เรือนไทย

General Category => ศิลปะวัฒนธรรม => ข้อความที่เริ่มโดย: Sujittra ที่ 17 พ.ย. 12, 09:52



กระทู้: สมบัติของผู้ดี
เริ่มกระทู้โดย: Sujittra ที่ 17 พ.ย. 12, 09:52
เมื่ออาทิตย์ก่อน ผมได้มีโอกาสไปร่วมงานแต่งงานของหลานสาวที่ต่างจังหวัด งานจัดน่ารักมากเพราะคู่บ่าวสาวจบสถาปัตย์ทั้งคู่
ในงานก็มีการเชิญพระ ๙ รูป มาสวดและให้โอวาท
ขณะที่คณะสงฆ์กำลังสวด (ภาษาบาลี) คนส่วนใหญ่ก็นั่งพนมมือและฟังพระสวด (แม้จะฟังไม่รู้เรื่องเพราะบทสวดเป็นภาษาบาลี) ผมเองแม้นว่าจะมิได้นับถือศาสนาพุทธแต่ด้วยความคิดส่วนตัวซึ่งรู้สึกว่าต้องให้เกียรติแก่เจ้าภาพและคู่บ่าวสาว ให้เกียรติแก่สถานที่ ให้ความเคารพแก่หมู่สงฆ์ ผมก็นั่งพนมมือหลับตาตั้งใจฟัง (ซึ่งก็ทำให้รู้สึก "นิ่ง" ได้ดี) แม้จะฟังไม่รู้เรื่องเช่นเดียวกับผู้อื่น
แต่ขณะตั้งใจฟังพระสวดมนต์ ผมก็ได้ยินเสียงแทรกสอดเข้ามาตลอดเวลาตั้งแต่ต้นจนจบ และทุกเที่ยวที่ท่านสวดก็มีเสียงแทรกสอดตลอดเวลา
ผมหันไปมองก็พบว่าเป็นเสียงพูดคุยของผู้เข้าร่วมงานที่นั่งพนมมืออยู่แต่ก็พูดแข่งกับพระตลอดเวลา

ผมไม่คิดว่าสิ่งที่คนเหล่านั้นทำจะเหมาะสม แต่ไม่รู้จะเอาอะไรมาเทียบเคียง จะเอาความคิดตัวเองก็ใช่ที่ ก็เลยไปค้นหาหนังสือ "สมบัติของผู้ดี"


กระทู้: สมบัติของผู้ดี
เริ่มกระทู้โดย: Sujittra ที่ 17 พ.ย. 12, 10:00
กว่าจะหาเจอก็ค้นอยู่นาน เลยมีความคิดว่าน่าที่จะเผยแพร่เพื่อให้คนได้ตระหนักบางว่าการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขนั้นอาศัยแต่กฎหมายไม่ได้ (เพราะหาตำรวจและอัยการที่ไว้ใจได้นั้นยากเหลือเกิน) ต้องอาศัยการมีใจเอื้ออาทรที่จะอยู่ร่วมกันเป็นสรณะ ผมจึงขอคัดลอกมาเพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่สนใจครับ


กระทู้: สมบัติของผู้ดี
เริ่มกระทู้โดย: Sujittra ที่ 17 พ.ย. 12, 10:06
ก่อนจะเข้าเนื้อหา ผมมีประเด็นที่อยากรับฟังว่าท่านอื่นมีความคิดเห็นอย่างไร หรือเคยประสบหรือไม่ เช่น
การพูดคุยทักทายหยอกล้อในงานสวดพระอภิธรรมศพโดยเฉพาะในกรุงเทพฯ
การที่เด็กนักเรียนหญิงนุ่งกระโปรงนักเรียน(สั้น) และนั่งขัดสมาธิบนเก้าอี้ขณะกินข้าวในที่สาธารณะ (ที่พบคือร้านอาหารในรัฐสภา)
ฯลฯ


กระทู้: สมบัติของผู้ดี
เริ่มกระทู้โดย: Sujittra ที่ 17 พ.ย. 12, 10:08
นี่เป็นส่วนของคำนำครับ

คำนา
หนังสืออ่านเพิ่มเติมเรื่อง "สมบัติของผู้ดี" ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการได้มอบ ม.ล. ปูอง มาลากุล จัดทำ คำอธิบายเพิ่มเติมจากหนังสือสมบัติของผู้ดี ของเจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี เพื่อให้อ่านเข้าใจง่าย เหมาะ สาหรับเด็ก ระดับประถมศึกษา และมอบให้นายสุชีพ ปุญญานุภาพ เป็นผู้ตรวจทานนี้ กรมวิชาการได้มอบให้ องค์การค้าของคุรุสภาจัดพิมพ์จำหน่ายใช้ประกอบการ เรียนการสอนตามหลักสูตรประโยคประถมศึกษา พุทธศักราช ๒๕๐๓ มาตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๕๐๔ และในการที่กระทรวงศึกษาธิการประกาศใช้หลัก สูตร ประถมศึกษา พุทธศักราช ๒๕๒๑ ก็ปรากฏว่าหนังสือนี้สามารถใช้ประกอบการเรียนการสอนระดับประถมศึกษา กลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต และกลุ่มสร้างเสริมลักษณะนิสัย ได้อย่างดียิ่ง จึงได้มอบให้องค์การค้าของคุรุสภาจัดพิมพ์จาหน่ายต่อไป
(นายสุรเดช วิเศษสุรการ) อธิบดีกรมวิชาการ
๑ มีนาคม ๒๕๒๗


กระทู้: สมบัติของผู้ดี
เริ่มกระทู้โดย: Sujittra ที่ 17 พ.ย. 12, 10:11
สมบัติของผู้ดี ภาค ๑
ผู้ดี ย่อมรักษา ความเรียบร้อย
กายจริยา คือ
(๑) ย่อมไม่ใช้กิริยาข้ามกรายบุคคล.
(๒) ย่อมไม่อาจเอื้อมในทต่ำสูง.
(๓) ย่อมไม่ล่วงเกินถูกต้องผู้อื่นซึ่งไม่ใช่หยอกกันฐานเพื่อน.
(๔) ย่อมไม่เสียดสีกระทบกระทั่งกายบุคคล.
(๕) ย่อมไม่ลุกนั่งเดินเหินให้พรวดพราดโดนผู้คนหรือสิ่งของแตกเสียหาย.
(๖) ย่อมไม่ส่งของให้ผู้อื่นด้วยกิริยาอันเสือกไสผลักโยน.
(๗) ย่อมไม่ผ่านหน้าหรือบังตาผู้อื่น เมื่อเขาดูสิ่งใดอยู่ เว้นแต่เป็นที่เฉพาะไป.
(๘) ย่อมไม่เอิกอึงเมื่อเวลาผู้อื่นทำกิจ.
(๙) ย่อมไม่อื้ออึงในเวลาประชุมสดับตรับฟัง.
(๑๐) ย่อมไม่แสดงกิริยาตึงตัง หรือพูดจาอึกทึกในบ้านแขก.
วจีจริยา คือ
(๑) ย่อมไม่สอดสวนวาจาหรือแย่งชิงพูด.
(๒) ย่อมไม่พูดด้วยเสียงอันดังเหลือเกิน.
(๓) ย่อมไม่ใช้เสียงตวาด หรือพูดจากระโชกกระชาก.
(๔) ย่อมไม่ใช้วาจาอันหักหาญดึงดัน.
(๕) ย่อมไม่ใช้ถ้อยค่าอันหยาบคาย.
มโนจริยา คือ
(๑)ย่อมไม่ปล่อยใจให้ฟงุ้ซ่านก่าเริบหยิ่งโยโส.
(๒) ย่อมไม่บันดาลโทสะให้เสียกิริยา.


กระทู้: สมบัติของผู้ดี
เริ่มกระทู้โดย: Sujittra ที่ 17 พ.ย. 12, 10:14
สมบัติของผู้ดี ภาค ๒
ผู้ดี ย่อมไม่ทำอุจาดลามก
กายจริยา คือ
(๑)ย่อมใช้เสื้อผ้าเครื่องแต่งตัวอันสะอาดและแต่งโดยเรียบร้อยเสมอ.
(๒) ย่อมไม่แต่งตัวในที่แจ้ง.
(๓) ย่อมไม่จิ้มควักล้วงแคะแกะเการ่างกายในที่ชุมชน.
(๔) ย่อมไม่กระท่าการที่ควรจะทำในที่ลับในที่แจ้ง.
(๕) ย่อมไม่หาวเรอให้ปรากฏในที่ชุมชน.
(๖) ย่อมไม่จามด้วยเสียงอันดังและโดยไม่ป้องก่าบัง.
(๗) ย่อมไม่บ้วนขากด้วยเสียงอันดัง หรือให้เปรอะเปื้อน ให้เป็นที่รังเกียจ.
(๘) ย่อมไม่ลุกลนเลอะเทอะมูมมามในการบริโภค.
(๙) ย่อมไม่ถูกต้องหรือหยิบยื่นสิ่งที่ผู้อื่นจะบริโภคด้วยมือตน.
(๑๐) ย่อมไม่ล่วงล้่า ข้ามหยิบ ของบริโภคผ่านหน้าผู้อื่น ซึ่งควรขอโทษและขอให้เขาส่งได้.
(๑๑) ย่อมไม่ละลาบละล้วงเอาของผู้อื่นมาใช้ในการบริโภค เช่น ถ้วยน้่า และผ้าเช็ดมือ.
(๑๒)ย่อมไม่เอาเครื่องใช้ของตนเช่นช้อนส้อมไปล้วงตักสิ่งบริโภคซึ่งเป็นของกลาง.
(๑๓) ย่อมระวัง ไม่พูดจาตรงหน้าผู้อื่นให้ใกล้ชิดเหลือเกิน.
วจีจริยา คือ
(๑) ย่อมไม่กล่าวถึงสิ่งโสโครกพึงรังเกียจในท่ามกลางประชุมชน.
(๒)ย่อมไม่กล่าวถึงสิ่งควรปิดบังในท่ามกลางประชมุชน.
มโนจริยาคือ
(๑) ย่อมพึงใจทจี่ ะรักษาความสะอาด.


กระทู้: สมบัติของผู้ดี
เริ่มกระทู้โดย: Sujittra ที่ 17 พ.ย. 12, 10:17
สมบัติของผู้ดี ภาค ๓
ผู้ดี ย่อมมีสัมมาคารวะ
กายจริยา คือ
(๒) ย่อมนั่งด้วยกิริยาสุภาพเฉพาะหน้าผู้ใหญ่
(๓) ย่อมไม่ขึ้นหน้าผ่านผู้ใหญ่.
(๔) ย่อมไม่หันหลังให้ผู้ใหญ่.
(๕)ย่อมแหวกที่หรือใหท้นี่ั่งอันสมควรแก่ผู้ใหญ่หรือผู้หญิง.
(๖) ย่อมไม่ทัดหรือคาบบุหรี่ คาบกล้อง และสูบให้ควันไปรมผู้อื่น.
(๗) ย่อมเปิดหมวกเมื่อเข้าชายคาบ้านผู้อื่น
(๘) ย่อมเปิดหมวกในที่เคารพ เช่น โบสถ์ วิหาร ไม่ว่าแห่งศาสนาใด.
(๙) ผู้น้อยย่อมเคารพผู้ใหญ่ก่อน.
(๑๐) ผู้ชายย่อมเคารพผู้หญิงก่อน.
(๑๑) ผู้ลาย่อมเป็นผู้เคารพก่อน.
(๑๒) ผู้เห็นก่อนโดยมากย่อมเคารพก่อน.
(๑๓) แม้ผู้ใดเคารพตนก่อน ย่อมต้องตอบเขาทุกคน ไม่เฉยเสีย.
วจีจริยา คือ
(๑) ย่อมไม่พูดจาล้อเลียนหลอกลวงผู้ใหญ่.
(๒) ย่อมไม่กล่าวร้ายถึงญาติมิตรที่รักใคร่นับถือของผู้ฟังแก่ผู้ฟัง.
(๓) ย่อมไม่กล่าววาจาติเตียนสิ่งเคารพหรือที่เคารพของผู้อื่นแก่ตัวเขา.
(๔) เมื่อจะขอทำล่วงเกินแก่ผู้ใด ย่อมตอ้องขออนุญาตตัวเขาก่อน.
(๕) เมื่อตนทำพลาดพลั้งสิ่งใด แก่บุคคลใด ควรออกวาจาขอโทษเสมอ.
(๖) เมื่อผู้ใดได้แสดงคุณต่อตนอย่างไร ควรออกวาจาขอบคุณเขาเสมอ.
มโนจริยา คือ
(๑) ย่อมเคารพย่าเกรงบิดามารดาและอาจารย์.
(๒) ย่อมนับถือนอบน้อมตอ่ผู้ใหญ่.
(๓) ย่อมมีความอ่อนหวานแก่ผู้น้อย.


กระทู้: สมบัติของผู้ดี
เริ่มกระทู้โดย: Sujittra ที่ 17 พ.ย. 12, 10:20
สมบัติของผู้ดี ภาค ๔
ผู้ดี ย่อมมีกิริยาเป็นที่รัก
กายจริยา คือ
(๑) ย่อมไม่ฝ่าฝืนเวลานิยม คือ ไม่ไปใช้กิริยายืนเมื่อเขานั่งกับพื้นและไม่ไปนั่งกับพื้นเมื่อเวลาเขา ยืนเดินกัน.
(๒) ย่อมไม่ไปนั่งนานเกินสมควรในบ้านของผู้อื่น.
(๓) ย่อมไม่ท่ากิริยารื่นเริงเมื่อเขามีทุกข์.
(๔) ย่อมไม่ท่ากิริยาโศกเศร้าเหี่ยวแห้งในที่ประชุมรื่นเริง.
(๕) เมื่อไปสู่ที่ประชุมการรื่นเริงย่อมช่วยสนุกชื่นบานให้สมเรื่อง.
(๖) เมื่อเป็นเพื่อนเที่ยว ย่อมต้องกลมเกลียวและร่วมล่าบากร่วมสนุก.
(๗) เมื่อตนเป็นเจ้าของบ้าน ย่อมต้องต้อนรับและเชื้อเชิญแขกไม่เพิกเฉย.
(๘)ย่อมไม่ท่ากิริยาบึกบึนต่อแขก.
(๙) ย่อมไม่ให้แขกต้องคอยนานเมื่อเขามาหา.
(๑๐) ย่อมไม่จ้องดูนาฬิกาในเวลาที่แขกยังนั่งอยู่.
(๑๑)ย่อมไม่ใช้กิริยาอันบุ้ยใบ้หรือกระซิบกระซาบกับผู้ใดในเวลาเฉพาะเมื่อตนอยู่ต่อหน้าผู้หนึ่ง.
(๑๒) ย่อมไม่ใช่กิริยาอันโกรธเคือง หรือดุดันผู้คนบ่าวไพร่ต่อหน้าแขก.
(๑๓) ย่อมไม่จ้องดูบุคคลโดยเพ่งพิศเหลือเกิน.
(๑๔) ย่อมต้องรับส่งแขกเมื่อไปมา ในระยะอันสมควร.
วจีจริยา คือ
(๑) ย่อมไม่เที่ยวติเตียนสิ่งของที่เขาตั้งแต่งไว้ในบ้านที่ตนไปสู่.
(๒)ย่อมไม่กล่าวสรรเสริญรูปกายบุคคลแก่ตัวเขาเอง.
(๓) ย่อมไม่พูดให้เพื่อนเก้อกระดาก.
(๔) ย่อมไม่พูดเปรียบเปรยเกาะแกะสตรีกลางชุมชน.
(๕) ย่อมไม่ค่อนแคะติรูปกายบุคคล.
(๖) ย่อมไม่ทักถึงการร้ายโดยพลุ่งโพล่งให้เขาตกใจ.
(๗) ย่อมไม่ทักถึงสิ่งอันนา่อายน่ากระดากโดยเปิดเผย.
(๘) ย่อมไม่เอาสิ่งที่น่าจะอายจะกระดากมาเล่าให้แขกฟัง.
(๙) ย่อมไม่เอาเรื่องที่เขาพึงซ่อนเร้นมากล่าวให้อับอายหรือเจ็บใจ.
(๑๐) ย่อมไม่กล่าวถึงการอัปมงคลในเวลามงคล.
มโนจริยา คือ
(๑) ย่อมรู้จักเกรงใจคน.


กระทู้: สมบัติของผู้ดี
เริ่มกระทู้โดย: Sujittra ที่ 17 พ.ย. 12, 10:22
สมบัติของผู้ดี ภาค ๕
ผู้ดี ย่อมเป็นผู้มีสง่า
กายจริยา คือ
(๑) ย่อมมีกิริยาอันผึ่งผายองอาจ.
(๒) จะยืนนั่ง ย่อมอยู่ในลำดับอันสมควร ไม่เป็นผู้แอบหลังคนหรือหลีกเข้ามุม.
(๓) ย่อมไม่เป็นผู้สะทกสะท้านงกเงิ่นหยุด ๆ ยั้ง ๆ .
วจีจริยา คือ
(๑) ย่อมพูดจาฉะฉานชัดถ้อยความ ไม่อุบอิบอ้อมแอ้ม.
มโนจริยา คือ
(๑) ย่อมมีความรู้จักงามรู้จักดี.
(๒) ย่อมมีอัชฌาสัยอันกว้างขวาง เข้าไหนเข้าได้.
(๓) ย่อมมีอัชฌาสัยเป็นนักเลง ใครจะพดู หรือเล่นอันใดก็เข้าใจและต่อติด.
(๔) ย่อมมีความเข้าใจว่องไวไหวพริบ รู้เท่าถึงการณ์.
(๕) ย่อมมีใจอันองอาจกล้าหาญ.


กระทู้: สมบัติของผู้ดี
เริ่มกระทู้โดย: Sujittra ที่ 17 พ.ย. 12, 10:23
สมบัติของผู้ดี ภาค ๖
ผู้ดี ย่อมปฏิบัติการงานดี
กายจริยา คือ
(๑) ย่อมทำการอยู่ในระเบียบแบบแผน.
(๒) ย่อมไม่ถ่วงเวลาให้คนอื่นคอย.
(๓) ย่อมไม่ละเลยที่จะตอบจดหมาย.
(๔) ย่อมไม่ท่าการแต่ต่อหน้า.
วจีจริยา คือ
(๑) พูดสิ่งใดย่อมให้เป็นสิ่งที่เชื่อถือได้.
(๒) ย่อมไม่รับวาจาคล่อง ๆ โดยมิได้เห็นว่าการจะเป็นได้หรือไม่.
มโนจริยา คือ
(๑) ย่อมเป็นผู้รักษาความสัตย์ในเวลา.
(๒) ย่อมไม่เป็นผู้เกียจคร้าน.
(๓) ย่อมไม่เข้าใจว่า ผู้ดีท่าอะไรด้วยตนไม่ได้.
(๔) ย่อมไม่เพลิดเพลินจนละเลยให้การเสีย.
(๕) ย่อมเป็นผู้รักษาความเป็นระเบียบ.
(๖) ย่อมเป็นผู้อยู่ในบังคับบัญชาเมื่ออยู่ในหน้าที่.
(๗) ย่อมมีมานะในการงานไม่ย่อท้อต่อความยากล่าบาก.
(๘) ย่อมเป็นผู้ทำอะไรทำจริง.
(๙) ย่อมไม่เป็นผู้ดึงดันในที่ผิด.
(๑๐) ย่อมปรารถนาความดี ต่อการงานที่ทำอยู่เสมอ.


กระทู้: สมบัติของผู้ดี
เริ่มกระทู้โดย: Sujittra ที่ 17 พ.ย. 12, 10:25
สมบัติของผู้ดี ภาค ๗
ผู้ดี ย่อมเป็นผู้ใจดี
กายจริยา คือ
(๑) เมื่อเห็นใครทำผิดพลาดอันน่าเก้อกระดาก ย่อมช่วยกลบเกลอื่นหรือทำไม่เห็น.
(๒) เมื่อเห็นสิ่งของของใครตกหรือจะเสื่อมเสีย ย่อมต้องหยิบยื่นให้หรือบอกให้รู้ตัว.
(๓) เมื่อเห็นเหตุร้าย หรืออันตรายจะมีแก่ผู้ใด ย่อมต้องรีบช่วย.
วจีจริยา คือ
(๑) ย่อมไม่เยอะเย้ยถากถางผู้กระท่าผิดพลาด.
(๒) ย่อมไม่ใช้วาจาอันข่มขี่.
มโนจริยา คือ
(๑)ย่อมไม่มีใจอันโหดเหยี้มเกรี้ยวกราดแก่ผู้น้อย.
(๒) ย่อมเอาใจโอบอ้อมอารีแก่คนอื่น.
(๓) ย่อมเอาใจช่วยคนเคราะห์ร้าย.
(๔) ย่อมไม่เป็นผู้ซ้่าเติมคนเสียที.
(๕) ย่อมไม่เป็นผู้อาฆาตจองเวร.


กระทู้: สมบัติของผู้ดี
เริ่มกระทู้โดย: Sujittra ที่ 17 พ.ย. 12, 10:28
สมบัติของผู้ดี ภาค ๘
ผู้ดี ย่อมไม่เห็นแต่แก่ตัวถ่ายเดียว
กายจริยา คือ
(๑) ย่อมไม่พักหาความสบายก่อนผู้ใหญ่.
(๒) ย่อมไม่เสือกสนแย่งชิงที่นั่งหรือที่ดูอันใด.
(๓) ย่อมไม่เที่ยวแย่งผู้หนึ่งมาจากผู้หนึ่ง ในเมื่อเขาสนทนากัน.
(๔) เป็นผู้ใหญ่ จะไปมาลุกนั่งย่อมไว้ช่องให้ผู้น้อยมีโอกาสบ้าง.
(๕) ในการเลี้ยงดูย่อมแผ่เผื่อ เชื้อเชิญแก่คนข้างเคียงก่อนตน.
(๖) ในที่บริโภค ย่อมหยิบยกยื่นส่งสิ่งของแก่ผู้อื่นต่อ ๆ ไป ไม่มุ่งแต่กระท่ากิจส่วนตน.
(๗) ย่อมไม่รวบสามตะกลามสี่กวาดฉวยเอาของที่เขาตั้งไว้เป็นกลาง จนเกินส่วนที่ตนจะได้.
(๘) ย่อมไม่แสดงความไม่เพียงพอใจในสิ่งของที่เขาหยิบยกให้.
(๙) ย่อมไม่นิ่งนอนใจให้เขาออกทรัพย์แทนส่วนตนเสมอ เช่น ในการเลี้ยงดูหรือใช้ค่าเดินทาง เป็นต้น.
(๑๐)ย่อมไม่ลืมที่จะส่งของซึ่งคนอื่นได้สงเคราะหใ์ห้ตนยืม.
(๑๑) การให้สิ่งของหรือเล้ียงดูซึ่งเขาได้กระท่าแก่ตน ย่อมต้องตอบแทนเขา.
วจีจริยา คือ
(๑) ย่อมไม่ขอแยกผู้หนึ่งมาจากผู้หนึ่ง เพื่อจะพาไปพูดจาความลับกัน.
(๒) ย่อมไม่สนทนาแต่เรื่องตนถ่ายเดียว จนคนอื่นไม่มีช่องจะสนทนาเรื่องอื่นได้.
(๓) ย่อมไม่นำธุระตนเข้ากล่าวแทรกในเวลาธุระอื่นของเขาชุลมุน.
(๔) ย่อมไม่กล่าววาจาติเตียนของที่เขาหยิบยกให้แก่ตน.
(๕) ย่อมไม่ไต่ถามราคาของที่เขาได้หยิบยกให้แก่ตน.
(๖) ย่อมไม่แสดงราคาของที่หยิบยกให้แก่ผู้ใดให้ปรากฏ.
(๗) ย่อมไม่ใช้วาจาอันโอ้อวดตนและหลบหลู่ผู้อื่น.
มโนจริยา คือ
(๑) ย่อมไม่มีใจมักได้
(๒) ย่อมไม่ตั้งใจปรารถนาของรักเพื่อน.
(๓) ย่อมไม่พึงใจการหยิบยืมข้าวของทองเงินซึ่งกันและกัน.
(๔) ย่อมไม่หวังแต่จะพึ่งอาศัยผู้อื่น.
(๕) ย่อมไม่เป็นผู้เกี่ยงงอนทอดเทการงานตนให้ผู้อื่น.
(๖) ย่อมรู้คุณผู้อื่นที่ได้ทำแล้วแก่ตน.
(๗) ย่อมไม่มีใจริษยา.


กระทู้: สมบัติของผู้ดี
เริ่มกระทู้โดย: Sujittra ที่ 17 พ.ย. 12, 10:30
สมบัติของผู้ดี ภาค ๙
ผู้ดี ย่อมรักษาความสุจริตซื่อตรง
กายจริยา คือ
(๑) ย่อมไม่ละลาบละล้วงเข้าห้องเรือนแขกก่อนเจ้าของบ้านเชิญ.
(๒) ย่อมไม่แลลอดสอดส่ายโดยเพ่งเล็งเข้าไปตามห้องเรือนแขก.
(๓) ย่อมไม่เที่ยวฉวยโน่นหยิบนี่ของผู้อื่นดูจนเหลือเกิน ราวกับว่าจะค้นหาสิ่งใด.
(๔) ย่อมไม่เที่ยวขอหรือหยิบฉวยดูจดหมายของผู้อื่นที่เจ้าของไม่มีประสงค์จะให้ดู.
(๕) ย่อมไม่เที่ยวขอหรือหยิบฉวยดูสมุดพกหรือสมุดจดรายงานบัญชีของผู้อื่น ซึ่งตนไม่มีธุระ เกี่ยวข้องเป็นหน้าที่.
(๖) ย่อมไม่เที่ยวนั่งที่โต๊ะเขียนหนังสือของผู้อื่น.
(๗) ย่อมไม่เที่ยวเปิดดูหนังสือตามโต๊ะเขียนหนังสือของผู้อื่น.
(๘) ย่อมไม่แทรกเข้าหมู่ผู้อื่นซึ่งเขาไม่ได้เชื้อเชิญ.
(๙) ย่อมไม่ลอบแอบฟังคนพูด.
(๑๐) ย่อมไม่ลอบแอบดูการลับ.
(๑๑) ถ้าเห็นเข้าจะพูดความลับกัน ย่อมต้องหลบตาหรือลี้ตัว.
(๑๒) ถ้าจะเข้าห้องเรือนผู้ใด ย่อมต้องเคาะประตูหรือกล่าววาจาให้เขารู้ตัวก่อน.
วจีจริยา คือ
(๑) ย่อมไม่ซอกแซกไต่ถามธุระส่วนตัวหรือการในบ้านของเขาที่ไม่ได้เกี่ยวข้องแก่ตน.
(๒) ย่อมไม่เที่ยวถามเขาว่า นั่นเขียนหนังสืออะไร.
(๓) ย่อมไม่เที่ยวถามถึงผลประโยชน์ที่เขาหาได้เมื่อตนไม่ได้มีหน้าที่เกี่ยวข้อง.
(๔) ย่อมไม่เอาการในบ้านของผู้ใดมาแสดงในที่แจ้ง.
(๕) ย่อมไม่เก็บเอาความลับของผู้หนึ่งมาเที่ยวพูดแก่ผู้อื่น.
(๖) ย่อมไม่กล่าวถึงความชั่วร้าย อันเป็นความลับเฉพาะบุคคลในที่แจ้ง.
(๗) ย่อมไม่พูดสับปลับกลับกลอกตลบตะแลง.
(๘) ย่อมไม่ใช้คำสบถติดปาก.
(๙) ย่อมไม่ใช้ถ้อยคำมุสา.
มโนจริยา คือ
(๑) ย่อมไม่เป็นคนต่อหน้าอย่างหนึ่งลับหลังอย่างหนึ่ง.
(๒) ย่อมเป็นผู้รักษาความไว้วางใจแก่ผู้อื่น.
(๓) ย่อมไม่แสวงประโยชน์ในทางที่ผิดธรรม.
(๔) ย่อมเป็นผู้ตั้งอยู่ในความเที่ยงตรง.


กระทู้: สมบัติของผู้ดี
เริ่มกระทู้โดย: Sujittra ที่ 17 พ.ย. 12, 10:32
สมบัติของผู้ดี ภาค ๑๐
ผู้ดี ย่อมไม่ประพฤติชั่ว
กายจริยา คือ
(๑) ย่อมไม่เป็นพาลเที่ยวเกะกะระรั้วและกระท่าร้ายคน.
(๒) ย่อมไม่ข่มเหงผู้อ่อนกว่า เช่น เด็กหรือผู้หญิง.
(๓) ย่อมไม่ท่าให้ผู้อื่นเดือดร้อนเจ็บอาย เพื่อความสนุกยินดีของตน.
(๔) ย่อมไม่หาประโยชน์ด้วยอาการที่ท่าให้ผู้อื่นเดือดร้อน.
(๕) ย่อมไม่เสพสุราจนถึงเมาและติด.
(๖)ย่อมไม่มั่วสุมกับสิ่งอันเลวทราม.
(๗) ย่อมไม่หมกมุ่นในการพนัน เพื่อจะปรารถนาทรัพย์.
(๘) ย่อมไม่ถือเอาเป็นของตน ในสิ่งที่เจ้าของไม่ได้อนุญาตให้.
(๙) ย่อมไม่พึงใจในหญิงที่มีเจ้าของหวงแหน.
วจีจริยา คือ
(๑) ย่อมไม่เป็นพาลพอใจทะเลาะวิวาท.
(๒) ย่อมไม่พอใจนินทาว่าร้ายกันและกัน.
(๓) ย่อมไม่พอใจพูดส่อเสียดยุยง.
(๔) ย่อมไม่เป็นผู้สอพลอประจบประแจง.
(๕) ย่อมไม่แช่งชักให้ร้ายผู้อื่น.
มโนจริยา คือ
(๑) ย่อมไม่ปองร้ายผู้อื่น.
(๒) ย่อมไม่คิดทำลายผู้อื่นด้วยประโยชน์ตน.
(๓) ย่อมมีความเหนี่ยวรั้งใจตนเอง.
(๔) ย่อมเป็นผู้มีความละอายแก่บาป.


กระทู้: สมบัติของผู้ดี
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 17 พ.ย. 12, 11:40
http://olddreamz.com/bookshelf/properties/properties.html

 ;D


กระทู้: สมบัติของผู้ดี
เริ่มกระทู้โดย: Sujittra ที่ 18 พ.ย. 12, 18:15
หนังสือสมบัติผู้ดีเล่มที่ผมมานำเสนอ มีสิ่งที่น่าสนใจเพราะมีคำอธิบายประกอบด้วยครับ
เสียดายที่ไม่มีปกประกอบ เลยไม่ทราบในรายละเอียดของผู้ที่จัดทำ



ภาคผนวก สมบัติของผู้ดี
คาว่า ผู้ดี หมายถึง "บุคคลผู้มีความประพฤติดี ทั้งทางกาย ทางวาจาและทางความคิด คือ ทาดี พูดดี คิดดี"
ผนวก ๑
ผู้ดี ย่อมรักษาความเรียบร้อย
กายจริยา คาว่า กายจริยา คือ ทาดี เช่น เดินดี ยืนดี นั่งดี นอนดี แยกออก ได้ดังนี้
(๑) ผู้ดีย่อมไม่ใช้กิริยาข้ามกรายบุคคล เช่น เมื่อเดินเข้าใกล้ใครก็หลีกไปในระยะที่พอเหมาะ ไม่ยกมือยกเท้าให้กระทบใคร ไม่ชี้มือหรือยกมือให้ผ่านใคร หรือข้ามศีรษะใคร ไม่ว่าเขาจะนั่ง นอน ยืน เดิน ไม่เหยียดเท้าใส่ใคร เมื่อท่านผู้ใหญ่นั่งอยู่ ไม่เดินเฉียดไป ต้องคลานไป หรือเดิน ก้มหลังไป
(๒) ผู้ดีย่อมไม่อาจเอื้อมในที่ต่ำสูง เช่น เมื่อผู้ใหญ่นั่งอยู่จะทำอะไรในที่สูง หรือจะหยิบอะไรในที่สูงกว่าท่าน ต้องขอประทานโทษท่านก่อนจึงทำและทั้งไม่ละลาบละล้วงอาจเอื้อมจับต้องของสูง เช่น ศีรษะ หรือหน้าตาใคร ๆ ที่ไม่ใช่ลูกหลานของตน โดยผู้นั้นมิได้อนุญาตให้ทำเป็นอันขาด
(๓) ผู้ดีย่อมไม่ล่วงเกินถูกต้องผู้อื่นซึ่งไม่ใช่หยอกกันฐานเพื่อน หมายความว่า การที่จะถูกต้องตัวผู้อื่นนั้นต้องระมัดระวัง ถ้าเป็นผู้ใหญ่กว่าหรือคนที่ไม่ได้คุ้นเคยอย่างเพื่อนกัน
(๔) ผู้ดีย่อมไม่เสียดสีกระทบกระทั่งกายบุคคล หมายความว่า ตามปรกติร่างกายผู้อื่นนั้นไม่ควร ถูกต้องหากมีความจำเป็นจะต้องเสียดสีกระทบกระทั่ง เช่นในยวดยานพาหนะต้องขอประทาน โทษก่อนจึงเสียดสีไปได้เป็นต้น
(๕) ผู้ดีย่อมไม่ลุกนั่งเดินเหินให้พรวดพราดโดนผู้คนหรือสิ่งของแตกเสีย หมายความว่า ขณะที่เรา นั่งอยู่ ยืนอยู่ นอนอยู่ ก่อนที่จะเคลื่อนที่ไป เช่น จะลุกขึ้นเป็นต้น ต้องนึกก่อนว่าเราจะลุกไป จะไป ทางไหน ตรวจดูให้รอบตัวก่อนว่า มีอะไรกีดขวางอยู่บ้าง เมื่อดูรอบคอบแล้วจึงค่อยลุกขึ้นเคลื่อนที่ ไป เช่น นั่งอยู่ในโต๊ะเรียน เมื่อนึกก่อนได้เช่นนี้ ก็จะไม่มีเสียงโครมครามโดนโน่นโดนนี่
(๖) ผู้ดีย่อมไม่ส่งของให้ผู้อื่น ด้วยกิริยาอันเสือกไสผลักโยน หมายความว่า เมื่อจะส่งของให้ใคร ต้องถือของหงายมือ แล้วส่งให้ถึงมือผู้รับ เช่น ตักบาตรก็ต้องตักด้วยความสุภาพเรียบร้อย
(๗) ผู้ดีย่อมไม่ผ่านหน้าหรือบังตาผู้อื่น เมื่อเขาดูสิ่งใดอยู่ เว้นแต่เป็นที่เฉพาะไป หมายความว่า เมื่อผู้อื่นกำลังยืนหรือนั่งดูสิ่งใดอยู่ เมื่อมีความจาเป็นจะต้องผ่านไปควรผ่านไปทางหลังท่าน ถ้า จำเป็นต้องผ่านกลางไปก็ควรขอประทานโทษเสียก่อนจึงไป
(๘) ผู้ดีย่อมไม่เอ็ดอึง เมื่อผู้อื่นทำกิจ หมายความว่า เมื่อผู้อื่นกาลังทำกิจอยู่ เมื่อจะเดินต้องค่อย ๆ เดินเมื่อจะพูดต้องค่อยๆพูด เพื่อให้เขาได้ทำโดยปลอดโปร่ง 
(๙) ผู้ดีย่อมไม่อึกทึกในเวลาประชุมสดับตรับฟัง หมายความว่า ขณะที่ผู้อื่นกาลังฟังอะไรอยู่ เช่น กาลังฟังครูสอน ฟังปาฐกถา ฟังเทศน์ กาลังดูละคร ฟังดนตรี เป็นต้น ต้องไม่พูดไม่คุยกัน หรือไม่ทำเสียงตึงตัง หรือเคาะโต๊ะเคาะพื้นให้มีเสียงเป็นที่ราคาญแก่ผู้อื่น
(๑๐) ผู้ดีย่อมไม่แสดงกิริยาตึงตัง หรือพูดจาอึกทึกในบ้านแขก หมายความว่า เมื่อไปหาท่านถึงบ้านท่าน ไม่ควรทำให้มีเสียงตึงตัง หรือพูดจาส่งเสียงดังผิดปรกติ หรือดุดันขู่ตวาดผู้หนึ่งผู้ใดให้เป็นที่ สะเทือนใจ

วจีจริยา คาว่า วจีจริยา หมายความว่า การพูดจาให้เรียบร้อย แยกออกได้ดังนี้
(๑) ผู้ดีย่อมไม่สอดสวนวาจาหรือแย่งชิงพูด หมายความว่า ขณะที่ผู้อื่นกาลังพูดอยู่ ไม่ควรพูดสอดแทรกขึ้นในขณะนั้น ต้องรอให้ท่านพูดจบเสียก่อน หากจาเป็นจะต้องพูด ก็ต้องให้จบระยะหนึ่ง แล้วขอประทานโทษก่อนจึงพูด ไม่ชิงกันพูด ไม่แข่งกันพูด ไม่พูดพร้อมกัน
(๒) ผู้ดีย่อมไม่พูดด้วยเสียงอันดังเหลือเกิน หมายความว่า เมื่อจะสนทนาปราศรัยกัน ต้องพูดด้วย น้าเสียงตามปรกติ พอได้ยินชัดเจน อยู่ใกล้กันพูดค่อย ๆ ก็ได้ยิน
(๓) ผู้ดีย่อมไม่ใช้เสียงตวาดหรือพูดจากระโชกกระชาก หมายความว่า เมื่อจะพูดกับใคร ๆ ต้องใช้ เสียงตามปรกติ พอเหมาะพอควรแก่เรื่องและบุคคล ทำเสียงให้หนักแน่นและเยือกเย็น
(๔) ผู้ดีย่อมไม่ใช้วาจาอันหักหาญดึงดัน หมายความว่า เมื่อได้ฟังผู้อื่นพูดคลาดเคลื่อนปรารถนาจะคัดค้านก็ควรขอโทษก่อนจึงพูดคัดค้าน หรือเมื่อจะให้ผู้ใดกระทำสิ่งไรก็ไม่ควรพูดจาหักหาญดึงดัน เอาแต่ใจตนเป็นประมาณควรชี้แจงอย่างมีเหตุผลให้เขาเชื่อและกระทำตาม
(๕) ผู้ดีย่อมไม่ใช้ถ้อยคำอันหยาบคาย หมายความว่า ไม่ว่าจะพูดกับใคร ในเวลาใด ในสถานที่ใด ด้วยเรื่องอะไร ต้องพูดด้วยน้ำเสียงสุภาพ นุ่มนวล อ่อนหวาน จับใจ สบายหู

มโนจริยา
คาว่า มโนจริยา หมายความว่า การคิดนึกในทางที่ดี แยกออกได้ดังนี้
(๑) ผู้ดีย่อมไม่ปล่อยใจให้ฟุ้งซ่านกาเริบหยิ่งโยโส หมายความว่า ต้องทำใจให้ติดอยู่ในการงาน ที่กำลังทำอยู่ มุ่งทำงานให้สาเร็จเสร็จสิ้นเป็นเรื่อง ๆ ไป ไม่ทำรวนเรจับจด คิดฟุูงซ่านไปตามอารมณ์ เห็นดีเห็นชอบเพียงชั่วขณะ หรือเมื่อได้ทางานอะไรทำสำเร็จแม้แต่เพียงเล็กน้อยก็ทำหยิ่งยโสนึกว่า ไม่มีใครสู้ได้ ต้องสะกดอกสะกดใจ มุ่งทำงานที่กาลังทำอยู่นั้นให้สาเร็จเป็นเรื่อง ๆ ไป เช่น เรียนอยู่ ในชั้นใดก็มุ่งให้ได้ความรู้สมชั้นที่เรียน เรียนอยู่ในชั่วโมงใดก็ตั้งใจเรียนให้ได้ความรู้ในชั่วโมงนั้น ไม่เอางานของชั่วโมงหนึ่งไปทำในชั่วโมงอื่น ไม่เอางานของวันหนึ่งไปทำในอีกวันหนึ่ง ทำงานให้เสร็จ เป็นระยะตามที่มีอยู่ ตั้งใจแน่วแน่ลงในการงานนั้น ๆ
(๒) ผู้ดีย่อมไม่บันดาลโทสะให้เสียกิริยา หมายความว่า ต้องไม่แสดงความเดือดดาล ฉุนเฉียวพลุ่ง พล่านด้วยอาำาจโทสะ ตามปรกติเราอยู่กันเป็นหมู่เป็นคณะ เป็นครอบครัว เป็นบ้าน เป็นเมือง คนที่อยู่รวมกันเช่นนี้ ก็ต้องมีกระทบกระทั่งกันบ้างเป็นธรรมดา ไม่มากก็น้อย เข้าทานองที่ว่า ลิ้นกับฟันย่อมกระทบกันบ้างเป็นธรรมดา เมื่อเป็นเช่นนี้เราก็ต้องอดทน เมื่อได้ประสบอารมณ์ที่ไม่พอใจ อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ถูกเขาด่าว่าเสียดสีก่อนที่จะตอบต้องคิดเสียก่อน โบราณท่านสอนว่าให้นับสิบเสียก่อนจึงค่อยตอบ นี้ก็เป็นเครื่องเตือนใจได้อย่างดี


กระทู้: สมบัติของผู้ดี
เริ่มกระทู้โดย: Sujittra ที่ 18 พ.ย. 12, 18:18
ท่านใดมีข้อคิดเห็นหรือประสบการณ์ก็เชิญแนะนำได้นะครับ เพื่อประโยชน์แก่ลูกหลานที่จะได้มี "วัฒนธรรมที่ดี"  โดยเฉพาะท่านผู้ใหญ่เช่น คุณลุงเนาวรัตน์ ท่านเพ็ญชมพู ท่านเจ้าเรือน และท่านอื่นที่ผมมิได้เอ่ยนาม


กระทู้: สมบัติของผู้ดี
เริ่มกระทู้โดย: sirinawadee ที่ 20 พ.ย. 12, 12:11
ขอเล่าเรื่องที่บ้่านค่ะ

เป็นครอบครัวคนจีนค่ะ ตอนเด็กๆ เวลาออกไปนอกบ้าน พ่อจะไม่ให้สวมรองเท้าแตะค่ะ บอกว่าไม่สุภาพ

ไปร้านอาหารเมื่อได้รับบริการจะต้องกล่าวขอบคุณบริกรทุกครั้ง ต้องพูดเบาๆ กินไม่ให้เลอะเทอะ แม้เราจะไม่ได้เก็บจานชามเอง การวิ่งไล่กันในร้านหรือเล่นกันในโต๊ะอาหารเป็นเรื่องห้ามอย่างเด็ดขาด แม้กระทั่งไปพักโรงแรม เมื่อตื่นนอนก็ต้องจัดเตียงด้วย วันที่จะเช็คเอ้าท์ ข้าวของในห้องไม่ว่าจะเป็นแก้วน้ำ ผ้าเช็ดตัว หมอน ฯลฯต้องวางคืนที่เดิมให้เรียบร้อย พ่อบอกว่า เราจ่ายเงินมาก็จริง แต่ก็ต้องเห็นใจคนที่มาตามเก็บให้เราด้วย อะไรช่วยเขาได้ก็ต้องทำ

ทุกวันนี้เห็นทุกอย่างที่คุณ Sujitra ยกตัวอย่างมาค่ะ ที่เศร้าใจคือพบกิริยาแย่ๆ จากคนที่เป็นผู้ใหญ่มากกว่าเด็ก ยิ่งเดี๋ยวนี้มีลูกกันบ้านละคนสองคน โอกาสจะตามใจก็มีสูงมาก ถ้าผู้ใหญ่ไม่เป็นตัวอย่าง เด็กก็ไม่รู้จักกาละเทศะแน่นอน

ในพันทิปไม่นานมานี้ก็มีกระทู้แนะนำบ่นว่า เห็นแม่ลูกในซุปเปอร์มาร์เก็ต คุณแม่แกะขนมให้ลูกกินทั้งที่ยังไม่จ่ายเงิน ไม่น่าเชื่อว่ามีแม่ๆ จำนวนมากค่ะ บอกว่าไม่เห็นจะเป็นไรเลย เดี๋ยวชั้นก็ไปจ่าย คนไม่มีลูกไม่เข้าใจหรอก...  ???


กระทู้: สมบัติของผู้ดี
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 20 พ.ย. 12, 13:32
ในพันทิปไม่นานมานี้ก็มีกระทู้แนะนำบ่นว่า เห็นแม่ลูกในซุปเปอร์มาร์เก็ต คุณแม่แกะขนมให้ลูกกินทั้งที่ยังไม่จ่ายเงิน ไม่น่าเชื่อว่ามีแม่ๆ จำนวนมากค่ะ บอกว่าไม่เห็นจะเป็นไรเลย เดี๋ยวชั้นก็ไปจ่าย คนไม่มีลูกไม่เข้าใจหรอก...  ???

ใครเคยแกะนมแกะขนมให้ลูกในห้างก่อนจ่ายเงินบ้าง  (http://topicstock.pantip.com/family/topicstock/2012/09/N12666540/N12666540.html)

 :o


กระทู้: สมบัติของผู้ดี
เริ่มกระทู้โดย: Sujittra ที่ 20 พ.ย. 12, 18:31
ผมได้มีโอกาสไปเที่ยวประเทศจีนเมื่อสองเดือนที่ผ่านมา ไปที่จางเจี๋ยเจี้ย (ที่ถ่ายทำหนังเรื่อง อวตาร) คนเข้าคิวขึ้นลิฟท์ใช้เวลาคอยประมาณ 3 ชั่วโมง และรอคอยขึ้นกระเช้าลอยฟ้าเพื่อลงจากยอดเขาใช้เวลารอคอย 2 ชั่วโมง ได้ไปพบกับประสบการณ์ที่คาดไม่ถึงครับ
นอกจากคนไทย(รวมทั้งกลุ่มผมแล้ว) คนที่เหลือแทบจะทั้งหมดคือคนจีน (สังเกตดูไม่มีฝรั่งเลยแม้แต่คนเดียว ส่วนญี่ปุ่นนั้นหายหน้าไปเพราะมีเรื่องเกาะที่ทะเลาะกันอยู่)

พวกเราก็เข้าคิวตามปกติ เป็นแถวกว้าง 2-4 คนแล้วแต่บางช่วง
แต่จู่ๆก็มีภาพที่คาดไม่ถึง คนจีนบางคนก็ปีนข้ามแนวกั้นเพื่อลัดคิว คนจีนบางคนก็เดินแทรกเพื่อจะแซงไปข้างหน้า คนจีนบางคนก็ให้คนสูงอายุมากๆในกลุ่มขอเดินแทรกไปก่อน(เราเห็นเป็นคนสูงอายุมาก เราก็ให้แทรก)แล้วที่เหลือในกลุ่มจึงเดินแทรกตามมาโดยอ้างว่ามากับคนสูงอายุ

พวกเราในทัวร์ต้องแก้เผ็ดโดยการจับมือกันกันตามแนวขวางเพื่อมิให้คนจีนเข้ามาแซงผ่าน และต้องต่อว่าบางคนที่เบียดแทรกเข้ามา

ผมว่าเป็นสิ่งที่เลวร้ายมาก และมีความรู้สึกว่าไม่อยากมาเที่ยวเมืองจีนอีกโดยเฉพาะที่หนาแน่นและต้องเข้าคิว จึงถึงบางอ้อว่าทำไมจึงไม่เห็นฝรั่งมาเที่ยวในที่นี้

เรื่องห้องน้ำสกปรกนั้นพอรับได้เพราะเป็นเรื่องศักยภาพ เรื่องเทคโนโลยี เรื่องเงินทุน เรื่องความเคยชินส่วนตัว แต่การเอาเปรียบคนิื่นเช่นนี้ผมรับไม่ได้จริงครับ

เทียบกับญี่ปุ่นแล้วต่างกันราวฟ้ากับดิน

สิ่งนี้ผมคิดว่ามีผลต่อการท่องเที่ยว แม้นว่าโดยธรรมชาตินั้นคน้ราชอบความแปลกใหม่ ชอบความแตกต่าง แต่คงไม่มีใครอยากไปเที่ยวที่ที่คนท้องถิ่นมีนิสัยเอาเปรียบคนอื่น

ผมอยากให้เมืองไทยเหมือนญี่ปุ่นในด้านการรักความสะอาด การมีวินัย ผมคิดว่านี่ก็เป็น"สมบัติของผู้ดี"เช่นกัน และผมเชื่อว่าเราสามารถสร้างได้โดยผู้นำของชาตที่มีสมบัติของผู้ดี

ทราบจากบางคนว่าคนจีนสอนให้ลูกเอาเปรียบคนอื่น แสดงว่าฉลาด ถ้าไม่เอาเปรียบแสดงว่าโง่

ผมเขียนว่าคนจีน แต่ที่จริงแล้วผมก็มีเชื้อจีน คุณพ่อคุณแม่ก็คนจีนจอพยพมาเมืองไทย



กระทู้: สมบัติของผู้ดี
เริ่มกระทู้โดย: Sujittra ที่ 20 พ.ย. 12, 18:45
ขออนุญาตมาต่อที่ภาคสองนะครับ

ผนวก ๒
ผู้ดี ย่อมไม่ทำอุจาดลามก
กายจริยา ในข้อนี้หมายถึงการแสดงอาการที่กระทำด้วยกายในทางที่เสียหายซึ่งผู้ดีไม่ควรทำ ไม่ว่าในที่ใด ๆ ทั้งสิ้น แยกออกได้ดังนี้
(๑) ผู้ดีย่อมใช้เสื้อผ้าเครื่องแต่งตัวสะอาดและแต่งโดยเรียบร้อย หมายความว่า เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่มนั้น จะเป็นชนิดใดก็ตาม ต้องระวังไม่ให้เหม็นสาบ จนเข้าใกล้ใครเป็นที่รำคาญของคนทั้งหลาย การแต่งตัวก็นุ่งห่มให้สมส่วน เป็นนักเรียนก็ต้องแต่งแบบนักเรียนเป็นเด็กก็ต้องแต่งอย่างเด็ก ไปงานอะไรก็ต้องแต่งให้เหมาะแก่งานนั้นไม่ปล่อยให้มีอะไรน่ารังเกียจเช่น เปรอะเปื้อนสกปรก โสมมหรือผิดระเบียบ ต้องแต่งตัวให้เรียบร้อยตามโอกาสนั้น ๆ
(๒) ผู้ดีย่อมไม่แต่งตัวในที่แจ้ง หมายความว่า การแต่งตัวนั้นมีความจำเป็นจะต้องเปลือยกายบางส่วน เช่น ก่อนสวมเสื้อต้องเปลือยกายส่วนนั้น แล้วผลัดของเก่าออกเอาของใหม่แทน ในเวลา เช่นนี้ควรทำในที่มิดชิดเพื่อมิให้เป็นที่อุจาดตา
(๓) ผู้ดีย่อมไม่จิ้มควักล้วงแคะแกะเการ่างกายในที่ชุมชน หมายความว่า ขณะที่อยู่ในที่ชุมชน ไม่จิ้มฟันในโต๊ะอาหาร ไม่แปรงฟันในโต๊ะอาหาร ไม่ควักล้วงภายในเครื่องแต่งตัวตามร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่ง ไม่แคะแกะเการ่างกายส่วนใดส่วนหนึ่ง หากมีความจาเป็นต้องปลีกตัวออกจากที่ประชุม นั้นก่อนจึงทำ
(๔) ผู้ดีย่อมไม่กระทำการที่ควรจะทำในที่ลับในที่แจ้ง หมายความว่า กิริยาอาการบางอย่างซึ่งควรจะทำในที่ลับ ก็ต้องทำในที่ลับ อย่าไปทำในที่แจ้ง อาจกลายเป็นลามกอนาจารก็ได้ แม้มีความจาเป็น ก็ควรหาทางหลีกเลี่ยงเท่าที่สามารถจะทำได้ เช่น การถ่ายอุจจาระ หรือปัสสาวะ เป็นต้น ซึ่งเป็นการที่ควรต้องทำในที่ลับก็ควรทำในที่ลับ เมื่อมีความจำเป็นแต่หาห้องลับไม่ได้ก็ควรหาที่กำบังคน เพื่อมิให้เป็นการอุจาดตาของผู้พบเห็น ดังนี้เป็นต้น แม้การอย่างอื่นก็โดยทำนองนี้
(๕) ผู้ดีย่อมไม่หาวเรอให้ปรากฏในที่ชุมชน หมายความว่า อาการที่หาวเรอนั้นเป็นการแสดงออก ทางธรรมชาติ แต่เพราะเหตุที่การหาวเรอนั้นต้องอ้าปาก ปากเปิดมองเห็นอวัยวะภายในปาก ขณะที่ อยู่ในที่ประชุมแสดงอาการอย่างนั้น ก็ทำให้ผู้ที่เห็นเกิดความสะอิดสะเอียน เหตุนี้จึงควรระมัดระวังไว้เสมอ หากอาการเช่นนั้นจะมีขึ้น ก็ควรใช้ผ้าเช็ดหน้าปิดปากไว้ก่อนหรือปลีกตัวออกจากหมู่ ชั่วขณะหนึ่ง ยิ่งในขณะที่กาลังรับประทานอาหารด้วยแล้วยิ่งจำเป็นต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ


กระทู้: สมบัติของผู้ดี
เริ่มกระทู้โดย: Sujittra ที่ 21 พ.ย. 12, 10:27
ผนวก ๒ ยังไม่จบนะครับ
ขออนุญาตต่อครับ

(๖) ผู้ดีย่อมไม่จามด้วยเสียงอันดังและโดยไม่ป้องกำบัง หมายความว่า การไอจามเป็นอาการอย่างหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นแก่คนทั่วไป เมื่อจะไอหรือจามไม่ว่าจะอยู่ในที่ใด ๆ ต้องพยายามให้เสียงไอจามนั้นเบาที่สุดที่จะเบาได้ และต้องใช้ผ้าเช็ดหน้าปูองปิดปากไว้ให้ทันท่วงที ถ้าสามารถจะเอาผ้านั้น ชุบน้ำระเหยอย่างใดอย่างหนึ่งได้ก็ยิ่งดีมาก ทั้งนี้เพื่อป้องกันการกระจายของโรคหรือป้องกันมิให้ฝอยน้าลายกระเซ็นออกไปถูกต้องใครหรือสิ่งใดได้
(๗) ผู้ดีย่อมไม่บ้วนขากด้วยเสียงอันดังหรือให้เปรอะเปื้อนเป็นที่รังเกียจ หมายความว่า ตามปรกติ น้าลายไม่ควรบ้วนไม่ว่าในที่ใด ๆ เว้นแต่เมื่อถึงคราวจำเป็น ก็ไม่ควรให้เสียงถ่มขากเลยเป็นอันขาด แม้ที่บ้วนเล่าก็ต้องดูว่าควรหรือไม่ควร ถ้าอยู่ในรถในเรือโดยสารไม่ควรบ้วนหรือถ่มทางหน้าต่าง หากไม่มีที่บ้วนโดยเฉพาะ ก็ต้องทำให้มิดชิดเพื่อมิให้เป็นการแพร่เชื้อน้ำลายเช่นนั้น
(๘) ผู้ดีย่อมไม่ลุกลนเลอะเทอะมูมมามในการบริโภค หมายความว่า ในการบริโภคอาหารนั้น ต้องการความสะอาดมาก หากมีสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เห็นเป็นสิ่งสกปรกอยู่ก็ำาให้รับประทานอาหารไม่ได้ เป็นต้นว่าไม่ควรรีบตักแบ่งอย่างลุกลน ไม่ควรตักเลอะเทอะออกขอบจานของกลางหรือหกราด สิ่งในจานตนเองก็ไม่ควรตักมากเกินไปและไม่ควรตักสุมๆปนชนิดกัน จะรับประทานก็ไม่คำโตจนเกินไป และไม่ควรให้มีเสียง เช่น เคี้ยวดังหรือซดน้ำดัง ไม่ควรพูดคุยเวลาอาการอยู่ในปาก
(๙) ผู้ดีย่อมไม่ถูกต้องหรือหยิบยื่นสิ่งที่ผู้อื่นจะบริโภคด้วยมือตน หมายความว่า ขณะที่กำลังรับประทานอาหารอยู่นั้นเมื่อจะหยิบอาหารสิ่งหนึ่งสิ่งใด เช่นผลไม้หรือผักหรือของอื่นส่งให้ผู้อื่น ไม่ควรจับต้องสิ่งนั้นด้วยมือควรใช้ช้อนหรือส้อมกลางที่มีอยู่นั้นส่งให้ หรือหยิบทั้งภาชนะส่งให้ ทั้งนี้ เพื่อกันความสกปรกอันอาจมีได้
(๑๐) ผู้ดีย่อมไม่ล่วงล้าข้ามหยิบของบริโภคผ่านหน้าผู้อื่นซึ่งควรขอโทษและขอให้เขาส่งให้ได้ หมายความว่าขณะที่กาลังบริโภคร่วมกันอยู่นั้นจะต้องการของสิ่งใด ไม่ควรหยิบยกข้ามหรือผ่าน หน้าผู้อื่น หากมีความจาเป็นจะต้องหยิบยกจริง ๆ ก็ควรขอประทานโทษเขาแล้วขอให้เขาช่วยหยิบ ส่งให้ก็จะน่าดูขึ้น แต่ระเบียบในโต๊ะอาหารที่ถูกต้องนั้นควรบอกให้ผู้รับใช้หยิบส่งให้
(๑๑) ผู้ดีย่อมไม่ละลาบละล้วงเอาของผู้อื่นมาในการบริโภค เช่น ถ้วยน้ำและผ้าเช็ดมือ เป็นต้น หมายความว่า ในการรับประทานอาหารนั้นมีของที่ใช้ร่วมกันก็มี มีของที่ใช้เฉพาะคนก็มี เช่น
ภาชนะใส่อาหารกลางวันรวมกันแต่เครื่องใช้เฉพาะตนคือ ช้อนส้อมถ้วยน้ำผ้าเช็ดมือ ของที่ใช้ เฉพาะเช่นนี้ต้องระมัดระวังอย่างละลาบละล้วงไปใช้ของผู้อื่นเข้า เพราะของเหล่านี้เป็นของประจำ เฉพาะตัวของแต่ละคนจึงไม่ควรใช้ปะปนกัน
(๑๒) ผู้ดีย่อมไม่เอาเครื่องใช้ของตน เช่น ช้อนส้อมไปตักสิ่งบริโภคซึ่งเป็นของกลาง หมายความว่า ในการรับประทานอาหารร่วมกันหลาย ๆ คนนั้น เขาแยกของใช้ไว้เป็นของเฉพาะตัวก็มี เป็นของใช้ ร่วมกันก็มีถ้าว่าถึงช้อนส้อมแล้วเขามีเฉพาะตัวทีเดียว และเขามีช้อนกลางประจาไว้ตามภาชนะ อาหารนั้น ๆ ในการนั้นต้องใช้ช้อนกลางร่วมกันคือการใช้ช้อนกลางแบ่งอาหารจากชามกลางมา ไม่ ควรใช้ช้อนส้อมของตนไปตักอาหารแบ่งมาใส่ภาชนะของตน ทั้งนี้ก็เพื่อกันความสกปรกอันมีได้ เพราะทาเช่นนั้น
(๑๓) ผู้ดีย่อมระวัง ไม่พูดจาตรงหน้าผู้อื่นให้ใกล้ชิดเหลือเกิน หมายความว่า ในการพูดจาสนทนา ปราศรัยกันตามปรกตินั้นควรใช้เสียงพอเหมาะไม่ดังเกินไป ไม่เบาเกินไป และในการพูดนั้นก็ไม่ควรยื่นหน้ายื่นตาเข้าไปพูดจนใกล้ชิดนัก เพราะอาจจะได้กลิ่นลมปาก ซึ่งอาจเหม็นจนผู้อื่นเหลือทนก็ได้ หรือมิฉะนั้นฝอยน้ำลายอาจจะกระเซ็นเข้าหากันก็ได้ เพราะฉะนั้น จึงควรอยู่ในที่เหมาะและไม่ตรงหน้าใกล้ชิดจนเกินพอดี ทั้งนี้เพราะกันความเบื่อหน่ายของกันและกัน เพื่อกันความรังเกียจกันแลกันอาจมีได้ เพราะเหตุที่แสดงกิริยาเช่นนั้น

วจีจริยา ข้อนี้หมายถึงการไม่พูดคาลามกหรือพูดถึงสิ่งอันลามกในที่ประชุมชนหรือในขณะกาลัง รับประทานอาหาร แยกออกได้ดังนี้
(๑) ผู้ดีย่อมไม่กล่าวถึงสิ่งโสโครกพึงรังเกียจในท่ามกลางประชุมชน หมายความว่าการกล่าว ถ้อยคำใด ๆ ซึ่งเป็นการพูดถึงสิ่งโสโครกต่าง ๆ เช่น ของเน่าของเหม็น หรือพูดถึงสิ่งสกปรกต่าง ๆ ในที่ประชุมชนไม่เป็นการสมควรแท้ ความจริงการพูดคำเช่นนั้นไม่ว่าในที่ใดๆในเวลาใดๆกับ บุคคลใด ๆ ย่อมไม่เป็นมงคลแก่ปากของตนเลยเพราะอย่างนี้จึงต้องพูดแต่สิ่งที่ดีงามในที่ทุกสถาน และในกาลทุกเมื่อ
(๒) ผู้ดีย่อมไม่กล่าวถึงสิ่งที่ควรปิดบังในท่ามกลางประชุมชน หมายความว่าสิ่งที่ควรปิดบังนั้น ได้แก่สิ่งที่ควรละอาย หรือเรื่องที่เปิดเผยให้คนอื่นรู้จะเกิดความเสียหายแก่ตน แก่หมู่หรือแก่ชาติ บ้านเมือง จึงไม่นำมาพูดในท่ามกลางประชุมชน เพราะเป็นเรื่องที่ควรสงวนไว้พูดเฉพาะกับบุคลที่จะไม่เป็นภัยอันตรายแก่ตนและใคร

มโนจริยา ข้อนี้หมายถึงความคิดเห็นแต่ในความบริสุทธิ์สะอาดอันมีอยู่ในใจของเรา เราควรตั้งความคิดเห็นนั้นในทางที่ชอบที่ควรคือ
(๓) ผู้ดีย่อมพึงใจที่จะรักษาความสะอาด หมายความว่า
        ความสะอาดมีอยู่ ๓ ทาง คือ สะอาดกาย สะอาดวาจาและสะอาดใจ ถ้าแบ่งประเภทอย่างนี้หมายถึงความดีงามหรือความไม่ทุจริตทางกาย วาจา และใจ
        อีกอย่างหนึ่งความสะอาดแบ่งได้เป็น ๒ ทาง คือ
                 - สะอาดภายนอก ได้แก่ ความสะอาด ของร่างกาย เครื่องใช้บ้านเรือนและความเป็นอยู่ กับ
                 - สะอาดภายใน ได้แก่ความสะอาดในจิตใจ
        ที่ว่า ผู้ดีย่อมพึงใจจะรักษาความสะอาดนั้น แสดงว่าความสะอาดกายาจาและใจก็ตาม ความสะอาด ภายนอกและภายในก็ตาม จะมีขึ้นได้ก็ด้วยความรู้ความเข้าใจ และเจตนาหรือความพึงพอใจจะให้ มีขึ้น ผู้ดีจึงควรศึกษาให้รู้เรื่องความสะอาดและตั้งใจรักษาความสะอาดในทุกวิถีทาง


กระทู้: สมบัติของผู้ดี
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 21 พ.ย. 12, 12:51
ขอบคุณสำหรับกระทู้ดีๆอย่างกระทู้นี้ค่ะ
อยากจะให้กระทรวงศึกษาธิการรื้อฟื้นการสอนมารยาทขึ้นมาอีกครั้ง       จะเห็นได้ว่า หลักของหนังสือสมบัติผู้ดี คือสอนให้วางตัวงดงาม ทั้งกาย วาจา และใจ
การอบรมให้งามได้ทั้ง 3 อย่างต้องอาศัยความสำรวม  อดกลั้น  ยึดถือสิ่งที่ถูกต้องดีงาม  ไม่ว่าจะคิดอะไร พูดอะไร ลงมือทำอะไร ต้องกลั่นกรองเสียก่อนว่า ถูกไหม ควรไหม และดีไหม
ตัวอย่างที่คุณ sirinawadee เล่ามาข้างล่างนี้ แสดงว่ามารยาทในหนังสือเล่มนี้เป็นสิ่งที่ถูกลืมเลือนไปจากความเข้าใจของคนไทยมากแล้ว

ในพันทิปไม่นานมานี้ก็มีกระทู้แนะนำบ่นว่า เห็นแม่ลูกในซุปเปอร์มาร์เก็ต คุณแม่แกะขนมให้ลูกกินทั้งที่ยังไม่จ่ายเงิน ไม่น่าเชื่อว่ามีแม่ๆ จำนวนมากค่ะ บอกว่าไม่เห็นจะเป็นไรเลย เดี๋ยวชั้นก็ไปจ่าย คนไม่มีลูกไม่เข้าใจหรอก...  ???

ใครเคยแกะนมแกะขนมให้ลูกในห้างก่อนจ่ายเงินบ้าง  (http://topicstock.pantip.com/family/topicstock/2012/09/N12666540/N12666540.html)



กระทู้: สมบัติของผู้ดี
เริ่มกระทู้โดย: sirinawadee ที่ 22 พ.ย. 12, 13:50
เข้าบอร์ดพันทิปมาหลายปี เห็นกระทู้ทำนองนี้บ่อยค่ะ พวกที่เป็นกระทู้ในตำนานก็เช่น
- กระทู้ข้าวหน้าไก่ มาตั้งกระทู้ถามทางไปร้านข้าวหน้าไก่ ไปหาเองแล้วไม่เจอก็กลับมาต่อว่าคนที่แนะนำทาง บอกว่าบอกทางไม่เป็นทีหลังไม่ต้องมาบอก


คำว่าอดทน สำรวม อดกลั้น หาไม่ค่อยพบแล้วค่ะ และอย่าไปว่าเด็กๆ เลยนะคะ ที่เห็นแย่ๆ ส่วนใหญ่นี่ผู้ใหญ่ทั้งนั้นค่ะ


กระทู้: สมบัติของผู้ดี
เริ่มกระทู้โดย: sirinawadee ที่ 22 พ.ย. 12, 13:58
ปวดใจทุกครั้งที่เห็นคนเป็นพ่อแม่ไม่บอกไม่สอนลูกเล็กๆ ว่าอะไรผิดอะไรถูก พอถูกเตือนถูกว่าก็โกรธ บางคนโกรธคนเตือน บางคนโกรธคนเตือนไม่พอ กลับไปโมโหลูกตัวเองด้วยว่าทำให้พ่อแม่ถูกคนเขาว่า

เคยได้ยินตอนเด็กๆ ว่า วินัยเริ่มที่บ้าน สอนลูกหลานให้รู้ไว้.. เดี๋ยวนี้ไม่เคยได้ยินเลยค่ะ
จะรอกระทรวงศึกษาปรับหลักสูตร คงรอนาน โรงเรียนก็มีคุณครูน้อย นักเรียนจำนวนมาก หัดตั้งแต่ที่บ้่านน่าจะดีกว่านะคะ 


กระทู้: สมบัติของผู้ดี
เริ่มกระทู้โดย: sirinawadee ที่ 22 พ.ย. 12, 14:10
คุณ Sujitra คะ

ไปเมืองจีนมาหนเดียวก็ยังเข็ดกับทุกสิ่งทุกอย่างค่ะ เรื่องห้องน้ำ ไกด์เล่าว่า ตามหัวเมืองพัฒนายากค่ะ เพราะคนท้องถิ่นเห็นว่าไม่สำคัญ เข้าไปประเดี๋ยวเดียวก็ออกมาแล้ว ไม่จำเป็นต้องไปทำให้ดูดีอะไรนัก ส่วนนักท่องเที่ยวมาๆ แล้วก็ไป ยิ่งไม่ต้องไปทำห้องน้ำดีๆ ให้  :'( สภาพก็เลยน่าสยดสยอง ห้องน้ำตามปั๊มน้ำมันบ้านเราเป็นสวรรค์ไปเลยค่ะ

เรื่องเอาเปรียบนั้น เคยอ่านเจอว่าเป็นแนวคิดที่เพิ่งเกิดในช่วงปฏิวัติวัฒนธรรมค่ะ อะไรที่เป็นของเดิมให้ถือว่าไม่ดีไปเสียหมด เลิกเคารพเชื่อฟังพ่อแม่ครูอาจารย์ เชื่อฟังแต่สิ่งที่ผู้นำบอก เอาเปรียบคนอื่นเสียก่อนเขาจะมาเอาเปรียบเรา..


กระทู้: สมบัติของผู้ดี
เริ่มกระทู้โดย: Sujittra ที่ 25 พ.ย. 12, 19:40
ต้องขออภัยด้วยครับที่หายไปหลายวันเพราะไปเที่ยวเมืองจำปาศักดิ์ ประเทศลาว
แม้นว่าบ้านเมืองจะเศรษฐกิจดี ร่ำรวย (อย่างที่เราคนไทยและคนในโลกอีกมหาศาลจะพยายามเป็นกัน) แต่ถ้าคนในชาติไม่มีความเอื้ออาทรผู้อื่น ไม่คิดถึงผู้อื่น ไม่แบ่งปันผู้อื่น (ซึ่งผมเชื่อว่าเป็นสมบัติของผู้ดี) สังคมนั้นอยู่ยากครับ สักวันก็ต้องระเบิด (อย่างที่เราเห็นกันทั่วโลก) สังคมที่มีปัญหามิใช่เพราะร่ำรวยหรือยากจน แต่เพราะความไม่เอื้ออาทรกัน
สิ่งที่นักเศรษฐศาสตร์ นักการเงิน นักการเมือง และนักวิชาการอะไรต่อมิอะไรที่พยายามจะทำให้ GDP สูงขึ้นแล้วเชื่อว่าประเทศจะเป็นสุขนั้น ผมว่าถึงเวลาต้องทบทวนแล้วครับ เพราะ GDP มิใช่ของฟรี GDP ต้องมีต้นทุน ต้นทุนคือ ความสัมพันธ์ในครอบครัว ต้นทุนคือความเอื้อาทร คือการไม่เอารัดเอาเปรียบประเทศที่อ่อนแอกว่า คือทรัพยากรธรรมชาติที่ต้องสูญเสียไป ฯลฯ เพียงเพื่อตอบสนองต่อ GDP ต่อรถเฟอร์รารี่คันงาม ต่อนาฬิกา Patex Philips (Rolexนั้นเชยแล้วครับ) ต่อหญิงงามกลางเมืองและหญิงรักวัตถุนิยมที่จะมารายล้อม

ต้องขอโทษที่พร่ำพรรณามากไปเล็กน้อย ขอเข้าเรื่องต่อนะครับ


กระทู้: สมบัติของผู้ดี
เริ่มกระทู้โดย: Sujittra ที่ 25 พ.ย. 12, 19:47
ผนวก ๓ ผู้ดีย่อมมีสัมมาคารวะ
ข้อนี้หมายความว่า กิริยาอาการที่แสดงออกของบุคคลที่เป็นผู้ดีนั้นย่อมแสดงออกแต่ในทางสุภาพ เรียบร้อยน่าดูน่าชมเท่านั้น กิริยาอาการนี้ก็เป็นสำคัญอีกอย่างหนึ่ง โบราณท่านกล่าวไว้ กิริยาส่อชาติ มารยาทส่อสกุล เพราะฉะนั้นการแสดงกิริยาอาการที่สุภาพอ่อนโยนงดงาม จึงเป็นการสมควรที่ทุกคนควรทาอย่างยิ่ง ท่านแบ่งไว้ดังนี้

กายจริยา หมายถึงการแสดงสัมมาคารวะทางกาย
(๑) ผู้ดีย่อมนั่งด้วยกิริยาอันสุภาพเฉพาะหน้าผู้ใหญ่ หมายความว่า เมื่ออยู่กับผู้ใหญ่ต้องรู้ที่นั่งของตนว่าตนควรจะนั่ง ณ ที่แห่งใด และควรจะนั่งอย่างไร เช่น ผู้ใหญ่อยู่กับพื้นก็ควรนั่งกับพื้น และ ควรนั่งพับเพียบ ในระยะห่างพอควรแก่สถานที่และธุระที่ทำ ถ้าท่านนั่งเก้าอี้และท่านอนุญาตให้นั่ง เก้าอี้ด้วยก็ควรนั่ง แต่ไม่ควรนั่งไขว้ขาหรือกระดิกเท้าตามใจชอบ ควรนั่งด้วยท่าทางสุภาพเรียบร้อย ควรแก่สถานที่และภาวะของตน
(๒) ผู้ดีย่อมไม่ขึ้นหน้าผ่านตาผู้ใหญ่ หมายความว่า เมื่อเดินไปกับผู้ใหญ่ต้องเดินตามหลังท่าน และ ไปในระยะไม่ห่างนัก ไม่ชิดนัก เพราะถ้าเดินห่างนักพูดไม่ค่อยได้ยิน ถ้าเดินชิดนักจะสะดุดส้นท่าน ต้องเดินในระยะพอสมควรที่จะพูดถามได้ยินสะดวก ต้องไม่เดินแซงขึ้นหน้าผู้ใหญ่ หากไม่ได้เดินร่วม ไปกับท่าน เมื่อท่านเดินมา มีความจำเป็นต้องผ่าน ก็ไม่ควรเดินผ่านหน้าท่านควรหาทางที่จะผ่านไป ทางหลังท่าน จึงดูสุภาพ
(๓) ผู้ดีย่อมไม่หันหลังให้ผู้ใหญ่ หมายความว่าขณะที่อยู่ใกล้ผู้ใหญ่ไม่ว่าในที่เช่นใด ต้องไม่หันหลัง ให้ผู้ใหญ่ ต้องหันหน้าเข้าหาท่าน จึงดูเรียบร้อยดี
(๔) ผู้ดีแหวกที่หรือให้ที่นั่งอันสมควรแก่ผู้ใหญ่หรือผู้หญิง หมายความว่า ขณะที่เรานั่งหรือยืนอยู่ในที่ใด ๆ ก็ตาม เช่น ในที่ชุมชน หรือในรถโดยสาร เมื่อมีผู้ใหญ่คือผู้สูงอายุ คือ คนชรา หรือผู้หญิง ขึ้นมาภายหลังต้องให้ที่นั่งแก่คนเหล่านั้นตามสมควร แต่ถ้าเป็นผู้ที่อยู่ในวัยที่เสมอกัน ตามปรกติไม่ต้องให้ที่นั่ง แต่ถ้าคนเหล่านั้นอุ้มเด็กมาหรือมีครรภ์หรือมีของหนักติดมือมาก็ต้องลุกให้ตามควร อย่างนี้จึงดูสุภาพดี
(๕) ผู้ดีย่อมไม่ทัดหรือคาบบุหรี่ คาบกล้อง และสูบให้ควันไปรมผู้อื่น หมายความว่า เมื่อเราเข้าไปหาผู้ใหญ่หรือเดินทางไปกับผู้ใหญ่หรืออยู่ร่วมกับผู้ใหญ่ เราไม่ควรเอาบุหรี่มาทัดหูแม้ของอื่นก็ไม่สมควร เมื่อจะสูบบุหรี่ก็ไม่ควรคาบกล้องต่อหน้าผู้ใหญ่ อีกอย่างหนึ่งในที่ชุมชน จะเป็นในที่ประชุมกันก็ตาม อยู่ในรถก็ตาม ไม่ควรสูบบุหรี่ทีเดียว ถ้ามีความจาเป็น ก็ควรอยู่ใต้ลมและเบื้องหลังท่าน อย่างนี้จึงสุภาพดี
(๖) ผู้ดีย่อมเปิดหมวกเมื่อเข้าชายคาบ้านผู้อื่น หมายความว่า เมื่อจะเข้าเขตของท่านผู้ใด ต้อง แสดงความเคารพต่อเจ้าของเขตนั้น ๆ จึงเป็นการสมควรทีเดียวที่จะต้องเปิดหมวกออก
(๗) ผู้ดีย่อมเปิดหมวกในที่เคารพเช่นโบสถ์วิหารไม่ว่าแห่งศาสนาใด หมายความว่า ตามธรรมดาคนเรานี้มีความเชื่อถือในลัทธินิยมต่าง ๆ กัน แล้วแต่ความสมัครใจของตน เป็นเสรีภาพอย่างหนึ่งในการนับถือศาสนา ในลัทธินิยมเหล่านั้นย่อมมีสิ่งที่เคารพนับถือของผู้เชื่อถือจะได้ยึดถือ เป็นหลักใจเป็นที่รวมของคนทั้งหลาย จึงมีสถานที่กลางขึ้น เรียกทั่วไปในภาษาไทยว่าวัดบ้าง ศาลเจ้าบ้างหรือเรียกอนุโลมเพื่อให้เข้าใจกันได้ว่า โบสถ์บ้าง วิหารบ้าง สุเหร่าบ้าง ตามที่หมายรู้กัน สถานที่เหล่านี้เราเรียกกันออกไปอีกเช่นปูชนียสถานบ้างเจดียสถานบ้าง ตามถนัดที่จะหมายรู้ กันได้ เมื่อรวมลงกันแล้วสถานที่เหล่านี้ก็เป็นที่เคารพอย่างสูงสุดของผู้นับถือลัทธินิยมนั้น ๆ การเข้าไปในเขตบริเวณสถานที่เหล่านั้นเช่นเดียวกับสถานที่ซึ่งตนเคารพนับถือ การแสดงความเคารพนั้น มีหลายวิธี ถ้าสวมรองเท้าเมื่อจะเข้าไปในเขตนั้นต้องถอดรองเท้า ถ้าสวมหมวกต้องเปิดหมวก ถ้ากางร่มต้องลดร่ม แต่เรื่องการถอดรองเท้านี้ ถ้าสวมตามเครื่องแบบมีข้อบังคับว่าถอดไม่ได้ ถอดเป็น การแสดงความไม่เคารพ เช่นนี้ไม่ต้องถอดรองเท้าก็ได้ เพราะฉะนั้นเมื่อจะเข้าในสถานที่เคารพ ทุกแห่งควรแสดงความเคารพก่อนเข้าไป
(๘) ผู้น้อยย่อมเคารพผู้ใหญ่ก่อน หมายความว่าในการแสดงความเคารพต่อกันและกันนั้น ตามปรกติผู้น้อยต้องเคารพผู้ใหญ่ก่อนแล้วผู้ใหญ่จึงรับเคารพภายหลังเช่น เมื่อพบกันผู้น้อยต้อง แสดงความเคารพผู้ใหญ่เช่น ไหว้ก่อนแล้วผู้ใหญ่จึงรับไหว้ภายหลัง ข้อนี้หากอยู่ในเครื่องแบบ อย่างไรในที่เช่นใดต้องทำให้เหมาะแก่กาลเทศะ
(๙) ผู้ชายย่อมเคารพผู้หญิงก่อน หมายความว่าเมื่อชายหญิงได้พบกันในที่แห่งใดแห่งหนึ่ง ตามปรกติผู้ชายต้องเคารพผู้หญิงก่อน จึงจะนับว่าเป็นมรรยาทที่ดี ทั้งนี้หมายถึงสุภาพสตรีและ สุภาพบุรุษโดยทั่วไป มิใช่แก่พ่อแม่พี่ปูาน้าอาปูุย่าตายายครูบาอาจารย์ซึ่งต้องเคารพกันฐานญาติอยู่แล้ว
(๑๐) ผู้ลาย่อมเป็นผู้เคารพก่อน หมายความว่าแขกผู้ไปถึงถิ่นของท่านผู้ใด ไม่ว่าผู้นั้นจะเป็นบุคคลประเภทใด เมื่อจะลากลับฝ่ายผู้เป็นแขกต้องแสดงคารวะต่อเจ้าถิ่นโดยสถานใดสถานหนึ่ง ตามควร แก่ภาวะของตนถ้าแขกเป็นผู้น้อยกว่าก็ทำตามภาวะของผู้น้อย ถ้าแขกเป็นผู้ใหญ่กว่าก็ทำตามภาวะของผู้ใหญ่
(๑๑) ผู้เห็นก่อนโดยมากย่อมเคารพก่อน หมายความว่าในการพบปะกันในสถานที่ต่างๆเช่น ในงานชุมชน ในการพบปะกันในที่เช่นนั้น ตามปรกติผู้ที่เห็นควรแสดงความเคารพก่อน โดยควรแก่ ภาวะของตน เช่น ทักก่อน หรือ แสดงอาการอย่างใดอย่างหนึ่งให้เห็นว่ามีไมตรีกัน
(๑๒) ผู้ใดเคารพตนก่อน ควรตอบเขาทุกคน ไม่เฉยเสีย หมายความว่าในการแสดงความเคารพต่อ กันและกันนั้น ตามปรกติย่อมถือหลักว่า ผู้ไหว้ย่อมได้ไหว้ตอบ ผู้เคารพย่อมได้เคารพตอบโดยหลักนี้ เมื่อมีผู้ใดมาแสดงความเคารพต่อเรา เราต้องแสดงเคารพตอบทันที ตามปรกติธรรมเนียมไทย ผู้น้อยต้องแสดงก่อน เช่น ไหว้ก่อน เป็นต้น เป็นผู้ใหญ่ควรยกมือขึ้นไหว้ตอบผู้น้อย แต่การรับไหว้นี้จะยกสูงต่ำเพียงไรย่อมแล้วแต่ภาวะอันควร แต่บางที่อาจก้มศีรษะน้อมรับก็ได้ ส่วนธรรมเนียมตะวันตก เช่น จับมือ ผู้ใหญ่ต้องให้มือก่อนแล้วผู้น้อยจึงจับ เป็นผู้น้อยจะยื่นมือให้ผู้ใหญ่เป็นการไม่สมควร


กระทู้: สมบัติของผู้ดี
เริ่มกระทู้โดย: Sujittra ที่ 25 พ.ย. 12, 19:56
ภาคผนวก ๓ (ต่อ)

วจีจริยา การแสดงสัมมาคารวะทางวาจา
(๑) ผู้ดีย่อมไม่พูดจาล้อเลียนหลอกลวงผู้ใหญ่ หมายความว่า ตามปรกติผู้น้อยย่อมต้องเคารพ ผู้ใหญ่อยู่ทุกโอกาส แล้วพูดจาปราศรัยกับผู้ใหญ่ก็ต้องพูดเรียบร้อยเป็นสัมมาคารวะ ต้องไม่พูดจาล้อเลียนหรือหลอกลวงท่าน ดังนั้นจึงต้องพูดจาปราศรัยกับผู้ใหญ่ด้วยสัมมารวะเสมอ
(๒) ผู้ดีย่อมไม่กล่าวร้ายถึงญาติมิตรที่รักใคร่นับถือของผู้ฟัง หมายความว่า เราพูดกับใคร เราไม่ควรพูดถึงญาติมิตรที่ผู้พูดอยู่กับเรานั้นรักใคร่นับถือกันในทางเสียหาย คือไม่นินทาเพื่อนฝูงหรือญาติพี่น้องของผู้ที่พูดอยู่ด้วยให้ผู้นั้นฟัง เช่น เราพูดกับนายแดง เราไม่ควรว่าเพื่อนหรือญาติของนายแดง เป็นต้น โดยปรกติแล้วเราไม่ควรพูดถึงใคร ๆ ในทางที่เสื่อมเสีย ควรพูดถึงแต่ในทางที่ดีเท่านั้น
(๓) ผู้ดีย่อมไม่กล่าววาจาติเตียนสิ่งเคารพหรือที่เคารพของผู้อื่นแก่ตัวเขา หมายความว่าสิ่งเคารพได้แก่เจดียสถานหรือศาสนาที่เคารพได้แก่พ่อแม่ปูุย่า ตายายหรือครูบาอาจารย์ในการ สนทนาปราศรัยกันนั้น เมื่อรู้ว่าผู้นั้นถือลัทธิต่างกันเราไม่ควรพูดจาติเตียนสิ่งเคารพของเขาเช่น เราถือพุทธ เพื่อนเราถือคริสต์ เราไม่ควรติเตียนพระเยซูให้เพื่อนเราฟัง หรือพูดกับนายดาเราไม่ควร ติเตียนพ่อนายดาดังนี้เป็นต้น นี้เป็นเรื่องของจิตใจไม่ควรกระทบน้าใจกัน
(๔) ผู้ดีเมื่อจะขอทำล่วงเกินแก่ผู้ใด ย่อมต้องขออนุญาตตัวเขาก่อน เมื่อเรามีความจำเป็น จะล่วงเกินผู้อื่น เช่น เราเห็นผงหรือตัวแมลงติดอยู่บนศีรษะของผู้อื่น เรามีความปรารถนาดีจะช่วย หยิบผงหรือตัวแมลงนั้นออก ก่อนที่เราจะทำควรขอโทษเขาเสียก่อนแล้วจึงหยิบออก หรือเมื่อจะพูด ถึงเรื่องของเขาก็ต้องขอโทษเขาก่อนจึงพูด หรือแม้การอย่างอื่นก็ทำนองเดียวกัน โดยที่สุดแม้จะฟ้องใครยังต้องบอกให้ผู้ถูกฟ้องทราบก่อน ทำอย่างนี้จึงเป็นการสมควร
(๕)ผู้ดีเมื่อตนทำพลาดพลั้งแก่บุคคลใดควรออกวาจาขอโทษเสมอ หมายความว่าเมื่อเราอยู่ รวมกับคนหมู่มากเราอาจกระทบมือกระทบเท้ากันได้บ้าง เมื่อพลาดพลั้งไปเช่นนั้นก็ต้องกล่าวคา ขอโทษทุกครั้ง จึงจะเป็นการสมควร
(๖) ผู้ดีเมื่อผู้ใดได้แสดงคุณต่อตนอย่างไร ควรออกวาจาขอบคุณเขาเสมอ หมายความว่า เมื่อมี ผู้หนึ่งผู้ใดช่วยเหลือเราด้วยประการใด ๆ ก็ตามในทางที่ดีนั้น เราต้องกล่าวคำขอบคุณท่าน เช่น เขาให้ที่นั่งเรา เขาให้ทางเรา หรือเขาเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่เราอย่างไร เราต้องกล่าวคำขอบคุณเขา ทุกครั้ง จึงจะเป็นการสมควร

มโนจริยา หมายถึงการแสดงความมีน้าใจอันดีงามเป็นสัมมาคารวะ
(๑) ผู้ดีย่อมเคารพยาเกรงบิดามารดาและอาจารย์ หมายความว่าบุคคลผู้สร้างชีวิตของเรา เท่าที่เราเกิดขึ้นมานี้ก็มีเพียงสองคนเท่านั้น ท่านทั้งสองคือพ่อกับแม่นี้เป็นผู้มีความรักเราจริงเป็นผู้สร้างชีวิตและร่างกายเราโดยแท้ ถัดจากนั้น ก็มีบุคคลที่มีคุณควรเคารพ คือ ครูบาอาจารย์ ครูบาอาจารย์ เป็นผู้สร้างชีวิตเราในฝ่ายวิชาความรู้ วิชาความรู้ที่มีอยู่ในตัวเรานี้ตั้งต้นแต่อ่านเขียนได้คิดเลขได้ ตลอดถึงวิชาทามาหากินได้นี้ ก็เพราะครูบาอาจารย์ บุคคลเหล่านี้เราต้องเคารพยำเกรง ไม่ว่า ในที่ใด ๆ ไม่ว่าในเวลาใด ๆ ไม่ว่าในเรื่องใด ๆ ทั้งสิ้น แม้ว่าท่านผู้นั้นจะอยู่ในภาวะอย่างไรก็ตามเรา มีทางเดียวที่จะพึงปฏิบัติต่อท่าน คือมีความเคารพยำเกรงในท่านเท่านั้น อย่างนี้จึงสมควร
(๒) ผู้ดีย่อมนับถือนอบน้อมต่อผู้ใหญ่ หมายความว่า ผู้ใหญ่คือบุคคลผู้มีความเจริญกว่าเรา กำหนดได้เป็น๓ คือ ๑.เจริญโดยชาติ หมายความว่าเกิดในสกุลที่ประชาชนยกย่องนับถือว่าสูงศักดิ์เช่น ตระกูลกษัตริย์ บุคคลที่เกิดในตระกูลเช่นนี้ เช่น เจ้าฟ้า หรือเจ้านายชั้นรองลงมาก็ดี แม้ทรงมีอายุน้อย มีอายุน้อยกว่าเรา เราก็ควรเคารพท่านเป็นต้น ๒.เจริญโดยวัย หมายความว่าเกิดก่อนเรา มีอายุมากกว่าเรา แม้มีศักดิ์ต่ากว่าเราก็ต้องเคารพท่าน ๓.เจริญโดยคุณ หมายเอาบุคคลผู้มีคุณธรรมสูง เป็นภิกษุสามเณรหรือบุคคลอื่น เช่น ครูบาอาจารย์ ท่านเหล่านี้ชื่อว่า ผู้ทรงคุณ เราควรเคารพท่าน หรือถือหลักง่าย ๆ ว่าเป็นผู้น้อยต้องแสดงความนอบน้อมต่อผู้ใหญ่
(๓) ผู้ดีย่อมมีความอ่อนหวานต่อผู้น้อย หมายความว่าคนที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้ใหญ่นั้น คือผู้ที่มีคุณธรรม คือมีเมตตากรุณาเป็นหลักใจ เห็นผู้ที่น้อยกว่าตนไม่ว่าสถานใดสถานหนึ่งแล้วต้องไม่แสดงอาการ ข่มขู่ให้ตกใจกลัว หรือไม่แสดงอาการเอารัดเอาเปรียบ ต้องแสดงความสงสารเอ็นดูปรานี โดยถือ หลักว่าเป็นผู้ใหญ่ต้องแสดงความเมตตากรุณาต่อผู้น้อย จึงทำให้ผู้น้อยเคารพรักด้วยน้าใสใจจริง ไม่ใช่จำใจต้องเคารพไปตามหน้าที่เท่านั้น


กระทู้: สมบัติของผู้ดี
เริ่มกระทู้โดย: Sujittra ที่ 25 พ.ย. 12, 19:59
ขอบคุณสำหรับกระทู้ดีๆอย่างกระทู้นี้ค่ะ
อยากจะให้กระทรวงศึกษาธิการรื้อฟื้นการสอนมารยาทขึ้นมาอีกครั้ง       จะเห็นได้ว่า หลักของหนังสือสมบัติผู้ดี คือสอนให้วางตัวงดงาม ทั้งกาย วาจา และใจ
การอบรมให้งามได้ทั้ง 3 อย่างต้องอาศัยความสำรวม  อดกลั้น  ยึดถือสิ่งที่ถูกต้องดีงาม  ไม่ว่าจะคิดอะไร พูดอะไร ลงมือทำอะไร ต้องกลั่นกรองเสียก่อนว่า ถูกไหม ควรไหม และดีไหม
ตัวอย่างที่คุณ sirinawadee เล่ามาข้างล่างนี้ แสดงว่ามารยาทในหนังสือเล่มนี้เป็นสิ่งที่ถูกลืมเลือนไปจากความเข้าใจของคนไทยมากแล้ว

ในพันทิปไม่นานมานี้ก็มีกระทู้แนะนำบ่นว่า เห็นแม่ลูกในซุปเปอร์มาร์เก็ต คุณแม่แกะขนมให้ลูกกินทั้งที่ยังไม่จ่ายเงิน ไม่น่าเชื่อว่ามีแม่ๆ จำนวนมากค่ะ บอกว่าไม่เห็นจะเป็นไรเลย เดี๋ยวชั้นก็ไปจ่าย คนไม่มีลูกไม่เข้าใจหรอก...  ???


ใครเคยแกะนมแกะขนมให้ลูกในห้างก่อนจ่ายเงินบ้าง  (http://topicstock.pantip.com/family/topicstock/2012/09/N12666540/N12666540.html)


ขอบคุณท่านเทาชมพูครับที่ชม ทำให้มีกำลังใจ
กำลังจะร่วมมือกับคณะผู้ใหญ่บางคณะเพื่อเร่งรื้อฟื้น้เรื่องที่ท่านเทาชมพูเสนอแนะ ถ้ามีความคืบหน้าจะมาเล่าให้ทราบครับ


กระทู้: สมบัติของผู้ดี
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 25 พ.ย. 12, 22:17
จะรอฟังด้วยความสนใจค่ะ   เรื่องนี้คงไม่เห็นผลในหนึ่งหรือสองปี   แต่ก็ดีกว่าไม่ทำ

มีข้อเสนอให้พิจารณาว่า มารยาทในสมบัติผู้ดีเกิดในสังคมยุคเก่าที่"ส่วนรวม"เป็นใหญ่  พึ่งพาอาศัยกัน จึงสร้างวิธีปฏิบัติตัวเพื่ออยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุข ถ้อยทีถ้อยอาศัย  อดออมถนอมใจกัน   และระมัดระวังไม่บาดหมางกัน     คนสมัยก่อนถึงอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุขมากกว่าเดี๋ยวนี้   หัวบ้านท้ายบ้านรู้จักกันหมด   มีอะไรเล็กๆน้อยๆพอแบ่งปันกันได้ก็แบ่งกัน   ผู้น้อยก็เคารพผู้ใหญ่  เพราะหวังว่าทำตัวให้ผู้ใหญ่เมตตาแล้วชีวิตจะไปได้ดีงาม     นี่คือสมบัติผู้ดีที่ไม่จำเป็นต้องเกิดมาใหญ่โตสูงส่ง เป็นชาวบ้านธรรมดาก็เป็นกันได้

แต่ปัจจุบัน วิถีชีวิตเปลี่ยนไปแล้ว  "ปัจเจกบุคคล" ใหญ่กว่าส่วนรวม   อัตตาของแต่ละคนกลายเป็นสิ่งสำคัญที่สุด     ทุกคนต่างคนต่างอยู่  พึ่งตัวเองเป็นหลัก  ไม่มีใครพึ่งใคร  ไม่มีใครรู้สึกไว้ใจใครได้  ทุกคนกลัวคนอื่นเอาเปรียบ   จึงกลายเป็นว่าต่างคนต่างไม่แยแสกัน   ขอเอาตัวเองรอดไว้ก่อน   จะคิดอะไรก็คำนึงถึงตัวเองเป็นหลัก  คนอื่นๆไม่มีความหมาย    พอคิดอย่างนี้การเหยียบย่ำคนอื่นเพื่อส่งตัวเองให้สูงขึ้นก็ตามมา   ความก้าวร้าวกลายเป็นชัยชนะเหนือคนที่ปกป้องตัวเองไม่ได้     สมบัติผู้ดีอาจกลายเป็นเรื่องที่ไม่เข้าใจกันว่าจะทำไปทำไม ในเมื่อไม่ทำให้ตัวเองได้อะไรมากกว่าคนอื่น

ในเมื่อสังคมแวดล้อมเป็นแบบนี้ ก็ฝากคุณสุจิตราช่วยคิดด้วยค่ะ   ว่าจะสอนเยาวชนให้เห็นประโยชน์ของสมบัติผู้ดีได้อย่างไร   ในเมื่อเขาอาจจะย้อนถามว่า ทำไปแล้วมันช่วยให้เขา "ได้" อะไรมากกว่าคนอื่นตรงไหน


กระทู้: สมบัติของผู้ดี
เริ่มกระทู้โดย: Sujittra ที่ 26 พ.ย. 12, 00:05
^
เห็นด้วยอย่างยิ่งในทุกประโยคที่ท่านเทาชมพูกล่าวมาทั้งหมดเลยครับ
 
คนที่เห็นภาพอย่างนี้ได้ ผมคิดว่าจะต้องเป็นผู้ใหญ่(ไม่ใช่คนสูงอายุ)ที่สนใจ "สังคม" อย่างมาก จึงสามารถเห็นพลวัตรดังกล่าวได้อย่างทะลุปรุโปร่ง

แล้วทางออกสังคมจะเป็นอย่างไร?


กระทู้: สมบัติของผู้ดี
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 26 พ.ย. 12, 18:57
คำถามของคุณสุจิตรากว้างมากค่ะ  ขอเชิญท่านอื่นออกความเห็นด้วย
ดิฉันคิดว่าสังคมทุกสังคมก็ขับเคลื่อนไปด้วยตัวของมันเอง     ถ้าหาทางออกไม่พบ  ทางออกก็จะมาหาเองในวันหนึ่ง เพราะทุกอย่างไม่หยุดนิ่งอยู่แล้ว    เพียงแต่ว่าทางออกนั้นจะทำให้สังคมดีขึ้นหรือแย่ลงเท่านั้น เมื่อชั่งน้ำหนักส่วนดีส่วนเสียกันแล้ว
ถ้าจะฟื้นฟูสมบัติผู้ดีขึ้นมาใหม่      อย่างหนึ่งที่ควรเตรียมคำตอบไว้ - ก็อย่างที่บอกข้างบนนี้ละค่ะ -คือผู้ใหญ่ต้องตอบเด็กให้ได้ว่า เขาปฏิบัติตัวตามสมบัติผู้ดีแล้ว เขา"ได้" อะไรขึ้นมา  มากกว่าไม่ปฏิบัติตัว
เพราะสังคมทุนนิยม ที่เรากำลังก้าวเข้าไปเต็มตัว  เป็นสังคมที่ขึ้นกับคำว่า "ได้"  มากกว่าคำว่า "ดี"  เฉยๆ


กระทู้: สมบัติของผู้ดี
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 26 พ.ย. 12, 20:44
เหตุเกิดบนรถรางชั้นหนึ่ง

“ขอประทานโทษขอรับใต้เท้า กระผมซุ่มซ่ามแท้ที่เดินไปโดนเท้าของท่าน”
“มิเป็นไรมิได้ขอรับ กระผมก็ต้องขอประทานโทษใต้เท้าด้วย ที่เผลอเอาขาไปเกะกะทาง”

เหตุเกิดบนรถรางชั้นสอง

“อุวะ ไม่มีตาหรืออย่างไร จึงได้เดินมาเหยียบตีนข้า”
“แล้วกัน ก็ตาข้าไม่ได้อยู่ที่ตีน จะได้เห็นทุกอย่างที่ขวางทาง”

จากดุสิตสมิต ตีพิมพ์ในสมัยรัชกาลที่๖
เอามาให้อ่านแก้เครียดครับ


กระทู้: สมบัติของผู้ดี
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 26 พ.ย. 12, 20:57
อ่านแล้วเครียดเลย


กระทู้: สมบัติของผู้ดี
เริ่มกระทู้โดย: พวงแก้ว ที่ 26 พ.ย. 12, 21:18
เมื่อเป็นเด็กไปไหนมาไหนกับพ่อ แม่ จะถูกกำชับเรื่องมารยาทที่ต้องระวัง...
เช่น  เป็นเด็กต้องเคารพผู้ใหญ่ ต้องสุภาพอ่อนน้อม ไปลามาไหว้ รู้จักเกรงใจผู้อื่น
      
      รู้จักเอิ้อเฟื้อเผื่อแผ่ โอบอ้อมอารี  เมตตาสงสารต่อผู้ด้อยโอกาส รู้จักแบ่งปัน...

      สิ่งเหล่านี้เป็นมารยาทพื้นฐานที่ผู้ใหญ่ในยุคนั้นจะเน้นย้ำ ให้เด็กๆปฏิบัติ จนฝังใจ

บัดนี้เวลาล่วงเลยไปหลายสิบปี ค่านิยมเหล่านี้ไม่เหลือให้เห็นสักเท่าไหร่

      เมื่อลูกยังเล็ก พาไปโรงเรียนก็จะเห็นพ่อแม่ที่เอาใจใส่ลูกเรื่องการเรียน ๆๆๆๆๆ
มีทางไหนจะทำคะแนนได้สูงที่สุด...ไม่ต้องสนใจคนอื่นเอาตัวเองให้รอดก่อน การแข่ง
ขัน เริ่มเข้ามาสู่ชีวิตเด็กๆตั้งแต่ชั้นประถม  แม้วัยอันอ่อนเยาว์จะทำให้เด็กๆไม่คิดอะไรมาก
แต่พ่อ แม่ ก็เร่งเด็กๆเพราะกลัวจะไม่ทันเพื่อน หรือล้าหลังกว่าเพื่อนๆ

      พอเข้าชั้นมัธยม เด็กเริ่มเบื่อ และอยากเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น แต่ก็ยังไม่พ้นการแข่งขัน
ชีวิตเริ่มเร่งรัด เรียนกวดวิชาเอย แข่งกันทำคะแนนสูงๆ เข้าไว้ ไม่มีอะไรสำคัญกว่าความเจริญก้าวหน้าของตนเอง
ส่วนเพื่อนนั้นก็คบเฉพาะคนที่มีทุกสิ่งใกล้เคียงกับตัวเอง แบ่งกลุ่ม แบ่งชนชั้น

      พอเข้ามหาวิทยาลัยก็เรียน และทำกิจกรรมตามที่ชอบ ...พอทำงานก็แข่งกันว่าใครจะเจริญก้าวหน้าได้มากและเร็วกว่ากัน
พอแต่งงาน มีครอบครัวก็แข่งกันว่าใครจะมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจมากกว่ากัน แบ่งแยกสังคม แต่ไม่จริงใจ ไม่เชื่อใจ ไม่ไว้ใจ
มีลูกก็แข่งกันว่าลูกใครจะได้เข้าโรงเรียนที่มีชื่อเสียงมากกว่ากัน

      นี่เป็นชีวิตของคนชั้นกลางขึ้นไป ในกรุงเทพและเมืองใหญ่ๆ  การแข่งขันคือตัวกำหนดชีวิต ....

แล้วจะเอามิตรภาพ ความเกรงใจ ความเอื้อเฟื้อมาใส่ตรงไหน ....มันแทบไม่มีช่องว่างให้เติมสิ่งนี้ลงไป
เพราะทุกคนต้องทำเพื่อความเจริญก้าวหน้าของตนเอง  พึ่งใครไม่ได้ ...

      ความเปลี่ยนแปลงในสังคมทำให้ระเบียบชีวิตในอดีตมลายหายไป

      เมื่อก่อนจำได้ว่าประตูรั้วบ้านปิดไว้เฉยๆ ไม่เคยต้องใส่กลอน ใครมาก็กดกริ่งเรียกไม่ผลีผลามเข้ามาในบ้าน
ทั้งที่จะเข้ามาก็ง่ายนิดเดียว แต่ไม่เคยมีใครเข้ามาเลย.... แต่เดี๋ยวนี้แม้กลางวัน สว่างๆ ก็ต้องปิดประตูใส่กลอน
จะออกไปพบใครก็ต้องดูให้เห็นก่อนว่ารู้จักไหม ไม่งั้นอาจไม่รอด...

      การแสดงตัวด้วยคุณสมบัติผู้ดีอย่างสมัยก่อน อาจทำให้เรากลายเป็นคนอ่อนต่อโลกยุคนี้ไปเลย เผลอๆ หมดตัว....
เห็นผู้ใหญ่หลายท่าน พลาดเพราะเหตุนี้มาแล้ว รวมทั้งดิฉันด้วย เมตตาและหยิบยื่นความช่วยเหลือให้เด็กสมัยนี้
หวังว่าจะช่วยให้เขาตั้งตัวได้เร็วขึ้น เป็นการให้อย่างบริสุทธิ์ใจโดยแท้ แต่การกลับเป็นว่า เธอหวังจะได้มากกว่าที่เธอควรได้

       สุดท้ายต้องเชิญออกไปจากชีวิต แล้วอวยพรให้เธอไปมีชีวิตที่ดีกว่านี้....แล้วก็ต้องบอกตัวเองว่า อย่าคิดช่วยใครอีกเลย
เจ็บตัวเปล่าๆ เฮ้อ...  

 


    
  
    
    
  


กระทู้: สมบัติของผู้ดี
เริ่มกระทู้โดย: Sujittra ที่ 26 พ.ย. 12, 23:38
คำถามของคุณสุจิตรากว้างมากค่ะ  ขอเชิญท่านอื่นออกความเห็นด้วย
ดิฉันคิดว่าสังคมทุกสังคมก็ขับเคลื่อนไปด้วยตัวของมันเอง     ถ้าหาทางออกไม่พบ  ทางออกก็จะมาหาเองในวันหนึ่ง เพราะทุกอย่างไม่หยุดนิ่งอยู่แล้ว    เพียงแต่ว่าทางออกนั้นจะทำให้สังคมดีขึ้นหรือแย่ลงเท่านั้น เมื่อชั่งน้ำหนักส่วนดีส่วนเสียกันแล้ว
ถ้าจะฟื้นฟูสมบัติผู้ดีขึ้นมาใหม่      อย่างหนึ่งที่ควรเตรียมคำตอบไว้ - ก็อย่างที่บอกข้างบนนี้ละค่ะ -คือผู้ใหญ่ต้องตอบเด็กให้ได้ว่า เขาปฏิบัติตัวตามสมบัติผู้ดีแล้ว เขา"ได้" อะไรขึ้นมา  มากกว่าไม่ปฏิบัติตัว
เพราะสังคมทุนนิยม ที่เรากำลังก้าวเข้าไปเต็มตัว  เป็นสังคมที่ขึ้นกับคำว่า "ได้"  มากกว่าคำว่า "ดี"  เฉยๆ

คำถามที่อาจารย์ถามขึ้นผมคิดว่าสนใจ. ผมจะขออนุญาตลองตอบคำถามของอาจารย์นะครับ

1. ถ้าสังคมนั้นเป็นสังคมที่ให้ความนับถือ "สมบัติของผู้ดี" ถ้าเขาปฏิบัติตามสมบัติผู้ดีแล้ว สิ่งที่เขาจะได้คือ การไม่ถูกรังเกียจหรือไม่ถูกดูแคลนหรือไม่ถูกตำหนิจากคนรอบข้าง รวมทั้งหน้าที่การเงินก็ย่อมที่จะเจริญ เพราะสังคมนั้นคงไม่อยากให้ผู้ที่ไม่มีสมบัติของผู้ดีเป็นผู้นำองค์กรหรือหน่วยงานถ้ามีคนที่มีความสามรถใกล้เคียงกันแต่มีสมบัติของผู้ดีมากกว่า ลองคิดง่ายๆดูก็ได้นะครับว่าเราอยากให้ลูกของเราปฏิบัติอย่างไรในบ้านของเรา อย่างมีหรือไม่มีสมบัติผู้ดี? ผู้มีอำนาจแต่งตั้งผู้นำองค์กรก็อยากที่จะให้ผู้ที่ตนจะแต่งตั้งมีสมบัติของผู้ดี เพราะถ้าได้คนที่ไม่มีสมบัติของผู้ดี สุดท้ายแล้วคนที่แต่งตังอาจถูกผู้ที่ตนแต่งตั้งถอนหงอกเอาได้
2. ถ้าสังคมนั้นเสื่อมถอยในการให้ความนับถือต่อ "สมบัติของผู้ดี" การที่เราปฏิบัติตามสมบัติของผู้ดีก็ยิ่งเป็นโอกาสทองเพราะจะทำให้ยิ่งเกิดความแตกต่างอย่างเห็นชัดเจนระหว่างคนสองกลุ่มนี้ เพียงแต่ว่าเราต้องอดทนอดกลั้นต่อเรื่องเล็กน้อยท่ี่อยากจะได้เพราะนั่นคือการ "ให้" แก่ผู้อื่น แต่มิได้หมายความว่าเราจะต้องประพฤติตนแบบพระเวสสันดร (ซึ่งผมไม่เคยเห็นด้วยตั้งแต่เล็ก)
ที่จริงแล้วยังประเด็นและแง่มุมปลีกย่อยอีกมากที่จะต้องถกเพิ่มเติม
แต่ตอนนี้มึนศีรษะมากเพราะใกล้จะเที่ยงคืนแล้ว
ส่วนประเด็นเรื่องพลวัตรของสังคมที่อาจารย์ได้ล่าวถึงนั้นผมขออนุญาตแสดงความเห็นเพิ่มเติมในวันพรุ่งนี้ครับเพราะน่าสนใจ
ราตรีสวัสดิ์ครับ


กระทู้: สมบัติของผู้ดี
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 27 พ.ย. 12, 07:42
เรื่องชวนหัวในรถราง ผมไม่ได้ต้องการจะให้คิดไปว่าสมบัติผู้ดีจะมีเฉพาะคนที่มีฐานะทางสังคม  คนจนคือไพร่ แม้แต่มารยาทก็ยังหามิได้

คนญี่ปุ่น ไม่ว่าจะเป็นบุคคลระดับชั้นหนึ่งหรือชั้นสอง จะมีกิริยามารยาทไม่แตกต่าง ไม่ว่าจะแสดงออกต่อคนชาติเดียวกันเองหรือคนต่างชาติ
ญี่ปุ่นเป็นชนชาติที่มีวัฒนธรรมสูง เป็นผู้ดี ทั้งที่เศรษฐกิจบีบรัดตัว ต้องแข่งขันแบบเอาเป็นเอาตายเหมือนๆกัน แต่ การหล่อหลอมจากระบบศึกษาแต่แรกไปโรงเรียน ทำให้คนญี่ปุ่นเป็นคนที่มีคุณภาพเช่นนั้นทั้งประเทศ

การศึกษาของชาติ ไม่ว่าจะชาติใดก็ตาม จะต้องทำให้เยาวชนของชาติเติบโตขึ้นมาเป็นผู้ใหญ่มีความรู้สึกนึกคิด มีวัฒนธรรมที่ดีร่วมกัน
การศึกษาของไทยที่ผ่านมา ทำให้คนไทยผิดแผกแตกต่าง เพราะความไร้โอกาสทางการศึกษา หรือ เพราะเหตุอันเกิดจากคุณภาพของระบบการศึกษา

ผมไม่เข้าใจว่าทำไมกระทรวงศึกษาธิการจึงได้ตัดหลักสูตรพวกหน้าที่พลเมืองและศีลธรรม ซึ่งมีเรื่องสมบัติผู้ดีนี้ออกไป ทั้งที่ควรจะพัฒนาอยู่เสมอให้สอดคล้องกับกาลสมัย เพื่อบ่มเพาะให้เด็กตั้งแต่ในวัยอนุบาลและประถมอย่างเป็นสาระสำคัญ และทั่วถึงทั้งประเทศด้วยซ้ำ
เมือตัดออกไป ความรู้สึกนึกคิดของเด็กก็เติบโตขึ้นโดยอิทธิพลฝ่ายเดียวจากวัฒนธรรมของพ่อแม่ ที่ไม่ค่อยจะมีเวลาให้ลูก และพื้นฐานหลากหลายตามเชื้อชาติ ท้องถิ่น ศาสนาและสิ่งแวดล้อม กลายเป็นไทยพันธุ์ใหม่ทุกวันนี้ที่คนรุ่นผมได้แต่ปลง

วิธีแก้ ก็ต้องกลับไปให้ความสำคัญกับการศึกษาเรื่องนี้แก่เด็กดังที่เคยทำในอดีต ซึ่งผมคิดว่าเป็นวิธีเดียวที่จะหล่อหลอมให้เยาวชน เติบโตขึ้นเป็นคนดีที่มีคุณภาพ และมีสำนึกของความเป็นไทยร่วมกันทั้งชาติได้



กระทู้: สมบัติของผู้ดี
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 27 พ.ย. 12, 09:40
"สมบัติผู้ดี" ถูกลบออกจากตำราเรียนสมัยไหนก็จำไม่ได้แล้ว    ไม่ทราบเหตุผล แต่พอจะตอบตามหลักเกณฑ์การร่างหลักสูตรได้ว่า อะไรก็ตามในหลักสูตรเก่าที่ถูกตัดออกในหลักสูตรใหม่   คือสิ่งที่ถูกตัดสินว่าไม่สำคัญ   เหตุผลของความไม่สำคัญมีได้หลากหลายเช่นไม่จำเป็น  ไม่สอดคล้องกับสภาพสังคม หรือซ้ำกับวิชาอื่นๆ  ฯลฯ

ความไม่สำคัญ มี 2 ระดับ  คือ
1  ระดับไม่สำคัญเอามากๆ ก็ถูกตัดให้หายวับไปเลย เหมือนไม่เคยมีอยู่  
2  ระดับสำคัญน้อยคือคณะกรรมการร่างฯยังมีเยื่อใยอยู่บ้าง  ก็ถูก "ยุบ" รวมไปอยู่ในเนื้อหาของวิชาอื่นๆที่คิดว่าพอจะรวมกันเข้ามาได้   อย่างหลังนี้ก็เช่นวิชาวรรณคดี   และประวัติศาสตร์     มีมากบ้างน้อยบ้างตามเนื้อหาหลักสูตรในแต่ละยุค  
เรื่องวิชาประวัติศาสตร์นี่ก็เหมือนกันค่ะ  เคยสอนนศ.ปริญญาโท  ขอให้ช่วยกันลำดับพระนามพระมหากษัตริย์ 9 รัชกาล และถามว่าแต่ละพระองค์ทรงเกี่ยวข้องกันทางสายพระโลหิตอย่างไร    99% ในห้องนั่งงง ตอบไม่ถูก  ช่วยกันลุ้นกันไปมาอยู่ประมาณ 20 นาที ถึงช่วยกันปะติดปะต่อออกมาได้    สังเกตว่าคนที่พอนึกออกคือจบด้านสังคมศาสตร์  แต่ถ้าจบสายวิทย์มาจะนึกไม่ออกเลย

เข้าใจว่าปัจจุบันจะเน้นวิชาทางสายวิทยาศาสตร์มากกว่าสายสังคมศาสตร์    เพื่อหาชั่วโมงให้ลงตัว  จึงมีการหั่นวิชาที่คิดว่าไม่จำเป็นลงไปเรื่อยๆ


กระทู้: สมบัติของผู้ดี
เริ่มกระทู้โดย: Sujittra ที่ 27 พ.ย. 12, 22:33
เรื่องชวนหัวในรถราง ผมไม่ได้ต้องการจะให้คิดไปว่าสมบัติผู้ดีจะมีเฉพาะคนที่มีฐานะทางสังคม  คนจนคือไพร่ แม้แต่มารยาทก็ยังหามิได้

คนญี่ปุ่น ไม่ว่าจะเป็นบุคคลระดับชั้นหนึ่งหรือชั้นสอง จะมีกิริยามารยาทไม่แตกต่าง ไม่ว่าจะแสดงออกต่อคนชาติเดียวกันเองหรือคนต่างชาติ
ญี่ปุ่นเป็นชนชาติที่มีวัฒนธรรมสูง เป็นผู้ดี ทั้งที่เศรษฐกิจบีบรัดตัว ต้องแข่งขันแบบเอาเป็นเอาตายเหมือนๆกัน แต่ การหล่อหลอมจากระบบศึกษาแต่แรกไปโรงเรียน ทำให้คนญี่ปุ่นเป็นคนที่มีคุณภาพเช่นนั้นทั้งประเทศ

การศึกษาของชาติ ไม่ว่าจะชาติใดก็ตาม จะต้องทำให้เยาวชนของชาติเติบโตขึ้นมาเป็นผู้ใหญ่มีความรู้สึกนึกคิด มีวัฒนธรรมที่ดีร่วมกัน
การศึกษาของไทยที่ผ่านมา ทำให้คนไทยผิดแผกแตกต่าง เพราะความไร้โอกาสทางการศึกษา หรือ เพราะเหตุอันเกิดจากคุณภาพของระบบการศึกษา

ผมไม่เข้าใจว่าทำไมกระทรวงศึกษาธิการจึงได้ตัดหลักสูตรพวกหน้าที่พลเมืองและศีลธรรม ซึ่งมีเรื่องสมบัติผู้ดีนี้ออกไป ทั้งที่ควรจะพัฒนาอยู่เสมอให้สอดคล้องกับกาลสมัย เพื่อบ่มเพาะให้เด็กตั้งแต่ในวัยอนุบาลและประถมอย่างเป็นสาระสำคัญ และทั่วถึงทั้งประเทศด้วยซ้ำ
เมือตัดออกไป ความรู้สึกนึกคิดของเด็กก็เติบโตขึ้นโดยอิทธิพลฝ่ายเดียวจากวัฒนธรรมของพ่อแม่ ที่ไม่ค่อยจะมีเวลาให้ลูก และพื้นฐานหลากหลายตามเชื้อชาติ ท้องถิ่น ศาสนาและสิ่งแวดล้อม กลายเป็นไทยพันธุ์ใหม่ทุกวันนี้ที่คนรุ่นผมได้แต่ปลง

วิธีแก้ ก็ต้องกลับไปให้ความสำคัญกับการศึกษาเรื่องนี้แก่เด็กดังที่เคยทำในอดีต ซึ่งผมคิดว่าเป็นวิธีเดียวที่จะหล่อหลอมให้เยาวชน เติบโตขึ้นเป็นคนดีที่มีคุณภาพ และมีสำนึกของความเป็นไทยร่วมกันทั้งชาติได้



เห็นด้วยคุณลุงเนาวรัตน์อย่างยิ่งยิ่ง

สมบัติของผู้ดี มิใช่สมบัติของคนรวย ดังนั้นคนจนก็มีสมบัติผู้ดีได้ ถ้ารู้จักกาละเทศะ ให้เกียรติแก่คน สถานที่และโอกาส เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่ผู้ที่อ่อนแอกว่า ไม่รุกรานหรือรบกวนผู้อื่น
และอยากจะบอกเพิ่มเติมว่า (ทั้งที่ไม่ค่ยกล้าเพราะคงมีคนจำนวนมากที่ไม่เห็นด้วย) สมบัติของผู้ดี มิใช่สมบัติของคนดี นั่นคือ ผู้ที่มีสมบัติผู้ดี(ซึ่งคงไม่ครบทั้งหมด)มิใช่ว่าจะต้องเป็นคนดี ขณะเดียวกันคนดีอาจไม่มีสมบัติผู้ดีครบถ้วนก็ได้
ผมเพียงพยายามที่จะตอบคำถามของท่านเทาชมพูว่า ในโลกปัจจุบันที่มีความเป็นส่วนตัวหรือส่วนตัวเป็นใหญ่ รวมทั้งเป็นแห่งทุนนิยมนั้น สมบัติของผู้ดีก็ยังคงมีความจำเป็นอยู่เสมอมาและตลอดไป นี่คือเหตุผลที่เด็กรุ่นใหม่ต้องได้รับการฉุกให้คิด
พระท่านว่า อกาลิโก


กระทู้: สมบัติของผู้ดี
เริ่มกระทู้โดย: Sujittra ที่ 27 พ.ย. 12, 23:23
ลองดูตัวอย่างของความไม่รู้จักกาละเทศะของดาราดัง

http://www.manager.co.th/Entertainment/ViewNews.aspx?NewsID=9550000144632


กระทู้: สมบัติของผู้ดี
เริ่มกระทู้โดย: Sujittra ที่ 27 พ.ย. 12, 23:36
ก่อนนอนขอทำการบ้านต่อนะครับ ภาคผนวกที่ ๔

ผนวก ๔ ผู้ดีย่อมมีกิริยาเป็นที่รัก
ข้อนี้หมายความว่า การแสดงกิริยาอาการต่าง ๆ เช่น การยืน เดิน นั่งนอน หรือพูดจาปราศรัย หรือ การแสดงน้าใจ ต้องแสดงในทางที่ส่อให้เห็นว่าน่ารักน่าเคารพน่านับถือบูชา จึงเป็นการสมควร

กายจริยา คือการแสดงออกทางกาย เช่น การยืน เดิน นั่ง นอน ที่น่ารักใคร่น่าพอใจ
(๑) ผู้ดีย่อมไม่ฝ่าฝืนเวลานิยม คือ ไม่ไปใช้กิริยายืนเมื่อเขานั่งกับพื้น และไม่ไปนั่งกับพื้นเมื่อเวลา เขายืนเดินกัน หมายความว่าเมื่อเราอยู่รวมในหมู่คนหรือในชุมนุมชน ไม่ว่าบุคคลเหล่านั้นจะเป็นเช่นไร เมื่อคนทั้งหลายนั่งอยู่บนพื้นราบ เราเข้าไปยังที่นั่น ต้องนั่งเช่นเดียวกับเขา เมื่อจะผ่านไปต้องเดินเขาหรือคลานไป ไม่ควรเดินเทิ่ง ๆ ผ่านไป เมื่อคนทั้งหลายนั่งอยู่บนเก้าอี้เราเข้าไปยังที่นั้น ต้องนั่งเก้าอี้เช่นเดียวกับเขา เมื่อจะผ่านไปต้องเดินก้มหลังผ่านไป เมื่อคนทั้งหลายยืนอยู่เราเข้าไป ณ ที่นั้นต้องยืนเช่นเดียวกับเขา เมื่อจะผ่านไป ต้องเดินหลีกไป ถ้าเข้าในที่ปูชนียสถาน เช่น ในโบสถ์ พึงกราบพระด้วยเบญจางคประดิษฐ์อย่างนี้จึงสมควร
(๒) ผู้ดีย่อมไม่ไปนั่งนานเกินสมควรในบ้านของผู้อื่น หมายความว่า เมื่อไปหาท่านผู้ใดด้วยธุระอย่างไร เมื่อเสร็จธุระแล้วต้องรีบลากลับ ไม่ควรนั่งอยู่นานเกินไป นอกจากผู้ที่คุ้นเคยใกล้ชิด สนิทสนมกัน
(๓) ผู้ดีย่อมไม่ทำกิริยารื่นเริงเมื่อเขามีทุกข์ หมายความว่า เมื่อไปในการศพ ไม่ควรแสดงกิริยา รื่นเริงหรือตลกคะนองสรวลเสเฮฮา พึงแสดงอาการสงบ ปลงธรรมสังเวชตามควร
(๔) ผู้ดีย่อมไม่ทำกิริยาโศกเศร้าเหี่ยวแห้งในที่ประชุมรื่นเริง หมายความว่า เมื่อไปในงานรื่นเริง เช่น งานแต่งงาน หรืองานฉลองอื่น ๆ ไม่พึงแสดงอาการโศกเศร้าหงอยเหงาเจ่าจุกให้ปรากฏ แต่ควรแสดงอาการรื่นเริง ยิ้มแย้มแจ่มใสโดยควรแก่ภาวะของตนจึงเป็นการสมควร
(๕) ผู้ดีเมื่อไปสู่ที่ประชุมการรื่นเริงย่อมช่วยสนุกชื่นบานให้สมเรื่อง หมายความว่า เมื่อไปในงาน รื่นเริง เช่น งานวันเกิดหรืองานปีใหม่ หรืองานฉลองใด ต้องสนุกสนานในที่ควรสนุกสนานตาม สมควร
(๖) ผู้ดีเมื่อเป็นเพื่อนเที่ยวย่อมต้องกลมเกลียวและร่วมลำบากร่วมสนุก หมายความว่า ถ้าไปกันหลายคนก็พึงมีความกลมเกลียวกันลำบากก็ลำบากด้วยกันสนุกก็สนุกด้วยกัน ต่างคนต่างช่วยกันทำกิจที่ควรทำตามความสามารถของตน แสดงความร่วมสุขร่วมทุกข์กันตลอดไป ดังนี้ การเที่ยวเตร่ จึงจะสนุกสนานตามควร
(๗) ผู้ดีเมื่อตนเป็นเจ้าของบ้าน ย่อมต้องต้อนรับแขกและเชื้อเชิญแขกไม่เพิกเฉย หมายความว่า ผู้เป็นเจ้าของบ้านหรือเจ้าถิ่น ต้องต้อนรับแขกผู้มาถึงบ้านหรือถิ่นของตนด้วยความยินดี ไม่ว่า แขกนั้นจะเป็นอย่างไร การต้อนรับนี้แยกออกได้เป็น ๒ วิธี
วิธีที่ ๑ ต้อนรับด้วยเครื่องต้อนรับต่าง ๆ เช่น น้าร้อน น้าเย็น หรือด้วยข้าวปลาอาหาร หรือด้วย สิ่งอื่น ตามความสามารถของเจ้าถิ่น
วิธีที่๒ ต้อนรับด้วยน้าใสใจจริงแขกมีภาวะอย่างไร ก็รับรองให้เหมาะแก่ภาวะของแขกและ ด้วยน้ำใจอันงานของเจ้าถิ่น ดังนี้จึงเป็นการสมควร
(๘)ผู้ดีย่อมไม่ทำกิริยามึนตึงต่อแขก หมายความว่า เมื่อแขกมาถึงบ้านตนไม่ว่าจะเป็นบุคคลเช่นไร ตั้งต้นแต่พระสงฆ์องค์เจ้า โดยที่สุดแม้คนขอทาน มาถึงบ้านตนแล้ว ต้องต้อนรับด้วยอาการยิ้มแย้ม แจ่มใส ต้องถือหลักว่า แขกผู้มาถึงเรือนตนนั้นเป็นผู้นามงคลมาให้ จึงควรต้อนรับมงคลนั้น ดังนี้จึงเป็นการสมควร
(๙) ผู้ดีย่อมไม่ให้แขกคอยนานเมื่อเขามาหา หมายความว่า เมื่อแขกมาหาต้องรีบให้ได้พบโดยเร็ว ตื่นอยู่ก็ดี หลับอยู่ก็ดีหรือกาลังทากิจอยู่ก็ดีควรให้โอกาสแก่แขกได้ทุกเวลา และพยายามให้ได้พบ โดยเร็วที่สุด ไม่ควรให้แขกต้องคอยยอยู่นาน และไม่ควรแสดงให้แขกทราบว่า มีกิจธุระอันจาต้องทา เป็นอันขาด
(๑๐) ผู้ดีย่อมไม่จ้องดูนาฬิกาในเวลาที่แขกยังนั่งอยู่ หมายความว่า ขณะที่แขกกำลังนั่งอยู่ในบ้าน ไม่ควรจ้องดูนาฬิกาเพราะการทำเช่นนั้น เท่ากับเป็นการไล่แขกให้กลับโดยทางอ้อมจึงไม่ควรทำ หากมีธุระจำเป็น เช่น นัดไว้กับผู้อื่น ก็ควรแจ้งให้แขกทราบ และขอโทษแขก ถึงอย่างไรก็ตาม แขกก็คงไม่ปรารถนาให้เราต้องเสียเวลาเช่นนั้น ต้องแสดงให้ปรากฏเสมอว่า ยินดีต้อนรับตลอดเวลา และควรขอบคุณแขกผู้มาเยี่ยมเยียนตนด้วย
(๑๑) ผู้ดีย่อมไม่ใช้กิริยาบุ้ยใบ้หรือกระซิบกระซาบกับผู้ใดในเวลาเมื่ออยู่เฉพาะหน้าผู้หนึ่ง หมายความว่าขณะกาลังสนทนาปราศรัยอยู่กับผู้ใดหรืออยู่ในกลุ่มใดไม่ควรทำบุ้ยใบ้ หรือกระซิบกระซาบกับใคร เป็นการเฉพาะตัว ซึ่งอีกฝ่ายหนึ่งหรือคนหนึ่งที่รวมอยู่นั้นไม่รู้ เพราะการทำเช่นนี้ อาจทำให้ผู้ที่ไม่รู้เรื่องนั้นมีความระแวงสงสัยไปต่าง ๆ นานาได้ หากมีความจำเป็นจะต้องทำเช่นนั้น ก็ควรงดไว้จนกว่าจะได้โอกาสจึงทำ เพื่อมิให้เกิดความระแวงสงสัยในใจกันและกัน
(๑๒) ผู้ดีย่อมไม่ใช้กิริยาอันโกรธเคืองหรือดุดันผู้คนบ่าวไพร่ต่อหน้าแขก ในขณะที่อยู่ต่อหน้าแขก หรืออยู่รวมกับคนต่างถิ่นหรืออยู่ในที่ชุมนุมชน ไม่ควรแสดงกิริยาอาการอันโกรธเคืองผู้ใดผู้หนึ่ง หรือดุด่าว่ากล่าวคนรับใช้ของตนต่อหน้าคนทั้งหลายเหล่านั้น โดยเฉพาะต่อหน้าแขกที่มาถึงบ้านตนแล้ว ไม่ควรจะทำโกรธเคืองหรือดุดันคนรับใช้ของตนเลย
(๑๓) ผู้ดีย่อมไม่จ้องดูบุคคลโดยเพ่งพิศเหลือเกิน หมายความว่า เมื่อพบปะบุคคลใด ๆ ก็ตาม ไม่ ควรจ้องดูบุคคลนั้นจนผิดปรกติ ซึ่งอาจทำให้ผู้ถูกจ้องดูนั้นเห็นเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งไปก็ได้ แม้ จำเป็นต้องดู ก็เพียงเพื่อกำหนดหมายจาหน้าจาตากันไว้เท่านั้น
(๑๔) ผู้ดีย่อมต้องรับต้องส่งแขกเมื่อไปมาในระยะอันสมควร หมายความว่า เมื่อแขกมาถึง บ้านเรือนตนต้องออกต้อนรับด้วยความยินดี เมื่อแขกกลับต้องส่งแขกในระยะทางพอควร แสดงให้ เห็นความยินดีต้อนรับขับสู้ของเจ้าถิ่น ทั้งนี้เป็นการผูกใจกันได้เป็นอย่างดี


กระทู้: สมบัติของผู้ดี
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 28 พ.ย. 12, 09:39
และอยากจะบอกเพิ่มเติมว่า (ทั้งที่ไม่ค่อยกล้าเพราะคงมีคนจำนวนมากที่ไม่เห็นด้วย) สมบัติของผู้ดี มิใช่สมบัติของคนดี นั่นคือ ผู้ที่มีสมบัติผู้ดี(ซึ่งคงไม่ครบทั้งหมด)มิใช่ว่าจะต้องเป็นคนดี ขณะเดียวกันคนดีอาจไม่มีสมบัติผู้ดีครบถ้วนก็ได้
ก็จริงค่ะ  ไม่มีวิชาอะไรในโลกที่สอนแล้วก่อให้เกิดผล 100 %   คนหน้าไหว้หลังหลอกก็สามารถปฏิบัติตัวให้มีมารยาทสุภาพเรียบร้อยต่อหน้าสาธารณชนได้   
สมบัติผู้ดีเป็นวิชาช่วยให้อยู่ร่วมกันได้ในสังคมอย่างราบรื่นกว่าสังคมที่ไม่มีสมบัติผู้ดี    แต่วิชาที่ช่วยให้คนเป็นคนดีในสังคมคือวิชาหน้าที่พลเมืองและศีลธรรม   ด้วยเหตุนี้นักการศึกษาในยุคก่อนจึงมีวิชาทั้งหมดนี้เต็มๆคอร์สให้เด็กเรียน     ทั้งหมดนี้ก็หายไปอีกตามหลักอนิจจังของโลก


กระทู้: สมบัติของผู้ดี
เริ่มกระทู้โดย: Sujittra ที่ 28 พ.ย. 12, 11:25
ถ้าลองพิจารณาเนื้อหาของ "สมบัติของผู้ดี" จะเห็นว่ามีเนื้อหาในหลายระดับ และหลายมิติ ได้แก่ กายจริยา วจีจริยา มโนจริยา
มโนจริยาเป็นเรื่องภายในใจ เป็นเรื่องของ "คนดี" "คนที่มีคุณธรรม" เสียโดยมาก
ในขณะที่กายจริยาหรือวจีจริยาเปรียบเสมือนเชิงกายภาพ คือ สิ่งที่คนอื่นเห็นหรือสัมผัสได้ ซึ่งส่วนใหญ่ของกายจริยาหรือวจีจริยามิใช่เรื่อง "คนดี" หรือ "คนไม่ดี, คนไม่มีศีลธรรม"
การที่เราจะสมบูรณ์ร้อยเปอร์เซ็นต์ในทุกเรื่องคงเป็นไปไม่ได้ แม้แต่องค์สัมมาสัมพุทธเจ้ายังทรงถูกติฉินนินทา(ในสมัยพุทธกาล)
เช่นกันในเรื่องของ "สมบัติของผู้ดี" ซึ่งกว้างมากและคงเป็นไปไม่ได้ที่จะประพฤติได้เต็มร้อย

สิ่งที่ผมคิดคือ minimal requirement ของคนในสังคม คือในมิติของ กายกริยา เพื่อให้ไม่เกิดการรบกวนผู้อื่น หรือถ้าดีกว่านั้นก็รวมทั้ง วจีกริยา
ส่วนมโนจริยานั้น ผมเองก็เห็นด้วยกับท่านเทาชมพูว่า คงต้องอาศัยวิชาหน้าที่พลเมืองและวิชาศีลธรรม แต่ต้องปรับเปลี่ยนวิธีการสอนจากในอดีต
จำได้ว่าในอดีตสมัยที่เป็นนักเรียน เมื่อเวลาจะสอบวิชาหน้าที่พลเมืองและศีลธรรม ผมจะเข้าไปนั่ง "ท่อง" เนื้อหาวิชาดังกล่าวในโบสถ์ (โบสถ์คริสต์) แต่ก็ได้แต่ท่องและจำ
ผมคิดว่าต้องใช้วิธีการเรียนการสอนที่ต้องทำให้เด็กคิด ดังเช่นแนวทางการสอนโรงเรียนที่ดังๆเขาสอนวิชาอื่นๆ เช่น การสอนของโรงเรียนสัตยาใส การสอนของโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา เป็นต้น
 :)


กระทู้: สมบัติของผู้ดี
เริ่มกระทู้โดย: Sujittra ที่ 28 พ.ย. 12, 12:26
เผื่อท่านใดจะสนใจครับ

"โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ที่อยู่
บ้านเลขที่ 162 หมู่ 13 บ้านกวางงอย ตำบลโคกกลาง อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ รหัสไปรษณีย์ 31130
ข้อมูล
ชื่ออังกฤษ   Lamplaimat Pattana School
อักษรย่อ   LPMP
ประเภท   โรงเรียนเอกชน
ก่อตั้ง   16 พฤษภาคม 2546
สังกัดการศึกษา   กลุ่มส่งเสริมสถานศึกษาเอกชน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์เขต 1
เว็บไซต์   www.lpmp.org
โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา หรือ "โรงเรียนนอกกะลา" เป็นโรงเรียนเอกชนที่ไม่แสวงหาผลกำไร ในสังกัดของ กลุ่มส่งเสริมสถานศึกษาเอกชน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์เขต 1 เปิดสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาลจนถึงชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ตั้งอยู่ในจังหวัดบุรีรัมย์
ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2546 โดยมูลนิธิลำปลายมาศพัฒนา โดยการ ได้เปิดทำการเรียนการ สอนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2546 เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2546 จำนวน 3 ชั้นเรียน ได้แก่ ชั้นอนุบาล 1 ชั้นอนุบาล 2 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ได้คัดเลือกเด็กจากเด็กทั่วไปโดยวิธีจับฉลาก นักเรียนที่เข้าเรียนไม่ต้องเสียค่าเล่าเรียน ข้อพิจารณาที่สำคัญคือ ผู้ปกครองต้องพร้อมที่จะให้ความร่วมมือกับโรงเรียนฯ ในการพัฒนาผู้เรียนอย่างเต็มศักยภาพ ปัจจุบันมูลนิธิลำปลายมาศพัฒนา เป็นผู้ถือใบอนุญาตโรงเรียนฯ และเปิดทำการเรียนการสอนครบ 11 ชั้นเรียน คือ ชั้นอนุบาล 1–2 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาโดยมูลนิธิลำปลายมาศพัฒนา เป็นโรงเรียนเอกชนที่ไม่เก็บค่าเล่าเรียน มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นโรงเรียนตัวอย่าง เริ่มดำเนินการจัดการเรียนการสอนตั้งแต่ปีการศึกษา 2546 ถึงปัจจุบัน ในระดับชั้นอนุบาลประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้น มีนักเรียนทั้งหมด 240 คน มีครู 30 คน รับนักเรียนโดยการจับฉลาก โรงเรียนฯ ตั้งอยู่บนพื้นที่ 50.2 ไร่ ในเขตอำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยเงินของมูลนิธิลำปลายมาศพัฒนา สร้างเสร็จและเปิดทำการเรียนการสอนเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2546
ตั้งแต่เริ่มต้น นายเจมส์ คลาร์ก เป็นผู้สนับสนุนในเรื่องการลงทุนก่อสร้างโรงเรียน และสิ่งสนับสนุนทั้งหมดแต่เพียงผู้เดียว เป็นจำนวนเงินประมาณ 52.5 ล้านบาท นอกจากนั้น นายเจมส์ คลาร์ก ยังสนับสนุนในเรื่องค่าใช้จ่ายดำเนินการของโรงเรียนทั้งหมด ตั้งแต่ ปี 2546 - 2553 เป็นเงิน 52.5 ล้านบาท รวมเป็นเงินที่ นายเจมส์ คลาร์ก สนับสนุนโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาถึงปัจจุบันเป็นเงินทั้งสิ้น 105 ล้านบาท

ปรัชญาของโรงเรียน
"การศึกษาพัฒนาความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ " ( Education for complete human development)

วิสัยทัศน์ของโรงเรียน
“ผู้เรียนเรียนรู้อย่างมีความสุข เต็มศักยภาพ เป็นคนดีและคนเก่ง สอดคล้องกับวิถีชีวิตและกลมกลืนกับวิทยาการสมัยใหม่ สู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ พร้อมด้วยคุณธรรม ภูมิปัญญา และสำนึกในความเป็นพลเมืองดี (A school where the pupils are happy and fulfill their potential, which is adapted to it's local environment and current technology, and which develops the complete individual, instilling individual morality, preserving community traditions and promoting good citizenship)”

ผู้บริหารโรงเรียน
พ.ศ. 2546 - ปัจจุบัน วิเชียร ไชยบัง (ผู้อำนวยการโรงเรียน)

สิ่งที่แตกต่างจากโรงเรียนทั่วๆไป
เป็นโรงเรียนที่ไม่มีการสอบ
เป็นโรงเรียนที่ไม่เสียงระฆัง
เป็นโรงเรียนที่ไม่มีดาวให้ผู้เรียน
เป็นโรงเรียนที่ไม่ต้องใช้แบบเรียน
เป็นโรงเรียนที่ไมีมีครูอบรมหน้าเสาธง
เป็นโรงเรียนที่ได้ได้จัดลำดับความสามารถของผู้เรียน
เป็นโรงเรียนที่ครูสอนด้วยเสียงเบาที่สุด
เป็นโรงเรียนที่พ่อแม่ต้องมาเรียนรู้ร่วมกับลูก
เป็นโรงเรียนที่ทุกคนได้เรียนรู้อย่างมีความสุข

หลักสูตร
โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาจัดการศึกษาตาม พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ และ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 โดย PBL (Problem based Learning) ซึ่งเป็นนวัตกรรมหนึ่งในการพัฒนาความฉลาดภายนอก(ความเข้าใจต่อโลกและปรากฏการณ์)ให้กับผู้เรียนของโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา เป็นหน่วยการเรียนแบบบูรณาการที่ทำให้เกิดกระบวนการเรียนรู้จากปมปัญหาสู่ปัญญา เพราะสังคมโลกนับวันจะยิ่งซับซ้อนขึ้น จำนวนปัญหาจะมากขึ้น ซับซ้อนขึ้น ยุ่งเหยิงขึ้น. กระบวนการเรียนรู้โดย PBL จะทำให้ผู้เรียนไม่ตื่นกลัวกับปัญหา มองปัญหาเป็นเรื่องท้าทายซึ่งจะนำไปสู่การสร้างความเข้าใจต่อปัญหา และหาวิธีการแก้ปัญหา
กระบวนการทำความเข้าใจต่อปัญหา และกระบวนการหาวิธีการหรือนวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาผู้เรียนจะต้องใช้ความรู้อันหลากหลาย (Multi Knowledge)และ ทักษะที่หลากหลาย (Multi skills)ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนเข้าถึงความเข้าใจหลักของเนื้อหาชุดนั้น จนเกิดทักษะอันหลากหลายที่จำเป็นสำหรับศตวรรษใหม่ (21st Century Skills)ได้แก่ - ทักษะการเรียนรู้และการเรียนอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ทักษะการสังเคราะห์ข้อมูลและการจัดการความรู้ - ทักษะชีวิต(ทำกินเป็น อยู่ได้ ใช้เป็น) เช่น ทักษะ ICT การทำงานร่วมกัน การจัดการความขัดแย้ง การสื่อสาร การคิดหลายระดับ การสร้างปัจจัยการดำเนินชีวิต. การดูแลสุขภาพ. การแสวงหาข้อมูล. การปรับตัว การออกแบบวิถีชีวิต. อุปนิสัย. การชี้นำตนเอง. จิตสำนึกต่อคนอื่น วัฒนธรรมอื่นและต่อโลก"

แล้วนายเจมส์ คลาร์ก เป็นใคร?

"ผู้ปิดทองหลังพระ

1.  ประวัติส่วนตัว

  นายเจมส์ คลาร์ก  เกิดที่กรุงลอนดอน  ประเทศอังกฤษ  เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2507

 จบการศึกษาทางด้าน  Mathematics  and  Philosophy ที่ วิทยาลัยเมอร์ตัน  มหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ด  โดยได้รับเกียรตินิยมอันดับ 1

 มาประเทศไทยครั้งแรกในปี พ.ศ. 2536 หลังจากนั้น นายเจมส์ คลาร์ก ก็ได้มาพักอาศัยอยู่ในประเทศไทยเป็นการถาวร

2.  การให้ทุนการศึกษากับเด็กที่ยากจนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

                นายเจมส์ คลาร์ก ได้บริจาคเงินเพื่อเป็นทุนการศึกษาให้แก่เด็กที่ยากจนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษา  ตั้งแต่ปีการศึกษา 2541- 2549 รวมเป็นเวลา   8 ปี เป็นเงินทั้งหมด 20 ล้านบาท  เป็นจำนวน  2,560 ทุน   โดยทุนการศึกษาสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมต้นจะเป็นเงินปีละ 6,000 บาท และสำหรับชั้นมัธยมปลายเป็นเงินปีละ 8,000 บาท

                ในช่วงที่ให้ทุนการศึกษาตั้งแต่ปีการศึกษา 2541-2545 นายเจมส์ คลาร์ก ได้ให้ความสนใจไปคัดเลือกนักเรียนทุนด้วยตัวเองทุกปี โดยไปสัมภาษณ์เด็กที่ขอรับทุนตลอดจนสัมภาษณ์ผู้ปกครองของเด็กในจังหวัดต่างๆ            

3. โครงการช่วยเหลือผู้ติดเชื้อเอดส์ที่จังหวัดแพร่

                เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ.2543-2548 นายเจมส์ คลาร์ก ได้ให้ทุนการศึกษาแก่เด็กที่พ่อ-แม่ ติดเชื้อเอดส์ รวมทั้งทุนการประกอบอาชีพแก่ผู้ติดเชื้อในจังหวัดแพร่ เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 4.9 ล้านบาท มีผู้ติดเชื้อที่ได้รับการสนับสนุนในเรื่องประกอบอาชีพจำนวน 38 ครอบครัว และเด็กที่ผู้ปกครองได้เสียชีวิตไปแล้วจากโรคเอดส์ได้รับทุนการศึกษาจำนวนทั้งหมด 508 ทุน

4.  โครงการโรงเรียนตัวอย่าง

                ปี 2543  นายเจมส์ คลาร์ก  อยากให้มีโรงเรียนตัวอย่างในชนบท  เป็นโรงเรียนที่สอนให้เด็กใช้ความคิดและเหตุผลมากกว่าการท่องจำ สามารถเป็นแบบอย่างของการเรียนการสอนในโรงเรียนอื่นได้  จากประสบการณ์ที่ได้จากการไปสัมภาษณ์นักเรียนทุนในจังหวัดต่างๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือทำให้นายเจมส์  คลาร์กได้รับทราบว่า ระบบการศึกษาไทยในชนบทยังจะต้องได้รับการปรับปรุงอีกมาก

                ในที่สุดแนวความคิดดังกล่าวเป็นความจริง “โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา” ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นที่ 50.2 ไร่ ในเขตอำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยเงินของมูลนิธิลำปลายมาศพัฒนา   สร้างเสร็จและเปิดทำการเรียนการสอนเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2546  โดยมีนักเรียน 3 ระดับชั้น คือ ชั้นอนุบาล 1 , ชั้นอนุบาล 2 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ระดับชั้นละ 1 ห้อง รวมเป็น 3 ห้อง ๆ ละ 30 คน

                ตั้งแต่เริ่มต้น นายเจมส์ คลาร์ก เป็นผู้สนับสนุนในเรื่องการลงทุนก่อสร้างโรงเรียน และสิ่งสนับสนุนทั้งหมดแต่เพียงผู้เดียว เป็นจำนวนเงินประมาณ 52.5 ล้านบาท  นอกจากนั้นนายเจมส์ คลาร์ก ยังสนับสนุนในเรื่องค่าใช้จ่ายดำเนินการของโรงเรียนทั้งหมด  ตั้งแต่ ปี 2546 - 2553  เป็นเงิน 52.5 ล้านบาท   รวมเป็นเงินที่นายเจมส์ คลาร์ก สนับสนุนโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาถึงปัจจุบันเป็นเงินทั้งสิ้น 105 ล้านบาท  

ตั้งแต่ปี  2553  เป็นต้นไป   ค่าดำเนินการของโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาตั้งแต่ระดับอนุบาลถึงระดับมัธยมศึกษา  ประกอบด้วยที่มาของงบประมาณ  3  ส่วน  คือ

1.              เงินบริจาคจากมูลนิธิเจมส์คลาร์ก  

2.              เงินอุดหนุนจากรัฐบาล

3.              รายได้ของโรงเรียนฯ"

ข้อมูลจาก http://www.lpmp.org/index.php?option=com_content&task=view&id=178&Itemid=125
 ;D


กระทู้: สมบัติของผู้ดี
เริ่มกระทู้โดย: Sujittra ที่ 28 พ.ย. 12, 13:38
วจีจริยา คือกล่าวถ้อยคาอันเป็นที่ตั้งแห่งความรักใคร่นับถือ

(๑) ผู้ดีย่อมไม่เที่ยวติเตียนสิ่งของที่เขาแต่งตั้งไว้ในบ้านที่ตนไปสู่ หมายความว่า เมื่อไปถึงบ้านใด ได้เห็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดซึ่งเขาตั้งแต่งไว้ในที่นั้น ไม่ควรเที่ยวตำหนิติเตียนให้เป็นที่กระเทือนใจเจ้าของบ้าน ถ้าเห็นทำไว้ไม่เหมาะไม่ควร ก็น่าจะหาทางช่วยเหลือโดยปรึกษาหารือหรือถามเหตุผลดูก่อน ควรแก้ ก็ช่วยแก้ ควรเปลี่ยนแปลงก็ควรเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้น ขยายความกว้างออกไป ในเวลาไปช่วยงานเขา หรือไปในงานเขา เมื่อเห็นอะไรที่เขาทำไว้ขัดหูขัดตาหรือไม่เหมาะไม่ถูกต้องก็ต้องหาทางช่วยจัด ช่วยทำ ช่วยแก้ไขปรับปรุงให้ดีขึ้น ไม่ใช่นั่งตาหนิติเตียน ซึ่งไม่เป็นการสมควรเลย
(๒) ผู้ดีย่อมไม่กล่าวสรรเสริญรูปกายบุคคลแก่ตัวเขาเอง หมายความว่า การกล่าวสรรเสริญรูปกายกันโดยตรงนั้น ผู้ฟังจะเกิดความอายกระดากไม่สมควรเลย
(๓)ผู้ดีย่อมไม่พูดให้เพื่อนเก้อกระดาก หมายความว่าเมื่อพบเพื่อน แม้รู้ว่าเรื่องของเพื่อนเป็นอย่างไรหรือผู้นั้นเกิดพลาดพลั้งอย่างใดขึ้น ก็ไม่ควรพูดให้เพื่อนต้องเก้อหรือกระดาก พึงพูดจาด้วย อาการอันยิ้มแย้มแจ่มใสผูกใจกันอันเป็นที่ตั้งแห่งความรักใคร่อันสนิทสนม จึงเป็นการสมควร
(๔) ผู้ดีย่อมไม่พูดเปรียบเปรยเกาะแกะสตรีกลางที่ประชุม หมายความว่า เมื่ออยู่ในที่ประชุมชน มากด้วยกันมีทั้งชายทั้งหญิง ในที่เช่นนั้นไม่ควรพูดจาเกาะแกะสตรีให้ได้อายหรือให้มีความกระดากอาย ด้วยประการใด ๆ ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะล้อเล่นเพื่อสนุกสนานหรือเพื่ออะไรอย่างใดอย่างหนึ่ง ต้องยกย่อง ให้เกียรติสตรีในที่เช่นนั้น จึงเป็นการสมควร
(๕) ผู้ดีย่อมไม่ค่อนแคะติรูปกายบุคคล หมายความว่าเมื่อเห็นใครๆ มีร่างกายบกพร่องหรือ ผิดแปลก หรือไม่สมส่วน ก็ไม่ควรตาหนิติเตียนค่อนแคะเขา ทั้งต่อหน้าและลับหลัง ถ้าจำเป็น ต้องขอโทษเขาก่อนจึงควรกล่าวเช่นนั้น ดังนั้นจึงเป็นการควร
(๖) ผู้ดีย่อมไม่ทักถึงการร้ายโดยพลุ่งโพล่งให้เขาตกใจ หมายความว่าเมื่อได้พบผู้หนึ่งผู้ใด จะเป็นเพื่อนสนิทก็ตามไม่สนิทก็ตาม เป็นผู้ใหญ่ก็ตามเป็นเด็กก็ตาม แม้รู้ว่าเขามีความร้ายหรือเรื่องไม่ดี หรือเคราะห์ไม่ดี หรือโชคไม่ดีอยู่ ก็ไม่ควรกล่าวถึงการร้ายเช่นนั้นโดยพลุ่งโพล่งออกมาให้เขาตกใจ เมื่อรู้อยู่เช่นนั้นควรพูดเอาใจ หรือพูดหาทางแก้ไขให้เบาใจ จึงเป็นการควร
(๗) ผู้ดีย่อมไม่ทักถึงสิ่งอันน่าอายน่ากระดากโดยเปิดเผย หมายความว่า เมื่อได้พบปะใครคนใดคน หนึ่งซึ่งรู้จักคุ้นเคยกันหรือไม่ก็ตาม เมื่อเห็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดซึ่งเป็นที่น่าอายน่ากระดาก เช่นเขาเป็นแผลเป็นที่หน้า หรือเห็นเขาแต่งกายไม่เรียบร้อย หรือเห็นเครื่องนุ่งห่มของเขาขาดหรือเปรอะเปื้อน หรืออย่างอื่นใดก็ไม่ควรที่จะทักให้เป็นที่น่าอายน่ากระดาก หากมีความจำเป็นจะต้องบอกก็ควรหาทางกระซิบกระซาบให้รู้โดยเฉพาะ เพื่อเขาได้โอกาสแก้ไขเสียได้ทันท่วงที อย่างนี้จึงเป็นการสมควร
(๘) ผู้ดีย่อมไม่เอาสิ่งที่น่าจะอายจะกระดากมาเล่าให้แขกฟัง หมายความว่า เมื่อแขกมาถึงเรือนตนหรือถิ่นตน ไม่ควรนำเรื่องที่น่าอายน่ากระดากเล่าให้เขาฟัง เช่น เล่าเรื่องอันพาดพิงถึงตัวเขาหรือ เรื่องเล่าอันเขามีส่วนเกี่ยวข้อง และเรื่องนั้นก็น่าจะทำให้เขาได้อายหรือมีความกระดากเป็นต้น นี้ไม่เป็นการสมควรแท้
(๙) ผู้ดีย่อมไม่เอาเรื่องที่เขาพึงซ่อนเร้นมากล่าวให้อับอายหรือเจ็บใจ หมายความว่า เมื่ออยู่ในวงสนทนากันไม่ว่าจะมากคนหรือน้อยไม่ว่าจะคุ้นเคยกันหรือไม่ก็ตาม ไม่ควรนำเอาเรื่องใดๆของใครๆ ที่อยู่ ณ ที่นั้น ซึ่งเป็นเรื่องที่เขาปิดบังซ่อนเร้นมาพูดให้เขาได้อายหรือเจ็บใจ เช่น เรื่องความผิดหวังของคน เรื่องการสอบไล่ตก หรือเรื่องมิดีมิร้าย หรือเรื่องที่เขาพลาดพลั้งที่ตนรู้อยู่ เพราะการเล่าเรื่องเช่นนี้ไม่สมควรแท้ ควรหาเรื่องอย่างอื่นซึ่งเมื่อเล่าแล้วทำให้เขาเกิดความสนใจหรือมีความยินดี ปรีดา จึงเป็นการสมควร
(๑๐) ผู้ดีย่อมไม่กล่าวถึงอัปมงคลในการมงคล เช่น งานแต่งงานก็ไม่ควรเล่าถึงเรื่องผัวเมียแตกกัน ทะเลาะวิวาทกันจนถึงหย่าร้างกัน หรือไปในงานทำบุญวันเกิด ก็ไม่ควรเล่าถึงเรื่องตาย หรือเรื่องของ ความพินาศต่าง ๆ ต้องหาเรื่องที่เป็นมงคลมาเล่าสู่กันฟัง จึงเป็นการสมควร

มโนจริยา หมายถึงการแสดงน้ำใจที่น่ารัก

(๑) ผู้ดีย่อมรู้จักเกรงใจคน หมายความว่า ตามปรกติคนเราไม่ควรรบกวนคนอื่นเขาไม่ว่าผู้นั้นจะ เป็นใคร ๆ ก็ตาม หากมีความจาเป็นจะต้องรบกวน ก็ให้รู้ความพอเหมาะพอควร ถึงเขาให้โอกาสก็ไม่ควรให้เกินความพอดี เช่น จะขอสิ่งของเขาก็ไม่ควรขอสิ่งที่เขารัก จะขอสิ่งใดต้องให้เจ้าของยินดีให้ และเมื่อเขาให้แล้วจะต้องไม่ทำให้เขาเดือดร้อนในสิ่งนั้น คือไม่ทำให้เขาขาดแคลนยากจนลงดังนี้ เป็นต้น จึงเป็นการสมควรแท้
 ;D


กระทู้: สมบัติของผู้ดี
เริ่มกระทู้โดย: Sujittra ที่ 28 พ.ย. 12, 14:17
ผนวก ๕ ผู้ดีย่อมเป็นผู้มีสง่า
ข้อนี้หมายความว่า ผู้ดีจะต้องรู้จักภาวะของตัว จะเดินเหินนั่งลุก ก็ควรให้มีท่าทางสง่าผ่าเผย เช่น ไม่นั่งหลังงอหรือทาซอมซ่ออย่านี้ไม่ควรแท้ แต่ก็ต้องระมัดระวังอย่าให้กลายเป็นข่มเพื่อนหรือ แสดงความยิ่งใหญ่ของตนเกินไป

กายจริยา หมายความว่า การแสดงกิริยาท่าทางให้สง่าผ่าเผยสมภูมิสมฐานะ

(๑) ผู้ดีย่อมมีกิริยาอันผึ่งผายองอาจ หมายความว่าต้องยืนเดินนั่งนอนให้เหมาะสมเช่น ต้องยืนตัวตรง เดินตัวตรง นั่งตัวตรง ไม่ยืนชิดผู้ใหญ่จนเกินไป ไม่เดินเร็วหรือช้าเกินไป ไม่นั่งหลังขด หลังงอ ทั้งนี้เป็นการช่วยให้ส่วนของร่างกายทุกส่วนทำงานได้ตามสภาพของมันด้วย แต่ต้องระวังมิให้เกิดท่าทางที่จะกลายเป็นหยิ่งหรือจองหอง จึงควรให้สุภาพเรียบร้อยเท่าที่ควร
(๒) ผู้ดีจะยืนนั่ง ย่อมอยู่ในระดับอันควรไม่เป็นผู้แอบอยู่หลังคนหรือหลีกเข้ามุม หมายความว่า เมื่อจะยืนจะนั่งในชุมนุมชน ในหมู่ในพวก ต้องยืนนั่งตามลำดับอันสมควรแก่ตน คือควรอยู่หน้า ต้องอยู่หน้า ควรอยู่หลังต้องอยู่หลัง ถ้าเป็นผู้ใหญ่ไปอยู่ข้างหลังเท่ากับเป็นการกีดกันที่ยืนที่นั่งของผู้น้อย ในเวลาเข้าแถวปรกติต้องไปตามลำดับผู้ใหญ่ผู้น้อย แต่ถ้าในแถวคอยต้องไปตามลำดับ ก่อนหลังอย่างนี้จึงสมควร
(๓) ผู้ดีย่อมไม่เป็นผู้สะทกสะท้านงกเงิ่นหยุด ๆ ยั้ง ๆ ความหมายว่า ในชุมนุมชนต้องมีความองอาจ ความแกล้วกล้าจะมีคนมากก็ตามคนน้อยก็ตาม ต้องทำประหนึ่งว่าเหมือนไม่มีคนแสดงอาการ ทุกอย่างให้เป็นปรกติ การที่จะให้มีความกล้าหาญได้นั้นต้องเป็นผู้สนใจในวิชาความรู้ ต้องเป็นผู้สนใจในขนบธรรมเนียมประเพณี ต้องเป็นผู้สนใจในระเบียบแบบแผน และต้องหมั่นเข้าร่วมชุมนุม ในที่ซึ่งตนจะเข้าร่วมได้ตามกาลเทศะ มิฉะนั้นแล้ว ก็อดจะสะทกสะท้านบ้างไม่ได้ ไม่มากก็น้อย เมื่อมีอาการอย่างนั้น จำต้องข่มใจหรือนึกถึงความรู้ความสามารถของตัวที่มีอยู่แล้วนำออกใช้ในเวลา เท่านั้น ก็อาจทาให้หายสะทกสะท้าน แสดงกิริยาอาการให้เป็นปรกติ

วจีจริยา หมายความว่า การใช้วาจาให้เหมาะสมเป็นสง่า

(๑) ผู้ดีย่อมพูดจาฉะฉานชัดถ้อยความ พูดชัดให้ได้เรื่อง ไม่อุบอิบอ้อมแอ้ม หมายความว่า ต้องพูดให้เสียงดังพอควรแก่ผู้ฟังพูดชัดเจนให้ได้เรื่อง ไม่อุบอิบอ้อมแอ้มให้ผู้ฟังต้องฉงนสนเท่ห์หรือ ซักถาม

มโนจริยา หมายความว่า การแสดงน้ำใจอันงามให้ปรากฏ

(๑) ผู้ดีย่อมมีความรู้จักงามรู้จักดี หมายความว่าต้องฝึกตาให้รู้จักดู ต้องฝึกหูให้รู้จักฟัง ต้องฝึกจมูกให้รู้จักดม ต้องฝึกลิ้นให้รู้จักลิ้ม ต้องฝึกกายให้รู้จักจับต้อง ต้องฝึกใจให้รู้จักงามอย่างไรดีอย่างไร แล้วฝังจิตใจในความดีความงามนั้นให้แน่นแฟ้น เมื่อได้เห็นสิ่งต่างๆก็สามารถเปรียบเทียบให้รู้ได้ เลือกเอาแต่สิ่งที่ดีที่งาม ดั่งนี้จึงควร
(๒) ผู้ดีย่อมมีอัชฌาสัยอันกว้างขวางเข้าไหนเข้าได้ หมายความว่าต้องรู้จักเข้าสังคม คบกับบุคคลได้ทุกชนิดโดยการสังเกตและรอบรู้ เช่น รู้ว่าบุคคลนั้น ๆ มีฐานะอย่างไร ตนมีฐานะอย่างไร รู้จักกาลว่าขณะใดควรพูดเป็นเรื่องราว หรือพูดเล่นเพื่อสนุกไม่ถือตัวและแสดงความเมตตากรุณา รู้จักอดทน และให้อภัย และรู้จักรับผิดเมื่อผิดพลาด
(๓) ผู้ดีย่อมมีอัชฌาสัยเป็นนักเลง ใครจะพูดหรือเล่นอันใดก็เข้าใจและต่อติด หมายความว่า ต้องวางใจเป็นนักกีฬา คือรู้จักแพ้ รู้จักชนะ รู้จักผิด รู้จักถูก รู้จักยกโทษให้ผู้อื่น มองคนทั้งหลาย แต่ในทางที่ดีที่ชอบ มีความอดทน ฟังคนอื่นให้เข้าใจ และรู้จักพูดเล่นติดต่อกับเขาได้ไม่นิ่งเฉยเสีย
(๔) ผู้ดีย่อมมีความเข้าใจไหวพริบ รู้เท่าถึงการณ์ หมายความว่า ต้องเป็นพหูสูตร คือเรียนรู้ดี ผู้ที เรียนรู้ดีนั้นต้องประกอบด้วยลักษณะดังนี้
๑. จำได้
๒. คล่องปาก
๓. ขึ้นใจ
๔. เข้าใจ
คนที่มีลักษณะเช่นนี้เรียกว่ารู้ดี คนที่มีความรู้ดีนั้นเมื่อได้พบได้เห็นสิ่งใดสิ่งหนึ่งย่อมรู้เท่าถึงการณ์นั้น นี้กล่าวเฉพาะในส่วนที่เรียนรู้เอาได้ ส่วนไหวพริบอันแท้จริงนั้น เกิดจากธรรมชาติเดิม คือปัญญาเดิมตั้งแต่เกิด มีมาอย่างไรก็ต้องเป็นอย่างนั้น ปัญญาใหม่ คือวิชาความรู้ที่เล่าเรียนนั้นใครเรียนอย่างใดก็ รู้อย่างนั้น เรียนดีรู้ดี ความรู้ดีย่อมทำให้รู้เท่าถึงการณ์ได้
(๕) ผู้ดีย่อมมีใจองอาจกล้าหาญ หมายความว่าต้องมีใจแกล้วกล้าอดทน ไม่ย่อท้อในภัยอันตราย อันจะมีมาซึ่งหน้าเช่นเป็นนักรบก็จะไม่กลัวตาย หาญสู้ศัตรูเพื่อประเทศชาติของตนเพื่อรักษา เกียรติประวัติที่ดีไว้ เช่น เป็นนักเรียน เป็นครู เป็นแพทย์ ก็ต้องอดทนกล้าหาญที่จะทำกิจของตน ๆ ไม่ทำใจฝ่อหรือไม่ขลาดกลัวโดยไม่สมควร
 :D


กระทู้: สมบัติของผู้ดี
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 28 พ.ย. 12, 15:23
(๔) ผู้ดีย่อมไม่พูดเปรียบเปรยเกาะแกะสตรีกลางที่ประชุม หมายความว่า เมื่ออยู่ในที่ประชุมชน มากด้วยกันมีทั้งชายทั้งหญิง ในที่เช่นนั้นไม่ควรพูดจาเกาะแกะสตรีให้ได้อายหรือให้มีความกระดากอาย ด้วยประการใด ๆ ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะล้อเล่นเพื่อสนุกสนานหรือเพื่ออะไรอย่างใดอย่างหนึ่ง ต้องยกย่อง ให้เกียรติสตรีในที่เช่นนั้น จึงเป็นการสมควร

ประท้วงยับ "จ่าประสิทธิ์" พูดกลางสภา ฝันว่าได้นอนกับ ส.ส.รังสิมา  (http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1354002014&grpid=00&catid=&subcatid=)

ระหว่างการอภิปราย น.ส.รังสิมา ได้ดำเนินการอภิปรายโดยเล่าข้อมูลสลับกับการเล่าความฝัน ทำให้ จ่าสิบตำรวจประสิทธิ์ ไชยศรีษะ ส.ส.เพื่อไทย ได้ลุกขึ้นมาประท้วง  ว่านำความฝันมาอภิปรายถอดถอนไม่ได้ และบอกว่า ถ้าผมฝันว่า ได้นอนกับคุณรังสิมาบ้างจะว่าอย่างไร  ทำให้เกิดการประท้วง ประธานจึงสั่งให้ จ่าสิบตำรวจประสิทธิ์ ถอนคำพูด แต่ส.ส. ฝ่ายค้าน ได้ยืนยันให้มีการกล่าวขอโทษด้วย เนื่องจากเป็นการคุกคามทางเพศ และมีการถ่ายทอดสดไปทั่วประเทศ

เนสา สภา ยตฺถ น สนฺติ สนฺโต   สนฺโต น เต เย น วทนฺติ ธมฺมํ  

ที่ใดไม่มีสัตบุรุษ ที่นั้นไม่เป็นสภา ผู้พูดไม่เป็นธรรม ก็ไม่ชื่อว่าเป็นสัตบุรุษ

พุทธภาษิต

 ;D


กระทู้: สมบัติของผู้ดี
เริ่มกระทู้โดย: Sujittra ที่ 28 พ.ย. 12, 16:14
^
สาธุ

กำลังรอฟังความเห็นหรือมุมมองของท่านเพ็ญชมพูในเรื่องนี้อยู่ครับ

 ;D


กระทู้: สมบัติของผู้ดี
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 28 พ.ย. 12, 19:16
เข้ามาส่งเสียงว่า ตามอ่านอยู่ครับ  รออยู่ว่าจะเข้ามาช่วงใหนดี  เพราะว่ากำลังจะสื่อสารในเรื่องเดียวกัน ในอีกรูปของการนำเสนอ ในกระทู้เรื่อง เก็บตกมาจากการเดินทาง ครับ

ผมเห็นว่า ลักษณะของความเป็นผู้ดีนั้น เป็นภาพที่แสดงออกมาในองค์รวมของกาย วาจา ใจ ที่สะท้อนออกมาจากจิตใจของคนที่มีความคำนึงถึงความรู้สึกของบุคคลอื่น  ซึ่งเป็นสิ่งที่มีอยู่เป็นพื้นฐานในจิตใจของมนุษย์ตามปรกติ  เมื่อคำว่า ผู้ดี ได้ถูกนำไปใช้ในเชิงของการเสียดสี กระแนะกระแหน การจับแยกคนหรือกลุ่มคนนั้นๆออกไป การจับแยกสถานะทางสังคม ความร่ำรวย ฯลฯ มากกว่าที่จะใช้ไปในทางการชมเชยความเป็นคนดีมีคุณธรรมและจริยธรรม    แถมเมื่อจับแยกแล้วยังอดใจไม่ได้ที่จะลงสนามไปพยายามแข่งขันด้วยการกำหนดสภาพและลักษณะของของความเป็นผู้ดี (ให้ความมีทัดเทียมหรือเท่าเทียมกับเขา) โดยใช้ทางด้านวัตถุมากกว่าทางด้านจิตใจ  ผลส่วนหนึ่งที่เห็นๆกัน คือ ทำให้คำว่า ผู้ดี กลายเป็นเรื่องของการอวด การวัด การจัดจำแนกกันที่วัตถุ ทั้งในเชิงของปริมาณ ราคา ความสวยงาม ฯลฯ   ในปัจจุบันนี้ผู้ดีกำมะลอจึงมีมากเหลือเกิน ผู้ใดมีเงินมากๆ สามารถหาเงินได้มากๆ สามารถใช้จ่ายได้อย่างฟุ่มเฟือย ก็มักจะหลงตนเอง จัดระดับของตนเองว่าตนนั้นเป็นพวกผู้ดี ผู้อื่นที่ไม่มีเหมือนตนก็กลายเป็นว่าเป็นคนระดับที่ต่ำกว่า (ซึ่งคนในกลุ่มหลังนี้กลับเรียกคนในกลุ่มแรกว่าพวกไฮโซ)

ผมเิกิดและโตในต่างจังหวัดห่างไกลจากกรุงเทพฯเกือบ 1,000 กม. เติบโตที่นั่นช่วงหนึ่ง ในกรุงเทพฯช่วงหนึ่ง เรียนจบก็กลับไปทำงานคลุกคลีกับชาวบ้านร่วม 30 ปี เกษียณแล้วก็ยังกลับไปใช้ชีวิตคลุกคลีกับชาวบ้านอีก   เห็นว่า คุณสมบัติของผู้ดีพื้นฐานอันพึงมีในตัวของคนที่เราเรียกว่าชาวบ้านนั้นก็ยังคงมีอยู่ แน่นอนครับว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปบ้าง แต่น้อยมาก    ต่างกันลิบลับกับในเมืองหลวงของเราและในจังหวัดใหญ่ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวทั้งของคนไทยและต่างชาติ  เพียงช่วงประมาณ 10 ปีที่ไปประจำการอยู่ในต่างประเทศ ก็กลับมาเห็นอะไรต่อมิอะไรเปลี่ยนไปหมดจนแทบจะไม่เหลือสิ่งที่เคยเห็นเลย    การนั่งขัดสมาธิบนเก้าอี้ การนั่งไขว่ห้าง การใช้ภาษา การให้เกียรติกับสถานที่  และ Body language ที่เล่าเรื่องของตัวมันเองได้ ฯลฯ

บางที เราอาจจะต้องเปลี่ยนไปใช้คำอื่นแทนคำว่า สมบัติผู้ดี  เพราะคำว่า ผู้ดี ดูจะกลายเป็นคำที่แสลงใจ และใช้ไปในเชิงของการแบ่งชนชั้นไปเสียแล้ว


กระทู้: สมบัติของผู้ดี
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 28 พ.ย. 12, 21:36
บางที เราอาจจะต้องเปลี่ยนไปใช้คำอื่นแทนคำว่า สมบัติผู้ดี  เพราะคำว่า ผู้ดี ดูจะกลายเป็นคำที่แสลงใจ และใช้ไปในเชิงของการแบ่งชนชั้นไปเสียแล้ว

ผู้ดีน่าจะมีความหมายตรงกับคำว่า "สัตบุรษ" (http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%A9)  สมบัติของสัตบุรุษคือ สัปปุริสธรรม  (http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%9B%E0%B8%9B%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1)

สมบัติของผู้ดี หรือ สัปปุริสธรรม นอกจากจะมีได้ในเยาวชนโดยการสอนในโรงเรียนแล้ว ผู้ใหญ่ทั้งพ่อแม่ และคนที่มีบทบาทนำในสังคมต้องกระทำเป็นตัวอย่างให้เด็กดูด้วย มิฉะนั้นจะเข้าทำนองนิทานเรื่อง "แม่ปูสอนลูกปู"

 ;D



กระทู้: สมบัติของผู้ดี
เริ่มกระทู้โดย: Sujittra ที่ 28 พ.ย. 12, 23:54
บางที เราอาจจะต้องเปลี่ยนไปใช้คำอื่นแทนคำว่า สมบัติผู้ดี  เพราะคำว่า ผู้ดี ดูจะกลายเป็นคำที่แสลงใจ และใช้ไปในเชิงของการแบ่งชนชั้นไปเสียแล้ว

เห็นด้วยครับ เช่นอาจใช้คำว่า "มรรยาทในสังคม" สำหรับกายกริยา (ส่วนวจีกริยาและมโนจริยาก็คืิอสัปปุริสธรรมอย่างที่ท่านเทาชมพูว่าไว้)


กระทู้: สมบัติของผู้ดี
เริ่มกระทู้โดย: sirinawadee ที่ 29 พ.ย. 12, 14:49
กระทู้นี้ทำให้นึกขึ้นได้ว่า "ผู้ดี" ของดอกไม้สดแต่งได้ดีจริงๆ ค่ะ ตอนเด็กอ่านแล้วก็ไม่รู้สึกอะไรมาก แต่พอแก่ขึ้นเอามาอ่านใหม่ ชอบมากๆค่ะ สอนทั้งตัวอย่างที่ดีและไม่ดี นำมาทบทวนตัวเองได้เยอะเลยค่ะ

ชอบมากที่พระยาพลวัตสอนมานพว่า การกระทำของสุภาพบุรุษย่อมสม่ำเสมอทั้งต่อหน้าและลับหลัง  :D :


กระทู้: สมบัติของผู้ดี
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 29 พ.ย. 12, 19:12

เห็นด้วยครับ เช่นอาจใช้คำว่า "มรรยาทในสังคม" สำหรับกายกริยา (ส่วนวจีกริยาและมโนจริยาก็คืิอสัปปุริสธรรมอย่างที่ท่านเทาชมพูว่าไว้)

คุณเพ็ญชมพูว่าไว้ค่ะ   ดิฉันไม่ได้ว่า  :)


กระทู้: สมบัติของผู้ดี
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 29 พ.ย. 12, 19:21
คำที่ใกล้เคียงคำว่า "ผู้ดี" อีกคำหนึ่ง คือ บัณฑิต  ค่ะ

http://www.youtube.com/watch?v=SfIFwtFossA


กระทู้: สมบัติของผู้ดี
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 29 พ.ย. 12, 19:23
ผมเห็นว่า น่าจะถึงเวลาที่บุคลากรที่เป็นนักวิจัยในวงการศึกษา หรือนักศึกษาระดับ post grad. จะได้ทำการวิจัย ทำวิทยานิพนธ์ หรือทำการประเมินระดับของความมีความเป็นผู้ดีของคนไทย ซึ่งก็ไม่จำเป็นที่จะต้องใช้คำว่าสมบัติของผู้ดีเป็นหัวข้อ จะใช้คำอื่นๆ เช่น มารยาททางสังคม สัมมาคารวะ จริยธรรม กริยามารยาท วจีจริยา มโนจริยา ฯลฯ ก็ได้   จะใช้มาตรฐานใด ของใคร ของประเทศใด หรือของหนังสือสมบัติของผู้ดีของเราที่เป็นแบบเรียนสอนเด็กในระดับประถม เป็นเกณฑ์ก็ได้

สิ่งที่ปรากฎในการถ่ายทอดการประชุมสภาฯ เช่น กรณีการอภิปรายไม่ไว้วางใจเมื่อสองสามวันมานี้ น่าจะใช้เป็นภาพของการแสดงออกต่อบุคคล ต่อสถานที่ ต่อเหตุการณ์ ต่อกฏ กติกา ระเบียบ ข้อบังคับ และต่อสาธารณชน ที่เป็นไปอย่างเปิดเผย ในทุกแง่ทุกมุมของสภาพอารมภ์ จิตใจ และการกระทำ ของคณะบุคคลที่อยู่ในทุกระดับการศึกษา แทบจะทุกอาชีพ แทบจะทุกระดับชั้นยศ แทบจะทุกตำแหน่งเหล่านี้ อาจจะนำมาใช้ในการประเมินได้    
ในแหล่งที่ชุมนุมของคณะบุคคลที่มีการถ่ายทอดและเผยแพร่ออกไปยังสาธารณชนดังกล่าวนี้ มีทั้งผู้นำในระดับสูงสุดของประเทศทั้งในอดีตและปัจจุบัน (อย่างน้อยก็จากสองเสาหลักของระบบการปกครอง) ผู้นำสูงสุดขององค์กรของรัฐทั้งในอดีตและปัจจุบัน อดีตข้าราชการทั้งฝ่ายทหาร ตำรวจ และพลเรือนที่มีชั้นยศและตำแหน่งสูงในส่วนราชการต่างๆก็มี   ภาพที่ปรากฏออกมาจากแหล่งชุมนุมหรือแหล่งสมาคมของคณะบุคคลที่เรียกว่า ผู้ทรงเกียรติ เหล่านี้ อย่างน้อยก็เป็นภาพที่พอจะแสดงออกเสมือนเป็นตัวแทนของระดับความมีสมบัติของผู้ดีของไทยได้พอสมควรเลยทีเดียว   แทบจะแยกลงไปเสียดวยซ้ำว่า สายใดเป็นเช่นใดอีกด้วย เนื่องจากคณะบุคคลเหล่านี้ หากไม่ดีก็คงจะไม่ได้รับการส่งเสริมจนเติบโตไปอยู่ในระดับผู้นำขององค์กรหรือชุมชน

ภาพเหล่านี้จะถูกถ่ายทอดลงไปสู่เยาวชนอย่างต่อเนื่อง หล่อหลอมและปลูกฝังให้เกิดกลายเป็นมาตรฐานที่พึงกระทำในสังคมไทย ความเป็นลูกผู้ชายและความเป็นกุลสตรีเปลี่ยนไป  
จะว่าไปแล้ว คล้ายกับเรากำลังหล่อหลอม สร้างจิตใจ สร้างเอกลักษณ์ใหม่ที่ก้าวห่างออกไปจากที่สากลโลกเขายังคงยึดถือ ยอมรับ และใช้กัน  
  


กระทู้: สมบัติของผู้ดี
เริ่มกระทู้โดย: Sujittra ที่ 29 พ.ย. 12, 19:44

เห็นด้วยครับ เช่นอาจใช้คำว่า "มรรยาทในสังคม" สำหรับกายกริยา (ส่วนวจีกริยาและมโนจริยาก็คืิอสัปปุริสธรรมอย่างที่ท่านเทาชมพูว่าไว้)

คุณเพ็ญชมพูว่าไว้ค่ะ   ดิฉันไม่ได้ว่า  :)


ชออภัยทั้งสองท่านด้วยครับ
 :)


กระทู้: สมบัติของผู้ดี
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 29 พ.ย. 12, 20:22
อ้างถึง
ภาพเหล่านี้จะถูกถ่ายทอดลงไปสู่เยาวชนอย่างต่อเนื่อง หล่อหลอมและปลูกฝังให้เกิดกลายเป็นมาตรฐานที่พึงกระทำในสังคมไทย ความเป็นลูกผู้ชายและความเป็นกุลสตรีเปลี่ยนไป 
จะว่าไปแล้ว คล้ายกับเรากำลังหล่อหลอม สร้างจิตใจ สร้างเอกลักษณ์ใหม่ที่ก้าวห่างออกไปจากที่สากลโลกเขายังคงยึดถือ ยอมรับ และใช้กัน 

น่าเห็นใจที่คุณตั้งต้องกล่าวอ้อมไปอ้อมมา เพื่อรักษามารยาทและไม่ตำหนิใครอย่างโจ่งแจ้ง  จนจุดชนวนวิวาทกันขึ้นมาในกระทู้   ;)

ก็คงต้องทำให้เยาวชนเข้าใจว่า ด้วยการย่อหย่อนทางด้านการวางระเบียบและวินัยในสังคม   เราปล่อยปละละเลยให้บุคคลบางคนที่ทำตรงกันข้ามกับสมบัติผู้ดีกลายเป็นคนสำคัญในสังคม    เยาวชนควรเข้าใจความสำเร็จกับความถูกต้องมันเป็นคนละเรื่องกัน   เป็นหน้าที่ของคนรุ่นเขาจะเบนให้สองอย่างนี้ไปด้วยกันในทิศทางเดียวกัน  เพราะคนรุ่นผู้ใหญ่กว่าเขาทำพลาดไปแล้ว


กระทู้: สมบัติของผู้ดี
เริ่มกระทู้โดย: Sujittra ที่ 29 พ.ย. 12, 20:43
อยากให้ท่านเทาชมพูมาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมจริงๆ (ทั้งที่รู้ว่าเป็นไปไม่ได้)
ผมเชื่อว่าสิ่งต่างๆจะดีขึ้น


กระทู้: สมบัติของผู้ดี
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 29 พ.ย. 12, 21:04
ระเบียบสำหรับควบคุมจริยธรรมของนักการเมือง  (http://www.cabinet.thaigov.go.th/acrobat/Ethics_soc.pdf) มีอยู่แล้ว 

หากผู้รับผิดชอบตามระเบียบนี้เอาจริงเอาจัง ไม่ละเลย

เรื่องน่าอับอายเหล่านี้คงไม่เกิดขึ้นในสภา

 :(


กระทู้: สมบัติของผู้ดี
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 29 พ.ย. 12, 21:17
มิได้มีเจตนาจะเขียนตำหนิในเรื่องใดๆเลยครับ เพียงแต่อยากจะบอกว่า มันเป็นภาพที่เราสามารถนำมาศึกษา วิเคราะห์ แล้วสามารถสังเคราะห์ใช้ให้เกิดประโยชน์สำหรับการสอนเยาวชนของเราได้ครับ  ;D


กระทู้: สมบัติของผู้ดี
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 29 พ.ย. 12, 21:19
ระเบียบกฎเกณฑ์ต่างๆ  ต่อให้มีอยู่จริงแต่ถ้าขาดผู้รักษาระเบียบ  มันก็เท่ากับไม่มีน่ะแหละค่ะ

อยากให้ท่านเทาชมพูมาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมจริงๆ (ทั้งที่รู้ว่าเป็นไปไม่ได้)
ผมเชื่อว่าสิ่งต่างๆจะดีขึ้น

จริงค่ะ   เป็นไปไม่ได้  
อยู่อย่างนี้เป็นสุขดีแล้วค่ะ

กำลังจะส่ง พอดีชนกลางอากาศกับค.ห.คุณตั้ง   กรุณาขยายความหน่อยได้ไหมคะ   ดิฉันอาจตีความคำตอบคุณตั้งผิดไปคนละโยชน์ก็เป็นได้


กระทู้: สมบัติของผู้ดี
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 29 พ.ย. 12, 21:43
คือ หากจะต้องการวิเคราะห์สภาพของการมีคุณสมบัติของผู้ดีในสังคมไทยในปัจจุบัน ก็คงจะไม่ต้องเที่ยวตามไปศึกษาแยกเป็นอาชีพ เป็นวัย เป็นระดับความรู้ เป็นระดับตำแหน่ง ฯลฯ เนื่องจากมีแหล่งที่รวมกันอยู่และก็เป็นแหล่งที่แสดงออกมาให้เห็นโดยปราศจากการจัดฉากครับ ทุกคนได้เห็นภาพเหมือนกัน เพียงแต่จะมีความเห็นแตกต่างกัน    การศึกษาวิเคราะห์จากความเห็นของฝ่ายผู้ชม จะทำให้พอจับทิศทางในความคิดและการยอมรับของคนไทย (ของกลุ่มใดๆ) ว่า อะไรที่ยอมรับกันแต่เดิมนั้นได้เปลี่ยนไปเป็นอย่างไร อะไรที่เป็นของใหม่ที่กำลังกลายเป็นปรกตินิยมในยุคสมัยนี้ ฯลฯ เหล่านี้เป็นต้น   เพื่อจะได้ทำการแก้ไขได้ถูกจุดโดยผ่านระบบการสอนและการศึกษาต่างๆ


กระทู้: สมบัติของผู้ดี
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 29 พ.ย. 12, 21:49
ขออภัยครับ  :-[

วันนี้ดูสมองจะเรียงเนื้อความไม่ค่อยจะได้เรื่อง
 :D


กระทู้: สมบัติของผู้ดี
เริ่มกระทู้โดย: Sujittra ที่ 29 พ.ย. 12, 23:41
คือ หากจะต้องการวิเคราะห์สภาพของการมีคุณสมบัติของผู้ดีในสังคมไทยในปัจจุบัน ก็คงจะไม่ต้องเที่ยวตามไปศึกษาแยกเป็นอาชีพ เป็นวัย เป็นระดับความรู้ เป็นระดับตำแหน่ง ฯลฯ เนื่องจากมีแหล่งที่รวมกันอยู่และก็เป็นแหล่งที่แสดงออกมาให้เห็นโดยปราศจากการจัดฉากครับ ทุกคนได้เห็นภาพเหมือนกัน เพียงแต่จะมีความเห็นแตกต่างกัน    การศึกษาวิเคราะห์จากความเห็นของฝ่ายผู้ชม จะทำให้พอจับทิศทางในความคิดและการยอมรับของคนไทย (ของกลุ่มใดๆ) ว่า อะไรที่ยอมรับกันแต่เดิมนั้นได้เปลี่ยนไปเป็นอย่างไร อะไรที่เป็นของใหม่ที่กำลังกลายเป็นปรกตินิยมในยุคสมัยนี้ ฯลฯ เหล่านี้เป็นต้น   เพื่อจะได้ทำการแก้ไขได้ถูกจุดโดยผ่านระบบการสอนและการศึกษาต่างๆ

เป็นมุมมองที่น่าสนใจมากครับ

เห็นด้วยอย่างยิ่งครับ


กระทู้: สมบัติของผู้ดี
เริ่มกระทู้โดย: Sujittra ที่ 29 พ.ย. 12, 23:52
เป็นสิ่งที่ดีมากครับที่ได้เห็นมุมมองได้เห็นวิธีคิดของแต่ละท่าน ยิ่งทำให้ผมรู้สึกว่าผู้คนในเรือนไทยนี้ล้วนเป็นคนที่น่าคบหาทั้งสิ้น

ขออนุญาตไปต่อนะครับ

ผนวก ๖ ผู้ดีย่อมปฏิบัติการงานดี
หมายความว่า การปฏิบัติการงานดีคือการทำการงานทุกอย่างอันเป็นหน้าที่ของตนไม่บกพร่อง ไม่คั่งค้าง ทำเสร็จเรียบร้อยด้วยดีตามส่วนของงาน

กายจริยา หมายความว่า การปฏิบัติการงาน ซึ่งต้องใช้กายเป็นสาคัญ

(๑) ผู้ดีย่อมทำการอยู่ในระเบียบแบบแผน หมายความว่าในการกระทำต่างๆ ผู้ดีย่อมรักษา ระเบียบแบบแผนถือเอาหลักของเหตุผลเป็นสาคัญ ไม่ทำตามอาเภอใจโดยไม่มีหลักอันจะเป็นช่องทางให้เกิดความผิดหรือถูกตำหนิได้
(๒) ผู้ดีย่อมไม่ถ่วงเวลาให้ผู้อื่นคอย หมายความว่า ในการนัดหมายเพื่อทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง ต้องทำตนให้เป็นคนตรงต่อเวลา ถ้าทำตนให้เป็นคนผิดเวลาแล้ว ย่อมทำให้ผู้อื่นต้องเดือดร้อน ราคาญด้วย และอาจเสียงานนั้น ๆ ได้ในบางกรณี พลาดเวลาเพียงนาทีเดียว ก็อาจต้องเสียงานหรือ เสียเวลาไปหลายวันก็ได้ ดังนั้นจึงควรเป็นคนตรงเวลาเสมอ
(๓) ผู้ดีย่อมไม่ละเลยที่จะตอบจดหมาย หมายความว่าการตอบจดหมายนั้นเป็นมรรยาทอันดีงาม เพราะถ้าเป็นธุระก็ควรตอบไปให้เสร็จได้ไม่ลืม ถ้าเป็นจดหมายเยี่ยมเยือนแสดงมิตรภาพก็ควร รีบตอบแสดงน้าใจอันดีไป เพื่อให้เขาเห็นว่าเรามิได้ละเลยที่จะรักษามิตรภาพนั้น
(๔) ผู้ดีย่อมไม่ทำการแต่ต่อหน้า หมายความว่า การงานอันใดที่เป็นของหมู่คณะ ผู้รับทำงานต้องทำงานนั้นให้สาเร็จลุล่วงไปตามที่ได้รับมอบหมายและการทำงานนั้นต้องไม่ทำเฉพาะต่อหน้าคน เท่านั้น ต้องทำทั้งต่อหน้าและลับหลัง หรือการอย่างอื่น เช่น ไปช่วยงานเขา เมื่อมีความรู้ ความสามารถจะทำงานอย่างใดได้ก็ต้องทำงานนั้นทีเดียว เจ้าของจะเห็นหรือไม่ก็ตาม ควรทำจนสุด ความสามารถของเราจึงเป็นการชอบแท้

วจีจริยา หมายความว่า การปฏิบัติการงานด้วยคาพูดเป็นสาคัญ

(๑) ผู้ดีพูดสิ่งใดย่อมให้เป็นที่เชื่อถือได้ หมายความว่า เมื่อจะพูดคำใดคำนั้นต้องเป็นคำที่ออกจากหัวใจจริง คือ พูดตามที่ได้เห็นได้ฟังได้ทำหรือได้รู้สึกมิใช่เสแสร้งแกล้งกล่าวให้คลาดจากความจริง พูดอย่างใดต้องเป็นอย่างนั้นเช่นนี้ คำพูดคำนั้นจึงเป็นที่เชื่อถือได้
(๒) ผู้ดีต้องไม่รับวาจาคล่อง ๆ โดยมิได้เห็นว่าควรจะเป็นได้หรือไม่ หมายความว่า เมื่อจะรับคำ เพื่อทำการใดการหนึ่งหรือจะสัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือเมื่อจะปฏิญาณอย่างใดอย่างหนึ่งกับ บุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์แห่งใดแห่งหนึ่ง ต้องใครครวญให้แน่แก่ใจก่อนจึงรับคำ หรือ จึงปฏิญาณ มิใช่ทำแต่สักว่าทำ พูดโพล่ง ๆ ไปโดยไม่ได้คำนึงให้แน่ชัดว่าจะทำได้หรือไม่ เมื่อรับคำแล้ว แม้ว่าจะต้องเสียอย่างใดก็ต้องยอมเสีย ต้องถือหลักว่าเสียชีพอย่างเสียสัตย์


กระทู้: สมบัติของผู้ดี
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 30 พ.ย. 12, 09:55
(๑) ผู้ดีพูดสิ่งใดย่อมให้เป็นที่เชื่อถือได้ หมายความว่า เมื่อจะพูดคำใดคำนั้นต้องเป็นคำที่ออกจากหัวใจจริง คือ พูดตามที่ได้เห็นได้ฟังได้ทำหรือได้รู้สึกมิใช่เสแสร้งแกล้งกล่าวให้คลาดจากความจริง พูดอย่างใดต้องเป็นอย่างนั้นเช่นนี้ คำพูดคำนั้นจึงเป็นที่เชื่อถือได้

‘เจ๊เบียบ’ปลื้ม‘จ่าประสิทธิ์’ น่ารักดี!ฝันนอนกับ‘รังสิมา’ (http://www.thaipost.net/news/291112/65882)

นางระเบียบรัตน์ พงษ์พานิช นายกสมาคมเสริมสร้างครัวครอบครัวให้อบอุ่นและเป็นสุข ซึ่งมักออกมาแสดงความคิดเห็นในการปกป้องเพศหญิง  กล่าวถึงเรื่องดังกล่าวว่า มันเป็นสีสัน ไม่ถึงกับต้องไปฟ้องร้องกัน กรณีดังกล่าวน่ารักดี ถือเป็นคู่กัดที่เป็นสีสัน เป็นโจ๊กการเมือง คลายเครียดเวลาอภิปรายเรื่องซีเรียสในสภา อย่าไปซีเรียส ยังไงในสภาก็เพื่อนกันทั้งนั้น ถ้าเป็นตนเองก็คงไม่ซีเรียส เพราะเป็นการแหย่กันเล่น ๆ สนุกดี.

สมบัติของผู้ดี หรือ สัปปุริสธรรม นอกจากจะมีได้ในเยาวชนโดยการสอนในโรงเรียนแล้ว ผู้ใหญ่ทั้งพ่อแม่ และคนที่มีบทบาทนำในสังคมต้องกระทำเป็นตัวอย่างให้เด็กดูด้วย มิฉะนั้นจะเข้าทำนองนิทานเรื่อง "แม่ปูสอนลูกปู"

เอาเพลงของคุณคัทลียา มารศรี มาให้ฟังเพลิน ๆ แก้เครียด

http://www.youtube.com/watch?v=pzrG5yMGIyw

 ;D


กระทู้: สมบัติของผู้ดี
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 30 พ.ย. 12, 15:33
ผู้ดี-ไพร่

ขอให้สังเกตนะครับว่า คู่ตรงข้ามของ "ไพร่" ในกฏหมายตราสามดวงที่ใช้กันมาตั้งแต่อยุธยาจนถึง ร.๕ นั้น คือ "มูลนาย" ทั้งสองฝ่ายนี้ถึงจะร่วมวัฒนธรรมใหญ่กันก็จริง แต่ในรายละเอียดแล้ว ต่างฝ่ายต่างไม่รู้จักความละเอียดซับซ้อนของวัฒนธรรมอีกฝ่ายหนึ่ง ดูละครกันคนละเรื่องและคนละแบบ, ผลิตและใช้วรรณกรรมกันคนละชนิด, ฟังเพลงก็คนละประเภทกัน, แม้แต่เนื้อหาของพระพุทธศาสนาที่ต่างฝ่ายต่างนับถือก็ไม่สู้จะเหมือนกันนัก ฯลฯ

ผมไม่แน่ใจว่า ต่างมีสำนึกเหยียดหยามวัฒนธรรมของกันและกันหรือไม่ เพราะในชีวิตจริงแล้ว ต่างอยู่ในโลกของตน มีความจำเป็นล่วงเข้ามาในโลกของอีกฝ่ายไม่มากนัก แต่แน่นอนว่ามีหลักฐานมากมายที่ชี้ให้เห็นว่า เมื่อไพร่ล่วงเข้ามาในโลกของมูลนาย วัฒนธรรมของไพร่ก็เป็นสิ่งน่าหัวร่อเยาะ หรือน่าเหยียดหยาม นับตั้งแต่อาหารการกิน, การแต่งเนื้อแต่งตัว, มารยาท, ไปจนถึงคุณค่าที่ยึดถือ

แต่ชีวิตที่ถูกแยกออกเป็นสองโลกนี้เริ่มอันตรธานไปในการปฏิรูปของ ร.๕ ซึ่งยังสืบทอดอำนาจทางการเมือง, เศรษฐกิจและวัฒนธรรมไว้ในหมู่พวก "มูลนาย" (หรือกลุ่มหนึ่งของพวก "มูลนาย") เหมือนเดิม แต่บัดนี้เปลี่ยนคำที่ใช้เรียกจาก "มูลนาย" ให้กลายเป็น "ผู้ดี" แทน

คู่ตรงข้ามของไพร่ในภาษาไทยจึงกลายเป็น "ผู้ดี" ไป

ผมขอยกตัวอย่างการใช้คำว่า "ไพร่" ในพระนิพนธ์ของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพเป็นตัวอย่าง

สำนวนว่า "ทรงพระราชสมภพภายใต้พระมหาเศวตรฉัตร" นั้นมีความหมายอย่างไร ก.ศ.ร. กุหลาบไปเข้าใจว่า เมื่อพระอัครมเหสีจะประสูติพระราชโอรส-ธิดา ก็โปรดให้ตั้งพระมหาเศวตรฉัตรไว้เหนือที่ซึ่งจะมีพระประสูติกาล ฉะนั้น เมื่อสมเด็จฯ พระองค์นั้นทรงพระนิพนธ์พงศาวดารรัชกาลที่ ๕ จึงได้ทรงอธิบายว่า ที่เข้าใจเช่นนั้นเป็นเพราะ ก.ศ.ร. กุหลาบ (ในพระนิพนธ์ไม่ได้ออกชื่อ) เป็น "ไพร่" ไม่รู้ธรรมเนียมเจ้า เพราะความหมายของสำนวนนี้ก็คือ ทรงพระราชสมภพเมื่อพระราชบิดาได้เสวยราชสมบัติแล้วเท่านั้น

(เช่น ร.๒ ไม่ได้ทรงพระราชสมภพภายใต้พระมหาเศวตรฉัตร เพราะขณะนั้นพระราชบิดายังมิได้ครองราชย์ แต่ ร.๕ ใช่ เพราะพระราชบิดาได้ขึ้นครองราชสมบัติแล้ว)

อย่างที่รู้กันอยู่แล้วนะครับว่า ก.ศ.ร. กุหลาบ ซึ่งเป็นสามัญชน ล่วงเข้ามาในพื้นที่ของ "ผู้ดี" คือพื้นที่ "วิชาการ" ซึ่ง "ผู้ดี" ในสมัยนั้นถือว่าเป็นพื้นที่อันคนซึ่งปราศจากคุณสมบัติของ "ผู้ดี" จะเข้ามาไม่ได้

คุณสมบัตินั้นคือการศึกษา (ในความหมายกว้าง ไม่จำกัดเฉพาะประกาศนียบัตร) อย่างหนึ่ง และความรอบรู้เจนจัดในขนบธรรมเนียมประเพณีของ "ผู้ดี" อีกอย่างหนึ่ง

ความหมายของ "ไพร่" จึงเคลื่อนไปจากประเภทของบุคคลที่ไม่ใช่ "มูลนาย" มาเป็นคนที่ไม่ได้รับการอบรมสั่งสอนมารยาทที่ถือกันว่าเป็นมารยาท "ผู้ดี"

ความหมายนี้ยิ่งมีพลังมากขึ้น เมื่อความหมายของคำว่า "ผู้ดี" เองก็เริ่มเคลื่อนจากกำเนิด มาสู่คุณสมบัติอื่นซึ่งมนุษย์สามารถแสวงหาไขว่คว้ามาเป็นของตนได้ เช่นมารยาท

หนังสือ "สมบัติผู้ดี" พูดชัดเจนไปเลยว่า กำเนิดไม่ใช่เงื่อนไขที่ขาดไม่ได้ของ "ผู้ดี" แต่มารยาทและความประพฤติซึ่งอาจได้มาจากการอบรมสั่งสอนต่างหากที่จะแยก "ผู้ดี" ให้ออกจาก "ไพร่"

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากกระบวนการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ความทันสมัยของไทย เป็นกระบวนการที่พยายามจะสืบทอดอำนาจของ "มูลนาย" ไว้ให้คงอยู่ในระบบใหม่ด้วย คำว่า "ผู้ดี" ซึ่งแม้จะไม่เน้นในเรื่องกำเนิด แต่ความหมายถึงอภิสิทธิชนอันมาแต่กำเนิดก็ยังแฝงอยู่ในคำนี้ เพราะคนที่จะเป็น "ผู้ดี" ได้ ก็ต้องเติบโตมาในวัฒนธรรมมูลนาย, ได้รับการศึกษาแผนใหม่ซึ่งมีต้นทุนไม่น้อย อีกทั้งต้องมีอิทธิพลที่จะดำรงตำแหน่งหน้าที่การงานอันเป็นที่นับหน้าถือตาด้วย

"ผู้ดี"จึงหมายถึงคนมีมารยาทอันงามและเป็นอภิสิทธิชน ในขณะที่ "ไพร่" ซึ่งเป็นตรงกันข้าม คือคนที่หยาบคาย, เป็นสามัญชนคนธรรมดา, ไม่มีอภิสิทธิ์ หรือว่ากันที่จริงแม้แต่สิทธิอันพึงมีพึงได้ในฐานะพลเมืองก็มีไม่เต็ม

บางส่วนจาก บทความเรื่อง "ไพร่" (http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=kunkaykai&month=06-04-2010&group=2&gblog=11) โดยอาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์

นิตยสารมติชนสุดสัปดาห์ ฉบับประจำวันที่ ๒-๘ เมษายน ๒๕๕๓

 ;D



กระทู้: สมบัติของผู้ดี
เริ่มกระทู้โดย: Sujittra ที่ 30 พ.ย. 12, 18:56
^
คงจะน่ารับฟังครับถ้ามาจากนักวิชาการที่แท้จริง
เผอิญ นิธิ ที่ผมเคยนับถือนั้น ไม่มีอีกแล้ว
โดยธรรมดาปุถุชนก็ไม่มีภูมิคุ้มกันที่เพียงพอในการกลั่นกรอง โดยเฉพาะเรื่องไกลตัว และโดยเฉพาะที่มาจากคนที่เรียกตัวเองว่า นักวิชาการ
ดังนั้นเรื่องราวทมาจากนักวิชาการที่มี conflict of interest นั้นผมจึงไม่ปฏิเสธ แต่ก็ไม่เชื่อ

ขอโทษครับที่เห็นชื่อแล้วออกอาการของขึ้นไปนิด
 >:(


กระทู้: สมบัติของผู้ดี
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 30 พ.ย. 12, 20:50
การเขียนหนังสือ ถ้าเขียนโดยมีคำตอบไว้ในใจแล้ว  จากนั้นค่อยลากเหตุผลอะไรมาอ้างก็ได้เพื่อให้เข้ากับคำตอบ  ก็ไม่ต่างกับตั้งคำถามให้เข้ากับคำตอบ  ไม่ใช่หาคำตอบมาตอบคำถามค่ะ



กระทู้: สมบัติของผู้ดี
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 30 พ.ย. 12, 23:09
รอยอินท่านให้ความหมายของคำ "ผู้ดี" ดังนี้

ผู้ดี น. คนที่เกิดในตระกูลดี, คนที่มีมารยาทดีงาม.

แต่ถ้าหากไปถามชาวบ้านร้านตลาด หรือคนในชนบททั่วไปอาจได้คำตอบที่ต่างออกไป

คำว่า "ผู้ดี" ที่ปรากฏในเพลงลูกทุ่งหลายเพลง จะมีสร้อยคำว่า "มีเงิน" ต่อท้ายไปทุกที ลองฟังเพลงนี้

http://www.youtube.com/watch?v=l6HWeRE8aoY

ใช่แล้วสิ

คำร้อง :  แผน   พันธ์สาลี        ทำนอง :  แผน   พันธ์สาลี

ใช่แล้วสิ ก็พี่มันจน น้องจึงไม่แล
ไม่มีรถเก๋งให้นั่ง น้องนางเจ้าจึงไม่แคร์ แม้ว่าเราจะเคยรักกัน

บอกแล้วไง พี่มีแต่ใจรักจริงเท่านั้น  
แหวนเพชร แหวนทองของพี่  ไม่มีเป็นของกำนัล  หากรักกันจริง ๆ

พี่เลวแค่ไหน ไยน้องจึงชัง เพราะจนกระมัง ยอดหญิง  
ผู้ดีมีเงิน  คงหวังพึ่งพิง  พี่รักจริง จึงไม่สนใจ

ใช่แล้วสิ เศรษฐีมีเงิน เขาซื้อรักได้  
พี่หลงรักแทบเป็นบ้า  น้ำตาหรือแทนน้ำใจ  จะจำจนตาย ใจดำ

ผู้ดีในความคิดของชาวบ้านต้องมีเงิน  เรื่องนี้อาจารย์นิธิพลาดไปที่ไม่ได้พูดถึง

 ;D


กระทู้: สมบัติของผู้ดี
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 30 พ.ย. 12, 23:19
เรื่อง ผู้ดี-ไพร่ ใน #๖๗ ต้องการให้วิจารณ์เฉพาะที่คัดมา ส่วนที่เหลือในบทความโดยเฉพาะตอนท้าย ๆ อย่าไปสนใจเลย

ลองลบชื่อ "นิธิ" ออกจากชื่อคนเขียนบทความ แล้วลองวิจารณ์เนื้อความดูว่ามีข้อความตอนไหนถูกผิดอย่างไร

อย่างน้อยคำที่มีความหมายตรงกันข้ามกับ "ผู้ดี" คือ "ไพร่" น่าจะถูกต้อง

 ;D



กระทู้: สมบัติของผู้ดี
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 01 ธ.ค. 12, 08:28
อยากฟังคำวิจารณ์ของคุณเพ็ญชมพู ที่ไม่ใช่คำตอบยกมาจากคำวิจารณ์ของนักวิชาการอื่นๆ  และแถมท้ายสั้นๆว่าเห็นด้วยกับคำวิจารณ์นั้น
ถ้าคุณเพ็ญชมพูประเดิมเมื่อไร   ดิฉันจะมาวิจารณ์บทความของดร.นิธิ บ้าง


กระทู้: สมบัติของผู้ดี
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 01 ธ.ค. 12, 10:25
อยากฟังคำวิจารณ์ของคุณเพ็ญชมพู ที่ไม่ใช่คำตอบยกมาจากคำวิจารณ์ของนักวิชาการอื่นๆ  และแถมท้ายสั้นๆว่าเห็นด้วยกับคำวิจารณ์นั้น

โดยรวมแล้วเจ้าของบทความเรียบเรียงที่มาที่ไปและความหมายของคำว่า "ผู้ดี" ได้ดี แม้จะแฝงนัยทางการเมืองอยู่บ้างในประโยคสุดท้าย  "ผู้ดี"จึงหมายถึงคนมีมารยาทอันงามและเป็นอภิสิทธิชน  ในขณะที่ "ไพร่" ซึ่งเป็นตรงกันข้าม คือคนที่หยาบคาย, เป็นสามัญชนคนธรรมดา, ไม่มีอภิสิทธิ์ หรือว่ากันที่จริงแม้แต่สิทธิอันพึงมีพึงได้ในฐานะพลเมืองก็มีไม่เต็ม

ข้อความนี้อาจจะขัดใจใครหลายคน แต่ถ้าหมายถึง "ผู้ดีมีเงิน" ความเป็นอภิสิทธิชนก็เป็นความจริงในสังคมไทย

 ::)


กระทู้: สมบัติของผู้ดี
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 01 ธ.ค. 12, 10:32
คำเหล่านี้เขาเรียกว่า "สำนวน"
ไม่ได้มีคำว่า "ผู้ดีมีเงิน" อย่างเดียว     เรามีสำนวน "ผู้ดีตกยาก" ด้วย   นอกจากนี้ก็มี "ผู้ดีแปดสาแหรก"  "ผู้ดีตีนแดง" เป็นสำนวนที่ใช้ในความหมายแตกต่างกันไปตามความคิดเห็นของผู้พูด
คำว่า "ผู้ดี" ทั้งหมดนี้เกี่ยวกับอภิสิทธิ์ในสังคมตรงไหน  โปรดอธิบาย


กระทู้: สมบัติของผู้ดี
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 01 ธ.ค. 12, 10:42
คำเหล่านี้เขาเรียกว่า "สำนวน"
ไม่ได้มีคำว่า "ผู้ดีมีเงิน" อย่างเดียว     เรามีสำนวน "ผู้ดีตกยาก" ด้วย   นอกจากนี้ก็มี "ผู้ดีแปดสาแหรก"  "ผู้ดีตีนแดง" เป็นสำนวนที่ใช้ในความหมายแตกต่างกันไปตามความคิดเห็นของผู้พูด
คำว่า "ผู้ดี" ทั้งหมดนี้เกี่ยวกับอภิสิทธิ์ในสังคมตรงไหน  โปรดอธิบาย

"ผู้ดีตกยาก" ไม่มีอภิสิทธิ์ในสังคมแน่นอนเพราะไม่มีเงิน แต่สำหรับ "ผู้ดีแปดสาแหรก" และ "ผู้ดีตีนแดง" หากมีเงินก็จัดอยู่ในประเภท "ผู้ดีมีเงิน"

แต่ถ้าหมายถึง "ผู้ดีมีเงิน" ความเป็นอภิสิทธิชนก็เป็นความจริงในสังคมไทย

เรื่องอภิสิทธิ์นี้มิได้หมายรวมถึง "ผู้ดีมารยาทงาม" หรือ "ผู้ดีที่เป็นสัตบุรุษ"

 ;D


กระทู้: สมบัติของผู้ดี
เริ่มกระทู้โดย: Sujittra ที่ 01 ธ.ค. 12, 11:28
เรื่อง ผู้ดี-ไพร่ ใน #๖๗ ต้องการให้วิจารณ์เฉพาะที่คัดมา ส่วนที่เหลือในบทความโดยเฉพาะตอนท้าย ๆ อย่าไปสนใจเลย

ลองลบชื่อ "นิธิ" ออกจากชื่อคนเขียนบทความ แล้วลองวิจารณ์เนื้อความดูว่ามีข้อความตอนไหนถูกผิดอย่างไร

อย่างน้อยคำที่มีความหมายตรงกันข้ามกับ "ผู้ดี" คือ "ไพร่" น่าจะถูกต้อง

 ;D



ขึ้นอยู่กับว่าเราเริ่มให้คำนิยามของคำว่า "ผู้ดี" ว่าอย่างไร นิยามนั่นแหละครับที่จะเป็นตัวกำหนด "คำตรงข้าม"

1. สมมุติว่า เรานิยาม "ผู้ดี" คือ "คนรวยเก่าแก่มาอย่างน้อย 3 รุ่น"  คำและกลุ่มคนที่มีความหมายตรงข้ามก็จะได้แก่ คนรวยรุ่นใหม่ (ที่พ่อแม่จนแต่รวยด้วยน้ำพักน้ำแรงหรือความสามารถหรือการคดโกงของตนเอง) และ คนจน    (ทั้งนี้ไม่ต้องไปสนใจว่า กิริยามรรยาทจะป็นอย่างไร   "ผู้ดี" ในข้อนี้แม้จะมรรยาททรามอย่างไร "ผู้ดี" ในข้อนี้ก็จะเป็นผู้ดีตลอดไป ในทางตรงกันข้าม แม้คนรวยรุ่นใหม่ หรือ คนจน จะมีมรรยาทงดงาม มีน้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ช่วยเหลือผู้อื่น ก็จะยังไม่จัดว่าเป็น "ผู้ดี")

2. ถ้าเรานิยามว่า "ผู้ดี" คือ "คนรวย" คำตรงข้ามก็คือ "คนจน" (ตรงไปตรงมา)

3. ถ้าเรานิยามว่า "ผู้ดี" คือ "ผู้มีมรรยาทและจิตใจงดงาม" คำตรงข้ามก็คือ "ผู้มีมรรยาททางสังคมที่ไม่เหมาะไม่ควร ผู้ไม่มีน้ำใจ" ดังนั้นถ้าเป็นคนจน แต่มีมรรยาทงดงาม ก็นับได้ว่าเป็น "ผู้ดี" ในทางตรงกันข้ามถ้าคนรวยแต่ไม่มีน้ำใจ หรือแสดงกิริยาไม่ดีเช่น เอาเท้าชี้พระพุทธรูป เช่นนี้ก็มิอาจนับได้ว่าเป็น "ผู้ดี"

4. ถ้าเรานิยาม "ผู้ดี" โดยเริ่มจากมองมาที่ "ไพร่" ก่อน โดยมองว่า "ไพร่" มีลักษณะอย่างไร (เป็นทาส ไม่มีวัฒนธรรม ไม่มีโอกาสทางการศึกษาหรือการได้รับการคุ้มครองโดยกฎหมายที่ยุติธรรม และอื่นสุดแต่จะคิด) หลังจากนั้นเราก็มาหาคำที่แสดงลักษณะตรงข้ามกับลักษณะของไพร่ (เป็นเจ้าขุนมูลนาย มีมรรยาททางสังคมที่ดูดีมีสกุล การศึกษาสูง มีเส้นมีสายเมื่อมีคดีความ และอื่นที่ตรงข้าม) และเรียกคนเหล่านี้ว่า "ผู้ดี"  เราก็จะประจักษ์กับความจริง(ของเรา)ว่า "เห็นไหมว่า "ไพร่" ตรงข้ามกับ "ผู้ดี" ชัดๆ"

นักวิชาการที่สังคมต้องการคือ นักวิชาการที่คิดอ่านอย่างรอบคอบ (ไม่อยากใช้คำว่า "ฉลาด" เพราะไม่รู้ว่าจะนิยามว่าอย่างไร) และ ไม่มีผลประโยชน์หรือแรงจูงใจส่วนตัวแอบแฝงอยู่
แต่นักวิชาการในท้องตลาดที่มีอยู่โดยมากในบ้านเรา(รวมทั้งในบ้านเมืองอื่นด้วย) (ต้องขอโทษที่ใช้คำว่า "โดยมาก" เพราะถ้าไม่มาก บ้านเมืองคงไม่ถูกปล่อยให้เป็นเช่นนี้) มักมีวิธีการคิดที่ไม่รอบคอบ (อย่าให้ยกตัวอย่างเลยครับ) หรือถ้าเป็นที่มีความคิดอ่านรอบคอบ(บางครั้งเราเรียกว่า "ฉลาดเป็นกรด") ก็มักจะมีผลประโยชน์หรือแรงจูงใจส่วนตัวแอบแฝงอยู่

บางหน่วยงานหรือสื่อสารมวลชนบางสาขาที่มีเหล่านักวิชาการจอมปลอมเหล่านี้อยู่ ก็มักจะรู้เห็นเป็นใจและเอานักวิชาการจอมปลอมนี้มาเป็นเครื่ิองมือของตนเพราะตนเองก็มีผลประโยชน์แอบแฝงมหาศาลซุกซ่อนอยู่ เช่น ถ้าเป็นสื่ิอมวลชนก็จะมีงบโฆษณาหลายร้อยล้านซึ่งเพียงพอที่จะทำให้เจ้าของกิจการสื่อสารมวลชนดังกล่าวหัวใจวายหรือช๊อคได้เมื่อถูกถอนงบโฆษณา (ซึ่งก็มีตัวอย่างมาแล้ว) จนยอมที่จะกลืนกินอุดมการณ์ของตนลงท้องไปหรือเก็บเข้าลิ้นชัก  คำสุภาษิตที่ว่า "เวลาเปลี่ยนคนเปลี่ยน" จึงเป็นจริงอยู่ตลอดไป

สื่อสารมวลชนที่เป็นสื่อสารมวลชนด้วยจิตวิญญาณด้วยอุดมการณ์ก็คงมีอยู่จริงหรอกครับ เพียงแต่เรายังหาไม่เจอ

ขอโทษด้วยครับที่ "แรง" ไปหน่อย
 :-X


กระทู้: สมบัติของผู้ดี
เริ่มกระทู้โดย: Sujittra ที่ 01 ธ.ค. 12, 11:44
เพื่อมิให้หลงประเด็น ผมขออนุญาตเรียนว่า ผมมิได้คาดหวังให้คนเลวกลายเป็นคนดี หรือ ทุกคนเป็นคนดีเป็นอริยะสงฆ์ ผมเพียงแต่อยากให้คนที่อยู่ร่วมกันในสังคมได้รู้จักการให้เกียรติผู้อื่น ให้เกียรติสถานที่ ให้เกียรติแก่กาล ช่วยเหลือผู้อ่อนแอกว่า ไม่กระทำกิริยาอะไรที่เป็นการรบกวนผู้อื่นที่อยู่ในบริเวณเดียวกัน

ดังนั้นสิ่งที่ผมอยากให้เป็นนั้นจึงมิได้ขึ้นกับเงื่อนไขว่าเป็นโลกทุนนิยมหรือโลกในอุดมคติ ไม่ขึ้นกับเงื่อนไขว่าทุกคนต้องเป็นคนดีแท้ก่อนหรือคนดีคนไม่ดีอยู่คละกัน ผมเชื่อว่า ไม่ว่าสังคมจะเปลี่ยนแปลงอย่างไรไปในรูปแบบไหนจะมีการปกครองอย่างไร ทุกคนในสังคมก็จะยังคงต้องการให้คนในสังคมและลูกหลานของตน (แต่อาจไม่ได้รวมตนเองหรือมิได้มองตนเอง) "ได้รู้จักการให้เกียรติผู้อื่น ให้เกียรติสถานที่ ให้เกียรติแก่กาล ช่วยเหลือผู้อ่อนแอกว่า ไม่กระทำกิริยาอะไรที่เป็นการรบกวนผู้อื่นที่อยู่ในบริเวณเดียวกัน"

นี่จึงเป็น "ผู้ดี" ในนิยามเบื้องต้นของผม โดยมิได้ข้องเกี่ยวหรือข้องแวะกับ "ความรวยจน" "ความมีโอกาสหรือไม่มีโอกาส" "ความมีอภิสิทธิ์หรือไม่มีอภิสิทธิ์"

ดังนั้นจึงขอสรุปว่า "ผู้ดี" ของผมนั้นมิได้ขึ้นกับว่า "ตนเองได้รับอะไรหรือตนเองอยู่ในสถานะอะไร" แต่ขึ้นกับว่า "ตนเองกระทำอะไรหรือมิได้กระทำอะไรแก่ผู้อื่น"

 :)


กระทู้: สมบัติของผู้ดี
เริ่มกระทู้โดย: Sujittra ที่ 01 ธ.ค. 12, 11:57
ต้องขอบคุณท่านเพ็ญชมพูด้วยใจจริงครับที่กรุณาหยิบประเด็นนิยาม "ผู้ดี" มาพูดคุยทำความกระจ่างกันเพราะในตอนแรกผมเองก็ไม่กล้าหยิบมาพูดคุย (ทั้งที่ตัวผมเองก็อยากถกในประเด็นนี้)
 ;)


กระทู้: สมบัติของผู้ดี
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 01 ธ.ค. 12, 14:02
"ผู้ดีตกยาก" ไม่มีอภิสิทธิ์ในสังคมแน่นอนเพราะไม่มีเงิน แต่สำหรับ "ผู้ดีแปดสาแหรก" และ "ผู้ดีตีนแดง" หากมีเงินก็จัดอยู่ในประเภท "ผู้ดีมีเงิน"

แต่ถ้าหมายถึง "ผู้ดีมีเงิน" ความเป็นอภิสิทธิชนก็เป็นความจริงในสังคมไทย

เรื่องอภิสิทธิ์นี้มิได้หมายรวมถึง "ผู้ดีมารยาทงาม" หรือ "ผู้ดีที่เป็นสัตบุรุษ"

 ;D

ถ้างั้นก็ไม่ใช่อภิสิทธิ์ของผู้ดีแล้วละค่ะ      เพราะสิ่งที่คุณเพ็ญชมพูให้เหตุผลมา คืออภิสิทธิ์เกิดจาก "คนมีเงิน" ต่างหากล่ะคะ
คนไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ดีก็มีอภิสิทธิ์ในสังคมได้  ถ้ามีเงินเสียอย่าง   ส่วนคนที่มีคุณสมบัติผู้ดีครบถ้วน แต่ถ้าไม่มีเงิน คุณเพ็ญชมพูก็บอกว่าไม่มีอภิสิทธิ์   เช่นผู้ดีตกยากไม่มีอภิสิทธิ์   ผู้ดีตีนแดง ผู้ดีแปดสาแหรก มีอภิสิทธิ์เมื่อมีเงินประกอบ
แสดงว่า คุณเห็นว่า ในเมื่อเงินเป็นตัววัดให้เกิดอภิสิทธิ์   ความเป็นผู้ดีก็ย่อมไม่สำคัญพอจะก่อให้เกิดอภิสิทธิ์ในตัวเอง หากขาดเงินเสียอย่าง
สรุปว่า ญัตติตกไปนะจ๊ะ


กระทู้: สมบัติของผู้ดี
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 01 ธ.ค. 12, 14:45
สืบเนื่องจากบทความของดร.นิธิ   ดิฉันเห็นดังนี้
๑   คำว่า ไพร่ ในสมัยอยุธยา เป็นคำที่ตรงข้ามกับ เจ้าขุนมูลนาย   ในความหมายของการกำหนดบทบาทหน้าที่ในสังคม    ไพร่เป็นแรงงานในสังคมไทย ซึ่งเป็นสังคมที่เติบโตด้วยแรงงานมากกว่าแรงเงิน     คำนี้มีคำอื่นเข้ามาประกอบหลายอย่าง เพื่อจำแนกบทบาทราษฎรในหน้าที่ที่มีต่อรัฐ
    ในสมัยอยุธยา ไทยไม่มีกองทัพประจำการอย่างใหญ่โตเหมือนสมัยนี้    ต้องมีการเกณฑ์ราษฎรเข้ามาเป็น"ไพร่สม"เมื่ออายุครบ ๑๘ ปี   เข้ามาฝึกหัดเป็นทหาร ๒ ปีแล้วย้ายมาเป็น"ไพร่หลวง"   เมื่อเข้าประจำการในกองทัพเวลามีศึกสงคราม ก็เรียกกันว่า "ไพร่พล"
    คนที่ีรับราชการอยู่แล้ว คือขุนนาง  จึงไม่อยู่ในข่ายของ "ไพร่" เพราะประจำการให้ราชการอยู่แล้วแบบเต็มเวลา   อีกพวกหนึ่งคือเจ้านาย   ซึ่งในเมื่อระบอบการปกครองเป็นราชาธิปไตย    ญาติวงศ์พงศาของกษัตริย์ก็ไม่ต้องถูกเกณฑ์เข้ามาฝึกหัดอย่างไพร่  แต่ว่าจะต้องออกรบในยามศึกสงครามเช่นเดียวกับขุนนาง
    สรุปแล้วไพร่หรือมูลนาย  เวลามีศึกสงคราม มีหน้าที่ไปรบเหมือนกันหมด  
๒   
อ้างถึง
 ขอให้สังเกตนะครับว่า คู่ตรงข้ามของ "ไพร่" ในกฏหมายตราสามดวงที่ใช้กันมาตั้งแต่อยุธยาจนถึง ร.๕ นั้น คือ "มูลนาย" ทั้งสองฝ่ายนี้ถึงจะร่วมวัฒนธรรมใหญ่กันก็จริง แต่ในรายละเอียดแล้ว ต่างฝ่ายต่างไม่รู้จักความละเอียดซับซ้อนของวัฒนธรรมอีกฝ่ายหนึ่ง ดูละครกันคนละเรื่องและคนละแบบ, ผลิตและใช้วรรณกรรมกันคนละชนิด, ฟังเพลงก็คนละประเภทกัน, แม้แต่เนื้อหาของพระพุทธศาสนาที่ต่างฝ่ายต่างนับถือก็ไม่สู้จะเหมือนกันนัก ฯลฯ

ผมไม่แน่ใจว่า ต่างมีสำนึกเหยียดหยามวัฒนธรรมของกันและกันหรือไม่ เพราะในชีวิตจริงแล้ว ต่างอยู่ในโลกของตน มีความจำเป็นล่วงเข้ามาในโลกของอีกฝ่ายไม่มากนัก แต่แน่นอนว่ามีหลักฐานมากมายที่ชี้ให้เห็นว่า เมื่อไพร่ล่วงเข้ามาในโลกของมูลนาย วัฒนธรรมของไพร่ก็เป็นสิ่งน่าหัวร่อเยาะ หรือน่าเหยียดหยาม นับตั้งแต่อาหารการกิน, การแต่งเนื้อแต่งตัว, มารยาท, ไปจนถึงคุณค่าที่ยึดถือ
   ข้างบนนี้เป็นความเห็นของดร.นิธิ ไม่ใช่ข้อเท็จจริง     ในเมื่อท่านไม่ได้ยกตัวอย่าง ดิฉันก็เลยไม่รู้ว่ามีน้ำหนักมากน้อยแค่ไหน  เช่นเรื่องเนื้อหาพุทธศาสนาที่นับถือไม่สู้จะเหมือนกันนั้น ท่านก็ไม่ได้บอกว่าไม่เหมือนกันอย่างไร     ไม่เหมือนกันเพราะฝ่ายหนึ่งนับถือพระปริยัติ อีกฝ่ายนับถือทางปฏิบัติ   หรือว่าฝ่ายหนึ่งหนักไปทางปาฏิหาริย์ อีกฝ่ายไม่...อย่างไรกันแน่ก็ไม่ทราบ
    การเขียนแบบกว้างๆอย่างนี้  อ่านง่ายแต่ตีความยาก  เช่นเดียวกับคำที่ว่า
    " เมื่อไพร่ล่วงเข้ามาในโลกของมูลนาย วัฒนธรรมของไพร่ก็เป็นสิ่งน่าหัวร่อเยาะ หรือน่าเหยียดหยาม นับตั้งแต่อาหารการกิน, การแต่งเนื้อแต่งตัว, มารยาท, ไปจนถึงคุณค่าที่ยึดถือ"
   อ่านแล้วก็งงๆ ว่าสิทธิ์ในการหัวเราะเยาะเหยียดหยาม ถ้ามีจริงนั้น ทำได้ฝ่ายเดียวหรือเปล่า  จะย้อนถามว่าวัฒนธรรมของมูลนาย ไพร่มีสิทธิ์หัวเราะเยาะบ้างไหม  ท่านก็ไม่ได้ให้คำตอบไว้ในบทความ      ส่วนดิฉันคิดว่าน่าจะหาคำตอบได้ในนิทานพื้นบ้านอย่างศรีธนนไชยว่า ชาวบ้านทั้งหลายเขาก็หัวเราะกันงอหายกับปฏิภาณของพระเอกที่เป็นไพร่ ว่าเหนือชั้นกว่าพระราชาที่เป็นเจ้าขุนมูลนายเหมือนกัน  


กระทู้: สมบัติของผู้ดี
เริ่มกระทู้โดย: Sujittra ที่ 02 ธ.ค. 12, 11:50
^
ชอบวิธีการให้เหตุผลของท่านเทาชมพู  :)

ขออนุญาต "แยกเข้าซอย" ไปหน่อยหนึ่ง

พอดีอ่านเจอบทความนี้ เลย์เอามาให้เพื่อนเรือนไทยได้เข้าใจในเหตุผลที่ผมพูดถึงนักวิชาการ ทั้งประเภทที่ "คิดไม่รอบคอบ" (บางคนถึงกับมาพูดในเรื่องที่ตัวเงมิได้มีความเชี่ยวชาญแม้แต่น้อย) และประเภทที่อาจมี conflict of interest (ซึ่งอาจรวมอยู่ในคนๆเดียวกันได้) นักวิชาการที่ผมว่านั้นหมายถึงใครก็เชิญชวนทุกท่านพิจารณากันเองจากบทความนี้ครับ

ต้องขออภัยที่บทความอาจค่อนข้างยาว แต่มิอยากตัดทอนมาเกงว่าจะเสียอรรถรสและเกิดคำถามขึ้นได้ อีกประการหนึ่งแม้นจะดูไม่เกี่ยวกับ หัวข้อกระทู้โดยตรง แต่ก็เป็น evidence base ทางวิชาการเพื่อให้ผู้อ่านได้มีสติก่อนที่จะ "เชื่อ" นักวิชาการได้มากขึ้น


"นิธิ: เศษเหล็กในซาเล้ง

โดย ASTVผู้จัดการรายวัน   1 ธันวาคม 2555 06:45 น.

ASTVผู้จัดการสุดสัปดาห์ -บทความของ อ.นิธิ เอียวศรีวงศ์ เรื่อง “เปลี่ยนประเทศไทยด้วยการรับจำนำข้าว” ในมติชนออนไลน์ เมื่อวันทื่ 5 พฤศจิกายน 2555 สร้างความเข้าใจผิดเกี่ยวกับอุตสาหกรรมข้าวไทยมาก
      
       นักประวัติศาสตร์อย่างอาจารย์นิธิ กำลังบิดเบือนข้อเท็จจริงอุตสาหกรรมข้าวไทยอย่างรุนแรง ชนิดที่นักเศรษฐศาสตร์หลายคนพากันส่ายหัว
      
       ไม่รู้แล้วยัง (เสือก) อวดรู้ว่า โครงการจำนำข้าวกำลังเป็นโครงการปฏิรูปสังคม
      
  คงมัวแต่กินกาแฟ อัดกรองทิพย์มากไปหน่อย จึงจินตนาการคล้ายๆกับคุณปรสิต
      
       นั่นจึงทำให้ ดร.นิพนธ์ พัวพงศกรและดร.อัมมาร สยามวาลา เขียนบทความบ่งบอกข้อเท็จจริงจากการวิจัยให้นักประวัติศาสตร์ฟัง
      
       บทความของอาจารย์ทั้งสองใช้ชื่อว่า "เปลี่ยนประเทศไทยด้วยการรับจำนำข้าว : ข้อเท็จจริงสำหรับ อ.นิธิ และประชาชน" ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2555
      
       เนื้อหาในบทความของดร.นิพนธ์ และดร.อัมมารระบุว่า “บทความของ อ.นิธิ มีหลายประเด็น แต่เราขอตอบเพียง 3 ประเด็น คือ เรื่องแรกเป็นเรื่องข้อมูลอาจารย์นิธิ ข้องใจฝ่ายคัดค้านโครงการจำนำข้าว ที่ระบุว่าเงินจากโครงการจำนำข้าว ไม่ตกถึงมือชาวนาเล็กที่ยากจน”
      
       โดยอาจารย์นิธิเขียนไว้ว่า “ปัญหาในด้านเชิงปฏิบัติ ผู้คัดค้านเห็นว่าโครงการนี้ผู้ที่ได้รับประโยชน์คือชาวนากลางขึ้นไป กับโรงสี ส่วนชาวนาเล็กที่ "ยากจน" (คำนี้มีปัญหาในตัวของมันเองมากนะครับ) เงินไม่ตกถึงมือ เท่าที่ผมทราบ ความเห็นนี้ไม่ได้มาจากการวิจัย แต่เป็นการประมาณเท่านั้น เพราะในขณะเดียวกันก็ต้องยอมรับในตัวเลขว่าทั้งมอเตอร์ไซค์, รถปิกอัพ และวัสดุก่อสร้างขายดีขึ้นในเขตชนบท ซึ่งตลาดของชาวนากลางอย่างเดียวไม่เพียงพอจะอธิบายได้ อีกทั้งความกระตือรือร้นของชาวนาที่จะขยายการเพาะปลูก ก็แสดงให้เห็นอยู่แล้วว่า ชาวนาจำนวนมาก (ทั้งกลางและเล็ก) ตอบสนองต่อโครงการด้วยความยินดี”
      
       “เรื่องที่สองเกี่ยวข้องกับการให้รัฐเข้ามาแทรกแซงตลาดข้าวแทนกลไกตลาด อาจารย์นิธิ เห็นว่าการขาดทุนจากโครงการจำนำเป็นเรื่องเล็กน้อย เพราะรัฐบาลตั้งใจขาดทุน เพื่อปฏิรูปสังคมอ.นิธิจึงเสนอให้รัฐบาลต้องวางแผนระบายข้าวให้ดี โดยการระบายข้าวตามจังหวะเพื่อรักษาตลาดข้าวไทย และจำกัดการขาดทุนให้น้อยที่สุด รวมทั้งการเสนอให้รัฐบาลลงทุนเพิ่มมูลค่า เช่น การแพคเกจจิ๊ง เป็นต้น”
      
       โดยอาจารย์นิธิเขียนไว้ว่า “ผมคิดว่ารัฐบาลต้องชัด (กว่านี้) ว่าโครงการรับจำนำข้าวด้วยราคาสูงคือการปฏิรูปสังคม ไม่ใช่โครงการรับจำนำข้าวอย่างที่ผ่านมา ซึ่งมีเป้าหมายเพียงช่วยพยุงราคาข้าวของชาวนาให้ใกล้เคียงกับราคาตลาดโลกมากขึ้น และต้องไม่ขาดทุน”
      
       “เรื่องสุดท้ายซึ่งเป็นประเด็นหลัก คือ อาจารย์นิธิเชื่อว่าโครงการรับจำนำข้าว มีส่วนช่วยสร้างความเข้มแข็งทางการเมืองให้ชาวนาเพื่อการเปลี่ยนประเทศไทย”
      
       โดยอาจารย์นิธิเขียนไว้ว่า “จะโดยตั้งใจหรือไม่ก็ตาม โครงการรับจำนำข้าวในราคาสูงของรัฐบาล ย่อมมีส่วนช่วยสร้างความเข้มแข็งทางการเมืองให้แก่ชาวนาด้วย หากทำต่อเนื่องไปอีกสักสองสามปี จะไม่มีรัฐบาลใดกล้าเลิกโครงการนี้เป็นอันขาด”
      
       “เพราะรัฐบาลกำลังทำอะไรที่มีความสำคัญสุดยอดในการเปลี่ยนประเทศไทย หนทางย่อมไม่ราบรื่นเป็นธรรมดา”
      
       ประการที่หนึ่ง บทความของดร.นิพนธ์ และดร.อัมมารระบุว่า ข้อมูลที่เราสองคนนำเสนอต่อสาธารณชนว่าผู้ได้ประโยชน์ส่วนใหญ่ เป็นชาวนาปานกลางขึ้นไปกับโรงสี มาจากข้อมูลจริงที่ได้จากหน่วยงานของรัฐและจากการวิจัย ไม่ใช่การประมาณการอย่างเลื่อนลอยอันที่จริงการวิจัยก็ต้องอาศัยการประมาณการจากข้อเท็จจริงที่มีอยู่
      
       อาจารย์ยังเข้าใจผิดว่าโรงสีไม่ได้กำไรอะไร เพราะรัฐบาลจ่ายค่าจ้างสี 500 บาทค่ากระสอบและค่ารถซึ่งเป็นอัตราที่เท่าทุน หรือบางโรงอาจจะบอกว่าขาดทุน แต่อาจารย์คงไม่ทราบว่ารัฐบาลกำหนดอัตราสีแปรสภาพที่ใจดีกับโรงสีมาก ปรกติการสีข้าวเปลือกเจ้า 1 ตันจะได้ต้นข้าว 500 กิโลกรัม และผลผลิตอื่น(ปลายข้าว+รำข้าว) อีก 160 กิโลกรัม แต่รัฐบาลกำหนดอัตราส่งมอบต้นข้าวขาว 5% เพียง 450 กิโลกรัม โรงสีจึงได้รับแจกข้าวสาร (หรือกำไรพิเศษ) จากการร่วมโครงการเกือบ 50 กิโลกรัมต่อข้าวเปลือก 1 ตัน หรือประมาณ 15,750 ล้านบาท (หรือ 825 บาทต่อตันข้าวเปลือก) กำไรนี้ผู้เขียนยังไม่ได้ไปรวมถึงส่วนค่าจ้างของโรงสี 21,382 ล้านบาท
      
       ประการที่สอง สำหรับประเด็นที่สองของอาจารย์นิธิ ที่ว่าการขาดทุนจากโครงการจำนำข้าว เป็นเงินเล็กน้อย และเป็นการขาดทุนโดยตั้งใจ เพราะฉะนั้นจึงสามารถบริหารจัดการได้ อาจารย์ทั้งสองได้ขอแยกความเห็นของอาจารย์ในประเด็นที่สองออกเป็น 3 เรื่อง คือ
      
       (ก) อาจารย์นิธิ เห็นว่าการขาดทุนหนึ่งแสนล้านบาทจากโครงการจำนำข้าว เป็น “เรื่องเล็กน้อย”เมื่อเทียบกับงบประมาณจำนวนนับล้านล้านบาทต่อปี
      
       ดร.นิพนธ์ และดร.อัมมารเห็นว่า “ประเด็นสำคัญกว่า คือ เงินขาดทุนจำนวน 1 แสนล้านบาทไม่ใช่เป็นเรื่องเล็กน้อย อย่างที่อาจารย์คิด เพราะเงินก้อนนี้มีต้นทุนเสียโอกาสที่กระทบต่อการทำนโยบายอื่นที่สำคัญของรัฐบาลชุดนี้ ขณะนี้ปรากฏหลักฐานชัดเจนว่าการใช้เงินจำนวนมากในโครงการจำนำข้าว เริ่มเกิดผลกระทบทางการคลังต่อโครงการสำคัญอื่นๆ เช่นงบประมาณของโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรคถูกจำกัดไว้เท่าเดิมใน 3 ปีข้างหน้า เม็ดเงินงบประมาณแท้จริงที่ใช้รักษาพยาบาล จะลดลงตามภาวะเงินเฟ้อ ซึ่งย่อมส่งผลกระทบต่อทั้งปริมาณและคุณภาพของบริการรักษาโรคของประชาชนทั้งประเทศ
      
       (ข) เพราะโครงการจำนำด้วยราคาสูง เป็นการปฏิรูปสังคม ชาวนาจะนำเงินขาดทุนไปลงทุนสร้างเนื้อสร้างตัว
      
       ดร.นิพนธ์และดร.อัมมารเห็นว่า การกำหนดราคาจำนข้าว 15,000บาท กำลังดึงดูดแรงงานที่อยู่นอกภาคเกษตรให้กลับเข้ามาทำนา รวมทั้งการเปลี่ยนพื้นที่เกษตรที่ใช้ปลูกพืชชนิดอื่น มาปลูกข้าวแทนเพราะปลูกข้าวได้รายรับมากกว่า ถ้าเช่นนั้นเงินสงเคราะห์ชาวนาก็จะเพิ่มมากขึ้นเรื่อย กลุ่มชาวนาที่มีฐานะก็จะกดดันไม่ให้รัฐบาลเลิกโครงการรับจำนำ (จนกว่าจะเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ แล้วเราต้องไปกู้เงินไอเอ็มเอฟ และถูกบังคับให้ตัดรายจ่ายแบบที่เคยเกิดขึ้นในปี 2540-41 และเพิ่งเกิดขึ้นในกรีก)
      
       (ค) อาจารย์นิธิ เสนอให้รัฐบาลต้องวางแผนระบายข้าวให้ดีเพื่อให้ขาดทุนน้อยที่สุด เราจะเปรียบเทียบผลงานการระบายข้าวของรัฐบาลกับกระบวนการผลิตและการค้าข้าวที่ควบคุมด้วยกลไกตลาด
      
       ดร.นิพนธ์และดร.อัมมาร เห็นว่า การจำนำข้าวกำลังทำลายกระบวนการเหล่านี้(กลไกตลาด) บัดนี้ชาวนาพยายามเพิ่มผลผลิตข้าวให้มากที่สุดโดยไม่คำนึงถึงคุณภาพข้าว มีการเพิ่มรอบการผลิตโดยการหาเมล็ดพันธุ์อายุสั้น (เป็นข้าวคุณภาพต่ำ) มีการใช้ปุ๋ยใช้ยาฆ่าแมลงเพิ่มขึ้น ต้นทุนการผลิตกำลังพุ่งขึ้นตามราคาจำนำ 15,000 บาท ราคาจำนำจึงเป็นตัวกำหนดต้นทุนการผลิต และต้นทุนคงไม่ลดลงเมื่ออุปสงค์สมดุลกับอุปทานอย่างที่อาจารย์นิธิให้ความเห็น
      
       “อันที่จริงประวัติความพยายามผูกขาดการส่งออกข้าวล้มเหลวมาตั้งแต่สมัยคุณทักษิณเป็นนายกรัฐมนตรี บริษัทเพรสซิเด้นท์อะกริ สามารถประมูลข้าวของรัฐ 2 ครั้ง รวมกว่า 2 ล้านตัน แต่บริษัทกลับประสบปัญหาไม่สามารถส่งออกได้ทั้งๆที่มีการขอแก้สัญญาหลังการประมูลจนทำให้วุฒิสภาต้องตั้งคณะกรรมาธิการสอบสวนและตีพิมพ์รายงานออกมา ต่อมาบริษัทนี้ประสบปัญหาไม่สามารถชำระหนี้แก่ธนาคารพาณิชย์หลายแห่ง ในเวลาต่อมาผู้บริหารของบริษัทนี้หันมาตั้งบริษัทใหม่และได้สัญญาขายข้าวให้อินโดนีเซีย แต่หนังสือพิมพ์รายงานว่ารัฐบาลอินโดนีเซียไม่ยอมรับข้าวบางส่วน เพราะปัญหาด้านคุณภาพ นี่คือ เหตุผลที่เวลานี้ เจ้าหน้าที่รัฐเริ่มเปลี่ยนท่าทีหันมาขอความร่วมมือจากสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทยในการส่งออกข้าวหอมมะลิ”บทความของดร.นิพนธ์และดร.อัมมารระบุ
      
       ประการที่สาม ประเด็นที่สามซึ่งเป็นประเด็นหลักในบทความของอาจารย์นิธิ คือ อาจารย์เชื่อว่าโครงการรับจำนำข้าว จะมีส่วนช่วยสร้างความเข้มแข็งทางการเมืองให้ชาวนาเพื่อการเปลี่ยนประเทศไทย
      
       ดร.นิพนธ์ และดร.อัมมารเห็นว่า “ความเข้มแข็งทางการเมืองของชาวนา” ที่เราเห็นในบทส่งท้ายของอาจารย์นิธิ นั้น เราก็เห็นว่าเกิดจากการที่ชาวนาใช้อำนาจหย่อนบัตรในการเลือกตั้ง เลือกพรรคการเมืองที่สัญญาว่าจะให้ผลทันทีต่อตน ข้อนี้เป็นส่วนหนึ่งของประชาธิปไตยแบบประชานิยมที่กำลังเป็นชุดนโยบายมาตรฐานของทุกพรรคการเมืองในปัจจุบัน เสน่ห์ของประชาธิปไตยแบบนี้ คือทำให้เกิดนโยบายที่บรรลุผลทันตาเห็น เราไม่ปฏิเสธว่าชาวนาเกือบทุกคนได้ราคาข้าวตามที่รัฐบาลสัญญาไว้ แต่ที่เราวิตกมากก็คือ ผลเสียต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากนโยบายนี้ทั้งแก่อุตสาหกรรมข้าวและสภาพการเงินการคลังของรัฐบาล จะมิได้รับการกล่าวถึง
      
       อาจารย์นิธิยังเขียนในบทความว่า
      
       “อีกข้อหนึ่งที่พูดกันมากคือการทุจริตทั้งของชาวนาเอง (ขายส่วนต่างของสิทธิการจำนำข้าว), นายทุนผู้รับซื้อส่วนต่างนี้, ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ทั้งขององค์กรของรัฐและบริษัทเซอร์เวย์เยอร์ เรื่องนี้จริงแน่นอนโดยไม่ต้องทำวิจัยเลยก็ได้ โครงการใช้เงินเป็นแสนล้านโดยไม่มีการโกงเลย จะเกิดขึ้นได้ที่ไหนในโลกล่ะครับ แต่ที่น่าสนใจกว่าก็คือ โกงมากกว่าโครงการจำนำข้าวที่ผ่านมาหรือโครงการประกันราคามากน้อยแค่ไหน และโกงได้อย่างไรหรือมีช่องโหว่ตรงไหนบ้าง และควรอุดอย่างไร น่าเสียดายที่ไม่มีงานวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้ในการคัดค้าน”
      
       นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ส.ส.พิษณุโลก พรรคประชาธิปัตย์ ได้ให้คำตอบในการอภิปรายไม่ไว้วางใจว่า “การขายข้าวแบบรัฐต่อรัฐระหว่างรัฐบาลจีนและรัฐบาลไทย เป็นสิ่งที่รัฐบาลโกหก เนื่องจากการตรวจสอบจากเอกสารแล้วพบว่า ในจำนวนข้าวที่รัฐบาลว่าจะขาย ในจำนวน 7.32 ล้านตันนั้นเป็นการซื้อขายให้กับบริษัทผี ของคนไทย และของบริษัทจีน ซึ่งเป็นบริษัทผี ซื้อแค่ชื่อบริษัทเพื่อมาทำสัญญาเท่านั้น โดยบริษัทจีนที่ว่านั้นชื่อ GSSG IMP AND EXP.CORP ตั้งอยู่ที่นครกวางเจา ประเทศจีน”
      
       บริษัท GSSG IMP AND EXP.CORP มี นายรัฐนิธ โสจิรกุล เป็นผู้มีอำนาจของบริษัท ลงนามมอบอำนาจให้กับนายนิมล รักดี มีที่อยู่ อ.บางมูลนาก จ.พิจิตร ให้เป็นผู้มีอำนาจในการลงนามแทน ในการซื้อขายข้าวตามสัญญารัฐต่อรัฐ จำนวน 5 ล้านกิโลกรัม
      
       นายรัฐนิธ มีชื่อเล่นว่า “ปาล์ม” อายุ 32 ปี ผู้ช่วยลำดับที่ 3 ของ นางระพีพรรณ พงษ์เรืองรอง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย และเมื่อตรวจสอบบัญชีธนาคารกรุงไทย พบว่ามียอดเงินค้างในบัญชี จำนวน 64.63 บาทเท่านั้น
      
       นายนิมล ที่เป็นผู้มีอำนาจของบริษัทจีนนั้น ตรวจสอบพบว่า คนในพื้นที่ จ.พิจิตร เรียกว่า “เสี่ยโจ” เป็นมือขวาให้กับ นายอภิชาติ จันทร์สกุลพร หรือ“เสี่ยเปี๋ยง”
      
       ตามเอกสารของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) พบว่า นายนิมล เป็นคนของบริษัทเพรซิเดนท์ อะกริ เทรดดิ้ง และถูก ป.ป.ช.ตรวจสอบพบว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการทุจริตรับจำนำข้าว ในปี 46 - 47 สมัยรัฐบาลของทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ ในประเด็นนำข้าวเก่ามาเวียนเทียนเข้าโครงการรับจำนำ
      
       บริษัทเพรซิเดนท์ มีความเกี่ยวข้องกับบริษัทสยามอินดิก้า จำกัด เพราะเมื่อปี 47 “เสี่ยเปี๋ยง” ได้ไปจดทะเบียนบริษัทสยามอินดิก้า จำกัด ทั้งนี้นายนิมล มีชื่อเรียกในวงการว่า “โจ เพรซิเดนท์ พิจิตร” เป็นคนของบริษัทสยามอินดิก้า ซึ่งเคยร่วมทุจริตค้าข้าวตั้งแต่สมัยรัฐบาลทักษิณ
      
       “ประเด็นที่รัฐบาล ยอมนำหัวของบริษัทจีนมาทำสัญญาแบบจีทูจี เป็นเพราะว่าต้องการเลี่ยงการประมูลซึ่งมีราคาสูง และเมื่อทำเช่นนี้ จะค้าข้าวกระสอบละ 300 บาท ทั้งที่ราคาข้าวในตลาดจะอยู่ที่กระสอบละ 1,500 - 1,555 บาท ดังนั้นเมื่อค้าข้าวกระสอบละ 300 บาท จำนวนที่รัฐบาลว่าจะขายทั้งหมด 7.32 ล้านตัน จะมีค่าส่วนต่างถึง 20,000 ล้านบาท”น.พ.วรงค์อภิปราย
      
       ข้าวที่มีการซื้อขายนั้นพบว่า ถูกนำไปไว้ที่โกดัง จ.พิจิตร ซึ่งเป็นโกดังเก็บข้าวของบริษัทสยามเพรซิเดนท์ โดยใช้วิธีการเทข้าวเก็บไว้ในโกดัง แทนเก็บไว้ในกระสอบ โดยทราบว่าเมื่อช่วง 5 พ.ค. - 16 ก.ค. มีการนำข้าวไปไว้ถึง 4.1 แสนกระสอบ
      
       แหล่งที่มาของเงินที่นำมาใช้ในการซื้อข้าว ก็มาจากในประเทศไทย โดยปรากฏชื่อ นายสมคิด เรือนสุภา เป็นผู้ดำเนินการออกแคชเชียร์เช็ค โดยมีเงินจ่ายให้กรมการค้าต่างประเทศ 4,960 ล้านบาท และมีการถอนเงินออกจากบัญชีกรมการค้าต่างประเทศ 2 ครั้ง รวมเป็นเงิน 4,200 ล้านบาท
      
       เมื่อไม่มีการค้าข้าวแบบจีทูจีจริง แต่รัฐบาลกลับเปิดโอกาสให้สยามอินดิก้าเอาข้าวของรัฐบาลไปเร่ขายให้กับโรงสี ในลักษณะของไปเงินมา
      
       มีการพบแคชเชียร์เช็ค ออกในนามของนายสมคิด เรือนสุภา หรือไอ้คิด ที่ซื้อแคชเชียร์เช็คจำนวนกว่า 500 ล้านบาท ซึ่งเมื่อสอบที่อยู่ของนายสมคิด ตามที่แจ้งที่อยู่เลขที่ 191 ซอยดำเนินกลาง เขตพระนคร พบว่าไม่มีสภาพเป็นบ้านของพ่อค้าข้าวรายใหญ่ และจากการสอบถามประชาชนพบว่านายสมคิดได้ย้ายไปอยู่บ้านภรรยา ที่เขตบางแคที่เป็นเพียงบ้านไม้ 2 ชั้น ตั้งอยู่ริมคลองเท่านั้น
      
       ที่สำคัญยังพบว่า นายสมคิดเป็นคนของบริษัท สยามอินดิก้า เพราะนายสมคิดได้รับมอบอำนาจจากเสี่ยเปี๋ยงไปจดทะเบียนตั้งบริษัท สยามอินดิก้า เมื่อวันที่ 13 ม.ค.2547
      
       นอกจากนี้ยังมีพฤติกรรมการฟอกเงิน โดยโอนเงินมาตอนเช้า ตกบ่ายถอนเงินออกเป็นเงินสด...แก๊งบ้านเอื้ออาทรฟื้นชีพอีกครั้ง
      
       ดังนั้นดร.นิพนธ์ และดร.อัมมารจึงสรุปว่า “โครงการรับจำนำข้าวจึงเป็นการเปลี่ยนแปลงประเทศไทย จากระบบการค้าขายที่อาศัยการแข่งขันบนความสามารถ ไปเป็นตลาดของพรรคพวก
      
       นี่หรือครับ การเปลี่ยนประเทศไทย…พ่อค้าข้าว 5 ล้านกิโลกรัมมีเงินอยู่ในบัญชีแค่ 64 บาท"
      
http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9550000145976
      




กระทู้: สมบัติของผู้ดี
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 02 ธ.ค. 12, 12:36
๓ 

อ้างถึง
แต่ชีวิตที่ถูกแยกออกเป็นสองโลกนี้เริ่มอันตรธานไปในการปฏิรูปของ ร.๕ ซึ่งยังสืบทอดอำนาจทางการเมือง, เศรษฐกิจและวัฒนธรรมไว้ในหมู่พวก "มูลนาย" (หรือกลุ่มหนึ่งของพวก "มูลนาย") เหมือนเดิม แต่บัดนี้เปลี่ยนคำที่ใช้เรียกจาก "มูลนาย" ให้กลายเป็น "ผู้ดี" แทน

คู่ตรงข้ามของไพร่ในภาษาไทยจึงกลายเป็น "ผู้ดี" ไป

ผมขอยกตัวอย่างการใช้คำว่า "ไพร่" ในพระนิพนธ์ของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพเป็นตัวอย่าง

สำนวนว่า "ทรงพระราชสมภพภายใต้พระมหาเศวตรฉัตร" นั้นมีความหมายอย่างไร ก.ศ.ร. กุหลาบไปเข้าใจว่า เมื่อพระอัครมเหสีจะประสูติพระราชโอรส-ธิดา ก็โปรดให้ตั้งพระมหาเศวตรฉัตรไว้เหนือที่ซึ่งจะมีพระประสูติกาล ฉะนั้น เมื่อสมเด็จฯ พระองค์นั้นทรงพระนิพนธ์พงศาวดารรัชกาลที่ ๕ จึงได้ทรงอธิบายว่า ที่เข้าใจเช่นนั้นเป็นเพราะ ก.ศ.ร. กุหลาบ (ในพระนิพนธ์ไม่ได้ออกชื่อ) เป็น "ไพร่" ไม่รู้ธรรมเนียมเจ้า เพราะความหมายของสำนวนนี้ก็คือ ทรงพระราชสมภพเมื่อพระราชบิดาได้เสวยราชสมบัติแล้วเท่านั้น

(เช่น ร.๒ ไม่ได้ทรงพระราชสมภพภายใต้พระมหาเศวตรฉัตร เพราะขณะนั้นพระราชบิดายังมิได้ครองราชย์ แต่ ร.๕ ใช่ เพราะพระราชบิดาได้ขึ้นครองราชสมบัติแล้ว)

อย่างที่รู้กันอยู่แล้วนะครับว่า ก.ศ.ร. กุหลาบ ซึ่งเป็นสามัญชน ล่วงเข้ามาในพื้นที่ของ "ผู้ดี" คือพื้นที่ "วิชาการ" ซึ่ง "ผู้ดี" ในสมัยนั้นถือว่าเป็นพื้นที่อันคนซึ่งปราศจากคุณสมบัติของ "ผู้ดี" จะเข้ามาไม่ได้

คนที่เปลี่ยนบทบาทจาก "มูลนาย" เป็น "ผู้ดี" โดยพลการน่าจะเป็นดร.นิธิ เอง ซึ่งเกิดจากความเห็นส่วนตัวของท่าน   มากกว่าเป็นข้อเท็จจริง  เพราะตัวอย่างข้างบนนี้ไม่เห็นมีตรงไหนกล่าวถึง "ผู้ดี"  เลยสักนิด
ถ้าจะอิงพระวิจารณ์ของสมเด็จกรมพระยาดำรงฯ  ก็เห็นได้ชัดๆว่า ท่านพูดถึง "ไพร่" กับ "เจ้า"  ไม่ใช่ "ไพร่" กับ "ผู้ดี" คำว่าผู้ดีถูกสอดไส้เข้ามาเฉยๆ โดยสรุปรวมเอาง่ายๆว่าเป็นคำเดียวกับ "เจ้า"      ซึ่งไม่ใช่    อย่างน้อยก็ไม่ใช่ในความหมายของสมเด็จกรมพระยาดำรงฯ  เพราะไม่งั้นท่านคงใช้คำว่า "ผู้ดี" แทน "เจ้า"ไปแล้ว   จะไปอ้อมค้อมใช้ "เจ้า" อยู่ทำไม

ความหมายของสมเด็จกรมพระยาดำรงฯ คือ นายกุหลาบผู้ไม่ใช่เจ้า  ย่อมไม่รู้ธรรมเนียมของเจ้า   ตัวอย่างคือไปตีความสำนวน "ประสูติใต้พระมหาเศวตฉัตร" ออกมาเป็นการกระทำตรงตามตัวว่า เจ้านายพระองค์นั้นพระองค์นี้ประสูติบนพระแท่นโดยมีพระมหาเศวตฉัตรกั้นกางอยู่เหนือพระเศียรขณะคลอดจริงๆ     พูดอีกทีคือท่านเห็นว่านายกุหลาบนั้นไม่รู้จริง    แถมยังอวดรู้ให้ประชาชนพลอยเข้าใจผิดไปด้วย
การไม่รู้จริงเป็นเรื่องไม่เกี่ยวกับผู้ดีหรือไพร่    ความไม่รู้ก็คือความไม่รู้    เมื่อนายกุหลาบไม่รู้แทนที่จะยอมรับว่าไม่รู้   จะเดาก็ไม่บอกว่าเดา  สมเด็จฯจึงทรงตำหนิเอา      แต่ดร.นิธิจับเข้ามาเป็นประเด็นผู้ดีไพร่  แล้วตีความไปเสียไกลว่านายกุหลาบถูกตำหนิว่าล่วงเข้าไปในพื้นที่ผู้ดี    ดิฉันจึงไม่เห็นด้วย       
สมมุติว่านายกุหลาบตอบได้ถูกต้องว่า ประสูติใต้พระมหาเศวตฉัตรแปลว่าประสูติเมื่อสมเด็จพระราชบิดาครองราชย์แล้ว   สมเด็จฯท่านจะทรงตำหนิไหม    ก็ไม่   แต่ถ้าทรงตำหนินายกุหลาบว่าถึงตอบถูกก็ยังเรียกว่าล้ำเส้น ล้ำแดนผู้ดีอยู่ดี เป็นไพร่ไม่มีหน้าที่มาตอบเรื่องผู้ดี   ยังงั้นจึงจะเรียกว่าเหยียดหยามแบ่งเส้นขีดคั่นกันจริง   แต่นี่ก็ไม่ใช่เช่นนั้น


กระทู้: สมบัติของผู้ดี
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 02 ธ.ค. 12, 13:52
สักวาหวานอื่นมีหมื่นแสน                 ไม่เหมือนแม้นพจมานที่หวานหอม
กลิ่นประเทียบเปรียบดวงพวงพะยอม      อาจจะน้อมจิตโน้มด้วยโลมลม
แม้นล้อลามหยามหยาบไม่ปลาบปลื้ม      ดังดูดดื่มบอระเพ็ดต้องเข็ดขม
ผู้ดีไพร่ ไม่ประกอบชอบอารมณ์           ใครฟังลมเมินหน้าระอาเอย

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงบดินทร์ไพศาลโสภณ

 ;D


กระทู้: สมบัติของผู้ดี
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 02 ธ.ค. 12, 14:34
กระโดดไกลจากดร.นิธิไปถึงพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงบดินทร์ไพศาลโสภณแล้วหรือคะ?

เอ้า ก็ได้

กลอนตัวอย่างที่ยกมา  แสดงว่า เจ้านายท่านทรงเห็นว่า ผู้ดีไพร่อยู่ในพื้นที่เดียวกันอย่างน้อยก็ในวัฒนธรรมเดียวกัน คือต่างก็ไม่ชอบความหยาบคาย
มิใช่ว่า สามัญชนล่วงเข้ามาในพื้นที่ของ "ผู้ดี" ไม่ได้  และมิใช่ว่า ต่างฝ่ายต่างไม่รู้จักความละเอียดซับซ้อนของวัฒนธรรมอีกฝ่ายหนึ่ง


กระทู้: สมบัติของผู้ดี
เริ่มกระทู้โดย: Sujittra ที่ 02 ธ.ค. 12, 15:24
สักวาหวานอื่นมีหมื่นแสน                 ไม่เหมือนแม้นพจมานที่หวานหอม
กลิ่นประเทียบเปรียบดวงพวงพะยอม      อาจจะน้อมจิตโน้มด้วยโลมลม
แม้นล้อลามหยามหยาบไม่ปลาบปลื้ม      ดังดูดดื่มบอระเพ็ดต้องเข็ดขม
ผู้ดีไพร่ ไม่ประกอบชอบอารมณ์           ใครฟังลมเมินหน้าระอาเอย

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงบดินทร์ไพศาลโสภณ

 ;D

ผมคิดว่า ที่ท่านเพ็ญชมพูยกกลอน (โคลง? ขอโทษด้วยครับที่ผมก็ยังแยกความแตกต่างระหว่าง โคลงและกลอน ไม่ได้อยู่ดี) บทนี้มาก็เพื่อแสดงให้เห็นว่า "ผู้ดี" และ "ไพร่" นี้เป็นของ "คู่" กัน คือเป็นคู่ที่ตรงกันข้าม (เหมือน ขาว-ดำ)

ส่วนวิธีการโต้แย้งโดยการยกตัวอย่างในลักษณะเช่นนี้จะเหมาะสมหรือไม่ ผมเชื่อว่า ท่านผู้อ่านคงพิจารณาเองได้
 
ถ้าผู้ดีคู่กับไพร่จริง คนในสังคมก็มีทางเลือกของสถานะเพียงสองทางคือ ไม่เป็นผู้ดีก็เป็นไพร่
จำเป็นหรือครับที่คนในสังคมจะมีเพียงสองทางเลือกที่ว่านั้น แม่ค้าที่ตะโกนโหวกเหวกขายของข้างทางก็คงไม่มีใครไปเรียกเป็น "ผู้ดี"แต่จะเรียกเขาว่าเป็น "ไพร่" หรือครับ

มาถึงตรงนี้ก็ต้องยอมรับว่า "งง" กับการนำเสนอความคิดของท่านเพ็ญชมพูโดยอาศัยความคิดคนอื่นที่โดดไปโดดมา ทำให้ไม่เข้าใจวัตถุประสงค์ของตัวท่าน

อยากฟังความเห็นของท่านเพ็ญชมพูโดยตรงมากกว่าครับ

อย่างไรเสียขอความกรุณาได้โปรดอ่านความเห็นที่ 76 และ 77 เพื่อทำความเข้าใจกับวัตถุประสงค์ของผมในฐานะเจ้าของกระทู้ด้วยครับ
 ;D


กระทู้: สมบัติของผู้ดี
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 02 ธ.ค. 12, 18:22
เข้าใจว่าคุณเพ็ญชมพูคงเห็นด้วยกับดร.นิธิ  โดยเฉพาะเรื่องว่าด้วยอภิสิทธิ์ของผู้ดีในสังคมไทย     ส่วนดิฉันไม่เห็นด้วย ก็เท่านั้นละค่ะ
เมื่อไม่เห็นด้วย คุณเพ็ญชมพูก็ค้านออกมาตามคำขอของดิฉันที่อยากฟังความเห็น   แต่ออกมาความเห็นเดียวก็คงไม่อยากออกความเห็นอีก  เลยไปเอาพระนิพนธ์กรมหมื่นบดินทรฯ มาแทนความเห็น

ส่วนดิฉันเห็นว่า   อภิสิทธิ์ชนของไทยมี 2 ประเภทคือคนมีเงิน   และคนมีอำนาจทางการเมือง ประเด็นหลังนี้ยังไม่ได้พูดเพราะมันจะห่างไกลเรื่องผู้ดีออกไปจนหาฝั่งไม่เจอ

ตอนนี้ขอกลับเข้าฝั่งว่าด้วย "สมบัติผู้ดี"  อ่านแล้วก็ยังไม่เห็นว่าผู้ดีในหนังสือเล่มนี้มีอภิสิทธิ์อะไรในสังคม   ผู้เขียนเขียนสอนให้คนมีคุณสมบัติงามทั้งกาย วาจา ใจ เท่านั้นเอง      ต่อให้ทำได้ครบทุกข้อตั้งแต่หน้าแรกจนหน้าสุดท้าย ก็ไม่มีสิทธิ์ได้รับการยกเว้นตามกฎหมายหรือระเบียบราชการหรือข้อห้ามใดๆของรัฐ


กระทู้: สมบัติของผู้ดี
เริ่มกระทู้โดย: Sujittra ที่ 02 ธ.ค. 12, 18:33
^
ชอบคำอธิบายของท่านเทาชมพู

ไม่มีอารมณ์เจือปนแต่มีจุดยืนที่ชัดเจนและกล้าที่จะ "ลุกยืนขึ้น"
ผู้ใหญ่เช่นนี้หาได้น้อยลงเรื่อยๆ

ผมนึกว่าแค่แยกออกซอย เพิ่งทราบจากท่านเจ้าเรือนว่า เรากำลังออกนอกทะเลและต้องกลับเข้าฝั่งได้แล้ว



กระทู้: สมบัติของผู้ดี
เริ่มกระทู้โดย: Sujittra ที่ 02 ธ.ค. 12, 18:40
ผมขึ้นฝั่งแล้ว งั้นไปต่อนะครับ

ผนวก ๖ ผู้ดีย่อมปฏิบัติการงานดี
หมายความว่า การปฏิบัติการงานดีคือการทำการงานทุกอย่างอันเป็นหน้าที่ของตนไม่บกพร่อง ไม่คั่งค้าง ทำเสร็จเรียบร้อยด้วยดีตามส่วนของงาน

กายจริยา หมายความว่า การปฏิบัติการงาน ซึ่งต้องใช้กายเป็นสาคัญ

(๑) ผู้ดีย่อมทำการอยู่ในระเบียบแบบแผน หมายความว่าในการกระทำต่างๆ ผู้ดีย่อมรักษา ระเบียบแบบแผนถือเอาหลักของเหตุผลเป็นสาคัญ ไม่ทำตามอาเภอใจโดยไม่มีหลักอันจะเป็นช่องทางให้เกิดความผิดหรือถูกตาหนิได้
(๒) ผู้ดีย่อมไม่ถ่วงเวลาให้ผู้อื่นคอย หมายความว่า ในการนัดหมายเพื่อทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง ต้องทำตนให้เป็นคนตรงต่อเวลา ถ้าทำตนให้เป็นคนผิดเวลาแล้ว ย่อมทำให้ผู้อื่นต้องเดือดร้อน ราคาญด้วย และอาจเสียงานนั้น ๆ ได้ในบางกรณี พลาดเวลาเพียงนาทีเดียว ก็อาจต้องเสียงานหรือ เสียเวลาไปหลายวันก็ได้ ดังนั้นจึงควรเป็นคนตรงเวลาเสมอ
(๓) ผู้ดีย่อมไม่ละเลยที่จะตอบจดหมาย หมายความว่าการตอบจดหมายนั้นเป็นมรรยาทอันดีงาม เพราะถ้าเป็นธุระก็ควรตอบไปให้เสร็จได้ไม่ลืม ถ้าเป็นจดหมายเยี่ยมเยือนแสดงมิตรภาพก็ควร รีบตอบแสดงน้าใจอันดีไป เพื่อให้เขาเห็นว่าเรามิได้ละเลยที่จะรักษามิตรภาพนั้น
(๔) ผู้ดีย่อมไม่ทำการแต่ต่อหน้า หมายความว่า การงานอันใดที่เป็นของหมู่คณะ ผู้รับทำงานต้องทำงานนั้นให้สาเร็จลุล่วงไปตามที่ได้รับมอบหมายและการทำงานนั้นต้องไม่ทำเฉพาะต่อหน้าคน เท่านั้น ต้องทำทั้งต่อหน้าและลับหลัง หรือการอย่างอื่น เช่น ไปช่วยงานเขา เมื่อมีความรู้ ความสามารถจะทำงานอย่างใดได้ก็ต้องทางานนั้นทีเดียว เจ้าของจะเห็นหรือไม่ก็ตาม ควรทำจนสุด ความสามารถของเราจึงเป็นการชอบแท้

วจีจริยา หมายความว่า การปฏิบัติการงานด้วยคำพูดเป็นสาคัญ

(๑) ผู้ดีพูดสิ่งใดย่อมให้เป็นที่เชื่อถือได้ หมายความว่า เมื่อจะพูดคำใดคำนั้นต้องเป็นคำที่ออกจากหัวใจจริงคือ พูดตามที่ได้เห็นได้ฟังได้ทำหรือได้รู้สึกมิใช่เสแสร้งแกล้งกล่าวให้คลาดจากความจริง พูดอย่างใดต้องเป็นอย่างนั้น เช่นนี้คำพูดคำนั้นจึงเป็นที่เชื่อถือได้
(๒) ผู้ดีต้องไม่รับวาจาคล่อง ๆ โดยมิได้เห็นว่าควรจะเป็นได้หรือไม่ หมายความว่า เมื่อจะรับคำเพื่อทำการใดการหนึ่งหรือจะสัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือเมื่อจะปฏิญาณอย่างใดอย่างหนึ่งกับ บุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์แห่งใดแห่งหนึ่ง ต้องใครครวญให้แน่แก่ใจก่อนจึงรับคำหรือ จึงปฏิญาณ มิใช่ทำแต่สักว่าทำ พูดโพล่ง ๆ ไปโดยไม่ได้คานึงให้แน่ชัดว่าจะทำได้หรือไม่ เมื่อรับคำแล้วแม้ว่าจะต้องเสียอย่างใดก็ต้องยอมเสีย ต้องถือหลักว่า "เสียชีพอย่าเสียสัตย์"


กระทู้: สมบัติของผู้ดี
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 02 ธ.ค. 12, 18:54
ในมุมมองของผม  คำว่าผู้ดีนั้น แต่เดิมน่าจะใช้ในความหมายของคำว่าสุภาพชน ซึ่งเป็นภาพของคนในลักษณะทางนามธรรม เป็นภาพในองค์รวมของคนดี คนสุภาพ คนที่น่านับถือ และคนที่น่าให้การเคารพ ซึ่งคนเหล่านี้จะเป็นคนที่ยึดถือหรือเคร่งครัดในการประพฤติปฏิบัติตนอยู่ในกรอบของจารีตประเพณีซึ่งที่เป็นที่ยอมรับของสังคมว่าดีงามในช่วงเวลาใดๆ  ซึ่งหมายความว่าคนเหล่านั้นมี etiquette ที่ยึดถือสำหรับการปฏิบัติตนในชีวิตประจำวัน   แต่เมื่อจะแปลสภาพของลักษณะนามธรรมนั้นๆให้ออกมาเป็นการบรรยายในลักษณะของรูปธรรมเพื่อการสอนหรือถ่ายทอดและเผยแพร่ จึงต้องมีการขยายความเพื่อความเข้าใจ ซึ่งสามารถจะเขียนหรือบรรยายไปได้ทั้งในเชิงของกฏ ระเบียบ กติกา แบบแผน หรือในมุมความคิดและความเห็นอื่นๆ ฯลฯ   ผมเห็นว่าตรงนี้เองที่ทำให้เกิดการต่อต้าน การไม่ยอมรับ และการแบ่งแยก (ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลหรือความไม่สบอารมภ์ใดๆก็ตาม) แต่เดิมก็เป็นเพียงการแยกแบบแยกเขาออกไปจากเรา มิใช่การแยกแบบแยกเราออกจากเขาในลักษณะของการประชด  จนกระทั่ง เมื่อเกิดแนวคิดและวาทกรรมในเรื่องของชนชั้น จึงได้มีการพยายามสาธยายขยายความเพื่อเน้นให้เห็นถึงความต่างเพื่อให้สอดคล้องกับปรัชญาความคิดของตน


กระทู้: สมบัติของผู้ดี
เริ่มกระทู้โดย: Sujittra ที่ 02 ธ.ค. 12, 19:55
มโนจริยา หมายความว่า ตั้งจิตใจมั่นในการปฏิบัติงานทุกอย่างซึ่งเป็นหน้าที่ของตน ปักใจลงในการงานนั้น เห็นว่าการงานดีทั้งหลายรู้ได้เมื่อทำเสร็จ มิใช่รู้ได้เมื่อกำลังทำหรือก่อนทำปักใจลงในการทำงานอย่างนี้ ชื่อว่าปฏิบัติทางใจด้วยดี

(๑) ผู้ดีย่อมเป็นผู้รักษาความสัตย์ในเวลา หมายความว่า ความสัตย์คือความตรงหรือซื่อตรง ความ ซื่อตรงเป็นชีวิตจิตใจอันแท้จริงหาไม่ได้ง่ายนัก โบราณท่านว่าร้อยคนยังหาคนกล้าได้คนหนึ่ง แต่หมื่นคนแสนคนจะหาคนซื่อตรงได้สักหนึ่งคนยังไม่ได้ ซื่อตรงต่อตัว คือไม่ทำชั่ว ซื่อตรงต่อคนอื่น คือ ไม่ทำความเดือดร้อนให้ใคร ๆ ซื่อตรงต่อเวลาคือตรงเวลาในระยะแรก ระยะกลาง คือเวลาทำงาน ระยะสุดท้ายคือเวลาเลิก ชื่อว่าเป็นคนมีความสัตย์ในเวลา
(๒) ผู้ดีย่อมไม่เป็นผู้เกียจคร้าน หมายความว่าเมื่อลงมือประกอบการงานแล้วไม่ยอมให้การงานนั้น ๆ คั่งค้างต้องทำให้สาเร็จจนสุดความสามารถ
(๓) ผู้ดีย่อมไม่เข้าใจว่า ผู้ดีทำอะไรด้วยตนเองไม่ได้ หมายความว่า การประกอบการงานทุกอย่าง ตามปรกติเราต้องอาศัยกันและกัน การงานจึงสาเร็จไปได้ด้วยดี แต่การงานนั้น ๆ จะมัวพึ่งคนอื่นร่ำไปนั้นไม่สมควร ตัวเองต้องทำได้เองด้วย
(๔) ผู้ดีต้องไม่เพลิดเพลินจนละเลยให้การเสีย หมายความว่า ตามปรกติคนเรานั้นวันหนึ่ง ๆ จะทำอะไรไปอย่างเดียวก็ไม่ได้ ต้องแบ่งเป็นเวลากิน เวลานอน เวลาพัก เวลาเล่น เวลาทำงาน ตามควร เวลาเหล่านี้จึงต้องแบ่งให้ถูกส่วน อย่าให้เสียส่วนใดส่วนหนึ่งได้ ถึงเวลาทำงานก็ต้องทำงาน ถึงเวลาพักเล่นก็ต้องพักเล่น แต่จะเล่นเพลิดเพลินจนลืมตัวเสียการงานก็ไม่เป็นการสมควร
(๕) ผู้ดีย่อมเป็นผู้รักษาความเป็นระเบียบ หมายความว่า ระเบียบแบบแผนข้อบังคับ ขนบธรรมเนียมประเพณีอันใดที่ได้ตั้งไว้บัญญัติไว้ หรือเคยประพฤติกันมาเป็นธรรมเนียมแล้ว ต้องเป็นผู้รักษาระเบียบนั้นไว้ ความเป็นกลุ่มเป็นก้อนของคนทั้งหลายย่อมคุ้มกันไว้ด้วยระเบียบ ไม่มีระเบียบย่อมระส่าระสายทันที และไม่ว่าจะทำงานการใด หากจัดระเบียบให้ดีแล้วก็จะสะดวกและ
รวดเร็วเป็นอันมาก ควรจำไว้ว่า ความเป็นระเบียบย่อมงามตาสบายใจให้ความสะดวก ตรงข้ามกับ ความสับสนย่อมรกตารำคาญใจและให้ความขัดข้อง ด้วยเหตุนี้จึงจำเป็นรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อยไว้
(๖) ผู้ดีย่อมเป็นผู้อยู่ในบังคับบัญชาเมื่ออยู่ในหน้าที่ หมายความว่า ในกลุ่มคนที่ร่วมงานกันมีหน้าที่อยู่สองอย่าง คือหน้าที่บังคับอย่างหนึ่ง หน้าที่ทำตามอย่างหนึ่ง เราต้องรู้ตัวเราว่า เรามีหน้าที่เช่นไร เมื่อรู้แล้วต้องทำตามหน้าที่นั้น เช่น มีหน้าที่บังคับก็ต้องบังคับ มีหน้าที่ทำตามก็ต้องทำตาม เรามีหน้าที่อย่างไรต้องรักษาหน้าที่นั้นให้บริบูรณ์ไม่บกพร่อง จึงสมควร
(๗) ผู้ดีย่อมมีมานะในการทำงาน ไม่ย่อท้อต่อความยากลาบาก หมายความว่า ตามปรกติการงานที่เราทำต้องมีอุปสรรค์ความขัดข้องทั้งนั้น การงานเล็กมีอุปสรรคเล็ก การงานใหญ่มีอุปสรรคใหญ่ การงานดีมีความขัดข้องมากตามส่วนของการงานนั้น ๆ ในการทำงานถ้าปล่อยให้ความเกียจคร้าน เข้าครอบงำแล้ว ย่อมมีความย่อท้อเกิดขึ้น ระงับความย่อท้อไม่ได้การงานก็ไม่สาเร็จ ถ้าไม่มีความย่อท้อ การงานก็สาเร็จได้ด้วยดี เพื่อความสาเร็จของงานต้องตัดความย่อท้อเสีย ต้องไม่คิดถึงความลำบาก ยากเย็น ต้องถือหลักโบราณว่า ต้องอดเปรี้ยวกินหวาน เมื่อได้ทำการงานสาเร็จแล้วก็จะมี ความสบายภายหลัง
(๘) ผู้ดีย่อมเป็นผู้ทำอะไรทำจริง หมายความว่า เมื่อได้ลงมือทำอะไรแล้ว ต้องทำสิ่งนั้นให้สำเร็จ เช่น เรียนหนังสือ ก็ต้องเรียนให้ถึงที่สุดของวิชาตามชั้นนั้น ๆ ต้องไม่หยุดเสียกลางคัน เป็นต้น เมื่อเป็นกิจการใหญ่ ๆ ต้องทำเรื่อยไปให้สาเร็จ
(๙) ผู้ดีย่อมไม่เป็นผู้ดึงดันในที่ผิด หมายความว่า ตามปรกติการทำ คำพูด ความคิดของคนเรา ย่อมมีได้ทั้งผิดทั้งถูก เราเองก็มีทั้งผิดทั้งถูกเพราะเราเองเมื่อสาคัญผิดก็เห็นผิดได้ เมื่อเห็นผิดได้ก็ทำผิดได้ พูดผิดได้คิดผิดได้ แต่เมื่อรู้ว่าผิดแล้วเลิกเสียก็ใช้ได้ แต่ถ้ารู้ว่าผิดแล้ว ยังขืนดึงดันก็เสียหาย เพราะฉะนั้นเพื่อมิให้เกิดความเสียหาย เมื่อรวู้ ่าผิดแล้วก็อย่าดึงดันหรือขืนทาลงไปจึงจะเป็นผลดี
(๑๐) ผู้ดีย่อมปรารถนาความดี ต่อการงานที่ทำอยู่เสมอ หมายความว่า เมื่อทำการงานใดอย่างหนึ่ง ต้องหวังความเจริญในการงานนั้น ต้องคอยหมั่นตรวจตราพินิจพิจารณาให้รอบคอบอย่าทำสักแต่ว่า ให้พ้นไปวันหนึ่งๆ และต้องหมั่นดูว่างานนั้นๆ เป็นไปตามความหวังของตนหรือไม่เมื่อเห็นว่า ไม่เป็นไปตามความหวัง ต้องหาทางแก้ไข เมื่อแก้ไม่ได้ต้องเปลี่ยนแปลง หรือหาบุคคลที่สามารถทำให้เป็นไปตามความหวัง ไม่กักงานนั้นไว้เสียคนเดียวแล้วตนไม่สามารถทำได้ การงานนั้นก็เสียหายๆไป อย่างนี้จึงจะชอบ


กระทู้: สมบัติของผู้ดี
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 03 ธ.ค. 12, 14:38
กลอนสักวาที่นำมาแสดงเพื่อให้เห็นว่าความคิดเรื่อง "ผู้ดี" และ "ไพร่" เป็นของคู่กันมาอย่างน้อยมีมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๔-๕ แล้ว

ที่ท่านสุจิตราว่ามีทางเลือกอยู่ ๒ ทางคือไม่เป็นผู้ดีก็เป็นไพร่ ก็ไม่น่าจะเข้มงวดขนาดนั้น

คนดีที่ไม่มีส่วนเลว และคนเลวที่ไม่มีส่วนดี มีแต่ในนิยายเท่านั้นดอก


กระทู้: สมบัติของผู้ดี
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 03 ธ.ค. 12, 14:52
 ;D


กระทู้: สมบัติของผู้ดี
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 03 ธ.ค. 12, 15:14
เริ่ม               มูลนาย   vs   ไพร่
ต่อมา             มูลนาย = ผู้ดี   --->    ผู้ดี  vs ไพร่
บัดนี้              ผู้ดี  vs  ผู้เลว

ซ.ต.พ.          ไพร่  = ผู้เลว   ???  ???  ???
                   ผู้ดี  = ผู้ดี
แต่ในเมื่อท่านเพ็ญชมพูบอกว่า
คนดีที่ไม่มีส่วนเลว และคนเลวที่ไม่มีส่วนดี มีแต่ในนิยายเท่านั้นดอก
แปลว่า ไพร่ก็มีส่วนเป็นผู้ดี   ผู้ดีก็มีส่วนเป็นไพร่   ไม่ได้แบ่งเส้นขีดคั่นกันได้เด็ดขาดว่าอยู่กันคนละวัฒนธรรมอย่างในบทความดร.นิธิ ใช่ไหม





กระทู้: สมบัติของผู้ดี
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 03 ธ.ค. 12, 15:30
::)


กระทู้: สมบัติของผู้ดี
เริ่มกระทู้โดย: Sujittra ที่ 03 ธ.ค. 12, 19:55
เริ่ม               มูลนาย   vs   ไพร่
ต่อมา             มูลนาย = ผู้ดี   --->    ผู้ดี  vs ไพร่
บัดนี้              ผู้ดี  vs  ผู้เลว

ซ.ต.พ.          ไพร่  = ผู้เลว   ???  ???  ???
                   ผู้ดี  = ผู้ดี
แต่ในเมื่อท่านเพ็ญชมพูบอกว่า
คนดีที่ไม่มีส่วนเลว และคนเลวที่ไม่มีส่วนดี มีแต่ในนิยายเท่านั้นดอก
แปลว่า ไพร่ก็มีส่วนเป็นผู้ดี   ผู้ดีก็มีส่วนเป็นไพร่   ไม่ได้แบ่งเส้นขีดคั่นกันได้เด็ดขาดว่าอยู่กันคนละวัฒนธรรมอย่างในบทความดร.นิธิ ใช่ไหม


ตำตอบของท่านเจ้าเรือนทำให้ผมฉุกคิดอะไรได้บางประการ

ผมมีความรู้สึกว่า จะดีไม่น้อยถ้่าเราสามารถนำปัญหาทางสังคมมาพูดคุยมาถกเถียงโดยการใช้พจน์หรือสมการทางคณิตศาสตร์มาทำความเข้าใจไขปริศนา

ช่วงที่ผมเรียนเกี่ยวกับการปกครองที่สถาบันแห่งหนึ่ง (ขออนุญาตที่ไม่เอ่ยนามสถาบันเพราะแม้นว่าผมจะพูดในเรื่องที่ดีต่อสถาบัน แต่เมื่อยังไม่ได้รับอนุญาตเราก็ไม่ควรนำไปอ้าง เชื่อว่าคงต้องมีใน "สมบัติของผู้ดี"  ;D) ผมศึกษาเรื่องรูปแบบการปกครองที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทยว่าในด้านฝ่ายนิติบัญญัตินั้นควรจะเป็นหนึ่งสภา(มีแต่สภาผู้แทนฯ) หรือสองสภา(มีวุฒิสภาด้วย) ซึ่งสุดท้ายแล้วผมก็สร้างสมการทางคณิตศาสตร์โดยมีตัวแปรอิสระคือ ขนาดประเทศ การเกิดใหม่ของประเทศ ความเป็นเผด็จการของฝ่ายบริหาร(คือรัฐบาล) และ จำนวนประชากร
ค่าของตัวแปรก็ใช้ข้อมูลจากประเทศทั่วโลก (177 ประเทศในขณะนั้น)
ผลของการคำนวณโดยสมการพบว่า ประเทศไทยควรเป็นระบบสองสภา

ในที่ประชุมนำเสนอผลงานไม่มีใครค้านแม้แต่คนเดียว แม้นว่าในห้องประชุมจะมี สส. ซึ่งมาจากพรรคการเมืองที่อยากให้มีสภาเดียว รวมทั้งนักวิชาการทั้งหลาย

มองเลยไป ผมมีความรู้สึกว่าที่เราวุ่นวายและสื่อสารกันไม่รู้ฟังเพราะเราใช้ภาษาเพราะพริ้ง (ทั้งภาษาการเมืองและภาษาการฑูต) ในการสื่อหรือให้เหตุผลในสิ่งที่ตนเองเชื่อและอยากให้เป็น ส่วนคนฟังก็ไม่รู้จะค้านอย่างไรเพราะฟังไม่รู้เรื่องแต่ไพเราะดีเพลินดี สุดท้ายประชาชนก็ตกเป็นเหยื่อและเป็นเบี้ยของนักการเมืิองอย่างที่เป็นอยู่ทุกวันนี้และจะเป็นตลอดไปเพราะคำสวยหรูเพราะภาษาสวยหรูเช่น "CHANGE" (ไม่ได้ว่า Obama นะครับ)
 :)


กระทู้: สมบัติของผู้ดี
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 03 ธ.ค. 12, 20:38
อ้างถึง
ผมมีความรู้สึกว่า จะดีไม่น้อยถ้่าเราสามารถนำปัญหาทางสังคมมาพูดคุยมาถกเถียงโดยการใช้พจน์หรือสมการทางคณิตศาสตร์มาทำความเข้าใจไขปริศนา

เห็นด้วยค่ะ   ถ้าเรื่องไหนทำได้ก็น่าทำ เพราะคณิตศาสตร์เป็นวิชาที่ตั้งอยู่บนเหตุผล  ไม่ใช้อารมณ์หรือค.ห.ส่วนตัว

 
อ้างถึง
ผมมีความรู้สึกว่าที่เราวุ่นวายและสื่อสารกันไม่รู้ฟังเพราะเราใช้ภาษาเพราะพริ้ง (ทั้งภาษาการเมืองและภาษาการฑูต) ในการสื่อหรือให้เหตุผลในสิ่งที่ตนเองเชื่อและอยากให้เป็น ส่วนคนฟังก็ไม่รู้จะค้านอย่างไรเพราะฟังไม่รู้เรื่องแต่ไพเราะดีเพลินดี สุดท้ายประชาชนก็ตกเป็นเหยื่อและเป็นเบี้ยของนักการเมืิองอย่างที่เป็นอยู่ทุกวันนี้และจะเป็นตลอดไปเพราะคำสวยหรูเพราะภาษาสวยหรูเช่น "CHANGE" (ไม่ได้ว่า Obama นะครับ)

บางทีภาษาเพราะพริ้งที่ฟังไม่ค่อยจะรู้เรื่อง ก็เกิดจากการจงใจใช้ เพื่อให้ได้เปรียบอย่างใดอย่างหนึ่งในการเจรจา      มีเหตุผลหลายอย่างที่คุณตั้งคงอธิบายได้ดีกว่าดิฉัน ในฐานะนักการทูต 
ส่วนดิฉัน  เคยเจอนักวิชาการบางคนชอบใช้ภาษายากๆ เพื่อให้คนอ่านหรือคนฟังงง จะได้เถียงได้ยากกว่าเวลาฟังภาษาง่ายๆ     เมื่อไม่มีใครเถียง ก็จะเกิดบรรยากาศการยอมรับแบบตกกระไดพลอยโจน เพราะไม่รู้จะค้านยังไง     ยิ่งถ้าเวลาจำกัดแล้วกว่าจะมาตีความทำความเข้าใจ ก็หมดเวลาไปก่อนเสียแล้ว

เคยถามนศ.ว่า ประโยคว่า "มันเกือบจะเป็นไปไม่ได้ว่ามีสิ่งมีชีวิตชั้นสูงอย่างอื่นนอกจากมนุษย์ในจักรวาลอื่นๆรวมทั้งสุริยจักรวาล"  ข้อนี้ถือว่าคนพูดเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยว่ามีมนุษย์ต่างดาว ให้ตอบภายในครึ่งนาที    ปรากฏว่านศ.ปริญญาโทตอบกันไม่ทัน  มัวแต่ตีความว่า "เกือบจะเป็นไปไม่ได้"  เป็นคำรับหรือปฏิเสธ  และจักรวาลที่ว่ามันจักรวาลไหนกันแน่



กระทู้: สมบัติของผู้ดี
เริ่มกระทู้โดย: Sujittra ที่ 03 ธ.ค. 12, 20:57
^
ต้องยอมรับว่าที่เว็บเรือนไทยเป็นเว็บวิชาการดีเด่นได้นั้น นอกจากเนื้อหาเรื่องราวที่หลากหลายครบครันแล้ว ปัจจัยสำคัญคือ "เจ้าเรือน" คือตัวท่านเทาชมพูที่เป็นนักวิชาการจริงๆ (มิใช่นักวิชาการทั่วไปอย่างที่เรียกว่า Literaturer) แต่เต็มไปด้วยมุมมองและเหตุผลที่น่าสนใจ รวมทั้ง "ความรอบรู้" และมีจุดยืนที่มั่นคงชัดเจน อย่างที่สำนวนเขาว่า "กล้ายืนต้านพายุฝุ่น และเมื่อฝุ่นจางหายไป ก็พบว่ายังคงายืนอยู่ที่จุดเดิม" (ประมาณนั้นครับ)
 ;D


กระทู้: สมบัติของผู้ดี
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 04 ธ.ค. 12, 10:21
โค๊ด:
อย่างที่สำนวนเขาว่า "กล้ายืนต้านพายุฝุ่น และเมื่อฝุ่นจางหายไป ก็พบว่ายังคงายืนอยู่ที่จุดเดิม" (ประมาณนั้นครับ)
 

รู้สึกตัวเองเหมือนจั่นเจาเลยค่ะ  ขอบคุณสำหรับคำชม


กระทู้: สมบัติของผู้ดี
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 04 ธ.ค. 12, 20:38
...บางทีภาษาเพราะพริ้งที่ฟังไม่ค่อยจะรู้เรื่อง ก็เกิดจากการจงใจใช้ เพื่อให้ได้เปรียบอย่างใดอย่างหนึ่งในการเจรจา      มีเหตุผลหลายอย่างที่คุณตั้งคงอธิบายได้ดีกว่าดิฉัน ในฐานะนักการทูต... 

ขอใช้สิทธิพาดพิงครับ
ผมมีช่วงเวลาทำงานอยู่ในฐานะนักการทูตเกือบ 10 ปี ทั้งในระบบพหุภาคีและทวิภาคื เกี่ยวข้องกับการเจรจาระหว่างประเทศก่อนหน้าอีกสัก 4-5 ปี ก็ยังไม่ถือว่าตนเองเป็นผู้รู้และมีความสันทัดกรณี  เรียนไม่รู้จบครับ   
ผมทำงานในสายการทำให้เกิดการปฏิบัติการจริง มากกว่าในสายการสานฝันความคิดทางนโยบาย   ยอมรับว่าที่ อ.เทาชมพูกล่าวมาเป็นความจริง  ซึ่งจะไปขึ้นอยู่ช่วงเวลาของการพูดคุย สถานะการณ์ภายใน สถานการณ์ของสังคมโลก สภาพและสถานะของการพูดคุยและการเจรจาต่างๆ ฯลฯ ซึ่งทั้งหมดจะต้องเป็นเรื่องที่ไม่ทำให้เราเสียหรือต้องสละ sovereignty และสิทธิประโยชน์ในเรื่องใดๆ ไม่ว่าจะในมุมใดๆทั้งสิ้น และไม่ว่าจะน้อยนิดเพียงใด   กล่าวได้ว่าทำอย่างไรก็ได้เพื่อให้เรา (ประเทศ) ยังสามารถทรงไว้ซึ่งอำนาจและสิทธิในการตัดสินใจ ยังคงมีความเป็นตัวเองที่ไม่ถูกครอบงำ ไม่ทำให้ไปอยู่ในอาณัติของการสั่งการหรือการบังคับของประเทศอื่นใด องค์กรอื่นใด หรือคณะบุคคลนานาชาติอื่นใด   ทั้งหมดจะต้องเป็นไปด้วยเป้าหมายหรือผลสัมฤทธิ์ที่จะเกิดผลกับประเทศและประชาชนเป็นหลัก มิใช่การป่าวประกาศความต้องการอย่างเปิดเผยและอย่างโจ่งแจ้งตั้งแต่ไก่โห่

โดยหลักการแล้ว  การพูด การเจรจา หรือการแสดงออกใดๆ จะต้องมี fall back position หลายๆระดับชั้นเลยทีเดียว  พูดง่ายๆก็คือต้องมีกึ๋นเยอะ       

พูดถึงตรงนี้แล้ว คำว่าสมบัติของผู้ดี นั้นจึงมิได้จำกัดวงอยู่เพียงเฉาะตัวหรือกลุ่มบุคคลเท่านั้น


กระทู้: สมบัติของผู้ดี
เริ่มกระทู้โดย: Sujittra ที่ 05 ธ.ค. 12, 00:04
วันนี้วันดีที่สุดเพราะเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ขอพระองค์จงทรงพระเจริญ

_/ \_


กระทู้: สมบัติของผู้ดี
เริ่มกระทู้โดย: Sujittra ที่ 05 ธ.ค. 12, 00:21
ขออนุญาตไปต่อภาคต่อไปนะครับ

ผนวก ๗ ผู้ดีย่อมเป็นผู้ใจดี
หมายความว่า ต้องทำใจของตนให้มีเมตตากรุณา คิดแต่ในทางที่ดีมองคนทั้งหลายในแง่ดี สะสมแต่ความดีต่อกันไว้ อย่างนี้จัดว่าเป็นผู้ใจดี

กายจริยา หมายความว่าแสดงออกให้ปรากฏว่า เป็นคนมีใจดีโดยการกระทำทางกาย

(๑) ผู้ดีเมื่อเห็นใครทำผิดพลาดอันน่าเก้อกระดากย่อมช่วยกลบเกลื่อนหรือทำไม่เห็น หมายความว่า เมื่อเห็นเขาทำผิดพลาดก็ไม่ซ้ำเติม ต้องช่วยแก้ไขหรือช่วยให้หายผิด หรือช่วยทำให้ร้ายกลายเป็นดี หรือความผิดพลาดนั้นเป็นความเดือดร้อนแก่ประชาชน เช่น ตำรวจเห็นผู้ร้ายกระทำผิด จะทำเป็นไม่เห็นไม่ควร ต้องจัดการตามหน้าที่ แต่ถ้าความผิดนั้นไม่เป็นการเสียหายกับใคร เช่น ผงติดศีรษะ ก็ทำไม่เห็นเสียเช่นนี้ย่อมไม่เสียหาย บางอย่างถ้าทักเข้าเขาจะมีความกระดากอาย ก็ควรทำไม่เห็น ย่อมเป็นการควร
(๒) ผู้ดีเมื่อเห็นสิ่งของของใครตกหรือจะเสื่อมเสีย ย่อมต้องหยิบยื่นให้ หรือบอกให้รู้ตัว
หมายความว่าเมื่อพบของตกไม่ว่าเป็นที่ใด ถ้าเจ้าของอยู่ต้องบอกเจ้าของให้รู้ ถ้าลับหลังเจ้าของต้องเก็บเอาไว้มอบเจ้าหน้าที่ ถ้าในบริเวณโรงเรียนต้องเก็บเอาไว้มอบให้ครูใหญ่ ในถนนหลวงหรือ สถานที่ของตนต้องเอาไปมอบแก่เจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อประกาศหาเจ้าของต่อไป
(๓) ผู้ดีเมื่อเห็นเหตุร้ายหรืออันตรายจะมีแก่ผู้ใด ย่อมต้องรีบช่วย หมายความว่า ไม่ว่าจะอยู่ในที่ใดกับผู้ใด เมื่อเห็นเหตุร้ายจะเกิดขึ้นแก่เขา ต้องรีบบอกทันที เช่น รู้ว่าทางเป็นหลุมเป็นบ่อ หรือรู้ว่าสะพานชารุด หรือมีสัตว์ร้ายอยู่ข้างหน้า หรือมีโจรร้ายคอยดักซุ่มหรือมีอันตรายอย่างใดอย่างหนึ่ง ต้องรีบบอกให้เขารู้ทันที มิใช่ปล่อยให้เขามีอันตรายแล้วหัวเราะเล่นเห็นเป็นเรื่องสนุกสนาน ไม่เป็นการสมควร

วจีจริยา หมายความว่า แสดงความเป็นผู้มีใจดีให้ปรากฏด้วยการกล่าวทางวาจา

(๑) ผู้ดีต้องไม่เยาะเย้ยถากถางผู้กระทำผิดพลาด หมายความว่า เมื่อเห็นผู้ใดพลาดพลั้งด้วยเรื่องอย่างใดอย่างหนึ่ง ย่อมไม่เยาะเย้ยให้เขาได้อาย เช่น เขาพลาดล้มไม่หัวเราะเยาะเป็นต้น
(๒) ผู้ดีย่อมไม่ใช้วาจาอันข่มขี่ หมายความว่าเมื่อพูดกับใคร ไม่ว่าเขาผู้นั้นจะเป็นผู้น้อยหรือผู้ต่ำต้อยด้วยสถานใดสถานหนึ่ง หรือจะเป็นเสมอกันก็ตาม ไม่พูดจาข่มขี่ด้วยประการต่าง ๆ ไม่ว่าในทางใดทั้งนั้น เช่น เห็นเขาสุภาพไม่พูดข่มด้วยท่าทางอันเป็นอันธพาล เห็นเขายากจนไม่พูดข่มเรื่องเงินทอง เป็นต้น

มโนจริยา หมายความว่า แสดงความเป็นผู้มีใจดีให้ปรากฏจากใจ

(๑) ผู้ดีย่อมไม่มีใจอันโหดเหี้ยมเกรี้ยวกราดแก่ผู้น้อย หมายความว่า ต้องแสดงความมีน้าใจร่วมสุขร่วมทุกข์ให้ปรากฏ แสดงความเมตตาปราณีให้ปรากฏ ควรยกย่องก็ยกย่องตามควรแก่กาลเทศะ
(๒) ผู้ดีย่อมเอาใจโอบอ้อมอารีแก่คนอื่น หมายความว่า เมื่อผู้อื่นตกทุกข์ได้ยากอย่างไร มีโอกาสช่วยเหลือก็ช่วยเหลือแสดงความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นและเพื่อนบ้านเรือนเคียงกันด้วยให้ปันบ้างด้วย ช่วยเหลือกิจธุระต่าง ๆ บ้าง ช่วยเหลือในยามเจ็บไข้บ้าง แม้ตามปรกติก็ร่วมสุขร่วมทุกข์แสดงความ ปรารถนาดีอยู่เสมอ
(๓) ผู้ดีย่อมเอาใจใส่คนเคราะห์ร้าย หมายความว่า เมื่อเห็นผู้ใดผู้หนึ่งตกทุกข์ได้ยากด้วยอาการอย่างใดอย่างหนึ่งเช่นตกน้า ถูกไฟไหม้ถูกโจรผู้ร้ายปล้นหรือได้รับอันตรายอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็เข้าช่วยเหลือตามโอกาส ไม่ดูดายใจจืดใจดำ ช่วยเหลือตามกำลังความสามารถเท่าที่จะทำได้ นี้เป็นการควร
(๔) ผู้ดีย่อมไม่ซ้าเติมคนเสียที หมายความว่า ในการแข่งขันอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น เล่นฟุตบอล เมื่อฝุายตนชนะก็ไม่ควรซ้ำเติมฝ่ายแพ้ไม่ควรทำดังคำพังเพยว่าได้ทีขี่แพะไล่ ต้องทำตนให้มีน้ำใจนักกีฬา คือรู้แพ้รู้ชนะถึงคราวแพ้ก็ยอมแพ้ด้วยดี ถึงคราวชนะก็ชนะด้วยดีไม่ทำร้ายคนที่ไม่มีทางสู้ ไม่ทาร้ายลับหลัง เมื่อเขาเสียทีอยู่แล้วก็ไม่ซ้ำเติม ดังคำว่าไม่เหยียบคนที่ล้มแล้ว
(๕)ผู้ดีย่อมไม่เป็นผู้อาฆาตจองเวร หมายความว่า เมื่อมีใครมาทำให้โกรธหรือให้เจ็บช้ำน้ำใจประการใดประการหนึ่งก็ตาม ก็ควรแต่เพียงว่าเจ็บแล้วจำก็พอแล้ว คือไม่ควรให้มีอย่างนั้นอีก ให้ เป็นการเลิกแล้วกันเสียไม่ควรผูกพยาบาทอาฆาตจองเวร คอยหาโอกาสแก้แค้นกันอยู่ตลอดไป เช่น ผูกใจว่าเขาด่าเรา เราต้องด่าเขาให้ได้ เขาตีเรา เราต้องตีเขาให้ได้ อย่างนี้ไม่เป็นการควรเลย ต้องคิด ว่า เขาด่าเรา เราต้องหาทางไม่ให้เขาด่าอีก หรือหลีกหนีไปเสียให้ไกล ถ้าหลีกไม่ได้ก็อย่าให้เขามาทำเราอีกก็แล้วกัน ดังนี้จึงเป็นการควรเพราะเวรย่อมไม่ระงับด้วยการจองเวรแต่เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร


กระทู้: สมบัติของผู้ดี
เริ่มกระทู้โดย: Sujittra ที่ 06 ธ.ค. 12, 18:37
เมื่อวานนี้ผมได้มีไปร่วมรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระ้จ้าอยู่หัวที่ลานพระบรมรูปทรงม้า คนแน่นเต็มทั้งลานฯเลยครับ
อย่างที่โพสต์กันในเน็ตว่า ไม่ได้ไปเพื่อไปชมพระองค์ท่าน แต่ไปเพื่อให้พระองค์ท่านทอดพระเนตรเห็นเรา ให้เห็นว่าคนที่รักและเชิดชูพระองค์มีมากมายมหาศาลเพียงใด


กระทู้: สมบัติของผู้ดี
เริ่มกระทู้โดย: Sujittra ที่ 06 ธ.ค. 12, 18:41
ไปภาคต่อไปเลยนะครับ

ผนวก ๘ ผู้ดีย่อมไม่เห็นแก่ตัวถ่ายเดียว
หมายความว่า ในการอยู่ร่วมกันเป็นหมู่คณะ ต้องคำนึงถึงประโยชน์ตนประโยชน์ท่านเป็นสาคัญ จะเอาแต่ข้างตนเองอย่างเดียวไม่ได้ต้องนึกถึงประโยชน์ส่วนรวมด้วย ถ้าเอาแต่ส่วนตัวคนอื่นเดือดร้อน ไม่ควรแท้ แต่ในทางตรงกันข้าม เอาแต่ประโยชน์คนอื่น ส่วนตัวเดือดร้อนก็ไม่ควรเหมือนกัน แต่ถ้ารับอาสาเขาทำประโยชน์ของหมู่คณะก็ต้องถือเอาประโยชน์ส่วนรวมเป็นสำคัญ ประโยชน์ส่วนตัว ต้องมาเป็นอันดับรอง อย่างนี้จึงเป็นการสมควรแท้

กายจริยา หมายความว่า การแสดงความไม่เห็นแก่ตัวให้ปรากฏโดยการกระทำทางกาย

(๑) ผู้ดีย่อมไม่พักหาความสบายก่อนผู้ใหญ่หรือผู้หญิง หมายความว่าในการอยู่ร่วมกันในหมู่ในคณะ ท่านที่เป็นผู้ใหญ่กว่าก็มี ท่านที่เป็นผู้หญิงก็มี ผู้น้อยหรือผู้ชายต้องไม่หาความสบายก่อนผู้ใหญ่หรือผู้หญิง เช่น ในการรับประทาน ต้องช่วยให้ผู้ใหญ่และผู้หญิงรับประทานก่อนจึงรับประทานภายหลัง ดังนี้เป็นต้น ย่อมเป็นการควร
(๒) ผู้ดีย่อมไม่เสือกสนแย่งชิงที่นั่งหรือที่ดูอันใด หมายความว่า ไม่คอยช่วงชิงหาโอกาสเพื่อตัวโดยถ่ายเดียว ต้องแลเหลียวถึงผู้อื่นบ้างตามควรเช่น ในการขึ้นรถไม่ควรแย่งกันขึ้นในการนั่งในที่ซึ่งเขาจัด ไม่ควรแย่งที่นั่งในการดูมหรสพหรือดูอย่างอื่น ไม่ควรแย่งกันดู ควรให้ไปตามลำดับแถว หรือเป็นไปตามปรกติ แต่ไม่ควรยืดยาดโอ้เอ้ล่าช้า ทำให้ผู้อื่นต้องเสียเวลาโดยใช่เหตุ ต้องทำให้เป็นไปตามควร แก่กาลเทศะ
(๓) ผู้ดีย่อมไม่เที่ยวแย่งผู้หนึ่งมาจากผู้หนึ่งในเมื่อเขาสนทนากัน หมายความว่า เมื่อผู้หนึ่งกำลังสนทนาอยู่กับอีกผู้หนึ่ง ไม่ควรไปแย่งคู่สนทนาเขา โดยที่ไปแย่งเอาเขามาคุยกับเรา หากมีความจำเป็นด้วยธุระจริง ๆ ก็ควรแจ้งให้เขาทราบก่อนและขอโอกาสเขา หากไม่มีความจำเป็นเช่นนั้นแล้ว ไม่ควรทำเป็นเด็ดขาด แม้ในการประกอบธุระอย่างอื่นก็เช่นเดียวกัน
(๔) ผู้ดีผู้ใหญ่ จะไปมาลุกนั่งย่อมไว้ช่องให้ผู้น้อยมีโอกาสบ้าง หมายความว่า ในการนั่งในที่ชุมชน ตามปรกติเขาจัดที่นั่งที่ยืนไว้ ในการยืนแถวผู้ใหญ่ต้องยืนหน้า ในการนั่งผู้ใหญ่ต้องนั่งหน้าเหมือนกัน ในการนี้ทุกคนต้องยืนหรือนั่งตามที่ซึ่งเหมาะสมแก่ตน ถ้าเป็นผู้ใหญ่ไปยืนข้างหลังหรือนั่งข้างหลังหรือยืนปิดช่อง ก็ทำให้ผู้น้อยไม่สามารถจะนั่งจะยืนหรือจะเดินไปได้ เป็นการไม่สมควรแท้ เพราะฉะนั้นต้องนั่งยืนตามที่ที่เหมาะสมแก่ตนจึงจะเป็นการควร


กระทู้: สมบัติของผู้ดี
เริ่มกระทู้โดย: Sujittra ที่ 11 ธ.ค. 12, 10:53
กลับไปคิดใคร่ครวญดู ผมคิดว่าตัวชื่อ "สมบัติของผู้ดี" น่าจะมีคำอื่นที่เหมาะกว่า เพราะชื่อ้ดิมนั้นจะอาจทำให้บางท่านู้สึกว่าเป็นเรื่ิองไกลตัว เป็นเริื่องของ "ผู้ดี" ซึ่งเป็นคนรวยมีชาติสกุล ไม่ใช่เรื่องของชาวบ้านอย่างเรา เผลอๆก็ทำให้เกิดการต่อต้านเสียด้วยซ้ำไป (เหมือนที่ผมรู้สึกตั้งแต่เด็ก)
ผมก็เลยคิดว่า ถ้าเปลี่ยนชื่อเสียใหม่เป็น "สมบัติของสุภาพชน" "มรรยาทในสังคม" "มรรยาทของสุภาพชน" หรือ สมาชิกท่านใดมีข้อเสนอแนะก็ลองช่วยกันดูครับ เผื่อจะได้ไปสู่การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเพื่อจะได้ทำให้อะไรๆในสังคมได้ดีขึ้นบ้าง


กระทู้: สมบัติของผู้ดี
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 11 ธ.ค. 12, 11:22
คำว่า "ผู้ดี" กลายเป็นคำเซนซิทีฟ   ใครถูกเรียกด้วยคำนี้มักจะหนาวๆร้อนๆ ว่าโดนกระทบกระแทกแดกดันหรือเปล่า   นับว่าน่าเสียดายมาก
เพราะฉะนั้น สมบัติผู้ดี  อาจต้องเปลี่ยนชื่อเป็น
- มรรยาทคนดี
- มรรยาทคนไทย
- สมบัติคนไทย
- สมบัติของสุภาพชน
- มรรยาทของวิญญูชน
- มรรยาทของสุภาพชน
ฯลฯ


กระทู้: สมบัติของผู้ดี
เริ่มกระทู้โดย: Sujittra ที่ 12 ธ.ค. 12, 15:26
(๕) ผู้ดีในการเลี้ยงดูย่อมแผ่เผื่อเชื้อเชิญแก่คนข้างเคียงก่อนตน หมายความว่า ในการเลี้ยง อาหารควรช่วยเหลือให้คนข้างเคียงตนได้อาหารก่อนและในขณะที่กาลังรับประทานอยู่ควรดูแลเพื่อ ช่วยเหลือเพิ่มเติมเมื่อเขาบกพร่องบ้าง อย่างนี้จึงเป็นการควร ทั้งนี้นอกจากระเบียบในโต๊ะอาหารที่มีอยู่อย่างเคร่งครัด เช่น เมื่อเขานำมาให้โดยเฉพาะก็หาควรที่จะหยิบไปให้คนอื่นก่อนไม่ และในที่นี้ จำต้องช่วยแต่ตนเอง
(๖) ผู้ดีในที่บริโภค ย่อมหยิบยกยื่นส่งสิ่งของแก่ผู้อื่นต่อ ๆ ไปไม่มุ่งแต่กระทำกิจส่วนตัว หมายความว่าในขณะที่กาลังรับประทานร่วมกันอยู่ถ้าเป็นวงใหญ่ อาหารย่อมอยู่ห่างจากอีกฝ่ายหนึ่ง ในการนี้ผู้ซึ่งอยู่ใกล้ต้องยื่นส่งอาหารให้แก่อีกฝ่ายหนึ่งซึ่งยังไม่ได้ ถ้าเป็นของที่ต้องเฉลี่ยกันก็ต้องส่ง ต่อ ๆ กันไปจนทั่วถึง ไม่ควรมุ่งแต่เฉพาะตนท่าเดียวต้องคอยช่วยเหลือกันตามโอกาส อย่างนี้จึงเป็นการควร
(๗) ผู้ดีย่อมไม่รวบสามตะกรามสี่กวาดฉวยเอาของที่ตั้งไว้เป็นกลางจนเกินส่วนที่ตัวจะได้ หมายความว่า ในการเลี้ยงร่วมโต๊ะนั้น ย่อมมีอาหารที่เขาจัดไว้เป็นส่วนกลาง ซึ่งคะเนว่าพอแก่จำนวนคนในวงนั้น ในการนี้ผู้ที่มีโอกาสได้แบ่งก่อนก็ไม่ควรแบ่งเอาเสียมากจนเกินไป จนทำให้ผู้ได้โอกาสแบ่งภายหลังไม่ได้ตามควร หรืออาจไม่ได้เลย หรือแม้ในการนั่งในที่รับแขกตามปรกติ เขามัก ตั้งพานหมากบุหรี่ไว้ ซึ่งตามปรกติก็พอแก่จานวนคนในชุมนุมนั้น ในการนี้ก็ต้องไม่ฉวยเอาเสีย มากมายจนเกินส่วนที่ตนควรจะได้เช่น ล้วงเอามาตั้งกำมือหรือหลายมวนเป็นต้นอย่างนี้ไม่เป็นอันควร ต้องหยิบเอาแต่เล็กน้อยพอเป็นกิริยาจึงเป็นการควรแท้
(๘) ผู้ดีย่อมไม่แสดงความไม่เพียงพอในสิ่งของที่เขาหยิบยกให้ หมายความว่า ในยามปรกติก็ตาม ในคราวร่วมรับประทานอาหารก็ตามเมื่อมีผู้ให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งแก่เรา เราต้องรู้จักเพียงพอ หรือต้องรู้จักเกรงอกเกรงใจเขาบ้างมิใช่ว่าเขาให้แล้วก็เอาเสียหมดเท่าไรไม่รู้จักพอ เช่นนี้ก็เกินไป อาจทำให้ผู้พบเห็นเสื่อมความนิยมได้ เพราะฉะนั้นจำต้องรู้ความพอเหมาะพอควรคือต้องรู้จักเพียงพอบ้าง ถ้าเป็นของรับประทานก็เอาแต่พอเท่านั้น ไม่ควรเอาจนเหลือซึ่งจะต้องทิ้งเสีย ต้องรู้ความพอเหมาะพอควร อย่างนี้จึงเป็นการควร
(๙) ผู้ดีย่อมไม่นิ่งนอนใจให้เขาออกทรัพย์แทนส่วนตัวเสมอไป เช่น ในการเลี้ยงดูหรือ ใช้ค่าเดินทางเป็นต้น หมายความว่า ในการเดินทางร่วมกัน เมื่อมีผู้ใดจัดค่าเดินทางให้ จัดค่าอาหารให้ก็ไม่ควรนิ่งนอนใจให้เขาต้องออกไปฝ่ายเดียว ทางที่ดีที่สุดนั้นควรเฉลี่ยตามส่วนเท่าๆกันเป็น เหมาะแท้ แต่ถ้าเขาไม่ยอมให้เฉลี่ยก็ต้องหาโอกาสตอบแทนเขาบ้างตามควรไม่ใช่ทำเฉยเมยเอาเขา ข้างเดียว ต้องแสดงมิตรจิตมิตรใจตามควรแก่โอกาส
(๑๐) ผู้ดีย่อมไม่ลืมที่จะส่งของซึ่งคนอื่นได้สงเคราะห์ให้ตนยืม หมายความว่า เมื่อยืมของเขามาใช้ ควรรีบส่งคืนเขาทันทีเมื่อเสร็จธุระแล้ว นอกจากนั้นแล้ว ยังต้องรักษาให้คงสภาพอยู่เช่นเดิม ถ้าขาดจานวนหรือเสื่อมเสียด้วยประการใด ต้องจัดการให้คงสภาพตามเดิมไม่ใช่ทำลืมถ้าไม่ส่งคืน ย่อมเป็นการเสียแท้ หรือไม่ส่งจนเขาต้องทวงคืนก็ไม่ควร ต่อไปจะยืมเขาไม่ได้อีก หรือไม่กล้าไปยืมเขา เป็นการตัดทางตนเอง ในทางตรงกันข้ามถ้าเขายืมเราไม่ส่งคืน เมื่อมายืมอีก เราก็ไม่ให้อีกเหมือนกัน เพราะฉะนั้นเมือยืมของต้องรักษาให้คงสภาพและต้องส่งคืนทันทีเมอื่ เสร็จธุระแล้ว หรือตามสัญญาที่ให้ไว้ ดังนี้จึงเป็นการสมควร
(๑๑) ผู้ดีเมื่อได้รับสิ่งของหรือเลี้ยงดู ซึ่งเขาได้กระทา
ำแก่ตนย่อมต้องตอบแทนเขา หมายความว่า เมื่อได้รับอุปการะจากผู้ใดก็ไม่ลืมบุญคุณของท่านผู้นั้น และหาโอกาสตอบแทนบุญคุณท่านตามกำลังความสามารถของตน เช่นพ่อแม่เลี้ยงเรามา ต้องเลี้ยงท่านตอบ ครูอาจารย์สอนวิชาความรู้เรามา ต้องสนองคุณท่าน เพื่อนบ้านหรือเพื่อนฝูงสงเคราะห์เราเราต้องสงเคราะห์ตอบดังนี้จึงเป็นการสมควร


กระทู้: สมบัติของผู้ดี
เริ่มกระทู้โดย: Sujittra ที่ 25 ธ.ค. 12, 17:15
ต้องขออภัยที่หายไปนานพอสมควรครับเพราะติดภารกิจ

ผมขอต่อเรื่อง "สมบัติของผู้ดี" หรือ "มรรยาทในสังคม"(ดังที่หลายท่านเสนอ) นะครับ


กระทู้: สมบัติของผู้ดี
เริ่มกระทู้โดย: Sujittra ที่ 25 ธ.ค. 12, 17:20
 วจีจริยา หมายความว่า การแสดงความไม่เห็นแก่ตัวให้ปรากฏทางวาจา

(๑) ผู้ดีย่อมไม่ขอแยกผู้หนึ่งมาจากผู้ใดเพื่อจะพาไปพูดจาความลับกัน หมายความว่า ในขณะที่ เขากำลังร่วมชุมนุมกันอยู่ เราไม่ควรจะแยกผู้หนึ่งผู้ใดซึ่งอยู่ในชุมนุมนั้นออกไปจากหมู่เพื่อจะไปพูดความลับอย่างใดอย่างหนึ่งเลยเป็นอันขาด หากมีความจำเป็นรีบด่วน ก็ควรจะแสดงอาการอย่างใดอย่างหนึ่งเข้าใจเอง และปลีกตัวออกไปเอง แล้วเราก็หาโอกาสพูดในเวลานั้น หากไม่ได้โอกาส ก็จำต้องปล่อยไปก่อน ไม่ควรแยกออกมาเช่นนั้น ซึ่งอาจเป็นที่ระแวงสงสัยของบุคคลผู้อื่นได้
(๒) ผู้ดีย่อมไม่สนทนาแต่เรื่องของตนถ่ายเดียว จนคนอื่นไม่มีช่องจะสนทนาเรื่องอื่นได้
หมายความว่า ในการสนทนาปราศรัยกันนั้น ไม่ควรยกเอาแต่เรื่องของตนเองมาพูด จนกลายเป็นว่า สนใจแต่เรื่องของตนคนเดียวซึ่งอาจจะทำให้ผู้อื่นเบื่อหน่ายหรือราคาญ เพราะไม่มีโอกาสฟังหรือ พูดเรื่องอื่นและในชุมนุมเช่นนั้น ควรเป็นผู้ฟังมากกว่าเป็นคนพูดควรให้โอกาสคนอื่นพูดมากกว่าตน เราจะได้ยินได้ฟังเรื่องแปลก ๆ เพิ่มขึ้นดังนี้
(๓) ผู้ดีย่อมไม่นำธุระของตนเข้ากล่าวแทรกในเวลาธุระอื่นของเขาชุลมุน หมายความว่า เมื่อคนทั้งหลายกำลังทำธุระชุลมุนวุ่นวายอยู่เช่นนั้น ไม่ควรนำธุระของเราเข้าไปแทรกแซงขึ้นในขณะนั้น ต้องรอจนกว่าผู้อื่นจะหมดธุระก่อน จึงพูดธุระของเราต่อไป
(๔) ผู้ดีย่อมไม่กล่าววาจาติเตียนของที่เขาหยิบยกให้ว่าไม่ดีหรือไม่พอ หมายความว่า เมื่อใครให้อะไรแก่เรา ไม่ว่าของนั้นจะเป็นของรับประทานหรือของใช้ก็ตาม เราไม่ควรติเตียนสิ่งนั้นโดย ประการใดประการหนึ่ง เช่นว่าไม่ดีหรือไม่พอเป็นต้น ถึงแม้จะรู้สึกเช่นนั้นก็ต้องเก็บไว้ในใจจึงจะควร
(๕) ผู้ดีย่อมไม่ไต่ถามราคาของที่เขาหยิบยกให้ตน หมายความว่า เมื่อมีผู้ใดผู้หนึ่งนำสิ่งของสิ่งใดสิ่งหนึ่งมาให้เรา เราไม่ควรถามราคาของนั้นในขณะนั้นเป็นอันขาด แม้มีความปรารถนาจะรู้ก็ควร หาทางอื่นที่จะสืบถามไม่ใช่ถามกับตัวผู้ให้เอง
(๖)ผู้ดีย่อมไม่แสดงราคาของที่จะหยิบยกให้แก่ผู้ใดให้ปรากฏ หมายความว่าเมื่อจะให้อะไรแก่ใคร ไม่จำเป็นต้องแสดงราคาสิ่งนั้นให้ปรากฏแก่เขา เพราะถึงอย่างไรก็ตามเขาอาจรู้ได้เอง ที่เป็นอย่างนั้น ก็เพราะสิ่งของนั้นย่อมแสดงถึงน้ำใจของผู้ให้เท่านั้นว่ามีน้ำใจเพียงใด บางทีของอาจน้อยแต่น้ำใจมาก ก็ย่อมเป็นที่ชื่นใจของผู้รับได้เหมือนกันดังนี้
(๗) ผู้ดีย่อมไม่ใช้วาจาอันโอ้อวดตนและลบหลู่ผู้อื่น หมายความว่า การพูดโอ้อวดย่อมทำให้ผู้ฟังหมดความเมตตาปรานี และยิ่งเป็นการลบหลู่คนอื่นด้วยแล้วยิ่งไม่สมควรอย่างแท้จริงเช่นพูดว่า ตนดีอย่างนั้นอย่างนี้ เป็นการยกยออวดตน ถ้าพูดว่าตนดีกว่าคนนั้นคนนี้ นี้เป็นการลบหลู่คนอื่น ถ้า พูดทั้งโอ้อวดตนและลบหลู่คนอื่นย่อมเป็นการไม่สมควรแท้ ต้องถ่อมตนและยกย่องคนอื่นจะดีกว่า


กระทู้: สมบัติของผู้ดี
เริ่มกระทู้โดย: ninpaat ที่ 29 เม.ย. 17, 07:07
 8) ผมค้นพบของดีที่มีอยู่บน เรือนไทย มานานแล้วครับ ดีใจมากที่หาเจอ ;D