เรือนไทย

General Category => ทันกระแส => ข้อความที่เริ่มโดย: เทาชมพู ที่ 26 เม.ย. 15, 11:33



กระทู้: นอนอยู่กับแผ่นดินไหว(2)
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 26 เม.ย. 15, 11:33
ต่อเนื่องจากกระทู้นี้ค่ะ
http://www.reurnthai.com/index.php?topic=5986.0 (http://www.reurnthai.com/index.php?topic=5986.0)

http://www.naewna.com/inter/155333 (http://www.naewna.com/inter/155333)

25 เม.ย. 58 เพจเฟซบุ๊ก "บีบีซีไทย - BBC Thai" รายงานสถานการณ์ความคืบหน้าเหตุแผ่นดินไหว 7.9 ริกเตอร์ ที่ประเทศเนปาล โดยโฆษกของสำนักงานตำรวจแห่งชาติเนปาล เปิดเผยข้อมูลล่าสุดว่า ทางการเนปาลได้ปนะกาศภาวะฉุกเฉินแล้ว และยืนยันจำนวนผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ดังกล่าวล่าสุด 711 ราย โดยเป็นผู้เสียชีวิตในกรุงกาฏมัณฑุ 467 ราย และน่าจะมีการแจ้งจำนวนผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นเรื่อย ทั้งในประเทศข้างเคียง โดยอินเดียมีผู้เสียชีวิต 36 ราย บังกลาเทศ 1 ราย

ส่วนอาคารบ้านเรือนและโบราณสถานสำคัญทางประวัติศาสตร์ของเนปาลได้รับความเสียหายอย่างหนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหอยคอยดาราห์รา ซึ่งสร้างตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 ในเมืองจตุรัสเดอร์บาร์ได้พังถล่มลงมา และคาดว่ามีนักท่องเที่ยวจำนวนมากติดอยู่ด้านใน โดยหน่วยกู้ภัยกำลังพยายามช่วยดึงร่างผู้เสียชีวิตออกจากซากปรักหักพัง

ด้านกระทรวงการท่องเที่ยวของเนปาล ระบุว่า เกิดเหตุหิมะถล่มเนื่องจากแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว ใกล้บริเวณที่พักเบสแคมป์เชิงเขาเอเวอเรสต์ ซึ่งรายงานล่าสุดระบุว่ามีผู้เสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 8 ราย และคาดว่าน่าจะมีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นอีกมากเนื่องจากเป็นฤดูกาลปีนเขา


กระทู้: นอนอยู่กับแผ่นดินไหว(2)
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 26 เม.ย. 15, 11:38
Darbar Square, the pride of Nepal and a UNESCO designated World Heritage Site has suffered massive damage in today's earthquake.
 :'(


กระทู้: นอนอยู่กับแผ่นดินไหว(2)
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 26 เม.ย. 15, 18:37
ติดตามข่าวอย่างต่อเนื่องอยู่ครับ     

รู้สึกสลดหดหู่กับภาพที่ได้เห็นและข้อมูลจำนวนผู้เสียชีวิต แล้วก็ทำให้นึกถึงเรื่องที่เว้นข้ามไว้ในกระทู้นี้ ว่าจะเขียนแต่มิได้เขียน เพราะอาจจะเป็นการก้าวล่วงเข้าไปในวงเขตทางวิชาการของผู้ที่เป็นผู้รู้และสันทัดกรณีในเรื่องนี้


กระทู้: นอนอยู่กับแผ่นดินไหว(2)
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 26 เม.ย. 15, 19:04
คงจะมิต้องเล่าว่าแผ่นดินไหวเกิดที่เนปาลครั้งนี้ ได้เกิดขึ้นจากสาเหตุที่แผ่นเปลือกโลกอินเดียเคลื่อนที่ขึ้นไปทางทิศเหนือด้วยความเร็วประมาณ 4.5 ซม.ต่อปี ในลักษณะที่มุดลงไปอยู่ใต้แผ่นเปลือกโลกยูเรเซีย  ซึ่งการมุดกันเกยกันของแผ่นเปลือกโลกทั้งสองนี้ ทำให้เกิดเป็นทิวเขาหิมาลัย 

ดังนั้น จึงเป็นเรื่องปรกติที่ตลอดแนวที่แผ่นเปลือกโลกทั้งสองมุดกันเกยกันนี้ ย่อมต้องมีแผ่นดินไหวเกิดขึ้น (จากผลของการครูดกันของแผ่นเปลือกโลกทั้งสองแผ่นนี้) ก็ย่อมต้องมีขนาดใหญ่บ้าง เล็กบ้าง หรือมีการสั่นสะเทือนเป็นระยะๆ เป็นช่วงๆ  ช่วงเวลาระยะเวลานั้นๆก็จะมีสั้นบ้างยาวบ้าง ยากที่จะคาดเดา


กระทู้: นอนอยู่กับแผ่นดินไหว(2)
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 26 เม.ย. 15, 19:23
เผยมี "6นิสิตแพทย์มศว" หายสาบสูญเที่ยวเนปาล หลังแผ่นดินไหว ยังขาดการติดต่อ!

สังคมออนไลน์ได้ร่วมให้กำลังใจ พร้อมช่วยกันแชร์ข้อมูล ประกาศติดตามความเคลื่อนไหวของ 6 นิสิตคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) ชั้นปี 4 ประกอบด้วย นางสาวธัญสุดา อรรถวิน (ไหม) , นายนฤดล นาคหาญ (โอ๋) , นายวศิน ชัยวนนท์ (ตั้ว), นางสาวนวลจันทร์ เจียรพัทนรัก (ตาล), นายเจษฎา ศุภปีติพร (ตี๋) , นายดนูวิทย์ แก้ว (ตูน) ที่เดินทางไปท่องเที่ยวและปืนเขา"โพคารา" ที่ประเทศเนปาล และขาดการติดต่อกับทาง ครอบครัวรวมถึงเจ้าหน้าที่ หลังเกิดเหตุแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ ซึ่งผู้ที่ทราบรายละเอียด สามารถติดต่อ คุณนก" กนกวรรณ ศุภปีติพร 089-130-2310 ได้ทันที
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1430040822 (http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1430040822)

ขอพระคุ้มครองให้ทั้ง 6 คนปลอดภัยด้วยเถิด


กระทู้: นอนอยู่กับแผ่นดินไหว(2)
เริ่มกระทู้โดย: กะออม ที่ 26 เม.ย. 15, 19:38
ได้รับข่าวมาว่าพบแล้ว ทุกคนปลอดภัยดีค่ะ ขอบคุณค่ะ


กระทู้: นอนอยู่กับแผ่นดินไหว(2)
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 26 เม.ย. 15, 20:52
ดีใจด้วยครับ ที่ทุกคนปลอดภัย


กระทู้: นอนอยู่กับแผ่นดินไหว(2)
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 27 เม.ย. 15, 09:00
ขออนุญาตนำความเห็นของคุณตั้งมาลงไว้ที่กระทู้ภาค ๒ แผ่นดินไหวที่เนปาล เพื่อความต่อเนื่อง  ;D

สำหรับการเกิดแผ่นดินไหวในครั้งนี้ จัดได้ว่ารุนแรงมาก แต่จะเป็นการเกิดตามวงรอบทางสถิติ (return period) หรือไม่นั้น ผมไม่ทราบ

สำหรับตัวผมนั้น มีความสนใจอยู่ประการหนึ่ง คือ สิ่งก่อสร้างทางศาสนา สังคม และวัฒนธรรมในเนปาลที่พังลงมาจากการเกิดแผ่นดินไหวในครั้งนี้นั้น จากข้อมูลและจากภาพที่ผมได้เห็น ส่อไปในทิศทางว่า ล้วนเป็นสิ่งก่อสร้างในช่วง ศตวรรษที่ 19 ซึ่งหมายถึงในช่วงของยุค ค.ศ. 1800 +++      ซึ่งหมายความว่า บนพื้นฐานทางภูมิปัญญาท้องถิ่นแล้วนั้น เนปาลไม่เคยประสพพบแผ่นดินไหวในระดับนี้มาก่อนเป็นเวลานานมาก นานมาก..ก...จริงๆ   สิ่งก่อสร้างต่างๆจึงเป็นแบบก่ออิฐโบกปูนโดยไม่มีโครงสร้างรับแรงใดๆสำหรับการโยก การโย้ และการกระแทก (ดังเช่นสถาปัตยกรรมของถิ่นอื่นใดในย่านเอเซียอาคเนย์)
 
ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาจากภาพในพื้นที่ๆได้รับความเสียหาย เรายังเห็นมีอาคารสมัยใหม่สูงหลายชั้นที่ยังคงสามารถยืนตระหง่านอยู่ได้ บางอาคารก็พังพาบลงมาทับกันเหมือนขนมชั้น   ซึ่งทั้งหมดดูจะให้ข้อมูลในสามแนว คือ อาคารเหล่านั้นมีการออกแบบและมีการก่อสร้างกันแผ่นดินไหว  หรือ อาคารเหล่านั้นก็มีการสร้างกันตามวิถีทางธุรกิจปรกติ แต่ที่มันไม่พังก็เพราะว่าคุณภาพของการก่อสร้างดี  หรือ การที่สิ่งก่อสร้างหนึ่งใดไม่มีความเสียหายหรือมีความเสียหายต่างๆกัน ก็อาจสืบเนื่องมาจากทิศทางการเดินทางของคลื่นแผ่นดินไหว   


แรงที่ดันให้แผ่นเปลือกโลกทั้งสองนี้มุดกันเกยกันนั้นมีมากมายมหาศาล  เมื่อดันกันจนโก่งจนงอแล้ว ก็แน่นอนว่าเมื่อถึงจุดๆหนึ่งมันก็ย่อมต้องเกิดการแตกหัก

แผ่นดินไหวในเนปาลครั้งนี้ ผมเห็นว่า ได้แสดงถึงจุดแตกหักนั้น  ทั้งนี้ พอจะเดาได้จากภาพ (เท่าที่พอจะมีให้ดู) ของสภาพการกองของวัสดุที่ยุบพังพาบลงมา สภาพของกองวัสดุที่คล้ายกับการกระชากให้ตกลงไปกองรวมกัน ณ จุดหนึ่ง และลักษณะการพังของกลุ่มอาคารลักษณะยาวที่วางตัวขนานกันแนวทิศทางหนึ่ง   ก็เป็นการเดานะครับ    การศึกษาที่เรียกว่า First motion study (หรือ Fault plane solution หรือ first kick)  ของเส้นปากกาเส้นแรกที่บันทึกลงบนแผ่นกราฟของเครื่องวัดแผ่นดินไหวของระบบ WWSSN (World-Wide Standard Seiamographic Network) ที่ ณ ขณะนี้น่าจะทราบผลแล้ว น่าจะช่วยเป็นคำตอบให้ได้อย่างดี



กระทู้: นอนอยู่กับแผ่นดินไหว(2)
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 27 เม.ย. 15, 09:22
 :(


กระทู้: นอนอยู่กับแผ่นดินไหว(2)
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 27 เม.ย. 15, 11:51
 :(


กระทู้: นอนอยู่กับแผ่นดินไหว(2)
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 27 เม.ย. 15, 13:06
ผศ.ดร.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดีคณะประมง ม.เกษตรศาสตร์ กับสาเหตุของแผ่นดินไหวในเนปาล
และอะไรคือสาเหตุที่ทำให้เกิดความสูญเสียมากถึงขนาดนั้น

http://www.nationtv.tv/main/content/social/378453602/ (http://www.nationtv.tv/main/content/social/378453602/)


กระทู้: นอนอยู่กับแผ่นดินไหว(2)
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 27 เม.ย. 15, 17:52
อาจารย์ธรณ์นอกจากจะเก่งเรื่องทะเลแล้ว เพิ่งทราบว่าเก่งเรื่องแผ่นดินไหวด้วย

http://youtube.com/watch?v=rtYNgHo6mrE#ws (http://youtube.com/watch?v=rtYNgHo6mrE#ws)


กระทู้: นอนอยู่กับแผ่นดินไหว(2)
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 27 เม.ย. 15, 18:09
ฟังนักวิชาการแผ่นดินไหวอีกท่านหนึ่งวิเคราะห์ อาจารย์เสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและภัยพิบัติ มหาวิทยาลัยรังสิต

http://youtube.com/watch?v=QOUpcHvyQa4#ws (http://youtube.com/watch?v=QOUpcHvyQa4#ws)


กระทู้: นอนอยู่กับแผ่นดินไหว(2)
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 27 เม.ย. 15, 19:39
อืมม์  เพิ่งรู้ว่าศาสตร์เกี่ยวกับเรื่องแผ่นดินไหวนี้ นอกจากที่จะมีสอนกันในสาขาวิชาธรณีวิทยาแล้ว ก็มีการเรียนการสอนในสาขาวิชาการอื่นๆอีกด้วย  ซึ่งคงจะมีอยู่ใน course work หลายหน่วยกิตเลยทีเดียวใน  (น่าจะระหว่าง 6 - 9 หน่วยกิต)

มิน่าเล่า ที่ออกเป็นข่าวอยู่ในขณะนี้ เลยไม่ต้องไปสอบถามหรือสัมภาษณ์พวกที่เรียกตนเองว่าเป็นนักธรณีวิทยา โดยเฉพาะที่สังกัดอยู่ในภาควิชาธรณีฯของมหาวิทยาลัยต่างๆ และของกรมทรัพยากรธรณี  (ฤๅหมดผู้รู้ไปแล้ว ??)


กระทู้: นอนอยู่กับแผ่นดินไหว(2)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 28 เม.ย. 15, 12:14
THE TIMES OF INDIA นำเสนอเรื่อง Modern tragedy: Quake-ravaged Nepal tower a site for selfies

         กล่าวถึงเหตุการณ์ ชาวเนปาลเดินทางไปยังซากปรักหักพังของหอคอย Dharahara Tower
เพื่อถ่ายรูปหมู่และเซลฟี่เป็นที่ระลึกหลังเหตุการณ์ระทึก

         หอคอยแห่งนี้ คือสถานที่ยอดนิยมสูงสุดสำหรับการเก็บภาพอาคารสถานที่ถูกทำลายลงเมื่อ
วันเสาร์ที่ผ่านไป

http://timesofindia.indiatimes.com/world/south-asia/Modern-tragedy-Quake-ravaged-Nepal-tower-a-site-for-selfies/articleshow/47068620.cms (http://timesofindia.indiatimes.com/world/south-asia/Modern-tragedy-Quake-ravaged-Nepal-tower-a-site-for-selfies/articleshow/47068620.cms)


กระทู้: นอนอยู่กับแผ่นดินไหว(2)
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 28 เม.ย. 15, 19:12
เห็นภาพแล้ว รู้สึกหดหู่ก้บสำนึกของความเป็นมนุษย์ของผู้คนบางพวกในสังคม IT ในปัจจุบัน
 
การถ่ายรูปตนเองกับสิ่งปรักหักพังที่เป็นวัตถุในประวัติศาสตร์นั้น จะด้วยเหตุผลใดๆก็ไม่ใช่เรื่องแปลก  แต่การตั้งใจถ่ายรูปตนเองกับภาพความเสียหายจากเหตุการณ์ภัยพิบัติใดๆ (แบบ first hand) เพื่อการโพนทะนาตนเองนั้น  พูดไม่ออกจริงๆครับ   ยิ่งยิ้มระรื่น สรวลเสเฮฮา กระเซ้าเย้าแหย่กันในสถานที่ๆผู้อื่นกำลังมีทุกข์อย่างแสนสาหัสนั้น.....(นึกไม่ออกว่าเลยจะเขียนต่อไปอย่างไร)     


กระทู้: นอนอยู่กับแผ่นดินไหว(2)
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 28 เม.ย. 15, 19:55
อีกแล้วครับ เขียนแล้ว หลงลืมไปกดผิดที่เลยหายไป หาไม่เจอ เลยขอพอก่อนครับ


กระทู้: นอนอยู่กับแผ่นดินไหว(2)
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 29 เม.ย. 15, 09:35
เห็นภาพแล้ว รู้สึกหดหู่ก้บสำนึกของความเป็นมนุษย์ของผู้คนบางพวกในสังคม IT ในปัจจุบัน    

อีกสิ่งหนึ่งที่น่าหดหู่คือ การนำเอาการฆ่าสัตว์บูชายัญด้วยการฟันคอจำนวน ๕๐๐,๐๐๐ ตัว มาโยงเข้ากับการตายของชาวเนปาลในเหตุการณ์แผ่นดินไหวว่าเป็นเรื่องบาปกรรมของคนเหล่านั้น นับเป็นการซ้ำเติมผู้ที่ตกอยู่ในความทุกข์อันใหญ่หลวง ใน เฟซบุ๊กเพจหนึ่ง  (https://www.facebook.com/thailandcoup/posts/468218890011957) และมีผู้นำไปเผยแพร่ต่อจนถูกประณามอยู่ในขณะนี้  :(



กระทู้: นอนอยู่กับแผ่นดินไหว(2)
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 29 เม.ย. 15, 09:45
เห็นด้วยกับคุณหมอเพ็ญ ว่าควรประณาม เป็นการซ้ำเติมผู้ตายโดยแท้


กระทู้: นอนอยู่กับแผ่นดินไหว(2)
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 29 เม.ย. 15, 18:32
มีเรื่องที่เกี่ยวกับแผ่นดินไหวครั้งนี้ที่ไม่อยากจะเขียนอยู่เรื่องหนึ่ง เป็นเรื่องเกี่ยวกับความเสียหายต่อชีวิตครับ

เคยเล่ามาแล้วว่า คลื่นแผ่นดินไหวในพื้นที่ละแวกจุดกำเนิดนั้น จะเป็นคลื่นประเภทความถี่สูง ซึ่งเมื่อผนวกกับระยะห่างของเวลาที่คลื่น P-wave และ S-wave จะเดินทางมาถึง ณ พื้นที่นั้นๆ สั้นมากๆๆ   ก็หมายความว่า ณ พื้นที่นั้นๆ ถูกกระทำในลักษณะของการถูกขย่มจนกระดอนแล้วถูกกระชากไปทางด้านข้างในเกือบจะทันที  ก็ไม่ต่างไปจากสภาพของการถูกเตะตัดขาในจังหวะที่กำลังกระโดดลอยขึ้นไป

กลับมาดูภาพของอาคารบ้านเรือนที่ปลูกกันตามนิยมของผู้คนที่อยู่ในพื้นที่ภูมิภาคนี้ของเอเซีย
 
เมื่อไม้หายาก ก็สร้างบ้าน/อาคารด้วยการก่ออิฐ    สำหรับพวกพอมีกำลังเงิน โครงของบ้าน/อาคาร (เสา คาน ขื่อ แป ฯ) ก็ใช้ไม้โยงยึดกัน แล้วก่ออิฐปิดช่วงระหว่างเสา หรือหากจะใช้อิฐก่อล้วนๆ ก็เป็นการก่อแบบกำแพงหนา หรือไม่ก็เป็นแบบกำแพงสองชั้น
 
ส่วนสำหรับชาวบ้านนั้น หากมีเงินไม่ถึงระดับหนึ่ง บ้านที่สร้างขึ้นมาจะคงจะไม่หนีไปจากลักษณะของ shelter แบบกึ่งถาวร  เราจึงได้เห็นภาพของบ้านเรือนที่ก่อด้วยอิฐหรือเอาก้อนหินมาวางต่อกัน เชื่อมด้วยโคลนหรือปูนเล็กน้อย             


กระทู้: นอนอยู่กับแผ่นดินไหว(2)
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 29 เม.ย. 15, 18:59
เมื่อเกิดแผ่นดินไหวขึ้นมา จึงได้เห็นว่ามีบ้านที่อยู่อาศัยพังราบบ้างหรือเสียหายต่างกันในระดับต่างๆ (นอกเหนือไปจากเรื่องของคลื่นแผ่นดินไหว และอื่นๆ)

จากที่เล่ามานี้ ลองย้อนกลับไปดูภาพความเสียหายของทรัพย์สินและจำนวนผู้เสียชีวิตจากแผ่นดินไหวที่เรียกว่าครั้งร้ายแรงที่เคยเกิดขึ้นมาในพื้นที่ต่างๆ เช่น ในจีน ในพื้นที่อัฟกานิสถาน/ปากีสถาน อิหร่าน ฯลฯ

ประเมินกันเอาเองนะครับว่า ความเสียหายในครั้งนี้จะเป็นเช่นใด  เรายังเกือบจะไม่ได้รับหรือแทบจะไม่มีข้อมูลข่าวสารใดๆเลยที่เกี่ยวกับชาวบ้านที่อยู่นอกเขตเมืองและที่อยู่ในชนบทเลย  เส้นทางคนนาคมก็มีจำกัด แถมได้รับความเสียหาย พาหนะสำหรับการสัญจรก็จำกัด ฯลฯ    ก็จำกัดแบบจำกัดจริงๆในแทบจะทุกเรื่องเลยครับ ทั้งสาธารณูปโภค เครื่องอุปโภค เครื่องบริโภค....just name it

ขนาดญี่ปุ่นเอง ที่ว่าครบเครื่องในแทบจะทุกเรื่องและในทุกรูปแบบ  เมื่อครั้งเกิดแผ่นดินไหวในแถบฝั่งทะเลญี่ปุ่น ที่เรียกว่าแถบ Joetsu นั้น ก็ยังแย่เลยครับ   


กระทู้: นอนอยู่กับแผ่นดินไหว(2)
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 29 เม.ย. 15, 19:39
มีเรื่องหนึ่งที่ผมอยากจะกล่าวถึง ก็คือ  เมื่อเกิดแผ่นดินไหว เกิดความเสียหายหลากหลาย    สาระสนเทศที่พึงฟุ้งกระจายให้ผู้คนได้ยินได้ฟังกันนั้น น่าจะนำด้วยเรื่องในมิติของ mitigation  เนื่องจากมันเป็นเรื่องทางธรรมชาติที่มิอาจหลีกเลี่ยงหรือจำกัดมิให้มันเกิดขึ้นได้    มิควรจะเป็นเรื่องที่เน้นไปในมิติของต้นตอ/สาเหตุ เหมือนกรณีที่อุบัติขึ้นด้วยน้ำมือของมนุษย์ ซึ่งเป็นเรื่องที่เราสามารถจำกัดมิให้มันเกิดขึ้นหรือลดการเกิดขึ้นได้

ก็ไม่เข้าใจเหมือนกันว่า ในขณะที่ผู้คนทั้งโลกเขากำลังสาละวนอยู่กับสาระในเรื่อง mitigation  รัฐบาลไทยก็อยู่ใน mode นี้   แต่ดูเหมือนว่าหน่วยงานและนักวิชาการของเรา ไปอยู่ในอีก mode หนึ่ง ไปพูดถึงเรื่องแผ่นดินไหวในไทย ที่มาที่ไปของมัน แถมอนาคตอีกด้วย   


กระทู้: นอนอยู่กับแผ่นดินไหว(2)
เริ่มกระทู้โดย: Anna ที่ 29 เม.ย. 15, 21:13
ทีวีให้ความรู้เรื่องความปลอดภัยขณะเกิดแผ่นดินไหวไว้หลากหลายวิธี หนึ่งในนั้นคือ แนะนำให้หลบลงใต้โต๊ะ ดูรายการทีวีญี่ปุ่นก็เห็นเขาสอนเด็กในโรงเรียนแบบนี้เหมือนกัน วิธีนี้ปลอดภัยจริงหรือคะ อดคิดไม่ได้ว่าแล้วแรงสั่นสะเทือนมิทำให้โต๊ะหักโค่นลงมาทับเอารึไง



กระทู้: นอนอยู่กับแผ่นดินไหว(2)
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 01 พ.ค. 15, 19:57
แผ่นดินไหวในระดับที่ทำให้เครื่องใช้ที่วางไว้บนหิ้ง บนหลังตู้ หรือในชั้นวางของร่วงหล่นลงมานั้น ค่อนข้างจะเป็นเรื่องปรกติของญี่ปุ่น แม้ว่าจะเกิดขึ้นจำนวนไม่มากเท่ากับขนาดที่ทำให้เรารู้สึกว่าเกิดแผ่นดินไหวขึ้นแล้ว    การมุดลงไปใต้โต๊ะนั้น ก็เป็นเพียงการป้องกันของหล่นใส่ศีรษะ ในทำนองเดียวกันกับการใส่หมวกนิรภัยในพื้นที่ๆกำลังมีการก่อสร้างทั้งหลาย ก็คือ safety first นั่นเอง    ส่วนจะป้องกันอิฐ ปูน ขื่อคานที่หล่นลงมาได้หรือไม่ มากน้อยเพียงใดนั้น เป็นอีกเรื่องหนึ่ง 


กระทู้: นอนอยู่กับแผ่นดินไหว(2)
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 01 พ.ค. 15, 21:03
ภัยพิบัติธรรมชาติที่สร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินนั้น ในหลายๆกรณีเมื่อเกิดเรื่องใดเรื่องหนึ่งขึ้น มันก็เกิดเรื่องอื่นๆต่อเนื่องเป็นลูกโซ่   

ในกรณีเมื่อเกิดแผ่นดินไหว เรื่องทางธรรมชาติที่เกิดตามมาก็มี อาทิ การขยับเขยื้อนเคลื่อนที่ของมวลวัตถุ (mass movement) ตามแรงดึงดูดของโลก (gravity force) เช่น การถล่มทะลายของมวลวัตถุในลักษณะของ avalanche (เช่น หิมะถล่ม_snow avalanche)  ลักษณะของ slide (เข่น  ดินถล่ม_landslide)  และ flow (เช่น โคลนทะลักตามร่องห้วย_mud flow)

ด้วยความรู้ที่พอมี เมื่อเกิดแผ่นดินไหวที่เนปาลครั้งนี้ ผมก็เลยนึกไปถึงความเสียหายในรูปของ avalanche, slide, และ flow    ซึ่ง avalanche และ slide มีปรากฎเป็นข่าวแล้ว  ยังเหลือ flow ที่ยังไม่มีการกล่าวถึง ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นหรือไม่เกิดขึ้นก็ได้
 
โชคดีอยู่ประการหนึ่งที่ flow นี้ ไม่ว่าจะเป็น debris flow (หินไหล) หรือ mud flow (โคลนไหล) มักจะเกิดไหลไปตามร่องห้วย ซึ่งก็น่าจะมีความโชคดีอีกประการหนึ่งประเทศนี้มีประชากรน้อยและอยู่กระจัดกระจาย ความเสียหายที่เกิดขึ้นจึงอาจจะไม่มี มีน้อยมาก หรือยังไม่ทราบเพราะยังเข้าไปไม่ถึงพื้นที่       


กระทู้: นอนอยู่กับแผ่นดินไหว(2)
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 01 พ.ค. 15, 21:21
ส่วนสาเหตุที่นึกถึงเรื่อง flow นี้ ก็เนื่องจาก ร่องเขาในเทือกเขาหิมาลัยเกิดมาจากการกัดเซาะของน้ำจากน้ำแข็งหรือหิมะ ซึ่งร่องเขาเหล่านี้ก็เป็นเส้นทางของการเดินทางตะกอนกรวดหินดินทรายที่ถูกกัดกร่อนผุพังจากพื้นที่ที่อยู่สูงกว่า  เมื่อหมดแรงการนำพาด้วยน้ำแข็งหรือน้ำ มันก็ตกตะกอนกองรวมกันเป็นกลายเป็นเขื่อนกั้นน้ำ   ผมไม่ทราบว่าอ่างน้ำในลักษณะนี้มีมากน้อยเพียงใด รู้ว่ามืในประเทศสิขิมหละภูฏานด้วย และรู้ว่ามีอยู่ในพื้นที่ๆมีการไหวของแผ่นดินแน่นอน   


กระทู้: นอนอยู่กับแผ่นดินไหว(2)
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 02 พ.ค. 15, 18:57
แล้ว ณ วันนี้ ข่าวเกี่ยวกับแผ่นดินไหวในเนปาลก็ค่อยๆจางหายไปจากสื่อระดับนานาชาติต่างๆ     update มีน้อยมาก  มองในทางบวก ก็คือ สถานการณ์ต่างๆอยู่ในสภาพที่ควบคุมได้ และสามารถบริหารจัดการได้ในระดับที่ดีพอแล้ว    ซึ่งหากเป็นเช่นนั้น ก็แสดงว่าความช่วยเหลือทางมนุษยธรรมของเพื่อนร่วมโลกได้มีอย่างพอเพียงพอได้แล้ว ซึ่งหมายความว่าพ้นระยะวิกฤติในการช่วยผู้ที่ยังมีชีวิตที่ติดอยู่ในซากปรักหักพังต่างๆแล้ว และกำลังเข้าสู่ระยะแรกๆของการทำให้ผู้รอดชีวิตทั้งมวลสามารถมีหรือเข้าถึงปัจจัยสี่ได้ในระดับที่น่าพอใจ เพื่อให้ผู้คนเหล่านั้นสามารถดำรงชีวิตต่อไปได้ตามสมควรแก่เหตุจนกว่าการดำเนินการในด้านในเรื่องต่างๆการฟื้นฟูจะเสร็จสิ้นลง

ก็เรียงกันไปตามคิว  rescue --> relief --> restore --> rehab (rehabilitation)   


กระทู้: นอนอยู่กับแผ่นดินไหว(2)
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 02 พ.ค. 15, 19:55
แล้ว...  จากนี้ไป ตามสภาพและอิทธิพลของโลก ณ กาลเวลาปัจจุบัน  เราก็คงจะได้เห็นเนปาลในรูปร่างหน้าตาอีกแบบหนึ่ง


กระทู้: นอนอยู่กับแผ่นดินไหว(2)
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 02 พ.ค. 15, 19:57
เป็นยังไงแบบไหนคะ


กระทู้: นอนอยู่กับแผ่นดินไหว(2)
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 03 พ.ค. 15, 18:44
ตกภาษาไทยครับ สื่อสารก็ยังไม่ดีอีกด้วยครับ    ผมหมายถึงสภาพและอิทธิพลทางวิทยาการ เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมในโลกยุคปัจจุบันครับ

เนปาลเป็นประเทศที่มีทรัพยากรธรรมชาติค่อนข้างจำกัดในเชิงของความหลากหลาย แต่ไม่จำกัดในเชิงของคุณภาพ  และซึ่งทรัพยากรฯเหล่านั้นต่างก็มีความเป็นสุดโต่ง (extreme) จนกลายเป็นที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวจากนานาชาติให้เข้ามาสัมผัสความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของมัน

ด้วยความที่เป็นประเทศกำลังพัฒนาในลำดับหลังๆในสายตาของประเทศอุตสาหกรรมทั้งหลาย  เมื่อเกิดพิบัติภัยในลักษณะที่สร้างความเสียหายไปทั่วและเป็นบริเวณกว้างเช่นนี้  ก็แน่นอนครับ จะต้องได้รับความช่วยเหลือ ซึ่งเกือบทั้งหมดก็จะมิใช่ในรูปของเงิน (in cash) แต่จะเป็นในรูปของ in kind (แปลเป็นไทยไม่ออกครับ) และก็มักจะต้องผ่านทางองค์กรความช่วยเหลือนานาชาติของตนเอง และ/หรือ องค์กรนานาชาติแบบพหุภาคีที่ตนเองเป็นสมาชิก และ/หรือ องค์กรนานาชาติที่เป็นสากล (ในระบบ UN) 

แต่...ความช่วยเหลือแบบให้เปล่านั้นไม่มีจริงในโลกนี้  วลี "nothing is for granted" จึงเป็นวลีเตือนใจในหมู่คนทำงานในระบบพหุภาคีทั้งหลาย


กระทู้: นอนอยู่กับแผ่นดินไหว(2)
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 03 พ.ค. 15, 19:16
ดังภาพที่เล่านำทางมา  ก็คงพอจะเห็นภาพในภายหน้าได้พอควรแล้วนะครับว่าอะไรจะเกิดขึ้น

 - ผมเองเห็นภาพ โครงการสร้างที่พักอาศัยแบบกึ่งถาวรในช่วงที่กำลังเก็บกวาด ฟื้นฟู ซึ่งหากบริหารจัดการไม่ดี มันก็จะกลายเป็นชุมชนถาวรต่อไป  ภาพเช่นนี้ ผมเห็นที่ญี่ปุ่นหลังจากการเกิดแผ่นดินไหวแถว Joetsu  เพียงแต่เป็นภาพในอีกคุณภาพหนึ่งของชีวิตเท่านั้นเอง  อยู่กันจนคล้ายเป็นหมู่บ้าน นานพอที่จะมีรถเมล์ให้บริการ นานพอที่มีการต่อพื้นที่หลังห้องพักเพื่อทำสวนครัว
 - เห็นภาพของระบบไฟฟ้าแบบ Solar cell ขนาดพอใช้ประจำแต่ละชุมชนเล็กๆ หรือแต่ละบ้าน แบบที่เคยมีโครงการทำในมองโกลเลีย
 - เห็นภาพอาคารในสถาปัตยกรรมผสมระหว่างในวัฒนธรรมของถิ่นกับของประเทศผู้สนับสนุนโครงการ
 - เห็นภาพโทนสีของเมืองอาจจะเปลี่ยนไปจากโทนสีแดง
   ฯลฯ 

ครับ ก็เป็นภาพในมโนของผมครับ


กระทู้: นอนอยู่กับแผ่นดินไหว(2)
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 04 พ.ค. 15, 18:16
ผมอยากจะให้ติดตามดูภาพและข้อสนเทศทั้งหลายที่ปรากฎตามสื่อ online ต่างๆ ที่เกี่ยวกับแผ่นดินไหวที่เนปาลในครั้งนี้  แล้วลองนำมาวิเคราะห์ดูในแง่มุมต่างๆ

ผมคิดว่า เมื่อได้เห็นข้อมูลมากขึ้น ได้รับรู้ข่าวสารมากขึ้น มีรายละเอียดของเรื่องราวต่างๆมากขึ้น   มากจนถึงระดับที่ตนเองคิดว่าพอจะเห็นเป็นภาพรวมของเหตุการณ์ทั้งหมดแล้ว    เมื่อนั้น ก็จะไปสู่ความคิดที่เป็นด้านของปุจฉามากมาย ด้วยคำถามที่นำด้วยคำว่า "ทำไม"

ซึ่ง...ผมก็อยากจะไห้ล้วงลึกลงไปถึงเหตุผลที่ไม่มีการดำเนินการหรือไม่มีการกระทำใดๆในข้อปุจฉาว่า "ทำไม..." หัวข้อนั้นๆ    ซึ่งก็จะพบว่า ไม่ว่าเป็นตัวเราเอง เป็นสังคมรอบตัวเรา เป็นฝ่ายปกครอง หรือเป็นรัฐในองค์รวม ฯลฯ ต่างก็ไม่ได้คำนึงถึง หรือเตรียมความพร้อมในรูปแบบที่หลากหลายเพื่อการรับมือกับภัยหรือพิบัติภัยที่เป็นลักษณะครอบคลุมพื้นที่กว้างและที่เป็นลักษณะของ mass destruction   


กระทู้: นอนอยู่กับแผ่นดินไหว(2)
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 04 พ.ค. 15, 18:47
ผมเองสนใจในภาพหนึ่ง  มีอาคารคอนกรีตหลายหลังที่ไม่ได้รับความเสียหายถึงระดับที่พังลงมา และซึ่งก็ยืนตระหง่านอยู่ท่ามกลางอาคารบ้านเรือนที่พังทลายแบบสลายลงมากอง อาจจะเอียงซวนเซ ถลอกปอกเปิกบ้าง แต่ก็ยังคงสามารถยืนอยู่ได้

ภาพเช่นนี้ในมุมหนึ่งก็คงไม่หนีที่จะเป็นเพราะโครงสร้างอาคารมีความแข็งแรงต่างกัน หรือไม่ก็มีการออกแบบอาคารแบบกันแผ่นดินไหวเอาไว้   แต่ก็อีกแหละครับ ในเมื่อก็ยังมีอาคารคอนกรีตในเขตชานเมืองและในชนบทที่ยังสามารถยืนอยู่ท่ามกลางซากปรักหักพังทั้งหลายอยู่ได้   

ลักษณะเช่นนี้ สำหรับผมนั้น สื่อว่าการก่อสร้างอาคารนั้นๆเป็นไปอย่างมีคุณภาพ คือ สมกับศักยภาพอันพึงมีของความเป็นอาคารคอนกรีต

ซึ่งเลยพาลให้คิดต่อไปว่า แผ่นดินไหวในไทยที่ว่ามีโอกาสจะรุนแรงนั้น หากการก่อสร้างทั้งหลายเป็นไปอย่างมีคุณภาพเต็มตาม building code ของเรา และผู้ออกแบบ/ผู้อนุญาต/ผู้ตรวจสอบ/ผู้ตรวจงานมีสำนึกเพียงพอ   ก็คงไม่น่าจะต้องมีอะไรเป็นห่วงมากนัก


กระทู้: นอนอยู่กับแผ่นดินไหว(2)
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 04 พ.ค. 15, 19:10
อาคารที่ทนทานอยู่ได้ไม่พังทลาย


กระทู้: นอนอยู่กับแผ่นดินไหว(2)
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 05 พ.ค. 15, 19:36
ภาพที่ อ.เทาชมพู นำมาแสดงนี้   ในความเห็นส่วนตัวของผมแล้ว ผมเห็นว่าเป็นภาพที่ยืนยันว่าคุณภาพของการก่อสร้างของเขาว่าดีมากเลยทีเดียว   

แผ่นดินไหวขนาดนี้ ในระดับความเสียหายโดยทั่วไปในระดับนี้ ที่เรายังคงเห็นภาพโครงสร้างของหน้าต่าง/ประตูของอาคาร รวมทั้งอาการทรุดของอาคารต่างๆ ยังคงรูปทรงทรงสี่เหลี่ยม แม้ตัวอาคารที่ทรุดเอียงก็ยังคงรูปทรงสี่เหลี่ยม เป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากที่ไม่โย้เย้  อย่างน้อยมันก็ย่อมแสดงถึงการออกแบบและการก่อสร้างมีคุณภาพที่ดี    ซึ่งผมจะไม่ขอขยายความต่อนะครับ ให้วิศวกรเขาช่วยอธิบายทั้งในเชิงของแรง g ที่สัมพันธ์กับลักษณะการกระชากครั้งแรกของแผ่นดินที่ไหว ว่าจะเป็นการผลักหรือเป็นการดึง_push or pull   หรือในเชิงของ stress & strain (ในรูป ellipsoid หรืออื่นใด) ซึ่งวิศวกรเขาอธิบายได้ดีกว่าผมแน่ๆ


กระทู้: นอนอยู่กับแผ่นดินไหว(2)
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 06 พ.ค. 15, 06:07
ขออนญาตแทรกข่าวแผ่นดินไหวที่บ้านเราเมื่อตี ๔ วันนี้เอง ดูข่าวทีวีตอนเช้ารายงานข่าวว่าภูเก็ตสะเทือนไปทั้งเกาะ ชาวบ้านกลัวสึนามิอพยพหนีขึ้นที่สูงโดยรถยนต์กว่า ๕๐๐ คัน


กระทู้: นอนอยู่กับแผ่นดินไหว(2)
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 06 พ.ค. 15, 10:46
http://www.youtube.com/watch?v=xt7AU5TInzM#ws (http://www.youtube.com/watch?v=xt7AU5TInzM#ws)


กระทู้: นอนอยู่กับแผ่นดินไหว(2)
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 06 พ.ค. 15, 20:27
กำลังตามดู ประมวลดูว่า ผชช.ทั้งหลายเขาจะว่า เขาจะอธิบายกันอย่างไรบ้างครับ   ซึ่ง ณ ขณะนี้ ก็ดูเหมือนจะไม่ค่อยมีการกล่าวถึงมากนัก
ทั้งๆที่ขนาดของมันอยู่ในระดับที่ต้องให้ความสนใจ (ทางวิชาการ) แล้วละครับ





กระทู้: นอนอยู่กับแผ่นดินไหว(2)
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 06 พ.ค. 15, 20:57
ไม่รอผู้เชี่ยวชาญคนอื่นละค่ะ  รอนักธรณีวิทยาชื่อคุณตั้งนี่แหละ
ขนาดนี้  เป็นสัญญาณเตือนภัยที่ต้องจับตาไม่กระพริบแล้วหรือยังคะ


กระทู้: นอนอยู่กับแผ่นดินไหว(2)
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 08 พ.ค. 15, 06:24
กำลังตามดู ประมวลดูว่า ผชช.ทั้งหลายเขาจะว่า เขาจะอธิบายกันอย่างไรบ้างครับ  

เขาอธิบายว่าอย่างนี้  ;D

http://youtube.com/watch?v=IDnUeA_sMBQ#ws (http://youtube.com/watch?v=IDnUeA_sMBQ#ws)


กระทู้: นอนอยู่กับแผ่นดินไหว(2)
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 08 พ.ค. 15, 19:06
ที่จริงเขียนกระทู้ตั้งแต่เมื่อวานแล้ว  ดั๊นกดผิด เลยหายไปเลย กู้ก็ไม่ขึ้น ก็เลยต้องมาเขียนเอาใหม่ในวันนี้ครับ

คำอธิบายของ ผอ.สำนักธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อมนั้น อยู่ในแนวที่นักธรณีฯที่เรียนมาทาง pure geology จริงๆจะพึงตอบ  ซึ่งในรายละเอียดของเรื่องราวนั้น แต่ละคนก็อาจจะมีความเห็นบนเหตุผลที่แตกต่างกันไป  ซึ่งก็อาจจะแตกต่างกันมากจนไปถึงระดับที่อยู่บนพื้นฐานของแต่ละทฤษฎี

สำหรับความเห็นและเรื่องทางวิชาการที่ไม่ลึกซึ้งมากนักนั้น ผมจะค่อยๆเล่าความต่อไป


กระทู้: นอนอยู่กับแผ่นดินไหว(2)
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 08 พ.ค. 15, 19:39
แต่ก่อนที่จะเล่าความทางวิชาการ ผมจะขอขยายความข้อปุจฉาของ อ.เทาชมพู  ซึ่งเป็นข้อสงสัยของทุกผู้คนเสียก่อนดังนี้ครับ

คำตอบต่อคำถามว่า ต้องจับตาไม่กระพริบแล้วหรือยัง    ผมเห็นว่า เมื่อมีผู้เล่นอยู่ในสนามคำถามนี้หลายกลุ่มเลยทีเดียว (ราชการ หน่วยงานสันทัดกรณี นักวิชาการ ชุมชน ผู้คน ฯลฯ)  นอกจากนั้นแล้ว ในสนามคำถามนี้ ก็ยังมีทีมผู้เล่นอยู่สองพวก คือพวกระวังหน้า (ก่อนเกิดเหตุ) และพวกระวังหลัง (หลังเกิดเหตุ)   ดังนั้น คำตอบ ก็คือ ทุกหน่วยงาน ทุกผู้คนควรจะจับตาได้แล้วครับ แต่เป็นการจับตาในเชิงของการสำรวจตรวจสอบความพร้อมของตนเองในทุกบริบทที่จะทำให้เกิดประโยชน์แก่ตนและแก่ผู้อื่นในสังคม


กระทู้: นอนอยู่กับแผ่นดินไหว(2)
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 11 พ.ค. 15, 18:17
กระทู้มันคงไม่อยากให้ผมเขียนหรืออย่างไรก็ไม่รู้   เมื่อวานนี้เขียนเสร็จแล้ว กำลังจะกดส่ง อ้าว คอมพ์มันเกิดอาการวูบวาบแล้ว reboot เลย   กู้ไฟล์ไม่ได้   วันนี้เลยขอสู้กับใหม่ครับ


กระทู้: นอนอยู่กับแผ่นดินไหว(2)
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 11 พ.ค. 15, 19:02
อตฺตาหิ อตฺตโน นาโถ_ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน  น่าจะเป็นพุทธศาสนสุภาษิตที่ถูกต้องที่สุด และควรจะนำมาปฎิบัติสำหรับตนในเรื่องที่เกี่ยวกับภัยพิบัติทางธรรมชาตืที่เกี่ยวด้วยเรื่องของ ดิน/หิน น้ำ/ของไหล ลม/พายุ และไฟ/ความร้อน/ความเย็น  ซึ่งต่างก็เป็นภัยที่เป็นผลมาจากกระบวนการของธรรมชาติที่เกิดขึ้นในโลกมาเป็นเวลานับพันล้านปี

แล้วจะพึ่งตนเองได้อย่างไร ในเมื่อไม่มีความใดๆรู้เกี่ยวกับแผ่นดินไหวเลย ?   

ไม่จริงเลยครับ ความรู้มีอยู่ในข้อมูลที่เผยแพร่กระจายอยู่ตามสื่อต่างๆ ซึ่งแม้จะมีจริงบ้าง เท็จบ้าง เทียมบ้าง  ผมก็เชื่อว่าด้วยสัญชาตญาณของเรา เราก็น่าจะพอสามารถจำแนกได้แต่แรกเริ่มเลยว่า พอจะรับฟังเนื้อหาใดๆได้มากน้อยเพียงใด  ซึ่งหากเราได้ให้ความสนใจติดตามอ่านมากขึ้นจากสื่อภายในและภายนอกประเทศและจากนักวิชาการหลากหลายสถาบัน  เราก็พอจะรับรู้และตัดเรื่องที่เป็นมโนออกไป เหลือแต่ส่วนที่เราเชื่อ แล้วสรุปเป็นข้อมูลสำคัญเฉพาะตัวของเรา ตามความเชื่อของเรา เป็นไปตามจริตของเรา    ซึ่ง..ก็จะนำพาไปสู่การเตรียมตัวของเราที่เหมาะสมตามจริตของเรา


กระทู้: นอนอยู่กับแผ่นดินไหว(2)
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 11 พ.ค. 15, 19:30
คราวนี้ก็จะเข้าเรื่องที่ผมอยากจะเล่าถึงกรณีแผ่นดินไหวในไทยและรอบบ้านเราที่ดูจะเกิดถี่มากขึ้น

เรื่องแรก คือ ความถี่ของการเกิดแผ่นดินไหว
 
ด้วยพัฒนาการทางสื่อ กระแสสังคม เทคโนโลยี และเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ  หนึ่งเรื่องที่มีการแข่งขันในสังคมก็อยู่ในบริบทของเรื่องความทันต่อเหตุการณ์และข้อมูล ซึ่งก็คือความสามารถและการแข่งขันกันในเรื่องของ real time 
   
แต่เดิมนั้น ผมเห็นว่า การรายงานแผ่นดินไหวที่จะออกเป็นข่าวสารนั้น จะพิจารณาในสองเรื่องควบคู่กันไปก่อนที่จะออกเป็นข่าว คือ คลื่นแผ่นดินไหวที่เครื่องตรวจวัดจับได้ กับ การรับรู้ของผู้คน (ความตื่นตระหนก) ณ พื้นที่ใดๆแห่งใดแห่งหนึ่ง   ด้วยนัยนี้ ปริมาณแผ่นดินไหวที่รายงานตามสื่อในอดีตจึงมีน้อยกว่าลักษณะในปัจจุบันที่รายงานด้วยข้อมูลแบบ real time (ตามที่เครื่องมือบ่งบอก)


กระทู้: นอนอยู่กับแผ่นดินไหว(2)
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 12 พ.ค. 15, 18:24
ที่เนปาลเมื่อเวลาประมาณบ่ายสองที่บ้านเราแผ่นดินไหวอีกแล้ว คราวนี้ความรุนแรง ๗.๓ ไม่น้อยทีเดียว

http://youtube.com/watch?v=lBXFMQy3kfg#ws (http://youtube.com/watch?v=lBXFMQy3kfg#ws)

บีบีซีแจ้งว่า ศูนย์กลางแผ่นดินไหวรุนแรงเขย่าเนปาลล่าสุดเกิดขึ้นทางตะวันออกเฉียงเหนือของกรุงกาฐมาณฑุ เมืองหลวง โดยห่างออกไปเป็นระยะทาง ๘๓ กม. ใกล้กับชายแดนเนปาลด้านติดกับทิเบต และมีความลึก ๑๘.๕ กม. เมื่อเวลา ๑๒.๓๕ น. ของวันที่ ๑๒ พ.ค. ๕๘ ตามเวลาท้องถิ่น (เวลาที่เนปาลช้ากว่าไทย ๑ ชั่วโมง ๑๕ นาที เวลาที่ไทยคือ ๑๓. ๕๐ น.)  ขณะที่ศูนย์กลางแผ่นดินไหวอยู่ใกล้กับเมืองนัมชี บาซาร์ ซึ่งอยู่ไม่ห่างจากยอดเขาเอเวอเรสต์บนเทือกเขาหิมาลัยเท่าใดนัก  แต่ความรุนแรงของแผ่นดินไหวสามารถทำให้ประชาชนในกรุงกาฐมาณฑุ รู้สึกสั่นสะเทือนอย่างรุนแรง พากันรีบวิ่งออกจากอาคารบ้านเรือนมาอยู่กลางแจ้ง จนถึงกับมีชาวเนปาลคนหนึ่งในเมืองหลวงกล่าวด้วยความตื่นตระหนกว่า แผ่นดินไหวครั้งนี้ เป็นแผ่นดินไหวใหญ่ ระดับ ‘บิ๊ก วัน’ (Big One) อย่างแท้จริง

ข่าวจาก ไทยรัฐ (http://www.thairath.co.th/content/498329)


กระทู้: นอนอยู่กับแผ่นดินไหว(2)
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 12 พ.ค. 15, 19:40
ฟังแล้วน่ากลัวนะครับ  เพราะมันจะทำให้สิ่งก่อสร้างและอาคารที่บอบช้ำจากการถูกเขย่าครั้งก่อน แต่ยังสามารถยืนอยู่ได้นั้น มีโอกาสที่จะยืนต่อสู้อยู่ต่อไปไม่ได้อีก

ความเสียหายในครั้งนี้ ในเบื้องแรกจะหนักไปในเรื่องของทรัพย์สินมากกว่าในเรื่องของชีวิต แต่จะส่งผลกระทบต่อการการดำรงชีวิตในระยะหลังต่อๆไป ซึ่งบ้างก็จะเปลี่ยนจากสภาพของความพอที่จะเอาตัวรอด ไปเป็นสภาพของการต่อสู้ดิ้นรนเพื่อให้ตนเองยังสามารถรักษาการมีชีวิตของตน


กระทู้: นอนอยู่กับแผ่นดินไหว(2)
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 12 พ.ค. 15, 20:46
ผมมีความเห็นที่อยากจะกล่าวถึงในบางเรื่อง ดังนี้ครับ

เมื่อเกิดแผ่นดินไหวขึ้น ข้อมูลจากหน่วยงานรับผิดชอบที่เผยแพร่ออกมา จะออกมาใน 3 เรื่องเป็นหลัก คือ ขนาดของแผ่นดินไหว  ความลึกของจุดกำเนิดจากผิวดิน  และผนวกด้วยความเสียหายในเบื้องต้น

ขนาดของแผ่นดินไหว บ่งบอกในเชิงของแรงหรือพลังที่ปล่อยออกมา    ซึ่งระดับของความแรงนี้ มิได้มีความสัมพันธ์แบบตรงๆกับระดับความเสียหายที่จะเกิดขึ้น   ระดับของความเสียหายที่เกิดขึ้น มักจะเกี่ยวข้องกับด้านคุณภาพของวัตถุที่เกิดความเสียหายนั้นๆ

ความลึกของจุดกำเนิดแผ่นดินไหว เป็นเรื่องของข้อมูลที่มีประโยชน์ในทางวิชาการ   สำหรับบุคคลทั่วไป ก็อาจเพียงเป็นการช่วยเสริมความรู้สึกที่น่าสะพรึง

ความเสียหายในเบื้องต้น  เป็นรูปแบบของการรายงานข่าวต่อสาธารณะ  และเป็นการรายงานเฉาะในพื้นที่รอบวงเล็กๆเหนือจุดกำเนิดแผ่นดินไหว

ในการเตรัยมความพร้อมของตนเอง ของหมู่คน ฯลฯ ข้อมูลเหล่านี้มีประโยชน์ใดบ้าง ??


กระทู้: นอนอยู่กับแผ่นดินไหว(2)
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 13 พ.ค. 15, 22:15
การเตรียมตัวของตนเองนั้น  ผมเห็นว่าเบื้องแรกสุด ก็คือ การยอมรับความจริงว่า แหล่งที่อยู่ของเรานั้น เมื่อนับย้อนหลังกลับไป เคยได้รับรู้สึกแผ่นดินไหวบ้างหรือไม่ ข้อมูลเหล่านี้จะได้มาจากปากคำของผู้เฒ่าผู้แก่วัยดึกจริงๆทั้งหลาย หากมีก็ถือว่าเป็นโชคดีของเรา เพราะมันช่วยเราให้การตัดสินใจในเรื่องต่างๆง่ายขึ้น  รู้ข้อมูลนี้แล้วก็ลองขยับวงรอบออกไปให้กว้างขึ้น เพื่อจะได้รู้ขอบเขตของการไหว ของความเสียหาย และของความรู้สึกของผู้คนต่างๆ  ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ เมื่อนำเข้ามาประมวลเข้าด้วยกัน อ่านอีกนิด คิดอีกหน่อย  ตัวเราก็จะเริ่มเห็นภาพของสภาพตัวเราและถิ่นที่อยู่ ว่าตัวเราอยู่ในอยู่ในวงอันตรายหรือไม่


กระทู้: นอนอยู่กับแผ่นดินไหว(2)
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 13 พ.ค. 15, 22:17
เว้นวรรคไว้เท่านี้ก่อนนะครับ ผมจะหายไปทำธุระที่ ตจว. จะกลับมาก็สัปดาห๋สุดท้ายของเดือนนี้ครับ


กระทู้: นอนอยู่กับแผ่นดินไหว(2)
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 13 พ.ค. 15, 23:01
เสียดายคุณตั้งมีธุระจะไปอีกหลายวัน    เจอลิ้งค์นี้ค่ะ เกี่ยวกับแผ่นดินไหว

http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9580000054500 (http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9580000054500)


กระทู้: นอนอยู่กับแผ่นดินไหว(2)
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 26 พ.ค. 15, 18:53
ช่วงนี้ เกือบจะไม่มีการเล่นข่าวแผ่นดินไหวในสื่อต่างๆแล้ว  ก็ถึงเวลาที่เรามาเพิ่มเติมความรอบรู้เกี่ยวกับแผ่นดินไหวกัน

ที่ผ่านมา เราจะได้ยินแต่ข่าวสารในประเด็นเรื่อง เกิด ณ พื้นที่ใด ขนาด ความลึก ความรุนแรง และความเสียหาย แล้วก็โยงไปถึงรอยเลื่อนต่างๆที่ได้ศึกษาและจำแนกกันว่าเป็นรอยเลื่อนที่มีพลังในพื้นที่นั้นๆ หรือไม่ก็โยงไปในเรื่องของแผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่  บ้างก็หยิบยกเอารอยเลื่อนมีพลังที่พบในประเทศเรามากล่าวถึงในเนื้อหาในลักษณะที่บ่งชี้ไปในโอกาสการเกิดและความน่ากลัว     

ซึ่งเมื่อย้อนกลับไปตามข่าวเก่าๆดู ก็ดูเหมือนว่า เกือบจะไม่มี (หรือจะว่าไม่มีเลยก็ได้) ข่าวสารใดที่ให้ข้อมูลและความรู้กับสาธารณะในบริบทด้านการเตรียมการรับมือ การบรรเทา หรือการลดระดับความหายนะที่จะเกิดขึ้น (ทั้งจากหน่วยงานที่ใช้ชื่อในบริบทของการเฝ้าติดตาม ในบริบทของการบรรเทาภัย และในบริบททางวิชาการทั้่งด้าน theorethical และด้าน empirical.....causes & consequences)

     


กระทู้: นอนอยู่กับแผ่นดินไหว(2)
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 26 พ.ค. 15, 19:34
ได้กล่าวถึงมาแล้วว่า ที่ตัวเราเองต้องรู้เพื่อการเตรียมการใดๆสำหรับพิบัติภัยธรรมชาติก็คือ ณ พื้นที่ๆเราอาศัยอยู่นั้นเคยมีภัยธรรมชาติใดๆบ้างหรือไม่ ไม่ว่าจะเป็นแบบเกิดประจำปี หรือเกิดประจำตามคาบเวลา หรือที่เคยเกิดในระดับที่สร้างความหายนะอย่างใหญ่หลวงเป็นวงกว้าง

รู้จากตำนานหรือจากปากผู้เฒ่าทั้งหลายแล้ว ก็ขยายวงข้อมูลให้กว้างออกไป ซึ่งวิธีดีที่สุดก็คงจะเป็นการออกไปสำรวจตรวจสอบดูในพื้นที่ ให้กว้างขวาง คลุมพื้นที่มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ก็ไปจนถึงระดับที่พอจะจำกัดขอบเขตของพิบัติภัยในครั้งน้ั้นๆได้ว่ามันไปถึงใหนบ้าง ก็ถือเสียว่า เป็นการท่องเที่ยวผนวกกับการทำความรู้จักพื้นที่และผูกมิตรกับผู้คนต่างๆ   

ข้อมูลที่ได้มาจะช่วยทำให้เราสามารถพิเคราะห์ได้ว่า เรานั้นอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงอันเนื่องมาจากภัยนั้นๆในระดับใด เราควรจะเตรียมตัวรับมืออย่างไร มากน้อยเพียงใด


กระทู้: นอนอยู่กับแผ่นดินไหว(2)
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 26 พ.ค. 15, 19:45
เรื่องที่ตามมาติดๆก็คือ เรื่องของการสังเกตและการเรียนรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่นผ่านทางวิถีชีวิต ประเพณี สังคม วัฒนธรรม และความเชื่อของกลุ่มคนในพื้นที่  พร้อมๆไปกับการรู้จักลักษณะจำเพาะของพื้นที่นั้นๆ


กระทู้: นอนอยู่กับแผ่นดินไหว(2)
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 28 พ.ค. 15, 19:20
พุน้ำร้อนหรือบ่อน้ำร้อนในประเทศเรามีอยู่หลายแห่งมาก พบได้ทุกภาค ยกเว้นภาคอิสาน 
 
คำอธิบายที่เรามักจะได้ยินกันก็คือ น้ำจากผิวดินได้ซึมลงไปใต้ดิน ลึกลงไปจนถึงบริเวณที่มีหินอัคนีร้อนๆ น้ำจึงร้อนแล้วไหลย้อนขึ้นมาสู่ผิวดิน  กลายเป็นบ่อน้ำร้อนต่างๆ ในกรณีนี้น้ำคงจะต้องซึมลึกลงไปมากๆหลายกิโลเมตรเลยทีเดียว  ซึ่งก็คงจะต้องใช้เวลานานมากๆ  ซึ่งเรารู้อายุของน้ำที่ไหลซึมลงไปได้จากการวัดอายุด้วย Oxygen Isotope (O18) dating       

หรือจะคิดในอีกมุมหนึ่งก็ได้ ก็คือ  ฤๅ..จะเป็นกรณีที่จุดที่ทำให้น้ำร้อนขึ้นมานั้นเป็นผลของพลังงานที่คายออกมาในรูปของความร้อนที่เกิดมาจากการบดอัดกันของมวลหินที่เคลื่อนที่ผ่านกันตามระนาบของรอยเลื่อน ซึ่งหมายความว่ารอยเลื่อนนั้นๆจะยังคงมีชีวิตอยู่ คือมวลหินยังคงเคลื่อนที่ผ่านกันอยู่ตลอดเวลา (ก็คือ active fault ที่ศัพท์บัญญัติใช้ว่า รอยเลื่อนมีพลัง)   ซึ่งคำอธิบายนี้ดูจะเข้าท่ามากกว่า เพราะ หากอธิบายด้วยกรณีหินอัคนีแล้ว เราคงจะไม่มีโอกาสพบน้ำมันดิบได้เลย ไม่ว่าจะเป็นที่ฝาง ที่บางระกำ หรือในอ่าวไทย จะพบได้ก็คงมีแต่แก๊สอย่างเดียว (เหมือนเอากระทะใส่น้ำมันตั้งบนเตาไฟ เราจะเห็นไอน้ำมันลอยออกมา เหลือแต่น้ำมันข้นๆติดกระทะอยู่) 



กระทู้: นอนอยู่กับแผ่นดินไหว(2)
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 28 พ.ค. 15, 19:35
หากย้อนกลับไปดูบรรดาแหล่งบ่อน้ำร้อนในประเทศของเรา  ก็พอจะเห็นได้ว่าตำแหน่งของพื้นที่ที่พบบ่อน้ำร้อนนั้น อยู่ในบริเวณพื้นที่ๆเขาสำรวจพบกันว่าเป็นพื้นที่รอยเลื่อนแบบมีพลัง   

แผ่นดินไหวที่เชียงรายเมื่อไม่นานมานี้ ที่มีจุดกำเนิดอยู่ที่บ้านห้วยทรายขาว อ.พาน ก็มีบ่อน้ำร้อนอยู่ในพื้นที่นั้น
   
รอยเลื่อนแม่จัน ที่ว่าหากเกิดแผ่นดินไหวแล้วจะน่ากลัวนั้น ก็พบว่ามีบ่อน้ำร้อนอยู่ในพื้นที่ตามแนวรอยเลื่อนนี้หลายแห่งเช่นกัน

ในพื้นที่อื่นๆเช่น รอยเลื่อนคลองมะรุ่ย รอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ ที่จัดว่้าเป็นรอยเลื่อนแบบมีพลังนั้น ฯลฯ ก็ทั้งนั้นแหละครับ จะพบว่ามีบ่อน้ำร้อนอยู่ในพื้นที่ทั้งนั้น

เพราะฉะนั้น...   


กระทู้: นอนอยู่กับแผ่นดินไหว(2)
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 30 พ.ค. 15, 19:00
เพราะฉะนั้น   การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นใดๆกับน้ำร้อน ก็อาจจะเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงการเปลี่ยนแปลงใดๆที่กำลังเกิดขึ้นของรอยเลื่อนนั้นๆก็ได้ และซึ่งอาจจะเะป็นผลทำให้รอยเลื่อนนั้นเกิดการเคลื่อนตัวในทันใด ทำให้เกิดแผ่นดินไหวได้

ก็พอจะเป็นการขยับลึกลง ให้แคบลงไปจากเพียงคำที่กล่าวแต่ว่า "เป็นรอยเลื่อนที่มีพลัง ให้ระวัง มันจะเกิดเคลื่อนตัวทำให้เกิดแผ่นดินไหวเมื่อใดก็ได้"




 


กระทู้: นอนอยู่กับแผ่นดินไหว(2)
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 30 พ.ค. 15, 19:25
แล้วการเปลี่ยนแปลงนั้นจะมีอะได้บ้าง  มากมายเลยครับ

แบบพื้นๆง่ายๆที่ผู้ใดก็สามารถทำได้ ก็จะมี อาทิเช่น การสังเกตการเปลี่ยนแปลงใดๆในช่วงคาบเวลาสั้นๆ (เช่นในรอบเดิอนที่ผ่านมา) ของปริมาณน้ำ อุณหภูมิ และลักษณะทางกายภาพ (สี ความขุ่น กลิ่น ฯลฯ) ของน้ำร้อนที่ผุดออกมา เป็นต้น

ทั้งนี้ มันก็ย่อมต้องมีการเปลี่ยนแปลงเล็กๆน้อยของมันเป็นธรรมดา ตามฤดูกาลบ้าง จากผลของการพัฒนาใดๆในพื้นที่บ้าง ฯลฯ  แต่ด้วยระดับสมองของมนุษย์ ก็พอที่จะจำแนกออกได้ระหว่างที่เรียกว่า ปรกติ กับ ผิดปรกติ


กระทู้: นอนอยู่กับแผ่นดินไหว(2)
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 30 พ.ค. 15, 20:02
ขยับให้ลึกเข้าไปอีกหน่อย ก้าวเข้าไปในทางวิชาการที่ไม่ซับซ้อนมากนัก  ก็น่าจะต้องนำน้ำไปวิเคราะห์ดู ทำให้เป็นกิจวัตร จะเป็นทุกเดือน ทุกสัปดาห์ หรือใดๆก็ได้ตามที่เห็นสมควรในทางสถิติในเชิงวิชาการ  จะวิเคราะห์บนฐานของคุณภาพน้ำบริโภคหรือน้ำอุปโภคก็ได้ หรือจะลงลึกลงไปถึงระดับ minor elements หรือลึกลงไปถึงระดับ trace elements ก็ได้

การเปลี่ยนแปลงของ minor elements และ trace elements นั้น บ่งชี้ถึงสภาพทางเคมีฟิสิกส์ (physio-chemical) หลายๆประการเลยทีเดียว ทั้ง pressure, temperature, Eh, pH ฯลฯ ซึ่งทั้งหลายต่างก็บ่งบอกถึงการเปลี่ยนแปลงใดๆที่อาจจะเกิดขึ้นได้ 


กระทู้: นอนอยู่กับแผ่นดินไหว(2)
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 30 พ.ค. 15, 20:26
ลึกลงไปอีกหน่อย   อืม์ คงไม่ต้องเข้าไปนะครับ  เพราะเป็นเรื่องที่คงจะต้องอธิบายกันยาว เป็นเรื่องในทาง geochemistry เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างธาตุแคลเซียม (Ca) โซเดียม (Na) โปแตสเซียม (K) ใสภาพแวดล้อมที่ต่างกันของ pressure, temperature, Eh และ pH ซึ่งจะย้อนรอยบ่งบอกถึงสภาพทางกายภาพของรอยเลื่อนน้ันๆ ณ บางช่วงเวลา

ครับ เอาเพียงแต่ว่า มันก็พอมีทางที่จะใช้คุณภาพของน้ำร้อน เพื่อส่อถึงการเปลี่ยนแปลงใดๆของรอยเลื่อนนั้นๆว่า อาจจะใด้เวลาขยับเขยื้อนเคลื่อนที่ จนทำให้เกิดแผ่นดินไหว 


กระทู้: นอนอยู่กับแผ่นดินไหว(2)
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 30 พ.ค. 15, 20:49
มาถึงตรงนี้ ทำให้นึกถึงอีกเรื่องหนี่ง เกี่ยวกับน้ำและสุขภาพ ที่ผมมีข้อกังขาอยู่    ก็จะขอออกนอกเรื่องไปนิดนึงครับ

ในปัจจุบันนี้ มีการใช้เครื่องกรองน้ำที่เรียกว่าระบบ RO (Reverse osmosis)  ซึ่งจะกรองเอาสารละลายในน้ำที่มีขนาดใหญ่กว่าประมาณ 3 - 5 ไมครอน (ตามที่เขียนไว้ที่เครื่องกรอง)    สุดท้าย น้ำที่กรองแล้วก็จะไปผ่าน resin ที่ทำให้น้ำกระด้างกลายเป็นน้ำอ่อน (ยังไม่โฆษณาว่าได้เป็นน้ำด่าง ที่มีคุณสมบัติต้านโรคร้ายแรง)    ประเด็นอยู่ตรงที่ว่า ในทางสาธารณสุขของเรา เราขอให้ผู้คนลดกินเค็ม ลดบริโภคเกลือ  แต่ในระบบการเปลี่ยนน้ำกระด้างให้เป็นน้ำอ่อนนั้น มันก็คือการแลกเปลี่ยนธาตุระหว่างแคลเซียมในน้ำ (ซึ่งทำให้น้ำกระด้าง) กับโซเดียมในแท่ง resin (ซึ่งเป็นตัวเกลือที่ประสงค์จะให้ผู้คนลดการบริโภค)    ตกลง ลดกินเกลือในอาหารแต่ได้รับทดแทน (หรือเพิ่มเติมมากกว่า)  จากน้ำดื่ม ???

ผมไม่รู้จริงๆ คุณหมอและท่านผู้รู้ทั้งหลายช่วยกรุณาให้ความรู้ด้วย ครับ



กระทู้: นอนอยู่กับแผ่นดินไหว(2)
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 01 มิ.ย. 15, 19:09
กาซที่ถูกกักขังอยู่ในรูพรุนระหว่างเม็ดดินทรายนั้น ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่เป็นตัวบ่งชี้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงใดๆเกิดขึ้นอยู่ลึกลงไปใต้ผิวดิน  กาซเหล่านี้มีได้หลากหลายส่วนผสม ขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมทางเคมีฟิสิกส์   

เมื่อรอยเลื่อนเริ่มขยับ เม็ดดินทรายก็อาจจะขยับทำให้เกิดรอยแยกเล็กๆเชื่อมกันระหว่างรู เกิดการปล่อยกาซขึ้นสู่ผิวดิน   สัตว์หลายชนิด (โดยเฉพาะพวกแมลง_Arthropods_ทั้งหลาย) มีความไวต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม (บ้างก็อากาศ บ้างก็น้ำ ฯลฯ) จึงมักแสดงพฤติกรรมแปลกๆ ดังนั้น หากมีความสังเกต เราก็อาจจะพอรู้ได้จากพฤติกรรมของสัตว์ต่างๆในธรรมชาติในพื้นที่นั้นๆว่า อาจจะมีอะไรที่ไม่ชอบมาพากลเกิดขึ้นในระยะเวลาอันใกล้   ส่วนจะเดาว่าเป็นอะไรนั้น ก็คงจะไปอยู่ที่ความรู้จักและความเข้าใจธรรมชาติรอบๆตัวเราในพื้นที่ๆตัวเราเองไปอาศัยดำรงชีพอยู่นั้น 


กระทู้: นอนอยู่กับแผ่นดินไหว(2)
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 01 มิ.ย. 15, 19:30
เรื่องกาซที่อยู่ในดินนี้ ในบางกรณีหรือในบางพื้นที่ก็เป็นเรื่องใหญ่อยู่เหมือนกัน

กล่าวคือ เมื่อเกิดแผ่นดินไหว กาซในดินเหล่านี้จะถูกปลดปล่อยออกมาพร้อมๆกับจุลินทรีย์มากมายหลากหลายชนิด จึงมักมีกรณีที่ผู้คนมากมายในพื้นที่แผ่นดินไหวได้เกิดอาการป่วยในโรคเดียวกัน     เคยอ่านพบว่ามีกรณีที่ผู้คนในพื้นที่ๆแผ่นดินเกิดการไหวสะเทือน ผู้คนเเกิดอาการป่วยเฉียบพลันแบบไม่ทราบสาเหตุและมีคนตาย ซึ่งในที่สุดก็พบว่าต้นเหตุมาจากเรื่องของกาซและจุลินทรีย์ที่ฟุ้งกระจายออกมาจากใต้ดินนั้นเอง

ก็เป็นอีกหนึ่งเรื่องนะครับ เตรียมพร้อมผ้าปิดจมูกไว้ด้วย อย่างน้อยก็ใช้ปิดจมูกเราหลังจากเกิดแผ่นดินไหวในขณะที่ออกเดินสำรวจรอบๆบ้านและพื้นที่ของเราว่าอะไรเป็นอะไร ลดความเสี่ยง   


กระทู้: นอนอยู่กับแผ่นดินไหว(2)
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 02 มิ.ย. 15, 19:00
สิ่งบอกเหตุอีกหนึ่งเรื่องต่อมาก็คือ ตัวแผ่นดินไหวนั่นเอง

ตามที่ได้มีการติดตามศึกษากันมานาน ได้พบว่าลักษณะการเกิดของแผ่นดินไหวนั้น มันจะมีการไหวเตือนล่วงหน้า (fore shock) ก่อนที่จะเกิดการไหวใหญ่ (main shock) แล้วก็มีการไหวตามหลัง (after shock)      ซึ่งทุกคนทราบกันดีในเรื่องนี้ แต่ที่ไม่ทราบและต้องก้าวเข้าไปสู่พื้นที่ของการเดาก็คือ แผ่นดินไหวครั้งใดที่เป็นตัวเตือน เป็นตัวจริง และเป็นตัวอำลา  ซึ่งทุกผู้คนต่างก็ให้ความสนใจไปที่ตัว main shock กันทั้งนั้น

เรื่องนี้พอจะทราบได้ก็ด้วยการอาศัยความรู้ทางวิชาการในหลายสาขา ผนวกกับการคาดคะเน (เดา) อย่างมีเหตุผล จึงมีการใช้คำศัพท์ที่ใช้ต่างๆกันเมื่อมีการกล่าวถึง  อาทิ return period, likelihood, possible, probably, indicate ฯลฯ      ก็คงไม่ต้องเข้าไปทราบอย่างลึกในเรื่องทางวิชาการเหล่านี้นะครับว่าเขาศึกษากันอย่างไร      เอาเป็นว่าขนาดประเทศที่ได้รับผลกระทบแผ่นดินไหวอย่างมากเช่นญี่ปุ่นนั้น ซึ่งเขามีข้อมูลมากมาย และเตรียมการไว้ในระดับที่ดีมากๆแล้ว เขายังต้องปรับปรุงแก้ไของค์ความรู้ (รวมทั้งกฎระเบียบต่างๆ) หลังการเกิดแผ่นดินไหวที่เมืองโกเบเมื่อ พ.ศ.2538  ซึ่งก็ยังไม่พอที่จะรับมือแผ่นดินไหวและซึนามิครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นเมื่อไม่กี่ปีมานี้  คาดไม่ผิดนะครับว่าเกิดแน่ๆ  คาดไม่ผิดในช่วงเวลาและพื้นที่ทางภูมิศาสตร์อีกด้วย แต่คาดผิดในเรื่องของขนาดและผลกระทบที่ตามมา _ ซึนามิ ซึ่งได้ทำเขื่อนกันตลอดชายฝั่งในระดับสูงประมาณ 5 เมตรจากระดับน้ำทะเล   


กระทู้: นอนอยู่กับแผ่นดินไหว(2)
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 02 มิ.ย. 15, 19:18
แต่...แต่เราก็พอจะคาดการณ์ได้ด้วยความรู้ของตัวเราเอง แม้จะห่างไกลจากฐานทางวิชาการไปมากก็ตาม

ดังนี้ครับ ตั้งอยู่บนหลักการเสมือนหนึ่งเราตั้งกาต้มน้ำบนเตาไฟ   เมื่อน้ำเดือดเราจะได้ยินเสียงฝาของการต้มน้ำสั่นกระแทกกับตัวกาน้ำ แต่หากเราปิดฝากาให้แน่น ไอน้ำก็จะดันให้ฝาระเบิดกระเด็นออกมา 

ฉะนั้น เกิดแผ่นดินไหวเล็กตลอดเวลา ก็เสมือนหนึ่งเป็นการระบายพลังออกมา ย่อมดีกว่าพลังถูกกักเก็บอัดไว้จนแน่นจนถึงระดับที่ต้องระเบิดออกมา เป็นแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ 


กระทู้: นอนอยู่กับแผ่นดินไหว(2)
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 02 มิ.ย. 15, 19:40
ก็คงเป็นปรัชญาหลักๆที่เราก็รู้ๆกันอยู่แล้วใช่ใหมครับ

ก็มีเรื่องที่พึงกระทำเมื่อไปอยู่ที่ใดๆในพื้นที่ๆเราพอรู้ว่ามีแผ่นดินไหวในระดับที่น่ากลัว   เราก็ควรจะทำตนเป็นคนช่างจำนรรจา เจ๊าะแจ๊ะ ถามไถ่เพื่อให้ได้ข้อมูลว่า เกิดขึ้นบ่อยใหม เกิดขึ้นเป็นประจำใหม เว้นวรรคห่างเหินจากการเกิดไปนานมากน้อยเพียงใด หรือเกิดห่างกันแต่ดูจะมีขนาดใหญ่ขึ้น

หากมันเกิดขึ้นบ่อยมาก และเกิดติดต่อกันมาเป็นช่วงเวลานานแล้ว ก็คงจะไม่ต้องมีความกังวลใดๆ นอนอยู่กับมันแบบชิลล์ๆไปเลย


กระทู้: นอนอยู่กับแผ่นดินไหว(2)
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 03 มิ.ย. 15, 19:27
ก็มาถึงเรื่องว่า ทำไมในช่วงคาบเวลานี้จึงเกิดแผ่นดินไหวเกิดขึ้นบ่อยครั้งมาก คำตอบในความเห็นของผม โดยพื้นๆ มีอยู่ในสองประเด็นที่ผสมผสานกัน ก็คือ ในทางสังคมและในทางวิชาการ

ทางสังคม
    เรื่องแรก เพราะระบบการสื่อสารมันดีมากขึ้น จนสามารถขนถ่ายปริมาณ content ได้มากและไวมากจนเกือบจะเสมือนว่าเราเป็นผู้หนึ่งที่ได้อยู่ ได้เห็น หรือได้สัมผัสกับสถานการณ์นั้นๆด้วยตนเอง   
    เรื่องที่สอง เพราะข้อมูลที่ลอยฟ่องอยู่ในระบบของสื่อต่างๆนั้น มันมีทั้งที่อยู่ในรูปของ data  ในรูปของ information และในรูปของ purported    ผู้รับจึงจะต้องมีการวิเคราะห์ (digest) ก่อนที่จะเปลี่ยนให้เป็นองค์ความรู้ของตน 
    เรื่องที่สาม เพราะวิถีของสังคมมีความเป็น global มากขึ้นมากๆ  ข้อมูลข่าวสารจึงขยายวงครอบคลุมพื้นที่กว้างขวางมากขึ้น จากภายในเขตพื้นที่ของตน ไปเป็นพื้นที่ระดับภูมิภาค และกำลังอยู่ในห้วงของเป็นพื้นที่ระดับทวีป


กระทู้: นอนอยู่กับแผ่นดินไหว(2)
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 03 มิ.ย. 15, 23:30
 ไม่ทราบว่าเกิดจากแผ่นดินไหวหรือเปล่า  แต่ไม่เคยเห็นอะไรประหลาดอย่างนี้
อยู่ๆน้ำทะเลก็ยุบและแหวกเป็นร่องค่ะ  
ต้องถามนักธรณีวิทยา

 (http://www.youtube.com/watch?v=0MguHJeDqV4 [/url)


กระทู้: นอนอยู่กับแผ่นดินไหว(2)
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 04 มิ.ย. 15, 19:05
เห็น Mirror ก็เลยลองตามไปดูใน นสพ. The Mirror  ก็เลยทราบว่าเกิดในฮ่องกง

ครั้งแรกที่เห็นภาพ เห็นวิวด้านหลังเป็นอาคารตึกสูง ผมก็นึกว่าจะต้องเกี่ยวข้องกับพื้นที่ปากแม่น้ำ เนื่องจากเห็นมวลน้ำเคลื่อนที่เข้าหากันตรงพื้นที่ๆที่เป็นแนวรอยแยก กล่าวคือ เป็นกรณี ณ ช่วงเวลาพอดีที่คลื่นจากทะเลเคลื่อนที่เข้าสู่ปากแม่น้ำได้ยกตัวขึ้นแล้วกำลังม้วนตัวกลับ (ตามกระบวนการของ surf ที่เราเห็นกันเป็นปรกติตามชายทะเลทั่วๆไป) แล้วปะทะกับมวลน้ำที่กำลังไหลลงสู่ปากอ่าว ซึ่งน่าจะเกิดในพื้นที่บริเวณที่เป็นเนินตะกอนใต้น้ำ และผมเห็นว่าน่าจะเป็นช่วงเวลาน้ำทะเลกำลังลง และก็น่าจะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นค่อนข้างจะเป็นปรกติ จนมีการรอถ่ายคลิปดังที่เอามาเผยแพร่

แต่พอได้ทราบว่าเป็นที่ฮ่องกง และถ่ายโดยกลาสีเรือลำหนึ่ง  ผมก็ถึงบางอ้อ  ก็น่าจะเป็นภาพถ่ายจากทางท้ายเรือเดินสมุทรในจังหวะที่มวลน้ำที่ถูกผลักจากใบจักรเรือด้านหัวเรือ ไปกระทบกับมวลน้ำที่ถูกผลักมาจากใบจักรด้านท้ายเรือ ในขณะที่เรือกำลังหมุนตัว จึงเห็นภาพฟองขาวเหนือผิวน้ำก่อนที่จะเกิดแนว ซึ่งก็อยู่ในข่ายของเรื่องเดียวกัน คือ เป็นแนวที่เกิดจากมวลน้ำที่ไหลหมุนเวียนในแนวตั้งมาชนกัน (มุดกัน-เกยกัน)   และอีกประการหนึ่ง ผมมีความเห็นว่ารอยแยกที่เห็นในคลิปนั้นน่าจะเป็นภาพลวงตาที่เกิดจากแสง

ก็เดาได้ดั่งที่กล่าวมานี้แหละครับ


กระทู้: นอนอยู่กับแผ่นดินไหว(2)
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 05 มิ.ย. 15, 18:49
กลับมาต่อ คห. 67  ครับ

ทางวิชาการ
   เป็นเรื่องของผลกระทบในพื้นที่ปลายทางที่ได้รับแรงหรือพลังงานที่ถูกถ่ายทอดต่อๆมาเป็นลูกโซ่   ก็คล้ายกับความเสียหายที่เกิดจากรถชนท้ายกันต่อเนื่อง 4-5 คัน คันแรกก็จะมีความเสียหายมาก คันหลังก็จะมีความเสียหายน้อย เพราะว่าแรงหรือพลังงานมันถูกดูดซึมออกไปอย่างต่อเนื่องจนรถคันสุดท้ายอาจจะเกือบไม่รับรู้เสียด้วยซ้ำว่ามีการกระแทกใดๆที่ท้ายรถของตน
   
ฉันใดก็ฉันนั้น แรงหรือพลังงานที่ทำให้เกิดแผ่นดินไหวก็เช่นกัน  ต้นทางของแรงที่ทำให้เกิดแผ่นดินไหวนั้น อยู่ที่บริเวณขอบของแผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่ผ่านกันบ้าง ชนกันบ้าง และแยกออกจากกันบ้าง   แรงหรือพลังงานที่ถูกปลดปล่อยออกมานั้นก็จะกระจายออกไป ยึ่งห่างไกลจากแหล่งกำเนิด แรงหรือพลังงานนั้นก็จะถูกซึมซับและลดน้อยลง


กระทู้: นอนอยู่กับแผ่นดินไหว(2)
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 05 มิ.ย. 15, 19:20
แต่แผ่นดินไหวนั้นเกิดจาก
  - สภาพของการครูดของหินบนระนาบหนึ่ง ซึ่งทำให้เกิดการสั่นสะเทือน   ก็คล้ายกับการขับรถขนถนนลูกรัง บางช่วงก็รู้สึกนิ่งเรียบดี บางช่วงก็รู้สึกสั่นหรือกระดอนไปมาเล็กน้อย แล้วก็มีโอกาสตกหลุมใหญ่ เกิดการกระแทกอย่างแรง
  - สภาพของการขาดสะบั้น ซึ่งทำให้เกิดการกระชาก   ก็คล้ายกับขับขับรถมาดีๆ แล้วเกิดรถตกหลุมหรือแอ่งที่ทั้งรถทั้งคนและสิ่งของบรรทุกถูกโยนลอยระเนระนาดไปหมด

สภาพของรอยเลื่อนมีพลังก็คล้ายกับสภาพแรก ซึ่งหมายความว่า น่าจะพอคาดได้ว่า มีโอกาสเกิดแผ่นดินไหวใหญ่ทุกๆคาบเวลาใด 
ส่วนสำหรับรอยเลื่อนอื่นใดที่คล้ายกับสภาพที่สองนั้น เดายาก จึงใช้คำกล่าวถึงในอีกลักษณะหนึ่งว่า มันไม่เกิดมานานแล้วเพียงใด 


กระทู้: นอนอยู่กับแผ่นดินไหว(2)
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 06 มิ.ย. 15, 20:17
ต้นทางของแรงหรือพลังงานที่สะสมอยู่ตามขอบแผ่นทวีปนั้นมีอยู่สูงมาก เมื่อเกิดแผ่นดินไหวขึ้นในพื้นที่เหล่านี้ เราจึงเห็นว่าเป็นแผ่นดินไหวที่อยู่ในเกณฑ์แรงทั้งในเชิงของขนาด หรือ magnitude ซึ่งก็คือ ขนาดของพลังงาน (ณ จุดหรือพื้นที่กำเนิด) ที่ถูกปลดปล่อยออกมา    และในเชิงของความรุนแรง หรือ intensity ซึ่งก็คือ พละกำลังหรือความหนักแน่นของพละกำลังที่จะไปสร้างความเสียหาย   

พลังงานและพละกำลังที่กระจายออกไปจากพื้นที่กำเนิดแผ่นดินไหวนี้ หากมีพลังมากพอ มันก็จะไปทำให้เกิดรอยเลื่อน รอยแตก รอยแยกในพื้นที่อื่นๆต่อไป เป็นอันดับๆไป (ตามกฎการแตกแรงทางฟิสิกส์หรือทางวิศวกรรม) ให้สอดคล้องไปกับพลังงานและพละกำลังของพื้นที่ต้นตอที่กระจายมาถึง     บางรอยเลื่อนจึงมีการขยับ มากบ้าง น้อยบ้าง ทุกช่วงเวลาบ้าง ปรับตัวตลอดเวลาบ้าง ฯลฯ    บางรอยเลื่อนก็นิ่งอยู่เฉยๆ หรือขยับเฉพาะบางช่วงของรอยเลื่อนเท่านั้น     

ความต่างทั้งหลายก็ขึ้นอยู่กับระยะความห่างจากพื้นที่ขอบแผ่นทวีปและกลไกของกระบวนการเปลี่ยนแปลงของผิวโลก

คงจะพอเห็นภาพบ้างนะครับ   


กระทู้: นอนอยู่กับแผ่นดินไหว(2)
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 07 มิ.ย. 15, 19:12
มาลองสำรวจดูที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของประเทศไทยของเรา   ประเทศไทยของเรามีสภาพคล้ายกับไข่ในหินเลยทีเดียว  เนื่องจากพื้นที่ต้นทางของแรงหรือพลังงานที่มีพละกำลังมากๆนั้น อยู่ห่างไกลจากเรามาก
   - ห่างไกลออกไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ มีบริเวณที่แผ่นทวีปชนกันจนโป่งนูนขึ้นมาเป็นทิวเขาหิมาลัย   
   - ห่างไกลไปในทะเลทางทิศตะวันตก เป็นพื้นที่แผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่ผ่านกันแบบผสมผสานทั้งแบบที่มุดกัน (เกิดเป็นทิวเกาะยาว_หมู่เกาะนิโคบาร์)  และเสียดสีกันด้านข้าง เกิดเป็นแนวรอยเลื่อน (transform fault) ตลอดแนวขึ้นไปทางด้านตะวันตกของที่ราบกลางประเทศของพม่า ขึ้นไปจนถึงพื้นที่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของยูนาน
   - ห่างไกลไปทางใต้ ก็มีแผ่นเปลือกโลกมุดกันอยู่ในพื้นที่นอกชายฝั่งเกาะสุมาตรา
   - ห่างไกลไปทางตะวันออกเฉียงเหนือยาวต่อเนื่องลงมาทางตะวันออกเฉียงใต้ มีแผ่นเปลือกโลกมุดกันตั้งแต่แถบหมู่เกาะญีปุ่นจนถึงฟิลิปปินส์
   - ห่างไกลไปทางทิศเหนือ เป็นพื้นที่ๆกำลังออกแรงยันกันอยู่ ระหว่างแผ่นดินพม่า-ลาว-ไทย-เวียดนาม กับ แผ่นดินจีน (ยูนานและกวางสี) เกิดเป็นกลุ่มทิวเขาและรอยเลื่อน (เช่น รอยเลื่อนแม่น้ำแดงที่ผ่านฮานอย) และการยันกันนี้กำลังหมุนไปทิศทางตามเข็มนาฬิกา


กระทู้: นอนอยู่กับแผ่นดินไหว(2)
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 07 มิ.ย. 15, 19:33
พละกำลังของแรงหรือพลังงานจากพื้นที่ต้นกำเนิดดังกล่าวเหล่านั้น ถูกดูดซับไปค่อนข้างมากในเส้นทางผ่านเข้ามาในพื้นที่ประเทศไทย ด้วยเพราะว่ารอยเลื่อนทั้งหลายของเรานั้นมิใช่ primary structure

ซึ่งโดยนัย ก็คือ แผ่นดินไหวที่มีต้นกำเนิดในไทย โดยทั่วๆไปก็น่าจะมีขนาดย่อมๆ ซึ่งโดยส่วนตัวของผมเห็นว่าน่าจะอยู่ในเกณฑ์ไม่เกิน magnitude 6  แต่ก็มิได้หมายความว่าจะเกิดขนาดใหญ่กว่านี้ไม่ได้นะครับ   


กระทู้: นอนอยู่กับแผ่นดินไหว(2)
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 08 มิ.ย. 15, 19:22
magnitude ไม่เกิน 6 ที่ผมคาดเดานี้ มีข้อพิจารณาทางวิชาการประกอบอยู่ด้วย ดังนี้ครับ

   ประการแรก ข้อมูลแผ่นดินไหวทั่วโลกที่ผ่านๆมาบ่งบอกว่า บรรดาแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ๆที่มีอำนาจทำลายล้างสูงนั้น เกิดขึ้นจากรอยเลื่อนมีพลังที่มีแนวยาวมากๆ (ในหลักร้อยและหลายร้อย+) และซึ่งมักจะเป็นรอยเลื่อนที่เกิดในพื้นที่ชายขอบของแผ่นทวีปที่เคลื่อนที่ผ่านกัน (เช่น รอยเลื่อนสะแกงที่เป็นแนวยาวตั้งแต่จีนลงๆไปจนสุมาตรา ซึ่งได้ถูกจัดให้เป็น super earthquake zone คือมีขนาดใหญ่กว่า 7)    แต่ตามข้อมูลทางวิชาการที่กรมทรัพยากรธรณีได้เผยแพร่นั้น บรรดารอยเลื่อนมีพลังทั้งหลายในประเทศไทย มีความยาวไม่กี่สิบกิโลเมตร แผ่นดินไหวที่จะเกิดขึ้นจึงไม่น่าจะมีพลังได้ถึงขนาด 6     
  ประการที่สอง พลังหรือพลังงานที่ถูกปลดปล่อยออกมาจากแผ่นดินไหวที่เกิดจากรอยเลื่อนใดๆนั้น มันไปขึ้นอยู่กับขนาดของพื้นที่ๆมันสะดุดกันอยู่ ซึ่งโยงไปถึงปริมาณของเนื้อหินของทั้งสองฝั่งที่ได้รับและสะสมพลังงาน    ___ญี่ปุ่นได้ใช้โมเดลในลักษณะที่ได้กล่าวนี้ คำนวณหาปริมาณพลังงาน แล้วเปลี่ยนมันไปเป็นขนาด แล้วเปลี่ยนมันไปเป็นอัตราเร่งที่จะเกิดขึ้นของผืนดิน แล้วก็จึงไปพิจารณาออกข้อกำหนดว่า ณ พื้นที่ใด ควรจะต้องออกแบบและก่อสร้างอาคารอย่างไรที่จะทนทานต่อแผ่นดินไหว   แต่กระนั้นก็ตาม ก็ยังมีความไม่ถูกต้องและเหมาะสมเท่าที่ควร  ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากแผ่นดินไหวโกเบ ได้ทำให้ต้องปรับเปลี่ยนข้อกำหนดและกฏเกณฑ์เสียใหม่  ซึ่งเมื่อเกิดแผ่นดินไหวครั้งล่าสุดและครั้งรุนแรงสุดๆ บรรดาสิ่งก็สร้างก็ดูจะยืนหยัดอยู่ได้ แต่ก็มิวายที่พบกับ tsunami ขนาดมหึมา แม้ว่าจะได้สร้างเขื่อนตลอดแนวชายฝั่งทะเลสูงประมาณ 5 เมตร ตามคาดการณ์ว่าคลื่น tsunami สูงสุดไม่น่าสูงเกิน 5 เมตร___   ฉะนั้น หากรอยเลื่อนมีพลังของไทยเรายาวเพียงไม่กี่สิบกิโลเมตร แถมข้อมูลแผ่นดินไหวบ่งบอกว่าเกิดในบริเวณลึกในหลักประมาณ 10+/- กม. พลังมันคงจะไม่มากพอที่จะปล่อยเป็นพลังงานขนาด 6       


กระทู้: นอนอยู่กับแผ่นดินไหว(2)
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 10 มิ.ย. 15, 18:52
เรื่องที่อยากจะให้พิจารณาอีกเรื่องหนึ่งก็คือ ในประวัติศาสตร์ของไทยเรา ในบรรดาบันทึกทางประวัติศาสตร์ทั้งหลาย (จดหมายเหตุ พงศาวดาร ฯลฯ) มีการบันทึกเหตุการณ์แผ่นดินไหวหลายครั้งมาก ซึ่งเคยมีการรวบรวมไว้โดยปรมาจารย์ทางธรณีวิทยาของเราท่านหนึ่ง น่าจะยังคงมีเก็บไว้ที่กรมอุตุนิยมวิทยาและที่กรมทรัพยากรธรณี และก็น่าจะมีที่ AIT ด้วย 

ข้อมูลทั้งหมด เท่าที่ผมได้เคยเห็นนั้น ไม่มีการบันทึกเหตุการณ์ในลักษณะที่เกิดการทำลายแบบพังราบใดๆเลย  ครั้งสำคัญๆทั้งหลาย เช่น กรณีเจดีย์หลวงในเมืองเชียงใหม่หัก ก็ไปเกี่ยวพันกับที่กำเนิดในพม่า หรือกรณีน้ำในคลองกระเพื่อม ก็ไปเกี่ยวกับการระเบิดของภูเขาไฟกรากะตัวในอินโดนีเซีย เป็นต้น

การบรรยายเหตุการณ์แผ่นดินไหวในบันทึกเหล่านั้น ทำให้ได้ภาพของความรุนแรง (intensity) ซึ่งพอจะสามารถผันเป็นขนาด (magnitude)ได้   ทำให้พอจะกล่าวได้ว่า ในช่วงเวลา 700-800 ปีที่ผ่านมานี้ แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นในพื้นที่ประเทศไทยนั้น มีขนาดไม่เกิน 6  และส่วนมากจะอยู่ในขนาดระหว่าง 4+    ขนาด 5 เองก็มีน้อยมาก   


กระทู้: นอนอยู่กับแผ่นดินไหว(2)
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 10 มิ.ย. 15, 19:14
สำหรับผมเองนั้น มีความสนใจอยู่ว่า จะมีบันทึกในประวัติศาสตร์เกี่ยวกับแผ่นดินไหวโดยผู้คนในเขตยูนานส่วนที่ติดกับพม่าและลาวบ้างหรือไม่   

ผมไม่เคยไปในถิ่นที่กล่าวถึงนี้ ได้แต่อนุมาณตามภาพที่ได้เห็นว่า ลักษณะของบ้านเรือนที่อยู่อาศัยของผู้คนในพื้นที่นี้ ไม่ต่างไปมากนักจากบ้านของผู้คนที่อยู่ในพื้นที่ๆเรียกกันว่าล้านนาของเรา (ภาคเหนือ)   ซึ่งโดยลักษณะโครงสร้างของบ้านคนถิ่นเดิม สามารถรับแรงแผ่นดินไหวได้พอสมควรเลยทีเดียว  ก็เลยทำให้อนุมาณต่อไปว่า (เข้าเขตการเดาแล้วครับ) รอยเลื่อนที่มีชื่อว่า รอยเลื่อนแม่จัน นั้น อาจจะไม่น่ากลัวอย่างที่คาดเดากัน  ทั้งนี้ หากงานทางวิศวกรรมที่รังสรรปั้นแต่งกันขึ้นมาในพื้นที่ภาคเหนือนั้นๆ เป็นงานทางวิศวกรรมที่อยู่ในกรอบของ good governance จริงๆ ก็ยิ่งไม่น่าจะต้องมีความวิตกกังวลใดๆ     


กระทู้: นอนอยู่กับแผ่นดินไหว(2)
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 12 มิ.ย. 15, 19:30
ในช่วงท้ายนี้ ก็จะขอเข้าไปในเรื่องของซึนามิ (tsunami)

เป็นที่ทราบกันอยู่แล้วว่าซึนามิเป็นภาษาญี่ปุ่น ซึ่งมีความหมายว่าคลื่นในอ่าว
   
ภาพที่ผมเห็นในญื่ปุ่นคือ เมื่อเกิดแผ่นดินไหวใดๆนอกชายฝั่งญี่ปุ่น (ด้านแปซิฟิก) ก็มักจะมีซึนามิเกิดขึ้นตามมาเกือบจะทุกครั้ง ซึ่งก็จะมีรายงานออกทางทีวีพูลเกือบจะทุกครั้ง คือ เตือนให้ทุกผู้คนระวัง และเมื่อผ่านพ้นช่วงเวลาที่คาดการณ์นั้นๆแล้ว หรือเมื่อเหตการณ์ยุติแล้ว ก็จะมีรายว่าเกิดหรือไม่เกิด และที่เกิดแล้วนั้นมีน้ำเอ่อสูงขึ้นมามากน้อยเพียงใดพร้อมท้้งภาพที่ได้บึนทึกเทปไว้ทุกครั้ง   โดยเฉพาะกับเมืองที่มีผู้อยู่อาศัยค่อนข้างมาก ซึ่งต่างก็เป็นเมืองในอ่าวใดอ่าวหนึ่งทั้งนั้น   ดังนั้น จึงไม่แปลกที่ซึนามิถูกเรียกในอีกชื่อว่า tidal wave คือ น้ำเอ่อท่วมคล้ายกับช่วงระดับน้ำทะเลขึ้น   

ในญี่ปุ่นใช้คำว่าซึนามิในลักษณะของสภาพระดับน้ำทะเลในอ่าวถูกหนุนสูงขึ้นมา ดังนั้น จึงมีซึนามิขนาดระดับน้ำตั้งแต่ไม่กี่เซ็นติเมตรไปจนระดับหลายเมตรได้  ซึ่งการเตือนเรื่องซึนามิก็ไม่ไปคาดเดาว่าจะเกิดซึนามิระดับน้ำสูงขนาดใด เป็นลักษณะของการเตือนภัยจริงๆ และก็ซึ่งโดยเชื่อว่าซึนามิที่เกิดขึ้นไม่ควรจะเกินระบบเขื่อนสูงประมาณ 5 เมตร ตามที่คำนวณกันไว้ แถมยังมีประตูน้ำทึ่จะปิดกั้นน้ำเอ่ออยู่ทุกปากคลองที่น้ำไหลลงสู่ทะเล 


กระทู้: นอนอยู่กับแผ่นดินไหว(2)
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 12 มิ.ย. 15, 20:04
ในขณะที่ผู้คนอื่นๆนอกญี่ปุ่นใช้คำว่าซึนามิในความหมายที่เป็นมหาพิบัติภัยที่ร้ายแรงสุดๆ ตามที่ได้เสพข่าวสารเฉพาะครั้งที่เกิดซึนามิใหญ่ที่มีทรัพย์สินและผู้คนเสียชีวิต 


กระทู้: นอนอยู่กับแผ่นดินไหว(2)
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 13 มิ.ย. 15, 19:32
เมื่อวานนี้ว่าจะเขียนให้จบ เกิดมีเรื่องต้องทำเลยต้องหยุดไว้ห้วนๆ ขออภัยที่ไม่สุภาพครับ

จากที่เล่ามาสั้นๆใน คห. ก่อนหน้า คห.นี้ ผนวกกับภาพของพิบัติภัยซึนามิครั้งร้ายแรงเมื่อ พ.ศ.2547 (ค.ศ.2004)    ทำให้ข่าวสั้นทันเหตุการณ์ทั้งหลายที่รายงานว่ามีแผ่นดินไหวเกิดขึ้น ณ ที่ใด จะต้องพ่วงเรื่องว่ามีการแจ้งเตือนหรือมีซึนามิเกิดขึ้นหรือไม่

ข้อเท็จจริงบางประการเกี่ยวกับคลื่นซึนามิ เป็นดังนี้ครับ 
   เป็นคลื่นที่เกิดจากมวลน้ำของทะเลหรือมหาสมุทรถูกเปลี่ยนทรงอย่างรวดเร็ว เช่นเกิดมวลแผ่นดินปริมาณมากถล่มทลายลงไปสู่ทะเล (กรณีเกิดแผ่นดินถล่มที่อลาสกาเมื่อ พ.ศ.2501) หรือเกิดภูเขาไฟระเบิดอย่างรุนแรงจนแผ่นดินหายไป (เช่นเหตุการณ์เกือบสองพันปีก่อน ค.ศ.)  หรือเกิดพื้นท้องทะเลขยับปรับเป็นขั้นบันไดสูงต่ำอย่างทันที (เช่นกรณีในมหาสมุทรอินเดียเมื่อ พ.ศ.2547) หรือเกิดแผ่นทวีปที่มุดตัวกันเกิดหลุดจากการสะดุดกัน (เช่นกรณีแผ่นดินไหวที่ญี่ปุ่น พ.ศ.2554)       

   คลื่นซึนามิมีระยะห่างของยอดคลื่นแต่ละลูก (ในทะเลเปิด) นับร้อย กม. แต่ละยอดคลื่นที่เห็นในทะเลเปิดจะสูงเพียงเมตรหรือสองเมตรเท่านั้น คลื่นเดินทางด้วยความเร็วประมาณ 800 กม.ต่อ ชม.  ซึ่งคุณสมบัติดังกล่าวนี้จะเปลี่ยนไปเมื่อคลื่นเข้าสู่ชายฝั่ง  โดยเฉพาะเมื่อท้องคลื่นเริ่มสัมผัสกับพื้นท้องทะเลตามลาดเอียงจนถึงชายฝั่ง  (ตัวคลื่นที่ซ่อนอยู่ในมวลน้ำจะค่อยๆเผยตัวออกมา)  คลื่นจะยกตัวสูงขึ้น  ยอดคลื่นก็จะยกสูงขึ้น   ภาพที่จะเกิดขึ้นก็เป็นภาพเดียว (ที่ใหญ่กว่า) กับคลื่นจากลมในทะเลเปิดเมื่อเคลื่อนเข้ามากระทบฝั่งนั่นเอง 


กระทู้: นอนอยู่กับแผ่นดินไหว(2)
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 13 มิ.ย. 15, 19:45
กรณีหาดสุรินทร์ที่ภูเก็ต ที่เป็นข่าวบ่อยๆว่ามีผู้เสียชีวิตโดยถูกคลื่นขนาดใหญ่ม้วนกลืนลงไปนั้น  ก็เป็นลักษณะคล้ายกับสภาพเมื่อคลื่นซึนามิเข้าสู่ฝั่ง   แตกต่างกันตรงที่ คลื่นใหญ่ที่หาดสุรินทร์นั้น เป็นคลื่นที่เกิดมาจากลมแรงในทะเลเปิด 


กระทู้: นอนอยู่กับแผ่นดินไหว(2)
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 13 มิ.ย. 15, 20:01
ผมพยายามจะถอดความทางวิชาการเป็นภาษาชาวบ้านที่ทุกคนอ่านแล้วเข้าใจและเห็นภาพ   เดิมก็นึกว่าไม่น่าจะยากนัก เอาเข้าจริงๆก็ไปไม่เป็นเหมือนกันครับ
อธิบายเรื่องที่ต้องอาศัยหลายมิติทางวิชาการนี้ ผมเคยแต่ยืนเล่าเรื่องโดยใช้ชอล์คกับกระดานดำ พอใช้วิธีเขียนเล่าความ ยากจริงๆครับ


กระทู้: นอนอยู่กับแผ่นดินไหว(2)
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 13 มิ.ย. 15, 20:26
ขอปิดท้ายว่า อย่าไปกังวลใจเลยนะครับว่าจะมีคลื่นซึนามิเกิดขึ้นในพื้นที่ของอ่าวไทย โดยเฉพาะในระดับที่ทำให้เกิดการทำลายทรัพย์สินและชีวิตเป็นวงกว้าง ไม่ว่าจะเกิดแผ่นดินไหวที่ใหนที่ใดก็ตาม     

โครงสร้างทางธรณีฯของอ่าวไทย ไม่เอื้อให้เกิดแผ่นดินไหวที่ทำให้เกิด displacement มากพอที่จะทำให้เกิดซึนามิที่น่ากลัวได้  เราอาจเห็นน้ำเอ่อเข้ามาในลำน้ำคูคลองได้   ซึ่งผมก็ไม่ทราบว่าในระยะหลังจากเหตุการณ์ซึนามิ 2547 แล้ว มีหน่วยงานทางวิชาการใดๆหรือส่วนราชการใดบ้าง ได้ให้ความสนใจกับเรื่องของ น้ำเท้อ ที่เกิดขึ้นในลำน้้ำ (ในพื้นที่ปากอ่าวทั้งหลาย) เมื่อเกิดแผ่นดินไหวในอ่าวไทย
และในพื้นที่อื่นๆ 


กระทู้: นอนอยู่กับแผ่นดินไหว(2)
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 15 มิ.ย. 15, 18:27
แล้วก็มีเรื่องราวแบบกึ่งจริงกึ่งมโน เล่าสู่กันฟัง

กำลังมีการอธิบายแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นในบางแห่งในโลกว่า เป็นการทำให้มันเกิดขึ้นด้วยฝีมือของมนุษย์โดยใช้ EM

อย่าตกใจไปว่าเป็นการใช้ Effective micro-organism ที่เขาเอามาใช้ใโลกของสิ่งแวดล้อมสีเขียวนะครับ (ใช้ผลิตปุ๋ย ดับกลิ่น ฯลฯ)   EM ที่กล่าวถึงนี้ คือ Electromagnetic wave หรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้านั่นเอง 

คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้านี้ได้ถูกนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อมวลมนุษย์มากมาย     วิทยุสื่อสาร วิทยุกระจายเสียง เครื่องไมโครเวฟ เครื่องเอ็กเรย์ เครื่องตรวจวัตถุระเบิดต่างๆ การสำรวรแร่ การสำรวจน้ำมัน การค้นหาทางดาราศาสตร์/การสำรวจจักรวาล  WiFi  Bluetooth ฯลฯ เหล่านี้ต่างก็ใช้ประโยชน์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าทั้งสิ้น แต่ละเทคโนโลยีก็ใช้ความถี่ความแตกต่างกันไป (ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของแต่ละช่วงความถี่)


กระทู้: นอนอยู่กับแผ่นดินไหว(2)
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 15 มิ.ย. 15, 19:05
ประโยชน์ของคลื่น EM ที่ใช้ในทางสร้างสรรความกินดีอยู่ดีของมนุษย์  ต่อมาก็ถูกศึกษาและพัฒนาใช้ไปในทางความมั่นคง เช่น การรบกวนระบบการสื่อสาร รบกวนระบบกำหนดเป้า ฯลฯ ซึ่งเป็นไปในด้านเชิงรับ (defensive) มากกว่าในเชิงรุก (offensive)
ในปัจจุบันนี้ได้มีการพัฒนาการใช้ประโยชน์ EM ไปในเชิงรุกอย่างมากมาย โดยเฉพาะการใช้ในเชิงของอาวุธเพื่อการทำลาย เช่น คลื่นเสียงที่ใช้สลายการชุมนุม อาวุธเลเซอร์ ฯลฯ

เดี๋ยวจะหาสนามบินลงไม่ได้ ก็จะไม่ขอขยายความเรื่อง EM นี้นะครับ  (EM นี้ใช้ในเรื่องการสำรวจทางธรณีวิทยามากมาย แล้วก็ด้วยความรู้จากการใช้ในทางธรณีฯนี้เองที่ถูกนำไปประยุกต์ใช้ในด้านการทหารและอื่นๆอีกมาก)


กระทู้: นอนอยู่กับแผ่นดินไหว(2)
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 15 มิ.ย. 15, 19:25
HAARP (High Frequency Active Auroral Research Program) ดูคำสะกดโปรแกรมแล้วก็คงพอจะรู้นะครับว่าเป็นของประเทศในทวีปใด  โครงการนี้เป็นการศึกษาและทดลองที่เกี่ยวข้องกับ EM ในช่วงความถี่ต่ำมากๆ ซึ่งว่ากันว่า มีผลเกี่ยวข้องหรือกระทบกับชั้นบรรยากาศของโลก  ว่ากันว่า ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเมฆและรูปทรงของมัน เกิดการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศต่างๆ  บ้างก็ว่ามีการพัฒนากันไปถึงขั้นกำหนดให้เกิด ณ จุดใดก็ได้ จนสามารถใช้การในเชิงของอาวุธทางการสงคราม (EM warfare)   ก็เลยเถิดไปถึงว่าสามารถทำให้เกิดแผ่นดินไหว ณ พื้นที่ใดๆได้อีกด้วย   

ลองไปหาอ่านดูนะครับ


กระทู้: นอนอยู่กับแผ่นดินไหว(2)
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 22 มิ.ย. 15, 18:58
ได้อ่านข่าวไปพบว่าเกิดเหตุที่ อ.เทิง จ.เชียงราย ด้วยพบว่าอยู่ดีๆ ณ พื้นที่หนึ่งของพื้นบ้านหลังหนึ่งก็เกิดร้อนขึ้นมาอย่างผิดปรกติ นัยว่าเป็นความร้อน (หรือไอความร้อน ?) ที่มาจากพื้นดิน

ผมไม่ทราบว่าจะจริงเท็จมากน้อยเพียงใด แต่ก็จะขอให้ความเห็นดังนี้ครับ

อ.เทิง ตั้งคร่อมอยู่สองฟากฝั่งของแม่น้ำอิง ซึ่งแม่น้ำสายนี้มีเส้นทางการไหลไปตามแนวรอยเลื่อนแม่อิง ซึ่งเป็นรอยเลื่อนที่มีพลัง และซึ่งได้สำรวจพบว่ามีความยาวเกือบๆ 60 กม.    จากลักษณะทางธรณีวิทยาของพื้นที่ กลุ่มรอยเลื่อนในพื้นที่ย่านนี้เกิดอยู่ในพื้นที่ของแรงดึง คล้ายกับสภาพที่เราพยายามจะฉีกกระดาษที่วางอยู่บนโต๊ะ ด้วยการใช้ฝ่ามือกดกระดาษสองฝั่งของรอยพับแล้วดึงแบบทะแยงเพื่อให้กระดาษฉีกออกจากกัน 

ก็คงพอจะเห็นภาพได้ว่า มันก็คล้ายกับการบิขนมที่ใส้ในยังร้อนอยู่


กระทู้: นอนอยู่กับแผ่นดินไหว(2)
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 22 มิ.ย. 15, 19:43
ก็คงมีความสงสัยว่า แล้วจะเกิดแผ่นดินไหวตามมาหรือไม่

คำตอบส่วนหนึ่งก็คือ ในพื้นที่ย่านนั้น มันก็เกิดขึ้นเป็นประจำอยู่แล้ว แล้วก็น่าจะเป็นเวลานานมากมาแล้วเช่นกัน ซึ่งก็พอจะเห็นได้จากหลักฐานทางวัฒนธรรม ก็คือลักษณะของโครงสร้างของบ้านเรือนของคนถิ่น ซึ่งก็คือพวกชาวไทลื้อ

คำตอบอีกส่วนหนึ่งนั้น เป็นเรื่องที่ต้องพิจารณา กล่าวคือ (บนพื้นฐานของหลักของการแปรสภาพของพลังงาน) แรงเสียดสีบนพื้นที่ระนาบของรอยเลื่อน (ซึ่งทำให้เกิดความร้อน) นั้นได้ถูกระบายออกไปในรูปของความร้อน (คล้ายกับการเบรครถยนต์)  แต่ในอีกมุมหนึ่ง ก็สามารถคิดได้ว่าแต่เดิมนั้นความร้อนมันระบายได้ในใต้ดินจนเราไม่รู้สึก แต่เนื่องจากมันเพิ่มมากขึ้นจนพื้นที่ระบายขยายขึ้นมาถึงผิวดิน     

ส่วนจะเกิดแผ่นดินไหวหรือไม่นั้น มันก็บ่งบอกได้ทั้งอาจจะเกิด หรือ ได้ถูกบรรเทาไปแล้วก็ได้     ซึ่งก็อาจมองได้ในอีกสองมุม คือ เกิดหรือไม่เกิดในพื้นที่แอ่ง อ.เทิง หรือ แล้วจะไปบ่งชี้อะไรกับรอยเลื่อนแม่จันหรือไม่    เพราะทั้งหมดเกี่ยวพันกัน ด้วยเป็นกลุ่มพลังหรือแรงของพื้นผิวโลกในภูมิภาคย่านนี้   


กระทู้: นอนอยู่กับแผ่นดินไหว(2)
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 22 มิ.ย. 15, 20:57
ล่าสุด เพิ่งได้ทราบจากข่าวทางวิทยุว่า เกิดจากไฟฟ้าลัดวงจร  ฮ่วย   :D


กระทู้: นอนอยู่กับแผ่นดินไหว(2)
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 22 มิ.ย. 15, 21:09
ว้า ! หักมุมจบ 


กระทู้: นอนอยู่กับแผ่นดินไหว(2)
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 24 มิ.ย. 15, 19:40
 ;D


กระทู้: นอนอยู่กับแผ่นดินไหว(2)
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 20 ก.พ. 19, 19:25
ดึงกระทู้นี้ขึ้นมาถามคุณตั้งอีกครั้ง  เพราะข่าวนี้ค่ะ

พิษแผ่นดินไหว! ทำตึกอบต.ทุ่งฮั้ว-บ้านเรือนร้าวหลายแห่ง
วันพุธ ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562, 19.05 น.

20 ก.พ. 62 เกิดเหตุแผ่นดินไหวในพื้นที่ อ.วังเหนือ จ.ลำปาง ระดับการสั่นสะเทือน 4.9 ริกเตอร์ ความลึก 21 กิโลเมตร  หลังจากตั้งแต่ช่วงเที่ยงที่ผ่านมาเกิดแผ่นดินไหวขึ้นมาแล้ว 13 ครั้ง  ระดับแรงสั่นสะเทือนอยู่ที่ 2-3.3 ริกเตอร์ ซึ่งจะรู้สึกได้เฉพาะในพื้นที่ อ.วังเหนือ เท่านั้น  แต่ครั้งที่ 14 ได้เกิดขึ้นแรงที่สุด 4.9 ริกเตอร์ จุดศูนย์กลางอยู่ที่ ต.ทุ่งฮั้ว อ.วังเหนือ  สามารถรับรู้ได้ในหลายอำเภอ เช่น  อ.เมือง อ.เกาะคา อ.แม่เมาะ อ.แม่ทะ อ.เมืองปาน อ.แจ้ห่ม

ขณะเกิดเหตุ ได้รับรายงานจากพื้นที่ อ.วังเหนือว่า ประชาชนรับรู้ได้อย่างชัดเจน  ต่างพากันวิ่งไปหลบอยู้ใต้โต๊ะและที่ปลอดภัย ข้าวของตกเสียหาย  โดยเฉพาะที่ อบต.ทุ่งฮั้ว  แรงสั่นทำให้เอกสารตกกระจัดกระจาย และยังส่งผลให้เกิดรอยแตกร้าวบริเวณอาคารหลายจุด

นอกจากนี้ ยังมีบ้านของนายวสุมิตร นุชสวัสดิ์ บ้านเลขที่ 33 ม.11 ต.ทุ่งฮั้ว อ.วังเหนือ ตัวบ้านเกิดรอยร้าว มีกระเบื้องตกแตก พื้นหินอ่อนแตกร้าว  และพระธาตุเจดีย์วัดพระเกิด บ้านแม่เลียบ  ม.8 ต.ทุ่งฮั้ว พบว่ายอดฉัตรปลายเจดีย์ มีการเอียงไปทางทิศใต้

หลังเกิดเหตุ อำเภอวังเหนือได้แจ้งองค์ปกครองส่วนท้องถิ่น เฝ้าระวังติดตามสถานการณ์ ตรวจสอบความเสียหายและเร่งให้การช่วยเหลือ หากมีข้อมูลเพิ่มเติมจะรายงานให้ทราบตามลำดับต่อไป

https://www.naewna.com/local/396767

****************
ขนาดนี้ถือว่าหนักพอสมควรไหมคะ


กระทู้: นอนอยู่กับแผ่นดินไหว(2)
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 20 ก.พ. 19, 20:45
บนพื้นฐานความรู้ของผม 

พื้นที่ในภาคเหนือย่านนี้ของเราอยู่ในบริเวณที่ได้รับแรงกระทำคล้ายกับเราเอากระดาษทั้งรีมมางอให้เป็นรูปตััว S  ซึ่งเราจะพบว่าที่บริเวณที่โก่งงอ กระดาษในส่วนนั้นก็จะแยกออกเป็นแผ่นๆ ซึ่งหากเราเอาดินสอขีดเส้นตรงที่ขอบรีมกระดาษ ก็จะเห็นว่าเส้นที่ขีดไว้นั้นโย้เอียงและขาดตอนไม่ต่อกันระหว่างแต่ละแผ่น คือเกิดการเคลื่อนที่บนระนาบที่กระดาษได้วางทับกัน    การเคลื่อนที่เหล่านี้ที่เกิดในชั้นหินซึ่งมีพื้นผิวไม่เรียบก็ย่อมจะต้องเกิดการครูดกันที่ยังให้เกิดแผ่นดินไหว  แผ่นดินไหวที่เกิดในพื้นที่ลักษณะนี้จัดอยู่ในพวกที่ไม่มีความรุนแรงมาก ที่แรงๆก็คงอยู่ในระดับประมาณไม่เกิน 5+/- แถวๆนี้

จากนี้ไปก็จะยังคงได้รู้สึกว่ามันยังมีมาอีกเรื่อยๆ มาแบบเบาๆพอให้ได้รู้สึกและเกิดความสงสัยว่าใช่มันหรือไม่   


กระทู้: นอนอยู่กับแผ่นดินไหว(2)
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 21 ก.พ. 19, 09:32
เรื่องเล่าเช้าวันนี้

https://youtu.be/ZaH_6Jyed5Q


กระทู้: นอนอยู่กับแผ่นดินไหว(2)
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 21 ก.พ. 19, 19:16
ผมดูภาพความเสียหายแล้วมีความเห็นว่า ใต้ผืนดินในพื้นที่นั้นน่าจะมีดินอ่อน(ดินเหนียว)วางตัวรองรับอยู่ เพราะความเสียหายที่ปรากฎตามอาคารจะเป็นลักษณะของการโยกไปมาแบบเบาๆ มากกว่าที่จะเป็นแบบมีการกระแทกขึ้นลงร่วมอยู่ด้วย เราจึงเห็นรอยแตกตามอาคารในลักษณะแนวนอนเป็นส่วนมาก และก็ยังดูจะอยู่ที่บริเวณรอยต่อระหว่างคานกับผนังอิฐก่อ หรือระว่างอิฐก่อด้วยกัน 

ที่เห็นว่าเป็นเช่นนั้นก็เพราะว่าคลื่นแผ่นดินไหวจะเปลี่ยนความถี่จากสูงไปสู่ต่ำและขยายความยาวของคลื่นเมื่อเดินทางผ่านตัวกลางที่อ่อน (ขอไม่ขยายความไปในเรื่อง P-wave และ S-wave)   

กรณีที่อยู่ใกล้กับจุดกำเนิดของแผ่นดินไหวเช่นกรณีนี้นั้น และผืนดินรองรับด้วยหินแข็ง ความเสียหายจะเกิดจากการกระทำของคลื่นความถี่สูง ผลก็จะมี เช่น เสาระเบิด (เสาย่นลงมา) และร่องรอยของการกระแทก  ซึ่งในกรณีนี้ไม่เห็น เห็นแต่ว่าผนังปูนมีรอยแตกเป็นร่องลึก    หรและจะต้องเห็นรอยแตกตามผนังปูนหรือที่ตัวเสาโครงสร้าง เป็นรอยแตกทะแยงทำมุมประมาณ 45+/-องศากับแนวตั้ง


กระทู้: นอนอยู่กับแผ่นดินไหว(2)
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 21 ก.พ. 19, 19:33
สำหรับรอยแตกที่เป็นร่องลึกในแนวนอนดังที่เห็นในภาพนั้น  ผมเห็นว่าน่าจะมาจากเรื่องของการก่อสร้าง ซึ่งในพืนที่ในภาคเหนือนั้น สำหรับอาคารขนาดสองชั้นสามชั้นนั้นดูจะไม่มีการตอกเสาเข็มใดๆ มีแต่การใช้การขุดหลุมหล่อเสาตีนแผ่ขึ้นมาเป็นตอม่อ  เมื่อเกิดแผ่นดินไหว ผืนดินก็จะเกิดการเขย่าให้อัดตัวแน่น เกิดการหดตัวยังผลให้เกิดการทรุดของพื้นดิน  แต่ด้วยที่โครงสร้างสวนบนมีการเชื่อมยึดกันเป็นโครงอย่างดี จึงไม่ทรุดตามลงไปกับตอม่อมากนัก


กระทู้: นอนอยู่กับแผ่นดินไหว(2)
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 07 ก.พ. 23, 08:35
เกิดแผ่นดินไหวขนาด ๗.๘ ศูนย์กลางใกล้เมืองกาซีอันเท็พ ทางตะวันออกเฉียงใต้ของตุรกี ติดกับพรมแดนประเทศซีเรีย ในช่วงที่ประชาชนกำลังหลบพักผ่อน ตามด้วยแผ่นดินไหวรุนแรงอีกลูกในเวลาไม่ถึงวัน ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตอย่างเป็นทางการแล้วในตุรกีและซีเรีย กว่า  ๓,๐๐๐ คน ก่อนเกิดแผ่นดินไหวใหญ่ซ้ำอีกระลอกในพื้นที่ทางตอนใต้

เมื่อวานนี้ (๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖) ศูนย์สำรวจธรณีวิทยาสหรัฐฯ รายงานว่า แผ่นดินไหวมีความรุนแรงขนาด ๗.๘ เกิดขึ้นเวลา ๔.๑๗ น. ตามเวลาท้องถิ่น หรือเวลา ๘.๑๗ น. ตามเวลาในประเทศไทย โดยมีความลึกลงไปใต้ดิน ๑๗.๙ กิโลเมตร ศูนย์กลางอยู่ใกล้เมืองกาซีอันเท็พ ผ่านไปไม่ถึง ๒๔ ชั่วโมง หลังแผ่นดินไหวลูกแรก ได้เกิดแผ่นดินไหวอีกครั้งทางตะวันออกเฉียงใต้ของตุรกี เมื่อเวลา ๑๐.๒๔ น. ตามเวลาท้องถิ่น หรือ ๑๗.๒๔ น. ตามเวลาในไทย โดยสำนักสำรวจธรณีวิทยาสหรัฐฯ ระบุว่า แผ่นดินไหวลูกที่ ๒ มีขนาดรุนแรง ๗.๕

หน่วยงานด้านการรับมือภัยพิบัติของตุรกี ระบุว่า แผ่นดินไหวลูกที่สอง ไม่ใช่อาฟเตอร์ช็อก แต่เป็นแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นต่างหากจากลูกแรก แรงสั่นสะเทือนนั้น รู้สึกได้ถึงกรุงอังการาของตุรกี และอีกหลายเมืองทั่วประเทศ รวมถึงประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาค

ประธานาธิบดี เรเจป ทายยิป แอร์โดอัน ของตุรกี เปิดเผยว่า มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย ๒,๐๐๐ คนในตุรกี ภายหลังเหตุแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ ตามด้วยแผ่นดินไหวลูกที่สอง ขณะที่จำนวนผู้บาดเจ็บอยู่ที่เกือบ ๙,๗๐๐ คน ไม่เพียงเท่านั้น เขายังเปิดเผยว่า มีอาคารพังถล่มลงมาจากแรงสั่นสะเทือนอย่างน้อย ๒,๘๑๘ แห่ง

ส่วนที่ซีเรีย ซึ่งได้รับผลกระทบหนักจากแผ่นดินไหวเช่นกัน มีรายงานผู้เสียชีวิตแล้วอย่างน้อย ๑,๐๐๐ คน บาดเจ็บอีกกว่า ๒,๐๐๐ คน โดยแรงสั่นสะเทือนรู้สึกได้จากชายฝั่งทางตะวันตก ไปจนถึงกรุงดามัสกัสของซีเรีย

ข่าวจาก บีบีซี (https://www.bbc.com/thai/articles/c724wdqy105o)

https://youtu.be/rirRva9c8v0


กระทู้: นอนอยู่กับแผ่นดินไหว(2)
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 07 ก.พ. 23, 13:05
ทำไมแผ่นดินไหว "ตุรกี-ซีเรีย" จึงรุนแรง

https://www.facebook.com/ThaiPBS/videos/566830805484031/


กระทู้: นอนอยู่กับแผ่นดินไหว(2)
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 07 ก.พ. 23, 18:54
แผ่นดินไหวขนาดใหญ่ที่น่ากลัวกลับมาอีกครั้งหนึ่งเมื่อวันที่ 6 กพ. 2566 เวลาท้องถิ่น 04:17 am.  มีจุดกำเนิดอยู่ลึกลงไปใต้ผิวดินประมาณ 18 กม. magnitude ขนาด 7.8   และมี aftershock ขนาดใหญ่ magnitude 6.7 เกิดขึ้นหลังจากนั้นในช่วงเวลาประมาณ 11 นาที ซึ่งมีจุดกำเนิดอยู่ลึกลงไปประมาณ 10 กม.

จุดกำเนิดของแผ่นดินไหวอยู่ในพื้นที่ทางตอนใต้ของประเทศตุรกีย์ ซึ่งเป็นพื้นที่รอยต่อเขตแดนกับประเทศซีเรีย  ความแรงของการไหวรับรู้ได้เป็นบริเวณกว้างในรัศมีประมาณ 100 กม. ซึ่งวัดความรุนแรงได้ในระดับ 4.5 magnitude เลยทีเดียว   

ในทางธรณีวิทยา พื้นที่ที่เกิดแผ่นดินไหวนี้ตั้งอยู่ในบริเวณที่แผ่นเปลือกโลก 3 แผ่นมาชนกัน คือแผ่น Africa, Arabia และ Anatolia

ที่ว่ามานี้ เป็นข้อมูลพื้นฐานของ USGS (US Geological Survey)


กระทู้: นอนอยู่กับแผ่นดินไหว(2)
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 07 ก.พ. 23, 19:47
ข่าวล่าสุดว่ามีผู้เสียชีวิตในเขตประเทศตุรกีย์ 3419 คน ในประเทศซีเรียประมาณ 1600 คน  และคาดว่ามีผู้บาดเจ็บรวมกันมากกว่า 20,000 คน

เราทุกคนคงจะมีความรู้สึกเศร้าและเสียใจก้บการสูญเสียชีวิตผู้คนเป็นจำนวนมาก และยิ่งน่าเศร้าขึ้นไปอีกเมื่อรู้ว่าเหตุเกิดในช่วงเวลาเช้ามืดในขณะที่ผู้คนกำลังนอนหลับสนิท   ในปัจจุบัน ทั้งสองประเทศนี้อยู่ในช่วงเวลาที่กำลังมี Irregularity ในเรื่องของการเมืองระหว่างประเทศ  ไม่รู้ว่ามีผล +/- ในเรื่องทาง Humanity มากน้อยเช่นใด     


กระทู้: นอนอยู่กับแผ่นดินไหว(2)
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 08 ก.พ. 23, 17:50
ข้อมูลล่าสุดจาก นสพ. Washington Post ว่า   ในพื้นที่ของประเทศตุรกีย์ พบผู้เสียชีวิตแล้ว 7,108 คน บาดเจ็บ 40,910 คน  สำหรับในประเทศซีเรีย ในพื้นที่ๆอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาล มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 1,250 คน บาดเจ็บ 1,449 คน  ส่วนในพื้นที่ๆอยู่ภายใต้การควบคุมของอีกฝ่ายหนึ่ง มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 1,280 คน บาดเจ็บประมาณ 2,600 คน   

กาค้นหายังดำเนินการต่อไป ความเสียหายต่อชีวิตรวมกันแล้ว น่าจะเข้าใกล้ระดับหมื่นคน บาดเจ็บก็น่าจะอยู่ในระดับ 50,000+ คนขึ้นไป


กระทู้: นอนอยู่กับแผ่นดินไหว(2)
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 08 ก.พ. 23, 18:39
เป็นการสูญเสียครั้งใหญ่  ขอแสดงความเสียใจด้วยค่ะ


กระทู้: นอนอยู่กับแผ่นดินไหว(2)
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 08 ก.พ. 23, 19:22
พิจารณาจากภาพและคลิปที่ปรากฎตามสื่อต่างๆ   การพังทลายของอาคารบ้านเรือนต่างๆอยู่ในลักษณะของการพังแบบทรุดเอียงทับซ้อนกันลงมา มากกว่าในรูปแบบของล้มลง  ก็เป็นลักษณะหนึ่งของความเสียหายในพื้นที่บริเวณใกล้จุดกำเนิดแผ่นดินไหวที่อยู่ไม่ลึก ซึ่งเกิดมาจากการที่เสาของอาคารแตกหักเพราะถูกแรงกระแทกอย่างแรง  คล้ายกับสภาพของเราที่ถูกกระแทก โยนไปมา เมื่อนั่งรถอยู่ในรถวิ่งไปบนถนนที่มีผิวถนนขรุขระเป็นหลุมเป็นบ่อ
 

นัยว่า พบว่า aftershock ที่เกิดแรงขนาดไล่เลี่ยกับครั้งแรกนั้น แท้จริงแล้วเกิดจากการขยับตัวของอีกรอยเลื่อนหนึ่งในพื้นที่พบปะกันของแผ่นเปลือกโลกบริเวณใกล้ๆกันนั้น (ตามปกติแล้ว aftershock จะมีความแรงน้อยกว่าครั้งแรก)    การไหวครั้งแรกจากรอยเลื่อนตัวหนึ่งก็ทำให้โครงสร้างของอาคารบ้านเรือนเสียหายไปพอสมควร แต่อาจจะยังไม่ถึงระดับพังลงมา  การไหวครั้งที่สองที่ตามหลังมาไม่นานนั้น คือตัวการที่กระชากทุกอย่างให้พังครืนลงมา ทำให้เกิดความเสียหายอย่างมากดังที่เห็น      


กระทู้: นอนอยู่กับแผ่นดินไหว(2)
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 09 ก.พ. 23, 13:35
ชะตากรรมของทารกน้อยน่าสงสารอย่างที่สุด น้องเหลือตัวคนเดียวบนโลกใบนี้ กล่าวคือ
ณ นาทีที่แผ่นดินไหวถล่มเมืองจินเดริสช่วงรุ่งสางของวันจันทร์ เป็นจังหวะเดียวกับที่คุณแม่อาบู ฮาดิยะ และสามีกับลูกๆ 4 คน กำลังวิ่งจะออกให้พ้นอาคารอพาร์ตเมนต์ แต่โครงสร้างอาคารถูกแรงสั่นสะเทือนเล่นงานอย่างจัง และยุบฮวบถล่มลงมาบนร่างกายของสมาชิกครอบครัวทั้งหกราย โดยศพของพวกเขาอยู่ใกล้จะถึงทางออกอาคาร

อ่านรายละเอียดได้ที่
https://mgronline.com/around/detail/9660000012783


กระทู้: นอนอยู่กับแผ่นดินไหว(2)
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 09 ก.พ. 23, 16:35
ขอให้เธออยู่รอดปลอดภัย ตุรกี & ซีเรีย


กระทู้: นอนอยู่กับแผ่นดินไหว(2)
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 09 ก.พ. 23, 19:22
มีศัพท์ภาษาอังกฤษอยู่คำหนึ่งว่า Mitigation  ในภาษาไทยดูจะใช้คำว่า การบรรเทา    หมายความว่าการบรรเทานั้นๆจะกระทำได้ตั้งแต่ที่ตัวที่เป็นต้นเหตุ ก็คือการลดสิ่งที่อาจจะเกิดเป็นต้นเหตุ    กระบวนสิ่งต่างๆที่เกิดจากเหตุนั้นๆ ซึ่งโดยหลักก็คือการบรรเทาความรุนแรง    และผลที่เกิดจากเหตุและกระบวนสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นมาจากเหตุนั้นๆ ซึ่งก็คือการบรรเทาความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้นๆให้มีน้อยที่สุด 

โดยนัย   mitigation ก็คือ ลักษณะของความพร้อมที่เหมาะสมในการตอบสนองต่อลักษณะและสภาพของพลวัติต่างๆที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากเหตุนั้นๆ

มาตรการต่างๆในบริบทเรื่องของ Mitigation ของหน่วยงานของรัฐ จะมีเป้าประสงค์โดยหลักเพื่อความอยู่ดีมีสุข ความมั่งมีศรีสุข และความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน   ซึ่งพอจะแยกออกเป็นมาตรการในส่วนที่เกี่ยวข้องในเชิงแต่ละบุคคล  และในในเชิงมวลผู้คนในลักษณะสาธารณะ   


กระทู้: นอนอยู่กับแผ่นดินไหว(2)
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 09 ก.พ. 23, 20:11
Mitigation ในเชิงที่เป็นลักษณะสาธารณะนั้น ในชุมชนเมืองก็จะมีเรื่องที่เป็นเหตุตามปกติ เช่น เหตุไฟใหม้ เหตุระบบน้ำประปา เหตุระบบสื่อสารล่ม ...ฯลฯ   กำหนดหัวเรื่องและการศึกษาให้ถูกต้อง เช่น Earthquake mitigation, Flood mitigation, ...ฯลฯ  ศึกษาหาความเป็นจริงของสภาพที่เป็นอยู่จริงๆ  ก็จะทำให้เกิดมาตรการที่จะใช้อย่างเหมาะสมกับสภาพความเป็นจริงที่เป็นอยู่และตามสภาพของพลวัตที่น่าจะเกิดขึ้นจริงในพื้นที่นั้นๆ


กระทู้: นอนอยู่กับแผ่นดินไหว(2)
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 10 ก.พ. 23, 19:04
ยกประเด็นเรื่องการบรรเทาขึ้นมาก็เพราะว่า ส่วนมากมักจะนึกถึงในเรื่องของคุรุภัณฑ์ที่จะต้องใช้หลังจากได้เกิดเหตุขึ้นแล้ว ก็คือมุ่งไปที่การจัดการกับความเสียหาย  แนวคิดเช่นนี้ดูจะเกิดมาจากภาพที่เห็นจากการกู้ภัยที่กระทำกันในบรเวณพื้นที่ๆเกิดหายนะ
 
Mitigation มีความหมายที่หมายถึงกระบวนมาตรการจำเพาะเพื่อการลดความเสียหายต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้นจากเหตุแต่ละเหตุ  ในเรื่องเช่น การเงินการคลัง การสาธารณะสุข การคมนาคมทางน้ำ สาธารณภัยจากการเหตุกระทำของคน ...ฯลฯ  เหล่านี้ เป็นเรื่องปกติที่มีการดำเนินการกันค่อนข้างครบกระบวนการตั้งแต่การป้องกันและการลดปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เกิตเหตุ ไปจนถึงการกู้สภาพกลับให้ให้เป็นปกติ   

ในเรื่องของภัยอันตรายที่เกิดจากเหตุที่เป็นธรรมชาติ เช่น ฝนตก น้ำท่วม พายุ ดินถล่ม ...ฯลฯ เหล่านี้เป็นเรื่องของกระบวนการทางธรรมชาติที่พอจะคาดล่วงหน้าได้ทั้งช่วงเวลาและความรุนแรงของความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น กระบวนการ mitigation ทำได้มากบ้างน้อยบ้างตั้งแต่การเบี่ยงเบนและการตั้งรับความเสียหาย ซึ่งก็มักจะไปเน้นในเรื่องของการกู้ภัย (salvation)     

ภัยพิบัติจากแผ่นดินไหว เป็นเรื่องที่คาดไม่ได้เลยว่ามันจะเกิดขึ้นที่ใด จุดใด วันใหน ปีใหน เวลาใด ความรุนแรงมากน้อยเพียงใด ..ฯลฯ  ความรู้ทางวิชาการที่มีก็เพียงแต่พอจะบอกได้ เช่น วงรอบตามสถิตการเกิดขึ้นอย่างรุนแรงของมัน  พื้นที่ใดเป็นพื้นที่อันตรายมากน้อยเพียงใด...  คือบอกได้ในเชิงคุณภาพ (Qualitative) มิใช่ในเชิงปริมาณ (Quantitative)    การป้องกันที่ดีที่สุดก็คือการรู้ว่าอะไรคือจุดอ่อนในส่วนของเรา แล้วทำจุดอ่อนนั้นให้แข็งแรง เบี่ยงเบนผลกระทบและความเสียหายที่จะเกิดขึ้ันให้ดีที่สุด 


กระทู้: นอนอยู่กับแผ่นดินไหว(2)
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 11 ก.พ. 23, 11:44
ในข่าวร้ายก็ยังมีข่าวดี(เล็กๆ) อยู่บ้าง

ทารกน้อยที่มารดาคลอดออกมาระหว่างแผ่นดินไหว  อยู่รอดปลอดภัยดีแล้ว   เพราะนำส่งโรงพยาบาล หมอช่วยไว้ทัน
คุณหมอใจดีมีภรรยาที่มีลูกสาวอายุ 4 เดือน   จึงสามารถให้นมแก่หนูน้อยผู้รอดตายราวปาฏิหาริย์ได้
เธอชื่อ อายา (Aya)  ภาษาอาหรับแปลว่า ปาฎิหาริย์

อายาสูญเสียพ่อ แม่ และพี่ๆ 4 คนไปจนหมดเมื่อตึกถล่มลงมา    แต่เธอรอดทั้งๆสายสะดือยังติดอยู่กับศพแม่   นอนอยู่ในซากปรักหักฟังและความหนาวเหน็บ   จนกระทั่งมีผู้เจอแล้วพาตัวไปส่งโรงพยาบาลได้ทันเวลา   อายาได้รับบาดเจ็บฟกช้ำดำเขียวหลายแห่ง  ไม่มีเสื้อผ้าให้ความอบอุ่น  จนอาการน่าเป็นห่วง  แต่ก็กระเตื้องขึ้นมาได้จนเป็นปกติ

เมื่อข่าวแพร่ออกไป มีผู้ยื่นความประสงค์นับพันๆรายขออุปการะหนูน้อย   แต่โชคดีที่ญาติผู้ใหญ่ของอายายังมีชีวิตอยู่  ยืนยันว่าจะรับอายาไปเลี้ยงเอง

https://www.bbc.com/news/world-middle-east-64588133


กระทู้: นอนอยู่กับแผ่นดินไหว(2)
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 11 ก.พ. 23, 18:00
เป็นข่าวดีมากๆเลยครับ  เหตุการณ์ลักษณะตึกถล่มทลายเช่นนี้ เด็กๆดูจะมีโอกาสรอดชีวิตแบบปาฎิหาริย์ได้มาก  ด้วยความที่ตัวเล็ก ก็จึงมีโอกาสหลุดเข้าไปอยู่ในจุดที่เป็นโพรงที่เกิดจากการที่ส่วนที่เป็นโครงสร้างที่แข็งแรงของอาคารทับเกยกัน  แต่ในกรณีเด็กน้อยคนนี้น่าจะเป็นสุดยอดของปาฏิหาริย์เลยทีเดียว
 
ข่าวล่าว่ามีผู้คนเสียชีวิตไปแล้วในระดับ 23,000+ คน   ไม่ทราบตัวเลขผู้บาดเจ็บ แต่เมื่อรวมกับการไร้ที่อยู่อาศัย ตัวเลขน่าจะไปอยู่ในระดับ 100,000+ คน

เรื่องที่น่ากลัวตามมาก็คือ รอดชีวิตมาแล้วก็ยังอาจจะมีการเสียชีวิตเพิ่มขึ้นได้อีกด้วยเรื่องของการขาดน้ำ ขาดอาหาร เรื่องของโรคภัยไข้เจ็บและโรคระบาด   การบรรเทาภัยจึงยังไม่จบที่เพียงแต่การช่วยเอาชีวิตออกมาจากซากความเสียหายนั้นๆ แต่หมายรวมไปถึงการช่วยรักษาชีวิตผู้เคราะห์ร้ายให้อยู่ได้ยืดยาวต่อไป 


กระทู้: นอนอยู่กับแผ่นดินไหว(2)
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 11 ก.พ. 23, 19:33
สาธารณะภัยที่เกิดจากธรรมชาตินี้ ส่วนมากจะเกิดความเสียหายในวงกว้าง  หลายๆกรณีก็เกิดในพื้นที่ๆเป็นเมืองมีผู้คนอาศัยอยู่หนาแน่น   พื้นที่เมืองก็มีสาธารณะภัยที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากการกระทำของคนซึ่งทำให้เกิดความเสียหายได้เป็นวงกว้างเช่นกัน 

การบรรเทาภัยในด้านที่เป็นต้นทางของเหตุที่ทำให้เกิดความเสียหายนั้น เกือบทั้งหมดจะเป็นงานอันพึงกระทำในสำนึกของนักวิชาการสาขาวิชาการต่างๆ  ส่วนในด้านที่เป็นผล(ความเสียหาย)นั้น เกือบทั้งหมดจะเป็นงานอันพึงกระทำโดยฝ่ายเมือง _ผู้บริหารพื้นที่/ท้องถิ่น    ที่เคยรู้มา เรื่องสำคัญที่พึงพิจารณาเตรียมการเพื่อการจำกัดขอบเขตของความเสียหาย ก็จะมีเรื่องในบริบทของคำว่า การสื่อสาร (Communication) การตอบสนอง (Responsiveness)  การเข้าถึง (Accessibility)  การกู้ภัย (Salvation) และการลดความเสียหายต่อเนื่อง (Relief)

ก็เป็นเรื่องที่ไทยเราทำกันอยู่แล้ว ก็ดูจะมีทั้งแบบประสานงาน ประสานงา สถานการณ์บังคับ อาสา และแบบเพื่อประโยชน์อื่นใด


กระทู้: นอนอยู่กับแผ่นดินไหว(2)
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 12 ก.พ. 23, 18:48
บริบทเพื่อการจำกัดขอบเขต/ระดับของความเสียหาย ไม่ว่าจะเป็นส่วนต้นทางหรือปลายทาง ต่างก็มีความสัมพันธ์และเกี่ยวโยงซึ่งกันและกัน

ธรรมชาติมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ช้าบ้าง เร็วบ้าง แบบกระทันหันบ้าง  มนุษย์เราเป็นฝ่ายที่พยายามเอาตัวเองแทรกเข้าไปอยู่กับมันในระหว่างที่กระบวนการทางธรรมชาติกำลังทำงานของมัน  ไปขวาง ไปเปลี่ยงแปลง หรือพยายามไปหยุดมัน ไปดำเนินการใดๆเกินกว่าศักยภาพที่มีอยู่ ไม่นิยมจะยอมอยู่ในสภาพที่สอดคล้องไปกับสภาพของธรรมชาตินั้นๆ (living in harmony with nature)  ความเสียหายจึงย่อมเกิดขึ้นได้เสมอ แต่ก็จะมีผลกระทบน้อยมากหากได้มีการเตรียมการตอบสนองไว้ในระดับที่ดีพอสมควร ส่งผลต่อมาถึงขนาดของความเสียหายที่จะเกิดที่ปลายทาง


กระทู้: นอนอยู่กับแผ่นดินไหว(2)
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 12 ก.พ. 23, 19:22
ในบริบทของการเตรียมความพร้อมรับความเสียหายที่ปลายทางนั้นมีรายละเอียดมากมาย น่าจะนึกออกกันได้ไม่ยาก     ส่วนมากก็จะนึกถึงในบริบทของการต่อชีวิตบนหลักของปัจจัยสี่ (อาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม และยา)  ที่มักจะลืมนึกไปจะเป็นเรื่องในบริบทด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ซึ่งเป็นงานในด้านของการบริหารจัดการโดยฝ่ายเมือง  ก็มีเรื่องมากมายที่พึงสำนึกและพึงเตรียมการ/ดำเนินการอยู่พอสมควร ที่สำคัญก็มีอาทิ เรื่องของสถานที่ เรื่องของระบบระบบสาธารณูปโภค เรื่องของข้อมูลข่าวสาร   


กระทู้: นอนอยู่กับแผ่นดินไหว(2)
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 13 ก.พ. 23, 18:28
หลักการก็มีอยู่ว่า จะต้องมีพื้นที่โล่งกว้างกระจายอยู่เป็นหย่อมๆตามย่านที่มีผู้คนอาศัยอยู่ค่อนข้างหนาแน่น  มีความกว้างพอที่จะรองรับปริมาณผู้ประสบภัยในระดับหนึ่งจากอุบัติภัยหนึ่งใดที่มีโอกาสจะเกิดขึ้นและสร้างความเสียหายในระดับใดกับพื้นที่นั้นๆ  พื้นที่นี้โดยนัยก็คือพื้นที่เพื่อการช่วยยืดต่อชีวิตให้กับผู้ประสบภัยหลังจากที่ได้รับการช่วยให้รอดชีวิตออกมาจากความเสียหายนั้นๆแล้ว      คุณสมบัติสำคัญของพื้นที่นี้ก็จะมีเช่น มีลักษณะเป็นพื้นที่ๆเป็นหรือใกล้ชุมทางย่อยของสาธารณูปโภคต่างๆ (น้ำ ไฟ ถนน ระบบขนส่ง การสื่อสาร โรงพยาบาล ..ฯลฯ) และควรจะเป็นพื้นที่ๆมีโอกาสได้รับผลกระทบและได้รับความเสียหายน้อยมากๆ  อาคารในพื้นที่นี้ก็จึงควรจะเป็นเป็นอาคารชั้นเดียวในลักษณะหรือปรับเป็นโถงกว้างได้ 

ก็คงพอจะมองเห็นว่า คนกรุงเทพฯนั้นโชคดีมากน้อยเพียงใด เรามีพื้นที่สวนหลายแห่ง แต่ละสวนมีแหล่งน้ำของตนเอง แต่ละสวนมีโรงพยาบาลตั้งอยู่ใกล้ๆ เกือบทุกแห่งเป็นจุดร่วมเส้นทางรถเมล์หลายสาย มีรถไฟฟ้าผ่าน และมีคลองที่พอจะยังใช้สัญจรอยู่ได้บ้างอยู่ใกล้ๆ ฯลฯ  พื้นที่ๆมีคุณภาพพื้นฐานดีๆเช่นนี้ ค่อนข้างจะหาได้ยากในประเทศต่างๆ  หากของกรุงเทพฯเราได้รับการดูแลรักษาและได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยคำนึงถึงการใช้ประโยชน์ร่วมที่หลากหลายในบริบททาง Mitigation ก็จะเป็นเรื่องที่น่าดีอย่างยิ่ง  ก็ดูจะมีในบางช่วงเวลาที่การพัฒนาอยู่ในกรอบแนวคิดบนฐานของ profit  มิใช่บนฐานของ benefit


กระทู้: นอนอยู่กับแผ่นดินไหว(2)
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 13 ก.พ. 23, 19:20
เมื่อมีอุบัติภัยที่มีระดับความรุนแรงและมีความเสียหายเกิดขึ้นค่อนข้างมาก  ก็เป็นธรรมดาที่ผู้คนทั้งผู้ที่ประสบเหตุหรือผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์นั้นๆและผู้ที่มีความสัมพันธ์ในทางหนึ่งทางใดกับผลที่เกิดเหตุการณ์นั้นๆ เช่น ญาติ ธุรกิจ เพื่อน ผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับเหตุและผลของเหตุนั้นๆ... ล้วนก็อยากจะทราบเรื่องราวและสถานการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง  การสื่อสารเรื่องราวต่างๆที่ทำได้รวดเร็วที่สุด ก็ดูจะเป็นทางโทรศัพท์

ก็มีหลักคิดอยู่ว่า แม้เทคโนโลยีจะพัฒนาไปไกลมากแล้ว แต่มันก็มีข้อจำกัดที่น่ากลัวอยู่เหมือนกัน  เรากำลังอยู่ในโลกของการสื่อสารแบบไร้สาย ซึ่งระบบสนับสนุนโดยพื้นฐานก็คือพลังงานไฟฟ้า  หากระบบไฟฟ้าล้มเหลว การสื่อสารก็จะอยู่ในข้อจำกัดมากมาย   การสื่อสารในปัจจุบันมีพัฒนาการไปในด้านการใช้คลื่นความถี่สูงในระดับ UHF (Ultra high frequency)  ความถี่วิทยุที่เรียกว่าวิทยุมือถือที่ตำรวจ ที่หน่วยราชการ  ที่พนักงานส่งของ/พนักงานเสิร์ฟอาหาร ใช้กันนั้น  รวมทั้งความถี่ของคลื่นวิทยุในระบบ FM นั้น เป็นความถี่ในระดับ VHF (Very high frequency)  ความถี่ในระดับนี้ ในภาพง่ายๆก็คือ ความแรงของมันถูกดูดซับในอากาศหายไปมาก อีกทั้งจะส่งได้ไม่ไกลมากกว่าประมาณ 10++ กม. จึงส่งได้ในระยะสั้น จึงต้องมีการตั้งเสาช่วย จึงจะสามารถส่งได้ไกลมากขึ้น (ส่งเป็นเส้นตรงพ้นความโค้งของเปลือกโลก)    เมื่อเกิดเหตุเสาส่่งหรือเสาถ่ายทอดสัญญาณเสียหาย ระยะทางของคลื่นวิทยุและระบบก็จะถูกจำกัดลงไปในทันที ขอบเขตของการสื่อสารถูกจำกัดไปโดยอัตโนมัติ     


กระทู้: นอนอยู่กับแผ่นดินไหว(2)
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 13 ก.พ. 23, 19:37
ที่รู้มา ก็มีบางประเทศ(น่าจะหลายประเทศ)ที่ยังสนับสนุนให้มีการพัฒนาเทคโนโลยีของระบบการสื่อสารทางสายในระดับหนึ่ง คือไม่ให้ระบบและความรู้ด้านการสื่อสารรุ่นปู่ทวดนี้หายไป  ก็เป็นเทคโนโลยีขั้นต่ำสุดที่ผู้คนทุกคนสามารถเข้าใจได้ว่าจะต่อให้มันใช้ได้ๆเช่นใด ก็เพียงต่อสายให้มันติดต่อเนื่องกันก็ทำให้มันใช้การได้แล้ว
ขยายความต่อพรุ่งนี้ครับ 


กระทู้: นอนอยู่กับแผ่นดินไหว(2)
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 14 ก.พ. 23, 11:37
2-3 วันก่อน มีข่าวสุนัขช่วยชีวิตคนติดในแผ่นดินไหว ให้รอดถึง 10 ราย   ตอนนี้มีข่าวยืนยันแล้วว่าเป็นข่าวปลอม

ท่ามกลางเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่สาธารณรัฐตุรกี ที่คงสร้างความเศร้าสลดใจ ที่ส่งผลให้ขณะนี้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 33,000 ราย คงไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะมีการพยายามเสนอเรื่องราวดีๆ เพื่อคลายความเศร้า
ล่าสุดหนึ่งในนั้น คือ เหตุการณ์สุนัขสีขาวลักษณะเปรอะเปื้อน มอมแมม สามารถช่วยชีวิตผู้ประสบภัยแผ่นดินไหวตุรกี 10 ชีวิตได้ หลังจากเกิดแผ่นดินไหวความรุนแรง 7.8 ในตุรกี ซึ่งมีการเผยแพร่ และส่งต่อภาพกว่า 30,000 แชร์ไปแล้ว

ทั้งนี้ สำนักข่าวเอพี ได้ตรวจสอบความถูกต้อง พบว่า ภาพและเรื่องราวดังกล่าวเป็น “ข่าวปลอม” โดยภาพดังกล่าวนี้ เป็นเหตุการณ์ในปี 2557 บริเวณที่เกิดเหตุดินถล่ม ใกล้เมืองโอโซของรัฐวอชิงตัน และสุนัขในภาพมีชื่อว่า “ไทรออน (Tryon)” เป็นสุนัขกู้ภัยในสหรัฐฯ ที่ปฏิบัติหน้าที่ตามหาผู้รอดชีวิต

www.msn.com


กระทู้: นอนอยู่กับแผ่นดินไหว(2)
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 14 ก.พ. 23, 18:43
ข่าวปลอมดูจะเป็นเรื่องปกติในปัจจุบัน  เป็นข่าวที่ปั้นออกมาโดยกลุ่มคนที่เป็นโรคทางจิตประเภทหนึ่ง  ซึ่งโดยพื้นฐานแล้ว คนเหล่านี้เป็นผู้มีความรู้และมีปัญญาในเกณฑ์ดี (Knowledgeable)  หากแต่มีจิตใต้สำนึกว่า ทำอะไรก็ได้เพื่อให้ตัวเองรู้สึกว่าตนเองนั้น 'เจ๋ง'  รู้สึกว่าตนเองเป็นผู้นำ(เป็นจ่าฝูง) และมีผู้ตามในระดับหนึ่ง(ที่ตนเองรู้สึกพอใจ)

ที่ว่าเป็นโรคทางจิตประเภทหนึ่งนั้น ก็มีที่มาที่เป็นได้ทั้งจากกรรมพันธุ์ (?)  มาจากการบ่มเพาะที่แฝงอยู่ในสังคม วัฒนธรรม และในกระบวนการศึกษา  กระทั่งที่มาจากการแสวงประโยชน์จากระบบการสื่อสารสังคมออนไลน์ที่ต้องมีแต้ม มีคะแนน  มี like   มี favorite  มี follower .....


กระทู้: นอนอยู่กับแผ่นดินไหว(2)
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 14 ก.พ. 23, 20:08
ก็คงไม่เป็นที่ทราบกันทั่วไปนักว่า เมื่อมีอุบัติภัยเกิดขึ้น ณ ที่แห่งใดในโลก  ข้อมูลข่าวสารความเสียหายที่เกิดขึ้นที่เป็นเรื่องเชื่อถือได้มากที่สุดนั้น มาจากการสื่อสารระหว่างนักวิทยุสมัครเล่นที่เรียกกันว่า HAM  เป็นการสื่อสารด้วยคลื่นวิทยุในย่านความถี่  HF (High frequency)  ที่เป็นการสื่อสารทางเสียงก็อยู่ในแถบช่วงคลื่นหนึ่ง เป็นลักษณะการสื่อสารที่เด็กๆชอบเอามาเลียนแบบเล่นกัน  "ฮัลโหลๆ รู้แล้ว เปลี่ยน" นั่นแหละครับ หรือเรียกกันว่า Single side band radio      ในอีกแถบช่วงคลื่นหนึ่งก็เป็นการสื่อสารด้วยการเคาะรหัสมอร์ส (Morse code) ที่เราได้ยินเสียง ดิ๊ด ๆๆ ในคลื่นวิทยุ AM บางช่วงคลื่น  รหัสมอร์สจะเคาะผสมกันระหว่างเสียงสั้น (dit) กับเสียงยาว (da)  เช่นการขอความช่วยเหลือ SOS ก็จะเคาะ dit dit dit da da da dit dit dit  ซึ่งเป็นรหัสสากล

ยกเรื่องนี้ขึ้นมาก็เพียงเพื่อจะบอกกล่าวว่า คลื่นวิทยุย่าน HF นั้น เป็นช่วงคลื่นที่สามารถกระจายข่าวสารและรับกันได้เป็นพื้นที่กว้างและไกลมาก  HF เป็นคลื่นสำรองที่ติดตั้งอยู่ในเครื่องบิน ในเรือเดินสมุทร และในการรบ/สงครามทางทหาร   เป็นระบบที่สามารถสร้างอุปกรณ์ให้มีขนาดเล็กในทรงรูปร่างต่างๆ โดยสามารถใช้พลังงานจากถ่านไฟฉายเพียงก้อนเดียว   


กระทู้: นอนอยู่กับแผ่นดินไหว(2)
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 15 ก.พ. 23, 19:09
นอกจากการจัดให้มีพื้นที่กลางเพื่อรองรับผู้ประสบภัยในปริมาณมากแล้ว ก็ยังจัดให้มีพื้นที่ขนาดย่อมและย่อยที่เหมาะสมกับสภาพทางกายภาพของชุมชนและปริมาณของผู้คน ซึ่งอาจจะเป็นวัด เป็นโรงเรียน เป็นปั้มน้ำมัน เป็นสวนหย่อมในชุมชน ...ฯลฯ  ซึ่งเป็นสถานที่ๆมีสิ่งอำนวยความสะดวกในการดำรงชีพพอสมควร เช่น มีที่สำหรับนั้ง/นอน มีห้องน้ำ มีสุขา มีร่มเงาพอจะบังแดดบังฝนได้บ้าง   สถานที่ดังตัวอย่างที่กล่าวถึงนี้นิยมใช้คำว่า จุดรวมพล (assembly point) เมื่อเกิดอุบัติภัยที่ร้ายแรงใดๆ ก็ให้พยายามหาทางมารวมกันอยู่ ณ จุดๆนี้ ซึ่งจัดเป็นจุดนัดพบกับฝ่ายผู้ให้ความช่วยเหลือ(meeting point)   จุดนี้ยังใช้ประโยชน์ในด้านของการรายงานความมีอยู่(รอด)ของตัวตนและสภาพของตัวตนนั้นๆ  ซึ่งเป็นข้อมูลสำคัญที่ครอบครัวและญาติมิตรอยากจะทราบในเบื้องแรก และเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับการจัดการให้ความช่วยเหลือหรือการบรรเทาความเดือดร้อนที่เหมาะสมต่อไป   เมืองไทยเราก็มีการจัดให้มีจุดรวมพลบ้างแล้วเช่นกัน มีกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป มีทั้งแบบที่มีป้ายบอกและแบบที่เข้าใจกันเอง 

ที่น่าสนใจก็คือในรูปแบบที่เข้าใจและรู้ได้ด้วยสำนึกของตนเอง  เป็นโชคดีของคนไทย  เรามีวัดที่ตั้งกระจายอยู่(น่าจะ)ทั่วทุกชุมชน ทำให้เกิดเป็นจุดรวมพลโดยอัตโนมัติ  ฝ่ายเมืองเลยดูจะไม่มีความจำเป็นต้องทำอะไรต่อไปในเรื่องนี้ แต่แท้จริงแล้วก็ยังมีเรื่องที่พึงต้องทำ เรื่องสำคัญก็ดูจะมีเรื่องของการช่วยเหลือหรือช่วยปรับปรุงในเรื่องของสุขา ห้องน้ำ และน้ำสะอาด  ซึ่งยังช่วยส่งผลถึงชุมชนในเรื่องของสุขภาพและอนามัยในองค์รวม   


กระทู้: นอนอยู่กับแผ่นดินไหว(2)
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 15 ก.พ. 23, 19:51
หลักการสำคัญบางประเด็นเกี่ยวกับการบรรเทาอุบัติภัยที่ได้กล่าวถึง ก็น่าจะพอควรแล้ว

สุดท้าย  ข้อมูลข่าวสารจากสำนักข่าว Aljazeera เมื่อประมาณ 15 ชม.ที่แล้วมา สรุปว่า มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 40,000 คน  และ UN ได้ประเมินว่ามีเด็กได้รับผลกระทบมากกว่า 7 ล้านคน (ในตุรกีย์ประมาณ 4.6 ล้านคน ในซีเรียประมาณ 2.5 ล้านคน)


กระทู้: นอนอยู่กับแผ่นดินไหว(2)
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 21 ก.พ. 23, 10:35
เมื่อวานนี้ (๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖) เกิดแผ่นดินไหวรอบใหม่บริเวณพรมแดนตุรกี-ซีเรียอีกแล้ว ในพื้นที่เดียวกับที่เกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่เมื่อสองสัปดาห์ที่แล้ว

ศูนย์ตรวจสอบแผ่นดินไหวแถบเมดิเตอร์เรเนียนแห่งยุโรป หรือ EMSC (European Mediterranean Seismological Centre) ระบุว่า แผ่นดินไหวครั้งล่าสุดในวันจันทร์มีแรงสั่นสะเทือน ๖.๔ จุดศูนย์กลางอยู่บริเวณเมืองอันตาคยาทางภาคใต้ของตุรกี แรงสั่นสะเทือนรู้สึกได้ถึงซีเรีย อียิปต์ และเลบานอน
รัฐมนตรีกิจการภายในตุรกี สุเลย์มาน ซอยลู กล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า มีผู้เสียชีวิต ๓ ราย และบาดเจ็บกว่า ๒๐๐ ราย จากแผ่นดินไหวครั้งล่าสุด และคาดว่ามีประชาชนที่ยังคงติดอยู่ใต้ซากปรักหักพัง

จนถึงขณะนี้ จำนวนผู้เสียชีวิตจากแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ ๒ ครั้ง เมื่อสองสัปดาห์ที่แล้วเพิ่มขึ้นเป็นมากกว่า ๔๑,๐๐๐ รายในตุรกี และเกือบ ๕,๐๐๐ รายในซีเรีย ขณะที่มีรายงานอาคารอพาร์ทเมนต์เสียหายราว ๓๘๕,๐๐๐ หลัง ผู้คนยังคงสูญหายจำนวนมาก

ข่าวจาก วีโอเอไทย (https://www.voathai.com/a/fresh-earthquake-hits-turkey-syria-border-two-weeks-after-disaster/6971325.html)

https://youtu.be/h_QmV3TMQvA


กระทู้: นอนอยู่กับแผ่นดินไหว(2)
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 23 ก.พ. 23, 18:35
วันนี้เกิดแผ่นดินไหวใหญ่อีกแล้วที่ทาจิกิสถาน ใกล้พรมแดนเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ของจีน :o

https://youtu.be/5IFmTGyNIlo

รายงานข่าวจาก กรมทรัพยากรธรณี (https://www.facebook.com/100069335434607/posts/pfbid0GWn9ZrWzHjEFWyjZuGymDQSw4JpNg6uLRWU9VyMp8awe1UZYBbsjgGc2syphspG7l/?mibextid=cr9u03)