เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 16 17 [18] 19 20 ... 32
  พิมพ์  
อ่าน: 70984 พระมหาเถระเจ้าอุทุมพร พระวิบากของพระองค์ในปัจจุบันกาล
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 255  เมื่อ 11 พ.ย. 17, 07:36

อ้างถึง
ป.ล. ผมสงสัยเรื่องมาตรฐานการบูรณะโบราณสถาน เพราะโดยความเข้าใจของผม การต่อเติมโดยไม่ทราบรูปแบบเดิมไม่น่าจะทำได้ไม่ใช่หรือครับ หรือว่ามีข้อยกเว้นอย่างไรบ้าง (แต่เรื่องนี้อย่าไปถามกรมศิลป์นะครับ)

คำถามนี้สั้น แต่ต้องตอบยาวและจริงจังนะครับ ขอเวลาผมด้วย
บันทึกการเข้า
srinaka
อสุรผัด
*
ตอบ: 27


ความคิดเห็นที่ 256  เมื่อ 11 พ.ย. 17, 07:38

คำแปลอีกเวอรชันหนึ่ง

ภาพพระเจ้าอุทุมพร จากเอกสาร ชเวนันเลทง (Shwe nan let thon) ต้นฉบับเก็บรักษาไว้ที่ห้องสมุดอาณานิคมในลอนดอน ภาพนี้จากฉบับที่คัดลอกมาเมื่อพ.ศ. ๒๔๓๗ คำบรรยายใต้ภาพเป็นภาษาพม่า  นายแพทย์ทิน มอง จี” (Tin Maung Kyi) นักวิชาการทางสังคมศาสตร์หลังเกษียณ ผู้มีเชื้อสาย "โยดะยา" (ไทย) แปลจากภาษาพม่าเก่าแบบบรรทัดต่อบรรทัด ความว่า

"ผู้ก่อตั้งที่สามแห่งรัตนปุระ (อังวะ) และพระเจ้าช้างเผือก
ต่อสู้และชนะอโยธยา,
กับกษัตริย์
กษัตริย์ถูกนำตัวมาที่นี่ ในช่วงการครองราชย์ของพระเชษฐาของพระองค์ (กษัตริย์บาดุง)
กษัตริย์ (ไทย) ขณะอยู่ในสมณเพศ, มรณภาพที่อมรปุระ ที่ลินซิน-กอง
สุสาน, พระองค์ถูกบรรจุ/เผาพระศพด้วยสมพระเกียรติในความเป็นเชื้อพระวงศ์
นี่คือภาพของเจ้าฟ้าเอกทัศน์"

บรรทัดสุดท้าย คุณหมอสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นความเข้าใจผิดเรื่องชื่อ เพราะควรเป็นชื่อของเจ้าฟ้าอุทุมพร เนื่องจากในประวัติศาสตร์พม่าและประวัติศาสตร์ไทย กษัตริย์จากกรุงศรีอยุธยาองค์สุดท้ายสวรรคตจากเหตุสงครามที่กรุงศรีอยุธยานั่นเอง

ข้อมูลจากบทความเรื่อง สถูปเจ้าฟ้าอุทุมพร และลูกหลานชาวโยดะยาในพม่า “คุณหมอทิน มอง จี” โดย คุณวลัยลักษณ์ ทรงศิริ จดหมายข่าวมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ ฉบับที่ ๙๖ ตุลาคม-ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๕





ผมไม่กล้าถามท่านเจ้าของกระทู้  ขอถามคุณเพ็ญชมพูผู้ที่สนับสนุนข้อมูลสมุดข่อยแผ่นเดียวนี้ ว่าได้มีการสืบสาวไปที่ต้นตอ ขอตรวจสอบต้นฉบับว่ามีอยู่จริงหรือไม่หรือยัง เราควรทราบความเต็มๆนั้นไหม ยกตัวอย่างเช่นถ้ามีใครไปตัดความจากศิลาจารึกมาส่วนหนึ่ง ท่านจะตีความได้ทะลุปรุโปร่งหรือครับ หรือว่าผมสมองไม่ถึง อ่านกระทู้ไม่ละเอียด กรุณาให้ความรู้ด้วยครับ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12605



ความคิดเห็นที่ 257  เมื่อ 11 พ.ย. 17, 08:06

ผมไม่กล้าถามท่านเจ้าของกระทู้  ขอถามคุณเพ็ญชมพูผู้ที่สนับสนุนข้อมูลสมุดข่อยแผ่นเดียวนี้ ว่าได้มีการสืบสาวไปที่ต้นตอ ขอตรวจสอบต้นฉบับว่ามีอยู่จริงหรือไม่หรือยัง เราควรทราบความเต็มๆนั้นไหม ยกตัวอย่างเช่นถ้ามีใครไปตัดความจากศิลาจารึกมาส่วนหนึ่ง ท่านจะตีความได้ทะลุปรุโปร่งหรือครับ หรือว่าผมสมองไม่ถึง อ่านกระทู้ไม่ละเอียด กรุณาให้ความรู้ด้วยครับ

คุณศรีนาคาคงเข้าใจคลาดเคลื่อนเรื่องที่ว่าเป็นผู้สนับสนุนข้อมูลในสมุดข่อยเวอร์ชันข้างบน เป็นเพียงแต่เสนอข้อมูลเท่านั้น

ส่วนเวอร์ชันนี้แปลโดยผู้เชี่ยวชาญภาษาพม่าที่กรมศิลปากรมมอบหมายให้แปล แต่จากต้นฉบับที่ British Commonwealth Library ที่กรุงลอนดอนหรือเปล่าไม่ระบุ   ยิงฟันยิ้ม

สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ หรือ พระเจ้าเอกทัศ เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 33 มีใจความว่า ภาพเจ้าฟ้าเอกทัศน์ กษัตริย์โยดะยา ผู้ซึ่งตกอยู่ภายใต้เบื้องพระยุคลบาท สมเด็จพระบรมมหาปัยกาธิบดี สี่น ผยู่ ฉิ่น พระผู้ทรงสถาปนากรุงรัตนปุระเป็นราชธานีนับเป็นครั้งที่ 3 ทรงตีอาณาจักรโยดะยาและสามารถยึดเอาเมืองพร้อมกับกษัตริย์ได้แล้ว ภายหลังเสด็จสวรรคต ขณะอยู่ในผ้าเหลือง ณ เมืองอมรปุระ ในรัชกาลสมเด็จพระบรมมหาปัยกาธิบดี พระอนุชา (ของกษัตริย์พระองค์นั้น) พระผู้ทรงสถาปนากรุงอมรปุระเป็นราชธานี และทรงสงเคราะห์อย่างใหญ่โต ณ สุสานลินซินโกง

ซึ่งถ้าคำแปลนี้ถูกต้อง มีความเห็นดังนี้

ผู้บันทึกได้บันทึกหลังพิธีปลงพระศพหลายสิบปี จึงอาจมีความคลาดเคลื่อนได้บ้าง ข้อความในบันทึกเป็นได้ ๒ กรณี คือ

๑. บันทึกคลาดเคลื่อนจาก ภาพพระเจ้าอุทุมพร เป็นภาพพระเจ้าเอกทัศน์

๒. เป็นภาพพระเจ้าเอกทัศน์จริง แต่ "กษัตริย์" ที่กล่าวต่อมาว่าสวรรคตในผ้าเหลืองที่อมรปุระควรเป็นพระเจ้าอุทุมพร ไม่ใช่พระเจ้าเอกทัศน์ (นอกจากจะมีหลักฐานว่าพระเจ้าเอกทัศน์สวรรคตที่พม่า)

บันทึกการเข้า
srinaka
อสุรผัด
*
ตอบ: 27


ความคิดเห็นที่ 258  เมื่อ 11 พ.ย. 17, 08:13

ขอบคุณครับ.
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 259  เมื่อ 11 พ.ย. 17, 08:16

เหตุจากที่คุณ srinaka กล่าวว่าไม่กล้าถามผม ผมจึงขอโอกาสที่จะเป็นผู้ตอบด้วย
ก่อนอื่น ผมต้องขออภัยที่ไม่ทราบไปทำอะไร จึงไปสร้างความรู้สึกให้คุณขนาดนั้น แต่ก่อนจะขยายความต่อไป ขอให้คุณอ่านข้อความที่ผมเขียนไว้แล้ว แต่คุณอาจจะข้ามไปเสียก่อน

อักษรพม่าที่จารึกไว้ แปลเป็นภาษาอังกฤษว่า
The third founder of Ratanapura  and Lord of the White Elephant, fought and won Ayodaya, together with the King.
The King was brought here. During the reign of his brother , the founder of Amarapura, the King while in monkhood, died at Amarapura. At Linzin-gon cemetery, he was entombed/cremated with great honor entitled to a monarch.
This is the image of Chaofa Ekadath

ถอดความเป็นภาษาไทยอีกที สำนวนตรงไปตรงมาได้ความดังนี้
พระผู้ทรงสถาปนารัตนปุระ(อังวะ) ผู้ทรงเป็นพระเจ้าช้างเผือก(หมายถึงพระเจ้ามังระ) ทรงรบชนะอโยธยาและกษัตริย์
กษัตริย์ได้ถูกนำมาที่นี่   ระหว่างรัชกาลของพระราชอนุชา(หมายถึงพระเจ้าปดุง) กษัตริย์ซึงทรงอยู่ในสมณเพศได้เสด็จสวรรคตในอมรปุระ  ที่ลินซิงกอง พระสรีระของพระองค์ได้รับการถวายพระเพลิงและบรรจุพระสถูปอย่างยิ่งใหญ่สมพระเกียรติในฐานะทรงเป็นกษัตริย์
นี่เป็นภาพของเจ้าฟ้าเอกทัศน์

ประโยคสุดท้ายนี้อธิบายภาพของบุรุษผู้แต่งกายแบบฆราวาสสวมชฎา ซึ่งมิได้เกี่ยวข้องกับเรื่องที่บรรยายในหน้าเดียวกันโดยตรง อาจจะต้องการประกอบความในหน้าอื่น

เรื่องของเรื่องที่มาที่ไปคือ ในปีพ.ศ.๒๔๒๘  พม่าเสียเอกราชให้แก่อังกฤษในรัชกาลพระเจ้าสีป่อ ทหารอังกฤษได้เข้าปล้นเอาสิ่งของต่างๆในพระราชวังมัณฑะเลย์ รวมถึงทรัพย์สมบัติในท้องพระคลังของราชวงศ์คองบองไปจนหมด  แม้กระทั่งเตวั้งรุปซุงประบุทก็ยังถูกขนไปจากหอพระสมุดที่เรียกว่าวังแก้ว แล้วนำไปเก็บไว้ที่ British Commonwealth Library, London ดังว่า  เตวั้งรุปซุงประบุท หรือ parabike ที่มีข้อความข้างบนนี้ เป็นเอกสารชิ้น ที่ ๙๙  Serial Number หมายเลข  ๒๘๘

สุสานลินซินกอง ที่นักประวัติศาสตร์ไทยรู้จัก แต่ไพล่ไปเรียกว่าสุสานล้านช้างนั้น เพราะคนพม่าเองก็ยังไม่ทราบความหมายที่แท้จริงของชื่อนี้ ซึ่งหากแปลตรงตัวก็มีความหมายว่าหอสูง จึงอาจจะให้ข้อมูลที่ผิดแล้วยังเกิดการเดาซึ่งนำไปสู่ความเข้าใจผิด  ความจริงนักประวัติศาสตร์พม่าทราบแต่เพียงว่า ในอดีตเป็นสุสานสาหรับชนชันสูงที่เป็นชาวต่างชาติเท่านั้น  

เมื่อความสำคัญของ parabike มีถึงเช่นนี้ หากจะเชื่อข้อมูลฝ่ายพม่าเพียงอย่างเดียวอาจมีปัญหาหากเอกสารดังกล่าวไม่มีอยู่จริง เพื่อความรอบคอบ วิจิตรจึงได้ขอให้คนรู้จักที่อยู่ในลอนดอนช่วยไปติดตามดู และยืนยันกลับมาให้ทราบด้วย

หลังจากใช้ระยะเวลาอันยาวนานและอดทน เนื่องจากในครั้งแรกเจ้าหน้าที่หาเอกสารนั้นไม่พบ สุดท้ายได้คุณเพลิน นักศึกษาที่นั่น สามารถสืบได้ตัวภัณฑารักษ์ซึ่งเป็นคนพม่าชื่อ ซาน ซาน เมย์ ผู้ค้นพบเอกสารนั้นและนำออกมาให้ ดร.ทิน หม่อง จี ดูเมื่อหลายปีที่แล้ว เธอได้กล่าวว่าเอกสารชิ้นนั้นได้ถูกย้ายที่เก็บไปอยู่ห้องอินเดีย และหมายเลขที่ถูกต้องก็คือ OMS/Mss Burmese 199 หน้า 48

คุณเพลินได้พยายามขอให้ ซาน ซาน เมย์ เป็นผู้แปลเป็นภาษาอังกฤษให้ แต่เธอทำไม่ใด้ เนื่องจากมีระเบียบบังคับอยู่ แต่ได้อ่านที่สำคัญให้ฟังโดยสรุปว่ากษัตริย์ไทยพระองค์นี้ได้มาอยู่เมืองพม่า มีพิธีพระบรมศพที่ยิ่งใหญ่ ที่บรรจุพระบรมศพอยู่ที่ Linzhin Amarapura

เป็นอันว่าหายใจโล่งอกไปได้เปลาะหนึ่ง ในอนาคตหากรัฐบาลไทยให้ความสำคัญและเป็นผู้ติดต่อดำเนินการขอหลักฐานนี้พร้อมคำแปลอย่างเป็นทางการ ก็คงไม่เหลือวิสัย
ข้างล่างคือภาพที่วิจิตรได้รับในครั้งนั้น

บันทึกการเข้า
srinaka
อสุรผัด
*
ตอบ: 27


ความคิดเห็นที่ 260  เมื่อ 11 พ.ย. 17, 08:40

ที่ผมไม่กล้าถาม ก็ด้วยความที่เป็นนักเรียนปลายแถว ตามเลคเชอร์อาจารย์ไม่ค่อยทัน เลยเข้าไปแอบข้างหลังคุณเพ็ญชมพู กระมิดกระเมี้ยนถามเสียงเบาๆ เพราะกลัวอาจารย์ดุ

อ่านที่ท่าน กรุณาเอาของเดิมที่เคยบอกแล้ว แต่ผมเข้าใจไม่แตกเอง ก็ยังอด สงสัยไม่ได้ว่า การโล่งอกบนข้อมูลที่ท่านวิจิตรได้จากการบอกต่อๆกันมา ถ้าหากอาจารย์จะยืนยันว่า นั่นเพียงพอแล้วจะเอาอะไรกันนักกันหนา...ผมก็จะขอไปแอบหลังคุณเพ็ญชมพูต่อ ละครับ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 261  เมื่อ 11 พ.ย. 17, 08:46

เมื่อเขียนไปแล้วในครั้งนั้น ผมจึงได้ทราบเพิ่มเติมจากความในจดหมายที่คุณเพลินเขียนมาถึงคุณวิจิตรว่า สมุดข่อยดังกล่าวเป็นเรื่องของเจ้านายต่างเชื้อชาติหลายองค์ที่มาอยู่พม่า ซึ่งหนึ่งในนั้นเป็นกษัตริย์โยเดีย ซึ่งผู้บันทึก(ภายหลังพระองค์สวรรคตแล้วประมาณ ๙๐ ปี) สลับสับสนไปใส่ชื่อว่าพระเจ้าเอกทัศน์ ทั้งๆที่พงศาวดารอื่นๆของพม่าและไทยกล่าวตรงกันว่าพระองค์สวรรคตคราวกรุงแตก

ถ้าฟังคุณดำรง ใคร่ครวญพูดในคลิ๊บ ท่านเชื่อว่าความสำคัญในสมุดข่อย ที่ว่าพระองค์อยู่ในสมณเพศ และได้เสด็จสวรรคตในอมรปุระ  ที่ลินซิงกอง พระสรีระของพระองค์ได้รับการถวายพระเพลิงและบรรจุพระสถูปอย่างยิ่งใหญ่สมพระเกียรติในฐานะทรงเป็นกษัตริย์ นั้นว่า พม่าคงไม่ได้แต่งขึ้นเองเพื่อบิดเบือนความจริงอะไร เพราะพระเจ้าอุทุมพรไม่ได้มีความสำคัญในเรื่องความสัมพันธ์ของไทยและพม่า(ในเวลาที่บันทึก)ถึงขนาดจะต้องไปแต่งเรื่องขึ้น

ส่วนอีกประเด็นหนึ่งที่ผมสนใจ คำแปลนี้มักจะใส่ชื่อสถานที่ถวายพระเพลิงพระบรมศพว่า ลินซิงกอง(หรืออะไรที่สำเนียงคล้ายกัน) แต่เอกสารพม่าที่เป็นภาษาอังกฤษหลายฉบับจะพบว่าเขียนแค่ Linzhin ตรงกับที่คุณเพลินขอให้เจ้าหน้าที่ห้องสมุดคนพม่าแปลให้

คำว่าลินซินเฉยๆนั้นแปลว่าหอสูง ที่สูง หรือเนิน หนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษของพม่าจะเรียกสถานที่นั้นว่า Linzin hill บ้าง Linzin hillock บ้าง ซึ่งคำหลังนี้แปลว่าเนิน น่าจะเหมาะกว่าคำแรกที่แปลว่าภูเขา
ลินซินในสมุดข่อยจึงหมายถึงเนิน มากกว่าจะหมายถึงสุสาน(จากคำว่ากอง)  ที่มาเรียกกันที่หลังตามสภาพที่มันกลายไปหลังราชอาณาจักรพม่าล่มสลาย


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 262  เมื่อ 11 พ.ย. 17, 08:50


อ่านที่ท่าน กรุณาเอาของเดิมที่เคยบอกแล้ว แต่ผมเข้าใจไม่แตกเอง ก็ยังอด สงสัยไม่ได้ว่า การโล่งอกบนข้อมูลที่ท่านวิจิตรได้จากการบอกต่อๆกันมา ถ้าหากอาจารย์จะยืนยันว่า นั่นเพียงพอแล้วจะเอาอะไรกันนักกันหนา...ผมก็จะขอไปแอบหลังคุณเพ็ญชมพูต่อ ละครับ

ไม่เลยครับ คุณวิจิตรไม่ได้เชื่อข้อมูลที่(พม่า)บอกต่อๆกันมา ท่านขอให้คนรู้จักกันที่ลอนดอนช่วยสอบให้ ล้มเหลวก็หลายคน สุดท้ายคุณเพลินเป็นผู้เจอแล้วรายงานกลับมา จึงมั่นใจว่าเอกสารนั้นมีจริง ถ้อยคำก็เป็นไปตามนั้น
คุณดำรง ในคลิ๊บก็กล่าวว่าท่านสั่งการให้สถานทูตไทยที่นั่น ไปตรวจสอบแล้ว รายงานมากระทรวงข้อมูลถูกต้องตรงกัน

น่าเสียดายที่คุณดำรงต้องย้ายไปเป็นออท.ประจำมาเลเซีย ข้าราชการในกระทรวงสลับตำแหน่งกันหมด ผู้ที่มาใหม่ไม่ได้ให้ความสนใจในเรื่องนี้ เรื่องก็เป็นอันถูกเก็บเข้าลิ้นชักตามระบบอันดีของราชการ ท่านยังได้แสดงความเสียใจกับคุณวิจิตรว่าท่านได้ช่วยอะไรต่อไม่ได้
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 263  เมื่อ 11 พ.ย. 17, 09:34


ป.ล. ผมสงสัยเรื่องมาตรฐานการบูรณะโบราณสถาน เพราะโดยความเข้าใจของผม การต่อเติมโดยไม่ทราบรูปแบบเดิมไม่น่าจะทำได้ไม่ใช่หรือครับ หรือว่ามีข้อยกเว้นอย่างไรบ้าง (แต่เรื่องนี้อย่าไปถามกรมศิลป์นะครับ  รูดซิบปาก)

ผมเคยกล่าวเรื่องนี้ไว้แล้วตามนี้
สำหรับหลักการคร่าวๆของการบูรณะโบราณสถานก็คือ หนึ่ง จะใช้ preservation หรือสงวนรักษาสิ่งที่พบไว้ในลักษณะเดิมทุกประการ หรือจะใช้ สอง  conservation หรืออนุรักษ์โดยให้ความเคารพต่อส่วนสำคัญของโบราณที่ปรากฏอยู่  แล้วปฏิสังขรณ์ส่วนที่พังสูญหายมลายทรากไปแล้ว ให้กลับมาใช้งานได้ใหม่   ซึ่งสุดท้าย รัฐบาลพม่าเป็นผู้ตัดสินใจแต่ฝ่ายเดียวในการเลือกการอนุรักษ์ (ซึ่งตรงกับแนวคิดของคณะทำงาน)

วิธีการอนุรักษ์ก็คือ ทำการบันทึกทั้งภาพถ่ายและภาพเขียน ก่อนจะรื้ออิฐโบราณออกมาคัดเกรด เลือกไว้ที่จะนำกลับไปก่อใหม่โดยกรรมวิธีเดิม แต่อาจเปลี่ยนปูนก่อเป็นสมัยใหม่เพื่อความทนทานในอนาคต  ส่วนใดของโบราณสถานเคยมีปูนฉาบผิวอยู่ ก็ซ่อมเข้าไปใหม่ตามสภาพเดิม ในส่วนที่ไม่มีหลักฐานเดิมเหลืออยู่เลย ก็ต้องใช้วิธีการสันนิษฐาน โดยนำโบราณสถานชนิดเดียวกัน ในยุคเดียวกันมาเปรียบเทียบ แล้วกำหนดแบบ ก่อสร้างเสร็จแล้วให้คนยุคหลังรู้ชัดๆว่าส่วนใดเป็นการก่อสร้างสมัยไหน  
 

ภาพที่นำมาให้ดูนี้คือตัวอย่างในหลายประเทศ ที่เขาอนุรักษ์โดยการบูรณะปฏิสังขรณ์อาคารโบราณ ที่ถ้าปล่อยทิ้งไว้ก็ใช้ประโยชน์อะไรไม่ได้ ให้กลับมาใช้ได้ใหม่ โดยถึงแม้จะทราบรูปแบบเดิมแต่ก็ยังไม่ทำอย่างนั้นเปี๊ยบ และได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างได้ตามกฏหมาย  
หลายหลังยังหลังได้รับรางวัลด้วย


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 264  เมื่อ 11 พ.ย. 17, 09:38

ตัวอย่างนี้เป์นอาคารใช้งานทางด้านศาสนา


บันทึกการเข้า
srinaka
อสุรผัด
*
ตอบ: 27


ความคิดเห็นที่ 265  เมื่อ 11 พ.ย. 17, 10:30


ผมขอเรียนถามอาจารย์อีกข้อครับ

ตามสมุดข่อยพม่า ได้กล่าวถึงเจ้าฟ้าเอกทัศน์ (ซึ่งพระองค์มีบทบาทในการต่อสู้ ในขณะที่ท่านมหาสมณะมิได้มีบทบาทใดๆเลย) แม้ไทยเราจะมีบันทึกว่าพระศพเจ้าฟ้าเอกทัศน์ถูกฝังไว้ที่โคกพระเมรุ ตรงหน้าพระวิหารพระมงคลบพิตร อยุธยา

แต่ถ้าจะยึดความตามสมุดข่อยพม่า จะตีความว่าพระเจ้าเอกทัศน์ ได้ไปสวรรคตที่พม่า ไม่ได้หรือครับ 
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 266  เมื่อ 11 พ.ย. 17, 10:40

ไม่ได้ครับ เพราะพงศาวดารพม่าอื่นๆ ได้กล่าวถึงการสวรรคต ว่าทหารพม่าพบพระบรมศพในบริเวณพระมหาราชวัง และนำมาถวายพระเพลิงที่หน้าวัดพระศรีสรรเพชญ์ไว้ชัดเจน สอดคล้องกับพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาของไทย ซึ่งยืนยันถึงการสรรคตของพระองค์ แม้จะกล่าวอย่างรวบรัดก็ตาม
บันทึกการเข้า
srinaka
อสุรผัด
*
ตอบ: 27


ความคิดเห็นที่ 267  เมื่อ 11 พ.ย. 17, 21:03

ขอบคุณครับท่านอาจารย์ ที่กรุณาตอบ
แม้จะยังมีอีกหลายแง่มุมที่ต้องค้นหาความจริงต่อไป...
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 268  เมื่อ 12 พ.ย. 17, 06:39

สงสัยมุมไหน ขอให้ถาม อย่าเก็บไว้ในใจนะครับ

ไม่ต้องเกร็งเรื่องเห็นต่าง ในเรื่องประวัติศาสตร์และโบราณคดีความเห็นต่างเกิดขึ้นได้เสมอ  ขนาดศิลาจารึกหลักที่ ๑ ซึ่งถูกนำมาเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ว่ากรุงสุโขทัยเป็นราชธานีแห่งแรกของชาติไทย วันทีคืนดียังมีผู้ออกมาเสนอความเห็นใหม่ว่า พ่อขุนรามคำแหงไม่ได้ทำ คนทำคือพระจอมเกล้า สื่อสนใจเสนอข้อมูลทั้งฝ่ายเห็นด้วยไม่เห็นด้วยอยู่หลายปีจึงจะสงบ แต่คนเชื่อไม่เชื่อจะเปลี่ยนทัศนะคติอย่างไรหรือไม่ ก็ไม่มีใครทราบ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 269  เมื่อ 12 พ.ย. 17, 09:34

ตอบคุณม้าต่อครับ

สำหรับเรื่องแบบของอนุสรณ์สถานพระเจ้าอุทุมพรนี้ ผมต้องขอให้คุณวิจิตร ชินาลัยช่วยชี้แจง  แต่เนื่องจากพี่ท่านไม่ถนัดงานพิมพ์  จึงขอเล่าให้ฟังโดยให้ผมเป็นผู้ถ่ายทอดมาลงกระทู้อีกที่หนึ่ง

คุณวิจิตรกล่าวว่า เรื่องกฏเกณฑ์ของงานอนุรักษ์นั้น   มีหลักสากลที่ยูเนสโกเป็นผู้กำหนดและพยายามให้ทุกประเทศปฏิบัติตาม โดยมีกองทุนมรดกโลกมาเป็นเครื่องล่อ  แต่ประเทศในเอเซียที่มีวัฒนธรรมของตนเองสืบเนื่องมานับพันปีแล้ว ไม่ค่อยให้ความสนใจ นอกจากที่อยากได้เงินของเขามาพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวหาเงินเข้าประเทศอีกที  ส่วนพม่า เขามีโบราณสถานเป็นพันเป็นหมื่นแห่งที่ยังเป็นโบราณสถานที่ยังมีชีวิต ( Living Monument)  มีประชาชนเข้าไปกราบไหว้ทำพิธีกรรมทางศาสนาอยู่ ฝรั่งจะมากำหนดให้เขาทำอย่างโน้นอย่างนี้  หลายอย่างเช่นห้ามจุดธูป ต้องเปิดปิดเป็นเวลา ห้ามเข้าในเวลากลางคืน ทำเหมือนเป็นพิพิธภัณฑ์ เขาไม่เห็นด้วย แล้วเรื่องที่จะปล่อยให้วัดที่เขายังเข้าไปกราบไหว้เป็นทรากอิฐ ถ้าเขามีเงินมีทอง เขาจะไม่ยอมให้เป็นเช่นนั้นเลย

ของฝรั่งก็เช่นกัน  ถ้าเป็นอาคารทางศาสนาแล้วเขาก็ไม่ยอมถูกบังคับ  แต่ละศาสนาและนิกาย เขาจะมีข้อกำหนดกฏเกณฑ์ของเขาเอง

เมื่อเราทำแบบร่างพอเป็นแนวทางจะให้คณะกรรมการร่วมพม่า-ไทย พิจารณาครั้งแรก ก็เขียนแนวทางไปให้ดูกันหลายแบบ  ทั้งแบบการสงวนรักษาสภาพไว้เช่นเดิม คือทิ้งอิฐไว้แดงๆเลย  กับแบบที่ซ่อมแซมส่วนที่ผุพัง พระสถูปที่เอนก็ดีดขึ้นให้ตรง
กับแนวทางที่บูรณะให้สมบูรณ์ แต่แสดงให้เห็นอย่างขัดเจนว่าส่วนใดเป็นของเก่าดั้งเดิม ส่วนใดเป็นของใหม่   ส่วนที่เป็นของใหม่ก็ยังมีหลายทางเลือก ทั้งแบบไทย และแบบพม่า ซึ่งได้จากการวิจัยสถูปร่วมสมัยในเมืองอมรปุระ  เมื่อปรากฏว่าภาครัฐของไทยไม่สนใจที่จะเข้าร่วมด้วย  ทางฝ่ายพม่าก็เป็นผู้ตัดสินใจ

ประเทศเมียนมาร์นั้นมีทรากโบราณสถานเยอะมากเสียจนซ่อมไม่หวาดไม่ไหว  อันไหนสำคัญเขาก็ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานไว้  อะไรไม่สำคัญก็ปล่อยไป กฏหมายไทยก็เช่นกัน ที่ว่าอะไรทำได้ไม่ได้นั้น ก็บังคับเฉพาะอาคารเก่าทรงคุณค่าที่กรมศิลปากรขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแล้วเท่านั้น  ที่ไม่ขึ้น เจ้าของที่ดินที่อาคารเก่านั้นตั้งอยู่ก็สามารถจะทำอะไรกับทรัพย์สินของตัวก็ได้  แม้กระทั่งรื้อทิ้ง  สุสานลินซินกองไม่ใช่โบราณสถานที่กรมโบราณคดีพม่าขึ้นทะเบียนไว้แล้ว  จึงจะทำอะไรก็ได้แม้กระทั่งไถทิ้ง ดังเช่นที่เกือบจะทำไปแล้ว


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 16 17 [18] 19 20 ... 32
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.057 วินาที กับ 19 คำสั่ง