เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 5350 ชื่อเรียกระบบการปกครองของราชอาณาจักรไทยที่ถูกต้อง ระหว่างช่วงเผด็จการทหาร
จดิษฐ์ มหันปรเมตรพงษ์
อสุรผัด
*
ตอบ: 44


 เมื่อ 30 เม.ย. 02, 09:09

 จากที่เคยกลับไปอ่านกระทู้เก่าๆของเรือนไทย ผมได้ติดใจกับกระทู้หนึ่งที่มีผู้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวชื่อที่สมควรจะใช้เรียก "ระบบการปกครองของราชอาณาจักรไทย ในช่วงเผ็ดจการทหารมีอำนาจ"  

โดยกระทู้ดังกล่าวนั้น พบว่ามีการแสดงความคิดเห็นทื่แตกต่างกันออกไปมาก และมีท่านผู้ร่วมแสดงความคิดเห็นกล่าวทำนองว่า "ตำราที่เคยรํ่าเรียนกันมา ผิด เพราะไม่เข้ากับรูปการณ์ที่เกิดขึ้นนะเวลานั้น"  แต่ก็มีบางท่านที่ ร่วมแสดงความคิดเห็นว่า "ตำราต้องถูกเสมอ ถ้ากล่าวเช่นอื่นที่นอกเหนือจากตำราแล้ว เป็นอันว่าผิด" ในส่วนตัวผมเห็นว่า ตำราที่เขียนกันมานั้น ก็อาจจะล้าสมัยไปบ้าง เราไม่สมควรจะไปยึดติดกับตำราจนมากเกินไป ควรที่จะนำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง ในยุคปัจจุบัน มาประยุกต์กับตำราที่เคยเขียนไว้มากกว่า และถ้าเห็นสมควรว่า ตำราที่เคยเขียนกันมานั้นไม่เหมาะสมอีกต่อไป เราจึงค่อยมานั่งคิด และ ค้นคว้ากันใหม่ว่า สมควรจะเขียนเนื้อหาใหม่ว่ากระไรดี



ต่อไปนี้คือ ลัทธิการปกครองใหม่ ที่มีการกล่าวว่าเป้น ระบบการปกครองของราชอาณาจักรไทย ในช่วงที่มีเผด็จการทหารปกครอง

"ชาวสยามทั้งหลาย เอ๋ย จงร่วมกันสร้างจักรวรรดิสยาม ของเราจะยิ่งใหญ่ถ้าพวกเรามีศรัทธาในลัทธิการปกครองใหม่ ที่มีชื่อว่า " สยามมารค ( Siammarch ) "เป็นลัทธิที่อยู่ตรงกลางระหว่าง ประชาธิปไตย กับ เผด็จการ โดยยังคงไว้ซึ่งการปกครองอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นมหาประมุข ของชาติ

" สยามมารค เป็นมากกว่า การปกครองจักรวรรดิของชาวสยาม "
ปรัญชาของชาวสยามมารค

ปล. Siammarch = Siam + Arch ( แปลว่า หลัก )

ขอขยายความเพิ่ม

สยามมารค ต่างจากคอมมิวนิสต์ดั้งเดิมตรงที่

1. สยามมารค มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุขของชาติ และพระองค์ทรงมีอภิสิทธิ์ทุกอย่างในระบบประชาธิไตย แลต้องมาจากการสืบราชย์สันตติวงศ์ ตามกฎมณเฑียรบาลของราชวงศ์จักรี ในขณะที่ คอมมิวนิสต์ดั้งเดิมไม่มี

2. สยามมารค อนุญาตให้ประชาชนนับถือศาสนาอะไรก็ได้เหมือนในระบบประชาธิไตย ในขณะที่ คอมมิวนิสต์ดั้งเดิมไม่มี

3. สยามมารค ใช้ระบบเศรษฐกิจระบบผสม อนุญาตให้ประชาชนมีบริษัทใหญ่ๆ เก็บภาษีในอัตราก้าวหน้า ในขณะที่ คอมมิวนิสต์ดั้งเดิมไม่มี

4. สยามมารค เป็นระบบการปกครองที่ไม่ใช่เผด็จการ และไม่ใช่ประชาธิปไตยในเวลาเดียวกัน และอนุญาตให้คนมาแสดงความคิดเห็นทางการเมือง ในขณะที่ คอมมิวนิสต์ดั้งเดิมไม่มี

5. สยามมารค หรือ คอมมิวนิสต์แบบเสรี เป็น ศาสนาใหม่ในเวลาเดียวกันด้วย

6. มีหน่วยสือราชการลับ ที่ชื่อ HATT ทำหน้าที่เจาะข้อมูล และทำลายล้างข้อมูลฝ่ายศัตรู

7. สยามมมารค มีการจัดระเบียบสังคมและวัฒนธรรมไทยให้ถูกต้องตามแบบโบราณ แต่อาจจะมีบางประเพณีที่ไม่นำมาปฏิบัติ แต่ใครอยากทำก็ได้ เพราะอันตรายต่อชีวิตของประชาชน เช่น พิธีโล้ชิงช้า เป็นต้น ในขณะที่ คอมมิวนิสต์ดั้งเดิมไม่มี

8. จากข้อ 1-7 เพราะฉะนั้น Siammarch = Siam + Arch ( แปลว่า หลัก )

9. จากข้อ 8. สยามมารค จึงแปลได้ว่า หลักที่ถูกต้องโดยชอบธรรมของชาวสยามสมัยใหม่ โดยจะไม่รบกวนการนับถือศาสนาทุกศาสนา

10. สยามมารค สนับสนุน ชาตินิยม ระบบเศรษฐกิจแบบผสม วัฒนธรรมนิยม "
บันทึกการเข้า
จดิษฐ์ มหันปรเมตรพงษ์
อสุรผัด
*
ตอบ: 44


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 29 เม.ย. 02, 13:16

 ผมได้ผิดพลาดในเรืาองที่ว่า "ถูกต้อง"  ขออนุญาตเปลี่ยนเป็น "น่าจะ"ถูกต้องแทนครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 29 เม.ย. 02, 14:03

 ดิฉันไม่เห็นด้วยกับทั้งหมดที่คุณจดิษฐ์ยกมา และออกความเห็นไว้
ก่อนอื่นขอถามว่า สยามมารค ที่ยกมา   ผู้นำทางการเมืองคนไหนเป็นเจ้าของแถลงการณ์เรื่องนี้คะ
บันทึกการเข้า
จดิษฐ์ มหันปรเมตรพงษ์
อสุรผัด
*
ตอบ: 44


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 29 เม.ย. 02, 14:23

 ไม่แน่ใจนักว่าใครเป็นผู้คิดหลักแนวทางนี้ ทราบแต่ว่าเนื่องด้วยนายปรีดี พนมยงค์

อย่างไรก็ตามผมเห็นว่า แนวความคิดนี้ก็พอจะยึดอ้างอยู่ได้บ้าง เพราะมีเนื้อหาบางประการที่สามารถโยงเข้าหา เหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้นในยุคสมัยนั้น และมีหลายส่วนที่เป็นจริง แต่บางส่วนก็ต้องยอมรับว่าไม่เป็นจริง จะเป็นการยกเมฆมากล่าวหรือกระไรก็สุดจะอนุมานได้  แต่หลักการสยามมารคนี้ออกจะเน้นไปในทางที่จะ กล่าวลบล้างแนวมางของคอมมิวนิสต์มากจนเกินไป อย่างไรก็ดี สิ่งนี้ก็คงจะมิใช่เรื่องที่น่าสงสัยนัก เพราะนายปรีดี เองก็เป็นบุคคลผู้ถูกกล่าวหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์มาแต่เดิม หลักการนี้จึงต้องมีเนื้อหาที่ต้องบอกล้างอะไรๆอยู่บ้าง

สำหรับความคิดเห็นของผมที่มีต่อ สยามารคนี้ เห็นว่าข้อ 1,2,3,7,9และ10  เป็นหลักการที่ดี และเป็นจริงตามประวัติศาสตร์ไทยในยุคสมัยนั้น ที่แม้แต่จะมีเรื่องยุ่งยากทางการเมืองมากมายแต่ก็ยังคงดำรง ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขอยู่ ประเทศไทยยังคงให้เสรีภาพในการนับถือศาสนา มีการเก็บอัตราภาษีระบบก้าวหน้า เป็นต้น

ส่วนความคิดเห็นข้างต้นของผมเรื่อง ตำราเก่า และเนื้อหาที่ไม่มีในตำรานั้น ผมมิได้หมายความว่าให้ยกเมฆกันแล้วเขียนลงเป็นตำรา แต่ตำราที่เขียนโดยอาจารย์ในยุคก่อนก็อาจจะไม่เคยรับทราบปัญหาและเหตุกาณ์ใหม่ๆที่เกิดขึ้น ตำรานั้นจึงขาดเนื้อหาที่ตรงตามสมัยไปบ้าง เราผู้อยู่ในยุคหลังจึงมีหน้าที่มาเรียบเรียงและจัดทำเนื้อหาใหม่ๆกันต่อไป ยกตัวอย่างหนึ่งก็เช่น หลักการ"เศรษฐกิจพอเพียง"ใน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่แต่เดิมนักเศรษฐศาสตร์บางท่าน(ชาวตะวันตก)กล่าวว่าหลักการนี้ ไม่มีจริงตามตำรา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงทรงอธิบาย และท้ายที่สุดก็สามารถพิสูจน์ได้จริงว่า หลักการของพระองค์นี้สามารถใช้ได้จริง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 29 เม.ย. 02, 15:00

 ขอโทษนะคะคุณจดิษฐ์  
ขออุทธรณ์อย่างตรงไปตรงมาว่าวิธีการเขียนและการลำดับความคิดของคุณ ทำให้ดิฉันปวดหัวในการตอบคุณค่ะ
พูดง่ายๆว่าดิฉันไม่รู้เรื่องว่าคุณตั้งใจจะพูดถึงอะไร
ขอยกตัวอย่างนะคะ
ดิฉันถามว่าผู้นำทางการเมืองคนไหนเป็นเจ้าของแถลงการณ์เรื่องสยามมารค"
แปลว่า ใครเป็นคนเขียน ?
คุณตอบมาว่า
"ไม่แน่ใจนักว่าใครเป็นผู้คิดหลักแนวทางนี้ ทราบแต่ว่าเนื่องด้วยนายปรีดี พนมยงค์ "
แปลว่าอะไรคะ?
แปลว่าคุณไม่แน่ใจว่านายปรีดี พนมยงค์เขียน หรือไม่งั้นหรือคะ
หรือคุณไม่แน่ใจว่าใครคิดหลักการสยามมารค
ดิฉันไม่ได้ถามว่าใครคิดหลักแนวนี้  คนคิดอาจจะมีมาตั้งแต่สมัยโสเครตีสก็ได้ ดิฉันถามเพียงว่าใครเขียนข้อความเหล่านี้ค่ะ

นอกจากนี้ เมื่อโพสต์กระทู้นี้ ชื่อกระทู้คือชื่อระบบการปกครอง
แต่ในเนื้อหาคุณพูดถึงว่าจะยึดหรือไม่ยึดตำรา
เพราะบางเล่มก็ล้าสมัย

ถ้าเป็นตำราทางประวัติศาสตร์ ( สอดคล้องกับชื่อเรื่อง)  ก็ขึ้นกับการค้นหลักฐานในอดีต  โดยผู้อยู่ในปัจจุบัน
ถ้ามีหลักฐานเพิ่มเติมจากที่คนรุ่นก่อนค้นไว้   ตำราประวัติศาสตร์ก็เปลี่ยนแปลงได้ ไม่แปลกอะไร
ขอให้หลักฐานใหม่มีน้ำหนักพอ ตามหลักวิชาการของประวัติศาสตร์

ส่วนเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงที่คุณยกมา  ดิฉันเห็นว่าเป็นตัวอย่างที่ไม่เข้ากับประเด็นที่พูดมาทั้งหมด  เพราะแน่ละ ว่าคนแต่งตำรายุคก่อนนั้นย่อมเขียนขึ้นมา ก่อนข้อมูลปัจจุบันจะเกิดขึ้น  เขาก็เขียนเท่าที่รวบรวมได้ในยุคเขา

ในยุคต่อมา  ถ้ามีข้อมูลเพิ่มขึ้น   นักวิชาการคนนั้นถ้ายังไม่ตายหรือเกษียณเลิกเขียนไปก่อน  ก็ต้องแก้ไขเพิ่มเติมในตำรา  
สิ่งเหล่านี้นักวิชาการก็ทำกันอยู่แล้ว  คุณอาจจะเคยเห็นคำนำในตำราหลายๆเล่มว่า..ฉบับพิมพ์ครั้งปัจจุบันได้แก้ไขเพิ่มเติมจากที่พิมพ์ครั้งก่อน
เพราะข้อมูลมีเพิ่มก็ต้องปรับให้ทันกับยุคสมัยเพิ่มนั่นเอง

สรุปอีกครั้งว่า ดิฉันเข้าไม่ถึงวิธีการเรียงลำดับความคิดของคุณ
เช่นว่าจะพูดถึงประวัติศาสตร์หรือเศรษฐศาสตร์ปัจจุบันกันแน่  
อันที่จริงการเขียนตำราทั้ง ๒ แบบมันก็ไม่เหมือนกันอยู่แล้ว
เพราะฉะนั้นจึงขออภัยอีกครั้งว่า ถ้าดิฉันยังทำความเข้าใจกับวิธีการเขียนของคุณไม่ได้  ดิฉันจะไม่ตอบนะคะ  
เพราะมันอาจจะไปคนละทางกับที่คุณตั้งใจถามก็เป็นได้
บันทึกการเข้า
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 29 เม.ย. 02, 19:17

 ข้อมูลไม่เพียงพอ เลยวิจารณ์หรือให้ความเห็นเพิ่มเติมไม่ได้ครับ

แต่ฟังดูเหมือนกับว่าแนวคิดนี้เป็นแนวคิดใหม่ ตั้งแต่คิดขึ้นมาได้มีการใช้ในทางปฏิบัติแล้วในประวัติศาสตร์ไทยหรือไม่ ก็ไม่ทราบ ผมเข้าใจว่ายังไม่เคยเลย ยังเป็นแต่แนวความคิดในสมองท่านผู้คิด (ซึ่งเป็นใครผมก้ไม่รู้) เท่านั้นยังไม่ได้มีการนำมาปฏิบัติ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 29 เม.ย. 02, 19:39

 เข้าใจว่าคนเขียนคือนายปรีดี พนมยงค์ค่ะ   คุณนิลกังขา
ถ้าเป็นเช่นนั้นก็เป็นเพียงการเสนอหลักการ   ยังไม่เคยมีการปฏิบัติในสังคมไทยตามเจตนารมณ์ของผู้เขียน

ยังสงสัยการสร้างศัพท์ siammarch  
arch ที่ลงท้ายคำ มีความหมายว่า ผู้ปกครอง  เช่น monarch ผู้ปกครองคนเดียว หมายถึงกษัตริย์
Siamarch ผู้ปกครองคือสยาม
สงสัยว่า ทำไมไม่ใช่ Siamarch  แต่เป็น Siammarch
Siam+march = สยามเดิน?

หลักการทั้งหมด เน้นที่ความแตกต่างจากระบอบคอมมิวนิสม์   กล่าวรวมในสภาพของสังคมใหม่  มีทั้งเศรษฐกิจและวัฒนธรรม
ยังไม่ได้คิดไปถึงขั้นว่าดีหรือไม่  แต่เกิดคำถามขึ้นมาเมื่ออ่าน

น่าสังเกตว่าไม่มีการอนุญาตให้ประชาชนมีบทบาทในการปกครอง  แต่อนุญาตให้แสดงความคิดเห็นได้    ส่วนคิดเห็นแล้วรัฐบาลจะฟังหรือไม่ มากน้อยแค่ไหน  ไม่ได้ระบุไว้  
และการแสดงความคิดเห็นจะทำในรูปแบบอย่างไร เช่นผ่านระบบผู้แทน หรือว่าโหวตลงคะแนน ก็ไม่ได้บอกรายละเอียดไว้เช่นกัน
แต่มีการบอกรายละเอียดในเรื่องอื่นที่ไม่เกี่ยวกับการปกครอง เช่นพิธีโล้ชิงช้าว่าไม่สมควรทำ

ข้อ ๕  ทำไมถึงถือว่าสยามมารคเป็นศาสนา?

ข้อ ๖  อ่านแล้วเกิดเครื่องหมายคำถาม ถึงความสำคัญของหน่วยงานนี้จนต้องใส่ไว้ ๑ ข้อเต็ม
คำถามคือ ใครคือศัตรู  เป็นศัตรูของรัฐบาลหรือว่าของประชาชน?

น่าจะเป็นร่างความคิดย่อๆมากกว่านะคะ  ไม่ใช่ฉบับเต็ม
และคงไม่เกี่ยวกับว่าในสมัยก่อน ไทยเคยปกครองโดยระบบสยามมารคจริงหรือไม่  เพราะเนื้อหาสั้นเกินกว่าจะตัดสินได้ และยังไม่เคยนำมาปฏิบัติอีกด้วย
บันทึกการเข้า
จดิษฐ์ มหันปรเมตรพงษ์
อสุรผัด
*
ตอบ: 44


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 29 เม.ย. 02, 23:42

 อันที่จริง ผมได้ตั้งใจที่จะใช้คำ"ระบบ" สำหรับแนวความคิดดังกล่าวข้างต้น เนื่อมาจากคำ"ระบอบ"นั้นคือการปกครองจริงที่ประเทศที่ประกาศใช้ยอมรับและตราขึ้นเป็นกฎหมาย แต่ในข้อเท็จจริงอาจจะมิได้ปกครองในระบอบนั้นจริงก็ได้ ดังเช่นประเทศกลุ่มคอมมิวนิสต์ที่ใช้ชื่อประเทศของตนว่าประชาธิบไตย แต่การปกครองจริงกลับกลายเป็นคอมมิวนิสต์หรือเผด็จการ เช่นอินโดนีเซียที่ระบุว่า ประเทศของตนเป็นประชาธิปไตย แต่การกระทำที่แท้จริงเป็นประชาธิปไตยแบบชี้นำ ซึ่งก็คือเผด็จการนั่นเอง ดังนั้นเนื้อความข้างต้นนั้นจึงเป็นระบบหนึ่งที่ได้มีการนำมาใช้ในการปกครองของไทย สังเกตได้จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เป็นเช่นที่กล่าวไว้ในเนื้อหาของหลักการสยามมารคจริง บางประการ (ผมได้แสดงความคิดในเรื่องนี้ไปแล้วในความคิดเห็นที่ 3)

สำหรับที่คุณเทาชมพูได้ถามมานั้น ผมขอเรียนว่า หลักการนี้ได้มีการประกาศใช้ เนื่องในยุคสมัยที่นายปรีดีมีอำนาจ ดังนั้นผมจึงใช้คำว่า"เนื่องด้วย" แต่จะให้เจะาจงลงไปนั้น ผมมิสามารถกระทำได้เท่าที่มีข้อมูลอยู่สามารถตอบได้เพียงเท่านี้ แต่อย่างไรเนื้อความทุกประการของหลักการสยามมารคก็ได้ระบุไว้ถึง คอมมิวนิสต์ ในทำนองว่าหลักการนี้จะแตกต่างจากคอมมิวนิสต์โดยสิ้นเชิง ซึ่งนี้เองที่สามารถสันนิษฐานได้ว่า มีโอกาศมากที่จะเนื่องด้วยนายปรีดี เพราะเหตุที่ว่านายปรีดีเองมีเรื่องราวอยู่แต่เดิมที่เกี่ยวข้องกับการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ หลักการนี้จึงเป็นไปได้ว่า มีขึ้นเพื่อลบล้างเบื้องหลังเดิมของเขา (การกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ของนายปรีดีนี้ บางท่านอาจกล่าวว่าเป็นความจริง บางท่านอาจกล่าวว่าเป็นเรื่องที่ถูกกล่าวหา ทั้งนี้ก็แล้วแต่หารพิจารณาหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของแต่ละท่าน) และในส่วนทึคุณเทาชมพุกล่าวถึงในเรื่อง ยุคโสเครตีสนั้น คงเป็นไปมิได้อยู่แล้วด้วยสติสัมปชัญญะของผม เพราะสยาม ณ เวลานั้นคงจะเป็นวุ้นอยู่กระมัง ราชอาณาจักรสยามยังมิได้ก่อร่างสร้างประเทศขึ้นแน่นอน



ในเรื่องที่คุณเทาชมพู กล่าวว่าผมมิได้แสดงความคิดเห็นในกระทู้ ตรงตามที่ตั้งชื่อไว้ ผมของเรียนว่า แท้ที่จริงแล้วกระทู้นี้สืบเนื่องจากเนื้อหาบางประการในกระทู้เก่าของกระดานเสวนาแห่งนี้ ซึ่งผมค้างคาใจอยู่มาก ดังนั้นเมื่อเหมาะสมด้วยโอกาศที่จะกล่าวพาดพิงถึงเรื่องราวเดิมได้ ผมจึงขอแสดงความคิดเห็นก่อน และจึงได้นำเนื่อหาตามชื่อกระทู้มาลงไว้ข้างท้ายขอให้คุณเทาชมพูกรุณาย้อนกลับไปดูอีกครั้งนะครับ

และเรื่องที่คุณเทาชมพูถามมาเป็นเรื่องสุดท้ายว่า ผมมีความประสงคืเช่นไรแน่ในการตั้งกระทู้นี้ (จะเป็นเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ หรือเรื่องราวทางเศรษฐศาสตร์) ผมขอเรียนว่าถ้าจะมองกันจริงๆแล้วทุกสิ่งในโลกล้วนมีประวัติศาสตร์แทบทั้งสิ้น เศรษฐศาสตร์เองก็มีประวัติความเป็นมา ดังนั้นถ้าเราจะโยงเนื้อหาของแต่ละวิชาเข้าด้วยกัน โดยนำวิชาประวัติศาสตร์มาเป็นแกนนั้น มิใช่เรื่องยากที่จะกระทำ อย่างไรก็ตามสาเหตุที่ผมยกตัวอย่างเรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงนั้น ก็เพื่อเปรีบยเทีบยข้อความที่ผมกล่าวอ้างไว้เท่านั้น มิได้มีความประสงค์แต่อย่างใดที่จะเปลี่ยนประเด็นไป

อย่างไรก็ตาม การแสดงความคิดเห้นข้างต้นของผมนั้นอาจจะเป็นเนื้อความที่ยืดยาวเสียมาก จึงขอสรุปรวบยอดอีกครั้ง เพื่อที่จะมิทำให้ท่านอื่นที่กรุณาเข้ามาแสดงความคิดเห็น สับสนในการเรียงลำดับความเห็นของผม ดังนี้
1.ย่อหน้าแรก ผมต้องการจะกล่าวถึง สาเหตุและผู้มีส่วนร่วม(แรงผลักดันที่ทำให้มีการเขียนหลักการนี้)
2.ย่อหน้าที่ 2 ผมต้องการแสดงความคิดเห้นส่วนตัว สืยเนื่องมาจากกระทู้เก่าของกระดานเสวนาเรือนไทย
3.ย่อหน้าต่อมา จนกระทั่งสุดท้าน เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับหลักการดังกล่าว

อนึ่งผมขอน้อมรับ ความคิดเห็นของคุณว่าที่ร้อยตรีนกข.   อันที่จริงเนื้อหาของหลักการสยามมารคที่ยกมานี้ก็น้อยไปมาก เกินกว่าที่จะตัดสินสิ่งใดได้อย่างแจ่มแจ้งนัก อย่างไรก็ตามเนื่อหาของหลักการนี้จะมีการนำมาตีพิมพ์ในไม่ช้า ท่านที่สนใจสามารถติดตามอ่านฉบับสมบูรณ์ได้แน่นอนครับ
บันทึกการเข้า
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 30 เม.ย. 02, 00:51

 ก็เห็นจะต้องรออ่านฉบับเต็มครับ
ถ้าเป็นความคิดคุณปรีดี หรือ "เนื่องมาแต่" ท่านปรีดี (ฮืม??) ก็ยังงงๆ อยู่ว่า แล้วไปเกี่ยวกับการปกครองสมัยคุณสฤษฎิ์และจอมพลท่านอื่นๆ ตรงไหน เพราะนายทหารเหล่านั้นเห็นจะไม่ได้รับความคิดท่านปรีดีสักเท่าไร เกือบเรียกได้ว่าอยู่คนละขั้วด้วยซ้ำกับคุณปรีดี มีแต่ท่านจอมพล ป. เท่านั้นกระมังที่มีความสัมพันธ์เคยก่อการร่วมกันมา แต่จะว่าจอมพล.ป. รับความคิดท่านปรีดีมานั้น ก็ไม่น่าเป็นไปได้อีก

ดังนั้นผมจึงไม่เห็นความเกี่ยวข้องระหว่างอะไรที่เรียกว่า สยามมารค นี่ กับประวัติศาสตร์ช่วงหนึ่งในอดีตที่ไทยเรามีทหารครองเมืองครับ และผมไม่เชื่อว่านายทหารเหล่านั้นถ้าท่านยังมีชีวิตอยู่กัน จะตอบได้ด้วย น่าจะงงๆ เหมือนผมเหมือนกัน

งงๆ และจนปัญญาครับ ต่อไม่ถูก ส่วนถ้าเรื่องในกระทู้โน้น ขออภัยที่จะต้องให้คุณจดิษฐ์ค้างคาต่อไปครับ เพราะผมคิดว่าได้อธิบายชัดแล้ว จนปัญญาจะอธิบายต่อเหมือนกัน ที่จริง กระทู้เก่านั้นตั้งใจพูดถึงแวร์ซายล์เป็นหลัก ไม่ได้ตั้งใจพูดถึงระบบระบอบการปกครองไหน แต่มีช่วงหนึ่งผมเรียกการเมืองไทยในช่วงเผด็จการทหารว่า ระบอบทหาร - military regime กล่าวถึงผ่านๆ เท่านั้นเองไม่ใช่เรื่องหลักของกระทู้ ก็มีคนที่ติดใจมาก ค้างคาใจมากไม่เลิกเหมือนกัน อธิบายเท่าไรก็ดูเหมือนไม่เข้าใจ จนถึงขั้นต้องปิดกระทู้แหละครับ ใครอยากอ่านก็เชิญได้

ถ้าว่าตามหัวข้อกระทู้ ผมก็ยังเห็นอยู่ดีว่าการเมืองไทยช่วงนั้นคงต้องเรียกว่าเป็นช่วงที่เป็นเผด็จการทหาร ถ้าไม่อยากใช้คำว่าระบอบทหาร (ซึ่งไม่ทราบว่าทำไมจึงมีบางคนรังเกียจคำนี้นัก) ทั้งเผด็จการทหารและระบอบทหารก็เป็นคำง่ายๆ อ่านแล้ว (ผม) เข้าใจ แต่คำว่าสยามมารคที่เสนอจะเอามาเรียกนั้น (เสนอหรือเปล่าก้ไม่แน่ใจ อ่านแล้วคิดว่าเจ้าของกระทู้เสนออย่างนั้น) อย่างน้อยผมคนหนึ่งที่ไม่เข้าใจครับ

ขออภัยที่ต้องยุติการสนทนาเพียงนี้ เพราะผมยังฟังคุณจดิษฐ์พูดไม่ค่อยรู้เรื่อง เอาไว้เมื่อไหร่ที่ผมอ่านกระทู้รู้เรื่องและมีความเห็นหรือข้อมูลเพิ่มเติม ผมก็อาจจะเข้ามาคุยนะครับ
บันทึกการเข้า
สร้อยสน
ชมพูพาน
***
ตอบ: 143

ลูกจ้าง รัฐวิสาหกิจ


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 30 เม.ย. 02, 08:07

 ดิฉันเกิดและเติบโตในช่วง การปกครองระบบทหาร ไม่เคยรู้สึกว่าเป็นระบอบใหม่อะไรดังชื่อที่กล่าวข้างบนนะคะ เพียงแต่ขำกันทุกทีที่ระบุว่า ประเทศเรามีการเลือกตั้งทุกๆสี่ปี แต่ตลอดเวลาก่อน สิบสี่ ตุลา รู้สึกจะมีการเลือกตั้งครั้งเดียว

แต่ละท่านที่เป็นใหญ่ขณะนั้น ก้คงไม่คิดว่าเป็นการปกครองระบบใหม่อะไรหรอกค่ะ ยังไงปากก้บอกว่าเป็นประชาธิปไตย จะให้มีการเลือกตั้ง แต่รอไปก่อนนะ ขอดูแลให้เรียบร้อย ก่อน
ไม่ทราบจะออกความเห็นตรงกระทู้ไหม แต่คิดว่าไม่มีอะไรใหม่เลย สำหรับการปกครองที่กระพร่องกระแพร่งหลัง๒๕๗๕ ให้วางทฤษฎีที่สวยงามอย่างไร คนที่มีอำนาจในมือ ก็ไม่เคยจริงใจกับประชาชนอย่างแท้จริงเลยแม้แต่บางท่านที่ได้รับการยกย่องอย่างสูงขณะนี้
ดิฉันไม่เคยคิดว่าอัศวินม้าขาวจะมีจริงเลย แต่สิ่งที่ทำให้ภูมิใจกับประเทศของเราจนวันนี้ก็คือองค์พระประมุขที่แสนประเสริฐนี่แหละค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 30 เม.ย. 02, 09:14

 "และในส่วนทึคุณเทาชมพุกล่าวถึงในเรื่อง ยุคโสเครตีสนั้น คงเป็นไปมิได้อยู่แล้วด้วยสติสัมปชัญญะของผม เพราะสยาม ณ เวลานั้นคงจะเป็นวุ้นอยู่กระมัง ราชอาณาจักรสยามยังมิได้ก่อร่างสร้างประเทศขึ้นแน่นอน "

ข้อนี้ทำให้ดูตัวเองออกว่า ดิฉันเป็นคนที่ถามไม่ตรงคำตอบ    สุดปัญญาจะอธิบายได้ว่าถามอะไร   ขออ่านเฉยๆดีกว่านะคะ
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 30 เม.ย. 02, 19:44

 เข้าใจว่าคุณจดิษฐ์จะอ่านมาจากห้องสมุด pantip.com กระทู้นี้

 http://pantip.inet.co.th/cafe/library/topic/K1462994/K1462994.html

คุณสยามมารคผู้เขียนบทความนี้ได้เขียนเอาไว้ในความคิดเห็นด้านล่างว่าเป็นความคิดของเขาเอง

ซึ่งถ้าพิจารณาแล้ว ก็ไม่น่าแปลกใจครับ เพราะเนื้อหาของ"ลัทธิการปกครองที่ว่า" ดูจะเป็นแค่ "ลัทธิ" จริงๆ เพราะยังขาดรายละเอียดและความสมเหตุสมผลอยู่มาก แต่คงไม่ต้องคิดมากครับ เพราะน้อง "สยามมารค" นั้นยังเป็นนักเรียน ม.6 อยู่เลย(ผมเคยอ่านพบจากกระทู้อื่น) ยังมีเวลาเรียนรู้อีกมาก

งานนี้สงสัยโดนเด็กหลอกมา ยิ้ม
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 30 เม.ย. 02, 20:16

 เด็กคนนี้เก่งค่ะ
บันทึกการเข้า
จดิษฐ์ มหันปรเมตรพงษ์
อสุรผัด
*
ตอบ: 44


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 30 เม.ย. 02, 21:32

 ถ้าเช่นนั้นจริงก็คงจะเป็นความสะเพร่าของผมเอง แต่ที่แน่ๆคือการถามไม่ตรงคำตอบ และการตอบไม่ตรงคำถามนั้นคนละเรื่องกัน จะเป็นเช่นไรแน่ ก็คงจะต้องแล้วแต่ความคิดอ่านของบุคคลผู้นั้นเอง คือจะโยงให้ความคิดเห็นนั้นเป็นไปในทิศทางใด ที่ผมตอบเช่นนั้นก็มาจากคำถามที่คนละเรื่องกับข้อความตั้งกระทู้ กระทู้กล่าวอยู่แล้วว่าสยามแต่มีการโยงถึงยุคโสเครตีสก็ไม่ทราบว่าจะตอบให้ตรงคำถามเช่นใดดี

ผมคงจะเป็นผู้ใหญ่ที่ถูกเด็กหลอก และผู้ใหญ่ที่มีผู้ใหญ่อุทธรณ์ว่าตนเป็นผู้ถามไม่ตรงคำตอบ ผมคงจะเป็นบุคคลผู้ขาดสติ ถึงขั้นไม่เหมาะสมเข้าร่วมเสวนา ณ สถานที่แห่งนี้แล้วกระมัง
บันทึกการเข้า
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 01 พ.ค. 02, 03:23

 ครับคุณจมื่น ขออภัยเรียกผิด
ครับผม คุณจดิษฐ์
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.072 วินาที กับ 21 คำสั่ง