เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 409 โรงแรมบูรพา สามยอด
vilat
อสุรผัด
*
ตอบ: 2


 เมื่อ 22 เม.ย. 24, 10:37

ผมกำลังค้นหา ประวัติ รร บูรพา สามยอด ครับ เคยอ่านเจอในจดหมายชาวฝรั่งเศสที่มาเที่ยวเมืองไทย นานมากแล้ว ในหนังสือนำเที่ยวประเทศไทย เป็นภาษาฝรั่งเศส เล่มเก่าของท่าน........ ชุมสาย ผมจำชื่อไม่ได้  ท่านใด พอมีความทรงจำเกี่ยวกับ รร บูรพา สามยอด เรียนขอความรู้ด้วยครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 22 เม.ย. 24, 19:20

ทราบแต่ว่าสร้างในพ.ศ. 2515 ปิดกิจการเมื่อ 14 เมษายน  2563   ไม่ทราบชื่อเอกชนที่เป็นเจ้าของกิจการค่ะ
ปัจจุบันถูกรื้อทิ้งเพื่อสร้างสวนสาธารณะแทน


บันทึกการเข้า
vilat
อสุรผัด
*
ตอบ: 2


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 23 เม.ย. 24, 09:46

ขอบพระคุณมากนะครับ ผมกำลังหารูปเก่าๆ มาเทียบดู เป็นรูปสมัยหลัง ร6 ช่วงที่เริ่มขายวังบูรพา และเวิ้งนาครเขษม กับรูป บ บีกริม ตรงริมสะพานเหล็ก
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 23 เม.ย. 24, 10:41

ทราบอีกเล็กน้อยว่า โรงแรมอยู่ใกล้พาหุรัด  ชาวอินเดียจึงนิยมมาพักมากในยุคก่อนนี้   ต่อมาเมื่อเจอโควิด กิจการซบเซาลงจนกระทั่งปิดตัวลงในที่สุด
ที่ดินตรงนี้ เจ้าของเช่าสนง.ทรัพย์สินฯ อยู่    เมื่อได้ที่ดินคืนไป ทรัพย์สินฯไม่ได้ให้ใครเช่าต่ออีก แต่จะทำสวนสาธารณะแทนค่ะ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12604



ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 23 เม.ย. 24, 11:35

ตึกโรงแรมบูรพา เดิมคือ ห้างบีกริมแอนด์โก ห้างสัญชาติเยอรมัน เป็นอาคารสถาปัตยกรรมแบบนีโอคลาสสิก เริ่มสร้างปลายสมัยรัชกาลที่ ๕ เปิดใช้งานสมัยรัชกาลที่ ๖ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๕

เมื่อห้างบีกริมแอนด์โก ย้ายออกไปสำนักงานแห่งใหม่ บริษัท ไฟฟ้าสยาม คอร์เปอร์เรชั่น บริษัท ผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนสัญชาติเดนมาร์ก ได้เข้ามาใช้เป็นสำนักงานอยู่ระยะหนึ่ง จากนั้น บริษัท ไทยนิยมพานิช จำกัด ได้เข้ามาใช้เป็นสำนักงานเป็นรายต่อมา

ท้ายที่สุดถูกดัดแปลงกลายเป็นโรงแรมบูรพา ตัวอาคารถูกเปลี่ยนรูปแบบไปจากดั้งเดิม แทบมองไม่เห็นเค้าโครงในอดีต โรงแรมเปิดดำเนินกิจการในพ.ศ. ๒๕๒๕ และปิดตัวลงจากสถานการณ์โควิด-๑๙ เมื่อเดือนเมษายน ๒๔๖๓ ล่าสุดสิ้นสุดสัญญาแล้ว จากนี้ไปตัวอาคารจะถูกรื้อออกเพื่อปรับพื้นที่ให้เป็นสวนสาธารณะ "สวนสามยอด" ในเร็ววันนี้

จาก เฟซบุ๊ก 50+



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 23 เม.ย. 24, 11:50

นึกแล้ว  ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 24 เม.ย. 24, 12:46

บันทึกการเข้า
vilat
อสุรผัด
*
ตอบ: 2


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 25 เม.ย. 24, 10:29

เมื่อประตูสามยอด อยู่ที่ริมคลองนี้ แสดงว่า ถนนเยาวราช ก็อยู่นอกเขตกำแพงเมืองเก่าของพระนคร ซิครับ ท่านใดพอมีจินตนาการ คูเมืองเก่า สมัยก่อน ร5 ครับ ผมคิดย้อนไปถึงยุคปู่ของ กรมพระยาดำรงฯ ที่ตั้งบ้านอยู่ริมคลองตรงสะพานเหล็ก ยุค ร4 เยาวราช สำเพ็ง ต้องอยู่นอกกำแพงเมือง..........
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 25 เม.ย. 24, 13:56

คุณ Vilat จะถามถึงคูเมืองหรือกำแพงเมืองคะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 26 เม.ย. 24, 11:31

หายไปเลย 
ไม่เป็นไร ตอบเรื่องคลองคูเมืองก่อนแล้วกัน
1  คลองคูเมืองชั้นในสุด  ขุดตั้งแต่สมัยธนบุรี  เมืองหลวงอยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา แต่ฝ่ายตะวันออกก็มีผู้คนตั้งถิ่นฐานอยู่ด้วยเช่นกัน    สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้ขุดขึ้นเป็นคูเมืองด้านตะวันออกของกรุงธนบุรี ซึ่งกินอาณาเขตเลยมาทางด้านฝั่งพระนคร   
    คูเมืองที่ว่านี้ปลายออกแม่น้ำเจ้าพระยาทั้ง 2 ด้าน คือ ด้านเหนือที่ท่าช้างวังหน้า ด้านใต้ที่ปากคลองตลาด
    เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงย้ายราชธานีมาอยู่ฝั่งพระนคร โปรดให้ขุดคูเมืองใหม่เพื่อขยายอาณาเขตราชธานี คลองคูเมืองเดิมจึงกลายเป็นเส้นทางสัญจรของราษฎร ไม่ได้ใช้ประโยชน์เป็นคูเมืองอีกต่อไป
    คลองเดียวกันแต่มีขื่อเรียกหลายชื่อ ประชาชนเรียกตามสถานที่ที่คลองผ่าน เช่น ปากคลองด้านเหนือผ่านโรงไหมหลวง เรียก "คลองโรงไหมหลวง" ปากคลองด้านใต้เป็นตลาดคึกคักทั้งบนบกและในน้ำ จึงเรียก "ปากคลองตลาด" ส่วนตอนกลางระหว่างคลองหลอดวัดราชนัดดา (คลองหลอดข้างวัดบุรณศิริมาตยาราม) กับคลองหลอดวัดราชบพิธ ได้มีประกาศของสุขาภิบาล ร.ศ. 127 ให้เรียกว่า "คลองหลอด" ซึ่งหมายถึงคลองที่อยู่ระหว่างคลองหลอดทั้งสอง แต่ภายหลังคนทั่วไปมักเรียกคลองนี้ตลอดสายว่า "คลองหลอด" ซึ่งผิดจากข้อเท็จจริง
    เนื่องในโอกาสสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี รัฐบาลจึงมีมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2525 ให้เรียกชื่อคลองให้ถูกต้องตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ว่า "คลองคูเมืองเดิม"
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 26 เม.ย. 24, 11:46

2  คลองชั้นกลาง  ชื่อว่า คลองรอบกรุง  ขุดขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช  เมื่อ พ.ศ. 2326   แยกจากแม่น้ำเจ้าพระยาที่บริเวณข้างป้อมพระสุเมรุ และไปออกแม่น้ำเจ้าพระยาที่บริเวณข้างสะพานพุทธยอดฟ้า
คูพระนครใหม่นี้โปรดเกล้าฯ ให้ขุดขนานไปกับแนวคูเมืองเดิม เริ่มจากริมแม่น้ำตอนบางลำพู วกไปออกแม่น้ำข้างใต้ บริเวณเหนือวัดสามปลื้ม พระราชทานนามว่า "คลองรอบกรุง"

     คลองเดียวกันแต่มีหลายชื่อ เพราะประชาชนรียกชื่อคลองตามสถานที่ที่คลองผ่าน เช่น ปากทางต่อจากแม่น้ำเจ้าพระยาข้างป้อมพระสุเมรุเรียก "คลองบางลำพู" ตามชื่อตำบล  เมื่อผ่านสะพานหันเรียก "คลองสะพานหัน" เมื่อผ่านวัดเชิงเลน เรียก "คลองวัดเชิงเลน"    ช่วงสุดท้ายก่อนออกแม่น้ำเจ้าพระยาที่บริเวณข้างสะพานพุทธเรียก "คลองโอ่งอ่าง" เพราะเคยเป็นแหล่งค้าขายเครื่องดินเผาของชาวมอญและชาวจีน
เมื่อสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2525 คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2525 ให้เรียกชื่อว่า "คลองรอบกรุง"
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 26 เม.ย. 24, 11:49

  3 คลองชั้นนอกสุด  คือคลองผดุงกรุงเกษม เป็นคลองขุดรอบพระนครชั้นนอก (ชั้นที่สาม) ขุดขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ. 2394   คลองนี้เริ่มจากปากคลองริมแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณวัดเทวราชกุญชร (วัดสมอแครง) ย่านเทเวศร์ มีแนวขนานไปกับคลองคูเมืองเดิม ผ่านย่านหัวลำโพง ตัดผ่านคลองมหานาคไปทะลุแม่น้ำเจ้าพระยาอีกด้านหนึ่งบริเวณวัดแก้วแจ่มฟ้า สี่พระยา   เมื่อเสร็จ ได้รับพระราชทานชื่อว่า "คลองผดุงกรุงเกษม"



บันทึกการเข้า
vilat
อสุรผัด
*
ตอบ: 2


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 27 เม.ย. 24, 09:03

เรียน ท่าน เทาชมพู ในช่องความคิดที่8
ที่ผมสนใจคือ กำแพงเมืองเก่า ตรงประตูสามยอดครับ จุดนั้นทำให้ผมมองเห็นภาพ พระนคร สมัย ร4 ได้ว่ามีขอบเขตล้อมรอบด้วยกำแพงเมือง และเห็นภาพถนนเยาวราช ปัจจุบัน เป็นพื้นที่นอกกำแพงเมือง นี้คือจุดที่ผมจินตนาการภาพ ผังเมือง สมัย ร4 ครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 27 เม.ย. 24, 10:41

 ยิ้ม


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 27 เม.ย. 24, 10:45

 ยิ้ม


บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.064 วินาที กับ 20 คำสั่ง