เรือนไทย

General Category => ประวัติศาสตร์ไทย => ข้อความที่เริ่มโดย: พี่วรภัทรของพี่ชายใหญ่ ที่ 18 ต.ค. 23, 16:57



กระทู้: ว่าด้วย "พรหมลิขิต" (ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ)
เริ่มกระทู้โดย: พี่วรภัทรของพี่ชายใหญ่ ที่ 18 ต.ค. 23, 16:57
ถือโอกาสเบิกฟ้ารับขวัญ
ในวันแรกของละครพรหมลิขิต
มาว่าด้วยเรื่องอยุธยาในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าท้ายสระกันครับ



กระทู้: ว่าด้วย "พรหมลิขิต" (ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ)
เริ่มกระทู้โดย: พี่วรภัทรของพี่ชายใหญ่ ที่ 18 ต.ค. 23, 17:35
ปูพื้นกันก่อนครับ

https://youtu.be/HEjl0T7RTwc?si=TWwzHAWHs1dSEzKQ (https://youtu.be/HEjl0T7RTwc?si=TWwzHAWHs1dSEzKQ)


กระทู้: ว่าด้วย "พรหมลิขิต" (ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ)
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 18 ต.ค. 23, 18:35
https://youtu.be/HEjl0T7RTwc?si=TWwzHAWHs1dSEzKQ

https://youtu.be/HEjl0T7RTwc


กระทู้: ว่าด้วย "พรหมลิขิต" (ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ)
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 19 ต.ค. 23, 08:39
เมื่อคืนดูค่ะ  เชิญเสวนา


กระทู้: ว่าด้วย "พรหมลิขิต" (ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ)
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 19 ต.ค. 23, 09:35
ผังความสัมพันธ์บุคคลในประวัติศาสตร์

(https://static.thairath.co.th/media/Dtbezn3nNUxytg04ajYelJbRFgbxZbAD7goJfjjI9vfLRA.webp)


กระทู้: ว่าด้วย "พรหมลิขิต" (ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 19 ต.ค. 23, 10:38
         เขาว่า อ.ศัลยาเขียนบทเพิ่มเล่าเรื่องต่อเนื่องช่วงเปลี่ยนราชวงศ์(ในนิยายเริ่มที่แผ่นดินพระเจ้าท้ายสระ)
ทำให้ได้เห็นฉากจำได้จากอดีตอีกครั้งสมัยเป็นเด็กนอนดึกดูช่องสี่ บางขุนพรหมเรื่อง "ขุนศึกมหาราช" ผลงานของ "รพีพร"
         ฉาก - พระปีย์(รับบทโดยคุณสุรินทร์ แสงขำ) ตื่นมาล้างหน้าสีฟันแล้วถูกจับโยนจากหอบรรทม เสียงพระปีย์ร้องให้ช่วย
ปลุกพระนารายณ์(รับบทโดยป๋า ส. อาสนจินดา) ตื่นทันเห็นแต่ไม่อาจช่วยอะไรได้ (เหมือนในละครเมื่อคืน)
         เหตุการณ์นี้ได้รับการถ่ายทอดโดย "นายตำรา ณ เมืองใต้ - เรื่อง ครูเหม เวชกร - รูป" เป็นหนังสือ -
ประวัติศาสตร์เชิงนิยาย เรื่อง ขุนรามคำแหงมหาราช และ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช

http://www.sookjai.com/index.php?topic=252786.0


กระทู้: ว่าด้วย "พรหมลิขิต" (ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ)
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 19 ต.ค. 23, 11:23
    พระปีย์ มีตัวตนจริง ตามจดหมายเหตุของนิโกลาส์ แชรแวส- เป็นราชบุตรบุญธรรมที่สมเด็จพระนารายณ์โปรดปราน ได้รับเกียรติอย่างสูงกว่าขุนนางอื่นๆ   แต่พระปีย์เองก็คงรู้ตัวว่าไม่ได้มีอำนาจอยู่แต่ผู้เดียว ขุนนางอย่างพระเพทราชาและหลวงสรศักดิ์บุตรชายก็มีเหมือนกัน    จึงเกิดการแข่งกันขึ้น
     ช่วงท้ายรัชสมัยเต็มไปด้วยความวุ่นวายของการคานอำนาจและชิงอำนาจ     พระปีย์เข้ารีตไปนับถือคริสตศาสนา ย่อมทำให้กลายเป็นฝ่ายเดียวกับเจ้าพระยาวิชเยนทร์อย่างไม่ต้องสงสัย     ถ้าหากว่าวิชเยนทร์เอากองกำลังฝรั่งเศสมายึดอยุธยาได้    พระปีย์ก็คงได้ขึ้นเป็นกษัตริย์   แต่จะอยู่ได้กี่วันก็ยังน่าสงสัย เพราะวิชเยนทร์เองก็ไม่เบาเหมือนกันเรื่องทะเยอทะยาน
   ส่วนเรื่องหลวงสรศักดิ์เป็นโอรสลับของพระนารายณ์   ดิฉันเชื่อว่าเป็นเรื่องแต่งขึ้น เพื่อให้สิทธิอันชอบธรรมแก่กษัตริย์องค์ใหม่ ว่าไม่ได้มาจากคนเดินดินสามัญชน      เปลี่ยนราชวงศ์ทีไร กษัตริย์องค์ใหม่เป็นโอรสลับกษัตริย์ราชวงศ์เก่ากัน แทบจะเป็นประเพณี
   พระเจ้าปราสาททองเองก็ได้ชื่อว่าเป็นโอรสลับพระเอกาทศรถ 
   ปกติแล้ว สมัยอยุธยา พระเจ้าแผ่นดินไทยไม่จำเป็นต้องมีโอรสหรือธิดาลับ    ผิดกับฝรั่งที่ต้องมีลับๆเพราะผิดกฎมณเฑียรบาลของเขา   สังคมไทยอนุญาตให้ชายมีเมียได้หลายคนถูดต้องตามกฎหมาย   พระราชาจะมีนางสนมกี่คนก็ไม่มีข้อห้าม     
   ถ้านางเชลยที่ว่าเป็นมารดาของหลวงสรศักดิ์มีตัวจริง นางเป็นลูกสาวเจ้าเมือง ก็ถือว่ามีศักดิ์สูง    ได้เป็นเจ้าจอมมารดาอยู่แล้วถ้ามีลูกออกมา อาจจะถึงขั้นพระสนมเอกด้วยซ้ำไป
   โอรสลับของกษัตริย์มีอยู่องค์เดียวคือโอรสลับของสมเด็จพระเจ้าตากสิน  ที่พระราชทานเจ้าจอมปรางไปให้เจ้าเมืองนครศรีธรรมราช    แต่นั่นเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ยังถกเถียงหาเหตุผลกันอยู่ค่ะ


กระทู้: ว่าด้วย "พรหมลิขิต" (ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ)
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 19 ต.ค. 23, 11:35
ปริศนาโครงกระดูกมนุษย์โบราณ "พระปีย์" และ "เจ้าพระยาวิชาเยนทร์"❓

ข่าวจาก ไทยรัฐ  (https://www.thairath.co.th/content/455419)

กรมศิลปากร ขุดพบโครงกระดูกมนุษย์โบราณในพื้นที่เอกชนลพบุรี คาดสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช สันนิษฐานเป็น"พระปีย์" และ "เจ้าพระยาวิชาเยนทร์" ที่ถูกสังหาร ในครั้งที่พระเพทราชาก่อกบฏ เมื่อปลายรัชสมัยช่วงปี พ.ศ. ๒๒๓๑

เมื่อเวลา ๐๙.๓๐ น. วันที่ ๘ ต.ค. ๒๕๕๗ ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งจาก นายแมน แสงอิ่ม อายุ  ๕๒ ปี ชาวบ้านที่อยู่บริเวณซอยพญาอนุชิต ตำบลทะเลชุบศร อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี ว่า เจ้าหน้าที่กรมศิลปากรได้มาทำการขุดสำรวจพื้นที่บริเวณพื้นที่เอกชน ตรงข้ามวัดสันเปาโล ซึ่งเป็นโบราณสถานสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ที่สร้างโดยบาทหลวงชาวฝรั่งเศส จึงเดินทางไปตรวจสอบ

จากการตรวจสอบ พบฐานอิฐและโครงกระดูกมนุษย์ โดยพื้นที่ดังกล่าวเป็นของเอกชนที่ขายต่อกันมา มีเนื้อที่ประมาณ ๒ งาน เจ้าหน้าที่กรมศิลปกรที่ ๔ โดยนายจารึก วิไลแก้ว ผู้อำนวยการสำนักศิลปกรที่  ๔ ทำการขุดสำรวจ เมื่อประมาณกลางเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา และทำการขุดพบซากฐานอิฐ โดยสันนิษฐานว่า เป็นฐานโบสถ์คริสเตียน นอกจากนี้แล้ว เมื่อขุดลงไปประมาณ  ๑.๕๐ เมตร ก็พบโครงกระดูกมนุษย์ ที่ไม่มีกะโหลกศีรษะ และจากโครงกระดูกที่พบมีร่องรอยกระดูกหน้าแข้งหัก และโครงกระดูกจะเป็นมนุษย์ ที่มีความสูงไม่เกิน ๑๔๐ เซนติเมตร รอบ ๆ จะมีหม้อดิน ถ้วยชาม และที่นิ้วมือมีแหวนที่ทำจากหิน และอีก ๑ โครงกระดูกอยู่ห่างกันประมาณ ๕ เมตร ก็มีลักษณะเช่นเดียวกัน แต่โครงกระดูกนี้จะเป็นมนุษย์สูงใหญ่ อายุของโครงกระดูกทั้ง ๒ น่าจะมีอายุราว  ๓๐๐ กว่าปี

นายจารึก กล่าวว่า จากการตรวจสอบตามพงศาวดาร มีความเป็นไปได้ว่า โครงกระดูกที่พบ โครงแรกที่เป็นมนุษย์มีความสูงไม่เกิน  ๑๔๐ เซนติเมตร สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นพระปีย์ ซึ่งเป็นโอรสบุญธรรมของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ที่ถูกผลักตกจากที่สูง และถูกประหารโดยการตัดศีรษะ โดยสมเด็จพระนารายณ์ทรงเรียกว่า "ไอ้เตี้ย" และอีกโครงกระดูก น่าจะเป็น เจ้าพระยาวิชาเยนทร์ หรือ คอนสแตนติน ฟอลคอน ที่ถูกตีด้วยท่อนจันทร์ บริเวณประตูวังนารายณ์ และประหารด้วยการตัดศีรษะ ซึ่งในสมัยนั้นประมาณปี  ๒๒๓๑ ที่พระเพทราชก่อกบฏ ทำให้มีการประหารชีวิต ข้าราชการชั้นสูง รวมทั้งมีนโยบายต่อต้านชาวต่างชาติ และที่โบสถ์แห่งนี้ก็เป็นของผรั่งเศส ผู้ที่ถูกประหารทั้ง ๒ คน เป็นเจ้านายระดับสูง จึงมีการนำศพมาฝังไว้ในโบสถ์ดังกล่าว รวมทั้งพระปีย์ก็ได้เข้ารีตเป็นคริสเตียนอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม การขุดค้นพบโครงกระดูกในครั้งนี้ก็นับว่า มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์เป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ที่พระราชทานพื้นที่ตรงที่พบโครงกระดูกให้ทำการก่อสร้างวัดในคริสต์ศาสนาของฝรั่งเศส และหอดูดาวอีกด้วย


(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=6883.0;attach=67722;image)

มีคำถามจากคุณนวรัตนถึงกรมศิลปากร

ข้อมูลตามประวัติศาสตร์กล่าวว่า เจ้าพระยาวิชาเยนทร์ถูกนำไปประหารชีวิตที่วัดซาก (ทราก) ใกล้ทะเลชุบศร เนื่องจากไม่ได้เป็นเจ้า จึงไม่ได้โดนทุบด้วยท่อนจันทน์ดังว่า แต่คงโดนทรมานทรกรรมเพียบก่อนตายตามสำนวนที่ฝรั่งเขียน  ส่วนพระปีย์ถูกผลักตกจากระเบียงพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ในคืนวันที่สมเด็จพระนารายน์สวรรคต แม้มีระบุว่าถูกนำไปประหารที่วัดโคก แต่ประวัติศาสตร์บางสำนวนกล่าวว่าพอถูกผลักจากระเบียงพระปีย์ก็ร้องว่าทูลกระหม่อมแก้วช่วยด้วย ครั้นถึงไปถึงพื้นก็โดนฆ่าปิดปากเสียในบัดดลนั้นเอง

มีข้อสันนิษฐานอีกว่า ทั้งสองร่างได้ถูกผู้จงรักภักดีลอบขุดมาฝังที่โบสถ์คริสต์ อันเป็นที่พบโครงกระดูกทั้งสองร่างดังกล่าว ถ้างั้นก็มีคำถามจากผมอีกว่า เวลาที่ผ่านมาตั้ง ๓ ปีนี้ กรมศิลปากรได้มีการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ใดบ้างไหม อย่างน้อยก็เพื่อยืนยันว่า โครงที่บอกว่าร่างใหญ่นั้นเป็นกระดูกของชาวยุโรป ส่วนร่างเล็ก มีสภาพพิการ และเป็นกระดูกคนไทย

ต่อมาคุณนวรัตนได้มาเฉลยว่า

คำถามดังกล่าวผมทราบคำตอบจากพวกนักโบราณคดีตั้งแต่ช่วงนั้นแล้วครับ แต่ทว่า เรื่องนี้กรมศิลปากรเลือกที่จะอมพะนำไว้ให้คนลืม เพราะกลัวจะเสียรังวัดลามปามกลับไปถึงเรื่องพระเจ้าอุทุมพรอีก นี่ถ้าไม่มีกระแสอันทรงพลังของบุพเพสันนิวาสมากระตุ้น ป่านนี้ผู้สนใจอย่างคุณหมอเพ็ญคงต้องรอจากใจระทึกเป็นระทวยไปเอง

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=6883.0;attach=67732;image)

ข่าวจากมติชนพาดหัวว่า "ฟันธง" คงไม่ได้ วิธีง่าย ๆ ที่จะฟันธงคงต้องพิสูจน์อายุของโครงกระดูก ถ้าหากมากกว่าพันปีขึ้นไปก็คงเป็นอย่างที่ใหข่าว แต่ถ้าหากตกอยู่ประมาณ ๓๐๐ ปี ก็คงไม่ใช่มนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ ต้องพิสูจน์ต่อไปอย่างที่คุณนวรัตนว่า

ป.ล. สงสัยอยู่เช่นกัน เมื่อเห็นวันที่ของการออกข่าว กลัวจะเป็น "เอพริลฟูลส์" อยู่เหมือนกัน ;D


กระทู้: ว่าด้วย "พรหมลิขิต" (ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ)
เริ่มกระทู้โดย: พี่วรภัทรของพี่ชายใหญ่ ที่ 20 ต.ค. 23, 14:10
        เขาว่า อ.ศัลยาเขียนบทเพิ่มเล่าเรื่องต่อเนื่องช่วงเปลี่ยนราชวงศ์(ในนิยายเริ่มที่แผ่นดินพระเจ้าท้ายสระ)
ทำให้ได้เห็นฉากจำได้จากอดีตอีกครั้งสมัยเป็นเด็กนอนดึกดูช่องสี่ บางขุนพรหมเรื่อง "ขุนศึกมหาราช" ผลงานของ "รพีพร"
         ฉาก - พระปีย์(รับบทโดยคุณสุรินทร์ แสงขำ) ตื่นมาล้างหน้าสีฟันแล้วถูกจับโยนจากหอบรรทม เสียงพระปีย์ร้องให้ช่วย
ปลุกพระนารายณ์(รับบทโดยป๋า ส. อาสนจินดา) ตื่นทันเห็นแต่ไม่อาจช่วยอะไรได้ (เหมือนในละครเมื่อคืน)
         เหตุการณ์นี้ได้รับการถ่ายทอดโดย "นายตำรา ณ เมืองใต้ - เรื่อง ครูเหม เวชกร - รูป" เป็นหนังสือ -
ประวัติศาสตร์เชิงนิยาย เรื่อง ขุนรามคำแหงมหาราช และ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช

http://www.sookjai.com/index.php?topic=252786.0

ไปค้นเรื่องนี้มา เจอเรื่องนี้ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาด้วยครับ

- พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพน -


กระทู้: ว่าด้วย "พรหมลิขิต" (ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ)
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 20 ต.ค. 23, 14:35
ฉากวาระสุดท้ายของพระปีย์กับการสวรรคตของสมเด็จพระนารายณ์ในพรหมลิขิต อ้างอิงตามพงศาวดารที่ชำระสมัยรัตนโกสินทร์รุ่นหลัง ความว่า (สะกดตามต้นฉบับ)

"ขณะนั้นบันดาข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อยทั้งปวง ก็ไปมั่วสุมอยู่ณพระเพทราชา จะได้มีผู้ใดผู้หนึ่งนำภาในฝ่าลอองธุลีพระบาทนั้นหามิได้ ยังแต่พระปิย์ผู้เดียว ปะฏิบัติรักษาประคองพระองค์ลุกนั่งอยู่ แลพระปิยผู้นี้เปนบุตรขุนไกรสิทธิศักดิ์ชาวบ้านแก่ง ทรงพระกรุณาเอามาเลี้ยงไว้ในพระราชวังแต่ยังเยาว์ ให้มีนางนมพี่เลี้ยงประดุจหนึ่งลูกหลวง แลพระปิยนั้นมีพรรณสัณฐานต่ำเตี้ย ทรงพระกรุณาเรียกว่าอ้ายเตี้ย แลพระปิยกอปรด้วยสวามีภักดิ นอนอยู่ปลายพระบาท คอยปรฏิบัติพยุงพระองค์ลุกนั่งอยู่

ครั้นรุ่งเพลาเช้าพระปิยลุกออกมาบ้วนปากล้างหน้า ณ ประตูกำแพงแก้ว จึ่งหลวงสรศักดิ์ผู้สำเร็จราชการณที่มหาอุปราช สั่งให้ขุนพิพิธรักษาชาวที่ผลักพระปิยตกลงไปจากประตูกำแพงแก้ว แลพระปิยร้องขึ้นได้คำเดียวว่า ทูลกระหม่อมแก้วช่วยด้วย ภอขาดคำลงคนทั้งหลายก็กุมเอาตัวพระปิยไปประหารชีวิตรตายในขณะนั้น สมเดจพระเจ้าอยู่หัวตรัสได้ทรงฟังเสียงพระปิยร้องขึ้นมาดั่งนั้น ตกพระไทยความอาไลยในพระปิยจึ่งดำรัสว่า ใครทำอะไรกับอ้ายเตี้ยเล่า แลสมเดจพระเจ้าอยู่หัวก็สวรรคตในเพลาวันนั้น เปนวันพฤหัสบดีเดือนห้าแรมสามค่ำ ลุศักราช ๑๐๔๔ ปีจอจัตวาศก

พระบาทบรมนารถนารายน์ราชบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวพระชันษาวอกศก เสดจเสวยราชสมบัตินั้น พระชนได้ ๒๕ พรรษา เสดจดำรงราชอาณาจักรอยู่ได้ ๒๖ พรรษา ขณะสวรรคตณพระที่นั่งสุธาสวรรย์มหาปราสาทนั้น สริพระชนม์ห้าสิบเอ็จพรรษา ๚ะ"- พระราชพงษาวดารกรุงเก่า (ฉบับหมอบรัดเล)

https://youtu.be/vi60_jLz3R0

แต่พงศาวดารรุ่นเก่าคือ พระราชพงศาวดารฉบับพระจักรพรรดิพงศ์ (จาด) ซึ่งพิจารณาจากเนื้อความน่าจะชำระตั้งแต่สมัยอยุทธยาตอนปลาย ระบุเหตุการณ์ต่างกันว่า

"ศุภมัศดุ ศักราช ๑๐๕๐ ปีมโรง สัมฤทธิศก สมเด็จพระนารายน์เปนเจ้าเสด็จขึ้นไปเมืองลพบุรี อยู่ประมาณเดือนหนึ่ง ทรงประชวรหนักลง

วันหนึ่ง หม่อมปีย์เสด็จออกมาสรงพระภักตร์อยู่ณษาสา พญาสุรศักดิเข้าไปจะจับ หม่อมปีย์วิ่งเข้าไปในที่พระบรรธมร้องว่า ทูลกระหม่อมแก้ว ช่วยเกล้ากระหม่อมฉันด้วย สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวตรัสว่า อ้ายพ่อลูกนี้คิดทรยศจะเอาสมบัติ แล้วมีพระราชโองการสั่งให้ประจุพระแสงปืนข้างที่ แล้วให้พญาเพชราชา พญาสุรศักดิ ก็เข้าไปยืนอยู่ที่พระทวารทั้งสองคน สมเด็จพระนารายน์เปนเจ้าเสด็จบรรธมอยู่ ยื่นพระหัตถ์คลำเอาพระแสงปืน เผยอพระองค์จะลุกขึ้น ก็ลุกขึ้นมิได้ กลับบรรธมหลับพระเนตร"

หลังจากเหตุการณ์นี้สมเด็จพระนารายณ์ยังไม่ได้สวรรคตทันที แต่ยังมีเหตุการณ์อื่นเกิดขึ้นระหว่างนั้นคือ

พระเพทราชาเรียกพระยาวิไชยเยนทร์เข้ามาจับกุมในพระราชวังเมืองลพบุรี - หลวงสุรศักดิ์เข้าจับพระปีย์ไปประหาร - เจ้าฟ้าอภัยทศเดินทางจากอยุทธยาขึ้นมาลพบุรีแล้วถูกหลวงสุรศักดิ์เอาตัวไปสำเร็จโทษที่วัดทราก - สมเด็จพระนารายณ์สวรรคต

"เพลาสามยาม พระราชรักษาให้เรียนถามพญาเพทราชา พญาสุรศักดิ ว่า พร้อมแล้วฤๅยัง บอกว่า พร้อมแล้ว ขุนองค์อยู่งานถอนนิ้วขึ้นจากพระองค์ พระโอษฐงับก็นิ่งไป วัน ๗ ๕ฯ ๙ ค่ำ เพลา ๑๐ ทุ่ม เสด็จนิพพาน ๚"

ปีศักราชที่สมเด็จพระนารายณ์สวรรคตในพระราชพงศาวดารฉบับพระจักรพรรดิพงศ์ (จาด) คือ จ.ศ. ๑๐๕๐ (พ.ศ. ๒๒๓๑)  ตรงตามหลักฐานร่วมสมัยของชาวฝรั่งเศสว่าเหตุการณ์ยึดอำนาจเกิดเมื่อ ค.ศ. ๑๖๘๘ (พ.ศ. ๒๒๓๑) ในขณะที่พงศาวดารรุ่นหลังที่ชำระสมัยรัตนโกสินทร์ระบุศักราชเร็วไป ๖ ปี

Timeline ของเหตุการณ์ยึดอำนาจในพระราชพงศาวดารฉบับพระจักรพรรดิพงศ์ (จาด) ยังตรงตามหลักฐานของชาวฝรั่งเศสที่อยู่ในเหตุการณ์เวลานั้น คือ

๑๘ พฤษภาคม   ออกพระเพทราชายึดอำนาจในเมืองลพบุรี สมเด็จพระนารายณ์ถูกกักบริเวณในพระตำหนัก ออกญาวิไชยเยนทร์ถูกเรียกตัวเข้ามาพระราชวังเมืองลพบุรีแล้วถูกจับกุม ถูกจำห้าประการและทรมานอย่างหนัก

๑๙ พฤษภาคม  เวลากลางคืน พระปีย์ออกมาจากห้องพระบรรทมจึงถูกจับกุม

๒๐ พฤษภาคม  เวลารุ่งเช้า พระปีย์ถูกประหารชีวิต

๕ มิถุนายน  ออกญาวิไชยเยนทร์ถูกประหารชีวิตที่ทะเลชุบศร

๖ มิถุนายน กองทหารฝรั่งเศสเริ่มเปิดศึกกับสยามที่ป้อมบางกอก

๙ กรกฎาคม  เจ้าฟ้าอภัยทศและเจ้าฟ้าน้อยถูกสำเร็จโทษที่ลพบุรี

๑๐/๑๑ กรกฎาคม  สมเด็จพระนารายณ์สวรรคต

ในขณะที่พงศาวดารที่ชำระรุ่นหลัง ๆ จะลำดับเหตุการณ์ไม่ตรงกับหลักฐานต่างประเทศ คือเริ่มจาก

พระเพทราชากับหลวงสรศักดิ์ยึดอำนาจในพระราชวัง - เรียกตัวเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ (หลักฐานร่วมสมัยระบุว่าเป็นเพียง พระยา/ออกญา) เข้าวังมาแล้วประหารทันที - พระเพทราชากับหลวงสรศักดิ์ไปเฝ้าสมเด็จพระนารายณ์ - พระปีย์ถูกผลักตกจากกำแพงแก้วแล้วถูกประหาร - สมเด็จพระนารายณ์สวรรคตทันที - เจ้าฟ้าอภัยทศถูกสำเร็จโทษที่วัดทรากหลังจากสมเด็จพระนารายณ์สวรรคตแล้ว  

พงศาวดารรุ่นหลังยังระบุเจ้าฟ้าอภัยทศเป็นพระโอรสของสมเด็จพระนารายณ์ ต่างจากหลักฐานชั้นต้นจำนวนมากที่ยืนยันว่าเจ้าฟ้าอภัยทศเป็นพระอนุชา

เหตุการณ์นี้เป็นหนึ่งในประวัติศาสตร์สมัยอยุทธยาตอนปลายตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ลงมาหลายเหตุการณ์ที่พงศาวดารรุ่นเก่าและรุ่นหลังบันทึกช่วงเวลาและรายละเอียดของเหตุการณ์ไม่ตรงกัน  อีกตัวอย่างหนึ่งคือเหตุการณ์การสำเร็จโทษเจ้าพระขวัญและเจ้าพระองค์ดำพระโอรสของสมเด็จพระเพทราชา ที่ถูกบันทึกต่างกันจนเหมือนเป็น "หนังคนละม้วน"

เมื่อตรวจสอบข้อมูลหลักฐานหลายฝ่ายเทียบกัน  มักพบว่าเนื้อหาสมัยอยุทธยาตอนปลายในพงศาวดารรุ่นเก่า (เช่น ฉบับพระจักรพรรดิพงศ์ (จาด) ฉบับนายแก้วจำลอง ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม)) จะใกล้เคียงกับหลักฐานชั้นต้นหรือหลักฐานร่วมสมัยของต่างประเทศ มากกว่าพงศาวดารรุ่นหลัง (เช่น ฉบับบริติชมิวเซียม ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์วัดพระเชตุพน ฉบับหมอบรัดเล ฉบับพระราชหัตถเลขา) ที่มีรายละเอียดความพิสดาร และเร้าอารมณ์ผู้อ่านมากกว่า

จาก วิพากย์ประวัติศาสตร์ (https://www.facebook.com/100068039213599/posts/pfbid0uzxZgrbdNPiu2dpurgvomScu1Y3Z5c6n1nM38NNAR396UzWWWcshWVvceGgmy5Kxl/?mibextid=YHFMpa) โดย คุณศรีสรรเพชญ์


กระทู้: ว่าด้วย "พรหมลิขิต" (ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ)
เริ่มกระทู้โดย: atomicno1 ที่ 21 ต.ค. 23, 22:38
หนูจะขออนุญาตถามออกนอกเรื่องหน่อยได้ไหมคะ ขอเกาะกระทู้นี้เลยก็แล้วกัน

หนูไม่ได้ดูละครเรื่องนี้ แต่เคยอ่านเรื่องบุพเพสันนิวาส สนุกดีเหมือนกันค่ะ ที่ติดใจอยู่แล้วเพิ่งได้เห็นมีคนในอินเตอร์เน็ตคอมเมนท์คนหนึ่งคือฉากที่นางเอกกำลังจะคลอดลูก ตอนนั้นทุกคนในเรือนกำลังกินหมูกะทะกันอยู่ มีคนบอกว่าไม่น่าเป็นไปได้เพราะคนในสมัยอยุธยาไม่มีเนื้อหมูกิน เพราะว่าการปศุสัตว์เราไม่ดี และให้สังเกตว่าตำรับอาหารสมัยนั้นไม่ได้มีเนื้อหมูเป็นส่วนประกอบ

ตรงนี้มีความจริงมากน้อยเพียงใดคะ แล้วถ้าเราไม่กินหมูกัน เรากินอะไรกันเป็นหลักคะ เพราะถ้าเป็นวัวควาย หนูว่าไม่น่าจะกินกันเนื่องจากเป็นสัตว์ที่เลี้ยงไว้ใช้ในงานกสิกรรม หรือเรากินแค่ปลาหรือสัตว์เล็กอย่างอื่นคะ


กระทู้: ว่าด้วย "พรหมลิขิต" (ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ)
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 22 ต.ค. 23, 07:48
หนูเข้าไปอ่านกระทู้ข้างล่างนี้เลยค่ะ

เปิบพิสดารสมัยอยุธยา (http://www.reurnthai.com/index.php?topic=442.0)
กับ
ขออนุญาตเรียนถามถึงอาหารของชาวบ้านภาคกลางในสมัยอยุธยาถึงรัตนโกสินทร์ตอนกลางค่ะ (http://www.reurnthai.com/index.php?topic=7050.0)


กระทู้: ว่าด้วย "พรหมลิขิต" (ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ)
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 22 ต.ค. 23, 08:35
เรื่องการกินเนื้อหมูมีอยู่ทั้งใน บุพเพสันนิวาส และ พรหมลิขิต คุณรอมแพง (https://www.facebook.com/187677331255810/posts/pfbid0tC1TgZaQtNrk8hirMMo5sqeihiX1Qz6SZPYUBk2HD5C4wFPteiPUHz292D2WMaw8l/?mibextid=YHFMpa) ผู้แต่งได้อธิบายไว้ดังนี้

เกรงว่าต่อไปจะมีการพูดถึงเนื้อหมูในอยุธยาว่าไม่มี เลยจะออกมาบอกไว้ก่อนนะคะว่า ในกรุงศรีอยุธยามีเนื้อหมูขายที่ ย่านในไก่ ตลาดน้อยเป็นย่านของคนจีนที่นิยมฆ่าและกินเนื้อหมู ซึ่งที่นั่นจะมีขายทั้งเนื้อหมู เนื้อไก่ เนื้อเป็ด นะคะ มีบันทึกไว้ในพงศาวดารในเรื่องของภูมิสถานในสมัยกรุงศรีอยุธยา เลยแต่งให้นางเอกไปซื้อหมูที่ตลาดนี้

คนจีนเข้ามาในเมืองไทยตั้งแต่สมัยไหนไม่แน่ชัดแต่สมัยสุโขทัยก็ได้มีการนำเข้าช่างจีนมาทำเครื่องปั้นดินเผาแล้วทำให้เกิดเตาทุเรียงในสมัยนั้น สมัยพระบรมไตรโลกนาถ ซึ่งเป็นช่วงก่อนหน้าสมัยพระนารายณ์ราว ๒๐๐ กว่าปีก็มีกรมท่าซ้าย ที่มีพระยาโชฎึกราชเศรษฐี ซึ่งเป็นคนจีนคุมทุกสิ่งอย่างที่เกี่ยวกับจีนที่เข้ามา เมื่อมีชุมชนชาวจีนหมูพันธุ์ที่จีนนิยมกินจึงน่าจะถูกนำเข้ามาด้วย ดังนั้นจึงสันนิฐานได้ว่าเนื้อหมูมีมานานแล้วค่ะ

ในส่วนของข้อเท็จจริงเรื่องอาหารที่ชาวไทยสมัยกรุงศรีอยุธยานิยมกินนั้นมีบันทึกของบาทหลวงเล่าไว้ว่าจะนิยมกินปลาเพราะหาง่าย เนื้อหมูนี่ถือว่าหายากค่ะ และเป็นสัตว์ใหญ่คนไทยไม่นิยมฆ่ากินเพราะกลัวบาป


เรื่องการเลี้ยงหมูในสมัยอยุธยายังมีกำหนดไว้ในกฎหมายตราสามดวง พระไอยการเบดเสรจ มาตรา ๘ ความว่า

ผู้ใดเลี้ยงหมู ให้ใส่เล้าไว้อย่าให้ปล่อยให้ไปกินข้าวในนาผู้อื่น และผู้ที่ทำนาก็ให้รักษาล้อมรั้วไว้ให้มั่นคง ถ้าเจ้าของหมูไม่ได้รักษาหมูให้ดี ปล่อยให้ไปกินข้าว เจ้าของนาข้าวแทงหมูตาย กฎหมายว่าจะหาโทษมิได้

ถ้าเจ้าของหมูได้นำหมูใส่เล้าไว้แล้ว แต่เจ้าของข้าวมิได้ล้อมนาข้าวของตนเองไว้ และหมูนั้นหลุดออกมาจากเล้าไปกินข้าวในนาตน เจ้าของนาข้าวแทงตาย กฎหมายว่าให้ใช้ค่าหมู


จาก เอกสารของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (https://doi.nrct.go.th/ListDoi/Download/347879/5206b9e5c91ef62c626af22ac3103625?Resolve_DOI=10.14457/TU.the.2006.242) หน้า ๓๔ และ กฎหมายตราสามดวง เล่ม ๓ (http://web.finearts.go.th/chonburilibrary/หนังสืออิเล็กทรอนิกส์/book/1619.html?page=121) หน้า ๑๐๑


กระทู้: ว่าด้วย "พรหมลิขิต" (ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ)
เริ่มกระทู้โดย: atomicno1 ที่ 22 ต.ค. 23, 14:51
เรื่องการกินเนื้อหมูมีอยู่ทั้งใน บุพเพสันนิวาส และ พรหมลิขิต คุณรอมแพง (https://www.facebook.com/187677331255810/posts/pfbid0tC1TgZaQtNrk8hirMMo5sqeihiX1Qz6SZPYUBk2HD5C4wFPteiPUHz292D2WMaw8l/?mibextid=YHFMpa) ผู้แต่งได้อธิบายไว้ดังนี้

เกรงว่าต่อไปจะมีการพูดถึงเนื้อหมูในอยุธยาว่าไม่มี เลยจะออกมาบอกไว้ก่อนนะคะว่า ในกรุงศรีอยุธยามีเนื้อหมูขายที่ ย่านในไก่ ตลาดน้อยเป็นย่านของคนจีนที่นิยมฆ่าและกินเนื้อหมู ซึ่งที่นั่นจะมีขายทั้งเนื้อหมู เนื้อไก่ เนื้อเป็ด นะคะ มีบันทึกไว้ในพงศาวดารในเรื่องของภูมิสถานในสมัยกรุงศรีอยุธยา เลยแต่งให้นางเอกไปซื้อหมูที่ตลาดนี้

คนจีนเข้ามาในเมืองไทยตั้งแต่สมัยไหนไม่แน่ชัดแต่สมัยสุโขทัยก็ได้มีการนำเข้าช่างจีนมาทำเครื่องปั้นดินเผาแล้วทำให้เกิดเตาทุเรียงในสมัยนั้น สมัยพระบรมไตรโลกนาถ ซึ่งเป็นช่วงก่อนหน้าสมัยพระนารายณ์ราว ๒๐๐ กว่าปีก็มีกรมท่าซ้าย ที่มีพระยาโชฎึกราชเศรษฐี ซึ่งเป็นคนจีนคุมทุกสิ่งอย่างที่เกี่ยวกับจีนที่เข้ามา เมื่อมีชุมชนชาวจีนหมูพันธุ์ที่จีนนิยมกินจึงน่าจะถูกนำเข้ามาด้วย ดังนั้นจึงสันนิฐานได้ว่าเนื้อหมูมีมานานแล้วค่ะ

ในส่วนของข้อเท็จจริงเรื่องอาหารที่ชาวไทยสมัยกรุงศรีอยุธยานิยมกินนั้นมีบันทึกของบาทหลวงเล่าไว้ว่าจะนิยมกินปลาเพราะหาง่าย เนื้อหมูนี่ถือว่าหายากค่ะ และเป็นสัตว์ใหญ่คนไทยไม่นิยมฆ่ากินเพราะกลัวบาป


เรื่องการเลี้ยงหมูในสมัยอยุธยายังมีกำหนดไว้ในกฎหมายตราสามดวง พระไอยการเบดเสรจ มาตรา ๘ ความว่า

ผู้ใดเลี้ยงหมู ให้ใส่เล้าไว้อย่าให้ปล่อยให้ไปกินข้าวในนาผู้อื่น และผู้ที่ทำนาก็ให้รักษาล้อมรั้วไว้ให้มั่นคง ถ้าเจ้าของหมูไม่ได้รักษาหมูให้ดี ปล่อยให้ไปกินข้าว เจ้าของนาข้าวแทงหมูตาย กฎหมายว่าจะหาโทษมิได้

ถ้าเจ้าของหมูได้นำหมูใส่เล้าไว้แล้ว แต่เจ้าของข้าวมิได้ล้อมนาข้าวของตนเองไว้ และหมูนั้นหลุดออกมาจากเล้าไปกินข้าวในนาตน เจ้าของนาข้าวแทงตาย กฎหมายว่าให้ใช้ค่าหมู


จาก เอกสารของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (https://doi.nrct.go.th/ListDoi/Download/347879/5206b9e5c91ef62c626af22ac3103625?Resolve_DOI=10.14457/TU.the.2006.242) หน้า ๓๔ และ กฎหมายตราสามดวง เล่ม ๓ (http://web.finearts.go.th/chonburilibrary/หนังสืออิเล็กทรอนิกส์/book/1619.html?page=121) หน้า ๑๐๑

ขอบคุณมากๆ เลยค่ะคุณเพ็ญชมพู

หนูเข้าไปอ่านกระทู้ข้างล่างนี้เลยค่ะ

เปิบพิสดารสมัยอยุธยา (http://www.reurnthai.com/index.php?topic=442.0)
กับ
ขออนุญาตเรียนถามถึงอาหารของชาวบ้านภาคกลางในสมัยอยุธยาถึงรัตนโกสินทร์ตอนกลางค่ะ (http://www.reurnthai.com/index.php?topic=7050.0)

ไปตามอ่านมาแล้วค่ะ ได้ความรู้หลากหลายเหมือนกัน คิดสภาพไม่ออกเลยว่าถ้าตัวเองได้ไปอยู่ในยุคนั้นจริงๆ จะรอดได้เกินอาทิตย์รึเปล่า



กระทู้: ว่าด้วย "พรหมลิขิต" (ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ)
เริ่มกระทู้โดย: Rattananuch ที่ 22 ต.ค. 23, 15:51
เรื่องหมูๆไม่ค่อยสงสัยค่ะ แต่สงสัยในความไม่มีกาละเทศะของนางเอกที่ถามเรื่องพระนารายณ์ถูกวางยาพิษกลางเรือนและมีบ่าวไพร่นั่งหูผึ่งหน้าสลอน ซึ่งบ่าวไพร่ก็ต้องพูดปากต่อปากจนสะพัดไปทั้งเมือง สักวันก็ต้องเข้าหูพระเพทราชา ไม่กลัวพี่หมื่นโดนฟันคอริบเรือนหรือไร อุตส่าห์เรียนประวัติศาสตร์มานะแม่เกศสุรางค์ คุณศัลยานักเขียนบทชั้นครูไม่รู้สึกประหลาดบ้างหรือ


กระทู้: ว่าด้วย "พรหมลิขิต" (ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ)
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 22 ต.ค. 23, 18:35
แต่สงสัยในความไม่มีกาละเทศะของนางเอกที่ถามเรื่องพระนารายณ์ถูกวางยาพิษกลางเรือนและมีบ่าวไพร่นั่งหูผึ่งหน้าสลอน ซึ่งบ่าวไพร่ก็ต้องพูดปากต่อปากจนสะพัดไปทั้งเมือง สักวันก็ต้องเข้าหูพระเพทราชา ไม่กลัวพี่หมื่นโดนฟันคอริบเรือนหรือไร

จริง ๆ ก็ไม่สมควรถามต่อหน้าบ่าวไพร่ ถามกันส่วนตัวจะดีกว่า แต่จากในเรื่องดูเหมือนข่าวขุนหลวงถูกวางยาจะเป็นข่าวลือเรียบร้อยแล้วในกรุง ยายปริกก็นำมาประกาศให้เพื่อน ๆ บ่าวไพร่ทราบอีกทีหนึ่ง

ฉากตอนนี้ทำให้เบาลงด้วยนำการเมืองมาแกล้มด้วยการบ้าน ;D

https://youtu.be/DiNvQMB5nxY


กระทู้: ว่าด้วย "พรหมลิขิต" (ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ)
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 22 ต.ค. 23, 19:35
คำตอบต่อคำถามของยายปริก และ การะเกด (เกศสุรางค์) อาจอยู่ในคำให้การของ "ออกขุนโรจน์"

"แถลงการณ์" ของ ฌอง รีวาล (Déclaration de Jean Rival) ชาวฝรั่งเศส อดีตเจ้าเมืองบางคลีและตะกั่วทุ่งในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ ลงวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ค.ศ. ๑๖๙๑ (พ.ศ. ๒๒๓๓)  กล่าวถึงแผนการลอบปลงพระชนม์สมเด็จพระนารายณ์ที่อ้างว่ามาจากปากคำของ "ออกขุนโรจน์" (Ocounrot) ชาวเมืองนครศรีธรรมราช ให้การแก่รีวาลเมื่อวันที่ 1ฝ๑๘ กรกฎาคม ค.ศ. ๑๖๘๘ หลังสมเด็จพระนารายณ์สวรรคต ๑ สัปดาห์ (มีการแปลเป็นภาษาอังกฤษโดย ไมเคิล สมิทธีส์ (Michael Smithies) และติพิมพ์เป็นหนังสือในชื่อ ‘Witnesses to a Revolution: Siam 1688’)

"แถลงการณ์" อ้างคำให้การของ "ออกขุนโรจน์" ระบุว่า ดาเนียล บร็อชบูร์ด (Daniel Brochebourde) ศัลยแพทย์หลวงชาวฝรั่งเศส ลูกจ้างบริษัทอินเดียตะวันออกของดัตช์ (VOC) เป็นผู้ผสมยาพิษในพระโอสถที่นำขึ้นถวายสมเด็จพระนารายณ์ ซึ่งมีส่วนเร่งให้พระองค์สวรรคตเร็วขึ้น

"The king died at the same time. We have definite information that the Dutch were heavily involved in these revolutions, particularly a certain Daniel in their lodge, a native of Sedan, and surgeon by profession, a convinced heretic and disclosed enemy of the catholic religion and the French. It is also held by the same source for which there are testimonies that poison was added to a potion given to the king, which greatly hastened his death."

(พระมหากษัตริย์สวรรคตในเวลาเดียวกัน เรามีข้อมูลที่ชัดเจนว่า พวกดัตช์มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างมากในการปฏิวัตินี้ โดยเฉพาะนายดาเนียล ศัลยแพทย์ชาวเมืองเซดาน ผู้ประพฤตินอกรีตและศัตรูอย่างเปิดเผยต่อศาสนาคาทอลิกและชาวฝรั่งเศส แหล่งข่าวเดียวกันนี้ยังระบุว่ามีคำให้การว่าได้มีการผสมยาพิษลงในพระโอสถที่ถวายพระมหากษัตริย์ ซึ่งมีส่วนเร่งให้สวรรคตอย่างมาก)

หลักฐานชิ้นนี้ยังอ้างว่ามีการสมคบคิดร่วมกันระหว่าง ออกพระเพทราชา ออกหลวงสุรศักดิ์ ออกหมื่นเสมอใจ (Omvn ‘Cymoun chaya’)  โยฮันเนส เคยทส์ หัวหน้าสถานีการค้าของดัตช์ในสยาม รวมถึงดาเนียล วางแผนการยึดอำนาจและลอบปลงพระชนม์สมเด็จพระนารายณ์ โดยมีเคยทส์เป็นต้นคิด และดาเนียลเป็นผู้จัดเตรียมยาพิษถวาย  

"The said Ok-khun Rot declared and told us what follows,  that the 10th lunar day of the month of January in the year 1688, being in Luovo in the house of Ok-pra Pechracha, the Dutch captain and Daniel Moculuan came at night to the house of Ok-pra Pechracha and locked themselves in a room together, making me stay in the room near the door, and Ok-luang Sarasy, son of Ok-pra Pechracha asked the Dutch captain, ‘How are we going to undertake this affair?’ The Dutch captain replied to Daniel who served as his interpreter, ‘You must administer a slow poison to the king, and Daniel will prepare it, and Ok-muen Sri Muen Chaya, who is ever about the king, will give it to the king,"

(ออกขุนโรจน์ผู้นี้แถลงต่อพวกเราดังต่อไปนี้ ในวันที่ ๑๐ เดือนมกราคมของปี ๑๖๘๘ ขณะอยู่ที่ละโว้ ณ เรือนของออกพระเพทราชา กัปตันชาวดัตช์ [เคยทส์] และหมอหลวงดาเนียลได้มาที่เรือนของออกพระเพทราชาเวลากลางคืน และขังตนเองประชุมกันในห้อง โดยให้ข้าพเจ้าอยู่ในห้องใกล้ประตู และออกหลวงสุรศักดิ์ บุตรชายออกพระเพทราชาถามกัปตันชาวดัตช์ว่า ‘เราจะดำเนินการนี้เช่นไร’ กัปตันชาวดัตช์ตอบผ่านดาเนียล ผู้ทำหน้าที่เป็นล่ามของเขาว่า ‘ท่านต้องประกอบยาพิษที่ออกฤทธิ์ช้าถวายพระเจ้าอยู่หัว โดยดาเนียลจะจัดเตรียมให้ และออกหมื่นเสมอใจที่เฝ้าอยู่ใกล้ชิดพระเจ้าอยู่หัวอยู่เสมอจะเป็นผู้ทูลเกล้าฯ ถวาย…’)

"...and when the king will be under its influence, Ok-meun Sri Meun Chaya must give you the king’s seal. Above all, if Ok-pra Vitticamheng brings medicines to give to the king, Ok-meun Sri Meun Chaya must not give them to the king, only those which Daniel would give to him, so long as he could prevent Ok-pra Vitticamheng approaching the king"

(และเมื่อพระเจ้าอยู่หัวทรงตกอยู่ภายใต้พิษยา ออกหมื่นเสมอใจต้องนำพระราชลัญจกรมามอบให้ท่าน เหนือสิ่งอื่นใด หากออกพระฤทธิกำแหง [ฟอลคอน] นำพระโอสถมาถวาย ออกหมื่นเสมอใจจะต้องไม่นำขึ้นถวายพระเจ้าอยู่หัว ถวายเฉพาะที่ดาเนียลจัดให้ และต้องขัดขวางไม่ให้ออกพระฤทธิกำแหงได้เข้าเฝ้าพระเจ้าอยู่หัว)

นอกจากนี้ยังกล่าวถึงแผนการอีกหลายประการ เช่น การลอบโจมตีกองทหารฝรั่งเศส การกำจัดออกพระปีย์พระราชโอรสบุญธรรม ออกพระฤทธิคำแหง และพระอนุชาทั้งสอง รวมถึงสังหารชาวต่างประเทศได้แก่ชาวฝรั่งเศสและโปรตุเกสที่กรุงศรีอยุทธยา กับชาวมลายูและชาวมัวร์ที่บางกอกทั้งหมด รวมถึงอ้างคำสัญญาของผู้สำเร็จราชการเมืองปัตตาเวียว่าจะส่งเรือสองลำ กระสุนปืน และกองทหารเข้ามาเทียบท่าที่ปากน้ำในเดือนกันยายน

เมื่อต้น ค.ศ. ๑๖๘๙ เวเรต์ได้เขียนจดหมายถึง โคล้ด เซเบเรต์ (Claude Céberet) ราชทูตฝรั่งเศสที่เข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีกับสยามเมื่อ ค.ศ. ๑๖๘๗ โดยอ้างไว้ทำนองเดียวกันว่า ออกพระเพทราชา "ได้มีส่วนช่วยเหลือเล็กน้อยให้พระเจ้ากรุงสยามสวรรคต" โดยได้รับความช่วยเหลือจาก "ที่ปรึกษาชาวดัตช์ผู้เป็นที่รัก" ที่ให้การสนับสนุนด้วยการมอบ ทหารปืนใหญ่  ปืนใหญ่ ๑๘ กระบอก รวมถึงสิ่งอื่น ๆ ที่ไม่ทราบแน่ชัดอีก

อย่างไรก็ตาม ไม่มีหลักฐานอื่นยืนยันว่าคำให้การของออกขุนโรจน์นั้นเป็นความจริงทั้งหมด และไม่มีหลักฐานยืนยันชัดเจนว่ามีการปฏิบัติตามแผนดังกล่าวทั้งหมด  เพราะเมื่อเกิดการปฏิวัติแล้วก็ไม่ได้มีการสังหารหมู่ชาวต่างประเทศ หรือมีการส่งเรือของดัตช์มาที่ปากน้ำแต่ประการใด   นอกจากนี้พิจารณาจากท่าทีของฝรั่งเศสที่เป็นศัตรูกับดัตช์ในเวลานั้น จึงมีความเป็นไปได้ที่เรื่องดังกล่าวอาจเป็นเพียงข่าวลือหรือมีการใส่ร้ายป้ายสีกันได้ในช่วงเหตุการณ์ปฏิวัติครั้งนั้น

จาก วิพากย์ประวัติศาสตร์ (https://www.facebook.com/100068039213599/posts/pfbid0saWshvvm1GzcmqA8wmbw7v6riwMxmc1KvqEkQ3DmezfaLRVf8zyCe4dee3YQMUKwl/?mibextid=YHFMpa) โดย คุณศรีสรรเพชญ์


กระทู้: ว่าด้วย "พรหมลิขิต" (ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ)
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 24 ต.ค. 23, 08:21
หมอแดเนียล รักษาทุกโรค ผู้มีชื่อเสีย นั่นเอง


กระทู้: ว่าด้วย "พรหมลิขิต" (ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ)
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 24 ต.ค. 23, 11:50
   อย่่างน้อยก็รู้กันว่าการสวรรคตของสมเด็จพระนารายณ์ มีเงื่อนงำให้สงสัยได้ว่าผิดปกติ    แต่จะสวรรคตไปเองตามอาการของโรค หรือโดนวางยาพิษ  ก็คงยังยืนยันกันไม่ได้อยู่ดี


กระทู้: ว่าด้วย "พรหมลิขิต" (ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ)
เริ่มกระทู้โดย: พี่วรภัทรของพี่ชายใหญ่ ที่ 25 ต.ค. 23, 19:09
https://www.youtube.com/watch?v=SPY4wVx0HQg (https://www.youtube.com/watch?v=SPY4wVx0HQg)


กระทู้: ว่าด้วย "พรหมลิขิต" (ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ)
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 25 ต.ค. 23, 20:58
หมอแดเนียล แกดังมาตั้งแต่คดีท้าวศรีจุฬาลักษณ์ แล้วครับ


กระทู้: ว่าด้วย "พรหมลิขิต" (ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ)
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 26 ต.ค. 23, 09:35
ว่าด้วยเรื่องพันท้ายนรสิงห์

ในพรหมลิขิตตอนที่ ๓ พุดตานรู้สึกงงงันเป็นอย่างยิ่ง ที่บุคคลในประวัติศาสตร์สมัยพระเจ้าเสือซึ่งเคยเล่าเรียน ไม่มีใครรู้จักเสียอย่างนั้น

ตั้งแต่นาทีที่ ๓.๑๐

https://youtu.be/ciufSn2oQiY

ข้อเท็จจริงคือ หลักฐานลายลักษณ์อักษรที่เก่าแก่ที่สุดที่กล่าวถึงพันท้ายนรสิงห์ คือ "พระราชนิพนธ์พงศาวดารกรุงสยาม" (ตีพิมพ์ในชื่อ 'พระราชพงศาวดารกรุงสยามฉบับบริติชมิวเซียม') ซึ่งมีบานแพนกระบุว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกใน พ.ศ. ๒๓๕๐ โดยเป็นหนึ่งในความพิสดารหลายเรื่องที่ถูกเพิ่มเติมขึ้นในพงศาวดารฉบับนี้  ไม่ปรากฏในพงศาวดารที่มีอายุเก่าแก่กว่าหรือในหลักฐานอื่น ๆ ส่วนพงศาวดารฉบับอื่นที่ชำระหลังจากนี้บันทึกเรื่องพันท้ายนรสิงห์ไม่แตกต่างกัน

https://youtu.be/7CapHFnK6ew

เรื่องราวของพันท้ายนรสิงห์น่าจะเป็นเพียงตำนาน ซึ่งมาปรากฏในพงศาวดารในรัชกาลที่ ๑ ด้วยเหตุผลบางประการ ดังที่อาจารย์สุเนตรให้ความเห็นไว้


กระทู้: ว่าด้วย "พรหมลิขิต" (ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ)
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 26 ต.ค. 23, 10:06
การฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมในสมัยรัชกาลที่ 1   รวมถึงการค้นคว้ารวบรวมประวัติศาสตร์สมัยอยุธยาขึ้นมาใหม่   หลังจากของเก่าสูญหายไปเกือบหมดเมื่อครั้งเสียกรุง   ส่วนที่เหลือรอดมาได้ตามวัดวาอาราม หรือมีเจ้าของเชลยศักดิ์ (แปลว่าเอกชน) ก็ถูกนำมาชำระ รวบรวมไว้ด้วยกัน 
ทั้งนี้ รวมทั้งเรื่องที่เล่ากันปากต่อปากจากท้องถิ่นด้วย
เรียกว่าผู้ก่อตั้งอาณาจักรใหม่รวบรวมเรื่องในอดีตทั้งหมดเท่าที่จะหาได้   มาเป็นหลักฐาน   ท่านไม่ได้เลือกหลักฐานชั้นปฐมภูมิ ทุติยภูมิ อย่างตำราฝรั่ง  และไม่ได้แยกคติชาวบ้าน(folklore) ออกจากประวัติศาสตร์
ดังนั้นตัวละครที่ไม่ได้อยู่ในพงศาวดาร จึงถูกผนวกเข้ามาหลายรายด้วยกัน  พันท้ายนรสิงห์ก็เป็นหนึ่งในจำนวนนั้น 
ส่วนแม่นวล นางเอกของพันท้ายนรสิงห์ เพิ่งมาถือกำเนิดเมื่อปี 2488 โดยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล เมื่อนิพนธ์บทละครเวที "พันท้ายนรสิงห์"

ดิฉันเห็นต่างจากดร.สุเนตร ชุตินทรานนท์นิดหน่อย คือไม่ได้คิดว่าเรื่องพันท้ายนรสิงห์ถูกใครก็ตามที่ใส่เรื่องนี้เข้าไปในพงศาวดารฉบับบริติชมิวเซียม แต่งขึ้นเพื่อตำหนิติเตียนกษัตริย์อยุธยา    แต่คิดว่าพันท้ายนรสิงห์เป็นตำนานพื้นบ้านเล่าสืบต่อๆกันมา ในท้องถิ่นจ.อ่างทอง    ในรัชกาลที่ 1  บรรดานักปราชญ๋ราชบัณฑิตที่ไปสืบเสาะหาเรื่องเก่าๆจากชาวบ้านนำมาถวายเจ้านาย   ได้เก็บตำนานเรื่องนี้มาด้วย    ในเมื่อเรื่องนี้มีความสำคัญ เพราะเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจของกษัตริย์อย่างขุนหลวงสรศักดิ์    จึงได้ถูกบันทึกลงเป็นพงศาวดาร     เพราะในสมัยโบราณ เราไม่ได้แยกตำนานออกจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์อยู่แล้ว 
ดังนั้นพันท้ายนรสิงห์จึงกลายเป็นบุคคลในประวัติศาสตร์  ส่วนพระเจ้าเสือ เป็นหนึ่งในราชวงศ์บ้านพลูหลวงที่ถูกประณามว่าก่อเรื่องราวแย่งชิงราชบัลลังก์กันไม่ได้หยุด จนนำไปสู่การเสียกรุง  เมื่อมีพฤติกรรมอย่างในเรื่อง  จึงไม่ได้รับการเกรงใจจากผู้บันทึก   พันท้ายนรสิงห์ก็เลยกล่าวตักเตือนพระเจ้าแผ่นดินได้แบบไม่กลัวหัวขาดเจ็ดชั่วโคตร


กระทู้: ว่าด้วย "พรหมลิขิต" (ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ)
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 26 ต.ค. 23, 10:19
บุคคลในตำนาน อย่างพันท้ายนรสิงห์ นายขนมต้ม ศรีปราชญ์  นางสาวบุญเหลือ ฯลฯ มักจะถูกรวมไปกับบุคคลจริงในประวัติศาสตร์   ยิ่งมีการต่อเติมมากเท่าใดก็ยิ่งดูจริงจังมากขึ้นเท่านั้น   
   ส่วนทางยุโรป มีบุคคลในตำนานแบบนี้ไม่น้อยไปกว่ากัน  แต่เขาแยกออกจากบุคคลตัวจนจริงในประวัติศาสตร์   มักปรากฏในหนัง ละคร นิทานเด็ก  นวนิยาย มากกว่า เช่นพระเจ้าอาเธอร์กับอัศวินโต๊ะกลม   โรบินฮู้ด  โฮเมอร์(ผู้แต่งมหากาพย์อีเลียดกับโอดิสซี) เคานต์แดรกคูล่า   บางคนมีพื้นฐานมาจากตัวจริง เช่นโรบินฮู้ด  แต่แต่งเติมเสริมต่อเสียตัวจริงกลายเป็นคนละคนกับตัวในตำนาน


กระทู้: ว่าด้วย "พรหมลิขิต" (ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ)
เริ่มกระทู้โดย: พี่วรภัทรของพี่ชายใหญ่ ที่ 30 ต.ค. 23, 21:57
จดหมายของมองเซนเยอร์ เดอ ซีเซ ถึงมองซิเออร์เฮแบต์ เจ้าเมืองปอนดิเชอร์รี (พ.ศ.2257) ระบุว่า พระเจ้าท้ายสระทรงไว้วางพระทัยออกญาโกษาธิบดี (จีน) มาก และมอบหมายราชการงานเมืองให้โกษาจีนดูแล

- จดหมายของคณะบาทหลวงฝรั่งเศส แผ่นดินพระเจ้าท้ายสระ จากประชุมพงศาวดารภาคที่ 37 -


กระทู้: ว่าด้วย "พรหมลิขิต" (ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ)
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 01 พ.ย. 23, 10:35
ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ อิทธิพลของชาวจีนสูงมากยิ่งกว่าในสมัยพระเพทราชาและพระเจ้าเสือ มีพระคลังชาวจีนที่ปรากฏเรียกในพระราชพงศาวดารว่า "พระยาโกษาธิบดีจีน" หรือ "พระยาโกษาจีน" (สันนิษฐานว่าอาจเป็นคนเดียวกับออกญาสมบัติบาลในรัชกาลพระเจ้าเสือ) เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในราชสำนัก และเป็นที่โปรดปรานของทั้งพระเจ้าเสือและพระเจ้าท้ายสระ

มีการสันนิษฐานว่า "พระยาโกษาธิบดีจีน" ผู้นี้เป็นชาวฮกเกี้ยน (福建 ฝูเจี้ยน) ทางตอนใต้ของจีน เนื่องจากถูกกล่าวถึงในบันทึกรายวันที่ฟอร์ตเซนต์จอร์จ (Fort St. George) เมืองมัทราส (Madras) ในอินเดียว่า มีญาติเป็นขุนนางเมืองเอ้หมึง (廈門 เซี่ยเหมิน) ในมณฑลฮกเกี้ยน  ทั้งนี้ปรากฏหลักฐานว่า ไต้ก๋ง หรือนายสำเภาของสยามมักเป็นชาวจีนฮกเกี้ยนจากเอ้หมึง

มีคนสงสัยเยอะว่าทำไมคนจีนในละครพรหมลิขิตถึงยังไว้ผมมวยแบบชาวฮั่นสมัยราชวงศ์หมิง เพราะรัชสมัยพระเจ้าท้ายสระเป็นยุคราชวงศ์ชิงแล้ว จึงน่าจะโกนผมไว้เปียแบบแมนจูมากกว่า

ความจริงมีหลักฐานว่าชาวจีนโพ้นทะเลช่วงต้นราชวงศ์ชิงยังมีการไว้ผมมวยอยู่  เพราะชาวฮั่นจำนวนมากหนีแมนจูออกจากแผ่นดินใหญ่เพราะไม่ยอมตัดผมเพราะผิดหลักความกตัญญูตามจารีตขงจื่อ  แล้วมาตั้งรกรากที่ญี่ปุ่น ไต้หวัน หรือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หลายประเทศ

จีนโพ้นทะเลเหล่านี้ไม่ได้อยู่ใต้อำนาจราชวงศ์ชิง จึงไม่มีความจำเป็นต้องโกนผมไว้เปียแบบต้าชิง ยังสามารถไว้ผมแต่งกายตามแบบฮั่นได้

ข้อมูลจาก  วิพากษ์ประวัติศาสตร์ โดย คุณศรีสรรเพชญ์

[๑) โกษาธิบดีจีนและอิทธิพลชาวจีนในรัชกาลพระเพทราชาถึงพระเจ้าท้ายสระ (https://www.facebook.com/1046096062120530/posts/pfbid0HNB1NH4zcAy7WS1hkuQTH8RXoTh2PqnCUj4aDcXZRXYv9ckRENEDa5wR13c3SENyl/?mibextid=YHFMpa)
(๒) เปีย หรือ มวย ทรงผมและการแต่งกายของชาวจีนในสยามช่วงต้นราชวงศ์ชิง (https://www.facebook.com/1046096062120530/posts/pfbid0jCKNgUXKyihsCZhX3w3socrMp2PkuemrGASvenpGY7VNZUYDYop8YYP324WLf2hUl/?mibextid=YHFMpa)

https://youtu.be/djzulp63HgY


กระทู้: ว่าด้วย "พรหมลิขิต" (ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 01 พ.ย. 23, 12:04
           การขึ้นครองราชย์ของพระเจ้าท้ายสระ จาก ศิลปวัฒนธรรม ฉบับมกราคม 2554 (ปวัตร์ นวะมะรัตน) ระบุว่า
           สมเด็จพระเจ้าเสือ เกิดมีเหตุขัดเคืองพระราชหฤทัยกับ เจ้าฟ้าเพชร พระราชโอรส ซึ่งขณะนั้นดํารงตําแหน่งเป็น กรมพระราชวังบวรฯ วังหน้า
จึงตรัสมอบราชสมบัติให้กับ เจ้าฟ้าพร พระราชโอรสอีกองค์หนึ่ง แต่พอสมเด็จพระเจ้าเสือเสด็จสวรรคตแล้ว เจ้าฟ้าพรกลับถวายราชสมบัติคืนให้
กรมพระราชวังบวรฯ ตามเดิม
          (ต่อมาเมื่อผลัดแผ่นดิน ก็เกิดเหตุเจ้าฟ้าพรชิงราชสมบัติกับโอรสองค์รองของพระเจ้าท้ายสระ
           https://www.silpa-mag.com/history/article_119931)        


กระทู้: ว่าด้วย "พรหมลิขิต" (ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ)
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 01 พ.ย. 23, 12:35
สมเด็จพระเจ้าเสือ เกิดมีเหตุขัดเคืองพระราชหฤทัยกับ เจ้าฟ้าเพชร พระราชโอรส ซึ่งขณะนั้นดํารงตําแหน่งเป็น กรมพระราชวังบวรฯ วังหน้า จึงตรัสมอบราชสมบัติให้กับ เจ้าฟ้าพร พระราชโอรสอีกองค์หนึ่ง แต่พอสมเด็จพระเจ้าเสือเสด็จสวรรคตแล้ว เจ้าฟ้าพรกลับถวายราชสมบัติคืนให้กรมพระราชวังบวรฯ ตามเดิม

สามหนุ่มอยุธยาคุยกันเรื่องเจ้านาย นาทีที่ ๑.๔๐-๓.๓๐

https://youtu.be/ixFK_zaVpRA

เรื่องนี้ไม่ปรากฏในพระราชพงศาวดารของไทยฉบับใดเลย หลายฉบับยังระบุตรงกันว่าเมื่อสมเด็จพระเจ้าเสือประชวรนักจวนจะสวรรคต "จึ่งทรงพระกรรุณาโปรฎมอบเวรราชสมบัด  ให้แก่สมเดจ์พระเจ้าลูกเธ่อกรมพระราชวังบวรสถารมงคล" คือยกราชสมบัติให้สมเด็จพระเจ้าท้ายสระ

แต่เรื่องนี้ปรากฏในหลักฐานต่างประเทศคือ "Histoire Civile Et Naturelle Du Royaume De Siam: Et Des Révolutions Qui Ont Bouleversé Cet Empire Jusquén 1770" ของ ฟร็องซัวร์-อ็องรี ตุรแปง (François Henri Turpin) นักเขียนชาวฝรั่งเศส ซึ่งเรียบเรียงจากจดหมายเหตุของ ปีแยร์ บรีโกต์ (Pierre Brigot) สังฆราชแห่งตาบรากา (Évêque in partibus de Tabraca) ประมุขมิสซังสยามคนสุดท้ายในสมัยกรุงศรีอยุทธยา   ร่วมกับจดหมายเหตุและบันทึกประวัติศาสตร์สยามของชาวต่างประเทศอีกหลายชิ้น  ตีพิมพ์ครั้งแรกใน ค.ศ. ๑๗๗๑ (พ.ศ. ๒๓๑๔)

ตุรแปงบันทึกเรื่องนี้ไว้ว่า  

"The heir of Pitracha had several son and as he was displeased with the eldest, he nominated the second as heir to the throne. This man showed that he was really worthy of the crown by his refusal to accept the succession to the detriment of his elder brother. He only made one condition and that was in case the elder were to predecease him,  the succession should devolve on himself. The elder received the heritage of his father and the younger was declared Crown Prince, that is to say heir-presumtive to the throne.

 The new King had several children and misled by parental affection, showed none of that generous nature of which his brother had given so noble an example."

"รัชทายาทของเพทราชา [พระเจ้าเสือ] ทรงมีพระราชโอรสหลายพระองค์ ด้วยเหตุที่พระองค์ไม่พอพระทัยในพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ พระองค์จึงโปรดให้พระราชโอรสองค์ที่สองเป็นรัชทายาท พระราชโอรสพระองค์นี้ทรงแสดงให้เห็นว่าพระองค์ทรงคู่ควรกับราชสมบัติอย่างแท้จริงด้วยการปฏิเสธที่จะสืบราชสมบัติด้วยการทำร้ายพระเชษฐา พระองค์ทรงมีเงื่อนไขประการเดียวคือหากพระเชษฐาสวรรคตไปก่อนพระองค์ ราชสมบัติจึงจะตกเป็นของพระองค์ เงื่อนไขนี้ได้รับการยอมรับ  พระเชษฐาจึงได้รับสืบทอดราชสมบัติของพระราชบิดา ส่วนพระอนุชาทรงได้รับการสถาปนาเป็นพระมหาอุปราชหรือรัชทายาทผู้สืบราชสมบัติ  

พระเจ้าแผ่นดินพระองค์ใหม่ทรงมีพระราชโอรสและพระราชธิดาหลายพระองค์ และด้วยเหตุที่ทรงถูกชักนำให้เข้าพระทัยผิดในความรักของพระราชบิดาและพระราชมารดา จึงทำให้ไม่ทรงมีน้ำพระทัยกว้างขวางดุจดังพระอนุชาที่ทรงประพฤติตนอย่างสูงส่งเป็นแบบอย่าง"

จาก วิพากษ์ประวัติศาสตร์ (https://www.facebook.com/100068039213599/posts/pfbid048khqNBnntutXGiM1Z5dQQdQ3Y3viresEp2N7EhhY12nXN3FfbS1CibsRgSJsB6Nl/?mibextid=YHFMpa) โดย คุณศรีสรรเพชญ์


กระทู้: ว่าด้วย "พรหมลิขิต" (ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ)
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 02 พ.ย. 23, 09:35
ว่าด้วยเรื่องชื่อราชวงศ์บ้านพลูหลวง

https://youtu.be/2OvLC_DwEBM

ที่ 'พ่อริด' ไม่รู้จัก "ราชวงศ์บ้านพลูหลวง" เพราะชื่อนี้เพิ่งมีใช้เรียกกันในรัชกาลที่ ๖ นี้เอง ;D

คุณศรีสรรเพชญ์อธิบายใน วิพากษ์ประวัติศาสตร์ (https://www.facebook.com/1046096062120530/posts/pfbid0N3fqtacvDD8jwCEyqWJ4EfPY9DApU5U94m27FTih9YFuCFxjufJXUg1GKNYNEXGhl/?mibextid=YHFMpa) ว่า

ในสมัยรัชกาลที่ ๖ ปรากฏใน "ศักราชรัชกาลครั้งกรุงศรีอยุธยาตามที่สอบใหม่" พระนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ  ได้แบ่งราชวงศ์กษัตริย์อยุทธยาใหม่เป็น ๕ ราชวงศ์ ได้แก่   เชียงราย สุวรรณภูมิ์ ศุโขไทย ปราสาททอง บ้านพลูหลวง

ปัจจุบันราชวงศ์ทั้ง ๕ ถูกเรียกว่าราชวงศ์อู่ทอง สุพรรณภูมิ สุโขทัย ปราสาททอง บ้านพลูหลวง

ชื่อ "ราชวงศ์บ้านพลูหลวง" สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงตั้งขึ้นสำหรับราชวงศ์ของสมเด็จพระเพทราชา  โดยทรงอธิบายว่า "หนังสือพระราชพงษาวดารว่าสมเด็จพระเพทราชาเปนชาวบ้านพลูหลวง จึงเรียกราชวงษ์บ้านพลูหลวง"

นอกจากนี้ทรงเปลี่ยนพระมหากษัตริย์ตั้งแต่สมเด็จพระเจ้าเสือมาจนเสียกรุงซึ่งเคยถูกจัดอยู่ในราชวงศ์ปราสาททอง มาอยู่ราชวงศ์บ้านพลูหลวงทั้งหมด เพราะเมื่อตรวจสอบหลักฐานร่วมสมัยแล้ว ไม่ทรงเชื่อว่าสมเด็จพระเจ้าเสือเป็นพระโอรสลับของสมเด็จพระนารายณ์ตามที่พระราชพงศาวดารสมัยรัตนโกสินทร์กล่าวอ้าง

"สมเด็จพระเจ้าเสือนี้ หนังสือพระราชพงษาวดารนับในราชวงษ์ปราสาททองด้วยยอมรับว่าเปนราชโอรสลับของสมเด็จพระนารายน์มหาราช ผู้ศึกษาโบราณคดีชั้นหลังได้ตรวจดูจดหมายเหตุครั้งสมเด็จพระนารายน์ แลพิเคราะห์เรื่องราวซึ่งปรากฏในครั้งนั้น ไม่มีเหตุอันใดที่ควรเชื่อว่าอยู่ในราชวงษ์ปราสาททอง ข้าพเจ้าเห็นควรนับในราชวงษ์บ้านพลูหลวงตลอดมาทุกพระองค์จนสิ้นกรุงเก่า"

การกำหนดชื่อราชวงศ์ของนักประวัติศาสตร์แบบในปัจจุบันจึงเป็นเพียงสิ่งที่สมมติขึ้นเท่านั้น ไม่เคยพบหลักฐานการใช้งานจริงในสมัยกรุงศรีอยุทธยา

คำว่า "ราชวงศ์บ้านพลูหลวง" เป็นชื่อที่ตั้งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๖ และไม่เคยปรากฏในหลักฐานลายลักษณ์อักษรสมัยกรุงศรีอยุทธยาแม้แต่ชิ้นเดียว  


กระทู้: ว่าด้วย "พรหมลิขิต" (ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 04 พ.ย. 23, 11:34
             ความละม้ายคล้ายคลึงโยงถึงบิดาและบุตร หมายถึง พระเจ้าเสือและพระเจ้าท้ายสระ

           มหาชัย ชื่อคลองและตำบลในสมุทรสาครนั้น พระเจ้าเสือ รับสั่งให้ขุดขึ้น เพื่อลดความคดเคี้ยวของ “คลองโคกขาม”
(ที่เกิดเป็นตำนานหรือนิทาน พันท้ายนรสิงห์*)  โดยเริ่มขุดในปี 2248 ถึงปี 2251 ซึ่งเป็นปีสุดท้ายในรัชกาลแต่ยังไม่แล้วเสร็จ
พระเจ้าเสือเสด็จสวรรคตเสียก่อน
          ต่อมาในปี 2264 พระเจ้าท้ายสระ เสด็จประพาสปากอ่าวสาครบุรี (ปากแม่น้ำท่าจีน) ทอดพระเนตรเห็นคลองที่ขุดยังไม่แล้วเสร็จ
จึงมีรับสั่งให้พระราชสงครามเป็นนายกองเกณฑ์คนหัวเมืองปักษ์ใต้ 8 หัวเมือง ขุดต่อให้แล้วเสร็จ ใช้เวลาขุดประมาณ 2 เดือน เมื่อขุดเสร็จแล้ว
พระราชทานชื่อว่า “คลองมหาชัย”

https://www.silpa-mag.com/history/article_60210

       พระเจ้าเสือ (มีบันทึกว่า) ทรงโปรดการฆ่าสัตว์และมีนิสัยโหดเหี้ยม จนได้รับฉายาว่า “เสือ”** แต่ยังมีกษัตริย์อีกพระองค์หนึ่ง
ที่โปรดฆ่าสัตว์ไม่ต่างกัน นั่นคือ พระเจ้าท้ายสระ พระโอรสของพระเจ้าเสือ ดังปรากฏใน ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 82 เรื่อง
พระราชพงศาวดารกรุงสยาม จากต้นฉบับของ บริติชมิวเซียมกรุงลอนดอน หน้า 310-311 ซึ่งกล่าวถึงพระอุปนิสัยของ
พระเจ้าท้ายสระ ว่าโปรดการล่าสัตว์มาก โดยมักฆ่าสัตว์นานาชนิด ไม่ว่าจะเป็น ปลา นก รวมไปถึงช้าง

https://www.silpa-mag.com/history/article_120400

* ตำนานพันท้ายนรสิงห์ - https://www.silpa-mag.com/history/article_121021
** ประเด็น พระอุปนิสัยของพระเจ้าเสือ ได้วิเคราะห์กันแล้วมีแนวโน้มว่าเป็นเรื่องแต่งในยุคหลังเพื่อประกอบเข้า
เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เห็นว่าอยุธยาตอนปลายนั้นเสื่อมลงจนต้องเสียกรุงในที่สุด


กระทู้: ว่าด้วย "พรหมลิขิต" (ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ)
เริ่มกระทู้โดย: พี่วรภัทรของพี่ชายใหญ่ ที่ 05 พ.ย. 23, 01:06
ว่าด้วยเรื่องชื่อราชวงศ์บ้านพลูหลวง

https://youtu.be/2OvLC_DwEBM

ที่ 'พ่อริด' ไม่รู้จัก "ราชวงศ์บ้านพลูหลวง" เพราะชื่อนี้เพิ่งมีใช้เรียกกันในรัชกาลที่ ๖ นี้เอง ;D

คุณศรีสรรเพชญ์อธิบายใน วิพากษ์ประวัติศาสตร์ (https://www.facebook.com/1046096062120530/posts/pfbid0N3fqtacvDD8jwCEyqWJ4EfPY9DApU5U94m27FTih9YFuCFxjufJXUg1GKNYNEXGhl/?mibextid=YHFMpa) ว่า

ในสมัยรัชกาลที่ ๖ ปรากฏใน "ศักราชรัชกาลครั้งกรุงศรีอยุธยาตามที่สอบใหม่" พระนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ  ได้แบ่งราชวงศ์กษัตริย์อยุทธยาใหม่เป็น ๕ ราชวงศ์ ได้แก่   เชียงราย สุวรรณภูมิ์ ศุโขไทย ปราสาททอง บ้านพลูหลวง

ปัจจุบันราชวงศ์ทั้ง ๕ ถูกเรียกว่าราชวงศ์อู่ทอง สุพรรณภูมิ สุโขทัย ปราสาททอง บ้านพลูหลวง

ชื่อ "ราชวงศ์บ้านพลูหลวง" สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงตั้งขึ้นสำหรับราชวงศ์ของสมเด็จพระเพทราชา  โดยทรงอธิบายว่า "หนังสือพระราชพงษาวดารว่าสมเด็จพระเพทราชาเปนชาวบ้านพลูหลวง จึงเรียกราชวงษ์บ้านพลูหลวง"

นอกจากนี้ทรงเปลี่ยนพระมหากษัตริย์ตั้งแต่สมเด็จพระเจ้าเสือมาจนเสียกรุงซึ่งเคยถูกจัดอยู่ในราชวงศ์ปราสาททอง มาอยู่ราชวงศ์บ้านพลูหลวงทั้งหมด เพราะเมื่อตรวจสอบหลักฐานร่วมสมัยแล้ว ไม่ทรงเชื่อว่าสมเด็จพระเจ้าเสือเป็นพระโอรสลับของสมเด็จพระนารายณ์ตามที่พระราชพงศาวดารสมัยรัตนโกสินทร์กล่าวอ้าง

"สมเด็จพระเจ้าเสือนี้ หนังสือพระราชพงษาวดารนับในราชวงษ์ปราสาททองด้วยยอมรับว่าเปนราชโอรสลับของสมเด็จพระนารายน์มหาราช ผู้ศึกษาโบราณคดีชั้นหลังได้ตรวจดูจดหมายเหตุครั้งสมเด็จพระนารายน์ แลพิเคราะห์เรื่องราวซึ่งปรากฏในครั้งนั้น ไม่มีเหตุอันใดที่ควรเชื่อว่าอยู่ในราชวงษ์ปราสาททอง ข้าพเจ้าเห็นควรนับในราชวงษ์บ้านพลูหลวงตลอดมาทุกพระองค์จนสิ้นกรุงเก่า"

การกำหนดชื่อราชวงศ์ของนักประวัติศาสตร์แบบในปัจจุบันจึงเป็นเพียงสิ่งที่สมมติขึ้นเท่านั้น ไม่เคยพบหลักฐานการใช้งานจริงในสมัยกรุงศรีอยุทธยา

คำว่า "ราชวงศ์บ้านพลูหลวง" เป็นชื่อที่ตั้งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๖ และไม่เคยปรากฏในหลักฐานลายลักษณ์อักษรสมัยกรุงศรีอยุทธยาแม้แต่ชิ้นเดียว  

บ้านพลูหลวง ก็มีประเด็น

https://www.youtube.com/watch?v=2mmjup7mjT4 (https://www.youtube.com/watch?v=2mmjup7mjT4)


กระทู้: ว่าด้วย "พรหมลิขิต" (ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ)
เริ่มกระทู้โดย: พี่วรภัทรของพี่ชายใหญ่ ที่ 05 พ.ย. 23, 01:53
เรื่องพระเพทราชาเป็นชาวบ้านพลูหลวง

เรื่องนี้ปรากฏในพระราชพงศาวดารฉบับที่ชำระในสมัยต้นกรุงเทพฯ ยกตัวอย่าง พระราชพงศาวดาร ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพน


กระทู้: ว่าด้วย "พรหมลิขิต" (ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ)
เริ่มกระทู้โดย: พี่วรภัทรของพี่ชายใหญ่ ที่ 05 พ.ย. 23, 02:07
แต่ในหลักฐานชาวต่างประเทศกลับระบุว่า

1. พระเพทราชาเป็นเชื้อพระวงศ์
2. น้องสาวของพระเพทราชาเป็นพระสนมของสมเด็จพระนารายณ์ (อาจหมายถึงท้าวศรีจุฬาลักษณ์ ที่ตอนหลังมีกรณีกับเจ้าฟ้าน้อย จนถูกสำเร็จโทษโยนให้เสือกิน)
3. แม่ของพระเพทราชาเป็นแม่นมของสมเด็จพระนารายณ์
4. บางหลักฐานระบุถึงขั้นว่า แม่ของพระเพทราชาเป็นพี่สาวของสมเด็จพระนารายณ์

ถ้าเป็นเช่นนั้น พระเพทราชาก็อาจจะไม่ใช่ชาวบ้านพลูหลวง แขวงเมืองสุพรรณบุรี แต่ก็เป็นไปได้อยู่ว่า ตระกูลทางพ่อของพระเพทราชาที่ทำงานในกรมพระคชบาล อาจจะมาจากสุพรรณ

ที่แน่ ๆ ไม่ว่าพระเพทราชาจะเป็นเชื้อพระวงศ์หรือไม่ พระเพทราชาก็เป็นคนอยุธยา เกิดในกรุงศรีอยุธยานี่แหละ

ถ้าเปรียบเทียบกับปัจจุบัน พ่อเป็นคนนครศรีธรรมราช แม่เป็นคนนครราชสีมา เมื่อมาได้กันที่กรุงเทพฯ ลูกออกมาก็เป็นคนกรุงเทพฯ ตามภูมิลำเนา หาใช่คนนครหรือคนโคราชไม่


กระทู้: ว่าด้วย "พรหมลิขิต" (ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ)
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 05 พ.ย. 23, 09:35
ในหนังสือ "จดหมายเหตุ ลา ลูแบร์ ราชอาณาจักรสยาม" แปลโดย สันต์ ท. โกมลบุตร ได้กล่าวถึงพระเพทราชาว่า

"ออกพระพิพิธราชา ซึ่งเรียกกันให้เพี้ยนไปว่า เพทราชา (Petratcha) เป็นผู้บังคับบัญชาเหล่าช้างเหล่าม้าทั้งปวงอยู่ และนับว่าเป็นกรมใหญ่โตกรมหนึ่งแห่งราชอาณาจักร ด้วยว่าช้างนั้นเป็นตัวกำลังสำคัญของสมเด็จพระเจ้ากรุงสยาม...ตระกูลของท่านได้รับราชการสืบกันมาช้านานในตำแหน่งอันสูงส่ง และมีความสัมพันธ์กับราชบัลลังก์อยู่เนือง ๆ และมีผู้คนได้โจษขานกันอย่างเปิดเผยว่า ตัวท่านเองหรือออกหลวงสุรศักดิ์ (Oc-Loüang Sourasac) บุตรของท่านอาจอ้างสิทธิ์ในราชบัลลังก์ได้อยู่ หากว่าคนใดคนหนึ่งยังมีชีวิตอยู่ เมื่อพระมหากษัตริย์ซึ่งผ่านพิภพ อยู่ในปัจจุบันนี้เสด็จสวรรคตแล้ว มารดาของออกพระพิพิธราชานั้น เป็นพระนมของพระมหากษัตริย์รัชกาลปัจจุบัน"

ภาพในละคร "บุพเพสันนิวาส" (ภาคแรกของพรหมลิขิต ;D) พระเพทราชาเกล้าผมมวยสูงเหมือนสมเด็จพระนารายณ์ ห้อยสังวาลย์ นั่งแท่นไม่ต้องหมอบกราบเหมือนขุนนางอื่น ก็ดูเหมือนจะสื่อในทราบถึงความเป็น "เจ้า" ของพระเพทราชาเป็นนัย ๆ


กระทู้: ว่าด้วย "พรหมลิขิต" (ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ)
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 06 พ.ย. 23, 07:02
คุณเจ้าของกระทู้ไปโพสกระทู้แยก  แต่ดิฉันเห็นว่าควรจะนำมารวมกัน จึงย้ายมาที่นี่ค่ะ

กระทู้นี้จะว่าด้วยเรื่องเจ้าฟ้าพร หรือสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
ซึ่งจะแยกจากกระทู้ก่อนหน้าที่เป็นเรื่องสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ

ซึ่งเรื่องราวของเจ้าฟ้าพร จนถึงตอนขึ้นราชย์
มีหลายเรื่องที่สำคัญ ในฐานะ "ยุคทองปลายอยุธยา" และ "ยุคบ้านเมืองยังดี"

และพยายามนำเสนอเรื่องแปลก ๆ เรื่องที่หลายคนไม่ทราบ และเรื่องเข้าใจผิด-ข้อเท็จจริงบางประการ
ถือเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้กับทุกท่านในนี้ และจะได้นำเสนอกว้างขวางต่อไป


กระทู้: ว่าด้วย "พรหมลิขิต" (ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ)
เริ่มกระทู้โดย: พี่วรภัทรของพี่ชายใหญ่ ที่ 06 พ.ย. 23, 21:12
มรณกรรมของบุตรชายฟอลคอนที่เกิดกับมาดามคอนสตันซ์ (ท้าวทองกีบม้า)

จดหมายของมองซิเออร์เกตีถึงมองเซนเยอร์เมโกร
ลงวันที่ 3 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1711 (พ.ศ.2254)

ระบุว่า บุตรชายฟอลคอนและท้าวทองกีบม้าได้ถึงแก่กรรมเมื่อ ค.ศ.1709 (พ.ศ.2252) ปีแรกในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ


กระทู้: ว่าด้วย "พรหมลิขิต" (ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ)
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 07 พ.ย. 23, 09:35
จอร์จ ฟอลคอนเสียชีวิต

https://youtu.be/Q4mRDGSSuzI

พรหมลิขิตตอนนี้มีผู้ถกเถียงกันมากว่าตรงตามประวัติศาสตร์หรือไม่ หลักฐานในเรื่องนี้มีอยู่ ๒ ทาง คือ

(๑) หลักฐานชั้นต้น อยู่ใน จดหมายเหตุของคณะบาทหลวงฝรั่งเศส ซึ่งเข้ามาตั้งครั้งกรุงศรีอยุธยา ครั้งแผ่นดินพระเจ้าเสือและแผ่นดินพระเจ้าท้ายสระ (https://th.m.wikisource.org/wiki/ประชุมพงศาวดาร_ภาคที่_๓๗) เป็น จดหมายของมองซิเออร์เกดีถึงมองเซนเยอร์เมโกร เมืองปอนดีเชอรี ลงวันที่ ๓ เดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. ๑๗๑๑ (พ.ศ. ๒๒๕๔) ระบุว่า บุตรชายของคอนสแตนติน ฟอลคอน (จอร์จ ฟอลคอน) เสียชีวิตใน พ.ศ. ๒๒๕๒ อันเป็นปีแรกในรัชสมัยของพระเจ้าท้ายสระ

๒๑ "ได้จัดการให้ข้าพเจ้าได้เดิรทางต่อไป โดยมีเรือของแขกอามเนียคน ๑ ชื่อเซซาเดอเลตัวล์เปนเพื่อนของเรา ได้หนีพายุเข้าอาศรัยใน เมืองมริดยอมจะไปส่งข้าพเจ้าที่ฝั่ง (Cote) ครั้นข้าพเจ้าได้ไปเมือง ปอนดีเชรี ก็ได้ไปหาเชอวาเลียเฮแบต์เพื่อส่งจดหมายของมองเซน เยอร์เดอซาบูล และเพื่อจะพูดด้วยปากถึงข้อความที่ได้กล่าวมาข้างต้นนี้แล้ว และจะพูดถึงเรื่องเงินของบุตร์มองซิเออร์คอนซตันซ์ ซึ่งได้ถึงแก่กรรมเมื่อปี ค.ศ. ๑๗๐๙ (พ.ศ. ๒๒๕๒) และซึ่งมาดามคอนซตันซ์จะต้องการ เพราะตัวเปนคนยากจนด้วย"

(๒) หลักฐานชั้นหลัง อยู่ในบทความเรื่อง An Early British Merchant in Bangkok (https://thesiamsociety.org/wp-content/uploads/2020/02/JSS_011_2c_Moore_EarlyBritishMerchantInBangkok.pdf) โดย Adey R. Moore  ซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร Journal of the Siam Society Vol. 11.2 1914-15 กล่าวถึงสาแหรกของแองเจลินา ทรัพย์ (Angelina Sap) ภรรยาของโรเบิร์ต ฮันเตอร์ (Robert Hunter) นายห้างอังกฤษสมัยรัชกาลที่ ๓  และระบุว่าลูกชายของ คอนสแตนติน ฟอลคอน (จอร์จ ฟอลคอน) ได้เป็นกัปตันเรือซึ่งเป็นทูตไปเมืองปอนดิเชอร์รี แต่งงานกับหญิงชาวโปรตุเกส มีลูกชายคนเดียวชื่อ จอห์น (John) และมีลูกสาวอีกหลายคน เสียชีวิตใน ค.ศ. ๑๗๕๔ (พ.ศ. ๒๒๙๗)


กระทู้: ว่าด้วย "พรหมลิขิต" (ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ)
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 07 พ.ย. 23, 09:35
คุณรอมแพง (https://m.facebook.com/story.php/?id=100044394580734&story_fbid=868917231264755) เชื่อถือหลักฐานในข้อ (๑) ส่วนบรรดาออเจ้าซึ่งยังคงอาลัย  'พี่จ๊อด' คงอยากให้เป็นไปตามหลักฐานข้อ (๒) มากกว่า ;D


กระทู้: ว่าด้วย "พรหมลิขิต" (ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ)
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 14 พ.ย. 23, 09:35
ว่าด้วยหอกลอง

เริ่มนาทีที่ ๒.๓๐

https://youtu.be/V19dquNTM0c

คุณหมื่นริด บรรยายความตามบันทึกใน คำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม (https://vajirayana.org/คำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม-เอกสารจากหอหลวง)

"อนึ่งที่ถนนตะแลงแกงมีหอกลอง มียอดซุ้มทาแดงหอกลองนั้นทำเปนสามชั้นสูงสามสิบวาแต่ชั้นยอดนั้นคอยดูฃ้าศึกมาจึ่งตีกลอง ๆ ชื่อ พระมหาฤกษ กลองชั้นกลางสำหรับตีด้วยเมื่อเพลิงไหม้ ชื่อพระมหาระงับดับเพลิง ถ้าเพลิงไหม้ฟากฝั่งแม่น้ำนอกกรุงคาดกลองสามที ถ้าเพลิงไหม้เชิงกำแพงแลในพระนครคาดกลองเสมอกว่าเพลิงจะดับ ชั้นต้นใส่กลองใหญ่สำหรับตีย่ำเที่ยงย่ำสันนิบาต เวลาตระวันยอแสงพลบค่ำตามประเพณีกรุงศรีอยุทธยา กลองชั้นต้นชื่อพระทิวาราตรี เจ้าพนักงานกรมพระนครบาล ได้พิทักษรักษากลองทั้งสามชั้น ผู้รักษาต้องเลี้ยงวิฬาป้องกันมิให้มุสิกะกัดกลอง เวลาเช้าเยน กรมพระนครบาล เกบเบี้ยตามร้านตลาดน่าคุก แต่ในจำหล่อไปจนหอกลาง เอาร้านละ ๕ เบี้ย สำหรับมาซื้อปลาย่างให้วิฬากิน"

น่าสนใจตรงมีการเลี้ยงแมวไว้ป่องกันไม่ให้หนูมากัดกลองนี้แล ;D


กระทู้: ว่าด้วย "พรหมลิขิต" (ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ)
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 14 พ.ย. 23, 10:35
พุดตานน่าจะพอมีโอกาสเห็นหอกลองในยุคปัจจุบันอยู่บ้าง ;D

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้สร้างหอกลองขึ้นใหม่เมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๕  ที่บริเวณป่าช้า หน้าวัดโพธาราม (ต่อมาคือ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม) ที่ดินบริเวณที่สร้างหอกลองเรียกว่าสวนเจ้าเชต (ปัจจุบันคือบริเวณที่ตั้งกรมการรักษาดินแดน)  

หอกลองนี้มีลักษณะเป็นอาคารทำด้วยไม้สูง ๓ ชั้น ไม่มีฝากั้น รูปทรงสูงชะลูดขึ้นไป หลังคาทำเป็นรูปมณฑป ในอาคารตั้งกลองสำคัญ ๓ ใบ คือ กลองย่ำพระสุริย์ศรี เป็นกลองขนาดใหญ่ มีเส้นผ่านศูนย์กลาง ๘๒ เซนติเมตร ตั้งอยู่ชั้นล่าง ใช้ตีบอกโมงยามเพื่อให้ราษฎรที่อาศัยอยู่ภายในกำแพงพระนครทราบเวลา กลองอัคคีพินาศ เป็นกลองขนาดกลาง มีเส้นผ่านศูนย์กลาง ๖๐ เซนติเมตร ตั้งอยู่ชั้นที่ ๒ ใช้ตีเป็นสัญญาณให้ราษฎรทราบว่าเกิดไฟไหม้ขึ้น กลองพิฆาตไพรี เป็นกลองขนาดเล็ก มีเส้นผ่านศูนย์กลาง ๔๔ เซนติเมตร ตั้งอยู่ชั้นที่ ๓ ใช้ตีเป็นสัญญาณว่าข้าศึกยกทัพมาประชิดพระนคร ปรากฏว่ากลองใบที่ ๓ นี้ไม่เคยใช้ตีเลยเพราะไม่เคยมีข้าศึกยกทัพมาประชิดชานพระนคร

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ซ่อมแซมและปรับปรุงอาคารหอกลองนี้  ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้รื้อหอกลองและย้ายกลองทั้ง ๓ ใบไปไว้ที่หอริมประตูเทวาพิทักษ์ในพระบรมมหาราชวัง และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้นำกลองทั้ง ๓ ใบมาจัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนคร (ปัจจุบันคือพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร)  

ต่อมา เมื่อมีการจัดงานเฉลิมฉลองสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ครบ ๒๐๐ ปี พ.ศ. ๒๕๒๕ คณะรัฐมนตรีมีมติให้รื้อฟื้นหอกลองประจำเมืองขึ้น จึงมีการก่อสร้างหอกลองใหม่ในที่เดิม และได้รับบริจาคกลองโบราณจากวัดประชาสัทธาราม จังหวัดสุรินทร์ จำนวน ๓ใบซึ่งใหญ่กว่าของเดิม มีพิธียกกลองขึ้นหอกลองในวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๐

ข้อมูลจาก สำนักงานราชบัณฑิตยสภา (http://legacy.orst.go.th/?knowledges=หอกลอง-๒๙-เมษายน-๒๕๕๒)

https://youtu.be/96PSZuM3RpU


กระทู้: ว่าด้วย "พรหมลิขิต" (ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ)
เริ่มกระทู้โดย: พี่วรภัทรของพี่ชายใหญ่ ที่ 14 พ.ย. 23, 16:31
https://www.youtube.com/watch?v=NGBvar034NE (https://www.youtube.com/watch?v=NGBvar034NE)


กระทู้: ว่าด้วย "พรหมลิขิต" (ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ)
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 14 พ.ย. 23, 19:35
คุณรอมแพง (https://www.facebook.com/share/nTr8J7VSUkWp8mRp/?mibextid=WC7FNe) เขียนเรื่องแมวที่หอกลองไว้ในหนังสือ "พรหมลิขิต" ตอนที่ ๔ แต่ไม่ปรากฏในละคร


กระทู้: ว่าด้วย "พรหมลิขิต" (ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ)
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 15 พ.ย. 23, 09:35
ว่าด้วยคำว่า ไทย ในสมัยอยุธยา

เริ่มนาทีที่ ๒.๓๐

https://youtu.be/DH5bZm0Uid4

แม่กลิ่นช่างขยันหาเรื่องแม่พุดตานเสียจริง ๆ มาคราวนี้สะดุดใจตรงที่ ทำไมยายกุยและแม่กลิ่น รู้สึกงงงวยเป็นอย่างยิ่ง เมื่อ พุดตาน เรียกตัวเองว่า คนไทย และแผ่นดินที่ยืนอยู่ว่า แผ่นดินไทย ประเทศไทย ทั้ง ๆ ที่มีหลักฐานอยู่มากมายว่า คนในสมัยอยุธยาก็เรียกตนเองเข่นเดียวกับพุดตาน

หลักฐานชั้นต้นในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ (ครองราชย์ พ.ศ. ๒๑๙๙-๒๒๓๑) ได้แก่ บันทึกของออกพระวิสุทธสุนธร (ปาน) ราชทูตที่เดินทางไปฝรั่งเศสใน พ.ศ. ๒๒๒๙ และวรรณกรรมเรื่อง "ต้นทางฝรงงเสษ" (Le chemin français)  ซึ่งเป็นนิราศการเดินทางไปฝรั่งเศสของคณะทูตชุดดังกล่าว  เช่นเดียวกับหลักฐานชั้นต้นในรัชกาลสมเด็จพระเพทราชา (ครองราชย์ พ.ศ. ๒๒๓๑-๒๒๔๖) คือจดหมายของเจ้าพระยาศรีธรรมราช (ปาน) ถึงเมอซิเออร์ ปงชาร์แตรง (Louis II Phélypeaux de Pontchartrain) และ บาทหลวง เดอ ลาแชส (François de la Chaise) ใน พ.ศ. ๒๒๓๗ (ตามปฏิทินปัจจุบันเป็น พ.ศ. ๒๒๓๖) มีการใช้คำว่า "ไทย" ในหลายบริบท เช่น ชาวไทย เมืองไทย กรุงไทย พระมหากระสัตรเจ้ากรุงไทย สํมเดจ่พระม่หากร่ษตราธีราช่เจ้ากรุงไทย ทับไทย่ ท่หาร่ไทย่ ไพร่ไทย่ อีงบาศโดรไทย ราช่ทูตไทย เงีนไทย ไทย่แลต่างปรเทศ่

ในจดหมายเหตุราชอาณาจักรสยาม (Du Royaume de Siam) ของ ซีมง เดอ ลา ลูแบร์ (Simon de La Loubère) ราชทูตฝรั่งเศสที่เดินเข้ามาในกรุงศรีอยุธยา เมื่อ พ.ศ. ๒๒๓๐ รัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ มีระบุว่า

"ชาวสยามเรียกตนว่า ไทย (Tàï) แปลว่า อิสระ อันเป็นความหมายตามศัพท์ในภาษาของพวกเขาอยู่ในปัจจุบัน พวกเขาภูมิใจที่ใช้นามว่า ฟรังซ์ (Franc) อันเป็นนามที่บรรพบุรุษของพวกเราได้ถือใช้เมื่อสลัดแอกชาติโกลออกจากอำนาจปกครองของจักรวรรดิโรมัน. ผู้ที่รู้ภาษาพะโคยืนยันว่า สยาม แปลว่า อิสระ ในภาษานั้นเหมือนกัน ฉะนั้นพวกปอรตุเกสจึงน่า จะนำเอาคำ ๆ นี้มาใช้เรียกสยามก็เป็นได้ เพราะได้รู้จักรชาวสยามจากปากคำของชาวพะโค (มอญ)

อนึ่ง นาวาร์แรต (Navarrete) ได้กล่าวไว้ในหนังสือ พงศาวดารแห่งราชอาณาจักรจีน ตอนที่ ๑ บทที่ ๕ ว่า คำว่า สยาม ที่เขียน เสียน (Sian) นั้น มาจากคำสองคำ คือ เสียนโล้ (Sien Lô) แต่มิได้บอกไว้ว่าคำสองคำนี้หมายความว่ากระไร และมาจากภาษาไหน แม้จะได้สรุปเอาว่าเป็นคำที่ชาวจีนใช้เรียก  เมืองไทย (Meüang Tàï) จึงเป็นนามที่ชาวสยามใช้เรียกราชอาณาจักรสยาม (เพราะคำว่า เมือง แปลว่า ราชอาณาจักร) และคำ ๆ นี้ เขียนอย่างง่าย ๆ ว่า Muantay ปรากฏอยู่ในหนังสือของ แว็งซังต์ เลอะ บลังก์ (Vincent le Blanc) และในแผนที่ภูมิศาสตร์หลายแห่ง ว่าเป็นราชอาณาจักรหนึ่งซึ่งอยู่ใกล้ชิดติดกับพะโค แต่ แว็งซังต์ เลอะ บลังก์ คงไม่ทราบว่านั่นแล้วคือราชอาณาจักรสยาม เพราะคงมิได้เฉลียวใจว่าคำว่าสยามกับไทยนั้น เป็นคำสองคำที่มีความแตกต่างกัน แต่หมายถึงพลเมืองของประเทศเดียวกัน.

ส่วนเมืองสยามนั้น ชาวสยามเรียกว่า ศรีโยธยา (Si-yo-thi-ya) และ โ ในคำว่าโย นั้นต้องจีบปากออกเสียงยิ่งกว่าสระ au ของเรา ลางทีพวกเขาก็เรียกเมืองสยามว่า กรุงเทพพระมหานคร (Crung-thé-paprà-maha-nacôn)..."

ลา ลูแบร์ กล่าวต่อว่า "อนึ่ง ชาวสยามที่ข้าพเจ้ากล่าวถึงนี้ เรียกตนเองว่า ไทยน้อย (Tàï-nôë, Siams-Petits) และตามที่ข้าพเจ้าได้ยินมา ก็ยังมีชนอีกจำพวกหนึ่งซึ่งยังป่าเถื่อนอยู่มาก เรียกกันว่า ไทยใหญ่ (Tàï-yàï, Siams-grands) และตั้งสำนักหลักแหล่งอยู่ตามภูเขาทางภาคเหนือ"

ประวัติศาสตร์ธรรมชาติและการเมืองแห่งราชอาณาจักรสยาม (Histoire naturelle et politique du Siam) ของ นีกอลา แฌร์แวซ (Nicolas Gervaise) มิชชันนารีชาวฝรั่งเศสที่เดินทางเข้ามาในสยามในช่วง พ.ศ. ๒๒๒๔-๒๒๒๘ ให้ข้อมูลไว้สอดคล้องกันว่า

"นครหลวงนั้นคนสยามเรียกว่า เมืองศรีอยุธยา (Meüang Sijouthia) และชาวต่างประเทศเรียกว่า ยุธยา (Juthia) หรือ โอเดีย (Odiaa) อันเป็นนามที่คนจีนตั้งให้  ชาวต่างประเทศเรียก สยาม (Siam) เป็นนามราชอาณาจักร แต่คนพื้นเมืองรู้จักแต่คำว่า เมืองไทย (Meüang-Thây) หรือไม่ก็เมืองกรุงเทพมหานคร (Meüang-Croung-Thêp-Maanacone)"

จดหมายเหตุของ เอ็งเงิลแบร์ท เค็มพ์เฟอร์ (Engelbert Kaempfer) นายแพทย์ชาวเยอรมันที่เดินทางเข้ามาในสยามพร้อมคณะทูตดัตช์เมื่อ ค.ศ. ๑๖๙๐ (พ.ศ. ๒๒๓๓) บันทึกไว้ตรงกันว่า

"Siam region vero vulgo dicitur Muan regio Thai, in libris vero scribitur: Krom circuitus thep pramma visitationis ha Ikon deorum. Peguensibus ac Malajis dicitur Tzjam, unde nobis natum est vocabulum Siam."

(ดินแดนสยามถูกเรียกโดยคนท้องถิ่นว่า ‘เมืองไทย’   บันทึกในหนังสือว่า ‘กรุงเทพพระมหานคร’  ชาวมอญและชาวมลายูเรียกว่า ‘Tzjam’  เป็นที่มาที่พวกเราเรียกว่า ‘Siam’)

ข้อมูลบางส่วนจาก วิพากย์ประวัติศาสตร์ (https://www.facebook.com/share/GLQ1hPpujyTGx36K/?mibextid=WC7FNe) โดย คุณศรีสรรเพชญ์


กระทู้: ว่าด้วย "พรหมลิขิต" (ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ)
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 15 พ.ย. 23, 10:35
เรื่องคนสมัยอยุธยาเรียกตัวว่าไทย หรือไม่ ผู้เขียนบทน่าจะสับสน เพราะในตอนที่เปืดตัว แม่หญิงแพรจีน คุณแม่ของเธอยังพูดกับแม่หญิงว่า "แม่เป็นคนไทย คนไทยแท้ ๆ นะลูก" ;D

นาทีที่ ๑.๐๐ - ๑.๑๕

https://youtu.be/C6Mfyib0ads


กระทู้: ว่าด้วย "พรหมลิขิต" (ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ)
เริ่มกระทู้โดย: Rattananuch ที่ 15 พ.ย. 23, 12:30
คนเขียนบทสับสนค่ะ ตอนภาคแรกฝรั่งเศสเรียกว่าคนสยาม หลวงสรศักดิ์ก็งงงวยว่าทำไมเรียกอย่างนี้ มาตอนนี้แม่กลิ่นมางงเรื่องคำว่าคนไทยอีก แต่คนดูอย่างดิฉันสับสนปนเวียนหัวเรื่องการต่อปากต่อต่อคำเล่นสำนวนวกๆวนๆปนภาษาสมัยใหม่ของตัวละครมากกว่าค่ะ ทั้งพระนาง คุณหญิงจำปากับบ่าวฯลฯ
มันเกินขำแล้ว..มันน่าเบื่อปนรำคาญ


กระทู้: ว่าด้วย "พรหมลิขิต" (ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ)
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 15 พ.ย. 23, 13:35
คนเขียนบทสับสนค่ะ ตอนภาคแรกฝรั่งเศสเรียกว่าคนสยาม หลวงสรศักดิ์ก็งงงวยว่าทำไมเรียกอย่างนี้

คุณรอมแพง ผู้เขียนเรื่องเองก็เคยสับสนเรื่องนี้ ได้เข้ามาถามในพันทิปก่อนที่ "บุพเพสันนิวาส" จะถูกสร้างเป็นละคร (ใช้นามแฝงว่า 'จอมนาง') ในชื่อกระทู้ว่า

สยาม กับ ไทย สงสัยมากค่ะ
https://pantip.com/topic/32001642?

ผู้ที่ให้คำตอบหลักก็คือ คุณศรีสรรเพชญ์

ในที่สุดคุณรอมแพงก็นึกออกว่า "สิ่งที่ถูกต้องที่สุดตามหลักฐานที่ปรากฏทั้งของไทยและฝรั่ง ในละครสมัยสมเด็จพระนารายณ์จะให้ชาวต่างชาติเรียกเราว่าสยาม แต่เราจะเรียกตัวเองว่าไทยบ้าง สยามบ้างเวลาที่คุยกับฝรั่ง"

ซึ่งถูกต้อง โดยคุณศรีสรรเพชญ์เสริมว่า "ก็ควรจะเป็นแบบนั้นครับ เพราะต่างชาติเรียก 'สยาม' หากเราคุยด้วยภาษาต่างประเทศก็คงเรียกตามนั้น แต่ถ้าคนไทยคุยกันเอง ใช้ควรจะใช้ 'ไทย'  ฟอลคอนซึ่งรู้ธรรมเนียมไทยอยู่เมืองไทยมานาน ถ้าพูดกับคนไทยก็น่าจะใช้ 'ไทย' ครับ เวลาคุยกับฝรั่งก็ให้ใช้ 'สยาม' ไป"


กระทู้: ว่าด้วย "พรหมลิขิต" (ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ)
เริ่มกระทู้โดย: พี่วรภัทรของพี่ชายใหญ่ ที่ 15 พ.ย. 23, 16:47
มาเรื่อง "จิ้มก้อง" กันต่อครับ

https://www.youtube.com/watch?v=jqjCFmAbZD4


กระทู้: ว่าด้วย "พรหมลิขิต" (ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ)
เริ่มกระทู้โดย: พี่วรภัทรของพี่ชายใหญ่ ที่ 15 พ.ย. 23, 16:53
การ "จิ้มก้อง" ถือเป็นประเพณีมาตั้งแต่ก่อนอยุธยา (อาจจะสุโขทัยหรือก่อนหน้านั้นอีก) ซึ่งมีวิวัฒนาการมาแต่ครั้งราชวงศ์ฮั่น

จีนมองว่าตัวเองเป็นศูนย์กลางของโลกและอยู่ใต้สวรรค์ ฮ่องเต้ก็ถือเป็นโอรสสวรรค์ ดังนั้นบ้านเมืองที่จะค้าขายกับจีนก็จะต้องมาถวายเครื่องราชบรรณาการแด่จักรพรรดิเสียก่อน ซึ่งอาจจะสามปีหรือปีละครั้งขึ้นอยู่กับระยะทางใกล้ไกล

https://www.youtube.com/watch?v=-Qii0X8Z3n4


กระทู้: ว่าด้วย "พรหมลิขิต" (ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ)
เริ่มกระทู้โดย: พี่วรภัทรของพี่ชายใหญ่ ที่ 15 พ.ย. 23, 18:52
ในละคร จะเห็นขุนหลวงรับสั่งให้ขุนนางฝึกภาษาจีน

แต่ในความเป็นจริง ภาษาจีนอาจไม่ใช่ของจำเป็นนักสำหรับขุนนางที่จะเป็นราชทูตไป "จิ้มก้อง" จีน เพราะถึงอย่างไรก็มีล่าม (ท่องสื่อ) เป็นผู้เจรจาภาษาจีนอยู่แล้ว

สันนิษฐานว่าอยุธยาอาจจะใช้ขุนนางชาวจีนที่รู้ภาษาไทยเป็นล่าม(http://)


กระทู้: ว่าด้วย "พรหมลิขิต" (ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ)
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 16 พ.ย. 23, 09:35
ว่าด้วยกฎหมายปลาตะเพียน

เริ่มนาทีที่ ๒.๓๐

https://youtu.be/AZqqL1XI4Ag

เรื่องนี้ปรากฏอยู่ในพระราชพงศาวดารกรุงสยาม ฉบับบริติชมิวเซียม ที่รัชกาลที่ ๒ เมื่อยังเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคลได้ทูลเกล้าฯ ถวายรัชกาลที่ ๑ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๕๐ และถูกคัดลอกไปนำเสนอต่อในพงศาวดารสมัยรัตนโกสินทร์ที่ชำระรุ่นหลังต่อมาจำนวนมาก ความว่า

"ครั้งนั้นสมเด็จพระเจ้าแผ่นดิน ทรงประพฤติเหตุในอโนตัปปธรรม แลเสด็จเที่ยวประพาสทรงเบ็ดเหมือนสมเด็จพระราชบิดา แล้วพระองค์พอพระทัยเสวยปลาตะเพียน ครั้งนั้นตั้งพระราชกำหนดห้าม มิให้คนทั้งปวงรับพระราชทานปลาตะเพียนเป็นอันขาด ถ้าผู้ใดเอาปลาตะเพียนมาบริโภค ก็ให้มีสินไหมแก่ผู้นั้น เป็นเงินตราห้าตำลึง"

อัตราค่าปรับ ๕ ตำลึงมาจากข้อเสนอของแม่พุดตานนี่เอง ;D

อย่างไรก็ตาม มีผู้วิจารณ์ว่าพระราชกำหนดเรื่องนี้อาจจะถูกเพิ่มเข้ามาในพงศาวดารทำนองเดียวกับเรื่องพันท้ายนรสิงห์

ภาพประกอบ จาก วิพากษ์ประวัติศาสตร์ (https://www.facebook.com/share/p/TeDej2GcREmvBQpG/?mibextid=WC7FNe) เป็นพงศาวดารฉบับคัดลอกมาจากต้นฉบับสมุดไทย เขียนลงในสมุดฝรั่ง เจ้าของสมุดดั้งเดิมคือ James Hayes หรือ "เสมียนยิ้ม" เจ้าของห้างพริฏิษ แฟกฏอรี ในสมัยรัชกาลที่ ๓ ท้ายเล่มลงวันที่ ๕ พฤษภาคม ค.ศ. ๑๘๔๙ (พ.ศ. ๒๓๙๒)


กระทู้: ว่าด้วย "พรหมลิขิต" (ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ)
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 18 ธ.ค. 23, 10:35
หากพระมหากษัตริย์มีพระราชโองการให้หญิงเข้ามาถวายตัวเป็นบาทบริจาริกา จะสามารถขัดขืนหลีกเลี่ยงได้หรือไม่

https://youtu.be/zc7IHqrXUIU

มีกรณีตัวอย่างคือ สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี พระอรรคชายาเดิมของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ ๑

พระราชนิพนธ์ “ปฐมวงศ์” ของรัชกาลที่ ๔ ระบุว่า พระเจ้าเอกทัศได้ส่งคนไปสอดแนมเสาะหาหญิงที่มีรูปโฉมงดงามและเกิดในตระกูลที่มีทรัพย์สมบัติมาถวายตัวเป็นบาทบริจาริกา เวลานั้นสมเด็จพระอมรินทรฯ เป็นบุตรีมหาเศรษฐี เกิดในตระกูลใหญ่มีเครือญาติและทรัพย์สมบัติยิ่งกว่าตระกูลอื่นในสวนนอกตำบลบางช้าง แขวงเมืองสมุทรสงครามกับเมืองราชบุรีต่อกัน  และมีรูปโฉมงดงามเป็นที่เล่าลือ คนสอดแนมจึงกลับข่าวไปกราบทูลพระเจ้าเอกทัศ พระเจ้าเอกทัศจึงมีพระราชโองการสั่งกรมมหาดไทยให้มีท้องตราออกไปหัวเมืองราชบุรี (เป็นเมืองขึ้นของกรมมหาดไทย) เพื่อสู่ขอสมเด็จพระอมรินทรฯ จากครอบครัวให้ส่งมาถวายเป็นบาทบริจาริกา

บิดามารดาและญาติไม่เต็มใจถวายสมเด็จพระอมรินทรฯ ให้ไปอยู่ในพระราชวัง จึงส่งคนไปขอร้องพระอักษรสุนทร (ทองดี) เสมียนตรากรมมหาดไทย ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบแต่งท้องตราบังคับบัญชาหัวเมืองขึ้นมหาดไทยให้ช่วยเหลือ พระอักษรสุนทรจึงคิดอ่านให้มีคนไปกราบทูลพระเจ้าเอกทัศว่า พระอักษรสุนทรได้ไปสู่ขอสมเด็จพระอมรินทรฯ ให้เป็นภรรยาของบุตรคนที่สี่ (คือนายทองด้วง หรือ รัชกาลที่ ๑) และได้นัดทำการแต่งงานไว้แล้ว ขอพระราชทานให้พ้นจากพระราชประสงค์    

พระเจ้าเอกทัศก็ทรงพระกรุณาอนุญาตพระราชทานให้  ด้วยเหตุนี้รัชกาลที่ ๑ จึงทรงได้สมเด็จพระอมรินทรฯ เป็นอรรคชายานับแต่นั้น

จะเห็นได้ว่าพระมหากษัตริย์มีพระราชโองการเป็นท้องตราสั่งลงไปแล้ว ก็ยังอาจสามารถแก้ไขภายหลังได้เมื่อมีคนทูลทัดทาน

จาก วิพากษ์ประวัติศาสตร์ (https://www.facebook.com/share/p/ro3DtryJQxfPgN5X/?mibextid=WC7FNe) โดย คุณศรีสรรเพชญ์

ถ้าพ่อริดพยายามจริง ๆ ก็ไม่เหลือบ่ากว่าแรงที่จะทัดทานพระราชโองการของขุนหลวง แทนที่จะให้แม่พุดตานออกโรงตามลำพัง

พ่อริดของแม่แดง (ผู้เขียนบท) ช่างอ่อนแอเสียเหลือเกิน ;D


กระทู้: ว่าด้วย "พรหมลิขิต" (ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 18 ธ.ค. 23, 12:30
                คนเขียนบทลำเอียงอวยอำนาจพลังหญิงให้มีเหนือกว่าชายมากมายชัดเกิน

                กรณีเมืยพระราชทานมาแล้วฝ่ายชายไม่รับและถวายคืน นึกได้จากในเรื่อง ราชาธิราช

                สมิงนครอินทร์(ทำเป็น) ไม่มีแรงออกรบเพราะหลงรักพระสนมอุตะละ ความทราบถึงพระเจ้าราชาธิราชทรงประทานนางให้
สมิงนครอินทร์ก็กราบทูลพระเจ้าราชาธิราชว่า แท้จริงต้องการลองพระทัยพระองค์ว่าจะรักใครมากกว่า ระหว่างนางสนมกับขุนทหาร
แล้วก็ขอถวายนางอุตะละคืน


กระทู้: ว่าด้วย "พรหมลิขิต" (ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ)
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 18 ธ.ค. 23, 17:04
    ขอแสดงความเห็นแบบไม่เข้าข้างทั้งแม่พุดตาน และขุนหลวง ว่าในสังคมโบราณที่ผู้ชายเป็นใหญ่  พระเจ้าแผ่นดินจะทำอะไรก็ย่อมได้ทั้งนั้น   ถ้ามีขอบเขตก็แปลว่าพระองค์จำกัดขอบเขตนั้นด้วยพระองค์เอง   ถ้าไม่อยากจำกัด  ก็สำแดงความอยุติธรรมออกมาได้ ตามแต่ใจอยากจะทำ โดยไม่มีความผิด 
   ดูจากราชาธิราช เมื่อพระเจ้าฝรั่งมังฆ้องออกไปทำศึก  พระนางมังคละเทวีพระมเหสีได้ตามเสด็จด้วย  เมื่อถอยทัพกลับเมือง  ช้างทรงของพระนางตื่นพานางเตลิดไปในป่า  นายทหารชื่อฉางกายช่วยนางไว้ได้  พากลับเมือง ดูแลระมัดระวังความปลอดภัยอย่างดีตลอดเวลา 20 วัน
  วันหนึ่งพระเจ้าฝรั่งมังฆ้องเสด็จไปยังตำหนักพระนางมังคละเทวี พระนางได้ยกพานพระศรีมาถวาย ทำกรรไกรหนีบนิ้วพระหัตถ์ ด้วยความเคยปากที่มีฉางกายคอยช่วยเหลือ   จึงทรงอุทานว่า “ฉางกายเอ๋ย ช่วยด้วย”  พอได้ยิน พระเจ้าฝรั่งมังฆ้องพิโรธ   ถอดพระนางมังคละเทวีออกจากตำแหน่งมเหสี  และทรงสั่งประหารชีวิตฉางกาย
  พ่อริดน่าจะไม่อยากเสี่ยงอย่างฉางกาย   


กระทู้: ว่าด้วย "พรหมลิขิต" (ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ)
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 20 ธ.ค. 23, 13:46
  การเขียนภาค 2 ของนวนิยายหรือละครไม่ว่าเรื่องอะไร เป็นการยากที่จะให้ถูกใจแฟนคลับ     เหมือนต้องต่อเติมบ้านที่สร้างเสร็จสมบูรณ์แล้วให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น   โดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องทำใหม่ให้ไม่เหมือนของเก่า  แต่ก็ต้องสวยเท่าเก่า  โดยไม่อาจเปลี่ยนแปลงส่วนใดส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของของเดิม 
  ดังนั้น บางทีบ้านส่วนที่สร้างใหม่ก็ออกสีคนละโทนกับบ้านของเดิม   หน้าต่างประตูของใหม่เป็นคนละแบบกับของเก่า  ขนาดก็ไม่เท่ากัน ฯลฯ
  เกิดการเปรียบเทียบกันขึ้นง่ายมาก   ส่วนใหญ่บ้านใหม่จะแพ้บ้านเก่าที่แฟนคลับนิยมชมชอบมาแต่เดิมแล้ว


กระทู้: ว่าด้วย "พรหมลิขิต" (ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ)
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 20 ธ.ค. 23, 17:35
พรหมลิขิต (ภาค ๒ ของบุพเพสันนิวาส) ในเวอร์ชั่นของนวนิยาย ผู้อ่านน่ายังคงชื่นชอบอยู่ แต่ในเวอร์ชั่นของบทละคร น่าจะมีปัญหาเรื่องคะแนนนิยมของผู้ดู

คุณรอมแพงเล่าว่า บทละครเรื่องนี้ต่างจากนวนิยายหลายเรื่อง บางเหตุการณ์ก็มีการเพิ่มเสรืม บางเหตุการณ์ก็ไม่เหมือนในบทประพันธ์  ทั้งบุคลิกของตัวละครยังมีการเปลี่ยนอยู่ ๓ คนคือ

พ่อริด       นาทีที่ ๒๓.๒๕ - ๒๓.๕๐
แม่กลิ่น     นาทีที่ ๒๔.๓๐ - ๒๗.๒๐
แม่แพรจีน  นาทีที่ ๒๙.๐๐ - ๓๐.๐๐

เกร็ดประวัติศาสตร์ที่พูดถึง

หอกลอง                  นาทีที่ ๑๙.๒๕ - ๒๐.๔๕
พันท้ายนรสิงห์           นาทีที่ ๒๐.๕๕ - ๒๒.๒๐
ราชวงศ์บ้านพลูหลวง    นาทีที่ ๒๒.๒๕ - ๒๓.๒๕
กฎหมายลักษณะผัวเมีย นาทีที่ ๓๐.๔๐ - ๓๒.๐๐

https://youtu.be/GPWqeKWslZ8


กระทู้: ว่าด้วย "พรหมลิขิต" (ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ)
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 20 ธ.ค. 23, 19:35
ยังมีเรื่อง ศนรปราชญ์ที่ถูกตัดไป และ ภาพพันปี ทวารวดีที่ถูกดัดแปลง ;D


กระทู้: ว่าด้วย "พรหมลิขิต" (ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ)
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 20 ธ.ค. 23, 19:54
เดาว่าเกิดจากการตัดต่อ ให้ลงตัวกับเวลาได้พอดี


กระทู้: ว่าด้วย "พรหมลิขิต" (ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ)
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 22 ธ.ค. 23, 11:25
คุณ รอมแพง  ออกมาแถลงแล้ว ใน Facebook
 
ขอน้อมรับความผิดพลาดของนิยายพรหมลิขิต ที่ทำได้ดีที่สุดเท่านี้ และน่าจะไม่ดีพอที่จะทำเป็นละคร  จึงทำให้ทีมละครโดนวิพากษ์วิจารณ์เป็นอย่างมาก เป็นความผิดของดิฉันเองค่ะ
หลายท่านอาจจะไม่พอใจที่ทีมทำละครโดนวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก โดยที่ดิฉันเหมือนลอยตัวจากการวิพากษ์นั้น จากการที่ดิฉันพิมพ์และพูดอยู่เสมอว่า หลังขายเป็นละครแล้วแทบจะไม่ได้ยุ่งเกี่ยวกับการทำงานของทีมละครเลย นอกจากจะมีการขอคำปรึกษาจากทีมงาน และต้องให้เกียรติคนทำงาน เพราะศิลปะการนำเสนอของละครกับนิยายแตกต่างกัน 
ซึ่งประโยคเหล่านี้เป็นสิ่งที่ดิฉันพูดมาเป็น10ปีในการไปเป็นวิทยากรทุกแห่ง จากการที่นิยายได้ทำเป็นละครมาหลายเรื่อง
แน่นอนว่าดิฉันไม่มีปัญหากับการดัดแปลงเพราะเข้าใจเป็นอย่างดีในศาสตร์ที่ต่างกัน แต่อาจจะมีความเสียดายในเนื้อหาหรือคาแร็คเตอร์ที่เปลี่ยนไปบ้างแต่ก็ไม่ใช่ความเสียใจที่ขายเป็นละครอย่างแน่นอน
ดังนั้นแบ่งความคิดเห็นที่ตำหนิจากความผิดหวังในสิ่งที่คาดหวังจากละครมาทางดิฉันได้เลยค่ะ เพราะถ้าไม่โดนตำหนิหรือวิพากษ์วิจารณ์เสียบ้าง ก็จะไม่ทำให้เกิดการพัฒนา
ขอบคุณมากนะคะ
รอมแพง


กระทู้: ว่าด้วย "พรหมลิขิต" (ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ)
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 22 ธ.ค. 23, 11:28
ผู้เขียนบทโทรทัศน์  อาจารย์ Salaya Sukanivatt ก็ออกมาแถลงใน Facebook เหมือนกัน
 
พรหมลิขิต  2566
ยกที่หนึ่ง
พรหมลิขิตตอนจบรวบรัดเกินไป
นิยายเขียนคำว่า “จบบริบูรณ์ “ หลังจากฉากแต่งงานของพ่อริดเและพุดตาน
ต่อจากนั้นนิยายเขียนว่า  “ ตอนพิเศษ”ความยาว 4 หน้าหนังสือ
ในเมื่อเป็นตอนพิเศษ
จึงไม่เพิ่มไม่ลดไม่เปลี่ยนแปลงใดๆ
บทละครจึงเหมือนนิยายทุกประการ
คำว่ารวบรัดเกินไปจึงขอมอบให้ตอนพิเศษของนิยายเรื่องนี้
ยังมียกต่อๆไป
1)คาแรคเตอร์ของพ่อริด เรื่องนี้ต้องพูดกันยาว
2) คาแรคเตอร์คนอื่นๆ : ไม่เหมือนนิยายแน่หรือ
3) ตัวละครหาย : คนเขียนบทหรือนิยายกันแน่ที่ทิ้งตัวละคร
4) เหตุการณ์พุดตานถวายตัวที่ไม่มีในนิยาย : ทำไม
5) บทอาฆาตแค้นของจันทราวดีต่ออทิตยาที่หายไป : เพราะอะไร
6 ศรีปราชญ์ : ตัวละครเจ้ากรรมตั้งแต่บุพเพสันนิวาส : มีและไม่มีเพราะอะไร
7) การเคารพบทประพันธ์และการเคารพวิถีการเขียนบทละคร: ศาสตร์ที่แตกต่างกัน
8)บทละครเหมือนนิยาย หรือต่อยอดจากนิยาย เป็นสัดส่วนเท่าไหร่ : ต้องคำนวณ
9) การวิพากษ์วิจารณ์รวบยอดที่รุนแรงและไม่เป็นวัตถุวิสัย
ฯลฯ


กระทู้: ว่าด้วย "พรหมลิขิต" (ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ)
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 22 ธ.ค. 23, 16:35
ผู้เขียนบทโทรทัศน์  อาจารย์ Salaya Sukanivatt ก็ออกมาแถลงใน Facebook (https://www.facebook.com/share/vZt4tRqcdVxzVLDz/?mibextid=WC7FNe) เหมือนกัน
 
พรหมลิขิต  2566  ยกที่หนึ่ง …….…

รออ่าน ยกที่ ๒ ;D


กระทู้: ว่าด้วย "พรหมลิขิต" (ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ)
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 22 ธ.ค. 23, 16:40
ไม่น่าจะมีแล้วนะคะ   คุณ Janyavee Sompreeda หรือรอมแพง แสดงมารยาทกล่าวขอโทษอาจารย์ศัลยาแล้ว

อุ้ยต้องกราบขอโทษป้าแดงด้วยนะคะ ที่นิยายของอุ้ยมีความผิดพลาดขาดพร่องจนทำให้ป้าแดงทำงานยาก และต้องดัดแปลงจนทำให้ถูกวิพากษ์วิจารณ์มากขนาดนี้ รวมไปถึงความอ่อนด้อยในการตอบคำถามของพิธีกรและนักข่าวก็ยิ่งสร้างความลำบากใจให้กับทีมละคร เป็นความผิดของอุ้ยเองค่ะ
กราบขออภัยเป็นอย่างสูงค่ะ
อุ้ย รอมแพง


กระทู้: ว่าด้วย "พรหมลิขิต" (ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ)
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 23 ธ.ค. 23, 10:35
ยกที่ ๒ ของคุณศัลยา ผู้เขียนบทละคร

ความรักของพ่อริดแม่พุดตาน
เรื่องของแม่กลิ่นและหมู่สง
เรื่องตอนพิเศษท้ายเล่ม

รายละเอียดในคลิปนี้ อยู่ในตอนท้ายของบทความเรื่อง  "ศัลยา VS พรหมลิขิต"(ยกที่หนึ่ง) (https://mgronline.com/drama/detail/9660000114874)

https://youtu.be/fF9P5SPAHeg


กระทู้: ว่าด้วย "พรหมลิขิต" (ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 24 ธ.ค. 23, 10:58
 การเขียนภาค 2 ของนวนิยายหรือละครไม่ว่าเรื่องอะไร เป็นการยากที่จะให้ถูกใจแฟนคลับ     เหมือนต้องต่อเติมบ้านที่สร้างเสร็จสมบูรณ์แล้วให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น   โดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องทำใหม่ให้ไม่เหมือนของเก่า  แต่ก็ต้องสวยเท่าเก่า  โดยไม่อาจเปลี่ยนแปลงส่วนใดส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของของเดิม  
  ดังนั้น บางทีบ้านส่วนที่สร้างใหม่ก็ออกสีคนละโทนกับบ้านของเดิม   หน้าต่างประตูของใหม่เป็นคนละแบบกับของเก่า  ขนาดก็ไม่เท่ากัน ฯลฯ
  เกิดการเปรียบเทียบกันขึ้นง่ายมาก   ส่วนใหญ่บ้านใหม่จะแพ้บ้านเก่าที่แฟนคลับนิยมชมชอบมาแต่เดิมแล้ว

           รำลึกนึกถึงนิยาย(เก่า) ที่ประสบความสำเร็จสูงจนมีภาคสองตามต่อ ต่างก็ไม่สามารถที่จะได้รับความนิยมชมชอบเท่าของเดิมได้
(มียกเว้น แต่เป็นหนังฝรั่ง The Godfather ที่ภาคสองได้รับการยกย่องถ้วนหน้าว่ายอดเยี่ยมกว่าภาคแรก แต่พอมาภาคสามก็ตามนั้น)

           ไม่ได้อ่านนิยายต่างๆ ที่จะกล่าวถึงแต่รู้เรื่อง ยกเว้น นิยายเรื่องแรก(ที่น่าจะเก่าที่สุด) นั่นคือ ละครแห่งชีวิต ของม.จ. อากาศดำเกิง
ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างสูง ภาคตามมา คือ ผิวเหลืองหรือผิวขาว ที่ดูจะเป็น การเก็บตก,ขยายความของภาคแรกมากกว่า

            เมื่อ บ้านทรายทอง ของ ก. สุรางคนางค์ ประสบความสำเร็จบนเวทีละคร ภาคต่อจึงตามมา เล่าถึงชีวิตหลังการแต่งงานของพจมานและชายกลาง
แน่นอน ความแรงของพจมานต้องสู้ฟาดฟันลดความเข้มข้นลงไปมาก
           (ก. สุรางคนางค์ ยังมีนิยายภาคต่ออีกหลายเรื่อง เช่น เขมรินทร์ อินทิรา คุณครูอินทิรา, รักประกาศิต ภูชิชย์ นริศรา, คุณหญิงพวงแข-ถ่านไฟเก่า)

            มาถึงนิยายที่ดังสุดๆ นั่นคือ คู่กรรม ภาคสองตามมาหลังจากโกโบริตายหลายปี เล่าเรื่องแม่อัง หญิงไทยใจแข็ง แม่เลี้ยงเดี่ยว และ
ลูกชายสายเลือดพ่อมะลิ คนอ่านก็ยังชื่นชอบความรักระหว่างรุ่นพ่อแม่ที่ยังอวลอยู่ แต่ในรุ่นลูกไม่มีความรักหวาน มีความขัดแย้งของเชื้อชาติในใจ
และบรรยากาศการเมืองเข้มข้น นิยายจบที่การเดินทางของแม่อังไปยังดาวเจ้าหญิงทอหูก?
            แน่นอน ภาคแรกซาบซึ้งรันทดน้ำตาหยดมากกว่าภาคสอง
            เรื่องนี้เมื่อแรกดัดแปลงเป็นหนังโรง มีการดัดแปลงเรื่องให้ลูกชายตายในเหตุการณ์รุนแรงของประวัติศาสตร์ไทย แม่อังต้องเดินตามหา
ร่างลูกชาย คล้ายในภาคแรกที่ตามหาพ่อมะลิ พร้อมบทเพลง Solveig's song นับเป็นไอเดียดีไม่น้อย แต่คนอ่านนิยายอาจไม่ปลื้ม

            เรื่องสุดท้ายที่นึกถึง คือ อีสา ผู้มีชีวิตเข้มข้นตามใจบันดาลแรงให้ผจญชีวิต,ผ่านสงคราม จบลงด้วยความหวังจะพบความสงบในธรรม
ภาคต่อคุณสากลับออกมาสู่โลกที่ต้องสู้น้อยกว่าเดิม มีตัวละครคู่ขัดแย้งคือ ลูกชายและลูกสาวของตนที่ไม่รู้ความจริง  

            สรุปดังที่ได้กล่าวไว้แต่ต้นว่า ต่างก็ไม่สามารถที่จะได้รับความนิยมชมชอบเท่าของเดิมได้


กระทู้: ว่าด้วย "พรหมลิขิต" (ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ)
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 25 ธ.ค. 23, 09:35
ในละคร พรหมลิขิต เขียนบทโดย ศัลยา กล่าวถึงเหตุผลในการย้ายเมืองข้อเดียวคือ เพื่อหนีสงครามคราวเสียกรุง

แต่เหตุผลอีกข้อหนึ่งที่ผู้เขียนบทไม่ได้กล่าวถึง ซึ่งแท้จริงควรกล่าวถึงอย่างยิ่งเพราะเป็นเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์ท้ายรัชสมัยพระเจ้าท้ายสระ ซึ่งจะมาถึงในไม่ช้า ก่อนเหตุการณ์คราวเสียกรุง ตามบันทึกของคุณหญิงวิสูตรสาคร ตอนท้ายของหนังสือ พรหมลิขิต โดย รอมแพง มีว่า

https://youtu.be/Aw3gMHMJhCI

ตอนท้ายของบันทึกเขียนเกี่ยวกับเหตุผลของการยกครัวย้ายเมืองไว้ว่า

"อีกไม่นานคงมีสงครามกลางเมืองและสงครามใหญ่ก็คงจะเกิดขึ้นตามประวัติศาสตร์ เรากำลังหาที่ยกครัวย้ายที่อยู่อาศัยใหม่ คงต้องให้คุณพี่และพ่อริดลาออกจากราชการจะได้พ้นเหตุการณ์อันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นตอนสงครามกลางเมืองปลายยุคของพระเจ้าท้ายสระ และคงต้องเตรียมตัวให้ลูกหลานพร้อมรับเหตุการณ์เสียกรุงครั้งที่สอง…"

https://youtu.be/Z8epXvS_ivQ


กระทู้: ว่าด้วย "พรหมลิขิต" (ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ)
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 25 ธ.ค. 23, 10:05
    ไม่มีใครรู้ล่วงหน้า ไม่ว่าผู้ผลิต ผู้เขียนบท ผู้กำกับและเจ้าของบทประพันธ์ ว่างาน(หมายถึงทั่วๆไปไม่เจาะจงว่าเรื่องใดเรื่องหนึ่ง)จะออกมาประสบผลสำเร็จดี  หรือปานกลาง หรือล้มเหลว   เพราะตัวแปรมีมากมายหลายชนิด
    บางทีละครทำออกมาดีสมใจผู้ผลิตและผู้เกี่ยวข้อง เกิดออนแอร์ไปชนกับรายการของอีกช่องที่ดังระเบิดเปรี้ยงปร้างขึ้นมา   เรตติ้งก็เลยหล่นลงไป
    บางทีกระแสหลักของสังคมเปลี่ยนไปสู่สิ่งใหม่เร็วมาก    อะไรที่ฮิทเมื่อละครเริ่มสร้าง กว่าจะถ่ายทำเสร็จ ได้คิวออกอากาศ กระแสสังคมเปลี่ยนไปแล้ว   ละครเลยกลายเป็นตกยุคไป
   บางทีก็ชวนงง  หาเหตุผลไม่ได้ด้วยซ้ำ   ละครที่คิดว่าจะแป้ก  เพราะละครแนวเดียวกันเรตติ้งต่ำหมก  ทางช่องดองเลยเอาไว้นาน ขนาดดาราหมดสัญญาแล้ว  พอนำออกอากาศ กลับทำเรตติ้งสูงสุดของช่องก็มี
   ทำละครหรือนิยายก็เหมือนทำอาหาร   ในเมื่อรสนิยมผู้บริโภคเป็นสิ่งกะให้ถูกปากยาก   จึงน้อยครั้งที่ละครจะออกมาดังที่หวังทั้งผู้ผลิตและคนดู    จะหามาตรฐานกี่ปีๆยังยอดนิยมเหมือนอาหารเจ๊ไฝ ยังนึกไม่ออกว่าเรื่องไหน


กระทู้: ว่าด้วย "พรหมลิขิต" (ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ)
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 25 ธ.ค. 23, 11:44
    เคยเขียนเกี่ยวกับการนำนวนิยายไปทำละครโทรทัศน์ไว้ใน Facebook ตั้งแต่ช่วงต้นปี    เห็นว่าพอจะเข้ากับกระทู้นี้ได้ เลยเรียบเรียงมาให้อ่านค่ะ
************************
    เมื่อวันอาทิตย์ที่ 19  กุมภาพันธ์ 2566 ไปลงทะเบียนเข้าประชุม Zoom  เรื่อง"การเดินทางข้ามสื่อของวรรณกรรม"  วิทยากรคือ รศ.ดร.นัทธนัย ประสานนาม  รองคณบดีคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กับ รศ.ดร.สรณัฐ ไตลังคะ  ที่สมัครเข้าไปฟัง เพราะอยากรู้ว่าการเดินทางข้ามสื่อวรรณกรรมคืออะไร
    สรุปว่า มันคือเส้นทางจากวรรณกรรมไปสู่การทำภาพยนตร์  (รวมละครโทรทัศน์ด้วย) ว่ามีขั้นตอนอย่างไรบ้าง  วิทยากรอธิบายแบบวิชาการ แจกแจงได้ละเอียด   ก็เลยได้คำตอบเพิ่มขึ้นจากที่ค้างคาใจมานาน   ทำให้ได้ทั้งความรู้และความคิดใหม่ 
      อย่างหนึ่งคือเมื่อก่อน เรามักจะมองภาพอย่างรวบรัดว่า เมื่อมีผู้เอานิยายไปทำละครหรือหนัง  ก็คือการเอาตัวหนังสือไปทำให้เป็นภาพเคลื่อนไหวบนจอ      แต่ความจริงแล้วมันมีเหตุและผลในขั้นตอนมากกว่านั้น    ผลก็คือสื่อภาพและเสียงจะถูกดัดแปลง จนออกมาไม่เหมือนสื่อตัวหนังสือของเดิมอย่างเป๊ะๆอีกต่อไป
       คำสำคัญที่ดร.นัทธนัยยกขึ้นมา คือ  สัมพันธบท (intertextuality) ในที่นี้อาจารย์เรียกว่า สหบท         ส่วนตัวเท่าที่เคยอ่านมา มันเป็นคำที่แพร่หลายอยู่ในขบวนการ Postmodernism  ของวรรณกรรม  (โพสโมเดิร์นเป็นอะไรไม่อธิบายละค่ะ  เดี๋ยวออกทะเลไปกันใหญ่)  แสดงถึงความสัมพันธ์กันของผลงานที่แยกกันเป็นคนละชิ้นคนละอย่าง
    อธิบายไทยเป็นไทยอีกทีว่า  นิยายกับภาพยนตร์เป็นงานคนละชนิด แยกจากกัน  แต่ถ้าจะต้องมาเกี่ยวข้องกัน ก็มีเจ้าintertextuality (สัมพันธบท) นี่แหละเป็นคำอธิบาย
    ถ้าถามว่า เจ้า intertextuality มันมีประโยชน์อะไร   คำตอบคือมันช่วยให้คนอ่าน(หรือคนดู)เข้าใจโครงเรื่อง เนื้อหา และแนวคิดของวรรณกรรมได้ชัดเจนขึ้น    ที่สำคัญคือมันยังทำหน้าที่ตีความงานประเภทหนึ่งที่ทำจากงานอีกประเภทหนึ่งให้เราเข้าใจได้มากขึ้นด้วย   
   เช่น คนอ่านหนังสืออาจไม่เข้าใจบางอย่างในหนังสือ  นึกภาพไม่ออก หรือยังงงๆกับแนวคิดของนักเขียน แต่ถ้าหนังสือเล่มนั้นนำไปทำเป็นภาพยนตร์   พอเห็นภาพบนจอ ก็อาจจะร้อง อ๋อ  มันเป็นยังงี้เอง   นั่นคือบทบาทของ   intertextuality
   อธิบายอีกทีค่ะ  สมมุติว่าอ่านหนังสือเพชรพระอุมาจนจบแล้ว ก็ยังวาดภาพในสมองไม่ออกว่า มรกตนครควรมีหน้าตาเป็นยังไง  แต่ถ้าท่่านมุ้ยเอาไปทำเป็นภาพยนตร์  ท่านสามารถสร้างมรกตนครให้เห็นกับตาได้ว่าสง่างามโอฬารขนาดไหน   คนดูก็เข้าถึงได้โดยพลัน   
    นี่ละคือสัมพันธบทระหว่างตัวหนังสือกับภาพ  ซึ่งกว่าจะออกมาเป็นผลงานได้ ก็ต้องใช้ทักษะ ใช้การตีความ ใช้จินตนาการ ฯลฯ  ซึ่งล้วนแต่อยู่ใน intertextuality ทั้งสิ้น
   ดร.นัทธนัยขึ้นจอให้ดูว่า ยุคของ intertextuality  คือ ค.ศ. 1990 เป็นต้นมา   แต่พอมาถึงปัจจุบัน  คือยุคเครื่อข่ายการดัดแปลง (adaptation network/s) ก็มาถึงคำเรียกยากอีกคำคือ transtextuality คือความสัมพันธ์ข้ามตัวบท


กระทู้: ว่าด้วย "พรหมลิขิต" (ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ)
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 25 ธ.ค. 23, 11:49
   Transtextuality หรือความสัมพันธ์ข้ามตัวบท   หมายถึงการเชื่อมโยงระหว่างสื่อประเภทต่างๆ เช่น นวนิยายถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์ ก็เกิดการเชื่อมโยงระหว่างตัวหนังสือกับภาพเคลื่อนไหวบนจอ 
   การศึกษา Transtextuality จึงเป็นไปเพื่อวิเคราะห์ว่าเรื่องราวชนิดเดียวกันเมื่อถูกผลิตภายในรูปแบบของสื่อที่ต่างกัน จะส่งผลให้ความหมายของสิ่งเหล่านั้นเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร มากน้อยแค่ไหน มีผลออกมาอย่างไร   
    งานวรรณกรรมเมื่อถูกนำไปเป็นละครหรือภาพยนตร์   ย่อมผ่านมุมมองและการตีความของผู้ผลิตงาน  เช่นผู้สร้าง  ผู้กำกับ คนเขียนบท  ซึ่งมีความแตกต่างกันจากการตีความของนักเขียนไม่มากก็น้อย   เกิดการดัดแปลงขึ้น   ทำให้ละครหรือภาพยนตร์นั้นแตกต่างไปจากวรรณกรรมดั้งเดิม   หลายเรื่องก็ประทับ "ลายเซ็น"(signature) ของผู้กำกับ (หรือผู้เขียนบท)  ไม่ใช่ "ลายเซ็น" ของนักเขียน 
    ดร.นัทธนัยยกตัวอย่างผลงานของหม่อมน้อย  ที่ไม่ว่าจะทำหนังเรื่องอะไร จะเห็นความเป็นหม่อมน้อยอยู่ในหนังเรื่องนั้น จนอาจเรียกได้ว่าหนังที่หม่อมน้อยกำกับ เป็น "ลายเซ็น"ของหม่อมน้อย    ไม่ใช่ "ลายเซ็น" ของผู้ประพันธ์งาน
     ข้อนี้ก็เป็นคำตอบข้อหนึ่ง ได้ว่า เหตุใดวรรณกรรมถูกดัดแปลงไปไม่เหมือนเดิม เมื่อเปลี่ยนรูปไปเป็นสื่อชนิดหนึ่ง
      วรรณกรรมบางเรื่องมีการผลิตหลายครั้ง  การตีความในแต่ละครั้งก็แตกต่างกันออกไป  ทำให้ตัวผลงานออกมาผิดแปลกแตกต่าง    ยิ่งตัววรรณกรรมบางเรื่องมีความซับซ้อน  การตีความก็ยิ่งหลากหลายเป็นเงาตามตัว   แล้วแต่ผู้ผลิตภาพยนตร์หรือละครจะมองกันออกมาแบบไหน
     ต่อไปขอพูดถึงเรื่อง การดัดแปลง
     ดร.นัทธนัยยกตัวอย่างเรื่อง "คู่กรรม" ของ "ทมยันตี" ซึ่งผลิตจากวรรณกรรมไปเป็นภาพยนตร์และละครน่าจะนับ ๑๐ ครั้งขึ้นไป    บางเรื่องก็ดำเนินรอยตามต้นฉบับหนังสือ  บางเรื่องก็ฉีกแนวออกไป  บรรดาที่ฉีกแนวนี้อาจเป็นได้ว่าต้องการสร้างนวัตกรรม ไม่ซ้ำแบบกับงานชิ้นก่อนๆที่คนดูจำได้ขึ้นใจแล้ว    จึงกลายเป็นเรื่องพ่อแง่แม่งอนของหนุ่มสาวบ้าง   เป็นเรื่องวัยรุ่นจีบกันบ้าง     แต่พวกที่ฉีกแนวนี้ก็ไม่ประสบผลสำเร็จสักเรื่องเดียว
     ดิฉันฟังที่อาจารย์นัทธนัยบรรยาย พลางคิดตามไปว่าสาเหตุความไม่สำเร็จของการดัดแปลงวรรณกรรมที่ว่ามานี้  เป็นเพราะวรรณกรรมเรื่องนั้นๆมี "แก่นเรื่อง"ที่หนักแน่นชัดเจน   ตัวเนื้อเรื่องที่โอบล้อมแก่นเรื่องอยู่ดำเนินไปตาม "แก่น" ตรงใจกลาง     เมื่อเนื้อเรื่องถูกรื้อออกไปกลายเป็นเนื้อเรื่องใหม่    แก่นเรื่องกับเนื้อเรื่องก็ไม่ประสานกันอีกต่อไป ต่างเดินกันไปคนละทาง   ผลออกมาคือความล้มเหลว
      ดิฉันเห็นว่าแก่นเรื่องของคู่กรรม  เป็นแก่นเดียวกับโรมิโอและจูเลียตของเชกสเปียร์   และยังแก่นเดียวกับ ลิลิตพระลอ อีกด้วย    คือเป็นแก่นคลาสสิกของความรักอันเกิดบนความขัดแย้งรุนแรงจากภูมิหลังของทั้งสองฝ่าย จนประนีประนอมกันไม่ได้     แก่นแบบนี้จบด้วยโศกนาฏกรรมจะเข้ากันที่สุด  แต่ถ้าดัดแปลงเนื้อเรื่องให้กลายเป็นรักหวานวัยรุ่น ก็จะไปขัดกับแก่น    หรือถ้าดัดแปลงแก่น  ก็เท่ากับต้องเขียนเนื้อเรื่องใหม่ทั้งหมด 
     ด้วยเหตุนี้จึงไม่แปลกใจ ที่ผู้อ่านจำนวนมาก ประทับใจกับแก่นเรื่องและเนื้อเรื่องของงานวรรณกรรม จึงไม่ยอมรับเมื่อมีการดัดแปลงจากงานวรรณกรรมในรูปแบบอื่นเช่นละครโทรทัศน์หรือภาพยนตร์   ถ้าหากว่าดัดแปลงเฉพาะรายละเอียดก็อาจจะพอรับไหว    แต่ถ้าดัดแปลงเนื้อเรื่อง ที่ไปกระทบถึงแก่นเรื่องเข้าด้วย  ก็เห็นว่าเป็นคนละเรื่องกับงานชิ้นเดิม   
    เรื่องนี้จึงนำไปสู่ประเด็นอีกประเด็นหนึ่ง ว่าด้วยการเคารพบทประพันธ์


กระทู้: ว่าด้วย "พรหมลิขิต" (ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ)
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 25 ธ.ค. 23, 11:55
     ดร.นัทธนัย พูดถึงทฤษฎีการดัดแปลง  (ดูได้จากภาพข้างล่างนี้)   ซึ่งเป็นผลจากตีความของคนที่นำวรรณกรรมไปเป็นละครและภาพยนตร์    ผลออกมาอาจไม่ตรงกับความคิดของนักประพันธ์ก็ได้   ก็เหมือนอ่านหนังสือเล่มเดียวกันแต่เห็นกันไปคนละทาง  เพราะความคิดและประสบการณ์ของแต่ละคนมีส่วนกำหนด 
     ฟังจากที่ดร.นัทธนัยบรรยาย    ดิฉันรู้สึกว่านักทฤษฎีการดัดแปลงให้อิสระการตีความเอาไว้มาก    ฟังๆเหมือนไม่มีถูกไม่มีผิดในการตีความ       แม้แต่นักเขียนเจ้าของวรรณกรรมเองก็ไม่อาจผูกขาดงานของตนเองได้ ว่าคนอ่านต้องคิดตรงกับเจ้าของงานจึงจะถูกต้อง   
      นักทฤษฎีการดัดแปลงถือว่า งานวรรณกรรมแต่ละช้ิ้นสามารถนำไปตีความ เพื่อนำไปสู่ผลตามมาคือการดัดแปลงได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด    เพราะถือว่าตัวบท (text)ในวรรณกรรม ถูกสร้างขึ้นมาเพื่ออ่านและตีความ
ดังนั้น ตัวบทมิใช่สิ่งที่หยุดนิ่ง   แต่สามารถแปรเปลี่ยนไปตามการตีความได้เสมอ  จะตึความยังไงแบบไหนก็ไม่มีข้อจำกัด 
     ถ้ามอง ในแง่นี้ ความสำคัญก็ไปตกอยู่ที่กระบวนการตีความตัวบท มากกว่าตัวบทเอง
     ฟังอาจารย์นัทธนัยบรรยายแล้วก็คิดตามไปด้วย   ได้ความคิดขึ้นมาหลายอย่าง    เพราะเรามักไม่รู้ตัวว่าเราคิดตาม "ขนบ" ตามที่ได้รับสั่งสอนหรืออบรมมาจนตายตัว     ถ้าคิดใหม่ตามนักทฤษฎีการดัดแปลงพวกนี้   อิเหนาก็ไม่ควรเป็นพระเอกอีกต่อไป   จรกามีโอกาสดีกว่าที่จะเป็นพระเอก   อย่างน้อยก็ไม่เคยทำให้นางเอกเดือดร้อน และไม่เคยประพฤติตัวเสียหายใดๆ   
     ในวรรณกรรม   " ปีศาจ" เจ้าคุณพ่อของรัชนีอาจถูกตีความใหม่ ให้เป็นคนที่น่าเห็นใจในหลายๆเรื่อง      เพราะเป็นเจ้าของบ้านที่อดทนฟังสาย สีมาผู้เป็นแขก กล่าวตำหนิติเตียนยาวหลายหน้ากระดาษได้โดยไม่ปริปากขัดคอ แล้วยังมีลูกสาวที่ไม่อยู่ในโอวาท เห็นคนอื่นดีกว่าพ่ออีกด้วย
     


กระทู้: ว่าด้วย "พรหมลิขิต" (ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ)
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 25 ธ.ค. 23, 14:35
การบรรยายเชิงวิชาการ "การเดินทางข้ามสื่อของวรรณกรรม"

โดย รศ.ดร.นัทธนัย ประสานนาม รองคณบดีฝ่ายวิจัยและสร้างสรรค์ และอาจารย์ประจำภาควิชาวรรณคดี คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมสนทนาโดย รศ.ดร.สรณัฐ ไตลังคะ

วันอาทิตย์ที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ เวลา ๑๓.๐๐-๑๕.๐๐ น.

ทฤษฎีการดัดแปลง เริ่มต้นนาทีที่ ๓๐.๓๕

https://youtu.be/lD-VgBBE6bU


กระทู้: ว่าด้วย "พรหมลิขิต" (ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ)
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 26 ธ.ค. 23, 08:24
เรื่องยังไม่จบ

‘พรหมลิขิต’ดราม่า ‘ศัลยา’ เปรย ไม่นึกเลยว่าจะเกิดอย่างนี้ขึ้น
By กนกพร โชคจรัสกุล | กรุงเทพธุรกิจ  จุดประกาย25 ธ.ค. 2566 เวลา 18:49 น.

การโต้ตอบ อันเนื่องมาจากละครเรื่อง ‘พรหมลิขิต’ ที่เพิ่งจบลงไป ก่อให้เกิดความสงสัยในความไม่สมบูรณ์ของละครว่าเหตุใดจึงเกิดขึ้นได้
หลังจากตอนจบละคร พรหมลิขิต ภาคต่อ บุพเพสันนิวาส ได้ลาจอไป  เสียงสะท้อนของคนดูก็ดังขึ้นในโลกโซเชียล ส่วนใหญ่รู้สึกงุนงงกับตอนจบที่รวบรัดจนตามไม่ทัน บ้างก็ว่าตัวละครไม่เหมือนกับในนิยาย
และเล็งเป้ามาที่ผู้ผลิต ผู้จัด ผู้เขียนบท


วันที่ 22 ธันวาคม 2566 ผู้เขียนบท ศัลยา สุขะนิวัตต์ ก็ได้ออกมาโพสต์เฟสบุ๊ค Salaya Sukanivatt ว่า...

พรหมลิขิต 2566

ยกที่หนึ่ง
พรหมลิขิตตอนจบรวบรัดเกินไป
นิยายเขียนคำว่า ‘จบบริบูรณ์’ หลังจากฉากแต่งงานของพ่อริดเและพุดตาน
ต่อจากนั้นนิยายเขียนว่า ‘ตอนพิเศษ’ ความยาว 4 หน้าหนังสือ
ในเมื่อเป็นตอนพิเศษ
จึงไม่เพิ่มไม่ลดไม่เปลี่ยนแปลงใด ๆ
บทละครจึงเหมือนนิยายทุกประการ
คำว่ารวบรัดเกินไปจึงขอมอบให้ตอนพิเศษของนิยายเรื่องนี้

ยังมียกต่อ ๆ ไป
1) คาแรคเตอร์ของพ่อริด เรื่องนี้ต้องพูดกันยาว
2) คาแรคเตอร์คนอื่นๆ : ไม่เหมือนนิยายแน่หรือ
3) ตัวละครหาย : คนเขียนบทหรือนิยายกันแน่ที่ทิ้งตัวละคร
4) เหตุการณ์พุดตานถวายตัวที่ไม่มีในนิยาย : ทำไม
5) บทอาฆาตแค้นของจันทราวดีต่ออทิตยาที่หายไป : เพราะอะไร
6) ศรีปราชญ์ : ตัวละครเจ้ากรรมตั้งแต่บุพเพสันนิวาส : มีและไม่มีเพราะอะไร
7) การเคารพบทประพันธ์และการเคารพวิถีการเขียนบทละคร: ศาสตร์ที่แตกต่างกัน
8) บทละครเหมือนนิยาย หรือต่อยอดจากนิยาย เป็นสัดส่วนเท่าไหร่ : ต้องคำนวณ
9) การวิพากษ์วิจารณ์รวบยอดที่รุนแรงและไม่เป็นวัตถุวิสัย
ฯลฯ

ที่สำคัญ นักเขียนนิยายเรื่องพรหมลิขิต รอมแพง หรือ Janyavee Sompreeda ได้มาโพสต์ตอบในข้อความของโพสต์นี้ว่า

อุ้ยต้องกราบขอโทษป้าแดงด้วยนะคะ ที่นิยายของอุ้ยมีความผิดพลาดขาดพร่องจนทำให้ป้าแดงทำงานยาก และต้องดัดแปลงจนทำให้ถูกวิพากษ์วิจารณ์มากขนาดนี้ รวมไปถึงความอ่อนด้อยในการตอบคำถามของพิธีกรและนักข่าวก็ยิ่งสร้างความลำบากใจให้กับทีมละคร เป็นความผิดของอุ้ยเองค่ะ
กราบขออภัยเป็นอย่างสูงค่ะ
อุ้ย รอมแพง

ซึ่งก่อนหน้านั้น รอมแพง ได้ไปออกรายการหนึ่ง และกล่าวถึงละครพรหมลิขิตที่กำลังออกอากาศว่า มีบางส่วนไม่เหมือนในนิยาย

ล่าสุด วันที่ 24 ธันวาคม 2566 อาจารย์แดง ศัลยา สุขะนิวัตต์ ได้ให้สัมภาษณ์กับ กรุงเทพธุรกิจ ถึงสิ่งที่เกิดขึ้นหลังละครพรหมลิขิตจบลงว่า... ไม่นึกเลยว่าจะเกิดอย่างนี้ขึ้น

"ละครคือผลรวมของนิยายกับละคร นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นในประเทศไทย เราทำละครจากนิยายเป็นส่วนใหญ่ มันเป็นการหลอมรวมกันกับสองเรื่องนี้
เพราะฉะนั้นสองเรื่องนี้จะมีความรู้สึกว่าเป็นเจ้าของมัน มันจะดีจะเลว ไม่ได้ว่ามันจะดีหมด มันจะเลวหมด ก็ต้องร่วมกัน
เมื่อรู้สึกว่าส่วนหนึ่งมันไม่ดีสมใจก็แสดงความรู้สึกนั้น ซึ่งมันทำให้อีกฝ่ายหนึ่งที่ทำอยู่ด้วยกัน รู้สึกเฟลมาก เสียความรู้สึกมาก จริง ๆ มันต้องร่วมกัน ถ้าจะไม่พอใจ ไม่ชอบใจ ซึ่งเป็นไปได้
ไม่ได้หมายความว่างานชิ้นหนึ่งจะถ่ายทอดไปสู่อีกสื่อหนึ่ง มันอาจจะไม่สมบูรณ์ มันอาจจะมีรอยแผล มันอาจจะมีอะไรบ้าง มีสิทธิ์ที่จะรู้สึก ก็มาคุยกันสิ
เราทำงานอยู่ด้วยกัน เราร่วมมือร่วมใจกัน ไม่ใช่ไปบอกกับคนนั้นคนนี้ นี่คือสิ่งที่ไม่เคยได้เจอ เพราะทำงานกับคุณโบตั๋นก็เป็นมิตรกันรักกัน ทำกับนักเขียนใหญ่มาตั้งกี่คน
ไม่ว่าจะเป็นคุณทมยันตี คุณกฤษณา อโศกสิน คุณวินิตา ดิถียนต์ อาจารย์ศรีฟ้า ลดาวัลย์ คุณกิ่งฉัตร ปิยะพร ก็ไม่เคยเจออย่างนี้
เราเคยมีแต่ความรู้สึกที่ดีต่อกัน ถ้าเกิดอะไรขึ้น ผิดพลาดบกพร่องไป ก็คุยกัน ด้วยความรักต่อกัน ด้วยไมตรีจิต มิตรภาพต่อกัน นี่เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ที่จะก่อให้เกิดอะไรที่ดี ๆ เป็นความรู้สึกที่ดี
ไม่นึกเลยว่าจะเกิดอย่างนี้ขึ้น แล้วไม่ใช่ว่าเราไม่เคยทำงานกับนักประพันธ์คนนี้ เราทำมาแล้ว แล้วมันไม่ใช่สิ่งปกติด้วย มันเป็นปรากฎการณ์ด้วย
แล้วทำไมถึงยังไม่พอใจ มาทำอย่างนี้ออกสื่อ ต้องบอกว่าไม่ถูกอย่างยิ่ง ไม่นึกเลยว่าจะทำ ทำให้เกิดความงงงวย ไม่เข้าใจ
เราทำงานกันคนละส่วนอยู่แล้ว เราก็ทำหน้าที่เรา ทุกคนทำหน้าที่ของตัวเอง อยากจะบอกว่างานทั้งสองชิ้น (บุพเพสันนิวาส-พรหมลิขิต) มันเป็นงานหนัก งานเหนื่อย
คนเป็นร้อยต้องทุ่มเททำอันนี้ ตั้งแต่เตรียมงาน จัดงาน นักแสดง ทีมเสื้อผ้าต่าง ๆ ทีมฉาก ทุกสิ่งทุกอย่าง มันเป็นงานหนักงานใหญ่ เราทำเต็มที่ เราทำสุด เพื่อให้มันดีทั้งหมด
แม้ว่าข้างในมันจะมีข้อบกพร่องอะไรบ้าง แต่ภาพรวมเราต้องยอมรับว่า นี่คืองานที่มีการทุ่มเทออกไปเต็มร้อย
แต่พอเจออย่างนี้มันอึ้ง มันไม่ถูกแล้ว การที่นักประพันธ์ออกมาพูดเองนี่ เสียงตอบรับที่เห็นด้วยกับนักประพันธ์มันดั่งสนั่น เขาสมควรที่จะทำให้เกิดสิ่งนี้ขึ้นหรือ
แล้วสิ่งที่คุณรอมแพงขอโทษ ก็ไม่ใช่สิ่งที่เขาควรจะพูดตรงนั้น เขาพูดว่า เสียใจ ขอโทษที่นิยายทำให้ทำละครดีไม่ได้ ไม่ใช่ มันผิดประเด็น มันเบี่ยงประเด็น มันบิดประเด็น ชนิดที่น่าประหลาดใจ น่าอัศจรรย์ใจ
เขาไม่ได้มองว่านิยายคุณไม่ดีแล้วมาทำละครไม่ดี ไม่ใช่ สิ่งที่เราไม่อยากให้เกิดขึ้นคือ นักประพันธ์ออกมาบ่นว่าละครนู่นนี่ ขาดตรงนั้น ขาดตรงนี้ ไม่ทำตรงนั้น ไม่ทำตรงนี้
เสียหายตรงนั้น เสียหายตรงนี้ บกพร่องตรงนั้น บกพร่องตรงนี้ เราไม่อยากให้เกิดอย่างนั้น มันฉีกพันธะที่เรามีต่อกันออกไป ทำให้มันเกิดรอยแผล รอยกว้างห่างออกไป"


กระทู้: ว่าด้วย "พรหมลิขิต" (ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ)
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 26 ธ.ค. 23, 12:35
ยกที่ ๓ ของคุณศัลยา

วันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๖๖ อาจารย์แดง ศัลยา สุขะนิวัตต์ ได้ให้สัมภาษณ์กับ กรุงเทพธุรกิจ ถึงสิ่งที่เกิดขึ้นหลังละครพรหมลิขิตจบลงว่า... ไม่นึกเลยว่าจะเกิดอย่างนี้ขึ้น

….แต่พอเจออย่างนี้มันอึ้ง มันไม่ถูกแล้ว การที่นักประพันธ์ออกมาพูดเองนี่ เสียงตอบรับที่เห็นด้วยกับนักประพันธ์มันดั่งสนั่น เขาสมควรที่จะทำให้เกิดสิ่งนี้ขึ้นหรือ

แล้วสิ่งที่คุณรอมแพงขอโทษ ก็ไม่ใช่สิ่งที่เขาควรจะพูดตรงนั้น เขาพูดว่า เสียใจ ขอโทษที่นิยายทำให้ทำละครดีไม่ได้ ไม่ใช่ มันผิดประเด็น มันเบี่ยงประเด็น มันบิดประเด็น ชนิดที่น่าประหลาดใจ น่าอัศจรรย์ใจ….

แท้จริงเริ่มมาตั้งแต่วันเสาร์ที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๖๖ แล้ว ;D


กระทู้: ว่าด้วย "พรหมลิขิต" (ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ)
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 27 ธ.ค. 23, 13:35
ยกที่ ๓ ๑/๒ (https://www.facebook.com/100002496823569/posts/pfbid02mfdbeZAvhSJdjKvNcDzcFRts66jCuAtLiwrQfkYmBjrySYZnXk13QBXH279b9ZSal/) คุณศัลยา วันอาทิตย์ที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๖๖ พร้อมกองเชียร์


กระทู้: ว่าด้วย "พรหมลิขิต" (ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ)
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 27 ธ.ค. 23, 14:08
ทั้งอาจารย์ศัลยาและคุณรอมแพงก็ไม่ได้โพสอะไรเพิ่มเติมแล้ว    น่าจะจบกันแค่นี้ค่ะ


กระทู้: ว่าด้วย "พรหมลิขิต" (ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ)
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 21 ม.ค. 24, 09:35
ยกส่งท้าย คุณศัลยาได้ตอบบางคำถามที่กล่าวไว้ในยกที่ ๑

1)คาแรคเตอร์ของพ่อริด เรื่องนี้ต้องพูดกันยาว
2) คาแรคเตอร์คนอื่นๆ : ไม่เหมือนนิยายแน่หรือ
3) ตัวละครหาย : คนเขียนบทหรือนิยายกันแน่ที่ทิ้งตัวละคร
4) เหตุการณ์พุดตานถวายตัวที่ไม่มีในนิยาย : ทำไม

จากบทสัมภาษณ์ “ศัลยา สุขะนิวัตติ์” เผยเบื้องหลังบทละคร “พรหมลิขิต” โดย กันตพงศ์ ก้อนนาค วันจันทร์ที่ ๑๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๗

https://www.silpa-mag.com/culture/article_124336

(๑) คาแรคเตอร์ของหมื่นริด

พ่อเดช กับ หมื่นริด จะมีคาแรคเตอร์เหมือนกันไม่ได้ เพราะตัวละครประจันหน้ากันอยู่ตลอดเวลา เวลาอยู่กับนางเอกพุดตาน มันก็ต้องคนละแบบ จะเหมือนพ่อเดชก็ไม่ได้ ไม่ได้มีเหตุการณ์อะไรที่ให้หมื่นริดมองพุดตานเหมือนที่พ่อเดชมองเกศสุรางค์ อันนี้คือข้อแรก

ข้อที่สองครูวิเคราะห์ตัวละครหมื่นริดเพื่อที่จะออกแบบคาแรคเตอร์ตัวละครตัวนี้มีเขียนไว้ในนวนิยายอยู่สองสามที่ว่าเป็นคนขี้งอน เป็นคนที่ค่อนข้างหงุดหงิด มีความผันผวนทางอารมณ์พอสมควร ครูวิเคราะห์ว่าเพราะเป็นลูกชายที่พ่อแม่ตามใจ หรือก็เป็นลูกชายที่แม่เลี้ยงมาอย่างเปิดโอกาสให้แสดงความคิดอ่านได้ เพราะเกศสุรางค์เป็นคนสมัยใหม่ลูกบ้านนี้ก็ค่อนข้างเปิดกว้าง

ถ้าสังเกตตัวละครหมื่นริดทำงานเก่งเวลาขุนหลวงถามอะไร เขาจะเป็นคนออกหน้าเจรจาความออกความเห็น อย่างไรก็ตาม หมื่นริดเป็นคนอายุแค่ยี่สิบเป็นหนุ่มน้อย ไม่ประสีประสาเรื่องผู้หญิง ไม่มีว่าเคยชอบพอหรือกรุ้มกริ่มกับแม่หญิงคนใดเลย พอหมื่นริดมาเจอพุดตานหญิงสมัยใหม่ก็หวั่นไหวบ้างสิ ผู้ชายโบราณเกิดความหวั่นไหวกับผู้หญิงจริตแบบนี้ เพราะไม่เคยพบเจอ

ส่วนหมื่นริดที่ถูกวิจารณ์ว่าอ่อนแอ ขี้ขลาด ไม่ทำอะไร ยอมเสียพุดตานให้ขุนหลวงง่าย ๆ คนวิจารณ์คือคนสมัย พ.ศ. ๒๕๖๖ แต่หมื่นริด…มหาดเล็กในพระองค์ขุนหลวงท้ายสระของแผ่นดินอยุธยาสามร้อยกว่าปีที่แล้ว ที่ครูกำลังสวมบทบาทของเขาอยู่ เขาไม่มีวันฝืนขนบธรรมเนียมประเพณี ไม่มีวันคัดค้าน ไม่มีวันต่อต้านแย่งชิง

ขุนหลวงรับสั่งว่าทำไมเอ็งไม่บอก ข้ารักเอ็งเหมือนน้องชาย มีหรือจะทำร้ายจิตใจเอ็ง แต่ในมุมหมื่นริด การที่ขุนหลวงรักเหมือนน้องชายนี้แหละ ทำให้หมื่นริดไม่มีวันพูดคำอื่นนอกจากคำว่า "ถ้าทรงโปรดก็จักถวาย" ขณะนั้นครูเห็นหมื่นริด ดังนั้น ครูก็พูดเป็นอื่นไม่ได้เหมือนกัน

(๒) คาแรคเตอร์ของแม่กลิ่น ไม่เหมือนในนิยาย ?

เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดจากแม่กลิ่นมาจากนวนิยาย เริ่มจากแม่กลิ่นไปทำลายแปลงผัก แม่กลิ่นขโมยสร้อย แม่กลิ่นไปราวีตอนพุดตานไปจับปลา ไดอะล็อกของแม่กลิ่นเป็นสิ่งที่ต่อยอดมาจากนวนิยาย มีคนดูละครที่คิดว่าแม่กลิ่นน่าจะร้ายกับพุดตานคนเดียว มันไม่น่าจะร้ายกับคนอื่นด้วย

แต่ครูไม่เห็นว่านวนิยายเขียนถึงแม่กลิ่นทำดีกับบ่าวคนใดก็ตาม หรือดีแบบวิถีไหน ครูไม่เห็น ครูก็เขียนต่อยอดมาจากไดอะล็อกที่แม่กลิ่นพูดกับบ่าว…ที่แรง ๆ ก็มี แต่นี่ก็ไม่ใช่เหตุผลหลักที่ทำให้แม่กลิ่นมีนิสัยอย่างนั้น คุณต้องให้วิถีของการเขียนบทละครโทรทัศน์ทำงานบ้าง คือในละครเรื่องหนึ่งเมื่อมีคนดีประเสริฐ ก็ต้องมีคนไม่ดี เพื่อให้เกิดความขัดแย้งอันเป็นตัวกำหนดความสนุกของละคร คนไม่ดีคือแม่กลิ่น ไม่ใช่ตัวละครที่สร้างใหม่ตามใจชอบ แต่มีอยู่แล้ว นิสัยไม่ดีก็เป็นอยู่แล้ว ถ้าดูแอร์ไทม์ของแม่กลิ่นไม่มากมายสมกับแคสติ้งได้แม่กลิ่นคนนี้มาเล่น ครูต้องรับผิดชอบเขียนบทให้

แม่กลิ่นก็เป็นตัวละครหนึ่งที่เราเขียนให้มีบริบทแบบนั้น เมื่อยายกุย (ยายซึ่งมีศักดิ์เป็นญาติของแม่กลิ่น) เห็นคนอื่นดีกว่า ไปเข้าข้างคนอื่น มาพูดจาไม่ดีกับเราซึ่งเป็นหลานจึงเกิดอารมณ์เสีย แต่ก็เป็นไปได้ที่ครูเขียนตัวละครแม่กลิ่นซีกเดียวจนเกินไป อาจไม่มีซีกอื่นที่ทำให้ตัวละครตัวนี้มีความกลมขึ้นมา เป็นความผิดพลาดของครู


กระทู้: ว่าด้วย "พรหมลิขิต" (ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ)
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 21 ม.ค. 24, 09:35
(๓) ตัวละครหาย : คนเขียนบทหรือนิยายกันแน่ที่ทิ้งตัวละคร

ตามนวนิยายช่วงกลางเรื่องถึงท้ายเรื่องแม่กลิ่นหายไปเลย จนกระทั่งตอนใกล้จบจึงมีเรื่องจมน้ำกับพุดตาน เมื่อรู้ความจริงก็รู้สึกผิด ปรับทุกข์กับนางเอก จบฉากยายกุยกับแม่กลิ่นตรงที่มาแสดงความยินดีกับนางเอกที่จะได้ถวายตัว ซึ่งอยู่ในตอนใกล้จบ ส่วนเรื่องยายกุยเจอเทวดาว่าให้เลี้ยงลูกเทวดา และเทวดาตอบแทนให้ร่ำรวยในนวนิยายไม่มีเป็นเรื่องเป็นราวรูปธรรม และไม่ได้เขียนบทสรุปให้จบอย่างสมบูรณ์ ส่วนนี้ครูไม่ได้เขียนเหมือนกัน

(๔) เหตุการณ์พุดตานถวายตัวที่ไม่มีในนิยาย : ทำไม

สองปมในละครคือ เมียพระราชทานและพุดตานถวายตัว ครูต้องสร้างปมตรงนี้ขึ้นมาให้ละคร ไม่เช่นนั้นละครจะเรียบร้อย ตัวละครเอกไม่มีอุปสรรค ไม่มีความขัดแย้ง ไม่มีอะไรให้เอาใจช่วย ครูไม่ได้บิดเบี้ยวนวนิยายหรือทำผิดกฎระเบียบกฎมณเฑียรบาล ทุกอย่างอยู่ในกรอบที่สามารถทำได้ ครูคิดอยู่นานเหมือนกันว่าจะสร้างปมอะไรดี เมื่อวางปมไปแล้วต้องแก้ปม

ตอนครูทำ ทีมผู้ผลิตถามตลอดว่า "แก้ปัญหายังไงเรื่องใหญ่นะเนี่ย ขุนหลวงจะเอาพุดตานไปอยู่แล้ว" ทีมผู้ผลิตว้าวุ่นเลยแหละ การหาทางออกปมถวายตัวนี้เป็นไปตามตามคาแรคเตอร์ของตัวละคร ขุนหลวงท้ายสระ เราพบข้อมูลว่าท่านเป็นคนเรียบง่าย รักสงบ คาแรคเตอร์จริง ๆ ในประวัติศาสตร์เป็นอย่างไรเราก็ไม่รู้ชัดเจนนัก แต่ในบริบทของละคร ขุนหลวงพบกับพุดตานคุยกัน และออกโอษฐ์ว่าเพลิดเพลินกับการสนทนา ดังนั้น ปมถวายตัวจึงคลี่คลายได้ เพราะขุนหลวงฟังพุดตาน และเข้าใจเหตุผล กล่าวได้ว่า คาแรคเตอร์ของทั้งสองคน ทำให้เกิดปมและเป็นตัวคลี่คลายปมถวายตัวนั่นเอง


กระทู้: ว่าด้วย "พรหมลิขิต" (ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ)
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 21 ม.ค. 24, 10:16
       คิดว่าเข้าใจอาจารย์ศัลยา ไม่มากก็น้อยค่ะ  ไม่มีอะไรจะคัดค้าน
       วิธีคิดของอาจารย์รัดกุม  มีเหตุมีผล มีที่มาที่ไป  สมกับเป็นนักวิชาการมาตลอดชีวิตทำงานของอาจารย์  จึงเป็นนักเขียนบทละครมือทอง  ประสบความสำเร็จมาหลายทศวรรษแล้ว
       เพียงแต่ว่าวรรณกรรมก็ดี  ละครโทรทัศน์ก็ดี  หนังก็ดี เป็นผลิตผลของความรู้สึกนึกคิดและอารมณ์  ไม่ใช่ผลิตผลของเหตุและผล   เพราะฉะนั้นไม่มีใครเดาได้ล่วงหน้าว่าเขียนอย่างไรถึงจะประสบความสำเร็จ อันได้แก่ความหมายว่า "ถูกใจคนอ่าน( หรือคนดู)" 
      นิยาย 2 เรื่องเขียนโดยคนคนเดียวกัน    มีวิธีนำเสนอเหมือนกัน  พระเอกนางเอกก็แบบเดียวกัน (เมื่อนำมาเป็นละครโทรทัศน์ก็วางตัวดาราคนเดียวกัน)  แต่ผลออกมาไม่เหมือนกัน  เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้เสมอ และไม่ต้องไปหาเหตุผล  เพราะความชอบไม่ชอบ  วัดกันด้วยตรรกะไม่ได้