เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4 5 6
  พิมพ์  
อ่าน: 3898 ว่าด้วย "พรหมลิขิต" (ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ)
พี่วรภัทรของพี่ชายใหญ่
อสุรผัด
*
ตอบ: 0


ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 05 พ.ย. 23, 01:06

ว่าด้วยเรื่องชื่อราชวงศ์บ้านพลูหลวง



ที่ 'พ่อริด' ไม่รู้จัก "ราชวงศ์บ้านพลูหลวง" เพราะชื่อนี้เพิ่งมีใช้เรียกกันในรัชกาลที่ ๖ นี้เอง ยิงฟันยิ้ม

คุณศรีสรรเพชญ์อธิบายใน วิพากษ์ประวัติศาสตร์ ว่า

ในสมัยรัชกาลที่ ๖ ปรากฏใน "ศักราชรัชกาลครั้งกรุงศรีอยุธยาตามที่สอบใหม่" พระนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ  ได้แบ่งราชวงศ์กษัตริย์อยุทธยาใหม่เป็น ๕ ราชวงศ์ ได้แก่   เชียงราย สุวรรณภูมิ์ ศุโขไทย ปราสาททอง บ้านพลูหลวง

ปัจจุบันราชวงศ์ทั้ง ๕ ถูกเรียกว่าราชวงศ์อู่ทอง สุพรรณภูมิ สุโขทัย ปราสาททอง บ้านพลูหลวง

ชื่อ "ราชวงศ์บ้านพลูหลวง" สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงตั้งขึ้นสำหรับราชวงศ์ของสมเด็จพระเพทราชา  โดยทรงอธิบายว่า "หนังสือพระราชพงษาวดารว่าสมเด็จพระเพทราชาเปนชาวบ้านพลูหลวง จึงเรียกราชวงษ์บ้านพลูหลวง"

นอกจากนี้ทรงเปลี่ยนพระมหากษัตริย์ตั้งแต่สมเด็จพระเจ้าเสือมาจนเสียกรุงซึ่งเคยถูกจัดอยู่ในราชวงศ์ปราสาททอง มาอยู่ราชวงศ์บ้านพลูหลวงทั้งหมด เพราะเมื่อตรวจสอบหลักฐานร่วมสมัยแล้ว ไม่ทรงเชื่อว่าสมเด็จพระเจ้าเสือเป็นพระโอรสลับของสมเด็จพระนารายณ์ตามที่พระราชพงศาวดารสมัยรัตนโกสินทร์กล่าวอ้าง

"สมเด็จพระเจ้าเสือนี้ หนังสือพระราชพงษาวดารนับในราชวงษ์ปราสาททองด้วยยอมรับว่าเปนราชโอรสลับของสมเด็จพระนารายน์มหาราช ผู้ศึกษาโบราณคดีชั้นหลังได้ตรวจดูจดหมายเหตุครั้งสมเด็จพระนารายน์ แลพิเคราะห์เรื่องราวซึ่งปรากฏในครั้งนั้น ไม่มีเหตุอันใดที่ควรเชื่อว่าอยู่ในราชวงษ์ปราสาททอง ข้าพเจ้าเห็นควรนับในราชวงษ์บ้านพลูหลวงตลอดมาทุกพระองค์จนสิ้นกรุงเก่า"

การกำหนดชื่อราชวงศ์ของนักประวัติศาสตร์แบบในปัจจุบันจึงเป็นเพียงสิ่งที่สมมติขึ้นเท่านั้น ไม่เคยพบหลักฐานการใช้งานจริงในสมัยกรุงศรีอยุทธยา

คำว่า "ราชวงศ์บ้านพลูหลวง" เป็นชื่อที่ตั้งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๖ และไม่เคยปรากฏในหลักฐานลายลักษณ์อักษรสมัยกรุงศรีอยุทธยาแม้แต่ชิ้นเดียว  

บ้านพลูหลวง ก็มีประเด็น

บันทึกการเข้า
พี่วรภัทรของพี่ชายใหญ่
อสุรผัด
*
ตอบ: 0


ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 05 พ.ย. 23, 01:53

เรื่องพระเพทราชาเป็นชาวบ้านพลูหลวง

เรื่องนี้ปรากฏในพระราชพงศาวดารฉบับที่ชำระในสมัยต้นกรุงเทพฯ ยกตัวอย่าง พระราชพงศาวดาร ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพน


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
พี่วรภัทรของพี่ชายใหญ่
อสุรผัด
*
ตอบ: 0


ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 05 พ.ย. 23, 02:07

แต่ในหลักฐานชาวต่างประเทศกลับระบุว่า

1. พระเพทราชาเป็นเชื้อพระวงศ์
2. น้องสาวของพระเพทราชาเป็นพระสนมของสมเด็จพระนารายณ์ (อาจหมายถึงท้าวศรีจุฬาลักษณ์ ที่ตอนหลังมีกรณีกับเจ้าฟ้าน้อย จนถูกสำเร็จโทษโยนให้เสือกิน)
3. แม่ของพระเพทราชาเป็นแม่นมของสมเด็จพระนารายณ์
4. บางหลักฐานระบุถึงขั้นว่า แม่ของพระเพทราชาเป็นพี่สาวของสมเด็จพระนารายณ์

ถ้าเป็นเช่นนั้น พระเพทราชาก็อาจจะไม่ใช่ชาวบ้านพลูหลวง แขวงเมืองสุพรรณบุรี แต่ก็เป็นไปได้อยู่ว่า ตระกูลทางพ่อของพระเพทราชาที่ทำงานในกรมพระคชบาล อาจจะมาจากสุพรรณ

ที่แน่ ๆ ไม่ว่าพระเพทราชาจะเป็นเชื้อพระวงศ์หรือไม่ พระเพทราชาก็เป็นคนอยุธยา เกิดในกรุงศรีอยุธยานี่แหละ

ถ้าเปรียบเทียบกับปัจจุบัน พ่อเป็นคนนครศรีธรรมราช แม่เป็นคนนครราชสีมา เมื่อมาได้กันที่กรุงเทพฯ ลูกออกมาก็เป็นคนกรุงเทพฯ ตามภูมิลำเนา หาใช่คนนครหรือคนโคราชไม่
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12605



ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 05 พ.ย. 23, 09:35

ในหนังสือ "จดหมายเหตุ ลา ลูแบร์ ราชอาณาจักรสยาม" แปลโดย สันต์ ท. โกมลบุตร ได้กล่าวถึงพระเพทราชาว่า

"ออกพระพิพิธราชา ซึ่งเรียกกันให้เพี้ยนไปว่า เพทราชา (Petratcha) เป็นผู้บังคับบัญชาเหล่าช้างเหล่าม้าทั้งปวงอยู่ และนับว่าเป็นกรมใหญ่โตกรมหนึ่งแห่งราชอาณาจักร ด้วยว่าช้างนั้นเป็นตัวกำลังสำคัญของสมเด็จพระเจ้ากรุงสยาม...ตระกูลของท่านได้รับราชการสืบกันมาช้านานในตำแหน่งอันสูงส่ง และมีความสัมพันธ์กับราชบัลลังก์อยู่เนือง ๆ และมีผู้คนได้โจษขานกันอย่างเปิดเผยว่า ตัวท่านเองหรือออกหลวงสุรศักดิ์ (Oc-Loüang Sourasac) บุตรของท่านอาจอ้างสิทธิ์ในราชบัลลังก์ได้อยู่ หากว่าคนใดคนหนึ่งยังมีชีวิตอยู่ เมื่อพระมหากษัตริย์ซึ่งผ่านพิภพ อยู่ในปัจจุบันนี้เสด็จสวรรคตแล้ว มารดาของออกพระพิพิธราชานั้น เป็นพระนมของพระมหากษัตริย์รัชกาลปัจจุบัน"

ภาพในละคร "บุพเพสันนิวาส" (ภาคแรกของพรหมลิขิต ยิงฟันยิ้ม) พระเพทราชาเกล้าผมมวยสูงเหมือนสมเด็จพระนารายณ์ ห้อยสังวาลย์ นั่งแท่นไม่ต้องหมอบกราบเหมือนขุนนางอื่น ก็ดูเหมือนจะสื่อในทราบถึงความเป็น "เจ้า" ของพระเพทราชาเป็นนัย ๆ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 06 พ.ย. 23, 07:02

คุณเจ้าของกระทู้ไปโพสกระทู้แยก  แต่ดิฉันเห็นว่าควรจะนำมารวมกัน จึงย้ายมาที่นี่ค่ะ

กระทู้นี้จะว่าด้วยเรื่องเจ้าฟ้าพร หรือสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
ซึ่งจะแยกจากกระทู้ก่อนหน้าที่เป็นเรื่องสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ

ซึ่งเรื่องราวของเจ้าฟ้าพร จนถึงตอนขึ้นราชย์
มีหลายเรื่องที่สำคัญ ในฐานะ "ยุคทองปลายอยุธยา" และ "ยุคบ้านเมืองยังดี"

และพยายามนำเสนอเรื่องแปลก ๆ เรื่องที่หลายคนไม่ทราบ และเรื่องเข้าใจผิด-ข้อเท็จจริงบางประการ
ถือเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้กับทุกท่านในนี้ และจะได้นำเสนอกว้างขวางต่อไป


บันทึกการเข้า
พี่วรภัทรของพี่ชายใหญ่
อสุรผัด
*
ตอบ: 0


ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 06 พ.ย. 23, 21:12

มรณกรรมของบุตรชายฟอลคอนที่เกิดกับมาดามคอนสตันซ์ (ท้าวทองกีบม้า)

จดหมายของมองซิเออร์เกตีถึงมองเซนเยอร์เมโกร
ลงวันที่ 3 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1711 (พ.ศ.2254)

ระบุว่า บุตรชายฟอลคอนและท้าวทองกีบม้าได้ถึงแก่กรรมเมื่อ ค.ศ.1709 (พ.ศ.2252) ปีแรกในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12605



ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 07 พ.ย. 23, 09:35

จอร์จ ฟอลคอนเสียชีวิต



พรหมลิขิตตอนนี้มีผู้ถกเถียงกันมากว่าตรงตามประวัติศาสตร์หรือไม่ หลักฐานในเรื่องนี้มีอยู่ ๒ ทาง คือ

(๑) หลักฐานชั้นต้น อยู่ใน จดหมายเหตุของคณะบาทหลวงฝรั่งเศส ซึ่งเข้ามาตั้งครั้งกรุงศรีอยุธยา ครั้งแผ่นดินพระเจ้าเสือและแผ่นดินพระเจ้าท้ายสระ เป็น จดหมายของมองซิเออร์เกดีถึงมองเซนเยอร์เมโกร เมืองปอนดีเชอรี ลงวันที่ ๓ เดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. ๑๗๑๑ (พ.ศ. ๒๒๕๔) ระบุว่า บุตรชายของคอนสแตนติน ฟอลคอน (จอร์จ ฟอลคอน) เสียชีวิตใน พ.ศ. ๒๒๕๒ อันเป็นปีแรกในรัชสมัยของพระเจ้าท้ายสระ

๒๑ "ได้จัดการให้ข้าพเจ้าได้เดิรทางต่อไป โดยมีเรือของแขกอามเนียคน ๑ ชื่อเซซาเดอเลตัวล์เปนเพื่อนของเรา ได้หนีพายุเข้าอาศรัยใน เมืองมริดยอมจะไปส่งข้าพเจ้าที่ฝั่ง (Cote) ครั้นข้าพเจ้าได้ไปเมือง ปอนดีเชรี ก็ได้ไปหาเชอวาเลียเฮแบต์เพื่อส่งจดหมายของมองเซน เยอร์เดอซาบูล และเพื่อจะพูดด้วยปากถึงข้อความที่ได้กล่าวมาข้างต้นนี้แล้ว และจะพูดถึงเรื่องเงินของบุตร์มองซิเออร์คอนซตันซ์ ซึ่งได้ถึงแก่กรรมเมื่อปี ค.ศ. ๑๗๐๙ (พ.ศ. ๒๒๕๒) และซึ่งมาดามคอนซตันซ์จะต้องการ เพราะตัวเปนคนยากจนด้วย"

(๒) หลักฐานชั้นหลัง อยู่ในบทความเรื่อง An Early British Merchant in Bangkok โดย Adey R. Moore  ซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร Journal of the Siam Society Vol. 11.2 1914-15 กล่าวถึงสาแหรกของแองเจลินา ทรัพย์ (Angelina Sap) ภรรยาของโรเบิร์ต ฮันเตอร์ (Robert Hunter) นายห้างอังกฤษสมัยรัชกาลที่ ๓  และระบุว่าลูกชายของ คอนสแตนติน ฟอลคอน (จอร์จ ฟอลคอน) ได้เป็นกัปตันเรือซึ่งเป็นทูตไปเมืองปอนดิเชอร์รี แต่งงานกับหญิงชาวโปรตุเกส มีลูกชายคนเดียวชื่อ จอห์น (John) และมีลูกสาวอีกหลายคน เสียชีวิตใน ค.ศ. ๑๗๕๔ (พ.ศ. ๒๒๙๗)



บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12605



ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 07 พ.ย. 23, 09:35

คุณรอมแพง เชื่อถือหลักฐานในข้อ (๑) ส่วนบรรดาออเจ้าซึ่งยังคงอาลัย  'พี่จ๊อด' คงอยากให้เป็นไปตามหลักฐานข้อ (๒) มากกว่า ยิงฟันยิ้ม



บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12605



ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 14 พ.ย. 23, 09:35

ว่าด้วยหอกลอง

เริ่มนาทีที่ ๒.๓๐



คุณหมื่นริด บรรยายความตามบันทึกใน คำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม

"อนึ่งที่ถนนตะแลงแกงมีหอกลอง มียอดซุ้มทาแดงหอกลองนั้นทำเปนสามชั้นสูงสามสิบวาแต่ชั้นยอดนั้นคอยดูฃ้าศึกมาจึ่งตีกลอง ๆ ชื่อ พระมหาฤกษ กลองชั้นกลางสำหรับตีด้วยเมื่อเพลิงไหม้ ชื่อพระมหาระงับดับเพลิง ถ้าเพลิงไหม้ฟากฝั่งแม่น้ำนอกกรุงคาดกลองสามที ถ้าเพลิงไหม้เชิงกำแพงแลในพระนครคาดกลองเสมอกว่าเพลิงจะดับ ชั้นต้นใส่กลองใหญ่สำหรับตีย่ำเที่ยงย่ำสันนิบาต เวลาตระวันยอแสงพลบค่ำตามประเพณีกรุงศรีอยุทธยา กลองชั้นต้นชื่อพระทิวาราตรี เจ้าพนักงานกรมพระนครบาล ได้พิทักษรักษากลองทั้งสามชั้น ผู้รักษาต้องเลี้ยงวิฬาป้องกันมิให้มุสิกะกัดกลอง เวลาเช้าเยน กรมพระนครบาล เกบเบี้ยตามร้านตลาดน่าคุก แต่ในจำหล่อไปจนหอกลาง เอาร้านละ ๕ เบี้ย สำหรับมาซื้อปลาย่างให้วิฬากิน"

น่าสนใจตรงมีการเลี้ยงแมวไว้ป่องกันไม่ให้หนูมากัดกลองนี้แล ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12605



ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 14 พ.ย. 23, 10:35

พุดตานน่าจะพอมีโอกาสเห็นหอกลองในยุคปัจจุบันอยู่บ้าง ยิงฟันยิ้ม

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้สร้างหอกลองขึ้นใหม่เมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๕  ที่บริเวณป่าช้า หน้าวัดโพธาราม (ต่อมาคือ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม) ที่ดินบริเวณที่สร้างหอกลองเรียกว่าสวนเจ้าเชต (ปัจจุบันคือบริเวณที่ตั้งกรมการรักษาดินแดน)  

หอกลองนี้มีลักษณะเป็นอาคารทำด้วยไม้สูง ๓ ชั้น ไม่มีฝากั้น รูปทรงสูงชะลูดขึ้นไป หลังคาทำเป็นรูปมณฑป ในอาคารตั้งกลองสำคัญ ๓ ใบ คือ กลองย่ำพระสุริย์ศรี เป็นกลองขนาดใหญ่ มีเส้นผ่านศูนย์กลาง ๘๒ เซนติเมตร ตั้งอยู่ชั้นล่าง ใช้ตีบอกโมงยามเพื่อให้ราษฎรที่อาศัยอยู่ภายในกำแพงพระนครทราบเวลา กลองอัคคีพินาศ เป็นกลองขนาดกลาง มีเส้นผ่านศูนย์กลาง ๖๐ เซนติเมตร ตั้งอยู่ชั้นที่ ๒ ใช้ตีเป็นสัญญาณให้ราษฎรทราบว่าเกิดไฟไหม้ขึ้น กลองพิฆาตไพรี เป็นกลองขนาดเล็ก มีเส้นผ่านศูนย์กลาง ๔๔ เซนติเมตร ตั้งอยู่ชั้นที่ ๓ ใช้ตีเป็นสัญญาณว่าข้าศึกยกทัพมาประชิดพระนคร ปรากฏว่ากลองใบที่ ๓ นี้ไม่เคยใช้ตีเลยเพราะไม่เคยมีข้าศึกยกทัพมาประชิดชานพระนคร

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ซ่อมแซมและปรับปรุงอาคารหอกลองนี้  ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้รื้อหอกลองและย้ายกลองทั้ง ๓ ใบไปไว้ที่หอริมประตูเทวาพิทักษ์ในพระบรมมหาราชวัง และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้นำกลองทั้ง ๓ ใบมาจัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนคร (ปัจจุบันคือพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร)  

ต่อมา เมื่อมีการจัดงานเฉลิมฉลองสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ครบ ๒๐๐ ปี พ.ศ. ๒๕๒๕ คณะรัฐมนตรีมีมติให้รื้อฟื้นหอกลองประจำเมืองขึ้น จึงมีการก่อสร้างหอกลองใหม่ในที่เดิม และได้รับบริจาคกลองโบราณจากวัดประชาสัทธาราม จังหวัดสุรินทร์ จำนวน ๓ใบซึ่งใหญ่กว่าของเดิม มีพิธียกกลองขึ้นหอกลองในวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๐

ข้อมูลจาก สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

บันทึกการเข้า
พี่วรภัทรของพี่ชายใหญ่
อสุรผัด
*
ตอบ: 0


ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 14 พ.ย. 23, 16:31

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12605



ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 14 พ.ย. 23, 19:35

คุณรอมแพง เขียนเรื่องแมวที่หอกลองไว้ในหนังสือ "พรหมลิขิต" ตอนที่ ๔ แต่ไม่ปรากฏในละคร



บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12605



ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 15 พ.ย. 23, 09:35

ว่าด้วยคำว่า ไทย ในสมัยอยุธยา

เริ่มนาทีที่ ๒.๓๐



แม่กลิ่นช่างขยันหาเรื่องแม่พุดตานเสียจริง ๆ มาคราวนี้สะดุดใจตรงที่ ทำไมยายกุยและแม่กลิ่น รู้สึกงงงวยเป็นอย่างยิ่ง เมื่อ พุดตาน เรียกตัวเองว่า คนไทย และแผ่นดินที่ยืนอยู่ว่า แผ่นดินไทย ประเทศไทย ทั้ง ๆ ที่มีหลักฐานอยู่มากมายว่า คนในสมัยอยุธยาก็เรียกตนเองเข่นเดียวกับพุดตาน

หลักฐานชั้นต้นในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ (ครองราชย์ พ.ศ. ๒๑๙๙-๒๒๓๑) ได้แก่ บันทึกของออกพระวิสุทธสุนธร (ปาน) ราชทูตที่เดินทางไปฝรั่งเศสใน พ.ศ. ๒๒๒๙ และวรรณกรรมเรื่อง "ต้นทางฝรงงเสษ" (Le chemin français)  ซึ่งเป็นนิราศการเดินทางไปฝรั่งเศสของคณะทูตชุดดังกล่าว  เช่นเดียวกับหลักฐานชั้นต้นในรัชกาลสมเด็จพระเพทราชา (ครองราชย์ พ.ศ. ๒๒๓๑-๒๒๔๖) คือจดหมายของเจ้าพระยาศรีธรรมราช (ปาน) ถึงเมอซิเออร์ ปงชาร์แตรง (Louis II Phélypeaux de Pontchartrain) และ บาทหลวง เดอ ลาแชส (François de la Chaise) ใน พ.ศ. ๒๒๓๗ (ตามปฏิทินปัจจุบันเป็น พ.ศ. ๒๒๓๖) มีการใช้คำว่า "ไทย" ในหลายบริบท เช่น ชาวไทย เมืองไทย กรุงไทย พระมหากระสัตรเจ้ากรุงไทย สํมเดจ่พระม่หากร่ษตราธีราช่เจ้ากรุงไทย ทับไทย่ ท่หาร่ไทย่ ไพร่ไทย่ อีงบาศโดรไทย ราช่ทูตไทย เงีนไทย ไทย่แลต่างปรเทศ่

ในจดหมายเหตุราชอาณาจักรสยาม (Du Royaume de Siam) ของ ซีมง เดอ ลา ลูแบร์ (Simon de La Loubère) ราชทูตฝรั่งเศสที่เดินเข้ามาในกรุงศรีอยุธยา เมื่อ พ.ศ. ๒๒๓๐ รัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ มีระบุว่า

"ชาวสยามเรียกตนว่า ไทย (Tàï) แปลว่า อิสระ อันเป็นความหมายตามศัพท์ในภาษาของพวกเขาอยู่ในปัจจุบัน พวกเขาภูมิใจที่ใช้นามว่า ฟรังซ์ (Franc) อันเป็นนามที่บรรพบุรุษของพวกเราได้ถือใช้เมื่อสลัดแอกชาติโกลออกจากอำนาจปกครองของจักรวรรดิโรมัน. ผู้ที่รู้ภาษาพะโคยืนยันว่า สยาม แปลว่า อิสระ ในภาษานั้นเหมือนกัน ฉะนั้นพวกปอรตุเกสจึงน่า จะนำเอาคำ ๆ นี้มาใช้เรียกสยามก็เป็นได้ เพราะได้รู้จักรชาวสยามจากปากคำของชาวพะโค (มอญ)

อนึ่ง นาวาร์แรต (Navarrete) ได้กล่าวไว้ในหนังสือ พงศาวดารแห่งราชอาณาจักรจีน ตอนที่ ๑ บทที่ ๕ ว่า คำว่า สยาม ที่เขียน เสียน (Sian) นั้น มาจากคำสองคำ คือ เสียนโล้ (Sien Lô) แต่มิได้บอกไว้ว่าคำสองคำนี้หมายความว่ากระไร และมาจากภาษาไหน แม้จะได้สรุปเอาว่าเป็นคำที่ชาวจีนใช้เรียก  เมืองไทย (Meüang Tàï) จึงเป็นนามที่ชาวสยามใช้เรียกราชอาณาจักรสยาม (เพราะคำว่า เมือง แปลว่า ราชอาณาจักร) และคำ ๆ นี้ เขียนอย่างง่าย ๆ ว่า Muantay ปรากฏอยู่ในหนังสือของ แว็งซังต์ เลอะ บลังก์ (Vincent le Blanc) และในแผนที่ภูมิศาสตร์หลายแห่ง ว่าเป็นราชอาณาจักรหนึ่งซึ่งอยู่ใกล้ชิดติดกับพะโค แต่ แว็งซังต์ เลอะ บลังก์ คงไม่ทราบว่านั่นแล้วคือราชอาณาจักรสยาม เพราะคงมิได้เฉลียวใจว่าคำว่าสยามกับไทยนั้น เป็นคำสองคำที่มีความแตกต่างกัน แต่หมายถึงพลเมืองของประเทศเดียวกัน.

ส่วนเมืองสยามนั้น ชาวสยามเรียกว่า ศรีโยธยา (Si-yo-thi-ya) และ โ ในคำว่าโย นั้นต้องจีบปากออกเสียงยิ่งกว่าสระ au ของเรา ลางทีพวกเขาก็เรียกเมืองสยามว่า กรุงเทพพระมหานคร (Crung-thé-paprà-maha-nacôn)..."

ลา ลูแบร์ กล่าวต่อว่า "อนึ่ง ชาวสยามที่ข้าพเจ้ากล่าวถึงนี้ เรียกตนเองว่า ไทยน้อย (Tàï-nôë, Siams-Petits) และตามที่ข้าพเจ้าได้ยินมา ก็ยังมีชนอีกจำพวกหนึ่งซึ่งยังป่าเถื่อนอยู่มาก เรียกกันว่า ไทยใหญ่ (Tàï-yàï, Siams-grands) และตั้งสำนักหลักแหล่งอยู่ตามภูเขาทางภาคเหนือ"

ประวัติศาสตร์ธรรมชาติและการเมืองแห่งราชอาณาจักรสยาม (Histoire naturelle et politique du Siam) ของ นีกอลา แฌร์แวซ (Nicolas Gervaise) มิชชันนารีชาวฝรั่งเศสที่เดินทางเข้ามาในสยามในช่วง พ.ศ. ๒๒๒๔-๒๒๒๘ ให้ข้อมูลไว้สอดคล้องกันว่า

"นครหลวงนั้นคนสยามเรียกว่า เมืองศรีอยุธยา (Meüang Sijouthia) และชาวต่างประเทศเรียกว่า ยุธยา (Juthia) หรือ โอเดีย (Odiaa) อันเป็นนามที่คนจีนตั้งให้  ชาวต่างประเทศเรียก สยาม (Siam) เป็นนามราชอาณาจักร แต่คนพื้นเมืองรู้จักแต่คำว่า เมืองไทย (Meüang-Thây) หรือไม่ก็เมืองกรุงเทพมหานคร (Meüang-Croung-Thêp-Maanacone)"

จดหมายเหตุของ เอ็งเงิลแบร์ท เค็มพ์เฟอร์ (Engelbert Kaempfer) นายแพทย์ชาวเยอรมันที่เดินทางเข้ามาในสยามพร้อมคณะทูตดัตช์เมื่อ ค.ศ. ๑๖๙๐ (พ.ศ. ๒๒๓๓) บันทึกไว้ตรงกันว่า

"Siam region vero vulgo dicitur Muan regio Thai, in libris vero scribitur: Krom circuitus thep pramma visitationis ha Ikon deorum. Peguensibus ac Malajis dicitur Tzjam, unde nobis natum est vocabulum Siam."

(ดินแดนสยามถูกเรียกโดยคนท้องถิ่นว่า ‘เมืองไทย’   บันทึกในหนังสือว่า ‘กรุงเทพพระมหานคร’  ชาวมอญและชาวมลายูเรียกว่า ‘Tzjam’  เป็นที่มาที่พวกเราเรียกว่า ‘Siam’)

ข้อมูลบางส่วนจาก วิพากย์ประวัติศาสตร์ โดย คุณศรีสรรเพชญ์
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12605



ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 15 พ.ย. 23, 10:35

เรื่องคนสมัยอยุธยาเรียกตัวว่าไทย หรือไม่ ผู้เขียนบทน่าจะสับสน เพราะในตอนที่เปืดตัว แม่หญิงแพรจีน คุณแม่ของเธอยังพูดกับแม่หญิงว่า "แม่เป็นคนไทย คนไทยแท้ ๆ นะลูก" ยิงฟันยิ้ม

นาทีที่ ๑.๐๐ - ๑.๑๕

บันทึกการเข้า
Rattananuch
อสุรผัด
*
ตอบ: 37


ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 15 พ.ย. 23, 12:30

คนเขียนบทสับสนค่ะ ตอนภาคแรกฝรั่งเศสเรียกว่าคนสยาม หลวงสรศักดิ์ก็งงงวยว่าทำไมเรียกอย่างนี้ มาตอนนี้แม่กลิ่นมางงเรื่องคำว่าคนไทยอีก แต่คนดูอย่างดิฉันสับสนปนเวียนหัวเรื่องการต่อปากต่อต่อคำเล่นสำนวนวกๆวนๆปนภาษาสมัยใหม่ของตัวละครมากกว่าค่ะ ทั้งพระนาง คุณหญิงจำปากับบ่าวฯลฯ
มันเกินขำแล้ว..มันน่าเบื่อปนรำคาญ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4 5 6
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.082 วินาที กับ 18 คำสั่ง