เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 15 16 [17] 18 19 ... 32
  พิมพ์  
อ่าน: 71208 พระมหาเถระเจ้าอุทุมพร พระวิบากของพระองค์ในปัจจุบันกาล
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 240  เมื่อ 08 พ.ย. 17, 17:40

จบภาคอดีตถึงปัจจุบัน  อาจมีภาคอนาคตหากมีความชัดเจน
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 241  เมื่อ 09 พ.ย. 17, 14:35


จากรูปประกอบความเห็นที่ 235

ในสมัยเมืองอมรปุระ พระเถระพระเจ้าอุทุมพรน่าจะห่มจีวรแบบห่มคลุม มากกว่าจะมีผ้าคาดแบบสยามวงศ์นะครับ
บันทึกการเข้า
superboy
พาลี
****
ตอบ: 223


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 242  เมื่อ 09 พ.ย. 17, 15:05

ผลลัพท์ลงท้ายว่าไงเรื่องของผลลัพท์นะครับ ทว่าเรื่องราวที่เผยแพร่ตั้งแต่ต้นจนจบ เป็นประสบการณ์ที่หาได้ยากและน่าสนใจมาก หวังว่าตัวเองในอนาคตจะได้ทำอะไรแบบนี้บ้าง ถอนหายใจหนึ่งเฮือก
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 243  เมื่อ 09 พ.ย. 17, 15:38


จากรูปประกอบความเห็นที่ 235

ในสมัยเมืองอมรปุระ พระเถระพระเจ้าอุทุมพรน่าจะห่มจีวรแบบห่มคลุม มากกว่าจะมีผ้าคาดแบบสยามวงศ์นะครับ


เป็นภาพในจินตนาการของนักเขียนการ์ตูนพม่าน่ะครับ อย่าไปซีเรียสอะไรเลย ใครจะไปรู้ได้ในสมัยนั้นพระองค์ท่านจะครองจีวรอย่างไร ก็สันนิษฐาน(แปลว่าเดา)เอาทั้งนั้น
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 244  เมื่อ 09 พ.ย. 17, 15:39

ผลลัพท์ลงท้ายว่าไงเรื่องของผลลัพท์นะครับ ทว่าเรื่องราวที่เผยแพร่ตั้งแต่ต้นจนจบ เป็นประสบการณ์ที่หาได้ยากและน่าสนใจมาก หวังว่าตัวเองในอนาคตจะได้ทำอะไรแบบนี้บ้าง ถอนหายใจหนึ่งเฮือก

เรื่องนี้ผมไม่ได่แต่งขึ้นเองตามจินตนาการนะครับ อะไรที่ยังไม่เกิด ก็จะไม่เขียน


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 245  เมื่อ 09 พ.ย. 17, 16:39

จากข่าวนี้ก็เช่นกัน

เมื่อเร็วๆ นี้ นายเอนก สีหามาตย์ อธิบดีกรมศิลปากร ได้นำคณะผู้เชี่ยวชาญทางโบราณคดี และประวัติศาสตร์ เดินทางไปยังเมืองมัณฑะเลย์ และเมืองสะกาย สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ ตามโครงการศึกษาทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี เรื่อง ชาวอยุธยาในเมียนมาร์ นายเอนก เล่าว่า เมื่อปี 2555 กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) ได้แจ้ง วธ.ว่า คณะกรรมการพัฒนาเมืองมัณฑะเลย์ มีแผนปรับสภาพพื้นที่สุสานลินซินกง ที่เมืองอมรปุระ ซึ่งเชื่อว่า มีสถูปบรรจุพระอัฐิสมเด็จเจ้าฟ้าอุทุมพร กษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา ดังนั้น กต.ร่วมมือ วธ.โดยกรมศิลปากร มาศึกษาเรื่องของประวัติศาสตร์และโบราณคดีเรื่องราวของชาวอยุธยาในเมียนมาร์ เพื่อศึกษาความเป็นอยู่ ชุมชนของคนไทย ในมิติทางวัฒนธรรมระหว่าง 2 ประเทศ
      
ตนได้นำคณะมาที่โบสถ์วัดมหาเตงดอจี หมู่บ้านลินซิน ในเมืองสะกาย พบภาพจิตรกรรมฝาผนังที่เขียนภาพปราสาทและลายเส้นสินเธาว์แบบหยักฟัน โดยใช้สีแดง สีขาว สีเขียว และสีดำ ที่สำคัญยังพบภาพจิตรกรรมฝาผนังเขียนลายรูปพระปรางค์มียอดนภศูล แสดงถึงหลักฐานของฝีมือช่างแบบอยุธยาตอนปลายอายุกว่า 200 ปี ที่สำคัญเป็นภาพจิตรกรรมฝาผนังเพียงแห่งเดียวที่ยังคงเหลือและบ่งชี้ถึงประวัติศาสตร์เกี่ยวกับชาวอยุธยาที่เคยอาศัยอยู่ในเมียนมาร์
      
ดร.ม.ร.ว.รุจยา อาภากร ผู้อำนวยการศูนย์โบราณคดีและวิจิตรศิลป์ (สปาฟา) องค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ซีมีโอ) ผู้ศึกษาภาพจิตรกรรมฝาหนังวัดมหาเตงดอจี กล่าวว่า เมื่อหลายปีก่อนตนได้มาศึกษาและถ่ายรูปภาพจิตรกรรมฝาผนังวัดแห่งนี้ไว้ แต่วันนี้มีการนำปูนมาโบกทับภาพจิตรกรรมบริเวณด้านล่างลงมาทั้งหมด
      
อย่างไรก็ตาม ทางกรมศิลปากรจะประสานกรมโบราณคดีของเมียนมาร์ เพื่อส่งนักโบราณคดีของไทยที่มีความเชี่ยวชาญเข้าไปทำการบูรณะและเก็บข้อมูลเกี่ยวกับภาพจิตรกรรมโดยเร็วที่สุด

ข่าวหลังไมค์แจ้งว่า ท่านเจ้าอาวาสตื่นเต้นมาก ที่บุคคลระดับอธิบดีกรมศิลปากรของไทยแลนด์ได้บอกกับท่านเช่นนั้น แต่แล้วก็คอยหาย คอยหาย ทำท่าจะกลายเป็น Simese Talk อีกรูปแบบหนึ่งไป

คณะคนไทยหากไปเที่ยวแล้วพบท่าน ก็จะได้รับคำฝากมาช่วยถามไถ่ จนกระทั่งเมื่อเร็วๆนี้ คณะถ่ายทำสารคดีของ Thai PBS ได้ไปที่นั่นและได้รับฟังถ้อยความอย่างเดียวกัน ทางคณะจึงได้รับปากจะเป็นผู้ระดมเงินทุนมาดำเนินการให้เองโดยไม่ต้องไปหวังอะไรลมๆแล้งๆจากผู้ที่เคยออกปากไว้แต่เดิม
 

มีความคืบหน้าในเรื่องนี้เช่นกัน จากข่าวดีที่ได้รับเมื่อตะกี้

https://www.facebook.com/chartchai.ketnust/posts/10155190177311622

เอกชนไทยเดี๋ยวนี้มีศักยภาพสูงมาก รัฐพึงสนับสนุนให้ถูกทางเท่านั้น หากไม่อยากสนับสนุนก็เพียงแต่นั่งดูเฉยๆได้ไหม อย่าใช้ความอิจฉาริษยาออกมาเตะตัดขาเขา
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 246  เมื่อ 10 พ.ย. 17, 10:40


ในสมัยพระเจ้าปดุง ก่อนสร้างเมืองอมรปุระ บังคับให้พระภิกษุห่มจีวรแบบคลุม ไม่มีผ้ารัดอกครับ


คำให้การมหาโค มหากฤช เรื่องเมืองพม่า ถามในรัชกาลที่ ๒

ข้าพระพุทธเจ้า พระยาอุไทยธรรม พระราชสมบัติ พระเทพรัตนนรินทร์ หมื่นมณีรักษา พร้อมกันทั้งหลวงอไภยณรงค์บุญสาหลวงสุนทรภักดีบุญไทย ขุนชำนาญภาษาทองคำ นายอยู่ล่ามพม่านั่งฟังคำมหาโคผู้บิดา มหากฤชผู้บุตร ซึ่งหนีจากเมืองพม่าเข้ามาสู่พระบรมโพธิสมภาร เมืองวิเชียรปราการมลาประเทศเชียงใหม่บอกส่งมาถึงกรุงเทพฯ ศรีอยุทธยาณวันจันทร์ เดือน ๕ แรม ๑๒ ค่ำ จุลศักราช ๑๑๗๒ ปีมะเมียนักษัตรโทศก ขอพระราชทานกราบทูลพระกรุณาให้ทราบใต้ลอองธุลีพระบาท
           
          ด้วยข้อความว่าเมื่อครั้งอ้ายพม่ายกมาตีกรุงเทพฯ ศรีอยุทธยาได้นั้น มหาโคเปนฆราวาศอายุ ๒๗ ปี ตามเจ้าวัดประดู่ไปพลัดกันตกอยู่ณเมืองเปร จึงบวชเปนภิกษุได้ ๑๔ พรรษา แล้วสึกออก มีภรรยาเกิดบุตรคือตัวมหากฤชนั้น ได้อาไศรยในสำนักมารดาเจ้าจีนกู ครั้นหม่อง ๆ ชิงเอาสมบัติของจีนกูได้ ได้อยู่ ๗ วัน ประโดงชิงเอาสมบัติหม่อง ๆ นั้นต่อไป แล้วให้ฆ่าเจ้าหม่อง ๆ เจ้าจีนกูเสีย มหาโคไปอาไศรยอยู่ด้วยแมงฉ่วยตองละ เมื่อเจ้าประโดงได้ราชสมบัติเมืองอังวะ ณข้างขึ้นเดือนห้าปีขาลนักษัตรจัตวาศกนั้น จัดแจงกิจการบ้านเมืองทั้งคฤหัสถ์แลสมณะ เจ้าอังวะถือความว่า มีเพลงนิมิตรเปนคำชาย ๔ ว่าแก่หญิง ๆ ตอบชายออกชื่อบ้านหม่องต่อง จึ่งให้นิมนต์เอาพระสงฆ์บ้านหม่องต่องมาเปนอาจารย์ ให้อาจารย์กับสังฆการีพร้อมกันถามกิจวินัยสิกขา แก่พระสงฆ์ราชาคณะสำรับเก่าเปนหลายประการ แต่ประการหนึ่งนั้น ว่าพระราหุลสามเณรเปนบรมพุทธโอรสก็ทรงจีวรคลุมเปนอย่างอยู่ เหตุใดจึงไม่กระทำตามสิกขาซึ่งมีมาแต่ต้น เอาพระอะตุลาจารย์ผู้เปนราชาคณะใหญ่ กับทั้งราชาคณะผู้น้อยสำรับเก่าเปนผิด ให้สังฆการีฉุดคร่าแย่งเอาจีวรกาสาเสีย เอาผ้าขาวให้นุ่งแล้วมัดเอาตัวออกไปเสียจากที่ปิฎกสถานจำไว้ ครั้นเวลารุ่งเช้า ให้โกนเศียรสี่แฉกเอาหมึกทาหน้าเอาแป้งทาตัว ให้ทัดดอกไม้รัง ๆ หู เอาเชือกผูกเอวอะตุลาจารย์ใส่กะชะแสรกหาม ส่วนผู้น้อยนั้นให้มัดมือไพล่หลังเอาเชือกร้อยหู แล้วผูกฅอตีฆ้องตะเวนไปทั่วเมือง แล้วตั้งราชาคณะใหม่ ให้ห่มจีวรคลุมทั้งสมณะ แลสามเณรสืบมา หามีรัตคตอกไม่ตราบเท่าจนทุกวันนี้ ข้อหนึ่งเจ้าอังวะให้หาประชุมโหรพม่า แลพราหมณาจารย์อันรู้ซึ่งวิไสยไตรเพทางคปกรณ์ทั้งปวงมาซักไล่จนไปเปนอันมาก จึงตั้งตัวเปนอาจารย์บอกสอนเอาเปนสานุศิษย์ ให้แจกตำราอากาศปกรณ์แก่ราชาคณะอธิการทั้งปวงให้เรียนดูดาวนักขัตฤกษ์ แลวิเศษดาราแลดาวพระเคราะห์ทั้งปวงทั่วทุกอาราม แล้วให้นิมนต์พระสงฆราชาคณะอธิการทั้งหลาย เข้าไปในวังเวลากลางคืนเนือง ๆ เจ้าอังวะออกถามพระสงฆ์ทั้งปวงให้ชี้บอกดวงดาวราษีนักษัตรแลดาวพระเคราะห์




คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 247  เมื่อ 10 พ.ย. 17, 14:27

ผมยอมแพ้ครับ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 248  เมื่อ 10 พ.ย. 17, 15:55


จากรูปประกอบความเห็นที่ 235

ในสมัยเมืองอมรปุระ พระเถระพระเจ้าอุทุมพรน่าจะห่มจีวรแบบห่มคลุม มากกว่าจะมีผ้าคาดแบบสยามวงศ์นะครับ


เป็นภาพในจินตนาการของนักเขียนการ์ตูนพม่าน่ะครับ อย่าไปซีเรียสอะไรเลย ใครจะไปรู้ได้ในสมัยนั้นพระองค์ท่านจะครองจีวรอย่างไร ก็สันนิษฐาน(แปลว่าเดา)เอาทั้งนั้น

ผมไปเจอรูปนี้ในขณะที่พยายามหาภาพมาประกอบเรื่องให้ท่านดูเพลินๆ ไม่ได้ตั้งใจจะแสดงเป็นหลักฐานว่าพระภิกษุพระเจ้าอุทมพรทรงครองผ้าอย่างนั้น ส่วนที่คุณคนโคราชทักมาก็คงเพียงจะแสดงความเห็นเฉยๆ ไม่ได้ตั้งตนเป็นอธิบดีมาจับผิดผม แล้วพลอยหมดความเชื่อถือในเรื่องที่ผมพยายามนำเสนอไปด้วย
คำให้การของมหาโค มหากฤช ผมอ่านแล้ว ข้อความตามขีดเส้นใต้ก็ผ่านตาแต่ไม่ฝังลงสมอง พออ่านซ้ำจึงนึกออก ก็ขอบคุณครับที่นำหลักฐานมาแสดง

ผมก็ขอฝากที่มาของภาพประกอบ ให้ชมเฉยๆนะครับ ไม่ได้ต้องการต่อความอะไรนอกกรอบของโครงการก่อสร้างอนุสรณ์สถาน พระมหาสมณะเจ้าอุทุมพร แต่หากคุณคนโคราชจะขยายความเพิ่มได้ก็ยินดีที่จะได้รับปันความรู้ครับ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 249  เมื่อ 10 พ.ย. 17, 16:35


ขอขยายความเพิ่มเติมท่านอาจารย์นวรัตน์นิดเดียวครับ

พระเถระพระเจ้าอุทุมพร เมื่อทรงแรกอุปสมบทนั้นน่าจะห่มจีวรตามแบบสยามนิกาย

ในยุคของพระเจ้าปดุง เมืองอมรปุระ ทรงเปลี่ยนให้พระภิกษุสวมจีวรแบบห่มคลุม
เนื่องจากอนุสรณ์สถานนี้เกี่ยวข้องกับยุคอมรปุระ พระเถระพระเจ้าอุทุมพรจึงน่าจะห่มคลุมจีวรตามประกาศในยุคดังกล่าวด้วย

ภาพประกอบเป็นพระเถระลังกา
องค์ซ้าย ต้นวงศ์สยามนิกาย บวชให้โดย พระอุบาลี ปี ค.ศ. 1753
องค์ขวา ต้นวงศ์อมรปุระนิกาย บวชให้โดย พระสังฆราชพม่า ปี ค.ศ. 1800


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 250  เมื่อ 10 พ.ย. 17, 17:17

^


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 251  เมื่อ 10 พ.ย. 17, 17:19

คงจะเป็นแบบที่พระจอมเกล้าฯท่านทรงนำมาให้สงฆ์ธรรมยุติกนิกายห่ม ที่ทรงเรียกว่าแบบมอญ
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 252  เมื่อ 10 พ.ย. 17, 21:25

น่าคิดว่าเรื่องนี้ยาวนานหลายปี ผ่านอธิบดีกรมศิลปากรหลายท่าน (และหลายรัฐบาลหลายขั้วการเมือง) แต่ท่าทีของกรมศิลป์ก็ดูเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันอย่างน่าสนใจนะครับ

นอกจากนี้ปัญหานี้กลายเป็นปัญหาซับซ้อนเรื่องความสัมพันธ์ระดับชาติ และความขัดแย้งภายในระหว่างกลุ่มชนต่างศาสนาในพม่าเข้าไปอีก เรื่องก็เลยวุ่นวายยืดเยื้อ

แต่ที่ผมแปลกใจที่สุดคือ ในขณะที่มีข่าวออกสื่อให้ฮือฮากันเป็นระยะๆ แต่ในวงวิชาการเรื่องนี้กลับเงียบ เหมือนจะไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร เท่าที่หาได้ (อย่างจำกัด) พบว่ามีความเห็นของนักประวัติศาสตร์แตกต่างกันไป อย่าง อ.พิเศษ เจียจันทร์พงศ์เคยให้ข่าวเมื่อท่านนั่งรักษาการอธิบดีกรมศิลป์เมื่อหลายปีที่แล้ว (ไม่ทราบว่าถึงปัจจุบันท่านจะมีทัศนะต่อเรื่องนี้เปลี่ยนไปหรือไม่อย่างไร) อ.สุเนตร ชุตินธรานนท์ เคยไปออกรายการวิทยุคุยยาวเหยียด (ในเชิงสนับสนุนอย่างมาก หาฟังได้ใน youtube ครับ) และ อ.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ เคยโพสต์ใน facebook (ทัศนะไม่ชัดเจน แต่ดูเหมือนจะตามข่าวอยู่ไกลมาก ทั้งรายละเอียดและเชิงเวลา) ส่วนนักโบราณคดีที่อยู่วงในโครงการนี้อย่างคุณปฏิพัฒน์ พุ่มพงศ์แพทย์ ถ้าดูจากในคลิปท่านก็ให้ความเห็นว่าไม่สามารถยืนยันถึงขั้นว่านี่คือพระบรมอัฐิของพระเจ้าอุทุมพร

เรื่องนี้ผมว่าถ้ามีการอภิปรายในวงกว้าง เรื่องนี้น่าจะมีความก้าวหน้ามากกว่านี้ จะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย จะได้ข้อสรุปหรือไม่ได้ผมว่าไม่ใช่สาระสำคัญ และที่สำคัญคือผมไม่เห็นว่ากรมศิลป์จะสามารถชี้ถูกชี้ผิดอะไรในเชิงวิชาการได้ครับ แต่เมื่อความคาดหวังของโครงการนี้คือต้องการบทสรุปอย่างเป็นรูปธรรม (อนุสรณ์สถาน) เลยต้องไปพึ่งท่าทีของทางราชการ กลายเป็นเรื่องปวดใจ น่าเห็นใจคณะทำงานอยู่ครับ

ป.ล. ผมสงสัยเรื่องมาตรฐานการบูรณะโบราณสถาน เพราะโดยความเข้าใจของผม การต่อเติมโดยไม่ทราบรูปแบบเดิมไม่น่าจะทำได้ไม่ใช่หรือครับ หรือว่ามีข้อยกเว้นอย่างไรบ้าง (แต่เรื่องนี้อย่าไปถามกรมศิลป์นะครับ  รูดซิบปาก)
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 253  เมื่อ 11 พ.ย. 17, 06:16

ก่อนที่ผมจะตอบคุณม้า ก็อยากให้ชมคลิ๊ปนี้สักหน่อย แต่ทั้งเรื่องจะยาวมาก ผมจึงลัดมาให้ดูความเห็นของคุณดำรง ใคร่ครวญ รองอธิบดีกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศในปี ๒๕๕๕ ที่ท่านไปศึกษาเรื่องนี้ และนำมารายงานให้ปลัดกระทรวงวัฒนธรรมทราบครับ ประมาณสิบกว่านาที

http://youtu.be/I7pcdSJL_7s?t=487

บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 254  เมื่อ 11 พ.ย. 17, 06:27

และคุณปฏิพัฒน์ พุ่มพงศ์แพทย์

http://youtu.be/I7pcdSJL_7s?t=5438


ถ้าดูจากในคลิปท่านก็ให้ความเห็นว่าไม่สามารถยืนยันถึงขั้นว่านี่คือพระบรมอัฐิของพระเจ้าอุทุมพร
เพราะไม่เจอนามบัตรของพระองค์อยู่ในนั้น
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 15 16 [17] 18 19 ... 32
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.062 วินาที กับ 19 คำสั่ง