เรือนไทย

General Category => ประวัติศาสตร์ไทย => ข้อความที่เริ่มโดย: samson ที่ 25 มิ.ย. 11, 15:06



กระทู้: '' นครนายก '' ....... ชื่อนี้มีที่มา ????
เริ่มกระทู้โดย: samson ที่ 25 มิ.ย. 11, 15:06
มีใครพอจะทราบประวัติความเป็นมาของเมืองนครนายกบ้างไหมครับ ว่ามีที่มา มีชื่อนี้ได้อย่างไร พอดีมีคนรู้จักคนหนึ่ง พ่อแม่เป็นเจ้าของมหาลัยเอกชนมีชื่อแห่งหนึ่ง ทราบเพียงคร่าวๆว่าร่ำรวยด้วยมีสมบัติเก่าเยอะ และมีที่ดินที่จังหวัดนครนายกเยอะมาก เค้าเล่าให้ฟังว่าตระกูลเค้า (ไม่แน่ใจว่าฝั่งพ่อหรือแม่)เป็นตระกูลเก่า นัยว่าเคยได้ปกครองแถบนี้มาก่อน ถึงขั้นว่าที่มาของชื่อจังหวัดนี้ก็มาจากต้นตระกูลของเค้า อันนี้ผมก็ฟังหูไว้หู  จริงเท็จยังไง มีใครพอจะทราบประวัติบ้างมั้ยครับ  :D


กระทู้: '' นครนายก '' ....... ชื่อนี้มีที่มา ????
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 25 มิ.ย. 11, 16:11
เท่าที่ฟังเขาเล่ามาเหมือนกัน ก็ว่าสมัยก่อนพื้นที่แถบนี้แห้งแล้งมาก ขนาดว่าทำนาไม่ได้ผลผลิตพอที่จะต้องเสียภาษีค่านา จนรัฐส่วนกลางต้องยกเว้นไม่เก็บภาษีค่านา

นายก ก็หมายถึงยกเว้นไม่เก็บภาษี ไม่ใช่แหล่งผลิตผู้นำคณะรัฐบาลอย่างที่บางคนชอบนำมาหาเสียง

ฟังหูไว้หูเช่นกัน


กระทู้: '' นครนายก '' ....... ชื่อนี้มีที่มา ????
เริ่มกระทู้โดย: bangplama ที่ 26 มิ.ย. 11, 11:59
"ที่มาของชื่อ
ที่มาของชื่อนครนายกนั้นไม่ชัดเจนทางประวัติศาสตร์ แนวคิดหลักของที่มาของชื่อมีดังนี้

จังหวัดนครนายกเดิมชื่อบ้านนาแต่ภายหลังได้เปลี่ยนชื่อเป็นจังหวัดนครนายก ในสมัยกรุงศรีอยุธยาดินแดนของนครนายกเป็นป่ารกชัฏ เป็นที่ดอนทำนา หรือทำการเพาะปลูกอะไรไม่ค่อยได้ผล มีไข้ป่าชุกชุมผู้คนจึงพากันอพยพไปอยู่ที่อื่นจนกลายเป็นเมืองร้าง ต่อมาพระมหากษัตริย์ทรงทราบความเดือดร้อนของชาวเมืองจึงโปรดให้ยกเลิกภาษีค่านา เพื่อจูงใจให้ชาวเมืองอยู่ที่เดิมทำให้มีคนอพยพมาอยู่เพิ่มมากขึ้นจนเป็นชุมชนใหญ่ และเรียกเมืองนี้จนติดปากว่า เมืองนา-ยก ภายหลังจึงกลายเป็นนครนายกจนทุกวันนี้ [ต้องการอ้างอิง]
สมัยก่อนรัชการที่ 5 การปกครองส่วนภูมิภาคถูกแบ่งเป็นสมุหนายกและสมุหกลาโหม โดยสมุหกลาโหมปกครองทั้งฝ่ายพลเรือนและทหารในหัวเมืองด้านใต้ และสมุหนายกปกครองทั้งฝ่ายพลเรือนและทหารในหัวเมืองด้านเหนือ พื้นที่เดิมของจังหวัดนครานายกนั้นเป็พื้นที่ที่เคยอยู่สังกัดกับสมุหกลาโหมแต่ถายหลังถูกโอนให้อยู่ภายใต้การดูแลของสมุหนายก พื้นที่ตรงนี้จึงได้ชื่อว่านครนายกนับแต่นั้นเป็นต้นมา [ต้องการอ้างอิง] "
จากวิกิพีเดีย


กระทู้: '' นครนายก '' ....... ชื่อนี้มีที่มา ????
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 26 มิ.ย. 11, 12:17
เมืองนครนายกนั้นไม่ได้เกิดขึ้นในสมัยอยุธยา แต่เป็นเมืองที่มีมาแล้วก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยา พ.ศ. ๑๘๙๓ ไม่อาจระบุอายุได้ชัดเจนว่าเมื่อใด พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยูหัวทรงเชื่อว่า นครนายกเป็นชื่อเมืองที่เขมรตั้งสำหรับบ้านนา โดยทรงเห็นว่า เมืองทางตะวันออกเป็นเมืองที่ไทยกับเขมรสลับกันมีอำนาจปกครอง ทำให้ชื่อเมืองมีชื่อเขมรบ้าง ไทยบ้าง ทรงระบุว่า ชื่อนครนายกเป็นคำมาจากภาษาสันสกฤต เขมรตั้งจากชื่อบ้านนา เช่นเดียวกับที่เขมรตั้งบางคางเป็นประจิม (ปราจีน) และแปดริ้วเป็นเมืองฉะเชิงเทรา

หากพระราชดำริถูกต้อง ย่อมหมายถึงว่าบ้านนาคือนครนายก นครนายกคือบ้านนา แต่ปัญหาที่ตามมาก็คือ ปัจจุบันบ้านนาและตัวเมืองนครนายกเดิมนั้น อยู่ห่างกันราว ๑๘ กิโลเมตร อาจเป็นไปได้ว่า ชุมชนที่ท่านํ้านครนายกได้ขยายตัวใหญ่ขึ้น จึงได้มีการย้ายชุมชนจากบ้านนามาตั้งเป็นเมืองอยู่ที่ท่านํ้าแล้วให้ชื่อว่า นครนายก โดยตั้งอิงชื่อเดิม หรือตามที่เขมรเรียก แต่หลังจากย้ายมาแล้ว ชุมชนที่บ้านนามิได้ร้างลาไป หรือร้างลาไปแล้วอาจมีการฟื้นตัวขึ้นใหม่ เพราะบ้านนานั้นมีพื้นที่เหมาะสมในการทำนา เนื่องจากเป็นที่ลุ่มและมีลำคลองต่าง ๆ ไหลผ่าน และเป็นดินแดนเหมาะสมในการคล้องช้าง อีกทั้งยังเป็นเส้นทางผ่านไปมาระหว่างภาคตะวันออก รวมถึงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และเมืองในภาคกลางอื่น ๆ โดยเฉพาะระหว่างกรุงศรีอยุธยาและหัวเมืองตะวันออก

จาก บทความเรื่อง นครนายก: ชุมชนเกษตรกรรมและเมืองนครนายก ของ พ.ต. ศรศักร ชูสวัสดิ์ กองวิชาประวัติศาสตร์ ส่วนการศึกษา โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า  (http://www.crma.ac.th/histdept/e_texts/articles/histnayok1.pdf)


กระทู้: '' นครนายก '' ....... ชื่อนี้มีที่มา ????
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 26 มิ.ย. 11, 12:26
ขณะนี้ที่มาของชื่อนครนายกมีอยู่ ๔ ทาง ดังที่ได้กล่าวไว้บ้างแล้วในความคิดเห็นต้น ๆ คือ
 
๑. การยกค่านา  มีคำบอกเล่าสืบต่อกันมาว่า ชื่อเมืองนครนายกมาจากนโยบายของพระเจ้าแผ่นดินในอดีต ที่ทรงสนับสนุนให้ราษฎรเข้ามาหักร้างถางพง บริเวณที่รกร้างว่างเปล่า แล้วโปรดเกล้า ฯ ให้ยกเว้นการเก็บอากรค่านา จึงเรียกเมืองนี้ว่า เมืองนายก ภายหลังเปลี่ยนเป็น นครนายก

๒. สมุหนายก เนื่องจากในสมัยอยุธยา เมืองนี้อยู่ในการควบคุมของสมุหนายก
                     
๓. บ้านนา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริว่า เป็นชื่อที่เขมรตั้งสำหรับบ้านนา และยังทรงมีพระราชกระแสว่า ชื่อนครนายกเป็นคำมาจากภาษาสันสกฤต

และ

๔. คำขอมโบราณว่า โกระยก หมายถึง แผ่นดินที่หาเอามา เมื่อนานเข้าคำดังกล่าวได้เพี้ยนเป็นนครนายก

 ;D


กระทู้: '' นครนายก '' ....... ชื่อนี้มีที่มา ????
เริ่มกระทู้โดย: bangplama ที่ 30 มิ.ย. 11, 14:02
มีอะไรที่ยกได้บ้าง ที่เอา ยกมาเป็นคำประสม(คำประสม  น. คําที่เกิดจากการนําคํามูลที่เกิดอิสระได้ตั้งแต่ ๒ คําขึ้นไปมา
ประสมกันแล้วกลายเป็นคําใหม่ที่มีความหมายใหม่ขึ้นมาอีกคําหนึ่ง เช่น ลูกเสือ ลูกน้ำ แขกยาม เครื่องใน ไฟฟ้า.)
 
เท่าที่นึกได้
๑. ละคร ยก
๒. ผ้า ยก
๓.
  ...


กระทู้: '' นครนายก '' ....... ชื่อนี้มีที่มา ????
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 30 มิ.ย. 11, 14:38
มีอะไรที่ยกได้บ้าง ที่เอา ยกมาเป็นคำประสม(คำประสม  น. คําที่เกิดจากการนําคํามูลที่เกิดอิสระได้ตั้งแต่ ๒ คําขึ้นไปมา
ประสมกันแล้วกลายเป็นคําใหม่ที่มีความหมายใหม่ขึ้นมาอีกคําหนึ่ง เช่น ลูกเสือ ลูกน้ำ แขกยาม เครื่องใน ไฟฟ้า.)
 
เท่าที่นึกได้
๑. ละคร ยก
๒. ผ้า ยก
๓.
  ...

แล้ว "วัดปรินายก"  ???


กระทู้: '' นครนายก '' ....... ชื่อนี้มีที่มา ????
เริ่มกระทู้โดย: bangplama ที่ 30 มิ.ย. 11, 15:04
ปริณายก [ปะ-] น. ผู้นําบริวาร, หัวหน้า, ผู้เป็นใหญ่. (ส.; ป. ปรินายก).
 
 


กระทู้: '' นครนายก '' ....... ชื่อนี้มีที่มา ????
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 30 มิ.ย. 11, 15:07
 แม่ ยก .. ;D


กระทู้: '' นครนายก '' ....... ชื่อนี้มีที่มา ????
เริ่มกระทู้โดย: bangplama ที่ 30 มิ.ย. 11, 15:16
ยังมีวัดโพธิ์นายกด้วย
นายก[นายก] น. ผู้นํา, ผู้เป็นหัวหน้า, เช่น นายกราชบัณฑิตยสถาน นายกสมาคม นายกสโมสร. (ป., ส.).
นายกคำนี้ไม่ใช่คำประสม
ที่กำลังหาคำประสมแบบเดียวกันนี้อยู่ก็เพื่อจะหาร่องรอยที่จะเทียบเคียงกับการเกิดคำว่า นา-ยก ที่แปลว่ายกอากรค่านา


กระทู้: '' นครนายก '' ....... ชื่อนี้มีที่มา ????
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 30 มิ.ย. 11, 15:20
ช่วยคุณบางปลาม้ากู้ความ

;D


กระทู้: '' นครนายก '' ....... ชื่อนี้มีที่มา ????
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 30 มิ.ย. 11, 15:45
ยกบัตร
คุณหลวงยกบัตร .....

เกี่ยวกับ ยกเว้นการเก็บอากรค่านา ป่ะ... ;D


กระทู้: '' นครนายก '' ....... ชื่อนี้มีที่มา ????
เริ่มกระทู้โดย: bangplama ที่ 30 มิ.ย. 11, 19:54
ช่วยคุณบางปลาม้ากู้ความ

;D
ขอบคุณมากครับ คุณเพ็ญชมพู
ถ้าผมจะกู้สักล้าน จะเมตตาช่วยผมหรือไม่ครับ?
(พิมพ์ตั้ง๒ครั้ง ก็ยังเหลือแค่นั้น)


กระทู้: '' นครนายก '' ....... ชื่อนี้มีที่มา ????
เริ่มกระทู้โดย: bangplama ที่ 30 มิ.ย. 11, 19:57
ยกบัตร
คุณหลวงยกบัตร .....

เกี่ยวกับ ยกเว้นการเก็บอากรค่านา ป่ะ... ;D

ผมก็สนใจคำนี้มากที่สุดเช่นกัน


กระทู้: '' นครนายก '' ....... ชื่อนี้มีที่มา ????
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 30 มิ.ย. 11, 21:19
มีอะไรที่ยกได้บ้าง ที่เอา ยกมาเป็นคำประสม(คำประสม  น. คําที่เกิดจากการนําคํามูลที่เกิดอิสระได้ตั้งแต่ ๒ คําขึ้นไปมา
ประสมกันแล้วกลายเป็นคําใหม่ที่มีความหมายใหม่ขึ้นมาอีกคําหนึ่ง เช่น ลูกเสือ ลูกน้ำ แขกยาม เครื่องใน ไฟฟ้า.)
 
เท่าที่นึกได้
๑. ละคร ยก
๒. ผ้า ยก
๓.
  ...

แล้ว "วัดปรินายก"  ???

รัตนะทั้งเจ็ดของพระเจ้าจักรพรรดิราช
1. จักกรัตนะ (จักรแก้ว)
2. อิตถิรัตนะ (นางแก้ว)
3. มณีรัตนะ (ดวงแก้ว)
4. ปรินายกรัตนะ (ขุนพลแก้ว)
5. คหปติรัตนะ (ขุนคลังแก้ว)
6. หัตถิรัตนะ (ช้างแก้ว)
7. อัสสะรัตนะ (ม้าแก้ว)

วัดปรินายก สร้างขึ้นโดยเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ขุนพลแก้วของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 3
วัดคฤหบดี สร้างขึ้นโดยพระยาราชมนตรี (ภู่ ภมรมนตรี) ขุนคลังแก้วของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 3


กระทู้: '' นครนายก '' ....... ชื่อนี้มีที่มา ????
เริ่มกระทู้โดย: bangplama ที่ 01 ก.ค. 11, 07:54
แม่ ยก .. ;D

หลัง๓ก.ค.อาจมี พ่อ ยก ;D


กระทู้: '' นครนายก '' ....... ชื่อนี้มีที่มา ????
เริ่มกระทู้โดย: bangplama ที่ 05 ก.ค. 11, 11:21
น่าสงสารนครนายกที่จะถูกเบียดตกขอบ
เลยขอมากอบกู้กระทู้ไว้สักสัปดาห์
ถ้าหาประเด็นใหม่ๆไม่ได้ก็คงปล่อยไปตามระเบียบครับ


กระทู้: '' นครนายก '' ....... ชื่อนี้มีที่มา ????
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 05 ก.ค. 11, 11:55
มาต่ออายุให้กระทู้อีกคนค่ะ

ยกบัตร
คุณหลวงยกบัตร .....

เกี่ยวกับ ยกเว้นการเก็บอากรค่านา ป่ะ... ;D

ขออ้างรอยอินตามเคย

ยกกระบัตร   (โบ) น. ตำแหน่งข้าราชการสังกัดกระทรวงวัง มีหน้าที่ออกไปประจำอยู่ตามหัวเมืองเพื่อสอดส่องอรรถคดี; ตำแหน่งเจ้าพนักงานเกี่ยวกับ อรรถคดีตรงกับ พนักงานอัยการ หรือ อัยการ ในปัจจุบัน, ยกบัตร หรือ พนักงานรักษาพระอัยการ ก็เรียก; เจ้าหน้าที่ในการจัดหาเครื่องใช้ของทหาร; เขียนเป็น ยุกกระบัตร ก็มี.

ถ้าเขียนเป็น ยุกกระบัตร ได้  คำว่ายก ในที่นี้คงไม่ได้แปลว่า เว้น?


กระทู้: '' นครนายก '' ....... ชื่อนี้มีที่มา ????
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 05 ก.ค. 11, 11:59
ศาสตราจารย์ นพ. วิจารณ์ พานิช เขียนในเรื่อง ยุกระบัตร / ยกระบัตร / ยกกระบัตร (http://gotoknow.org/blog/thaikm/155814) ไว้ว่า

คำว่า ยุกระบัตร นั้นในพระไอยการอาชญาหลวงเขียนว่า ยุกรบัตร ซึ่งควรถือว่า เป็นคำที่เก่าที่สุดและถูกต้องที่สุด พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร ทรงสันนิษฐานไว้ทางหนึ่งว่า คำว่า ยุกฺต ใช้เรียกข้าราชการชั้นอาลักษณ์ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช แต่ตำแหน่งดังกล่าวไม่ได้มีความสำคัญเหมือนตำแหน่งยุกระบัตรของไทย คำว่า ยุกฺต ในภาษาอังกฤษแปลได้หลายความหมาย รวมทั้ง “ถูกต้อง, เหมาะสม, สมควร, อันพิสูจน์แล้ว” (right, fit, proper, proved) ตรงกับคำบาลีว่า ยุตฺต แปลว่า อันควร, สมควร ดังปรากฎความในพระธรรมศาสตร์ว่า “ยุตฺตายุตฺตชานโก” ซึ่งโบราณาจารย์แปลว่า “มีปกติรู้ซึ่งลักษณะอันควรแลมิได้ควร” ข้อความนี้สำคัญเพราะตรงกับหน้าที่หลักของยุกระบัตรในเรื่องของการวินิจฉัยข้อกฎหมายและการตัดสสินความว่า สิ่งใดควรสิ่งใดไม่ควร  ส่วนคำว่า บัตร นั้นเพี้ยนมาจากคำว่า “บาตร” แปลว่า “ที่ปรึกษา, อมาตย์ของพระเจ้าแผ่นดิน” (king’s counseller or minister) โดยอนุโลมหมายถึง ข้าราชการของพระเจ้าอยู่หัว คำว่า ยุกฺต + บาตร จึงมีนัยได้ทั้งคุณสมบัติและหน้าที่ กล่าวคือ ๑ ข้าราชการของพระเจ้าอยู่หัวผู้มีคุณสมบัติเหมาะสม และ ๒ เป็นข้าราชการผู้พิจารณาว่า สิ่งใดควรและสิ่งใดไม่ควร

 ;D


กระทู้: '' นครนายก '' ....... ชื่อนี้มีที่มา ????
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 05 ก.ค. 11, 14:52
^ ตามที่คุณหมอวิจารณ์  พานิช เขียนถึงที่มาของคำว่า ยุกรบัตร
โดยอ้างพระดำริของพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ นั้น
น่ารับฟังอยู่  แต่...

ตามการสันนิษฐานที่ว่า ยุกรบัตร มาจาก คำว่า ยุกฺต + บาตร
ลำพังฟังจากข้อสันนิษฐานอาจจะเป็นไปได้  แต่ก็ไม่พบว่า
มีหลักฐานอะไรที่แสดงให้เห็นว่า  ในดินแดนแถบนี้เคยใช้คำว่า ยุกฺต + บาตร
(ยุกฺตบาตร) ในความหมายที่ไปในทำนองเดียวกับ ยุกรบัตร เลย
และโดยธรรมชาติของคนในแถบนี้  แม้จะได้รับเอาคำภาษาบาลีสันสกฤตมาใช้อยู่มาก 
แต่ก็มักไม่นิยมสร้างคำขึ้นมาใหม่  เพื่อให้มีความหมายใหม่ใช้ขึ้นโดยเฉพาะ
ถึงจะมีการประสมคำ  ก็ประสมคำที่มีใช้อยู่แล้ว  ส่วนคำใดที่ไม่มีที่ใช้
หรือไม่เคยใช้อยู่ก่อน  อยู่ดีๆ จะเอามาประสมขึ้นเป็นคำใหม่  ย่อมไม่ใช่ธรรมชาติ
ของการสร้างคำใหม่ขึ้นใช้ของคนโบราณในดินแดนแถบนี้

อีกทั้ง การกล่าวว่า "คำว่า ยุกระบัตร นั้นในพระไอยการอาชญาหลวงเขียนว่า ยุกรบัตร
ซึ่งควรถือว่า เป็นคำที่เก่าที่สุดและถูกต้องที่สุด"  ก็ไม่น่าจะเป็นวิธีการที่ถูกต้อง
แต่ควรถือว่า  เป็นรูปคำเก่าที่สุดเท่าที่พบในเอกสารโบราณ  (แต่อาจจะถูกต้องหรือไม่ก็ได้
ซึ่งโอกาสที่ผิดพลาดคลาดเคลื่อนจากรูปคำดั้งเดิมมีสูงมาก  เนื่องจากคนสมัยก่อน
มักเขียนหรือสะกดคำตามที่อ่านออกเสียง  ยิ่งต่างคนต่างเขียนด้วยแล้ว
ยิ่งมีรูปคำแตกต่างกันไปตามความเข้าใจและการอ่านออกเสียงคำนั้นๆ 
คำคำเดียวอาจจะเขียนได้หลายแบบ  สุดแต่ใครจะเขียนอย่างไร  หรือเรียนมาแต่ครูคนใด)
การสันนิษฐานดังกล่าวอาจจะทำให้หลงทางได้  ทั้งนี้เพราะในกฎหมายตราสามดวง
หรือในเอกสารโบราณอื่นๆ ก็เขียนยุกรบัตรได้หลากหลายแบบ

จำได้ว่า จิตร ภูมิศักดิ์  เคยกล่าวว่า  คำว่ายุกรบัตรนี้ ไทยเอามาจากวัฒนธรรมเขมร
แต่น่าเสียดายที่จิตรไม่ได้แสดงตัวอย่างไว้ให้ดูด้วย