เรือนไทย

General Category => ประวัติศาสตร์ไทย => ข้อความที่เริ่มโดย: naitang ที่ 29 ส.ค. 11, 19:41



กระทู้: ประวัติศาสตร์ กับ ทรัพยากร
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 29 ส.ค. 11, 19:41
นักประวัติศาสตร์ทั้งหลายคงจะได้เรียนและทราบถึงความสัมพันธ์ระหว่างเรื่องราวทางประวัติศาสตร์กับทรัพยากรทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต

สำหรับผมนั้นเรียนมาทางสายทรัพยากรและใช้ประวัติศาสตร์ช่วยในการทำงาน แรงดลใจให้เกิดความสนใจได้เกิดมาเมื่อครั้งไปอบรมที่ออสเตรเลียเมื่อปลายปี พ.ศ.2525 ในครั้งนั้นผู้บรรยายคนหนึ่งได้กล่าวว่า ความต้องการทรัพยากรและการแสวงหาความเป็นเจ้าของครอบครองทรัพยากรนั้นๆ ล้วนแต่ทำให้เกิดเรื่องราวต่างๆทางประวัติศาสตร์

สำหรับผม เรื่องราวทางประวัติศาสตร์อาจจะเกิดมาจากสาเหตุใหญ่ๆ 2 ประการ คือ เพื่อสนองตัณหาทางด้านจิตใจ (ต้องการชนะ ต้องการอำนาจ ฯลฯ) และเพื่อสนองความต้องการทรัพยากรที่จะทำให้เท่าเทียมหรืออยู่เหนือผู้อื่น (แร่ธาตุ แรงงาน ทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ ฯลฯ)
 
เราคงจะไม่ไปไกลถึงประวัติศาสตร์และการแสวงหาทรัพยากรของมนุษย์ตั้งแต่ยุคหินเก่าที่แสวงหาแหล่งดินเพื่อทำเครื่องใช้ แสวงหาแหล่งหอยที่มีค่าในยุคหินกลาง แย่งกันครอบครองแหล่งหิน Flint ในยุคหินใหม่เพื่อทำเครื่องมือสำหรับหั่นและล่า เข้าสู่ยุคโลหะที่ต้องการแหล่งทองคำและเหล็กจนเริ่มมีการต่อสู้แย่งชิงกัน และเข้าสู่ยุคสำริดที่เริ่มรบราฆ่าฟันแย่งชิงกันเป็นวงกว้าง

การมีอำนาจและการทรงไว้ซึ่งอำนาจให้คงอยู่ในสมัยก่อนๆโน้น เกือบทั้งหมดไม่ได้เกิดจากความร่วมมือทางด้านจิตใจระหว่างชนเผ่า แต่มักจะเกิดจากการมีหรือครอบครองทรัพยากรที่สามารถนำไปทำเป็นอาวุธและการมีแหล่งอาหารที่สมบูรณ์ เครื่องถนิมภาอาภรณ์ทั้งหลายมักจะเป็นเพียงเครื่องที่แสดงถึงความมั่งคั่งและความยิ่งใหญ่ เช่น ทองคำ (อาจพบได้ทั่วๆไป) มรกต (พบไม่กี่แห่งในโลก) เพชร (ค่อนข้างจะจำกัดอยู่ในอัฟริกา) พลอย (ก็จำกัดเป็นพื้นที่ๆไป) ทับทิม (ยิ่งจำกัดสถานที่) และหยก (ก็ยิ่งจำกัดสถานที่) เป็นต้น

จึงเป็นเรื่องที่ไม่น่าจะแปลกมากนักที่มงกุฎและเครื่องประกอบตำแหน่งทั้งหลายจะประดับด้วยสิ่งเหล่านี้ ซึ่งเป็นการแสดงถึงแขนขาและการเอื้อมถึงไปในโลกกว้าง

ในยุคราชวงค์ชางหรือฉางของจีนเรื่อยมาจนถึงราชวงค์โจวของจีน มีการทำเหมืองแร่ทองแดงขนาดใหญ่ในมณฑลเจียงสี ทองแดงนี้นำไปผสมกับดีบุก (ซึ่งอาจจะได้มาจากแหล่งสะสมตามแม่น้ำเหลือง)จะได้สำริด ซึ่งนำไปทำอาวุธและเครื่องใช้ต่างๆในสมัยนั้น มณฆลนี้อยู่ติดกับมณฑลกวางตุ้งและฟูเจี้ยน เว้นไประยะหนึ่งจนยุคราชวงค์ฮั่นจึงเริ่มมีการทำเหมืองแร่ดีบุกในเขตมณฑลยูนนาน ช่วงระยะเวลานี้เป็นช่วงก่อนจนถึงต้นๆของพุทธศตวรรษ
เห็นได้ว่า   



         


กระทู้: ประวัติศาสตร์ กับ ทรัพยากร
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 29 ส.ค. 11, 20:21
สำหรับผมนั้นเรียนมาทางสายทรัพยากรและใช้ประวัติศาสตร์ช่วยในการทำงาน แรงดลใจให้เกิดความสนใจได้เกิดมาเมื่อครั้งไปอบรมที่ออสเตรเลียเมื่อปลายปี พ.ศ.2525 ในครั้งนั้นผู้บรรยายคนหนึ่งได้กล่าวว่า ความต้องการทรัพยากรและการแสวงหาความเป็นเจ้าของครอบครองทรัพยากรนั้นๆ ล้วนแต่ทำให้เกิดเรื่องราวต่างๆทางประวัติศาสตร์

เรื่องนี้นึกถึง (สหรัฐ + นาโต) - กัดดาฟี  =  ลิเบีย + น้ำมัน

 ;D


กระทู้: ประวัติศาสตร์ กับ ทรัพยากร
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 29 ส.ค. 11, 20:47
สำหรับผมนั้นเรียนมาทางสายทรัพยากรและใช้ประวัติศาสตร์ช่วยในการทำงาน แรงดลใจให้เกิดความสนใจได้เกิดมาเมื่อครั้งไปอบรมที่ออสเตรเลียเมื่อปลายปี พ.ศ.2525 ในครั้งนั้นผู้บรรยายคนหนึ่งได้กล่าวว่า ความต้องการทรัพยากรและการแสวงหาความเป็นเจ้าของครอบครองทรัพยากรนั้นๆ ล้วนแต่ทำให้เกิดเรื่องราวต่างๆทางประวัติศาสตร์

เรื่องนี้นึกถึง (สหรัฐ + นาโต) - กัดดาฟี  =  ลิเบีย + น้ำมัน

 ;D

ลิเบียผลิตน้ำมันดิบป้อนเข้าตลาดโลกแค่ 1.8 ล้านบาร์เรล ยังไม่ถึง 2 เปอร์เซ้นต์ของตลาดน้ำมันโลกเลย
ผมคิดว่าสหรัฐมีจุดประสงค์หลักอย่างอื่นมากกว่า ... 11 กันยายน เดือนหน้า ก็ครบรอบ 10 ปีของการถล่มอาคาร Worldtrade แล้ว



กระทู้: ประวัติศาสตร์ กับ ทรัพยากร
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 29 ส.ค. 11, 20:59
เห็นได้ว่า หากเราจะมองในอีกภาพหนึ่ง การค้นพบการทำสำริด (ซึ่งหากจำไม่ผิด) ซึ่งเริ่มในตะวันออกกลางได้ถ่ายทอดมาสู่จีนตามเส้นทางสายไหมทางตอนเหนือ
จีนรับไว้ และด้วยนิสัยชอบคิดชอบทดลองจึงพัฒนาส่วนผสมของสำริดนี้และใช้ประโยชน์ไปไกลมากกว่าโลกทางตะวันตก เขตอาณาสำคัญ (พื้นที่ความมั่นคง) ของจีนในยุคนั้นและยุคหลังต่อมาจึงครอบคลุมอยู่รอบๆมณฑลนี้ พื้นที่ย่านยูนนานนั้นจึงไม่ค่อยจะมีประวัติศาสตร์เชื่อมสัมพันธ์กับจีนยุคก่อนๆ จนกระทั่งยุคฮั่นที่ได้มีการพบแหล่งแร่ดีบุกและอื่นๆในเขตยูนนาน จึงเริ่มมีเรื่องของจีนเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งด้วยเหตุนี้หรือเปล่า ประวัติศาสตร์ของคนในยูนนานเรื่อยลงมาจนถึงสิบสองจุไทย ล้านช้าง เชียงแสน เชียงราย จึงมีความสัมพันธ์กันและเป็นอีกวัฒนธรรมหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นลักษณะบ้านเรือนที่อยู่อาศัย ภาษา อาหารการกิน ฯลฯ มีของจีนปนอยู่ไม่มากนัก ดูได้จากเช่นเรื่องของลักษณะบ้าน จีนจะปลูกบ้านเป็นลักษณะหลังคาแผงใหญ่ลาดเอียงลงสู่ด้านถนน หลังคายิ่งใหญ่ยิ่งแสดงว่ามีฐานะสูงหรือดีกว่า ในขณะที่คนในยูนนานและไทยหันด้านหน้าจั่วหลังคาออกถนน อิทธิพลของจีนจึงคงจะไม่สูงมากนัก
จีนแถบบน (ด้านเหนือ) นั้นเป็นวัฒนธรรมบนฐานของข้าวสาลี (ย่านแม่น้ำเหลือง) ในขณะที่ตอนใต้อยู่บนฐานของข้าวแบบที่เรากินกัน (ย่านแม่น้ำแยงซีเกียง) ตอนหลังจีนคงเห็นข้าวที่เรากินกันอร่อยกว่าข้าวสาลี เลยต้องขุดคลองเชื่อมจากเหนือลงใต้เพื่อส่งเสบียง (เดาแหกคอกไปเรื่อยครับ) แล้วก็เป็นไปได้ใหมว่า เหตุที่จีนต้องพยายามมีสัมพันธ์อันดีกับไทย ก็เพราะว่าเป็นเหมือนกับการสร้างรั้วรอบเพื่อกันไม่ให้ผู้อื่นมาแย่งประโยชน์จากทรัพยากรต่างๆซึ่งอยู่ในเขตจีนตอนใต้ เรื่องของทรัพยากรเป็นเหตุหรือเปล่า ???


กระทู้: ประวัติศาสตร์ กับ ทรัพยากร
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 29 ส.ค. 11, 21:26
เรียนคุณตั้ง

หากพูดถึงวัฒนธรรมสำริด อย่าลืมสิ่งนี้นะครับ "กลองมโหรทึก" เป็นวัฒนธรรมสำริดที่โดดเด่น ที่พบกระจายตัวในจีน เวียตนาม และดินแดนสุวรรณภูมิ  เคยเห็นพิพิธภัณฑ์ที่ประเทศจีนจัดแสดงสิ่งเหล่านี้ไว้มาก และใหญ่มโหฬารกว้างเป็น 2 -3 เมตรเลย


กระทู้: ประวัติศาสตร์ กับ ทรัพยากร
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 30 ส.ค. 11, 14:36
พยายามสรุปเรื่องในจีนมาก็เพื่อจะต่อไปถึงเรื่องของความสงสัยต่างๆ ถึงแม้ผมจะสนใจแต่ก็ไม่ได้ค้นคว้าหาอ่านอย่างจริงจัง ลืมและนึกไม่ออกก็มาก

ก่อนจะสนทนาต่อไป
มาดูเรื่องกลองมโหรทึกครับ กลองนี้ทำมาจากสำริด โดยทั่วไปก็เชื่อกันว่าใช้ในพิธีกรรมขอฟ้าขอฝน หรือใช้แสดงระดับชั้นของคนในชุมชน พบอยู่หลายแห่งในไทย ทางเหนือ อีสาณ และทางภาคใต้ก็พบใช่ใหมครับ ผมคยทราบเมื่อสมัยทำงานปี พ.ศ.2513 ว่ามีการพบแถวบ้านมะม่วงสามพัน (ต้นมะม่วงออกลูกสามพันธุ์) ทางตะวันตกติดทิวเขาที่จะข้ามไปหาห้วยขาแข้ง บริเวณรอยต่อของ จ.นครสวรรค์และกำแพงเพชร แล้วก็เคยมีการพบตะเกียงอลาดิน ใน จ.กาญจนบุรี
ข้อสงสัยก็คือ โลหะที่เราเรียกว่าสำริดนั้น มันเป็น Bronze 


กระทู้: ประวัติศาสตร์ กับ ทรัพยากร
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 30 ส.ค. 11, 14:45
ใช่แล้วครับคุณตั้ง วัฒนธรรมกลองโลหะสำริดนั้นเป็นวัฒนธรรมของคนโบราณที่พบการกระจายตัวอย่างกว้างขวาง ตั้งแต่จีนตอนใต้ และเวียดนามตอนเหนือ และเข้ามายังดินแดนไทย เป็นอารยธรรมที่แฝงประเพณีความเชื่อเรื่องการเพาะปลูก ที่กล่าวถึงนี้เพื่อให้แนวคิดเรื่องวัฒนธรรมด้านการหล่อโลหะที่กระจายตัวและแหล่งแร่ต่าง ๆ ที่หลอมหล่อขึ้นเป็นกลองดังกล่าวครับ

ให้ดูภาพทางเข้า Guangxi Museum ครับ ภายในมีกลองสำริดมากมายเลยครับ


กระทู้: ประวัติศาสตร์ กับ ทรัพยากร
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 30 ส.ค. 11, 16:27
ข้อสงสัยก็คือ โลหะที่เราเรียกว่าสำริดนั้น มันเป็น Bronze หรือ Brass ครับ บรอนซ์โดยทั่วๆไปมันโลหะผสมระหว่างทองแดง (เป็นหลัก)กับดีบุก (ส่วนน้อย) แต่อาจจะเป็นทองแดงผสมสารหนู ตะกั่ว เหล็ก เงิน สังกะสี ก็ได้ ส่วนทองเหลือง (Brass) นั้น โดยทั่วๆไปมันเป็นโลหะผสมระหว่างทองแดง (ส่วนมาก)กับสังกะสี (ส่วนน้อย)
ผมคิดว่ากลองมโหรทึกเหล่านั้นคงจะมีการตรวจวิเคราะห้กันแล้วทุกใบ ทั้งในด้านส่วนประกอบของโลหะธาตุและปริมาณ (ซึ่งพอจะบ่งบอกถึงแหล่งที่มา) รวมทั้งการจัดตัวของผลึกของเนื้อโลหะ (ซึ่งจะบ่งบอกถึงระดับทางเทคโนโลยี)
  
สำหรับผม สำริดทั้งสองแบบนี้ให้ภาพที่ต่างกันเลย ที่พอจะให้ภาพเหมือนกันก็เห็นจะมีอยู่อย่างเดียวคือ แสดงว่าคนสมัยนั้นมีการติดต่อสื่อสารกันเป็นโครงข่ายที่ค่อนข้างจะถาวร มีเส้นทางสำหรับการเดินทางที่ค่อนข้างจะชัดเจน วัฒนธรรม สังคมและภาษาจะต้องพูดกันรู้เรื่อง ในลักษณะเป็นกลุ่มคนเผ่าพันธุ์เดียวกันหรือใกล้ชิดกัน  
 
กรณีทุกใบเป็นทองแดงกับดีบุกและระดับเทคโนโลยีต่างกันไม่มาก แสดงว่าน่าจะมีที่มาจากแหล่งความเจริญและวัฒนธรรมเดียวกัน อาจจะจากจีนก็ได้ เนื่องจากสำริดของจีนเกือบทั้งหมดเป็นทองแดงผสมดีบุก และเส้นทางก็คงจะเป็นตามลำน้ำโขง ส่วนหนึ่งไปสู่ภาคอีสาณ บางส่วนแยกเดินไปหาแม่น้ำสาละวิน อิระวดี ลงใต้มาตามแหลมทอง

กรณีทุกใบเป็นทองแดงกับดีบุก ระดับเทคโนโลยีต่างกันมาก แสดงว่าอาจจะมาจากหลายแหล่งผลิต หรือผลิตในบริเวณย่านพื้นที่ที่พบ เป็นลักษณะของการถ่ายทอด ลอกเลียน ซึ่งหมายความว่าในบริเวณนั้นๆจะต้องมีแหล่งแร่ต้นทางของทั้งทองแดงและดีบุก

กรณีบางใบเป็นทองแดงผสมดีบุก บางใบเป็นทองแดงผสมสังกะสี แสดงว่าน่าจะมาจากคนละแหล่งผลิต เพียงแต่มีวัฒนธรรมความเชื่อเหมือนกัน และเรียนรู้วิธีการทำมาจากแหล่งเดียวกัน ซึงก็จะให้ภาพอีกว่า หากพวกที่พบในด้านตะวันตกของไทยเหมือนกัน และไม่เหมือนกับที่พบในด้านอีสาณ ก็น่าจะแสดงว่าเส้นทางการสื่อสารคมนาคมและการเชื่อมโยงทางวัมนธรรมเป็นอิสระแก่กันหรือเพียงแยกกันในช่วงใดช่วงหนึ่ง ส่วนใครจะทำก่อนกัน ใครจะลอกเลียนใครนั้นคงต้องไปหาวัดหาอายุกัน ซึ่งในทางวิทยาศาสตร์ทำได้หลายทาง

กรณีทั้งหมดเป็นทองแดงผสมสังกะสี อันนี้แทบจะชัดเจนเลยว่ามาจากอีสาณบ้านเรา

ในไทย เราพบว่าแหล่งแร่ทองแดงที่พบและทำง่าย (อยู่ในความลึกจากผิวดินไม่เกินระดับน้ำผิวดิน) มีอยู่ในพื้นที่ จ.เลย ซึ่งก็พบว่ามีแร่สังกะสีในบริเวณใกล้ๆนั้นด้วย โอกาสการทำโลหะผสมระหว่างทองแดงกับสังกะสีจึงมีมากที่สุด หากพื้นที่นี้จะเป็นพื้นที่ต้นทางของโลหะทองแดงผสมดีบุก ก็จะต้องล่องโขงลงใต้ไปอีกไปเอาดีบุกจากในลาวย่านสุวรรณเขต ปากเซโน่น หรือไม่ก็ต้องทวนโขงขึ้นไปเอามาจากแถว อ.แม่สรวย จ.เชียงรายโน่น หรือไม่ก็ทำอย่างง่ายที่สุด คือ เอากลองมาจากจีน ล่องโขงลงมาเลย ซึ่งผมเขื่อว่าส่วนมากจะคิดแบบนี้

ก็อย่างที่ได้กล่าวมาว่า จีนตอนใต้ดูจะไม่สัมพันธ์กับจีนตอนเหนือมากนัก แม้จะมีดีบุกมาก แต่หากจะทำกลองโดยขนทองแดงมาจากมณฑลทางทะเลตะวันออก ก็ไกลมากเกินไป จะมีได้อีกอย่างก็คือ ขนเลาะลงมาตามชายฝั่งทะเล ลงมาตามแหลมญวนแล้วทวนโขงขึ้นไป อันนี้เป็นเหตุให้มีการพบในเวียดนามด้วยหรือเปล่าก็ไม่รู้ ซึ่งหากเป็นลักษณะนี้ก็ต้องแสดงว่าเส้นทางการเดินเรือตามชายฝั่งนี้มีมานมนานมากแล้ว ย้อนไปนับเป็นพันๆปี และหากเป็นกรณีนี้ ก็แสดงว่าศูนย์กลางการถ่ายทอดความต่อเนื่องทางประวัติศาสตร์ก็น่าจะอยู่ในอีสาณนั้่นเอง เพราะก็พบกลองเหล่านี้ในพม่าด้วย
  
ทางภาคใต้เราพบแต่แร่ดีบุก ไม่พบแหล่งทองแดงที่คนโบราณจะทำได้เลย ดังนั้นกลองมโหรทึกที่พบในภาคใต้นี้ ต้องมาจากด้านบนแน่ มิเช่นนั้นก็จะต้องมาทางเรือ

ผมวิเคราะห์ไปตามความรู้และข้อมูลเท่าที่มีได้อย่างนี้ ผมเชื่อว่ามีท่านผู้รู้และมีข้อมูลอย่างละเอียด และปัญหาข้อสงสัยนี้คงมีคำตอบไปเรียบร้อยแล้ว (หรือไม่เป็นอย่างที่ผมคิดเลย) เนื่องจากเป็นเรื่องพิสูจน์ทราบทางวิชาการตามปกติ ผมอยู่ห่างจากเอกสารและกลุ่มผู้ชำนาญการในเรื่องเหล่านี้มากครับ กรุณาเล่าให้ฟังด้วยครับ



กระทู้: ประวัติศาสตร์ กับ ทรัพยากร
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 31 ส.ค. 11, 10:19
อ้างถึงจดหมายเหตุรายงานการค้า สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช กล่าวถึงทรัพยากรโละหะดังนี้

ตะกั่ว
ตะกั่วในเมืองนี้ (อยุธยา) มีไม่สู้มาก เหมือนดีบุกเป็น (อ่านข้อความไม่ออก) มีพิกัดราคาหาบละ ๑๐ บาท ซึ่งเป็นสินค้าควบคุมห้ามราษฏรทั่วไปขาย


เหล็ก
แร่เหล็กนั้นมีในแขวงเมืองเหนือ อันเป็นพระราชอาณาจักรแถวเมืองสุโขทัย แลเมืองพิษณุโลก ทำได้พอใช้สอยในบ้านเมือง, แลในปีหนึ่ง ๆ ยังได้บรรทุกออกไปจำหน่ายเมืองมะนิลาบ้าง ราคาตามธรรมดานั้น ๖ - ๘ บาทต่อหาบ





กระทู้: ประวัติศาสตร์ กับ ทรัพยากร
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 31 ส.ค. 11, 10:25
สินค้าที่มาจากเมืองกึงตั๋งและเมืองมะเกา

สินค้าที่บรรทุกมาได้แก่ ไหมดิบแลแพรไหม, ปรอท, ทองขาว, ถ้วยชาม, ทองแดงแท่ง, เครื่องเหล็กเปนกะทะ

ทองขาวบรรทุกไปขายพร้อมกับปรอท ไปขายยังเมืองสุหรัด เมืองคอร์แมนเดล และเมืองเบงกอล

ทองแดงแท่งแลเครื่องเหล็ก ใช้ทำของหลายอย่าง เช่น ขันน้ำ โตก ถาดสำหรับใช้เปนเครื่องเรือน เหมือนดังเครื่องเหล็ก ก็ใช้เปนเครื่องเรือนเหมือนกับที่เมืองนี้ (เมืองกึงตั๋งและมะเกา) แลบรรทุกออกไปขายยังหัวเมืองแขกมลายูด้วย


เมืองญวน
การค้าขายกับเมืองญวน มีสินค้า ตะกั่ว และทองคำ

เมืองอินเดีย
การค้ากับอินเดียจะทำการแลกผ้า กับ ดีบุก ทองแดง ทองเหลือง ทองขาว ถ้วยชามกลับไปอินเดีย


กระทู้: ประวัติศาสตร์ กับ ทรัพยากร
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 31 ส.ค. 11, 10:31
ดีบุกเมืองนครศรีธรรมราช สมัยสมเด็จพระนารายณ์

เป็นแหล่งตลาดการค้าที่สำคัญ มีการตั้งรกรากของเรือวิลันดา เข้าทำการค้าขาย
ราคาดีบุกที่ถลุงแล้วราคาภาราละ ๑๖ ตำลึง


กระทู้: ประวัติศาสตร์ กับ ทรัพยากร
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 31 ส.ค. 11, 15:06
ขอบคุณครับสำหรับข้อมูล Siamese ได้กรุณาให้มา แต่ก่อนที่จะวิเคราะห็กัน
ผมมีข้อสังเกตประการหนึ่งครับ เมืองศูนย์กลางในอดีต เช่น เมืองในยูนนานต่างๆ เชียงใหม่ เชียงราย น่าน เลย หรือในพม่าเช่น มัณดะเลย์ และเมืองอื่นๆตอนเหนือ หรือในเวียดนาม เช่นเมืองเว้ เมืองเหล่านี้ตั้งอยู่ในบริเวณที่ราบระหว่างเขา แน่นอนว่าคงจะเกี่ยวกับเรื่องที่อยู่อาศัยและอาหารการกิน ตั้งอยู่ริมแม่น้ำสายใหญ่ (ยกเว้นเมืองเว้ที่อยู่ริมทะเล) แน่นอนว่าคงจะเกี่ยวกับเรื่องของการคมนาคมและแหล่งน้ำ  เหล่านี้คงเป็นเหตุผลปกติ
แต่ที่น่าสนใจก็คือ ที่ตั้งของเมืองเหล่านี้อยู่ในบริเวณที่เรียกว่ามีสภาพทางธรณีวิทยาที่สลับซับซ้อน สภาพทางธรณีวิทยาในลักษณะนี้เป็นสถานที่ให้กำเนิดของแหล่งแร่ต้นทางของโลหะสำคัญที่ใช้กันแพร่หลายในยุคก่อนๆ โดยเฉพาะเหล็ก ทองแดง ตะกั่ว สังกะสี ดีบุก และรวมทั้งพวกรัตนชาติ แต่มิได้หมายความว่าจะต้องพบทุกอย่าง เช่น เหล็ก ทองแดง ไม่พบที่เชียงใหม่ ดีบุกไม่พบที่น่านและเลย แหล่งแร่เหล็กปริมาณมากพบที่บริเวณใต้เมืองล่องแจ้งในลาว ทับทิมและหยกพบในร่องเขาเหนือเมืองมัณดะเลย์ของพม่า ดีบุกพบที่ปากเซในลาว เหล่านี้เป็นต้น
ผมเลยคิดว่า เหตุผลที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของการเลือกที่ตั้งเมืองในอดีตเหล่านี้ ก็คือ การครอบครองทรัพยากรในบริเวณที่ตั้งและในบริเวณที่ตนเอื้อมถึง ซึ่งทรัพยากรเหล่านี้สำคัญเป็นอย่างยิ่งในการทำอาวุธและเครื่องมือทำกิน มากกว่าที่จะใช้ทำภาชนะต่างๆ   
กรณีกลองมโรทึกนั้นเกือบทั้งหมดเป็นเรื่องในยุคมากกว่า 2 -3000 ปี สถานที่ที่พบกลองเหล่านี้ก็คงน่าจะต้องมีรากฐานมานานมากๆสอดคล้องกัน
กรณีกลองนี้ เป็นไปได้มากที่จะทำในพื้นที่กันเอง แม้ว่าในยูนนานจะมีแหล่งทองแดงและมีการขุดหามานาน (ไม่ทราบนานเพียงใด) แต่จากลักษณะการเกิดของทองแดงในแหล่งขุดหาเหล่านั้น คงไม่มากจนเหลือพอจะนำมาค้าขายแลกเปลี่ยนกันได้ ในจีนตะวันออกขนาดของเหมืองใหญ่มากและมีทองแดงมากพอที่จะนำมาทำเครื่องอาวุธสำหรับปริมาณทหารที่สู้รบกันในยุคนั้น ซึ่งสามารถนำไปขายได้ในภายหลัง         



กระทู้: ประวัติศาสตร์ กับ ทรัพยากร
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 31 ส.ค. 11, 15:30
กระผมก็นึกถึงสงครามระหว่างเยรมัน - ฝรั่งเศส ที่ยืดเยื้อมาแสนนาน ด้วยเป็นที่ตั้งของแม่น้ำไรน์บริเวณ สวิสเซอร์แลนด์ - ฝรั่งเศส - เยรมัน ด้วยเป็นที่ตั้งของแหล่งถ่านหินและแหล่งแร่ ที่ขุดกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ

เมื่อสงครามฝ่ายใดชนะ ก็จะเข้าทำการยึดครองแหล่งแร่เหล็กนี้ทันที ก็เป็นที่ทำสงครามกันมานานต่างแย่งชิง จนบัดนี้เพิ่งจะลงตัวกันไม่นานนี้เอง เนื่องจากทำสัญญาแบ่งผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน

http://www1.american.edu/ted/ice/saar.htm


กระทู้: ประวัติศาสตร์ กับ ทรัพยากร
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 31 ส.ค. 11, 16:07
อ้างถึงจดหมายเหตุรายงานการค้า สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช กล่าวถึงทรัพยากรโละหะดังนี้
ตะกั่ว
ตะกั่วในเมืองนี้ (อยุธยา) มีไม่สู้มาก เหมือนดีบุกเป็น (อ่านข้อความไม่ออก) มีพิกัดราคาหาบละ ๑๐ บาท ซึ่งเป็นสินค้าควบคุมห้ามราษฏรทั่วไปขาย
เหล็ก
แร่เหล็กนั้นมีในแขวงเมืองเหนือ อันเป็นพระราชอาณาจักรแถวเมืองสุโขทัย แลเมืองพิษณุโลก ทำได้พอใช้สอยในบ้านเมือง, แลในปีหนึ่ง ๆ ยังได้บรรทุกออกไปจำหน่ายเมืองมะนิลาบ้าง ราคาตามธรรมดานั้น ๖ - ๘ บาทต่อหาบ

ตะกั่ว ที่ราบลุ่มภาึคกลางของเราไม่มีแหล่งตะกั่วแน่นอน ผมเดาว่าคงจะมาจากทาง อ.ศรีสวัสดิ์ นำลงมาตามลำน้ำแควน้อย ลัดออกแม่น้ำแควใหญ่ที่บ้านลุ่มสุ่ม ผ่านบ้านทับศิลา มาโผล่แควใหญ่ที่บ้านท่ามะนาว ลงมาหาเขาชนไก่ที่บ้านลาดหญ้า แล้วเลาะขึ้นไปทางสุพรรณบุรี เข้าอยุธยา

ดีบุก ก็คงมาจากทางใต้ เนื่องจากเริ่มมีการทำเหมืองดีบุกในเขตมาลายูอย่างขนานใหญ่ในช่วงต้นรัชกาลพอดี ซึ่งการทำเหมืองดีบุกคงจะกระจายเข้ามาในไทยมากเหมือนกัน ดีบุกเป็นของหนักมาก คงไม่ขนขึ้นมาถึงอยุธยา คงขนขึ้นเรือในภาคใต้นั่นเอง ก็น่าคิดอยู่ว่า ขนออกทางฝั่งอ่าวไทยหรือฝั่งอันดามัน แต่อย่างน้อยก็แสดงว่า อำนาจของอยุธยานั้นไม่เบาเลยทีเดียวที่จะคุมหัวเมืองใต้ได้อย่างดี

เหล็ก มีแถวโคกสำโรง ลพบุรี ส่วนสุโขทัยนั้นคงทำจากเหล็กที่อยู่กระจายตามพื้นดิน (ข้าวตอกพระร่วง) และบางบริเวณในพื้นที่หินศิลาแลง ซึ่งกระจายอยู่ทั่วไป คงไม่ใช่จากบริเวณเขาหลวง ที่พิษณุโลกนั้นนึกไม่ออกครับ แต่เหนือขึ้นไปในเขตพิชัย ทองแสนขัน ของอุตรดิตถ์นั้นมี แปลกที่ไม่ยังมีการกล่าวถึงเขาอึมครึมในเขตหนองรี ของกาญจนบุรี ที่นี่พบตะกรันอยู่มากพอสมควรบริเวณเหนือตัวอำเภอบ่อพลอย ใกล้ลำตะเพิน

สินค้าขาเข้า ปรอทนั้นน่าสนใจ ไม่ทราบว่าเอามาทำอะไรบ้าง แต่การใช้ปรอทที่สำคัญอย่างหนึ่งคือใช้จับทองในการทำเหมืองทอง ผมเดาว่าอย่างนั้นนะครับ ทองคำของอยุธยาจึงมีมากมีมากทีเดียว

ทองขาว อันนี้ไม่แน่ใจว่าเอามาทำอะไร คงไม่ใช่ Platinum แน่ๆ เพราะไม่พบในย่านเอซีย หรือจะพบก็ตาม ด้วยสภาพทางธรณีวิทยาก็ไม่เอื้ออำนวยให้ทำเหมืองสกัดออกมาได้ด้วยเทคโนโลยีสมัยนั้น ทองคำขาวจึงอาจเป็นทองคำที่มีปรอทผสมอยู่ก็ได้ อันนี้ในแง่ไม่ดีคือลักลอบขนทอง อีกอันก็คืออาจเป็นทองคำผสมเงินก็ได้ทำให้สีทองอ่อนลง แต่น่าคิดว่าก็อาจเป็นทองคำแท้ๆก็ได้ ทองคำบริสุทธ์ตามธรรมชาติมีอยู่ประมาณ 4 สี คือสีทองเหลืองอร่าม สีอกเขียวเหมือนใบตองอ่อน สีออกแดงๆ และสีซีดๆ ยิ่งว่าส่งขายต่อไปยังเมืองแขก ยิ่งน่าคิดใหญ่ เพราะตามความเชื่อของแขกนั้น เกิดมาก่อนตายจะต้องมีทองสักชิ้นหนึ่งติดตัว ทราบว่าในปัจจุบันก็เป็นเช่นนั้น เพียงแต่ในปัจจุบันนิยมทองที่ออกสีแดง

ทองแดงและเครื่องเหล็กที่ว่าเอามาทำเครื่องใช้ เช่น ขันน้ำนั้น ก็คงเป็นขันลงหินก็คือทองแดง (นำเข้า) มาหลอมปนกับดีบุกเล็กน้อย (ของเราเอง) แล้วเอาไปตีขึ้นรูป นึกออกอีกอย่างครับ ทองขาวนั้นอาจเป็นเศษสำริดทองแดงดีบุกก็ได้ เอามาหลอมรวมในการทำเครื่องลงหินต่างๆ แสดงว่าฝีมือและคุณภาพการผลิตของเราต้องดีมากๆ    


กระทู้: ประวัติศาสตร์ กับ ทรัพยากร
เริ่มกระทู้โดย: han_bing ที่ 31 ส.ค. 11, 16:22
เรียนสมาชิกเรือนไทย

ข้าพเจ้าได้เข้าไปอ่านเลยขอเสนอความคิดบ้างเล็กน้อยๆ

ประการแรก ประเทศจีนนั้นมีความเป็นตัวตนสูงมาก มากจนบางทีทำให้คนจีนในหลายพื้นที่ลืมๆไปว่าจริงๆหลายพันปีก่อนตนนั้นไม่ใช่จีน แต่เป็นกลุ่มวัฒนธรรมอื่น อาทิจีนแถบกวางตุ้ง ยูนาน แถวๆนี้ดังเดิมเขาเรียกว่าชนต่างชาติไม่นับรวมเผ่ากับจีน เรียกว่า ไปว่เยว่ (百越:bai yue) กระทั่งพวกแต้จิ๋ว จริงๆก็เป็นประเทศส่วนตัวมาก่อนเรียกว่า พวก "หมิน" (闽: Min)

ทางเหนือกับทางใต้ (นับแต่แม่น้ำแยงซีเกียงลงมา) วัฒนธรรมต่างกันมาก กระทั่งทุกวันนี้ ต่างกันมาที่สุดคือภาคใต้อุดมสมบูรณ์ ภาคเหนือกว้าง แต่ทำอะไรไม่ค่อยได้ การขุดคลองเชื่อมระหว่างสองภาคนี้ สาเหตุหล้กคือเพื่อส่งอาหารจากภาคใต้ไปภาคเหนือ ไม่ว่าจะเป็นข้าวสาลี หรือข้าวเจ้า ผักก็ร่วมด้วยในบ้างโอกาส

ทั้งนี้ ความสัมพันธ์กับจีนในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

มีมาเรื่อยๆแล้วแต่ครั้งราชวงศ์ฮั่นก็ปรากฎการทำการค้าขาย ต่อมาช่วงราชวงศ์ถังสันนิษฐานว่ามีการเดินเรือนค้าขาย

ส่วนกับประเทศไทย นับแต่ราชวงศ์หยวนยันชิง เขาก็ค้าๆขายๆกับเราตลอด

ส่วนจุดประสงค์นั้นเพื่ออะไรข้าพเจ้าเองก็เหลือจะหยั่งรู้ แต่ว่าถ้าจะในบริบทให้ช่วยรักษาชายแดน ส่วนตัวข้าพเจ้าไม่ค่อยจะเห็นด้วยเท่าไร เพราะว่าตอนนั้นแถวๆนี้ไม่ใคร่จะมีความสามารถไปทำอะไรได้ ส่วนจีนเองก็มีระบบจัดการดีเต็มทีด้วยระบบราชการแบ่งหัวเมืองปกครองคล้ายๆจังหวัดในประเทศไทยทุกวันนี้ ไม่ใช่เจ้ากินเมือง แหล่งทรัพยากรของเขาที่สำคัญจริงๆในคำว่าจีนตอนใต้นั้น จริงๆแล้วใต้ของจีนเองก็มีหลายใต้ คือใต้แม่น้ำแยงซีเกียง หรือใต้ไกลโพ้นถึงกวางตุ้ง และยูนหนาน ทั้งนี้แถบๆตอนกลางแถวเซฉวนของจีนกับตอนบนๆอย่างทิเบตก็มีแหล่งทรัพยากรพอควร ไม่น่าจะมีอะไรชวนวิตก

ข้าพเจ้าคิดว่าการทำการค้ากับเมืองแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้น่าจะเป็นเพื่อรับซื้อสินค้าที่หาไม่ได้ในจีนและรับแลกเปลี่ยนสินค้าจากตะวันตกเช่นอินเดีย ที่จะมาเปลี่ยนผ่านแถวนั้นมากกว่า

อันนี้เป็นข้อสันนิษฐานส่วนตัวใครไม่เห็นด้วยสามารถขัดได้ ไม่ว่ากัน


กระทู้: ประวัติศาสตร์ กับ ทรัพยากร
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 31 ส.ค. 11, 21:30


สินค้าขาเข้า ปรอทนั้นน่าสนใจ  ไม่ทราบว่าเอามาทำอะไรบ้าง แต่การใช้ปรอทที่สำคัญอย่างหนึ่งคือใช้จับทองในการทำเหมืองทอง ผมเดาว่าอย่างนั้นนะครับ ทองคำของอยุธยาจึงมีมากมีมากทีเดียว


ปรอทนั้นก็น่าสนใจครับ เอาแค่ในงานช่างฝีมือก็ใช้ปรอทเข้าผสมอยู่จำนวนมาก เช่น งานเปียกทอง คือ การนำเอาปรอทผสมกับทองคำ แล้วนำไปฉาบกับผิวที่ต้องการแล้วไฟลนไล่ปรอทออก ก็จะเหลือแต่เนื้อทอง ซึ่งเป็นงานศิลปกรรมของไทย  และงานอีกประเภทที่ใช้ปรอทอย่างมากคือ อุตสาหกรรมการหล่อพิมพ์พระ ซึ่งในพระเจดีย์อยุธยามีอยู่จำนวนมาก

ยกตัวอย่างพระเครื่องเนื้อชิน (ดีบุก + พลวง + ตะกั่ว) ที่พบได้ในกรุวัดราชบูรณะนั้นมีมากมายเหลือคณานับ ซึ่งการจะหล่อหลอมน้ำทองลงพิมพ์ต้องใช้ปรอทล่อ บนแม่พิมพ์เพื่อให้น้ำทองแล่นติดพิมพ์ดี

แค่นี้ปรอทก็ได้เป็นพระเอกแล้ว ใช้กันมากเสียด้วยครับ


กระทู้: ประวัติศาสตร์ กับ ทรัพยากร
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 02 ก.ย. 11, 17:07

ส่วนกับประเทศไทย นับแต่ราชวงศ์หยวนยันชิง เขาก็ค้าๆขายๆกับเราตลอด
....... แต่ว่าถ้าจะในบริบทให้ช่วยรักษาชายแดน ส่วนตัวข้าพเจ้าไม่ค่อยจะเห็นด้วยเท่าไร เพราะว่าตอนนั้นแถวๆนี้ไม่ใคร่จะมีความสามารถไปทำอะไรได้ ส่วนจีนเองก็มีระบบจัดการดีเต็มทีด้วยระบบราชการแบ่งหัวเมืองปกครองคล้ายๆจังหวัดในประเทศไทยทุกวันนี้ ไม่ใช่เจ้ากินเมือง แหล่งทรัพยากรของเขาที่สำคัญจริงๆในคำว่าจีนตอนใต้นั้น จริงๆแล้วใต้ของจีนเองก็มีหลายใต้ คือใต้แม่น้ำแยงซีเกียง หรือใต้ไกลโพ้นถึงกวางตุ้ง และยูนหนาน ทั้งนี้แถบๆตอนกลางแถวเซฉวนของจีนกับตอนบนๆอย่างทิเบตก็มีแหล่งทรัพยากรพอควร ไม่น่าจะมีอะไรชวนวิตก
ข้าพเจ้าคิดว่าการทำการค้ากับเมืองแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้น่าจะเป็นเพื่อรับซื้อสินค้าที่หาไม่ได้ในจีนและรับแลกเปลี่ยนสินค้าจากตะวันตกเช่นอินเดีย ที่จะมาเปลี่ยนผ่านแถวนั้นมากกว่า
อันนี้เป็นข้อสันนิษฐานส่วนตัวใครไม่เห็นด้วยสามารถขัดได้ ไม่ว่ากัน


ข้อสัณนิษฐานนั้นก็คงไม่ผิดหรอกครับ
ผมคงจะสื่อสารผิดไป ในความหมายของผมก็คือ การแสดงว่าตนเองนั้นเกี่ยวข้องกับทรัพยากรในพื้นที่ตอนใต้ของจีนมานานแล้ว คืออยู่เขตในเอื้อมแขนของตน

 


กระทู้: ประวัติศาสตร์ กับ ทรัพยากร
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 02 ก.ย. 11, 17:44

ปรอทนั้นก็น่าสนใจครับ เอาแค่ในงานช่างฝีมือก็ใช้ปรอทเข้าผสมอยู่จำนวนมาก เช่น งานเปียกทอง คือ การนำเอาปรอทผสมกับทองคำ แล้วนำไปฉาบกับผิวที่ต้องการแล้วไฟลนไล่ปรอทออก ก็จะเหลือแต่เนื้อทอง ซึ่งเป็นงานศิลปกรรมของไทย  และงานอีกประเภทที่ใช้ปรอทอย่างมากคือ อุตสาหกรรมการหล่อพิมพ์พระ ซึ่งในพระเจดีย์อยุธยามีอยู่จำนวนมาก
ยกตัวอย่างพระเครื่องเนื้อชิน (ดีบุก + พลวง + ตะกั่ว) ที่พบได้ในกรุวัดราชบูรณะนั้นมีมากมายเหลือคณานับ ซึ่งการจะหล่อหลอมน้ำทองลงพิมพ์ต้องใช้ปรอทล่อ บนแม่พิมพ์เพื่อให้น้ำทองแล่นติดพิมพ์ดี
แค่นี้ปรอทก็ได้เป็นพระเอกแล้ว ใช้กันมากเสียด้วยครับ

ทำให้ผมนึกถึงคำว่า gilding เลยไปเปิดดูใน Wiki ให้ความรู้น่าสนใจมากครับ
สำหรับการปิดด้วยทองคำเปลวในสมัยโบราณ เราก็มีการทำกัน โดยใช้ยางรักเป็นกาว ?? แต่พอปิดทองพระที่ไปกราบไหว้ แล้วเราใช้กระเทียมทาเป็นกาว
 
ใสมัยก่อนนั้นมีการทำตามวิธีการที่อธิบายใน Wiki อื่นๆอีกบ้างอย่างไรหรือเปล่าครับ

ขอฝอยต่อนิดนึงครับ ที่เมือง Kanazawa ซึ่งอยู่ติดฝั่งทะเลญี่ปุ่น และอยู่ทิศเหนือของเมืองนาโกยา มีหัตถกรรมพื้นเมืองที่คล้ายกับของไทยเป็นจำนวนมาก (หากมีโอกาสจะพยายามหารูปแสดงให้ดู) อย่างหนึ่งก็คือการทำทองคำเปลว ยังมีการทำแบบโบราณในย่านท่องเที่ยวอยู่ เขาใช้กระดาษสาขนาดแผ่นประมาณ 20x20 ซม. วางเป็นชั้นๆสลับกับทองคำที่รีดบางๆแล้ว ชิ้นเล็กๆ ใส่ซองหนัง แล้วใช้ฆ้อนไม้ทุบ ขนาดของชิ้นทองคำเปลวก็เท่าๆกับของไทย (สมัยก่อนทองจะแพง) วิธีการเหมือนกันเลยใหมครับ ความแตกต่างอาจจะมีเพียงเฉพาะกระดาษที่ใช้ ของเขาใช้กระดาษสาแต่ของเราผมไม่ทราบว่าใช้กระดาษอะไร


กระทู้: ประวัติศาสตร์ กับ ทรัพยากร
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 03 ก.ย. 11, 19:30
ทองคำ เป็นแร่โลหะที่สามารถตีแผ่ได้บางที่สุดในโลกครับ โดยใช้ทองคำขนาด ๑ x ๑ ซม. ตีทองออกมาได้ทองเปลวกว้างมาก ย่านตีทองเขาใส่กระดาษแก้ววางซ้อนกันจนหนา และใส่ปลอกหนังวัว (เดิมใส่ปลอกหนังกวาง ... ซึ่งเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญของอยุธยาไปญี่ปุ่น เพื่อผลิคเสื้อเกราะหนังกวางอย่างซามูไร) ใส่ซองหนัง ๑ มัดเรียกกันว่า " ๑ กุบ " นำมาตีด้วยฆ้อนนับพัน ๆ ก็ได้ทองแบนบาง

อุตสาหกรรมการตีทองนั้นไม่ใช่แต่ในญี่ปุ่น ทางพม่า ก็มีครับ (ตามภาพ)


กระทู้: ประวัติศาสตร์ กับ ทรัพยากร
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 03 ก.ย. 11, 19:35

ขอฝอยต่อนิดนึงครับ ที่เมือง Kanazawa ซึ่งอยู่ติดฝั่งทะเลญี่ปุ่น และอยู่ทิศเหนือของเมืองนาโกยา มีหัตถกรรมพื้นเมืองที่คล้ายกับของไทยเป็นจำนวนมาก (หากมีโอกาสจะพยายามหารูปแสดงให้ดู) อย่างหนึ่งก็คือการทำทองคำเปลว ยังมีการทำแบบโบราณในย่านท่องเที่ยวอยู่ เขาใช้กระดาษสาขนาดแผ่นประมาณ 20x20 ซม. วางเป็นชั้นๆสลับกับทองคำที่รีดบางๆแล้ว ชิ้นเล็กๆ ใส่ซองหนัง แล้วใช้ฆ้อนไม้ทุบ ขนาดของชิ้นทองคำเปลวก็เท่าๆกับของไทย (สมัยก่อนทองจะแพง) วิธีการเหมือนกันเลยใหมครับ ความแตกต่างอาจจะมีเพียงเฉพาะกระดาษที่ใช้ ของเขาใช้กระดาษสาแต่ของเราผมไม่ทราบว่าใช้กระดาษอะไร

Kanazawa lacquerware ครับ สวยงามดี


กระทู้: ประวัติศาสตร์ กับ ทรัพยากร
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 03 ก.ย. 11, 20:03
ของไทยก็เรียกว่า เครื่องเขิน ลักษณะการทำคล้ายกัน และงานฝีมือนี้เราได้รับอิทธิพลจากพม่าครับ


กระทู้: ประวัติศาสตร์ กับ ทรัพยากร
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 04 ก.ย. 11, 11:39
"ปรอท" ในฝั่งยุโรป นำไปฉาบกับกระจก เพื่อผลิตกระจกเงา ซึ่งมีคุณภาพดีว่าการฉาบด้วย "ตะกั่ว"  จากการค้าสมัยสมเด็จพระนารายณ์ พ.ศ. ๒๒๒๗


กระทู้: ประวัติศาสตร์ กับ ทรัพยากร
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 05 ก.ย. 11, 21:18
ตามที่คุณ Siamese ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการทำทองคำเปลว นั้น
ถูกแล้วครับ ทองคำเปลวมีการทำอยู่ทั่วไปในเอเซียตั้งแต่โบราณจนปัจจุบัน สามารถจัดเป็นอุตสาหกรรมขนาดเล็กชนิดหนึ่งที่มีความยั่งยืนต่อเนื่องมายาวนาน
 
นำพาให้มีเรื่องน่าสนใจอีก คือ
  - พระบัวเข็ม ซึ่งก็คงเป็นอีกลักษณะหนึ่งของการใช้ทองคำเปลว แล้วพระพุทธรูปเก่าๆของไทยที่ไม่ใช่โลหะ มีการทำในลักษณะนี้มากน้อยเพียงใดครับ
  - งานเปียกทองนั้น เราใช้กับเฉพาะกับพระหรือสิ่งของขนาดเล็ก หรือใช้กับพระพุทธรูปขนาดใหญ่ด้วย หรือสำหรับพระพุทธรูปขนาดใหญ่เราใช้วิธีปิดด้วยทองเปลว
  - ที่ว่าพม่าเผากรุงศรีฯแล้วเอาทองไปทำยอดเจดีย์ชเวดากองนั้น มีมูลความจริงมากน้อยเพียงใดครับ ทองในงานเปียกทองและปิดทองเปลวนั้นคงจะำไม่มีปริมาณมากมายถึงขนาดนั้น พม่าซึ่งเป็นชาวพุทธที่ค่อนข้างจะเคร่งก็คงจะไม่หลอมพระพุทธรูปเพื่อเอาทองไป (แล้วก็คงจะได้เพียงทองผสมสำริด) ทั้งนี้หากพม่าได้ทองไปในปริมาณขนาดนั้น ก็คงต้องมาจากทองก้อนและทองรูปพรรณต่างๆที่สะสมอยู่ในพระราชวังและจากประชาชน การจะได้ทองคำจากงานทางสถาปัตยกรรมที่ทำด้วยทองคำล้วนบางอย่างก็คงจะไม่น่าจะมีมากนัก

ผมมีข้อสงสัยอยู่ประการหนึ่ง คือ ในสมัยนั้นมีการค้าขายทองคำกันบ้างหรือไม่ครับ

           


กระทู้: ประวัติศาสตร์ กับ ทรัพยากร
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 05 ก.ย. 11, 21:59
เรียนคุณตั้ง

เรื่องทองคำเปลวที่ใช้กันบนแผ่นดินสยามนี้ ผมหยิบ "พระคง" ให้ชม พระคงเป็นพระเนื้อดินเผาขนาดเล็ก สกุลช่างล้านนา อายุการสร้างพระมีในตำนานช่วงพระนางจามเทวี ซึ่งกล่าวไว้ว่ามีการสร้างพระดังกล่าวขึ้น มีทั้งปิดทอง และไม่ปิดทอง การปิดทอง และอายุการสร้างมากว่า ๑๐๐๐ ปี ก่อนยุคสุโขทัย (ซึ่งมีการปิดทองแล้ว)

การปิดทองต้องทำการลงรักเพื่อให้วัสดุเหนียวแล้วค่อยปิดทอง


กระทู้: ประวัติศาสตร์ กับ ทรัพยากร
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 05 ก.ย. 11, 22:05
ส่วนงานเขมร ในช่วงเดียวกัน เน้นการหล่อโละหะสำริดกันอย่างมากมาย ดังนั้นทรัพยากรด้านโลหะเช่น ทองแดง ดีบุก  ต้องมีอยู่จำนวนมาก แต่ไม่พบงานลงรัก ปิดทอง


กระทู้: ประวัติศาสตร์ กับ ทรัพยากร
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 05 ก.ย. 11, 22:13
แต่ทางขอม ก็ใช้ทองคำเช่นกัน ดังจารึกพุทธศตวรรษ ๑๗ ปราสาทหินพนมรุ้ง

"ศฺศิรสา สฺวมูรฺตฺเตะ เทเศสุวรฺณปฺรติมำศราไขฺย สฺ สฺถาปยามาสสมุตฺกเจตาะ" แปลได้ว่า พระองค์ทรงเบิกบานพระทัยได้สร้างรูปทองคำโดยศราขยะ ด้วยความเคารพใกล้รูปของพระองค์*

"วฺฤษธฺวชปุเรวิษฺโณะ ปฺรติมาญฺจหิรณฺมยมฺ" แปลได้ว่า พระองค์*ได้สร้างรูปทองคำของพระวิษณุในเรือนของพระวฤษธวชะ

*พระองค์ คือ พระเจ้าสุริยวรมันที่ ๒


กระทู้: ประวัติศาสตร์ กับ ทรัพยากร
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 05 ก.ย. 11, 22:31
กรณีคุณ Siamese ใ้ข้อมูลเรื่องปรอทที่ใช้ในการฉาบทำกระจกเงา จากการค้าสมัยสมเด็จพระนารายณ์ พ.ศ. 2227 นั้นก็น่าสนใจมากๆ โดยเฉพาะในเชิงเทคโนโลยี

ผมเลยไปแสวงหาข้อมูลในอินทรเนตร ก็พบว่าที่เราเรียกว่ากระจกเงาฉาบปรอทนั้น คือการใช้โลหะผสมระหว่างปรอทกับดีบุกบ้าง ปรอทกับเงินบ้าง ฉาบผิวด้านหนึ่งของกระจก เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นไม่นานก่อนสมัยสมเด็จพระนารายณ์มากนัก ดังนั้น หากมีอยู่ในบันทึกในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ก็แสดงว่าไทยรับทราบเทคโนโลยีดังกล่าวพอสมควร ซึ่งแสดงออกถึงความทันสมัยและความสนใจกับเทคโนโลยีที่ทันสมัยของไทยในยุคนั้น ไม่ทราบว่าในสมัยนั้นไทยสามารถฉาบได้ด้วยตนเองหรือไม่

ก็ขอเลยไปถึงเรื่องสิ่งของเครื่องใช้เครื่องประดับที่ทำจากแก้ว ด้วย 2 ข้ออยากรู้  
    - เครื่องแก้ว (ของใช้ หรือของตกแต่ง) เก่าที่สุดของไทย ไม่ว่าจะเป็นของกำนัลหรือทำเองมีอยู่ที่ใหนบ้างครับ (ไม่นับรวมลูกปัดแก้วโบราณ)
    - วัดในไทยที่มีการประดับด้วยชิ้นแก้วเก่าที่สุดอยู่ในสมัยใดครับ  
ประเด็นของผมก็คือ แก้ว (กระจก) นั้นมั้นเป็นของเปราะบางและยังหนักอีกด้วย (1 ลบ.ม. หนักประมาณ 2.5 ตัน) หากมีความสำคัญหรือมีค่า (แก้วสีสำหรับประดับวัด) ก็น่าจะต้องมีบันทึกอยู่บ้างในรายการสินค้าที่ค้าขายของไทย เิริ่มแต่เมื่อใด หรือไทยสามารถผลิตแก้วได้เอง ตั้งแต่ยุคใด  


กระทู้: ประวัติศาสตร์ กับ ทรัพยากร
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 06 ก.ย. 11, 08:49
แก้ว - กระจก เป็นวัสดุที่ผลิตขึ้นมาเพื่อทดแทนมณี และอัญมณี ซึ่งเกิดจากการหลอมเหลวของแร่ซิลิกา ที่พบมากในทราย โดยคนโบราณ(สมัยก่อนประวัติศาสตร์) เรียนรู้ที่จะทำและนำแร่ธาตุอื่น ๆ มาผสมทำให้เกิดสีต่าง ๆ เกิดเป็น "ลูกปัด" และต่อยอดขึ้นไปเป็นเครื่องใช้ "ขวด" บรรจุของเหลว

ประเทศซีเรีย ดินแดนอาหรับ ถือเป็นต้นกำเนิดการเป่าแก้ว และกระจกเงาเป็นแห่งแรกของโลก ในคริสศตวรรษที่ ๑

ยุคกลางฝั่งยุโรป ต่างเล่นแร่แปรธาตุกันเพื่อสร้างทองคำจากตะกั่ว จึงเกิดทฤษฎีสูตรเคมีมากมาย ต่อยอดไปยังแก้ว - กระจก เกิดผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ สวยงาม

- กระจกสี (Stained Glass) ติดเชื่อมกันได้ต้องคู่กับตะกั่วเป็นกรอบหุ้มเดินลาย

- เลนส์เว้า เลนส์นูน นำกระจกมาเจียโดยลูกปืนใหญ่ หมุน ๆ ขึ้นมา ก่อให้เกิดความก้าวหน้าทางดาราศาสตร์มากมาย

- ขวดไวน์ ขวดใส่สารเคมี ลดการกัดกร่อน แตกง่าย เดิมใช้เครื่องปั้นดินเผาแบบเคลือบ พัฒนาสู่เครื่องแก้ว

โดยแหล่งการทำกระจกที่มีคุณภาพที่ดีที่สุดต้อง "อิตาลี" ทำเครื่องแก้วได้มีคุณภาพสูงที่สุด


กระทู้: ประวัติศาสตร์ กับ ทรัพยากร
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 06 ก.ย. 11, 08:57
ในฝั่งสุวรรณภูมิก็มีคำว่า "แก้ว" เช่นเดียวกัน แต่ไม่ใช่ Glass หากเป็นแร่ที่มีความใสนั่นคือ "Quartz" หรือ แร่ควอซท์ ซึ่งเกิดจากแร่ซิลิลาที่ตกผลึก ซึ่งก็คือ ผลึกซิลิกานั่นเอง โดยไม่ต้องเอาทรายไปหลอม ให้ธรรมชาติเป็นผู้หลอมให้พบได้มากทางพม่า - เชียงราย - ลำปาง

โดยนำผลึกเหล่านี้มาสร้างสรรค์ผลงานในรับใช้ทางศาสนา คือ นำมาแกะเป็นพระพุทธรูป นำมาแกะเป็นเครื่องถ้วย นำมาประดับร่างกาย


กระทู้: ประวัติศาสตร์ กับ ทรัพยากร
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 06 ก.ย. 11, 09:04
ศิลปะวัตถุ ๒ ชิ้นนี้เป็นศิลปะสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ซึ่งมีการนำแร่ควอซท์ - แก้ว นำมาใช้ประโยชน์ ภาพซ้ายพบที่กรุวัดราชบูรณะ ส่วนภาพขวาพบที่เจดีย์สุริโยทัย ที่วัดสบสวรรค์


กระทู้: ประวัติศาสตร์ กับ ทรัพยากร
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 06 ก.ย. 11, 09:20
ทางฝ่ายจีน พบการใช้เครื่องแก้วได้น้อยชิ้น เนื่องจากเป็นประเทศต้นกำเนิดเครื่องปั้นดินเผาชั้นเลิศ และพยายามต่อยอดให้เนื้อดินบางใส และโปร่งแสงได้อย่างวิเศษ ส่วนเครื่องใช้ภายในราชสำนักยังเป็นเครื่องกระเบื้องที่ผลิตอย่างดี และถาดทองคำ ถาดเงิน ถาดงาช้าง แต่สำหรับเครื่องใช้เนื้อใส เขายกให้ "หยก" ไม่ว่าหยกขาว หยกเขียว เอามาทำเครื่องใช้ได้ เช่น ภาพถ้วยน้ำชาหยกขาว งามวิเศษ


กระทู้: ประวัติศาสตร์ กับ ทรัพยากร
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 06 ก.ย. 11, 09:42
มาถึงกระจกที่ติดตามงานสถาปัตยกรรมไทยดูบ้าง

กระจกที่ประดับตกแต่งของไทย เราเรียกว่า "กระจกเกรียบ" ซึ่งมีการหุงมานานซึ่งมีแหล่งกำเนิดดังนี้

๑. กระจกเกรียบจากประเทศจีน ไทย, พม่า นำเข้ามาประดับศาสนสถาน ทั่วดินแดนล้านนา - พม่า - ไทยสมัยกรุงศรีอยุธยา

๒. กระจกเกรียบจากในประเทศ โดยเริ่มรู้การหุงกระจกสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์

กระจกเกรียบเป็นองค์ประกอบของ กระจก + ออกไซด์ของตะกั่ว, ทองแดง, แร่ฟันม้า เหล่านี้ล้วนทำให้เกิดสีสันต่างๆ แก่ตัวกระจก

เช่นนี้แล้ว พระเอกด้านทรัพยากรที่ใช้ในสมัยโบราณคือ ทราย, ตะกั่ว, ทองแดง, โคบอลท์


กระทู้: ประวัติศาสตร์ กับ ทรัพยากร
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 09 ก.ย. 11, 21:22
ตามเข้ามาฟังค่ะ.  ค่อยๆไล่ตามมาทีละหน้า
อย่าเพิ่งจับนะคะ.  อยากฟังเรื่องทรัพยากรแต่ดั้งเดิมของไทยอีกค่ะ. 


กระทู้: ประวัติศาสตร์ กับ ทรัพยากร
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 10 ก.ย. 11, 17:01

กระจกที่ประดับตกแต่งของไทย เราเรียกว่า "กระจกเกรียบ" ซึ่งมีการหุงมานานซึ่งมีแหล่งกำเนิดดังนี้
๑. กระจกเกรียบจากประเทศจีน ไทย, พม่า นำเข้ามาประดับศาสนสถาน ทั่วดินแดนล้านนา - พม่า - ไทยสมัยกรุงศรีอยุธยา
๒. กระจกเกรียบจากในประเทศ โดยเริ่มรู้การหุงกระจกสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์
กระจกเกรียบเป็นองค์ประกอบของ กระจก + ออกไซด์ของตะกั่ว, ทองแดง, แร่ฟันม้า เหล่านี้ล้วนทำให้เกิดสีสันต่างๆ แก่ตัวกระจก
เช่นนี้แล้ว พระเอกด้านทรัพยากรที่ใช้ในสมัยโบราณคือ ทราย, ตะกั่ว, ทองแดง, โคบอลท์

น่าสนใจมากๆนะครับ
กระจกเกรียบนำเข้ามาจากจีนในสมัยอยุธยา ก็หมายความเป็นสินค้าอีกอย่างหนึ่งที่มากับเรือในยุคริวกิว แต่มิได้มีการกล่าวถึงมากนัก
สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์เริ่มรู้การหุงกระจก ซึ่งส่วนประกอบในการทำก็คือ ทราย ตะกั่ว ทองแดง และโคบอลท์
 
เรามีทรายที่มีคุณภาพพอจะนำมาใช้ทำกระจกได้อยู่ทั่วไป
 
เรามีแหล่งตะกั่วที่มีการทำมานานมาก อยู่ที่กาญจนบุรี และมีการบันทึกการส่งออกด้วย
 
ที่น่าสนใจ คือ ทองแดง ซึ่งเป็นไปได้ทั้งจากการนำเข้าจากจีนต่อเนื่องมาตั้งแต่สมัยอยุธยา หรือได้มาจากการทำเหมืองในเมืองไทย ซึ่งก็มีแหล่งที่มีการทำมานานแล้วเช่นกัน (เช่น แหล่งในเขตจังหวัดเลย) หรือได้มาจากทั้งนำเข้าและทำเอง น่าสนใจตรงที่หากมีการใช้ทองแดงของไทยทำเองในยุคนี้ ก็คงต้องมีบันทึกเรื่องราวทั้งการผลิตและการขนส่งปรากฏอยู่ที่ใดสักแห่ง การนำเข้าทองแดงนั้นมีแน่นอนตามที่คุณหนุ่มสยามได้เล่ามาในความคิดเห็นที่ 9

โคบอลท์นั้น คงเป็นการนำเข้าแน่ๆ เพราะถึงแม้ว่าจะเกิดร่วมอยู่กับแร่ทองแดงได้ แต่ก็ไม่ปรากฎว่ามีรายงานทางวิชาการในยุคปัจจุบัน ที่รายงานว่าพบในแหล่งแร่ของไทยในปริมาณที่มีนัยสำคัญ น่าสนใจในมุมหนึ่งก็คือ เอาเข้ามาจากใหน ซึ่งมีอยู่ 2 ทาง คือจากจีน ตั้งแต่สมัยทำเครื่องเคลือบจากเตาเชลียง และจากโลกตะวันตกเมื่อการค้าที่แหลมมาลายูเจริญมั่นคงแล้ว และคงจะไม่ใช่ในลักษณะโลหะแน่ๆ คงจะเป็นออกไซด์หรือเกลือโคบอลท์ในลักษณะของก้อนหรือป่นมาแล้ว ซึ่งแม้ว่าจะเป็นของที่ใช้ในปริมาณไม่มากในการทำเครื่องเคลือบหรือกระจก แต่หากมีความสำคัญขนาดต้องใช้ในการผลิตสินค้าขาออก หรือใช้ในการผลิตชิ้นงานทางสถาปัตยกรรมที่มีความสำคัญ (วัด) ก็น่าจะต้องมีการบันทึกอยู่บ้างเหมือนกัน

แร่ฟันม้า หรือหินฟันม้าก็น่าสนใจ แร่ชนิดนี้มี 3 ชนิด คือ แร่ที่มีโซเดียมเป็นหลัก (์Na feldspar) แร่ที่มีโปแตสเซียมเป็นหลัก (K feldspar) และแร่ที่มีแคลเซียมเป็นหลัก (Ca feldspar) ที่ใช้ในในการทำเครื่องเคลือบดินเผานั้น ใช้ชนิดโซเดียมในส่วนที่ทำเนื้อ และใช้ชนิดโปแตสเซียมในส่วนการเคลือบให้มันเป็นแก้ว ส่วนชนิดแคลเซียมนั้นไม่นิยมใช้กัน ทั้งโซเดียม โปแตสเซียม และแคลเซียมนี้เกิดอยู่รวมกันได้ในแร่ก้อนเดียวกันหรือในแหล่งแร่เดียวกัน แต่มักจะมีมากไปในทางใดทางหนึ่ง ประเด็นอยู่ที่ว่า เราก็พบแร่หินฟันม้าได้ทั่วไป แต่ชนิดโปแตสเซียมนั้นพบเฉพาะบางแห่ง เช่นตามทิวเขาชายแดนไทยด้านตะวันตก จังหวัดตาก ลำปาง เป็นต้น ทั้งนี้แร่ฟันม้าที่นำมาใช้จะต้องมีคุณภาพดีมากและค่อนข้างจะบริสุทธิ์ เนื่องจากหากมี Impurities อื่นๆเพียงเล็กน้อย ก็จะทำให้ผิวเคลือบนั้นไม่ขาวใสเป็นแก้ว ดังนั้น จึงเป็นไปได้ทั้งจากการนำเข้า หรือทำเอง หากนำเข้าก็คงจะได้ของดี เพราะจีนมีความสันทัดในการคัดเลือกมานาน และหากทำเองก็คงจะต้องมีบันทึกอยู่บ้างในชนบทที่มีการทำ รวมทั้งร่องรอยและมรดกตกทอดของเทคนิคต่างๆ ไม่ทราบว่าจะคิดทางใหนดี แต่เชื่อว่าน่าจะทำเองมากกว่า ไม่เช่นนั้นแหล่งผลิตที่ศรีสัชนาลัยคงจะไม่สามารถผลิตได้มากในปริมาณที่ส่งออกได้ขนาดนั้น และโด่งดังไปทั่วโลก แน่นอนว่าที่ศรีสัชนาลัยนั้นมีแหล่งดินที่ดีมากๆ เป็นดินจากตะกอนลำน้ำที่มีการล้าง Impurities ออกไปจนเกือบหมด เนื้อละเอียด มีขนาดของเม็ดตะกอนเท่าๆกัน เป็นดินเหนียว (ฺBall clay) ทีมีแร่ดิน (Clay minerals) ผสมผสานอยู่ในปริมาณที่พอเหมาะพอดี จนสามารถขึ้นรูปได้ง่าย เนื้อบาง คงรูปเมื่อนำไปเผาแล้ว เครื่องปั้นที่เผาแล้วมีเนื้อเนียนและไม่ออกสีแดง สามารถวาดลายและเคลือบผิวได้
 
ผมพักไว้เพียงเท่านี้ก่อน คงจะเล่าต่อในความเห็นเกี่ยวกับที่ตั้งเมืองและนครรัฐ ในช่วงต่อๆไป ครับ
       


กระทู้: ประวัติศาสตร์ กับ ทรัพยากร
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 10 ก.ย. 11, 20:03
ในสมัยรัชกาลที่ ๓ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้รับรายงานจากหัวเมืองนครราชสีมาว่า ค้นพบแหล่งแร่ทองแดงที่อำเภอจันทึก ซึ่งมีอยู่ปริมาณมาก ซึ่งรัชกาลที่ ๓ ทรงได้นำแร่ทองแดงนี้มาหล่อเป็นพระประธาน ๓ องค์และพระพุทธรูปองค์เล็ก ๆ อีกมากมาย


กระทู้: ประวัติศาสตร์ กับ ทรัพยากร
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 11 ก.ย. 11, 19:39
จากข้อมูลต่างๆในกระทู้นี้ ก็อาจจะนำมาประมวลเป็นมุมมองทางด้านทรัพยากรที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ได้ พอสมควร

ข้อเท็จจริงประการแรก คือ สภาพที่ตั้งของเมืองหรือนครรัฐต่างๆในอดีตในประวัติศาสตร์ไทยนั้น ส่วนมากจะกล่าวกันแต่เพียงว่า เป็นที่ราบ น้ำดี ดินดี เป็นชัยภูมิที่ดีเนื่องจากมีภูเขาล้อมรอบ ทำให้ข้าศึกเข้ามายาก แต่แท้จริงแล้วหากดูไปถึงสภาพทางธรณ๊วิทยา ในพื้นที่ภาคเหนือนั้น จะเห็นว่าล้วนแล้วแต่ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่ล้อมรอบไปด้วยลักษณะทางธรณีวิทยาจำเพาะที่เอื้ออำนวยให้เป็นแหล่งกำเนิดของทรัพยากรธรณีชนิดต่างๆ ตั้งอยู่ในภูมิประเทศที่เป็นแอ่งที่มีลำน้ำใหลผ่านตลอดทั้งปี เป็นแอ่งที่มีการสะสมของตะกอนดินทรายที่ผุพังมาจากลักษณะธรณีวิทยาจำเพาะเหล่านี้ จึงทำให้พื้นที่ราบในแอ่งมีความอุดมสมบูรณ์ไปด้วยแร่ธาตุเหมาะแก่การเพาะปลูกและดำรงชีวิต การเลือกสถานที่ตั้งของเมืองหรือนครรัฐในลักษณะนี้มีตลอดมาจนสิ้นยุคสุโขทัย
 
น่าสังเกตุว่า เมืองเหล่านั้นตั้งอยู่บนสายน้ำที่สามารถเดินทางติดต่อเชื่อมโยงกันได้ และดูเหมือนจะไม่มีการทำสงครามระหว่างกันอย่างเป็นกิจลักษณะ ในลักษณะรบกันไปรบกันมา ซึ่งน่าจะแสดงว่าเป็นคนกลุ่มเดียวกันจึงยอมกันได้ง่าย การยึดเมืองต่างๆเิ่ริ่มแรกจากการขยายจากเหนือลงใต้ ซึ่งลงมาไม่มากนัก น่าจะแสดงว่าเป็นการเพิ่มที่ราบเพื่อขยายที่ทำกิน เนื่องจากว่าเมืองต่างๆในภาคเหนือนั้นมีแหล่งแร่และทรัพยากรสำหรับทำโลหะกรรมมากพออยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องไปหาเพิ่มเติมอีก สาเหตุอื่นๆก็คงจะเป็นเรื่องทางการเมืองและสังคม เพื่อไปหาที่ที่สงบสุขอยู่ พอถึงสมัยสุโขทัยการยึดเมืองต่างๆก็ยึดจากใต้ขึ้นเหนือ เนื่องจากว่ามีแต่ที่ราบที่ทำกิน มีแหล่งดินดีสำหรับทำสินค้าเครื่องปั้นดินเผาชั้นดี แต่ขาดแหล่งแร่และทรัพยากรสำคัญสำหรับโลหะกรรม ซึ่งน่าจะเป็นสาเหตุส่วนหนึ่ง ช่วงนี้เป็นช่วงเวลาที่พม่ากำลังระรานอยู่ทางภาคเหนือและตะวันตกอีกด้วย

เราได้พูดถึงเรื่องทองแดง ดีบุก ตะกั่ว โคบอลท์ แร่ฟันม้า ทั้งหมดนี้ใช้ในงานทางศิลปกรรม แม้จะใช้ทำอาวุธก็เป็นส่วนน้อย คือใช้ในการตบแต่งเสียมากกว่า โลหะที่ใช้ทำอาวุธจริงๆ คือ เหล็ก ซึ่งเทคโนโลยีในสมัยนั้นคงไม่ทราบว่าจะต้องผสมแมงกานีส หรือผสมพลวง หรืออื่นๆ เพื่อใ้ห้ได้เหล็กที่มีคุณภาพตามต้องการ (เช่น เหนียว แข็ง หรือคมคงทน) ส่วนการชุบแข็งด้วยน้ำหรือน้ำมันนั้นมีอยู่แล้วแน่นอน ดังนั้นแหล่งแร่เหล็กจึงควรจะเป็นแหล่งที่มีธาตุโลหะอื่นผสมอยู่ในระดับที่พอเหมาะแล้ว 

ผมก็เลยคิดว่า ในช่วงยุคล้านนานั้น เอาเหล็กมาจากใหนกัน คงจะไม่ผิดหากจะมีการค้าและนำมาจากจีนลงมาทางยูนนาน หรือไม่ก็จากลาว จึงน่าจะสอดคล้องกับเรื่องการขยายเขตอาณาเริ่มจากเหนือลงใต้ เนื่องด้วยคนที่อยู่ทางเหนือจะมีโอกาศหาได้ง่ายมากกว่า จึงมีอาวุธในปริมาณที่มากพอเพียงจะทำการรบพุ่งที่เหนือกว่าได้ หากจะเอามาจากแหล่งในไทย ในยุคนั้นก็คงจะต้องเอามาจากแหล่งแถวเลย อุตรดิตถ์ ลพบุรี สุโขทัย และกาญจนบุรี ซึ่งหมายความว่าน่าจะมีหลักฐานทางเอกสารหรือประวัติศาสตร์อยู่บ้าง
แล้วก็ที่พม่าสามารถตีเชียงใหม่และมีอิทธิพลในล้านนาเมื่อยุคหนึ่งนั้น ผมก็คิดว่าเพราะพม่ามีแหล่งเหล็กใหญ่อยู่แถวๆเมืองตองอูนั่นเอง สามารถทำอาวุธได้มากมาย
ในขณะที่เมืองในล้านนามีอาวุธจำกัด   

เมื่อถึงสมัยสุโขทัย เราคงใช้เหล็กจากแหล่งในย่านสุโขทัยส่วนหนึ่ง จากลพบุรีส่วนหนึ่ง และจากอุตรดิตถ์ส่วนหนึ่ง สะสมทำอาวุธจนมีมากพอที่จะขยายเขตปกครองขึ้นไปทางเหนือ และสู้กับพม่า เหล็กของไทยน่าจะมีแมงกานีสผสมอยู่ในปริมาณที่พอเหมาะ ผมเดาจากคำพูดที่ว่าสะบัดดาบ เพราะเหล็กผสมแมงกานีสนี้จะมีคุณสมบัติดีดเป็นสปริงได้ ก็คงจะเป็นเรื่องของแหล่งแร่เหล็กกระมัง ที่ไทยในอดีตต้องให้ความสำคัญในการครองพื้นที่ในย่านอุตรดิตถ์-พิษณุโลกตลอดมา       

น่าสังเกตุว่า ดูเหมือนจะมีกลุ่มคนอยู่ 4 กลุ่มตั้งรกรากอยู่ในไทย ซึ่งก็น่าจะเป็นคนกลุ่มชาติพันธุ์เดียวกัน คือ กลุ่มคนทางอิสาณซึ่งดูจะรักสงบมากๆ กลุ่มคนในภาคเหนือซึ่งยอมคนภาคกลาง กลุ่มคนในภาคกลางซึ่งแต่เดิมก็อาจจะเป็นพวกที่มาตั้งรกรากกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป และกลุ่มคนในภาคใต้ ความแตกต่างทางมนุษย์วิทยาก็คงมีการศึกษาและมีข้อมูลมากแล้ว ผมขอเิติมความเห็นเกี่ยวกับความแตกต่างอีก เช่น ในเรื่องของอาหาร อาหารทางภาคเหนือมีการใช้เครื่องเทศบางอย่างเป็นเฉพาะของตนเอง ไม่เหมือนจีนและก็ไม่เหมือนอินเดีย อาหารอิสาณเืกือบจะไม่มีการช้เครื่องเทศใดๆเลยทั้งจากอิทธิพลของจีนและอินเดีย  อาหารใต้มีการใช้เครื่องเทศแบบอินเดียแต่ย่อส่วน (เลือกใช้) อาหารภาคกลางเกือบทั้งหมดจะเป็นอาหารที่แปลงมาจากทุกแหล่งกำเนิด ทั้งหมดนี้ดูเหมือนจะแสดงระดับของการเลือกรับอิทธิพลบางประการของกลุ่มคนไทยเหล่านี้ หรือแสดงการความกระท่อนกระแท่นของอิทธิพลจากจีนและอินเดียในแผ่นดินแหลมทองนี้ หรือคนไทยอยู่แยกกระจัดกระจายกันมากจนอิทธิพลเหล่านี้เข้าไม่ถึง ยกเว้นเฉพาะส่วนที่เป็นเมืองหลวง แสดงว่าคนในแผ่นดินนี้รักอิสระ แต่เมื่อต้องสู้ก็จะมารวมกัน 
               
ผิดถูกประการใดวิจารณ์ได้ครับ


กระทู้: ประวัติศาสตร์ กับ ทรัพยากร
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 12 ก.ย. 11, 10:35
เหล็ก จากแผนที่แหล่งแร่ในประเทศไทยพบแหล่งแร่เหล็กมากบริเวณภาคเหนือ เลย และทางใต้ ซึ่งกระจุกตัวกันเป็นกลุ่ม ๆ


กระทู้: ประวัติศาสตร์ กับ ทรัพยากร
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 12 ก.ย. 11, 14:26
ถูกต้องแล้วครับ
แร่ต่างๆนั้น แท้จริงแล้วพบได้ทั่วๆไปในสภาพทางธรณีวิทยาที่เอื้ออำนวย ในภาษาวิชาการเรียกว่า Occurrence คือ จุดที่พบว่ามีแร่นั้นๆ แต่มิได้หมายความว่าจะเป็นแหล่งแร่ (Deposit) ที่มีปริมาณมากพอที่จะขุดออกมาใช้เพื่อทำประโยชน์ แผนที่ดังกล่าวนี้เป็นเพียงบอกว่ามีการพบว่ามีแร่ชนิดนั้นๆ ณ.จุดนั้นๆ และในจำนวนเหล่านั้นก็มีไม่มากจุดนักที่เสามารถขุดนำมาใช้ได้ เปิดทำเหมืองได้ ลักษณะของจุดที่พบแร่ที่แสดงอยู่ในแผนที่นี้ ส่วนมากจะเป็นเพียงเส้นหรือแถบบางๆ อยู่ตามรอยแตกรอยแยก อาจจะหนาเพียง 5 ซม. ยาวเพียง 1 - 2 เมตร หรือไม่ก็เป็นก้อนเล็กๆประติดอยู่ในเนื้อหิน และในรูปแบบอื่นๆเช่นปนอยู่ในเนื้อหินซึ่งทราบได้จาการวิเคราะห์ทางเคมีหรือส่องกล้องดู ขึ้นอยู่กับชนิดและประเภทของแร่ แผนที่นี้ทำขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์ในการแสดงว่า ณ.บริเวณดังกล่าวนั้นเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพสูงที่จะพบแหล่งแร่ในเชิงพาณิช ซึ่งจะต้องสำรวจ ขุด หรือเจาะหาจุดที่เป็นแหล่งแร่จริงๆต่อไป ซึ่งหากจะมีก็มักจะพบอยู่ลึกลงไปใต้ดิน

สภาพทางธรณีวิทยาที่เอื้ออำนวยต่อการกำเนิดแร่ลักษณะหนึ่งก็คือบริเวณที่มีหินอัคนีวางตัวสัมผัสกับหินปูน ซึ่งในพื้นที่เหล่านี้เกือบทั้งหมดก็เป็นที่ตั้งของเมืองเก่าเกือบทั้งนั้น หากเมืองนั้นตั้งอยู่ในแอ่งที่ราบขนาดใหญ่ ก็ดูจะมีความเจริญและอำนาจมากกว่าที่ตั้งอยู่ในแ่อ่งที่เล็กกว่าอีกด้วย
ลักษณะทางธรณีวิทยาอีกอย่างหนึ่งที่อำนวยต่อการเกิดแร่ก็คือบริเวณที่หินได้แปรเปลี่ยนคุณสมบัติทางกายภาพและเคมีไปเนื่องจากแรงอัดมหาศาล เมืองเก่าที่ตั้งอยู่ในธรณีวิทยาลักษณะนี้ ก็เช่น เชียงแสน และร่องเขามัณฑะเลย์ -Dali (จีน) ลักษณะนี้ให้แร่พวกที่นำมาทำพลอยสวยงาม ซึ่งในพม่าพบหยกชั้นดีอีกด้วย

ชวนให้คิดว่าที่กองทัพมองโกลลุยเข้าพม่าและไม่มาไทยนั้น ก็คงเดินทัพตามร่องเขานี้ และก็อาจเป็นเพราะต้องการครอบครองแหล่งหยกแถมเหล็กหรือเปล่า

ชวนให้คิดต่อไปว่า เชียงแสนน่าจะเป็นเมืองของคนรักสงบและมีอารมณ์ศิลป์ จำได้ว่าเคยเห็นพระทำจากแก้ว (หินควอร์ทซ์, Quartz) และเชียงใหม่ก็คงไม่ต่างจากเชียงแสนนัก แต่ไม่แน่ใจว่ามีพระทำจากหินสีหรือพลอยอ่อน (แร่ฟลูออไรท์, Fluorite) หรือไม่ หินสีพบมากที่บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน

แล้วก็ชวนให้ผมคิดว่ายุคลำพูนนั้น สิ่งของส่วนมากจะทำมาจากดินเผา มีโลหะอยู่น้อยมาก แสดงว่าลำพูนนั้นค่อนข้างจะเป็นอิสระและเอกเทศ เกือบจะตัดขาดจากภายนอก จึงมีอิทธิพลของการใช้โลหะน้อย ทั้งๆที่เป็นเมืองเก่าไม่นานก่อนเชียงใหม่       

สำหรับแหล่งแร่เหล็กที่คนโบราณทำกันในโลกนั้น เกือบทั้งหมดจะเป็นลักษณะการเกิดที่เรียกว่า Banded iron formation คือเกิดเป็นชั้นหนาสลับอยู่กับชั้นหิน ส่วนมากจะพบอยู่เหนือผิวดินหรือตามเชิงเขา จึงทำง่าย เช่น ทีพบในพม่าแถวตองอูและแถวโมกุก ในจีนทั่วไป และในลาว สำหรับของไทยนั้น ที่โผล่ให้เห็นและทำได้ง่ายตามเทคโนโลยีสมัยนั้น พบที่เลย อุตรดิตถ์ ลพบุรี กาญจนบุรี และสุโขทัย และใม่ใช่การเกิดแบบ Banded iron formation

ผมสังเกตลักษณะของมีดดาบของไทย รูปร่างลักษณะของเราดูค่อนข้างจะต่างกับจีนมาก แต่มีความคล้ายของพม่า ของจีนดูเป็นแบบสันหนาและมีความกว้างเกือบจะเท่ากันตลอดจากด้ามถึงปลาย เป็นลักษณะของดาบแข็งสะบัดดปลายไม่ได้ ซึ่งแสดงว่าใช้เหล็กที่มีคุณภาพต่างจากของเราและชุบแข็งตลอดทั้งเล่ม ในขณะที่ดาบไทย ความกว้างของดาบที่โคนด้ามจะเล็กว่าปลายดาบ สะบัดปลายดาบได้ แสดงว่าน่าจะใช้เหล็กอีกคุณภาพหนึ่ง และชุบแข็งที่ส่วยปลาย การชุบแข็งในลักษณะนี้ยังคงมีอยู่ ซึ่งดูเหมือนจะเป็นเอกลักษณ์ของมีดไทย เห็นได้จากมีดเหน็บที่ทำกันในปัจจุบันซึ่งเป็นของเก็บของสะสมอย่างหนึ่งของนักสะสมมีดชาวต่างชาติ             


กระทู้: ประวัติศาสตร์ กับ ทรัพยากร
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 12 ก.ย. 11, 15:01
ชวนให้คิดต่อไปว่า เชียงแสนน่าจะเป็นเมืองของคนรักสงบและมีอารมณ์ศิลป์ จำได้ว่าเคยเห็นพระทำจากแก้ว (หินควอร์ทซ์, Quartz) และเชียงใหม่ก็คงไม่ต่างจากเชียงแสนนัก แต่ไม่แน่ใจว่ามีพระทำจากหินสีหรือพลอยอ่อน (แร่ฟลูออไรท์, Fluorite) หรือไม่ หินสีพบมากที่บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน


+++


หินสีที่นำมาแกะสลักพระ เป็นธรรมเนียมปฏิบัติทางภาคเหนือ เขาเรียกหินสีเหล่านี้ว่า "หินจุ้ยเจีย หรือ จุยเจีย" พบด้วยกันหลายสี เช่น เขียวตองอ่อน เหลืองทอง แดงชมพู มีน้ำหนักตึง ๆ มือเมื่อหยั่งน้ำหนัก ยิ่งสีเขียวตองอ่อนยิ่งงามมากครับ การค้นพบกรุพระแกะสลักนี้ เมื่อครั้งก่อสร้างเขื่อภูมิพล จ.ตาก พื้นที่วัดโบราณที่ถูกน้ำท่วมถึง กรมศิลปากรรีบดำเนินการขุดค้นโบราณวัตถุได้หินแกะสลัก บริเวณอำเภอฮอด อย่างมากมายครับ

แต่จะว่าไปแล้วการหล่อพระโลหะของดินแดนภาคเหนือ ก็มีนะครับ เช่น พระสกุลเชียงแสน พระสกุลล้านช้าง และย่อยไปยังศิลปะฝาง ศิลปะเชียงรุ้ง ศิลปะน่าน ศิลปะไชยปราการ ได้อีกมากมาย และยังพบพระพุทธรูปสลักไม้อีก เป็นอันว่าทรัพยากรภาคเหนือนั้น มี โลหะ - หินมีค่า - ป่าไม้


กระทู้: ประวัติศาสตร์ กับ ทรัพยากร
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 12 ก.ย. 11, 15:08
สำหรับเรื่องดาบ ไม่ค่อยถนัดเท่าไร แต่อย่าลืมนะครับว่า ทรัพยากรเรื่องการตีโลหะให้เป็นอาวุธ นอกจากดาบไทยแล้ว อย่าลืมว่าทางแหลมมลายู และอินโดนิเซีย ก็มีธรรมเนียมตีเหล็กได้แกร่งมากครับ แถมยังลงอาคม กฤตยาคม เช่นเดียวกันคือ "กริช"

เรื่องความคมนั้นเป็นลักษณะที่สามารถทำให้เกิดได้ด้วยการฝน ลับ ให้คม แต่เหล็กย่อมเป็นเหล็ก ย่อมมีสนิมแต่เนื้อในตน กัดกร่อนตนเอง ทำให้ย้อนไปยังดาบจีนอีกครั้งหนึ่ง เคยได้เห็นเขาพบดาบจีนโบราณ พบที่สุสานฮ่องเต้โบราณ อายุเป็นพัน ๆ ปี เนื้อโลหะออกไปทางสนิมเขียว (คงมีส่วนผสมทองแดงมาก) แต่ความคมยังอยู่ครบ แสดงว่าไม่เกิดสนิมกินเนื้อตน เขาเอามากรีดโชว์ให้ดู คมเหมือนคัตเตอร์เลยครับผม


กระทู้: ประวัติศาสตร์ กับ ทรัพยากร
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 12 ก.ย. 11, 15:43
แหล่งแร่เหล็กที่สำคัญในสมัยโบราณ ซึ่งนำแร่เหล็กมาทำเป็นอาวุธเห็นจะเป็นที่นี่

บ่อเหล็กน้ำพี้ (http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9A%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%81%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%9E%E0%B8%B5%E0%B9%89) เป็นแหล่งสินแร่เหล็กตามธรรมชาติ ตั้งอยู่ที่บ้านน้ำพี้ หมู่ ๑ ตำบลน้ำพี้ อำเภอทองแสนขัน จังหวัดอุตรดิตถ์ ห่างจากตัวจังหวัดอุตรดิตถ์ประมาณ ๕๖ กิโลเมตร โดยเป็นบ่อเหล็กกล้า  มีอยู่ด้วยกันหลายบ่อ และปรากฏเตาถลุงเหล็กโบราณนับพัน ๆ แห่งในพื้นที่หลายตารางกิโลเมตร แต่บ่อที่สำคัญและสงวนใช้สำหรับพระมหากษัตริย์ มีอยู่ ๒ บ่อ คือ บ่อพระแสง และ บ่อพระขรรค์ มีการนำแร่เหล็กจากบ่อเหล็กน้ำพี้ไปถลุงทำอาวุธเพื่อใช้ในการศึกสงครามมาตั้งแต่สมัยโบราณ ดังปรากฏหลักฐานทางประวัติศาตร์มากมายถึงความสำคัญของเหล็กน้ำพี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีความเชื่อมาแต่โบราณว่าเหล็กจากแหล่งแร่เหล็กน้ำพี้มีความแข็งแกร่ง ความศักดิ์สิทธิ์และอาถรรพ์ในตัว

ขุนแผนก็ใช้เหล็กที่นี่ในการตีดาบฟ้าฟื้น

จะจัดแจงตีดาบไว้ปราบศึก  
ตรองตรึกหาเหล็กไว้หนักหนา
ได้เสร็จสมอารมณ์ตามตำรา  
ท่านวางไว้ในมหาศาสตราคม
 
เอาเหล็กยอดพระเจดีย์มหาธาตุ  
ยอดปราสาททวารามาประสม
เหล็กขนันผีพรายตายทั้งกลม  
เหล็กตรึงโลงตรึงปั้นลมสลักเพชร
 
หอกสัมฤทธิ์กริชทองแดงพระแสงหัก  
เหล็กปฏักสลักประตูตะปูเห็ด
พร้อมเหล็กเบญจพรรณกัลเม็ด  
เหล็กบ้านพร้อมเสร็จทุกสิ่งแแท้
 
เอาเหล็กไหลหล่อบ่อพระแสง  
เหล็กกำแพงน้ำพี้ทั้งเหล็กแร่  
ทองคำสัมฤทธิ์นากอแจ  
เงินที่แท้ชาติเหล็กทองแดงดง

เอามาสุมคุมควบเข้าเป็นแท่ง  
เผาให้แดงตีแผ่แช่ยาผง
ไว้สามวันซัดเหล็กนั้นเล็กลง  
ยังคงแต่พองามตามตำรา

ซัดเหล็กครบเสร็จถึงเจ็ดครั้ง  
พอกระทั่งฤกษ์เข้าเสาร์สิบห้า
ก็ตัดไม้ปลูกศาลขึ้นเพียงตา  
แล้วจัดหาสารพัดเครื่องบัตรพลี

 ;D


กระทู้: ประวัติศาสตร์ กับ ทรัพยากร
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 12 ก.ย. 11, 15:48
มีดอรัญญิกด้วยค่ะ.  คุณตั้ง เขาได้เหล็กมาจากไหนคะ


กระทู้: ประวัติศาสตร์ กับ ทรัพยากร
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 12 ก.ย. 11, 20:24
กรณีมีดอรัญญิกนั้น
ผมขอเล่าความเห็นในลักษณะเป็นเรื่องต่อเนื่อง ดังนี้

หากเราพิจารณาดูสภาพที่ตั้งทางภูมิศาสตร์แล้ว จะเห็นว่าการเลือกที่ตั้งเมืองตั้งอยู่บนฐานของยุทธศาสตร์การทำสงครามเป็นหลัก คือ ตั้งรับได้และถอย (หนี) ได้ โดยลงมาตามแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งก็น่าจะเป็นเช่นนั้น เพราะเมื่อกรุงจะแตกก็ได้มีคนล่องเรือลงมาตามเจ้าพระยาเป็นจำนวนมาก ซึ่งผมเห็นว่าแยกออกเป็น 2 ส่วน คือ พวกเชื้อสายมอญ และพวกเชื่อสายไทย ผมคิดว่าพวกเชื้อสายมอญที่คิดว่ากองทัพพม่า (ที่ประกอบไปด้วยคนม่านและมอญ) คงจะไม่ทำร้ายพวกเชื้อชาติเดียวกัน ก็จะลงมาไม่ไกลจากอยุทธยามากนัก ในปัจจุบันจึงพบชุมชนตั้งแต่สามโคกลงมาจนถึงปากเกร็ด อีกพวกหนึ่งคงไม่แน่ใจในความปลอดภัยจึงลงมาไกลถึงพระประแดง ส่วนคนเชื้อสายไทยซึ่งอาจจะรู้สึกว่าจะมีอันตรายมากกว่านั้น เลือกที่จะหลบเข้าไปอยู่ตามคลองเช่น ในคลองบางซื่อ ซึ่งทะลุไปถึงแถววัดลาดพร้าว คนปากคลองบางซื่อและย่านวัดลาดพร้าวจึงมีความเป็นญาติกันพอสมควร หรือในคลองบางกรวย ฯลฯ

คนอยุธยาอยู่ในทุ่งราบทีมีความอุดมสมบูรณ์มาก ไม่มีทรัพยากรธรณีอื่นใด มีแต่ที่ราบที่สามารถทำนาได้ผลผลิตดี (Swamp area) ตั้งอยุ่ในที่ราบน้ำท่วมถึง (Flood plain) ของแม่น้ำสายใหญ่ (เจ้าพระยา) สามารถตั้งบ้านเรื่อนและปลูกต้นไม้พืชผลได้โดยไม่จมโคลนจมน้ำ ยกเว้นเฉพาะช่วงน้ำเอ่อหลายผ่าน (อยุธยาตั้งอยู่บนสันคันคลองธรรมชาติ, Natural levee) มีพื้นที่ดอนและเป็นป่าละเมาะซึ่งมีสัตว์ประเภทกวางอาศัยอยู่มาก ซึ่งหนังสัตว์เหล่านี้เป็นที่ต้องการอย่างมากและค้าขายได้อย่างดี ใช้ทำเกราะ และสนับแข้งแขนขาต่างๆของทหารและนักรบ จะว่าไปคนอยุธยาสมัยนั้นเป็นคนพื้นที่ราบ มีหัวทางการค้าขายมาก เมื่อคิดจะตั้งเมืองก็เลือกยุทธภูมิที่ค่อนข้างดีสำหรับกรณีพื้นที่ราบ

ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม ย่อมคงเห็นว่าตนเองเป็นชุมชนใหญ่ มีคนต่างชาติมาติดต่อและพร้อมจะค้าขายด้วย แต่จะอยู่ได้ก็ต้องมีกองทัพ มีอาวุธ และก็คงจะได้เห็นใน 2 ประเด็น คือ ความสัมพันธ์กับสุโขทัยก็มีอยู่ และทำไมไม่ย้ายจากศูนย์กลางจากสุโขทัยมาอยู่อยุธยาซึ่งมีความสมบูรณ์มากกว่า ในเขตอาณาของสุโขทัยมีนักรบ มีแหล่งแร่สำหรับทำอาวุธและงานโลหะกรรม มีแหล่งดินสำหรับการทำสังคโลกค้าขายได้ มีช่างฝีมือและศิลปกรรมที่งดงาม ฯลฯ ก็เลยยึดหรือรวมสุโขทัยเข้ามาเป็นของตน

ดังนั้น ผมจึงเห็นว่าแหล่งเหล็กในช่วงแรกๆของอยุธยานั้น คือแหล่งเดียวกับสุโขทัย

เส้นทางการเดินทัพของพม่าในระยะแรกๆ คือ เข้าทางภาคเหนือ ต่อมาก็ใช้เส้นทางผ่าน อ.แม่สอด ห้วยแม่ละเมา เข้าตาก ต่อมาจึงลงมาใช้เส้นทางทางใต้ผ่านเจดีย์สามองค์ เข้ากาญจนบุรี สุพรรณบุรี เข้าอยุธยา และเส้นทางราชบุรี ผ่านบ้องตี้และด่านมะขามเตี้ย ผมคิดว่าอยุธยาคงเดาออก จึงมีการสำรวจตรวจตราเส้นทางด้านทิศใต้อยู่พอสมควร จึงได้พบแหล่งแร่เหล็กที่เขาอึมครึม ในเขตบ้านหนองรี อ.บ่อพลอย จ.กาญจนบุรี ที่อึมครึมนี้คงจะเป็นแหล่งเหล็กสำหรับอยุธยาในยุคหลัง (ร่วมกับแหล่งอื่นๆที่พบแล้วในสมัยสุโขทัย) แหล่งนี้มีสินแร่เหล็กที่ดีกว่า และใกล้อยุธยาด้วย (พบตะกรันจากการถลุงในย่านหนองรีอยู่พอสมควร) การตั้งหลักแหล่งทำเหมืองก็ง่าย เพราะมีน้ำลำอีซูอยู่ใกล้ๆ พื้นที่ราบทำกินก็มีเยอะ ผมเดานะครับ เพราะเห็นมีชื่อที่สื่อถึงเส้นทางการเดินเชื่อมกับอยุธยา เช่น หนองรี หนองปรือ ด่านช้าง เลาขวัญ ฯลฯ

ดังนั้น ผมจึงเห็นว่าแหล่งเหล็กสำหรับอยุธยาในช่วงหลังๆก็น่าจะเป็นแถวกาญจนบุรีนี้เอง

และแหล่งนี้ก็อาจจะสำคัญมากจนเป็นเหตุให้ไทยต้องปกป้องพื้นที่ในย่านนี้อย่างเต็มที่ การยุทธหัตถีก็อยู่ในย่านนี้ สงครามเก้าทัพก็อยู่ในย่านนี้ พม่าก็น่าจะรู้ดีจึงพยายามยกทัพมาตามเส้นทางนี้ ไม่ว่าจะมาทางด่านบ้องตี้ ด่านมะขามเตี้ย ด่านเจดีย์สามองค์ จะไปยุธยาก็ต้องผ่านทางนี้

       


กระทู้: ประวัติศาสตร์ กับ ทรัพยากร
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 13 ก.ย. 11, 03:43
สนใจเรื่องการถลุงเหล็กและโลหะอย่างอื่นค่ะ.   สมัยโบราณเขาทำกันอย่างไร.   เครื่องไม้เครื่องมือเป็นแบบไหน


กระทู้: ประวัติศาสตร์ กับ ทรัพยากร
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 13 ก.ย. 11, 09:00
สนใจเรื่องการถลุงเหล็กและโลหะอย่างอื่นค่ะ.   สมัยโบราณเขาทำกันอย่างไร.   เครื่องไม้เครื่องมือเป็นแบบไหน

คัดจากวชิรญาณวิเศษ เล่ม ๘  แผ่นที่ ๒๕  วันพฤหัศบดีที่ ๓๐  เดือน  มีนาคม  รัตนโกสินทร์ศก๒๕ ๑๑๑  ราคาแผ่นละ  ๓๒  อัฐ

วิชาถลุงแร่ดีบุก

พวกถลุงแร่นี้อยู่ข้างจะเหนื่อยมาก    เพราะต้องทำการทั้งกลางคืนกลางวันไม่ได้หยุด   ถลุงไปจนหมดแร่   จึ่งจะได้หยุดพักครั้ง  ๑   แต่รอดตัวที่ได้ผลัดเปลี่ยนปันเปนเวรกันยามละ  ๒  คน  เปลี่ยนเวียนไปวันหนึ่งคงทำการคนละชั่วโมงเท่านั้น   

แต่เมื่อแรกจะลงมือถลุงนั้นต้องมีสูบแลตั้งเตาลงก่อน   เตานั้นทำต่อด้วยไม้รูปคล้ายถังใบใหญ่ๆ   ข้างในปั้นดินรองหนาประมาณ ๔ นิ้ว   ปากเตากว้างศอกเศษสูง  ๓  ศอก   ตั้งลงบนกะทะใหญ่อีกที  ๑  กะทะมีเหล็กเรียง  ๓  ขา  รับอยู่เบื้องล่าง  เตานั้นเจาะช่องสองข้างๆ  หนึ่งสำหรับให้ดีบุกไหลออกทางนั้น   ข้างหนึ่งสำหรับสวมหลอดให้ลมเดินแต่สูบถึงเตา   แต่สูบนั้นใช้สูบนอนทำด้วยไม้ทั้งต้นยาวประมาณ  ๒  วาเศษเมื่อมีสูบแลทำเตาเสร็จแล้ว   จะถลุงแร่เวลาใดก็เทถ่านลงในเตาประมาณเพียงส่วน  ๑   แล้วเทแร่ลงบนถ่านประมาณส่วน  ๑  แลเทถ่านทับแร่ลงอีกส่วน  ๑  เต็มเสมอปากพอดี   

แล้วติดไฟสูบไปจนแร่ละลายไหลออกมาจากเตา   ถ้าเห็นว่าหมดแร่เตาที่  ๑  แล้ว  จะถลุงเตาที่ ๒  ที่ ๓  ที่ ๔  ที่ ๕  ก็ทำเช่นนั้นอีกร่ำไป   แต่เนื้อแร่ดีบุกที่ไหลออกมาจากเตาที่  ๑  ที่  ๒  ที่  ๓  ที่  ๔  ที่  ๕  นั้น  ยังไม่สู้จะได้เนื้อดีบุกมาก   เพราะธรรมดาแร่ดีบุกมักกล้าไฟ   ถูกไฟแต่ครั้งหนึ่งสองครั้งสามครั้งเช่นนี้   ยังกระดากไฟอยู่ไม่ไหลละลายเปนเนื้อดีบุกทีเดียว   มักกลับเปนขี้แร่จับแขงเปนก้อนๆ  เสียแหละโดยมาก   ต่อถลุงไปหลายๆ  ครั้ง   แร่รู้ตัวหนักเขาจึ่งจะละลายเปนเนื้อดีบุกได้มากๆ   เพราะฉนั้นเมื่อถลุงหมดเตาที่  ๑

จะถลุงเตาที่  ๒  ต่อไป   เขาก็เก็บกวาดขี้แร่เตาที่  ๑  นั้นมาเทลงในครกตำป่นให้ลเอียดแล้ว  ร่อนกรวดทรายออกเสีย   คงเหลือแต่เนื้อแร่ทั้งนั้น   เขาก็เอามาประสมลงในเตาที่  ๒  ถลุงต่อไป   เมื่อถลุงเตาที่  ๒  หมดแร่แล้วจะถลุงเตาที่  ๓  มีขี้แร่อีกก็ทำเช่นนั้นเหมือนกัน   ทำเช่นนี้ร่ำมาจนเตาที่  ๖ ที่  ๗   จึ่งจะออกเปนเนื้อดีบุกมาก   แต่ที่สำหรับรองเนื้อดีบุกที่ไหลออกมาจากเตานั้น   เขาขุดพื้นแผ่นดินตรงปากท่อที่เนื้อดีบุกไหลนั้นเอง   ทำเปนบ่อรูปคล้ายกะทะหุงเข้า   

เมื่อดีบุกไหลลงมาเต็มบ่อนั้นแล้วเขาก็จัดเตรียมทำพื้นแผ่นดินริมๆ  นั้น   ขุดให้เปนบ่อกว้างยาวเปนสี่เหลี่ยมแต่ไม่สู้ลึกนัก   เอาทรายอย่างลเอียดมาเกลี่ยให้เต็มบ่อ   สำหรับที่จะได้หล่อเนื้อดีบุกให้เปนปึก   เมื่อเกลี่ยทรายเสมอกันดีแล้วทีนี้เขาเอาพิมพ์ไม้ที่ทำเปนรูปปึกดีบุก   มากดทรายให้เปนรูปปึกดีบุกเปนระยะกันจนเต็มบ่อ   เมื่อกดพิมพ์เต็มบ่อแล้ว   ก็ตักเนื้อดีบุกมาหยอดลงในเบ้าพิมพ์นั้นจนเต็มทุกเบ้า   แล้วก็ทิ้งไว้ให้เนื้อดีบุกเย็นจึ่งจะขนขึ้นมาครั้ง  ๑   แล้วก็ทำอย่างนี้ร่ำไป   เมื่อเก็บดีบุกไว้มากๆ   จะจำหน่ายเวลาใด   ก็ตีตราแลเสีย

ภาษีดีบุกเสียก่อนจึ่งจะจำหน่ายซื้อขายกันได้   อนึ่งราคาที่ซื้อขายกันตามเหมืองนั้น   ว่าตามเคยเขาขาย
กันภาราละ  ๓๕  บาท  บ้าง  ๓๗  บาท  บ้าง  ๔๐ บาท  บ้างดูตามเนื้อดีบุกดีแลเลว   แลเวลาที่จะรับส่งดีบุกไปจำหน่ายตามหนทางที่ไกลๆ   ไปจากโรงกงสีหรือจะส่งไปบรรทุกเรือเมล์นั้น   ถ้าเปนทางไกลใช่ทางสำหรับคนเดินเช่นบุกป่าผ่าดงฉนี้   เขาใช้บรรทุกหลังช้างให้ช้างขนไปตัวหนึ่งคราวละ  ๕  ปึก  ๖  ปึก  ดูพอควรแก่กำลังของมันจะนำไปได้   ถ้าทางไกลบรรทุกได้น้อยปึกทางใกล้บรรทุกได้มากปึก   ช้างที่สำหรับบรรทุกนี้ต้องจ้างเขา   ตามพวกที่ตั้งการรับจ้างหากินทางนี้
ราคาก็แพงกว่าบรรทุกด้วยพาหนะอย่างอื่นๆ   ถ้ายิ่งทางไกลจนถึงค้างวันแรมคืน   ก็ยิ่งแพงมากขึ้นไป




กระทู้: ประวัติศาสตร์ กับ ทรัพยากร
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 13 ก.ย. 11, 09:05
คัดจากเล่ม ๕ แผ่น ๓๓ วัน อาทิตย ที่ ๑ เดือน มิถุนายน รัตนโกสินทรศก ๑๐๙ ราคาแผ่นละ ๓๒ อัฐ

เรื่องธาตุวิไสย

ทอง

ทองที่เขาทำรูปภัณฑ์เครื่องประดับต่าง ๆ  คือ แหวน กำไล เปนต้น  แลทองนี้ คนทั้งปวงทุก ๆ ประเทศ เขา
ชอบใจนับถือหยากได้นัก  ไม่ว่าผู้ดีหรือคนยาก ผู้ใหญ่ เด็กชนิดไร  เหนเข้าแล้วก็มีความรักหยากได้  เพราะ
ว่าทองนี้เปนธาตุบริสุทธอย่างหนึ่ง  เขานับถือว่าเปนของงาม ของสอาด แลขายซื้อกันราคาแพงนัก  ด้วย
เปนของหายาก  ในแดนเมืองเรานี้  มีบ่อเกิดอยู่สองแห่ง  คือที่เมืองกำเนิดนพคุณแห่งหนึ่ง  เมืองกระบิน
บินทรบุรี แห่งหนึ่ง  สีของทองมีเปนหลายชนิด  สีเหลืองอย่างหนึ่ง  สีขาวอย่างหนึ่ง  แต่สีเหลืองนั้น จัดออก
เปนสามอย่างตามกำหนดน้ำหนัก  คือสีเหลืองสุกมากเรียกว่า ทองเนื้อแปด  ที่เนื้ออ่อน ๆ ลงมาก็เรียกว่า
เนื้อเจ็ด  เนื้อหก  เนื้อสี่  ทองสีขาว เรียกว่า ทองคำขาวทองเปนธาตุอย่างหนึ่ง  เกิดขึ้นด้วยกำลังแร่ที่เกิด
ในแผ่นดิน  แร่ทองคำที่เกิดในแผ่นดินนั้น  ทำให้แผ่นดินคุมกันแขงเปนก้อนคล้ายหิน  คนพวกที่เขา
รู้วิธีถลุงแร่  เขาขุดดินแร่มาให้มาก ๆ  โขลกด้วยครกเหล็กแล้วสุมไฟ  เนื้อทองที่เกิดอยู่กับแร่  ก็
ละลายออกมาเปนเนื้อทอง  ที่บางแห่งก็เกิดขึ้นเปนเนื้อทองก่อนเท่าเมล็ดทรายบ้าง  เท่าเมล็ดงาบ้าง  เท่า
เมล็ดเข้าเม่าบ้าง  พวกช่างร่อนเขาร่อนมาคุมให้เปนก้อนมากแล้ว  ขายซื้อกันตามราคาพิกัดน้ำหนัก

ทองมีคุณอาจจะให้เปนประโยชน์  ใช้การได้มากนัก  คนเราได้ใช้ทองคำ  เปนเครื่องประดับตัวเราให้ดูงาม
ขึ้น  แลทองคำนั้นช่างเขาแผ่เปนทองคำเปลว  ใช้ปิดตามห้องตึก บานประตู บานน่าต่าง  หรือตู้โต๊ะ เปนต้น 
ก็ดูงามดี  เพราะว่าทองคำเปนแร่สอาดกว่าแร่อย่างอื่น ๆ


 



กระทู้: ประวัติศาสตร์ กับ ทรัพยากร
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 13 ก.ย. 11, 09:07
เงิน

เงินเปนธาตุแร่บริสุทธิอย่างหนึ่ง  คู่กันกับธาตุแร่ทองคำ  แลเปนของวิเศษ คนเราทุกประเทศนับถือใช้
สอยเงินด้วยกันทั้งนั้น  คนที่มีเงินเขาเก็บเงินไว้ได้มากแล้ว  เขาจะคิดซื้อหาก่อสร้าง  หรือทำการ
อะไร ๆ ก็ได้ดังใจ  คนที่ไม่มีเงินแล้ว  ถึงจะคิดทำอะไรก็ไม่ได้สมดังความคิด  เพราะฉนั้น  คนมีปัญญา
เขาจึ่งหาเงินเก็บเงินไว้  ถ้ามีเงินแล้วจะต้องการทอง  เอาเงินไปแลกเปลี่ยนเขามาก็ได้

เงินมีธาตุเปนสองชนิด เรียกว่า เงินน้ำหกชนิดหนึ่ง  เรียกว่า เงินน้ำแปดชนิดหนึ่ง  เงินน้ำหกนั้น 
เมื่อจะทุบ จะตีเนื้อแขงกระด้างกว่าเงินน้ำแปด  เงินน้ำแปดนั้นสีขาวผองงามดี  เมื่อจะทุบตีทำเปนรูปภัณฑ์
สิ่งใดก็อ่อนนิ่มไม่แขงกระด้าง

ที่เกิดของเงินเปนธาตุแร่  เกิดในแผ่นดินเหมือนกันกับทองคำ  พวกช่างร่อนเขาเก็บเอาก้อนแร่นั้น
มาสุมไฟละลายออกเปนเนื้อเงินแล้ว  หลอมทำให้เปนก้อนเปนลิ่มต่าง ๆ

รูปเงินที่คนเราได้ใช้สอยกันมีสองอย่าง  คือช่างเขาคิดทำเปนรูปหลายชนิด  เงินที่ใช้กันมาแต่ก่อน
นั้น  รูปกลม ๆ กำหนดหนักเพียงบาทหนึ่ง  สลึงหนึ่ง  เฟื้องหนึ่ง  เปนสามอย่าง  ครั้นมาเดี๋ยวนี้เงินที่ใช้สอย
นั้น  ทำเปนรูปแบบเหมือนอีแปะ  เรียกว่า เงินเหรียญ แต่กำหนดหนักบาทหนึ่ง  สลึงหนึ่ง เฟื้องหนึ่งเหมือนกัน

เงินนี้เปนของชอบใจกันนัก  ทั้งเด็กแลผู้ใหญ่  เหมือนเด็กๆ ถ้ามีเงินอยู่กับตัวแล้วก็คิดว่า  เงินเปน
ของดีมาก  เราจะซื้อบุหรี่สูบหรือขนมกินก็ได้  เพราะฉนั้น  คนเราต้องคิดหาอุบายวิชาความรู้  เพื่อจะก่อ
สร้างหาเงินมาไว้สำหรับตัว  ด้วยวิชาความรู้อุบายของตัว  จึ่งจะมีความสบาย



กระทู้: ประวัติศาสตร์ กับ ทรัพยากร
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 13 ก.ย. 11, 09:09
ทองแดง

ธาตุแร่ทองแดงเขาเอามาใช้ทำการได้ต่าง ๆ  คือ  เขาแผ่แผ่นบางทำเปนรูปหม้อหุงเข้า  หรือหม้อต้มน้ำ
ร้อนกินก็ได้  เขาทำเปนแผ่นบางมาหุ้มเรือกำปั่นใหญ่ ๆ ก็ได้  ที่เขาทำแผ่นสี่เหลี่ยมสำหรับห่อแกน
ตะกรุดก็มี  เขาทำรูปภัณฑ์ได้หลายอย่างมากนัก

ทองแดงเขาทำเปนรูปแบนกลม ตีตราทั้งสองข้างเหมือนเงินเหรียญใหญ่บ้างเล็กบ้าง  ตั้งอัตราใช้กันตาม
ใหญ่ ตามเล็ก  คือใช้สองอันเปนเฟื้อง  สี่อันเปนเฟื้อง แปดอันเปนเฟื้อง  สิบหกอันเปนเฟื้อง  ใช้ซื้อขนม
เข้าแกงกินก็ได้ ถ้าเราจะไปเที่ยวเล่นไม่มีเงินเหรียญ  เรามีแต่อัฏทองแดงไปก็ใช้ซื้ออะไร ๆ ได้ต่างเงิน
เหรียญเหมือนกัน

คนที่เขาเปนช่างทำรูปภัณฑ์  เขาเอาเนื้อทองแดงมาหลอมขับไล่ให้เนื้อบริสุทธดีแล้ว  จึ่งเอาธาตุแร่
ทองคำมาประสมกัน  หลอมเลียงให้เนื้อกินกันสนิท  เรียกว่า  นาก  เพราะธาตุแร่ทั้งสองเจือประสมกัน  แล
เขาทำเปนเครื่องรูปภัณฑ์ของใช้  คือ หีบหมาก แลกาน้ำเย็น เปนต้น  ด้วยธาตุแร่ทองแดงเขาไล่ฟอกเนื้อ
 

บริสุทธแล้ว  ไม่ใคร่จะมีสนิมมาก  แลเจือธาตุแร่ทองคำลงอีกห้ามสนิมไม่ให้มีขึ้นได้ดูเนื้อก็สุกงามดี
ที่เกิดของทองแดงเปนธาตุแร่อย่างหนึ่ง  เกิดในแผ่นดินเหมือนกันกับเงินแลทองคำ  เหมือนห้วยหรือ
ลำบึง บ่อ  ถ้ามีธาตุแร่ทองแดงเกิดขึ้นแล้ว  น้ำในลำบึง บ่อ นั้น ก็มักจะดุร้าย  คนเราจะลงไปอาบหรือ
ลูบตัว ๆ ก็คันเปนผื่นไป   ถ้าตักมาดื่มกินรสน้ำ นั้น ก็เปรี้ยวขม เปนไปต่าง ๆ  เพราะธาตุแร่ทองแดง
มีสนิมคาวมาก



กระทู้: ประวัติศาสตร์ กับ ทรัพยากร
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 13 ก.ย. 11, 09:10
ทองเหลือง

รูปของเครื่องใช้ที่เขาทำด้วยทองเหลือง   คนเราได้ใช้สอยมีอยู่หลายอย่างมากนัก  คือเขาทำเปนรูป  กระ
โถน  ขันน้ำ  กาน้ำ  เปนต้น  ทองเหลืองเขาแผ่ให้บาง  ใช้เลี่ยมกา  หรือถ้วยเครื่องลายครามก็ได้  ถึงรูปฆ้อง
หรือระฆังใหญ่  ที่เขาหล่อทำไว้สำหรับตีสัญญาในการต่าง ๆ ก็ต้องใช้ทำด้วยทองเหลือง เพราะทองเหลือง
มีเสียงเพราะกว่าทองแดง  ด้วยทองเหลืองเปนทองเขาประสมธาตุแร่สามอย่าง  รวมกันเสียงจึ่งเปนกระ
แสดีกว่าทองแดง

แรกที่จะเกิดเปนทองเหลืองขึ้นนั้น  คนเปนช่างเขาได้ศึกษาวิธีส่วนประสมธาตุ  เมื่อจะทำให้เปนทอง
เหลือง  เขาคิดเอาธาตุแร่ทองแดง  แร่สังกะสี  แร่ตะกั่ว เกรียบมาประสมกันหลอมเลียงให้กินกันแล้ว ธาตุ
ทองแดงได้ระอายเชื้อสังกะสี ตะกั่วเกรียบ  ก็กลายสีเปนเหลืองไป  จึ่งจัดชื่อเรียกกันว่า ทองเหลือง

คนทั้งปวงเขาชอบใช้ทองเหลือง  ทำเปนสิ่งเครื่องใช้รูปขัน พานโตก ถาดทั้งปวง  เพราะทองเหลืองเปน
สีงามขึ้นกว่าทองแดงที่ปรกติอยู่ตามธาตุเดิม  ถึงว่าเราจะทิ้งไว้นานของเครื่องใช้นั้น เปนสนิมมัว  หมองไป 
เวลาที่จะใช้สอยเราขัดสีเสียแล้ว  ของเหล่านั้นผ่องใส สุกปลั่งงามดี


กระทู้: ประวัติศาสตร์ กับ ทรัพยากร
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 13 ก.ย. 11, 09:11
ตะกั่ว

ธาตุแร่ตะกั่วเปนธาตุแร่อ่อนไฟ  หลอมด้วยไฟแต่พอร้อนจัด  ก็ละลายเหลวเปนน้ำออกง่าย  แล
คนที่เปนช่าง  เขาเอามาทำเปนรูปของเครื่องใช้ก็ได้  รูปของเครื่องใช้  ที่เขาทำนั้น ก็หลายอย่างมากนัก  คือ
เขาทำเปนถ้ำชาแลกาน้ำร้อนน้ำเย็น  เปนต้น หรือที่เขาทำเปนห่วงลูกแห หรือลูกปืนก็ได้  แลขายซื้อกัน
ตามน้ำหนักพิกัดราคาของตะกั่ว

ธาตุแร่ตะกั่วมีเปนหลายชนิด  ตามที่เขาได้กำหนด เรียกกัน  คือเรียกว่าตะกั่วเกรียบอย่างหนึ่ง  ตะกั่ว
นมอย่างหนึ่ง  ตะกั่วดำอย่างหนึ่ง  ตะกั่วเกรียบนั้น เนื้อแขงกระด้างกว่าตะกั่วนม ตะกั่วดำ  สีก็ขาวมาก 
แลหลอมละลายเร็วกว่าตะกั่วทั้งสอง

ที่เกิดของตะกั่วก็เกิดขึ้นแต่ธาตุดิน  คือธาตุดินเดิมเกิดขึ้นเปนก้อนแร่ก่อน  คนช่างร่อนเขาขุดขน
มาสุมไฟจับเนื้อเปนตะกั่ว  แร่ตะกั่วนี้เปนธาตุอย่างหนึ่ง  ต่ำเนื้อเลวกว่าทองแดง  เพราะมีสนิมมาก
นัก  แต่ชนิดตะกั่วนมอย่างหนึ่ง  ตะกั่วดำที่เขาเรียกว่าชินนั้นอย่างหนึ่ง  ชั่งได้น้ำหนักมากเสมอธาตุทอง
คำ  ธาตุแร่ตะกั่วมีประโยชน์  คนเราใช้สอยทำสิ่งของใช้ได้ต่าง ๆ 



กระทู้: ประวัติศาสตร์ กับ ทรัพยากร
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 13 ก.ย. 11, 09:16
สนใจเรื่องการถลุงเหล็กและโลหะอย่างอื่นค่ะ.   สมัยโบราณเขาทำกันอย่างไร.   เครื่องไม้เครื่องมือเป็นแบบไหน

การถลุงเหล็ก

การที่ถลุงแร่เหล็กนี้ก็ใช้ทุบโขลกให้ตัวแร่แตกแต่ชั้นนอก หรือแตกละเอียดไปหมดทั้งนั้นก็ตาม
แล้วจึ่งรวมลงในเบ้ายกขึ้นตั้งบนเตาสูปไป การที่ปั้นเบ้าสำหรับหลอมแร่ที่ถลุงแล้วนี้ ก็ทำเหมือนเบ้าที่
หลอมทอง แต่ทำให้ใหญ่ สูงประมาณศอกหนึ่งปากกว้างประมาณคืบหนึ่ง ตัวเบ้าหนาประมาณนิ้วหนึ่ง
มีสัณฐานเหมือนเบ้าหลอมทอง ทำด้วยดินเหนียวผสมด้วยแกลบเผาเหมือนทำเบ้าหลอมทอง การที่
 ตั้งเตาก็ทำเหมือนเตาตีเหล็ก เมื่อเขายกเบ้าขึ้นตั้งบนเตาไฟแล้วก็ตั้งสูบไป เสียงสูบดังสนั่นไปตามที่ๆ
เขาตั้งเตาหลอมเหล็ก ด้วยในตำบลที่เขาตั้งเตาหลอมเหล็กนั้น มีโรงหลายโรงตั้งอยู่เปนหมู่ ๆ ราย
กันทั่วไป คราวที่เขาหลอมเหล็กเปนเวลาเช้าตอนหนึ่งเวลาเย็นตอนหนึ่ง ครั้นจะทำในเวลากลางวันก็เปน
เวลาร้อนมาก ในชั่ววันหนึ่ง ๆ เขาลงมือทำตั้งแต่เวลาตีสิบเอ็ดทุ่มจนถึงเช้าสองโมงหยุด ตั้งแต่เวลาบ่าย
๔ โมงแล้วไปลงมือทำจนถึงเวลา ๒ทุ่มหยุด

การที่หลอมแร่เหล็กนี้เขาสูบไปพักนึ่ง ประมาณชั่วโมงเศษจึ่งเทออกจากเบ้าเดิมเปลี่ยนเบ้าใหม่ ตั้งสูบไปอีกกว่า
จะได้ที่ ในคราวที่สูบพักหนึ่ง ๆ ต้องเปลี่ยนคนสูบเสมอ ๒ คนหรือ ๓ คนจึ่งจะได้ ถ้าจะตั้งสูบไปแต่ผู้เดียว
ในชั่วพักหนึ่งนั้นสูบไปไม่ไหว เพราะสูบที่เขาใช้ในการหลอมแร่เหล็กนี้ เปนสูบใหญ่กว่าสูบที่เขาใช้ตี
เหล็กในสยามนี้ การที่หลอมคราวแรกเขามักหลอมพร้อมกันสองเบ้าในเตาอันเดียว ด้วยประสงค์ว่าถ้า
แร่เหล็กในเบ้าทั้งสองนั้นละลายแล้ว ถึงจะยังไม่สิ้นโทษคือมูลเหล็กก็ตาม เมื่อสูบเต็มที่ในพักหนึ่งแล้ว
จะได้เทรวมลงในเบ้าใหม่เบ้าเดียวพอดี ครั้นเมื่อเขาสูบลอมละลายชั่วพักหนึ่งแล้ว ก็เทรวมเข้าเบ้าใหม่


คราวที่ ๒ ตั้งสูบไปประมาณชั่วเวลาเท่าพักคราวแรกแล้วก็เทออกจากเบ้าที่สองไปเข้าเบ้าที่สาม แล้วยกขึ้นตั้ง
บนเตาไฟสูบไฟอีก ในคราวที่ ๓ นี้เปนคราวที่แร่เหล็กที่หลอมจะสิ้นโทษ แลดูที่ในเบ้าเมื่อกำลังละลายคว้าง
อยู่นั้นประหนึ่งว่าทองคำที่เนื้อสุก เขาเห็นว่าสิ้นโทษคือมูลเหล็กที่พาให้เปราะ แลที่ปนด้วยกรวดทราย
ต่าง ๆ แล้ว ก็เทออกจากเบ้าที่สามลงในรางดิน

เรียกว่ารางดินนั้นคือ เขาขุดแผ่นดินให้เปนรูปเหมือนที่เททอง หรือจะให้เปนรูปอย่างไรก็ตาม แล้วแต่ความประ
สงค์ของเขา แต่ที่รางนั้นต้องขุดไว้ในที่ไม่สู้ไกลนัก แต่เตาเหล็กไปประมาณ ๓ ศอก ครั้นไกลนักก็จะเปนที่ลำบาก
ในคราวที่เอาคีมคีบเบ้าจะไปเท เบ้าที่หลอมแร่เหล็กนี้ที่ปากเบ้ามีลิ้นอยู่ข้างปากที่จะเอียงเทเนื้อเหล็กออก ลิ้นปากเบ้า
นั้นสำหรับจะได้กันเอาฝ้ามูลเหล็กที่ลอยอยู่บนเนื้อเหล็ก ไม่ให้ ไหลปนลงกันเนื้อเหล็กได้ ปากเบ้าข้างที่มีลิ้นนั้นทำให้เพล่
ไว้ แลเจาะให้เปนช่องใต้ลิ้นนั้นประมาณเท่าสองนิ้วเหมือนรูปกรวยตรงออกไปตามปากเบ้าที่ทำเพล่ไว้นั้น เนื้อเหล็ก
ที่เขาเทลงไว้ที่รางดิน นั้นย่อมไหม้ดินควันพลุ่งอยู่นานประมาณเกือบ ๒ ชั่วโมงจึ่งเย็น เมื่อเย็นแล้วเขาก็เก็บรวมกอง
ไว้ตั้งหลอมใหม่ต่อไปกว่าจะสิ้นคราว ในคราวหนึ่ง ๆเตาหนึ่งย่อมได้เนื้อเหล็กเสมอ ๑๐๐ ก้อนขึ้นไป

การที่ขายเนื้อเหล็กที่หลอมแล้วนี้    เขาก็ขายแก่คนที่อยู่ในบ้านเมืองเดียวกันนั้นบ้าง
ขายไปแก่คนที่อยู่ในประเทศที่ใกล้เคียงกัน   เปนต้นว่าเมืองยโสธร         หรือเมืองอุบลราชธานี      ประเทศ
เหล่านี้เปนต้น         ย่อมใช้เหล็กเมืองสุวรรณภูมิทั้งสิ้นผู้ที่ซื้อเอาเนื้อเหล็กไปทั้งก้อน ๆ นั้น        เขาก็เอาไปตีแผ่
ออกทำเปนมีด, พร้า, จอบ, เสียม, ดาบ,ขวาน, เปนต้นสำหรับจะได้ซื้อขายแก่ผู้ที่มีความต้องการ    แลเปนส่วน
ที่จะหาประโยชน์กำไร        ของพวกช่างเหล็กทั้งปวงด้วยแลเหล็กบ่อเมืองสุวรรณภูมินี้       เปนเหล็กไม่สู้ดีทีเดียว
เมื่อทำเปนอาวุธมีมีดเปนต้น         ใช้ไม่สู้ดีเหมือนเหล็กประเทศจีนแลประเทศฝรั่งทั้งปวง          เหล็กบ่อเมือง
สุวรรณภูมินั้น             
เปนเนื้อเหล็กอยู่ข้างจะอ่อนมากเพราะฉนั้นเมื่อช่างเหล็กเขาเอามาตีเปนอาวุธมีมีดเปนต้น
จึงไม่สู้คมถึงคมก็ไม่ทนได้นาน      ต้องอาไศรยชุบบ่อย ๆจึ่งจะเปนการดีได้           ด้วยเหตุนี้เนื้อเหล็กที่บ่อเมือง
สุวรรณภูมิ    จึ่งไม่ค่อยแพร่หลายไป  ในประเทศต่าง ๆผู้ที่ถลุงแร่เหล็กแลหลอมเนื้อเหล็ก            ในปีหนึ่ง ๆ
คราวหนึ่ง ๆ จึ่งมีประโยชน์แต่น้อย        ไม่สมควรแก่ความเหนื่อย   ถึงอย่างนั้นในทุกปีที่ล่วงแล้วมาจนเดี๋ยวนี้
ราษฏรในประเทศนั้น    ก็ยังประกอบการถลุงแร่หลอมเนื้อเหล็กเสมอมาทุกปีมิได้ขาด        ด้วยเปนสิ่งหาผล
ประโยชน์ของเขาส่วนหนึ่ง


กระทู้: ประวัติศาสตร์ กับ ทรัพยากร
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 13 ก.ย. 11, 09:35
คัดจากวชิรญาณวิเศษ เล่ม ๘  แผ่นที่ ๒๕  วันพฤหัศบดีที่ ๓๐  เดือน  มีนาคม  รัตนโกสินทร์ศก๒๕ ๑๑๑  ราคาแผ่นละ  ๓๒  อัฐ

เรื่องทำเหมืองดีบุก ต่อแผ่นที่  ๒๔   น่า  ๒๘๑ (http://www.sac.or.th/databases/siamrarebooks/wachirayan/index.php/wachirayan8/vachirayanviset-text-version/870-text-8-25)

คัดจากเล่ม ๕ แผ่น ๓๓ วัน อาทิตย ที่ ๑ เดือน มิถุนายน รัตนโกสินทรศก ๑๐๙ ราคาแผ่นละ ๓๒ อัฐ
เรื่องธาตุวิไสย

เรื่อง ธาตุวิไสย ขุนประสาสน์อักษรการ กรมศึกษาธิการ แต่งถวายสภานายก (http://www.sac.or.th/databases/siamrarebooks/wachirayan/index.php/wachirayan5/vachirayanviset-text-version/823-text-5-33)

สนใจเรื่องการถลุงเหล็กและโลหะอย่างอื่นค่ะ.   สมัยโบราณเขาทำกันอย่างไร.   เครื่องไม้เครื่องมือเป็นแบบไหน
การถลุงเหล็ก

การทำแร่เหล็ก ต่อแผ่นที่ ๑๑ น่า ๑๒๒
วชิรญาณวิเศษ เล่ม  ๗  แผ่นที่ ๑๒ วันพฤหัศบดีที่ ๗ เดือนมกราคม รัตนโกสินทร์ศก๒๔ ๑๑๐ (http://www.sac.or.th/databases/siamrarebooks/wachirayan/index.php/wachirayan7/vachirayanviset-text-version/606-text-7-12)

วชิรญาณวิเศษ เล่ม  ๗  แผ่นที่ ๑๓ วันพฤหัศบดีที่ ๑๔ เดือนมกราคม รัตนโกสินทร์ศก๒๔ ๑๑๐  (http://www.sac.or.th/databases/siamrarebooks/wachirayan/index.php/wachirayan7/vachirayanviset-text-version/607-text-7-13)

 ;D


กระทู้: ประวัติศาสตร์ กับ ทรัพยากร
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 13 ก.ย. 11, 11:27
........เหล็กบ่อเมืองสุวรรณภูมินี้ เปนเหล็กไม่สู้ดีทีเดียว เมื่อทำเปนอาวุธมีมีดเปนต้น  ใช้ไม่สู้ดีเหมือนเหล็กประเทศจีนแลประเทศฝรั่งทั้งปวง เหล็กบ่อเมือง
สุวรรณภูมินั้น......

เมืองสุวรรณภูมิอยู่ที่ใหนครับ ใช่ อ.สุวรรณภูมิของ จ.ร้อยเอ็ด หรือไม่ครับ

แร่เหล็กที่นำมาถลุงเป็นเหล็กได้นั้น มีหลายชนิด ได้แก่ Magnetite, Hematite, Bog ore และ Limonite
แร่เหล็กชั้นดีและเป็นแหล่งใหญ่ ที่ใช้กันอย่างต่อเนื่องในประวัติศาสตร์ คือ Magnetite เป็นพวกที่เกิดแบบ Banded iron formation พบทั่วไปในยุโรป (สวีเดน เยอรมัน ฯลฯ) พบในอเมริกาเหนือและใต้ จีน อินเดีย ออสเตรเลีย
ไทยเราไม่มีแหล่งแร่เหล็กลักษณะนี้ เรามีแต่แร่ Hematite ซึ่งเป็นแร่ที่มีคุณภาพดีสู้ Magnetite ไม่ได้ เรามีแร่ Limonite ซึ่งคือแร่เหล็กที่มีน้ำอยู่ในเนื้อ (สนิมเหล็ก) เกิดร่วมกับแร่ Hematite และมีแร่ Limonite ที่เข้าไปแทนที่แร่ Pyrite กลายเป็นข้าวตอกพระร่วง

จึงถูกต้องแล้วครับที่บันทึกกล่าวไว้เช่นนั้น

ผมเรียนมาในสาขาวิชาที่มีปรัชญาในการแสวงหาคำอธิบายเรื่องราวในอดีตต่างๆอย่างมีเหตุมีผลว่า "Present is the key to the past" และ "Uniformitarianism" ซึ่งก็คือ เราย้อนรอยอดีตได้ก็ด้วยองค์ความรอบรู้ในปัจจุบัน ซึ่งมิได้หมายความว่าจะต้องมีความถูกต้อง เพียงแต่มีเหตุและผลที่ยอมรับได้ ณ เวลานั้นๆ  ข้อมูลในเรือนไทยทั้งหมด สำหรับผมแล้ว จึงมีความหมายต่อการย้อนอดีตมากๆ ครับ   


กระทู้: ประวัติศาสตร์ กับ ทรัพยากร
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 14 ก.ย. 11, 19:39
ได้อ่านเรื่องการถลุงแร่ ผนวกกับแหล่งที่มาของแร่แล้ว ทำให้เห็นภาพความอดทนของคนเพื่อให้ได้มาซึ่งโลหะที่ต้องการ

ในเรื่องของการถลุงนั้น ผมเคยเห็นแต่เบ้าถลุงแร่ตะกั่วโบราณ ไม่ทราบอายุ แต่คิดว่าน่าจะเป็นของช่วงอยุธยาต่อเนื่องมาถึงรัตนโกสินทร์ (ได้เคยเล่าไว้ในกระทู้อาณาจักรริวกิว) ได้เห็นแบบพิมพ์ ได้เห็นหลุมเทตะกรัน และได้เห็นท่อ / ปล่องเตาหลอม ในแหล่งที่มีการทำในอดีต เสียดายที่ไม่มีรูปแสดงครับ

เบ้านี้สูงประมาณ 45 ซม. เป็นรูปถ้วยทรงรี ส่วนกว้างของปากเบ้าประมาณ 40 x 30 ซม. ส่วนก้นสอบลง ความหนาของเนื้อเบ้าประมาณ 5 ซม. ทำด้วยดินปั้นขึ้นรูป ท่ออากาศของเตามีรูขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางระหว่าง 5 - 8 ซม. เนื้อหนาประมาณ 5 ซม. เป็นลักษณะของการทำด้วยการเอาดินมาพอกรอบๆลำไม้ไผ่ ส่วนแบบพิมพ์นั้น เอาหินดินดานที่มีหน้าค่อนข้างเรียบมาแล้วเอาสันมีดคว้านจนเป็นเบ้ารูปทรงหมวกกุยเล้ย หินก้อนหนึ่งจะมี 6 - 9 เบ้า เป็นคู่กันสวยงาม มิใช่สักแต่ว่าทำ ตะกรันในหลุมเทนั้นมีรอยพิมพ์ของไม้ที่ใช้เผา ซึ่งก็คือไม้ไผ่ซึ่งให้ความร้อนสูงเพียงพอสำหรับการถลุงแร่ตะกั่ว

ที่เล่ามา ประเด็นอยู่ที่ว่า
เบ้าถลุงเหล็กตามทีี่มีบันทึกไว้นี้ ทำจากดินเหนียวผสมแกลบเผา ซึ่งเมื่อร้อนสุกแล้วก็คืออิฐเผาอย่างหนึ่งนั่นเอง ในขณะที่การถลุงตะกั่วที่เล่ามาแต่แรกนั้น เบ้าทำมาจากดิน (ในบริเวณนั้น) ซึ่งผุพังมาจากหินปูน (Calcium carbonate) ซึ่งมีแมกนีเซียมผสมอยู่ด้วย (Magnesium Carbonate) ซึ่งจะทนความร้อนที่อุณหภูมิสูงได้มากกว่า (การถลุงเอาโลหะตะกั่วนั้นใช้อุณหภูมิตำ่กว่ามาก)
 
แสดงว่า...


     

 


กระทู้: ประวัติศาสตร์ กับ ทรัพยากร
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 15 ก.ย. 11, 21:11
ดาบฟ้าฟื้นของขุนแผนนอกจากจะมีส่วนผสมของเหล็กน้ำพี้จากอุตรดิตถ์แล้วยังมีเหล็กของบ่อเมืองกำแพงเพชรเป็นส่วนประกอบด้วย

เอาเหล็กไหลหล่อบ่อพระแสง  
เหล็กกำแพงน้ำพี้ทั้งเหล็กแร่

ทองคำสัมฤทธิ์นากอแจ  
เงินที่แท้ชาติเหล็กทองแดงดง

ข้อมูลจากหนังสือ Description du royaume de Siam, &c, เล่มที่ ๑ โดย de La Loubère กล่าวถึงบ่อแร่เหล็กเมืองกำแพงเพชรไว้ดังนี้


กระทู้: ประวัติศาสตร์ กับ ทรัพยากร
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 15 ก.ย. 11, 21:23
คุณสันต์ ท. โกมลบุตร แปลไว้ว่า

ข้าพเจ้าได้กล่าวมาข้างต้นแล้วว่า เมืองกำแพงเพชรนั้นขึ้นชื่อว่าเป็นเมืองที่มีบ่อแร่เหล็กกล้าชั้นดี ชาวเมืองนั้นขุดเอามาถลุงทำสาตราวุธตามความนิยมของพวกเขา เช่นดาบ, มีดพก และมีดพร้า ส่วมมีดที่เขาเรียกว่า เหน็บ (Pen) * นั้น ใช้กันทั้งบ้านทั้งเมืองและไม่ถือว่าเป็นสาตราวุธ แม้จะใช้เป็นอาวุธได้เมื่อคราวจำเป็น ใบมีดนั้นกว้าง ๓ หรือ ๔ นิ้ว ยาวราว ๑ ฟุต. พระมหากษัตริย์พระราชทานดาบและมีดพกให้แก่ขุนนาง ขุนนางสยามเหน็บมีดพกไว้ที่เอวเบื้องซ้าย คล้อยมาข้างหน้าเล็กน้อย. ชาวปอรตุเกศเรียกมีดชนิดนี้ว่า คริสต์ (Christ) เป็นคำที่เลือนมาจาก กริช (Crid) ซึ่งชาวสยามใช้พกนั่นเอง.  คำ ๆ นี้ยืมมาจากภาษามลายา เป็นที่นิยมกันตลอดทั่วภาคบูรพทิศ และกริชที่ทำมาจากเมืองอะแจ (Achem) ในเกาะสุมาตรานั้น นับว่าเป็นเยี่ยมกว่าที่อื่่น ๆ.  สำหรับดาบนั้น ตามปกติแล้วทาสผู้หนึ่งจะเชิญนำหน้าเจ้านายของตนไป โดยแบกไว้บนไหล่ขวา ทำนองเดียวกับที่(ทหารของ)เราแบกปืนเล็กยาวไว้บนไหล่ซ้ายฉะนั้น.

* ในต้นฉบับพิมพ์ไว้ว่า Pen ดังนี้ ซึ่งออกเสียงได้ว่าเป็น เพน ผู้แปลได้พยายามค้นหาชื่อมีดที่ใกล้เคียงกับเสียงนี้แล้ว ไม่พบ จึงสงสัยว่าน่าจะเขียนผิดโดยสลับอักษรกลับหน้ากลับหลังกันไป ที่จริงควรจะเป็น Nep มากกว่า เพราะได้สำเนียงตรงกับคำว่า "เหน็บ" เราจะพบคำ ๆ เดียวกันนี้อีกในภาคที่สองของจดหมายเหตุนี้.


กระทู้: ประวัติศาสตร์ กับ ทรัพยากร
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 16 ก.ย. 11, 09:49
"เหน็บ" คงจะเป็นคำที่ถูกต้องแล้วครับ ตามคำบรรยายเกี่ยวกับขนาดของมีด ตรงกับมีดที่นิยมใช้เหน็บพุงที่เราเรียกว่า อีเหน็บ หรือ มีดเหน็บ

คำว่าอีเหน็บเป็นชื่อที่ฝรั่งนักนิยมสะสมมีดในปัจจุบันเรียกชื่อทับศัพท์ไปเลยว่า E -nep แถมยังบรรยายสรรพคุณว่า เป็นลักษณะเฉพาะของมีดที่ไม่เหมือนใคร คือ ตัวมีดมีลักษณะโค้งนิดหน่อย ส่วนหััวใหญ่กว่าโคน ปลายเรียวแหลม ใช้ได้ค่อนข้างจะดีมากกับทุกลักษณะการใช้งาน เช่น ใช้เจาะรูก็ได้ ใช้ฟันก็ได้เพราะมีน้ำหนักที่ส่วนหัวมาก (เหมือนขวาน) ใช้แล่เนื้อก็ได้ ใช้ในการเหลาตอกจักสานก็ได้ ฯลฯ ส่วนคุณลักษณะสำคัญพิเศษ คือ การชุบแข็งนั้น ทำเฉพาะคมมีดด้านหัว ส่วนด้านโคนนั้นไม่ชุบใ้ห้แข็งมากนัก ทำให้มีมีความเป็นสปริงยืดหยุ่นได้ รองรับแรงกระแทกได้ดีเมื่อฟันใช้ฟันของแข็ง

มีดเหน็บนี้ ผมคิดว่าเป็นของคนไทยในภาคกลางโดยเฉพาะ ไม่แน่ใจว่านิยมใช้กันในอีสาณมากน้อยเพียงใด แต่ที่โคราชนั้นนิยมใช้แน่ๆ คนในภาคเหนือจะนิยมใช้มีดรูปทรงอีกลักษณะหนึ่ง คือหัวป้าน ใส่ปลอกหวายแล้วเหน็บเอวด้านหลัง เป็นลักษณะของมีดเพื่อใช้ฟันไม้โดยเฉพาะ

เคยคุยกับกะเหรี่ยงซึ่งเป็นคนเลี้ยงช้าง ควาญช้าง ใช้มีดทรงมีดเหน็บเป็นมีดประจำตัว และเหน็บเอวด้านหลัง ได้ทราบว่า ลักษณะของมีดเหน็บนี้เหมาะมาก เมื่อจะขึ้นคอช้าง ก็จะเอามีดออกมาคาบไว้ เขาบอกว่า หากช้างสะบัดหรือตกจากคอช้าง ก็สามารถจับมีดออกจากปากได้ทันทียกตั้งไว้เพื่อกันช้างเหยียบ ในขณะเดียวกันก็จะปลายแหลมช่วยในการบังคับช้าง (จิกหรือฟันทีหัว) เมื่อช้างพยศ มีดนี้ยังเหมาะสำหรับตัดเถาวัลย์และกิ่งไม้ที่ระรานเมื่อนั่งอยู่บนคอช้างอีกด้วย

น่าสนใจนะครับเกี่ยวกับมีดเหน็บนี้

 


กระทู้: ประวัติศาสตร์ กับ ทรัพยากร
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 16 ก.ย. 11, 10:03
สำหรับกรณีที่ว่า เมืองกำแพงเพชรมีบ่อเหล็กกล้าชั้นดีนั้น

เดาไม่ออกเลยว่าควรจะอยู่ที่จุดใหน หากจะเดาก็น่าจะมีอยู่บนเส้นทางพรานกระต่าย-สุโขทัย หรือไม่ก็บริเวณเขาหลวงในเขต จ.สุโขทัยในปัจจุบัน ในดานหินศิลาแลงบนเส้นทางพรานกระต่าย-สุโขทัยนั้น อาจจะพบบางบริเวณเป็นจุดที่มีแร่เหล็กปนอยู่ในเนื้อหินมากพอที่จะนำมาถลุงแยกเอาเหล็กออกมาได้ในปริมาณพอควร

ด้านตะวันตกของกำแพงเพ็ชร เส้นทางเดินก็คงไม่หนีไปจากตามคลองสวนหมาก ไปทางน้ำตกคลองลาน จะต่อไปได้ไกลที่สุดก็ถึงเขามอโกจูซึ่งข้ามไปก็จะเป็น อ.อุ้มผาง สภาพเมื่อ พ.ศ. 2513 ยังคงเป็นป่าใหญ่ ป่าดิบทึบ (แต่หลังจากมีนาคม 2513 ก็กลายเป็นป่าโปร่งไปทันทีเนื่องจากการทำไม้) สภาพทางธรณีวิทยาไม่อำนวยให้มีแร่เหล็ก จึงไม่น่าจะมีการทำแร่ใดๆด้านตะวันตกของกำแพงเพชร 


กระทู้: ประวัติศาสตร์ กับ ทรัพยากร
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 16 ก.ย. 11, 10:08
คัดลอกข้อความของ "สันติ อภัยราช" เกี่ยวกับบ่อเหล็ก ที่กำแพงเพชรดังนี้

อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร นอกจากจะมีหินอ่อน ที่ทรงคุณค่า เป็นอุตสาหกรรมและสินค้าสำคัญ ระดับโลกแล้ว อำเภอพรานกระต่าย ยังเป็นแหล่งสำคัญของแร่เหล็กจำนวนมหาศาล อย่างที่คนพรานกระต่าย หรือกำแพงเพชร จำนวนมากที่ไม่เคยเห็นบ่อเหล็ก ที่มีนับร้อยบ่อ ในเนื้อที่ หลายไร่... นอกจากที่เขาแก้วและเขายอดเหล็กแล้ว เราได้พบ บ่อเหล็กในสมัยโบราณ มีการนำเหล็ก จากบ่อเหล็กนี้มาถลุง ตั้งแต่สมัยสุโขทัย นับเป็นภูมิปัญญาที่ยิ่งใหญ่ของอำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร
่          ในสมัยที่เราเรียนวรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผน ขุนแผนพระเอกของเรื่องได้หาของวิเศษ 3 สิ่ง คือ ดาบฟ้าฟื้น ม้าสีหมอก และกุมารทอง และได้เขียนไว้อย่างชัดเจนว่า ดาบฟ้าฟื้นนั้น ได้นำเหล็กจากเมืองกำแพงเพชร ไปตีดาบฟ้าฟื้น ซึ่งเป็นดาบวิเศษ มีอานุภาพมากมาย ..
          ดังนั้นจากวรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผน จึงเป็นหลักฐานยืนยันได้ว่า เหล็กในเมืองกำแพงเพชร จึงเป็นเหล็กที่มีชื่อเสียงมานาน ในเรื่องของเหล็กที่มีคุณภาพ....นำไปสร้างแม้ดาบวิเศษ ...อย่างดาบฟ้าฟื้น
          วันจันทร์ที่ 24 ตุลาคม 2548 นายกองค์การบริหารส่วนตำบล ถ้ำกระต่ายทอง นายณรงค์ ปักธงชัย ผู้มีอัธยาศัย ที่ดีงาม พร้อมกับคณะของท่าน คือกำนันไกรทอง บดีรัฐ กำนันตำบล ถ้ำกระต่ายทอง นายเสวย ชูศักดิ์ รองนายกองค์การ นายจวน ศรีคเรศ ประธานสภาอบต. นายชอุ่ม ขันศรี รองประธานสภาอบต. และสมาชิกสภาอบต. อีก 4 ท่าน คือนายเสมอ แซ่โค้ว นายนิรันดร์ บดีรัฐ นายวิสุทธิ์ ถาวร นายสนม จันแดง ผู้นำทางในการสำรวจ คือ นายสมนึก พลอาชา ได้ นัดหมายกับ คณะของเรา รายการโทรทัศน์วัฒนธรรม ในการที่จะพาไปชมบ่อเหล็ก สถานที่สำคัญในประวัติศาสตร์ของอำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร
          นายณรงค์ ปักธงชัย ได้เล่าให้ฟังว่า... แหล่งแร่เหล็ก หรือบ่อเหล็ก ที่หมู่ 8 บ้านขอนทองคำ ตำบลถ้ำกระต่ายทอง ห่างจากอำเภอพรานกระต่ายราว 3 กิโลเมตร ใกล้กับ บ้านทุ่งหนองแดง บ้านชีโกง ริมถนนพระร่วง บ่อเหล็กนี้มีเนื้อที่หลายไร่ ถูกขุดค้นมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย นำมาสร้างอาวุธและเครื่องมือประกอบมาชีพทางการเกษตร เป็นอุตสาหกรรมขนาดย่อม เลยทีเดียว
          ท่านพาเราลัดเลาะและผ่านป่าละเมาะ เข้าไป ผ่านพืชไร่ที่ชาวบ้านปลูกไว้ ถนนแคบๆที่รถวิ่งได้ทางเดียว หญ้าปกคลุม 2 ข้างทาง บางตอนรถเกือบผ่านไม่ได้ เมื่อไปถึงบ่อเหล็ก เราถึงกับตะลึงที่มีบ่อเหล็ก ขนาดใหญ่จำนวนมาก ขุดติดต่อเรียงรายกันเต็มพื้นที่ บางบ่อกว้างถึง 10 เมตร บางบ่อเป็นบ่อกลม กว้างราว 1 เมตร สภาพเศษเหล็กที่ขุดขึ้นมาจาก บ่อเหล็ก เมื่อนำมากระทบกัน มีเสียงกังวาน แสดงว่ามีเนื้อเหล็กอยู่อย่างมากมายเพียงแต่ยังไม่มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรงมาสำรวจเท่านั้น นับว่าน่าเสียดายยิ่ง....
          นายณรงค์ ปักธงชัย นายกองค์การบริหารส่วนตำบลถ้ำกระต่ายทอง ทำพิธี ขมาและขอสำรวจ บ่อเหล็ก จากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และเจ้าที่เจ้าทาง เพื่อเป็นสิริมงคล และไม่เป็นอุปสรรค ในการสำรวจ แต่ละบ่อแต่ละจุดที่ท่านนำไปชมล้วนตื่นตาตื่นใจ ในภูมิปัญญาของบรรพบุรุษเรา ที่ค้นหาแหล่งแร่เหล็กที่ บริเวณบ่อเหล็กและนำไปถลุงได้ อย่างมีคุณภาพ เราลัดเลาะปากบ่อเหล็กลึกเข้าไปประมาณ เกือบ 1000 เมตร พบ บ่อเหล็ก น้อยใหญ่จำนวนมาก พบแร่เหล็กที่ขุดขึ้นมายังมิได้ทำการถลุง อีกจำนวนหนึ่ง มีการนำเหล็กที่ขุดขึ้นมาจากบ่อเหล็ก มาถลุงที่ บ้านเตาแร่ หรือหนองเตาแร่ ซึ่งเสียงเลื่อนและเพี้ยนตามสำเนียงพรานกระต่าย มาเป็นหนองตอแหล.... คุ้มเกินคุ้มสำหรับการเดินทางมาสำรวจบ่อเหล็กในครั้งนี้
          สิ่งที่ควรจะฟื้นฟูได้ ในบริเวณ บ่อเหล็ก นี้คือ ทำเป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์และภูมิปัญญาของตำบลถ้ำกระต่ายทอง ถ้าจัดภูมิทัศน์ใหม่ จัดให้มีการ สาธิตการขุดแร่เหล็ก มีเตาถลุงเหล็กมีการตีมีด การทำเครื่องมือการเกษตร ในบริเวณที่พบ บ่อเหล็ก จัดเป็นฉาก เชื่อมั่นว่า บริเวณบ่อเหล็กจะเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าประทับใจมาก และจะเป็น อันซีน กำแพงเพชร ที่ผู้คนหลั่งไหลไปชมไม่แพ้ บ่อน้ำพุร้อนพระร่วงเลยทีเดียว...
          ขอบคุณนายณรงค์ ปักธงชัยและคณะที่พาเราไปชม สถานที่..ที่ทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์และภูมิปัญญา อย่าง บ่อเหล็ก นี้ อีกไม่นานเราคงเห็น บ่อเหล็ก ที่ตำบลถ้ำกระต่ายทอง อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ....ในกำแพงเพชรเมืองมรดกโลกของเรา......
http://sunti-apairach.com/02/02O.htm


กระทู้: ประวัติศาสตร์ กับ ทรัพยากร
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 16 ก.ย. 11, 12:41
ดาบฟ้าฟื้น อาวุธประจำกายของขุนแผน มีส่วนประสมได้แก่ แร่เหล็กฮีมาไทต์  (Fe2O3)  แมกนีไทต์  (Fe2O4)  เหล็กไหล  เหล็กนำพี้  เหล็กกำแพง  นำมาหลอมรวมกัน  ปรุงน้ำเหล็กด้วยองค์ประกอบของแร่ชนิดต่าง  ๆ  การเร่งไฟและลดไฟตามจังหวะของการตีขึ้นรูป  การชุบแข็ง  การอบอ่อน  การบ่มยืนไฟที่พอเหมาะ  กับการแช่ยาผงไปพร้อม  ๆ  กัน  ทิ้งไว้ในสภาพนี้  ๓  วัน  จึงนำมาตีปรับรูปทรงตามต้องการ  และถูกต้องตามตำรา

เหล็กน้ำพี้  เป็นเหล็กกล้าที่มีคุณภาพสูง  เป็นความนิยมมงคลลักษณ์มาแต่โบราณบ่อแร่เหล็กน้ำพี้อยู่ตำบลน้ำพี้  ทางตะวันออกของเมืองอุตรดิตถ์  และมีหลายบ่อในตำบลนี้  ส่วนบ่อพระแสงเป็นบ่อแร่ที่มีเนื้อแร่เหล็กดีกว่าบ่ออื่น  ทั้งยังพบธาตุเจือชนิด  สทรอนเชียน (Sr) รูบิเดียม (Rd) และโคบอลต์ (Co) ซึ่งทำให้เนื้อเหล็กน้ำพี้มีคุณภาพแข็งเหนียวไม่เปราะ  แถมมีสปริงดี  จึงห้ามมิให้ผู้อื่นขุดแร่บ่อนี้ใช้  ได้แต่สำหรับทำพระแสงของพระราชาธิบดีในครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี

เหล็กกำแพง เป็นเหล็กกล้าที่มีคุณภาพสูงเช่นกัน  ชื่อเหล็กกำแพงนั้นเป็นชื่อของผลิตภัณฑ์เหล็กที่ผลิตขึ้นที่จังหวัดกำแพงเพชร  มีคุณภาพเป็นที่เชื่อถือในความคม  แข็ง  เหนียว  จากการตรวจสอบพบว่าวัตถุดิบคือแร่เหล็กฮีมาไทต์  (Fe2O3) แมงกานีส (Mn) นิกเกิล (Ni) ไทเทเนียม (Ti) ซิลิคอน (Si) ทองแดง (Cu) ฟอสฟอรัส (P)  และอะลูมิเนียม (Al)  จากธาตุประกอบเหล่านี้ก็จะเป็นตัวเสริมให้เนื้อเหล็กมีคุณภาพสูง  และมีน้ำหนักเบากว่าโลหะเหล็กทั่วไป  แหล่งแร่เหล็กที่ใช้เป็นวัตถุดิบอยู่ในจังหวัดกำแพงเพชร  เช่นที่เขาแก้ว  เขายอดเหล็ก  ที่อำเภอพรานกระต่าย  

ที่มา :  เอกสารประกอบการอบรม   ธรณีวิทยาสู่ครูวิทยาศาสตร์   กรมทรัพยากรธรณี  กระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม (http://tc.mengrai.ac.th/sutthikit/61.doc)

 ;D


กระทู้: ประวัติศาสตร์ กับ ทรัพยากร
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 16 ก.ย. 11, 16:07
คุณหนุ่มสยามครับ
ต่อยอดความรู้ไปได้อีกมากมายเลยครับ แล้วก็ดีใจที่ได้มีการค้นพบอะไรใหม่ๆอย่างต่อเนื่อง เสียดายที่ไม่มีภาพบริเวณที่มีการถลุงแร่ในสมัยโบราณ 

ผมเคยเห็นแต่เตาเผาเหล็กที่ใช้สูบลมแบบพื้นบ้าน ชาวเหมืองแร่ที่ปิล็อก อ.ทองผาภูมิ เขาทำกันเพื่อตีเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ คือใช้ไม้ไผ่ (ไผ่หก) ทะลวงให้ภายในค่อนข้างเรียบ วางตั้งสองท่อคู่กัน ใช้ไม้ไผ่ขนาดเล็กกว่า (ไผ่รวก) พันปลายเทำเป็นก้านสูบ ท่อทั้งสองนี้ต่อเข้ากับท่อเหล็กนอนที่วางไปถึงกองถ่านไฟ คนจะยืนชักก้านสูบขึ้นลงเพื่อให้มีลมไปเป่าไฟให้ร้อนจัด อันนี้คงเหมือนกับที่บรรยายไว้ในหนังสือวชิรญาณวิเศษ

อีกแบบหนึ่งคือใช้ถุงผ้าสี่เหลี่ยม ก้นถุงด้านหนึ่วฉีกออกแล้วเอาท่อสอดผูกให้แน่น ต่อไปยังกองไฟ ด้านปากถุงฉีกออกแล้วเอาไม้ไผ่มาม้วนออกไปทั้งสองข้าง เมื่อจะเป่าลมก็เอาไม้ที่ม้วนปากถุงนั้นประกบกันแล้วกดลง ก็จะได้ลมไปเป่ากองไฟ

เนื่องจากการถลุงเหล็กจะต้องใช้ความร้อนค่อนข้างสูงมาก คือกว่า 1000 องศา ซึ่งจะต้องใช้ถ่านไม้ คงไม่สามารถใช้ไม้แห้งได้ ดังนั้นในพื้นที่นั้นน่าจะต้องมีซากเตาเผาถ่านหลงเหลืออยู่ให้เห็นบ้าง การถลุงเหล็กนั้นเป็นกระบวนการดึงเอาออกซิเจนออกไปจากตัวแร่ ปัจจุบันใช้ถ่านโค๊ก ในสมัยนั้นไม่ทราบว่าใช้อะไร

จากคำอธิบายในวชิรญาณวิเศษ เป็นไปได้ว่าเป็นลักษณะของการทำสองขั้นตอน คือตอนแรกทำให้แร่ร้อนจัดจนละลาย แกลบเผาที่ผสมกับดินเหนียวทำเป็นเบ้าหลอมนั้น จะทำหน้าที่เหมือนถ่านโค๊ก เหล็กที่ได้ในขั้นนี้น่าจะเป็นเหล็กพรุน (Sponge iron) จากนั้นก็หลอมต่อเพื่อไล่สารเจือปนอื่นๆออกไป อาจจะทำต่ออีกครั้งหรือสองครั้ง ก็จะได้เนื้อเหล็กบริษุทธิ์

นึกออกอีกอย่างหนึ่งครับ ถ่านหุงข้าวสมัยก่อนที่จะหันมาใช้เตาแกสอย่างแพร่หลายกันนั้น มีมากแถวกำแพงเพชรและบ่อพลอย กาญจนบุรี ช่างประจวบเหมาะกับที่เป็นแหล่งแร่เหล็กอีกด้วย ไม่รู้ว่าจะเป็นมรดกตกทอดสัมพันธ์กันเพียงใด

ผมยังมีความสนใจในบันทึกเรื่องการถลุงเหล็กอีกหลายเรื่อง คือ ตามบันทึกนั้น
  1. ตำบลที่มีการถลุงแร่เหล็กอยู่ที่ใหน
.....เสียงสูบดังสนั่นไปตามที่ๆเขาตั้งเตาหลอมเหล็ก ด้วยในตำบลที่เขาตั้งเตาหลอมเหล็กนั้น มีโรงหลายโรงตั้งอยู่เปนหมู่ ๆ รายกันทั่วไป.... 
  2. มีคนต่างชาติเข้ามาลงทุนทำกิจการถลุงเหล็กแล้ว ???
.....ถ้าจะตั้งสูบไปแต่ผู้เดียว ในชั่วพักหนึ่งนั้นสูบไปไม่ไหว เพราะสูบที่เขาใช้ในการหลอมแร่เหล็กนี้ เปนสูบใหญ่กว่าสูบที่เขาใช้ตีเหล็กในสยามนี้....
  3. แสดงว่าในสมัยนั้นจะต้องมีการเคลื่อนย้ายขนสินแร่เหล็กจากแหล่งมาถลุงในเมืองด้วย นำเข้า ? หรือ เป็นสินแร่ของเราเอง ? หรือทั้งสองอย่าง
คงจะเป็นเรื่องใหญ่เหมือนกัน สินแร่เหล็ก 1 ลบ.ม.หนักประมาณ 5 ตัน หนักมากกว่าน้ำ 5 เท่า  สินแร่เหล็ก 1 ตัน ถลุงได้เนื้อเหล็กประมาณ 2/3 ตัน
......การที่ขายเนื้อเหล็กที่หลอมแล้วนี้ เขาก็ขายแก่คนที่อยู่ในบ้านเมืองเดียวกันนั้นบ้าง ขายไปแก่คนที่อยู่ในประเทศที่ใกล้เคียงกัน เปนต้นว่าเมืองยโสธร         หรือเมืองอุบลราชธานี ประเทศเหล่านี้เปนต้น ย่อมใช้เหล็กเมืองสุวรรณภูมิทั้งสิ้นผู้ที่ซื้อเอาเนื้อเหล็กไปทั้งก้อน ๆ นั้น.....


กระทู้: ประวัติศาสตร์ กับ ทรัพยากร
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 16 ก.ย. 11, 16:21
เอาภาพกระบอกสูบลมแบบโบราณมาให้ชมถึงการหลอมโลหะครับ ภาพนี้เป็นภาพโรงเตาหลอมจะเห็นว่าตั้งกระบอกสูบลมแนวตั้ง สำหรับการหล่อพระพุทธชินราชจำลองที่พิษณุโลก พ.ศ. ๒๔๔๔ ครับ


กระทู้: ประวัติศาสตร์ กับ ทรัพยากร
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 17 ก.ย. 11, 11:00
ภาพการถลุงแร่ของจีนโบราณ จาก Ancient China's Technology and Science, He Tangkun ให้ภาพประกอบเรื่องการถลุงแร่ โดยใช้ระบบเตาสูบลมเข้าไปยังห้องไฟ และมีเศษตะกรันไหลล้นออกมาด้านหลัง


กระทู้: ประวัติศาสตร์ กับ ทรัพยากร
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 17 ก.ย. 11, 19:24
เทียบเคียงจากภาพแรกที่พิษณุโลกและภาพของจีน น่าสนใจมากครับ

แม้ว่าไทยจะติดต่อกับจีนมานาน แต่ดูเหมือนว่าจะไม่มีการรับเทคโนโลยีมาจากจีนเลย
แสดงว่าเราพัฒนาเทคโนโลยีของเราเอง ??? หรือว่าเนื่องจากตัวสินแร่ที่มีความต่างกัน ??? หรือว่าเราเอาแบบมาจากตะวันตก ???



กระทู้: ประวัติศาสตร์ กับ ทรัพยากร
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 19 ก.ย. 11, 21:11
ย้อนนึกไปถึงวันในอดีต
จำได้ว่าเมื่อครั้งพระบาทสมเด้จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จนิวัติพระนครเมื่อ พ.ศ. 2504 นั้น ผมเป็นคนหนึ่งที่เดินอยู่ในริ้วขบวนเสด็จทางสถลมาร์ค โดยเดินถือหอกจากพระบรมมหาราชวัง ไปวัดบวรนิเวศวิหารราชวรวิหารแล้วเดินกลับ ก่อนจะตั้งขบวนก็ได้มีโอกาสเห็นห้องเก็บศาสตราวุธ จำได้ว่าเกือบจะไม่เห็นมีดดาบในคลังแสงเลย

วันนี้เลยสงสัยว่า ในสมัยก่อนๆโน้น ดาบหรือหอกที่เป็นอาวุธหลักในกองทหารของไทย ??? คือ นึกไปถึงการเปรียบเทียบปริมาณเหล็กที่ต้องใช้ทำดาบกับหอก รวมทั้งความยากง่ายในการตีขึ้นรูปทำเป็นอาวุธ ครับ


กระทู้: ประวัติศาสตร์ กับ ทรัพยากร
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 19 ก.ย. 11, 21:35
ปริมาณเหล็กที่ทำอาวุธก็คงมีปริมาณมากตามที่คุณตั้งคิดไว้ งานเหล็กยังรวมไปถึงเครื่องมือทางการเกษตรกรรมด้วย เช่น เคียว มีด พาลไถ หัวหมู จอบ เสียม และหากคิดไปกว้างกว่านี้ก็รวมทั้งภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งรบ ทั้งเป็นการเกษตร ย่อมมีเครื่องมือเหล็กมากมาย เราใช้ทรัพยากรโลหะเหล็กมากจริง ๆ

การตีเหล็กก็มีช่างตีเหล็กที่ใช้แรงงานหนัก ไม่นิยมการหล่อขึ้นรูปแล้วมาตี เพราะเหล็กไม่เหนียว เขาจะเพิ่มคาร์บอนในเนื้อเหล็ก และเผาร้อน ชุบแข็ง เป็นวิธีที่ทำให้เหล็กผลักดันมลทินออกไป เหล็กจึงแกร่งแข็งแรง


กระทู้: ประวัติศาสตร์ กับ ทรัพยากร
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 20 ก.ย. 11, 09:32
งานเหล็กยังรวมไปถึงเครื่องมือทางการเกษตรกรรมด้วย เช่น เคียว มีด พาลไถ หัวหมู จอบ เสียม และหากคิดไปกว้างกว่านี้ก็รวมทั้งภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งรบ ทั้งเป็นการเกษตร ย่อมมีเครื่องมือเหล็กมากมาย เราใช้ทรัพยากรโลหะเหล็กมากจริง ๆ

สมัยก่อนมีจอบสัก ๕๐๐ เล่มก็เป็นฐานสร้างอำนาจทางการเมืองได้

จิตร  ภูมิศักดิ์เล่าถึง "ปู่เจ้าลาวจก" ไว้ในหนังสือ ความเป็นมาของคำสยาม ไทย, ลาว และขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ (http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%B3%E0%B8%AA%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A1_%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2,_%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A7_%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%A1_%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%93%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A1%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4) ดังนี้


กระทู้: ประวัติศาสตร์ กับ ทรัพยากร
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 20 ก.ย. 11, 09:34
ต่อ


กระทู้: ประวัติศาสตร์ กับ ทรัพยากร
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 20 ก.ย. 11, 09:36
ต่อ


กระทู้: ประวัติศาสตร์ กับ ทรัพยากร
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 21 ก.ย. 11, 12:31
ผมมีหนังสือเล่มนี้เหมือนกันครับ
เคยอ่านด้วยความสนใจเป็นอย่างยิ่งเมื่อกว่าสิบปีที่แล้ว ตั้งใจว่าจะเอามาอ่านอีกรอบหนึ่ง แต่ก็ยังไม่ได้ทำ ในขณะนี้จะเรียกว่าได้ลืมเรื่องราวไปหมดแล้วก็ว่าได้
เรื่องราวของทรัพยากรนี้มีซ่อนอยู่ในที่ต่างๆค่อนข้างมากนะครับ ขอขอบพระคุณมากครับ

ลองคิดอย่างคร่าวๆดู หากเครื่องศาสตรวุธ 1 ชิ้น หนักประมาณ 1 กก. และเครื่องมือเครื่งใช้ต่างๆก็หนักใกล้ๆกันนั้น เมื่อเอาจำนวนทหารตามที่เคยมีบันทึกในการทำสงครามหรือสู้รบแต่ละครั้งมาคูณ และเอาจำนวนประชากรสักประมาณหนึ่งในสามที่มีเครื่องมือทำกินมาคูณ เราก็คงจะต้องใช้เหล็กมากทีเดียว คงจะหลายร้อยตันทีเดียวในแต่ละช่วงสมัย หรือเป็นระดับพันตันเลยทีเดียว 

จึงมีประเด็นว่า
ตามนัยบันทึกเรื่องการถลุงเหล็ก ปริมาณที่สามารถจะผลิตเหล็กได้ของแต่ละเตาในแต่ละครั้งมีค่อนข้างจะจำกัดมาก ในแต่ละครั้งของการถลุงจะได้เหล็กประมาณ 100 ก้อน ผมเดาว่าก้อนหนึ่งก็คงจะไม่เกิน 1 กำมือ ก็จะมีน้ำหนักประมาณ 2-3 กก. หรืออาจะเล็กกว่านั้น โดยนัยแล้วขนาดของเหล็ก 1 ก้อนที่ผลิตขึ้น น่าจะมีปริมาณพอเหมาะที่จะทำสิ่งของได้ 1 ชิ้นพอดีๆ แสดงว่าหากจะให้ได้เหล็กในปริมาณรวมขนาดนั้น แต่ละแหล่งที่มีการถลุงคงจะต้องเป็นชุมชนขนาดใหญ่ทีเดียว ในทำนองเดียวกันชุมชนที่ทำแร่ในแต่ละแหล่งก็ต้องใหญ่มากด้วย ยิ่งถ้าต้องมีการขนแร่จากที่หนึ่งมาถลุงอีกที่หนึ่ง รวมทั้งการขนเหล็กหรือผลิตภัณฑ์ไปขายไกลๆกระจายไปใช้ในท้องถิ่นต่างๆ  เช่นในอิสาณ หรือขนขึ้นไปยังภาคเหนือตอนบน ก็ทำให้นึกถึงระบบการขนส่ง (Logistics) ที่จะต้องมีอย่างดีและมีศักยภาพสูงด้วย
และยิ่งถ้าในเชิงของความมั่นคงด้วยแล้ว เหล็กก็กลายเป็นยุทธปัจจัยที่ต้องมีการการควบคุมอย่างใดอย่างหนึ่ง

น่าสนใจว่า มีบันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับการจัดการเหล่านี้หรือไม่ครับ

 


กระทู้: ประวัติศาสตร์ กับ ทรัพยากร
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 21 ก.ย. 11, 14:09
ผมมีหนังสือเล่มนี้เหมือนกันครับ
เคยอ่านด้วยความสนใจเป็นอย่างยิ่งเมื่อกว่าสิบปีที่แล้ว ตั้งใจว่าจะเอามาอ่านอีกรอบหนึ่ง แต่ก็ยังไม่ได้ทำ ในขณะนี้จะเรียกว่าได้ลืมเรื่องราวไปหมดแล้วก็ว่าได้

หากคุณตั้งอยากอ่านอีกสักรอบ กดลิ้งก์เข้าไปอ่านได้เลย ที่นี่ (http://www.openbase.in.th/files/tbpj027.pdf)


เรื่องราวของทรัพยากรนี้มีซ่อนอยู่ในที่ต่างๆค่อนข้างมากนะครับ ขอขอบพระคุณมากครับ

เหล็กที่ใช้ทำศาสตราวุธกับที่ใช้ทำเครื่องมือการเกษตรน่าจะใช้เหล็กจากคนละแหล่ง

เรื่องนี้คุณสุจิตต์  วงษ์เทศเขียนไว้ในนิยายแปลงพงศาวดารเรื่อง กรุงแตกยศล่มแล้ว ตอนข่าวศึก (http://www.sujitwongthes.com/2009/10/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%95%E0%B8%81-%E0%B8%A2%E0%B8%A8%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%A1%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%A7/)


..........ทำไมไม่พูดธุระมานี่จะตีดาบศึกหรือจะตีมีดพร้า” เฒ่าจูมเปลี่ยนเรื่องไป

แล้วขุนยี่สารก็บอกเล่าถึงข่าวศึกที่เจ้าคุณโกษาธิบดีกรมพระคลังได้หนังสือข่าวจากเมืองตะนาวศรี แล้วขึ้นเฝ้ากราบบังคมทูลเร็วพลัน

“เหล็กดี ๆ ตีดาบได้มาบ้างไหมล่ะไอ้เจ๊กทั่ง” ขุนยี่สารหันไปทางเจ๊กทั่งนั่งยอง ๆ มองดูอยู่ห่าง ๆ

“มีแต่เหล็กละโว้ขอรับคุณท่าน” เจ๊กทั่งตอบนอบน้อม

ทั่ง คือแท่นเหล็กรองตีโลหะ เป็นของสำคัญในโรงตีเหล็ก เพราะทั่งเป็นเหล็กกล้าได้จากเมืองจีนตั้งแต่รุ่นบรรพชนชั้นก๋ง แล้วสืบต่อถึงเตี่ยจนตกทอดเป็นมรดกให้เจ๊กทั่ง ที่ได้ชื่อทั่งก็เพราะเตี่ยตั้งให้ ส่วนแม่เป็นมอญในอยุธยา ทั้งเตี่ยและแม่ล้มหายตายจากไปนานหลายปีแล้ว เจ๊กทั่งเลยเป็นช่างตีเหล็กสืบจากพ่อ แล้วมีเมียชื่อเข็มเป็นลาว ส่วนลูกชายสามคนถูกเกณฑ์ไปทัพ ตายเสียสองคนชื่อดาบกับมีด ที่เหลืออยู่ให้ตีเหล็กช่วยกันชื่อเสียมที่เป็นเครื่องมือขุดดินทำด้วยเหล็ก

“เหล็กกำแพงน้ำพี้ไม่มีได้มาเลยหรือ” ขุนยี่สารบ้วนน้ำหมากไปพูดไปสลับกัน “กูอยากได้ดาบเหล็กกำแพงน้ำพี้ เหมือนดาบฟ้าฟื้นของขุนแผน”

เหล็กกำแพงน้ำพี้ หมายถึงเหล็กจากเมืองกำแพงเพชร มีบ่อเหล็กอยู่บางพานกระต่ายไปทางน้ำปิง ส่วนเหล็กน้ำพี้มีบ่ออยู่ตำบลน้ำพี้เหนือเมืองพิชัยไปทางน้ำโพ

“เหล็กกำแพงกับน้ำพี้ไม่เหลือมาถึงข้าน้อยหรอก มันหมดอยู่ที่พระคลัง” เจ๊กทั่งบอกขุนยี่สารอย่างพินอบพิเทา “ข้าน้อยมีแต่เหล็กละโว้ใช้ตีมีดพร้า ตีเคียวเกี่ยวข้าวเท่านั้น”

เหล็กละโว้คือเหล็กจากบ่อเมืองลพบุรีไปทางป่าสัก เป็นบ่อเหล็กมีมานานมากหลายชั่วคนตั้งแต่พวกขอมทำไว้ มีคำทายเก่า ๆ ใช้เล่นกันในเมืองลพบุรีจนถึงอยุธยาว่า “อะไรเอ่ย มาจากเมืองละโว้ หน้าขาวเป็นตะโก้ มีฟันซี่เดียว” คำเฉลยคือจอบขุดดิน แสดงว่าพวกขอมเมืองละโว้ชำนาญทำเหล็กตีเป็นจอบขุดดินเฮ็ดไฮ่คือทำไร่

“ดาบของพ่อเฒ่าเป็นเหล็กจากไหน เก็บไว้หรือให้ใครไปล่ะ” ขุนยี่สารนึกขึ้นได้เลยหันไปถามเฒ่าจูมพลตระเวนดาบสองมือกร้านศึกเหนือเสือใต้

“ถวายวัดไปนานแล้ว” เฒ่าจูมนั่งกอดเข่าชันข้างเดียว ถลกหยักรั้งเห็นลายสักขา “ทำราวเทียนไว้หน้าพระประธานในวิหารวัดมหาโลกนี่แหละ”

“ทั้งสองเล่มเลยหรือ” ขุนยี่สารซักต่ออีก

“ทั้งสองเล่ม ทำเป็นราวคู่ ไปดูก็ได้อยู่ในวิหาร” เฒ่าจูมชวนให้ไปพิสูจน์ดูเอง

“ไม่บาปหรือ” นังลูกจันช่างสงสัยเลยถามขึ้น “ตาเอาดาบฆ่าคนไปถวายวัดอย่างนั้นไม่บาปหรือ”

“บุญน่ะไม่ว่า ข้าถวายให้วัดต้องได้บุญซี่วะ จะบาปได้ยังไง” เฒ่าจูมบอกนังลูกจัน

“ดาบของตาเคยฆ่าคนไม่ใช่หรือ”

“เออ ใช่ นั่นแหละยิ่งได้บุญ”

“มันเป็นของบาป”

“ไม่ได้ถวายดาบให้ฆ่าพระ แต่ถวายดาบเป็นราวเทียนบูชาพระให้ฆ่าความโลภ ความโกรธ ความหลงของคน อย่างนี้ได้บุญ รู้ไหมอีบ้า” เฒ่าจูมพูดดุๆ

“ถามดี ๆ มาว่าบ้าได้ไง” นังลูกจันเถียง “ตาซี่บ้า มีอย่างที่ไหนเอาดาบถวายวัด”

 ;D


กระทู้: ประวัติศาสตร์ กับ ทรัพยากร
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 21 ก.ย. 11, 18:58
อ่านที่คุญเพ็ญชมพูได้กรุณาคัดมา ก็น่าจะทำให้ได้ข้อสรุปบางอย่างที่พอจะชัดเจนครับ

ผมเห็นภาพว่า
ในช่วงสมัยอยุธยานั้น แร่เหล็กและเหล็กเป็นทรัพยากรทางยุทธปัจจัยที่สำคัญยิ่งของไทย คงจะไม่ผิดนักหากจะกล่าวว่านอกจากจะมีการสงวนแหล่งแร่เหล็กคุณภาพดีที่น้ำพี้และพรานกระต่ายใว้ใช้ในราชการแล้ว ยังอาจจะมีการซื้อนำเข้าจากจีนเป็นบางส่วนในปริมาณที่ไม่น่าจะมีมากด้วยข้อจำกัดทางการขนส่ง
ในยุคนั้นน่าจะต้องมีระเบียบและข้อบังคับบางประการที่ค่อนข้างจะเข้มงวดเกี่ยวกับทรัพยากรเหล็กนี้
เห็นภาพว่า การขุดแร่หรือการทำเหมืองแร่เหล็ก รวมทั้งการถลุงเหล็กจากทั้งสองแหล่งนี้ น่าจะเป็นการดำเนินการโดยรัฐและ/หรือรัฐเป็นเจ้าของ
น่าจะขยายภาพได้ว่า พื้นที่ที่มีแหล่งแร่เหล็กเหล่านี้ อยุธยาน่าจะต้องจัดเป็นพื้นที่ความมั่นคงที่สำคัญยิ่ง จะต้องอยู่ในเขตอาณาของอยุธยาที่สามารถควบคุมได้อย่างสมบูรณ์ตลอดกาล (Absolute sovereignty) รวมถึงเมืองตามเส้นทางการขนส่งด้วย ซึ่งหมายความว่าผู้ปกครองเมืองเหล่านี้จะต้องมีความใกล้ชิดกับอยุธยา หรือต้องเป็นคนที่อยุธยาให้ความใว้วางใจอย่างสูง หรือเป็นคนที่อยุธยาส่งมาปกครอง เมืองเหล่านี้จึงค่อนข้างจะมีประวัติศาสตร์ของตนที่มีพลวัติ (Active) ตลอดช่วงประวัติศาสตร์ของไทย
ผมมีความเห็นว่า การขนส่งนั้นดำเนินการทั้งทางบกและทางน้ำ ขึ้นอยู่กับฤดูกาล ข้อสังเกตก็คือ เมืองตามเส้นทางบกเหล่่านี้อยู่ห่างกันในระยะการเดินโดยคนประมาณ 1 วัน หรือสูงสุดไม่เกิน 3 วันกับ 2 คืน (ระยะทางประมาณ 40-80 กม.) คนธรรมดาจะเดินได้ประมาณ 40 กม.ต่อวัน หากเป็นเกวียนหรือช้างก็ไม่น่าจะเกิน 20 กม.ต่อวัน เมื่อขนส่งมาถึงแม่น้ำเจ้าพระยา เมืองเก่าๆตามแม่น้ำเจ้าพระยาก็ดูจะอยู่ห่างกันมากขึ้นเนื่องจากการขนส่งโดยเรือเดินทางได้ค่อนข้างไกลในแต่ละวัน ดูเหมือนว่า (ผมไม่แม่นนัก) สถานที่ตั้งของเมืองต่างๆตามริมน้ำเจ้าพระยาขาล่องตามน้ำที่เป็นเมืองเก่าจะอยู่ห่างกันในระยะประมาณ 50-60 กม. แต่หากเป็นขาขึ้นทวนน้ำจะเป็นหมู่บ้านที่ขึ้นต้นด้วยคำว่าท่า (ที่พักเรือ) ระยะทางจะสั้นและอยู่ระรายระหว่างเมืองเก่าเหล่านั้น ซึ่งน่าจะแสดงว่ามีสินค้าขาล่องที่สำคัญที่จะต้องดูแลคุ้มครองเป็นพิเศษ (คิดว่าตัวเองฝันมากเกินไปแล้วครับ)

สำหรับผมแล้ว เมื่อมองเหตุผลจากฐานทางทรัพยากร เห็นว่าเมืองในย่านอุตรดิตถ์ พิษณุโลก สุโขทัย พิจิตร เข้ามามีชื่อและมีพลวัติอยู่ในประวัติศาสตร์ของเรา ก็ด้วยส่วนหนึ่งในเรื่องที่เกียวพันกับเรื่องของทรัพยากรที่เป็นยุทธปัจจัย ครับ



 
       
   

 

 


กระทู้: ประวัติศาสตร์ กับ ทรัพยากร
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 26 ก.ย. 11, 20:48
ในภาพของผม ในสมัยอยุธยานั้น ให้ความสำคัญค่อนข้างมากกับทรัพยากรอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งได้แก่หนังสัตว์ (จากกวาง) ซึ่งมีชุกชุมมากในยุคนั้น

ก่อนจะสิ้นสุดอยุธยา ยุโรปก็วุ่นวายอยู่กับการแผ่อิทธิพลของฝรั่งเศส อังกฤษก็หลบจากความวุ่นวายไปแสวงหาแหล่งทรัพยากรที่เป็นสินค้าในความต้องการของคนในยุโรป จนกระทั่งสิ้นสุดสมัยอยุธยา ไทยเราก็วุ่นอยู่กับเรื่องของการกู้เอกราช ในขณะที่อังกฤษก็เริ่มได้ครอบครองอินเดียอย่างค่อนข้างจะสมบูรณ์ ครองความเป็นเจ้าของร่วมในเส้นทางค้าขายที่สำคัญระหว่างตะวันออกกับตะวันตก
เมื่อไทยเข้าสู่สมัยรัตนโกสินทร์ อังกฤษก็เริ่มเข้ามายุ่งกับพื้นที่ย่านปลายแหลมทอง ในขณะที่ในแผ่นดินใหญ่ของยุโรปก็กำลังพยายามจะจัดขอบเขตการปกครองใหม่ (จนกระทั่งในสมัย ร.2 จึงได้เกิด The Congress of Vienna)
พอเข้าสมัย ร.3 อังกฤษก็แสดงตนอย่างชัดเจนว่าต้องการมีอิทธิพลเต็มร้อยในพื้นที่ของประเทศมาเลเซีย (และก็ได้อย่างสมบูรณ์ในช่วงต้นสมัย ร.5) ซึ่งในช่วงนี้ก็มีการอพยพของคนจีนมาในพื้นที่ปลายแหลมทองอย่างมาก (ส่วนหนึ่งค่อนข้างมากมาเป็นแรงงานทำเหมืองดีบุก) พร้อมๆกันนี้อังกฤษก็ได้แสดงความต้องการชัดเจนว่าจะเข้าครอบครองพม่า
พอเข้าสมัย ร.5 อังกฤษก็ได้ครองพื้นที่ปลายแหลมทองค่อนข้างจะสมบูรณ์และพม่าด้วย ทรัพยากรที่มีความสำคัญในการค้าขายในย่านนี้แต่เดิม (เครื่องเทศและใบชาจากจีน) เปลี่ยนไปเป็นทรัพยากรธรณีธรณ๊อื่นๆและไม้อย่างแท้จริง ซึ่งน่าจะเป็นการเริ่มยุคของการค้าขายทรัพยากรของไทยอย่างแท้จริง 

ผมเห็นว่า สถานการณ์ในเชิงประวัติศาสตร์กับทรัพยากรสำหรับไทย ได้เริ่มเปลี่ยนแปลงและก้าวเข้าสู่วงของความเป็นนานาชาติก็เมื่อปลายสมัยของ ร.2 ซึ่งก็ด้วยพระปรีชาสามารถและการเห็นการไกลของพระมหากษัตริย์ไทยในการบริหารจัดการ ไทยเราจึงสามารถยืนยงอยู่ได้โดยไม่เป็นเมืองขึ้นในอาณัติของใคร
ผมเห็นว่า รากฐานของการวางระบบ ในการให้สิทธิในการทำการค้าต่างๆในอดีตของไทยทั้งหมด มีความสอดคล้องกับระบบที่ประเทศทางตะวันตกเขาใช้กัน ซึ่งก็คือ ระบบสัมปทาน (Concessionaire) ระบบการให้สิทธิ (Rights) ซึ่งน่าจะตรงกับคำว่าประทานบัตร ระบบการอนุญาตให้ประกอบการ (Operates) ซึ่งน่าจะตรงกับคำว่าอาชญาบัตร และระบบการอนุญาติให้ดำเนินการได้ (Permits)

ในสมัย ร.5 มีการให้ทั้งระบบสัมปทาน เช่น สัมปทานการทำไม้บริเวณอำเภออุ้มผาง ให้กับ Sir Lawrence Valley ซึ่งในตอนหลังอังกฤษยึดพื้นที่ไปเป็นของตนเอง (ผนวกเป็นของพม่า) จนเขตแดนพื้นที่ของไทยกลายเป็นเว้าปากนกแก้ว (ใต้แม่สอด เหนืออุ้มผาง) ชื่อหมู่บ้านนี้ในปัจจุบันคือ บ้านวะเล่ย์
ระบบอาชญาบัตร เช่น อาชญาบัตรเขียงหมู (??) และอาชญาบัตรสำรวจแร่
ระบบประทานบัตร เช่น ประทานบัตรเหมืองแร่

เล่าเรื่องที่ประมวลได้มายาวพอสมควรแล้ว ซึ่งก็ไม่แน่ใจนักว่าจะถูกต้องมากน้อยเพียงใด

ทั้งหมดก็เพื่อนำไปสู่อีกเรื่องที่ผมคิดว่าน่าสนใจมาก คือ เรื่องของเส้นลองติจูดที่ 99 องศาตะวันออก เส้นลองติจูดที่ 105 ตะวันออก และเส้นละติจูดที่ 11 องศาเหนือ ครับ


 

 
 
 
   

 
     


กระทู้: ประวัติศาสตร์ กับ ทรัพยากร
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 27 ก.ย. 11, 09:03
พิกัดประมาณ อ่าวไทย จากประจวบฯ ไปจนถึงเกาะกง...   มั้งคะ  ;D
คุณnaitang จะเล่าเรื่องอะไรหนอ....
หนูดีดีเดาว่า น่าจะเกี่ยวกะ"ปฏิญญาแกงเลียง" ที่กำลังร้อนท้องกันอยู่ในขณะนี้...


กระทู้: ประวัติศาสตร์ กับ ทรัพยากร
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 27 ก.ย. 11, 19:30
พิกัดประมาณ อ่าวไทย จากประจวบฯ ไปจนถึงเกาะกง...   มั้งคะ  ;D
คุณnaitang จะเล่าเรื่องอะไรหนอ....
หนูดีดีเดาว่า น่าจะเกี่ยวกะ"ปฏิญญาแกงเลียง" ที่กำลังร้อนท้องกันอยู่ในขณะนี้...

ถูกต้องครับ สำหรับละติจูดที่ 11 องศาเหนือ คืออยู่บริเวณ จ.ประจวบฯ แต่เรื่องที่จะพูดถึงเก่ากว่ามากครับ

แต่ผมจะขอไปเริ่มที่เส้นลองติจูดที่ 99 องศาตะวันออก ซึ่งผมเห็นว่าเป็นต้นตอของเส้นอื่นๆที่กล่าวถึงครับ

คุณดีดี ลองลากเส้นลองติจูดที่ 99 องศาตะวันออกดูซิครับว่า มันผ่านประเทศไทยส่วนใหนอย่างไรบ้าง



กระทู้: ประวัติศาสตร์ กับ ทรัพยากร
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 28 ก.ย. 11, 10:00
ค่ะ ลองลากเส้น ลองติจูดที่ 99 องศาตะวันออก คร่าวๆ เป็นเส้นสีน้ำเงินตามภาพ นะคะ  ;D
ผ่านประเทศไทยประมาณรอยต่อเชียงใหม่ เชียงราย ลงมา ลำพูน ตาก กำแพงเพชร อุทัยธานี
กาญจนบุรี ราชบุรี ประจวบคีรีขันธ์ เรื่อยลงมาถึง ชุมพร สุราษฏร์ธานี นครศรธรรมราช ลงทะเล ที่กระบี่ ค่ะ
กะประมาณเอานะคะ ไม่ได้ลงรายละเอียด...


กระทู้: ประวัติศาสตร์ กับ ทรัพยากร
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 28 ก.ย. 11, 21:57
ขอบพระคุณ คุณดีดี มากครับ

จากภาพ จะเห็นได้โดยคร่าวๆว่า เส้นแวงที่ 99 อ. นี้ เป็นเสมือนหนึ่งเส้นที่ประมาณตำแหน่งของเส้นแบ่งเขตระหว่างประเทศไทยกับพม่าใช่ใหมครับ เป็นเส้นที่ใช้อ้างอิงอย่างคร่าวๆถึงเขตอิทธิพลหรือเขตอาณาหรือความตกลงต่างๆเมื่อกล่าวถึงในบริบทของภูมิศาสตร์โลก (Global context) ส่วนเส้นแบ่งเขตแดนจริงๆนั้นจะเป็นไปตามลักษณะของภูมิประเทศ

เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ฝังอยู่ในใจของผมมาตั้งแต่เมื่อประมาณปี พ.ศ.2520 (จำไม่ได้แม่นครับ)
เรื่องของเรื่องก็คือ เมื่อประมาณ พ.ศ.2508 ประเทศไทยโดยกรมทรัพยากรธรณีได้รับความช่วยเหลือจากประเทศเยอรมันเพื่อสำรวจทำแผนที่ธรณีวิทยาอย่างเป็นระบบ (Systematic Geological Mapping) เพื่อทำแผนที่ธรณีวิทยาของประเทศไทยมาตราส่วน 1:250,000 บนพื้นฐานของข้อมูลระดับมาตราส่วน 1:50,000 เยอรมันได้ร่วมกับทีมนักธรณีวิทยาของประเทศไทยทำแผนที่มาตราส่วน 1:250,00 หลายระวางในภาคเหนือ และอีกพื้นที่พิเศษอีกพื้นที่หนึ่ง (ไม่เต็มระวาง) ในเขต อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ที่มีศักยภาพของแหล่งแร่ตะกั่วขนาดใหญ่ โครงการความร่วมมือและช่วยเหลือนี้จบเมื่อประมาณปี พ.ศ.2516 หรือ 2517
ต่อมาเมื่อประมาณพ.ศ.2520 เยอรมันก็มาเสนอให้ความร่วมมืออีก ในครั้งนี้ผู้ประสานงานของเยอรมันได้ขอแผนที่ภูมิประเทศมาตราส่วน 1:50,000 ที่ครอบคลุมลึกเข้าไปในเขตพม่าอีกด้วย ผอ.กองธรณีวิทยาในสมัยนั้นก็เลยสงสัยและขอความเห็นจากผมซึ่งรับผิดชอบทำการสำรวจอยู่ในพื้นที่ทางตะวันตกของไทยและขอให้ประสานความเป็นไปได้ ผมก็เลยไปคุยกับผู้ประสานงานฝ่ายเยอรมัน ก็บอกเขาว่าเรื่องแผนที่นั้นไทยคงไม่มีและหากมีเราก็คงให้ไม่ได้ ซึ่งแท้จริงแล้วเยอรมันก็สามารถหาแผนที่นี้ได้เอง ทั้งด้วยการประสานกับ US Geological Survey หรือ กับหน่วยงานของรัฐบาลสหรัฐ แล้วทำใมไม่ทำการสำรวจในพื้นที่ จ.กาญจนบุรีให้ครบเต็มระวางไปเลย (ระวางเยและทวาย) ก็ได้รับคำตอบว่าไม่สามารถดำเนินการได้ เนื่องจากมีข้อตกลงกันว่าพื้นที่ดังกล่าวนี้ เป็นพื้นที่ของอังกฤษ ผมก็เลยถามไปว่าแล้วภาคเหนือและที่อื่นๆได้ใหม เขาบอกว่าได้ แต่เนื่องจากการสำรวจพื้นฐานได้เสร็จสิ้นแล้วยังคงเหลือเฉพาะงานที่ต้องวิเคราะห์และจัดพิมพ์แผนที่ ดังนั้นจะทำอะไรดี ผมยังไม่สันทัดเนื่องจากยังเป็นระดับเด็กมากเกินไป ก็เลยบอกว่า เช่น การตั้ง Lab. เพื่อสนับสนุนงานสำรวจทางทรัพยากรธรณีน่าจะดี (สุดท้ายก็ออกผลเป็นเช่นนั้น โดยตั้งศูนย์อยู่ที่เชียงใหม่)
ผมรายงานเรื่องนี้ให้ ผอ.ทราบ แล้วก็กลายเป็นข้องสงสัยติดอยู่ในใจมาเป็นเวลาหลายปี เล่าเรื่องนี้ให้น้องของผมฟังในข้อสงสัยต่างๆ เขาเป็นนักอ่านอยู่แล้ว วันหนึ่งก็พบกัน น้องของผมบอกว่าได้ไปใช้บริการของห้องสมุดของบริชติชเคาซิล (ที่กทม.) และได้พบเรื่องการแบ่งเส้นเขตอิทธพลของประเทศตะวันตกในภูมิภาคนี้
จนกระทั่งผมไปประจำการที่เวียนนา ซึ่งมีความรู้สึกว่ามันมีอะไรลึกซึ้งอย่างมากในความคิดของคนยุโรปในประเทศต่างๆ เพื่อจะให้เข้าใจได้และสามารถกระเทาะเปลือกได้ถึงก้นบึ้ง เพื่อให้สามารถทำงานในเชิงลึกได้อย่างมีผล ก็เลยตะลุยอ่าน ก็ไปสะดุดที่เรื่องของ The Congress of Vienna ซึ่งมีการประชุมกันอย่างเป็นเรื่องเป็นราวจริงจังในปี ค.ศ.1814 (พ.ศ. 2357) ตรงกับสมัย ร.2 กึ๋นของเรื่องนี้ก็คือ การแบ่งเขตอาณาและเขตอิทธิพลต่างๆ   

ผมจะขอยกยอดไปเล่าต่อนะครับ


กระทู้: ประวัติศาสตร์ กับ ทรัพยากร
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 29 ก.ย. 11, 10:12
สนใจ และรอฟังต่อค่ะ  ;D


กระทู้: ประวัติศาสตร์ กับ ทรัพยากร
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 29 ก.ย. 11, 11:02
ภาพ The Congress of Vienna ค.ศ.1814


กระทู้: ประวัติศาสตร์ กับ ทรัพยากร
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 29 ก.ย. 11, 19:52
The Congress of Vienna คงจะเป็นเรื่องที่นักศึกษาด้านประวัติศาสตร์และรัฐศาสตร์ได้เรียนกันในหลักสูตร เป็นเรื่องที่สลับซับซ้อนพอสมควร มีหนังสือหลายเล่มมากๆที่เขียนถึงในรายละเอียด ขึ้นอยู่กับว่าผู้สอนจะหยิบเอาบริบทใดมาสอน ในทำนองเดียวกันเราก็สามารถจะหาหนังสืออ่านในแง่มุมและมุมมองต่างๆได้มากเช่นกัน
ผมเองก็ไม่สันทัดและรู้มากพอที่จะเล่าเรื่องนี้ จะกลายเป็นเรื่องของประวัติศาสตร์ยุโรปไป ในความเห็นของผมนั้นเรืื่่องนี้เป็นพื้นฐานที่สำคัญมากๆในการทำงานใดๆก็ตามที่เกี่ยวข้องกับ EU
ผมเพียงมีโอกาสที่ได้อ่านและได้อยู่ในพื้นที่ จึงมีโอกาสพูดคุยสอบถามกับคนยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่ต้องเสียเวลาเสียเงินเดินทางไปหาความรู้เพิ่มเติมกับคนในประเทศนั้นๆ งานส่วนหนึ่งที่ผมทำก็คืองานในบริบทและในระบบของ UN จึงมีโอกาสได้สัมผัสกับคนทุกชาติทุกภาษาที่ทำงานอยู่ในอาคาร UN ก็ได้สอบถาม เรียนรู้และได้รับรู้ความรู้สึกลึกๆของคนชาติพันธ์ต่างๆของยุโรปค่อนข้างมาก

หนังสือที่พิมพ์ขายเกี่ยวกับเรื่องของ The Congress of Vienna นี้ เกือบทั้งหมดก็จะอ้างเรื่องราวมาจากบันทึกเหตุการณ์ต่างๆของแต่ละประเทศที่สามารถเปิดเผยได้ ซึ่งก็เป็นธรรมดาของเอกสารทางประวัติศาสตร์โดยทั่วไป

ประเด็นจากประสบการณ์ของผมมีอยู่ว่า ก่อนที่จะจัดทำบันทึกความตกลงต่างๆหรือจัดทำรายงานการประชุมต่างๆอย่างเป็นทางการในเชิงพหุภาคี หรือในระดับพหุภาคีนั้น มันยังมีความตกลงในเบื้องลึกทั้งในระดับทวิภาคีไปจนถึงระดับพหุภาคีของกลุ่มคนหรือประเทศที่มีส่วนได้ส่วนเสียในการประชุมเจรจาต่อรองกันทุกๆครั้ง ทั้งที่ปรากฎในรายงานการประชุม ในรายงานของคนที่เข้าประชุมไปถึงผู้มีอำนาจตัดสินใจ หรือที่ไม่มีรายงานแต่เป็นข้อตกลงแบบสุภาพบุรุษเพื่อแลกเปลี่ยนอะไรบางอย่างในสถานการณ์ทางการเมืองหรือเศรษฐกิจ ณ.ขณะนั้น ซึ่งเอกสารและข้อมูลเหล่านี้เราทั้งหลายก็คงเดาได้ว่ามันเป็นความลับที่ ณ.เวลานั้นๆ หากเปิดเผยก็จะทำใ้ห้ผลประโยชน์ของชาติของทั้งเขาและเราเสียหาย ซึ่งถึงแม้ว่าจะไม่เป็๋นความลับแต่กว่าจะค้นพบหรือเปิดเผยได้ก็ล่วงเลยมานานมาก

สำหรับผม ผมเห็นภาพว่า ในยุค The Congress นั้น อังกฤษไม่สนใจอำนาจในแผ่นดินใหญ่ยุโรปและใช้โอกาสไปหาและขยายแหล่งทรัพยากรในตะวันออก ซึ่งอังกฤษต้องการมากเพราะเพิ่งจะเริ่มการปฏิวัติทางอุตสาหกรรม ในขณะที่อังกฤษเองก็ได้รับการกีดกันในหลายเรื่องจากฝรั่งเศสด้วย (เป็นคู่รักคู่แค้นกันมานาน) ในขณะที่ผู้มีอำนาจในแผ่นดินใหญ่ยุโรปก็สาละวนอยู่กับการแข่งเขตอาณาและอิทธิพลเนื่องจากกลัวรัสเซีย ในขณะเดียวกันความตกลงต่างๆในทางลึก (และลับ) ก็คงมิใช่เฉพาะพื้นที่ในแผ่นดินใหญ่ยุโรป แต่รวมถึงพื้นที่อื่นๆที่มหาอำนาจของยุโรปริมทะเลสมัยนั้นมีความสามารถไปถึงได้ (Colonialism) เช่น อัฟริกา ซึ่งผมเห็นว่าไม่น่าจะละเว้นที่จะต้องมีการพูดถึงด้วย เยอรมันใหม่ (ปรัสเซียเดิม) ในขณะนั้นยังไม่มีตัวตนที่แท้จริง พอมีตัวตนที่แท้จริงก็ยังเข้าไปในอัฟริกาและมาแม้กระทั่งไทย (สมัย ร.5) เพื่อขอส่วนแบ่งในลัทธิเมืองขึ้นด้วย 
ตังอย่างเช่น ทำไมบราซิลถึงใช้ภาษาปอร์ตุเกส ในขณะที่ในทวีปนั้นใช้ภาษาสเปนทั้งหมด ลองลากเส้นลองติจูดดูก็พอจะทราบได้ หรือทำไมฟิลิปปินส์จึงใช้ภาษาสเปนในขณะที่ถัดมาทางด้านแผ่นดินใหญ่เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ใช้ภาษาอื่นๆของยุโรป ทำไมเยอรมันเข้ามาลงทุนในไทยด้านธนาคาร ตั้งแต่สมัย ร.5 (และทำให้ธนาคารเสียหาย ??? เพื่อจะได้เป็นข้ออ้างในการยึดไทย จน ร.6 ต้องออกมาแก้ไข ???)

เมื่อประมวลดูแล้ว ผนวกกับภาพของพื้นที่เมื่อเสียดินแดน ฝรั่งเศสไม่ก้าวล่วงเกินเส้นแวงที่ 105 ในบริบทของภูมิศาสตร์โลก แต่ใช่เส้นแบ่งเขตตามสภาพจริงทางภูมิศาสตร์ ก็ดูจะมีเหตุผลอยู่พอสมควร และดูสอดคล้องกับเรื่องที่ผมเล่ากรณีความช่วยเหลือของเยอรมันที่จะไห้กับกรมทรัพยากรธรณ๊ว่าไม่เกินเส้นแวง 99 อ.

สำหรับผม เส้นแวงที่ 99 อ. คือ เส้นแบ่งเขตอิทธิพลระหว่างอังกฤษกับชาติต่างๆในยุโรป (โดยเฉพาะฝรั่งเศส) ซึ่งผมได้ใช้ความเข้าใจบนพื้นฐานนี้ทำงานได้สำเร็จเป็นประโยชน์กับไทยไปในหลายๆเรื่อง ทำให้ผมเชื่อว่าปรัชญาและความคิดความตกลง (เชิงลับ) ตั้งแต่สมัย The Congress นั้นยังคงยึดถืออยู่และใช้จนปัจจุบันนี้ ประเทศไทยจึงเป็นเสมือนหนึ่งเขตปลอดอิทธิพลของประเทศในยุโรป ซึ่งผมคงจะไม่ขยายต่อ (แต่หากสนใจก็ไม่แน่)

เรื่องทั้งหมดเป็นเรื่องทางประวัติศาสตร์ที่ผูกพันกับทรัพยากรใช่ใหมครับ ???     

ครับผม กว่าจะเรียงเรื่องได้ก็เหนื่อย ถูกผิดประการใด มีความคิดเห็นสอดคล้องหรือไม่ประการใดก็ยอมรับครับ 

 
 


กระทู้: ประวัติศาสตร์ กับ ทรัพยากร
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 29 ก.ย. 11, 20:59
^
มันก็ไม่เชิงทั้งหมดนะครับ เรื่องที่จะให้ไทยเป็น Buffer State กาลครั้งหนึ่งสมัยต้นรัชกาลที่ ๕ ก่อนที่จะอังกฤษจะคิดได้ว่าไม่ควรอยู่ชิดกับฝรั่งเศสจนเกินไปนั้น มีการเจรจาถึงขั้นแบ่งการปกครองของไทยที่แม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งหนึ่งเป็นของอังกฤษ อีกฝั่งน้ำเป็นฝรั่งเศสให้ปกครอง

คุณตั้งอย่าลืมทรัพยากรน้ำมัน และ ป่าไม้ นะครับ  8)


กระทู้: ประวัติศาสตร์ กับ ทรัพยากร
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 30 ก.ย. 11, 09:19
"Buffer State" หรือดินแดนส่วนกลางที่กันไว้ไม่ให้มีปัญหาเรื่องพื้นที่ดินแดนระหว่างกัน เป็นสิ่งที่อังกฤษกับฝรั่งเศสเจรจราความกันเอง โดยมิได้บอกให้สยามรับรู้ เกิดขึ้นและจบลงเมื่อฝรั่งเศสจะร่างสัญญาสงบศึกกับสยาม เมื่อวันที่ ๑๓ กันยายน ค.ศ. ๑๘๙๓ ระหว่างลอร์ดดัฟเฟอริน สัมภาษณ์กับ ม. เดอแวลล์ (รมต.กระทรวงการต่างประเทศฝรั่งเศส) โต้แย้งในร่างสัญญามีข้อความตอนหนึ่งว่า

"...อีกประการหนึ่งคือ ใคร่ที่จะให้การเจรจากันที่กรุงปารีส เรื่องตั้ง "Buffer State" สำเร็จไปโดยเร็วด้วย"

ขอแนบแผนที่การแบ่งเขตอิทธิพล ในดินแดนสยาม โดยเส้นแบ่งในดินแดนอีสานเป็นเขตฝรั่งเศส และดินแดนลุ่มน้ำภาคกลางเป็นของอังกฤษ


(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=4197.0;attach=16990;image)

 ;D


กระทู้: ประวัติศาสตร์ กับ ทรัพยากร
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 30 ก.ย. 11, 17:27
ขณะนี้ก็มี 3 ข้อมูลแล้วครับ คือ
  -ใช้เส้นแวง 99อ. และ 105 อ.
  -ใช้แม่น้ำเจ้าพระยา
  -ใช้ขอบที่ราบสูงโคราชแล้วต่อเข้าไปแพร่ ต่อไปยังเขาสูงระหว่างแม่ขะจาน (เชียงราย) กับดอยสะเก็ด (เชียงใหม่)

ผมคิดว่าถูกทั้งหมดครับ และน่าจะมีมากกว่านี้อีก ผมคิดว่าทั้งหมดก็คือเรื่องที่เกิดขึ้นบนโต๊ะเจรจา ณ.เวลาต่างๆกัน ก่อนที่จะมีผลสรุปใดๆ ซึ่งเป็นไปได้ทั้งในรูปของบันทึกการพูดคุยกัน เอกสารหลักการของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งที่จะใช้ในการเจรจา รวมทั้งการเป็นความตกลงกันในเชิงหลักการกว้าง ฯลฯ

ที่น่าสนใจก็คือ ผลสรุปที่เกิดขึ้นสุดท้ายเป็นไปในอีกรูปแบบหนึ่ง แต่หลักการที่ได้ตกลงหรือยอมรับกันในระหว่างการเจรจาของรัฐอำนาจในยุโรปนั้น ยังคงได้มีการยึดถือต่อมากันอีกนานมากน้อยเพียงใด ???
จากข้อมูลที่ผมได้ทราบด้วยตัวเองและเล่าให้ฟังนั้น น่าจะได้แสดงถึงว่ายังคงมีการยึดถือหลักการที่ได้ตกลงหรือเห็นชอบร่วมกันเรื่อยมาจนถึงในปัจจุบัน ซึ่งก็อาจจะเป็นไปได้เช่นกันว่า เป็นเรื่องข้อจำกัดในความตกลงที่เกิดขึ้นหลังสงครามโลกครั้งแรกหรือครั้งที่สองก็ได้ จากประสบการณ์ที่ผมมีกับคนเยอรมัน ผมเชื่อว่าเขาไม่โกหกผม
อนึ่ง หากพิจารณาดูจากความช่วยเหลือต่างๆและการลงทุนในประเทศไทย ก็ให้ภาพที่คล้ายกับว่ามีการแบ่งเขตกันและไม่ก้าวก่ายกันระหว่างรัฐในยุโรป (ทั้งในเรื่องของน้ำมัน แหล่งแร่ และทรัพยากรอื่นๆ)  ในภาพของผมนั้น ไทยไม่ใช่รัฐกันชน ไทยถูกมหาอำนาจจัดให้มีลักษณะเป็นรัฐเป็นกลาง ซึ่งผมเห็นว่ามีหลายสิ่งหลายอย่างมากพอสมควรที่บ่งบอกภาพนี้   
 


กระทู้: ประวัติศาสตร์ กับ ทรัพยากร
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 01 ต.ค. 11, 16:36
สำหรับเส้นแวง 105 อ. นั้น เป็นเส้นเวลามาตรฐานของประเทศไทยที่พาดผ่าน จ.อุบลราชธานี ซึ่ง ร.6 ได้ทรงประกาศใช้เมื่อ พ.ศ. 2463

เรื่องที่น่าสนใจ ก็คือ เมื่อสมัย ร.4 พระองค์ท่านได้ประกาศเมื่อ พ.ศ.2400 ให้ใช้เวลาที่ ณ.จุดแบ่งครึ่งของดวงอาทิตย์ที่เคลื่อนที่ผ่านพระที่นั่งภูวดลทัศไนยและจุดแบ่งครึ่งดวงจันทร์ เป็นเวลามาตรฐานของไทย ทรงเรียกว่า Bangkok Mean Time ต่อมายังได้ทรงโปรดให้สร้างหอนาฬกาในพระบรมมหาราชวังอีกด้วย (ได้รื้อลงในสมัย ร.5) ทรงให้มีเจ้าหน้าทีประจำเพื่อสังเกตดวงอาทิตย์และดวงจันทร์และทรงให้ปรับเวลาที่นาฬิกาให้ตรงตามดาราศาสตร์ ซึ่งมีประโยชน์มากในเชิงภูมิศาสตร์ ดาราศาสตร์และการเดินเรือ
เส้นนี้ก็คือ Bangkok meridian หรือ Prime meridian ที่เริ่มต้นจากกรุงเทพฯ  ผมไม่สันทัดในเรื่องนี้เท่าไรนัก พอทราบแต่เพียงว่าในสมัยก่อนๆโน้น มหาอำนาจในยุโรปต่างก็ใช้ Prime meridian ในการออกเดินเรือและทำแผนที่ต่างๆ เมื่อเข้าสู่สมัย ร.5 ทั่วโลกจึงได้ตกลงกันว่าให้ใช้เส้นแวงที่ผ่านกรีนนิชเป็น Prime meridian ของโลก จนกระทั่งเข้าสมัย ร.6 ในปี พ.ศ.2462 ก็มีความตกลงนานาชาติให้ใช้กรีนนิชเป็นจุดเริ่มของเวลาโลก ซึ่งทำให้เวลามาตรฐานของประเทศไทยเร็วกว่ากรีนนิช 6 ชม.42 นาที (เนื่องจากกรุงเทพฯ ตั้งอยู่บนเส้นแวง 100 - 29 - 50 อ.)  ร.6 จึงได้ทรงประกาศใช้เส้น 105 อ. เป็นเวลามาตรฐานของประเทศไทย ทำให้เวลาของประเทศไทยเร็วกว่าที่กรีนนิช 7 ชม.

ดูจะเป็นเรื่องธรรมดา แต่ผมคิดว่าไม่ธรรมดา
 
ขอไปทำธุระก่อนครับ

 


กระทู้: ประวัติศาสตร์ กับ ทรัพยากร
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 01 ต.ค. 11, 17:38
เข้ามาบอกว่าผมติดตามอ่านอยู่ครับ แต่ยังไม่มีอะไรจะเสริม ขออยู่รอบนอกก่อน

ตอนนี้อยากถามนายตั้งว่า

ประมาณปี พ.ศ.2520ที่เพื่อนว่านี่ ผลการตกลงของThe Congress of Vienna ยังบังคับใช้ในทางปฏิบัติอยู่อีกหรือ เยอรมันจึงไม่อยาก Offside อังกฤษในเรื่องที่เล่า


กระทู้: ประวัติศาสตร์ กับ ทรัพยากร
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 01 ต.ค. 11, 20:17
เข้ามาบอกว่าผมติดตามอ่านอยู่ครับ แต่ยังไม่มีอะไรจะเสริม ขออยู่รอบนอกก่อน
ตอนนี้อยากถามนายตั้งว่า
ประมาณปี พ.ศ.2520ที่เพื่อนว่านี่ ผลการตกลงของThe Congress of Vienna ยังบังคับใช้ในทางปฏิบัติอยู่อีกหรือ เยอรมันจึงไม่อยาก Offside อังกฤษในเรื่องที่เล่า

ขอขยายความนิดหน่อยก่อนนะครับ  The Congress of Vienna แท้จริงแล้วเป็นการหารือระหว่างผู้มีอิทธิพลเหนือดินแดนต่างๆในยุโรปก่อนที่นโปเลียนจะรุกผนวกเข้าเป็นเขตอาณาหรือเขตอิทธิพลของตน เมื่อนโปเลียนหมดอำนาจผนวกกับการใกล้จุดจบของอาณาจักร Holly Roman Empire จึงได้มาใช้กรุง Vienna เป็นสถานที่ชุมนุมเพื่อถกกันว่าควรจะแบ่งเขตการปกครองกันใหม่ในลักษณะของความเป็นประเทศ (Sovereignty) อย่างไรกันดี  การหารือกันในครั้งนี้มิไม่ใช่อยู่ในลักษณะของการประชุมอย่างแท้จริง ไม่เป็นรูปแบบอย่างเป็นทางการ เป็นลักษณะของการประชุมกลุ่มผู้มีส่วนใด้ส่วนเสียหลักๆเท่านั้น หลายประเทศเล็กๆ (นครรัฐ) ก็เข้า่ร่วมได้บ้างไม่ได้บ้างตามแต่วาระและโอกาส หากเกรงใจกันก็ไปหารือให้ทราบบ้าง การหารือในช่วงของ Congress ส่วนมากก็เป็นในลักษณะทวิภาคืและการลอบบี้ แล้วมาเปิดเผยหรือรายงานให้ทราบทั่วกัน ที่ปิดไว้ก็คงมีอยู่เยอะ จึงมีการเรียก Congress นี้ว่า Concert of Europe ผลจากการประชุมนอกจากเรื่องของเขตแดนแล้วก็คือความร่วมมือกันในทางทหารและความมั่นคง ในภาพก็คือ ต่างคนต่างไม่ไว้ใจกัน  Treaty ใหญ่ๆที่เป็นของกลุ่ม (พหุภาคี) ก็เป็นที่เปิดเผยรับรู้กันทั่วไป แต่ก็ยังมีย่อยๆระหว่างกัน (ทวิภาคี) อีกมาก ซึ่งผมไม่ทราบขนาดนั้น

กรณีจะยังคงมีการบังคับใช้ในทางปฏิบัติจนในปัจจุบันนี้หรือไม่เพียงใด คงตอบได้ยาก เท่าที่พอจะมีความรู้ บรรดา Treaty ต่างๆนั้นหากไม่มีของใหม่เข้ามาแทนก็ไม่ค่อยเห็นมีการประกาศยกเลิกใช่ใหมครับ เพียงแต่จะยังถือปฏิบัติโดยเคร่งครัดหรือไม่ บางครั้งบางฝ่ายก็ยึดถืออยู่แต่อีกฝ่ายไม่ยึดถือแล้ว หลายๆ Treaty ก็เลิกกันไปเองโดยอัตโนมัติหลังจากเวลาล่วงเลยมานาน หลายๆความตกลงก็ถูกละเมิด ไม่ปฏิบัติ (ที่นึกออกก็เช่น กรณีตกลงให้เมืองมิลานอยู่ในอิตาลีแต่ของให้คงการใช้ภาษาเยอรมัน) และฉีกทิ้ง หลายๆความตกลงก็ถูกตีความใหม่ (กรณีเขตเส้นเขตแดนไทย-เขมรก็เป็นอย่างนั้น) สงครามโลกครั้งแรกขยายวงส่วนหนึ่งก็มาจาก Treaty ต่างๆที่ทำกันใว้ระหว่ากันที่ตามมาทีหลังสมัย The Congress นี้แหละครับ

อย่างไรก็ตาม ผลของความตกลงอย่างหนึ่งใน Congress ที่เปิดเผยก็คือ การยอมรับอิทธิพลของอังกฤษเหนืออัฟริกาใต้และที่อื่นๆ ศรีลังกา (หรือคาบสมุทรอินเดีย) และ Dutch East Indies ซึ่งในความเห็นของผม หากได้มีการพูดถึงสถานที่ห่างไกลจากยุโรปขนาดนี้แล้ว ไม่ว่าจะด้วยใครเป็นผู้เริ่มต้น ทุกคนที่มีศักยภาพในการหาและครอบครองเมืองขึ้นก็ย่อมจะต้องเข้าร่วมวงด้วยแน่นอน อย่างนี้แหละครับ หลายๆความตกลงที่เกิดขึ้นในลักษณะทวิภาคีจึงมีมากที่เราไม่ทราบหรือไม่เคยได้เห็น

ความตกลงใน Congress เกี่ยวกับเขตอิทธิพลของอังกฤษที่ว่านี้ อย่างน้อยก็ถือปฏิบัติกันมามากกว่า 130 ปี จนประเทศในเครือจักรภพของอังกฤษได้รับเอกราชกันเป็นแถวๆหลังสงครามโลกครั้งที่สอง     


กระทู้: ประวัติศาสตร์ กับ ทรัพยากร
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 03 ต.ค. 11, 15:41
เข้ามาลงชื่อว่าฟังค่ะ   แต่ไม่มีความรู้
คิดว่าคุณตั้งคงจะเล่าได้อีกยาว   ก็อยากจะติดตามฟังไป จากประวัติศาสตร์ถึงปัจจุบัน


กระทู้: ประวัติศาสตร์ กับ ทรัพยากร
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 03 ต.ค. 11, 18:18
กลับไปเรื่องของเส้นแวงที่ 105 อ. ต่อครับ

ที่ผมว่าการที่ ร.6 ประกาศใช้เส้นแวงนี้เป็นเวลามาตรฐานของไทยเมื่อเทียบกับเวลามาตรฐานโลกที่กรีนนิชนั้น ไม่ธรรมดานั้น

ผมมีเหตุผลดังนี้ แท้จริงแล้วการแบ่งโซนเวลาของโลกนั้นเป็นความตกลงนานาชาติที่เป็นสากล ประเทศไทยทั้งประเทศอยู่ในโซน UTC+7 คือ เวลาของเราจะเร็วกว่าเวลามาตรฐานที่กรีนนิช 7 ชม. เป็นการยากมากที่เราจะไม่ยอมรับเวลามาตรฐานนี้ คือ ไม่สามารถที่จะเลือกไปอยู่ในเขต UTC+6 หรือ UTC+8 ได้ ไม่เหมือนกับประเทศที่มีเขตประเทศกว้างขวางคล่อมเขตเส้นแบ่งเวลา ที่สามารถจะเลือกได้ว่าจะใช้เวลาตาม UTC ใดเป็นเวลามาตรฐานของตน

ประเทศไทยกับประเทศในอินโดจีนในครอบครองของฝรั่งเศสอยู่ในโซนเวลาเดียวกัน แต่ ร.6 ได้ทรงประกาศโดยให้ใช้เวลามาตรฐานตามเส้นแวง 105อ. (ซึ่งเป็นเส้นเวลาแกนหลักของโซนเวลานี้) ทั้งยังระบุด้วยว่าที่พาดผ่าน จ.อุบลราชธานีอีกด้วย ตรงนี้ซิครับเป็นประเด็นที่ชวนให้คิด

เมื่อลองประมวลสถานการณ์ในโลกในช่วงนั้น ก็จะเห็นว่าในช่วงเวลานั้นเิ่พิ่งจะเสร็จสิ้นสงครามโลกครั้งแรก อำนาจในโลกกำลังเริ่มเปลี่ยนแปลงอีกครั้งหนึ่งหลังจาก The Congress แนวคิดเรื่องการปกครองแบบ socialism กำลังได้เริ่มแพร่ขยายไปสู่ประเทศต่างๆโดยมีรัสเซียเป็นแกนนำ  
สำหรับสถานการณ์รอบบ้านเรานั้น เวียดนามก็กำลังเิริ่มเข้าสู่วาระการกอบกู้เอกราชจากฝรั่งเศสโดยมีลุงโฮเป็นผู้นำ โดยดำเนินการขอร้องกับที่ประชุมสันติภาพที่ฝรั่งเศส ให้มีการยอมรับสิทธิพื้นฐานของคนเวียดนามในเขตการปกครองของฝรั่งเศส (Civil Rights of Vietnamese people)
สำหรับสถานการณ์ของเราเอง เราก็เพิ่งเสียดินแดนไปไม่นาน ให้กับฝรั่งเศสครั้งสุดท้าย (พระตะบอง เสีมราฐ ศรีโสภณ) เมื่อ พ.ศ. 2449 ให้กับอังกฤษครั้งสุดท้าย (กลันตัน ตรังกานู ไทรบุรี ปริส) เมื่อ พ.ศ.2451 และไทยประกาศเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่หนึ่งกับฝ่ายพันธมิตร เมื่อ พ.ศ.2460  
ซึ่งเมื่อพิจารณาประกอบด้วยว่า ทำไมมาเลเซียในการครอบครองของอังกฤษนั้น จึงใช้เวลามาตรฐาน UTC+8 ซึ่งโดยนัย ผมเห็นว่า ก็คือการบอกกล่าวว่าเขตอาณาและอิทธิพลของอังกฤษไปสุดอยู่ที่เส้นแวงใด  

สถานการณ์เหล่านี้ ร.6 คงทรงทราบเป็นอย่างดีและเข้าใจอย่างลึกซึ้ง ว่าการเปลี่ยนแปลงทางอำนาจและการปกครองในพื้นที่รอบประเทศไทยก็คงจะต้องเกิดขึ้นหลังสงครามโลกตามมา และน่าจะทรงทราบกะบวนวิธีคิดของคนยุโรปเป็นอย่างดีว่าน่าจะคิดอย่างไรต่อไป
 
ผมจึงเห็นว่า การที่ ร.6 ทรงประกาศเรื่องเวลามาตรฐานของประเทศไทย โดยกล่าวอย่างชัดเจนว่าใช้เส้นแวงที่ 105อ. ที่พาดผ่าน จ.อุบลราชธานีนั้น ก็เพื่อเป็นการแสดงออกอย่างชัดเจนยืนยันให้โลกได้ทราบว่า ประเทศไทยมีอาณาเขตและพรมแดนไปถึงเส้นแวงใดทั้งบนบกและในทะเล ซึ่งผมคิดว่าเป็นกุศโลบายที่แยบยลยิ่งในการปกป้องประเทศและทรัพยากรของประเทศ

ท่านผู้รู้ทั้งหลายคงจะมีความเห็นแย้งกับความเห็นของผมในเรื่องนี้มาก น้อมรับฟังครับ แม้กระทั่งเป็นจะเป็นความเห็น (ของผม) ที่ไม่ถูกต้องเลย
  
แต่ผมคิดว่า ร.6 ทรงมีวิธีคิดในแนวนี้ ซึ่งจะได้กล่าวต่อไปในเรื่องของเส้นขนานที่ 11 เหนือ  



 


กระทู้: ประวัติศาสตร์ กับ ทรัพยากร
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 03 ต.ค. 11, 18:40
^
น่าคิดมาก และเมื่อไหร่ทีนายตั้งเห็นว่าเหมาะสม ช่วยเฉียดไปเรื่องแนวสันปันน้ำที่ใช้อ้างอิงแนวเขตแดนด้วย ไม่ต้องรีบก็ได้ครับ


กระทู้: ประวัติศาสตร์ กับ ทรัพยากร
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 04 ต.ค. 11, 20:33
ขอต่อไปเรื่องของเส้นรุ้งที่ 11 องศาเหนือครับ

ผมทราบเรื่องนี้ด้วยเหตุบังเอิญอีกเช่นกัน มีอยู่วันหนึ่งเมื่อ พ.ศ.2534 เมื่อผมเริ่มทำงานด้านนโยบายและแผน ก็ได้รับงานให้พิจารณาเรื่องคุณสมบัติต้องห้ามของบุคคลที่มีบิดาเป็นคนต่างด้าว มิให้เป็นผู้ขอประทานบัตรเหมืองแร่ ตาม พรบ.แร่ พ.ศ. 2510 ว่าสมควรจะแก้กฎหมายยกเลิกข้อห้ามนี้ได้หรือไม่ ในความเป็นจริงแล้วมันก็สมควรจะยกเลิกได้แล้ว แต่ก็ต้องทราบที่มาที่ไปว่าทำไมถึงมีข้อห้ามนี้อยู่ในกฎหมาย ทั้งๆที่ในหลายกฎหมายก็ไม่มีข้อห้ามในทำนองนี้ คราวนี้ก็ต้องก็ไปค้นที่มาที่ไปของเรื่อง ประเด็นมันก็มีอยู่ว่า มันต้องมีเหตุผลที่หนักแน่นมาก มิฉะนั้นแล้วสภาฯก็คงค้านและเอาคุณสมบัตินี้ออกไปจากร่างกฎหมายนี้แล้วแต่แรก

ค้นไปค้นมาก็ได้ความว่า มีที่มาจาก ปว.281 (กลายเป็น พรบ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542) ซึ่งประกาศโดยคณะปฎิวัติสมัยเมื่อ พ.ศ.2515 เกี่ยวกับธุรกิจและอาชีพสงวนสำหรับคนไทย ซึ่งสามารถย้อนกลับแนวคิดในลักษณะนี้ไปได้เก่ากว่านั้น ไปถึงสมัยการปฏิวติ พ.ศ.2500 ไปถึงสมัย พ.ศ.2474 ก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ไปจนถึง พ.ศ.2465 สมัย ร.6 ที่ได้ทรงดำเนินนโยบายห้ามมิให้ชาวต่างชาติ (ซึ่งหมายถึงชาติทางตะวันตกโดยเฉพาะ) ทำเหมืองแร่เกินกว่าเส้นละติจูดที่ 11 องศงเหนือ (ซึ่งก็คือเหนือ จ.ประจวบคีรีขันธ์ขึ้นมา) เหตุผลก็คือ ต้องการสงวนทรัพยากรของชาติเพื่อให้ประเทศชาติและคนไทยรุ่นหลังได้มีโอกาสใช้และเป็นเจ้าของเมื่อเราได้พัฒนาไปจนมีความสามารถทางเทคโนโลยีเพียงพอ ซึ่งก็คือ การปกป้องทรัพย์สินของแผ่นดินมิให้ชาวต่างชาติใช้โอกาสทางกฏหมายและความเหนือกว่าทางเทคโนโลยีมาแย่งชิงกอบโกยไปทำประโยชน์

ผลจากวิเทโศบายนี้ ได้เป็นฐานรากของการเกิดและการตั้งองค์การต่างๆในภายหลังอย่างมากมาย ซึ่งโดยแก่นแท้ก็เพื่อให้การพัฒนาประเทศเป็นไปได้อย่างต่อเนื่องแม้ว่าความสามารถของเอกชนไทยจะยังไม่ถึงระดับนั้น (ล้าหลัง) โดยองค์กรเหล่านี้ (ไทย) จะเป็นผู้ถือสิทธิ (เช่น สัมปทาน ประทานบัตร) เพื่อเข้าร่วมลงทุนกับต่างชาติ (เปิดโอกาศ ไม่กีดกันจนเป็นเงื่อนไขในการรุกรานในด้านต่างๆต่อไป) ให้ดำเนินการเฉพาะในทางปฏิบัติการ ทำให้ต่างชาติไม่มีสิทธิครอบครอง ผูกขาดการเป็นเจ้าของทรัพยากรและถือครองผืนดินไทย พูดง่ายๆก็คือ หากจะเข้ามาลงทุนเหนือเส้นแวงที่ 11น. นี้ จะเป็นลักษณะของการร่วมทุนเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถมีสิทธิเป็นเจ้าของได้

ผมเห็นว่าเป็นวิเทโศบายที่ลึกซึ้งมาก แต่ที่ลึกซึ้งกว่านี้ยังมีอีกครับ


 

   



กระทู้: ประวัติศาสตร์ กับ ทรัพยากร
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 04 ต.ค. 11, 21:01
ขอแก้ไขคำผิดในบรรทัดที่สามจากล่างของที่ผมเขียนไปว่า เส้นแวงที่ 11น. เป็นเส้นรุ้งที่ 11น.ครับ

ขอต่อเรื่องของเส้นรุ้งนี้เพื่อเป็นกระสัยเล็กน้อยครับ

ท่านทั้งหลายคงทราบว่ามีกองบินอยู่ที่ประจวบฯ คือ กองบินที่ 5
กองบินนี้ตั้งขึ้นแต่ พ.ศ.2465 ในรัชสมัย ร.6 ในยุคแรกๆที่กองทัพไทยมีเครื่องบิน เรียกว่ากองบินใหญ่ที่ 1 ประจวบคีรีขันธ์ (กองบินใหญ่ที่ 2 ดอนเมือง และกองบินใหญ่ที่ 3 นครราชสีมา) น่าสนใจนะครับ ว่าทำไมต้องเป็นที่ประจวบคีรีขันธ์ แถมยังเป็นกองบินอันดับแรกอีกด้วย



กระทู้: ประวัติศาสตร์ กับ ทรัพยากร
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 04 ต.ค. 11, 22:40
จากประจวบคีรีขันธ์ ถ้าลากเส้นตามแนวเส้นรุ้งที่ ๑๑ องศาเหนือไปทางทิศตะวันออกจะพบแผ่นดินอีกแห่งหนึ่งนามว่า ปัจจันตคิรีเขตร (http://haab.catholic.or.th/history/Suwannapoom/island.html)

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราชโองการเมื่อวันอังคาร เดือน ๘ ขึ้น ๑๓ ค่ำ ปีเถาะ สัปตศก (พ.ศ. ๒๓๙๘)  ความว่า

“...ขุนสารประเสริฐรับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สั่งว่า เมืองบางนางรมย์นั้นโปรดเกล้าฯให้เรียกเมืองประจวบคีรีขันธ์ กับที่เกาะกงนั้น โปรดเกล้าฯให้เรียกว่า เมืองปัจจันตคิรีเขตร ให้กรมวัง หมายไปยังกรมพระกลาโหม กรมท่า กรมพระศุภรัต สัสดีซ้ายขวา ให้เรียกชื่อเมืองทั้ง ๒ ให้ถูกต้องตามรับสั่ง”

เมืองปัจจันตคิรีเขตรหรือเกาะกงนี้ในสมัยนั้นอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งป่าไม้และของป่า อาทิ ยางต้นรงค์ทอง และแก่นไม้กฤษณา โดยเฉพาะยางต้นรงค์ทอง นับเป็นสินค้าออกที่ทำรายได้ให้กับไทยอย่างมาก จนถึงขนาดมีตำแหน่ง “นายกองส่วยรงค์”

เป็นเมืองของไทยแท้ ๆ ที่ฝรั่งเศสยึดไปและไม่คืน (http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%88%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%84%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%95%E0%B8%A3)

 :(



กระทู้: ประวัติศาสตร์ กับ ทรัพยากร
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 05 ต.ค. 11, 12:34
สองเมืองบนเส้นรุ้งเดียวกัน

(http://gotoknow.org/file/scmman/kohkong.gif)

 ;D


กระทู้: ประวัติศาสตร์ กับ ทรัพยากร
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 05 ต.ค. 11, 21:29
ดูเหมือนจะเป็นเรื่องปกติตลอดช่วงประวัติศาสตร์และต่อเนื่องมาถึงในยุคปัจจุบัน ที่ประเทศใดจะห้ามการเป็นเจ้าของและการทำธุรกิจบางอย่าง
แต่เมื่อ ร.6 ทรงมีนโยบายไม่ให้เกินเส้นรุ้งที่ 11น. แถมยังทรงให้ตั้งกองบินที่บริเวณเส้นรุ้งนี้ ที่ริมทะเลที่อ่าวมะนาวอีกด้วย เป็นกองบินลำดับแรก อยู่ไกลมากจากเมืองหลวงมาก และการส่งกำลังบำรุงก็เรียกได้ว่าอยู่ในเกณฑ์ลำบาก ทำให้ผมเห็นว่าเรื่องนี้ก็ต้องมีนัยสำคัญอื่นๆผนวกอยู่ด้วย

ผมวิเคราะห์เอาเองด้วยสภาพการณ์ต่างๆ ประกอบกับพระอัจฉริยภาพความสามารถของ ร.6 ซึ่งประมวลได้ดังนี้
    เมื่อสมัย ร.4 ฝรั่งเศสเข้ามามีอิทธิพลเหนือเวียดนามบางส่วน แล้วเริ่มอ้างสิทธิเหนือดินแดนลาวและเขมร เริ่มเจรจากับไทยเรื่องเขตแดนไทยกับเวียดนาม
    เมื่อเข้าสมัย ร.5 ฝรั่งเศสสามารถครอบครองเวียดนามได้อย่างสิ้นเชิงและอ้างสิทธิเหนือเขมรอย่างเต็มที่ ซึ่งในที่สุดไทยก็เสียดินแดนเขมร รวมทั้งเกาะกง แต่สุดท้ายเกาะกูดก็ยังเป็นของไทย
    เส้นขนานนี้ เมื่อลากไปทางตะวันออกก็จะตัดผ่านอ่าวไทย ผ่านแผ่นดินบริเวณเกาะกูดและเกาะกง (เมืองที่ ร.4 ทรงโปรดให้นามใหม่ว่าเมืองปัจจันตคีรีเขตร ตามที่คุณเพ็ญชมพูได้กรุณาให้ข้อมูลเพิ่มเติม)
    เส้นรุ้งนี้ปิดอ่าวไทยตอนบนทั้งอ่าว (เรียกลักษณะนี้ว่าเป็นน่านน้ำภายในตามกฏหมายทะเลในปัจจุบัน แต่รู้สึกว่าจะลดพื้นที่ลงเป็นเฉพาะในหัว ก.ไก่) ซึ่ง ร.6 ได้ทรงทำให้ไปไกลได้มากที่สุดระหว่างแผ่นดินถึงแผ่นดินในเขตอาณา ซึ่งเท่ากับเป็นการประกาศว่าทะเลส่วนนี้อยู่ในความครองครองของไทย เป็นเขตอาณาของไทย (ส่วนเรื่องของทะเลอาณาเขตหรือ Territorial water นั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง คือพื้นน้ำในครอบครองห่างจากฝั่งออกไป ) ซึ่งผมเห็นว่า ยุทธนาวีที่เกาะช้างตามที่คุณ NAVARAT. C ได้ตั้งกระทู้นั้น จึงได้เกิดขึ้น ณ.บริเวณนั้น ซึ่งเราสามารถอ้างความชอบธรรมในทุกกรณีได้อย่างเต็มที่ 
    อาณาเขตของประเทศไทยบนแผ่นดินบริเวณเส้นรุ้งนี้ เป็นส่วนที่แคบที่สุดและติดกับพม่าซึ่งอังกฤษครอบครอง ซึ่งมีช่องทางเดินแต่โบราณ (ด่านสิงขร) เชื่อมระหว่างฝั่งอ่าวไทยกับฝั่งอันดามัน ไปยังเมืองท่ามะริด ที่ปากแม่น้ำตะนาวศร๊ในเขตของพม่า การยาตราทัพเข้าเขตไทยทำได้ง่ายมากและสามารถตัดขาดประเทศ ไทยได้ง่ายอีกด้วย
   ทะเลที่ประจวบนี้มีลักษณะกายภาพและสมุทรศาสตร์ที่จำเพาะ ทั้งในเชิงของ Landmark กระแสน้ำ และน้ำขึ้นน้ำลง เป็นบริเวณจุดแปรเปลี่ยนของมวลกระแสน้ำในอ่าวไทย (Gyre) ซึ่งหมุนไปมาสอดคล้องกับทิศทางของลมมรสุม (มรสุมตะวันออกเฉียงใต้ และมรสุมตะวันตกเฉียงเหนือ) ถ้าจำไม่ผิด ทะเลบริเวณนี้มีน้ำขึ้นน้ำลงน้อยมาก (น้ำตาย) จึงเป็นที่ตั้งของจุดวัดระดับน้ำทะเลอ้างอิง (Mean sea level) ที่เกาะหลัก ซึ่งใช้เป็นระดับอ้างอิงฐานของระดับความสูงของพื้นแผ่นดินทั้งประเทศไทย (Elevation above sea level) เรื่องทางสมุทรศาสตร์นี้ผมไม่แม่นนักนะครับ ลืมไปมากแล้ว

ด้วยพระปรีชาสามารถของ ร.6 ทำให้ทรงได้อ่านขาดว่า จ.ประจวบคีรีขันธ์นั้นเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์ที่สำคัญยิ่งอีกจุดหนึ่งของไทย ทั้งในด้านความมั่นคง ด้านการทหาร ด้านการปกป้องเศรษฐกิจ และด้านการปกป้องทรัพยากรของประเทศทั้งบนแผ่นดินและในทะเล เรียกว่าเป็นทั้งกุศโลบายและวิเทโศบายที่ลึกซึ้งมาก ได้ผลประโยชน์ในทุกๆด้านจริงๆ
เรื่องที่สามารถพิสูจน์ได้ ก็คือ หากไม่เป็นพื้นที่ทางยุทธศาสตร์ ยุทธวิธีสำคัญจริงๆ ทำไมญี่ปุ่นจึงเลือกที่จะยกพลขึ้นฝั่งที่บริเวณนี้ในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง (เพื่อเข้าพม่า) ทั้งๆที่มีอ่าวอีกมากมายตลอดชายฝั่งของไทยที่ไม่มีหรือเกือบจะไม่มีกองทหารต่อต้าน ทำไมจะต้องเลือกยกพลขึ้นมาในบริเวณที่ต้องมีการสู้รบทำให้เกิดความสูญเสีย

   
   
     
           


กระทู้: ประวัติศาสตร์ กับ ทรัพยากร
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 06 ต.ค. 11, 00:01
แผนที่สังเขป  แสดงการยกพลขึ้นบกของกองทัพที่ ๑๕   ของญี่ปุ่น
ขึ้นบกที่  ประจวบคีรีขันธ์    ชุมพร    สุราษฏร์ธานี   และนครศรีธรรมราช

การขึ้นบกที่ประจวบคีรีขันธ์ มีกำลัง  ๑  กรมทหารราบ   และ  ๑  กองพันทหารช่าง   โดยเรือลำเลียง Johoru Maru  ไม่มีเรือคุ้มกัน
แบ่งกำลังเป็น  ๓  ส่วน    เข้ายึดที่หมายต่างๆ  คือ

       ส่วนที่  ๑    ใช้กำลัง  ๑  กองร้อย (+)    ยกพลขึ้นบกทางตอนเหนือ  เข้ายึดศาลากลางจังหวัด   และศูนย์การสื่อสาร และคมนาคมที่เข้าสู่ตัวเมือง

       ส่วนที่  ๒    ใช้กำลัง  ๑  กองร้อย (+)    ยกพลขึ้นบกบริเวณอ่าวประจวบ    ทางด้านเหนือของกองบินน้อยที่  ๕

       ส่วนที่  ๓    ใช้กำลัง  ๑  กองร้อย (+)    ยกพลขึ้นบกบริเวณอ่าวมะนาว     ทางด้านใต้ของกองบินน้อยที่  ๕

๓๓ ชั่วโมง แห่งการสู้รบ ฝ่ายไทยสูญเสียวีรชน ๓๒ คน ในขณะที่ฝ่ายผู้รุกรานสูญเสีย ๒๑๗ คน ...

"๗ นาฬิกาของวันที่ ๘ ธันวาคม จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีได้เดินทางถึงยังที่ประชุมและรับฟังรายงานเหตุการณ์จากทุกฝ่าย นายปรีดี พนมยงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้เสนอให้พิจารณาทางได้ทางเสีย จึงได้ข้อสรุปว่าเราคงไม่มีทางต่อสู้แต่อย่างใด นายกรัฐมนตรีจึงประกาศว่า ไม่มีประโยชน์อันใดที่จะต้าน หลังจากหารือรัฐบาลไทยจึงได้ลงนาม ในสัญญายินยอมให้ญี่ปุ่นผ่านแดน โดยตกลงรับเงื่อนไขที่กองทัพญี่ปุ่นเสนอ หนึ่งในสามข้อคือ ยินยอมให้กองทัพญี่ปุ่นเดินทางผ่านประเทศไทย เพื่อไปโจมตีทหารอังกฤษในพม่าและมลายู"

 ๘  ธันวาคม  ๒๔๘๔  วันวีรไทย มีคนไทยกี่คนที่รู้ถึงความหมาย ... :(  


กระทู้: ประวัติศาสตร์ กับ ทรัพยากร
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 06 ต.ค. 11, 21:09
คุณดีดีได้กรุณาให้ข้อมูลเพิ่มเติม ขอบพระคุณครับ

น่าสนใจนะครับ ที่ญี่ปุ่นเลือกยกพลขึ้นบกบริเวณที่เป็นเมือง แล้วก็ไม่สูงเกินเส้นขนานที่ 11น. ผมคิดว่าในเชิงของการทหารแล้ว ท่านเสธฯทหารทั้งหลายคงเข้าใจและทราบดีถึงเหตุผลต่างๆ ตัวผมเองไม่ทราบ แต่คิดและเดาเอาว่าด้วยพื้นฐานของความเป็นมิตรกันมายาวนาน ญี่ปุ่นคงเห็นว่าไม่อยากจะสร้างปัญหาให้รุงรังมากขึ้น จึงเพียงพยายามตัดขาดส่วนด้ามขวานของไทย เพื่อให้เป็นเขตอิสระอย่างเต็มที่ในการใช้เป็นพื้นที่ระดมพล เป็นฐานรุกเข้ายึดมะลายูและฐานเข้ายึดพม่าตอนล่าง

วกเข้าเรื่องต่อนะครับ

ผมเห็นว่า การดำเนินการของ ร.6 นี้เป็นปรัชญาล้ำยุคของการยุทธการโดยทั่วไป ซึ่งสิ่งหนึ่งที่จะต้องดำเนินการ คือ การประเมินศักยภาพความคุ้มค่าของทรัพยากรที่จะลงทุนครอบครองหรือละเลิกไม่สนใจ
ตัวอย่าง ก็คือ กรณีเมื่อสหรัฐฯคิดจะถอนออกจากลาว ก็ได้มีการเร่งสำรวจประเมินศักยภาพของแหล่งทรัพยากรก่อนการตัดสินใจถอน และอีกกรณีหนึ่ง เมื่อเขมรล่ม ลาวล่ม และเวียดนามเข้าไปมีอิิทธิพลเหนือสองประเทศนี้ สิ่งแรกๆที่กระทำก็คือ การตะลุยสำรวจทำแผนที่ธรณีวิทยาและแหล่งแร่ต่างๆในลาวและเขมรตามหลังแนวรบ (ผมได้มีโอกาสสนทนาสั้นๆกับบุคคลที่เป็นหัวหน้าทีมสำรวจซึ่งต่อมาได้เป็นผู้นำสูงสุด และบุคคลในทีมซึ่งต่อมาได้เป็นระดับรัฐมนตรี)
 


กระทู้: ประวัติศาสตร์ กับ ทรัพยากร
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 06 ต.ค. 11, 23:02
และอีกกรณีหนึ่ง เมื่อเขมรล่ม ลาวล่ม และเวียดนามเข้าไปมีอิิทธิพลเหนือสองประเทศนี้ สิ่งแรกๆที่กระทำก็คือ การตะลุยสำรวจทำแผนที่ธรณีวิทยาและแหล่งแร่ต่างๆในลาวและเขมรตามหลังแนวรบ (ผมได้มีโอกาสสนทนาสั้นๆกับบุคคลที่เป็นหัวหน้าทีมสำรวจซึ่งต่อมาได้เป็นผู้นำสูงสุด และบุคคลในทีมซึ่งต่อมาได้เป็นระดับรัฐมนตรี)

สมัยฝรั่งเศสเมาเป็นเจ้าเขาครองสองประเทศนี้ เห็นบ่นอยู่ว่าขาดทุนย่อยยับ

เมื่อฝรั่งเศสได้ญวนเป็นอาณานิคมแล้ว ก็ข่มขู่ว่าลาวและเขมรเป็นเมืองขึ้นของญวน หาเรื่องเข้ายึดดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงทั้งหมดที่สยามครอบครองอยู่เดิม อ้างว่าเป็นส่วนหนึ่งของลาวและเขมรด้วย ผมคงไม่ต้องย้อนเรื่องไปถึงนะครับ ฝรั่งเศสเรียกประเทศใหม่ที่ยึดมาเป็นอาณานิคมของตนรวมกันว่าอินโดจีน แบ่งการปกครองออกโดยนิตินัยเป็นลาว เขมรและญวนดังเดิมที่ยังยอมให้มีกษัตริย์เก่าเป็นพระประมุขแบบหุ่นเชิด แต่โดยพฤตินัยแล้วฝรั่งเศสจะสั่งเอาอย่างไรก็ย่อมได้ ในอาณานิคมนี้ส่วนใหญ่ ไม่ค่อยจะมีทรัพยากรให้กอบโกยมากนัก  ฝรั่งเศสจึงใช้เป็นที่เนรเทศข้าราชการที่ไม่พึงปรารถนามาทำงาน เหมือนเมืองไทยสมัยก่อนที่เอะอะก็สั่งย้ายคนที่ควรจะไล่ออกไปอยู่แม่ฮ่องสอน คนพวกนี้ถ้าไม่อยู่ไปวันๆก็เป็นนักฉวยโอกาส หาทางกอบโกยให้ตุงกระเป๋าก่อนจะหมดเทอมแล้วย้ายกลับบ้าน ดังนั้นการได้อาณานิคมนี้มา รัฐบาลฝรั่งเศสดีดยี่ต็อกแล้วไม่ค่อยจะคุ้มเท่าไร เงินที่ลงทุนไปกับการก่อสร้างอาคารสถานที่ราชการต่างๆก็หมดไปเยอะ และยังต้องจ่ายงบประมาณประจำปีเป็นค่าบริหารจัดการกับเงินเดือนข้าราชการที่ว่าห่วยๆนั้นอีก ไม่สมดุลย์กับรายรับ ปิดงบทีไรติดลบทุกปี ไม่เหมือนกับอังกฤษที่ได้สินแร่ดีบุกมหาศาลในมลายู สร้างกำไรเป็นกอบเป็นกำ สิงคโปร์ก็เป็นทำเลเหมาะสำหรับการเป็นเมืองท่าสำคัญของภูมิภาค พม่ามีไม้สัก ข้าวและทับทิม แม้ในญวนแม้จะยังค่อยยังชั่วหน่อยเพราะผลิตข้าวได้มาก แต่ในเขมรและลาว ฝรั่งเศสขาดทุนย่อยยับ

 ;D


กระทู้: ประวัติศาสตร์ กับ ทรัพยากร
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 07 ต.ค. 11, 21:37
ตามที่คุณเพ็ญชมพู ได้อ้างจากคุณ NAVARAT.C นั้น

ผมกลับคิดว่า ฝรั่งเศสไม่ใช่ไม่รู้หรอกครับว่ามีทรัพยากรอะไรบ้างมากมายอยู่ในเขมรและลาว ฝรั่งเศสได้ทำการสำรวจมากมายด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยมากๆในขณะนั้น แล้วก็ยังมีการทำประโยชน์ (Exploit) อีกด้วย ผมเคยเห็นแผนที่ทรัพยากรแหล่งแร่ของเวียดนามและลาวที่ทำการสำรวจโดยฝรั่งเศสเมื่อครั้งไปประชุมที่เวียดนาม ซึ่งระบุเลยว่าดำเนินการโดยฝรั่งเศส ผมยังตกใจเลยว่าใช้เทคโนโลยีที่ล้ำหน้าจริงๆ
ผมคิดว่าคนฝรั่งเศสมีลักษณะนิสัยพื้นฐานเป็นพวก White collar, Footloose, Supremacy และ Racism ไม่นิยมงานสกปรก เอาแต่รูปแบบ นิยมการสั่งการ จึงไม่ค่อยจะได้ใจของคนท้องถิ่น ทำให้การดำเนินการใดๆไม่ต่อยจะประสบความสำเร็จในเชิงของการค้าและในเชิงของผู้มีอำนาจทางเศรษฐกิจระดับโลก     
ในลาว ฝรั่งเศสพบและทำเหมืองแร่ดีบุกที่บริเวณปากเซ ในเวียดนาม ฝรั่งเศสพบแหล่งถ่านหินใหญ่ระดับโลกที่ฮาลองเบย์ และพบแหล่งแร่มีค่า (หายาก) มากมายบริเวณตอนกลางของประเทศ ในอัฟริกา เช่น Burkina Faso และ Ivory Coast ทั้งสองประเทศในเขตอาณาของฝรั่งเศสนี้ มีทรัพยากรที่มีค่ายิ่งสารพัด แต่ฝรั่งเศสไม่ดำเนินการแสวงประโยชน์อย่างเอาจริงเอาจัง 


กระทู้: ประวัติศาสตร์ กับ ทรัพยากร
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 09 ต.ค. 11, 17:43
ต้องขออภัยเป็นอย่างยิ่งครับ เรื่องตำแหน่งเส้นรุ้งที่ 11น. ที่ผมเขียนว่าผ่าน จ.ประจวบฯ นั้น

วันนี้ได้ตรวจสอบดูแล้ว ปรากฎว่าเส้นรุ้งที่ 11น. พาดผ่านบริเวณ อ.บางสะพานน้อย ใต้ลงไปอีกมากเลยครับ ส่วนเส้นรุ้งที่พาดผ่านบริเวณ จ.ประจวบฯ นั้น คือเส้นรุ้งที่ 12น. ครับ
ผมได้อ่านพบจริงๆ และจำได้แม่นว่า ไม่อนุญาตให้ต่างชาติทำเหมืองแร่เหนือ จ.ประจวบฯ หรือเส้นรุ้งที่ 11น. ก็เลยอ้างอิงตำแหน่งเส้นรุ้งนี้มาตลอด

เดาเอาว่าน่าจะเป็นการพิมพ์ตัวเลขผิดในเอกสารที่ผมอ่าน

ยอมรับความผิดพลาดครับ


กระทู้: ประวัติศาสตร์ กับ ทรัพยากร
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 09 ต.ค. 11, 19:20
ขอย้อนกลับไปสักหน่อยหนึ่งว่า ในสมัย ร.3 นั้น ไทยได้ส่งออกตะกั่วค่อนข้างมาก แต่ผมยังค้นหาหนังสือศิปวัฒนธรรมที่เล่าเรื่องนี้ยังไม่พบ จึงขอยกเรื่องนี้ไปก่อนครับ

แล้วก็ขอย้อนไปในสมัย ร.5

เมื่อ พ.ศ. 2425 ฝรั่งเศสได้ขอขุดคอคอดกระ แต่ ร.5 ทรงบ่ายเบี่ยง ก็เป็นเรื่องน่าสนใจอีกเรื่องหนึ่งในเชิงของประวัติศาสตร์กับทรัพยากร
 
สมัยนั้นอังกฤษครองและควบคุมเส้นทางการเดินเรือช่องแคบมะลักกา ฝรั่งเศสและอังกฤษไม่ถูกกันอยู่แล้ว ฝรั่งเศสเองก็คงไม่อยากจะใช้อะไรที่อยู่ในครอบครองของอังกฤษ ประกอบกับก่อนหน้านั้น เมื่อ พ.ศ.2336 ฝรั่งเศสได้บันทายมาศ (พื้นที่ส่วนปลายของแหลมญวน) ไปจากไทย ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2410 ฝรั่งเศสก็ได้เขมรและอีก 6 เกาะไปจากไทยอีก (ในแผนของฝรั่งเศสคงต้องจะการยึดดินแดนไทยฝั่งขวาของลำน้ำโขงทั้งหมด) จึงไม่น่าแปลกใจว่าฝรั่งเศสจะขอขุดคอคอดกระ เพื่อใช้เป็นเส้นทางลำเลียงทรัพยากรจากดินแดนที่ฝรั่งเศสยึดครองในฝั่งอ่าวไทยตัดข้ามไปยังฝั่งอันดามัน เป็นการหลีกเลี่ยงความบาดหมางระหว่างมหาอำนาจ และทำให้เส้นทางลำเลียงทรัพยากรของตนไม่ถูกขัดขวางเมื่อมีเหตุอันไม่พึงปราถนา นอกจากนั้นแล้วยังทำให้สามารถมีอิทธิพลอย่างเด็ดขาดเหนือเส้นทางลำเลียงทรัพยากรของตน

ผมเห็นว่าการที่ฝรั่งเศสไม่สามารถดำเนินการเรื่องของการขุดคอคอดกระต่อไปได้นี้ เป็นส่วนหนึ่งของความไม่พอใจอย่างยิ่งที่ฝังอยู่ลึกๆในจิตใจของฝรั่งเศส เนื่องจากไปขัดขวางและเป็นอุปสรรคกับแผนที่ฝรั่งเศสวางไว้อยู่เบื้องหลัง และเป็นส่วนเร่งให้ฝรั่งเศสดำเนินการแกล้งและตีรวนประเทศไทยเพื่อให้ได้มาซึ่งดินแดนซึ่งลาวและอื่นๆ ยกแผง....พ.ศ.2431 เสียเมืองไลและเชียงค้อ..พ.ศ.2436 เสียลาว..พ.ศ.2446 เสียดินแดนฝั่งขวาของลำน้ำโขง และ พ.ศ.2449 เสียเสียมราฐ พระตะบอง และศรีโสภณ

หากคิดในทางที่ไม่เป็นบวก การขุคคอคอดกระก็เหมือนกับการตัดประเทศไทยออกเป็นสองส่วน ส่วนล่างใต้คลองนั้น หากอังกฤษอยากจะเข้าครองก็เอาไป ส่วนเหนือนั้นหากโอกาสเป็นไปได้ ฝรั่งเศสก็จะเข้าครองครอง ดีที่ว่าอังกฤษกับฝรั่งเศสได้ตกลงกันในปี พ.ศ.2438 เห็นพ้องให้ไทยเป็นรัฐขั้นกลางระหว่างสองมหาอำนาจ