เรือนไทย

General Category => ประวัติศาสตร์ไทย => ข้อความที่เริ่มโดย: piyasann ที่ 18 พ.ย. 11, 16:12



กระทู้: รบกวนถามชื่อเมืิอง สมัยกรุงธนบุรี
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 18 พ.ย. 11, 16:12
พอดีได้เอกสาร บันทึกการเดินทางของนายแพทย์ชาวดัทช์ สมัยกรุงธนบุรี ที่เข้ามาสำรวจพรรณไม้ในเมืองไทยครับ แต่ชื่อเมืองที่ท่านเขียนถึง พยายามหา หรือนึก ก็นึกไม่ออกว่าจะเป็น เมือง หรือ ตำบลอะไรบ้าง ทราบแต่เพียงว่า อยู่ระหว่างกรุงเทพฯ กับอยุธยา เท่านั้น

1. Inthia : The former capital of Siam

2. Bang linang

3. Bangmanan

4. Toy Sam Kok

5. Ko-Ban komun pai

6. Ban nea Bansang

7. Telet kriep

ต้นฉบับที่ได้มา เป็นการแปลมาจากต้นฉบับลายมือจากภาษาดัทช์ เป็นภาษาอังกฤษประมาณปี 1894 ครับ

ขอบพระคุณล่วงหน้า


กระทู้: รบกวนถามชื่อเมืิอง สมัยกรุงธนบุรี
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 18 พ.ย. 11, 16:27
เดาได้คำเดียวค่ะ
Inthia : The former capital of Siam  =  กรุงศรีอยุธยา


กระทู้: รบกวนถามชื่อเมืิอง สมัยกรุงธนบุรี
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 18 พ.ย. 11, 16:35
"อยุธยา" ในสายตาของชาวต่างชาติสมัยโบราณ  (http://school.obec.go.th/watsripracha/library/mapay/map_ay.htm) มีชื่อเรียกที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละยุคสมัย ดังตารางนี้

(http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2007/09/K5817091/K5817091-6.jpg)
(http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2007/09/K5817091/K5817091-7.jpg)

แต่ไม่ยักมี  Inthia   

???


กระทู้: รบกวนถามชื่อเมืิอง สมัยกรุงธนบุรี
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 18 พ.ย. 11, 20:03
แผนทีเมืองระหว่างกรุงเทพกับกรุงศรีอยุธยา วาดไว้สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย


กระทู้: รบกวนถามชื่อเมืิอง สมัยกรุงธนบุรี
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 18 พ.ย. 11, 20:15
7. Telet kriep = ตลาดเกรียบ ?

4. Toy Sam Kok = สองคำหลัง "สามโคก"


กระทู้: รบกวนถามชื่อเมืิอง สมัยกรุงธนบุรี
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 18 พ.ย. 11, 20:29
แผนทีเมืองระหว่างกรุงเทพกับกรุงศรีอยุธยา วาดไว้สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย

เป็นแผนที่ในจดหมายเหตุลาลูแบร์ คงไม่ใช่อยุธยาตอนปลาย

มีแผนที่อีก ๒ ฉบับ เพื่อตรวจดูชื่อเมืองระหว่างอยุธยากับกรุงเทพ

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=2344.0;attach=487;image)


(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=2344.0;attach=585;image)

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=2344.0;attach=587;image)

 ;D



กระทู้: รบกวนถามชื่อเมืิอง สมัยกรุงธนบุรี
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 18 พ.ย. 11, 20:44
ขอเพิ่มเติมอีก สองสามชื่อ ซึ่ง ต้องการทราบมากครับ ว่าคือที่ไหน

1. Watt Pro-Lott

2. Cohrien Island

และคำว่า "Menam River to Ayutthaya" ควรจะหมายถึง "แม่น้ำเจ้าพระยา" หรือไม่ครับ เพราะดูจากแผนที่สมัยนั้นหลายฉบับ ก็เรียกแม่น้ำเจ้าพระยา ว่า "Menam" เท่านั้น

ขอบคุณมากครับสำหรับแผนที่ ทำให้ได้เห็นภาพการสำรวจของ Dr. J.G. König  ผู้มีบทบาทสำคัญในการสำรวจพรรณไม้ของไทยในสมัยกรุงธนบุรี ได้ดีทีเดียวครับ


กระทู้: รบกวนถามชื่อเมืิอง สมัยกรุงธนบุรี
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 18 พ.ย. 11, 21:20
คุณวิกกี้ (http://en.wikipedia.org/wiki/Johann_Gerhard_K%C3%B6nig) ให้ข้อมูลว่า Dr. J.G. König  เป็นคนเยอรมัน ฉะนั้นหากเป็นชื่อตามบันทึกจากต้นฉบับน่าจะอิงภาษาเยอรมัน  

มีตัวอย่าง ลายมือของหมอ König   (http://linnaeus.nrm.se/botany/fbo/hand/koenig.html.en) ซึ่งเก็บรักษาไว้ที่ Department of Phanerogamic Botany Swedish Museum of Natural History  มาให้ดู

(http://linnaeus.nrm.se/botany/fbo/hand/koenig4.jpg)
(http://linnaeus.nrm.se/botany/fbo/hand/koenig3.jpg)
(http://linnaeus.nrm.se/botany/fbo/hand/koenig1.jpg)

คุณ piyasann อ่านออกบ้างไหม

 ;D


กระทู้: รบกวนถามชื่อเมืิอง สมัยกรุงธนบุรี
เริ่มกระทู้โดย: changny ที่ 18 พ.ย. 11, 23:38
2. Cohrien Island
๒. เกาะเรียน (เกาะ)


กระทู้: รบกวนถามชื่อเมืิอง สมัยกรุงธนบุรี
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 19 พ.ย. 11, 00:11
ขอบคุณมากครับ คุณ เพ็ญชมพู ที่กรุณาค้นข้อมูลที่น่าสนใจมาให้ได้ชมครับ

ได้เห็นลายมือของ คุณหมอ โคนิก ก็เพิ่งเข้าใจว่า ทำไมจึงมี บันทึกและเอกสารอีกมากมายใน สวนพฤกษศาสตร์ และ ในหอจดหมายเหตุของยุโรปมากมายที่รอการเปิดอ่าน เพราะกว่าจะอ่านลายมือ ท่านๆ ออก ก็สายตาเสียกันพอดี........ทราบว่า ที่ยุโรป มีวิชาที่ว่าด้วยการแกะลายมือเขียน สอนกันเป็นเรื่องเป็นราวทีเดียวครับ ผู้สำเร็จวิชานี้ ต้องนับว่าเป็น ยอดคน จริงๆ (ถ้าไม่ตาหลุดจากเบ้าเสียก่อนน่ะครับ .....)

คุณหมอ โจฮานน์  เกอร์ฮารด  โคนิก (มีอายุระหว่าง พ.ศ. 2271-2328)  เกิดที่ประเทศลัทเวีย บริเวณคาบสมุด บอลติก (ตรงข้ามกับประเทศเดนมาร์ก) โตขึ้นมาหน่อย ก็ย้ายไปปักหลักถิ่นฐานอยู่ในประเทศเดนมาร์ก ศึกษาวิชาพฤกศาสตร์ กับ Carl Linnaeus บิดาแห่งอนุกรมวิธานพืชระบบทวินาม ที่สวีเดน และเดินทางมาอินเดีย ปีพ.ศ. 2311  .......... ในตำราด้านพฤกษศาสตร์ จึงกล่าวไว้เพียงว่า ท่านเป็นชาวเดนมาร์ก เพราะท่านได้ย้ายมาปักหลักอยู่ที่ประเทศนี้ และเดินทางสำรวจไปกับชาวเดนมาร์กครับ หนูวิกกี้เธอก็หวังดี บอกให้ละเอียดเสร็จสรรพว่า คุณหมอเธอเป็น Baltic Germans ซึ่งเป็นชนเผ่าที่มีถิ่นฐานอยู่บริเวณทะเลบอลติก

ในเอกสารต้นฉบับเขาบอกว่า

" The Manuscript account of his travels and observations is included in nineteen quarto volumes, and written in a mixture of antiquated German and Danish in a very bad handwriting,"

ฉนั้นที่คุณ เพ็ญชมพูกล่าวมาก็ถูกต้องแล้วครับ ว่า น่าจะอิงภาษาเยอรมันด้วย แต่ต้นฉบับที่ผมได้มา ทำการแปลเป็นภาษาอังกฤษเมื่อปี ค.ศ. 1894 แล้วครับ ทำใ้ห้อ่านได้ง่ายขึ้น ไม่ต้องนั่งแกะลายมือเขียนให้ปวดตา เพราะเห็นตัวอย่างที่นำมาให้ชมแล้วก็ "bad handwriting" จริงๆ

บันทึกฉบับนี้ อ่านสนุกดีครับ ถึงแม้ส่วนใหญ่จะพูดถึงการค้นพบทางด้านพฤกษศาสตร์มากหน่อย แต่ก็ให้รายละเอียดบ้านเมือง วิธีชีวิต ผู้คน ที่คุณหมอได้พบเจอมาในสมัยกรุงธนบุรี .....สิ่งหนึ่งที่อ่านแล้ว รู้สึกเหมือนโลกได้ย้อนกลับไปเป็นเมื่อ 200 กว่าปีมาแล้วคือ ระหว่งเดินทางไปตามแม่น้ำจากกรุงเทพฯ ไปอยุธยา คุณหมอก็มองเห็นจระเข้ ลอยหัว ลอยคอ อยู่เสมอๆ เหมือนสภาพน้ำท่วมในปัจจุบันเลยครับ..........

ภาพประกอบ : ภาพปกวารสาร Retzius' Fasciculus Observationum Botanicarum, 1791 ซึ่งนำตัวอย่างพันธุ์พืชและ กล้วยไม้ของ คุณหมอโคนิก มาทบทวนตีพิมพ์ชื่ออีกครั้งภายหลังจากที่คุณหมอเสียชีวิตไป 6 ปี  ...... หนังสือสมัยโบราณหน้าปกสวยดีจริงๆ ครับ


กระทู้: รบกวนถามชื่อเมืิอง สมัยกรุงธนบุรี
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 19 พ.ย. 11, 07:22
บันทึกฉบับนี้ อ่านสนุกดีครับ ถึงแม้ส่วนใหญ่จะพูดถึงการค้นพบทางด้านพฤกษศาสตร์มากหน่อย แต่ก็ให้รายละเอียดบ้านเมือง วิธีชีวิต ผู้คน ที่คุณหมอได้พบเจอมาในสมัยกรุงธนบุรี .....สิ่งหนึ่งที่อ่านแล้ว รู้สึกเหมือนโลกได้ย้อนกลับไปเป็นเมื่อ 200 กว่าปีมาแล้วคือ ระหว่งเดินทางไปตามแม่น้ำจากกรุงเทพฯ ไปอยุธยา คุณหมอก็มองเห็นจระเข้ ลอยหัว ลอยคอ อยู่เสมอๆ เหมือนสภาพน้ำท่วมในปัจจุบันเลยครับ..........

มีตอนไหนสนุก ๆ อีก คุณ piyasann กรุณานำมาถ่ายทอดก็จะช่วยให้ชาวเรือนไทยมีความรู้เกี่ยวกับชีวิตในอดีตเมื่อกว่า ๒๐๐ ปีมากขึ้น

มีข่าวสารจากคุณ โฮโบ แจ้งมาดังนี้

ผมเห็นตารางชื่อกรุงศรีอยุธยาในกระทูเแล้ว ขอรบกวนคุณเพ็ญชมพู ช่วยเผยแพร่แก้ที่ผิดให้นักประวัติศาสตร์ไทยได้ทราบด้วยครับ

ที่ว่า IUDIA ในแผนที่เก่าๆ นั้นไม่ได้อ่านว่า Iudia แต่อ่านว่า Judia เพราะเขียนเป็นภาษาละตินโบราณ I = J

เช่นภาพพระเยซูถูกตรึงกางเขน จะมีคำย่อ INRI ซึ่งย่อมาจากภาษาละตินอีกทีคือ

Iesus Nazarenus Rex Iudaedorum

= Jesus Nazarenus Rex Judaedorum

Jesus (Jesus) Nazarenus (Nazareth = เมือง) Rex (= King) Judaedorum (= Jew)

Jesus of Nazareth, King of the Jews

เช่นกันกับภาพของ Michelangelo ใน Sistine Chapel จะเห็นว่ามีภาพ Inas = Jonas ซึงยังเป็นชื่อที่นิยมใช้กันอยู่ในพวกเยอรมัน

เช่นกันกับตัว V ที่ปัจจุบันเปลี่ยนเป็น U
จากความเห็นที่ 8

OBSERVATIONVM BOTANICARVM
Observationum Botanicarum

web นี่มีความน่าเชื่อถือได้ (ยกเว้นคนที่ชอบนำข้อมูลมาโพสโดยไม่ระบุที่มา ยกมาทั้งย่อหน้า ผมเห็นหลายครั้งแล้วครับ) ผมหวังว่านักประวัติศาสตร์ไทยที่ไม่เชี่ยวชาญภาษาต่างด้าวคงได้ประโยชน์จากที่นี่ หากมีการแนะนำ แก้ไขเกิดขึ้น

ขอบพระคุณมากครับ


ไม่แน่ใจว่า Inthia ของคุณ Piyasann ต้นฉบับอาจเป็น Iothia ก็ได้  ก็จะอ่านว่า Jothia = โยเธีย คล้ายกับคำว่า โยเดีย ที่พม่าเรียกประเทศไทยโดยอิงมาจากชื่ออยุธยา

 ;D




กระทู้: รบกวนถามชื่อเมืิอง สมัยกรุงธนบุรี
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 19 พ.ย. 11, 10:35
ไม่แน่ใจว่า Inthia ของคุณ Piyasann ต้นฉบับอาจเป็น Iothia ก็ได้  ก็จะอ่านว่า Jothia = โยเธีย คล้ายกับคำว่า โยเดีย ที่พม่าเรียกประเทศไทยโดยอิงมาจากชื่ออยุธยา

ถึงบางอ้อแล้วหล่ะครับ น่าจะจริงอย่างที่ คุณโฮโบ ให้ข้อสังเกตุไว้ ภาษาของยุโรป มันพันกันไปหมด แถมดิ้นไปดิ้นมาจากภาษาหนึ่งไปอีกภาษาหนึ่งต้องค่อยๆ ไล่เลียง ถึงจะแกะออกเ่ช่นนี้ ถ้าศึกษากันจริงๆ ก็ต้องมีความรู้ทารงด้านภาษาละตินด้วยจะเป็นการดี

อาจารย์สอนมาแล้ว ก็คืนอาจารย์ไปแล้ว  :'( 

Ἰησοῦς Χριστός, Θεοῦ Υἱός, Σωτήρ  = ΙΧΘΥΣ

"Jesus Christ, God's Son, Savior"    = Ichthys

เยซู,พระบุตร ผู้ไถ่บาปมนุษย์   เวลาเขียนย่อเป็นภาษากรีก ΙΧΘΥΣ มีความหมายเช่นเดียวกับคำว่า "ปลา"

ชาวคริสต์ยุคแรกๆ ซึ่งต้องหลบๆ ซ้อนๆ จากการไล่ล่าของโรมัน จึงต้องมี สัญลักษณ์ลับ เพื่อแอบสือสารกัน เขาใช้รูป "ปลา" ซึ่งสะกดแบบเดียวกับชื่อและพระเกียรติคุณของพระเยซู และมีความเกี่ยวพันกับพระเยซูหลาบบทในไบเบิ้ลที่กล่าวถึงปลาด้วย ดังนั้น "ปลา" จึงเป็นสัญลักษณ์ที่ "รู้กัน" ของคนยุคนั้น ว่าเป็นชาวคริสต์ ............. ปัจจุบัน ก็ยังมีการใช้ักันอยู่ครับ เห็นตามท้ายรถหลายคัน ชาวคริสต์ (ไม่แนใจว่าใช้เป็นสากล หรือใช้เฉพาะบางสาขา บางนิกาย) ก็ติดสัญลักษณ์รูปปลาไว้เช่นกัน

ในยุคกรีก ตัว J ยังไม่เกิด ภาษากรีก ละติน ตัว I ต่อมาก็แยกเป็นอักษรภาษาอังกฤษได้หลายตัว, ดังนั้น Iothia ก็จะอ่านว่า Jothia นั้นก็น่าจะถูกต้องเป็นแน่ครับ

เป็นอัีนว่า Iothia ก็คือ โยเดีย ก็กรุงศรีอยุธยา แน่ครับ

อีกชื่อหนึ่งที่มีผู้ช่วยเฉลย คือ Cohrien Island หมายถึง เกาะเรียน ซึ่งเป็นตำบลในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่เป็นเกาะอยู่ในแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณเหนืออำเภอบางประอิน ที่เกาะัเรียนนี้ คุณหมอโคนิก กล่าวไว้ว่า เป็นถิ่นอาศัยของชาวจีน ซึ่งก็ตรงกับข้อมูลของ ตำบลเกาะเรียนในปัจจุบันที่ว่า

"ในสมัยอยุธยามีพ่อค้าจากเมืองจีนเข้ามาติดต่อค้าขายกับชาวอยุธยาเมื่อเห็นความอุดมสมบูรณ์ของเกาะนี้เหมาะสำหรับตั้งถิ่นฐานจึงได้มาตั้งรกรากอย่บนเกาะนี้ ซึ่งปัจจุบันมีศาลเจ้าพ่อเรียนอยู่เป็นที่เคารพนับถือชาวบ้านแถบนี้นั้นและมีการจัดพิธีบวงสรวงทุกปี ซึ่งชื่อตำบลก็เรียกตามลักษณะเด่นนี้"

ต่อจากนั้น คุณหมอ เดินทางไปสำรวจ "วัด เซนต์ ปอล" ของคณะเยซูอิต ซึ่งถูกเผาทำลาย เหลือแต่กำแพง ต่อจากนั้นก็ไปตั้งแคมป์อยู่ที่ The Temple Wath Tshan-Panon Isogu อันนี้ ก็ไม่แน่ใจว่าหมายถึงที่ใด ?

สถานที่หนึ่งที่อยู่ใกล้เคียงกัน แต่ก็ยังหาไม่พบคือ Watt Pro-Lott  ผมอ่านได้ว่า วัดโพธิ์รอด  วัดนี้ในบันทึกคุณหมอโคนิก อยู่แถวระหว่างตำบลตลาดเกรียบ กับตำบลเกาะเรียน ไปค้นดูในสารบบวัดในอำเภอบางประอิน มีแต่วัดโพธิ์เฉยๆ ไม่แน่ใจว่า วัดเดียวกันหรือไม่



กระทู้: รบกวนถามชื่อเมืิอง สมัยกรุงธนบุรี
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 19 พ.ย. 11, 10:37

ภาพประกอบ : ภาพปกวารสาร Retzius' Fasciculus Observationum Botanicarum, 1791 ซึ่งนำตัวอย่างพันธุ์พืชและ กล้วยไม้ของ คุณหมอโคนิก มาทบทวนตีพิมพ์ชื่ออีกครั้งภายหลังจากที่คุณหมอเสียชีวิตไป 6 ปี  ...... หนังสือสมัยโบราณหน้าปกสวยดีจริงๆ ครับ


พอจะมีเนื้อหาเรื่องกล้วยไม้ในสยามประเทศไหมครับ ผมสนใจเกี่ยวกับกล้วยไม้ไทยครับ


กระทู้: รบกวนถามชื่อเมืิอง สมัยกรุงธนบุรี
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 19 พ.ย. 11, 10:46
ใช้อินทรเนตรสอดส่องได้ ข้อมูลเบื้องต้น  (http://www.orchid.kapi.ku.ac.th/index.php?option=com_content&task=view&id=33&Itemid=49) มาเสนอคุณหนุ่มดังนี้

การศึกษาและการเก็บตัวอย่างกล้วยไม้ในประเทศไทยเริ่มขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี โดยนักพฤกษศาสตร์ชาวเดนมาร์กชื่อ Johann Gerhard Konig (ชื่อย่อ J.Konig) ได้เดินทางมาสำรวจประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ระหว่างปี พ.ศ. ๒๓๒๑-๒๓๒๒) โดยเริ่มตั้งแต่ประเทศอินเดีย ศรีลังกา มาเลเซีย จนถึงประเทศไทย บนเกาะภูเก็ต พระนครศรีอยุธยา และจันทบุรี การสำรวจครั้งนั้นพบกล้วยไม้ ๒๔ ชนิด และมีชนิดที่ได้รับการตั้งชื่อ ได้แก่ สิกุนคล ที่ถูกบันทึกไว้ในชื่อ Epidendrum ophrydis J.Konig หรือ Dienia ophrydis (J.Konig) Ormerod & Seidenf. และเอื้องใบมะขาม : Epidendrum hexandrum J.Konig หรือ Appendicula hexandra (J.konig) J.J.Sm. จึงกล่าวได้ว่าเป็นการตั้งชื่อพฤกษศาสตร์ครั้งแรกให้กับกล้วยไม้ที่สำรวจในประเทศไทย และหลังจากที่ท่านเสียชีวิตไปแล้วหกปี ราวปี พ.ศ. ๒๓๓๔ จึงมีการนำบันทึกการสำรวจกล้วยไม้ของท่านมาตีพิมพ์เผยแพร่โดยใช้ชื่อหนังสือว่า “Descriptiones Epidendrorum”

 ;D


กระทู้: รบกวนถามชื่อเมืิอง สมัยกรุงธนบุรี
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 19 พ.ย. 11, 10:59

ต่อจากนั้น คุณหมอ เดินทางไปสำรวจ "วัด เซนต์ ปอล" ของคณะเยซูอิต ซึ่งถูกเผาทำลาย เหลือแต่กำแพง ต่อจากนั้นก็ไปตั้งแคมป์อยู่ที่ The Temple Wath Tshan-Panon Isogu อันนี้ ก็ไม่แน่ใจว่าหมายถึงที่ใด ?



วัดท่านพระนอน ?

กล้วยไม้ที่พบในดินแดนไทยน่าสนใจเนื่องจากเป็นพันธุ์ไม้ที่พบหลากหลายชนิดมากครับ เนื่องจากดินแดนนี้อยู่เหนือเส้นสูตรสูตรนิดเดียว เป็นป่าเขตร้อนชื้น และชื้นสูง พวกสกุลหวาย และสกุลสิงโตจะครองพื้นดีได้มากกว่าพวกสายแวนด้า หากไปเมืองจันทบุรี คงต้องเจอ "เหลืองจันทบูร" เป็นแน่  ;)


กระทู้: รบกวนถามชื่อเมืิอง สมัยกรุงธนบุรี
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 19 พ.ย. 11, 11:34
5. Ko-Ban komun pai = เกาะบ้านกำนันไปล่ ?

6. Ban nea Bansang  = บ้านเหนือบ้านแสง ?


กระทู้: รบกวนถามชื่อเมืิอง สมัยกรุงธนบุรี
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 19 พ.ย. 11, 12:52
กล้วยไม้ที่พบในดินแดนไทยน่าสนใจเนื่องจากเป็นพันธุ์ไม้ที่พบหลากหลายชนิดมากครับ เนื่องจากดินแดนนี้อยู่เหนือเส้นสูตรสูตรนิดเดียว เป็นป่าเขตร้อนชื้น และชื้นสูง พวกสกุลหวาย และสกุลสิงโตจะครองพื้นดีได้มากกว่าพวกสายแวนด้า หากไปเมืองจันทบุรี คงต้องเจอ "เหลืองจันทบูร" เป็นแน่  ;)

ในบันทึกการเดินทางฉบับนี้ มีข้อน่าสนใจมาก คือการค้นพบกล้วยไม้หลายชนิด มีการนำมาทบทวน ตีพิมพ์เป็นบทความ ในหนังสือที่ผมได้นำภาพปกมาให้ชมในกระทู้ก่อนครับ ในภายหลัง Prof. Dr. Gunnar Seidenfaden ปรมาจารย์อนุกรมวิธานกล้วยไม้ไทย ได้นำมาทบทวนและตีพิมพ์เป็นหนังสือเล่มเล็กชื่อ " The Descriptiones Epidendrorum of J.G. Konig 1791 by Gunnar Seidenfaden (Olsen & Olsen Fredensborg 1995)"

ในหนังสือดังกล่าว กล่าวถึงกล้วยไม้ ที่ทราบแน่ชัด 24 ชนิด เช่น

1. ค้นพบครั้งแรกของโลก โดย คุณหมอโคนิก ในการสำรวจครั้งนี้

Appendicula hexandra (J.König) J.J.Sm. หางแมงเงาใหญ่ , Malaxis ophrydis (J.König) Ormerod in G.Seidenfaden. สิกุนคล,เปราะนกคุ้ม , Trichoglottis orchidea (J.König) Garay. เอื้องสายสุคนธ์ , Eria tomentosa (J.König) Hook.f. เอื้องตาลหม่น, เอื้องบายศรี เป็นต้น

2. บางชนิดค้นพบก่อนหน้านี้ หรือภายหลัง แต่ใช้คำอธิบายจากตำราเล่มอื่น

Aerides odorata Lour. เอื้องกุหลาบกระเป๋าปิด , Malaxis calophylla (Rchb.f.) Kuntze  แห้วหมูป่า, หูเสือ. , Thrixspermum centipeda Lour. เอื้องแมงมุมขาว , Dendrobium pachyphyllum (Kuntze) Bakh.f.. เอื้องมะลิสองใบ , Dendrobium crumenatum Sw., . หวายตะมอย , Bromheadia finlaysoniana (Lindl.) Miq.,. ตานโขมย เป็นต้น

สำหรับ "เหลืองจันทบูร" นั้น ตีพิมพ์ชื่อครั้งแรก เมื่อปีค.ศ. 1887 โดย Heinrich Gustav Reichenbach นักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมัน โดยใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Dendrobium friedericksianum Rchb.f., ตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่ Mr. D. Friederick นักกล้วยไม้รุ่นแรกๆ ของสยาม ซึ่งทำงานอยู่ที่ห้าง บีกริม แอนด์ โก ผู้ส่งตัวอย่างกล้วยไม้ เหลืองจันทบูร ไปยังยุโรป เพื่อตั้งชื่อ ครับ (ใครพอจะทราบ เรื่องราวเกี่ยวกับ Mr. D. Frederick บ้างหรือไม่ครับ ว่าเป็นใคร ?)

ผมคิดว่า ตอนคุณหมอโคนิก สำรวจที่เมืองจันทบุรี ก็อาจจะได้พบกล้วยไม้ชนิดนี้บ้าง เพราะสมัยก่อนมีมากแถบจังหวัดจันทบุรี และจังหวัดตราด แต่ด้วยเวลาที่คุณหมอเดินทางมาคือเดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม ไม่ได้อยู่ในช่วงที่ กล้วยไม้ชนิดนี้ กำลังออกดอก ท่านอาจจะไม่ได้เก็บตัวอย่างไป หรืออาจจะเก็บไปแล้ว แต่ตาย หรือสูญหายไปก่อนที่จะมีการทบทวนจากนักพฤกษศาสตร์รุ่นต่อมาครับ จึุงมาค้นพบและตั้งชื่อที่หลัง ห่างกันเป็น 100 ปี

เหลืองจันทบูรนี้ ทราบว่า สมเด็จพระนางเจ้า รำไพพรรณี พระบรมราชินี ในรัชกาลที่ 7 โปรดมาก (จริงๆ โปรดกล้วยไม้หลายชนิด โดยเฉพาะ ฟาแลนนอปซิส และหวาย ถึงกับทรงเอยพระโอษฐ์ให้ นักกล้วยไม้ท่านหนึ่ง "ฉันมีที่เป็นร้อยๆ ไร่ (ที่วังสวนบ้านแก้ว) เธออยากทำอะไรก็ไปทำ แต่เลี้ยงกล้วยไม้มาให้ฉันได้ดูบ้างก็แล้วกัน" แต่แล้วโครงการนี้ ก็ไม่ได้เกิดขึ้่น ไม่เช่นนั้น อาจจะเป็นโครงการกล้วยไม้ที่มีประโยชน์ต่อชาติในปัจจุบันแล้วก็เป็นได้ 

แต่ก็เป็นที่น่ายินดีที่ ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี ได้พยายามอนุรักษ์ และขยายพันธุ์ "เหลืองจันทบูร" ให้อยู่คู่เมืองไทย สืบต่อไปครับ


กระทู้: รบกวนถามชื่อเมืิอง สมัยกรุงธนบุรี
เริ่มกระทู้โดย: changny ที่ 20 พ.ย. 11, 12:18
6. Ban nea Bansang
๖. (บ้าน เนี่ย)ชื่อ บ้านสร้าง


กระทู้: รบกวนถามชื่อเมืิอง สมัยกรุงธนบุรี
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 20 พ.ย. 11, 15:01
เอื้องกุหลาบกระเป๋าปิด ที่ผมเลี้ยงไว้นานแล้ว ออกดอกราวพฤษภาคมของทุกปี ดอกหอม ลักษณะเด่นของกล้วยไม้พันธุ์นี้คือ กระเปาะเป็นถุงจึงมีชื่อว่า "กระเป๋า" และบริเวณเกสรกลีบดอกจะโค้งหากันเป็น "กระเป๋าปิด" ถ้ากลีบบานออกก็เรียกว่า "กระเป๋าเปิด"


กระทู้: รบกวนถามชื่อเมืิอง สมัยกรุงธนบุรี
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 20 พ.ย. 11, 15:09
สิกุนคล ท้องถิ่นเรียกว่าเปราะนกคุ้ม เป็นประเภทกล้วยไม้ดิน คือ การแผ่กระจายหาอาหารผิวดิน


กระทู้: รบกวนถามชื่อเมืิอง สมัยกรุงธนบุรี
เริ่มกระทู้โดย: changny ที่ 20 พ.ย. 11, 22:34
The Temple Wath Tshan-Panon Isogu
ถ้าคิดว่าบันทึกนี้อาจบันทึกสลับกัน Wath Panon -Tshan คือ วัดพนัญเชิง จะเป็นไปได้ไหม
เพราะเป็นวัดเก่าแก่และมีที่ตั้งเหมาะแก่การตั้งแคมป์


กระทู้: รบกวนถามชื่อเมืิอง สมัยกรุงธนบุรี
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 13 ธ.ค. 11, 07:37
ขอฝาก ชื่อหนังสือไว้ในหน้าเว็บหน่อยครับ เผือใครเสิร์ชในกูเกิ้ล จะได้ค้นหาได้ง่ายครับ

หนังสือเล่มนี้ ถ่ายเอกสารมาจาก Journal of the Straits Branch of the Royal Asiatic Society : Vol.26 1894 ไมโครฟอร์ม No. NL 1570 issues 26, 27 อยู่ที่ Lee Kong Chian Reference Lobrary (Fl.11) : Singapore National Library ถ่ายเอกสารเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

บทความ Voyage from India to Siam and Malacca โดย Johann Gerhard König (29 November 1728 – 26 June 1785) นายแพทย์ - นักพฤกศาสตร์ชาวเดนมาร์ก ผู้เดินทางสำรวจพรรณไม้ในเอเชีย มีประโยชน์ต่อการศึกษาประวัติศาสตร์หลายประการ ทั้งทางด้านสังคมศาสตร์ และพฤกษศาสตร์ และถือได้ว่าเป็นบันทึกการสำรวจพฤกษศาสตร์ฉบับแรกของไทย จึงได้ทำการถ่ายเอกสารทั้งบทความ จัดพิพม์เป็นเล่ม มอบให้กับห้องสมุดที่เกี่ยวข้อง คือ

1. ห้องสมุด สง่า สรรพศรี สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ จังหวัดเชียงใหม่
2. พิพิธภัณฑ์พืชสิรินธร กองคุ้มครองพันธุ์พืช กรมวิชาการเกษตร กรุงเทพมหานคร
3. ห้องสมุดพฤกษศาสตร์ สำนักงานหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กรุงเทพมหานคร
4. ห้องสมุด ของพิพิธภัณฑ์พืช ศาสตราจารย์ กสิน สุวตะพันธุ์ ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

หากท่านใดสนใจต้องการสำเนาเก็บไว้ศึกษา ผมทำเป็นเล่มไว้อีกส่วนหนึ่ง จำหน่ายเพื่อเฉลี่ยค่าใช้จ่ายในการถ่ายไมโครฟอร์ม จากสิงค์โปร์ สามารถติดต่อได้ที่ piyasann@hotmail.co.th


กระทู้: รบกวนถามชื่อเมืิอง สมัยกรุงธนบุรี
เริ่มกระทู้โดย: บัวรัศมี สีทอง ที่ 29 ธ.ค. 11, 13:19
๔. Toy  Sam Kok    คาดว่า น่าจะเป็นเตาสามโคก นะคะ  เพราะเมืองโบราณที่อยู่ระหว่างอยุธยาถึงกรุงธนบุรี

ก็ต้องผ่านสามโคก  ซึ่งเป็นหมู่บ้านชาวมอญ   มีชื่อเสียงด้านการเผา เช่น โอ่งดินสามโคก   อิญมอญสามโคก

เป็นต้น   ผู้รู้เกี่ยวกับสามโคก   ไขความให้กระจ่างด้วยเทอญ


กระทู้: รบกวนถามชื่อเมืิอง สมัยกรุงธนบุรี
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 31 ธ.ค. 11, 01:23
ขอบคุณทุกท่านที่ ช่วยไข ความกระจ่าง


กระทู้: รบกวนถามชื่อเมืิอง สมัยกรุงธนบุรี
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 31 ธ.ค. 11, 07:48
เรื่องการถ่ายเสียงจากเอกสารภาษาอังกฤษนั้น  มีข้อควรระวังคือ การบันทึกข้อมูลในภาษาอังกฤษนั้นท่านผู้บันทึกมักจะถ่ายเสียงพูดของคนในยุคนั้นลงไว้เป็นตัวหนังสือ  เช่น แม่น้ำโขงที่เรารู้จักกันในทุกวันนี้  ในหนังสือของพระวิภาคภูวดล (เจมส์  แมคคาร์ธี) ท่านก็บันทึกไว้ในชื่อ แม่น้ำของ ตามการอ่านออกเสียงของคนในยุคนั้น  แม้ปัจจุบันก็ยังมีคนในพื้นถิ่นออกเสียงว่า แม่น้ำของ 

คำว่า Toy  Sam Kok นี้  เดิมก็น่าจะชื่อเมือง ต่อยสามโคก  ซึ่งน่าจะมีที่มาจากภาษารามัญ  จะเป็นเมืองเดียวกับเมืองสามโคกในปัจจุบันหรือไม่  คงต้องเรียนปรึกษาท่านผู้รู้ภาษารามัญอีกครั้ง