เรือนไทย

General Category => ศิลปะวัฒนธรรม => ข้อความที่เริ่มโดย: han_bing ที่ 17 ส.ค. 11, 13:20



กระทู้: เราจะเห็นอะไรจากพระที่นั่งเวหาศน์จำรูญ
เริ่มกระทู้โดย: han_bing ที่ 17 ส.ค. 11, 13:20
เรียนสมาชิกเรียนไทย

เนื่องด้วยวันแม่ที่ผ่านมา ข้าพเจ้าได้พามารดาไปเที่ยวพระราชวังบางปะอินเนื่องจากใกล้บ้านที่ซื้อไว้เผื่อให้สัมผัสบรรยากาศชนบท (สมใจมาก เพราะตั้งอยู่กลางทุ่ง เต็มไปด้วย นก โค เรื่อยไปจนกระบือ)

ณ พระราชวังบางปะอิน มีพระที่นั่งแห่งหนึ่ง คือพระที่นั่งเวหาศน์จำรูญ

พระที่นั่งเวหาศน์จำรูญ เป็นพระที่นั่งสองชั้น สถาปัตยกรรมแบบจีน ตั้งอยู่ภายในพระราชวังบางปะอิน สร้างในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในปี พ.ศ. 2432 พระที่นั่งองค์นี้มีนามในภาษาจีนว่า เทียน เม่ง เต้ย (天明殿 อ่านแบบจีนกลางว่า เทียน หมิง เตี้ยน) แปลเป็นไทยว่า พระที่นั่งฟ้าสว่าง (เทียน แปลว่า เวหา , เม่ง แปลว่า จำรูญ , เต้ย แปลว่า พระที่นั่ง) ใช้เวลาในการสร้าง 14 ปี และเป็นพระที่นั่งองค์สุดท้ายที่สร้างขึ้นในรัชกาลที่ 5

พระที่นั่งเวหาศน์จำรูญ เป็นของถวายของข้าราชการกรมท่าซ้าย คือ พ่อค้าใหญ่ชาวจีน โดยมีพระยาโชฎึกราชเศรษฐี (ฟัก โชติกสวัสดิ์) เป็นนายงาน หลวงสาทรราชายุกต์ (ยม พิศลยบุตร) และ หลวงโภคานุกุล (จื๋ว) เป็นผู้ควบคุมในการก่อสร้าง และสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าทองแถม กรมหมื่นสรรพศาสตร์ศุภกิจ เป็นผู้ควบคุมดูแล

เมื่อพระที่นั่งสร้างเสร็จ รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ จัดให้มีพระราชพิธีเฉลิมขึ้นพระที่นั่งตามแบบจีน เมื่อวันที่ 27 - 31 ธันวาคม พ.ศ. 2432





กระทู้: เราจะเห็นอะไรจากพระที่นั่งเวหาศน์จำรูญ
เริ่มกระทู้โดย: han_bing ที่ 17 ส.ค. 11, 13:22
ภายในพระที่นั่งประกอบด้วยห้องดังนี้

ชั้นล่างของพระที่นั่งเวหาศน์จำรูญนั้น ใช้เป็นห้องพระบรรทมพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งจะอยู่ทางทิศตะวันออกของพระที่นั่ง และใช้เป็นท้องพระโรง ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ท้องพระโรงล่าง และท้องพระโรงบน โดยบริเวณทางขึ้นท้องพระโรงบนนั้นมีแผ่นหินอ่อนเป็นตราสัญลักษณ์ลัทธิเต๋าของจีน รูปหยินหยางประดับไว้ มีพระราชอาสน์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวตั้งอยู่ตรงกลาง นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวยังโปรดเกล้าฯ ให้คัดลอกแผ่นป้ายคำโคลงสรรเสริญข้าราชการที่ทำคุณความดี 9 บท 17 แผ่นป้าย มาประดับไว้ด้วย ส่วนท้องพระโรงบนนั้น เป็นห้องประชุมเสนาบดี และใช้เป็นที่ประทับของรัชกาลที่ 5

ห้องชั้นบนของพระที่นั่งเวหาศน์จำรูญ ประกอบด้วย 4 ห้องใหญ่ ได้แก่ ห้องบรรทมสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ห้องบรรทมพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ห้องทรงพระอักษร และห้องพระป้าย

ห้องพระป้ายติดกับห้องทรงพระอักษรเป็นที่ประดิษฐานพระวิมาน 3 องค์ติดต่อกัน เรียงจากทิศตะวันตก ไปตะวันออก ทำด้วยไม้แกะสลักลวดลายต่าง ๆ ลงรักปิดสีทองอร่าม

ช่องตะวันตกเป็นสถานที่ประดิษฐานพระป้ายจารึก (อักษรจีน) พระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และ พระนามาภิไธย สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี สมเด็จพระอัครมเหสีในรัชกาลที่ 4 ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2433
ช่องกลางเป็นสถานที่ประดิษฐาน พระพุทธรูป ในการประกอบพระราชพิธีสังเวยพระป้าย
ช่องตะวันออกเป็นสถานที่ประดิษฐานพระป้ายจารึก(อักษรจีน) พระปรมาภิไธย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และ พระนามาภิไธย สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ ซึ่ง พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2470

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%99%E0%B9%8C%E0%B8%88%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%8D


กระทู้: เราจะเห็นอะไรจากพระที่นั่งเวหาศน์จำรูญ
เริ่มกระทู้โดย: han_bing ที่ 17 ส.ค. 11, 13:52
แต่สาระของเรื่องที่เขียนนี้หาใช่พูดถึงการแบ่งส่วนต่างหรือประวัติขององค์พระที่นั่งไม่ แต่จะมาเล่าสู่กันฟังถึงสถาปัตยกรรมจีนและตะวันตกที่เผยแพร่ในช่องแคบมะละกา ซึ่งสุดท้ายได้ส่งมายังประเทศไทย

องค์พระที่นั่งแห่งนี้ใช้สถาปัตยกรรมที่ไปหาวังที่ไหนในจีนก็ไม่เจอ และไปหาในบ้านเศรษฐีคนไหนคงเจอคล้ายๆแต่ไม่ใช่ ประการแรก พระราชวังในประเทศจีนสร้างโดยใช้สถาปัตยกรรมทางตอนเหนือ ซึ่งค่อนข้างเรียบงาย ไม่ได้ประดับประดาอย่างหรูหรา จนบางทีออกจะล้นไปบ้างแบบทางใต้ ใครนึกไม่ออกลองหาบทความเก่าๆของข้าพเจ้ามาอ่านดู เขียนว่า "สัตว์...บนหลังคาจีน" อยู่ในเรือนไทยนี้แหละ รูปพร้อมอะไรพร้อม

เนื่องพระที่นั่งองค์นี้สร้างโดยกลุ่มพ่อค้าจีนซึ่งบางท่านมีเชื้อสายแต้จิ๋วบ้าง อะไรบ้างมาช่วย ตัวช่างแม้ไม่ได้บอกที่มา (ถ้าจำไม่ผิดคือมาจากแต้จิ๋ว) แต่ศิลปะก็บอกอยู่ว่ามาจากทางหมินหนาน คือ เป็นสกุลช่างแถบแต้จิ๋ว และฮกเกี้ยน คงเดาได้ว่าไม่น่าจะพ้นช่างเชื้อสายข้างต้น

แต่ว่าส่วนนี้ไม่ใช่ส่วนที่ข้าพเจ้าจะเล่าสู่กันฟังในตอนนี้ ไม่ใช่ส่วนสถาปัตยกรรมแบบหมินหนาน แต่เป็นส่วนสถาปัตยกรรมที่ผสมกันระหว่างจีนและมาเลย์ เจือๆยุโรปในเมืองแถบมลายูที่ปรากฎในองค์พระที่นั่ง

กล่าวคือ แต่ดั้งแต่เดิมมาในจีนนั้นอาคาร โดยเฉพาะศาลเจ้านี้นิยมสร้างชั้นเดียว การตบแต่งก็ตามแบบของท้องถิ่น หากเป็นทางใต้ก็จะเยอะหน่อย คือ นิยมใช้แบบมังกร หงส์ กิเลน กวาง ฯลฯ อะไรก็ตามที่เป็นสัตว์หรือไม้มงคลมาประดับ หากเป็นแถบแต้จิ๋วนิยมตัดแล้วแปะกระเบื้อง (ภาษาจีนว่าอย่างไรแล้วจะบอกภายหลัง อยู่สำนักงานของแม่ ไม่กล้าเปลี่ยนภาษาเดี๋ยวพนักงานจะบ่นเอา แล้วเราจะถูกแม่ดุอีกทอด)

ศาลเจ้าแบบนี้อยู่ในแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แรกๆก็คงสภาพเดิมไว้ แต่นานๆไปก็ได้รับอิทธิพลอาคารแบบบังกะโลของแถบมลายูเข้าไป

แล้วอาคารแบบบังกะโลคืออะไร bungalow นี้หนาคือบ้านของชนพื้นเมืองแถบนั้นที่มาการยกพื้นขึ้น ที่ผสานกับอาคารแบบอังกฤษ กลายเป็นบังกะโลแบบ แองโกลมาเลย์ (บางคนเขาว่าแองโกลอินเดียน) ซึ่งลักษณะพิเศษอีกอย่าง คือ จะมีโถงทางเข้ายื่นเป็นมุขออกมา ช่วงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมหาราชคนไทยมีบรรดาศักดิ์ก็นิยมบ้านแบบมีมุขอยู่เหมือนกัน


กระทู้: เราจะเห็นอะไรจากพระที่นั่งเวหาศน์จำรูญ
เริ่มกระทู้โดย: han_bing ที่ 17 ส.ค. 11, 14:00
อย่างไรก็ตาม หลังจากผสมๆกันไป จากอาคารแบบจีนเดิมๆ แบบนี้


กระทู้: เราจะเห็นอะไรจากพระที่นั่งเวหาศน์จำรูญ
เริ่มกระทู้โดย: han_bing ที่ 17 ส.ค. 11, 14:05
ผสมกันไปกันมา จากบังกะโลยกพื้นมีมุขทางเข้า ผสมกับอาคารศาลเจ้าที่มีโถงบวงสรวงในด้านหน้าชั้นเดียว เลยได้กลายเป็นศาลเจ้าที่มีโถงทางเข้าและยกพื้น


กระทู้: เราจะเห็นอะไรจากพระที่นั่งเวหาศน์จำรูญ
เริ่มกระทู้โดย: han_bing ที่ 17 ส.ค. 11, 14:10
นี้คือภาพโครงสร้างและการวางผังภายในอาคาร ซึ่งใช้หลักตามการวางผังศาลเจ้าทั่วไป



กระทู้: เราจะเห็นอะไรจากพระที่นั่งเวหาศน์จำรูญ
เริ่มกระทู้โดย: han_bing ที่ 17 ส.ค. 11, 14:15
นี้คือภาพอาคารของจริง

จากภาพท่านเห็นอะไรที่คล้ายคลึงกับพระที่นั่งเวหาศน์จำรูญบ้าง

เรื่องราวเป็นอย่างไรโปรดติดตามด้วยใจจดจ่อ อย่าพึ่งท้อละกัน

(ใครมีรูปงามๆจะเอามาลงก็ได้เป็นการดีเหลือแสน)


กระทู้: เราจะเห็นอะไรจากพระที่นั่งเวหาศน์จำรูญ
เริ่มกระทู้โดย: han_bing ที่ 17 ส.ค. 11, 14:16
เนื้อความเกี่ยวกับศาลเจ้าในมลายูนี้นำตัวอย่างมาจากศาลบรรพชนของแซ่คูในปีนัง

ดูเพิ่มเติมได้จากเว็ปไซด์นี้

http://www.khookongsi.com.my/tour_ar-developm.html


กระทู้: เราจะเห็นอะไรจากพระที่นั่งเวหาศน์จำรูญ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 17 ส.ค. 11, 14:18
งดงามด้วยสถาปัตยกรรมแบบจีนผสม มากครับ (ขออนุญาตแทรกเล็กน้อย ก่อนที่จะสรรหาบรรยากาศด้านบนพระที่นั่งให้ชมต่อไป)

สิ่งหนึ่งที่ข้าพเจ้าเห็นจากพระที่นั่งนี้คือ

๑. ความกตัญญูของคนจีนในแผ่นดินไทย ที่มอบให้แก่องค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ปกครองไพร่ฟ้าอย่างร่มเย็นเป็นสุข

๒. ความกตัญญูแห่งคุณบิดาและมารดา ซึ่งได้นำพระป้ายวิญญาณมาประดิษฐานและบวงสรวงสังเวยทุกปี

๓. การก่อสร้างที่จะให้พระที่นั่งนี้มีลิฟท์

และที่ชอบที่สุดคืออักษรที่หน้าพระป้ายเสาด้านหน้าพระวิมานได้แขวนป้ายอักษรจีนไว้

เบื้องซ้ายแปลได้ว่า “ในหมู่ชน จะหาสามัคคีธรรมเสมอพี่น้องได้ยาก”

เบื้องขวาแปลได้ว่า “ในใต้หล้า จะหาความผิดในพ่อแม่ไม่มี”  


กระทู้: เราจะเห็นอะไรจากพระที่นั่งเวหาศน์จำรูญ
เริ่มกระทู้โดย: han_bing ที่ 17 ส.ค. 11, 14:23
จากเว็ปไซด์นี้คือภาพพระที่นั่งก่อนและหลังบูรณะ (และเปลี่ยนแปลงไปอีกบ้างหลายส่วน)

http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=dingtech&month=18-08-2010&group=13&gblog=1

ท่านใดมีเวลาจะนำภาพมาลงก็ได้ ตอนนี้ขอตัวไปช่วยงานแม่ก่อนแล้ว

สวัสดี


กระทู้: เราจะเห็นอะไรจากพระที่นั่งเวหาศน์จำรูญ
เริ่มกระทู้โดย: jean1966 ที่ 17 ส.ค. 11, 14:34
เอารูปปัจจุบันมาฝากครับ


กระทู้: เราจะเห็นอะไรจากพระที่นั่งเวหาศน์จำรูญ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 17 ส.ค. 11, 15:25
ภาพงามสมัยรัชกาลที่ ๕


กระทู้: เราจะเห็นอะไรจากพระที่นั่งเวหาศน์จำรูญ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 17 ส.ค. 11, 20:58
ลูกเล่นของหลังคา ทำเป็นปลาพ่นน้ำ


กระทู้: เราจะเห็นอะไรจากพระที่นั่งเวหาศน์จำรูญ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 17 ส.ค. 11, 21:06
ลองถามถึงความเห็นคุณหาญ สักหน่อยว่า คติที่นำสัญลักษณ์ หยิน-หยาง มาประดับไว้ เป็นทำนองคติลัทธิแบบเต๋า หรือเปล่าครับ


กระทู้: เราจะเห็นอะไรจากพระที่นั่งเวหาศน์จำรูญ
เริ่มกระทู้โดย: han_bing ที่ 18 ส.ค. 11, 10:38
หลังจากมีผู้นำภาพภายนอกส่วนต่างๆมาให้ชมแล้ว ผู้เขียนขอนำภาพศาลเจ้าจากไต้หวั่นมาให้เปรียบเทียบ เพราะเป็นศิลปะแบบหมินหนาน (闽南) เหมือนกัน และสร้างในยุคใกล้ๆกัน ชื่อวัด "ฉินเทียนกง" (秦天宫: qin tian gong)(ศาลเจ้าแม่ทับทิมกับองค์อื่นๆอีกหลายองค์นะ)

จากภาพแผนผังโดยเฉพาะส่วนของศาลประธาน (正殿: zheng dian) และหอบวงสรวง (拜亭: bai ting)รวมถึงอาคารด้านหลังที่เชื่อมกัน เรียกว่า ศาลด้านหลัง (后殿: hou dian) ถือว่ามีส่วนคล้ายคลึงกับการวางแผนผังขององค์พระที่นั่งพอดู


กระทู้: เราจะเห็นอะไรจากพระที่นั่งเวหาศน์จำรูญ
เริ่มกระทู้โดย: han_bing ที่ 18 ส.ค. 11, 10:39
ทั้งหมดนี้มาจากเว็ป ท่านใดใคร่ใส่ภาพลงไปสามารถนำมาใส่เพิ่มเติมได้


กระทู้: เราจะเห็นอะไรจากพระที่นั่งเวหาศน์จำรูญ
เริ่มกระทู้โดย: han_bing ที่ 18 ส.ค. 11, 23:00
http://hsinkangmazu.org.tw/temple.asp

เว็ปนี้ไซร้ ลืมใส่ลงไป

ทั้งนี้ตัวอาคารของศาสนสถานของจีนนี้ อาจทำเป็นอาคารเดี่ยวๆอยู่ตรงกลาง และล้อมรอบด้วยอาคารบริวาร ประหนึ่งระเบียงคตได้

จากทรวดทรงของอาคารพระที่นั่ง รวมถึงพระป้ายที่ประดิษฐานไว้ในอาคาร จะเห็นได้ว่าองค์พระที่นั่งนี้ได้รับอิทธิพลมาจากการสร้างอาคารศาสนสถานในจีน บริเวณตอนใต้ ที่ได้ถ่ายทอดเข้ามายังแถบมลายูอีกที

แต่เนื่องจากการใช้งานที่มิใช่ประสงค์ให้เป็นศาลเจ้าหรือวัด จึงมีการปรับเปลี่ยนบางส่วนของอาคารให้เหมาะสมกับการใช้งาน กล่าวคือ บริเวณ หอบวงสรวง ถูกปรับเปลี่ยนเป็นท้องพระโรง และอาคารประธานและอาคารด้านหลังได้ปรับเป็นที่ประทับ

ทั้งนี้ข้าพเจ้าอยากให้สังเกตุสักนิด หอบวงสรวงแบบจีนแท้จะอยู่ในระดับเดียวกันกับศาล หรือต่ำกว่าเล็กน้อยเท่านั้น และจะไม่มีการยกพื้น แต่ถ้าแถบมลายูซึ่งได้รับอิทธิพลของตะวันตกผสมผสานกับบ้านแบบท้องถิ่น จะเห็นได้ว่าหอบวงสรวงจะแยกออกมาประหนึ่งทางเข้า มีบรรไดเชื่อมห่างกันหลายระดับ พื้นนั้นก็จะทำการยกพื้นขึ้นมา

พระที่นั่งเวหาศน์จำรูญจะมีลักษณะดังกล่าวทั้งหมด

ส่วนเหตุใดจึงทำเช่นนี้ ข้าพเจ้าเองก็ไม่ทราบ แต่อาจเป็นไปได้ว่าผู้สร้างถือว่ากษัตริย์เป็นดั่งเทพ จึงใช้อาคารที่มีการก่อสร้างฐานานุศักดิ์แบบใช้กับเทพเจ้า สำหรับเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ - องค์สมมุติเทพที่อยู่บนโลก

นี้คือสิ่งที่ข้าพเจ้าเห็น และเป็นข้อสันนิษฐานของข้าพเจ้า ท่านใดไม่เห็นด้วยเชิญโต้แย้งได้

สวัสดี


กระทู้: เราจะเห็นอะไรจากพระที่นั่งเวหาศน์จำรูญ
เริ่มกระทู้โดย: han_bing ที่ 19 ส.ค. 11, 20:28
อันนี้อีกส่วนหนึ่ง ขอให้ท่านสังเกตุเครื่องเรือนดีๆ


กระทู้: เราจะเห็นอะไรจากพระที่นั่งเวหาศน์จำรูญ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 19 ส.ค. 11, 20:33
เครื่องเรือนยังไงหรือครับ... เท่าที่เห็นก็เป็นงานแกะสลักไม้ปิดทองได้อย่างสวยงามมากเลยครับ เท้าเป็นมังกรเหยียบลูกแก้ว และองค์ประกอบเป็นมังกรทั้งหมด


กระทู้: เราจะเห็นอะไรจากพระที่นั่งเวหาศน์จำรูญ
เริ่มกระทู้โดย: han_bing ที่ 19 ส.ค. 11, 20:35
ภาพท้ั้งหมดนี้มาจาก http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=dingtech&month=18-08-2010&group=13&gblog=1

ทั้งนี้ท่านใดพอมีเวลา และอยากเล่นสนุกด้วยกัน โปรดหาภาพการตบแต่งภายในพระที่นั่งอัมพรสถาน พระที่นั่งวิมานเมฆ รวมไปถึงภาพโต๊ะเขียนหนังสือฝรั่งมาลง

แล้วมาสังเกตุกันว่าเราจะเห็นอะไร ทั้งนี้ ลองดูเครื่องเรือนฝรั่งยุควิตตอเรียนมาดูกัน

(ข้าพเจ้าดูไม่ค่อยจะเฉลยและเล่าเฉยๆกับเขาบ้างเลย)


กระทู้: เราจะเห็นอะไรจากพระที่นั่งเวหาศน์จำรูญ
เริ่มกระทู้โดย: han_bing ที่ 19 ส.ค. 11, 20:58
กลัวว่าจะไม่มีคนช่วยหา เลยหาเองมาลงบ้าง

ท่านลองดูจากเว็ปไซด์นี้ มีภาพการออกแบบเครื่องเรือนยุคดังกล่าว เขียนในปี 1853

http://chestofbooks.com/home-improvement/woodworking/Cabinet-Maker/index.html


กระทู้: เราจะเห็นอะไรจากพระที่นั่งเวหาศน์จำรูญ
เริ่มกระทู้โดย: han_bing ที่ 19 ส.ค. 11, 21:00
อันนี้เป็่นโซฟากับโต๊ะในห้องสมุด


กระทู้: เราจะเห็นอะไรจากพระที่นั่งเวหาศน์จำรูญ
เริ่มกระทู้โดย: han_bing ที่ 19 ส.ค. 11, 21:01
อันนี้ดูของจริงจากภาพถ่ายเก่าบ้าง


กระทู้: เราจะเห็นอะไรจากพระที่นั่งเวหาศน์จำรูญ
เริ่มกระทู้โดย: han_bing ที่ 19 ส.ค. 11, 21:02
อันนี้สี

จากทั้งหมดนี้เห็นอะไร


กระทู้: เราจะเห็นอะไรจากพระที่นั่งเวหาศน์จำรูญ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 19 ส.ค. 11, 21:10
ภายในพระที่นั่งอัมพรสถาน


กระทู้: เราจะเห็นอะไรจากพระที่นั่งเวหาศน์จำรูญ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 19 ส.ค. 11, 21:14
เหมือนท่านกำลังจะบอกว่าเป็นเครื่องเรือน สไตล์วิคตอเรียนผสมกับจีน กระนั้นหรือ


กระทู้: เราจะเห็นอะไรจากพระที่นั่งเวหาศน์จำรูญ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 19 ส.ค. 11, 21:17
ห้องเครื่องพระที่นั่งวิมานเมฆ


กระทู้: เราจะเห็นอะไรจากพระที่นั่งเวหาศน์จำรูญ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 19 ส.ค. 11, 21:22
พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ


กระทู้: เราจะเห็นอะไรจากพระที่นั่งเวหาศน์จำรูญ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 23 ส.ค. 11, 11:03
รูปนี้ออกจะไกลไปหน่อย  แต่แสดงให้เห็นถึงเครื่องเรือนแบบจีนผสมอังกฤษ   ตั้งอยู่ที่พระตำหนัก Royal Pavillion ในเมือง Brighton ของอังกฤษ   สร้างโดยพระเจ้าจอร์ชที่ ๔  สมัยเป็นปรินซ์รีเยนต์   ก่อนสมัยพระราชินีนาถวิคตอเรีย
เป็นเครื่องเรือนแบบฝรั่งแต่ฝังมุกแบบจีน    ดิฉันยังนึกไม่ออกว่ามีในพระที่นั่งองค์ใดของเราหรือไม่


กระทู้: เราจะเห็นอะไรจากพระที่นั่งเวหาศน์จำรูญ
เริ่มกระทู้โดย: hobo ที่ 23 ส.ค. 11, 13:16
ผมจำได้ลางๆครับว่าพระองค์เจ้าจุลจักพงศ์เคยพูดถึงเครื่องเรือนในพระราชวังที่ไหนสักแห่งของไทย
ว่าจัดได้ครบชุดแบบผู้ดีฝรั่ง แต่พอดีเครื่องเรือนนั้นเป็นแบบสมัยวิคตอเรีย จึงไม่สวย เทียบกับรุ่นก่อนๆ ไม่ได้


กระทู้: เราจะเห็นอะไรจากพระที่นั่งเวหาศน์จำรูญ
เริ่มกระทู้โดย: han_bing ที่ 25 ส.ค. 11, 23:08
นับว่าทายเก่งใช้ได้เลย

ปรกติเครื่องเรือนของจีนนี้ไซร้จะแบ่งเป็น ๓ ตระกูลใหญ่ๆ ได้แก่แบบซูโจว (苏式: su shi) แบบกวางตุ้ง (广式: guang shi) แบบราชสำนักปักกิ่ง (京式: jing shi) จริงๆหากอุตสาหะแบ่งย่อยๆ ก็ได้อีกหลายแบบแต่คงไม่ต้องถึงขนาดนั้นหรอก

เครื่องเรือนทั้งสามแบบมีความแตกต่างกันในการออกแบบ กล่าวคือ

แบบแบบซูโจว (苏式: su shi) จะเป็นแบบเก่าแก่ที่สุดของจีน โดยเป็นลักษณะดั้งเดิมของเครื่องเรือนจีน โดยมีลักษณะเรียบง่าย การตบแต่งน้อย การสลักมีบ้างพอเป็นพิธี เรียบๆ เป็นที่นิยมมากแถบทางใต้บริเวณใกล้กับแม่น้ำแยงซีเกียงของจีน เครื่องเรือนแบบนี้เป็นที่นิยมในยุคราชวงศ์หมิง (明: ming) และถ้าพูดถึงเครื่องเรือนยุคดังกล่าว ก็จะเป็นลักษณะนี้

แหล่งผลิตอยู่แถวซูโจว (苏州: su zhou) เป็นหลัก ไม้ที่ใช้ก็เป็นไม้ที่หาได้ในจีน ปัจจัยหนึ่งเพราะว่าอยู่ห่างเมืองท่า หาไม้แปลกๆยาก รูปลักษณ์ก็เป็นแบบจีนดั้งเดิม


กระทู้: เราจะเห็นอะไรจากพระที่นั่งเวหาศน์จำรูญ
เริ่มกระทู้โดย: han_bing ที่ 25 ส.ค. 11, 23:20
จำเนียรกาลผ่านไป ช่วงกลางราชวงศ์ชิง นับแต่ฝรั่งเริ่มมามากขึ้น และจนสุดท้ายยึดเมืองท่าของจีนดังเมืองกวางตุ้ง (广东: guang dong)ได้ สถาปัตยกรรมแบบตะวันตก เรื่อยๆไปจนศิลปะแบบตะวันตกต่างๆเริ่มเข้ามาสู่ดินแดนดังกล่าว การสร้างเครื่องเรือนของแถบนี้จึงได้รับอิทธิพลหน้าตามาจากเครื่องเรือนแบบตะวันตก

แต่ว่านอกจากจะรับเครื่องเรือนแบบตะวันตกมาเป็นต้นแบบ ชาวจีนยังนำเอาแนวศิลปะของท้องถิ่นตนไปผสานด้วย ไม่ใช่แค่เอาแบบฝรั่งมาทั้งดุ้น

แนวนิยมแบบกวางตุ้งนั้น ขอให้กลับไปดูที่หลังคาอาคารว่าอลังการเพียงใด เครื่องเรือนของเขาก็เป็นเช่นนั้นแล คือมีการสลักแทบทุกจุดในตัวเครื่องเรือน นอกจากนี้ยังมาการฝังมุก ฝังหิน ฝังฯลฯ เท่าที่จะเอามาฝังลงไปได้ อาจมีปิดทองบ้างบางส่วน (บางส่วน ย้ำว่าบางส่วน)

ไม้ที่ใช้ก็นิยมใช้ไม้ชิ้นเดียวใหญ่ๆ สร้างให้อลังการ ชนิดไม้ก็แสนสุดจะหลากหลาย หลายอย่างนำเข้าจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หินเอย มุกเอย งาช้างเอย ขอให้บอก หาได้หมด วัสดุใช้กระกอบหลากหลาย ลายสลักก็เยอะแยะ สัตว์มงคลนานาชนิด (ที่ทางการอนุญาตให้ตบแต่งได้ นึกไม่ออกกลับไปดูเรื่องสัตว์...บนหลังคาจีน)

บางคนบอกว่าตลาด แต่หลายคนก็บอกว่างามตระการ แล้วแต่จะคิดแค่ส่วนตัวข้าพเจ้าแล้วชอบนะ สวยดี


กระทู้: เราจะเห็นอะไรจากพระที่นั่งเวหาศน์จำรูญ
เริ่มกระทู้โดย: han_bing ที่ 25 ส.ค. 11, 23:25
เครื่องเรือนแบบกวางตุ้งนี้ถือเป็นสัญลักษณะของเครื่องเรือนแห่งยุคราชวงศ์ชิง เหมือนกับเครื่องเรือนแบบซูโจวเป็นเครื่องเรือนประจำยุคราชวงศ์หมิง

ทั้งนี้ เครื่องเรือนที่ส่งออกนานาชาติโดยมากเป็นของกวางตุ้งนี้


กระทู้: เราจะเห็นอะไรจากพระที่นั่งเวหาศน์จำรูญ
เริ่มกระทู้โดย: han_bing ที่ 25 ส.ค. 11, 23:44
สุดท้ายคือเครื่องเรือนแบบปักกิ่ง แปลตรงๆตัวว่าเครื่องเรือนแบบเมืองหลวง เครื่องเรือนนี้จะเป็นเครื่องเรือนที่ใช้เป็นเครื่องราชูปโภค ใช้ในราชสำนักและวังของพระบรมวงศานุวงศ์

เครื่องเรือนแบบนี้จะคล้ายกับแบบกวางตุ้ง ปัจจัยหนึ่งเพราะในยุคนั้นช่างทำเครื่องเรือนหลวงจำนวนมากเป็นชาวกวางตุ้ง แต่ก็ใช่ว่าจะเหมือนของกวางตุ้งเสียทีเดียวเพราะว่าแบบของซูโจว อันได้แก่ประดานายช่างก็ยังมีอยู่

ดังนั้นเครื่องเรือนแบบราชสำนักจึงได้รับการผสมผสานของช่างสองสกุลนี้

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น แบบของกวางตุ้งออกจะเป็นหลัก อาจเป็นเพราะต้องพระทัยสมเด็จพระจักรพรรดิก็เป็นได้ เนื่องจากดูยิ่งใหญ่หรูหราดี

เครื่องเรือนแบบนี้จะมีลักษณะคือตบแต่งมาก แต่ไม่มากจนออกจะล้นแบบกวางตุ้ง แต่ก็ไม่น้อยจนเรียบแบบซูโจว

ขณะเดียวกันของที่ใช้ประดับประดานั้นหนาก็หรูหรากว่ากวางตุ้งมาก หยกเป็นหยก ทองเป็นทอง งาเป็นงา ปิดทองจะปิดทองทั้งพระเก้าอี้ เลยก็ทำได้ถ้ามีพระประสงค์จะทำ
และของที่ใช้มาประดับเเครื่องเรือนหลวงเหล่านี้ไม่มีของเก๊

เรื่องนี้เรื่องจริง กล่าวคือ ช่างกวางตุ้ง หรือซูโจวอาจจะเอาหินสีขาว หรือเขียวมาแทนหยก แต่ของราชสำนักไซร้ไม่ต้องหาอะไรมาแทน เอาหยกจริงๆไปเลย...

ลายที่ใช้ประดับก็ใช้สัตว์ชั้นสูงอย่างที่พระมหากษัตริย์ และพระมเหสีจะทรงใช้ได้แต่พระองค์เดียว อาทิ มังกรห้าเล็บ หรือหงส์

แต่ในความงามนี้มีคำนินทาในหมู่วงการเครื่องเรือนจีนว่า สวย...แต่ใช้ไม่ค่อยสบาย

การผลิตเครื่องเรือนหลวงนี้ยกเลิกตอนสิ้นราชวงศ์ชิง 


กระทู้: เราจะเห็นอะไรจากพระที่นั่งเวหาศน์จำรูญ
เริ่มกระทู้โดย: han_bing ที่ 25 ส.ค. 11, 23:47
นี้คือตัวอย่างเครื่องเรือนหลวง


กระทู้: เราจะเห็นอะไรจากพระที่นั่งเวหาศน์จำรูญ
เริ่มกระทู้โดย: han_bing ที่ 25 ส.ค. 11, 23:49
ทั้งหมดนี้ค้นคว้าได้จากเว็ปไซด์

http://www.shuopin-td.com/jiaju/jjsy.html


กระทู้: เราจะเห็นอะไรจากพระที่นั่งเวหาศน์จำรูญ
เริ่มกระทู้โดย: han_bing ที่ 26 ส.ค. 11, 00:04
คราวนี้ลองกลับมาดูเครื่องเรือนในองค์พระที่นั่งอีกรอบ


กระทู้: เราจะเห็นอะไรจากพระที่นั่งเวหาศน์จำรูญ
เริ่มกระทู้โดย: han_bing ที่ 26 ส.ค. 11, 00:06
จากรูปนี้ข้าพเจ้าแน่ใจได้เลยว่ามีโอกาสสูงมากที่จะเป็นเครื่องเรือนที่ได้รับอิทธิพลจากกวางตุ้ง

แต่อาจจะสั่งให้แกะสลักตามอย่างราชสำนักจีน (แม้จะไม่ต้องตามแบบเขาทั้งหมด) เพื่อส่งมาในการใช้งานของราชสำนักสยาม

ท่านคิดเห็นต่างไปอย่างไรวานบอก

สวัสดี

(ยังมีใครเห็นอะไรอีกบ้าง)


กระทู้: เราจะเห็นอะไรจากพระที่นั่งเวหาศน์จำรูญ
เริ่มกระทู้โดย: han_bing ที่ 26 ส.ค. 11, 00:12
อนึ่ง เรื่องเครื่องเรือนแต่งองค์พระที่นั่งที่มีสมาชิกกล่าวถึง คือเครื่องเรือนแต่งองค์พระที่นั่งอุทยานภูมิเสถียร เป็นเครื่องเรือนยุคนโปเลียนที่ ๓ หรือที่เท่าไรไม่แน่ใจนัก

ภายหลังเครื่องเรือนเหล่านี้ถูกเผาไปพร้อมกับเพลิงที่ผลาญองค์พระที่นั่งตอนซ่อม

เรื่องนี้พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ทรงเล่าไว้ ข้าพเจ้าจำไม่ได้แล้วว่าจากหนังสือเรื่องใด


กระทู้: เราจะเห็นอะไรจากพระที่นั่งเวหาศน์จำรูญ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 26 ส.ค. 11, 09:20
และสิ่งหนึ่งที่ผมนึกขึ้นมาได้ว่า สถาปัตยกรรมพระที่นั่งเวหาศน์จำรูญนี้ คล้ายคลึงพระราชวัง เมืองเว้ ประเทศเวียดนาม

สถาปัตยกรรมเครื่องบนหลังคา กระเบื้องแบบลูกฟูก และเสาไม้เป็นโถงทางเดิน ถ่ายภาพมาแล้วคล้ายกันยิ่งนัก


กระทู้: เราจะเห็นอะไรจากพระที่นั่งเวหาศน์จำรูญ
เริ่มกระทู้โดย: han_bing ที่ 26 ส.ค. 11, 09:25
ข้าพเองไม่เชี่ยวชาญศิลปะเวียดนามแต่ว่าเคยไปเที่ยวรู้สึกว่าอาคารของเขาจะได้รับอิทธิพลจากจีนโดยเฉพาะแถบทางใต้ แถวๆกวางตุ้งและฮกเกี้ยน ที่เรียกว่าสถาปัตยกรรมแบบหมินหนาน (闽南:min nan)

พระที่นั่งเวหาศน์จำรูญจะได้รับอิทธิพลจากเวียดนามหรือเปล่าข้าพเจ้าไม่ทราบ

แต่จากหลักฐานของการก่อสร้างไม่น่าจะใช่ เพราะว่าการก่อสร้างทั้้งหมดกล่าวถึงแรงงานชาวจีนไว้ทั้งสิ้น

อันนี้ใครไม่เห็นด้วยก็ขัดได้

สวัสดี


กระทู้: เราจะเห็นอะไรจากพระที่นั่งเวหาศน์จำรูญ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 26 ส.ค. 11, 09:31
ใช่ครับ คุณหาญ ที่ช่างชาวจีนได้ทำการสร้างไว้ หากแต่ที่หยิบยกพระราชวังเว้ มาให้ชม ด้วยเพราะคล้าย ๆ กัน สีแดง และ ปิดทอง ส่วนเฟอร์นิเจอร์ ก็เป็นไม้แกะสลัก ปิดทองแล้วดู หนา ใหญ่ เทอะทะ ไม่ดูกระชับอย่างทางเฟอร์นิเจอร์ปักกิ่ง


กระทู้: เราจะเห็นอะไรจากพระที่นั่งเวหาศน์จำรูญ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 26 ส.ค. 11, 09:38
ให้ชมโครงสร้างที่ประกอบด้วยต้นเสา และแผ่นไม้แกะสลักรอบหลังคา เทียบกัน ภาพซ้ายพระราชวังเว้ ภาพขาวพระที่นั่งเวหาศน์จำรูญ


กระทู้: เราจะเห็นอะไรจากพระที่นั่งเวหาศน์จำรูญ
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 26 ส.ค. 11, 21:57
เอาภาพเครื่องบนมาลงครับ...


กระทู้: เราจะเห็นอะไรจากพระที่นั่งเวหาศน์จำรูญ
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 26 ส.ค. 11, 21:59
รายละเอียดงานที่นี่ดูกันตาลายเลย


กระทู้: เราจะเห็นอะไรจากพระที่นั่งเวหาศน์จำรูญ
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 26 ส.ค. 11, 22:02
... ;D


กระทู้: เราจะเห็นอะไรจากพระที่นั่งเวหาศน์จำรูญ
เริ่มกระทู้โดย: han_bing ที่ 26 ส.ค. 11, 22:20
ไหนๆก็ไหนๆ

เมื่อเอาภาพเครื่องบนมาลง

ท่านใดมีภาพเครื่องบนพระที่นั่งหรือวัดต่างๆในปักกิ่งเอามาลง

แล้วเราจะมาดูว่าเราจะเห็นอะไรกันอีก

ข้าพเจ้าเอามาลงพอเป็นกระสาย เป็นภาพพระที่นั่งไท่เหอ (太和殿: Tai he dian) และเครื่องบน


กระทู้: เราจะเห็นอะไรจากพระที่นั่งเวหาศน์จำรูญ
เริ่มกระทู้โดย: han_bing ที่ 26 ส.ค. 11, 22:24
เครื่องบนนีภาษาจีนเรียกคานเช่นนี้ว่า "โตว่กง" (斗拱: dou gong)


กระทู้: เราจะเห็นอะไรจากพระที่นั่งเวหาศน์จำรูญ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 27 ส.ค. 11, 09:26
โครงสร้างเด่น ๆ ของหลังคาแบบจีน จะใช้ไม้ซ้อนกันเป็นชั้น ๆ รับน้ำหนักโครงสร้างจากหลังคา ถ่ายลงคานไม้ และคานไม้สู่ต้นเสา

ภาพถ่ายตอนไปเที่ยววัดม้าขาว หรือ วัดองค์ชายสี่ ปักกิ่ง


กระทู้: เราจะเห็นอะไรจากพระที่นั่งเวหาศน์จำรูญ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 27 ส.ค. 11, 09:29
คุณหาญที่นับถือ ให้ลงภาพสถาปัตยกรรมโครงสร้างหลังคานี่ จะบอกใบ้พวกกระผมว่าอย่างไรหรือครับ  ???


กระทู้: เราจะเห็นอะไรจากพระที่นั่งเวหาศน์จำรูญ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 27 ส.ค. 11, 09:32
เทียนถาน หอฟ้าสำหรับบวงสรวงฟ้าให้การเกษตรงอกงามได้ผล


กระทู้: เราจะเห็นอะไรจากพระที่นั่งเวหาศน์จำรูญ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 27 ส.ค. 11, 09:37
พระที่นั่งจงเหอเทียน เริ่มก่อสร้างในสมัยราชวงศ์หมิง ค.ศ. 1420 และได้ถูกไฟไหม้และก่อสร้างใหม่มาแล้วหลายรอบ แรกสร้างพระที่นั่งนี้ชื่อว่า Hua Gai Dian ใช้เป็นพระที่นั่งสำหรับพักผ่อนก่อนออกว่าราชการ เป็นที่ประทับอ่านหนังสือก็ทำได้


กระทู้: เราจะเห็นอะไรจากพระที่นั่งเวหาศน์จำรูญ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 27 ส.ค. 11, 09:40
ศาลาหยก บริเวณสวนหลวงในพระราชวังกู้กง


กระทู้: เราจะเห็นอะไรจากพระที่นั่งเวหาศน์จำรูญ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 27 ส.ค. 11, 09:49
โครงสร้างหลังคาของศาลาริมทะเลสาบ พระราชวังฤดูร้อนอี้เหอหยวน

(ที่เห็นผมทำเส้นสีน้ำเงินคือแนวกำแพงที่ปิดล้อมเอาไว้ และสร้างศาลาก่อทับกำแพงเพื่อไม่ให้เกิดทัศนะอุดจาดตา สาเหตุคือเบื้องหลังกำแพงสูงนี้เป็นที่พำนักจองจำฮ่องเต้กวงสูว์ ไว้เนื่องจากพระองค์ต้องการปฏิรูปราชการใหม่ แต่ถูกหักหลังโดยหยวนซือข่าย เลยถูกพระนางซูสีไทเฮา จับมาขังไว้จนเสียสิ้นพระชนม์แบบปัจจุบันทันด่วน) กำแพงได้ถูกสร้างปิดล้อมไว้ แต่สร้างศาลาคลุมเพื่อให้ดูงาม


กระทู้: เราจะเห็นอะไรจากพระที่นั่งเวหาศน์จำรูญ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 27 ส.ค. 11, 09:54
แต่ว่าสัญลักษณ์เทพคุ้มครองไม่ประดับไว้ที่พระที่นั่งเวหาศน์จำรูญเหมือนเช่นนี้


กระทู้: เราจะเห็นอะไรจากพระที่นั่งเวหาศน์จำรูญ
เริ่มกระทู้โดย: han_bing ที่ 27 ส.ค. 11, 19:06
เรื่องการประดับตกแต่งหลังคานี้ไซร้ขอไม่กล่าวซ้ำ เพราะว่าเคยกล่าวไปแล้วในหัวข้อเรื่อง "สัตว์...บนหลังคาจีน"

แต่ไหนๆก็ไหนๆ ขอทวนสักนิด กล่าวคือ การตบแต่งพระที่นั่งเวหาศน์จำรูญในส่วนหลังคาองค์พระที่นั่ง จะตบแต่งแบบจีนแถบฮกเกี้ยน แต้จิ็ว คือ ปลายหลังคาโค้งแอ่นแบบหางนกนางแอ่น และมีการประดับช่อปูนปั้นเป็นรูปดอกไม้ใบหญ้า ไม่ใช่แบบตอนเหนือ ที่ตบแต่งเรียบๆดังที่ตบแต่งหลังคาในพระราชวังต่างๆในกรุงปักกิ่ง (เรียบง่ายจริงๆเมื่อเทียบกับภาคใต้) หรือตามอาคารต่างๆ

ทั้งนี้ ไปดูเรื่อง "สัตว์...บนหลังคาจีน" ได้จากลิงค์นี้ http://www.reurnthai.com/index.php?topic=3365.15

ส่วนเรื่องโครงสร้างหลังคา

แหม...ทายเก่งจริง

แต่ว่าใครมีภาพอีกลงเพิ่มคงจะได้เรื่องราวมากกว่านี้


กระทู้: เราจะเห็นอะไรจากพระที่นั่งเวหาศน์จำรูญ
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 28 ส.ค. 11, 21:34
มีความสามารถเรื่องภาพได้แต่ในเมืองไทยครับ ...


กระทู้: เราจะเห็นอะไรจากพระที่นั่งเวหาศน์จำรูญ
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 28 ส.ค. 11, 21:36
...


กระทู้: เราจะเห็นอะไรจากพระที่นั่งเวหาศน์จำรูญ
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 28 ส.ค. 11, 21:39
...


กระทู้: เราจะเห็นอะไรจากพระที่นั่งเวหาศน์จำรูญ
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 28 ส.ค. 11, 21:41
...


กระทู้: เราจะเห็นอะไรจากพระที่นั่งเวหาศน์จำรูญ
เริ่มกระทู้โดย: han_bing ที่ 30 ส.ค. 11, 00:00
ใครได้คุณ virain ไปร่วมงานคงนึกชมในความสามารถหาอะไรต่ออะไรอยู่แล้ว

ขอท่านใดเรียนสถาปัตยกรรมมาดูๆสิว่ามันมีอะไรในโครงหลังคา


กระทู้: เราจะเห็นอะไรจากพระที่นั่งเวหาศน์จำรูญ
เริ่มกระทู้โดย: han_bing ที่ 02 ต.ค. 11, 11:38
ก่อนที่จะพูดเรื่องโครงสร้างคานของหลังคา ขอพูดถึงทรงหลังคาก่อน

เพราะไหนๆก็ได้เขียนเรื่อง "ว่าด้วยหลังคาจีน" ไปสดๆร้อนๆ

ตามลิงค์ต่อไปนี้ http://www.reurnthai.com/index.php?topic=4716.0

หลังจากดูโครงสร้างหลังคา

พอจะสันนิษฐานได้ว่า

ประการแรก ช่างที่เข้ามาสร้าง รู้สึกเกรงใจลึกๆว่ากษัตริย์ไทยอย่างไรก็ไม่ใช่จักรพรรดิจีน บุญต่างๆกัน ดั้งเดิมหลังคาใช้กระเบื้องห้าสี ไม่ได้ใช้สีเหลือง

และตัวพระที่นั่ง ไม่ได้ใช้หลังคาแบบปั้นหยา ไม่มีหน้าจั่ว เรียกว่า “อู้เตี้ยนติ่ง” (庑殿顶:wu dian ding )

หากแต่ใช้หลังคาแบบ หลังคาปั้นหยาหักมุข มีหน้าจั่ว เรียกว่า “เซี้ยซันติ่ง” (歇山顶:xie shan ding) ใช้สำหรับสถานที่ราชการหรือศาสนสถานสำคัญ

ผสมกับหลังคาแบบหลังคาจั่วหน้าทึบ เรียก “อิ้งซันติ่ง” (硬山顶:ying shan ding)  มาผสมกันในตัวอาคารเดียวกัน

เห็นได้จากทางหลังคาท้องพระโรงจะเป็นแบบ “เซี้ยซันติ่ง” ส่วนด้านหลังจะเป็น “อิ้งซันติ่ง”  แม้จะดูมีชายคารอบๆทำให้ดูคล้าย “เซี้ยซันติ่ง” ก็ตาม แต่ตัวของข้าพเจ้าเองคิดว่าชายคารอบๆไม่ได้เกี่ยวกับตัวหลังคาแต่อย่างใด

นอกจากนี้ยังมีการแบ่งหลังคาเป็นสามส่วนอย่างที่เรียกว่า หลังคาแบบ “ซานฉวนจี่” (三川脊:san chuan ji ) แปลตรงๆว่าหลังคาแบบสายน้ำสามสาย

แล้วถ้าพิพิจเข้าไปใกล้ๆ ก็จะจัดได้ว่าเป็นโครงสร้างแบบ ยกส่วนตรงกลางขึ้นมา แล้วชายคาขาดไม่เสมอกัน โดยตรงกลางที่ยกสูงขึ้นมาจะสูงกว่าส่วนอื่นๆ เรียกว่า
“ต้วนหยานเซิงเหยียนโคว่” (断檐升箭口:duan yan sheng jian kou)

เมื่อก่อนนิยมใช้เป็นอาคารบริวารของอาคารประธานที่สำคัญๆ แต่ภายหลังในยุคสาธารณรัฐของจีนเริ่มแพร่หลายใช้กันทั่วไปไม่จำกัด

ถ้าช่างผู้สร้างไม่ได้คิดอะไรมาก แต่เอาความนิยมในยุดดังกล่าว ก็ถือว่าพระที่นั่งองค์นี้เป็นตัวแทนศิลปะจีนทางใต้ด้านโครงสร้างหลังคาอย่างดี

ปล.ท่านใดอ่านแล้วนึกภาพไม่ออก หรือท่านใดมีเวลาจะภาพจากเรื่อง "ว่าด้วยหลังคาจีน" มาลงจะดียิ่งนัก