เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 49
  พิมพ์  
อ่าน: 71283 ห้วยขาแข้ง เมื่อ '14 '15
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 14 ส.ค. 15, 19:56

ให้ลากเส้นตรงจากวัดปากลำไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ (ไปทางมุมซ้าย) ไปยังจุดปลายร่องเขาที่อยู่ฝั่งซ้ายของพื้นน้ำ 

จุดบรรจบของห้วยขาแข้งกับแควใหญ่จะอยู่ ณ ประมาณจุดกึ่งกลางของเส้นที่ลากนี้ครับ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 14 ส.ค. 15, 20:06

คิดว่าจุดเดียวกับแผนที่ภูมิประเทศ ๑:๒๕๐,๐๐๐  ซึ่งตรงนี้เป็นรูปตัว X เหมือนกัน
ปากลำห้วยขาแข้งก่อนถูกน้ำท่วม อ่านพิกัดจากแผนที่ โดยประมาณ คือ
     E=    513,000
     N= 1,650,000

ถูกต้องเลยครับ

แสดงว่าน่าจะต้องเคยใช้แผนที่มาตราส่วน 1:50,000 มาก่อน เพราะใช้ระบบอ่านตำแหน่งแบบ Easting - Northing

ซึ่งผมจะขอขยายความเพิ่มเติมเพื่อประโยชน์สำหรับนักท่องธรรมชาติคนจรจัดในพื้นที่ห่างไกลครับ
บันทึกการเข้า
puyum
พาลี
****
ตอบ: 245


ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 14 ส.ค. 15, 21:50

<a href="http://[font=Verdana][font=Verdana]ขอบคุณทุกท่านครับ ทั้งแผนที่นักบิน นักสำรวจ<br />คงไม่ถึงกับต้องพิกัดไว้ตั้งยิงปืนหลอกครับ ไม่น่าเลย<br />ผมขอใช้ google map ครับ [/font][/font]" target="_blank">http://[font=Verdana][font=Verdana]ขอบคุณทุกท่านครับ ทั้งแผนที่นักบิน นักสำรวจ<br />คงไม่ถึงกับต้องพิกัดไว้ตั้งยิงปืนหลอกครับ ไม่น่าเลย<br />ผมขอใช้ google map ครับ [/font][/font]</a>
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 15 ส.ค. 15, 19:43

โดยหลักสากลในการทำแผนที่ใดๆ    ด้านบนของแผนที่จะต้องเป็นทิศเหนือเสมอ 
   แต่ก็มีแผนที่ๆเป็นแผ่นพับเล็กๆที่แสดงเส้นทางไปยังที่ตั้งของร้านค้า สถานที่ท่องเที่ยว หรือ...ฯลฯ ซึ่งเกือบทั้งหมดมักจะไม่ใช้หลักสากลให้ด้านบนเป็นทิศเหนือ  แต่ก็มีเป็นจำนวนไม่น้อยที่ยังคำนึงถึงความรู้สึกผู้ใช้ จึงมีการแสดงสัญลักษณ์เป็นภาพลูกศรชี้ว่าทิศเหนืออยู่ทางใหน 

โดยหลักของผู้ใช้ในสากล   ผู้ใช้ต้องการทราบทิศทางและระยะทางที่เป็นจริง โดยการวัดจากแผนที่  แผนที่นั้นๆจึงต้องมีมาตราส่วนกำกับว่าเป็นแผนที่ๆแสดงอยู่บนฐานของมาตราส่วนใด  ซึ่งจะแสดงเป็นตัวเลข หรือเป็น Bar scale
   ก็เกิดเป็นปัญหาว่า หากจะแสดงแผนที่ให้เป็นไปตามจริง ก็อาจจะต้องใช้กระดาษอีกหลายแผ่นมาต่อกัน ก็เลยต้องตัดย่อให้สั้นลง  ซึ่งผลก็คือ ในพื้นที่รอบๆใกล้ๆตัวเรา แผนที่ค่อนข้างจะมีความถูกต้อง แต่เมื่อขยับห่างออกไปอีกหน่อยเดียว  ทุกเรื่องก็เพี้ยนหมด   ความรู้สึก "ใกล้ตาแต่ไกลตีน" ก็จึงเกิดขึ้นเป็นปรกติกับนักท่องเที่ยวทั้งหลาย

แผนที่สำหรับการท่องเที่ยวที่ดีที่สุดจึงประกอบไปด้วยแผนที่ใดๆก็ได้ (Thematic map, Sketch map, Cartoon map,...ฯลฯ) ไม่ว่าจะเป็นมาตราส่วนใดๆหรือจะไร้มาตราส่วนก็ได้  ...เพียงใช้คู่กับปากของเราครับผม ถามไปเรื่อยๆครับ   

ซึ่งก็ด้วยการถามนี้แหละครับ ผมจึงได้รอดจากปากกระบอกปืนมาหลายครั้งหลานหนในพื้นที่น่ากลัว แม้กระทั้งในห้วยขาแข้ง 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 15 ส.ค. 15, 20:45

แผนที่ภูมิประเทศมาตราส่วนมาตรฐานที่ใช้กันในระบบการบินของเครื่องบินปีกแข็ง (ซึ่งบินในระดับสองหมื่นสามหมื่นฟุตขึ้นไปนั้น) จะนิยมใช้แผนที่มาตราส่วน 1:500,000   ส่วนสำหรับเครื่องปีกหมุน ซึ่งปรกติบินอยู่ในระดับไม่เกิน 10,000 ฟุตนั้น จะใช้แผนที่มาตราส่วน 1:250,000 เป็นหลัก (ทุกเส้นชั้นความสูงในแผนที่จะต่างกัน 100 ม.)    (พวกนักบินเขาจะใช้แผนที่ๆเป็นแผ่นใหญ่แสดงต่อเนื่องกันหลายระวาง)

สำหรับคนทำงานด้านการพัฒนาทั้งหลาย จะใช้แผนที่ภูมิประเทศมาตราส่วน 1:250,000 เพื่อการวางแผนการทำงาน ดูความก้าวหน้า และการประเมินผลสัมฤทธิ์  ในขณะที่การปฏิบัติการและการทำงานในภาคสนามจะอิงอยู่กับแผนที่มาตราส่วน 1:50,000 (ทุกเส้นชั้นความสูงในแผนที่จะต่างกัน 20 ม.)

ส่วนในด้านการปกครอง การบริหาร การจัดการชุมชน สิทธิ และกรรมสิทธิต่างๆ จะไม่นิยมใช้แผนที่ภูมิประเทศ  แต่จะใช้แผนที่มาตราส่วนใหญ่ในระดับ 1:25,000 ขึ้นไป เช่น เพื่อการพัฒนาที่ดิน เพื่อแสดงขอบเขตที่ดินในโฉนด (1:4,000) ฯลฯ   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 16 ส.ค. 15, 19:28

ก็มาถึงอีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญ คือ จุดตำแหน่งในแผนที่ๆเรียกกันว่า พิกัด

พิกัด มีอยู่ 2 ระบบ คือ
  - ณ จุดตัดของเส้นละติจูด (เส้นรุ้ง) กับ เส้นลองติจูด (เส้นแวง) ฝรั่งใช้คำว่า Lat-Long coordinate
  - ณ จุดตัดของเส้นกริดแนวตั้งกับแนวนอนในแผนที่ ฝรั่งใช้คำว่า UTM coordinate

Lat-Long coordinate นั้นจะใช้ในเชิงของการบอกตำแหน่งคร่าวๆ ณ จุดใดๆบนโลก  ซึ่งมีทั้งบอกพิกัดแบบเต็มรูป (องศา ลิบดา ฟิลิบดา) และแบบบนฐานของเลขฐาน 10
ส่วน UTM coordinate นั้นจะใช้ในการบอกจุดใดๆบนแผนที่ๆสร้างขึ้นมาในระบบ Universal Transverse Mercator Projection ซึ่งเป็นระบบแผนที่มาตรฐานที่ใช้กันทั่วโลก    แผนที่ในระบบนี้แสดงความถูกต้องในเรื่องของทิศทางและรูปร่าง (direction and shape) แต่ไม่แสดงความถูกต้องในเรื่องของพื้นที่ (dimension and size _ area)

ในด้านความละเอียดแม่นยำนั้น ระบบพิกัด UTM จะมีความละเอียดและแม่นยำมากกว่าระบบ Lat-Long   แต่..ก็ขึ้นอยู่กับมาตราส่วนของแผนที่ๆใช้อ้างอิง    ก็..แผนที่มาตราส่วน 1: 250,000 นั้น 1 มม.=250 ม. (จุดดินสอหนึ่งบนแผนที่ ก็ใกล้เคียงที่จะหมายถึงพื้นที่ในรัศมีประมาณ 250 ม.)    ส่วนสำหรับแผนที่มาตราส่วน 1:50,000 ซึ่ง 1 มม.=50 ม. นั้น จุดดินสอหนึ่งก็จะแคบลงมาเป็นพื้นที่ในรัศมี 50 ม.)
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 16 ส.ค. 15, 19:58

แยกเล่าเรื่องนี้ออกมาก็เพียงเพื่อจะบอกกล่าวกันว่า มีข้อควรจะต้องระวังในการเดินทางโดยใช้แผนที่นำทาง หรือในการระบุตำแหน่งของตนเองในแผนที่   

เมื่อผนวกอัตราความเร็วในการเดินของคนคนเรา (กรณีเดินไปตามถนน จะอยู่ที่ประมาณ 3 - 4 กม.ต่อ ชม. แต่หากเดินดูนั่นดูนี่ มองซ้ายที-ขวาที ก็จะอยู่แถวๆ 1 กม.ต่อ ชม. หรือน้อยกว่า  และในกรณีเดินเร็วเพื่อไปยังจุดใดจุดหนึ่ง ก็จะอยู่ประมาณ 6 กม.ต่อ ชม.)   ก็คงจะพอประเมินได้นะครับว่า เรามีโอกาสจะบอกตำแหน่งของตนเองบนแผนที่มาตราส่วนต่างๆผิดไปได้มากน้อยเพียงใด
     
หลง หลุด จึงเป็นเรื่องปรกติสำหรับการเดินทางโดยใช้แผนที่

โดยวิชาชีพของผมที่มีอาวุธประจำกาย คือ แผนที่ภูมิประเทศ กับ เข็มทิศ และซึ่งต้องใช้เป็นประจำทุกวันกันนั้น ก็ยัง หลง/หลุด เป็นปรกติธรรมดา   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 17 ส.ค. 15, 19:06

สมัยผมทำงานอยู่นั้น ต้องอ่านแผนที่ให้ออก ใช้แผนที่ให้เป็น และใช้เข็มทิศให้เป็น   

เมื่อใช้เข็มทิศ sighting จนหาจุดที่ตนเองยืนอยู่ได้แล้ว ก็จุดลงบนแผนที่ แล้วก็อ่านตำแหน่งของจุดนั้นในระบบ UTM coordinate (Easting - Northing) คือ แบ่งช่องตารางกริดสี่เหลี่ยมในแผนที่ (ที่คลุมพื้นที่ของจุดนั้น) ออกเป็น 10 ส่วนในแนวตั้ง (เพื่ออ่านค่า easting) และ 10 ส่วนในแนวนอน (เพื่ออ่านค่า northing)  โดยอ่านค่าของจุดนั้นนับจากซ้ายไปขวาและล่างขึ้นบน จากกรอบของเส้นกริดในแผนที่ตามลำดับ   พิกัดนี้ก็คือตำแหน่งของเราที่ควรจะอยู่ในแผนที่ (เช่น ไปทางตะวันออกของเส้นกริดที่ 25 เป็นระยะ 3 ในสิบส่วนของช่องกริด และไปเหนือของเส้นกริดที่ 47 เป็นระยะ 5 ในสิบส่วนของช่องกริด  พิกัดนั้น จึงเป็น หมายเลขระวางแผนที่ +253475

ปัจจุบันนี้เราใช้เครื่อง GPS กัน   อ่านค่าได้ทั้ง Lat - Long และ UTM Coordinate    แล้วจึงค่อยไปจุดลงในแผนที่    ทั้งนี้ ก็ยังได้ตำแหน่งที่ผิดได้เหมือนเดิม ก็คืออาจจะผิดได้ในวงรัศมีประมาณ 50 เมตร หากว่าเครื่องนั้นมีค่าความแม่นยำที่มีอักษร SA กำกับอยู่ (ซึ่งเป็นเครื่องที่ขายกันโดยทั่วไป)
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 17 ส.ค. 15, 19:36

เอาละครับ มาถึง อ.ศรีสวัสดิ์ ด้วยความสวัสดิภาพปลอดภัยกันแล้ว   ก็ผ่านมาหลายแก่งแต่ไม่น่ากลัวนัก  นายท้ายเรือขับเรือกันในช่วงระยะทางเส้นนี้กันจนชำนาญ จนเกือบจะไม่รู้สึกเลยว่ามีแก่งใดบ้างที่น่ากลัว

ก่อนที่จะลืมไปครับ   แควใหญ่ นั้นมีความกว้างกว่าแควน้อย มีแก่งมากกว่าแควน้อย มีน้ำตื้นกว่าแควน้อย แต่สามารถใช้เรือหางยาวขนาดใหญ่ได้  ในขณะที่เรือหางยาวที่ใช้ในแควน้อยจะเป็นขนาดที่ย่อมกว่าและมีความสั้นกว่าที่เราเห็นกันในแม่น้ำเจ้าพระยา ทั้งนี้ก็เพราะว่า แก่งในแควน้อยนั้นจะเป็นลักษณะของโขดหินใต้น้ำเป็นหลัก แม้แก่งจะมีระยะทางสั้นแต่เรือก็ต้องขับหลบซ้าย-ขวา  ต่างกับแก่งในแควใหญ่ที่มีระยะทางยาวกว่า  ค่อนข้างจะตรงมากกว่า แต่เป็นแก่งในลักษณะของพื้นท้องน้ำตื้นและน้ำไหลต่างระดับ (ระหว่างหัวแก่งกับท้ายแก่งมากกว่า 1-2 เมตรขึ้ันไป)   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 18 ส.ค. 15, 19:01

อ.ศรีสวัสดิ์ เป็นเมืองหน้าด่านเก่าแก่ในสมัยที่ไทยกับพม่ายังรบกัน  ผมไม่มีความรู้มากพอที่จะบอกว่าเมืองนี้ถูกตั้งขึ้นมาแต่เมื่อใด ที่รู้แน่ๆก็คือ ถูกตั้งให้เป็นเมืองหน้าด่านที่สำคัญจุดหนึ่งในยุคสงครามเก้าทัพ   

ชื่อและจุดที่ตั้งดั้งเดิมของอำเภอนี้ คือ จุดเรียกว่า ด่านแม่แฉลบ ซึ่งอยู่เหนือน้ำขึ้นไปเล็กน้อยจากที่ตั้งตัวที่ทำการอำเภอศรีสวัสดิ์  เป็นเส้นทางเดิน (ด่าน) ไปทางตะวันตก ข้ามเขาลงไปก็จะเป็นแม่น้ำแควน้อย (แถวๆบ้านปลังกาสี หรือบ้านหินดาด)

สภาพของที่ตั้งตัว อ.ศรีสวัสดิ์ ในสมัยนั้น เป็นอะไรที่สุดๆเลยครับ มีถนนดินแบบฝุ่นตลบ แต่ก็โชคดีที่เกือบจะไม่มีรถยนต์วิ่งเลย มีแต่รถลากไม้ที่เรียกกันว่า จี๊บกลาง สองสามคัน  บ้านเรือนของชาวบ้านเป็นแบบเรือนยกพื้นสูงขนาดเดินลอดได้สบายๆ ซึ่งส่วนมากจะเป็นแบบลูกผสมระหว่างการใช้ไม้จริงกับไม้ไผ่ น่าสนใจก็ตรงที่เป็นยังเห็นโครงสร้างของเรือนที่มีความเป็นไทย (แบบภาคเหนือ หรืออิสาน)  แล้วก็พบว่ามีคนไทยจากหลายภาคมาอยู่อาศัย ก็จะมีเป็นพวกที่ตกค้างอยู่ตั้งแต่เก่าก่อนส่วนหนึ่ง มีพวกที่อพยพย้ายมาเพราะการทำป่าไม้ส่วนหนึ่ง ผมยังพบคนจาก จ.สุรินทร์ ที่พูดสำเนียงเขมรอีกด้วย ซึ่งสนิทกันมากพอที่จะแหย่กันด้วยประโยคว่า อะไรๆก็เลอะเทอะเปรอะหมด 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 19 ส.ค. 15, 18:21

เลยจากท่าแฉลบไปไม่ไกลนัก ก็เริ่มเข้าสู่เขตแก่งที่อันตรายและอยู่ถี่มากขึ้นเรื่อยๆ น้ำก็ไหลแรงมากขึ้น   แต่ละครั้งที่เรือวิ่งผ่านแก่ง เรือก็จะกระโดดคล้ายกับนั่งรถบนถนนลูกรังโรยด้วยก้อนกรวด

เรือหางที่วิ่งในแควใหญ่ระหว่างลาดหญ้ากับศรีสวัสดิ์นั้น จะใช้คนเรือ 2 คน เป็นคนขับคนหนึ่งและเป็นคนยืนอยู่หัวเรืออีกคนหนึ่ง ซึ่งภาพเช่นนี้ ผมยังไม่เคยเห็นในที่อื่นใดนอกจากในแควใหญ่นี้เท่านั้น
   
ดังที่ได้เล่าไว้แล้วครับว่า เขาใช้เรือหางขนาดใหญ่  ต้องมีครีบหางเสือที่ท้ายเรือต่อจากกราบเรือออกไปทั้งสองข้างเพื่อช่วยในการเลี้ยวและเข้าโค้งคุ้งน้ำ แต่ก็ยังไม่พอที่จะขับเข้าคุ้งน้ำได้อย่างรวดเร็วและปลอดภัย ก็เลยต้องมีคนช่วยโคลงเรือยืนอยู่ที่หัวเรืออีกคนหนึ่ง  คนๆนี้จะยืนดึงเชือกที่ผูกไว้ที่หัวเรือ และยืนใช้ก้นยันไว้กับหลังคาเรือ    ก็เพื่อกันตกจากเรือครับ
 
คนเรือทั้งสองนี้รู้จักแม่น้ำแทบจะทุกกระเบียดนิ้วเลยทีเดียว  รู้ว่า ณ จุดใด เมื่อใดจะต้องโคลงหรือไม่โคลงเรือ และจะต้องโคลงมากหรือโคลงน้อยเพียงใด     
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 56  เมื่อ 19 ส.ค. 15, 18:52

ที่เล่ามานั้นก็คือสาเหตุที่คนเรือจะต้องขอให้ผู้โดยสารนั่งเฉยๆ ไม่ต้องช่วยโคลงเรือ ไม่ต้องช่วยลุ้นเมื่อเรือวิ่งเข้าคุ้งน้ำหรือวิ่งผ่านแก่ง เพราะการโคลงไม่ถูกจังหวะก็จะเท่ากับเป็นการขืน ซึ่งจะยังผลให้เรือแถออกนอกเกณฑ์ที่จะสามารถบังคับได้ ก็คือจะทำให้เรือแหกโค้งไปปะทะกับตลิ่งหรือโขดหิน

แต่ก็อย่างว่าแหละครับ มันก็เป็นสัญชาติญาณของมนุษย์ เมื่อเรือเอียงก็จะต้องขืนช่วยกันขืนเรือให้รักษาระดับเอาไว้ 

เที่ยวแรกของการเดินทางก็จึงมีแต่เสียงตะโกนบอกว่า นั่งเฉยๆนั่งเฉยๆ ไม่ต้องเอียงช่วย แล้วก็ไม่ต้องชะเง้อ อย่าขยับนั่งไปทางซ้ายทีทางขวาทีเพื่อดูตลิ่ง (เพราะหลังคามันบัง) 
แต่ที่สำคัญมากๆก็คือ การเคลื่อนไหวเหล่านี้มันไปบดบังทำให้คนขับเรือมองไม่เห็นทั้งสองฝั่งของกราบเรือ และก็เพราะมันมีการสื่อสารกับคนที่ยืนอยู่หัวเรือด้วยการสังเกตการขยับขาของเขา   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 57  เมื่อ 19 ส.ค. 15, 19:02

ในแควใหญ่ เขาใช้คนยืนอยู่หน้าเรือ ลงน้ำหนักเหยียบซ้าย-ขวา เพื่อช่วยประคองเรือเมื่อเข้าคุ้งน้ำและผ่านแก่ง   ต่างกับในแควน้อยที่ใช้คนอยู่หน้าเรือเหมือนกัน แต่ใช้ลำไม้ไผ่ช่วยผลักหัวเรือให้พ้นโขดหิน

เรือในแควใหญ่จะเข้าแก่งด้วยความเร็ว เพราะต้องกระโจนในน้ำที่ไหลแรง  แต่เรือในแควน้อยจะเข้าแก่งด้วยความเร็วช้าๆ เพราะต้องหลบโขดหินใต้น้ำ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 58  เมื่อ 19 ส.ค. 15, 19:48

การเดินทางต่อจาก อ.ศรีสวัสดิ์ เหนือน้ำขึ้นไป จะเป็นเวลาช่วงบ่าย จะต้องผ่านเกาะแก่งมากมาย  คนเรือเองก็ไม่สันทัดเส้นทางมากนัก คนเดินทางไม่มีความรู้ใดๆในพื้นที่นี้เลย แต่ทุกคนรับรู้เหมือนๆกันว่า เป็นพื้นที่อันตรายทั้งจากธรรมชาติ คน และสัตว์  ทุกคนจึงก็ต้องช่วยกันดู ช่วยกันลุ้นด้วยความตื่นตัวตลอดเวลา

เรื่องที่ทุกคนรู้ว่าจะต้องทำก็คือ เตรียมความพร้อมของตัวเองและของส่วนรวมเพื่อเอาตัวรอดจากทุกสถานการณ์เท่าที่จะนึกออกมาได้  ที่นอน? อาหารมื้อเย็น?  เรือแตก?  ถูกปล้น? ....ฯลฯ

นึกย้อนไปแล้วยังรู้สึกว่าเรานี้บ้าบิ่นไม่น้อยเมือนกันนะ     ...a boondoggle ??
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 59  เมื่อ 20 ส.ค. 15, 19:49

พ้นจาก อ.ศรีสวัสดิ์ ไปไม่นาน ก็แวะเช้าจอดเกยหาดทรายก่อนเข้าคุ้งน้ำ เพื่อพับเก็บหลังเรือคาลงให้เรียบร้อย เติมน้ำมันเรือโดยถ่ายออกจากถัง 200 ลิตร (ที่วางนอนไว้หน้าที่นั่งของนายท้าย) ไปเติมในถังน้ำมันของเรือ 

โดยภาพรวมๆก็คือ ยืดเส้นยืดสาย เตรียมความพร้อมของเรือและของตนเองเพื่อความพร้อมที่จะเผชิญกับปัญหาและอันตรายที่ไม่สามารถจะคาดเดาได้    ที่จำได้ก็คือ การนัดแนะกันในกรณีเรือแตก ว่าจะทำอย่างไร จะพบกันได้อย่างไร   นำของสำคัญและที่จำเป็นมาติดตัวหรือวางไว้ในที่ๆสามารถคว้าได้ง่าย (เช่น เงิน ปืน)    จัดวางถังน้ำพลาสติกเปล่าให้กับคนที่ว่ายน้ำไม่แข็ง เหล่านี้เป็นต้น   
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 49
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.079 วินาที กับ 19 คำสั่ง