เรือนไทย

General Category => ศิลปะวัฒนธรรม => ข้อความที่เริ่มโดย: สูเจ้า ที่ 14 พ.ย. 00, 20:00



กระทู้: คนสมัยก่อนหวงวิชาหรือเปล่าครับ
เริ่มกระทู้โดย: สูเจ้า ที่ 14 พ.ย. 00, 20:00
เคยได้ยินได้ฟังมาว่าคนสมัยก่อนจะหวงวิชามาก
จะถ่ายทอดวิชาสุดยอดให้เฉพาะศิษย์รักเท่านั้น
วิชาการรักษาด้วยสมุนไพรหลายอย่างจึงได้ตายไปกับเจ้าของวิชา


กระทู้: คนสมัยก่อนหวงวิชาหรือเปล่าครับ
เริ่มกระทู้โดย: ตัวข้า ที่ 12 พ.ย. 00, 10:27
คงจริงครับ ถ้าศิษย์ไม่รักดี ไม่มีความกตัญญูต่อผู้เป็นครู ครูก็ไม่อยากถ่ายทอดวิชาให้


กระทู้: คนสมัยก่อนหวงวิชาหรือเปล่าครับ
เริ่มกระทู้โดย: คุณพระนาย ที่ 12 พ.ย. 00, 14:09
ส่วนใหญ่ คือ จะให้ลูกชาย ตัวเอง หรือไม่ก็ ศิษย์คนโต ที่จะเป็นผู้สืบทอดสำนักครับ มาจากนิยายจีน หลายเรื่องสังเกต ได้นิยายจีนหลายเรื่อง พระเอกที่เก่ง ๆ มักจะวิชาหายสาปสูญครับ อย่างก๊วยเจ๋ง ก็ไม่มีลูกศิษย์ เก่ง ๆ เลย เอี้ยก้วยยิ่งแล้วใหญ่ สำนักที่เห็นสืบทอดมาก็มีแค่ เส้าหลิน (จนถึงปัจจุบัน)


กระทู้: คนสมัยก่อนหวงวิชาหรือเปล่าครับ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 12 พ.ย. 00, 19:41
ได้ยินมาว่าวิชาช่างก็หวงแหนเหมือนกันค่ะ
อย่าช่างสิบหมู่  มักจะถ่ายทอดให้เฉพาะลูกหลานเท่านั้น  ไม่สอนคนภายนอก
วิชาช่างจึงเป็นการสืบตระกูลกันมาเป็นส่วนใหญ่ และเมื่อไม่มีคนรับการถ่ายทอด   เคล็ดลับหรือส่วนประกอบวิชาบางอย่างที่สำคัญ ก็หมดสิ้นไป


กระทู้: คนสมัยก่อนหวงวิชาหรือเปล่าครับ
เริ่มกระทู้โดย: ส้มหวาน ที่ 15 พ.ย. 00, 00:37
วิชาช่างสิบหมู่ มีอะไรบ้างคะ


กระทู้: คนสมัยก่อนหวงวิชาหรือเปล่าครับ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 15 พ.ย. 00, 08:47
ช่างสิบหมู่  เป็นวิชาช่างไทยโบราณ  ขึ้นอยู่กับกรมช่างสิบหมู่ค่ะ  คือ

ช่างเขียนภาพและลายไทย

ช่างไม้แกะสลัก

ช่างปิดทองประดับกระจก ประดับกระเบื้อง

ช่างมุก

ช่างปูนและช่างปั้นลายปูนสด

ช่างลายรดน้ำและเครื่องเงิน

ช่างหัวโขน

ช่างเคลือบโลหะ

ช่างปั้นหล่อ

ช่างเขียนแบบพุทธศิลป์สถาปัตย์

สนใจหาอ่านประวัติและรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

http://kanchanapisek.or.th/kp6/BOOK16/chapter8/t16-8-l1.htm#sect2

พบข้อมูลน่าสนใจเรื่องการหวงแหนวิชา อย่างที่เจ้าของกระทู้อยากทราบ  จึงเอามาลงไว้ด้วยตรงนี้ค่ะ



"มีช่างอีกประเภทหนึ่งเรียกว่า ช่างเชลยศักดิ์ เป็นช่างที่รับจ้างทำงานช่างทั่วไปเป็นช่างที่ชอบอิสระ ไม่ต้องการเป็นข้าราชการ

แต่ต้องการใช้ฝีมือช่างและความสามารถของตนเลี้ยงชีพอย่างอิสระ จึงมักปกบังฝีมือของตนเพราะเกรงจะถูกเกณฑ์ไปเป็นช่างหลวง

ช่างเชลยศักดิ์นั้นนอกจากจะปกปิดชื่อเสียงของตนแล้ว ยังมักหวงวิชาช่างของตนด้วยเพราะเกรงผู้อื่นจะนำวิชาความรู้นั้นไปหาเลี้ยงชีพแข่งกับตน

 ความคิดเช่นนี้เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้วิชาการช่างของไทยไม่แพร่หลายเท่าที่ควร ทำให้วิชาความรู้ทางการช่างบางประเภทจึงสูญหายไปพร้อมกับตัวช่าง "