropine เพื่อป้องกันภาวะน้ำลายออกมากเกินไป (hypersalivation) ซึ่งเชื่อว่าทุกคนน่าจะไม่รู้สึกตัวระหว่างปฎิบัติการณ์ครั้งนี้ อ่านแล้วคิดว่าน่าจะให้เผื่อไว้เลย

- จากคลิปสั้นๆที่ตัดมาจากในงาน Dr. Harris ได้บอกว่า เด็กคนสุดท้ายของวันแรก มีอาการติดเชื้อที่ปอด และเด็กบางคนมีระยะเริ่มต้นของนิวโมเนีย (ดังนั้นถ้าไม่รีบออกมา อาจจะอันตรายมาก)

- Dr. Harris เป็นคนฉีดยาให้เด็กๆ โดยก่อนฉีด ซีลไทยได้อ่านรายละเอียดที่หมอไทย (หมอภาคย์?) เขียน โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. หมอจะให้กินยาเม็ดที่ทำให้ง่วง (น่าจะหมายถึง Alprazolam)
2. ให้ลงมาจากเนินทีละคน นั่งบนตักหมอ แล้วหมอจะฉีดยาให้ที่ขาสองข้าง
3. จากนั้นจะหลับไป แล้วตื่นขึ้นมาบนเตียง

ซึ่งเด็กๆฟังแล้วก็ไม่ได้แสดงอาการตื่นตกใจอะไร (Dr. Harris คิดว่าเด็กๆน่าจะไม่เข้าใจรายละเอียดถึงความเสี่ยงของปฎิบัติการณ์ ซึ่งก็ดีแล้ว หมอ Harris ใช้คำว่า Ignorance is bliss หมายถึง ความไม่รู้คือความสุข)

โดยเด็กๆลงมาทีละคน ที่เหลืออยู่ข้างบนเนินกับซีล จึงไม่เห็นว่าเพื่อนเป็นอย่างไร (ถ้าเห็นอาจจะกลัวได้)

- เดวิด ไรท์ หมอดมยาชาวออสเตรเลียอีกคนได้ทวิตว่า มีการคาดการณ์น้ำหนักเด็กคนสุดท้ายผิด จริงๆหนัก 29 กก. แค่คาดการณ์ว่าหนักกว่านี้ และหน้ากากและชุดสวมไม่พอดี และตอนออกมาจากถ้ำ อุณหภูมิร่างกายเพียงแค่ 29 องศาเซลเซียสเท่านั้นเนื่องจากน้ำเข้าไปในชุด

ฟังแล้วน่าทึ่งและน่านับถือหัวใจคุณหมอมากๆที่กล้าหาญ กล้าเสี่ยงเพื่อช่วยเหลือเด็กๆ รวมทั้งซีลไทยด้วย เรียกว่าเป็นปฎิบัติการที่เสี่ยงมากๆ แพทย์บางคนทวิตบอกว่าถ้าเป็นตัวเองคงไม่กล้าทำ เพราะไม่มีข้อมูลอะไรเลย มีคนหนึ่งเรียกปฎิบัติการณ์นี้ว่าเหมือนการปีนยอดเขาเอเวอร์เรสต์ของการแพทย์ อีกคนเรียกว่าเป็น Hail Mary (เสี่ยงดวงหวังปาฎิหารย์) บางคนบอกว่า และแทบทุกคนนับว่าเป็นปาฎิหารย์ที่สามารถลุล่วงไปโดยที่ทีมหมูป่าปลอดภัยทุกคน ขอบคุณ Dr. Harris มากๆ You are truly a hero!


Source:

https://www.facebook.com/…/a.21673805868…/2178594512370644/…

คลิป Dr. Harris

https://twitter.com/crozi3r_john/status/1022991982426116097
ภาพจาก https://twitter.com/PochinRos/status/1022988011108163584


กระทู้: 13 หมูป่า : วีรกรรมถ้ำหลวง
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 30 ก.ค. 18, 08:44
ยาที่ใช้คือ 0.5mg Alprazolam กินทางปาก จากนั้นฉีด Ketamine, 5mg/kg เข้ากล้ามเนื้อ และฉีดเพิ่มอีก 2-4mg/kg ระหว่างทางโดยนักดำน้ำที่ไม่ใช่แพทย์ ด้วยเข็มฉีดยาที่เตรียมไว้แล้ว และยังฉีด Atropine เพื่อป้องกันภาวะน้ำลายออกมากเกินไป (hypersalivation) ซึ่งเชื่อว่าทุกคนน่าจะไม่รู้สึกตัวระหว่างปฎิบัติการณ์ครั้งนี้ อ่านแล้วคิดว่าน่าจะให้เผื่อไว้เลย

ตรง ketamine โด๊สต่อมา อาจารย์วรัชญ์ ครุจิต น่าจะแปลคลาดเคลื่อน

Keen to know the technical anaesthetic details? The sedation involved 0.5mg oral alprazolam, then intramuscular ketamine, 5mg/kg for induction, with 2.5mg/kg top ups administered by non-medical divers along the way using pre-prepared syringes. 80% oxygen was administered via PEEP masks. And intramuscular atropine to combat hypersalivation.

https://www.facebook.com/2167302566833172/posts/2178594589037303/


กระทู้: 13 หมูป่า : วีรกรรมถ้ำหลวง
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 30 ก.ค. 18, 09:39
แล้วที่ถูกต้องคืออะไรคะ


กระทู้: 13 หมูป่า : วีรกรรมถ้ำหลวง
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 30 ก.ค. 18, 10:10
คำกล่าวของท่านนายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย Malcolm Turnbull ในพิธีมอบเหรียญกล้าหาญเชิดชูเกียรติแด่ทีมกู้ภัยชาวออสเตรเลียที่มาปฏิบัติภารกิจช่วยทีมหมูป่าในประเทศไทยเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคมที่ผ่านมา

ฟังแล้วซาบซึ้งใจจนขอแปลเป็นภาษาไทย เริ่มตั้งแต่วันนั้น แปลมาวันละนิดละหน่อย เพิ่งเสร็จเช้านี้ ขออภัยที่ไม่สวยงามจับใจเท่าต้นฉบับภาษาอังกฤษ
----------------------------------------------------------------------------------
ท่านเอกอัครราชทูตไทยประจำออสเตรเลีย นันทนา ศิวะเกื้อ Honourable Bill Shorten ท่านผู้นำฝ่ายค้าน ท่านเอกอัครราชทูตออสเตรเลียประจำประเทศไทย Paul Robilliard สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร คณะรัฐมนตรี ขอต้อนรับทุกท่าน

และขอต้อนรับวีรบุรุษทุกท่านกลับจากประเทศไทยสู่บ้านอย่างยิ่งใหญ่

ในช่วงการแข่งขันฟุตบอลโลกที่ผ่านมา เรื่องราวที่สร้างแรงบันดาลใจมากที่สุดเกี่ยวกับฟุตบอลนั้นไม่ได้เกิดขึ้นที่รัสเซีย แต่เกิดขึ้นที่ประเทศไทย

ทีมที่สร้างแรงบันดาลใจมากที่สุดไม่ใช่ทีมชาติฝรั่งเศส แต่คือทีมหมูป่า และที่สำคัญที่สุดคือพวกท่าน ทีมกู้ภัยนานาชาติที่ได้ช่วยเหลือพวกเขา

พวกท่านทำให้เราภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง จากความกล้าหาญอย่างไม่เห็นแก่ตนเอง เก่งกาจและมีความเป็นมืออาชีพอย่างสูงสุด

ไม่มีใครที่จะเป็นตัวแทนในการสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศออสเตรเลีย แสดงออกถึงความเป็นออสเตรเลียได้ดีเท่าพวกท่านอีกแล้ว

หากจะพูดถึงความน่าสะพรึงกลัวและฝันร้ายที่ต้องติดอยู่ในความมืด หรือในป่าที่มืดมิด ฝันร้ายที่น่าหวาดกลัวที่สุด คงหาอะไรเทียบได้ยากกับการที่ต้องติดอยู่ใต้ดิน ในความมืด ท่ามกลางระดับน้ำที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่อากาศสำหรับหายใจลดลงไปเรื่อยๆ

ฝันร้ายที่สุดของเด็กสักคน ก็คือสิ่งที่เด็กๆ ทีมหมูป่าต้องเผชิญด้วยตนเอง

และฝันร้ายกว่าสำหรับผู้ปกครอง ก็คือการที่ลูกๆ ที่เขารักยิ่งชีวิต ต้องติดอยู่ในถ้ำ ถูกกลืนกินโดยผืนแผ่นดิน ยากเกินกว่าที่ความช่วยเหลือใดๆ จะเข้าถึงได้

เว้นแต่ว่าไม่มีอะไรเหนือไปกว่าความมุ่งมั่นเหนือความหวาดกลัวของพวกท่าน

การดำน้ำครั้งแรกของท่านเกิดขึ้นโดยไม่มีเชือกนำทางที่เหมาะสม ไม่มีเส้นทางที่ชัดเจนในสายน้ำอันมืดมิด พวกท่านต้องใช้มือสัมผัสผนังถ้ำคลำหาทางในถ้ำอันคดเคี้ยวเลี้ยวลด โดยมีความน่าสะพรึงกลัวที่จะติดอยู่ในซอกหลืบนั้นเสียเอง เพราะไม่สามารถบอกได้เลยว่าเส้นทางซับซ้อนของถ้ำนั้นเป็นเช่นไร

ท่านใช้เวลาเป็นวันๆ ใช้แรงกายแรงใจในการนำถังอากาศ ปั๊ม ท่อ และสายเคเบิ้ลเข้าไปในถ้ำ โดยมีการวางแผนอย่างละเอียดรอบคอบและมีการฝึกซ้อมซ้ำแล้วซ้ำอีกก่อนจะถึงเวลานำเด็กๆ ออกมาจากถ้ำ

พวกท่านได้ใช้ห่วงโซ่แห่งความรักผูกมัดจนเกิดสายใยแห่งมนุษยชาติของผู้คนจากนานาประเทศ เพื่อทำงานร่วมกันทีละขั้นตอนอย่างใส่ใจระมัดระวัง ในที่สุดทีมหมูป่าและโค้ชของเขาก็ได้รับการช่วยเหลือออกมา

ท่านทำงานเคียงบ่าเคียงไหล่กับทีมกู้ภัยของไทย และทีมจากสหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา สาธารณรัฐประชาชนจีน และอีกนานาประเทศ

นับเป็นการทำงานร่วมกันในระดับนานาชาติที่มีความพิเศษอย่างยิ่ง ทำให้นึกไปถึงว่า หากผู้นำในระดับโลกสามารถทำงานร่วมกันได้เช่นนี้ จะดีสักแค่ไหน

ท่านคือบุคคลตัวอย่างของพวกเราทุกคน

ผมได้มีโอกาสพูดคุยกับพวกท่านบางคนหลังจากภารกิจนี้ และถามว่า ทำอย่างไร ผู้คนมากมายจากทุกมุมโลกจึงสามารถทำงานร่วมกันได้ดีเช่นนี้ และท่านตอบว่า เป็นเพราะว่าทุกคนมุ่งมั่นและตั้งใจที่จะทำสิ่งเดียวกัน ก็คือการนำตัวทีมหมูป่าออกมาได้อย่างปลอดภัย

คำพูดใดๆ ก็คงจะไม่สามารถบรรยายได้ว่าภารกิจนี้อันตรายหนักหนาสาหัสมากเพียงไร

และยังตอกย้ำด้วยการสูญเสียอาสาสมัครชาวไทย อดีตเจ้าหน้าที่หน่วยรบทำลายใต้น้ำจู่โจม นาวาตรีสมาน กุนัน ซึ่งเป็นการสูญเสียที่ใหญ่หลวงนัก

ผมทราบว่าหลายท่านในที่นี้ได้ทำงานร่วมกับเขา และได้เข้าไปในถ้ำด้วยเส้นทางเดียวกับเขา ในโถงถ้ำเดียวกันกับเขา

ขอแสดงความนับถือจิตใจอันแข็งแกร่งของพวกท่านที่จะมุ่งหน้าต่อไป หลังจากการเสียชีวิตของเขา

เขาไม่ได้จากไปอย่างเสียเปล่า เราขอส่งความระลึกถึงและร่วมสวดมนต์ภาวนาให้ครอบครัวของเขาในวันนี้

และเราขอขอบคุณครอบครัวของพวกท่าน เพราะตัวท่านเองก็ตกอยู่ในภาวะอันตรายตลอดภารกิจ ซึ่งทำให้ผู้ที่เป็นที่รักของท่านเกิดความกังวลใจไม่น้อยเช่นกัน

เราขอยกย่องทีมกู้ภัยของประเทศไทย ที่ได้ช่วยประสานความร่วมมือจากทุกภาคส่วนและทำหน้าที่ผู้นำในภารกิจนี้

ขอคารวะความเป็นผู้นำที่โดดเด่น ที่สะท้อนให้เห็นจากองค์พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 10 จากรัฐบาลไทย และจากความสนับสนุนที่หลั่งไหลมาอย่างไม่มีที่สิ้นสุดจากประชาชนชาวไทยทั่วทุกสารทิศ

ผมขอขอบคุณทุกภาคส่วนที่ให้การสนับสนุนพวกท่าน เจ้าหน้าที่ของ Department of Foreign Affairs and Trade กรมตำรวจออสเตรเลีย กองทัพออสเตรเลีย ทั้งในประเทศไทยและที่ออสเตรเลียในกรุงแคนเบอร์ร่า และหลายท่านก็อยู่ในที่นี้ในวันนี้

เราไม่ประหลาดใจเลยที่ได้รับทราบว่าทั้งทีมกู้ภัยชาวไทยและชาติต่างๆ ได้แสดงความชื่นชมวิถีแห่งความเป็นออสเตรเลีย คือพร้อมอยู่เสมอที่จะให้ความช่วยเหลือ ปรับและดัดแปลงสิ่งต่างๆ ตามความเหมาะสมเมื่อจำเป็น และไม่เคยท้อถอย

สิ่งที่พวกท่านแสดงให้เห็นคือปฏิบัติการแห่งความรัก การช่วยชีวิตเพื่อนร่วมโลก ผู้ที่อ่อนแอกว่า อายุน้อยกว่า และแข็งแกร่งน้อยกว่า

ท่านได้ช่วยหนุ่มน้อยเหล่านั้น และด้วยการกระทำเช่นนั้น ท่านไม่ได้เพียงแต่สร้างแรงบันดาลใจให้คนในประเทศเดียวกับท่าน ประเทศของเราเท่านั้น แต่ท่านได้สร้างแรงบันดาลใจให้ผู้คนทั่วโลก ที่ได้ร่วมติดตามเหตุการณ์อย่างใจจดจ่อ แทบไม่ได้หายใจและเฝ้าสวดมนต์ภาวนาเพื่อให้ภารกิจนี้สำเร็จ

ในนามของชาวออสเตรเลียทุกคน เราขอขอบคุณท่าน และขอยกย่องสรรเสริญพวกท่าน

กลอยตา ณ ถลาง ผู้แปล
26 กรกฎาคม 2561

(แชร์ได้เลยค่ะ ไม่ต้องขอ ด้วยความยินดีและเป็นเกียรติอย่างยิ่ง แต่ขอความกรุณาให้เครดิตกันสักนิด อย่าลบชื่ออิฉันทิ้งไปเลยนะคะ นะคะ

THE HON. MALCOLM TURNBULL MP
PRIME MINISTER

TRANSCRIPT

Tuesday, 24 July 2018

Remarks at the Afternoon Reception in recognition of the Australian Chiang Rai Rescue Team
Government House, Canberra

E&OE…

PRIME MINISTER:

Your Excellency’s, Ambassador Sivakua, the Honourable Bill Shorten, Leader of the Opposition, Your Excellency Paul Robilliard, our Ambassador to Thailand, my parliamentary colleagues and ministerial colleagues. Welcome, and a big welcome home to our heroes from Thailand.

During the World Cup, the most inspiring story about football wasn't in Russia, it was in Thailand.

The most inspiring teams were not Les Bleus but the Wild Boars, and you above all, the all Nations team that rescued them.

You made us so proud, selflessly courageous, superbly, professionally competent.

We could not have better ambassadors showing the best of our Australian values than you.

Of all the dark, primeval nightmares, few can match that of being trapped underground, in the dark with the water rising, the oxygen running out.

A child's worst nightmare was anything but the stuff of dreams for the Wild Boars.

And what nightmare worse for parents to have the kids they love more than life itself, trapped, swallowed up by the Earth, beyond help.

Except, they were not beyond help because, extraordinary deeds were not beyond you.

Your first dives were done without a proper guide rope, and so there was no defined path through those dark waters. You had to feel your way through the twists and turns of a cave system, with the very real threat all the time of being tangled and trapped.

You spent days laboriously moving hundreds of air tanks; pumps, pipes and cables into the cave. With meticulous planning and rehearsals before it was time for the rescue.

You formed an international human chain, and step by careful step, the Wild Boars and their coach were carried to safety.

You worked side by side with the Thai Rescue Team and crews from the United Kingdom, the United States, China and beyond.

It was an extraordinary international effort, if only leaders were as collaborative as you were.

You held up an example to us all.

I spoke to some of you shortly after the rescue and asked, how so many people from all over the world had worked so well together, and you said, it was because everyone was focussed on the same thing; getting those boys out safely.

It's impossible to overstate how dangerous was your task.

This is underscored by the tragic death of the Thai volunteer and former Thai Navy SEAL, Petty Officer Saman Kunan, it’s a terrible loss.

I know that some of you had worked alongside him and had travelled the same sections of the cave system that he had.

It’s to your great credit you found the strength to keep going after his death.

He did not die in vain and his family is in our thoughts and prayers, today.

We also thank your families, you were in danger throughout the rescue effort, and this must have been a huge strain on your loved ones as well.

We pay tribute to the Thai Rescue Team, who coordinated and led the rescue.

The outstanding leadership, shown throughout from His Majesty the King and the Royal Thai Government, and the unwavering support of the People of the Kingdom of Thailand.

I also thank everyone who supported you; officers from the Department of Foreign Affairs and Trade, the Australian Federal Police and the Australian Defence Force, both in Thailand and back home, here in Canberra, some of whom are here today.

We are not surprised to be told that the Thai’s and the others in the rescue team appreciated the very Australian way in which you were always ready to have a go, lend a hand, improvise and never give up.

Yours was a mission of practical love. To save the lives of others, weaker, younger, more vulnerable.

You saved those young men and as you did, so inspired not just your own nation, our nation - but holding its breath, and praying for your success - you inspired the whole world.

On behalf of all Australians, we thank you, and we salute you.


กระทู้: 13 หมูป่า : วีรกรรมถ้ำหลวง
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 30 ก.ค. 18, 10:12
ยาที่ใช้คือ 0.5mg Alprazolam กินทางปาก จากนั้นฉีด Ketamine, 5mg/kg เข้ากล้ามเนื้อ และฉีดเพิ่มอีก 2-4mg/kg ระหว่างทางโดยนักดำน้ำที่ไม่ใช่แพทย์ ด้วยเข็มฉีดยาที่เตรียมไว้แล้ว และยังฉีด Atropine เพื่อป้องกันภาวะน้ำลายออกมากเกินไป (hypersalivation) ซึ่งเชื่อว่าทุกคนน่าจะไม่รู้สึกตัวระหว่างปฎิบัติการณ์ครั้งนี้ อ่านแล้วคิดว่าน่าจะให้เผื่อไว้เลย

ตรง ketamine โด๊สต่อมา อาจารย์วรัชญ์ ครุจิต น่าจะแปลคลาดเคลื่อน

Keen to know the technical anaesthetic details? The sedation involved 0.5mg oral alprazolam, then intramuscular ketamine, 5mg/kg for induction, with 2.5mg/kg top ups administered by non-medical divers along the way using pre-prepared syringes. 80% oxygen was administered via PEEP masks. And intramuscular atropine to combat hypersalivation.

https://www.facebook.com/2167302566833172/posts/2178594589037303/


ผิดตรง 2.5mg/kg top ups ไปแปลเป็น ฉีดเพิ่มอีก 2-4mg/kg หรือครับ


กระทู้: 13 หมูป่า : วีรกรรมถ้ำหลวง
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 30 ก.ค. 18, 10:38
จำคุณหมอ CVT ได้ไหมครับ ท่านโพสต์ลง FB ปานเทพ คณานุรักษ์ ของท่านว่าดังนี้


ผมไม่มี twitter เลยไม่ได้ฟังที่ Dr.Harris พูด
แต่จากที่อาจารย์วรัชญ์แปลมา ผมว่าทุกอย่างโอเคเลย โดยเฉพาะประเด็นเรื่องยา

การให้กิน alprazolam 0.5 mg ยาตัวนี้เป็นยาคลายความกังวล จะออกฤทธิ์ภายใน ๑๐ นาที
จากนั้นฉีด ketamine เข้ากล้ามเนื้อ ในขนาด 5mg/kg เพื่อให้หลับ แล้วซ้ำอีกครั้ง 2-4 mg/kg
ketamine ที่ฉีดใช้ปริมาณยาในระดับต่ำ จะออกฤทธิ์ภายใน ๑-๒ นาที

ปริมาณยาทั้ง ๒ ตัว ไม่ทำให้เกิดการกดการหายใจ ปกติในการทำหัตถการบางอย่างที่ต้องการให้คนไข้หลับในเวลาสั้น วิสัญญีแพทย์ก็จะใช้วิธีการนี้ พอคนไข้หลับก็จะครอบหน้ากากดมออกซิเจน

ข้อเสียของ ketamine คือคนไข้มักจะมีอาการหลอน เวลายาหมดฤทธิ์ใกล้ตื่นคนไข้มักจะเพ้อโวยวาย คนทั้วไปเห็นอาจจะตกใจ


กระทู้: 13 หมูป่า : วีรกรรมถ้ำหลวง
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 30 ก.ค. 18, 17:49
และฉีดเพิ่มอีก 2-4mg/kg ระหว่างทางโดยนักดำน้ำที่ไม่ใช่แพทย์ ด้วยเข็มฉีดยาที่เตรียมไว้แล้ว

ตัวเลข ๒-๔ มก./กก. น่าจะมาจากข้างล่างนี้

IM Ketamine 5 mg/kg  (re-dosed by divers 2-4 times using half dose)


จาก https://mobile.twitter.com/GongGasGirl


กระทู้: 13 หมูป่า : วีรกรรมถ้ำหลวง
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 30 ก.ค. 18, 20:39
ตรง ketamine โด๊สต่อมา อาจารย์วรัชญ์ ครุจิต น่าจะแปลคลาดเคลื่อน

ที่ถูกต้องคือ ๒.๕ มก./กก. (half dose)


กระทู้: 13 หมูป่า : วีรกรรมถ้ำหลวง
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 31 ก.ค. 18, 10:12
อึ้ง....เปิดคลิปครั้งแรก "ภารกิจซีลดำน้ำใน ถ้ำหลวง ระหว่างภารกิจช่วยเหลือทีมหมูป่า"

https://www.facebook.com/UNGNEWS/videos/985435101645741/?hc_ref=ARQWx90E1_sRUSRkr00tn5K2H4b1JosgZO5Trk6X3YiW5GF1bI2Jv4O4kMAwGqwaGtM


กระทู้: 13 หมูป่า : วีรกรรมถ้ำหลวง
เริ่มกระทู้โดย: CVT ที่ 31 ก.ค. 18, 11:35
จำคุณหมอ CVT ได้ไหมครับ ท่านโพสต์ลง FB ปานเทพ คณานุรักษ์ ของท่านว่าดังนี้


ผมไม่มี twitter เลยไม่ได้ฟังที่ Dr.Harris พูด
แต่จากที่อาจารย์วรัชญ์แปลมา ผมว่าทุกอย่างโอเคเลย โดยเฉพาะประเด็นเรื่องยา

การให้กิน alprazolam 0.5 mg ยาตัวนี้เป็นยาคลายความกังวล จะออกฤทธิ์ภายใน ๑๐ นาที
จากนั้นฉีด ketamine เข้ากล้ามเนื้อ ในขนาด 5mg/kg เพื่อให้หลับ แล้วซ้ำอีกครั้ง 2-4 mg/kg
ketamine ที่ฉีดใช้ปริมาณยาในระดับต่ำ จะออกฤทธิ์ภายใน ๑-๒ นาที

ปริมาณยาทั้ง ๒ ตัว ไม่ทำให้เกิดการกดการหายใจ ปกติในการทำหัตถการบางอย่างที่ต้องการให้คนไข้หลับในเวลาสั้น วิสัญญีแพทย์ก็จะใช้วิธีการนี้ พอคนไข้หลับก็จะครอบหน้ากากดมออกซิเจน

ข้อเสียของ ketamine คือคนไข้มักจะมีอาการหลอน เวลายาหมดฤทธิ์ใกล้ตื่นคนไข้มักจะเพ้อโวยวาย คนทั้วไปเห็นอาจจะตกใจ

ตามที่มีการแก้ไขเป็นให้ half dose ซ้ำอีก ๒-๔ ครั้ง ก็ยังนับว่าปลอดภัยครับ
ปกติ ketamine ฉีดเข้ากล้ามเนื้อจะมีฤทธิ์อยู่ประมาณ ๓๐ นาทีครับ
หากใช้เวลาเคลื่อนย้ายนานเกิน ๓๐ นาที ก็ต้องฉีดซ้ำครับ


กระทู้: 13 หมูป่า : วีรกรรมถ้ำหลวง
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 31 ก.ค. 18, 21:03
ยาที่ใช้คือ 0.5mg Alprazolam กินทางปาก จากนั้นฉีด Ketamine, 5mg/kg เข้ากล้ามเนื้อ และฉีดเพิ่มอีก 2-4mg/kg ระหว่างทางโดยนักดำน้ำที่ไม่ใช่แพทย์ ด้วยเข็มฉีดยาที่เตรียมไว้แล้ว และยังฉีด Atropine เพื่อป้องกันภาวะน้ำลายออกมากเกินไป (hypersalivation) ซึ่งเชื่อว่าทุกคนน่าจะไม่รู้สึกตัวระหว่างปฎิบัติการณ์ครั้งนี้ อ่านแล้วคิดว่าน่าจะให้เผื่อไว้เลย

ฉบับแก้ไข  ;D


กระทู้: 13 หมูป่า : วีรกรรมถ้ำหลวง
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 01 ส.ค. 18, 06:58
จาก FB  ของคุณ WaenPloy Chitt-amphai

ไม่ค่อยมีสื่อต่างชาติมาทำสารคดีให้ประเทศเราแบบทุ่มเทขนาดนี้มาก่อน อยากให้ดูกันเยอะๆ โปรดักชั่นทำดีจริงๆ การสัมภาษณ์ก็ดูสมูทเหมือนนั่งลุ้นไปกับเพื่อนฝูง คนสัมภาษณ์คือแมทกัทแมน นักข่าว abc ที่มาอยู่ไทยกับเจมส์ลองแมนและผู้หญิงอีกคน สำนักข่าวนี้เค้าดูมี passion กับเรื่องนี้มากๆ มาเกาะติดตั้งแต่วันแรกๆ อยู่จนส่งน้องบวชและกลับไปเป็นเจ้าสุดท้าย ขอบคุณ ABC News

Part 1
https://youtu.be/k3NB9-x8itY

Part 2
https://youtu.be/Kefr9x-5usw

Part 3
https://abcnews.go.com/2020/video/big-home-runs-boys-rescued-thai-cave-days-56879466

Part 4
https://abcnews.go.com/2020/video/cave-divers-face-multiple-obstacles-day-thai-cave-56879162

Part 5
https://abcnews.go.com/2020/video/boys-apologize-parents-cave-coach-calm-part-56879108

Part 6
https://abcnews.go.com/2020/video/life-life-boys-coach-thai-cave-rescue-part-56879022





กระทู้: 13 หมูป่า : วีรกรรมถ้ำหลวง
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 01 ส.ค. 18, 09:19
เบื้องหลังภารกิจ ช่วย ๑๓ ชีวิตที่ถ้ำหลวง ออกอากาศช่อง Thai PBS

ตอนที่ ๑

https://youtu.be/5ISvrDmb6WM

ตอนที่ ๒

https://youtu.be/ABr-Ao-E-Kk


กระทู้: 13 หมูป่า : วีรกรรมถ้ำหลวง
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 05 ส.ค. 18, 08:06
นายริชาร์ด หรือ ริค สแตนตัน หนึ่งในนักดำน้ำผู้พบตัวสมาชิกทีมหมูป่าเป็นคนแรก ๆ ได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติ Coventry Award of Merit จากทางการเมืองโคเวนทรีของอังกฤษซึ่งเขาพำนักอยู่ เพื่อยกย่องที่เขามีส่วนร่วมในภารกิจช่วยชีวิตนักฟุตบอลและโค้ชทั้ง ๑๓ คนที่ติดอยู่ในถ้ำหลวง จ.เชียงราย เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา

นายสแตนตัน อดีตเจ้าหน้าที่ดับเพลิง บอกว่า รู้สึกซาบซึ้งใจต่อสิ่งที่ผู้คนแสดงออกมาและเข้าใจบทบาทของเขาในภารกิจช่วยชีวิตครั้งนี้ ซึ่งไม่ใช่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ทุกวัน

การมอบรางวัลนี้มีขึ้นเพื่อยกย่องชาวเมืองโคเวนทรีผู้มีความมานะอุตสาหะในการทำประโยชน์เพื่อสังคม ซึ่งนอกจากรางวันนี้แล้ว ทางการเมืองโคเวนทรีจะมอบรางวัลเชิดชูเกียรติพลเมืองดี Good Citizen Award ให้แก่นายสแตนตันจากวีรกรรมที่เขาทำในประเทศไทยอีกด้วย

นายจอร์จ ดักกินส์ ผู้บริหารทางการเมืองโคเวนทรี กล่าวว่า

"ริค คือวีรบุรุษที่แท้จริง" และ "ภารกิจช่วยชีวิตนี้ได้รับความสนใจจากนานาชาติเพราะคนทั่วโลกต่างเฝ้ารอว่าผลจะออกมาเป็นเช่นไร และผมในฐานะตัวแทนชาวเมืองโคเวนทรีสามารถพูดได้ว่าเราต่างภาคภูมิใจที่หนึ่งในบุคคลสำคัญของปฏิบัติการกู้ภัยครั้งนี้เป็นคนจากเมืองของเรา...เขาเป็นแรงบันดาลใจให้ชาวเมืองและพวกเราหวังว่ารางวัลเชิดชูเกียรตินี้จะแสดงให้เห็นว่าเขาเป็นสมาชิกที่มีคุณค่าเพียงใดของเมืองโคเวนทรี"

https://www.facebook.com/1526071940947174/posts/2157220134499015/

https://www.bbc.com/news/uk-england-coventry-warwickshire-45057491


กระทู้: 13 หมูป่า : วีรกรรมถ้ำหลวง
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 13 ส.ค. 18, 18:52
ข่าวสารเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้ซาลงไปมากแล้ว  ก็เลยจะขอแสดงความเห็นบางส่วนในเรื่องของการบริหารจัดการกระบวนการกู้ภัยในครั้งนี้

เมื่อครั้งได้ร่วมทำงานอยู่ในโครงการแรกเริ่มเพื่อสร้างระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) สำหรับประเทศไทยเรา ซึ่งได้เริ่มอย่างเป็นเรื่องเป็นราวแบบเป็นระบบโดยกรมทรัพยากรธรณีเมื่อประมาณ 30 ปีที่ผ่านมา  ได้เรียนรู้จากหน่วยงานของ ตปท. (ไอร์แลนด์ ออสเตรเลีย USGS) ซึ่งได้ดำเนินการไปจนเริ่มประสบผลสำเร็จ และกำลังพัฒนาเข้าไปสู่ระบบ NAV System ที่เราใช้กันอยู่แพร่หลายในปัจจุบันนี้

ก็มีคำอยู่สามสี่คำที่เป็นเงื่อนไขไปสู่ความสำเร็จในการดำเนินการในเรื่องใหม่ๆที่ต่างคนต่างก็ยังไม่มีใครเป็นผู้รู้ที่แท้จริง หรือเป็นงานที่ได้เคยประสบผลสำเร็จและมีรูปแบบที่พอจะนำมาวิเคราะห์(ลอก)เลียนแบบกันได้ (ในลักษณะของ Empirical approach)  ก็มีคำว่า Sponsor, Mentor, Actor, และ User     


กระทู้: 13 หมูป่า : วีรกรรมถ้ำหลวง
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 13 ส.ค. 18, 19:32
ทั้งสี่คนหรือสี่ฝ่ายนี้ จำเป็นจะต้องมีความเข้าใจ มีความเชื่อใจ และมีความไว้ใจซึ่งกันและกันเป็นพื้นฐานที่สำคัญ 

ในเรื่องของการดำเนินการโครงการที่ผมอ้างถึงนั้น เราเรียกว่า System sponsor, System mentor, System actors, และ End users

การสื่อสารและการรับรู้เรื่องราวระหว่างทั้งสี่คนนี้จะมีอยู่ตลอด ซึ่งที่มีมากที่สุดจะเป็นระหว่าง Mentor กับ Actors (หรือเรียกว่า processors)  งานที่ดำเนินการด้วยกันทั้งหมดจะเป็นไปบนฐานของการคิดในทางบวก (positive thinking) ในลักษณะของการผสมผสานระหว่าง empirical approach กับ theoretical approach    ซึ่งก็แน่นอนครับที่จะต้องมีคนที่ไม่เห็นด้วยและคิดขวางคลอง ซึ่งหมายถึงคิดในทางลบแบบไม่เอาอย่างเดียว ไม่เห็นด้วยในทุกเรื่อง ทุกเรื่องมีปัญหาไปหมด ก็เป็นพวกที่มี mindset แบบ negative thinking   ก็เป็นของคู่กันเป็นปกติธรรมดาตามธรรมชาติ 

ต้องขออภัยนะครับที่มีคำภาษาอังกฤษมากไปหน่อย ด้วยมันสื่อความหมายได้ลึกมากกว่า


กระทู้: 13 หมูป่า : วีรกรรมถ้ำหลวง
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 13 ส.ค. 18, 19:37
ก็คงจะพอนึกออกในความหมายและการกระทำของคนในสี่ฝ่ายนี้  แล้วค่อยขยายครับว่าจะคิดตรงกันหรือไม่


กระทู้: 13 หมูป่า : วีรกรรมถ้ำหลวง
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 13 ส.ค. 18, 19:50

ก็มีคำอยู่สามสี่คำที่เป็นเงื่อนไขไปสู่ความสำเร็จในการดำเนินการในเรื่องใหม่ๆที่ต่างคนต่างก็ยังไม่มีใครเป็นผู้รู้ที่แท้จริง หรือเป็นงานที่ได้เคยประสบผลสำเร็จและมีรูปแบบที่พอจะนำมาวิเคราะห์(ลอก)เลียนแบบกันได้ (ในลักษณะของ Empirical approach)  ก็มีคำว่า Sponsor, Mentor, Actor, และ User     

ขออภัย  คนอ่านเรือนไทยมีอยู่ไม่น้อยที่ไม่ถนัดเรื่องศัพท์ภาษาอังกฤษ   ถ้าคุณตั้งจะกรุณาให้คำจำกัดความศัพท์พวกนี้ได้ก็จะทำให้ติดตามเรื่องได้ง่ายขึ้นมากค่ะ
Empirical approach  sponsor  mentor actor  user
 


กระทู้: 13 หมูป่า : วีรกรรมถ้ำหลวง
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 14 ส.ค. 18, 19:11
ครับผม
 
ย้อนกลับไปอ่านจึงได้รู้ว่าที่เขียนมานั้นมันสื่อความออกไปไม่ชัดเจน ทั้งในด้านการลำดับเรื่องและการขมวดประเด็นเพื่อการถกกันต่อไป

ก็ตั้งใจจะขยายความศัพท์ภาษาอังกฤษทั้งหมดต่อไปอยู่แล้วครับ เพราะคำเหล่านั้นเป็นคำที่เมื่อใช้ในทางเทคนิค/วิชาการ มันก็จะมีความหมายเฉพาะทางลึกๆของมันเองในเรื่องนั้นๆ       


กระทู้: 13 หมูป่า : วีรกรรมถ้ำหลวง
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 14 ส.ค. 18, 20:37
การกระทำหรือการทำงานเพื่อค้นหาหรือแสวงหาสิ่งใดๆที่ไม่เคยมีการกล่าวถึงหรือที่อยู่นอกเหนือตำราหรือเอกสารที่มิได้เคยมีการบันทึกใดๆมาก่อนเลย นั้น  หลักในการดำเนินการอย่างหนึ่งที่นำมาปฎิบัติกัน  จะเรื่มด้วยการศึกษาข้อมูล ข้อเท็จริง และเรื่องราวความเป็นจริงเท่าที่เคยเกิดมาที่ใกล้เคียงหรือที่พอจะเทียบเคียงได้  เพื่อจะได้รู้ถึงสิ่งที่เป็นแก่นหรือเป็นแกนร่วมของสิ่งที่เกิดขึ้นเหล่านั้น   กระบวนการกระทำงานในด้านนี้จัดอยู่ในเรื่องที่เรียกว่า empirical approach ในภาษาไทยก็น่าจะเรียกว่า กระบวนการสืบค้นแบบเทียบเคียงกับสิ่งที่เคยเกิดขึ้นในอดีต

เมื่อมีความมุ่งมั่นว่าจะว่าจะต้องประสบผลสำเร็จ ก็จำเป็นจะต้องเอาข้อมูลหรือข้อเท็จจริงที่ได้จากการศึกษาทางทฤษฎีหรือผลจากการทดลองทางทฤษฎีที่เป็นแก่น เอามาผนวกเข้าด้วยกันแล้วดูความเป็นไปได้มากที่สุดว่าเงื่อนไขที่เป็นหัวใจจริงๆของความสำเร็จนั้นๆคืออะไรและภายใต้เงื่อนไขยิ่งยวดอะไร  กระบวนการกระทำงานในด้านนี้จัดอยู่ในเรื่องที่เรียกว่า theoretical approach ในภาษาไทยก็น่าจะเรียกว่า กระบวนการสืบค้นความเป็นไปได้ในทางทฤษฎี

เอาทั้งสองของข้อมูลที่เป็นแก่นนี้มาประมวลเข้าด้วยกันเพื่อประเมินความเป็นไปได้ โอกาสของความสำเร็จ และความเสี่ยงต่างๆ แล้วจึงตัดสินใจจะลงมือปฎิบัติหรือไม่ปฎิบัติการใดๆ


กระทู้: 13 หมูป่า : วีรกรรมถ้ำหลวง
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 15 ส.ค. 18, 18:05
พักกระบวนการคิดไว้ก่อน  มาดูกระบวนการกระทำ

ในกระบวนการกระทำก็จะมีอยู่ 2 ด้าน คือ ด้านการบริหาร และด้านปฎิบัติการ

ด้านบริหารนั้น แน่นอนว่าจะต้องมีหัวหน้าใหญ่ของทีม ทำหน้าที่ในด้านงานอำนวยการเพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพยากรที่จะต้องใช้ในการดำเนินงานต่างๆให้สามารถดำเนินการหรือปฎิบัติการไปได้ด้วยดี เพื่อไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้  บุคคลผู้นี้ ในแนวคิดที่ผมอ้างถึงนั้น เขาใช้คำว่า Sponsor  ซึ่งมิใด้หมายถึงผู้ให้การอุปถัมภ์ (สนันสนุนเงินทุน...) ในความหมายตามที่เราเข้าใจกันตามปกติ (ซึ่งไปตรงกับคำว่า Foster)

เมื่อสปอนเซอร์ในที่นี้มีหน้าที่ทำเพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพยากรที่ต้องการ ก็จะหมายถึงบุคคลที่มีอำนาจหน้าที่อยู่ในระดับที่สามารถจะไปเจรจาต่อรองกับผู้มีอำนาจในระบบของทรัพยากรที่เราต้องการนั้นๆ   ซึ่งก็แน่นอนว่าผู้ที่อยู่ในระดับสปอนเซอร์นี้ย่อมจะไม่มีความรอบรู้ในรายละเอียดของโครงการซึ่งเป็นเรื่องปกติที่จะมีเรื่องในด้านเทคนิดเฉพาะทางมาก


กระทู้: 13 หมูป่า : วีรกรรมถ้ำหลวง
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 15 ส.ค. 18, 18:41
ก็จำเป็นที่จะต้องมีหัวหน้าทีมในด้านปฎิบัติการ ที่จะสามารถแปลเรื่องยากทางเทคนิคให้เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ง่าย สามารถอธิบายถ่ายทอดความต้องการอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ หรือทรัพยากรใดๆที่แปลกหรืออาจจะดูไม่เกี่ยวข้องกับงานนั้นๆเลย  บุคคลนี้หรือกลุ่มนี้จะเป็นพวกที่มีพื้นฐานมากพอในความรู้ความเข้าใจทั้งในด้านเทคนิควิชาการและในด้านระบบการบริหารจัดการ ทำหน้าที่สื่อสารและประสานกับสปอนเซอร์เพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพยากรที่ต้องการของผ้ปฎิบัติงาน  ในภาพดังกล่าวนี้ตามปกติเราจะนึกถึงคำว่า ที่ปรึกษา (Adviser)  แต่ด้วยที่มิใช่เป็นการทำงานในลักษณะของการ ถามมา-ตอบไป    เขาก็ใช้คำว่า Mentor (ซึ่งก็แปลเป็นไทยว่าที่ปรึกษา) ผู้สันทัดกรณี ?


กระทู้: 13 หมูป่า : วีรกรรมถ้ำหลวง
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 15 ส.ค. 18, 19:09
ก็มาถึงผู้ปฎิบัติ    ในงานหนึ่งๆก็จะประกอบไปด้วยคนที่จบมาจากต่างสาขาวิชา ต่างวิชาชีพ ต่างอาชีพ ต่างความสันทัด หลากหลายความรู้ ที่เรียกเป็นนัก...ต่างๆเหล่านั้น    กลุ่มคนเหล่านี้เป็นผู้ปฎิบัติงานที่มีความชำนาญเฉพาะทาง ทำงานเชื่อมโยงประสานกันเพื่อให้เกิดผลสำเร็จ ภาษาไทยก็น่าจะเรียกว่า กลุมผู้ทำงาน ซึ่งคงจะใช้คำภาษาอังกฤษได้หลายคำ ขึ้นอยู่กับลักษณะงาน (ก็เช่น actors, operators, workers...)   

สุดท้ายก็คือผู้ใช้หรือผู้ได้รับประโยชน์ที่ได้จาการดำเนินการนั้นๆ จะตรงกับคำว่า Beneficiary   (ผมติดปากใช้คำว่า User ในงานที่ผมเคยทำครับ)   


กระทู้: 13 หมูป่า : วีรกรรมถ้ำหลวง
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 15 ส.ค. 18, 19:36
ดูเหมือนเรื่องราวในกระบวนการดำเนินการช่าวเหลือ 13 หมูป่าทั้งหลายนั้น อยู่ในกรอบของหลักการที่ได้กล่าวถึง แล้วก็คิดว่าผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดและทุกระดับ ได้ตระหนักถึงหน้าที่ ความรับผิดชอบ การให้ความเห็นที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง และรู้ถึงขอบเขตอันพึงกระทำการของตน   

เป็นเรื่องที่สมควรได้รับยกย่องอย่างแทัจริง

 


กระทู้: 13 หมูป่า : วีรกรรมถ้ำหลวง
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 16 ส.ค. 18, 18:48
การดำเนินและการปฎิบัติการความช่วยเหลือในครั้งนี้  เต็มไปด้วยเรื่องทางเทคนิคและวิชาการเฉพาะทาง ในระดับที่ต้องมีองค์ความรู้ลึกลงไปถึงด้านทฤษฎี หลากหลายสาขาวิชา และหลากหลายความเชี่ยวชาญและความชำนาญการเฉพาะทาง    ยากที่ท่านผู้ว่าฯจะมีความรู้ครอบคลุมในทุกเรื่องลึกไปถึงระดับนั้น และยากที่จะเข้าใจถึงความต้องการของผู้ชำนาญการเฉพาะทางที่กำลังปฎิบัติการอยู่เหล่านั้น

แต่เมื่อมันเป็นการดำเนินงานที่มีเป้าหมายว่าจะต้องได้รับความสำเร็จ  ซึ่งท่านผู้ว่าฯมีภาระต้องเป็นผู้แสวงหาทรัพยากรมาให้ทีมงานอย่างเพียงพอในการดำเนินงาน ก็จึงจำเป็นที่จะต้องมีความเข้าใจมากพอที่จะประมวลและอธิบายความต้องการทางเทคนิคเหล่านั้นในลักษณะที่เข้าใจง่ายๆให้ผู้มีอำนาจ เพื่อที่จะให้ความเห็นชอบและให้การสนับสนุนความต้องการต่างๆเหล่านั้น  ตัวอย่างหนึ่งก็น่าจะเป็นบางเรื่องทางด้านเอกสิทธิ์ (immunity)

ในรูปการณ์เช่นนี้ ก็ย่อมจะต้องมีผู้ที่ทำหน้าที่เชื่อมโยงระหว่างฝ่ายปฎิบัติงานกับฝ่ายอำนวยการ   เป็นเรื่องของการขอ มิใช่เรื่องของการถาม(เพื่อขอความเห็น) ซึ่งผู้ที่ทำงานในระดับนี้สำหรับปฎิบัติการในครั้งนี้ก็มีอาทิ ท่านผู้บัญชาการหน่วยซีล  และหัวหน้าส่วนราชการ   ซึ่งบุคคลเหล่านี้เราคงจะเรียกในองค์รวมว่าที่ปรึกษา


กระทู้: 13 หมูป่า : วีรกรรมถ้ำหลวง
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 16 ส.ค. 18, 19:19
ก็ได้ภาพของการสื่อสารที่มีความเข้าใจกันอย่างค่อนข้างจะถ่องแท้ระหว่างฝ่ายผู้ครองทรัพยากร ฝ่ายอำนวยการ และผ่ายปฎิบัติการ   เป็นภาพชองการสื่อสารขึ้นบน-ลงล่างแบบมีแต่สาระ มีแต่ข้อมูลที่ไร้การแต่งเติมเสริมแต่ง เป็นข้อมูลปฐมภูมิวันต่อวัน  และเป็นข้อมูลทุกแง่ทุกมุมในเชิงวิชาการ  แล้วก็เชื่อว่าได้มีการถกกัน หารือกันลึกๆในทางวิชาการในหมู่คนที่ทำงานหรือที่มีความรู้ในศาสตร์เดียวกัน (อย่างน้อยก็บรรดาน้องๆในวิชาชีพเดียวกันกับผมที่อยู่ทั้งในพื้นที่หน้างาน ในเมือง และที่ทำงานอยู่ใน ตปท.ใกล้เคียง)   


กระทู้: 13 หมูป่า : วีรกรรมถ้ำหลวง
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 16 ส.ค. 18, 19:39
ขอต่ออีกเล็กน้อยครับ

ผมเห็นว่า ในกระบวนการตัดสินใจของท่านผู้ว่าฯและคณะที่นั่งประชุมร่วมกันในแต่ละวันนั้น ว่าจะทำอะไร จะไม่ทำอะไร จะดำเนินการอย่างไร หรือจะไม่ดำเนินการอย่างไร  อยู่บนพื้นฐานของแนวทางปฎิบัติที่เรียกว่า Delphi technique (หรือ Delphi method)  ซึ่งนิยมใช้กันในทางทหารและในการศึกษาเพื่อกำหนดแนวนโยบายของรัฐในด้านการแข่งขันของประเทศ 


กระทู้: 13 หมูป่า : วีรกรรมถ้ำหลวง
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 ส.ค. 18, 08:38
อ่านบทวิเคราะห์ของท่านตั้งติดต่อกันมาหลายคืนแล้ว ผมมีความรู้สึกว่าเมื่อเหตุการณ์เด็กหายเข้าไปในถ้ำเกิดขึ้น ท่านผู้ว่าท่านคงปฏิบัติไปตามสถานการณ์รายวันโดยไม่มีเวลานึกถึงตำรา หรือมีโมเม้นต์อะไรที่ต้องนำมาเทียบกับศัพท์วิชาการที่ท่านตั้งค้นหามา

คือ ท่านคงทำไปตามสิ่งที่ท่านคิดว่าเหมาะสมที่สุดในสถานการณ์นั้นๆหรือนาทีนั้นๆ  การที่ท่านตัดสินใจถูก(มากกว่าผิด)ในเรื่องสำคัญๆ หัวใจอยู่ที่ว่า ท่านรับฟังความเห็นของผู้เชี่ยวชาญเฉพาะเรื่อง ไม่ได้ใช้อำนาจของตำแหน่งทุบโต๊ะสั่ง ผมเชื่อว่า การให้เกียรติผู้ที่ร่วมประชุมทำให้ทุกฝ่ายยินดีที่จะสนับสนุนท่าน ส่วนการตัดสินใจใดๆน่าจะเป็นการตัดสินใจร่วมมากกว่าเป็นความคิดเห็นของผู้ใดผู้หนึ่ง

ถึงท่านจะเรียนมาสูงและมาก ได้ปริญญาหลายใบ ก็ไม่จำเป็นว่าท่านจะมีทฤษฎีทั้งหมดในตำราอยู่ในหัวสมอง ท่านเป็นนักปฏิบัติมากกว่านักวิชาการ นักปฏิบัติที่เก่งจะมีคุณสมบัติของสมองในการประเมินข้อมูลและวิเคราะห์ได้ถูกต้อง (จากประสบการณ์ที่พบจากเหตุการณ์จริงและในหนังสือ รวมถึงนวนิยายนักสืบที่ท่านชื่นชอบ) และออกคำสั่งที่ชัดเจน และที่สำคัญคือ รวดเร็วทันสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปทุกๆนาที


กระทู้: 13 หมูป่า : วีรกรรมถ้ำหลวง
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 ส.ค. 18, 09:14
ข้างบนนั้นเป็นเพียงความคาดเดาของผม ส่วนจริงๆจะเป็นอย่างไรต้องรออ่านหนังสือที่ตัวท่านผู้ว่ากล่าวเองว่าอยากจะบันทึกไว้ในลักษณะ Case study หรือกรณีย์ศึกษา สำหรับชาวโลก เมื่อเกิดเหตุการณ์ในลักษณะเดียวกันนี้ขึ้น ควรจะปฏิบัติอย่างไรโดยไม่ต้องเลือกผิดเลือกถูก(อาจจะ-อย่างที่ท่านทำ) 


กระทู้: 13 หมูป่า : วีรกรรมถ้ำหลวง
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 17 ส.ค. 18, 18:36
ความเห็นของท่าน NAVARAT.C ถูกต้องทุกประการครับ     ในสถานการณ์จริงที่ผ่านมา ท่านผู้ว่าฯและบุคคลากรทั้งหลายในทีมที่ร่วมดำเนินการให้ความช่วยเหลือเหล่านั้น คงจะไม่มีผู้ใดนึกถึงตำราและทฤษฎีทางวิชาการใดๆเลย  การกระทำทั้งหมดมาจากกระบวนตัดสินใจเฉพาะหน้าไปตามสถานะการณ์ในลักษณะของการรับฟังข้อมูลและความเห็นซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะจากผู้ชำนาญการในศาสตร์ต่างๆ  ได้ร่วมกันตัดสินใจ แล้วก็ดำเนินการปฎิบัติการแบบเอื้อเฟื้อและสนับสนุนกันและกันทั้งด้านภาคการปฎิบัติและด้านเก็บรวบรวมข้อมูล

ผมเพียงพยายามจะถอดบทเรียนและนำเสนอความเห็นส่วนตนว่า เรื่องราว กระบวนการคิด และการดำเนินการที่ปฎิบัติกันในยามนั้น มันไปอยู่ในกรอบแนวคิดใด หรือในตรรกะของทางวิชาการใดบ้าง         


กระทู้: 13 หมูป่า : วีรกรรมถ้ำหลวง
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 ส.ค. 18, 19:02
คำตอบของท่านตั้งทำให้ผมนึกถึงคำพูดของครูบาอาจารย์  มีศิษย์ไปถามว่า ขณะจะเข้าใจแก่นแท้ของธรรมะนั้น  ท่านอาจารย์ได้รู้อะไรตามลำดับบ้าง
ท่านตอบว่า ของเรามันเร็วเหมือนกับลิงตกต้นไม้ พอรู้ตัวก็ถึงพื้นดินแล้ว  แต่บางท่านนั้นท่านรู้ท่านศึกษามามากกว่าเรา ท่านแยกแยะได้ว่าท่านผ่านกิ่งผ่านใบอะไรมาบ้าง และเขียนแจกแจงไว้ในพระคัมภีร์
เมื่อเรามานึกย้อนทบทวนดู  เราก็ผ่านขั้นตอนต่างๆมาเหมือนท่านเช่นกัน  เพียงแต่ว่าในขณะที่เกิดขึ้นนั้นเราไม่เห็น


กระทู้: 13 หมูป่า : วีรกรรมถ้ำหลวง
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 07 ก.ย. 18, 10:56
หมูป่า (ถูกให้) เข้าถ้ำอีกครั้ง คุณคิดอย่างไร ?

https://youtu.be/7fYYiumv1VQ

ก่อนเดินทางไปร่วมงาน "รวมใจเป็นหนึ่งเดียว" รัฐบาลให้สมาชิกทีมหมูป่าทั้ง ๑๓ คนได้ "ทบทวนความทรงจำ" ผ่านนิทรรศการ "ปฏิบัติการถ้ำหลวง วาระแห่งโลก" ณ ลานไลฟ์สไตล์ ฮอลล์ สยามพารากอน แม้ที่ผ่านมามีคำขอร้องสื่อมวลชนให้งดสัมภาษณ์และติดตามชีวิตของบรรดาผู้ประสบภัยก็ตาม

นักเตะเยาวชนทั้ง ๑๒ คน (ยกเว้นพระเอกพล) ต้องสัมผัสความมืด แคบ คดเคี้ยว อีกครั้ง เมื่อถูกเชื้อเชิญให้มุดเข้า "ถ้ำหลวงจำลอง" ซึ่งจัดแสดงไว้ที่โซนที่ ๒ "นาทีชีวิตวิกฤตเสี่ยงตาย" จากทั้งหมด ๗ โซน บางคนมีท่าทีลังเลก่อนเข้าไป ขณะที่บางคนก็ยิ้มหัวเราะ

https://www.bbc.com/thai/thailand-45434653


กระทู้: 13 หมูป่า : วีรกรรมถ้ำหลวง
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 07 ก.ย. 18, 14:22
ถ้าหมูป่าน้อยสมัครใจจะเข้าไปในถ้ำหลวงจำลอง  เพื่อสนุกในการทบทวนการผจญภัยครั้งใหญ่สุดในชีวิตเขา   ก็ไม่เป็นไร
แต่ถ้าจำต้องเข้าไปเพราะผู้ใหญ่ให้เข้า  ทั้งๆความทรงจำครั้งนั้นเป็นบาดแผลยังไม่หาย  ยังมีอาการฝันร้าย  หรือขยาดที่จะเอ่ยถึง   ก็ไม่สมควรอย่างยิ่งค่ะ


กระทู้: 13 หมูป่า : วีรกรรมถ้ำหลวง
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 07 ก.ย. 18, 19:00
แพทย์หญิง จิราภรณ์ อรุณากูร กุมารแพทย์เวชศาสตร์วัยรุ่น ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดลได้กล่าวถึงกรณีหมูป่า (ถูกให้) เข้าถ้ำอีกครั้งว่า

#ความโชคร้ายไม่ใช่ความบันเทิง

“นักเตะเยาวชนทีมหมูป่าทั้ง ๑๒ คน ต้องสัมผัสความมืด แคบ คดเคี้ยว อีกครั้ง เมื่อถูกเชื้อเชิญให้มุดเข้า "ถ้ำหลวงจำลอง" ซึ่งจัดแสดงไว้ที่โซนที่ ๒ "นาทีชีวิตวิกฤตเสี่ยงตาย”

บางคนมีท่าทีลังเลก่อนเข้าไป ขณะที่บางคนก็ยิ้มหัวเราะ: สำนักข่าว BBC Thai

........................

ภายใต้รอยยิ้มร่า...
ไม่ได้หมายความว่าไม่มีบาดแผล

บาดแผลหลายบาดแผล
มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า

มองไม่เห็น... ไม่ได้แปลว่าไม่มี

บาดแผลหลายบาดแผล
หายได้ ถ้าไม่ไปสะกิดซ้ำ ๆ

การที่ทีมหมูป่าต้องเจอเรื่องยากลำบาก กระทบกระเทือนจิตใจ อาจไม่ใช่เรื่องที่ควรนำมาพูดถึงด้วยความสนุกสนาน

เราไม่จัดเหตุการณ์จำลอง เอาไม้มาตีกันแรง ๆ เพื่อการเรียนรู้ว่าเด็กที่ถูกกระทำรู้สึกอย่างไร...

เราไม่จัดเหตุการณ์จำลองการถูกข่มขืน เพื่อให้ผู้คนเรียนรู้ว่ามันเจ็บปวดแค่ไหน...

เหตุการณ์คับขันในชีวิตคนอื่น มันอาจไม่ใช่เรื่องสนุกของพวกเค้า

การสร้างถ้ำจำลอง โดยให้ทีมหมูป่าลองเข้าไปใหม่

ไม่แน่ใจว่าจะเกิดประโยชน์และพัฒนาอะไรให้กับพวกเค้าจริง ๆ

แต่อาจเสี่ยงซ้ำรอยสะกิดแผลเก่า ๆ ของเด็ก ๆ หลายคน

แผลเก่า... ที่อาจมองไม่เห็นผ่านรอยยิ้ม

............................

PTSD (post traumatic stress disorder) ไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ และผ่านไปง่าย ๆ (ไม่ได้แปลว่าในทีมจะมีใครเป็น)

มันบั่นทอนการใช้ชีวิต กระบวนการคิด และหลายครั้งก็เรื้อรังจนส่งผลเสียหาย

คงจะดี....

ถ้าคนจะมองประโยชน์และโทษที่จะเกิดกับเด็ก ๆ เหล่านี้

มากกว่าความบันเทิงที่จะได้รับ... กับตัวเอง

#หมอโอ๋เพจเลี้ยงลูกนอกบ้าน
ผู้ไม่แน่ใจว่าการมุดถ้ำจำลองของทีมหมูป่า เป็นประโยชน์... กับชีวิตใคร

https://www.facebook.com/1383393308644684/posts/2113128375671170/


กระทู้: 13 หมูป่า : วีรกรรมถ้ำหลวง
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 25 ก.ย. 18, 10:29
จาก "ถ้ำหลวง" สู่ "ฮอลลีวูด"

Universal Pictures เดินหน้าสร้างหนัง “ปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัยถ้ำหลวง” หลังได้รับสิทธิ์อย่างเป็นทางการในการสร้างหนังเกี่ยวกับชีวิตของผู้เกี่ยวข้อง ทั้งหน่วยกู้ภัย รวมถึงโค้ช และสมาชิกทีมหมูป่าด้วย

The Variety รายงานว่าสตูดิโอผลิตภาพยนตร์ Universal Pictures จากฮอลลีวูดได้คว้าสิทธิ์การสร้างหนังจากชีวิตของนายแพทย์ริชาร์ด แฮร์รีส, นายสัตวแพทย์เคร็ก คัลเลน และ โค้ชเอก เอกพล จันทะวงษ์ รวมถึงสมาชิกทีมฟุตบอลหมูป่าทั้ง ๑๒ ชีวิต อย่างเป็นทางการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

เชื่อว่า หนังของ Universal Pictures น่าจะเน้นเล่าเรื่องเกี่ยวกับภารกิจช่วยชีวิตที่คนทั่วโลกร่วมจับตามอง และให้กำลังใจ ทั้งหน่วยกู้ภัย และโค้ชกับเด็ก ๆ ที่สามารถเอาชีวิตในถ้ำได้อย่างเหลือเชื่อ

งานนี้ Universal Pictures จะได้ ไมเคิล เดอ ลูก้า กับ เดนา บรูเน็ตติ ที่เคยสร้างหนังดังไม่ว่าจะเป็น The Social Network, Fifty Shades of Grey และ Captain Philips มาดูแลโปรเจกต์ ซึ่งทั้งคู่ก็ออกแถลงการณ์ร่วมกันว่า พวกเขาตื่นเต้นมากที่จะได้เล่าเรื่องการทำงานอันน่าตื่นเต้นของเหล่านักดำน้ำจากนานาชาติ ที่ได้มีส่วนร่วมกันทำงานในภารกิจช่วยเหลือชีวิตครั้งนี้

โปรเจกต์ของ Universal Pictures คือ ๑ในภาพยนตร์ ๓ เรื่องเกี่ยวกับเรื่องราวของถ้ำหลวง ที่มีการพัฒนาโครงการกันอยู่อย่างจริงจังในขณะนี้ รวมถึงโปรเจกต์ของ DeWarrenne Productions ที่ดำเนินการโดย ทอม เวลเลอร์ คนทำหนังชาวไทยเชื้อสายไอริช ที่หนังน่าจะได้เปิดกล้องก่อนใคร และจะใช้ชื่อว่า “นางนอน” หรือ The Cave

นอกจากนั้น ก็ยังจะมีหนังของ Ivanhoe Pictures กับผู้กำกับชาวอเมริกันเชื้อสายจีน จอน เอ็ม ชู ที่กำลังดังเป็นพลุแตกจาก Crazy Rich Asians ที่เคยประกาศอย่างจริงจังว่า เขาจะไม่ยอมให้ฮอลลีวูดนำเหตุการณ์ “ถ้ำหลวง” มาฟอกขาว และทำหนังให้กลายเป็นเรื่องราวของคนต่างชาติอย่างเด็ดขาด

https://mgronline.com/entertainment/detail/9610000095395

https://variety.com/2018/film/news/thai-cave-rescue-movie-universal-1202944116/


กระทู้: 13 หมูป่า : วีรกรรมถ้ำหลวง
เริ่มกระทู้โดย: Naris ที่ 25 ก.ย. 18, 14:10
ผมก็อยากดูครับ ภาพยนตร์เรื่องนี้
แต่ผมสงสัยครับ
อ้างถึง
ได้คว้าสิทธิ์การสร้างหนังจากชีวิตของนายแพทย์ริชาร์ด แฮร์รีส, นายสัตวแพทย์เคร็ก คัลเลน และ โค้ชเอก เอกพล จันทะวงษ์ รวมถึงสมาชิกทีมฟุตบอลหมูป่าทั้ง ๑๒ ชีวิต อย่างเป็นทางการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

"สิทธิอย่างเป็นทางการ" เกี่ยวกับเรื่องนี้ ถือครองโดยใครครับ หมายถึงว่า บ.Universal Pictures ต้องติดต่อบุคคลแต่ละบุคคลที่เกี่ยวข้อง เพื่อขออนุญาตจากบุคคลเหล่านั้นเป็นรายบุคคล อย่างนั้นใช่ไหมครับ

และถ้าท่านใดไม่อนุญาต ก็จะไม่สามารถปรากฎเรื่องราวของบุคคลผู้นั้นในภาพยนตร์เรื่องนี้ได้ อย่างนั้นสินะครับ

ถ้างี้ มีลุ้นเป็นหนัง ออสเตรเลียน ฮีโร่ แล้วแหละครับ   


กระทู้: 13 หมูป่า : วีรกรรมถ้ำหลวง
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 25 ก.ย. 18, 15:51
ตามข่าว Universal Picture ไม่ได้ไปติดต่อเอง แต่ให้ Creative Artists Agency (CAA) เป็นตัวแทนไปดำเนินการเรื่องสิทธิ์ทั้งปวง

The studio announced on Monday that it has acquired the life rights of Coach Ekkapol Chantawong, Dr. Richard Harris, Dr. Craig Challen, and the players on the Wild Boar soccer team. CAA (https://en.m.wikipedia.org/wiki/Creative_Artists_Agency) agent Matt DelPiano led a team effort and travelled to Thailand and Australia to secure the rights for all involved.

https://variety.com/2018/film/news/thai-cave-rescue-movie-universal-1202944116/

https://www.wsj.com/articles/a-tension-filled-thai-cave-dramafor-the-movie-rights-1537805006


กระทู้: 13 หมูป่า : วีรกรรมถ้ำหลวง
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 25 ก.ย. 18, 16:17
https://www.youtube.com/watch?v=QpcwKyJMwHc


กระทู้: 13 หมูป่า : วีรกรรมถ้ำหลวง
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 25 ก.ย. 18, 18:27
"สิทธิอย่างเป็นทางการ" เกี่ยวกับเรื่องนี้ ถือครองโดยใครครับ หมายถึงว่า บ.Universal Pictures ต้องติดต่อบุคคลแต่ละบุคคลที่เกี่ยวข้อง เพื่อขออนุญาตจากบุคคลเหล่านั้นเป็นรายบุคคล อย่างนั้นใช่ไหมครับ

และถ้าท่านใดไม่อนุญาต ก็จะไม่สามารถปรากฎเรื่องราวของบุคคลผู้นั้นในภาพยนตร์เรื่องนี้ได้ อย่างนั้นสินะครับ

ข้อสงสัยกรณีหนัง “ถ้ำหลวง” : หนัง Based on a True Story ใครเป็นเจ้าของเรื่อง, ใครควรได้รับเงิน

เกิดคำถามขึ้นทันที เมื่อมีข่าวว่าผู้สร้างหนังจากฮอลลีวูดกำลังจะสร้างหนังจากเหตุการณ์กู้ชีวิตในถ้ำหลวงที่เกิดขึ้นที่ประเทศไทย ว่าสุดท้ายแล้วใครคือ เจ้าของเรื่องกันแน่, บุคคลที่เกี่ยวข้องสามารถหาผลประโยชน์จากการสร้างหนังเหล่านี้ได้หรือไม่ และผู้สร้างหนังจำเป็นต้องจ่ายเงินให้กับใครในการสร้างหนังจากเรื่องจริงแบบนี้

เหตุการณ์จริงคือ “สมบัติของสาธารณะ”

จริงแล้วโดยทั่วไปตามกฎหมายของประเทศต่าง ๆ “เหตุการณ์จริง” คือสมบัติของสาธารณะที่ไม่มีใครเป็นเจ้าของแต่เพียงผู้ใด นอกเสียจากว่าจะมีใครนำเหตุการณ์ดังกล่าวไป “เขียนเล่าเรื่องราว” ในมุมมองที่แตกต่างก็จะได้รับความคุ้มครองในฐานะเป็น ลิขสิทธิ์ผลงานส่วนบุคคล

ซึ่งหากใครต้องการนำ “งานเขียน” ถึงเหตุการณ์จริงดังกล่าวไปสร้างเป็นภาพยนตร์ ก็จำเป็นที่จะต้องจ่ายเงินให้กับผู้เขียนในฐานะเจ้าของผลงาน เหมือนกับหนังคลาสสิกของฮอลลีวูดอย่าง All the President's Men ที่แม้จะสร้างมาจากเหตุการณ์จริง แต่หนังก็ถือว่าเป็นการถ่ายทอดเรื่องราวจากหนังสือของสองนักข่าวคนดัง คาร์ล เบิร์นสตีน และ บ็อบ วูดเวิร์ด โดยตรง หรือหนังเกี่ยวกับชีวิตของอดีตผู้จัดการทีมฟุตบอล น็อตติงแฮม ฟอร์เรสต์ ไบรอัน คลัฟ ที่ไม่ได้อ้างอิงจากชีวิตของ คลัฟ โดยตรง แต่มีเนื้อหามาจากหนังสือ The Damned United ของ เดวิด เพียซ ต่างหาก

แต่แน่นอนว่างานเขียนเกี่ยวกับเหตุการณ์จริงที่จะอ้างลิขสิทธิ์ได้จะต้องมีแง่มุม หรือข้อมูลที่แตกต่างจากที่สาธารณะชนรับรู้กันอยู่โดยทั่วไปอย่างชัดเจนอยู่ด้วย

ทุกคนทีสิทธิ์สร้างหนังจากเหตุการณ์จริงโดยไม่ต้องไปขออนุญาต (และจ่ายเงิน) ให้ใคร

สุดท้ายแล้วผู้สร้างหนังจึงมีสิทธิ์ที่จะหยิบเหตุการณ์จริงใด ๆ มาสร้างเป็นภาพยนตร์ก็ได้ โดยไม่ต้องไปขออนุญาตใครเลย เหมือนกับหนังเกี่ยวกับชีวิตของคนดังอย่าง The Social Network ที่สร้างจากหนังสือเล่มหนึ่ง โดยที่บุคคลจริงในหนังอย่าง มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก เองก็ไม่ค่อยพอใจเท่าไหร่นัก

หนังเกี่ยวกับชีวิตของเทพกีตาร์ระดับตำนาน จิมมี เฮนดริกซ์ ที่ชื่อว่า Jimi: All Is by My Side ก็ไม่ได้ไปขออนุญาตใครเช่นเดียวกัน และยังไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้เพลงของ เฮนดริกซ์ ในหนังเรื่องนี้ด้วยซ้ำไป

หนังจากชีวิตของคนดัง ๆ มากมาย ส่วนใหญ่ก็สร้างขึ้นโดยไม่ได้ถามเจ้าตัวแต่อย่างใด หลายครั้งที่แม้เจ้าตัวจะไม่พอใจ แต่เลือกที่จะ “ปล่อยผ่าน” และบางครั้งก็เกิดการฟ้องร้องตามมาว่าหนังมีเนื้อหาบิดเบือนความเป็นจริง

ทำไมผู้สร้างหนังยอมต้องจ่ายเงินให้กับบุคคลเจ้าของเรื่อง ?

อย่างไรก็ตามแม้เหตุการณ์จริงจะเป็น “สมบัติสาธารณะ” แต่ผู้สร้างหนังจำนวนไม่น้อยก็ยังยินดีที่จะจ่ายเงินเพื่อขอใช้สิทธิ์ในการสร้างหนังจากเหตุการณ์เกี่ยวกับบุคคลนั้น ๆ “อย่างเป็นทางการ” แม้กฎหมายของหลาย ๆ ประเทศโดยเฉพาสหรัฐฯ ดินแดนแห่งหนังฮอลลีวูดจะไม่ได้บังคับเอาไว้ก็ตาม

เหตุผลก็คือ ผู้สร้างหนังหลายรายเลือกที่จะจ่ายเพื่อ “ความสะดวก” ในการสร้างหนังเรื่องนั้น ๆ นั่นเอง

โดยผู้สร้างที่จ่ายเงินให้กับบุคคลที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์จริงมักจะได้รับข้อมูล “พิเศษ และลับเฉพาะ” ที่เป็นรายละเอียดที่ไม่เคยเปิดเผย หรือถูกบันทึกในสื่อใด ๆ จากบุคคลดังกล่าว เพื่อเสริมให้หนังมีเนื้อหาที่แตกต่าง และมีรายละเอียดที่ชัดเจนที่สุด

อย่างไรก็ตามสาเหตุสำคัญที่ผู้สร้างหนังบางรายยอมจ่ายเงินเพื่อให้ได้สิทธิ์ดังกล่าว ก็เพื่อเป็นการป้องการฟ้องร้องนั่นเอง โดยเฉพาะหากบุคคลจริงรู้สึกว่าหนังอาจจะมีเนื้อหาที่ “บิดเบือนความจริง” และอาจจะทำลายชื่อเสียงของของพวกเขา หากหนังได้ออกฉายไปในวงกว้าง ก็อาจจะยื่นฟ้องร้องเพื่อขอค่าเสียหายได้

จึงเป็นเรื่องที่ผู้สร้างหนังต้องตัดสินใจเองว่าสุดท้ายแล้วจะยอมจ่ายเงินเพื่อป้องกันการฟ้องร้อง หรือหากมั่นใจในข้อมูลสาธารณะ และเชื่อว่าหนังของตนเองจะมีความถูกต้องตรงตามเหตุการณ์จริง ก็ไม่จำเป็นต้องไปจ่ายเงินให้กับบุคคลในเรื่องแต่อย่างใด


กระทู้: 13 หมูป่า : วีรกรรมถ้ำหลวง
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 25 ก.ย. 18, 18:28
สร้างได้ตามสบาย ... แต่อาจโดนฟ้องถ้าบิดเบือนความเป็นจริง

แต่ถึงจะจ่ายเงินไปแล้ว หนังหลาย ๆ เรื่องก็ยังมีปัญหาเรื่อง ข้อเท็จจริง จนนำมาซึ่งการฟ้องร้องอยู่ดี บางครั้งเจ้าตัวเองก็ไม่พอใจที่ผู้สร้างหนังเลือก ตีความ ชีวิตของพวกเขาออกมาในมุมมองของตัวเองโดยไม่ได้รับอนุญาต เหมือนหนัง Foxcatcher (2014) ที่เล่าเรื่องคดีฆาตกรรมนักกีฬาโอลิมปิก ซึ่ง มาร์ค ชูลซ์ นักมวยปล้ำเหรียญทองโอลิมปิกได้ให้ข่าวว่าเขาไม่พอใจเลย ที่หนังใส่เนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องรักร่วมเพศลงไปด้วย

หรือบางครั้งแม้หนังจะจ่ายเงินให้กับบุคคลจริงที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ไปแล้ว แต่ก็ยังมีบุคคลที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์รายอื่น ๆ ที่ไม่พอใจ (และไม่ได้เงิน) จนเรื่องราวอาจจะไปถึงโรงถึงศาลได้ หากบุคคลเหล่านั้นเลือกที่จะฟ้องร้องหนังว่าบิดเบือนข้อเท็จจริง

อย่างเมื่อ ๕ ปีก่อน มีกรณีที่ลูกเรือหลายคนในเรือเดินสมุทร MV Maersk Alabama ได้ตัดสินใจยื่นฟ้องผู้สร้างหนัง Captain Phillips (2013) ว่าหนังบิดเบือนข้อเท็จจริง ด้วยการจงใจนำเสนอภาพของ กัปตัน ฟิลลิปส์ ให้ออกมาเป็นฮีโร่ ทั้ง ๆ ที่เขาไม่ได้ทำอะไรสำคัญเลย อย่างที่ลูกเรือคนหนึ่งบอกว่าตน "อยากให้สาธารณะได้รู้ว่าแท้จริงแล้ว เจ้าหน้าที่ของทหารเรือ และลูกเรือคนอื่นต่างหากที่เป็นวีรบุรุษที่แท้จริง"

บางกรณีขอสิทธิ์เพื่อ “แต่งเติม” เรื่องราวนอกเหนือความเป็นจริง

นอกจากนั้นก็ยังมีหนังประเภทที่ “อิง” เหตุการณ์จริง หรือ เป็นเรื่องจริง ผสมเรื่องแต่งอะไรทำนองนั้นด้วย ซึ่งบางครั้งหนังประเภทนี้ยิ่งจำเป็นต้องได้รับอนุญาตจากบุคคลที่เกี่ยวข้อง เพราะชัดเจนว่าส่วนที่ “แต่งเพิ่ม” ไม่ได้เป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นจริง และบางครั้งอาจสร้างความเสียหายให้กับผู้เกี่ยวข้อง แต่หากได้รับอนุญาต จะแต่งเพิ่มยังไงก็ไม่มีปัญหา

หนังที่เล่าเรื่องราวในชีวิตของ สตีฟ จอบส์ เรื่อง Steve Jobs ที่อ้างอิงเนื้อหาจากหนังสือชีวประวัติอย่างเป็นทางการของผู้ก่อตั้งบริษัท Apple ก็เคยสร้างความฮือฮามาแล้ว เมื่อนักเขียนคนดัง แอรอน ซอคิน ใช้วิธีแต่งทั้งเรื่อง, เหตุการณ์ และบทสนทนาเอาเองโดยไม่อ้างอิงเหตุการณ์จริง แต่ยืนยันว่าจะเป็นวิธีที่ทำให้ผู้อ่านเข้าใจชีวิตของ จอบส์ ได้ดีที่สุด

ซึ่งหนังสามารถใช้วิธีแบบนี้ได้อย่างไม่มีปัญหาใด ๆ ก็เพราะผลงานเรื่อง Steve Jobs ของ แดนนี บอยล์ เป็นหนังชีวประวัติอย่างเป็นทางการ ที่ได้รับสิทธิ์มาจากผู้ดูแลทรัพย์สินกองมรดกของ จอบส์ นั่นเอง


การทำหนังจากเหตุการณ์จริง ไม่สามารถหลีกเลี่ยงข้อกล่าวหา “บิดเบือนความจริง” ไปได้เลย ไม่ว่าจะมีการจ่ายเงินให้กับบุคคลที่เกี่ยวข้องหรือไม่ก็ตาม ... สำหรับ “หนังถ้ำหลวง” มีข่าวว่าผู้สร้างหนังจากฮอลลีวูดบางราย ก็เลือกที่จะขอซื้อสิทธิ์มาจากผู้เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์โดยตรงบางคนเช่นเดียวกัน

ก็คงต้องติดตามกันต่อไปว่าหนัง ถ้ำหลวง (ที่น่าจะมีมากกว่า ๑ เรื่อง) จะมีปัญหาเรื่องความถูกต้องของข้อเท็จจริง และความพอใจ หรือไม่พอใจของบุคคลในเหตุการณ์ตามมาเหมือนกับหนังที่สร้างจาก “เหตุการณ์จริง” อีกหลาย ๆ เรื่องหรือไม่

https://mgronline.com/entertainment/detail/9610000095804


กระทู้: 13 หมูป่า : วีรกรรมถ้ำหลวง
เริ่มกระทู้โดย: Naris ที่ 26 ก.ย. 18, 13:54
คือ.. ต้องกราบขออภัยท่านอาจารย์อีกครั้งครับ (ผมว่า ระบบวิธีคิดผมต้องประหลาดแน่เลย ทำไมผมสงสัยไปหมดทุกเรื่อง)

ถ้า
1) เหตุการณ์จริงคือ “สมบัติของสาธารณะ” และ
2) ทุกคนทีสิทธิ์สร้างหนังจากเหตุการณ์จริงโดยไม่ต้องไปขออนุญาต (และจ่ายเงิน) ให้ใคร
จริงแล้วไซร้

เหตุใด Universal Pictures จึงต้องประกาศว่า "ได้คว้าสิทธิ์การสร้างหนังจากชีวิตของนายแพทย์ริชาร์ด แฮร์รีส, นายสัตวแพทย์เคร็ก คัลเลน และ โค้ชเอก เอกพล จันทะวงษ์ รวมถึงสมาชิกทีมฟุตบอลหมูป่าทั้ง ๑๒ ชีวิต อย่างเป็นทางการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว" ด้วยหละครับ เพราะเขาสามารถสร้างได้ทันทีโดยไม่ต้องขอใครอยู่แล้ว ข้อจำกัดมีเพียงแค่ถ้าสร้างไม่ตรงความจริง ผู้สร้างก็ต้องรับผิดชอบ อาจถูกฟ้องร้องดำเนินคดี หรือเรียกค่าเสียหายได้หากไปทำให้ต้นเรื่องเขาเสื่อมเสียเท่านั้นเองนี่ครับ



กระทู้: 13 หมูป่า : วีรกรรมถ้ำหลวง
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 27 ก.ย. 18, 11:30
ขออนุญาตตีความ
เหตุการณ์ กับชีวิตคน มันคนละเรื่องกัน

ถ้าผู้สร้างภาพยนตร์จะสร้างหนังจากเหตุการณ์เด็กและโค้ชติดในถ้ำหลวง  นี่คือเหตุการณ์ สร้างได้เลย   เหมือนอยากสร้างหนังเกี่ยวกับเหตุการณ์สึนามิที่ภาคใต้   ก็สร้างได้โดยไม่ต้องไปขออนุญาตจากบรรดาเจ้าของโรงแรม เจ้าของร้านอาหารริมหาด เจ้าของบริการให้เช่าเรือ นักท่องเที่ยวอีกล้านเจ็ด ฯลฯ ในบริเวณที่เกิดคลื่นยักษ์
แต่ถ้าจะทำหนังจากชีวิตของผู้ที่มีตัวจริง อย่างเด็กสาววัย 14 ชื่อ เอมม่า เยทส์ ที่ถูกคลื่นยักษ์ซัดจากที่พักบนเขาหลักลงไปลอยคอในทะเล 3 ชั่วโมง  ก่อนจะถูกคลื่นซัดกลับมาริมฝั่ง ชาวบ้านช่วยลากขึ้นมา รอดตายมาได้
อย่างนี้ละก็  ผู้สร้างต้องไปขอลิขสิทธิ์จากเจ้าตัว หรือพ่อแม่ (เพราะเธอยังเป็นผู้เยาว์)   ไม่มีสิทธิ์จะเอาเรื่องราวของเธอไปทำหนังโดยอ้างว่าเป็นส่วนหนึ่งของเหตุการณ์จริง


กระทู้: 13 หมูป่า : วีรกรรมถ้ำหลวง
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 04 ต.ค. 18, 10:07
โกอินเตอร์  ::)

https://youtu.be/Mb3OH434u_8

กำหนดการหมูป่าเดินสายโชว์ตัว-สัมภาษณ์สื่อสหรัฐ

วันที่ ๓ ตุลาคม เวลา ๒๓.๐๐ น. เดินทางไปสนามบินอาตาร์เติร์ก เมืองอิสตันบูล ประเทศตุรกี สายการบินเตอร์กิชแอร์ไลน์ เที่ยวบิน TK69 ถึงเวลาประมาณ ๐๕.๓๐ น. 

วันที่ ๔ ตุลาคม เวลา ๙.๔๐ น. เดินทางจากอิสตันบูล ไปสนามบินการูลโฮส เซาเปาโล ประเทศบราซิล ถึงประมาณ ๑๖.๕๐ น. จากนั้น เวลา ๑๘.๕๐น. เดินทางจากบราซิล ไปกรุงบัวโนสไอเรส ประเทศอาร์เจนตินา

วันที่ ๖ ตุลาคม เข้าร่วมพิธีเปิดกีฬาโอลิมปิกเยาวชน

วันที่ ๗-๘ ตุลาคม เยาวชนทีมหมูป่าเข้าร่วมกิจกรรมโอลิมปิกเยาวชน ส่วนโค้ชเอก จะเดินทางไปกรุงนิวยอร์ก โดยวันเดียวกัน นายณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร ผู้ว่าฯ พะเยา จะเดินทางจาก กทม.ถึงกรุงนิวยอร์กวันเดียวกัน เพื่อร่วมพิธีมอบรางวัลให้โค้ชเอก


สมาชิกทีมหมูป่าที่เหลือ อยู่ที่ประเทศอาร์เจนตินา ถึงวันที่ ๙ ตุลาคม ก่อนจะเดินทางไปอเมริกา ในวันที่ ๑๐ ตุลาคม

วันที่ ๑๑ ตุลาคม ให้สัมภาษณ์รายการ Today Show ช่อง NBC จากนั้น สัมภาษณ์รายการ Late night ช่องเดียวกัน

วันที่ ๑๕-๑๗ ตุลาคม เดินสายออกรายการ เช่น Ellen Show ทั้งหมดอยู่ที่สหรัฐอเมริกาถึงวันที่ ๑๙ ตุลาคม กลับถึงไทยวันที่ ๒๐ ตุลาคม และเดินทางถึงยังท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย ในเวลา ๑๖.๔๕ น.

https://www.thairath.co.th/content/1389544
https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_1638277


กระทู้: 13 หมูป่า : วีรกรรมถ้ำหลวง
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 07 ต.ค. 18, 17:06
เมื่อวันเสาร์ที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๖๑ เวลา ๒๐.๐๐ น. ตามเวลาท้องถิ่นสาธารณรัฐอาร์เจนตินา (วันที่ ๗ ตุลาคม เวลา ๗.๐๐ น. ตามเวลาในประเทศไทย) ทีมหมูป่าอะคาเดมี เข้าร่วมพิธีเปิดมหกรรมกีฬาโอลิมปิกเยาวชนฤดูร้อน ณ ลานอนุสาวรีย์ Obelisco โดยมีประชาชนเข้าร่วมพิธีเปิดหลายพันคน เนืองแน่นตลอดความยาวของถนนสาย 9 de Julio

โดย นายโทมัส บาค ประธานคณะกรรมการโอลิมปิกสากล ได้กล่าวในพิธีเปิดมีใจความสำคัญตอนหนึ่งว่า

“...ความตั้งมั่นและความกล้าหาญของนักกีฬาผู้ยิ่งใหญ่ จะเป็นปัจจัยที่คอยช่วยเหลือสนับสนุนในทุกแง่มุมของชีวิต เราทุกคนคงจำได้ว่ามีกลุ่มเยาวชนไทยผู้กล้าหาญกลุ่มหนึ่งติดอยู่ในถ้ำนานถึง ๑๗ วัน นั่นก็คือ เหล่าสมาชิกทีมฟุตบอลหมูป่าอะคาเดมี ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของความตั้งมั่นและความกล้าหาญนี้ จึงเป็นเหตุผลที่คณะกรรมการโอลิมปิกสากลได้เชิญทีมหมูป่าอะคาเดมี มาร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกับนักกีฬาอื่น ๆ ยินดีต้อนรับ...หมูป่า...”

https://mgronline.com/politics/detail/9610000100213

https://youtu.be/r7liZLY_yhI


กระทู้: 13 หมูป่า : วีรกรรมถ้ำหลวง
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 10 ต.ค. 18, 10:20
หมูป่าท่องโลก  ;D

https://youtu.be/-DwlVnyc1mU


กระทู้: 13 หมูป่า : วีรกรรมถ้ำหลวง
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 10 ต.ค. 18, 10:29
ทีมกู้ภัยถ้ำหลวงฯ คว้ารางวัล 'เอเชีย เกม เชนเจอร์ อวอร์ดส' (Asia Game Changer Awards) ประจำปี ๒๐๑๘ จากสถาบันเอเชีย โซไซตี้ (Asia Society) ในฐานะผู้สร้างแรงบันดาลใจให้คนทั่วโลก

นายณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร ผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการค้นหาทีมหมูป่าอะคาเดมี ร่วมพูดคุยและตอบคำถามสื่อมวลชนทั่วโลก ที่สถาบันเอเชีย โซไซตี้ ในนครนิวยอร์ก ซึ่งสื่อมวลชนทั่วโลกต่างให้ความสนใจเรื่องปฏิบัติการถ้ำหลวง ที่จุดประกายความหวังและปาฏิหาริย์ให้คนทั่วโลก

โดยนายณรงค์ศักดิ์ บอกถึงความสำคัญของรางวัลนี้ว่า เป็นรางวัลของทีมปฏิบัติการนับหมื่นชีวิตที่ไม่สามารถมาร่วมงานนี้ได้ และเป็นของคนไทยทุกคน

ด้านนายทอม นาร์โกสกี รองผู้อำนวยการอาวุโสของสถาบัน Asia Society บอกว่า รางวัลที่มอบให้กับทีมปฏิบัติการถ้ำหลวง สะท้อนถึงศักยภาพของคนไทยและความร่วมมือทั้งในและต่างประเทศ เพื่อเป้าหมายเดียวกัน ซึ่งถือเป็นการสร้างการเปลี่ยนแปลง หรือ game changer ของประเทศไทย ที่น่าสนใจ

ทั้งนี้ สถาบันเอเชีย โซไซตี้ (Asia Society) จัดพิธีมอบรางวัล Asia Game Changer of the year ประจำปี ๒๐๑๘ ต่อเนื่องเป็นปีที่ ๕ แล้ว มุ่งคัดเลือกบุคคลหรือกลุ่มบุคคล หรือสถาบันในทวีปเอเชีย ที่ฝ่าฟันอุปสรรค มีความกล้าหาญทำงานที่สร้างความเปลี่ยนแปลงที่ดีและสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้คนทั่วโลก

ทีมค้นหากู้ภัยถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน ที่สร้างปาฏิหารย์จากการระดมกำลังช่วยเหลือเยาวชนและโค้ชทีมฟุตบอลทั้ง ๑๓ คนที่ติดอยู่ในถ้ำ ที่จังหวัดเชียงราย ได้รับการคัดเลือกจากคณะกรรมการ ให้เป็น ๑ ใน ๙ คณะบุคคลที่ได้รับรางวัลในปีนี้

นอกจากนี้ ยังมีบุคคลและกลุ่มคนสำคัญระดับโลก ที่ได้รับรางวัลเดียวกันในปีนี้ อาทิ นางอินทรา นูยี อดีตซีอีโอของ PepsiCo, ทีมนักเรียนหญิงชาวอัฟกันที่เข้าแข่งขันหุ่นยนต์ระดับโลก, กลุ่ม Syrian White Helmet และกลุ่มนักเทคนิคและเจ้าหน้าที่ในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่จังหวัดฟุกุชิมะ ประเทศญี่ปุ่น

โดยพิธีมอบรางวัลมีขึ้นในวันอังคารที่ ๙ ตุลาคม ตามเวลาที่นครนิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา

https://www.voathai.com/a/asia-game-changer-awards-new-york/4607074.html


กระทู้: 13 หมูป่า : วีรกรรมถ้ำหลวง
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 10 ต.ค. 18, 14:10
The incredible success of the Thai cave rescue mission is far more than just a feel-good story in a world that could use more of them. It’s a story of how a courageous group of Thai Navy SEALs risked their lives by attempting the rescue mission without specialist knowledge or equipment — and a governor who remained calm, reassuring, and informative throughout. It’s also an example of how a team assembled from all over the world could work together under enormous pressure to save 13 lives — through intelligence, persistence, and sheer bravery.

Now fully recovered, the boys were ordained monks along with their coach in a ceremony that also honored a Navy SEAL member who died during the operation. His example — and those of his peers — are poised to have a lasting influence on the lives of the young survivors.

“I want to be a Navy SEAL,” said one boy. “Because I want to help others.”


https://asiasociety.org/asia-game-changer-awards/rescue-team-tham-luang-caves


กระทู้: 13 หมูป่า : วีรกรรมถ้ำหลวง
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 11 ต.ค. 18, 11:00
จาก FB คุณแหวนพลอย

https://www.facebook.com/663120329/posts/10156584219430330/

The real Game-Changer

2018 Asia Game Changers กับผู้ว่าณรงค์ศักดิ์, โค้ชเอก และอดุลย์ สัมภาษณ์พูดคุยบรรยากาศสบาย ๆ อเมริกันสไตล์ มีไรก็ว่ามาตรง ๆ พิธีกรก็ถามตรง ๆ ตอนหลังที่เปิดให้ถามคำถามก็ถามกันตรง ๆ real world ดี ผู้ว่าณรงค์ศักดิ์พูดดีมากกกกก ท่านพิสูจน์ความเป็นผู้นำออกมาผ่านทางการพูดคุยครั้งนี้ได้อย่างบริ๊งๆๆๆ ๕๕๕ คือแบบเหมือนมีรังสีความเก่งออกมารอบตัว ไม่รู้จะอธิบายยังไง ก่อนหน้าที่จะดูไลฟ์เราคุยกับเพื่อนอเมริกันที่อยู่ในกรุ๊ปติดตามข่าวนี้ (กรุ๊ปของฝรั่ง) เค้าก็คุยกันแบบประมาณว่ารู้นะว่านี้คือ leader แต่ก็ไม่ได้อะไรมาก แต่พอดูจบ คือฝรั่งคอมเม้นกันแบบ “Governor. I got a little chocked up.” แล้วก็ชมอีกมากมายแบบว่า เข้าใจแล้วว่าคนนี้สุดจริงอะไรจริง เห็นแล้วปลื้มแทนท่านและครอบครัว

แอบฮาตอนที่คุณทอมพิธีกร (จริง ๆ แล้วเป็น vice president ขององค์กร) ถามเรื่องอีลอน มัสก์ขึ้นมาดื้อ ๆ ๕๕๕๕ คือจะบอกว่า อเมริกันมันแซะกันเองเก่งยิ่งกว่าชาวท่าแซะบ้านเราเยอะะะะะ คือถามขึ้นมานี่ ทอมกับผู้ว่าหันมายิ้มให้กันเลย คนดูก็หัวเราะกันอิสระเสรี ๕๕๕ ซึ่งแน่นอนว่าผู้ว่าก็ตอบเหมือนทุกรอบที่พูดมาว่า ขอบคุณอีลอนมัสค์ แต่เค้าบังเอิญโชคไม่ดีที่พาน้อง mini-sub มาเอาวันหลัง ๆ ที่เราตัดสินใจว่าจะใช้แผนเดิมคือดำน้ำออกกันไปแล้ว แต่ถึงยังไง mini-sub ก็จะนำไปเก็บไว้ที่หน่วยงานทางวิทยาศาสตร์ของรัฐ เพื่อใช้ศึกษาหรือเป็นประโยชน์ในอนาคต พูดจบก็ต่างคนต่างยิ้ม ๆ

พิธีกรถามเรื่องตอนเจอตัวเด็ก ผู้ว่ารู้จากไหน อย่างไร เมื่อไหร่ อันนี้ฟังแล้วลุ้นเลยเพราะบางอย่างไม่เคยรู้มาก่อน ผู้ว่าเล่าว่าคืนนั้นเป็นคืนที่ ๑๐ กำลังประชุมกันอยู่ ก็มีซีลหนึ่งนายวิ่งมาลากตัวออกจากห้องประชุม เอาออกไปไกลระยะนึงเลย แล้วบอกว่าเจอเด็กแล้ว ยังมีชีวิตและสุขภาพสมบูรณ์ ผู้ว่าทีแรกไม่เชื่อ บอกว่าเช็ครึยังเพราะต้องรอนักดำน้ำอังกฤษออกมาก่อนนะถึงจะชัวร์ ซีลบอกว่าออกมาแล้วคนนึง แล้วมาบอกคนข้างนอกแล้ว จากนั้นก็เลยเรียกประชุมว่าจะแถลงเลยหรือรอเช็คข่าว ๑๐๐ % ก่อนจากนักดำน้ำ แต่ก็ได้ข้อสรุปว่าต้องแถลงเลย เพราะถ้ารอช้าข่าวลือจะแพร่ออกไปก่อน แล้วประชาชนจะไม่เชื่อข่าวทางการอีก แล้วจากนั้นสิ่งที่ผู้ว่าทำคือ ไปหาพ่อแม่เด็กก่อนเลย เพื่อบอกว่า ‘เราเจอลูกคุณแล้ว มีชีวิตอยู่ทุกคน และจะทำเต็มที่เพื่อพาออกมาโดยมีชีวิตอยู่ให้ได้’ พิธีกรฟังตรงนี้แล้วอุทาน oh my goodness! เลย

ช่วงเวลาที่รอคอยมาถึงเมื่อทอมถามว่าได้บทเรียนอะไรจากเหตุการณ์ครั้งนี้ นั่นคือคำตอบที่ผู้ว่าเตรียมมาและพูดให้ฟังภาคภาษาไทยไปก่อนแล้ว ท่านก็ตอบตามนั้นว่า “คนมากกว่าหมื่นคน มาช่วยโดยไม่รู้จักเด็ก ๆ มาก่อน และผมคิดว่าถ้าเราเอาบทเรียนตรงนี้ ไปใช้ในภายภาคหน้า อยู่เพื่อคนอื่น ทำประโยชน์ให้ผู้อี่น โลกก็จะน่าอยู่”

มีหนุ่มคนนึงถามขึ้นมาว่า เค้าเขียนหนังสือเด็กเกี่ยวกับเรื่องถ้ำหลวงนี้อยู่ เค้ามีคำถามที่ยังไม่เคยมีการอธิบายที่ไหนมาก่อนเลย ขอถามโค้ชเอกกับอดุลย์ ว่าตอนอยู่ข้างในถ้ำ นอกจากเนินทรายที่นั่งอยู่กันและบริเวณน้ำที่ลงมาเจอนักดำน้ำนั้น รายละเอียดอื่น ๆ เป็นยังไง ทำอะไรบ้าง ขุดหิน ดำน้ำ ทำด้วยกันหรือต่างคนต่างทำ ทำสมาธิคือแบบไหน ช่วยอธิบายแบบ physically หน่อย คือแบบ physically อ่ะ ไม่ใช่แค่บอกว่าทำ แต่อธิบายว่าทำอย่างไร อะไรประมาณนี้ อันนี้ผู้ว่าเลยตอบให้แทนว่า “จะมีการรวบรวมข้อมูลโดยทำ Action Review กันอีกที” เห้ยอันนี้ข้อมูลใหม่เด้ออ ทอมยังแปลกใจนิด ๆ ด้วยเลย จะมีการเก็บข้อมูลโดย Action Review (คล้ายๆแบบไปทำแผนประกอบคำรับสารภาพงี้ปะ) แล้วถึงจะมีการเผยแพร่ข้อมูลรายละเอียดหลังจากนั้น (อันนี้เลยสงสัยเลยว่า แล้วพวกหนังที่เปิดกองไปแล้วจะทำยังไง? เกิดข้อมูลไม่ตรงกันกับข้อมูลที่ออกมาทีหลังก็เซ็งอี๊กก)

คำถามสุดท้ายดี มีผู้หญิงคนไทยถามว่า ผู้ว่าคิดยังไงกับรางวัลนี้ และคิดว่ามันสำคัญต่อคนไทยยังไง ผู้ว่าตอบว่า “รางวัลนี้เป็นของคนหมื่นกว่าคนที่ทำงานร่วมกันมา จริง ๆ แล้วทั้งหมื่นกว่าคนนั้นควรจะมาอยู่ที่นี่ในห้องนี้ (คนฮากันเล็กน้อยเพราะทอมตบมุกให้ประมาณว่า เดี๋ยว ๆๆ ห้องมันไม่พอเด้ออ) และจะเป็นเครื่องเตือนใจว่า คนไทยประเทศไทยเป็นประเทศเล็ก ๆในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่เราก็มีศักยภาพในการทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดให้สำเร็จได้ด้วยความสามัคคี ผู้ว่าบอกว่า คนไทยถ้ามีความสามัคคีและมีเป้าหมายเดียวกัน เราทำได้ทุกอย่าง ในมุมมองของท่านนี่คือความหมายและคุณค่าของรางวัลนี้สำหรับชาวไทย”

***ไม่อนุญาตให้ก๊อปข้อความไปโพสใหม่โดยไม่ให้เครดิต***


คลิปเต็มการสัมภาษณ์ นาทีที่ ๑.๒๐.๔๐ - ๑.๕๘.๐๓

https://youtu.be/5E4hME-K3Y8


กระทู้: 13 หมูป่า : วีรกรรมถ้ำหลวง
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 11 ต.ค. 18, 11:24
 ;D


กระทู้: 13 หมูป่า : วีรกรรมถ้ำหลวง
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 16 ต.ค. 18, 08:33
'หมูป่า' ในรายการทอล์กโชว์ดังของสหรัฐ 'The Ellen DeGeneres Show’

https://youtu.be/8HPaI5DbtW4


กระทู้: 13 หมูป่า : วีรกรรมถ้ำหลวง
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 16 ต.ค. 18, 09:06
 เมื่อวันที่ 15 ต.ค. พล.ท.วีรชน สุคนธปฏิภาค โฆษกคณะกรรมการสื่อสร้างสรรค์ เปิดเผยว่า ตามที่มีกระแสข่าวว่า ผู้ผลิตภาพยนตร์บางรายได้รับสิทธิ์สร้างภาพยนตร์กรณี 13 ชีวิตทีมหมูป่าติดถ้ำหลวง จังหวัดเชียงราย จาก 13 ชีวิตทีมหมูป่า อะคาเดมี แล้วนั้น
  คณะทำงานโฆษกคณะกรรมการสื่อสร้างสรรค์ กรณีถ้ำหลวง จังหวัดเชียงราย และคณะอนุกรรมการให้คำปรึกษาด้านสิทธิประโยชน์ของผู้ประสบภัยและผู้เกี่ยวข้อง กรณีถ้ำหลวง จังหวัดเชียงราย  ขอแจ้งข้อมูลให้ทราบว่า ปัจจุบันคณะกรรมการสื่อสร้างสรรค์ฯ อยู่ระหว่างพิจารณากรอบแนวทางและหลักเกณฑ์การดำเนินงาน โดยจะนำเสนอคณะกรรมการสื่อสร้างสรรค์ กรณีถ้ำหลวง จังหวัดเชียงราย พิจารณาให้ความเห็นชอบ ซึ่งจะประชุมในวันที่ 17 ต.ค. นี้ จึงยังไม่มีการพิจารณาให้สิทธิผู้ผลิตภาพยนตร์รายใดแต่อย่างใด

และได้สอบถามข้อมูลจากนายเอกพล จันทะวงษ์ หรือโค้ชเอก และผู้ปกครอง 12 ชีวิต หมูป่า อะคาเดมี ซึ่งเพิ่งกลับจากเดินทางร่วมกิจกรรม 13 ชีวิตหมูป่า ขอบคุณชุมนุมชนโลก ในอาร์เจนตินา และสหรัฐอเมริกาแล้ว ทราบว่ายังไม่มีใครเซ็นสัญญากับผู้ผลิตรายใดทั้งสิ้น

พล.ท.วีรชน กล่าวต่อว่า เมื่อคณะกรรมการสื่อสร้างสรรค์ฯ เห็นชอบแนวทางการดำเนินการแล้ว จะเร่งดำเนินการเรื่องการส่งเสริมการผลิตภาพยนตร์และสื่อสร้างสรรค์อื่นๆ ทั้งในและต่างประเทศ

รวมทั้งดำเนินการให้คำปรึกษาเรื่องสิทธิประโยชน์ของ 13 ชีวิตหมูป่าอะคาเดมี และผู้เกี่ยวข้องตามความเหมาะสม โดยจะชี้แจงข่าวหลังการประชุมฯ ต่อไป

https://www.khaosod.co.th/breaking-news/news_1690875


กระทู้: 13 หมูป่า : วีรกรรมถ้ำหลวง
เริ่มกระทู้โดย: Naris ที่ 16 ต.ค. 18, 10:18
เอิ่ม...
คณะกรรมการสื่อสร้างสรรค์ ประกอบด้วยกรรมการจำนวน 34 คน โดยมีรัฐมนตรี วธ.เป็นประธานกรรมการ ปลัด วธ. และปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา(กท.) เป็นรองประธานกรรมการ ส่วนคณะกรรมการ ประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆ อาทิ อธิบดีกรมการท่องเที่ยว อธิบดีกรมศิลปากร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย กระทรวงการกลาโหม กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เลขาธิการสมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติ และนายกสมาคมผู้บริหารการผลิตภาพยนตร์ต่างประเทศ

นายวีระ กล่าวว่า นอกจากนี้ ยังมีคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ มีรองปลัด วธ. เป็นกรรมการและเลขานุการ และผู้ช่วยเลขานุการประกอบด้วย ผอ.สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัด วธ. ผู้อำนวยการสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ

โดยคณะกรรมการชุดดังกล่าว มีหน้าที่ คือ
1. ประสานงานและอำนวยความสะดวกในการผลิตสื่อไทยและต่างประเทศทุกรูปแบบที่ตรงตามข้อเท็จจริงไม่กระทบผู้ประสบภัย และผู้เกี่ยวข้องไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ความมั่นคงของรัฐและเกียรติภูมิของประเทศ
2. พิจารณาความเหมาะสมและความพร้อมในการผลิตสื่อ รวมทั้งจัดทำจดหมายเหตุและจัดนิทรรศการเพื่อเผยแพร่ข้อมูลเชิงสร้างสรรค์
3. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงาน เพื่อปฏิบัติงานตามความเหมาะสม
4. ประสานงานและเชิญบุคคลหรือหน่วยงานมาชี้แจงหรือให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
5. รายงานผลการดำเนินงานให้นายกรัฐมนตรีทราบ และ
6. ปฏิบัติงานอื่นใดตามที่นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรี ครม.มอบหมาย

ลองทรงนี้ก็อีกนานหละครับ


 


กระทู้: 13 หมูป่า : วีรกรรมถ้ำหลวง
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 28 ต.ค. 18, 11:24
ลืมลงข่าวคุณลุงกับหลานๆไปได้ยังไง

พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช. เคลื่อนไหวในเพจเฟซบุ๊กส่วนตัว ประยุทธ์ จันทร์โอชา Prayut Chan-o-cha อีกครั้ง โดยโพสต์ภาพเซลฟีคู่กับทีมหมูป่าที่เข้าเยี่ยมคารวะก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรีที่ทำเนียบรัฐบาล พร้อมแคปชันข้อความว่า

 

วันนี้ผมดีใจที่ได้พบหลานๆ หมูป่าอีกครั้ง หลังจากเหตุการณ์ที่ทำให้คนทั่วโลกเห็นถึงความรัก ความสามัคคี และความไม่ยอมแพ้ ผมคิดว่าเรื่องหมูป่าไม่ใช่เรื่องปาฏิหาริย์ แต่เป็นเรื่องของกำลังใจ ความอดทน และความมีวินัยของทั้งเด็กๆ กับโค้ชที่ติดอยู่ในถ้ำ และทุกฝ่ายที่ช่วยเหลือ สนับสนุน ทั้งจากในและต่างประเทศ ทั้งหมดทำให้เราผ่านเหตุการณ์นี้มาได้ด้วยกัน ประสบผลสำเร็จด้วยดี ผมขอขอบคุณทุกคนอีกครั้งครับ #วินัยสร้างชาติ

โดยโพสต์ดังกล่าวมีผู้กดไลก์และคอมเมนต์เป็นจำนวนมากภายในเวลาไม่นาน โดยก่อนหน้านี้ พล.อ.​ ประยุทธ์ ชี้แจงผ่านเพจดังกล่าวว่า สาเหตุที่เปิดเฟซบุ๊กส่วนตัวเป็นเพราะต้องการใช้เป็นอีกช่องทางในการสื่อสารแนวนโยบายการทำงานของตนเอง และรัฐบาล รวมถึงเล่าสู่กันฟังข้อมูลที่เป็นประโยชน์ พร้อมยืนยันว่าจะพยายามอ่านข้อความที่คนเขียนเข้ามาให้ได้มากที่สุด

นอกจากเพจเฟซบุ๊กแล้ว พล.อ. ประยุทธ์ ยังเปิดเว็บไซต์ www.prayutchan-o-cha.com โดยรวบรวมข่าวสารความเคลื่อนไหว ประวัติ วิสัยทัศน์ พร้อมสโลแกน มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน รวมทั้งมีโลโก้ที่ใช้สีธงชาติไทยมาทำเป็นเครื่องหมายถูก คล้ายคลึงกับโลโก้ของพรรคพลังประชารัฐที่เปิดตัวก่อนหน้านี้

https://thestandard.co/prayut-selfie-moopah-team/


กระทู้: 13 หมูป่า : วีรกรรมถ้ำหลวง
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 28 ต.ค. 18, 11:26
 :D


กระทู้: 13 หมูป่า : วีรกรรมถ้ำหลวง
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 31 ต.ค. 18, 10:00
ทีมหมูป่าโกอินเตอร์รอบ ๒ คราวนี้ไปอังกฤษ มีโอกาสตะลุยสนามโอลด์ แทรฟฟอร์ด ของทีมสโมสรแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด  

https://www.facebook.com/manchesterunited/videos/1366088340192937/

และที่สำคัญคือมีโอกาสพบและขอบคุณผู้มีพระคุณ

นักเตะเยาวชนทีมหมูป่า อะคาเดมี่ และ "โค้ชเอก" เอกพล จันทะวงษ์ ได้รับเชิญเข้าร่วมงานมอบรางวัล ไพรด์ ออฟ บริเตน อวอร์ด ๒๐๑๘ (Pride of Britain Awards 2018) ซึ่งจัดขึ้น ณ โรงแรม กรอสเวเนอร์ เฮาส์ เมื่อคืนวันจันทร์ที่ ๒๙ ตุลาคม ที่ผ่านมา

ทีมหมูป่าได้รับเกียรติให้เป็นผู้เชิญรางวัลให้แก่นักดำน้ำชาวอังกฤษทั้ง ๕ คน ได้แก่ จอห์น โวลันเธน, เจสัน มัลลินสัน, จอช แบรทช์ลี่, คริส จีเวลล์ และ คอนเนอร์ โร ซึ่งเป็นผู้พบและช่วยเหลือชีวิต ๑๓ หมูป่า ออกจากถ้ำหลวงได้อย่างปลอดภัย

ในโอกาสนี้ ทีมหมูป่าได้มอบการ์ดขอบคุณ, พวงมาลัย และชามสังคโลก ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แทนความเคารพและขอบคุณ โดยภายในการ์ดขอบคุณได้เขียนข้อความ “คุณคือฮีโร่ของเรา ขอบคุณจากเบื้องลึกของหัวใจของพวกเรา พวกเรารักคุณ" ส่งผลให้เกิดความซาบซึ้งใจจากกลุ่มนักดำน้ำและผู้เข้าร่วมงานเป็นอย่างมาก

http://www.siamsport.co.th/football/otherleague/view/97706

https://youtu.be/1cK_cVBJPl8

https://youtu.be/WA3oRpLZWD8


กระทู้: 13 หมูป่า : วีรกรรมถ้ำหลวง
เริ่มกระทู้โดย: Naris ที่ 31 ต.ค. 18, 10:46
เลยไม่ได้พบนายกฯ และคณะรัฐมนตรีที่เดินทางไปประชุม ครม. สัญจร ที่เชียงรายเลยครับ