เรือนไทย

General Category => ศิลปะวัฒนธรรม => ข้อความที่เริ่มโดย: sound engineer ที่ 23 ธ.ค. 05, 16:05



กระทู้: หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการตั้งนามสกุล
เริ่มกระทู้โดย: sound engineer ที่ 23 ธ.ค. 05, 16:05
 ย่า ยาย เสียไปหมดแล้ว ครั้นจะถามพ่อก็คงไม่กระจ่าง ว่า ก่อนที่จะมีนามสกุลนั้น มีใครไหมในตระกูลของเรา ที่ชื่ออย่างที่หลวงท่านตั้งให้มา เช่น นามสกุล มาดี ตั้งจาก คุณตาชื่อ มา และคุณยายชื่อ ดี หรือไม่ หรือว่าเป็นแค่การจับสลากเลือกมาเท่านั้น


กระทู้: หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการตั้งนามสกุล
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 24 ธ.ค. 05, 14:41
 คุณ sound engineer มารำพึงให้ฟังหรือคะ
ถ้าเป็นคำถามที่รู้กันเฉพาะในครอบครัวคุณ  คนอื่นๆก็คงตอบไม่ได้

ได้แต่เล่าให้ฟังว่า
การตั้งนามสกุลตามชื่อบรรพบุรุษ มีตั้งแต่เริ่มมีนามสกุลในรัชกาลที่ ๖
นามสกุลพระราชทานเป็นจำนวนมาก มาจากชื่อบรรพบุรุษของคนในสกุลนั้น
ไม่ว่าบุนนาค  สิงหเสนี  ชูโต  ฯลฯ
ราชสกุลเกือบทั้งหมดก็มาจากพระนามของพระราชโอรสในรัชกาลต่างๆ  วังหน้าและวังหลัง  ผู้เป็นต้นราชสกุลนั้นๆ

แต่น่าสังเกตว่า  เป็นการสืบสกุลทางฝ่ายชาย มีแต่ชื่อบรรพบุรุษ ไม่มีชื่อบรรพสตรีมาบวกเข้าไปด้วย
ผิดกับนามสกุลที่ทางอำเภอ หรือหัวหน้าหมู่บ้านตั้ง อาจจะบวกชื่อทั้งฝ่ายชายและหญิง


กระทู้: หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการตั้งนามสกุล
เริ่มกระทู้โดย: หมูน้อยในกะลา ที่ 26 ธ.ค. 05, 18:31
 ผมเคยอ่านเจอมาว่า โดยมาก หากเป็นชาวบ้านๆ อย่างเราท่าน ก็มักจะเอาคำง่ายๆที่พอรู้จักมาทำเป็นนามสกุลกัน  (เพื่อนผมคนหนึ่ง บรรพบุรุษ ของเขาทำไรทำนา  เป็นกสิกร ก็เลยตั้งนามสกุล ว่า " ทำนา " ทุกวันนี้ มาทำงานในกรุงเทพ ก็ยังมีคนถามว่า ที่บ้านทำนาอยู่รึ?)  ใครที่ไม่ค่อยรู้หนังสือ ก็มักให้คนรู้หนังสือ เช่นพวกที่เคยบวชเรียนมาแล้วหรือพวกทิด (ภาคเหนือเฮา ฮ้อง หน้อย  ฮ้อง หนานนั้นแล ) ให้ช่วยตั้งนามสกุลให้  อย่าง พ่อชื่อ  เพ็ง  แม่ชื่อ หนู   ก็ตั้ง เป็น  "เพ็งหนู" (นามสกุลนี้มีอยู่จริง และผมเคยอ่านเจอประวัติ) เป็นต้น เพื่อนที่รับปริญญารุ่นเดียวกัน นามสกุล "กางมุ้งคอย"  ตอนประกาศชื่อนั้น ผมแอบยเห็นคนอื่นอมยิ้ม แนะ ...ที่แย่ก็คือเค้าเป็นผู้หญิง? ไม่แน่ใจในประวัตินามสกุลเค้า เหมือนกัน
ราชทินนามที่ใช้ เป็นนามสกุลนั้นมีเยอะมาก
ส่วน ราชสกุลนั้นเท่าที่จำได้ นั้นมี ๑๓๐ สกุลครับ(ถ้าจำไม่ผิด)


กระทู้: หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการตั้งนามสกุล
เริ่มกระทู้โดย: sound engineer ที่ 26 ธ.ค. 05, 21:12
 ขอบคุณมากครับเพราะบางที ญาติพี่น้อง สกุลเดียวกันไม่รู้จักกันก็มี บางทีก็อยู่ใกล้กันแต่ สะกดกันคนละอย่างเช่น วงศ์นาค บางบ้านเขียน วงษ์นาค  บางบ้าน วงนาก ทั้งที่เป็นญาติกันครับ