เรือนไทย

General Category => ประวัติศาสตร์ไทย => ข้อความที่เริ่มโดย: NAVARAT.C ที่ 25 ก.ย. 13, 09:22



กระทู้: เมื่อสยามรับเสด็จกษัตริย์ฮาวายในสมัยรัชกาลที่๕
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 25 ก.ย. 13, 09:22
ก่อนถึงกาลล่มสลายของราชวงศ์ฮาวาย ในปี1881(๒๔๒๔) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯได้ทรงเคยถวายการต้อนรับกษัตริย์ David Kalakaua ซึ่งทรงใช้คำว่ากิงกาลกวัว กษัตริย์องค์สุดท้ายของฮาวายก่อนที่จะเสด็จสวรรคตและพระขนิษฐาขึ้นครองราชย์สมบัติ กิงกาลกวัวเป็นผู้มีวิสัยทัศน์ ทรงตั้งพระทัยในการเสด็จพระราชดำเนินไปทั่วโลก นอกจากอเมริกาแล้ว ทรงมุ่งเยือนหลายประเทศทั้งในเอเซียและยุโรป เพื่อแสวงหาพันธมิตรที่จะประกันเอกราชของประเทศเล็กๆของพระองค์ ที่เสมือนแกะน้อยท่ามกลางสุนัขป่า

กิงกาลกวัวทรงใช้วัตถุประสงค์ในการพยายามเชื้อเชิญหาผู้ลงทุนนานาชาติ ที่จะนำแรงงานของตนเองจากหลายๆประเทศไปทำไร่อ้อยที่นั่น ไม่ให้ถูกผูกขาดโดยคนอเมริกัน นำหน้าพระราชประสงค์แฝง สำหรับกษัตริย์ในเอเชียแล้ว จะทรงเผยความคิดในการเสนอพระองค์เป็นผู้วิ่งล็อบบี้ให้มีการจัดตั้งสันนิบาตเอเซียนขึ้นเพื่อคานอำนาจฝรั่ง โดยทรงทูลเชิญพระจักรพรรด์เมจิให้ญี่ปุ่นรับเป็นผู้นำ แต่ทรงได้รับการปฏิเสธโดยเหตุผลว่า เป็นไปไม่ได้เลย เพราะจีนจะไม่มีวันเข้าร่วมหากเห็นว่าญี่ปุ่นจะเป็นผู้นำ อย่างไรก็ดีกิงกาลกวัวก็ยังมิทรงยอมแพ้ การมาเยือนสยามก็เพิ่อจะมาหยั่งกระแสพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯในเรื่องดังกล่าวด้วย


กระทู้: เมื่อสยามรับเสด็จกษัตริย์ฮาวายในสมัยรัชกาลที่๕
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 25 ก.ย. 13, 09:27
กิงกาลกวัวเสด็จโดยเรือกลไฟเช่าเหมา ชื่อ Killarney มีคนไอริชเป็นกัปตันและลูกเรือเป็นคนจีนทั้งหมด หลังจากฮ่องกง ได้วิ่งข้ามทะเลจีนใต้เข้ามาในอ่าวไทย และทอดสมออยู่นอกสันดอนของแม่น้ำเจ้าพระยา


กระทู้: เมื่อสยามรับเสด็จกษัตริย์ฮาวายในสมัยรัชกาลที่๕
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 25 ก.ย. 13, 09:39
โดยที่ฮาวายไม่ได้มีการสถาปนาทางการทูตกับสยาม รัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯจึงไม่ได้เตรียมถวายการต้อนรับอย่างเป็นทางการ ในเรื่องนี้นั้นเอกสารฝ่ายไทยกล่าวว่า
    
ตามที่ท่านกรมท่าได้ส่งจดหมายเรื่องกิงกาลกวัวมานั้น ทรงทราบแล้ว เรือเวสาตรีที่จะใช้ลงไปรับกิงนั้น รับสั่งถามพระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์แล้วได้ความว่า เรือนั้นได้ลงไปราชการเมื่อวานซืน ยังยับเยินอยู่มาก กำลังซ่อมแซม ถ้าจะต้องมีเรือออกไปรับเสด็จกิงต้องเรือนฤเบนทร์บุตรี ซึ่งได้จัดไว้เมื่อคราวรับดุกออฟเยนัวครั้งก่อนเห็นจะเหมาะ แต่ท่านกรมท่าต้องเตรียมจัดโต๊ะเก้าอี้เสบียงอาหารให้พร้อม คนที่จะไปรับเสด็จกิง ถ้าเป็นเจ้านายควรเอาเจ้าปฤษฎางค์ไป ถ้าเป็นขุนนางให้พระยาพิพัฒกับขุนนางระดับพระหลวงในกรมท่าไปรับเสด็จ ส่วนทหารให้เอาจมื่นสุรฤทธิพฤฒิไกรไปเป็นผู้กำกับตลอด เมื่อรับเสด็จกิงขึ้นมาแล้วให้เชิญเสด็จมาพักที่วังกรมขุนเจริญ (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชมพูนุท กรมขุนเจริญผลพูลสวัสดิ์) ทีเดียว ไม่ต้องไปพักที่บ้านราชทูต  ส่วนสลุตให้ยิงในวันแรกเสด็จฯมาถึงเหมือนอย่างเยเนราลแกรนต์

แต่การยิงสลุตนั้น พระองค์ไม่โปรดให้ยิงที่ท่าขึ้น โปรดให้ยิงที่ป้อมหรือที่หน้าโรงทหารเพราะต้องผ่านอยู่แล้ว  ครั้นจะมายิงสลุตที่ท่าขึ้นวังกรมขุนเจริญทรงเกรงว่าจะค่ำไป  จึงได้ยิงสลุตรับที่ปากน้ำเมื่อเวลาเรือไทยไปรับเสด็จ  เมื่อถึงที่บางกอกไม่ต้องยิงอีก

วังของกรมขุนเจริญผลพูนสวัสดิ์ อยู่ที่ถนนเฟื่องนคร มีวงเล็บว่า(วังใต้) แสดงว่ามีวังเหนืออยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาอีกด้วยหรือเปล่า ฝากคุณหนุ่มสยามช่วยคลายความกระจ่างด้วยครับ


กระทู้: เมื่อสยามรับเสด็จกษัตริย์ฮาวายในสมัยรัชกาลที่๕
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 25 ก.ย. 13, 09:51
มาแยกซอยค่ะ
คุณวิกิอธิบายว่า
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชมพูนุท กรมขุนเจริญผลพูลสวัสดิ์  เป็นพระราชโอรสลำดับที่ 49 ในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาสัมฤทธิ์
ประสูติเมื่อวันอังคาร ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 10 ปีกุน ตรงกับวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2370  ได้ทรงกรมตั้งแต่ในรัชกาลที่ 4 คือโปรดเกล้าฯสถาปนาเป็นกรมหมื่นเจริญผลพูลสวัสดิ์    ต่อมาในรัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้ทรงกำกับมหาดเล็ก ช่างกระดาษ ช่างเขียนผู้หญิง และคลังพิมานอากาศ แล้วทรงเลื่อนเป็นกรมขุนเจริญผลพูลสวัสดิ์
สิ้นพระชนม์เมื่อปีมะโรง ตรงกับวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2435 ในรัชกาลที่ 5 ด้วยพระชันษา 67 ปี พระราชทานเพลิงพระศพ ณ วัดสระเกศ เมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2438

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชมพูนุท กรมขุนเจริญผลพูลสวัสดิ์ทรงเป็นต้นราชสกุล ชมพูนุท พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ พระราชทานแก่ หม่อมเจ้าโสตถิผล และหม่อมเจ้าชนม์เจริญ ผู้ขอเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2459 เป็นสกุลอันดับที่ 3685 ตามประกาศวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2460

หมายเหตุ  วังของกรมขุนเจริญผลฯ น่าจะโอ่อ่าทันสมัยเอาการ   พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5   ถึงทรงเห็นว่าเป็นที่รับเสด็จพระเจ้าแผ่นดินต่างชาติ ให้ทรงพักแรมได้  ห้องหับคงมีหลายห้อง   เพราะอย่างน้อยก็ต้องมีข้าราชบริพารตามเสด็จมาอีกหลายคน อาจจะมีฝ่ายในด้วย


กระทู้: เมื่อสยามรับเสด็จกษัตริย์ฮาวายในสมัยรัชกาลที่๕
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 25 ก.ย. 13, 09:59
เมื่อเรือพระที่นั่งมาทอดสมอที่นอกสันดอน ข้าราชการกรมท่าที่ปากน้ำได้นำเรือลากจูงเข้าไปเทียบ คงจะเป็นเพราะการติดต่อประสานงานล่วงหน้าไม่ค่อยจะเรียบร้อย พระองค์จึงทรงขอติดเรือจะเข้าไปในเมืองด้วยเพื่อเสด็จต่อไปยังกรุงเทพฯ ครั้นเมื่อถึงด่านศุลกากรริมแม่น้ำ เรือ นฤเบนทร์บุตรีชักธงชาติสยามได้มาถึงพอดีแล้วโฉบเข้ามาใกล้ ให้กะลาสีตะโกนถามว่ากษัตริย์ซันดาวิศอยู่บนเรือหรือไม่ เมื่อทราบว่ากิงกาลกวัวประทับอยู่บนเรือลากจูงลำนั้นก็ได้เข้าเทียบข้าง แล้วผู้แทนพระองค์ทั้งห้าในเครื่องแบบขาวงามสง่า ก็ได้ลงไปเชิญเสด็จขึ้นเรือพระที่นั่ง ในฐานะพระราชอาคันตุกะของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแห่งสยาม

หัวหน้าคณะผู้แทนพระองค์คือพระองค์เจ้าปฤศฎางค์ ระหว่างนั้นเพิ่งจะทรงสำเร็จการศึกษาจากอังกฤษด้วยคะแนนระดับเกียรตินิยม ถือเป็นคนโปรดของพระเจ้าอยู่หัวในช่วงนั้นทีเดียว


กระทู้: เมื่อสยามรับเสด็จกษัตริย์ฮาวายในสมัยรัชกาลที่๕
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 25 ก.ย. 13, 10:36
จึงไม่แปลกที่กิงกาลกวัวจะทรงทึ่งพระทัย เมื่อได้ฟังการกราบบังคมทูลถวายการต้อนรับเป็นภาษาอังกฤษด้วยสำเนียงผู้ดีอังกฤษแท้ๆ  และทรงได้รับทราบว่ากงสุลสยามในฮ่องกงได้มีหนังสือแจ้งมายังรัฐบาลแล้วว่า กษัตริย์ฮาวายได้รับการรับรองที่นั่นในฐานะพระราชอาคันตุกะของราชสำนักอังกฤษ ดังนั้นรัฐบาลจะถวายการรับรองพระองค์ให้ดีที่สุดตามพระราชประเพณีของสยาม

คณะของพระองค์ได้ขึ้นไปยังเรือพระที่นั่ง และถูกจัดให้นั่งบนดาดฟ้าใต้ประทุนผ้าใบเพื่อปกป้องความร้อนจากแดดที่รุนแรง หลังจากนั้นการเลี้ยงอาหารกลางวันแบบยุโรปก็ได้เริ่มขึ้นในเวลาอันไม่ช้า

ระหว่างเดินทางด้วยเครื่องจักรไอน้ำขึ้นไปยังเมืองหลวง บรรดาแขกเมืองได้แสดงความตื่นเต้นยินดีที่ได้เห็นต้นมะพร้าวที่ขึ้นอยู่ริมตลิ่ง เพราะทำให้คิดถึงฮาวายบ้านเกิด เมื่อเรือพระที่นั่งแล่นผ่านป้อมแห่งหนึ่งริมฝั่งแม่น้ำก็มีการยิงสลุตคำนับ
ครั้นมาถึงที่หมายแล้ว เรือไชยพระที่นั่งก็เข้าเทียบแทบจะในจังหวะเดียวกับที่เรือใหญ่ทิ้งสมอ พร้อมที่จะนำขบวนเสด็จไปขึ้นยังท่าเทียบริมฝั่งที่อยู่ใกล้ๆนั้น


กระทู้: เมื่อสยามรับเสด็จกษัตริย์ฮาวายในสมัยรัชกาลที่๕
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 25 ก.ย. 13, 11:08

วังของกรมขุนเจริญผลพูนสวัสดิ์ อยู่ที่ถนนเฟื่องนคร มีวงเล็บว่า(วังใต้) แสดงว่ามีวังเหนืออยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาอีกด้วยหรือเปล่า ฝากคุณหนุ่มสยามช่วยคลายความกระจ่างด้วยครับ


การบ้านในการไขปัญหาเรื่องที่ตั้งวังเหนือ วังใต้บริเวณถนนเฟื้องนคร อันดับแรกจะหมุดจุดไว้ที่แผนที่พระนครก่อน เพื่อจะได้เข้าใจว่า ที่ตั้งวังอยุ่ถนนเฟื่องนครตรงนี้


กระทู้: เมื่อสยามรับเสด็จกษัตริย์ฮาวายในสมัยรัชกาลที่๕
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 25 ก.ย. 13, 11:15
วังถนนเฟื่องนคร(วังเหนือ) ของกรมขุนภูวนัยนฤเบนทราธิบาลและวังถนนเฟื่องนคร(วังใต้) ของกรมขุนเจริญผลพูนสวัสดิ์

จะเห็นว่าวังใต้นั้นมีขนาดอาคารสิ่งก่อสร้างใหญ่กว่ามาก หันหน้าวังออกถนนเฟืองนคร หลังวังเป็นคลองคูเมืองเดิม


กระทู้: เมื่อสยามรับเสด็จกษัตริย์ฮาวายในสมัยรัชกาลที่๕
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 25 ก.ย. 13, 11:27
หากดูจากภาพร่วมสมัยสมัยรัชกาลที่ ๔ จะเห็นว่า วังควรอยู่บริเวณตำแหน่งที่ชี้ครับ


กระทู้: เมื่อสยามรับเสด็จกษัตริย์ฮาวายในสมัยรัชกาลที่๕
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 25 ก.ย. 13, 11:37
ขอบคุณมาก หวังว่าเอกสารฝ่ายไทยกับพระราชบันทึกของกษัตริย์ฮาวายคงจะไม่ผิดกันนะครับ ลองอ่านต่อดู

เรือพายพระที่นั่งนี้ก็เป็นแบบขนบธรรมเนียมราชประเพณีไทยแท้ มีขนาดยี่สิบฝีพาย หลังคาทำด้วยผ้าไหม ตกแต่งอย่างวิจิตรด้วยการปักลายดิ้นทอง เรือได้เข้าเทียบขนานไปกับท่าพอดีกับตำแหน่งที่ลาดพรมไว้ตั้งแต่ริมน้ำจนถึงถนนที่ใกล้กัน และเมื่อคณะเดินออกมาก็พบทหารเป็นจำนวนมาก ยืนระวังตรงอยู่ข้างแถวของขบวนรถม้าพระที่นั่ง พลขับแต่งกายด้วยเครื่องแบบสีแดงและสีทองมีแถบสีเหลือง หมวกทรงแข็งหุ้มด้วยผ้าไหม

รถม้าพร้อมกับกองทหารม้านำขบวน  ได้นำพระราชอาคันตุกะไปยังวังที่ประทับ ซึ่งมีลักษณะเป็นอาคารชุดแบบพิเศษ ซึ่งมีเพดานสูงและเครื่องเรือนราคาแพง เจ้านายฝ่ายหน้าหลายพระองค์ได้ทรงรอต้อนรับอยู่ และตรัสกับแขกเมืองด้วยภาษาอังกฤษ แล้วทรงสั่งการให้พนักงานซึ่งคอยทีอยู่ราวกับกองทัพเล็กๆ นำทุกสิ่งที่แขกปรารถนามาสนองให้


กระทู้: เมื่อสยามรับเสด็จกษัตริย์ฮาวายในสมัยรัชกาลที่๕
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 25 ก.ย. 13, 11:56
อาจจะเป็นด้วยความคิดถึงบ้าน สมาชิกของพระราชวงศ์บางองค์ได้แสดงความปรารถนาที่จะดื่มน้ำมะพร้าวอ่อน ที่เมื่อเข้ามาในวังได้ทรงเห็นต้นมะพร้าวปลูกเรียงรายอยู่บริเวณสนาม คนรับใช้ก็รีบวิ่งออกไปแล้วกลับมาหลังจากนั้นในไม่กี่นาที พร้อมกับน้ำมะพร้าวอ่อนสดๆจากต้น มาสนองแขกผู้มีเกียรติของพวกเขา


กระทู้: เมื่อสยามรับเสด็จกษัตริย์ฮาวายในสมัยรัชกาลที่๕
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 25 ก.ย. 13, 13:09
วันถัดไป ขบวนรถม้าพระที่นั่งก็ได้กลับมาอีกเพื่อนำเสด็จพระราชอาคันตุกะไปเข้าเฝ้าพระเจ้าแผ่นดินสยาม ณ พระบรมมหาราชวัง เมื่อถึงแล้ว กิงกาลกวัวได้เสด็จพระราชดำเนินนำคณะของพรองค์ไปบนพรมแดง เข้าสู่ภายในพระที่นั่ง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงรอต้อนรับอยู่

พระเจ้าอยู่หัวทรงตรัสเป็นภาษาอังกฤษกับคนโน้นคนนี้ไปตลอดทางพระราชดำเนินผ่านห้องต่างๆไปยังท้องพระโรงที่อยู่ลึกเข้าไปในพระที่นั่ง ทุกห้องได้รับการตกแต่งภายในอย่างวิจิตรตามแบบยุโรปด้วยพรม โต๊ะและเก้าอี้ บนผนังห้องแขวนพระบรมสาทิศลักษณ์จำนวนมากของพระมหากษัตริย์ในอดีต
ทรงมีพระราชดำรัสอย่างยาวเกี่ยวกับภาษา การศึกษา แรงงาน ศาสนา และการต่างประเทศ ทั้งสองพระองค์ทรงได้เดินทางมาแล้วอย่างกว้างขวาง และทรงแลกเปลี่ยนทัศนะละอันพันละน้อยที่ทรงได้พบเห็นระหว่างที่ได้เยือนดินแดนในต่างประเทศ

กิงกาลกวัวทรงยกย่องวัดที่สวยงาม เจดีย์และพระปรางค์ที่ทรงเห็นในกรุงเทพ และแสดงความเสียพระทัยในเวลาเดียวกันที่คนของพระองค์ช่างไม่มีทักษะในการก่อสร้างอะไรเช่นนั้นบ้างเลย


กระทู้: เมื่อสยามรับเสด็จกษัตริย์ฮาวายในสมัยรัชกาลที่๕
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 25 ก.ย. 13, 13:51

พระเจ้าอยู่หัวทรงตรัสเป็นภาษาอังกฤษกับคนโน้นคนนี้ไปตลอดทางพระราชดำเนินผ่านห้องต่างๆไปยังท้องพระโรงที่อยู่ลึกเข้าไปในพระที่นั่ง ทุกห้องได้รับการตกแต่งภายในอย่างวิจิตรตามแบบยุโรปด้วยพรม โต๊ะและเก้าอี้ บนผนังห้องแขวนพระบรมสาทิศลักษณ์จำนวนมากของพระมหากษัตริย์ในอดีต



ขอเบรคอย่างแรงเรื่องสถานที่ท้องพระโรงเข้าเฝ้า  ;D

การมาถึงของกิงกาลกวัว นั้นล่องเรือมาขึ้นที่ศาลต่างประเทศ ท่าเตียนมีแตรวงรับ ๑๐๐ คน เมื่อปีมะเส็ง ศก ๑๒๔๓ (ตรงกับ พ.ศ. ๒๔๒๔) และได้เข้าเฝ้า

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อวันพฤหัส ขึ้น ๑ ค่ำเดือน ๖ มีมะเส็งศก จศ. ๑๒๔๓ เจ้าพระยาภาณุวงศ์นำเสด็จเข้าประตูพรหม พระบาทสมเด็จ

พระเจ้าอยู่หัวก็ทรงนำกิงกาลกวัวขึ้นบนพระที่นั่งบรมราชสถิตย์มโหฬาร เข้าไปที่ห้องน้ำเงิน เข้าเฝ้าอยู่ในที่นั่น ... และทรงไปส่งที่พระทวารชั้นล่าง แล้วเสด็จ

ขึ้นประทับที่พระที่นั่งเขียว และรับสั่งเรื่องกิงกาลกวัวและอื่น ๆ จนเกือบย่ำค่ำเสด็จขึ้น

ที่มา พระราชกิจรายวันฯ

ทั้งนี้การก่อสร้างพระที่นั่งจักรีมหาปราสาทยังไม่แล้วเสร็จครับ จึงได้เข้าเฝ้าที่พระที่นั่งบรมราชสถิตย์มโหฬาร


กระทู้: เมื่อสยามรับเสด็จกษัตริย์ฮาวายในสมัยรัชกาลที่๕
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 25 ก.ย. 13, 14:21
เอี๊ยดๆๆๆๆๆๆๆๆๆด ด  ด    ด โครม

คร๊าบบบ เท่าที่ผมหาได้เป็นรูปพระที่นั่งจักรี คืออยากให้ชมกันพอเห็นบรรยากาศ ก็รูปภายในห้องที่เห็นพระบรมสาทิศลักษณ์ของอดีตพระมหากษัตริย์ถ่ายจากพระที่นั่งบรมราชสถิตย์มโหฬารนั้น จะไปหาได้ที่ไหน

รูปประกอบก็รูปประกอบน่ะครับ อย่าเอาจริงเอาจังนัก เอาสาระตรงตัวอักษรก็แล้วกัน ผมก็ไม่ได้หลุดไปเขียนว่าเป็นพระที่นั่งจักรีซะหน่อย

มิฉะนั้นจะมีผู้ประท้วงอีกว่า รูปมะพร้าวก็ไม่ใช่ รูปรถม้าก็ไม่ใช่คันนี้
เอ่อ อันไหนจริงจัง ผมได้ลงบรรยายไว้ในรูปด้วยแล้วเน้อ


กระทู้: เมื่อสยามรับเสด็จกษัตริย์ฮาวายในสมัยรัชกาลที่๕
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 25 ก.ย. 13, 14:32
ในขณะเดียวกัน อีกฉากหนึ่งนั้น เอกสารฝ่ายไทยบันทึกไว้ความว่า
 
ที่ท่านกรมท่าได้ส่งหนังสือว่ามร.คอซันจะขอตามลงไปรับเสด็จกิงกาลกวัวด้วย ได้ทรงทราบแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการรับรองกันหรือเป็นธุรการงานในเวลาเข้ามา ไม่ทรงขัดขวาง ให้ลงไปรับได้ แต่ทรงเข้าใจว่า มร.คอซันคงจะไปกราบบังคมทูลให้กิงนั้นตั้งให้ตนเป็นกงสุลในกรุงเทพฯ  ซึ่งทรงมีความเห็นว่า การที่มร.คอซันตั้งใจจะเป็นกงสุลนั้น หาใช่เรื่องประโยชน์ในการค้าขายกับไทย แต่คงตั้งใจจะรับเอาพวกคนจีน คนแขก เป็นสัปเยกต์ฮาวาย กับตั้งศาลขึ้นในเมืองไทยขึ้น กลายเป็นผู้มีบุญในไทยอีกคนหนึ่ง ทรงพระดำริว่า จะเอาอย่างนั้นไม่ได้ด้วยกงสุลนั้นมีอำนาจมากเหลือเกิน พระองค์จึงได้มีพระราชหัตถเลขามาให้ท่านกรมท่าคิดหาทางพูดโต้ตอบให้สมควรแก่มร.คอซัน

เรื่องนี้แสดงว่า ในขณะที่วัตถุประสงค์ในการมาเยือนสยามของกิงกาลกวัวเป็นอย่างหนึ่ง แต่ฝรั่งชื่อนายคอสั้นผู้เป็นเจ้ากี้เจ้าการวิ่งติดต่อประสานงานกลับคิดอีกอย่างหนึ่ง ทำให้ฝ่ายไทยเลยพลอยระแวงไปด้วยว่าประเทศแบบฮาวายนี้ จะมาไม้ไหนกับสยาม


กระทู้: เมื่อสยามรับเสด็จกษัตริย์ฮาวายในสมัยรัชกาลที่๕
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 25 ก.ย. 13, 14:55
และพระราชหัตถเลขา ถึงท่านกรมท่า(เจ้าพระยาภาณุวงศ์มหาโกษาธิบดี (ท้วม บุนนาค) ซึ่งเป็นเสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศ(คนแรก)ด้วย) ความว่า 

เจ้าปฤษฎางค์มากราบบังคมทูลว่า เมื่อได้ไปรับเสด็จกิงกาลกวัวมาตามทางนั้น กิงได้รับสั่งถึงเรื่องการค้าขาย โดยตั้งพระทัยจะได้สินค้าไทยหลายอย่าง และว่าอยากจะค้าขายกันกับไทย จึงรับสั่งขอเฝ้าในหลวงเป็นการส่วนพระองค์ แม้กระทั่งมินิสเตอร์ก็ไม่ให้ตามเสด็จไปเฝ้าฯด้วย พระองค์เข้าพระทัยว่า ไม่แน่ใจว่ากิงนั้นจะตรัสด้วยเรื่องอะไรบ้าง แต่คงจะเป็นเรื่องการค้าหรือการทำสัญญา เรื่องทำสัญญา ทรงขอความเห็นท่านกรมท่า ว่า ตอนนี้ในหลวงกำลังจะแก้ไขหนังสือสัญญาต่างๆ แต่ยังแก้ไม่สำเร็จ เพราะไทยได้ทำสัญญากับเมืองหลายเมือง บางเมืองที่ทำสัญญากับไทยไม่มีสับเยกต์และการค้าขายก็มี ซึ่งกำลังคิดจะแก้ไขสัญญาอยู่นั้น แต่ลำบากอยู่มากนัก ดังนั้นถ้าจะรับสัญญาเมืองฮาวายอย่างประเทศทั้งปวง จะยิ่งแก้ไขสัญญาเมืองอื่นที่คิดไว้ยากขึ้นไปอีก ครั้นจะรับไว้ไม่เสมอกับสัญญาประเทศอื่น ก็ดูจะทำให้เขาเสื่อมเกียรติยศ จึงได้มีพระราชดำริ ถ้าหากกิงจะยอมให้ทำสัญญาโดยฝ่ายเรายอมให้เข้ามาค้าขาย แต่เขาต้องยกอำนาจบางอย่างให้ไทยในข้อซึ่งกำลังดำริแก้ไขสัญญากับเมืองอื่นแล้ว ก็อาจจะยอมได้โดยดี ขอให้ท่านกรมท่าคิดซักซ้อมความเข้าใจเรื่องนี้ไว้ก่อน

เรื่องที่ต้องการกราบบังคมทูลขณะเฝ้าเป็นการส่วนพระองค์สองต่อสองนั้น คือเรื่องเดียวกับที่ทรงคุยกันกับพระจักรพรรดิเมจินั่นเอง แต่ฝ่ายไทยไปตีความหมายผิดหมด


กระทู้: เมื่อสยามรับเสด็จกษัตริย์ฮาวายในสมัยรัชกาลที่๕
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 25 ก.ย. 13, 15:12
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานตรามงกุฎสยามชั้นที่ ๑ ชื่อ มหาสุราภรณ์ แก่กิงกาลกะอัว และมีการดินเนอร์ที่ห้องสีน้ำเงิน จัดโต๊ะได้ดัภาพ


กระทู้: เมื่อสยามรับเสด็จกษัตริย์ฮาวายในสมัยรัชกาลที่๕
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 25 ก.ย. 13, 15:23
ส่วนที่กำหนดว่ากิงจะเสด็จฯกลับวันเสาร์นั้น รุ่งขึ้นเป็นวันที่มาเข้าเฝ้าฯ แต่ยังไม่กำหนดว่าเช้าหรือบ่าย ขอให้ท่านกรมท่ากำหนดเสียและแจ้งให้ทรงทราบด้วย ส่วนรุ่งขึ้นวันศุกร์จะเสด็จฯไปทรงเยี่ยมตอบเวลาบ่าย๔โมง แต่จะมีดินเนอร์ด้วยกระชั้นไป วันมีน้อย จึงให้กรมท่าจัดดินเนอร์ในวันศุกร์ วันเสาร์ถ้ามาเฝ้าฯลา ก็ให้มาเฝ้าฯลาเป็นการไปรเวตตามที่ได้เคยขอไว้ แต่ถ้ากิงจะเสด็จฯไปตอนเช้าวันเสาร์ ก็ให้กิงเสด็จฯมาเฝ้าไปรเวตตอนเย็นวันศุกร์  ทั้งนี้อย่าเพิ่งลงโปรแกรม ให้กราบทูลกิงเสียก่อน ส่วนวันศุกร์เช้าให้เชิญเสด็จกิงเสด็จฯไปทอดพระเนตรวัดพระแก้ว พุทธรัตนสถาน และที่อื่นๆ ซึ่งก็คงหมดเวลาพอดี จึงให้เลี้ยงพระกระยาหารที่บ้านกรมท่าที่เดียว ส่วนพรุ่งนี้ค่ำเชิญเสด็จกิงทอดพระเนตรละครที่วังกรมขุนเจริญ  ทั้งนี้ได้ทรงหาละครเจ้าพระยามหิธรฯมาแสดงถวายแล้ว


กระทู้: เมื่อสยามรับเสด็จกษัตริย์ฮาวายในสมัยรัชกาลที่๕
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 25 ก.ย. 13, 15:45
จากพระราชหัตถเลขารัชกาลที่ ๕ ถึงเจ้าคุณกรมท่า   แสดงให้เห็นว่ากิงกาลกวัวเสด็จประพาสรอบโลกและเสด็จฯ มาทรงเยือนสยาม  น่าจะเป็นเพราะกิงมีพระราชประสงค์จะหาพันธมิตรต่างชาติไว้คานอำนาจกับอเมริกา   เนื่องจากการเสด็จประพาสรอบโลกของกิงกาลกวัวนี้เกิดขึ้นหลังการเดินทางเยือนประเทศรอบโลกของเยเนราลแกรนต์ (ประธานาธิบดีแกรนต์)ของสหรัฐอเมริกา     เป็นไปได้ว่า  กิงกาลกวัวกำลังระแวงอำนาจของอเมริกาที่จะมาครอบงำหมู่เกาะฮาวายต่อไป

อย่างไรก็ตาม  รัชกาลที่ ๕ เอาพระทัยใส่กับการผูกไมตรีต่อสหรัฐอเมริกามากกว่าหมู่เกาะฮาวาย   สังเกตได้จากรัชกาลที่ ๕  มีรับสั่งให้เชิญเยเนราลแกรนต์เดินทางจากเกาะสิงคโปร์มาเยือนสยามอย่างกระทันหัน  ทั้งที่สยามไม่ได้อยู่ในแผนการเดินทางของเยเนราลแกรนต์มาตั้งแต่ต้น   ในขณะที่การเสด็จฯ มาทรงเยือนสยามของกิงกาลกวัวนั้นได้กำหนดไว้ในแผนทางเดินทางแล้วตั้งแต่ต้น  

กระนั้นรัชกาลที่ ๕ ก็ได้ทรงแสดงพระราชดำริบางประการที่สื่อให้เห็นว่า   ที่กิงกาลกวัวเสด็จฯ มาทรงเยือนประเทศไทยเพื่อหาพันธมิตร   ทั้งที่ฮาวายไม่เคยมีการติดต่อค้าขายกับไทยมาก่อน   และถึงมีก็คงมีน้อยมาก   การขอตั้งกงสุลในกรุงเทพฯ  ยิ่งไม่เห็นว่าจะเป็นการส่งเสริมการค้าขายแก่สองประเทศ   แต่จะกลายเป็นการส่งเสริมให้คนที่เป็นกงสุลฮาวายมีอำนาจหาคนมาเป็นสับเยกต์และตั้งศาลในสยาม  ทำให้สยามปกครองบ้านเมืองด้วยความลำบากยิ่งขึ้น  เหมือนกับที่ชาติอื่นๆ ที่เข้ามาขอตั้งกงสุลในสยามแล้วเกิดปัญหาคดีความต่างๆ กับสยามมากมาย  และสยามเป็นฝ่ายเสียประโยชน์จากการทำสัญญากับชาติเหล่านั้นมาก   จนรัชกาลที่ ๕ มีพระราชดำริที่จะขอแก้ไขสัญญากับทุกๆ ชาติที่ได้เคยทำไว้   และยังทรงมุ่งหมายจะเริ่มทำสัญญาแบบใหม่กับฮาวายเป็นชาติแรก  เพื่อเป็นตัวอย่างในการแก้ไขสัญญากับชาติอื่นๆ ต่อไป

จากพระราชหัตถเลขารัชกาลที่ ๕ ถึงเจ้าคุณกรมท่า   แสดงให้เห็นว่ากิงกาลกวัวเสด็จประพาสรอบโลกและเสด็จฯ มาทรงเยือนสยาม  น่าจะเป็นเพราะกิงมีพระราชประสงค์จะหาพันธมิตรต่างชาติไว้คานอำนาจกับอเมริกา   เนื่องจากการเสด็จประพาสรอบโลกของกิงกาลกวัวนี้เกิดขึ้นหลังการเดินทางเยือนประเทศรอบโลกของเยเนราลแกรนต์ (ประธานาธิบดีแกรนต์)ของสหรัฐอเมริกา     เป็นไปได้ว่า  กิงกาลกวัวกำลังระแวงอำนาจของอเมริกาที่จะมาครอบงำหมู่เกาะฮาวายต่อไป

กิงกาลกวัวนี่แหละเป็นต้นความคิดเรื่อง วงไพบูลย์แห่งเอเซีย - league of Asian countries พระองค์ทรงเสนอความคิดนี้ต่อกษัตริย์เมจิ โดยให้ญี่ปุ่นเป็นผู้นำ แต่ครั้งนั้นกษัตริย์เมจิทรงปฏิเสธ

ความคิดนี้ไม่ได้สูญหายไป โดยญี่ปุ่นนำมาปรับใช้ภายหลังเป็น วงไพบูลย์ร่วมแห่งมหาเอเชียบูรพา - The Greater East Asia Co-Prosperity Sphere

During his visit to Tokyo, Kalakaua also secretly discussed with the Emperor the possibility of forming a league of Asian countries to oppose the domination and oppression of European countries. Kalakaua said that he would propose the league to the leaders of China, Siam, India, and Persia on his world tour, if Meiji would agree to head the league. Meiji was understanding, but pointed out that China wouldn't join if Japan was leading the league; but he would consider the King's proposal and send a response. After conferring with his cabinet, Meiji declined the offer of leadership for the initiative. (Emperor of Japan: Meiji and his World, 1852-1912 by Donald Keene [New York: Columbia University Press, 2002].)

http://pvs.kcc.hawaii.edu/holokai/2007/japan_1_intro.html (http://pvs.kcc.hawaii.edu/holokai/2007/japan_1_intro.html)


(http://ptcdn.info/emoticons/smiley/อมยิ้ม04.png)


กระทู้: เมื่อสยามรับเสด็จกษัตริย์ฮาวายในสมัยรัชกาลที่๕
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 25 ก.ย. 13, 15:48
^
แล้วผมจะย้อนกลับมาวิจารณ์ภายหลังนะครับ
.
.
ทรงมีพระราชกระแสข้างต้นไปถึงเจ้าพระยาภาณุวงศ์มหาโกษาธิบดี แต่เอกสารฝ่ายฮาวายบันทึกว่าในวันเดียวกับที่กิงกาลกวัวเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในเวลาเย็น กิงกาลกวัวและคณะของพระองค์ก็ได้เสด็จโดยเรือพระที่นั่งอีกครั้งหนึ่ง เพื่อข้ามแม่น้ำไปยังที่พำนักของเสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศเจ้าพระยาภาณุวงศ์มหาโกษาธิบดี (ท้วม บุนนาค)

ท่านเสนาบดีได้รับการสรรเสริญว่า ได้พิสูจน์ตนเองว่าเป็นคนเจริญด้วยปัญญาเช่นเดียวกับองค์พระมหากษัตริย์ ด้วยมีใจที่เปิดกว้างต่อแนวความคิดตะวันตก ท่านได้จัดเลี้ยงหรูหราตามแบบยุโรป หลังอาหารแล้วก็นำแขกไปยังระเบียงที่สามารถมองขึ้นไปตามลำแม่น้ำเห็นทิวทัศน์อันงดงามของกรุงเทพ กิงกาลกวัวตั้งข้อสังเกตว่า มันช่างคล้ายกับเป็นเมืองที่ลอยน้ำอยู่ ยาวไปไกลเท่าที่ตาสามารถมองเห็นได้จากยอดที่แหลมเสียดฟ้าของพระเจดีย์ตรงโน้นตรงนี้ ท่ามกลางบ้านเรือนราษฎรชั้นเดียวที่แผ่ลึกเข้าไปในแผ่นดิน


กระทู้: เมื่อสยามรับเสด็จกษัตริย์ฮาวายในสมัยรัชกาลที่๕
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 25 ก.ย. 13, 16:17
วันถัดไป พระราชอาคันตุกะก็ได้เสด็จไปทอดพระเนตรวัดพระแก้ว พุทธรัตนสถาน ฯลฯ พร้อมคณะ สร้างความตื่นตาตื่นใจมาก ดังจะเห็นได้จากบันทึกที่ทางฝ่ายเขาว่าถือเป็นสิทธิพิเศษอันหาได้ยากยิ่ง ที่จะมีโอกาสได้เห็นภายในของพระอุโบสถที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯได้ทรงอดอาหารและอธิษฐาน(คือทรงผนวช) ก่อนที่จะมีพระราชพิธีพระบรมราชาภิเษก(ครั้งที่สอง)

ในอาคารที่ตกแต่งประดับประดาอย่างสุดยอดฝีมือนี้ มีพระพุทธปฏิมากรประทับยืนขนาดใหญ่องค์หนึ่ง พระเนตรฝังไว้ด้วยอัญมณี รายล้อมรอบด้วยดอกไม้ประดิษฐ์ประดับเพชร
อันนี้ก็แปลก คงตาลายไปหมด เห็นแต่พระพุทธรูปยืนองค์เดียว พระแก้วมรกตไม่ยักเห็นหรือกระไร จึงไม่กล่าวถึง


กระทู้: เมื่อสยามรับเสด็จกษัตริย์ฮาวายในสมัยรัชกาลที่๕
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 25 ก.ย. 13, 16:40
ในอาคารที่ตกแต่งประดับประดาอย่างสุดยอดฝีมือนี้ มีพระพุทธปฏิมากรประทับยืนขนาดใหญ่องค์หนึ่ง พระเนตรฝังไว้ด้วยอัญมณี รายล้อมรอบด้วยดอกไม้ประดิษฐ์ประดับเพชร
อันนี้ก็แปลก คงตาลายไปหมด เห็นแต่พระพุทธรูปยืนองค์เดียว พระแก้วมรกตไม่ยักเห็นหรือกระไร จึงไม่กล่าวถึง


พระองค์ไหนที่พระเนตรประดับด้วยอัญมณี ?


กระทู้: เมื่อสยามรับเสด็จกษัตริย์ฮาวายในสมัยรัชกาลที่๕
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 25 ก.ย. 13, 16:50
อาจจะทุกองค์ก็ได้คุณหนุ่ม พระพุทธรูประดับนี้ต้องอย่างนั้นอยู่แล้ว จะสงสัยไปไย


กระทู้: เมื่อสยามรับเสด็จกษัตริย์ฮาวายในสมัยรัชกาลที่๕
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 25 ก.ย. 13, 16:54
หลังจากนั้นทั้งคณะก็รีบกลับไปยังที่ประทับเพื่อเตรียมตัวรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่จะเสด็จไปเยี่ยมคำนับตอบแทน  เมื่อได้เวลา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯก็เสด็จไปถึง ใกล้เคียงกับคณะเสนาบดีที่ตามเสด็จ พร้อมบรรดาคณะกงสุลชาติต่างๆ

เย็นวันนั้น พระราชอาคันตุกะก็ได้ทอดพระเนตรการแสดงดนตรีและนาฏศิลป์ไทยแบบดั้งเดิม

วันรุ่งขึ้น กิงกาลกวัวได้เสด็จไปยังพระบรมมหาราชวังอีกครั้งหนึ่ง ในการพระราชทานเลี้ยงอำลาเพื่อถวายพระเกียรติยศ  เมื่อเข้ามายังพระราชฐานแล้วก็พบแถวทหารทั้งกองพันยืนเรียงรายพร้อมคบเพลิงหลายร้อยอันชูไว้ในมือ เพื่อให้แสงสว่างนำไปสู่ประตูทางเข้าสู่พระราชฐานชั้นใน  
พระองค์ทรงได้รับการต้อนรับอีกครั้งจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ แล้วเสด็จพระราชดำเนินนำไปยังท้องพระโรง ในขณะที่วงดนตรีบรรเลงเพลงชาติของฮาวาย  เพลงนี้กิงกาลกวัวได้ทรงปิอาโนเมื่อวันก่อนเพื่อให้นายวงดนตรีของชาวสยามได้รับฟังด้วยพระองค์เอง
http://www.youtube.com/watch?v=-LS8kJ2LIXQ


กระทู้: เมื่อสยามรับเสด็จกษัตริย์ฮาวายในสมัยรัชกาลที่๕
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 25 ก.ย. 13, 17:19
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯได้ถวายเครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฎสยามชั้นที่๑ มหาสุราภรณ์ แด่กิงกาลกวัว เสร็จแล้วกิงกาลกวัวได้ถวายเครื่องราชอิสริยาภรณ์ The Order of Kamehameha แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

หลังจากนั้น งานเลี้ยงอย่างหรูหราก็ได้เริ่มต้น กิงกาลกวัวทรงขอให้วงดุริยางค์เล่นเพลงไทยถวาย ซึ่งหลังจากทรงฟังแล้ว ตรัสว่าทำนองคล้ายๆกับเพลงฮาวายเหมือนกัน

ผมสงสัยเองว่าจะเป็นเพลงคลื่นกระทบฝั่ง


กระทู้: เมื่อสยามรับเสด็จกษัตริย์ฮาวายในสมัยรัชกาลที่๕
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 25 ก.ย. 13, 18:41
ระหว่างงานเลี้ยงนั้น เจ้าชายน้อยพระองค์หนึ่งทรงถามผู้มาเยือนว่าฮาวายอยู่ภายใต้การควบคุมของชาวต่างชาติด้วยหรือ เพราะทรงเห็นว่ามีฝรั่งคนหนึ่งอยู่ในคณะผู้ตามเสด็จด้วย

คำถามนี้อาจจะได้รับคำตอบที่แตกต่างกันมากกับความเป็นจริงในอนาคตที่อยู่ไม่ไกลเกินรอ

ความปรารถนาของบรรดาแขกเมืองถูกเติมเต็มด้วยทุกสิ่งที่เลอเลิศในงานเลี้ยงพระราชทาน พระราชอาคันตุกะของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯถวายบังคมลาในคืนนั้นแล้ว รุ่งขึ้นเช้า ทรงมีรับสั่งให้ช่างภาพไปคอยถ่ายรูปคณะของกษัตริย์ฮาวายก่อนที่จะเสด็จพระราชดำเนินกลับ

คุณหนุ่มเคยเห็นภาพที่ว่าบ้างไหม แบบเนี้ยะ แบบรูปข้างล่างเนี้ย ช่วยสงเคราะห์หามาลงให้ด้วยเถิด


กระทู้: เมื่อสยามรับเสด็จกษัตริย์ฮาวายในสมัยรัชกาลที่๕
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 25 ก.ย. 13, 20:13
เจ้าชายน้อยที่ประทับที่โต๊ะเสวย  ติดกับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว น่าจะเป็นสมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ?


กระทู้: เมื่อสยามรับเสด็จกษัตริย์ฮาวายในสมัยรัชกาลที่๕
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 25 ก.ย. 13, 20:22
ดูแผนผังแล้วก็ใช่ มีฝรั่งต้องสงสัยอยู่คนหนึ่ง ผมยังไม่ทราบว่าเป็นใครเหมือนกัน

แต่ทูลกระหม่อมพระองค์น้อยนี่ใช่สมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศหรือครับ ผมนึกว่าท่านเป็นทูลกระหม่อมพระองค์ใหญ่เสียอีก ? สมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธคือทูลกระหม่อมพระองค์โต ?


กระทู้: เมื่อสยามรับเสด็จกษัตริย์ฮาวายในสมัยรัชกาลที่๕
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 25 ก.ย. 13, 20:27
บันทึกฉบับสุดท้ายของฝ่ายไทย ความว่า  

ตามที่ท่านกรมท่าได้ส่งจดหมายกราบบังทูลเรื่องการพูดกับกิงกาลกวัวนั้น ทรงทราบแล้ว ทรงเห็นว่าตัดออกไปได้เป็นการดี แม้จะดื้อเสด็จมา ก็คงไม่รับตามที่พูด อนึ่งวันวานนี้ กิงได้ขอให้ห้ามเรือไว้ก่อนวันหนึ่ง ในหลวงได้ทรงห้ามที่กิงขอ วันนี้จะได้จัดดินเนอร์ถวายเป็นการไปรเวตก่อนที่จะเสด็จฯกลับรุ่งขึ้น กิงนั้นเห็นว่าจะเสด็จฯกลับเช้า ๔ โมง รับสั่งให้ท่านกรมท่าจัดการส่งเสด็จตามที่เคยปฏิบัติ ที่ปากน้ำนั้นให้ยิงสลุตคำนับเมื่อเรือพระที่นั่งผ่านออกไป ส่วนการเฝ้าฯลาในหลวงนั้น ทรงเห็นว่าไม่ต้องเฝ้าฯ เพราะเวลากระชั้นนัก


กระทู้: เมื่อสยามรับเสด็จกษัตริย์ฮาวายในสมัยรัชกาลที่๕
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 25 ก.ย. 13, 20:42
ส่วนของฝ่ายฮาวายบันทึกว่า

หลังจากพิธีกรรมอันเอิกเกริกที่จัดเฉพาะการส่งเสด็จพระราชดำเนินเยือนของพระราชอาคันตุกะ กิงกาลกวัวและคณะผู้ติดตามก็ได้เสด็จโดยรถม้าพระที่นั่งไปยังเรือพระที่นั่งยี่สิบสี่ฝีพาย ซึ่งได้นำขบวนเสด็จสู่เรือกลไฟ “บางกอก” ซึ่งเป็นเรือพระที่นั่งอีกลำหนึ่ง ณ ที่นั้นพระสงฆ์ได้รับนิมนต์มาเจริญพระพุทธมนต์ โดยโยงสายสิญจน์เวียนไปรอบเรือ และประดับพวงมาลารอบๆห้องเป็นมงคลแก่ทุกคนในเรือก่อนออกเดินทาง

นอกจากนั้นแล้ว ยังทรงมีน้ำพระทัยให้นำมังคุด ทุเรียน และมะพร้าวอ่อนไปบรรจุไว้เต็มทุกตู้ เมื่อเรือแล่นผ่านป้อมใดก็มีการยิงสลุตถวายทุกป้อม จนกระทั่งเรือพระที่นั่งแล่นออกอ่าวไทยมุ่งหน้าสู่คาบสมุทรมลายู


กระทู้: เมื่อสยามรับเสด็จกษัตริย์ฮาวายในสมัยรัชกาลที่๕
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 25 ก.ย. 13, 20:47
งงค่ะ

ก่อนถึงกาลล่มสลายของราชวงศ์ฮาวาย ในปี1881(๒๔๒๔) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯได้ทรงเคยถวายการต้อนรับกษัตริย์ David Kalakaua ซึ่งทรงใช้คำว่ากิงกาลกวัว กษัตริย์องค์สุดท้ายของฮาวายก่อนที่จะเสด็จสวรรคต
สมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศประสูติเมื่อ พ.ศ.2421 พระชันษา 3 ขวบ  ส่วนสมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธประสูติ พ.ศ. 2423   พระชันษาเพิ่งจะขวบเดียว     รัชกาลที่ 5 ท่านจะทรงนำพระราชโอรสพระชันษา 3 ขวบออกงานร่วมโต๊ะเสวยแบบฝรั่ง กับพระราชอาคันตุกะทีเดียวหรือ
แต่ถ้าไม่ใช่สมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ แล้วจะเป็นทูลกระหม่อมพระองค์ไหนอีก   งง


กระทู้: เมื่อสยามรับเสด็จกษัตริย์ฮาวายในสมัยรัชกาลที่๕
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 25 ก.ย. 13, 21:07
เป็นไปได้นะครับที่ทูลกระหม่อมพระองค์น้อยจะหมายถึงพระเจ้าลูกยาเธอองค์๓ขวบ ที่พอจะพาออกแขกในงานพระราชทานเลี้ยงแบบไปรเวทได้(ตามผังการนั่ง) แต่เด็ก๓ขวบคงจะถามคำถามแบบนั้นไม่ได้

ขอให้ย้อนกลับไปใหม่ ผมใช้คำว่าเจ้าชายน้อยพระองค์หนึ่งในการถอดความคำว่า a young prince ซึ่งมีความหมายครอบคลุมไปถึงพระเจ้าน้องยาเธอที่ยังอยู่ในวัยรุ่นด้วย ในงานน่าจะมีด้วยกันหลายพระองค์ แต่ไม่ได้ร่วมโต๊ะเสวย

คือจะใช้ว่าเจ้าชายหนุ่มก็กระไรอยู่ โตพอจะมีความคิดแล้วคงไม่น่าจะถามอะไรแขกบ้านแขกเมืองด้วยคำถามตรงๆแบบนั้น


กระทู้: เมื่อสยามรับเสด็จกษัตริย์ฮาวายในสมัยรัชกาลที่๕
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 25 ก.ย. 13, 21:48
ระหว่างงานเลี้ยงนั้น เจ้าชายน้อยพระองค์หนึ่งทรงถามผู้มาเยือนว่าฮาวายอยู่ภายใต้การควบคุมของชาวต่างชาติด้วยหรือ เพราะทรงเห็นว่ามีฝรั่งคนหนึ่งอยู่ในคณะผู้ตามเสด็จด้วย

A young prince  ที่ถามตรงๆแบบนี้น่าจะโตเกินเด็กเล็กๆ แต่ยังไม่เป็นผู้ใหญ่  ตีเสียว่าพระชันษาประมาณ13- 15   ก็น่าจะเป็นพระเจ้าน้องยาเธอพระองค์ใดพระองค์หนึ่ง    ส่วนพระราชโอรสในรัชกาลที่ 3 ก็ล้วนแต่พระชนม์มากๆแล้วทั้งสิ้น ตัดประเด็นไปได้

จะเป็นองค์ไหนก็ตาม   A young prince ที่ว่า ทรงพูดฝรั่งแบบยากๆได้อย่างหนึ่งละ เพราะคำถามนี้ไม่เบสิคนัก    อีกอย่างทรงโตพอจะรู้เรื่องอาณานิคมด้วย ถึงทรงคิดว่าการมีฝรั่งตามพระเจ้าแผ่นดินฮาวายมา  ไม่ใช่เป็นแค่ผู้เชี่ยวชาญที่ถูกจ้างมาทำงานอย่างฝรั่งในสยาม   แต่ทรงคิดว่าเป็นผู้มีอำนาจเหนือพระเจ้ากาลกวัวอีกทีหนึ่ง ก็แสดงว่าทรงรู้ประวัติศาสตร์ว่าบ้านเมืองอื่นๆในเอเชีย เป็นเมืองขึ้นฝรั่งกันหลายเมืองแล้ว


กระทู้: เมื่อสยามรับเสด็จกษัตริย์ฮาวายในสมัยรัชกาลที่๕
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 26 ก.ย. 13, 06:53
ได้ข้อมูลมาเสริมเรื่องวังเหนือวังใต้  ส่วนหนึ่งมาจากเวปศูนย์ข้อมูลเกาะรัตนโกสินทร์ วังเฟื่องนคร และประวัติวัดราชบพิธ

วังเฟื่องนครในอดีต คือที่ตั้งกระทรวงมหาดไทยในปัจจุบัน แบ่งเป็นสองวังติดกัน เรียกว่าวังเหนือและวังใต้

ผมอธิบายแผนที่ใหม่ให้ดูกันชัดๆ


กระทู้: เมื่อสยามรับเสด็จกษัตริย์ฮาวายในสมัยรัชกาลที่๕
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 26 ก.ย. 13, 06:55
ภาพถ่ายทางอากาศสมัยสงครามเลิกใหม่ๆ


กระทู้: เมื่อสยามรับเสด็จกษัตริย์ฮาวายในสมัยรัชกาลที่๕
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 26 ก.ย. 13, 06:56
วังเหนือ หันหน้าวังออกทางถนนเฟื่องนคร เป็นที่ประทับของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุบรรณ กรมขุนภูวนัยนฤเบนทราภิบาล ประทับอยู่ตั้งแต่รัชกาลที่๓จนสิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่๕ จึงรื้อลงเพื่อสร้างกระทรวงนครบาล


กระทู้: เมื่อสยามรับเสด็จกษัตริย์ฮาวายในสมัยรัชกาลที่๕
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 26 ก.ย. 13, 07:00
อาคารที่เห็นนี้ คือกระทรวงพระนครบาล ปัจจุบันเป็นอาคารหลักของกระทรวงมหาดไทย


กระทู้: เมื่อสยามรับเสด็จกษัตริย์ฮาวายในสมัยรัชกาลที่๕
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 26 ก.ย. 13, 07:03
วังใต้ หันหน้าวังกลับกันกับวังเหนือ ออกถนนอัษฎางค์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯทรงสร้างตำหนักพระราชทานให้เป็นที่ประทับของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชมพูนุท กรมขุนเจริญผลพูนสวัสดิ์ เขตวังด้านใต้ติดกับถนนหน้าวัดราชบพิธ เมื่อกรมขุนเจริญผลพูนสวัสดิ์สิ้นพระชนม์ จึงใช้สร้างที่ว่าการกระทรวงโยธาธิการ ซึ่งเปลี่ยนมาเป็นกระทรวงคมนาคมในรัชกาลที่ ๕

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนเจริญผลภูลสวัสดิ์ ทรงเป็นเจ้านายที่ทรงใฝ่พระทัยในการศึกษา มีความชำนาญในการช่าง รัชกาลที่ ๕ ทรงแต่งตั้งให้เป็นแม่กองสร้างวัดเทพศิรินทราวาส และทรงโปรดให้เป็นผู้ทรงจัดการรับเสด็จพระเจ้ากรุงฮาวาย คราเสด็จเยือนกรุงสยาม

วังใต้ยังเป็นที่ประสูติของพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้าวัดราชบพิธ ทรงมีพระนามเดิมว่าหม่อมเจ้าภุชงค์ เป็นพระโอรสองค์ใหญ่ในกรมขุนเจริญผลภูลสวัสดิ์ ประสูติแต่ หม่อมปุ่น เมื่อวันที่ ๑๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๐๒


กระทู้: เมื่อสยามรับเสด็จกษัตริย์ฮาวายในสมัยรัชกาลที่๕
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 26 ก.ย. 13, 07:11
ภาพถ่ายทางอากาศนี้ อาจไม่ใช่อาคารดั้งเดิมในสมัยต้นรัชกาลที่๕  วังใต้ที่ใช้รับเสด็จกิงกาลกวัวคงจะไม่ดูแออัดเป็นลักษณะสถานที่ทำงานอย่างที่เห็น

ถ้าพิจารณาตรงที่ระบุว่า วังหันหน้าออกถนนอัษฎางค์ ก็เป็นไปได้ที่สมัยดังกล่าวจะมีเฉพาะส่วนที่ผมครอบให้เห็น


กระทู้: เมื่อสยามรับเสด็จกษัตริย์ฮาวายในสมัยรัชกาลที่๕
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 26 ก.ย. 13, 07:41

คุณหนุ่มเคยเห็นภาพที่ว่าบ้างไหม แบบเนี้ยะ แบบรูปข้างล่างเนี้ย ช่วยสงเคราะห์หามาลงให้ด้วยเถิด


ม่ายเคยเห็นครับ


กระทู้: เมื่อสยามรับเสด็จกษัตริย์ฮาวายในสมัยรัชกาลที่๕
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 26 ก.ย. 13, 08:43
ระหว่างงานเลี้ยงนั้น เจ้าชายน้อยพระองค์หนึ่งทรงถามผู้มาเยือนว่าฮาวายอยู่ภายใต้การควบคุมของชาวต่างชาติด้วยหรือ เพราะทรงเห็นว่ามีฝรั่งคนหนึ่งอยู่ในคณะผู้ตามเสด็จด้วย

A young prince  ที่ถามตรงๆแบบนี้น่าจะโตเกินเด็กเล็กๆ แต่ยังไม่เป็นผู้ใหญ่  ตีเสียว่าพระชันษาประมาณ13- 15   ก็น่าจะเป็นพระเจ้าน้องยาเธอพระองค์ใดพระองค์หนึ่ง    ส่วนพระราชโอรสในรัชกาลที่ 3 ก็ล้วนแต่พระชนม์มากๆแล้วทั้งสิ้น ตัดประเด็นไปได้

จะเป็นองค์ไหนก็ตาม   A young prince ที่ว่า ทรงพูดฝรั่งแบบยากๆได้อย่างหนึ่งละ เพราะคำถามนี้ไม่เบสิคนัก    อีกอย่างทรงโตพอจะรู้เรื่องอาณานิคมด้วย ถึงทรงคิดว่าการมีฝรั่งตามพระเจ้าแผ่นดินฮาวายมา  ไม่ใช่เป็นแค่ผู้เชี่ยวชาญที่ถูกจ้างมาทำงานอย่างฝรั่งในสยาม   แต่ทรงคิดว่าเป็นผู้มีอำนาจเหนือพระเจ้ากาลกวัวอีกทีหนึ่ง ก็แสดงว่าทรงรู้ประวัติศาสตร์ว่าบ้านเมืองอื่นๆในเอเชีย เป็นเมืองขึ้นฝรั่งกันหลายเมืองแล้ว

ทูลกระหม่อมพระองค์น้อย คงไม่ใช่เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศครับ เพราะทรงพระเยาว์เกินว่าจะออกราชการงานเมืองได้ และในเอกสารจดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน ระบุดังนี้ว่า "สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์น้อย"

เป็นไปได้ไหมว่า คือ สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช


กระทู้: เมื่อสยามรับเสด็จกษัตริย์ฮาวายในสมัยรัชกาลที่๕
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 26 ก.ย. 13, 09:00
เห   ^ของดี  ทำไมไม่เอามาให้อ่านเต็มๆล่ะท่าน กั๊กไว้ทำมาย ???


กระทู้: เมื่อสยามรับเสด็จกษัตริย์ฮาวายในสมัยรัชกาลที่๕
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 26 ก.ย. 13, 09:21

คุณหนุ่มเคยเห็นภาพที่ว่าบ้างไหม แบบเนี้ยะ แบบรูปข้างล่างเนี้ย ช่วยสงเคราะห์หามาลงให้ด้วยเถิด


ม่ายเคยเห็นครับ

แหม ... นึกว่าเป็นที่เดียวกัน เสาโรมัน พร้อมด้วยผนังแบบเหลี่ยม กับกิงกาลกวัวและอาคาร (กรมโยธาธิการเก่า) บนพื้นที่ของวังใต้ของกรมขุนเจริญผลพูนสวัสดิ์


กระทู้: เมื่อสยามรับเสด็จกษัตริย์ฮาวายในสมัยรัชกาลที่๕
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 26 ก.ย. 13, 09:48
โอ้ แค่นี้ก็เยี่ยมแล้ว ตอบคำถามได้เลยว่าทำไมจึงทรงเลือกให้ใช้ต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง


กระทู้: เมื่อสยามรับเสด็จกษัตริย์ฮาวายในสมัยรัชกาลที่๕
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 26 ก.ย. 13, 09:55
อ่านเพิ่มเติมที่ KING KALAKAUA IN SIAM. http://www.archive.org/stream/cu31924023252855/cu31924023252855_djvu.txt



His Majesty and suite took passage from Hongkong to
Bangkok. Passing over an uneventful voyage, thej' arrived
at the bar of the Mewan, the great river of Siam, on the
morning of the 2&th April.. On entering the river, the steam^
yacht of the King of Siam was seen approaching, and shortly
afterwards a twelve-oared boat carrying the flag of the White
Elephant came alongside, carrying an officer ol His Majesty's
household, conmissioned to tender to King,Kalakaua the hos-
pitalities of his brother of Siam. The invitation was accom-
panied by expressions of regret on the part of His Majesty
that he had irot received sufficiently early notice of the arrival
of his royal visitor to allow of his meeting him in person at
the river bar. Another boat accompanied that of the Envoy,
carrying His Siamese Majesty's Aide-de-Camp, Dissawoeka-
MARU. Salutations were exchanged, and the whoie party
proceeded on board the yacht, which is descri bed as " a
beautiful boat," and made in her the voyage up the Menam


กระทู้: เมื่อสยามรับเสด็จกษัตริย์ฮาวายในสมัยรัชกาลที่๕
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 26 ก.ย. 13, 10:23
แบบคุณเพ็ญมาอีกแล้ว แปลด้วยซี้

อย่างนี้เลย
His Hawaiian Majesty was received in truly royal style. By a splendid marble staircase flanked by rows of polished granite columns. His Majesty entered an antechamber, some eighty feet in length, with floors in mosaic of marble, and furniture of ebony. Statues, vases, and other products of the highest order of Western art, and paintings by European masters lined the apartment, whilst damasks, hanging richly embroidered in gold, served to conceal the multitude of guards and servants who were in attendance.
กษัตริย์ฮาวายได้รับการรับรองแบบพระราชาอย่างแท้จริง โดยบันไดหินอ่อนสวยงามขนาบข้างด้วยแถวเสาหินแกรนิตขัดมัน พระองค์ได้เสด็จเข้าไปยังมุขโถงยาวประมาณแปดสิบฟุต ปูพื้นด้วยโมเสคหินอ่อนและเฟอร์นิเจอร์ทำจากไม้มะเกลือ รูปปั้น แจกัน และผลิตภัณฑ์อื่นๆตามแนวศิลปะระดับสูงของตะวันตก และภาพวาดฝีมือบรมครูชาวยุโรปเรียงรายเป็นแถวในห้องชุด ในขณะที่ผ้าม่านปักลายทองแขวนอยู่ เพื่อสนองความต้องการปกปิดหน่วยรักษาความปลอดภัยหลายหลากและคนรับใช้ที่เฝ้าระวังหน้าที่อยู่


กระทู้: เมื่อสยามรับเสด็จกษัตริย์ฮาวายในสมัยรัชกาลที่๕
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 26 ก.ย. 13, 10:23
มีรายละเอียดการเสด็จประพาสสยาม ค.ศ. ๑๘๘๑ ของ King Kalakaua บันทึกไว้ในหนังสือ King Kalakaua's tour round the world : a sketch of incidents of travel (1881)

http://www.archive.org/details/cu31924023252855 (http://www.archive.org/details/cu31924023252855)


(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=3254.0;attach=9407;image)
(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=3254.0;attach=9409;image)

ฝีมือในการแปลของคุณนวรัตน

นับถือ นับถือ


(http://ptcdn.info/emoticons/smiley/อมยิ้ม04.png)


กระทู้: เมื่อสยามรับเสด็จกษัตริย์ฮาวายในสมัยรัชกาลที่๕
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 26 ก.ย. 13, 10:50
^
อ่านแล้ว
ใจความก็ซ้ำๆกัน รายละเอียดแล้วแต่คนเขียน มั่วๆเหมือนกัน ไม่ต้องเสียเวลาอ่านทุกฉบับครับ อ่านที่ผมมั่วๆมาในกระทู้นี้ก็เกินพอ


กระทู้: เมื่อสยามรับเสด็จกษัตริย์ฮาวายในสมัยรัชกาลที่๕
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 26 ก.ย. 13, 11:14
..ท่านได้พูดเกียดกันไป ...หมายถึงอะไร ???


กระทู้: เมื่อสยามรับเสด็จกษัตริย์ฮาวายในสมัยรัชกาลที่๕
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 26 ก.ย. 13, 11:25
เกียดกัน คือ กีดกัน
แหม ปล่อยออกมาแบบกระปริบกระปรอยจริง จริ๊ง


กระทู้: เมื่อสยามรับเสด็จกษัตริย์ฮาวายในสมัยรัชกาลที่๕
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 26 ก.ย. 13, 11:38
เมื่ออ่านกระทู้ของผมถึงตรงนี้ ท่านคงพอจะเห็นได้ว่าภาพที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าทรงมองการมาเยือนของกษัตริย์ฮาวาย ถ้าตีความตามเอกสารฝ่ายไทย คือทรงเกรงอยู่อย่างเดียวว่าฮาวายจะมาของตั้งกงสุลในกรุงเทพ แล้วเรียกร้องอภิสิทธิ์เช่นชาติใหญ่ๆ โดยเฉพาะในเรื่องสิทธิสภาพของอาณาเขต ซึ่งเป็นหนามยอกอกฝ่ายไทยอยู่

เรื่องรับกิงกาลากวัว ไม่ได้ทรงเกรงใจอเมริกันเลย และอเมริกาในทศวรรษนั้นก็ยังไม่มีแนวคิดที่จะผนวกฮาวายทั้งสิ้น

ที่พระองค์เชื้อเชิญนายพลแกรนท์เข้ามากรุงเทพก็ทรงหวังปลูกไมตรีกับสหรัฐ ก็เพราะต้องการเพื่อนใหม่ แต่เพื่อนก็อยู่ไกลกันเกินกว่าจะสนิทสนมกันได้ ถ้าใครอ่านกระทู้ที่ผมเขียนเรื่องที่รัฐบาลสหรัฐอเมริกานำเรือรบเข้ามาข่มขู่สยามในรัชกาลนี้นั้น ก็จะเห็นว่าเป็นเพราะอนุโลมตามคำขอของกงสุลใหญ่ที่อ้างว่า คนไทยไม่เกรงอเมริกาเลยเมื่อเทียบกับอังกฤษหรือฝรั่งเศส

เรื่องการรับรองของสยามนี้ ถ้ามองจากฝ่ายฮาวายแล้ว จะเห็นว่าทั้งกษัตริย์และคณะประทับใจในการต้อนรับขับสู้ของเจ้าภาพมาก ถึงขนาดบรรยายว่าอยู่เมืองสยามสุขสบายเหมือนอยู่บ้าน แสดงถึงน้ำพระทัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงแสดงต่อมิตร

คือทรงคิดและทำเฉกเช่นพระราชาของประเทศเอกราช ถ้าทรงอยากจะทำอะไรก็ทำอย่างเต็มที่ ไม่มีครึ่งๆกลางๆ กลัวๆกล้าๆ


กระทู้: เมื่อสยามรับเสด็จกษัตริย์ฮาวายในสมัยรัชกาลที่๕
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 26 ก.ย. 13, 11:45
ลิงค์อย่างที่คุณเพ็ญชมพูและคุณหนุ่มสยามเอามาแปะไว้ เป็นภาษาอังกฤษล้วนๆน่าจะหาคนอ่านจนจบยาก ใครที่อดทนอ่านจนจบก็จะไม่ตีความแต่เฉพาะที่อ่านจากเอกสารไทย แต่ผมก็อ่านมาแล้วมากกว่าสองฉบับที่ว่า เพียงแต่เขียนลงกระทู้นี้เท่าที่อยากเขียน และมิได้คล้อยตามความเห็นที่คุณเพ็ญเคยแสดงไว้แต่เก่าก่อน แล้วยกมาแปะในกระทู้นี้อีกตั้งแต่หัววัน
 
คณะของกษัตริย์ฮาวายมิได้มาแบบฟอร์มใหญ่เช่นเจ้านายยุโรปที่มักจะเสด็จโดยเรือรบทันสมัยล่าสุด หรือเรือยอร์ชลำหมึมาที่มีเรือปืนคุ้มกัน แต่ทรงตีตั๋วเรือโดยสารมาทีละระยะๆ หลังจากเสด็จไปนครซานฟรานซิสโก สหรัฐอเมริกา กลับมาฮอนโนลูลูแล้ว จึงเริ่มต้นทัวร์โดยมาญี่ปุ่น ขึ้นบกที่โยโกฮามา เข้าเฝ้าพระจักรพรรดิ์แล้วเสด็จเที่ยวหลายเมือง แล้วจึงลงเรือโดยสารของญี่ปุ่นไปขึ้นที่เซี่ยงไฮ้ ต่อไปเทียนสินโดยเรือจีน ที่นั่นพระองค์ไม่ได้อะไรเป็นชิ้นเป็นอันหลังทรงได้พบกับอุปราชกับนายกรัฐมนตรี ทรงเลยไปฮ่องกงของอังกฤษ ซึ่งถวายการต้อนรับดีกว่าหน่อยนึง ที่นั่นทรงพบกับกงสุลสยามแล้วแจ้งกำหนดนัดหมายที่เรือโดยสารที่ทรงจองตั๋วไว้จะแวะกรุงเทพ
 
จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะวางกำหนดการไว้ล่วงหน้าเป็นปี นอกจากจะแจ้งข่าวโดยลอยๆ เพราะจะจับเรือลำไหนต่อก็ต้องว่ากันทีละจุดๆไป เผลอๆ ผู้ที่อ้างตนเป็นตัวแทนติดต่อในกรุงเทพ กษัตริย์ฮาวายจะไม่ทรงทราบด้วยซ้ำไปว่าได้ทำอะไรไปบ้างอย่างไร อย่างเช่น เมื่อทรงมาถึงนอกสันดอนที่ปากน้ำ ก็จะลงจากเรือโดยสาร ขออาศัยเรือลากจูงของสยามเข้ากรุงเทพเลย เพราะไม่มีใครแจ้งให้ทรงทราบว่าพระเจ้าอยู่หัวจะส่งเรือพระที่นั่งมารับ และขากลับ ยังทรงอนุเคราะห์เรือของทางราชการสยามไปส่งเสด็จถึงสิงคโปรอีกต่างหาก


กระทู้: เมื่อสยามรับเสด็จกษัตริย์ฮาวายในสมัยรัชกาลที่๕
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 26 ก.ย. 13, 11:53
จากประสบการณ์ของพระองค์ที่ผ่านมาจึงทำให้ทรงประหลาดใจมาก ทรงคาดไม่ถึงจริงๆที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงแสดงน้ำพระทัยถึงเพียงนี้ ทั้งที่บางประโยคจะฟังพระราชดำรัสเหมือนต่อว่า เช่น ทรงรู้ว่าจะเสด็จมาแบบกระชั้นชิดเหลือเกิน ทำให้การรับรองชุลมุนไปหน่อยไม่ดีเท่าที่ควร  ดังนั้น กษัตริย์กาลากวัวจึงทรงแฮปปี้กลับไปเหมือนทัวริสต์ที่มาหลงเสน่ห์เมืองไทย แม้จะไม่โปรดให้เข้าเฝ้าเป็นการส่วนพระองค์สองต่อสองก็ไม่เป็นเรื่องใหญ่ เอกสารทุกฉบับของฝ่ายฮาวายมิได้กล่าวถึง สัญญาค้าขายไม่ทำก็ไม่ทำ เพราะไทยก็ผลิตน้ำตาลส่งออกเหมือนกัน อย่างอื่นก็ไม่รู้จะค้าขายอะไรต่อกัน ค่าขนส่งกินหมด

ผมว่าคณะของกษัตริย์ฮาวายมาทั้งทีก็ต้องพูดเรื่องงานเรื่องการบ้าง อย่างเรื่องตั้งกงสุลอะไรนั่น มิฉะนั้นเจ้าภาพจะคิดว่ามาแบบเป็นนักท่องเที่ยว แต่พูดแล้วไปต่อไม่ถูกก็จบ เลิกแล้วกันไป


กระทู้: เมื่อสยามรับเสด็จกษัตริย์ฮาวายในสมัยรัชกาลที่๕
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 26 ก.ย. 13, 11:57
League of Asian Countries เป็นเรื่องเพ้อฝันที่ญี่ปุ่นปฏิเสธไปแบบนุ่มๆ จะเป็นไปได้อย่างไรที่จะให้ประเทศเอกราชในเอเซียทำสัญญากันเพื่อต่อต้านลัทธิล่าเมืองขึ้น นอกจากญี่ปุ่นซึ่งเป็นนักล่าเมืองขึ้นเองแล้ว จีนก็ลูกผีลูกคน สยามก็โดนหั่นส่วนหนึ่งไปแล้วยังพักฟื้นอยู่ พม่าโดนอังกฤษเล่นท่อนล่างไปเรียบร้อย กำลังจะเอาท่อนบนต่อให้ถึงตาย แล้วข้ามไปโน่นเลย ตุรกียังพอเอาตัวรอด แต่ไม่มีปัญญามายุ่งกับโลกซีกนี้ ถามว่า ใครจะสามารถไปช่วยฮาวายได้ถ้ามะกันจะเขมือบ ช่วยสำเร็จแล้วได้รางวัลเป็นน้ำตาลทรายกี่กิโล นี่ยังไม่ได้ออกคำถามแบบกลับกันนะ ถ้าสยามโดนฝรั่งเศสรุกราน ฮาวายจะส่งทหารมาช่วยกี่คน หรือจะส่งได้แค่ระบำฮูล่ามาปลุกขวัญกำลังใจทหารในแนวหน้า

ความคิดของกษัตริย์ฮาวายจึงคนละหลักการกับ The Greater East Asia Co-Prosperity Sphere อย่างน้อยญี่ปุ่นก็จำกัดแค่จะร่วมวงศ์ไพบูลย์ในเอเชียบูรพา ไม่เลยเถิดไปถึงตุรกีโน่น แต่เน้นประเทศที่เป็นเมืองขึ้นฝรั่งทั้งหลาย สุดแค่อินเดีย ให้จับอาวุธที่ญี่ปุ่นจะส่งส่วยไปให้ เข่นฆ่าขับไล่นายเก่าไป(ให้ญี่ปุ่นเป็นนายใหม่แทน)
สยามนั้นญี่ปุ่นถือเป็นเพื่อนแบบเป็นตัวโชว์ ถ้าทำกับไทยไม่ดี ขบวนการใต้ดินชาติอื่นๆเขาจับตาดูอยู่ ก็จะไม่เอาด้วยกับญี่ปุ่น ถือเป็นโชคดีของพี่ไทยแท้ๆ


กระทู้: เมื่อสยามรับเสด็จกษัตริย์ฮาวายในสมัยรัชกาลที่๕
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 26 ก.ย. 13, 13:39
เห  ^ของดี  ทำไมไม่เอามาให้อ่านเต็มๆล่ะท่าน กั๊กไว้ทำมาย ???

คุณนวรัตนสามารถเข้าไปอ่านรายละเอียดได้ที่ จดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน ภาค ๑๑ พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  (http://sea.lib.niu.edu/fedora/repository/SEAImages:hotmihtphr11chulcollection/-/%E0%B8%88%E0%B8%94%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%20/%20%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%9E%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B9%8C%20%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%88%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%88%E0%B8%B8%E0%B8%A5%E0%B8%88%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%A7%20%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84%20%E0%B9%91%E0%B9%91%20[%C4%8Chotm%C4%81ih%C4%93t%20phrar%C4%81tchakit%20r%C4%81iwan%20/%20phrar%C4%81tchaniphon%20nai%20Phrab%C4%81t%20Somdet%20Phra%20%C4%8Chunla%C4%8Dh%C5%8D%CC%9Cmklao%20%C4%8Chaoy%C5%ABh%C5%ABa%20phak%2011) ตั้งแต่หน้า ๑๕๔ - ๑๖๖

(http://ptcdn.info/emoticons/smiley/อมยิ้ม04.png)


กระทู้: เมื่อสยามรับเสด็จกษัตริย์ฮาวายในสมัยรัชกาลที่๕
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 26 ก.ย. 13, 14:15
วันรุ่งขึ้น กิงกาลกวัวได้เสด็จไปยังพระบรมมหาราชวังอีกครั้งหนึ่ง ในการพระราชทานเลี้ยงอำลาเพื่อถวายพระเกียรติยศ  เมื่อเข้ามายังพระราชฐานแล้วก็พบแถวทหารทั้งกองพันยืนเรียงรายพร้อมคบเพลิงหลายร้อยอันชูไว้ในมือ เพื่อให้แสงสว่างนำไปสู่ประตูทางเข้าสู่พระราชฐานชั้นใน  
พระองค์ทรงได้รับการต้อนรับอีกครั้งจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ แล้วเสด็จพระราชดำเนินนำไปยังท้องพระโรง ในขณะที่วงดนตรีบรรเลงเพลงชาติของฮาวาย  เพลงนี้กิงกาลกวัวได้ทรงปิอาโนเมื่อวันก่อนเพื่อให้นายวงดนตรีของชาวสยามได้รับฟังด้วยพระองค์เอง

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯได้ถวายเครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฎสยามชั้นที่๑ มหาสุราภรณ์ แด่กิงกาลกวัว เสร็จแล้วกิงกาลกวัวได้ถวายเครื่องราชอิสริยาภรณ์ The Order of Kamehameha แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

หลังจากนั้น งานเลี้ยงอย่างหรูหราก็ได้เริ่มต้น กิงกาลกวัวทรงขอให้วงดุริยางค์เล่นเพลงไทยถวาย ซึ่งหลังจากทรงฟังแล้ว ตรัสว่าทำนองคล้ายๆกับเพลงฮาวายเหมือนกัน

ผมสงสัยเองว่าจะเป็นเพลงคลื่นกระทบฝั่ง


กระทู้: เมื่อสยามรับเสด็จกษัตริย์ฮาวายในสมัยรัชกาลที่๕
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 26 ก.ย. 13, 15:23
กั๊กไว้ทำมาย....เดี๋ยวคุณเพ็ญกินเรียบวุธทั้งวง เห็นม้าย ย  ย   ย






สะจาย
ขอบคุณนะครับคุณเพ็ญ


กระทู้: เมื่อสยามรับเสด็จกษัตริย์ฮาวายในสมัยรัชกาลที่๕
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 26 ก.ย. 13, 16:04
กั๊กไว้ทำมาย....เดี๋ยวคุณเพ็ญกินเรียบวุธทั้งวง เห็นม้าย ย  ย   ย






สะจาย
ขอบคุณนะครับคุณเพ็ญ

หามิได้ ๆ คุณเพ็ญฯ น้้นเก่งเรื่องอินทรเนตรอยู่แล้ว และเรื่องพระราชกิจรายวัน ก็ไม่มีอะไรน่าตื่นเต้นเท่าใด จึงไม่ได้สำแดงให้ทราบเท่านั้นเอง  ;D ;D

คุณเพ็ญน่ารักเสมอ จุ๊บ ๆ


กระทู้: เมื่อสยามรับเสด็จกษัตริย์ฮาวายในสมัยรัชกาลที่๕
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 26 ก.ย. 13, 16:17
^


กระทู้: เมื่อสยามรับเสด็จกษัตริย์ฮาวายในสมัยรัชกาลที่๕
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 26 ก.ย. 13, 16:26
อ้างถึง
เจ้าชายน้อยที่ประทับที่โต๊ะเสวย  ติดกับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว น่าจะเป็นสมเด็จเจ้าฟ้า………………
ภาณุรังสีสว่างวงศ์ครับ

ตามหลักฐานที่เก็บเกี่ยวจากสายระโยงของคุณเพ็ญ
v



กระทู้: เมื่อสยามรับเสด็จกษัตริย์ฮาวายในสมัยรัชกาลที่๕
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 26 ก.ย. 13, 16:28
ผู้ที่ครองวังสราญรมย์ในพ.ศ.นั้นคือ
พระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังสีสว่างวงศ์

วิกี้บอกว่า

ในช่วงต้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานวังสราญรมย์ให้เป็นที่ประทับชั่วคราว ของเจ้านายเมื่อแรกออกจากวังหลวง ก่อนที่วังประทับถาวรจะก่อสร้างแล้วเสร็จ อาทิเช่น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดชทรงประทับเมื่อ พ.ศ. 2419 - 2424 ระหว่างก่อสร้างวังบูรพาภิรมย์


กระทู้: เมื่อสยามรับเสด็จกษัตริย์ฮาวายในสมัยรัชกาลที่๕
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 26 ก.ย. 13, 17:02

คุณหนุ่มเคยเห็นภาพที่ว่าบ้างไหม แบบเนี้ยะ แบบรูปข้างล่างเนี้ย ช่วยสงเคราะห์หามาลงให้ด้วยเถิด


ม่ายเคยเห็นครับ

แหม ... นึกว่าเป็นที่เดียวกัน เสาโรมัน พร้อมด้วยผนังแบบเหลี่ยม กับกิงกาลกวัวและอาคาร (กรมโยธาธิการเก่า) บนพื้นที่ของวังใต้ของกรมขุนเจริญผลพูนสวัสดิ์

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=5767.0;attach=43710;image)

ภาพทางซ้าย กิงกาลกะอัวและคณะ  (http://commons.wikimedia.org/wiki/File:Kalakaua_and_staff_outside_Iolani_Palace.jpg) ถ่ายหน้า พระราชวังอิโอลานี (http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B9%82%E0%B8%AD%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B5)

(http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/e/e7/Iolani_Palace_Oahu_Hawaii_Photo_D_Ramey_Logan.JPG/800px-Iolani_Palace_Oahu_Hawaii_Photo_D_Ramey_Logan.JPG)


(http://ptcdn.info/emoticons/smiley/อมยิ้ม04.png)


กระทู้: เมื่อสยามรับเสด็จกษัตริย์ฮาวายในสมัยรัชกาลที่๕
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 26 ก.ย. 13, 18:41
อ้างถึง
เจ้าชายน้อยที่ประทับที่โต๊ะเสวย  ติดกับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว น่าจะเป็นสมเด็จเจ้าฟ้า………………
ภาณุรังสีสว่างวงศ์ครับ

สมเด็จเจ้าฟ้าประสูติเมื่อพ.ศ. 2402   รับเสด็จกิงกาลกวัว พ.ศ. 2424 พระชันษา 22 ปี  ยังพอเรียกว่า A young prince ได้
แต่ความหมายเห็นจะต้องแปลว่า เจ้าชายหนุ่ม   ไม่ใช่เจ้าชายที่ทรงพระเยาว์เสียแล้ว


กระทู้: เมื่อสยามรับเสด็จกษัตริย์ฮาวายในสมัยรัชกาลที่๕
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 26 ก.ย. 13, 18:43
หรือประมาณนี้


กระทู้: เมื่อสยามรับเสด็จกษัตริย์ฮาวายในสมัยรัชกาลที่๕
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 26 ก.ย. 13, 19:06
มันก็น่าโดนถามจริงๆนะครับ กิงกาลากวัวกับบิ๊กผู้ติดตามสองคน เป็นฝรั่งที่ติดยี่ห้อฮาวายเอียนทั้งคู่


กระทู้: เมื่อสยามรับเสด็จกษัตริย์ฮาวายในสมัยรัชกาลที่๕
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 26 ก.ย. 13, 20:14

คุณเพ็ญน่ารักเสมอ จุ๊บ ๆ
ไม่เอาแอนนิเมชั่นมาประกอบลีลา ไม่ได้แล้ว


กระทู้: เมื่อสยามรับเสด็จกษัตริย์ฮาวายในสมัยรัชกาลที่๕
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 26 ก.ย. 13, 20:18
มันก็น่าโดนถามจริงๆนะครับ กิงกาลากวัวกับบิ๊กผู้ติดตามสองคน เป็นฝรั่งที่ติดยี่ห้อฮาวายเอียนทั้งคู่

ซ้าย Colonel Charles Hastings Judd  ขวา William N. Armstrong


กระทู้: เมื่อสยามรับเสด็จกษัตริย์ฮาวายในสมัยรัชกาลที่๕
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 26 ก.ย. 13, 20:27
แถมให้อีกรูปค่ะ
ปี 1881 เดียวกันกับที่เสด็จมาสยาม    พระเจ้ากาลกวัว เสด็จไปเยือนอังกฤษ  มีคอลอแนนยูดค์ตามเสด็จด้วย  ในภาพนี้ทรงเป็นแขกที่คฤหาสน์นอร์มัลเฮิร์สต์ ของเซอร์โทมัสและเลดี้บราสซีย์  ใกล้เมืองเฮสติ้งส์ ประเทศอังกฤษ


กระทู้: เมื่อสยามรับเสด็จกษัตริย์ฮาวายในสมัยรัชกาลที่๕
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 27 ก.ย. 13, 11:43
มาคั่นโปรแกรมหน้าม่าน  แนะนำพระเจ้ากาลกวัวให้คนไทยรุ่นปัจจุบันรู้จักกันบ้าง

พระเจ้ากาลกวัว ไม่ได้เป็นพระราชโอรสของกษัตริย์พระองค์ก่อนของฮาวาย  แต่เป็นบุตรของ high chief ของราชอาณาจักร  มีแม่เป็น high chiefess  คำนี้วิกิแปลผิดว่าสังฆราช    ที่จริงคำนี้เป็นตำแหน่งของหัวหน้าชนชั้นสูงสุดในสังคมฮาวาย ที่ไม่ใช่กษัตริย์   พอจะเทียบได้กับท่านลอร์ดและเลดี้ของอังกฤษ     เมื่อพระเจ้าแผ่นดินพระองค์ก่อนสวรรคตไปโดยไม่มีรัชทายาท พระองค์ก็เลยได้รับเลือกเป็นกษัตริย์
พระเจ้ากาลกวัวได้รับการศึกษาแบบตะวันตก  พูดอังกฤษคล่อง   สร้างมิตรภาพที่แน่นแฟ้นกับนักธุรกิจอเมริกันที่มาลงทุนทำไร่อ้อยในฮาวาย    หนึ่งในนั้นก็คือคอลอแนนยูดด์ ที่ได้รับตำแหน่งเป็นทั้งที่ปรึกษาและกรมวัง (chamberlain) ของพระองค์    พระเจ้ากาลกวัวได้รับสมญาจากประชาชนว่า "พระราชาเจ้าสำราญ" หรือ The Merry Monarch  เพราะพระองค์โปรดดนตรี  เต้นรำ  งานปาร์ตี้และความบันเทิงต่างๆ
พระเจ้ากาลกวัวคงจะโปรดการเดินทางมิใช่น้อย เห็นได้จากเสด็จออกนอกประเทศไปไกลๆหลายครั้ง  ไปอเมริกาก็สองหรือสามครั้ง    ก่อนหน้ามาสยาม ในปี 1874 พระองค์ไปเซ็นสนธิสัญญากับอเมริกาเรื่องการค้าขาย  เป็นผลให้อุตสาหกรรมน้ำตาลของฮาวายบูมขึ้นมา   อาณาจักรก็เลยมั่งคั่งเงินทองไหลมาเทมาในช่วงนั้น


กระทู้: เมื่อสยามรับเสด็จกษัตริย์ฮาวายในสมัยรัชกาลที่๕
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 27 ก.ย. 13, 11:47
พระรูปของควีนคาปิโอลานิ (Kapiolani) พระราชินีของพระเจ้ากาลกวัว
ไม่ได้ตามเสด็จมาสยามด้วย     จึงไม่มีการเอ่ยเอาไว้เลย


กระทู้: เมื่อสยามรับเสด็จกษัตริย์ฮาวายในสมัยรัชกาลที่๕
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 27 ก.ย. 13, 12:02
รายได้มหาศาลที่ไหลเข้าท้องพระคลัง บวกกับพระเจ้าคาลกวัวโปรดศิลปะและสถาปัตยกรรมแบบยุโรปเพราะเคยเสด็จไปยุโรปมาแล้ว ทำให้พระองค์ทรงทุ่มเงินถึง 350,000 ดอลล่าร์สร้างพระราชวังโอ่อ่า ชื่อ ไอโอลานี่ หรือ Iolani Palace ขึ้นในปี 1882    ซึ่งยังอยู่มาจนทุกวันนี้


กระทู้: เมื่อสยามรับเสด็จกษัตริย์ฮาวายในสมัยรัชกาลที่๕
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 27 ก.ย. 13, 12:12
บั้นปลายชีวิตของพระเจ้ากาลกวัวเป็นเรื่องน่าเศร้า ในค.ศ. 1887  6 ปีหลังจากเสด็จมาเยือนสยาม  พระองค์ก็ถูกปฏิวัติโดยคณะบุคคลที่เรียกตัวเองว่า The Hawaiian League   ยึดอำนาจและบังคับให้พระองค์ลงพระนามรับรองธรรมนูญใหม่เรียกชื่อว่า Bayonet Constitution”  พระเจ้ากาลกวัวจำต้องลงพระนาม ยอมถูกจำกัดอำนาจ และถือเป็นการสิ้นสุดของรัชสมัย 

เดือนพฤศจิกายน ปี 1890 (พ.ศ.2433)  ราชาผู้นิราศจากบัลลังก์และอาณาจักรเสด็จออกจากฮาวายเป็นครั้งสุดท้าย  เดินทางไปคาลิฟอร์เนียเพื่อรักษาอาการประชวร    พระองค์เสด็จสวรรคต ณ โรงแรมแห่งหนึ่งในซานฟรานซิสโกเมื่อวันที่ 20 มกราคม ปี 1891  หรือพ.ศ. 2434
พระปัจฉิมดำรัส  หรือคำพูดสุดท้ายก่อนตาย ก็คือ
" บอกประชาชนของข้าพเจ้าด้วยว่า ข้าพเจ้าพยายาม(ทำทุกอย่าง)แล้ว"
“Tell my people I tried.”