เรือนไทย

General Category => ประวัติศาสตร์ไทย => ข้อความที่เริ่มโดย: NAVARAT.C ที่ 15 เม.ย. 11, 09:16



กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 15 เม.ย. 11, 09:16
หอบลูกจูงหลานไปชม“ตำนานสมเด็จพระนเรศวร ภาคยุทธนาวี”มา ก็เข้าใจอยู่ว่า ตำนานนี้เป็นจินตนาภาพของท่านมุ้ยเองล้วนๆหาใช่ข้อเท็จจริงตามประวัติศาสตร์ไม่ จึงไม่ว่ากระไร พยายามดูหนังเพื่อการบันเทิงไปตามจุดมุ่งหมายของผู้สร้าง

วันนี้จะขอเอาจินตนาภาพของจิตรกรสมัยรัชกาลที่๕มาให้ดูบ้าง จะเห็นได้ว่าเพียงร้อยกว่าปีมานี้ ศิลปินต่างสมัยทั้ง๒ยุค มองเห็นภาพในอดีตสมัยกรุงศรีอยุธยาต่างกันอย่างไร

ผมมีความเชื่อว่า วิถีชีวิตและอุปกรณ์ของมนุษย์สมัยรัชกาลที่๕เจริญขึ้นกว่าสมัยสมเด็จพระนเรศวรจะกี่เท่านั้น ก็เป็นแค่ตัวเลขคูณกับจำนวนปี ในขณะที่ปัจจุบันนี้ ตัวเลขความเจริญทวีขึ้นในอัตราเลขยกกำลัง ดังนั้นความคิดความอ่านของเด็กๆและเยาวชนเดี๋ยวนี้จะมองประวัติศาสตร์อย่างไร ย่อมไม่เหมือนคนสมัยผม ที่เรียกกันว่าคนหัวโบราณ ไม่ทันโลกอย่างท่านมุ้ย ต้องขอสารภาพไว้ก่อน

บรรยากาศการรบ เครื่องแบบ และยุทโธปกรณ์ในภาพที่ผมนำมาให้ดูนี้ น่าจะใกล้เคียงความจริงในสมัยอยุธยามาก เพราะช้างศึก ม้าศึก หรือเรือรบ ปืนใหญ่ สมัยต้นรัตนโกสินทร์ ก็ยังไม่ได้แตกต่างกับสมัยอยุธยานัก จิตรกรสมัยรัชกาลที่๕ยังพอจะทันๆเห็นสิ่งเหล่านั้นอยู่ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าทุกอย่างที่ปรากฎในภาพถูกต้องตามข้อเท็จจริง
หลายสิ่ง ท่านมุ้ยนำเสนอไว้ในหนังก็มีเหตุมีผลกว่า


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 15 เม.ย. 11, 09:18
ภาพชุดนี้ สร้างขึ้นโดยพระราชดำริของสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ โดยโปรดให้จิตรกรมีชื่อเขียนถ่ายทอดเหตุการณ์สำคัญๆ ที่จารึกอยู่ในพระราชพงศาวดาร ผมเลือกมาเฉพาะภาพที่เกี่ยวกับสมเด็จพระนเรศวร และมีเพียง๕ภาพ จะค่อยๆทะยอยลงทีละภาพ เผื่อให้ท่านมีโอกาสช่วยเสริมเติมแต่ง วิพากษ์วิจารณ์ได้ตามอัธยาศัย

ภาพแรก สมเด็จพระนเรศวรทรงยิงปืนข้ามแม่น้ำโสตง(สะกดตามต้นฉบับ) พระจ่าง เขียนเมื่อยังเป็นภิกษุ ภายหลังรับราชกาลได้เป็นพระวิทยประจง ได้รับรางวัลที่๖ รับพระราชทานลูกปืน๑ลูก เงิน๑ชั่ง๕บาท


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 15 เม.ย. 11, 09:20
ขยายภาพ ทรงประทับพระแสงปืนต้น ยิงบนหลังช้างทรงเครื่องคชาภรณ์ ประดับฉัตรทองเต็มยศ จะดูมากไปหน่อยสำหรับช่วงเวลาวิกฤตที่ยังทรงไม่ต่างกับเชลย เพราะยังอยู่ในดินแดนศัตรูต้องรีบหนีสุดแผ่นดินให้พ้นเงื้อมมือพม่า


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 15 เม.ย. 11, 09:22
ท่านมุ้ยจัดให้พระนเรศวรลงมาประทับยิงบนพื้น ซึ่งมีเหตุมีผลกว่า เพราะปืนสมัยนั้นบวกกับความกว้างจริงของแม่น้ำ การยิงโดนเป้าหมายก็เหมือนนักกอล์ฟทำโฮลอินวัน คือ เป็นไปได้แต่ยากมากถึงยากที่สุด ยิ่งถ้ายิงบนคอช้างที่เป็นสัตว์ไม่มีวันที่จะยืนให้นิ่งๆได้ ก็เป็นเรื่องที่เหลือเชื่อเกินกว่าจะปลงใจ


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 15 เม.ย. 11, 11:57
        มารอชมภาพต่อไป ค่ะ
        นำพระราชพงศาวดารมาทบทวนความทรงจำกัน  ภาพที่วาดคงจะวาดตามหลักฐานนี้

        ปีพศ.๒๑๒๖ พระเจ้าอังวะคิดแข็งเมืองไม่ยอมขึ้นต่อหงสาวดี พระเจ้านันทบุเรงได้ สั่งให้ประเทศราช (เมืองแปร ตองอู เชียงใหม่ ลาว และกรุงศรีฯ)ยกทัพไปปราบ สมเด็จพระนเรศวรทรง รอโอกาสที่จะแข็งเมืองอยู่เช่นกัน จึงทรงเดินทัพช้าๆเพื่อรอ ฟังผลการรบ ถ้าทางหงสาวดีชนะก็จะทรงกวาดต้อนคนไทยกลับกรุงศรีอยุธยา แต่ถ้าทางหงสาวดีแพ้ก็จะทรงยกทัพไปตีซ้ำ แต่ว่าทางหงสาวดีก็ไม่ไว้ใจสมเด็จพระนเรศวรอยู่แล้วจึงคิดจะกำจัด โดยสั่งให้พระยาเกียรติและพระยารามซึ่งเป็นมอญไปรับเสด็จพระนเรศวรที่เมืองแครง รอตีขนาบหลังจากที่ทัพพระมหาอุปราชเข้าโจมตี

        ด้วยพระบารมีของสมเด็จพระนเรศวรทำให้พระยาเกียรติและพระยารามนำความ เข้ามาปรึกษามหาเถรคันฉ่องพระอาจารย์ พระมหาเถรคันฉ่องจึงนำเรื่องกราบทูล สมเด็จพระนเรศวรและเล่าความจริงทั้งหมดที่ทางหงสาวดีคิดไม่ซื่อ สมเด็จพระนเรศวรทรงเรียกประชุมแม่ทัพนายกอง นิมนต์พระมหาเถรคันฉ่องพร้อมด้วยพระยาทั้งสองเข้าร่วมประชุมพร้อมเพรียงกัน แล้วทรงเล่าเรื่องที่พระเจ้านันทบุเรงคิดไม่ซื่อจะหลอกฆ่าพระองค์

        เวลาในการประกาศอิสรภาพได้มาถึงแล้ว สมเด็จพระนเรศวรทรงหลั่งน้ำลงเหนือแผ่นดินด้วยสุวรรณภิงคาร(น้ำเต้าทอง) ทรงประกาศแก่เทพยดาต่อหน้าที่ประชุมว่า " ตั้งแต่วันนี้ กรุงศรีอยุธยาขาดทางไมตรีกับกรุงหงสาวดี มิได้เป็นมิตรต่อกันดังแต่ก่อนสืบไป " พระราชพิธีนี้เกิดขึ้นในวันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๑๒๗ ณ.เมืองแครง จากนั้นพระองค์ ทรงมีดำรัสถามชาวมอญที่อยู่ในเมืองแครงว่าจะอยู่ข้างไทยหรือพม่า ส่วนมากจะอยู่ข้างไทยแล้วทรงรับสั่งให้จัดทัพเพื่อไปตีเมืองหงสาวดี

        สมเด็จพระนเรศวรทรงยกกองทัพข้ามแม่น้ำสะโตง จวนจะถึงหงสาวดีก็ทราบข่าวว่าพระเจ้าหงสาวดีรบชนะพระเจ้า อังวะ และกำลังยกทัพกลับกรุงหงสาวดี สมเด็จพระนเรศวรทรงคิดพิจารณาแล้วว่า การจะตีหงสาวดีครั้งนี้คงไม่สำเร็จ จึงให้ทหารเที่ยวไปกระจายข่าวบอกชาวไทยที่ถูกพม่ากวาดต้อนมาให้เดินทาง กลับเมืองไทยได้จำนวนหมื่นเศษ สมเด็จพระนเรศวรทรงให้ชาวบ้านข้ามแม่น้ำ สะโตงไปจนหมด แล้วพระองค์ทรงอยู่คุมกองหลังข้ามแม่น้ำสะโตงเป็นชุดสุดท้าย(แสดงถึงความ เป็นผู้นำที่ยอดเยี่ยมและกล้าหาญมาก) ขณะนั้นพระมหาอุปราช(มังสามเกียด)ได้จัดทัพติดตามมาให้สุรกรรมาเป็นกองหน้า แล้วมาทันกันที่แม่น้ำสะโตงซึ่งมีความกว้างประมาณ ๔๐๐ เมตร ทางพม่าก็ยิงปืนข้ามมาแต่ไม่ถูก สมเด็จ พระนเรศวรทรงประทับอยู่บนคอช้างริมแม่น้ำทรงประทับพระแสงปืนยาว ๙ คืบหรือ ๒ เมตร ๒๕ เซ็นติเมตร (แล้วทรงอธิฐานถ้าการ กู้ชาติสำเร็จขอให้ยิงถูกข้าศึก) ทรงยิงไปถูกสุรกรรมาตายอยู่บนคอช้าง ทำให้พม่าเกรงกลัวและถอยทัพกลับไป พระแสงปืนต้นนี้มีนามว่า “ พระแสงปืนต้นข้ามแม่น้ำสะโตง ” หลังจากนั้นสมเด็จพระนเรศวรทรงเสด็จกลับกรุงศรีอยุธยา

        พระแสงปืนที่ใช้ยิงสุรกรรมาตายบนคอช้างนี้ได้นามปรากฎต่อมา ว่า "พระแสงปืนต้นข้ามแม่น้ำสะโตง" นับเป็น พระแสงอัษฎาวุธ อันเป็นเครื่องราชูปโภค ยังปรากฏอยู่จนถึงทุกวันนี้

        http://www.panyathai.or.th/wiki


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 15 เม.ย. 11, 12:11
พระแสงปืนต้นข้ามแม่น้ำสะโตง  จากเว็บปัญญาไทย

(http://www.panyathai.or.th/wiki/images/Untitledklo.JPG)


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 15 เม.ย. 11, 13:20
แนบภาพลักษณะทางภูมิศาสตร์ของแม่น้ำสะโตง หรือ Sittang River ตั้งอยูด้านตะวันออกของเมืองหงสาวดี แม่น้ำไหลออกสู่อ่าวเมาะตะมะ ปากแม่น้ำรูปพัด สะสมตะกอนปากแม่น้ำจำนวนมาก


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 15 เม.ย. 11, 13:27
ส่วนมากจะระบุไว้ว่า การข้ามทัพของสมเด็จพระนเรศวรนั้น เลือกบริเวณที่ส่วนที่แคบที่สุดของแม่น้ำ ซึ่งทำโดยสร้างแพข้าม ให้ผู้คนอพยพข้ามแม่น้ำไป ซึ่งตรงกันข้าม (พื้นที่สีเหลือง) เป็นบริเวณเมืองโบราณสะโตง และปัจจุบันเป็นเส้นทางรถไฟข้ามผ่านบริเวณนี้ด้วย


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 15 เม.ย. 11, 14:18
เอารูปหายากมาให้ชม

ในพระราชพิธีนั้น เมื่อเจ้าพนักงานทอดพระราชอาสน์เสร็จ จะต้องอันเชิญพระแสงราชศาสตราวุธมาประดิษฐานไว้เบื่องพระปฤษฎางค์ตามโบราณราชประเพณี ประกอบด้วยพระแสงง้าวและพระแสงปืนยาว

แสดงว่ากษัตริย์ในสมัยโบราณนั้น จะไว้ใจใครไม่ได้ทั้งสิ้น แม้กระทั่งเสด็จมากระทำพระราชพิธีในโบสถ์ ซึ่งเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์และถือเป็นเขตอภัยทาน เว้นจากการกระทำปาณาติบาทก็ตาม
แต่โบราณราชประเพณีดังกล่าวในปัจจุบันถือเป็นวัฒนธรรมมากกว่าจะเอาจริงเอาจัง
พระแสงปืนได้หยุดความทันสมัยไว้ตั้งแต่สมัยพระพุทธเจ้าหลวงมั้ง เพราะเป็นปืนลูกเลื่อนยุคแรกๆ
ส่วนพระแสงง้าว นึกภาพไม่ออกว่าจะทรงฉวยเอาออกมาใช้ได้อย่างไร

แต่ถ้าเป็นสมัยสมเด็จพระนเรศวรละก็ ผู้คิดร้ายต่อพระองค์คงไม่กล้าขยับ


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 15 เม.ย. 11, 14:55
ภาพที่๒ สมเด็จพระนเรศวรรบศึกเชียงใหม่

หลังประกาศอิสรภาพและเสด็จคืนสู่กรุงศรีอยุธยาแล้ว พระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงได้โปรดให้มังนรธาช่อ พระอนุชาที่ส่งมาเป็นเจ้าเมืองเชียงใหม่ คุมพลลงมาตีอยุธยาทันทีแต่ไม่สำเร็จ พระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงทรงมีพระราชดำรัสให้เตรียมการศึกเป็นครั้งที่๒ แบบยืดเยื้อ โดยพระมหาอุปราชายกพลลงมาคุมการทำนาที่เมืองกำแพงเพชร ส่วนพระเจ้าเชียงใหม่มังนรธาช่อ ให้ยกพลลงมาขัดขวางไม่ให้บรรดาหัวเมืองอื่นๆรอบพระนครทำนาได้ หวังให้กรุงสรีอยุธยาขัดสนเสบียงอาหาร เมื่อหมดหน้าฝนแล้ว พระองค์จะทรงยกทัพใหญ่ลงมาตีไทย

พระนเรศวรและพระเอกาทศรถทรงคุมพลแปดหมื่นไปรับทัพเชียงใหม่ ครั้งหนึ่งเสด็จโดยเรือพระที่นั่งไปถึงป่าโมกน้อยเพื่อดูกำลังข้าศึก เสด็จขึ้นจากเรือพระที่นั่งบัญชาการให้ทหารไทยเข้ารบกับทหารพม่า พระนเรศวรทรงพระแสงปืนนกสับยิงถูกนายม้าผู้ดีห่มเสื้อสักหลาดแดง ขัดดาบบั้งทองตกลงมาจากหลังม้า ข้าศึกแตกพ่ายยับ ทหารไทยจึงตัดหัวนายทหารม้านั้น พร้อมทั้งนำเสื้อสักหลาด ดาบบั้งทอง และม้า กลับมาถวายพระนเรศวร


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 15 เม.ย. 11, 14:58
ดูภาพขยายนี้แล้วชวนให้เข้าใจว่า ปืนนกสับสมัยนั้นน่าจะเป็นอาวุธร้ายแรง แพงและหายาก มีพระนเรศวรพระองค์เดียวที่ทรงสามารถจะมีใช้ได้ แม้พระเอกาทศรถยังถือแต่ดาบในมือ ส่วนพม่า(เชียงใหม่)ยังไม่มีใครมีเลย เมื่อเห็นนายโดนปืนไฟเสียงราวกับฟ้าผ่าตกจากหลังม้า ก็เกรงกลัวต่ออาวุธมหาประลัยดังกล่าวจนไม่เป็นอันรบ จึงพ่ายแพ้ง่ายดาย

จิตรกรผู้เขียนภาพนี้ไม่ได้รางวัล เลยไม่มีนามปรากฏ


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 15 เม.ย. 11, 14:58
อ่านเจอในบางเว็บว่า พระแสงปืนนี้เรียกว่าปืนสับนก  ยาว ๙ คืบ   แต่ที่เราเคยคุยกันในกระทู้ ชาติพันธุ์วรรณาในขุนช้างขุนแผน  ท่าน
NAVARAT.C  เคยตอบว่า    

        
อ้างถึง
ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 29 ต.ค. 09, 11:10
   .... ส่วนคำถามเรื่องพระแสงปืนต้นข้ามแม่น้ำสะโตงเป็นปืนคาบศิลาหรือเปล่านั้น ถ้าตอบสั้นๆตรงๆก็ -ใช่ครับ-
        แต่ปืนโบราณที่รวมๆเรียกว่าคาบศิลามี ด้วยกัน3ประเภท ในเวปมีพูดถึงพระแสงปืนต้นของสมเด็จพระนเรศวรไว้โดยพิศดารว่าเป็นประเภทไหน เหมือนกัน  

        เลยยังไม่รู้ว่าปืนคาบศิลาหรือปืนสับนก เป็นชนิดเดียวกันหรือคนละชนิด   ยาว ๙ คืบ เท่ากับกี่ฟุต หรือกี่เมตรคะ

       ป.ล. บางเว็บเรียกนกสับ บางเว็บเรียกสับนก  ไม่รู้อย่างไหนถูกค่ะ


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 15 เม.ย. 11, 15:03
ปืนนี้เรียกเต็มๆว่าปืนมณฑกนกสับครับ ส่วนสับนกไม่น่าจะเป็นชื่อปืน แต่เป็นชื่อแกงป่าแบบนึงน่ะครับ ;D
ปืน๙คืบ=๒เมตรกับอีก๒๕เซนต์ ยาวท่วมหัวคน


ปืนที่ทรงนำไปยิงพม่าคราวนี้ เข้าใจว่าน่าจะเป็นคนละกระบอกกับพระแสงปืนต้นข้ามแม่น้ำสะโตงนะครับ
ปืนขนาดยิงข้ามแม่น้ำได้ยาว๙คืบนี้ ใหญ่และหนักมาก เอาใส่เรือพระที่นั่งไปในศึกครั้งนี้คงไม่สะดวก


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 15 เม.ย. 11, 16:20
กลุ่มพระแสงราชศาสตราวุธ ซึ่งสร้างในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ สำหรับประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก รวมทั้งปืนข้ามแม่น้ำสะโตงด้วย


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 15 เม.ย. 11, 16:26
รายละเอียดบริเวณนกสับทำเป็นครุฑ ศิลปะงานคร่ำทอง และที่สับทำเป็นหัวสิงห์ งดงามมาก ซึ่งสร้างในสมัยรัชกาลที่ ๑ ทรงสร้างขึ้นเพื่อเป็นพระราชศาสตราวุธ รำลึกแห่งวีรกรรมครั้งสมเด็จพระนเรศวรทรงยิงปืนข้ามแม่น้ำสะโตง


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 15 เม.ย. 11, 16:29
หัวสิงห์


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 15 เม.ย. 11, 16:47
มีแต่รูปสมเด็จพระนเรศวรทรงพระแสงปืนต้น ข้ามแม่น้ำสะโตง อีกรูปหนึ่ง  ไม่ทราบฝีมือใครค่ะ


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 15 เม.ย. 11, 17:13
^
คล้ายๆฝีมือเหม เวชกร


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 15 เม.ย. 11, 17:29
เรื่องพระแสงปืนต้นข้ามแม่น้ำสะโตงนี้น่าสนใจ ท่านมุ้ยเคยใช้นามแฝงว่า Cinephile เข้าเวปมาแถลงเองตอนที่กระแสแรงว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องโม้ของนักแต่งประวัติศาสตร์ ลองอ่านดูนะครับ

เถียงกันจังเลยครับเรื่องพระแสงปืนต้นข้ามแม่น้ำสโตง

หัวข้อก็เห็นจะเป็นปืนต้นของสมเด็จพระนเรศวรสามารถยิงข้ามแม่น้ำสะโตงไปได้หรือเปล่า
และ สามารถยิงถูกสุระกำมาได้จริงหรือเปล่า

เมื่อแรกตอนที่ผมอ่านพระราชพงศาวดารมาถึงตอนนี้ ผมเองก็ไม่เชื่อเหหมือนกันว่าปืนนกสับดินดำนี่น่ะหรือ สามารถที่จะยิงข้ามแม่น้ำที่กว้างใหญ่อย่างแม่น้ำสะโตงได้
แต่เพื่อความเป็นธรรมผมก็ต้องพิสูจน์ว่าความเป็นไปได้มันมากน้อยแค่ไหน
ก่อนอื่นเราต้องรู้ก่อนว่าสมเด็จพระนเรศวรข้ามแม่น้ำสะโตงที่ไหน
บริเวณที่จะข้ามได้ ถ้าเดินทางจากหงสาวดีหรือจากเมืองแครง(นี่ก็อีกประเด็นหนึ่ง คือเมืองที่ว่านี้คือเมืองอะไร) ก็น่าจะมีอยู่ที่เดียวคือที่เมืองสะโตงหรือเมืองจิตตอง
เมืองนี้คือเมืองที่สมิงทุดดอล่อให้พระเจ้าตะเบ็งชเวตี้มาจับช้างเผือกแล้วจับสังหารเสีย (พงศาวดารของพม่ายิ่งไม่น่าเชื่อกว่าของเราเสียอีกเพราะระบุว่าเมือพระเจ้าตะเบ็งชเวตี้ถูกตัดหัว ตาของพระเจ้าตะเบ็งชเวตี้ยังกลับกรอก กระพริบได้อีกวันหนึ่งทีเดียวเลยครับ)
เมืองสะโตงนี่เป็นท่าข้ามแม่น้ำสะโตงมาแต่โบราณ จนพวกอังกฤษมาสร้างสะพานรถไฟข้ามที่ตรงนั้น แต่ระเบิดทิ้งตอนสงครามโลกครังที่สองเพื่อป้องกันไม่ให้ญี่ปุ่นข้ามแม่น้ำสะโตงมาตีย่างกุ้งได้ (สมัยนั้นเราเรียกแรงกูนว่าย่างกุ้งครับ) ตรงบริเวณนั้นแม่น้ำสะโตงกว้าง 670 เมตรครับ

อันนี้เป็นแผนที่ที่คนอังกฤษทำเอาไว้เมื่อสมัยสงครามโลกครั้งที่สองครับ


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 15 เม.ย. 11, 17:31
ผมเดินทางไปสำรวจบริเวณที่เชื่อว่าเป็นบริเวณที่สมเด็จพระนเรศวรข้ามแม่น้ำสะโตงหลายครั้ง เช่าเรือข้ามแม่น้ำสะโตงไปดูทั้งสองฝั่งแม่น้ำเพื่อให้ได้ข้อมูลที่สมบรูณ์ที่สุด ใช้เครื่องวัดระยะเลเซอร์ตรวจดูความกว้าง พบว่าจากชายน้ำถึงชายน้ำกว้าง 620 เมตรครับ ดังนั้นพระแสงปืนต้นจะต้องยิงได้ไกลกว่่า 620 เมตร ครับ

ภาพนี้คือภาพที่ผมยืนถ่ายรูปที่ริมแม่น้ำสะโตง บริเวณที่เชื่อว่าเป็นที่ที่พระนเรศวรยิงพระแสงปืนต้นข้ามแม่น้ำสะโตง ส่วนตอหม้อที่เห็นในพื้นหลังเป็นตอหม้อของสะพานรถไฟที่อังกฤษระเบิดทิ้งในสมัยสงครามโลกครั้งที่สองครับ  


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 15 เม.ย. 11, 17:34
เมื่อรู้ระยะแน่นอนว่าระยะทางที่ปืนของพระนเรศวรจะต้องยิงสุระกำมานั้นเป็นระยะห่างออกไปเท่าไร คราวนี้ลองมาดูพระแสงปืนต้นว่ายิงถึงหรือไม่

ปืนต้นที่สมเด็จพระนเรศวรยิงนั้นเป็นปืนประเภทเดียวกับปืนที่ผมเคยเห็นในอินเดีย (Rajastan) ที่เรียกกันว่า Siege Gun คือใช้ยิงข้าศึกจากกำแพงป้อม ซึ่งผู้อำนวยการของพิพิธภัณฑ์เล่าว่าสามารถยิงข้าศึกได้ไกลถึงสองกิโลเมตร
ไม่น่าเชื่อ แต่เอาแค่ครึ่งเดียว คือ 1กม. ก็สามารถยิงข้ามแม่น้ำสะโตงได้แล้วครับ


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 15 เม.ย. 11, 17:41
เราให้กรมสรรพาวุธจำลองพระแสงปืนต้น ให้มีขนาดเท่ากับในพระราชพงศาวดารคือ 9 คืบ แล้วลองยิงดู พบว่าระยะทางขึ้นอยู่กับการอัดดินดำ ซึ่งถ้าถูกสัดส่วนก็สามารถยิงได้ไกลกว่า 800 เมตร ครับ
ดังนั้นประเด็นของปืนยิงถึงหรือไม่ถึงเป็นอันตกไป คือพระแสงปืนต้นสามารถยิงข้มแม่น้ำสะโตงได้แน่นอน
ส่วนเรื่องจะถูกหรือไม่ถูกก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งครับ

ปืนที่เห็นในรูปคือปืนพระแสงปืนต้นจำลอง ยาว 9 คืบ
เรื่องจะถูกหรือไม่คุณ Niceguy ใน คห. 50 อธิบายแล้วครับ ว่ามันเหมือนตี Hole in one นั่นแหละครับ เพราะใครจะคิอว่าคนเราสามารถตีลูกกอล์ฟ ระยะทางเกือบครึ่งกิโลไปลงในหลุมเล็กๆได้ แต่ก็มีคนทำได้ครับคือนายไมเคิล เจ. คลีน ครับ

Longest Hole-In-One
Michael J. Crean of Denver, CO- 517 yard par 5 9th hole at the Green Valley Ranch Golf Club on July 4, 2002.

แต่คงจะไม่มีใครตี Hole in One ได้ตลอดไป

การที่สมเด็จพระนเรศวรยิงถูกสุระกำมานั้น จะเรียกว่าฟลุ๊คก็ได้ แต่ก็ทำความแตกตื่นให้กับกองทัพพม่าจนถึงกับแตกหนีถอยกลับไป เพราะทหารพม่าคงเห็นว่าเป็นกฤษดาภินิหารของสมเด็จพระนเรศวร เพราะอย่างที่ทุกคนคิดนั่นแหละครับว่าเป็นไปไม่ได้ที่สมเด็จพระนเรศวรจะทรงปืนต้นยิงถูกสุระกำมาได้ แต่ถ้าสมเด็จพระนเรศวรทรงยิงอีกสิบกว่านัด พวกพม่าก็คงคิดว่าที่สมเด็จพระนเรศวรยองถูกสุระกำมาตายนั้นเป็นเรื่องฟลุ๊ค ดีที่สมเด็จพระนเรศวรยิงเพียงนัดเดียว (หรือหลายนัดก็ไม่รู้เหมือนกัน)


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 15 เม.ย. 11, 22:48
พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ที่ทุ่งมะชามหย่อง อยุธยา มีภาพหล่อโลหะนูนต่ำไว้ดังนี้

http://www.siamnava.com/fff/index.php?topic=2129.0


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: katathorn ที่ 16 เม.ย. 11, 07:14
สวัสดีครับเพิ่งสมัครมาเปนสมาชิกใหม่นะครับ :-[

เรื่องพระแสงปืนต้นข้ามแม่น้ำสะโตงนี่ ผมว่าพระแสงปืนที่รัชกาลที่หนึ่ง ทรงให้สร้างจำลองขึ้นมาเปนแบบปืนคาบชุดนั้นก็นับว่าถูกต้องและหน้าจะใกล้เคียงที่สุดครับ เพราะว่าในรัชสมัยของสมเด็จพระนเรศวรราชาธิราช(สมเด็จพระนเรศวร พ.ศ. ๒๐๙๘- ๒๕ เมษายน พ.ศ. ๒๑๔๘) )น่าจะราวๆสมัยศตวรรษที่ ๑๖ ซึ่งสมัยนั้นเองยังใช้ปืนที่เรียกกันว่า อาร์กิวบัสและแมทล็อก ปืนคาบชุด(ไฟ)หรือปืนชนวน

กลไกของปืนชนิดนี้คือใส่ดินปืนลงบนจานดินปืนแล้วใส่กระสุนกลมๆ และดินปืนทางปากกระบอกปืนแล้วกระทุ้งให้ดินปืนและกระสุนไปอยู่ในรังดินปืน ทางท้ายลำกล้อง เมื่อเหนี่ยวไกก็จะมีเหล็กรูปงูที่ติดเชือกที่ติดไฟเอาไว้(ไหม้ช้าๆคล้ายๆธูปซึ่งพลปืนจะต้องคอยปรับและเลื่อนกะระยะของเชือกให้พอดีกับจาน)ตีลงไปที่จานดินปืนจะเป็นการจุดสายชนวนไปที่ท้าย ลำกล้องทำให้ดินปืนระเบิดขึ้น
ปืนคาบชุดนั้นไม่ค่อยดีนัก เพราะการที่ต้องถือเชือกติดไฟแล้วออกเวรยามตอนกลางคืนนั้นเป็นเป้าสายตาได้ ดีเลยทีเดียว ซ้ำยังต้องคอยระวังไม่ให้เชือกที่ติดไฟดับหรือไหม้หมดไม่สามารถใช้ได้เมื่ออากาศชื้นเพราะจะทำให้จุดชนวนดินปืนไม่ติด  และเมื่อฝนตกด้วยแล้วปืนชนิดนี้แทบจะใช้การไม่ได้เลย
(http://www.japanese-guns.com/gold_carp_waterfall_gun/goldinlaypistolfull.jpg)
(http://www.engerisser.de/Bilder/Waffen/Luntenschlossschema.jpg)
(http://i281.photobucket.com/albums/kk222/katathorn/paint/display_805_JAPANESE_TEPPO_ARQUEBUS_OF_EXCEPTIONAL_QUALITY__CA_1600s-1700s_633665886197843750.jpg)

แต่ในภาพยนต์และงานศิลปกรรมที่เกี่ยวกับพระราชประวัติในรัชสมัยของพระองค์หลายๆเรื่องมักจะใช้เปนปืนนกสับคาบศิลาไปเสียอย่างนั้น

ซึ่งปืนนกสับคาบศิลาเริ่มจะมีใช้กันช่วงประมาณกลางศตวรรษที่ ๑๗ ครับ โดยชาวเยอรมันซึ่งเปนโจรขโมยไก่ เห็นว่าการใช้ปืนคาบชุดเวลากลางคืนนั้นทำให้ถูกสังเกตุเห็นได้ง่าย จึงคิดประดิษฐ์ดัดแปลงเอาหินเหล็กไฟมาใส่แทนเสีย โดยปืนชนิดนี้เดิมทีนั้นเรียกว่า สแนป ฮันท์(ถ้าจำผิดก็ขออภัย) อันเปนชื่อของผู้ประดิษฐ์หรือเรียกตามลักษณะของนกสับคาบศิลา(อันนี้ก็ยังไม่แน่ใจครับลืมไปแล้ว)  ต่อมาอาวุธชิ้นนี้ได้กลายเป็นอาวุธหลักของกองทัพยุโรปราวศตวรรษที่ ๑๘
(http://visual.merriam-webster.com/images/society/weapons/harquebus/flintlock.jpg)
ผิดพลาดล่วงเกินประการใดก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ครับ


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 16 เม.ย. 11, 08:15
สวัสดีครับเพิ่งสมัครมาเปนสมาชิกใหม่นะครับ :-[

เรื่องพระแสงปืนต้นข้ามแม่น้ำสะโตงนี่ ผมว่าพระแสงปืนที่รัชกาลที่หนึ่ง ทรงให้สร้างจำลองขึ้นมาเปนแบบปืนคาบชุดนั้นก็นับว่าถูกต้องและหน้าจะใกล้เคียงที่สุดครับ เพราะว่าในรัชสมัยของสมเด็จพระนเรศวรราชาธิราช(สมเด็จพระนเรศวร พ.ศ. ๒๐๙๘- ๒๕ เมษายน พ.ศ. ๒๑๔๘) )น่าจะราวๆสมัยศตวรรษที่ ๑๖ ซึ่งสมัยนั้นเองยังใช้ปืนที่เรียกกันว่า อาร์กิวบัสและแมทล็อก ปืนคาบชุด(ไฟ)หรือปืนชนวน

กลไกของปืนชนิดนี้คือใส่ดินปืนลงบนจานดินปืนแล้วใส่กระสุนกลมๆ และดินปืนทางปากกระบอกปืนแล้วกระทุ้งให้ดินปืนและกระสุนไปอยู่ในรังดินปืน ทางท้ายลำกล้อง เมื่อเหนี่ยวไกก็จะมีเหล็กรูปงูที่ติดเชือกที่ติดไฟเอาไว้(ไหม้ช้าๆคล้ายๆธูปซึ่งพลปืนจะต้องคอยปรับและเลื่อนกะระยะของเชือกให้พอดีกับจาน)ตีลงไปที่จานดินปืนจะเป็นการจุดสายชนวนไปที่ท้าย ลำกล้องทำให้ดินปืนระเบิดขึ้น

ภาพแสดงการทำงานของกลไก

(http://topicstock.pantip.com/chalermthai/topicstock/A3103406/A3103406-193.gif)

 ;D


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 16 เม.ย. 11, 08:18
ปืนคาบชุดนั้นไม่ค่อยดีนัก เพราะการที่ต้องถือเชือกติดไฟแล้วออกเวรยามตอนกลางคืนนั้นเป็นเป้าสายตาได้ ดีเลยทีเดียว ซ้ำยังต้องคอยระวังไม่ให้เชือกที่ติดไฟดับหรือไหม้หมดไม่สามารถใช้ได้เมื่ออากาศชื้นเพราะจะทำให้จุดชนวนดินปืนไม่ติด  และเมื่อฝนตกด้วยแล้วปืนชนิดนี้แทบจะใช้การไม่ได้เลย

(http://topicstock.pantip.com/chalermthai/topicstock/A3103406/A3103406-194.gif)

 ;D


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 16 เม.ย. 11, 08:26
ยินดีต้อนรับคุณkatathornครับ

จากคลิ๊บข้างล่างจะเห็นว่า การยิงปืนชนิดนี้แต่ละครั้งไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องมีความชำนาญพอสมควรทีเดียว

http://www.youtube.com/watch?v=2KTS8PQ06Qo&feature=related


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 16 เม.ย. 11, 08:35
ท่าน Cinephile ทรงเล่าไว้ใน พันทิป (http://topicstock.pantip.com/chalermthai/topicstock/A3103406/A3103406.html)

ท้ายสุดก็คือ"พระแสงปืนต้นข้ามแม่น้ำสะโตง" ที่ระบุว่าเป็น"ปืนนกสับ" ยาว"เก้าคืบ" ถือว่าเป็นปืนที่ยาวพอสมควรคือหนึ่งวาหนึ่งคืบ ซึ่งยาวกว่าสองเมตรทีเดียว ปืนที่ยาวขนาดนี้สามารถยิงได้ไกลทีเดียว แต่ไกลแค่ไหนผมก็ไม่รู้ แต่กำลังทำปืนจำลองขึ้นมาเพื่อที่จะลองยิงดู

อย่างไรก็ตาม เมื่อได้เห็นแม่น้ำสะโตงกับตาตัวเองแล้ว ผมยังสงสัยว่าปืนนกสับจะยิงข้ามไปได้หรือไม่ ถึงได้แล้วจะยิงถูกเป้าเล็ก อย่างคนบนคอช้างได้หรือไม่

เอาละถ้าถือเป็นเรื่องอัศจรรย์ (Miracle) แล้วละก็ ก็น่าจะเป็นไปได้เพราะถ้าไม่ใช่เรื่องอัศจรรย์แล้วก็คงจะไม่มีใครพูดถึงเป็นแน่ แต่ผมขอเสนอว่า บางทีพระนเรศวรอาจจะทรงม้าขึ้นไปบนสะพาน (ที่ยังเหลือ) ทำให้ระยะยิงปืนสั้นลง ทรงลงจากม้าแล้วเอาปืนพาดขาหยั่ง เล็งยิงสุรกำมาจากกลางสะพาน ซึ่งความเป็นไปได้สูงกว่าที่จะยิงปืนที่ยาวสองเมตรกว่าจากหลังช้างอย่างที่เห็นในจิตรกรรมข้างฝา(คนวาดก็เดาเอาเหมือนกันแหละครับ)

(http://topicstock.pantip.com/chalermthai/topicstock/A3103406/A3103406-77.jpg)

 ;D


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 16 เม.ย. 11, 08:49
เคยอ่านหนังสือของคณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์   เรื่อง สมเด็จพระนเรศวรมหาราช  เรียบเรียงโดยดร.วินัย พงศ์ศรีเพียร    มีบทหนึ่งที่เล่าเต็มๆถึงเรื่องพระแสงปืน ว่าเป็นชนิดไหน
แต่หาหนังสือไม่เจอ(ตามเคย)    คุณเพ็ญชมพูมีไหมคะ


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 16 เม.ย. 11, 08:59
ยินดีต้อนรับครับ คุณ katathorn  ;D

ผมเกิดความสงสัยเกี่ยวกับการยิงปืนประเภทนี้ครับ รบกวนเพื่อนสมาชิกและอาจารย์ต่างๆ ลองคิดเล่นๆดูดังนี้ครับ

๑. ปืนลักษณะแบบนี้ มีการเล็งระยะอย่างไร ใช้ศูนย์หน้า ตรงศูนย์หลัง หรือไม่

๒. ความแม่นของปืน ขึ้นกับอะไรบ้าง ด้วยเคยยิงปืนมาบ้าง ทำให้รู้ว่า "เป้า" นั้นยิ่งไกล ยิ่งยิงยาก เนื่องจากเป้านั้นจะเล็กลงไปเรื่อยๆ โอกาสพลาดได้มาก

๓. ปืนรุ่นนี้มีการถีบสะท้อนสูงหรือไม่

ลองจัดภาพเป้าเล่นๆ เพื่อให้ดูว่า เวลามุมมองของวัตถุอยู่ไกลๆ จะเห็นเป็นเพียงจุดเล็กๆเท่านั้น


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 16 เม.ย. 11, 09:29
เมื่อก่อนเป็นคนบ้าปืน เดี๋ยวนี้แม้จะเลิกบ้าแล้วแต่ผมพอจะมีความจำอยู่ ขอตอบคุณหนุ่มสยามก็แล้วกัน

อ้างถึง
ปืนลักษณะแบบนี้ มีการเล็งระยะอย่างไร ใช้ศูนย์หน้า ตรงศูนย์หลัง หรือไม่
ศูนย์หน้าอาจจะมี แต่ศูนย์หลังคงไม่มีหรอกครับ ปืนลูกซองสมัยนี้ยังไม่มีแม้กระทั่งศูนย์หน้า ถ้ามีก็มีเป็นตุ่มเล็กๆพอสังเกตุแนวยิง

อ้างถึง
ความแม่นของปืน ขึ้นกับอะไรบ้าง ด้วยเคยยิงปืนมาบ้าง ทำให้รู้ว่า "เป้า" นั้นยิ่งไกล ยิ่งยิงยาก เนื่องจากเป้านั้นจะเล็กลงไปเรื่อยๆ โอกาสพลาดได้มาก
นอกจากฝีมือและประสพการณ์ของผู้ยิงแล้ว เป้าหากไกลมากก็ต้องเพิ่มดินปืนตามสัดส่วน แต่ก็ต้องรู้ต้องชำนาญมาก สุ่มสี่สุ่มห้าพอยิงแล้วลำกล้องแตก คนยิงก็จะเป็นผู้ตายเสียเอง
อย่างที่ท่านมุ้ยว่า ระยะยิงกับความกว้างของแม่น้ำสะโตงไม่ใช่ปัญหา คือกระสุนนั้นถึงแน่ แต่ต้องเสียระดับตามแรงดึงดูดของโลก ผู้ยิงจะต้องแก้วิถีกระสุนโดยต้องเล็งเป็นวิถีโค้ง (แม้ปืนสมัยนี้ก็ต้องทำดังว่าเช่นกัน) เมื่อไม่มีศูนย์หลัง ก็ขึ้นกับความเก่งของคนยิงครึ่งนึก โชคชะตาอีกครึ่งนึง

อ้างถึง
ปืนรุ่นนี้มีการถีบสะท้อนสูงหรือไม่
สูงแน่นอนครับ
ปืนสมัยใหม่มีกลไกระบายแก๊สเพื่อลดแรงสะท้อนถอยหลังลงไป แต่ปืนสมัยโบราณไม่มี กระบอกยิ่งยาวยิ่งถีบอร่อย คนไม่ชำนาญแล้วไปนั่งหลังช้างยิงมีหวังถูกปืนถีบตกลงมาได้เหมือนกัน
http://www.youtube.com/watch?v=SzSeD-wfdDc


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 16 เม.ย. 11, 09:46
^
ขอบคุณครับ ปีนมีแรงสะท้อนมาก  ;D ;D แต่อัตราการบรรจุดินปืนก็อันตรายไม่น้อยนะครับ อ่านดูแล้วต้องใช้ทักษะกับการใช้ปืนมาก ๆ เลย

๑. ปืนคาบศิลาน่าจะมีสัก ๒ กระบอกไว้ยิงเสร็จแล้ว ส่งให้เจ้าพนักงานบรรจุดินดำ บรรจุกระสุนสำรองไว้ มากกว่าจะมีอยู่กระบอกเดียวนะครับ

๒. เคยทราบมาว่า กระสุนเหล็กนั้น จะมีลักษระการควงสว่าน ซึ่งเป็นหลักธรรมชาติของกระสุน จะมีการหมุนเกลียวแบบควงสว่านเพื่อแหวกอากาศ ทำให้กระสุนที่มีระยะไกลๆขึ้น เกิดการควงสว่านมากขึ้น ทำให้ระยะเป้าผิดพลาดได้ง่าย ดังนั้นปืนคาบศิลาที่มีอานุภาพสูง จึงต้องทำให้ปากกระบอกปืนยาวๆ ไว้ เพื่อบังคับให้กระสุนที่ออกจากปากกระบอกปืนมีความนิ่ง ไม่ควงสว่าน จริงไหมครับ  ???


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 16 เม.ย. 11, 09:56
อ้างถึง
ปืนคาบศิลาน่าจะมีสัก ๒ กระบอกไว้ยิงเสร็จแล้ว ส่งให้เจ้าพนักงานบรรจุดินดำ บรรจุกระสุนสำรองไว้ มากกว่าจะมีอยู่กระบอกเดียวนะครับ

ผมน่ะคิดอย่างเดียวกันเลย พระนเรศวรคงต้องมีคนคอยบรรจุกระสุนถวาย ส่งให้พระองค์ยิงอย่างเดียว

อ้างถึง
เคยทราบมาว่า กระสุนเหล็กนั้น จะมีลักษณะการควงสว่าน ซึ่งเป็นหลักธรรมชาติของกระสุน จะมีการหมุนเกลียวแบบควงสว่านเพื่อแหวกอากาศ ทำให้กระสุนที่มีระยะไกลๆขึ้น เกิดการควงสว่านมากขึ้น ทำให้ระยะเป้าผิดพลาดได้ง่าย ดังนั้นปืนคาบศิลาที่มีอานุภาพสูง จึงต้องทำให้ปากกระบอกปืนยาวๆ ไว้ เพื่อบังคับให้กระสุนที่ออกจากปากกระบอกปืนมีความนิ่ง ไม่ควงสว่าน จริงไหมครับ
ไม่ใช่อานุภาพสูงด้วยการแรงขึ้นอย่างเดียวนะครับ แต่ให้แม่นขึ้น โดยธรรมชาติปืนกระบอกยาวจะถีบ กระบอกสั้นจะสะบัด ปืนดีต้องมีอัตราส่วนความยาวของกระบอก กับความแรง(ดินขับ)ของกระสุนสมดุลย์กันครับ


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 16 เม.ย. 11, 10:18
ขออนุญาตสงสัยต่อ  ???

๑. เมื่อเรามีเครื่องอาวุธแล้ว สิ่งที่ขาดไม่ได้คือ ดินดำ ชุดไฟ เชือกไฟ กระสุน

๑.๑ ดินดำ คนโบราณรู้จักการทำดินประสิวนานแล้ว ด้วยทำจาก มูลค้างคาว ผสม ดินประสิวและถ่าน ผสมกันตามอัตราส่วนบรรจุใส่ถุงหนังไว้เพื่อบรรจุ

๑.๒ ชุดไฟ คงหมายถึง อุปกรณ์ในการทำให้เกิดไฟ คงเป็นหินเหล็กไฟ ที่ขบกระแทกเพื่อให้เกิดเปลวไฟ

๑.๓ เชื่อกไฟ อาจจะเป็น ด้ายฝ้ายหรือไหม ชุบน้ำมันเป็นเชื้อไฟ

๑.๔ กระสุน สงสัยเรื่องการทำเม็ดกระสุน ต้องแน่นอนทำมาจากโลหะ ไม่ทราบว่าพอจะมีวิธีการสร้างกระสุนหรือไม่ครับ เท่าที่ผมทราบมาอย่างโบราณได้แค่การสร้างเม็ดกริ่งสำหรับบรรจุในพระกริ่ง คือ การเทน้ำโลหะผสม (โลหะประเภทนวโลหะ) เทใส่กะบะทราย ทำให้น้ำโลหะแตกเป็นเม็ดๆ กลมๆ ขนาดต่างๆกัน เมื่อเย็นตัวจะเป็นเม็ดกลมเล็กๆ ไม่รู้ว่าการผลิตกระสุนจะใช้วิธีแบบนี้หรือไม่  ???


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 16 เม.ย. 11, 11:26
ข้อสงสัยของของคุณหนุ่มก็ดูเหมือนจะมีคำตอบในตัวอยู่แล้ว มาดูนี่ดีกว่าครับ

เมื่อสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงประกาศอิสรภาพ เมื่อวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 6 ปีวอก หรือวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ.2127 นั้น ตรงกับค.ศ. 1584 ในยุโรปเองยังไม่ได้ใช้ปืนไฟเป็นอาวุธหลักเลย ทหารยังฟาดฟันกันด้วยหอกดาบ ปืนไฟดังที่ใช้ในภาพเป็นสงครามของพวกไอริสในต้นคตวรรษที่๑๖ หลังเหตุการณ์ที่ทรงยิงแม่ทัพพม่าตายนับสิบๆปีด้วยซ้ำ ปืนไฟก็ยังดูโบราณกว่าพระแสงปืนต้นข้ามแม่น้ำสะโตง ไม่ว่าจะเป็นองค์ที่สร้างขึ้นใหม่ในสมัยรัชกาลที่๑ หรือในจินตนาการของท่านมุ้ยที่ปรากฏในภาพยนต์


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 16 เม.ย. 11, 11:31
แต่พระนเรศวรทรงเกราะเหล็กเหมือนนายทหารม้าไอริสด้วยนะเออ เดี๋ยวหมดเรื่องปืนแล้วคงต้องขอสัมนากันหน่อย


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 16 เม.ย. 11, 11:40
ปืนที่พงศาวดารไทยเรียกรวมกันว่าปืนไฟนี้ ฝรั่งเรียก Arquebus (อาร์คีบัส) รากศัพท์มีความหมายว่าตะขอ เพราะปืนมีด้ามงอๆ บรรจุดินปืนยิงลูกกระสุนกลมๆได้วิถีที่ไกลกว่าลูกธนูหรือหน้าไม้ แต่ความแม่นยำสู้อาวุธสั้งสองอย่างนั้นไม่ได้ โดยเฉพาะถ้าดวลกันระหว่างผู้ชำนาญกับผู้ชำนาญด้วยกัน


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 16 เม.ย. 11, 11:59
เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า จีนเป็นชาติแรกในโลกที่ทำดินปืนได้ และได้พัฒนาเป็นอาวุธมหาประลัยได้ก่อนยุโรป ปืนไฟได้มีบทบาทในสงครามภายในของจีนมาช้านานตั้งแต่ศตวรรษที่13 ครั้นเมื่อปลายราชวงศ์หมิงราวศตวรรษที่ 14 กองทัพจีนได้ใช้กลยุทธ์ขจัดข้อด้อยของปืนไฟในเรื่องความล่าช้าในการบรรจุกระสุนใหม่ และความไม่แม่นยำ ด้วยการเพิ่มปริมาณการยิง โดยจัดทัพแบบหน้ากระดานสามแถว ใช้ทหารปืนไฟสลับกันระดมยิงใส่ทัพช้าง ในสงครามกับพม่าที่ชายแดนจนยับเยินไปทั้งสัตว์ทั้งคน(น่าเอน็จอนาถมาก) และได้ชัยชนะอย่างง่ายดาย


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 16 เม.ย. 11, 12:39
ตามพงศาวดารนั้น ชาติที่นำปืนไฟมาขายให้ไทยคือพวกฝรั่งพุทธเกศ หรือปอร์ตุเกต คนไทยจ้างฝรั่งแม่นปืนพวกนี้ไว้หลายคน หน้าที่หลักยามปลอดสงครามคือเป็นทหารรักษาพระองค์ สมัยที่ไว้ใจใครไม่ค่อยจะได้ ใช้คนต่างชาติในหน้าที่นี้จะดีกว่าใช้คนไทยด้วยกัน บางทีดูหน้าไม่รู้ใจ

ทหารไทยที่จะได้รับการวางพระทัยจากพระเจ้าแผ่นดินให้มีอาวุธร้ายแรงได้ คงจำนวนจำกัดมาก จะมีเป็นกองทัพนั้น สมัยกรุงศรีอยุธยาที่เผลอเมื่อไรเป็นเกิดกบฏ คงยากที่จะให้มีได้

ช่วงแผ่นดินพระเจ้าจักรพรรดิ์ ในปีพ.ศ.2086 พ่อค้าชาวปอร์ตุเกศได้ขายปืนอาร์คีบัสให้ญี่ปุ่นไปจำนวนหนึ่ง ซึ่งไม่นานญี่ปุ่นก็ลอกแบบปืนดังกล่าวนี้ออกมาเป็นปริมาณนับพันๆกระบอก และแพร่หลายไปในแคว้นต่างๆทั่วเกาะญี่ปุ่น สุดท้ายก็เกิดสงครามใหญ่ที่คนชาติเดียวฆ่ากันเองจนได้ การยุทธ์ที่มีชื่อว่าthe Battle of Nagashinoนั้น ปืนไฟมีบทบาทเสียจนบรรดาซามูไรถึงกับหลั่งน้ำตา ต่อจากนี้ศิลปะวิทยายุทธที่คนจะฆ่ากันอย่างเด็ดเดี่ยวกล้าหาญจะค่อยๆสูญสิ้น สยบให้แก่อำนาจการยิงของปืน

ผมเอาคลิปที่ญี่ปุ่นยิงปืนไฟโบราณด้ามขอมาให้ชมครับ  ปืนที่โปรตุเกตนำมาขายให้ไทยในสมัยพระนเรศวรส่วนหนึ่งคงเป็นแบบนี้ แต่ที่ทรงยิงข้ามแม่น้ำสะโตงคงจะเป็นอย่างล่าง

http://www.youtube.com/watch?v=QeMGOO6u-1Q&feature=related
http://www.youtube.com/watch?v=RBQ-nZFQQ-M&feature=player_embedded


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: katathorn ที่ 16 เม.ย. 11, 18:19
ข้อสงสัยของของคุณหนุ่มก็ดูเหมือนจะมีคำตอบในตัวอยู่แล้ว มาดูนี่ดีกว่าครับ

เมื่อสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงประกาศอิสรภาพ เมื่อวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 6 ปีวอก หรือวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ.2127 นั้น ตรงกับค.ศ. 1584 ในยุโรปเองยังไม่ได้ใช้ปืนไฟเป็นอาวุธหลักเลย ทหารยังฟาดฟันกันด้วยหอกดาบ ปืนไฟดังที่ใช้ในภาพเป็นสงครามของพวกไอริสในต้นคตวรรษที่๑๖ หลังเหตุการณ์ที่ทรงยิงแม่ทัพพม่าตายนับสิบๆปีด้วยซ้ำ ปืนไฟก็ยังดูโบราณกว่าพระแสงปืนต้นข้ามแม่น้ำสะโตง ไม่ว่าจะเป็นองค์ที่สร้างขึ้นใหม่ในสมัยรัชกาลที่๑ หรือในจินตนาการของท่านมุ้ยที่ปรากฏในภาพยนต์


ผมว่ามันดูออกจะคล้ายๆอุปกรณ์ดนตรีชิ้นนี้เสียมากกว่าอาวุธปืนนะครับ :o
(http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/4/43/Edinburgh_Bagpiper.jpg/450px-Edinburgh_Bagpiper.jpg)


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: katathorn ที่ 16 เม.ย. 11, 18:37
1 Spanish swordsman c.1520-50
2 Spanish arquebusier c.1520-40
3 Spanish pikeman c.1540

(http://farm4.static.flickr.com/3449/3824804859_92bbee766b.jpg)


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 16 เม.ย. 11, 19:01
อ้างถึง
ผมว่ามันดูออกจะคล้ายๆอุปกรณ์ดนตรีชิ้นนี้เสียมากกว่าอาวุธปืนนะครับ
อ่ะ มาช่วยกันดูใหม่ครับ


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 16 เม.ย. 11, 19:39
อ้างถึง
ผมว่ามันดูออกจะคล้ายๆอุปกรณ์ดนตรีชิ้นนี้เสียมากกว่าอาวุธปืนนะครับ
อ่ะ มาช่วยกันดูใหม่ครับ


รูปแรกผมว่ามันเป็นดาบนะครับ ห้อยติดอยู่กับสีข้าง

ส่วนรูปที่สองนั้นที่ น่าจะเป็นปี่มากกว่า คนเป่ายังมีปี่อมอยู่ในปากเลยนะครับ
มีถุงลม มีอะไรพร้อม ไม่น่าจะเป็นปืนไฟไปได้


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 16 เม.ย. 11, 19:55
ถูกของคุณครับ ผมตาไม่ดีเอง


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 16 เม.ย. 11, 20:10
เอารูปมาแก้ตัวใหม่ เป็นกองทหารอังกฤษ(บน)และทหารไอริสเหมือนกัน(ล่าง) แต่อยู่ในช่วงปลายศตวรรษที่16 หลังรัชสมัยพระนเรศวรแล้ว สังเกตุปืนไฟได้ชัด ดูเหมือนจะยังเป็นแบบอาร์คีบัสอยู่เลย


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 16 เม.ย. 11, 20:36
มาสมทบด้วยภาพ ค่ะ   ภาพแรก เขาเขียนว่า matchlock  แต่ดิฉันเข้าใจว่าเป็นอาคีบัสนี่เอง


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 16 เม.ย. 11, 20:37
ทหารจีนสมัยราชวงศ์ชิง    กับอาคีบัส


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: ShopperKimpy ที่ 16 เม.ย. 11, 21:45
สวัสดีครับทุกท่าน ณ เรือนไทย วิชาการ ผมสมาชิกใหม่นะครับ ฝากเนื้อฝากตัวด้วยครับ
ปกติเข้ามาแต่แอบชมรูปสวยๆ แ่ต่เห็นกระูทู้นี้หัวข้อการสนทนาถูกใจเลยว่าจะเข้ามามีส่วนร่วมด้วยครับ

ขยายภาพ ทรงประทับพระแสงปืนต้น ยิงบนหลังช้างทรงเครื่องคชาภรณ์ ประดับฉัตรทองเต็มยศ จะดูมากไปหน่อยสำหรับช่วงเวลาวิกฤตที่ยังทรงไม่ต่างกับเชลย เพราะยังอยู่ในดินแดนศัตรูต้องรีบหนีสุดแผ่นดินให้พ้นเงื้อมมือพม่า

ในความคิดผมนะครับ ผมไม่แน่ใจนักว่าเราจะอ้างอิงข้อมูลหลายๆอย่างของยุคพระนเรศวรจากศิลปะยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์ได้หรือไม่

อย่างภาพด้านบนนี้ ก็เป็นที่น่าสงสัยอยู่ว่า หมวกหูกระต่าย และ หมวกทรงประพาส ที่ใช้กันในสมัยสมเด็จพระนเรศวร หรือไม่ ?
แต่เป็นที่แน่นอนว่าสมัยรัชกาลที่ 4 มีการใช้หมวกทรงที่ว่าอยู่จริงๆ ไม่รู้ว่าเกิดจากผู้วาดใช้ข้อมูลในยุคตัวเองวาดรูปหรือเปล่า

ขออนุญาตลงภาพประกอบ

(http://i587.photobucket.com/albums/ss316/shopperkimpy/DSC_0032.jpg)
ภาพนี้สมัยรัชกาลที่ 4 เช่นกันครับ แต่กระผมไม่ได้จดลายละเอียดมาด้วย
เท่าที่จำได้มีคำบรรยายใต้ภาพว่า กองทัพสมเด็จพระนเรศวร น่าสังเกตว่า พลปืน ใส่หมวกทรงประพาส ด้วย





กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 16 เม.ย. 11, 22:46
ขอต้อนรับคุณShopperKimpyครับ ดีใจที่กระทู้นี้สามารถดึงสมาชิกใหม่ให้เข้ามาในเรือนไทยได้

ข้อสงสัยข้างบนนั้น จะคาดคั้นเอาหลักฐานกันว่าสมัยพระนเรศวรอะไรเป็นอะไรคงไม่มีใครหารูปให้ได้ เราใช้การสันนิฐาน ดังที่ผมเกริ่นเรื่องไว้ว่า ความเจริญหรือความเปลี่ยนแปลงในสมัยโบราณจากศตวรรตหนึ่งสู่อีกศตวรรตหนึ่งนั้น น้อยมาก เทียบกับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในยุคปัจจุบันแล้ว เหมือนตัวคูณกับตัวเลขยกกำลังอย่างไงอย่างงั้น  สี่ห้าร้อยปีที่ต่างกันจากสมัยอยุธยามารัตนโกสินทรตอนต้น น่าจะน้อยกว่ากรุงเทพปัจจุบันกับกรุงเทพเมื่อ๕๐ปีก่อนที่ผมเห็นด้วยตนเองมากในทุกกรณีย์

เมื่อไทยเราตั้งหลักได้หลังเสียกรุง สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯท่านทรงพยายามที่จะถ่ายทอดศิลปวัฒนธรรม โบราณราชประเพณีขึ้นใหม่ตามแบบฉบับของกรุงศรีอยุธยาทุกประการ เครื่องแต่งตัวของคนไทย ทหารและยุทโธปกรณ์ที่สืบมาก็ไม่น่าจะแตกต่างกันมาก หลักฐานทางโบราณคดี ภาพเขียนฝาผนังสมัยอยุธยาที่ยังหลงเหลือมาสู่สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นก็เป็นหลักฐานที่ดีอีกประการหนึ่งของจิตรกรสมัยหลังๆ ที่จะเขียนภาพที่เชื่อว่าสมัยพระนเรศวรจะเป็นเช่นนั้นได้อย่างน้อยก็ใกล้เคียงกว่าที่ท่านมุ้ยประเลงไว้มากมาย

ผมเอาตัวอย่างภาพที่คุณติบอเคยนำมาลงไว้ในเรือนไทยนี้เอง เป็นจิตรกรรมฝาผนังสมัยอยุธยาที่วัดช่องนนทรี เห็นหมวกทหารคล้ายกับภาพของคุณด้วยครับ


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 เม.ย. 11, 08:29
ภาพที่๓ สมเด็จพระนเรศวรตามจับพระยาจีนจันตุ

พระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐกล่าวว่า ในระหว่างที่กรุงศรีอยุธยาตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า พระยาละแวกได้ยกทัพเขมรมาตีกรุง๒ครั้งในพ.ศ. ๒๑๑๓และพ.ศ. ๒๑๑๘ ด้วยหวังจะปล้นเมืองเอาคืนจากที่กองทัพไทยเคยไปทำลายพระนครย่อยยับแล้วกวาดต้อนปัญญาชนคนเขมรลงมากรุงศรีอยุธยาหมด จนเขมรต้องทิ้งเมืองหนีไปอยู่ป่า เสียศูนย์ไปนานกว่าจะสร้างเมืองละแวกขึ้นมาได้ อย่างไรก็ตามทั้ง๒ครั้งนั้นเขมรก็ทำการไม่สำเร็จ ต้องถอยทัพกลับ เพราะไทยยังต่อสู้ป้องกันกรุงศรีอย่างเข้มแข็งดีอยู่

ในปีพ.ศ. ๒๑๒๑ มีไต้ก๋งจีนอาสาเจ้าเมืองละแวก ขอกำลังเขมรมาตีเมืองเพชรบุรี ถ้าไม่สำเร็จจะขอรับโทษฑัณท์ เจ้าเมืองละแวกจึงโปรดให้นายทหารชื่อพระยาอุเทศราชเป็นแม่ทัพ ตัวไต้ก๋งทรงโปรดให้เป็นพระยาจีนจันตุ ยกทัพเรือมาทางทะเล แต่เจ้าเมืองเพชรบุรีคุมพลป้องกันเมืองไว้ได้เป็นสามารถจนเขมรต้องเลิกทัพกลับ ส่วนพระยาจีนจันตุเห็นท่าไม่ดี ยังไม่กลับไปเมืองละแวกดีกว่า จึงเอาสำเภานั้นเข้ามากรุงศรีอยุธยา ขอสวามิภักดิ์กับพระมหาธรรมราชา เพ็ดทูลอย่างไรไม่ทราบแต่ทรงโปรดให้ชุบเลี้ยงไว้

ระหว่างนั้น พระนเรศวรเป็นสมเด็จพระมหาอุปราช วังหน้าแห่งพระนครศรีอยุธยา ประทับอยู่วังจันทร์เกษม พระยาจีนจันตุอยู่ได้สักพักหนึ่งเพื่อสืบการทั้งปวงในราชธานีแล้ว ก็ลอบแต่งเรือสำเภาหนี พระนเรศวรเมื่อทรงทราบ ก็เสด็จยกกองเรือเร็วออกติดตาม จากอยุธยามาทันกันแถวปากน้ำมั้ง เพราะในพงศาวดารกล่าวว่าปะทะกันสักพัก  พระยาจีนจันตุก็เร่งให้โล้สำเภาออกไปพ้นปากน้ำ พอออกลึก สำเภาติดลม กองเรือของพระนเรศวรเป็นเรือสำหรับแม่น้ำ จึงตามไม่ทัน ต้องเสด็จกลับพระนครศรีอยุธยา


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 เม.ย. 11, 08:31
ในภาพขยาย จะเห็นยุทธวิธีที่ทรงใช้ พงศาวดารกล่าวว่า พระนเรศวรจะทรงให้ทหารปีนขึ้นสำเภา บัญชาการให้เรือพระที่นั่งหนุนไปให้ชิดเรือของพระยาจีนจันตุ แล้วทรงยิงปืนนกสับถูกจีนผู้ใหญ่ตายสามคน พระยาจีนจันตุยิงปืนนกสับมาต้องรางปืนที่ทรงอยู่ แล้วเร่งโล้สำเภาออกไปพ้นปากน้ำ….

ไม่มีตรงไหนกล่าวถึงปืนใหญ่เล้ย


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 เม.ย. 11, 08:49
เรือพระที่นั่งในภาพ ก็เหมือนเรืออื่นๆที่ยกไป ลักษณะเป็นเรือดั้งซึ่งเป็นเรือรบแท้ๆ บรรทุกฝีพายที่เป็นทหารดาบด้วย เรือชนิดนี้หวังความเร็วที่จะไปให้ถึงจุดปะทะ ถ้าข้าศึกมาทางเรือด้วยกัน ก็เสียบหัวเข้ากลางเรือข้าศึกได้ก็ยิ่งดี แล้วทิ้งพาย โดดเข้าตลุมบอนเลย


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 17 เม.ย. 11, 09:03
“ ครั้นถึง ณ วันอาทิตย์ เดือนยี่ ขึ้นสี่ค่า ปีระกา ตรีศก ( ตรงกับ ศักราช ๙๒๓ ) เพลาประมาณ สองนาฬิกา พระยาจีนจันตุ ก็พาครัวลงสาเภาหนีล่องลงไป ขณะนั้นสมเด็จพระนเรศวรเจ้า เสด็จลงมาแต่เมืองพระพิษณุโลก เสด็จอยู่ในวังใหม่ สมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้าก็เสด็จยกทัพเรือตามพระยาจีนจันตุลงไปในเพลากลางคืนนั้น แล้วตรัสให้ เรือประตู เรือกัน และเรือท้าวพระยาทั้งหลาย เข้าล้อมสาเภาพระยาจีนจันตุ และได้รบพุ่งกันป็นสามารถ พระยาจีนจันตุก็ให้โล้สาเภาไปกลางน้า รบต้านทานไว้ สมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้า ก็ตรัสให้เอา เรือคู่ เรือกัน เข้าจับจนท้ายสาเภาพระยาจันจันตุ ให้พลทหารปีนสาเภาขึ้นไป

แล้วเอาเรือพระที่นั่งหนุนเข้าไปให้ชิดสาเภา แล้วทรงปืนนกสับยิงถูกจีนผู้ใหญ่ตายสามคน พระยาจีนจันตุก็ยิงปืนนกสับมา ต้องรางปืนต้นอันทรงนั้นแตก พระยาจีนจันตุก็รบพุ่งป้องกันเป็นสามารถ พลทหารข้าหลวงจะปีนขึ้นสาเภามิได้ พระยาจีนจันตุก็ให้โล้สาเภาออกพ้นปากน้าตกลึก ฝ่ายสมเด็จพระราชบิดาเสด็จหนุนทัพสมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้าลงไปถึงเมืองพระประแดง พอสมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้า ยกกลับขึ้นมาพบสมเด็จพระราชบิดา ทูลการทั้งปวงให้ทราบ สมเด็จพระราชบิดากับสมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้า ก็เสด็จคืนมายังพระนคร ”
จาก พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ภาคทึ่ ๑ แบบเรียนพงศาวดาร กรมตารา กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.๒๔๖๕


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 17 เม.ย. 11, 09:10
บทวิเคราะห์จำนวนกองกำลังทหาร
http://3ascom.rta.mi.th/pdffile/episod02.pdf


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 17 เม.ย. 11, 09:13
แบบจาลองขบวนเรือพระที่นั่งของ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช และสมเด็จพระเอกาทศรถ ขณะไล่ติดตามพระยาจีนจันตุที่หลบหนีออกจากพระนครศรีอยุธยา ตามลำน้ำเจ้าพระยา


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 เม.ย. 11, 09:40
เรือประตู เป็นเรือดั้งคู่หน้าสุดชื่อเรือทองขวานฟ้า และเรือทองบ้าบิ่นของกระบวนเรือพระราชพิธี


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 เม.ย. 11, 09:47
เรือกัน เรือแซง เรือตำรวจ เป็นเรือลักษณะเดียวกันทั้งสิ้น คือเป็นเรือ-รบ


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 เม.ย. 11, 09:53
เรือรบโบราณอีกชนิดหนึ่งที่ใช้รบในแม่น้ำนั้น เรียกว่าเรือพิฆาต ติดตั้งปืนใหญ่ที่หัวเรือที่ทำเป็นรูปสัตว์ ปืนใหญ่สมัยพระนเรศวรเป็นชนิดที่เรียกว่า ปืนจ่ารง บางที่สะกดว่าจ่ารงค์

จ่ารงเป็นสำเนียงที่เพี้ยนมาจากศัพท์ว่า charoit อ่านว่า แชเรียท(ใครสามารถอ่านสำเนียงปอร์ตุกีส จะบอกได้ไหมครับว่าออกเสียงอย่างไร ไทยจึงฟังเป็นจ่ารง) แปลว่า รถลาก รถศึก หรือรถประเภทมีสองล้อ ซึ่งใช้บรรทุกปืนใหญ่ชนิดนี้  อย่างไรก็ตามจ่ารงก็มีอีกความหมายหนึ่ง คือเป็นปืนใหญ่ที่หล่อในประเทศ ไม่ใช่ที่ซื้อจากฝรั่ง

ในเอกสารโบราณ มีคำเรียกชื่อ ปืนจ่ารง ต่างกันไปหลายชื่อตามลักษณะที่นำไปใช้ เช่น ปืนจ่ารงรางล้อ หรือ ปืนจ่ารงรางเกวียน ปืนจ่ารงหลังช้าง  และปืนจ่ารงหน้าเรือ(ตามภาพ)ซึ่งใช้ขนาดกระสุนเพียง ๑-๒ นิ้ว
กระสุนขนาดดังกล่าวใช้ยิงทำลายพวกเรือพายด้วยกัน หรือใส่ลูกปลายเพื่อสังหารฝ่ายตรงข้าม ระยะยิงก็ต้องเผาขนด้วยจึงจะหวังผลเช่นนั้นได้ ผมหลับตานึกถึงตอนหัวเรือกำลังจะพุ่งเข้าชนเรือข้าศึกแล้วฝ่ายโน้นกำลังยืนยงโย่ยงหยกขึ้นมาตั้งรับ ก็ซัดมันเข้าไปสักโป้งหนึ่ง เป็นตายไม่รู้แต่ฝ่ายเราได้ใจแน่ ยิงแล้วไม่มีเวลาบรรจุกระสุนกันใหม่หรอก ขึ้นตะลุมบอนเอาแพ้ชนะกันไปเลย


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 เม.ย. 11, 09:59
ผมแน่ใจว่าพระนเรศวรคงไม่น่าจะเอาเรือพิฆาตติดปืนจ่ารงไปไล่กวดพระยาจีนจันตุ เพราะหนักเรือกว่าจะไล่ทัน ถึงจะทันแล้วยิงโดนไปโป้งนึง ลูกปืนขนาด๒นิ้วก็คงไม่มีทางจมเรือสำเภาได้ ใครเคยดูยุทธนาวีในหนังฝรั่งที่เรือสำเภาหันข้างเข้าซัลโวปืนใหญ่เป็นสิบๆกระบอกเข้าใส่กัน นั่นลูกปืนขนาด๔นิ้วขึ้นไปนะ ยังต้องซัดกันเป็นสิบเป็นร้อยลูก เรือถึงจะอับปางได้

เรือพิฆาตแบบของไทยติดปืนจ่ารงหน้าเรือยิงได้ตูมเดียว แล้วกลางน้ำอย่างนั้นคงไม่มีทางบรรจุลูกได้ใหม่ เอาไปก็เป็นตัวถ่วงเปล่าๆ


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 17 เม.ย. 11, 10:18
ในภาพขยาย จะเห็นยุทธวิธีที่ทรงใช้ พงศาวดารกล่าวว่า พระนเรศวรจะทรงให้ทหารปีนขึ้นสำเภา บัญชาการให้เรือพระที่นั่งหนุนไปให้ชิดเรือของพระยาจีนจันตุ แล้วทรงยิงปืนนกสับถูกจีนผู้ใหญ่ตายสามคน พระยาจีนจันตุยิงปืนนกสับมาต้องรางปืนที่ทรงอยู่ แล้วเร่งโล้สำเภาออกไปพ้นปากน้ำ….

ไม่มีตรงไหนกล่าวถึงปืนใหญ่เล้ย


วิธีการขึ้นสำเภา เขาขึ้นกันตามภาพครับ จะใช้ไม้ถ่อค้ำยกตัวเดินขึ้นไป ด้านล่างมีผู้ช่วยพยุงตัวไว้


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 17 เม.ย. 11, 10:23
ท้าบบาหลีเรือ มีทางเดินเล็กๆออกมา มีทหารถือดาบ โล่ และพลปืน


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 เม.ย. 11, 10:39
ดูในภาพแล้ว เรือใหญ่มันอยู่นิ่งๆนาคุณหนุ่มนา พวกจึงเอาไม้ค้ำถ่อพาด ปีนขึ้นไปได้

เหตุการณ์จริง เรือทั้งหมดวิ่งอยู่ โคลงเคลงอีกต่างหาก ไม้ไผ่ลำยาวๆหากเอาติดเรือมาด้วยก็คงทุลักทุเล น่าจะใช้เชือกปลายตะขอ เหวี่ยงขึ้นไปแล้วไต่ด้วยความเร็วประดุจวานร อย่างไรก็ตามมันก็ยังยากอยู่นั่นเอง ฝ่ายป้องกันน่ะง่ายกว่ามาก จึงไม่ปรากฏว่าหน่วยซีลของพระนเรศวรจะขึ้นไปทำอันตราบพวกเรือจีนได้ จึงต้องใช้อาวุธยาว ไล่ยิงกันไปทีละนัด


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 เม.ย. 11, 10:43
อ่ะ คราวนี้มาดูขบวนเรือรบพระนเรศวรในหนังท่านมุ้ย นี่อย่างกับจะทรงไปทอดกฐินวัดไหนซักวัดนึง เรือพระที่นั่งประดับฉัตรเต็มยศเลย
ถ้าเป็นจริงตามนี้ กว่าจะพายเรือจากอยุธยามาไล่กวดพระยาจีนจันตุ ฝีพายอาจขาดใจตายด้วยความเหน็ดเหนื่อยอยู่แถวสามโคกนั่นแล้ว ไม่สดอย่างในรูปหล๊อก


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 17 เม.ย. 11, 10:49
อ่ะ คราวนี้มาดูขบวนเรือรบพระนเรศวรในหนังท่านมุ้ย นี่อย่างกับจะทรงไปทอดกฐินวัดไหนซักวัดนึง เรือพระที่นั่งประดับฉัตรเต็มยศเลย

อ.NAVARAT.C ครับ ท่านมุ้ยก็ทรง Drama บ้างซิขอรับ จะอาศัยเรือไร้ประกอบฉัตร เครื่องสูง ก็ดูไม่งามตามหนังฟอร์มยักษ์ซิครับ  :-[


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 เม.ย. 11, 10:56
เข้าจาย ผมน่ะไม่เสียดายเงินที่เข้าไปดูหนังของท่านเล้ย แต่ก็ได้สงวนสิทธิ์ไว้ที่จะมาเมาท์กันนอกโรงบ้างเท่านั้น

ก็คุณดูเครื่องทรงของพระนเรศวรและพวกนายทัพนายกองซิ ยังกับจะไปขี่ม่าแทงทวน ไม่เหมาะที่จะเป็นหน่วยซีลที่ต้องสะเทิ้นบกสะเทิ้นน้ำ หนักกับร้อนน่ะเรื่องนึง หากตกน้ำไปก็จะจมป๋อมแป๋มซะก่อนที่จะต้องอาวุธข้าศึกเน้อ



กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 17 เม.ย. 11, 11:00
ท่านคงจำลองเหล่าหัวเรือรูปสัตว์จากริ้วกระบวรเรือพระราชพิธี สมัยสมเด็จพระนารายณ์เป็นหลักกระมังครับ ผมขึงขอตัดรูปหัวเรือมาให้ชมกัน


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 เม.ย. 11, 11:01
นี่ แต่เดิมก็จะทรงชุดนี้ แต่คงเกรงไม่งามตามหนังฟอร์มยักษ์ เลยเปลี่ยนเป็นชุดนั้น


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 เม.ย. 11, 11:02
อ้างถึง
ท่านคงจำลองเหล่าหัวเรือรูปสัตว์จากริ้วกระบวรเรือพระราชพิธี สมัยสมเด็จพระนารายณ์เป็นหลักกระมังครับ ผมขึงขอตัดรูปหัวเรือมาให้ชมกัน

ใช่ครับ ใช่เลย


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 เม.ย. 11, 11:48
อันที่จริง ความไม่สมจริงในภาพเขียนก็มีอยู่ อย่างเช่นพงศาวดารว่า พระยาจีนจันตุเร่งให้โล้สำเภาออกไปพ้นปากน้ำ

“โล้”เป็นศัพท์เรียกการยืนแจวเรือ ไม่ใช่นั่งพายเรือ คนสมัยก่อนยืนแจวเรือเก่งมาก เผลอๆแจวด้วยเท้าอย่างกับพวกไทยใหญ่ในทะเลสาบอินเลสมัยผมเด็กๆยังพอทันเห็นในแม่น้ำเจ้าพระยา  แต่จะโล้อย่างไรก็ช่างเถอะ ในภาพ ผมไม่ยักเห็นไม้พายหรือแจวสักอันในเรือสำเภาจีนเลย


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 เม.ย. 11, 11:54
ที่ตลกที่สุดตามภาพ คือมีเรือเล็ก ไม่ชัดแต่น่าจะเป็นเรือพายมากกว่าเรือแจว กำลังลากเรือสำเภากางใบ ฮิๆ ผมดูละเอียดนะครับ ใบเรือน่ะ โป่งไปข้างหน้าแสดงว่าลมมาจากด้านหลังถูกแล้ว แต่ธงกลับสบัดไปในทิศตรงกันข้ามซะนี่  พิโธ่พิถังเอ๋ย

ใบเรือที่โป่งไปข้างหน้าอย่างนั้นแสดงว่าเรือกินลมแล้ว แต่เรือเล็กยังลากจูงอยู่ข้างหน้าแบบเชือกไม่หย่อนซะด้วย แสดงว่าความเร็วของเรือสำเภายังช้ากว่าเรือเล็ก หรืออีกนัยหนึ่ง เรือทั้งสองเคลื่อนตัวไปข้างหน้าด้วยความเร็วของเรือเล็ก แต่เรือเล็กที่ลากเรือใหญ่อย่างนั้นยังไงๆก็ต้องช้ากว่าเรือดั้ง ถ้ามีการลากจูงสำเภากันจริงระหว่างการหนีของพระยาจีนจันตุในแม่น้ำ คนในเรือเล็กจะต้องถูกรุมกินโต๊ะตายเรียบ แล้วพระนเรศวรคงจะบัญชาให้กองเรือรบของพระองค์ ลากจูงเรือสำเภาแทน แล้วเอาเข้าเกยตื้น พระยาจีนจันตุก็จะไปไหนเสีย

ความไม่สมจริงดังกล่าว คงทำให้ผู้วาดไม่ได้รับรางวัล เลยไม่ปรากฏชื่อในท้ายรูปด้วย


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 17 เม.ย. 11, 13:15
ผมเอาภาพเรือ ๓ ขนาดมาให้ชมครับ

๑. เหตุการณ์นี้เกิดในเวลากลางคืน มีเพียงแสงจากคบเพลิง กับ แสงจันทร์เท่านั้น

๒. การโล้สำเภา ในกรณีนี้สำเภาเป็นสำเภาเดินทะเล ออกไปถึงเขมรได้ ไปถึงกวางตุ้งได้ จึงเป็นเรือสำเภาขนาดใหญ่ คงยากที่จะใช้พาย ๆ จึงต้องใช้เรือโยงนำร่องออกไป (เหตุการณ์เกิดช่วงปากอ่าวก็เป็นไปได้) เมื่อเรือกินลมบกแล้ว พัดเรือออกทะเลได้


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 17 เม.ย. 11, 13:17
ดูเรือสำเภาเดินทะเล จากภาพถ่ายจริงบ้างครับ จะได้เห็นความใหญ่โต


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 17 เม.ย. 11, 13:44
ภาพขยายเรือลาก


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 เม.ย. 11, 13:53
^
นั่นเป็นกิริยาที่ "โล้" เรือละ

แต่คุณคิดว่า สามเกลอนี่จะโล้เรือ ลากสำเภาไหวหรือครับ

อ้างถึง
การโล้สำเภา ในกรณีนี้สำเภาเป็นสำเภาเดินทะเล ออกไปถึงเขมรได้ ไปถึงกวางตุ้งได้ จึงเป็นเรือสำเภาขนาดใหญ่ คงยากที่จะใช้พาย ๆ จึงต้องใช้เรือโยงนำร่องออกไป (เหตุการณ์เกิดช่วงปากอ่าวก็เป็นไปได้) เมื่อเรือกินลมบกแล้ว พัดเรือออกทะเลได้


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 เม.ย. 11, 14:04
ขอแก้ไขรูปให้เต็มขนาดหน่อยครับ


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 17 เม.ย. 11, 14:08
^
นั่นเป็นกิริยาที่ "โล้" เรือละ

แต่คุณคิดว่า สามเกลอนี่จะโล้เรือ ลากสำเภาไหวหรือครับ

อ้างถึง
การโล้สำเภา ในกรณีนี้สำเภาเป็นสำเภาเดินทะเล ออกไปถึงเขมรได้ ไปถึงกวางตุ้งได้ จึงเป็นเรือสำเภาขนาดใหญ่ คงยากที่จะใช้พาย ๆ จึงต้องใช้เรือโยงนำร่องออกไป (เหตุการณ์เกิดช่วงปากอ่าวก็เป็นไปได้) เมื่อเรือกินลมบกแล้ว พัดเรือออกทะเลได้

แบบนี้พอไหวไหมครับ  ;D ;D ;D ;D


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 17 เม.ย. 11, 14:47
ในภาพขยาย จะเห็นยุทธวิธีที่ทรงใช้ พงศาวดารกล่าวว่า พระนเรศวรจะทรงให้ทหารปีนขึ้นสำเภา บัญชาการให้เรือพระที่นั่งหนุนไปให้ชิดเรือของพระยาจีนจันตุ แล้วทรงยิงปืนนกสับถูกจีนผู้ใหญ่ตายสามคน พระยาจีนจันตุยิงปืนนกสับมาต้องรางปืนที่ทรงอยู่ แล้วเร่งโล้สำเภาออกไปพ้นปากน้ำ….

ไม่มีตรงไหนกล่าวถึงปืนใหญ่เล้ย


(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=4341.0;attach=18349;image)

เหตุการณ์นี้มีบันทึกเป็นภาพไว้อีกแห่งหนึ่ง

พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ที่ทุ่งมะขามหย่อง อยุธยา มีภาพหล่อโลหะนูนต่ำไว้ดังนี้

http://www.siamnava.com/fff/index.php?topic=2129.0


(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=4341.0;attach=18320;image)


คุณนวรัตนคิดว่าปืนในภาพข้างบนเป็นชนิดเดียวกับ พระแสงปืนต้นข้ามแม่น้ำสะโตง  หรือไม่

 ???


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 เม.ย. 11, 15:16
^
ชนิดเดียวกันแน่นอนครับ แต่อาจจะคนละกระบอก


เรื่องพระนเรศวรตามล่าพระยาจีนจันตุนี้ ผมสันนิฐานดังนี้ครับ

๑ เรือสำเภาของพระยาจีนจันตุ ไม่น่าจะเป็นสำเภาที่ใหญ่เทอะทะ ออกแบบสำหรับจะขนสินค้าให้มากอย่างเดียวเช่นเรือค้าขายที่ขึ้นล่องถึงกวางตุ้ง แต่ใหญ่พอที่จะเดินเรือเลียบชายฝั่งได้ และต้องเล็กพอที่จะคล่องตัวในแม่น้ำ ซึ่งทั้งกรุงศรีอยุธยาและเมืองละแวกอยู่ไกลจากปากอ่าวพอๆกัน

๒ เมื่อเรือมีขนาดเล็กลง ก็มีแจวได้ เพื่อไว้ใช้เคลื่อนตัวได้เองโดยไม่ต้องมีเรือจูง(ต้องใช้หลายลำดังภาพของคุณหนุ่มสยามด้วย) ที่ต้องหนักแรงคนเพิ่มขึ้นไปอีก
เรือจูง คงต้องใช้บ้างเพื่อเบนหัวออกจากท่า

๓ อย่างไรก็ดี เมื่อลมอำนวย เรือนี้ก็สามารถวิ่งได้ ช้าหรือเร็วเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ถ้าลมไม่แรงพอและอยู่ในภาวะรีบเร่ง เช่นกำลังหนีเรือเร็วที่ตามมา ก็ต้องแจวเสริมแรงเข้าไปด้วยเพื่อหนีตาย

๔ ฤดูกาลที่คิดหนีก็สำคัญ จะมีช่วงฤดูหนาวเท่านั้นที่จะมีลมเหนือ พัดจากอยุธยาลงมาใต้ และเป็นลมแรงเสียด้วย จะคิดหนี ก็ต้องหนีช่วงนั้น เรือจะกินลมตั้งแต่ยังไม่ถึงปากอ่าว แต่เมื่อเข้าคุ้งน้ำ ก็ต้องวิ่งซิกแซกให้ใบกินลมเสียเวลาไปบ้าง จุดนี้เรือดั้งใช้ฝีพาย มีคนคัดท้ายจะได้เปรียบ

๕ จีนก็เป็นจ้าวของปืนยาวในยุคนั้นเช่นกัน แม้จะไม่ค่อยแม่นยำแต่ก็จะทำให้เรือพระนเรศวรเข้าใกล้ลำบาก พื้นที่บนเรือใหญ่ก็เอื้ออำนวยต่อการบรรจุกระสุนแต่ละชุดได้คล่องกว่าคนบนเรือดั้ง จำนวนพลยิงก็มากกว่า อำนาจการยิงจึงน่าจะเป็นของพระยาจีนจันตุ สำเภาจึงประคองตัวหนีเรือรบของกรุงศรีไปได้ตลอดจนถึงทางตรงที่เป็นร่องลม

๖ เท็จจริงแล้ว พระนเรศวรอาจจะไม่ได้ตามไปถึงปากน้ำก็ได้ เพราะระยะทางร้อยกว่ากิโล ฝีพายคงสิ้นกำลังไปก่อน ข้าวน้ำก็ไม่รู้จะได้กินหรือเปล่า


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 เม.ย. 11, 15:22
แผนที่เมืองละแวกของชาวดัชท์ครับ


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: ธีร์ ที่ 17 เม.ย. 11, 15:48
เรื่องเรือสำเภาที่วัดยานนาวาครับ

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมหมื่นไกรสรวิชิต (พระองค์โต พระองค์เจ้าชายสุทัศน์ พระโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก กับ เจ้าจอมมารดากลิ่น ว่าการกำกับกรมสังฆการี กรมธรรมการ กรมอาลักษณ์ และคลังเสื้อหมวก เป็นต้นสกุล “สุทัศน์ ณ อยุธยา”) เป็น แม่กองปฏิสังขรณ์พระอุโบสถวัดยานนาวา ที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้เคยปฏิสังขรณ์ไว้แล้ว พร้อมทั้ง ทรงให้สร้างพระเจดีย์มีฐานเป็นสำเภาอยู่ข้างหลังพระอุโบสถ จนแล้วเสร็จในเดือน ๙ ปีมะโรง ฉศก จ.ศ. ๑๒๐๖ พ.ศ. ๒๓๘๗ นั้นเอง และทรงโปรดฯให้สร้างและถวายกุฏีสงฆ์ที่ทรงสร้างใหม่ให้แก่พระสงฆ์ จำนวน ๒ หลัง และปิดทองหน้าบัน บานประตู หน้าต่าง ซุ้มประตูหน้าต่างพระอุโบสถในคราวเดียวกัน และทรงโปรดฯให้มีงานพระราชเพลิงศพ หลวงสุนทรภักดี ด้วย
      ปี จ.ศ. ๑๒๐๗ ปีมะเส็ง สัปตศก พ.ศ. ๒๓๘๘ ทรงมีพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้วัดยานนาวาให้มีเทศนาประจำวัด และเมื่อพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ (พระองค์เจ้าหญิงวิลาส) ได้สิ้นพระชนม์ เมื่อวันพฤหัสบดี ที่ ๒๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๓๘๘ หลังเสร็จงานพระศพแล้ว ก็ได้ทรงโปรดฯให้สร้างรูปหล่อพระเวสสันดรกัณหาชาลี ขึ้น และโปรดฯให้มีงานพระราชพิธีแห่รูปพระเวสสันดรกัณหาชาลี ไปไว้ท้ายเจดีย์เรือสำเภา พร้อมกับทรงโปรดให้มีงานฉลองวัดยานนาวา เป็นเวลา ๗ วัน ในปี จ.ศ. ๑๒๐๙ ปีมะแม นพศก พ.ศ. ๒๓๙๐
             
เจดีย์รูปเรือสำเภา
     มูลเหตุที่สร้างเจดีย์รูปเรือสำเภาที่วัดยานนาวานั้น พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริเห็นว่า พระอุโบสถวัดคอกกระบือทรุดโทรมลงมาก จึงมีพระราชศรัทธาปฏิสังขรณ์พระอุโบสถ แล้วใคร่จะทรงสร้างเจดีย์เพิ่มขึ้น ทรงพระราชดำริเห็นว่า จะสร้างเป็นพระสถูปหรือพระปรางค์ก็มีอยู่ที่อื่นมากแล้ว ทรงปรารภว่า แต่ก่อนมา เรือที่ใช้ไปมาค้าขายกับต่างประเทศใช้เรือสำเภาเป็นพื้น ในเวลานั้นเกิดต่อเรือกำปั่นใบอย่างฝรั่งใช้กันมากขึ้นทุกที พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพยากรณ์ว่า เรือสำเภาคงจะสูญไป อาศัยเหตุนี้ เมื่อทรงดำริหาแบบอย่างพระเจดีย์ที่จะสร้างวัดที่คอกกระบือ ทรงระลึกขึ้นถึงธรรมทั้งหลายที่ซึ่งพระเวสสันดรโพธิสัตว์ อุปมาเหมือนเรือสำเภายานนาวาในมหาเวสสันดรชาดกกัณฑ์กุมาร จึงโปรดเกล้าฯให้สร้างพระเจดีย์มีฐานเป็นสำเภาเท่าขนาดเรือสำเภาจริงขึ้นไว้ที่วัดคอกกระบือ มีพระราชดำรัสว่า
                    “คนภายหน้าอยากจะเห็นเรือสำเภาเป็นอย่างไรจะได้มาดู”
อนึ่ง เมื่อมีการสร้างเจดีย์รูปเรือสำเภาจีนที่วัดแล้วเสร็จ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้ทรงพระราชทานนามวัดใหม่ จากวัดคอกกระบือ เป็น “วัดญานนาวาราม” แทน
ส่วนของสำเภาและพระเจดีย์
 
                ส่วนยาวของสำเภาตลอดลำ วัดแต่หงอนข้างบนถึงท้ายบาหลีได้ ๒๑ วา ๒ ศอก ส่วนยาวตลอดลำ วัดจากพื้นดินได้ ๑๘ วา ๑ ศอกเศษ ส่วนกว้างตอนกลางลำ ๔ วา ๓ ศอก ส่วนสูงตอน กลาง ลำ ๒ วา ๓ ศอก
มีพระเจดีย์อยู่ในสำเภา ๒ องค์ องค์ใหญ่ฐานล่างกว้าง ๓ วา ๑ ศอกเศษ สูงจากพื้นบนถึงยอด ๘ วา องค์เล็กฐานล่างกว้าง ๗ ศอกเศษ สูงจากพื้นบนถึงยอด ๖ วาถ้วน
                พระยาอนุมานราชธน ทรงประพันธ์เรื่องเรือสำเภาวัดยานนาวาที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๖๗ กับคำพยากรณ์ของพระองค์ไว้ในหนังสือตำนานศุลกากร เอาไว้ว่า
                “ท่านคงนึกแปลกใจอยู่บ้างว่า เวลานี้ก็ยังมีเรือสำเภาอยู่ จะว่าสูญไปอย่างไร แต่ที่จริงสำเภาที่เห็นอยู่ในทุกวันนี้ เป็นเรือสำเภาแบบไหหลำ หาใช่เรือสำเภาที่กล่าวถึงนี้ไม่ แบบเรือสำเภาที่แท้จริง ก็คือที่มีอยู่ที่วัดยานนาวา แต่ภายหลังเรือสำเภานี้ชำรุดตอนหัวเรือหักพังลง ได้บูรณะปฏิสังขรณ์ใหม่ รูปหัวเรือเห็นจะผิดไปจากเดิม เพราะได้ทราบจากผู้ใหญ่เล่าให้ฟังว่า เรือสำเภาของพวกเจ้าสัวที่ไปค้าขายยังเมืองจีนแต่ก่อน หัวของเรือสำเภาของเดิมมีรูปเหมือนมีดโกนพระของเก่า(มีตัวอย่างอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ) หาใช่เป็นรูปมีดดาบอย่างที่ซ่อมใหม่นี้ไม่…”


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 เม.ย. 11, 16:13
รูปบนนี่มั้ง ที่หัวเรือเหมือนใบมีดโกนของพระ

ส่วนลำล่างเป็นสำเภาจีนขนาดย่อม ติดแจวให้โล้ได้


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 เม.ย. 11, 16:37
ย้อนกลับไปอ่านข้อความในพงศาวดารที่คุณหนุ่มคัดมาไว้
อ้างถึง
ครั้นถึง ณ วันอาทิตย์ เดือนยี่ ขึ้นสี่ค่า ปีระกา ตรีศก ( ตรงกับ ศักราช ๙๒๓ )

เดือนยี่ คือเดือนธันวาคม เป็นช่วงที่ลมเหนือพัดพาเอาหนาวลงมาจากจีนพอดี ตรงตามที่ผมสันนิฐานไว้ พระยาจีนจันตุคงมีแผนหนีอยู่นานแล้ว ไม่ใช่เรื่อบังเอิญแบบเหตุการณ์พาไปอย่างในหนัง ขึ้นสี่ค่ำ น้ำยังเต็มฝั่งอยู่ วิ่งไม่ต้องกลัวท้องครูดเลนใต้น้ำในบางช่วงด้วย

อ้างถึง
เพลาประมาณ สองนาฬิกา พระยาจีนจันตุ ก็พาครัวลงสาเภาหนีล่องลงไป ขณะนั้นสมเด็จพระนเรศวรเจ้า เสด็จลงมาแต่เมืองพระพิษณุโลก เสด็จอยู่ในวังใหม่ สมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้าก็เสด็จยกทัพเรือตามพระยาจีนจันตุลงไปในเพลากลางคืนนั้น
เสด็จตาม มิได้บอกว่าปะทะกันในคืนนั้นเลยทีเดียว ผมคิดว่าเรือสำเภาพอได้ลมก็วิ่งได้ฉิวอยู่แต่ก็คงช้ากว่าเรือดั้ง หากภายจ้ำตามมา และเวลาเข้าคุ้งน้ำก็ต้องเสียเวลามากพอสมควร พระนเรศวรกว่าจะทรงทราบ กว่าจะเกณฑ์คนลงเรือและเคลื่อนพลได้ คงเสียเวลาเป็นชั่วโมงๆอยู่ คงจะตามมาทันตอนรุ่งสาง จึงมีเรื่องให้บันทึกว่ามีการดวลปืนยาวเพราะเห็นตัวกันแล้ว

ไม่แน่นะครับ หากเสด็จมาทันก่อนแสงอาทิตย์สาดฟ้า ทหารเรือไทยอาจจะอาศัยความมืดกำบังเข้าไปประชิดเรือใหญ่ แล้วส่งหน่วยซีลบุกขึ้นเรือได้ ตอนนั้นปืนไฟคงไม่มีประโยชน์เท่าไหร่

ผมเอาเรือสำเภาจีนที่วิ่งค้าขายในลำน้ำเจ้าพระยา ตลอดไปถึงหัวเมืองปักษ์ใต้มาให้ดู เรือชนิดนี้เหลือรอดมาให้ฝรั่งถ่ายรูปไว้ได้ในยุครัตนโกสินทร์เลยทีเดียว



กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 เม.ย. 11, 17:27
เอาแผนที่แม่น้ำเจ้าพระยามาให้ดูครับ ความยาววัดรวมคุ้งน้ำต่างๆจากอยุธยามาปากน้ำประมาณราวๆ 120 กม.

ผมคิดว่าที่พระยาจีนจันตุเลือกออกเรือตอน๒ยาม ก็น่าจะเป็นช่วงที่น้ำกำลังจะขึ้นสูงสุดแล้ว และจะทรงอยู่สักช่วงหนึ่งก่อนที่จะเริ่มไหลลงสู่ทะเลใหม่ เรือจะได้วิ่งตามน้ำตามลมมาสบายๆ ถ้าความเร็วเรือเฉลี่ยประมาณ๘น๊อต หรือประมาณ๑๕ กม./ชม. ก็น่าจะออกปากอ่าวได้ในตอนสายๆ

เรือดั้งของพระนเรศวร โชคดีที่พายตามน้ำมาเหมือนกัน ถ้าจ้ำๆหน่อยก็เร็วมากแต่จะยืนระยะไม่อยู่ ถ้ามาแบบเร่งๆแต่ไม่รีบ(เอ๊ะ แปลว่าอะไร?) พอไม่ให้เหนื่อยจนขาดใจไปเสียก่อน ก็น่าจะมาได้ประมาณ ๓๐ กม./ชม. เพราะมีความเร็วของกระแสน้ำส่งให้ด้วย

เผลอๆ คงจะมายิงกันแถวบางกอกนี่แหละครับ ช่วงที่น่าลุ้นก็คือตอนเรือสำเภาเข้าคุ้งบางกระเจ้า ตรงนั้นแม่น้ำเจ้าพระยาโค้งเหมือนกระเพาะหมู เรือสำเภาใช้ใบต้องวิ่งสลับฟันปลาไปด้วยลำบากแน่ เหมาะที่เรือดั้งจะเข้ารุมกินโต๊ะ แต่พอพ้นไปแล้ว แถวพระประแดง แม่น้ำถึงไม่ตรงก็เกือบตรง เรือสำเภาก็วิ่งได้ฉิวแล้วละครับ

จะทรงวางปืนก็คงจะตอนนั้น ไม่ต้องต่อไปปากน้ำให้ทหารเหนื่อยตายคาเรือเสียเปล่าๆ


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: katathorn ที่ 17 เม.ย. 11, 19:43
ขออนุญาตินอกเรื่องนิดนึงครับ ;D พอดีไปเห็นคันชีพของปืนแบบนี้แล้วสงสัยน่ะครับ ไม่รู้เขาใช้กันอย่างไร เพราะดูแล้วสั้นเหลือเกินไม่น่าจะหยั่งลงถึงพื้นได้ขณะที่ทำการยิงแม้ว่าจะลงจากหลังม้าแล้วก็ตาม แถมจะใช้ยิงจากบนหลังม้าถ้าห้อยคันชีพลงมาก็คงจะแทงคอม้าเอา(ปลายแหลมซะด้วย) เขามีไว้ทำอะไรและใช้อย่างไรหรือครับ

(http://statics.atcloud.com/files/entries/8/85237/images/1_original.jpg)
(http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/5/50/Ming_matchlocks.jpg)


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 เม.ย. 11, 21:27
ผมละมึนอยู่หลายตลบ ตอนแรกไม่ทราบว่าคุณคฑาธร จะให้ดูอะไรในรูป

คันชีพ เขาใช้กันในหลายความหมาย สำหรับทหารแล้วหมายถึงกระเป๋าใส่กระสุนปืน ฝรั่งเรียก Gun Chief ไทยเราเรียกเพี้ยนแต่ฟังดูโก้ว่ากระเป๋าคันชีพ เป็นเครื่องแบบของทหารรักษาพระองค์


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 เม.ย. 11, 21:29
และได้มีการนำคันชีพมาทำเป็นแหนบติดกระเป๋าประดับเครื่องแบบด้วย เรียกว่า แหนบกันชีพ


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 เม.ย. 11, 21:31
ส่วนทหารเรือ เรียกผ้าคาดเอวในเครื่องแบบโบราณของฝีพายในกระบวนเรือพระราชพิธีว่า เข็มขัดคันชีพครับ


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 เม.ย. 11, 21:38
คันชีพมีอีกความหมายดั้งเดิมในศาสนาพราหมณ์เวลาทำพิธีตรียัมพวาย คือเป็นจงกลเทียนที่มีหลายกิ่งหล่อจากทองเหลือง เรียกว่าคันชีพ  พราหมณ์ใช้แกว่งไปมาเพื่อบูชาเทวรูป


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 เม.ย. 11, 21:40
ส่วนปัญหาของคุณคือสิ่งนี้ใช่ไหมครับ


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 17 เม.ย. 11, 21:45
ขออนุญาตินอกเรื่องนิดนึงครับ ;D พอดีไปเห็นคันชีพของปืนแบบนี้แล้วสงสัยน่ะครับ ไม่รู้เขาใช้กันอย่างไร เพราะดูแล้วสั้นเหลือเกินไม่น่าจะหยั่งลงถึงพื้นได้ขณะที่ทำการยิงแม้ว่าจะลงจากหลังม้าแล้วก็ตาม แถมจะใช้ยิงจากบนหลังม้าถ้าห้อยคันชีพลงมาก็คงจะแทงคอม้าเอา(ปลายแหลมซะด้วย) เขามีไว้ทำอะไรและใช้อย่างไรหรือครับ


อาจจะมิได้หมายถึงตั้งขาทรายบนคอม้า ปืนนั้นคงพกติดตัว เผื่อไว้ซุ่มในพุ่มไม้ หมอบราบกับพื้น ตั้งปืนด้วยขาทรายมากกว่าครับ


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: katathorn ที่ 17 เม.ย. 11, 21:47
ส่วนปัญหาของคุณคือสิ่งนี้ใช่ไหมครับ
ใช่แล้วครับผม นั่นล่ะครับที่สงสัย
คือสมัยก่อนผมเคยสงสัยข้อความที่ว่า"มือถือปืนมีคันชีพ"เลยไปถามนักวิชาการทางประวัติศาสตร์ท่านนึง ท่านก็บอกมาว่าเปนขาหยั่งปืนนั่นแหละ :P แล้วผมก็เข้าใจผิดมาโดยตลอดนี่ล่ะครับ วันนี้กระจ่างแล้ว ;) ขอบคุณมากครับ


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 17 เม.ย. 11, 21:48
คันชีพมีอีกความหมายดั้งเดิมในศาสนาพราหมณ์เวลาทำพิธีตรียัมพวาย คือเป็นจงกลเทียนที่มีหลายกิ่งหล่อจากทองเหลือง เรียกว่าคันชีพ  พราหมณ์ใช้แกว่งไปมาเพื่อบูชาเทวรูป

โหว ไปถึงท่านวามเทพมุนีเลยนะขอรับ  ;D ;D ;D


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 เม.ย. 11, 21:48

ดังที่คุณหนุ่มเฉลย

ทหารจะเรียกว่า "ขาทราย" ติดไว้ที่ปืน เมื่อใช้ก็กางขาออกปักดินไว้ ปืนจะนิ่งเล็งยิงได้แม่นยำขึ้น
ฉะนั้นเวลาใช้งาน พ่อมืดคนนั้นก็ต้องโดดลงจากหลังม้าก่อนเพื่อมาตั้งหลักยิง

แต่ถ้าตลุมบอนกัน จำเป็นต้องใช้ปืนบนหลังม้า ก็อย่าไปกางขาทรายออก เดี๋ยวมันจะไปแทงคอม้าอย่างว่า เอามือรวบขาไว้แล้วยิงไป ถ้าระยะใกล้ๆก็ถูกมั่งละน่านะ ผมว่า


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 17 เม.ย. 11, 22:12
ตามที่ อ.NAVARAT.C เคยว่าไว้ว่า แม่น้ำสะโตงกว้างประมาณ ๖๐๐ - ๘๐๐ เมตร ซึ่งปืนสมัยเมื่อ ๔๐๐ ปีก่อนน่าจะยิงวิถีแนวโค้งประกอบกระมังครับ เนื่องด้วยระยะหวังผลการยิงแนวโค้งจะไปไกลกว่ายิงแนวราบนะครับ


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 เม.ย. 11, 22:53
^
ตามนี้ครับ

อ้างถึงคคห.30

อ้างถึง
อ้างถึง
ความแม่นของปืน ขึ้นกับอะไรบ้าง ด้วยเคยยิงปืนมาบ้าง ทำให้รู้ว่า "เป้า" นั้นยิ่งไกล ยิ่งยิงยาก เนื่องจากเป้านั้นจะเล็กลงไปเรื่อยๆ โอกาสพลาดได้มาก
นอกจากฝีมือและประสพการณ์ของผู้ยิงแล้ว เป้าหากไกลมากก็ต้องเพิ่มดินปืนตามสัดส่วน แต่ก็ต้องรู้ต้องชำนาญมาก สุ่มสี่สุ่มห้าพอยิงแล้วลำกล้องแตก คนยิงก็จะเป็นผู้ตายเสียเอง
อย่างที่ท่านมุ้ยว่า ระยะยิงกับความกว้างของแม่น้ำสะโตงไม่ใช่ปัญหา คือกระสุนนั้นถึงแน่ แต่ต้องเสียระดับตามแรงดึงดูดของโลก ผู้ยิงจะต้องแก้วิถีกระสุนโดยต้องเล็งเป็นวิถีโค้ง (แม้ปืนสมัยนี้ก็ต้องทำดังว่าเช่นกัน) [/b] เมื่อไม่มีศูนย์หลัง ก็ขึ้นกับความเก่งของคนยิงครึ่งนึก โชคชะตาอีกครึ่งนึง


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 เม.ย. 11, 22:59

อ้างถึง
คันชีพ เขาใช้กันในหลายความหมาย สำหรับทหารแล้วหมายถึงกระเป๋าใส่กระสุนปืน ฝรั่งเรียก Gun Chief ไทยเราเรียกเพี้ยนแต่ฟังดูโก้ว่ากระเป๋าคันชีพครับ เป็นเครื่องแบบของทหารรักษาพระองค์

เอาละซีครับ ข้อความข้างต้นนี้ ผมเอามาจากเวปของทหาร ซึ่งมีข้อความลอกกันต่อๆมาหลายหน้ากูเกิลว่า คันชีพ มาจากคำภาษาอังกฤษว่า "Gun Chief" นั้นก็หมายความถึง กระเป๋าสำหรับใส่กระสุนปืนของทหาร นั่นเอง

ด้วยความที่เห็นมันแหม่งๆ ผมเลยเอาคำนี้ไปค้นต่อ เอาละซีครับ Gun Chief ทหารฝรั่งหมายถึงผู้บังคับปืน เป็นคนครับไม่ใช่เป็นสิ่งของ ส่วนกระเป๋าใส่กระสุนปืน ทหารฝรั่งเรียกว่า Pouch ดังตัวอย่างข้างล่างนี่

สงสัยที่ท่านบอกว่าเพี้ยนมาจาก Gun Chief ก็เห็นจะจริงอยู่ ตอนนั้นทหารอังกฤษสมัยวิกตอเรียนที่เข้ามาเป็นครูฝึกทหารสมัยรัชกาลที่๔ บางคนคงเรียกตนเองว่าเป็นกันซี๊ฟ และแต่งเครื่องแบบคาดเข็มขัดกระสุนดังกล่าวดูเท่ห์มากมาย จนเราเอามาทำเป็นเครื่องแบบทหารรักษาพระองค์บ้าง เลยเรียกกระเป๋านี้ว่าเป็นแบบกันซี๊ฟ นานวันเข้าก็เลยเป็นคันชีพไปด้วยประการฉะนี้




กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 18 เม.ย. 11, 11:27
ภาพที่๓ สมเด็จพระนเรศวรตามจับพระยาจีนจันตุ

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=4341.0;attach=18348;image)

รัชกาลที่ ๕ ทรงมีพระราชนิพนธ์บรรยายภาพนี้ไว้ว่า

พระยาจันจันตุข้า          ขอมขุน
มาสู่กรุงมุ่งบุญ             ปกเผ้า
ปิ่นภพกอบการุญ          รับปลูก เลี้ยงแฮ
ยกโทษโปรดเกษเกล้า    ห่อนพ้องจองไภย

กลับใจจักสู่เจ้า            ปถพี ตนแฮ
สืบทราบการธานี          ใหญ่น้อย
หวังสยายถ่ายทอดมี      มาแต่ หลังนา
สู่สเภาค่ำคล้อย           ลอบโล้ครรไลย

พระดนัยนเรศวร์แจ้ง      เหตุรหัศ
ทรงพระชลยานรัด        รีบร้น
พร้อมเรือนิกรขนัด       ขนาบไล่ สเภาแฮ
ทรงพระแสงปืนต้น       ลั่นต้องจีนตาย
 
ตัวนายกัมพุชจ้อง        วางปืน มานา
ต้องพระแสงทรงราง     ลั่นร้าว
รบพลางรีบหนีพลาง     เรือตก ลึกเฮย
ลมเกิดกางใบก้าว        ล่องลี้หายลำ
 
http://161.200.145.33/rarebook-ft/doc.asp?dirid=I0037&page=0028&dirname=โคลงภาพพระราชพงศาวดาร (http://161.200.145.33/rarebook-ft/doc.asp?dirid=I0037&page=0028&dirname=โคลงภาพพระราชพงศาวดาร)



กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 18 เม.ย. 11, 18:19
หลังจากติดตามอ่านด้วยความเพลิดเพลินมาเกือบ ๑๐๐ ค.ห.    ก็เกิดอยากรู้ขึ้นมาว่า เขมรบันทึกเรื่องพระยาจีนจันตุว่ายังไงบ้าง  หลังจากหนีรอดไปได้  แกไปทำอะไรอีก    จึงไปค้นประวัติศาสตร์เขมรในยุคสมเด็จพระนเรศวรดู     ผลคือยังไม่พบพระยาจีนจันตุ   แต่พบอะไรที่น่าทึ่ง  อาจจะมีผู้รู้ในเว็บเรือนไทยเคยผ่านตามาแล้ว  แต่ดิฉันยังไม่เคยอ่าน

อย่างแรกคือพระยาละแวกนั้น ไม่ได้ชื่อพระยาละแวก   แต่ละแวกหรือ Lovek เป็นชื่อเมืองหลวงของเขมรแต่โบราณเรื่อยมาจนถึงคริสตวรรษที่ 16   ไม่รู้ว่าปัจจุบันคือจังหวัดหรือเมืองอะไรของกัมพูชา
ตัวพระเจ้าแผ่นดินเขมรที่เราเรียกว่าพระยาละแวก  ชื่อพระเจ้า Satha (สธา?- ไม่ทราบว่าออกเสียงไทย หรือเขมรว่าอย่างไร   ขอใครที่ทราบช่วยบอกด้วยค่ะ)  

สนุกกว่านี้ก็คือ ศึกระหว่างสเปนกับสยาม ในยุคสมเด็จพระนเรศวร    ท่านมุ้ยไม่ได้ใส่เรื่องนี้ไว้ในหนังของท่านเลยหรือคะ   หรือว่ามีเหมือนกันแต่ท่าน NAVARAT ยังเล่าไม่ถึง

As the Siamese king, Naresuen, advanced on Lovek (Cambodia's capital for much of the 16th century), the feeble Cambodian king, Satha, became desperate. Using Diogo Veloso, a Portuguese soldier of fortune, as his envoy, Satha pleaded for aid, first from the Portuguese at Malacca, then from the Spaniards at Manila. A Spanish force was sent from Manila in 1594 but it arrived too late; the Spaniards found that Cambodia had fallen to the Siamese, Veloso was a prisoner in Siam, and King Satha was a refugee in Laos. The Spanish leader, Blaz Ruiz, was captured and placed on a prison ship headed for Siam. Unwilling to give up so easily, Ruiz managed to hijack the ship and take it back to Manila. Meanwhile the equally resourceful Veloso gained favor with Naresuen and got himself placed in command of a ship carrying the Siamese ambassador to Manila.

The adventure became even more bizarre once Veloso and Ruiz were united in Manila. Forgetting that he was now officially a diplomat of Siam, Veloso claimed that he represented Cambodia's ex-king and signed a highly irregular treaty. This document allowed Spanish troops, merchants, and missionaries to travel freely in Cambodia, and promised that the king and queen would become Christians in return for military aid. Then Veloso and Ruiz led a raid on Siamese-occupied Phnom Penh. Deciding at first to return to Manila after this affair, they later changed their minds, jumped ship in a Vietnamese port, and marched overland from Vietnam to Laos, where they discovered that Satha and his eldest son had died. The adventurers returned to Cambodia in 1597 with Satha's second son in tow; fearing another Spanish invasion, the terrified Cambodians allowed them to crown the prince as King Barom Reachea II.

The puppet monarchy was short-lived, though. In 1599 a fight between the Spaniards and some Cham and Malay mercenaries grew into a massacre that killed almost every Spaniard in Phnom Penh. The pro-Spanish king became yet another of Southeast Asia's many victims of regicide. Four years later a fresh royal weakling made overtures to Manila, but Naresuen replaced him with a pro-Siamese monarch immediately. The Spanish game in Cambodia was over, and with it ended Spain's only attempt to expand her empire onto the Asian mainland.


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 18 เม.ย. 11, 18:21
ภาพนี้ไม่มีคำบรรยาย   เลยไม่รู้ว่ากษัตริย์ในเรื่องคือพระเจ้า Satha   หรือว่าสมเด็จพระนเรศวร     แต่อย่างน้อยก็พอสันนิษฐานถึงการแต่งกายในสมัยนั้นได้  ไม่ว่าเขมรหรืออยุธยาคงแต่งกายไม่แตกต่างกันนัก


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 18 เม.ย. 11, 19:21
พิมพ์ไว้ คลิกผิดทีเดียวหายไปหมด  ต้องก้มหน้าก้มตาพิมพ์ใหม่

ประวัติศาสตร์เขมร(ที่น่าจะได้มาจากบันทึกของฝรั่ง) ในตอนนี้ เล่าไว้ว่าสมเด็จพระนเรศวรยกทัพไปบุกเมืองละแวก เมืองหลวงของเขมร    พระเจ้า Satha หรือที่เราเรียกว่าพระยาละแวกรู้ว่าแพ้แน่  ไม่มีทางสู้ก็เลยหันไปขอความช่วยเหลือจากทหารรับจ้างชาวปอร์ตุเกศคนหนึ่งชื่อนายเวโลโซ  ซึ่งมารับจ้างรบอยู่ในเขมร   ส่งตัวเป็นทูตถือสารไปขอความช่วยเหลือจากกองกำลังต่างชาติ    ทีแรกก็ไปขอกองทหารปอร์ตุเกศที่มะละกา  และครั้งที่สองไปขอกองทหารสเปนที่มะนิลา    
กองทหารสเปนจากมะนิลาเดินเรือมาช่วยจริงๆเมื่อพ.ศ.2137     แต่ว่ามาถึงช้าไป   เขมรตกเป็นเมืองขึ้นของอยุธยาไปเรียบร้อยแล้ว    ตัวเวโลโซก็ถูกจับเป็นเชลยอยู่ในอยุธยา    ส่วนพระเจ้าแผ่นดินเขมรหนีไปลี้ภัยอยู่ในลาว   ตัวนายทหารที่คุมกองทหารมาชื่อเบลซ รูอิซ( Blaz Ruiz) ถูกจับได้แล้วขังเป็นนักโทษอยู่ในเรือที่มุ่งหน้ามาอยุธยา    แต่นายคนนี้เก่ง   หลุดจากที่คุมขังแล้วจี้บังคับเรือให้หันหัวกลับไปมะนิลา  ก็เลยรอดไปได้  ส่วนเรื่องจะมารุกรานทำศึกกับอยุธยาก็เจ๊ากันไป
ทางอยุธยา  นายเวโลโซซึ่งรอบจัดพอกัน   ไปประจบประแจงเพ็ดทูลอย่างไรก็ไม่ทราบก็หลุดจากสภาพเชลยศึก    ทำตัวให้สมเด็จพระนเรศวรโปรดปรานจนได้เป็นนายเรือ คุมเรือพาราชทูตไทยไปเจริญสัมพันธไมตรีกับสเปนที่มะนิลา  

แต่พอไปถึงมะนิลา ทั้งเวโลโซและรูอิซเจอกันอีกครั้ง     ลายของนายเวโลโซก็ออก    นอกจากทรยศไม่ยอมรับว่าตัวเองเป็นหนึ่งในคณะราชทูตไทยแล้ว   ยังพลิกกลับไปอ้างว่าตัวเองคือตัวแทนผู้มีอำนาจเต็มของพระเจ้าแผ่นดินเขมรองค์ก่อน   สามารถลงนามในสนธิสัญญา ซึ่งยินยอมให้กองทหารสเปน  พ่อค้าและผู้เผยแพร่ศาสนาได้เดินทางเข้าออกเขมร ไปไหนมาไหนได้อย่างเสรี   แลกกับการขอกำลังสเปนไปช่วยบ้านเมืองเขมรทำศึกกับอยุธยา    แล้วยังสัญญาด้วยว่าพระเจ้าแผ่นดินเขมรกับพระมเหสีจะตกลงเปลี่ยนศาสนามาเป็นชาวคริสต์
เมื่อทำแบบนี้ก็ได้กองกำลังกลับไป   ทั้งสองคนนี้ก็เข้าโจมตีพนมเปญ    ทีแรกตั้งใจว่าเสร็จศึกแล้วจะกลับมะนิลา แต่ก็เปลี่ยนใจไปขึ้นท่าที่เมืองญวนแล้วเดินทางบกไปที่ลาว    เมื่อไปถึงพบว่าพระยาละแวกและพระราชโอรสพระองค์ใหญ่สิ้นพระชนม์กันไปแล้ว   สองคนนี้ก็เลยกลับมาพนมเปญ  พ่วงพระโอรสองค์รองมาด้วย

 


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 18 เม.ย. 11, 19:29
เมื่อไปถึง  ชาวเขมรก็อ่อนน้อมยอมให้สองคนนี้ สถาปนาพระโอรสองค์รองขึ้นเป็นกษัตริย์เขมร ทรงพระนามว่าพระบรมราชาที่ 2 

ที่อ่านเจอนี้เป็นประวัติย่อ  ไม่มีบอกว่าแล้วเกิดอะไรขึ้นกับกษัตริย์เขมรองค์ที่ครองราชย์อยู่เมื่อกองทหารสเปนบุกพนมเปญ   แต่จากรูปการณ์ก็เดาว่าพระราชาองค์นี้แพ้ไปตามระเบียบ   ไม่แน่ว่าตอนสองคนนี้พาพระโอรสพระยาละแวกกลับมา   พระราชาที่แพ้นั้นตายหรือยังไม่ตาย     ถ้ายังไม่ตายก็คงถูกถอดจากบัลลังก์ให้เจ้าชายองค์ใหม่ขึ้นครองแทน

ดูจากพฤติการณ์ของนายเวโลโซในเรื่องที่เล่าข้างบนนี้   แกก็คงมีจุดประสงค์คล้ายๆฝรั่งเศสทำกับอยุธยา สมัยสมเด็จพระนารายณ์     ตัวแกก็คล้ายๆออกญาวิชเยนทร์  เช่นกัน   คือต้องการรวบอำนาจเข้าสู่ตัว และเผยแพร่อิทธิพลของฝรั่งเข้าครอบงำอาณาจักรในเอเชียอาคเนย์
นี่คือเหตุผลว่าทำไมแกไม่สวามิภักดิ์กับสมเด็จพระนเรศวรจริง     กษัตริย์ที่เข้มแข็งอย่างพระองค์ย่อมไม่มีทางให้ความฝันของทหารรับจ้างเป็นจริงขึ้นมาได้
(ยังไม่จบ ค่ะ)


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 18 เม.ย. 11, 19:38
พระเจ้า Satha = นักพระสัฏฐา

 ;D


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: katathorn ที่ 18 เม.ย. 11, 20:53
 มาปูเสื่อรอรับชมครับ ;D


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 18 เม.ย. 11, 21:06
ขอบคุณค่ะ  บางแห่งสะกดว่า นักพระสัตถา  
มาเล่าเวอร์ชั่นฝรั่งของประวัติศาสตร์เขมร ต่อ

รัชสมัยของพระบรมราชาที่ 2  ของเขมร  ผู้ตกอยู่ในฐานะหุ่นเชิดของฝรั่งโปรตุเกศและฝรั่งสเปน อยู่ได้ไม่นานก็ถึงจุดจบ    ในพ.ศ. 2142 พวกทหารรับจ้างจามและมลายูในพนมเปญก็ก่อกบฏขึ้น  สังหารทหารสเปนเสียแทบไม่เหลือหลอ  พระเจ้าบรมราชาที่ 2 เองก็ถูกปลงพระชนม์จากศึกกลางเมืองครั้งนี้    
สี่ปีต่อมา  พระเจ้าแผ่นดินองค์ใหม่ของเขมร( ในนี้ไม่ได้บอกว่าเป็นใคร) พยายามสร้างไมตรีกับสเปนที่มะนิลาอีก    แต่ว่าโดนสมเด็จพระนเรศวรถอดออกจากราชบัลลังก์    แล้วทรงตั้งเจ้าเขมรองค์ใหม่ที่จงรักภักดีต่ออยุธยาขึ้นครองราชย์แทน    จากนั้น อิทธิพลของสเปนในเขมรก็สิ้นสุด    นับเป็นครั้งแรกและครั้งเดียวที่สเปนพยายามยื่นมือเข้ามาครองอำนาจเหนือเอเชียอาคเนย์  

เนื่องจากที่อ่าน เล่าไว้รวบรัดมาก   เลยไม่รู้ว่าเมื่อเกิดฆ่าฟันล้างเผ่าพันธุ์สเปนกันกลางพนมเปญ  ใครชนะ   พระเจ้าแผ่นดินเขมรองค์ใหม่ที่ถูกสมเด็จพระนเรศวรถอดจากบัลลังก์เป็นเจ้านายเขมรฝ่ายไหน       เวโลโซกับรูเอซตายในศึกกลางเมืองครั้งนั้นหรือไม่
แล้วเขมรบันทึกเรื่องสเปน และนายทหารโปรตุเกศ   ตลอดจนทหารรับจ้างต่างชาติที่ก่อศึกกลางเมืองสังหารโหดกันเอาไว้มากน้อยแค่ไหน   ยังไม่ได้หาอ่านต่อ  
ขอเชิญท่านที่สนใจ กรุณาหาอ่านต่อเอง  หรือจะมาโพสเล่ากันในกระทู้นี้ก็จะขอบคุณมาก


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 18 เม.ย. 11, 21:10
ไปหาประวัติของเวโลโซมาได้อีกนิดหน่อย   

คุณวิกี้บอกว่าเขาเป็นฝรั่งคนแรกที่ไปถึงอาณาจักรล้านช้าง     จากประวัติ ดูนายทหารโปรตุเกศจงรักภักดีกับพระยาละแวกหรือนักองค์สัฏฐามาก      ถึงกับตามไปช่วยให้กลับจากลาวมาครองเขมรเหมือนเดิม  แต่ไม่ทัน นักองค์สัฏฐาสิ้นพระชนม์เสียก่อน  กลับมาแกก็ช่วยเขมรทำศึก  ขับไล่กองทัพอยุธยาที่ยึดเขมรบางส่วนไว้ให้ถอยกลับอยุธยาไปได้ 

หลังสงครามกลางเมืองในพนมเปญ  เวโลโซรอดไปได้ ไม่ยักตาย     เขาออกจากเขมรไปมะละกา  จากนั้นก็ไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับตัวเขาอีก  ไม่แน่ว่าตายที่มะละกานั่นเอง หรือว่ากลับไปตายที่โปรตุเกศบ้านเกิดเมืองนอน   หรือว่าตายที่ไหนกันแน่

นักองค์พระสัตถาในฉบับไทยและเขมร เป็นแบบไหนคะ   รออ่านอยู่


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 18 เม.ย. 11, 21:13
อ้างถึง
อย่างแรกคือพระยาละแวกนั้น ไม่ได้ชื่อพระยาละแวก แต่ละแวกหรือ Lovek เป็นชื่อเมืองหลวงของเขมรแต่โบราณเรื่อยมาจนถึงคริสตวรรษที่ 16 ไม่รู้ว่าปัจจุบันคือจังหวัดหรือเมืองอะไรของกัมพูชา
จากคุณกู๋
Longvek or Lovek (Khmer: លង្វែក; meaning "intersection" or "crossroads") was a city in ancient Cambodia, the capital city of the country after the sacking of Angkor by the Siamese in 1431. Little more than a village today in Kampong Chhnang Province, it lies just north of Oudong.

ละแวก คำเขมรแปลว่าทางแยก หรือจุดที่ถนนตัดกัน (คำนี้ไทยเอามาใช้ว่า ละแวกบ้าน หมายถึงย่านที่อยู่) เป็นชื่อเมืองหลวงของประเทศเขมรหลังจากพระนครหลวงถูกทำลายโดยคนสยามในปีพ.ศ.๑๙๗๔ ทุกวันนี้อยู่ในจังหวัดกำปงฉณัง มีขนาดใหญ่กว่าหมู่บ้านนิดหน่อย ทางทิศเหนือของอุดงมีไชย


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 18 เม.ย. 11, 21:53
อ้างถึง
แต่พอไปถึงมะนิลา ทั้งเวโลโซและรูอิซเจอกันอีกครั้ง     ลายของนายเวโลโซก็ออก    นอกจากทรยศไม่ยอมรับว่าตัวเองเป็นหนึ่งในคณะราชทูตไทยแล้ว   ยังพลิกกลับไปอ้างว่าตัวเองคือตัวแทนผู้มีอำนาจเต็มของพระเจ้าแผ่นดินเขมรองค์ก่อน   สามารถลงนามในสนธิสัญญา ซึ่งยินยอมให้กองทหารสเปน  พ่อค้าและผู้เผยแพร่ศาสนาได้เดินทางเข้าออกเขมร ไปไหนมาไหนได้อย่างเสรี   แลกกับการขอกำลังสเปนไปช่วยบ้านเมืองเขมรทำศึกกับอยุธยา    แล้วยังสัญญาด้วยว่าพระเจ้าแผ่นดินเขมรกับพระมเหสีจะตกลงเปลี่ยนศาสนามาเป็นชาวคริสต์
เมื่อทำแบบนี้ก็ได้กองกำลังกลับไป   ทั้งสองคนนี้ก็เข้าโจมตีพนมเปญ    ทีแรกตั้งใจว่าเสร็จศึกแล้วจะกลับมะนิลา แต่ก็เปลี่ยนใจไปขึ้นท่าที่เมืองญวนแล้วเดินทางบกไปที่ลาว    เมื่อไปถึงพบว่าพระยาละแวกและพระราชโอรสพระองค์ใหญ่สิ้นพระชนม์กันไปแล้ว   สองคนนี้ก็เลยกลับมาพนมเปญ  พ่วงพระโอรสองค์รองมาด้วย

ตรงนี้ยังมั่วๆอยู่นะครับ หลังจากพระนเรศวรตีเมืองละแวกแตกแล้ว เขมรได้ย้ายไปสร้างเมืองหลวงใหม่ที่อุดงมีชัย(เขมรชอบเรียกว่าอุด้งเฉยๆ ฟังแล้วเหมือนก๋วยเตี๋ยวญี่ปุ่น) และอยู่ที่นั่นเป็นเวลานับร้อยปี ก่อนที่สมเด็จนโรดมจะทิ้งเมืองหลังศึกอานัมสยามยุทธ ไปสร้างใหม่ที่พนมเปญด้วยความช่วยเหลือของฝรั่งเศส

รายละเอียดขอให้ท่านผู้อื่นเล่าให้ฟังดีกว่าครับ ผมไม่ค่อยถนัดประวัติศาสตร์เขมรสักเท่าไร
 


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 18 เม.ย. 11, 22:25
ดิฉันคงจะพากระทู้ออกห่างพระยาจีนจันตุไปมากแล้ว  จบค.ห.นี้แล้วก็หันหัวเรือกลับมาที่สมเด็จพระนเรศวร  จบเรื่องฝรั่งในเขมรเสียทีละค่ะ

แต่ขอส่งท้ายด้วยเรื่องของรูอิซ  นักผจญภัยชาวสเปน 
ประวัติของแกคลาดเคลื่อนจากประวัติที่อ่านมาในตอนแรกนิดหน่อย     ที่ตรงกันคือรูอิซกับเวโลโซต่างสนับสนุนนักองค์สัฏฐาขึ้นครองราชย์  ประวัติศาสตร์ส่วนที่บอกตรงกับไทยคือ กองทัพสมเด็จพระนเรศวรตีเมืองละแวกแตก    มีรายละเอียดเพิ่มเติมว่าพระโอรสและบรรดาเจ้านายเขมรต่างสวามิภักดิ์ต่ออยุธยา  และถอดนักองค์สัฏฐาจากราชบัลลังก์   จากนั้นพระองค์จึงลี้ภัยไปลาว   แล้วสิ้นพระชนม์ระหว่างทาง

ทหารฝรั่งสองคนนี้ไปตามนักองค์สัฏฐาในลาว      ก่อนกลับมาก่อรัฐประหารขึ้นในเขมร    ยกพระเจ้าแผ่นดินองค์ใหม่ขึ้นครองได้ไม่นานก็เกิดสงครามกลางเมือง     แต่ว่าทั้งเวโลโซและรูอิซรอดตายไปได้ทั้งคู่    รูอิซกลับไปมะนิลา  เวโลโซไปมะละกา  จากนั้นเรื่องราวเขาก็หายไปจากหน้าประวัติศาสตร์ พอๆกัน
อ้อ มีอีกอย่างคือรูอิซไม่ใช่แค่ทหารธรรมดา   เขาสังกัดองค์การ Alas dey algoada  หรือองค์การสืบราชการลับของสเปน    สรุปอีกทีว่าแกน่าจะเป็นเจมส์บอนด์ในสมัยศตวรรษที่ 16


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 18 เม.ย. 11, 22:50
เอาแฟชั่นเขมรมาให้ดูคะร้าบ


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: katathorn ที่ 18 เม.ย. 11, 23:00
ขอคั่นเวลาด้วยการโชว์แสนยานุภาพการสวนสนามของกองทัพเขมรครับ ;D

http://www.youtube.com/watch?v=KI4lAvann2o

ตอนท้ายๆคลิปเขาเล่นอะไรกันก็ไม่รู้ ???


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 19 เม.ย. 11, 07:28
เรื่องการหนี

ลองคิดดูว่า การหนีออกจากกรุงศรีอยุธยา ออกทะเลนั้น เบื้องต้นผู้ที่จะหนีต้องวางแผนอะไรบ้าง

๑. มีการติดต่อไปยังเมืองที่จะหนีไว้ล่วงหน้าบ้าง
๒. เลือกวัน เวลา ที่เหมาสม...ซึ่งเลือกในช่วงหน้าหนาว (ลมเหนือพัดเหนือสู่ใต้ เวลาค่ำเพื่อหลบสายตา)
๓. พาหนะเดินทางต้องเหมาะสม รวดเร็ว พร้อมผู้คน ... น่าจะใช้เรือสำเภาที่ย่อมกว่านี้ ในภาพเป็นเรือสำเภาจีน บรรทุกสินค้าอุ้ยอ้ายเกินไป
๔. เครื่องอาวุธสำหรับต่อสู้
๕. เสบียงอาหาร และ เงินตรา


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 19 เม.ย. 11, 09:10
ข้อ ๓ ของคุณ siamese ก็ตรงกับที่ท่าน NAVARAT ตั้งข้อสันนิษฐานไว้แล้ว

เรื่องพระนเรศวรตามล่าพระยาจีนจันตุนี้ ผมสันนิฐานดังนี้ครับ

๑ เรือสำเภาของพระยาจีนจันตุ ไม่น่าจะเป็นสำเภาที่ใหญ่เทอะทะ ออกแบบสำหรับจะขนสินค้าให้มากอย่างเดียวเช่นเรือค้าขายที่ขึ้นล่องถึงกวางตุ้ง แต่ใหญ่พอที่จะเดินเรือเลียบชายฝั่งได้ และต้องเล็กพอที่จะคล่องตัวในแม่น้ำ ซึ่งทั้งกรุงศรีอยุธยาและเมืองละแวกอยู่ไกลจากปากอ่าวพอๆกัน

๒ เมื่อเรือมีขนาดเล็กลง ก็มีแจวได้ เพื่อไว้ใช้เคลื่อนตัวได้เองโดยไม่ต้องมีเรือจูง(ต้องใช้หลายลำดังภาพของคุณหนุ่มสยามด้วย) ที่ต้องหนักแรงคนเพิ่มขึ้นไปอีก
เรือจูง คงต้องใช้บ้างเพื่อเบนหัวออกจากท่า

๓ อย่างไรก็ดี เมื่อลมอำนวย เรือนี้ก็สามารถวิ่งได้ ช้าหรือเร็วเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ถ้าลมไม่แรงพอและอยู่ในภาวะรีบเร่ง เช่นกำลังหนีเรือเร็วที่ตามมา ก็ต้องแจวเสริมแรงเข้าไปด้วยเพื่อหนีตาย

๔ ฤดูกาลที่คิดหนีก็สำคัญ จะมีช่วงฤดูหนาวเท่านั้นที่จะมีลมเหนือ พัดจากอยุธยาลงมาใต้ และเป็นลมแรงเสียด้วย จะคิดหนี ก็ต้องหนีช่วงนั้น เรือจะกินลมตั้งแต่ยังไม่ถึงปากอ่าว แต่เมื่อเข้าคุ้งน้ำ ก็ต้องวิ่งซิกแซกให้ใบกินลมเสียเวลาไปบ้าง จุดนี้เรือดั้งใช้ฝีพาย มีคนคัดท้ายจะได้เปรียบ

๕ จีนก็เป็นจ้าวของปืนยาวในยุคนั้นเช่นกัน แม้จะไม่ค่อยแม่นยำแต่ก็จะทำให้เรือพระนเรศวรเข้าใกล้ลำบาก พื้นที่บนเรือใหญ่ก็เอื้ออำนวยต่อการบรรจุกระสุนแต่ละชุดได้คล่องกว่าคนบนเรือดั้ง จำนวนพลยิงก็มากกว่า อำนาจการยิงจึงน่าจะเป็นของพระยาจีนจันตุ สำเภาจึงประคองตัวหนีเรือรบของกรุงศรีไปได้ตลอดจนถึงทางตรงที่เป็นร่องลม

๖ เท็จจริงแล้ว พระนเรศวรอาจจะไม่ได้ตามไปถึงปากน้ำก็ได้ เพราะระยะทางร้อยกว่ากิโล ฝีพายคงสิ้นกำลังไปก่อน ข้าวน้ำก็ไม่รู้จะได้กินหรือเปล่า


ส่วนรูปก็อย่างที่ท่านนำลงในค.ห. 81

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=4341.0;attach=18390;image)

แน่นอนว่าการหนีต้องมีการเตรียมล่วงหน้า  แบบเดียวกับม.จ.ฉวีวาด    แม้ว่าระยะเวลาห่างกันหลายร้อยปี เมื่อใช้เรือสำเภาเป็นพาหนะเหมือนกัน   การเตรียมตัวก็ต้องแบบเดียวกัน


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: ShopperKimpy ที่ 19 เม.ย. 11, 10:00
ไหนๆ เห็นทุกท่านพูดถึงเรื่องเรือสำเภา ก็ขออนุญาตออกอ่าว ออกทะเลนิดนึงนะครับ

คือ กระผมข้องใจประเด็นจากหนังเรื่่องที่ว่า เรือสำเภาจีนลำเดียวในโลก อ่ะครับ

เห็นจากเว็ปนี้

http://www.timedesign.de/ship/ship.html
ตรงหัวข้อ South East Asian Junk มันก็มีเรือสำเภาตั้งหลายลำนี่หว่า เอ่ หรือว่าผมเข้าใจผิดประการใด

 ???


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 19 เม.ย. 11, 10:24
 เห็นคำว่า  Southeast Asian Junks  มันก็เรือหลายลำนี่คะ    รูปไหนที่บอกว่าเป็นเรือสำเภาจีนลำเดียวในโลก
ช่วยก๊อปมาให้ดูหน่อย


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: ShopperKimpy ที่ 19 เม.ย. 11, 10:45
เห็นคำว่า  Southeast Asian Junks  มันก็เรือหลายลำนี่คะ    รูปไหนที่บอกว่าเป็นเรือสำเภาจีนลำเดียวในโลก
ช่วยก๊อปมาให้ดูหน่อย

คือ เห็นหนังท่านมุ้ยมีการโฆษณาว่าเรือที่ท่านสร้างเป็นเรือสำเภาจีนลำเดียวในโลก

ผมสงสัยตรงจุดนี้อ่ะครับ เพราะในลิ้งข้างบนก็เห็นมีเรือสำเภาจีนตั้งหลายลำ แล้วที่ท่านสร้างมันลำเดียวในโลกอย่างไร หว่า ?

 :o


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: bookaholic ที่ 19 เม.ย. 11, 16:44
จริงนะครับ   เป็นลำเดียวในโลกที่ท่านมุ้ยสร้างไงครับ   ลำอื่นๆก็คนอื่นสร้าง



ผมสนใจพงศาวดารเขมร   ตอนทหารรับจ้างปอร์ตุเกสกับสเปนมาร่วมกันค้ำบัลลังก์พระยาละแวกอ่ะครับ     ไม่ทราบว่าอาจารย์เทาชมพูจะแยกกระทู้ออกไปเล่าให้ฟังได้หรือไม่ครับ    ถ้าเล่าได้ก็เป็นพระคุณครับ


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 20 เม.ย. 11, 07:42
เมื่อคืนนั่งดูที่ตั้งของป้อมเมืองบางกอก พร้อมโซ่ล่ามขวางลำน้ำเจ้าพระยา เลยนึกถึงเอกสารที่มีอยู่ชิ้นหนึ่ง เป็นภาพลายเส้นแผนที่ประวัติศาสตร์เมืองสมุทรปราการ โดยคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว, วัฒนธรรมพัฒนาการทางประวัติศาสตร์เอกลักษณ์และภูมิปัญญาจังหวัดสมุทรปราการ. 45.

ระบุตำแหน่งของเรือของสมเด็จพระนเรศวร ซึ่งไล่ทันเรือสำเภาของจีนจันตุได้ บริเวณแห่งนี้ ซึ่งเลยโค้งบางกระเจ้า จะล่วงเข้าออกปากอ่าวแล้วครับ จึงนำมาให้ดูวิเคราะห์กันต่อไปครับ


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: samun007 ที่ 20 เม.ย. 11, 08:48
เห็นคำว่า  Southeast Asian Junks  มันก็เรือหลายลำนี่คะ    รูปไหนที่บอกว่าเป็นเรือสำเภาจีนลำเดียวในโลก
ช่วยก๊อปมาให้ดูหน่อย

คือ เห็นหนังท่านมุ้ยมีการโฆษณาว่าเรือที่ท่านสร้างเป็นเรือสำเภาจีนลำเดียวในโลก

ผมสงสัยตรงจุดนี้อ่ะครับ เพราะในลิ้งข้างบนก็เห็นมีเรือสำเภาจีนตั้งหลายลำ แล้วที่ท่านสร้างมันลำเดียวในโลกอย่างไร หว่า ?

 :o

ก็เป็นวิธีโฆษณาหนังครับ


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 20 เม.ย. 11, 09:17
อ้างถึง
เมื่อคืนนั่งดูที่ตั้งของป้อมเมืองบางกอก พร้อมโซ่ล่ามขวางลำน้ำเจ้าพระยา เลยนึกถึงเอกสารที่มีอยู่ชิ้นหนึ่ง เป็นภาพลายเส้นแผนที่ประวัติศาสตร์เมืองสมุทรปราการ โดยคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว, วัฒนธรรมพัฒนาการทางประวัติศาสตร์เอกลักษณ์และภูมิปัญญาจังหวัดสมุทรปราการ. 45.

ระบุตำแหน่งของเรือของสมเด็จพระนเรศวร ซึ่งไล่ทันเรือสำเภาของจีนจันตุได้ บริเวณแห่งนี้ ซึ่งเลยโค้งบางกระเจ้า จะล่วงเข้าออกปากอ่าวแล้วครับ จึงนำมาให้ดูวิเคราะห์กันต่อไปครับ

ผมมิได้ดึงดันว่าข้อสันนิฐานของผมถูก คนอื่นผิดนะครับ แต่อยากจะทราบเหตุผลที่มาของข้อสรุปด้งกล่าว มีคำอธิบายอยู่ในภาพไหมครับ


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 20 เม.ย. 11, 09:19
เรือสำเภาจีนของแท้นั้น อยู่ในบัญชีที่ยูเนสโก้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก ประเภท Intangible Cultural Heritage in Need of Urgent Safeguarding
ตามlinkข้างล่างนี้ครับ
ของแท้คงมีสร้างไว้หลายลำแล้วละครับ ส่วนของเทียมเพื่อถ่ายหนังไทย คงจะเป็นลำเดียวในโลกจริงๆ เพราะจะไม่นับที่สร้างขึ้นมาเพื่อถ่ายทำหนังจีนด้วยไง

The watertight-bulkhead technology of Chinese junks

http://www.unesco.org/culture/ich/index.php?lg=en&pg=00011&USL=00321


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 20 เม.ย. 11, 13:35
             เรียบเรียง ตัดต่อบางส่วนจาก กรุงเทพธุรกิจ ครับ 

http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/life-style/living/20110417/386553/มหาสำเภาจีนโบราณคืนชีพ.html

มหาสำเภาจีนโบราณคืนชีพ โดย : วลัญช์ สุภากร

            เรือสำเภาจีนโบราณ (สมัยกรุงศรีอยุธยา) เรือเดินสมุทรโบราณที่มีความยาว 35 เมตร
            การนำเรือโบราณลำมหึมาที่สาบสูญไปแล้วกว่า 240 ปี ให้กลับมาอีกครั้ง ต้องอาศัยความรู้และ
ความพยายามของผู้เชี่ยวชาญหลายคน

           กำเนิดเรือสำเภาจีนโบราณลำนี้ เริ่มขึ้นราวกลางปี พ.ศ.2550 เมื่อ ท่านมุ้ย-ม.จ.ชาตรีเฉลิม ยุคล 
มีดำริให้ อ.กนก ขาวมาลา แห่งพิพิธภัณฑ์เรือไทย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เข้าพบปรึกษาการสร้างเรือสำเภา
ซึ่งในรัชสมัยของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช มีการรบทางเรือหลายครั้ง หนึ่งในนั้นที่น่าสนใจคือทรงนำเรือพระที่นั่ง
พายติดตาม เรือสำเภาพระยาจีนจันตุ (ซึ่งเข้ามาเป็นไส้ศึก) ที่แล่นหนีออกจากกรุงศรีอยุธยา

         ไม่มีภาพวาดใดๆ เกี่ยวกับเรือสำเภาพระยาจีนจันตุบันทึกไว้ อ.กนก เล่าว่า ในพงศาวดารมีเพียงบันทึกสั้นๆ
เกี่ยวกับเรือลำนี้ไว้นิดเดียวว่า
 
               "พระยาจีนจันตุได้โล้สำเภาออกไป จนเรือเมื่อถึงปากอ่าว เรือสำเภาได้ลมกินใบ ก็แล่นออกไป
โดยสมเด็จพระนเรศวรทรงตามไม่ทัน"

           “เรื่องของเรือสำเภาที่แล่นออกไปโดยไม่ต้องอาศัยลม เพราะเป็นการแล่นออกไปอย่างฉุกละหุกกะทันหัน
เป็นประเด็นหนึ่งที่ท่านมุ้ยทรงหยิบยกขึ้นมา” อ.กนก กล่าว

           อ.กนกจึงต้องอาศัยวิธีค้นคว้าจากพงศาวดาร เอกสาร หนังสือทั้งไทยและต่างประเทศ โดยเฉพาะหนังสือ
เกี่ยวกับเรื่องเรือในช่วงนั้น
           อ.กนกพบบันทึกเกี่ยวกับ ประวัติการทหารเรือไทย เขียนโดย พลเรือตรีแชน ปัจจุสานนท์ กล่าวถึงการรบทางเรือ
ในสมัยสมเด็จพระนเรศวร ครั้งหนึ่งทรงมีรับสั่งให้ทหารไปรบพม่าที่เมืองทวายทางฝั่งอันดามัน ซึ่งมีเรือของพวกโปรตุเกส
อังกฤษ ฮอลันดา เข้ามาอยู่ทางนั้น มีการกล่าวไว้ว่า
                 เรือรบต่างชาติที่ช่วยสยามรบครั้งนั้น เป็นเรือกรรเชียงใช้ใบ เรียกว่าเรือ แกเลียต (Galliot) ใช้ทาสเป็นฝีพาย
จึงคิดว่ามีความเป็นไปได้ ที่เรือสำเภาพระยาจีนจันตุใช้ลักษณะ กรรเชียง เพื่อให้เรือแล่นออกไปโดยไม่รอกระแสลม

          ส่วนลักษณะภาพรวมของลำเรือสำเภาพระยาจีนจันตุ ศึกษาเพิ่มเติมจากภาพวาดและบันทึกญี่ปุ่นที่กล่าวถึง
สำเภาสยาม ซึ่งเดินทางไปค้าขาย ณ เมืองนางาซากิในช่วงเวลานั้นสำเภาสยามต่อโดยช่างต่อเรือชาวจีน ซึ่งมี
ความชำนาญในการต่อเรือเพื่อลำเลียงสินค้าทางทะเล ขณะที่ช่างต่อเรือชาวสยามเก่งต่อเรือที่ขุดจากท่อนซุงมากกว่า
          สำเภาสยามจึงน่าจะมีความใกล้เคียงกับสำเภาพระยาจีนจันตุซึ่งต่อด้วยช่างชาวจีนเช่นกัน

อ.กนก ขาวมาลา กับแบบจำลองเรือสำเภาสมัยกรุงศรีอยุธยา


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 20 เม.ย. 11, 13:37
            “บันทึกญี่ปุ่นบรรยายไว้ว่า สำเภาของเรานำลักษณะเด่นของสำเภาตะวันตกมาใช้ เช่น มีเสาค้ำยื่นไปด้านหน้า
เรียกว่าโบสปริต (Bowsprit) และมีใบเรือเล็กๆ ห้อยด้านล่าง เรียกว่า จิบ เซล (Jib sail) ช่วยบังคับทิศทาง
มีปืนใหญ่ประจำเรือเพื่อป้องกันทรัพย์สินและโจรสลัด” อ.กนก เล่า

          เรือสำเภาที่ใช้ประโยชน์ในการค้าขายข้ามทะเลไปยังประเทศต่างๆ มักมีความยาวประมาณ 30-45 เมตร
ถ้าขนาดเล็กกว่านี้ก็จะเสี่ยงอันตรายต่อพายุ โดยเรือสำเภาของชาวตะวันตกมีความยาว 40-65 เมตร
เรือจีนมีความยาว 30-40 เมตร บรรทุกสินค้าได้มากและลูกเรือได้นับร้อยคน เรือสำเภาที่มีขนาดใหญ่เช่นนี้
ต้องจอดที่บางกอก ซึ่งร่องน้ำลึกกว่าที่กรุงศรีอยุธยา

          ดังนั้น เรือสำเภาของพระยาจีนจันตุ ซึ่งเป็นเรือขุนนางจีนที่มีความชำนาญในการเดินเรือ จึงน่าจะเป็น
เรือสำเภาที่มีการผสมผสานของเรือแกเลียตของชาวตะวันตก แล่นออกทะเลได้โดยไม่ต้องรอกระแสลม โดยใช้
กรรเชียงก่อนจะใช้ใบเรือเมื่อมีลมช่วยพัด มีอาวุธปืนใหญ่ประจำเรือ ใช้ฝีพายทาสในชั้นใต้ท้องเรือ

          ท่านมุ้ยทรงตัดสินใจสร้างเรือลำนี้ด้วยความยาว 35 เมตร ใช้ใบเรือขนาด 14x25 เมตร ได้ปรึกษากับ
นาวาโทประสาร ขวัญโพชา ร.น. อู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช กรมอู่ทหารเรือ เป็นผู้ออกแบบโครงสร้างของลำเรือ
โดยเน้นด้านประโยชน์ใช้สอยและความปลอดภัย เห็นพ้องต้องกันว่าควรใช้เหล็กเป็นโครงสร้างของลำเรือ และ
ท้องเรือที่เป็นเหล็กยังทำให้ท้องเรือไม่รั่วง่ายๆ อีกด้วย

         ณ มุมหนึ่งภายในสถานที่ถ่ายทำจังหวัดกาญจนบุรี การวางกระดูกงูเพื่อสร้างเรือสำเภาพระยาจีนจันตุเริ่มขึ้น
ในราวเดือนกันยายน 2553


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 20 เม.ย. 11, 13:38
         นาวาโทประสารออกแบบโครงสร้างหลักของตัวเรือทั้งหมดโดยใช้วัสดุที่เป็น เหล็ก  มีรูปร่างลักษณะเป็น Pontoon
มีกำลังลอยสูง เหมาะสำหรับลอยอยู่ในสระน้ำในกองถ่ายที่มีระดับน้ำสูงเพียง 1.5 เมตรในฤดูร้อน ดำเนินการต่อเรือ
โดยช่างที่มีความรู้ความชำนาญ มีประสบการณ์สูง มีใบรับรองผลงานจากสมาคมต่อเรือ
          ท้องเรือจัดทำเป็นห้องลอย 8 ห้อง (หัวเรือ 1 ห้อง ท้ายเรือ 1 ห้อง ข้างเรือซ้าย-ขวา ด้านละ 3 ห้อง)
เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการใช้งานสูงสุด ห้องลอยเหล่านั้นยังใช้ประโยชน์เพื่อการปรับแต่งความสมดุลของตัวเรือได้
ด้วยการสูบน้ำเข้า-ออกห้องลอยแต่ละห้อง (สมัยโบราณใช้ตุ๊กตาหินอับเฉาหรือสินค้าหนักๆ วางไว้เพื่อสร้างสมดุล)
รวมทั้งให้เรือมีสถานะภาพตามความต้องการ เช่น ให้เรือกินน้ำลึก-ตื้นเพื่อให้องศาพายอยู่ในระดับที่สวยงามเวลาถ่ายทำ

          จากนั้นปิดตัวเรือภายนอกด้วย ไม้สัก หนา 1 นิ้วตลอดลำ เปลือกเรือด้านในปิดด้วย ไม้สนต่างประเทศ
พื้นดาดฟ้าชั้นบนและชั้นล่างปูทับพื้นเหล็กด้วย ไม้ตะเคียนทอง หนา 1-1/4 นิ้ว ผนังและการกรุฝ้าเป็นการผสมผสาน
ระหว่างไม้อัดกับไม้เบญจพรรณ
          สร้างงานตัวเรือในส่วนที่เป็นเหล็ก มีน้ำหนักโดยรวม 60 ตัน
          งานเข้าไม้เปลือกเรือ งานปูพื้นดาดฟ้าเรือ รวมน้ำหนักไม้ 30 ตัน
          งานกรุฝ้า-กรุผนังด้วยไม้ น้ำหนักรวม 15 ตัน
          อุปกรณ์ประกอบตัวเรือ เช่น เสาใบเรือ บ้านท้ายเรือ ฯลฯ หนัก 5 ตัน

          รวมระยะเวลาในการสร้างเรือจนแล้วเสร็จทั้งหมด 120 วัน จากนั้นใช้รถไฮดรอลิกเคลื่อนย้ายเรือสำเภา
ขนาด 35 เมตร หนักราว 110 ตัน จากจุดก่อสร้างเพื่อนำไปลงยังสระน้ำ ณ จุดถ่ายทำเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2553
ใช้รถเครนขนาดใหญ่ยกเสากระโดงเรือ สูง 30 เมตรติดตั้งลงบนเรือ และปรับเพิ่มบันไดเชือกสำหรับทหารปีนขึ้นไป
บนเสาเพื่อให้ฉากต่อสู้ดูน่าสนใจขึ้น

        มีบันทึกไว้ว่าทหารของพระยาจีนจันตุยิงปืนมาต้องสมเด็จพระเอกาทศรถก็เป็นเรื่องที่เกิดขึ้น แม้ขนาดเรือ
ของพระองค์จะเสียเปรียบขนาดเรือของศัตรูอย่างเทียบไม่ได้ ก็ทรงติดตามไป


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: samun007 ที่ 20 เม.ย. 11, 16:44
         นาวาโทประสารออกแบบโครงสร้างหลักของตัวเรือทั้งหมดโดยใช้วัสดุที่เป็น เหล็ก  มีรูปร่างลักษณะเป็น Pontoon
มีกำลังลอยสูง เหมาะสำหรับลอยอยู่ในสระน้ำในกองถ่ายที่มีระดับน้ำสูงเพียง 1.5 เมตรในฤดูร้อน ดำเนินการต่อเรือ
โดยช่างที่มีความรู้ความชำนาญ มีประสบการณ์สูง มีใบรับรองผลงานจากสมาคมต่อเรือ
          ท้องเรือจัดทำเป็นห้องลอย 8 ห้อง (หัวเรือ 1 ห้อง ท้ายเรือ 1 ห้อง ข้างเรือซ้าย-ขวา ด้านละ 3 ห้อง)
เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการใช้งานสูงสุด ห้องลอยเหล่านั้นยังใช้ประโยชน์เพื่อการปรับแต่งความสมดุลของตัวเรือได้
ด้วยการสูบน้ำเข้า-ออกห้องลอยแต่ละห้อง (สมัยโบราณใช้ตุ๊กตาหินอับเฉาหรือสินค้าหนักๆ วางไว้เพื่อสร้างสมดุล)
รวมทั้งให้เรือมีสถานะภาพตามความต้องการ เช่น ให้เรือกินน้ำลึก-ตื้นเพื่อให้องศาพายอยู่ในระดับที่สวยงามเวลาถ่ายทำ

          จากนั้นปิดตัวเรือภายนอกด้วย ไม้สัก หนา 1 นิ้วตลอดลำ เปลือกเรือด้านในปิดด้วย ไม้สนต่างประเทศ
พื้นดาดฟ้าชั้นบนและชั้นล่างปูทับพื้นเหล็กด้วย ไม้ตะเคียนทอง หนา 1-1/4 นิ้ว ผนังและการกรุฝ้าเป็นการผสมผสาน
ระหว่างไม้อัดกับไม้เบญจพรรณ
          สร้างงานตัวเรือในส่วนที่เป็นเหล็ก มีน้ำหนักโดยรวม 60 ตัน
          งานเข้าไม้เปลือกเรือ งานปูพื้นดาดฟ้าเรือ รวมน้ำหนักไม้ 30 ตัน
          งานกรุฝ้า-กรุผนังด้วยไม้ น้ำหนักรวม 15 ตัน
          อุปกรณ์ประกอบตัวเรือ เช่น เสาใบเรือ บ้านท้ายเรือ ฯลฯ หนัก 5 ตัน

          รวมระยะเวลาในการสร้างเรือจนแล้วเสร็จทั้งหมด 120 วัน จากนั้นใช้รถไฮดรอลิกเคลื่อนย้ายเรือสำเภา
ขนาด 35 เมตร หนักราว 110 ตัน จากจุดก่อสร้างเพื่อนำไปลงยังสระน้ำ ณ จุดถ่ายทำเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2553
ใช้รถเครนขนาดใหญ่ยกเสากระโดงเรือ สูง 30 เมตรติดตั้งลงบนเรือ และปรับเพิ่มบันไดเชือกสำหรับทหารปีนขึ้นไป
บนเสาเพื่อให้ฉากต่อสู้ดูน่าสนใจขึ้น

        มีบันทึกไว้ว่าทหารของพระยาจีนจันตุยิงปืนมาต้องสมเด็จพระเอกาทศรถก็เป็นเรื่องที่เกิดขึ้น แม้ขนาดเรือ
ของพระองค์จะเสียเปรียบขนาดเรือของศัตรูอย่างเทียบไม่ได้ ก็ทรงติดตามไป

เรือที่เห็นในรูปที่ใหญ่ ๆ นั่นคือ "เรือรบ" ยุคต้าหมิงตอนปลายนะครับ ถ้าเอาเรือแบบนี้แล่นออกมา ผมเชื่อว่าถ้าเหตุการณ์พระยาจีนจันตุหนีไปจริง ตัวพระยาจีนจันตุ ไม่น่าจะรอดเกินขนอนทางใต้ของเกาะเมืองอยุธยาครับ เพราะเรือแบบนี้หนักมาก ถ้าไม่กินลมประมาณทอร์นาโด หรือ ดีเปรสชั่น รับรองได้ว่า เสร็จฝีพายเรือแซงจากอยุธยาแน่ ๆ ครับ

ฝีพายบ้านโพธิ์เรียง กับอีกบ้าน เป็นฝีพายหลวงขึ้นชื่อเรื่องความอดทน และความเร็วในการพายเรือครับ


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 20 เม.ย. 11, 21:52
ผมดูหนังท่านมุ้ยแล้วเพลินไปหน่อย ไม่ได้สอบทานกับประวัติศสาตร์ให้ดี ปรากฏว่า เหตุการณ์ที่พระนเรศวรยกกองเรือไปตามตีพระยาจีนจันตุนั้น เป็นพ.ศ.๒๑๒๑ ขณะนั้นทรงมีพระชนมายุเพียงแค่๑๗ปี เพิ่งเสด็จกลับจากการเป็นตัวประกันที่หงสาวดี โดยพระราชบิดาส่งพระพี่นางสุพรรณกัลยาไปแทน และโปรดให้พระองค์ขึ้นไปครองเมืองพิษณุโลก คราวนั้นบังเอิญเสด็จมากรุงศรีอยุธยาพอดีกับเหตุการณ์ที่พระยาจีนจันตุหนี

ชะรอยท่านมุ้ยจะเห็นว่า พระเอกสุดเข้มของท่านแก่เกินจะเล่นเป็นหนุ่มอายุ๑๗ เลยต้องสลับเรื่องเสียใหม่ เอาเป็นว่าพระนเรศวรตามตำนานของท่าน ประกาศอิสระภาพแล้ว จึงมาเล่นสงครามทางน้ำกับพระยาจีนจันตุแทน

ท่านผู้อ่านก็โปรดรับทราบไว้เฉยๆ ไม่ต้องโวยวายอะไร


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 20 เม.ย. 11, 22:25
ก่อนจะผ่านประเด็นเรื่องนี้ ผมขอเอาแนวกระแสลมเหนือ ที่พัดลงมาทำมุมกับแม่น้ำเจ้าพระยาในแนวเฉียงๆมาให้ดู  แม้จะไม่ตรงเป็นแนวฉากแต่ก็ทำให้เรือใบแล่นฉิวได้ทีเดียว ยกเว้นตอนที่แม่น้ำใหลย้อนขึ้น เช่นที่คุ้งบางกระเจ้าที่ผมวงกลมไว้ ถือว่าทวนลมเต็มๆหลายกิโลเมตรอยู่ ช่วงนั้นไต๋ก๋งและบรรดาลูกเรือจะต้องชำนาญอย่างยิ่งยวด ที่จะสลับทิศใบเรือซ่ายทีขวาทีให้สำเภาวิ่งสลับฟันปลา ให้เรือค่อยๆเฉียงตัวไต่โค้งสวนลมไปทีละน้อยๆ ตรงนี้แหละครับเสียเวลามาก เป็นโอกาสเดียวของเรือดั้ง ที่จะจ้ำมาทันและได้ยิงกันให้สนั่นไปทั้งบาง พ้นจากนี้ไปแล้ว แม่น้ำถึงจะยังเหยียดไม่สุดก็ถือว่าเข้าทางตรง ใบเรือกินลมเต็มที่แน่ ยังไงๆก็เหนื่อยเปล่าไม่มีทางที่เรือดั้งจะไปไล่กวดให้ทันได้เลย


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: puyum ที่ 20 เม.ย. 11, 22:45
เรือรบที่เร็วที่สุดในสมัยนั้น น่าจะเป็นเรือกราบ
พายจากอยุธยาออกอ่าวไทย จะใช้เวลาสัก วันกับอีกหนึ่งคืน
(เทียบกับเคยมีการแข่งขันเรือยาว จากพรหมบุรี สิงห์ ถึงท่าราช กทม)
พระยาจีนจันตุ หนีออกไป ไม่แน่ว่าเรือสำเภาจอดที่ไหน
สมมติว่าที่อยุธยา ก็คงต้องหนีร่วงหน้าไปไม่น้อยกว่าสามวัน
สมเด็จพระนเรศวรใช้เรือกราบตามไปทันแถวสมุทรปราการ
แล้วเรือสำเภาติดลมทะเลออกไป เรือเล็กก็ออกทะเลไม่ได้ เลยไม่ทัน
แต่ไม่น่าเป็นไปได้ว่า หนีร่วงหน้าไปตั้งสามวัน แล้ววังหลวงจึงจะรู้ว่าหนี
ตรงนี้ก็เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่น่าศึกษา และที่จอดเรือสำเภา


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 20 เม.ย. 11, 23:31
เอาคลิปการแล่นเรือใบสวนลมมาให้ชมครับ
ท่านลองจินตนาภาพเรือสำเภาจีน สองหรือสามกระโดง ที่ลูกเรือต้องคอยสลับใบเรือซ้ายขวา และนายท้ายที่ต้องรักษาทิศทางหางเสือให้เที่ยง ไม่ง่ายอย่างเรือใบลำเล็กๆที่เห็นแน่
http://www.youtube.com/watch?v=p21Ar8aImDA


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 20 เม.ย. 11, 23:45
ก่อนจะผ่านประเด็นเรื่องนี้ ผมขอเอาแนวกระแสลมเหนือ ที่พัดลงมาทำมุมกับแม่น้ำเจ้าพระยาในแนวเฉียงๆมาให้ดู  แม้จะไม่ตรงเป็นแนวฉากแต่ก็ทำให้เรือใบแล่นฉิวได้ทีเดียว ยกเว้นตอนที่แม่น้ำใหลย้อนขึ้น เช่นที่คุ้งบางกระเจ้าที่ผมวงกลมไว้ ถือว่าทวนลมเต็มๆหลายกิโลเมตรอยู่ ช่วงนั้นไต๋ก๋งและบรรดาลูกเรือจะต้องชำนาญอย่างยิ่งยวด ที่จะสลับทิศใบเรือซ่ายทีขวาทีให้สำเภาวิ่งสลับฟันปลา ให้เรือค่อยๆเฉียงตัวไต่โค้งสวนลมไปทีละน้อยๆ ตรงนี้แหละครับเสียเวลามาก เป็นโอกาสเดียวของเรือดั้ง ที่จะจ้ำมาทันและได้ยิงกันให้สนั่นไปทั้งบาง พ้นจากนี้ไปแล้ว แม่น้ำถึงจะยังเหยียดไม่สุดก็ถือว่าเข้าทางตรง ใบเรือกินลมเต็มที่แน่ ยังไงๆก็เหนื่อยเปล่าไม่มีทางที่เรือดั้งจะไปไล่กวดให้ทันได้เลย

ตรงโค้งบางกระเจ้า มีคลองลัดโพธิ์อยุ่นะครับ ถ้าสมัยนั้นมีคลองแล้วคงลัดได้โขเลยนะครับ  :o


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: samun007 ที่ 21 เม.ย. 11, 00:36
เรือรบที่เร็วที่สุดในสมัยนั้น น่าจะเป็นเรือกราบ
พายจากอยุธยาออกอ่าวไทย จะใช้เวลาสัก วันกับอีกหนึ่งคืน
(เทียบกับเคยมีการแข่งขันเรือยาว จากพรหมบุรี สิงห์ ถึงท่าราช กทม)
พระยาจีนจันตุ หนีออกไป ไม่แน่ว่าเรือสำเภาจอดที่ไหน
สมมติว่าที่อยุธยา ก็คงต้องหนีร่วงหน้าไปไม่น้อยกว่าสามวัน
สมเด็จพระนเรศวรใช้เรือกราบตามไปทันแถวสมุทรปราการ
แล้วเรือสำเภาติดลมทะเลออกไป เรือเล็กก็ออกทะเลไม่ได้ เลยไม่ทัน
แต่ไม่น่าเป็นไปได้ว่า หนีร่วงหน้าไปตั้งสามวัน แล้ววังหลวงจึงจะรู้ว่าหนี
ตรงนี้ก็เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่น่าศึกษา และที่จอดเรือสำเภา


ถ้าเรือจอดที่อยุธยา ความน่าจะเป็นในการหนีน้อยมากครับ

ไหนจะต้องผ่านขนอนวัดโปรดสัตว์ทางใต้  ผ่านป้อมเพชรทางใต้ ยิ่งเป็นข้าราชการไม่มีใบบอก หรือไม่มีสาสน์ตราอนุุญาตลงมา จะออกไปโดยพลการ นายด่านจะหัวหลุดเอานะครับ

อีกอย่างคลองลัดเกร็ด ก็เพิ่งมาขุดเอาสมัยพระเจ้าอยุ่หัวท้ายสระ ซึ่งห่างจากยุคสมเด็จพระนเรศวรเป็นร้อยปี

เพราะฉะนั้น ถ้าโล้สำเภามาจากอยุธยาจริง ต่อให้รอดขนอนวัดโปรดสัตว์มาได้ ทางราชการก็ยังมีเวลาเหลือเฝือ เนื่องจากเรือของพระยาจีนจันตุ ต้องไปอ้อมอีกหลายชั่วโมงตรงพื้นที่เกาะเกร็ดในปัจจุบันครับ

อย่างต่ำ ๆ ก็ ๖ ชั่วโมง ถ้าเอาเรือแซงไล่ ไม่น่าจะนานมากเท่าไร อย่างไรเสียก็ทันแน่ ๆ


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 21 เม.ย. 11, 07:52
^
ผมก็มีความเห็นทำนองเดียวกันเหมือนกันครับ แต่ไหนแต่ไร งุนงงสับสนเรื่องพระยาจีนจันตุมาตลอดตั้งแต่เด็กจนแก่ บันทึกในพงศาวดารไม่ค่อยสมเหตุสมผลเท่าไร การเดินเรือสำเภาในแม่น้ำเจ้าพระยาในสมัยที่ยังไม่มีคลองลัดนั้นลำบากมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูกาลที่ลมไม่เอื้ออำนวย

มาดูประวัติคลองลัดทั้ง 4 ในแม่น้ำเจ้าพระยากัน

คลองแรก ขุดในรัชสมัย สมเด็จพระไชยราชาธิราช (ครองราชย์ พ.ศ.2077 - 2089) โดยโปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลองลัดโค้งเกือกม้าบริเวณปากคลองบางกอกน้อยลงไปถึงปากคลองบางกอกใหญ่ในปัจจุบัน
เมื่อปี พ.ศ. 2089 เฟอร์ดินันด์ เมนเดส บินโด พ่อค้าชาวโปรตุเดินทางมากรุงศรีอยุธยา ได้บันทึกเหตุการณ์ในครั้งนั้นตอนหนึ่งว่า "กรุงศรีอยุธยา ส่งสำเภาไปค้าขายยังต่างเมือง ปีละกว่าร้อยลำ และทุกปีจะมีสำเภาจีนเข้ามาค้าขายที่กรุงศรีอยุธยามากกว่าพันลำ ไม่นับรวมเรือขนาดเล็กอื่น ๆ ตามลำแม่น้ำ ท่าเรือต่าง ๆ จึงเต็มไปด้วยเรือสินค้า"
สมัยนั้นจึงมีบันทึกว่า การเดินทางโดยทางเรือสำเภาสินค้าระหว่างกรุงศรีอยุธยากับปากแม่น้ำเจ้าพระยา ใช้เวลาประมาณ15วัน ก็เป็นไปได้หากเรือหนัก และต้องวิ่งสวนลมในฤดูมรสุมที่ลมกลับทิศ พัดจากใต้ขึ้นเหนือ

คลองที่สอง ขุดในรัชสมัย สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ (ครองราชย์ พ.ศ.2091 - 2111) โดยโปรดเกล้าฯ ให้ขุดเชื่อมระหว่างคลองบางกรวยกับคลองบางกอกน้อยในปัจจุบัน

สองคลองนี้ มีอยู่แล้วในสมัยสมเด็จพระนเรศวร  แต่ก็ยังไม่เอื้ออำนวยความรวดเร็วเท่าที่ควร

คลองที่สาม ขุดในรัชสมัย สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง (ครองราชย์ พ.ศ.2173 - 2198) โดยโปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลองลัดโค้งเกือกม้าบริเวณปากคลองบางกรวยกับปากคลองอ้อมนนท์ในปัจจุบัน

คลองที่สี่ ขุดในรัชสมัย สมเด็จพระเจ้าท้ายสระ (ครองราชย์ พ.ศ.2251 - 2275) โดยโปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลองลัดโค้งเกือกม้าบริเวณบางบัวทอง - ปากเกร็ด จนเกิดเป็นเกาะกลางน้ำขึ้น เรียกว่า เกาะเกร็ด จนถึงทุกวันนี้

ส่วนคลองลัดโพธิ์ เดิมกล่าวเพียงว่าขุดสมัยอยุธยา แต่บางตำนานระบุว่าสมเด็จพระเจ้าท้ายสระทรงโปรดเกล้าฯให้ขุดเพื่อมิให้ต้องอ้อมโค้งกระเพาะหมูบางกระเจ้า มีผลกระทบมากทั้งด้านยุทธศาสตร์และชีววิทยาสิ่งแวดล้อม  จึงโปรดให้ขุดเป็นคลองเล็กๆเพราะเกรงว่าเรือรบของศัตรูจะเข้ามาถึงอยุธยาเร็วเกินไป เมื่อสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงย้ายมาอยู่ที่กรุงเทพแล้ว ปรากฎว่าพอถึงฤดูน้ำกระแสน้ำทะเลไหลบ่าเข้ามาแรง  น้ำเค็มจะท่วมเรือกสวนไร่นาของราษฎรเสียหายมาก จึงโปรดฯให้ทำทำนบกั้นและถมคลองลัดโพธิ์ให้แคบลงไปอีก

เมื่อถึงรัชสมัยสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้โปรดให้กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ เป็นแม่กองควบคุมงานขุดคลองลัดใหม่ที่เหนือ คลองลัดโพธิ์ เรียกว่า คลองลัดหลวง เพื่อใช้ประโยชน์ ในการย่นระยะทางระหว่างปากน้ำกับกรุงเทพฯ เมืองนครเขื่อนขันธ์ชุมชนของชาวมอญ ซึ่งตั้งอยู่ ระหว่างปากคลองลัดโพธิ์และคลองลัดหลวง จึงมีอีกชื่อหนึ่งเรียกว่า "ปากลัด" จนทุกวันนี้


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 21 เม.ย. 11, 08:48
ภาพที่๔ ตีทัพหน้าพระมหาอุปราชาหงสาวดี

พ.ศ. ๒๑๓๓ ครั้นพระมหาธรรมราชาเสด็จสวรรคต สมเด็จพระนเรศวรเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่ พร้อมทั้งทรงสถาปนาสมเด็จพระเอกาทศรถ พระอนุชาธิราชขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่๒ คู่พระบารมีกับพระองค์
เป็นธรรมเนียมอยู่แล้วว่าพม่าเมื่อทราบข่าวผลัดแผ่นดินกรุงศรี ก็จะยกกองทัพเข้ามาตีไทย โดยครั้งนี้นับเป็นครั้งแรก ที่พระเจ้านันทบุเรงโปรดให้พระมหาอุปราชาเป็นแม่ทัพ ยกกำลังพลพม่า๓๐๐,๐๐๐ นาย ข้ามด่านพระเจดีย์สามองค์เข้ามา ปะทะกับทัพไทยของสมเด็จพระนเรศวรกำลังพลเพียง ๘๐,๐๐๐ ที่ยกไปตั้งรับในเขตสุพรรณบุรี ทัพไทยตีพม่าแตกทัพกลับไป ไม่สามารถยกมาถึงกรุงศรีอยุธยาได้

ทรงคิดว่าพม่าจะเข็ดไปหลายปีสักหน่อย  ปีพ.ศ. ๒๑๓๔จึงมีพระราชดำริจะไปตีเมืองละแวกเพื่อแก้แค้นที่ทุกครั้งเมื่อมีศึกพม่า พระนักสัตถาจะส่งกองทัพมารุกราน กวาดต้อนผู้คนแถวชายแดนอยู่เสมอๆ

ขณะที่ทรงเตรียมทัพพร้อมอยู่ ยังมิทันจะยกไปตีเขมร ก็ได้ทราบข่าวศึกว่าพระมหาอุปราชากำลังยกกองทัพพม่าที่ยิ่งใหญ่กว่าเดิม หวังจะเข้ามาล้างอายที่พ่ายแพ้กลับไปเมื่อสองปีก่อน โชดดีของพระนเรศวรที่ทรงพร้อมรบอยู่แล้ว เมื่อปรึกษาบรรดาแม่ทัพนายกองเห็นชอบร่วมกันว่าทัพไทยจะไปรับศึกนอกพระนครเช่นคราวที่แล้ว โดยยกไปตั้งค่ายรอทัพพม่าอยู่ที่ตำบลหนองสาหร่าย แขวงเมืองสุพรรณบุรี

พระราชพงศาวดารระบุว่า จันทร์ที่๑๘ มกราคม พ.ศ. ๒๑๓๕ เป็นวันเสด็จออกรบ ทัพหน้าของไทยปะทะทัพพม่าที่กำลังพลมากกว่า ต้องถอยร่นลงมา ทรงให้ม้าเร็วขึ้นไปบอกแม่ทัพนายกองให้เปิดทางให้พม่ารุกล่วงเข้ามา แล้วจะทรงยกทัพหลวงสวนขึ้นไปโจมตีข้าศึก

สมเด็จพระนเรศวรขึ้นประทับพระคชาธารชื่อเจ้าพระยาไชยานุภาพ ส่วนสมเด็จพระเอกาทศรถประทัพเจ้าพระยาปราบไตรจักร  ช้างทรงทั้งสองกำลังตกน้ำมันเต็มที่
ทรงรอเมฆก้อนใหญ่เคลื่อนพ้น สุริยะสาดแสงแจ่มจรัสดีแล้ว พระโหราธิบดีลั่นฆ้องชัย พระมหาราชครู ปุโรหิต รัวกลองมโหระทึก ประโคมแตร เป่าสังข์ เป็นสัญญาณเคลื่อนพล ทหารไทยโห่ร้องกึกก้อง พระยาช้างทั้งสองได้ยินสรรพเสียงทั้งนั้นก็ให้คึกคะนองยิ่งนัก ชักเท้าวิ่งตลุยไปข้างหน้าอย่างไม่ยั้ง ลุยโหมโจมแทงช้างม้าไพร่พลพม่ากระเจิดกระเจิง ทั้งทัพไทยและพม่าตลุมบอนทั้งฝุ่นทั้งควันฟุ้งตลบมืดมัวไปทั่วทั้งสมรภูมิ ช้างทรงทั้งสองก้ถลำลึกเข้าไปในฝ่ายพม่าจนแม่ทัพนายกองตามเสด็จไม่ทัน


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 21 เม.ย. 11, 08:51
.


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 21 เม.ย. 11, 08:53
ภาพข้างต้นนี้ พระปมเป็นผู้เขียน แต่ไม่ปรากฏว่าได้รับรางวัล

อ้าว เพิ่งเจอ ภาพพระยาจีนจันตุโล้สำเภา เดิมเขียนว่าไม่ได้รับรางวัลนั้น ปรากฏว่าผู้เขียนชื่อ “นายใหญ่” ได้รางวัลที่๑๐ รับพระราชทานลูกปืน๑ลูก เงิน๖๐บาท

โปรดเข้าใจตามนี้ด้วยนะครับ


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 21 เม.ย. 11, 09:09
นำแผนที่ของคลองลัดหลวง และ คลองลัดโพธิ์ สมัยรัชกาลที่ ๕ มาให้ดูถึงพิกัดของตำแหน่งคลองครับ


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 21 เม.ย. 11, 09:42
ภาพที่๕ สมเด็จพระนเรศวรทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชา
เป็นภาพสุดท้ายที่ปรากฏในหนังสือที่ผมมี
 
เหตุการณ์ตอนนี้ยิ่งใหญ่เกินสติปัญญาของผมจะย่อบรรยายกฤดาภินิหารของมหาราชเจ้าของปวงชนชาวไทยได้ ขอเชิญท่านอ่านความในพระราชพงศาวดารโดยตรงเอาเอง

เจ้าพระยาชัยานุภาพ เจ้าพระยาปราบไตรจักรได้ยินเสียงพล และเสียงฆ้องกลองศึกอึงคะนึง ก็เรียกมันครั่นครื้น กางหูชูหางกิริยาป่วนเดินเป็นบาทย่างใหญ่เร็วไปด้วยกำลังน้ำมัน ช้างพระยามุขมนตรี และโยธาหาญซ้ายขวาหน้าหลังทั้งนั้น ตกไปมิทันเสด็จพระคชาธาร สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ใกล้ทัพหน้าข้าศึก ตรัสทอดพระเนตรเห็นพลพะม่ารามัญยกมานั้นเต็มท้องทุ่ง เดินดุจคลื่นในมหาสมุท ข้าศึกไล่พลชาวพระนครครั้งนั้น สลับซับซ้อนกันมิได้เป็นกระบวน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ ก็ขับพระคชาธารเข้าโจมแทงช้างม้ารี้พล ไล่ส่ายเสียถีบฉัตรตะลุมบอน พลพะม่าล้มตายเกลื่อนกลาด ช้างม้าข้าศึกได้กลิ่นน้ำมันพระคชาธาร ก็หกหันตลบปะทะกันเป็นอลหม่าน พลพะม่ารามัญก็โทรมยิงธนูหน้าไม้ปืนไฟระดมเอาพระคชาธารสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ และธุมาการก็ตระหลบมืดเป็นหมอกมัวไปมิได้เห็นประจักษ์ พระบาทสมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้า จึงประกาศแก่เทพดาทั้งปวงว่า ให้บังเกิดมาในประยูรมหาเศวตฉัตร์ จะให้บำรุงพระบวรพุทธสาสนา ไฉนจึงมิช่วยให้สว่างเห็นข้าศึกเล่า พอตกพระโอฏฐ์ลง พระพายก็พัดควันอันเป็นหมอกมืดนั้นสว่างไป ทอดพระเนตรเห็นช้างเศวตฉัตรสิบสองช้าง มีช้างดั้งช้างกันยืนอยู่เป็นอันมาก แต่มิได้เห็นอุปราชา ครั้นเหลือบไปทิศขวาพระหัตถ์ ก็เห็นช้างเศวตฉัตรช้างหนึ่ง ยืนอยู่ ณ ฉายาไม้ข่อยมีเครื่องสูงและทหารหน้าช้างมาก ก็เข้าพระทัยถนัดว่าช้างพระมหาอุปราชา พระเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ ก็ขับพระคชาธารตรงเข้าไป ทหารหน้าช้างข้าศึก ก็วางปืนจ่ารงมณฑกนกสับตระแบงแก้วระดมยิงมิได้ต้องพระองค์และพระคชาธาร สมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้า จึงตรัสร้องเรียกด้วยพระสุรเสียงอันดังว่า พระเจ้าพี่เราจะยืนอยู่ไยในร่มไม้เล่า เชิญออกมาทำยุทธหัตถีด้วยกัน ให้เป็นเกียติยศไว้ในแผ่นดินเถิด ภายหน้าไปไม่มีพระเจ้าแผ่นดินที่จะได้ยุทธหัตถีแล้ว

พระมหาอุปราชาได้ฟังดังนั้นแล้ว ละอายพระทัยมีขัตติยราชมานะก็บ่ายพระคชาธารออกมารับ เจ้าพระยาชัยานุภาพเห็นช้างข้าศึกก็ไปด้วยฝีน้ำมันมิทันยั้งเสียที พลายพัทกอได้ล่างแบกรุนมา พระมหาอุปราชาจ้วงฟันด้วยพระแสงของ้าว สมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้าเบี่ยงพระมาลารับ พระแสงขอมิได้ต้องพระองค์ เจ้าพระยาชัยานุภาพสะบัดลงได้ล่างแบกถนัด พลายพัทกอเพลี่ยงเบนไป สมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้าได้ที จ้วงฟันด้วยพระแสงพลพ่าย ต้องพระอังสาเบื้องขวาพระมหาอุปราชาตลอดลงมาจนประจิมุราประเทศ ซบลงกับคอช้าง และนายมหานุภาพควาญพระคชาธารของพระนเรศวรเป็นเจ้านั้น ต้องปืนข้าศึกตายขณะเมื่อสมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้า ชนช้างด้วยมหาอุปราชานั้น เจ้าพระยาปราบไตรจักรซึ่งเปนพระคชาธารสมเด็จพระเอกาทศรฐ ก็เข้าชนช้างด้วยพลายพัชเนียงช้างมางจาชะโร เจ้าพระยาปราบไตรจักรได้ล่างพัชเนียงเสียทีเบนไป สมเด็จพระเอกาทศรฐจ้วงฟันด้วยพระแสงของ้าวต้องคอมางจาชะโรขาดตายกับคอช้าง หมื่นภักดี ศวรกลางช้างสมเด็จพระเอกาทศรฐนั้น ต้องปืนข้าศึกตาย

ขณะเมื่อสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ ทำคชสงครามได้ชัยชนะมหาอุปราชา และมางจาชะโรแล้ว บรรดาท้าวพระยามุขมนตรี นายทัพนายกองซ้ายขวาหน้าหลังทั้งปวงจึงมาทันเสด็จ เข้ารบพุ่งแทงฟันข้าศึกเป็นสามารถและพวกพลพะม่ารามัญทั้งนั้น ก็แตกกระจัดกระจายไปเพราะพระเดชเดชานุภาพ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตรัสให้นายทัพนายกองทั้งปวงยกไปตามจับข้าศึก แล้วเสด็จคืนมายังพลับพลา พระราชทานชื่อเจ้าพระยาชัยานุภาพเป็นเจ้าพระยาปราบหงสาวดี บรรดามุขมนตรี นายทัพนายกองทั้งปวง ซึ่งตามข้าศึกนั้น ได้ฆ่าฟันพะม่ามอญโดยทางไปไปถึงกาญจนบุรี ศพเกลื่อนไปแต่ตะพังตรุนั้น ประมาณสองหมื่นเศษ จับได้เจ้าเมืองมะลวน และนายทัพนายกองกับไพร่เป็นอันมาก ได้ช้างใหญ่สูงหกศอกสามร้อย ช้างพลายพังระวางเพรียวห้าร้อย ม้าสองพันเศษมาถวาย


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 21 เม.ย. 11, 09:44
หลวงพิศณุกรรม์ เป็นผู้เขียนภาพ


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 21 เม.ย. 11, 09:56
"องค์พระนเรศวร ทรงดำ สวมหมวกพระมาลาเบี่ยง ส่วนพระมหาอุปราช ทรงเครื่องอย่างพม่า แต่ทำไมฉัตรขาวหลังช้าง จึงเหมือนกัน  ???"


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 21 เม.ย. 11, 09:58
หลวงพิศณุกรรม์ เป็นผู้เขียนภาพ

ในหนังสือโคลงภาพพระราชพงศาวดาร  (http://161.200.145.33/rarebook-ft/toc.asp?dirid=I0037&dirname=โคลงภาพพระราชพงศาวดาร) ระบุไว้อีกอย่างหนึ่ง

 ???


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 21 เม.ย. 11, 10:15
ภาพยุทธหัตถีภายในพระอุโบสถ วัดสุวรรณาดาราม อันเป็นจิตรกรรมฝาผนังรูปยุทธหัตถีของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช วาดโดยพระยาอนุศาสน์จิตรกร

เป็นที่น่าสังเกตว่าช้างทรงของกษัตริย์ทั้งสองพระองค์ในภาพนี้ วาดออกมาในลักษณะที่ไม่มีเครื่องผูกช้างของจอมพล เรื่องนี้วารสารเมืองโบราณ ปี 29 ฉ.4 (ตุลาคม-ธันวาคม 2546) ได้ค้นลายพระหัตถ์สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ที่ทรงมีไปยังพระยาอนุสาสน์จิตรกร ความว่า




"...เครื่องผูกช้างของจอมพล เข้าใจกันมาว่าผูกพระคชาธารทั้งช้างทรงเมื่ออำนวยศึก และช้างทรงเมื่อทำยุทธหัตถี นักโบราณคดีตัดสินในชั้นหลัง ว่าช้างทรงเมื่อทำยุทธหัตถีนั้น ถ้าผูกคชาธารเป็นอันตราย ต้องเป็นช้างผูกเครื่องมั่นหลังเปล่า มีคนขี่ ๓ คน คนขี่คอถือของ้าว คนขี่กลางช้างถือทวน เป็นผู้ช่วย ควาญท้ายถือขอยาว เป็นคนขับช้าง เหมือนกันทั้ง ๒ ฝ่าย..."




แสดงว่าท่านผู้ใหญ่สมัยก่อนทรงทำงานอย่างละเอียดลออมาก แต่ดูเหมือนว่าในชั้นหลังฉากการจัดแต่งบนหลังช้างแบบนี้ไม่เป็นที่แพร่หลายนัก ไม่ทราบด้วยเหตุใด เราจึงได้เห็นมีแต่ช้างผูกคชาธารกันทุกการแสดงไป-ช่างไม่ปลอดภัยเอาเสียเลย



กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 21 เม.ย. 11, 10:21
^


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 21 เม.ย. 11, 10:26
อ้างถึง
อ้างถึง
หลวงพิศณุกรรม์ เป็นผู้เขียนภาพ

ในหนังสือโคลงภาพพระราชพงศาวดาร ระบุไว้อีกอย่างหนึ่ง

อ้าว...อีกแระ


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: ShopperKimpy ที่ 21 เม.ย. 11, 10:47
ช่วยลงภาพขยายใหญ่ประกอบการสนทนาให้ครับ  8)

(http://i587.photobucket.com/albums/ss316/shopperkimpy/DSC_0164.jpg)

(http://i587.photobucket.com/albums/ss316/shopperkimpy/DSC_0163.jpg)

(http://i587.photobucket.com/albums/ss316/shopperkimpy/DSC_0037.jpg)

 ;)


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: ShopperKimpy ที่ 21 เม.ย. 11, 10:50

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=4341.0;attach=18548;image)

ปล.ภาพนี้พระคชาธารดูใหญ่โตอย่างกับ Mumakil ใน The Lord of the Rings  ;D ;D

(http://members.fortunecity.com/gabriella66/lordofrings/webgraphics/mumakil.gif)


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 21 เม.ย. 11, 11:10
เหตุการณ์ตอนนี้ยิ่งใหญ่เกินสติปัญญาของผมจะย่อบรรยายกฤดาภินิหารของมหาราชเจ้าของปวงชนชาวไทยได้ ขอเชิญท่านอ่านความในพระราชพงศาวดารโดยตรงเอาเอง

พระบาทสมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้า จึงประกาศแก่เทพดาทั้งปวงว่า ให้บังเกิดมาในประยูรมหาเศวตฉัตร์ จะให้บำรุงพระบวรพุทธสาสนา ไฉนจึงมิช่วยให้สว่างเห็นข้าศึกเล่า พอตกพระโอฏฐ์ลง พระพายก็พัดควันอันเป็นหมอกมืดนั้นสว่างไป ทอดพระเนตรเห็นช้างเศวตฉัตรสิบสองช้าง มีช้างดั้งช้างกันยืนอยู่เป็นอันมาก แต่มิได้เห็นอุปราชา ครั้นเหลือบไปทิศขวาพระหัตถ์ ก็เห็นช้างเศวตฉัตรช้างหนึ่ง ยืนอยู่ ณ ฉายาไม้ข่อยมีเครื่องสูงและทหารหน้าช้างมาก ก็เข้าพระทัยถนัดว่าช้างพระมหาอุปราชา พระเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ ก็ขับพระคชาธารตรงเข้าไป ทหารหน้าช้างข้าศึก ก็วางปืนจ่ารงมณฑกนกสับตระแบงแก้วระดมยิงมิได้ต้องพระองค์และพระคชาธาร สมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้า จึงตรัสร้องเรียกด้วยพระสุรเสียงอันดังว่า พระเจ้าพี่เราจะยืนอยู่ไยในร่มไม้เล่า เชิญออกมาทำยุทธหัตถีด้วยกัน ให้เป็นเกียติยศไว้ในแผ่นดินเถิด ภายหน้าไปไม่มีพระเจ้าแผ่นดินที่จะได้ยุทธหัตถีแล้ว

พระมหาอุปราชาได้ฟังดังนั้นแล้ว ละอายพระทัยมีขัตติยราชมานะก็บ่ายพระคชาธารออกมารับ เจ้าพระยาชัยานุภาพเห็นช้างข้าศึกก็ไปด้วยฝีน้ำมันมิทันยั้งเสียที พลายพัทกอได้ล่างแบกรุนมา พระมหาอุปราชาจ้วงฟันด้วยพระแสงของ้าว สมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้าเบี่ยงพระมาลารับ พระแสงขอมิได้ต้องพระองค์ เจ้าพระยาชัยานุภาพสะบัดลงได้ล่างแบกถนัด พลายพัทกอเพลี่ยงเบนไป สมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้าได้ที จ้วงฟันด้วยพระแสงพลพ่าย ต้องพระอังสาเบื้องขวาพระมหาอุปราชาตลอดลงมาจนประจิมุราประเทศ ซบลงกับคอช้าง และนายมหานุภาพควาญพระคชาธารของพระนเรศวรเป็นเจ้านั้น ต้องปืนข้าศึกตายขณะเมื่อสมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้า ชนช้างด้วยมหาอุปราชานั้น เจ้าพระยาปราบไตรจักรซึ่งเปนพระคชาธารสมเด็จพระเอกาทศรฐ ก็เข้าชนช้างด้วยพลายพัชเนียงช้างมางจาชะโร เจ้าพระยาปราบไตรจักรได้ล่างพัชเนียงเสียทีเบนไป สมเด็จพระเอกาทศรฐจ้วงฟันด้วยพระแสงของ้าวต้องคอมางจาชะโรขาดตายกับคอช้าง หมื่นภักดี ศวรกลางช้างสมเด็จพระเอกาทศรฐนั้น ต้องปืนข้าศึกตาย


พงศาวดารพม่าบอกไว้อีกอย่าง พระมหาอุปราชาตายเพราะถูกปืนยิง   ???

การรบครั้งนี้หนังสือพงศาวดารพม่าว่า  รบกันในชานพระนคร  ว่าในวันรบนั้นพระมหาอุปราชายืนช้างอยู่กลาง  พระเจ้าแปรยืนช้างอยู่ข้างขวา  นัตจินหน่องยืนช้างอยู่ข้างซ้าย  ต่อไปข้างขวาเจ้าเมืองจาปโร (เห็นจะเป็นที่ในพระราชพงศาวดารเรียกว่า มังจาชโร พี่เลี้ยง) ขี่ช้างตัว ๑  กำลังติดน้ำมันหน้าหลัง  ช้างนั้นดุร้ายต้องเอาผ้าคลุมกระพองปิดตาไว้  สมเด็จพระนเรศวรทรงพระคชาธารยกกองทัพมาจากพระนคร  พอแลเห็นพระมหาอุปราชา  ก็ขับช้างพระที่นั่งตรงเข้าไปที่พระมหาอุปราชายืนช้างอยู่  ขณะนั้นเจ้าเมืองจาปโรจึงเปิดผ้าที่คลุมตาช้างน้ำมัน  หวังจะขับเข้าชนช้างพระที่นั่งสมเด็จพระนเรศวร  ช้างน้ำมันกลับแล่นเข้าแทงเอาช้างพระมหาอุปราชาเจ็บป่วยสาหัส  ถึงต้องเอายืนพิงไว้กับต้นไม้  พอข้าศึกยิงปืนมาต้องพระมหาอุปราชาสิ้นพระชนม์บนคอช้าง  แต่นายท้ายช้างพยุงพระองค์ไว้  

สมเด็จพระนเรศวรสำคัญว่าพระมหาอุปราชายังดีอยู่จึงยั้งช้างพระที่นั่ง  ในขณะนั้นนัดจินหน่องจึงไสช้างเข้าชนช้างพระที่นั่งสมเด็จพระนเรศวร  ช้างสมเด็จพระนเรศวรทานกำลังช้างนัดจินหน่องไม่ได้  สมเด็จพระนเรศวรก็ถอยกลับเข้าพระนคร  
พระเจ้าแปร พระเจ้าตองอู บิดานัตจินหน่อง (ซึ่งอาสามาด้วยอีกพระองค์ ๑) พากันติดตาม  แต่กองทัพไทยเข้าเมืองได้ก่อน  เจ้าเมืองตันโบ เจ้าเมืองวินรอ ตามเลยเข้าไป  ไทยจับไว้ได้ ข้างฝ่ายพม่าก็จับออกญาจักรีกับออกญาบาต (แปลไม่ออกว่าตำแหน่งใด) ไว้ได้  กองทัพหงสาวดีเมื่อเสียพระมหาอุปราชาแล้ว  จึงถอยออกไปตั้งห่างพระนคร  นายทัพนายกองปรึกษาเห็นพร้อมกันว่า  พระมหาอุปราชาผู้เป็นจอมพลสิ้นพระชนม์เสียแล้ว  ควรจะเลิกทัพกลับไปเมืองหงสาวดี  จึงเลิกทัพพาศพพระมหาอุปราชากลับไป  ถึงเมืองหงสาวดีในเดือน ๓ ปีนั้น  เรื่องสงครามคราวพระมหาอุปราชาชนช้าง หนังสือพงศาวดารพม่าว่าดังกล่าวมานี้
จาก อธิบายเรื่องในรัชกาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ในท้ายพระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา
พระนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ

 ;D



กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 21 เม.ย. 11, 19:16
อ้างถึง
อ้างถึง
หลวงพิศณุกรรม์ เป็นผู้เขียนภาพ

ในหนังสือโคลงภาพพระราชพงศาวดาร ระบุไว้อีกอย่างหนึ่ง


หลวงพิศณุกรรม์ หลวงเพชวกรรม นั้นเป็นตำแหน่งเดียวกันครับ ;D

ในกฏหมายตราสามดวง เขียนว่า
"หลวงเพชวะกัน เจ้ากรมช่างเขียนขวา ศักดินา ๘๐๐"
คู่กันกับ
"หลวงพรหมพิจิตร เจ้ากรมช่างเขียนซ้าย ศักดินา ๘๐๐"


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 21 เม.ย. 11, 20:23
ภาพถ่ายชุดนี้ ทำให้เราสร้างมโนภาพยุทธหัตถีได้ดีที่สุดชุดหนึ่ง

http://www.konrakmeed.com/webboard/upload/lofiversion/index.php?t840.html

ลองคิดดู ถ้ามีเครื่องคชาธารผูกติดหลังและช้างหกขึ้นสูงอย่างนี้ คนที่นั่งอยู่บนนั้นคงไม่มีอันต้องทำอะไรอีกแล้ว นอกจากจะต้องรักษาตนไม่ให้ตกลงมาคอหัก หรือถ้าไม่ถูกช้างเหยียบก็คงถูกฝ่ายตรงข้ามฆ่าตายอยู่ดี

(ขอแนะนำให้ท่านdownloadทุกภาพมาก่อน แล้วใช้โปรแกรมดูภาพที่เปลี่ยนแต่ละภาพได้ไวๆ จะเห็นการเคลื่อนไหวที่น่าดูเป็นอย่างยิ่ง)


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 21 เม.ย. 11, 21:06
ทำเป็น GIF แต่ไฟล์ใหญ่มาก เลยภาพเล็กหน่อยนะครับ พอดูถูๆไถๆ เอาอารมณ์ได้ระดับหนึ่ง


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 21 เม.ย. 11, 21:13
^
แค่นี้ก็เยี่ยมยอดแล้วครับ


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 21 เม.ย. 11, 21:19
ช่วยทำเพลงประกอบ

http://www.youtube.com/watch?v=zLsjgZWVjCo&feature=related

 ;D


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 21 เม.ย. 11, 21:21
เอกสารเรื่องอาวุธบนหลังช้าง คือ ของ้าว


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 21 เม.ย. 11, 21:23
และภายในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติพระนคร ได้จำลองหุ่นรบช้างไว้ โดยยังมีเครื่องคชาธารอยู่ ถ้าเป็นของจริงคงโยกแรงยิ่งกว่าเครื่องเล่นไวกิ้งเสียอีก  ;D


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 21 เม.ย. 11, 21:27
ให้ดูคมอาวุธว่าคมขนาดไหน บวกรับแรงฟาดฟันลงมา ถึงได้ขาดสะพายแล่ง

เกิดคำถามต่อมา  ??? เมื่อไม่มีเครื่องคชาธารแล้ว การส่งอาวุธ / การแบกอาวุธหลายประเภท จะทำกันอย่างไร  ???


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 21 เม.ย. 11, 21:57
ดร.สุเนตร ชุตินธรานนท์ แห่งคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นนักวิชาการที่ค้นคว้าประวัติศาสตร์อยุธยาอย่างจริงจัง มีผลงานตีพิมพ์จำนวนมาก รวมถึง "พม่ารบไทย-ว่าด้วยการสงครามระหว่างไทยกับพม่า" โดยสำนักพิมพ์ศิลปวัฒนธรรม

ดร.สุเนตรระบุในหนังสือเล่มเดียวกัน ถึงสงครามยุทธหัตถีว่า เรื่องสงครามยุทธหัตถีที่เป็นที่รับรู้และแพร่หลายในหมู่คนไทยคือเรื่องที่เขียนไว้ในพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ที่ชำระขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ก่อนจะถูกถ่ายทอดผ่านงานเขียนที่มีอิทธิพลต่อสังคมในวงกว้าง อาทิ ลิลิตตะเลงพ่าย พงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาพระนิพนธ์ไทยรบพม่า และพระประวัติสมเด็จพระนเรศวรมหาราชของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ

บันทึกประวัติศาสตร์ที่เก่าแก่กว่านั้น เช่น พงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับหลวงประเสริฐฯ ที่ชำระขึ้นในสมัยอยุธยา (พ.ศ. ๒๒๒๓) ก็มีความผิดแผกไปจากพงศาวดารและเรื่องที่ชำระหรือเขียนกันในสมัยหลัง แต่ยังมีประเด็นสำคัญยุติต้องกันอยู่ คือต่างระบุถึงการชนช้างระหว่างสมเด็จพระนเรศวรมหาราชและพระมหาอุปราชา จนพระมหาอุปราชาสิ้นพระชนม์กับคอช้าง
 
แต่ถ้าไปดูพงศาวดารพม่าฉบับอูกาลาและฉบับหอแก้ว จะพบว่า ผิดแผกไปจากหลักฐานข้างฝ่ายไทยมาก ไม่ว่าจะเป็นในด้านสมรภูมิรบและการสิ้นพระชนม์ของจอมทัพพม่า และได้ถอดความมาลงโดยละเอียดดังนี้

๗๔. การสงครามครั้งสุดท้าย วังหน้า มหาอุปราชาสิ้นพระชนม์

ทัพมหาอุปราชานั้นเคลื่อนมาถึงกรุงศรีอยุธยา ในวันขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๓ (กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๑๓๖) (ทัพเคลื่อนออกจากกรุงหงสาวดีในวันพุธ เดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๑๓๕) มหาอุปราชานั้นทรงพระคชาธารนาม (งะเยโซง ฉบับหอแก้วระบุนามพระคชาธารว่า เยโปงโซงซึ่งน่าจะหมายความว่าเปี่ยมด้วยอานุภาพหาญกล้า ส่วนหลักฐานไทยระบุนามช้างทรงนี้ว่า พัทธะกอ) เบื้องขวาพระองค์ยืนด้วยพระคชาธารและกำลังไพร่พลของพระอนุชาตะโดธรรมราชา (เจ้าเมืองแปร) ส่วนเบื้องซ้ายยืนด้วยพระคชาธารและไพร่พลของนัตชินนอง (โอรสพระเจ้าตองอู) แลตัดออกไปเบื้องขวาไม่ใกล้ไม่ไกลจากพระคชาธารแห่งมหาอุปราชานั้นยืนด้วยช้างของเจ้าเมืองซามะโร (ไทยว่าเป็นพระพี่เลี้ยงชื่อจาปะโร) ซึ่งกำลังตกน้ำมันหนักถึงกับต้องใช้ผ้าคลุมหน้าช้างไว้ ข้างพระนเรศวรกษัตริย์อยุธยาทรงพระคชาธารชื่อพระลโบง (ฝ่ายไทยว่าพระยาไชยานุภาพ) จึงนำไพร่พลทแกล้วทหารเป็นจำนวนมากออกมาจากพระนคร (หมายเผด็จดัสกร)

ครั้นทอดพระเนตรเห็นพระมหาอุปราชา ก็ไสพระคชาธารเข้ายังตำแหน่งที่จอมทัพพม่านั้นประทับอยู่โดยแรงเร็ว ฝ่ายเจ้าเมืองซามะโรครั้นเห็นพระนเรศวรขับพระคชาธารตรงรี่หมายเข้าชิงชนช้างประทับก็เปิดผ้าคลุมหน้าช้างพระหนะแห่งตนออก หมายมุ่งพุ่งสกัดช้างทรงองค์นเรศวร แต่ช้างตกน้ำมันเชือกนั้นกลับหันรีหันขวางแลกลับตัวเข้าแทงโถมเอาช้างทรงองค์อุปราชาโดยกำลังแรง พระมหาอุปราชาจึงจำต้องขับพระคชาธารเข้ารับไว้ ซึ่งช้างทรงองค์จอมทัพพม่าถึงจามสนั่น (ด้วยบาดเจ็บสาหัส) แลขณะนั้นข้างอยุธยาก็ระดมยิงปืนสวนทางมากระสุนถูกเอาองค์อุปราชาโดยถนัดจนสิ้นพระชนม์ซบกับคอคชาธาร คุเยงพละกลางช้างพระที่นั่งเห็นมหาอุปราชาต้องปืนใหญ่ (ปืนที่ยิงมหาอุปราชานั้นอูกาลาระบุว่า คือปืนชนิดเดียวกับที่เรียกว่า Jingal ในภาษาอังกฤษ) ก็เข้าพยุงพระศพไว้ และบังคับช้างเข้ากำบังในพุ่มไม้ ข้างพระนเรศวรยังไม่ทรงทราบว่ามหาอุปราชาหาพระชนม์ชีพไม่ จึงไม่ทรงขับพระคชาธารตามติดปะทะ เพียงยั้งรออยู่

ขณะนั้นนัตชินนองซึ่งทรงพระคชาธารนามอูบอตะกะ อยู่เบื้องซ้ายก็ไสพระคชาธารเข้าชนพระคชาธารทรงองค์นเรศวรกษัตริย์อยุธยา พระนเรศวรจำต้องถอยร่น แลตะโดธรรมราชา (เจ้าเมืองแปร) เห็นจอมทัพอยุธยาเพลี่ยงพล้ำร่นถอยก็กวัดแกว่งของ้าวขับช้างนำรี้พลตามติดเข้าตี ข้างองค์นเรศวรเมื่อถอยถึงคูพระนครก็รีบนำทัพเข้าภายในอาศัยพระนครนั้นตั้งรับ ข้างฝ่ายพม่าที่ไล่ตามติดมีเจ้าเมืองโทงโบและเจ้าเมืองเวงยอ ถลำรุกรบล่วงเลยเข้าไปมากจึงถูกจับเป็นเชลยสิ้น แต่ฝ่ายอยุธยานั้น อำมาตย์ออกญาเปะและออกญาจักรีก็ถูกทหารนัตชินนองล้อมจับได้ทั้งเป็น
 
เมื่อเกิดเหตุจนมหาอุปราชาถึงสิ้นพระชนม์แล้ว ตะโดธรรมราชา (เจ้าเมืองแปร) แลเหล่าทหารน้อยใหญ่ทั้งหลายต่างก็ถอยทัพไปประชุมพลอยู่ไกลว่าถึงกว่าหนึ่งตาย (คิดเป็นระยะ ๒ ไมล์โดยประมาณ) จากตัวพระนครโดยประมาณ และนายทัพทั้งหมดทั้งสิ้นต่างก็หันหน้าปรึกษาราชการศึกว่าครั้งนี้ยังจะจัดการพระศพองค์อุปราชาเสียในแดนโยธยาและระดมตีกรุงต่อไป หรือจะนำพระบรมศพกลับสู่พระนคร

ครานั้น ตะโดธรรมราชาเจ้าเมืองแปรจึงว่า "มาบัดนี้ พระเชษฐามหาอุปราชา (จอมทัพ) ก็หาพระชนม์ชีพไม่แล้ว เปรียบได้ดังแขนงไผ่อันไร้ซึ่งเชือกพันธนาไว้ การจะกลับไปกระทำการตีอยุธยาต่อไปเห็นว่าไม่สมควร อีกประการนั้นเล่าการซึ่งจะจัดการพระศพในแดนอยุธยาก็ไม่เหมาะด้วยยากจะประมาณว่าหากกระทำไปแล้วจะถูกปรามาสจากองค์บพิตรและพระญาติพระวงศ์ และแท้จริงราชการสงครามครั้งนี้ก็ยังนับว่ามีชัยอยู่ใช่น้อย ครั้งนี้ถึงมีอันต้องถอยกลับ แต่ภายภาคหน้าเมื่อสิ้นวสันตฤดูก็ย่อมยกมากระทำศึกได้อีก"

ฝ่ายข้าทหารใหญ่น้อยได้ฟังความตามตรัสก็เห็นคล้อย จึงต่อโลงใส่พระศพด้วยไม้มะม่วงอย่างเลิศ แลเอาปรอทกรอกพระศพแล้วก็จัดกระบวนรี้พลเชิญพระศพองค์อุปราชากลับคืนพระนคร เดือนมีนาคมก็บรรลุถึงหงสาวดี องค์ธรรมราชามหากษัตริย์ ครั้นสดับข่าวว่าพระราชาโอรสมหาอุปราชาสิ้นพระชนม์ชีพ และพระศพนั้นถูกอัญเชิญกลับคืนมาก็เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยอัครมเหสีราชมารดาออกรับพระศพ และลุเลิกพระศพเยี่ยงพระจักรพรรดิราช ห้อมล้อมด้วยช้างม้าไพร่พลสกลไกร การพระศพกระทำท่ามกลางความโศกเศร้าโศกาดูรยิ่ง ฯลฯ


จะเห็นว่า ข้อเท็จจริงเรื่องการสิ้นพระชนม์ของพระมหาอุปราชา มองจากฝ่ายพม่าแล้ว มีความแตกต่างกัน

ซึ่งดร.สุเนตรเห็นว่า ต่อปัญหาการสิ้นพระชนม์ของพระมหาอุปราชานั้น จำเป็นต้องศึกษาอย่างระมัดระวัง จะอาศัยความสอดคล้องระหว่างพงศาวดารพม่าและบันทึกฝรั่งต่างชาติที่มีอายุร่วมสมัยกับเหตุการณ์เป็นบรรทัดฐานตัดสิน คงไม่ได้ เพราะหากจะใช้หลักฐานฝรั่งต่างชาติเป็นเกณฑ์กัน ก็ยังมีหลักฐานเก่าแก่ อาทิ บันทึกของฝรั่งโปรตุเกส ที่ถอดความเป็นภาษาอังกฤษโดย A. Macgregor ในชื่อ "A Brief Account of the Kingdom of Pegu..." คาดว่ามีอายุไม่ต่ำไปกว่าปีค.ศ. ๑๖๒๑ (พ.ศ. ๒๑๖๔) ยืนยันชัดเจนว่าสงครามยุทธหัตถี เป็นการรบอย่างเป็นกิจจะลักษณะต่อหน้าทหารของทั้งสองฝ่าย โดยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงมีพระราชสาสน์ท้าพระมหาอุปราชาให้ออกมากระทำยุทธหัตถีอย่างสมพระเกียรติ
 
ดร.สุเนตรชี้ว่า ความขัดแย้งที่ปรากฏในหลักฐานต่าง ๆ ตามที่ได้กล่าวมา คือภาพสะท้อนของการเผชิญกันระหว่างจารีตของสงครามในรูปแบบเก่าคือการรบกันตัวต่อตัวบนหลังช้าง กับการแพร่กระจายของอาวุธสมัยใหม่คือปืนไฟ แม้ว่าในที่สุด ปืนไฟจะได้ทำให้ธรรมเนียมนิยมของการทำยุทธหัตถีหมดไป แต่ในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชนั้น ธรรมเนียมนิยมของการทำยุทธหัตถียังไม่หมดไปเสียทีเดียว มีหลักฐานปรากฏในพงศาวดารพม่าว่าพระเจ้านันทบุเรงทรงกระทำยุทธหัตถีกับพระเจ้าอังวะตะโดเมงสอถึงขั้นแพ้ชนะ พระเจ้าอังวะต้องหลบหนีเอาชีวิตรอด
 
และนี่คือสีสันของประวัติศาสตร์ ซึ่งถ้าต้องการมากกว่าความสนุกสนาน จะต้องศึกษาจากหลาย ๆ แหล่งข้อมูล

จากหนังสือพิมพ์ข่าวสด วันที่ ๒๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 21 เม.ย. 11, 22:18
ภาพยุทธหัตถี ภาพนี้ติดไว้ที่วิหาร วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พิษณุโลก


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 21 เม.ย. 11, 22:22
เวปนี้มีภาพการรบบนหลังช้างในประเทศต่างๆ (ดูแล้วสมัยใหม่ เพื่อขายของ)

http://s12.invisionfree.com/ScaleModelsMalaysia/ar/t7476.htm


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 21 เม.ย. 11, 22:57
^
ภาพล่างสุดมีสาวเกล้ามวยสองคนใจสู้  นุ่งกางเกงแค่เข่า (ไม่ใช่โจงกระเบนเพราะไม่มีหางกระเบน)  เนื้อตัวก็ไม่มีเกราะ  ไม่มีอะไรป้องกันเลย  นอกจากผ้าแถบ ถือดาบวิ่งเคียงข้างช้างไปรบกับข้าศึก
อาณาจักรไหนกันคะ


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 21 เม.ย. 11, 23:04
อ้างถึง
เจ้าพระยาชัยานุภาพเห็นช้างข้าศึกก็ไปด้วยฝีน้ำมันมิทันยั้งเสียที พลายพัทกอได้ล่างแบกรุนมา พระมหาอุปราชาจ้วงฟันด้วยพระแสงของ้าว สมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้าเบี่ยงพระมาลารับ พระแสงขอมิได้ต้องพระองค์ เจ้าพระยาชัยานุภาพสะบัดลงได้ล่างแบกถนัด พลายพัทกอเพลี่ยงเบนไป สมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้าได้ที จ้วงฟันด้วยพระแสงพลพ่าย ต้องพระอังสาเบื้องขวาพระมหาอุปราชาตลอดลงมาจนประจิมุราประเทศ ซบลงกับคอช้าง

ตอนอยู่มัธยม ถึงตอนนี้ครูสอนประวัติศาสตร์บอกว่า พระแสงของ้าว คือดาบที่มีด้ามยาวเหมือนด้ามหอก ตรงโคนดาบยาวมีดาบสั้นหักฉากเป็นตะขอ คมกริบ  ส่วนที่เป็นดาบ ไว้ฟันคอคู่ต่อสู้เบื้องล่างตอนที่เราอยู่บน ส่วนที่เป็นตะขอ ไว้เกี่ยวบ่าคู่ต่อสู้ที่อยู่ข้างบนแล้วกระชาก เมื่อเราอยู่เบื้องล่าง

ช้างที่ขาทั้งสี่มั่นคงจะนิ่งกว่าช้างที่ขาคู่หน้าลอย คนข้างบนจะโยกไปโยกมาทรงตัวไม่ค่อยจะได้ เมื่อปะทะกันแล้วผู้ที่นั่งคอช้างล่างจะเป็นฝ่ายได้เปรียบ ฟาดของ้าวได้ถนัดกว่า ถ้าส่วนที่เป็นดาบถูก คู่ด่อสู้ก็ตายด้วยดาบ ถ้าดาบไม่ถูก ส่วนที่เป็นดาบขอก็ง่ายที่จะเกี่ยว ได้คอก็กระชากคอ ได้ไหล่ก็กระชากไหล่ ชั๊วเดียวขาดตั้งแต่หลังมาถึงหน้าอก

เอ้อเฮอ เด็กนั่งกันอ้าปากค้าง ผมละจำติดสมองไม่ยักกะลืม

นั่งเพ่งดูภาพชุดที่เขาซ้อมชนช้างฟันง้าวกันแล้ว เสียงของครูยังเหมือนพากษ์อยู่ข้างหูอยู่เลย


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 21 เม.ย. 11, 23:26
^
ภาพล่างสุดมีสาวเกล้ามวยสองคนใจสู้  นุ่งกางเกงแค่เข่า (ไม่ใช่โจงกระเบนเพราะไม่มีหางกระเบน)  เนื้อตัวก็ไม่มีเกราะ  ไม่มีอะไรป้องกันเลย  นอกจากผ้าแถบ ถือดาบวิ่งเคียงข้างช้างไปรบกับข้าศึก
อาณาจักรไหนกันคะ

เป็นจินตนาการของฝรั่ง ภาพจากหนังสือ  War Elephants (http://www.ospreypublishing.com/store/War-Elephants_9781846032684/)

http://www.ospreypublishing.com/blog/new_vanguard/seeing_the_elephant_peter_dennis_illustrates_war_e/

(http://www.ospreypublishing.com/images/books/covers/mainpageimages/9781846032684-th2.jpg)

ภาพนี้วาดโดย Peter Dennis

ดูแล้วเหมือนคนไทยสู้กันเอง

  :o


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: ShopperKimpy ที่ 21 เม.ย. 11, 23:39
ภาพจากหนังสือ Osprey War Elephant รู้สึกจะได้แรงบันดาลใจจากสุริโยทัย ฉากตีค่ายออกยาจักรี

สังเกตว่าข้างหลังด้านซ้ายจะมีช้างปืนใหญ่อยู่ แต่ก็ไม่เข้าใจว่าทำไมถึงวาดให้อยุธยาสู้กันเอง  ???


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: katathorn ที่ 22 เม.ย. 11, 14:28
^
ภาพล่างสุดมีสาวเกล้ามวยสองคนใจสู้  นุ่งกางเกงแค่เข่า (ไม่ใช่โจงกระเบนเพราะไม่มีหางกระเบน)  เนื้อตัวก็ไม่มีเกราะ  ไม่มีอะไรป้องกันเลย  นอกจากผ้าแถบ ถือดาบวิ่งเคียงข้างช้างไปรบกับข้าศึก
อาณาจักรไหนกันคะ

พวกโขลนครับ คนวาดเห็นจากในภาพยนต์เรื่องสุริโยทัยก็เลยวาดลงไปด้วย จริงๆก็นุ่งโจงนั่นล่ะครับแต่คนวาดคงไม่ได้วาดรายละเอียดหางกระเบนลงไปด้วย


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 22 เม.ย. 11, 19:56
คนวาดเห็นจากในภาพยนต์เรื่องสุริโยทัยก็เลยวาดลงไปด้วย

ฉากสำคัญเริ่มจากนาทีที่ ๐๗.๓๐

http://www.youtube.com/watch?v=8Ng_8v6L-Ng&feature=related

 ;D


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 22 เม.ย. 11, 20:16
เปรียบเทียบ ๒ ภาพ

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=4341.0;attach=18616;image)

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=4341.0;attach=18651;image)

เครื่องคชธารเหมือนกันทุกอย่าง

 ;D


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: chupong ที่ 24 เม.ย. 11, 13:28
เรียนท่านอาจารย์เทาชมพู ตลอดจนท่านสมาชิกเรือนไทยที่เคารพยิ่งทุกท่านครับ

   อันเนื่องจากกระทู้นี้ใช้ “ภาพ” เป็นจุดตั้งต้นในการสื่อสาร ขยายความ สนทนาแลกเปลี่ยนผมจึงมีวาสนาได้แค่ตามอ่านอย่างเดียวเป็นเวลาหลายวัน อยากเห็นทุกภาพในกระทู้ก็ติดตรงวิบากบุรพกรรมบันดาลให้ตาบอด จึงเสียดายยิ่งครับ อย่างไรก็ดี ใคร่ถือโอกาสเรียนถามท่านผู้รู้ทุกท่านถึงปัญหาอันสงสัยมาช้านานว่า ตกลง ในรัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ไทยเราตีหงสาวดีสำเร็จหรือไม่ คุณหญิงวิมล สิริไพบูลย์ (ทมยันตี) เคยกล่าวไว้ในงานเขียนของท่านว่าพงศาวดารพม่าบันทึกไว้ ไทยเคยทลายหงสาวดีเสียราบ แต่เท่าที่ผมรู้ พงศาวดารข้างเรา บอกว่าสมเด็จพระนเรศวรท่านทรงยกทัพกลับเพราะกันดารเสบียง เรื่องนี้ นักประวัติศาสตร์ค้นพบข้อมูลใหม่ๆฉันใดบ้างครับ

ขอแสดงความนับถืออย่างสูงยิ่ง
ชูพงค์ ตรีวัฒน์สุวรรณ




กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 24 เม.ย. 11, 14:08
วันนี้วันหยุดสุดสัปดาห์ท่านอาจารย์เทาชมพูคงจะพักผ่อนนอนหลับ เผอิญผมผ่านเข้ามา ไม่อยากให้คุณชูพงศ์รอนาน เลยเข้ามาตอบให้ก่อนเป็นการขัดตาทัพน่ะครับ

โดยย่อ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงยกทัพไปตีหงสาวดีสองครั้ง ครั้งแรกไม่สำเร็จ แต่ก็ก่อให้เกิดแรงกระเพื่อมทางการเมืองขึ้น เมืองสำคัญๆในพม่าพร้อมกันเอาใจออกห่าง และก่อกบฏขึ้น และเมื่อพระองค์ยกทัพไปในครั้งที่๒ เจ้าเมืองยะไข่ได้เข้าปล้นเมืองและเผาพระราชวังกรุงหงสาเสียราบคาบแล้ว ตัวพระเจ้านันทบุเรงเสด็จหนีไปตองอูและไปถูกปลงพระชนม์ที่นั่น สมเด็จพระนเรศวรทรงเหยียบเมืองหงสาได้ก็จริง แต่ก็เหลือเพียงซากปรักหักพัง

ทรงติดตามไปตีเมืองตองอู แต่กันดารและขัดสนเสบียงอาหาร ล้อมเมืองอยู่ได้ไม่กี่เดือนก็ทรงต้องเลิกทัพกลับกรุงศรี แต่อนุสรณ์สถานที่ทรงฝากไว้ที่นั่นซึ่งปรากฏอยู่ทุกวันนี้ ก็คือคูน้ำที่ทรงขุดขึ้นเพื่อระบายน้ำออกจากคูเมืองตองอู ดูเหมือนชาวบ้านจะเรียกว่าคลองเซียม

รายละเอียดอย่างยาว เข้าไปดูในเวปนี้ได้เลยครับ

http://www1.tv5.co.th/service/mod/heritage/king/naresuan/naresuan4.htm


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: chupong ที่ 24 เม.ย. 11, 15:03
ขอบพระคุณท่าน NAVARAT.C
 อย่างสูงยิ่งครับที่กรุณาให้ความรู้ ผมเองยังคิดสงสัยไม่คลายครับ ภาพยนตร์ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๔ จะได้ดู (คนตาบอดก็ดูได้จากเสียงที่ยินแล้ววาดมโนภาพ ประกอบกับคำบอกเล่าของคนตาดีครับ) ศึกหงสาทั้งสองครั้งอย่างละเอียดหละหรือ? อยากดูมหายุทธการครานี้นักหนาครับ เฮ่อ... อวสานแห่งพระราชโอรสผู้ชนะสิบทิศ ไยลงเอยฉะนี้หนอ

 


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 24 เม.ย. 11, 18:02
ขออนุญาตขยายความจากที่ท่าน NAVARAT.C อินโทรไว้  อีกนิดหน่อย   เป็นพงศาวดารพม่าที่ฝรั่งเขียนเอาไว้

ศึกหงสาวดีครั้งที่ ๒  เป็นการล่มสลายของราชวงศ์พระเจ้าบุเรงนองด้วยค่ะ
พระเจ้านันทบุเรงพระโอรสของบุเรงนอง หรือฝรั่งเรียกว่า  Nanda Bayin ขึ้นครองราชย์แล้วเจอศึกหนักเอาการ    พระองค์ไม่ได้เผชิญศึกกับอาณาจักรอยุธยาอย่างเดียว   แต่ปรปักษ์มีรอบด้านทั้งลาว จีน  ยะไข่  (และเงี้ยว หรือไทยใหญ่)    แต่ศึกหนักกว่านี้คือศึกภายในราชวงศ์ด้วยกันเอง   ฝรั่งบอกว่า ทรงมีพระอนุชาหลายองค์ เป็นเจ้าเมืองอังวะ  ตองอู แล้วก็แปร   แต่หอกข้างแคร่เล่มใหญ่สุดคือพระเจ้าแปร นั่นเอง    

ตอนที่สมเด็จพระนเรศวรยาตราทัพไปถึงหงสาวดี   การเมืองในหงสาวดีกำลังอลหม่าน    เกิดศึกกลางเมือง  พระเจ้านันทบุเรงเองก็หมดปัญญาจะจัดการกับศึกภายใน เพราะศึกภายนอกจ่ออยู่ใกล้ประตูเมือง   เจ้าเมืองตองอูหันไปร่วมมือกับเจ้าเมืองยะไข่  ยึดท่าเรือเมืองสิเรียมทางตอนใต้ของหงสาวดีไว้ได้ ในพ.ศ. 2182   ส่วนทางนี้ หงสาวดีก็เท่ากับถูกโดดเดี่ยวให้อ่อนแอลงอีก  มีแต่ทหารหลวงไว้ป้องกันเมือง    เจ้าเมืองยะไข่จึงยกทัพเข้าสมทบกับตองอู ยึดหงสาวดีไว้ได้   พระเจ้านันทบุเรงถูกจับเป็นเชลย    ฝ่ายชนะก็กวาดต้อนผู้คนออกไปแล้วเผาเมืองเสียราบเรียบ
กว่าอยุธยาจะยกทัพไปถึงก็ช้าไปเสียแล้ว  เจอแต่ซากเมืองหงสาวดี   สมเด็จพระนเรศวรยกทัพไล่ตามไปตีเมืองตองอู   แต่ไม่สำเร็จ  จึงถอยทัพกลับอยุธยา
ชะตากรรมสุดท้ายของพระเจ้านันทบุเรง คือถูกสำเร็จโทษด้วยฝีมือพระญาติด้วยกันเอง

เจ้าเมืองยะไข่ยึดเมืองสิเรียมไว้ได้ แล้วตกลงมอบให้โปรตุเกศ    แต่ก็เกิดข้อขัดแย้งกันจนกลายเป็นสงครามพม่า-โปรตุเกศหลังจากนั้น  แต่เป็นอีกเรื่อง ไม่เกี่ยวกับอยุธยา ก็ขอหยุดไว้แค่นี้
ราชวงศ์บุเรงนองที่แผ่อาณาจักรไพศาล จนได้อยุธยาไปเป็นส่วนหนึ่ง   ก็ถึงจุดจบลงพร้อมกับการสิ้นพระชนม์ของพระเจ้านันทบุเรง


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 24 เม.ย. 11, 20:29
พระราชวังหลวงในหงสาวดี    ที่สมเด็จพระนเรศวรเคยประทับอยู่สมัยเป็นตัวประกัน


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 24 เม.ย. 11, 20:38
ภาพงานพระศพพระเจ้านันทบุเรง

พงศาวดารพม่าเล่าว่าพระองค์ถูกจับสำเร็จโทษโดยนัดจินหน่อง   ซึ่งขึ้นเป็นเจ้าเมืองตองอูคนใหม่    ต่อมานัดจินหน่องไปสวามิภักดิ์กับโปรตุเกศจนถึงขั้นเปลี่ยนศาสนาไปนับถือคริสต์
แต่บั้นปลาย ก็กงเกวียนกำเกวียน  นัดจินหน่องถูกประหารโดยพระเจ้าอังวะ ทรงพระนามว่าพระเจ้าอะนอเพตลุน หลานปู่ของบุเรงนอง (พระบิดาคือเจ้าชายนะยองยาน โอรสองค์หนึ่งของพระเจ้าบุเรงนอง)     กษัตริย์องค์นี้กรีฑาทัพบุกเมืองสิเรียม กวาดล้างพวกโปรตุเกศจนสิ้นซาก  ล้างอิทธิพลโปรตุเกศจากพม่าได้หมด  


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 24 เม.ย. 11, 21:38
หงสาวดีของท่านมุ้ย

(http://www.bloggang.com/data/kriechenbauer/picture/1182437037.jpg)

(http://www.bloggang.com/data/kriechenbauer/picture/1182437615.jpg)

 ;D


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: chupong ที่ 25 เม.ย. 11, 10:44
กราบขอบพระคุณท่านอาจารย์เทาชมพูเป็นล้นพ้นครับ ได้ความรู้มากมายเลย อ่านข้อมูลที่อาจารย์นำมาลงในกระทู้แล้ว ขออนุญาตเรียนเสนอแบบขำขันสักหน่อยนะครับ

   อาจารย์ครับ ผมคิดถึงพ่อหนุ่มปวินท์จัง เสียดายที่เขากับหนูแพทคืนสู่ปัจจุบันยุคเร็วไปหน่อย ถ้าอย่างไร อาจารย์นำเขากลับมาเล่นศึกในยุคสมเด็จพระนเรศวรมหาราชอีกสักครั้งได้ไหมขอรับ ให้เขากุมทวนแล้วควงพิฆาตข้าศึกเลย หน่วยก้านอย่างเขาฝึกอาวุธมินานก็คงสันทัดจัดเจน  อ้ายวินท์ หนึ่งในทแกล้วทหารสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (แล้วเลยพลอยรู้จักกับเสมาเสียด้วยเมื่อร่วมรบ) แหม คิดแล้วคึกคะนองครับผม
 


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: ShopperKimpy ที่ 25 เม.ย. 11, 11:07
(http://i587.photobucket.com/albums/ss316/shopperkimpy/00069-s.gif)

(http://i587.photobucket.com/albums/ss316/shopperkimpy/00074-s.gif)

กรุงมันฑะเล จากหนังสือ Land of the White elephant

(http://i587.photobucket.com/albums/ss316/shopperkimpy/K8409694-46.jpg)
ไม่ทราบชื่อภาพ จากพันทิปครับ

 ;D


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 25 เม.ย. 11, 12:00
^
ภาพทั้งหมดข้างบนนี้ เป็นสมัยที่พม่าทำสงครามกับอังกฤษแล้วครับ


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 25 เม.ย. 11, 12:03
ภาพที่๖ เสด็จไปตีเมืองหงสาวดี

ตามคำอธิบายภาพสมเด็จพระนเรศวรตีเมืองหงสาวดีนี้ ไม่ค่อยจะตรงกับที่นักประวัติศาสตร์สมัยหลังๆเชื่อถือตามที่ท่านอาจารย์เทาชมพูเอามาเล่าก่อนหน้า โดยเฉพาะไม่ได้เอ่ยถึงเรื่องที่กองทัพยะไข่เข้าปล้นและเผาเมืองเสียราบ ก่อนที่กองทัพไทยจะไปถึง

ในหนังสือกล่าวว่า พระเจ้านันทบุเรงโปรดให้ลงทัณฑ์พระเจ้าแปรที่ทำเกินรับสั่ง โดยมีพระราชบัญชาให้ยกพลมาตรวจด่าน สืบความเป็นไปในกรุงศรีอยุธยา แต่กลับกำเริบ เดินทัพล่วงเข้ามาถึงกาญจนบุรี เลยถูกกองทัพไทยต่อตีจนพ่ายยับ เสียช้างม้าผู้คนมากมาย สงครามที่ว่านี้ไม่แจ้งว่าเป็นครั้งใด ผมก็ค้นไม่เจอ แต่พระเจ้าแปรผู้เป็นพระราชนัดดาถูกถอดเป็นไพร่ นั่นยังไม่ซวยเท่าไพร่ตัวจริง คือพวกทหารมอญที่ไปทัพด้วยถูกหาว่าไม่ตั้งใจรบ มีพระราชโองการให้จับเอาไปใส่เล้า แล้วเอาไฟครอกทั้งเป็น พวกที่หนีทันก็เลยเข้าป่า เป็นกบฏตัวจริงคอยเข่นฆ่าพวกพม่าไปเลย พวกเจ้าเมืองต่างๆพอทราบข่าวก็พากันกระด้างกระเดื่องต่อพระเจ้ากรุงหงสาวดี ที่ขอเป็นข้าขัณฑสีมาก็มีเมาะตะมะ พะสิม บัวเผื่อน(?) ขะลิก(?) ส่วนพระเจ้าตองอู และพระเจ้าละเคิ่ง(?)ขอเป็นพันธมิตรกับกรุงศรีอยุธยา หากพระนเรศวรยกทัพไปตีหงสาเมื่อใด จะอาสามาช่วยรบ

ตอนนั้นทัพหน้าของไทยอยู่ที่เมืองมอญ ด้วยสมเด็จพระนเรศวรทรงวางแผนระยะยาว มีพระราชบัญชาให้พระยาจักรี คุมทหารมาทำนา สะสมสเบียงอาหารเตรียมทำศึกกับพม่าอยู่ที่เมาะลำเลิง พม่าปั่นป่วนหนัก พระเจ้าตองอูเห็นช่องทางที่จะได้เป็นใหญ่ในแผ่นดินต่อไป จึงส่งคนมาข่มขู่เจ้าเมืองมอญทั้งหลาย ไม่ให้มาสวามิภักดิ์ต่อไทย และให้ทำร้ายทหารไทยเป็นความดีความชอบ พระยาจักรีเห็นท่าไม่ดี ทำหนังสือเข้ามากราบบังคมทูลยังพระนครศรีอยุธยาว่ามอญเป็นกบฏ

สมเด็จพระนเรศวรจึงเสด็จพระราชดำเนินกรีฑาทัพพร้อมสมเด็จพระเอกาทศรถ ตรงกับปีพุทธศักราช ๒๑๔๒ หลังจากตีเมืองเมาะตะมะได้แล้ว กำลังจะเสด็จต่อไปตีหงสาวดี พระเจ้าตองอูซึ่งยกทัพทำทีว่ามาช่วยรบกับไทย พอได้ทีก็คุมตัวพระเจ้านันทบุเรงซึ่งทรงพระประชวรอยู่หนีไปตองอู โดยเทครัวหงสาทั้งหมดไปด้วยและให้เผาเมืองทิ้งเสีย มิให้เป็นประโยชน์แก่กองทัพไทย แต่ทำกลถ่วงเวลา โดยส่งพระธำมรงค์เพชรสามยอดของพระเจ้าหงษาวดีมาถวายสมเด็จพระนเรศวร แต่ทรงไม่ไว้พระทัย รับสั่งฝากไปให้พระเจ้าตองอูเอาช้างดีม้าดีที่ยึดเอาไปจากหงสามาถวายด้วย เมื่อไม่ถวาย ก็เสด็จนำกองทัพต่อไปล้อมเมืองตองอูไว้

ระหว่างนั้นทรงโปรดให้พระมหาเทพเป็นนายกอง ขุนคชภักดี หมื่นคชโยธา และขุนหมื่นอาสาให้ไปลาดตระเวนหาช้างที่พระเจ้าตองอู ย้ายออกจากเมืองเอาไปปล่อยไว้ให้หากินเองในป่าใกล้กรุงอังวะ ได้ช้างใหญ่ที่พระเจ้าตองอูเอาไปซ่อนไว้ห้าสิบเศษ และช้างป่าอีกโขลงหนึ่งมาถวาย

สงครามครั้งนี้ ทัพหลวงตั้งล้อมเมืองตองอูอยู่ได้๓เดือนจึงเรื่มขัดสนเสบียงอาหาร และฤดูฝนใกล้เข้ามา จะทำให้เพลี่ยงพล้ำต่อพม่าได้ จึงโปรดให้เลิกทัพกลับคืนสู่กรุงศรี



กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 25 เม.ย. 11, 12:04
.


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 25 เม.ย. 11, 12:07
รูปสมเด็จพระนเรศวรประทับช้างพระที่นั่ง เสด็จเหยียบเมืองหงสาวดี จากจิตรกรรมฝาผนังวัดสุวรรณดาราราม จังหวัดอยุธยา


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 25 เม.ย. 11, 12:14
ทรงล้อมเมืองตองอู และพยายามจะเข้าตีเมือง


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 25 เม.ย. 11, 12:20
ตำแหน่งเมืองตามแผนที่


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 25 เม.ย. 11, 12:41
พงศาวดารไทยกับพงศาวดารพม่าที่ดิฉันแปลมาจากฝรั่ง  ตรงกันในเหตุการณ์ใหญ่ๆคืออวสานของหงสาวดี ด้วยการที่พวกเดียวกันเผาเสียราบเรียบ อย่างที่ท่าน NAVARAT เล่ามาแต่ต้น
ส่วนที่ต่างกัน คือไทยเราให้ความสำคัญกับพระยาตองอูว่าเป็นตัวการสำคัญในเรื่องนี้    พระยายะไข่เป็นตัวประกอบ  แต่ฝรั่งให้พระยายะไข่เป็นดารานำ หรืออย่างน้อยก็บทบาทเท่าพระยาตองอู

การล่มสลายของหงสาวดีและราชวงศ์บุเรงนอง เกิดจากการจับมือกันระหว่างพระยา ๒ คนนี้    พระยาตองอูเป็นคนพาตัวพระเจ้านันทบุเรงซึ่งตอนนั้นประชวร  ตกอยู่ในเงื้อมมือพระญาติอย่างไม่มีทางสู้  จึงถูกพาหนีศึกไปเมืองตองอู    พร้อมด้วยราชสมบัติแก้วแหวนเงินทองที่พระยาตองอูขนไปด้วย      ทิ้งส่วนที่ยังเก็บไม่หมดให้พระยายะไข่รับสัมปทานกวาดต้อนทรัพย์สมบัติในหงสาวดีต่อไป    พระยายะไข่นี่เองที่พอกวาดได้หมดเมือง   ก็เผาหงสาวดีทิ้ง

จากนั้นพระยายะไข่ก็หายไปจากหน้าพงศาวดารไทย     ไปปรากฏบทบาทในอีกหน้าหนึ่งคือไปมีบทบาททำไมตรีกับโปรตุเกศ โดยมีเมืองท่าชื่อเมืองสิเรียมเป็นเดิมพันอยู่ตรงกลาง   ต่อมาก็ขัดแย้งกันจนเกิดรบกันขึ้น เป็นสงครามพม่า vs โปรตุเกศ     เรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับอยุธยา    เราอาจไม่ได้บันทึกไว้ หรือถ้าบันทึกไว้ก็คงมีน้อยมาก  เพราะไม่ได้ถือเป็นเรื่องสำคัญในหน้าพงศาวดารของเรา


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 25 เม.ย. 11, 12:53
^
น่าจะเป็นเช่นนั้นครับ
คือตองอูปล้นก่อน เอาของดีไป พอพวกยะไข่มาถึงไม่ได้พระราชทรัพย์ก็ปล้นสมบัติราษฎร แล้วก็เลยเผาเมืองราบคาบไปเลย

ข้างล่าง จากเวปของสารคดี
“ฝ่ายพระนเรศพระเจ้ากรุงศรีอยุทธยาทราบว่าพระเจ้าหงษาวดีเสด็จไปตั้งอยู่ที่เมืองเกตุมดี(ตองอู) พระนเรศก็ยกพลตามไป ครั้นถึงตำบลจะวะมะกูจรุณชอง (แปลว่าเกาะจะวะมะกู ชองนั้นคือแปลว่าคลอง) พระนเรศก็ตั้งค่ายใหญ่ลงที่ตำบลนั้นโดยแน่นหนามั่นคง...ก็รับสั่งให้พลทหารเข้าตีเมืองเกตุมดี บ้างขุดกำแพงบ้างปีนกำแพงเปนสามารถ”

จากมหาราชวงษ์พงษาวดารพม่า

ในภาพเป็นกำแพงเมืองโบราณที่ยังคงสภาพอยู่


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 25 เม.ย. 11, 12:59
จากเวปของสารคดีเช่นกัน

คูเมืองตองอูซึ่งทำหน้าที่ป้องกันข้าศึกในอดีต ปัจจุบันยังปรากฏให้เห็นร่องรอยอย่างชัดเจนทั้ง ๔ ทิศ พงศาวดารไทยระบุว่าคูเมืองนี้เป็นอุปสรรคในการเข้าตีจนสมเด็จพระนเรศวรโปรดให้ขุดคลองขึ้นสายหนึ่งเพื่อระบายน้ำจากคูเมืองไปลงแม่น้ำสะโตง เรียกกันต่อมาว่า “คลองโยเดีย” หรือ “เหมืองสยาม” ปัจจุบันคลองดังกล่าวไม่ปรากฏให้เห็นแล้ว


ภาพที่นำมาแสดงคือภาพแม่น้ำสะโตงที่ไหลผ่านหน้ากำแพงเมือง


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 25 เม.ย. 11, 13:06
เรามาดูภาพถ่ายจากดาวเทียมกัน ผมอยากจะรู้ว่าคลองโยเดียที่สมเด็จพระนเรศวรขุด น่าจะอยู่ตรงไหน ขอเชิญคุณหนุ่มสยามลองช่วยวิเคราะห์ดูหน่อย


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 25 เม.ย. 11, 13:09
รูปสมเด็จพระนเรศวรประทับช้างพระที่นั่ง เสด็จเหยียบเมืองหงสาวดี จากจิตรกรรมฝาผนังวัดสุวรรณดาราราม จังหวัดอยุธยา

อ.ครับ ผมสงสัยมานานแล้วว่า เกิดอะไรขึ้นกับประตูเมืองที่พระนเรศวรเข้าเมือง  ???


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 25 เม.ย. 11, 13:18
^
ภาพวาดน่ะครับ สงสัยจิตรกรคงมีมโนภาพว่าโดนลูกปืนใหญ่มั้ง


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 25 เม.ย. 11, 13:21
นี่ ได้ภาพถ่ายคูเมืองตองอูมาฝาก
ดูซิครับ ใหญ่ขนาดนี้กองทัพพระนเรศวรจึงทำอะไรไม่ได้


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 25 เม.ย. 11, 13:41
เรามาดูภาพถ่ายจากดาวเทียมกัน ผมอยากจะรู้ว่าคลองโยเดียที่สมเด็จพระนเรศวรขุด น่าจะอยู่ตรงไหน ขอเชิญคุณหนุ่มสยามลองช่วยวิเคราะห์ดูหน่อย

ยินดีช่วยวิเคราะห์ ค่ำนี้จะส่องดูให้ เพียงแต่สงสัยว่า พระองค์ทรงให้ขุดคลองเพื่อนำน้ำออกจากคูเมืองเพื่อให้น้ำแห้ง และจะได้ยกพลเข้าเมือง
๑. เมื่อน้ำแห้งแล้วจะบุกเข้าเมืองได้อย่างไร ในเมื่อต้องลงไปในบ่อ แล้วต้องปีนขึ้นไปยังพื้นดินเดิม กลับเป็นภาระปีนสูงขึ้น ไต่บันได้ขึ้นไปอีก
๒. หรือระบายน้ำออกเพื่อให้งวดนิดหน่อย
๓. หากกลับกันระดับน้ำในคูเมืองเกิดต่ำกว่าระดับน้ำในแม่น้ำสะโตง น้ำก็จะไหลเข้าท่วมเมือง (ซึ่งข้อนี้ตกไป เนื่องจากในพงศาวดาระบุว่า ขุดคลองระบายน้ำออก)
๔. เมื่อน้ำงวดแห้งแล้วพื้นดินย่อมเป็นขี้เลน ขี้โคลน เดินเท้าไม่ได้ ต้องใช้ไม้กระดานแพไม้ไผ่ปูทอดข้ามไป ก็ไม่ต่างอะไรกับทำแพลอยน้ำข้ามไป

อันนี้ได้จากเวปจ่ากองร้อย อธิบายไว้ว่าเอาน้ำในคูเมือง ระบายออกไปซึ่งคูเมืองลึกมาก และล้อมเมืองไว้ ๓ เดือน (ให้เกิดการขาดน้ำนั่นเอง)

"ดูหนังท่านมุ้ยอย่าคิดมากครับ  ท่านทรงโปรดของท่าน

อย่างเช่นชุดเกราะ  หรือช้างรบผูกสัปคับ(กรมฯนริศ  ท่านมีพระวินิจฉัยมานานแล้วครับ ว่าผูกไม่ได้ ขืนผูกช้างชนกันโครมเดียว จอมพลร่วงลงมาแอ้งแม้งแน่)

อีกอย่างมอญ-พม่าน่ะพูดไทยชัดแจ๋วทุกคน  แต่บางฉากท่านโปรดให้พูดมอญ-พม่าซะงั้น

และแหะๆ ท่านทรงเนรมิตหงสาวดีซะสุดสวย  (เอาแบบมาจากมัณฑเลย์)แต่กรุงศรีอยุธยา ใครๆก็ทราบว่าเป็นเกาะ  แต่กรุงศรีฯของท่านมุ้ย  ไม่มีแม่น้ำครับ  วิ่งเข้าเมืองได้เลย

พิษณุโลก ใครก็ทราบว่าเป็นเมืองอกแตก  มีแม่น้ำผ่ากลางเมือง  แต่พิษณุโลกของท่านมุ้ย  ไม่มีแม่น้ำเช่นเคย

http://www.iseehistory.com/index.php?lay=boardshow&ac=webboard_show&No=1229539&WBntype=1


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 25 เม.ย. 11, 14:40
เชิญเสด็จท่านมุ้ยตามพระทัยไปก่อน …..

สมมติฐานเรื่องตองอูของคุณหนุ่มสยามตรงกับใจของผมเมื่อครั้งแรกเห็นแผนที่ของกูเกิลหลายปีมาแล้ว แต่ไม่สามารถหาคำตอบให้ตนเองได้เลย

ตอนเด็กๆคิดว่าตองอูอยู่บนภูเขา ต้องขุดคูยาวพอสมควรเพื่อระบายน้ำออกจากคูเมือง แต่น้ำก็จะไหลลงที่ต่ำได้โดยง่าย จากนั้น ทหารก็คงต้องลุยโคลนบ้างเพื่อเข้าประชิดกำแพงเมืองอย่างในภาพเขียน

พอมาเห็นภาพถ่ายทางอากาศ ตองอูอยู่บนที่ราบระหว่างเทือกเขา แต่เป็นทำเลยุทธศาสตร์ที่ยอดเยี่ยม ปราการที่จะป้องกันข้าศึกด่านแรกคือแม่น้ำที่โค้งเป็นคุ้ง ล้อมเมืองไว้หมดยกเว้นด้านตะวันตกเฉียงเหนือ ซึ่งศัตรูที่มาจากด้านนั้นน้อย เพราะทิวเขาเป็นกำแพงธรรมชาติอยู่ พวกไทยใหญ่ที่อยู่ถัดขึ้นไปก็ไม่เท่าไหร่ ส่วนทางด้านใต้คือหงสาวดี และราชอาณาจักรใหญ่ๆอื่นๆ ยังไงๆก็ต้องยกกองทัพผ่านลุ่มแม่น้ำสะโตงขึ้นมา สุดท้ายต้องมาข้ามแม่น้ำอันกว้างใหญ่ก่อนเข้าเมือง และพวกตองอูคงไม่นั่งงอมืองอเท้ารออยู่ ต้องออกไปตั้งค่ายรับยังจุดที่ข้าศึกจะข้ามมาอยู่แล้ว

สมมุติว่ากองทัพสมเด็จพระนเรศวรข้ามแม่น้ำไปได้ด้วยวิธีการใดก็ตาม ก็ต้องตีค่ายตั้งรับของพวกตองอูแตกด้วยจึงจะเข้าล้อมเมืองได้ แล้วไฉนเลยจะครณาแค่คูเมือง ข้ามแม่น้ำมาด้วยวิธีใดก็ใช้วิธีนั้นแหละข้ามคูเมืองไป

การขุดคูระบายน้ำ ทำไมต้องขุด คูเมืองใดๆก็ย่อมมีคูชักน้ำจากแม่น้ำลำธารให้ไหลเข้ามาเติมเต็มอยู่แล้ว ถ้านั่งรอแต่น้ำฝนคงไม่ได้การ ระยะแคบที่สุดระหว่างคูเมืองกับแม่น้ำก็สองร้อยหกสิบกว่าเมตรเอง แต่ถ้าจะเอาน้ำออก ก็เพียงแต่ถมคูชักน้ำนั้นแต่พอกั้นน้ำ แล้วก็วิดน้ำในคูเมืองออก อาศัยคูชักน้ำนั่นแหละระบายน้ำ มายังไงก็ไปอย่างงั้น แต่เป็นงานหนักตรงที่ต้องใช้แรงคนนี่แหละ ส่วนจะวิดไปทำไม นั่นเป็นอีกเรื่องนึง

แต่ถ้าทรงขุดคูไว้จริงก็ไม่ต้องไปหาร่องรอยอะไรหรอก พอทัพไทยให้หลัง พวกตองอูก็ต้องออกมาถม ไม่ทิ้งไว้ตั้งสี่ห้าร้อยปีหรอก


ครับ……เชิญวิสัชนา


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 25 เม.ย. 11, 15:19
ภาพคูเมืองตองอู เหมือนกับคูเมืองชียงใหม่มากค่ะ ใครสร้างก่อนใครคะ เกี่ยวพันกันไหมคะ  ???


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 25 เม.ย. 11, 16:04
ผังเมืองโบราณส่วนใหญ่จะมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมครับ เพราะง่ายต่อการแบ่งพื้นที่ภายในเมืองด้วย การที่คูเมืองเชียงใหม่จะไปคล้ายของพม่าน่าจะเป็นเรื่องบังเอิณ แม้ว่าพม่า ตั้งแต่สมัยพระเจ้าบุเรงนองจะเข้ามาปกครองเชียงใหม่อยู่ร่วมสองร้อยปีก็ตาม คูเมืองและผังเมือง น่าจะเกิดขึ้นก่อนช่วงนั้นนะครับ

ผมเอาผังเมืองหงสาวดีมาให้ดู


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 25 เม.ย. 11, 16:05
แต่ก็ไม่แน่ แปรมีผังเมืองที่แนวกำแพงเมืองเป็นรูปไข่


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 25 เม.ย. 11, 16:10
อังวะ
ถึงจะสี่เหลี่ยม แต่ก็ไม่เป็นรูปทรงเรขาคณิตเสียทีเดียว
สังเกตุที่แนวคูเมืองที่ยังทิ้งร่องรอยไว้นะครับ ตัวเมืองโบราณนั้นถูกทำลายราบเรียบไปแล้ว


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 25 เม.ย. 11, 16:18
ทะวาย

สังเกตุว่ามีคูเมืองสองชั้น ชั้นในอาจจะเป็นแนวป้องกันวังเจ้าเมือง
เมืองโบราณของมอญนี้อยู่ห่างจากเมืองทะวายปัจจุบันไปนับสิบกิโล

สุดท้าย พม่าฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ และทำลายเมืองเสียสิ้น
เหลือเพียงซากปรักหักพังรกชัฏ


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 25 เม.ย. 11, 16:49
รูบแบบของผังเมืองสมัยโบราณเช่น ทวารวดี จะมีรูปร่างรี กลม หรือ หอยสังข์ คือถือคติรูปเมืองให้มีความมงคลมีคูน้ำรอบ
แต่สมัยสุโขทัย-ล้านนา-พิษณุโลก การวางผังก็เป็นสี่เหลี่ยมพร้อมคูน้ำรอบ

นครวัด นครธม ก็วางผังเมืองเป็นสี่เหลี่ยม มีคูน้ำล้อมรอบ

พม่า ทั้งมัณฑเลย์ หงสาวดี ตองอู ย่างกุ้ง จัดระเบียบเมืองสี่เหลี่ยม มีคูน้ำล้อมรอบ

ประเทศจีน ตั้งแต่สมัยฉิน ฮั่น ซ้อง เรื่อยมาจนถึง ชิง ล้วนวางผังเมืองสีเหลี่ยมอย่างมีระเบียบพร้อมคูน้ำล้อมรอบ

ผมว่าวัฒนธรรมการสร้างบ้านแปลงเมืองนี้ ต้องมีกุนซือแนะนำนะ


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 25 เม.ย. 11, 19:30
เรามาดูภาพถ่ายจากดาวเทียมกัน ผมอยากจะรู้ว่าคลองโยเดียที่สมเด็จพระนเรศวรขุด น่าจะอยู่ตรงไหน ขอเชิญคุณหนุ่มสยามลองช่วยวิเคราะห์ดูหน่อย

เข้าไปดูยังเมืองตองอู สวยงามมาก มีการจัดแบ่งถนนเหนือไปใต้ ตะวันออกไปตะวันตก บนคือทิศเหนือ ล่างคือทิศใต้ ด้านตะวันออกติดแม่น้ำ ประตูทางเข้าด้านตะวันออกมี ๔ จุด ด้านตะวันตกมี ๓ จุด ด้านเหนือมี ๑ จุด ด้านใต้มี ๔ จุด

ฝั่งตะวันตกมีสุสาน และในเมืองด้านตะวันตกเฉียงใต้มีบึงน้ำขนาดใหญ่ ดูจากเส้นสีฟ้าที่ทำขึ้น เป็นร่องรอยแม่น้ำเดิมที่เปลี่ยนทิศ ซึ่งคาดว่า ผ่านมากว่า ๕๐๐ ปีเส้นทางน้ำคงไม่ใช่อย่างที่เราเห็นในปัจจุบันนี้

หากพระนเรศวรล้อมเมือง ด้านใต้เป็นชัยภูมิที่น่าสนใจไม่น้อย เนื่องจากมีรอยแม่น้ำสาขาไหลเข้าใกล้เมืองมากที่สุด


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 25 เม.ย. 11, 19:31
ซุมบริเวณทิศใต้ของเมือง หากจะขุดคลองเพื่อระบายน้ำ น่าจะทำได้ไม่ยาก


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 25 เม.ย. 11, 22:08
พอดีจับพลัดจับผลู searchไปเจอภาพถ่ายทางอากาศ ที่อังกฤษถ่ายเมืองตองอูไว้ในช่วงสงครามโลกครั้งที่2 เลยเอามาให้ดูกันครับ


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 25 เม.ย. 11, 22:18
อ้างถึง
คาดว่า ผ่านมากว่า ๕๐๐ ปีเส้นทางน้ำคงไม่ใช่อย่างที่เราเห็นในปัจจุบันนี้

ข้อสันนิฐานของคุณหนุ่มสยาม เราจะมองข้ามไม่ได้  รูปทั้งสองนี้เวลาต่างกันประมาณ๗๐ปี ในขณะที่กายภาพของตัวเมืองแทบจะไม่มีความเปลี่ยนแปลงอะไรเลย แต่แนวตลิ่งของแม่น้ำกลับเปลี่ยนไปอย่างเห็นได้ชัด

สมัยกองทัพของสมเด็จพระนเรศวรล้อมเมืองตองอู แม่น้ำอาจเป็นอย่างที่คุณหนุ่มสยามว่า


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 25 เม.ย. 11, 22:27
ให้ อ.NAVARAT.C ดูแผนผังเมืองตองอูส่วนตะวันออกเฉียงใต้ เป็นที่ตั้งของป้อมขนาดใหญ่ และขวามือเป็นบึงน้ำ (ยังไม่เป็นสี่เหลี่ยม) ภาพนี้ทำเมื่อ ค.ศ. 1873


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 26 เม.ย. 11, 14:17
ได้อ่านจดหมายเหตุ มองซิเออร์ เซเบเรต์ ซึ่งเป็นเอกอัตรราชทูตของพระเจ้ากรุงฝรั่งเศส ไปเจริญทางพระราชไมตรีกับพระเจ้ากรุงสยาม เมื่อ พ.ศ. ๒๒๓๐ - ๒๒๓๑ มีบางช่วงที่ราชทูตได้เดินทางออกจากกรุงศรีอยุธยา เพื่อเดินทางมายังบางกอก เห็นว่าเดินทางในช่วงเดือนธันวาเช่นกัน จึงน่าจะเปรียบเทียบระยะเวลาการเดินทางอย่างพระเจ้าจีนจันตุได้

"ในวันที่ ๑๕ เดือนธันวาคม เวลาเที่ยงข้าพเจ้าได้ออกเรือจากกรุงศรีอยุธยาล่องลงไปบางกอก และได้ไปถึงบางกอกในราว ๒ ยาม (เที่ยงคืน)"

จะเห็นว่าระยะทางแต่นี้ใช้เวลาเดินทาง ๑๒ ชั่วโมง แต่ในสมัยพระนเรศวรนั้น แม่น้ำเจ้าพระยาบางช่วงยังไม่ได้ขุดลัด คงใช้เวลามากกว่านี้หลายชั่วโมงอยู่


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 26 เม.ย. 11, 14:31
แต่นั่นเป็นการเดินทางทางเรือโดยไม่เร่งรีบมิใช่หรือ
เวลา  ๑๒  ชั่วโมง  คงถือว่าเป็นปกติของการเดินทางทางเรือ
จากปากน้ำบางเจ้าพระยาถึงพระนครศรีอยุธยา

ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาไม่ได้บอกว่า
กองเรือที่สมเด็จพระนเรศวรเสด็จไปตามตีเรือพระยาจีนจันตุ
เริ่มต้นทางที่ไหนแน่   กรุงศรีอยุธยา หรือเป็นตำบลที่อยู่ล่างลงมา
กองเรือที่ตามเรือพระยาจีนจันตุในช่วงแรก
อาจจะเป็นเรือชาวด่านที่รักษาด่านด่านตามลำน้ำเจ้าพระยา
(เช่นแถวตลาดขวัญ  บางกอก  พระประแดง ฯลฯ)
ที่ไล่ตีเรือพระยาจีนจันตุทำให้เรือพระยาจีนจันตุเดินทางได้ไม่เร็ว
ทำให้กองเรือ(เรือเร็ว)สมเด็จพระนเรศวรตามทันก็ได้
ทั้งนี้  สมเด็จพระนเรศวรอาจจะไม่ได้เสด็จลงเรือ
มาตั้งแต่กรุงศรี  แต่อาจจะทรงม้ามาเสด็จลงเรือแถบตำบลล่างๆ
ก็ได้กระมัง   เพราะถ้าเส้นทางแม่น้ำคดอ้อมขนาดนั้น
กว่าจะพายเรือเร็วมาทันกัน  ดูจะยากนัก

อันนี้คิดเล่นๆ นะ  อย่าถือเป็นจริงเป็นจัง


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 26 เม.ย. 11, 15:18
ทั้งนี้  สมเด็จพระนเรศวรอาจจะไม่ได้เสด็จลงเรือ
มาตั้งแต่กรุงศรี  แต่อาจจะทรงม้ามาเสด็จลงเรือแถบตำบลล่างๆ
ก็ได้กระมัง   เพราะถ้าเส้นทางแม่น้ำคดอ้อมขนาดนั้น
กว่าจะพายเรือเร็วมาทันกัน  ดูจะยากนัก

อันนี้คิดเล่นๆ นะ  อย่าถือเป็นจริงเป็นจัง

เมื่อคุณหลวงเล็กบ่นว่าคึกนัก จึงจะถามต่อนะครับว่า

ในกรณีที่เห็นด้วยว่าสมเด็จพระนเรศวรทรงขี่ม้าและมาขึ้นเรือแถบตำบลต่างๆ นั้น
๑. ประการแรกต้องนึกเตรียมพลฝีพาย ไว้ให้พร้อม เมื่อท่านเสด็จลงเรือได้เลย
๒. มาลงตำบลไหนละท่าน ที่จะมีเรือรบได้พรั่งพร้อมหลายลำ พร้อมกำลังพลได้ขนาดนี้ ดังคุณหลวงยกกองแรลลี่ไปต่างจังหวัด จัดหาเรือสัก ๓๐ ลำด่วนจะหาจากไหน ถ้าไม่ใช่สั่งกองกำลังพลจากกรุงศรีอยุธยา
๓. ถ้าได้เรือจริงคงไม่ได้เรือรบ พร้อมกำลังพลหรอก คงได้แต่เรืออีโปง สำปั้น เข็ม เท่านั้น  ;D ;D ;D

คำเตือน อันนี้คิดเล่นๆ นะ  อย่าถือเป็นจริงเป็นจัง


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 26 เม.ย. 11, 15:41
เมื่อคุณหลวงเล็กบ่นว่าคึกนัก จึงจะถามต่อนะครับว่า

ในกรณีที่เห็นด้วยว่าสมเด็จพระนเรศวรทรงขี่ม้าและมาขึ้นเรือแถบตำบลต่างๆ นั้น
๑. ประการแรกต้องนึกเตรียมพลฝีพาย ไว้ให้พร้อม เมื่อท่านเสด็จลงเรือได้เลย
๒. มาลงตำบลไหนละท่าน ที่จะมีเรือรบได้พรั่งพร้อมหลายลำ พร้อมกำลังพลได้ขนาดนี้
๓. ถ้าได้เรือจริงคงไม่ได้เรือรบ พร้อมกำลังพลหรอก คงได้แต่เรืออีโปง สำปั้น เข็ม เท่านั้น  ;D ;D ;D

คำเตือน อันนี้คิดเล่นๆ นะ  อย่าถือเป็นจริงเป็นจัง

เลียนแบบนะครับ  คิดเองดิ

๑.ฝีพายนะ  ไม่ยาก  คนไทยสมัยนั้นพายเรือเหมือนกับขับรถ
ทหารทุกคนพายเรือได้   ตำบลที่ตั้งด่านทางน้ำทุกแห่งมีเรือไว้ใช้ในราชการ
เพราะไว้ใช้ในราชการด่วนและในการตระเวนทางน้ำ
เรือข้าราชการหัวเมืองก็มีใช้การได้  เรือพวกนี้ลำเล็ก แต่ว่องไวคล่องแคล่ว
คงไม่มีใครคิดเอาเรือพระราชพิธีที่ลำยาวมาก ไปพายคัดวาดในเวลาเร่งรีบหรอก
เหนื่อยแรง   ถ้าพลาดท่าก็คว่ำได้ง่าย   แต่ก่อนเรือหัวสัตว์เคยมีใช้ในราชการมาก


๒.เสด็จมาลงตรงไหนนะหรือ   อันนี้พงศาวดารไม่บอก
แต่ถ้าคิดว่า   หากทรงทราบข่าวหลังจากพระยาจีนจันตุ
เดินทางออกมากจากกรุงศรีได้สัก ๑ ชั่วยาม  ผมคิดว่า แถวๆ
บางกอก นนทบุรีก็น่าจะพอทันการ  ส่วนการเตรียมการคนนั้น
ก็เมื่อมีเหตุอย่างนี้การระดมคนไม่ใช่เรื่องยาก  เพราะทุกด่าน
จะมีไพร่หลวงหัวเมืองที่มีหน้าที่รักษาด่านเข้าเดือนออกเดือน
รักษาการอยู่ไม่ขาด   โปรดดูบรรดาศักดิ์เจ้าเมืองต่างๆ
สมัยก่อน  มักจะมีคำเกี่ยวกับการทำสงครามปรากฏอยู่ด้วย
ก็เพราะเจ้าเมืองต้องทำหน้าที่กองกำลังรักษาเมืองหลวงด้วย
ทหารจึงไม่ได้มีแต่ที่เมืองหลวง   แต่มีทุกหัวเมือง  
โดยเฉพาะหัวเมืองที่เป็นเส้นทางคมนาคมและเดินทัพ

๓.เรือนั้น   คุณอย่าได้ดูถูกเรือชาวบ้าน  ในยามคับขันเรือชาวบ้านลำเล็ก
แต่คล่องแคล่วดี   และเรือรบที่คุณว่านั้น  สมัยก่อนมันมีหน้าตาอย่างไร
มีพู่ห้อยไหม  มีฉัตรธงประกอบไหม   ต้องพายแบบนกบินไหม ต้องขานยาวไหม
(แต่คงไม่ต้องเห่หรอก  เสียเวลา)
ผมบอกแล้วว่าเรือขุนนางนั้นเป็นเรือขนาดใหญ่พอที่ใช้เรือรบเร็วได้
คนไทยถนัดรบด้วยเรือเล็ก ไม่ถนัดรบเรือใหญ่   เราจึงถนัดรบในแม่น้ำ
ถ้าออกทะเลแล้ว  เมาคลื่น  นี่เป็นเหตุผลว่าทำไมจึงต้องรีบตามเรือพระยาจีนจันตุให้ทัน
ก่อนออกปากน้ำ  เพราะเรือเล็กออกทะเลสู้คลื่นไม่ไหว  


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 26 เม.ย. 11, 15:46
แล้วคุณหลวงคิดว่า เรือสำเภาที่พระยาจีนจันตุใช้ จะเป็นเรือลักษณะใด  ???


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 26 เม.ย. 11, 15:52
อย่าทะเลากัน รักกันไว้เถิด ;D

อันนี้เล่นๆ นะ อย่าคิดจริงจัง


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 26 เม.ย. 11, 15:55
แล้วคุณหลวงคิดว่า เรือสำเภาที่พระยาจีนจันตุใช้ จะเป็นเรือลักษณะใด  ???

เป็นสำเภาไทย (กี่เสาไม่ทราบ) ออกทะเลแล้วโคลงมาก
ไม่ใช่สำเภาเจ๊กขายสินค้าสมัยรัชกาลที่ ๓  อย่างนั้นโคลงน้อยกว่า
เพราะท้องเรือออกแบนกว้าง   เพื่อใช้บรรทุกสินค้ามากๆ
แต่รูปร่างอย่างไรนั้น  ขอไปหาภาพก่อน  อยู่ที่บ้านนี่แหละ

พระยาจีนจันตุ เป็นเจ้าเขมรที่หนีเข้ามาพึ่งสยาม
และตอนหลังก็ยังยกทัพเรือมาตีเมืองเพชรบุรีอีกหลายครั้ง
อย่าเผลอคิดคล้อยตามชื่อว่าเป็นเจ๊กเป็นจีน

ถ้าเป็นสำเภาอย่างในภาพพงศาวดาร  
พระยาจีนจันตุคงไปปล้นเจ้สัวคนไหนในพระนครมากระมัง
มันคนละยุคสมัยกัน   อยุธยา ไม่ใช่รัตนโกสินทร์นะครับ






กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 26 เม.ย. 11, 15:57
อย่าทะเลาะกัน รักกันไว้เถิด ;D

อันนี้เล่นๆ นะ อย่าคิดจริงจัง

นี่ก็เลียนแบบอีกคน  คิดเองดิ
ไม่ได้ทะเลาะกัน  แต่กำลังอภิปรายอย่างออกรสชาติ
จริงไหม คุณไซมีส ;D


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 26 เม.ย. 11, 16:06
อย่าทะเลาะกัน รักกันไว้เถิด ;D

อันนี้เล่นๆ นะ อย่าคิดจริงจัง

นี่ก็เลียนแบบอีกคน  คิดเองดิ
ไม่ได้ทะเลาะกัน  แต่กำลังอภิปรายอย่างออกรสชาติ
จริงไหม คุณไซมีส ;D

มาเลยคุณ Art47 มาร่วมเสวนากันเลย เขาไม่ได้ทะเลาะกันนิ
กระซิบให้คุณ Art47 ฟังนะ  เขาบอกว่าเขากำลังคึก  ;D หละ 


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 26 เม.ย. 11, 19:05
มาเลยคุณ Art47 มาร่วมเสวนากันเลย เขาไม่ได้ทะเลาะกันนิ
กระซิบให้คุณ Art47 ฟังนะ  เขาบอกว่าเขากำลังคึก  ;D หละ 

มาตามคำชวน ;D
เสนอตามความคิดเห็นแล้วกันนะ

1. เรือที่สมเด็จพระนเรศวรและเหล่าท้าวพระยาทั้งหลายใช้ในการไล่ล่าพระยาจีนจันตุ คงเป็นเรือกราบกันยาอย่างพระราชพงศาวดารว่า
เพราะเป็นเรือลำเล็ก ปราดเปรียว คล่องแคล่วดีนักแล บรรทุกไพร่พลเป็นฝีพายไปในตัว
ส่วนการไล่ล่านั้น คงไม่ต้องเต็มกระบวนอิสสริยยศหรอกกระมังครับ มีเพียงเรือกราบสักห้าหกลำ รีบจ้ำพายอย่างแข่งเรือกันมาก็คงพอทัน

2. "เรือพระที่นั่ง" ที่ทรงในการศึกครั้งนี้ ก็อาจจะเป็นเรือกราบอย่างขุนทหารใช้ด้วยเช่นกัน ไม่จำเป็นต้องใช้เรือพระที่นั่งอันวิจิตรงดงาม
ปิดทองพรายแพรว พร้อมราชวัตรฉัตรธง อย่างคุณหลวงเล็กว่าไว้ เพราะไม่ว่าพระมหากษัตริย์จะเสด็จเรือประเภทไหนก็ตาม
เรือลำนั้นก็ขึ้นชื่อว่า "เรือพระที่นั่ง" แล้ว


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 26 เม.ย. 11, 19:18
พระยาจีนจันตุ เป็นเจ้าเขมรที่หนีเข้ามาพึ่งสยาม
และตอนหลังก็ยังยกทัพเรือมาตีเมืองเพชรบุรีอีกหลายครั้ง
อย่าเผลอคิดคล้อยตามชื่อว่าเป็นเจ๊กเป็นจีน

อย่าเผลอคิดคล้อยตามชื่อว่าเป็นเจ๊กเป็นจีน

ถ้าไม่ใช่คนจีน แล้ว จีนจันตุ หมายถึงอะไร  ???

พ.ศ.๒๑๒๑ พระยาจีนจันตุ ขุนนางจีนของกัมพูชา รับอาสาพระสัฎฐามาปล้นเมืองเพชรบุรี แต่ต้องพ่ายแพ้ตีเข้าเมืองไม่ได้จะกลับกัมพูชาก็เกรงว่าจะต้องถูกลงโทษ จึงพาสมัครพรรค พวกมาสงามิภักดิ์อยู่กับคนไทย โดยสมเด็จพระมหาธรรมราชาทรงชุบเลี้ยงไว้ ต่อมาไม่นาน ก็ลงเรือสำเภาหนีออกไป เวลานั้นสมเด็จพระนเรศวรมหาราชมีพระชนมายุได้ ๒๔ พรรษา ตระหนักในพระทัยดีว่า พระยาจีนจันตุเป็นผู้สืบข่าวไปให้เขมร พระองค์จึงเสด็จลงเรือกราบ กันยารับตามไป เสด็จไปด้วยอีกลำหนึ่งตามไปทันกันเมื่อใกล้จะออกปากน้ำ พระยาจีนจันตุยิง ปีนต่อสู้ สมเด็จพระนเรศวรจึงเร่งเรือพระที่นั่งขึ้นหน้าเรือลำอื่น ประทับยืนทรงยิงพระแสงปืนนก สับที่หน้ากัน ยาไล่กระชั้นชิดเข้าไปจนข้าศึกยิงมา ถูกรางพระแสงปืนแตกอยู่กับพระหัตถ์ก็ไม่ ยอมหลบ พระเอกาทศรถพระเชษฐาหล้านักเกรงจะเป็นอันตราย จึงตรัสสั่งให้เรือที่ทรงเข้าไป บังเรือสมเด็จพระเชษฐา ก็พอดีกับเรือที่ทรงเข้าไป บังเรือสมเด็จพระเชษฐาก็พอดีกับเรือ สำเภา ของพระยาจีนจันตุ ได้ลมแล่นออกทะเลไป ครั้งนั้นนับว่าเป็นการใช้กำลังทางเรือต่อสู้กับ ข้าศึกครั้งแรกของพระองค์

http://www.navy.mi.th/navic/document/840101a.html

 ;D







กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: puyum ที่ 26 เม.ย. 11, 21:06
เมื่อประมาณปี ๒๕๐๕ ผมยังเห็สำเภา แบบ คห.๘๑ ทิ้งสมออยู่แถวท่าน้ำราชวงค์ ลำ สองลำบ้าง
และยังเห็นมาอีกหลายปี แต่หายไปตอนไหนไม่ทราบ เป็นสำเภาที่มารับส่งสินค้า แต่ของใครไม่ทราบ
ช่วงเดือนธันวา ก็น้ำกำลังลง เดินเรือตามลำน้ำ อาจใช้เวลาน้อยลง 
เรือรบสมัยนั้น ก็เข้าใจว่าเป็นเรือแซง เรือดั้ง ที่เห็นในปัจจุบัน อาจเป็นเรือรูปสัตว์ด้วย
ใช้ฝีพายชุดเดียวก็คงไม่ไหว คิดว่าผ่านไปตามที่ต่างๆ คงต้องมีฝีพายพลัด ก็จะเร็วขึ้น
แต่ท่าน้ำยังนองตลิ่ง เรือรบแบบนั้นก็จะตัดทุ่ง ตัดท่าได้ ไม่ต้องไปตามลำน้ำ
นี่ก็คิดเองเหมือนกัน  


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 27 เม.ย. 11, 08:08
ความเห็นคุณอาร์ทเข้าทีมาก

ส่วนเรื่องชื่อ จีนจันตุ แปลว่า อะไรนั้น
ผมคิดว่าไม่ใช่เป็นประเด็นที่สำคัญนัก  
เอาล่ะ   จีน หมายถึง คนจีน หรือคนที่มีเชื้อสายจีน
แต่ จันตุ แปลว่าอะไร  ผมไม่ทราบ และไม่ทราบว่าเป็นคำภาษาอะไร
เขมร? บาลี? สันสกฤต? จาม? ญวน?  
และถึงจะแปลได้   ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไขข้อข้องใจ
เกี่ยวกับเหตุการณ์ในอดีตนี้ได้




กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 27 เม.ย. 11, 08:27
ผมขอย้อนกลับไปที่ประเด็นภาพพระราชพงศาวดาร
ตอนสมเด็จพระนเรศวรเสด็จลงเรือพระที่นั่ง
ไล่ตีสำเภาพระยาจีนจันตุที่ปากน้ำเจ้าพระยาอีกประเด็นหนึ่ง
ที่ผมยังสงสัยอยู่  คือ  ประเด็น "โล้สำเภา"

ซึ่งคุณNAVARAT.C ได้เขียนไว้ในความเห็นที่ ๖๘ ของกระทู้ว่า

อันที่จริง ความไม่สมจริงในภาพเขียนก็มีอยู่ อย่างเช่นพงศาวดารว่า พระยาจีนจันตุเร่งให้โล้สำเภาออกไปพ้นปากน้ำ

“โล้”เป็นศัพท์เรียกการยืนแจวเรือ ไม่ใช่นั่งพายเรือ คนสมัยก่อนยืนแจวเรือเก่งมาก เผลอๆแจวด้วยเท้าอย่างกับพวกไทยใหญ่ในทะเลสาบอินเลสมัยผมเด็กๆยังพอทันเห็นในแม่น้ำเจ้าพระยา  แต่จะโล้อย่างไรก็ช่างเถอะ ในภาพ ผมไม่ยักเห็นไม้พายหรือแจวสักอันในเรือสำเภาจีนเลย

และในความเห็นที่ ๗๓. ว่า


นั่นเป็นกิริยาที่ "โล้" เรือละ

แต่คุณคิดว่า สามเกลอนี่จะโล้เรือ ลากสำเภาไหวหรือครับ

อ้างถึง
การโล้สำเภา ในกรณีนี้สำเภาเป็นสำเภาเดินทะเล ออกไปถึงเขมรได้ ไปถึงกวางตุ้งได้ จึงเป็นเรือสำเภาขนาดใหญ่ คงยากที่จะใช้พาย ๆ จึงต้องใช้เรือโยงนำร่องออกไป (เหตุการณ์เกิดช่วงปากอ่าวก็เป็นไปได้) เมื่อเรือกินลมบกแล้ว พัดเรือออกทะเลได้

(ดูภาพประกอบที่ความเห็นนั้น)

ผมคิดว่ากิริยาโล้ที่ใช้กับสำเภานั้น  ไม่ใช่การยืนพายอย่างที่คุณNAVARAT.C
แต่เป็นอย่างไรนั้น  ผมกำลังหาอยู่  ท่านใดมีความเห็นเป็นอื่นเสนอไหมครับ


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 27 เม.ย. 11, 13:40
เชิญชม มีทั้งเรือโล้และเรือสำเภา
เรือสำเภาในภาพ จะเห็นว่าขนาดก็ไม่ได้ใหญ่โตนัก แต่เป็นเรือที่วิ่งทำมาหากินในทะเลเปิดทั้งนั้น

http://www.youtube.com/watch?v=k6xAzxlStEw&feature=related


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 27 เม.ย. 11, 13:50
เรือโล้นี้ ดูเหมือนเขาจะมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เรือสำปั้น (Sampan)
ดูเฉพาะตอนต้นๆเรื่องก็เห็นกิริยา โล้เรือ ชัดเจน
http://www.youtube.com/watch?v=OxEaAXpgMfE&feature=related


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 27 เม.ย. 11, 14:53
ขอบคุณคุณ NAVARAT.C  ที่เอาภาพเคลื่อนไหวที่เอามาให้ชมนะครับ
แต่ลักษณะในภาพเคลื่อนไหวที่คุณนำมาแสดงนั้น 
แถวบ้านผมเขาเรียกว่า แจวเรือ 
ตกลง คำกริยา โล้เรือ กับ แจวเรือ เหมือนกันหรือครับ ???


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 27 เม.ย. 11, 15:31
ที่คุณเห็นแถวบ้านคุณ เป็นเรือแจว ที่เขาแจวเรือกันอย่างนี้มั้ง


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 27 เม.ย. 11, 15:33
โล้เรือ กับ แจวเรือ ไม่เหมือนกัน

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒

เรือโล้
น. เรือต่อชนิดหนึ่ง ท้ายตัด มีแจวอยู่ท้ายเรือสำหรับยืนโล้ไป ใช้ตามชายฝั่งทะเล.
โล้
ก. แล่นไปตามคลื่น (สำหรับเรือสําเภา) (พจน. ๒๔๙๓), ทําให้เรือ เคลื่อนที่โดยอาการโยกแจวให้ปัดนํ้าไปมา. น. เรียกเรือต่อชนิดหนึ่ง ท้ายตัด มีแจวอยู่ท้ายเรือสําหรับยืนโล้ไป ไม่มีหางเสือ ใช้ตามชายฝั่ง ทะเล ว่า เรือโล้.
แจว
น. เครื่องมือสำหรับพุ้ยนํ้าให้เรือเดิน ลักษณะคล้ายพาย แต่ด้ามยาวเรียว มีที่มือจับเรียกว่า หมวกแจว ใช้หูแจวคล้องเข้ากับหลักแจว. ก. เอาแจวพุ้ยนํ้าให้เรือเดิน; (ปาก) รีบหนีไป เช่น แจวอ้าว.


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 27 เม.ย. 11, 15:35
ข้อมูลเรื่องการ "โล้เรือ" จากหนังสืออักขราภิธานศรับท์
อาจารย์ทัด ทำ  หมอบลัดเล  อำนวยการพิมพ์
หน้าที่  ๖๑๔  คอลัมน์ ขวา

คัดลอกตามต้นฉบับ  
(อยากสแกนแต่เครื่องสแกนไม่ว่างครับ)

โล้,  คือเอาไม้ใส่เข้าที่ท้ายเรือสำป้านแล้วคนหลายคน
    ช่วยกันผลักกะเดือกไป.
    โล้ชิงช้า, คือขึ้นโหนชิงช้าทำให้มันโยนไปมา, เหมือน
        พราหมณ์โล้ชิงช้านั้น.
    โล้เรือ, เหมือนกับพวกจีนโล้เรือสำป้านถอนสมอ.
    โล้เล้......
    โล้สำป้าน, คือเอาไม้ใส่ที่ท้ายเรือสำป้านแล้วกะเดือกไป
     อย่างหนึ่งเขาถีบชิงช้าก็ว่าโล้ไป.


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 27 เม.ย. 11, 15:38
อย่าลืมอีกโล้หนึ่ง

จิงโจ้โล้สำเภา

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=3296.0;attach=10060;image)

จิงโจ้เอย   มาโล้สำเภา หมาไนไล่เห่า จิงโจ้ตกน้ำ หมาไนไล่ซ้ำ, จิงโจ้ดำหนี
ได้กล้วยสองหวี, ทำขวัญจิงโจ้
เคยไปดูของจริง    ดูเหมือนจะเคยเขียนบทความไว้แล้วด้วยค่ะ

 ;D


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 27 เม.ย. 11, 15:42
เอ้า เอาให้ชัดๆไปขอรับ นี่เป็นกิริยาแจวเรือ ไม่น่าเชื่อว่าฝรั่งเมืองเวนิสแจวเรือได้เหมือนคนอุษาคเนย์มาก

http://www.youtube.com/watch?v=Byv4x3GGL8o&feature=related


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 27 เม.ย. 11, 15:42
^ ไม่ลืมหรอกครับ   โล้อย่างนั้น  
ยังนึกไม่ออกว่า  พระยาจีนจันตุจะโล้สำเภา
รอดพ้นกองเรือของสมเด็จพระนเรศวรไปได้อย่างไร


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 27 เม.ย. 11, 15:50
แก้สงสัย

เรือสำเภาติดแจว คนไทยเองก็คุ้นอยู่แล้วครับ
ที่เห็นโผล่มาครึ่งตัว คนคงไม่ได้นั่งพายอย่างเรือทาสสมัยโรมัน
แต่ยืนแจว เพราะถนัดกว่า ออกแรงน้อยกว่า


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 27 เม.ย. 11, 15:51
ก็ถ้าพวกพระยาจีนจันตุ  โล้ สำเภาอย่างที่คุณว่ามา
คนโล้ไม่ถูกยิงตายหมดหรือ  
และการโล้อย่างที่คุณว่า สำเภาจะไปได้เร็วขนาดไหน  
ในเมื่อแม่น้ำก็ไม่ได้มีคลื่นมากอย่างในทะเล

นี่เรากำลังกล่าวถึงสำเภา  ไม่ใช่เรือเล็กหาปลาของชาวบ้าน
การโล้ย่อมผิดกัน  


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 27 เม.ย. 11, 15:54
สงสัยครับคุณหลวงเล็ก

๑.โล้,  คือเอาไม้ใส่เข้าที่ท้ายเรือสำป้านแล้วคนหลายคนช่วยกันผลักกะเดือกไป.
   แบบนี้เหมือนถ่อเรือหรือไม่ เพราะมีอาการผลักกะเดือกไป หรือว่า ไม้แกว่งไปมาในน้ำ ทำกิริยาแกว่งอย่างครีบปลา

๒. โล้ นอกจากโล้เรือ โล้ชิงช้าแล้ว...พอรู้จัก "มะพร้าวขี้โล้" ไหมครับ  ;D ;D

๓. เป็นไปได้ไหมว่า เราติดการพูด "โล้สำเภา" เช่น บรรพบุรุษชาวจีน โล้สำเภาจากกวางตุ้งเข้ามากรุงเทพ ในขณะที่อาจจะนั่งเรือเฟอร์รี่มาก็ได้


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 27 เม.ย. 11, 16:06
.ในพระราชพงศาวดารนั้นว่า

....สมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้า  ก็เสด็จยกทัพเรือ
ตามพระยาจีนจันตุลงไปในเพลากลางคืนนั้น
แล้วตรัสให้เรือประตูเรือกัน  และเรือท้าวพระยา
ทั้งหลายเข้าล้อมสำเภาพระยาจีนจันตุ  
และได้รบพุ่งกันเป็นสามารถ

พระยาจีนจันตุก็ให้โล้สำเภาไปกลางน้ำ
รบต้านทานรอลงไป  

....

พระยาจีนจันตุรบพุ่งป้องกันเป็นสามารถ
พลทหารข้าหลวงจะปีนขึ้นสำเภามิได้
พระยาจีนจันตุก็ให้เร่งโล้สำเภาออกไปพ้นปากน้ำตกลึก

เสียดายไม่รู้ว่า  สำเภาพระยาจีนจันตุใหญ่สูงขนาดไหน
ถ้าโล้อย่างคุณNAVARAT.C  ว่า  จะไปได้เร็วเพียงใด

อ้อ  เรือที่มีใบ  ไม่ได้หมายว่าจะเป็นเรือสำเภาไปทั้งหมดนะครับ


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 27 เม.ย. 11, 16:15
คุณหลวงเล็กน่าจะย้อนกลับไปอ่านที่ผมเขียนไว้ต้นๆสักรอบหนึ่ง
จะเห็นว่า ความสงสัยของคุณก็เหมือนๆกับที่ผมสงสัยและเสนอข้อสันนิฐานไปแล้ว

แต่ใครจะเห็นด้วย ไม่เห็นด้วย หรือจะมีความเห็นอย่างอื่น เช่นไม่ได้เสด็จตามมาด้วยเรือ แต่ทรงม้าตามมาแล้วมาหาเรือแถวนี้ตามล่าเรือสำเภาต่อไป ก็เชิญสนุกสนานกันตามสบาย ผมไม่ว่ากระไรอยู่แล้ว


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 27 เม.ย. 11, 16:15
สงสัยครับคุณหลวงเล็ก

๑.โล้,  คือเอาไม้ใส่เข้าที่ท้ายเรือสำป้านแล้วคนหลายคนช่วยกันผลักกะเดือกไป.
   แบบนี้เหมือนถ่อเรือหรือไม่ เพราะมีอาการผลักกะเดือกไป หรือว่า ไม้แกว่งไปมาในน้ำ ทำกิริยาแกว่งอย่างครีบปลา

๒. โล้ นอกจากโล้เรือ โล้ชิงช้าแล้ว...พอรู้จัก "มะพร้าวขี้โล้" ไหมครับ  ;D ;D

๑.  ผมคิดว่า  มันก็คือการถ่อนั่นแหละ  เพียงแต่การถ่อ ที่เรียกว่า โล้ ของสำเภา
ไม่ได้ถ่อที่ข้างเรือ   แต่มาถ่อดันสำเภาที่ท้ายสำเภาที่เดียว  เพื่อให้สำเภาเคลื่อนที่เร็วขึ้น
สำเภาพระยาจีนจันตุ  คงโล้หนีมาตามลำน้ำ  โดยโล้เลียบใกล้ฝั่งตลิ่ง
เพื่อให้ไม่ตัองหยั่งไม้ถ่อลึกนัก  สำเภาจะได้แล่นเร็วยิ่งขึ้น


๒. "มะพร้าวขี้โล้"  ไม่รู้จัก  พาออกนอกประเด็นอีกแล้ว  รู้จักแต่น้ำมันขี้โล้น่ะ


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 27 เม.ย. 11, 16:17
เข้าไปดูการถ่อ แจว โล้ ที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามบ้าง

ภาพที่ ๑
วัดเอ๋ยวัดโบสถ์..................ตาลโตนดเจ็ดต้น
         เจ้าขุนทองไปปล้น..................ป่านฉะนี้ไม่เห็นมา
        คดข้าวใส่ห่อ...........................ถ่อเรือไปหา
        เขาก็ร่ำลือว่า...........................เจ้าขุนทองตายแล้ว

ภาพที่ ๒
......เหลือแต่กระดูกแก้ว..........เมียรักจะไปปลง
        เจ้าขุนศรีถือฉัตร.....................ยกกระบัตรถือธง
        ถือไถ้พายเรือหงษ์...................จะไปปลงศพเจ้านา

ภาพที่ ๓
.........จิงเอ๋ยจิงโจ้          มาโล้สำเภา
               หมาไนไล่เห่า            จิงโจ้ตกน้ำ
               หมาไนไล่ซ้ำ             จิงโจ้ดำหนี
              เอากล้วยสองหวี          รับขวัญจิงโจ้





กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 27 เม.ย. 11, 16:22
โล้เรือ และแจวเรือ ใช้แรงที่พายกระทำกับน้ำ ผลักเรือให้เรือเคลื่อนที่ไปข้างหน้า

ถ่อเรือ เขาใช้ลำไม้ไฝ่ แทงลงไปถึงพื้นดินใต้น้ำ แล้วยันไปให้เรือเคลื่อนที่ไปข้างหน้า
ขอนำภาพถ่ายสุดคลาสสิกของอาจารย์จิตร จงมั่นคง มาอธิบายให้ชม



กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 27 เม.ย. 11, 16:33
แก้เครียดสักหน่อย


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 27 เม.ย. 11, 16:41
คุณหลวงเล็กน่าจะย้อนกลับไปอ่านที่ผมเขียนไว้ต้นๆสักรอบหนึ่ง
จะเห็นว่า ความสงสัยของคุณก็เหมือนๆกับที่ผมสงสัยและเสนอข้อสันนิฐานไปแล้ว

แต่ใครจะเห็นด้วย ไม่เห็นด้วย หรือจะมีความเห็นอย่างอื่น เช่นไม่ได้เสด็จตามมาด้วยเรือ แต่ทรงม้าตามมาแล้วมาหาเรือแถวนี้ตามล่าเรือสำเภาต่อไป ก็เชิญสนุกสนานกันตามสบาย ผมไม่ว่ากระไรอยู่แล้ว

กระทู้ยาวนี้หลายหน้า  ดีว่ามีรูปมาให้พักสายตาหลายรูป
จะให้ผมย้อนกลับอ่านอีกรอบนั้น  ผมขอคิดดูก่อนนะ
เพราะจริงๆ ผมก็ตามสังเกตการณ์มาตลอด
ที่เข้ามานี่  ก็เห็นว่ากระทู้นี้ดี  คนตั้งกระทู้ก็เป็นคนที่สนใจประวัติศาสตร์
เข้าใจหาประเด็นมาอภิปราย   คนที่เข้ามาตอบต่อกระทู้ก็ขยันขันแข็ง
ที่จะหาข้อมูลมาอภิปราย   มาถกเถียง 
ส่วนใครคนใดเห็นด้วยหรือไม่
ก็ไม่ใช่เรื่องสำคัญ  เพราะไม่ได้มุ่งหมายหักล้างให้ใครเจ็บช้ำน้ำใจ
แต่มุ่งหาความเป็นไปได้ในเหตุการณ์ที่ผ่านมาแล้วหลายร้อยปี
ตามกำลังสติปัญญาและเอกสารข้อมูลที่หาได้ 

ตัวผมเองถือว่าการได้แลกเปลี่ยนข้อมูลกัน เป็นปกติของการสนทนาของผู้ใฝ่รู้
เพราะแต่ละคนอ่านหนังสือมาไม่เท่ากัน  คนละทางคนละแนว
ผมไม่ถนัดเรื่องปืน  เรื่องเรือก็พอรู้บ้าง   และไม่คิดว่าตนเองถูกทั้งหมด
ใครว่าอย่างไรถ้าเห็นว่าเข้าท่าน่าฟัง  ก็รับความคิด
แต่ถ้ายังเห็นว่า  ยังมีที่สงสัยก็จะตั้งคำถามให้แก้สงสัย
ส่วนยอมรับได้หรือไม่นั้น  จะไม่ปรากฏในน้ำเสียงและถ้อยคำของผมในกระทู้เด็ดขาด
จะมีก็แต่การยั่วล้อกันบ้างเพื่อคลายเครียด (อย่างที่คุณไซมีสทำ)
ขอบคุณคุณNAVARAT.C
สำหรับการถกเถียงเรื่องการโล้สำเภา


 ;D


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: CrazyHOrse ที่ 27 เม.ย. 11, 17:13
เรื่องโล้นี่ต้องกลับไปดูที่ที่มา คือเรือสำปั้นก่อนครับ

เรือสำปั้น เป็นเรือที่ใช้กันทั่วไปในแถบนี้ นัยว่าเริ่มมาจากที่เมืองจีนก่อน ชื่อสำปั้นก็มาจากชื่อจีนว่า 三板 อ่านอย่างจีนกลางว่า ซานป่าน ถ้าเป็นสำเนียงแต้จิ๋วก็ ซำปั้ง ซึ่งน่าจะเป็นที่มาของชื่อสำปั้นที่เราพูดถึงกันอยู่นะครับ

คำว่า 三板 นี้แปลว่ากระดานสามแผ่น คือแต่เริ่มเดิมที เรือชนิดนี้ทำจากกระดานสามแผ่นเรียงกัน ขนาดจึงค่อนข้างจะแน่นอนว่าไม่ใหญ่ไม่เล็ก ถ้าคนหลายคนช่วยกัน "โล้" แบบหมอบรัดเลก็น่าสงสัยว่าจะโล้กันท่าไหน หลายคนที่ว่านั้นกี่คน? อย่างน้อยคงต้องสาม อย่างมากกำหนดไม่ถูก แต่แค่สามคนไปยืนกองกันท้ายเรือสำปั้น ยังไม่ทันได้ทำอะไรก็เกรงว่าจะต้องตกน้ำไปสักคนเป็นอย่างน้อยแล้วครับ  ;D

ที่มาของคำว่าโล้นั้นยิ่งน่าสนใจ และเป็นกุญแจไขสู่คำตอบของเรื่องนี้ได้อย่างชัดเจน

เรือสำปั้นนั้น จะมีแจวยึดอยู่กับหลักแจวทางท้ายเรือ เวลาใช้งานจะต้องโยกแจวอันนี้ไปมาซ้ายขวาอย่างลำตัวปลาเวลาว่ายน้ำ กริยานี้เป็นอย่างที่รอยอินบอกว่าคือการ "โล้" นี่แหละครับ ภาษาจีนจะว่า 摇橹 จีนกลางอ่านว่า เหยาหลู่ กวางตุ้งว่า ยิ่วโหลว พวกฮกเกี้ยน-แต้จิ๋วออกเสียงคล้ายกันว่า เอี่ยวโล่ ฝรั่งเอาคำนี้ไปใช้ โดยเขียนว่า yuloh ครับ

ทั้งนี้คำว่า "เอี่ยว" นั้นแปลว่าโยก ส่วน "โล่" แปลว่าแจว(คำนาม) ครับ
 
เห็นได้ว่า คำว่า "โล้" มาจากว่า "เอี่ยวโล่" ซึ่งเป็นคำกริยาโดยตัดคำหน้าทิ้ง คำว่า โล่(นาม) ในภาษาจีน จึงกลายมาเป็น โล้(กริยา) ในภาษาไทยด้วยประการฉะนี้เองครับ


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 27 เม.ย. 11, 19:25
เรือสำปั้นนั้น จะมีแจวยึดอยู่กับหลักแจวทางท้ายเรือ เวลาใช้งานจะต้องโยกแจวอันนี้ไปมาซ้ายขวาอย่างลำตัวปลาเวลาว่ายน้ำ กริยานี้เป็นอย่างที่รอยอินบอกว่าคือการ "โล้" นี่แหละครับ ภาษาจีนจะว่า 摇橹 จีนกลางอ่านว่า เหยาหลู่ กวางตุ้งว่า ยิ่วโหลว พวกฮกเกี้ยน-แต้จิ๋วออกเสียงคล้ายกันว่า เอี่ยวโล่ ฝรั่งเอาคำนี้ไปใช้ โดยเขียนว่า yuloh ครับ


ลองหาภาพเคลื่อนไหวตามที่แนะนำมาได้ภาพการแข่งขันโล้เรือมาฝากครับ
http://www.youtube.com/watch?v=1atehAt5xAI


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 27 เม.ย. 11, 20:02
เรื่องสมเด็จพระนเรศวรตามจับพระยาจีนจันตุนี้ มีโคลงพระราชนิพนธิ์ของสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯบรรยายภาพไว้ว่า


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 27 เม.ย. 11, 20:09
^
^
ภาพที่๓ สมเด็จพระนเรศวรตามจับพระยาจีนจันตุ

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=4341.0;attach=18348;image)

รัชกาลที่ ๕ ทรงมีพระราชนิพนธ์บรรยายภาพนี้ไว้ว่า

พระยาจันจันตุข้า          ขอมขุน
มาสู่กรุงมุ่งบุญ             ปกเผ้า
ปิ่นภพกอบการุญ          รับปลูก เลี้ยงแฮ
ยกโทษโปรดเกษเกล้า    ห่อนพ้องจองไภย

กลับใจจักสู่เจ้า            ปถพี ตนแฮ
สืบทราบการธานี          ใหญ่น้อย
หวังสยายถ่ายทอดมี      มาแต่ หลังนา
สู่สเภาค่ำคล้อย           ลอบโล้ครรไลย

พระดนัยนเรศวร์แจ้ง      เหตุรหัศ
ทรงพระชลยานรัด        รีบร้น
พร้อมเรือนิกรขนัด       ขนาบไล่ สเภาแฮ
ทรงพระแสงปืนต้น       ลั่นต้องจีนตาย
 
ตัวนายกัมพุชจ้อง        วางปืน มานา
ต้องพระแสงทรงราง     ลั่นร้าว
รบพลางรีบหนีพลาง     เรือตก ลึกเฮย
ลมเกิดกางใบก้าว        ล่องลี้หายลำ
 
http://161.200.145.33/rarebook-ft/doc.asp?dirid=I0037&page=0028&dirname=โคลงภาพพระราชพงศาวดาร (http://161.200.145.33/rarebook-ft/doc.asp?dirid=I0037&page=0028&dirname=โคลงภาพพระราชพงศาวดาร)





กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 27 เม.ย. 11, 20:15
ทรงใช้คำว่า“โล้”
ซึ่งผมรู้สึกว่าคนไทยจะเรียกกิริยาที่คนจีนยืนใช้ไม้พาย ฉวัดเฉวียนน้ำให้เรือวิ่งไปข้างหน้าว่าโล้หมด ไม่ว่าจะใบพายจะอยู่ที่กราบเรือที่ควรเรียกว่าแจว หรืออยู่ท้ายเรือที่ควรเรียกว่าโล้ก็ตาม

ผมเอารูปเรือสำเภาจีน ที่ติดพายข้างกราบเรือมาให้ดู จะเห็นว่าใช้คนยืนแจวเป็นแถว ทั้งสองด้าน



กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 27 เม.ย. 11, 20:17
ส่วนอีกรูปหนึ่ง เป็นพายขนาดใหญ่ ใช้คัดท้ายแทนหางเสือ หรือหากจำเป็น อาจใช้สองสามคนช่วยกันโล้ ได้เหมือนกัน

เราไม่ทราบว่าเรือพระยาจีนจันตุใช้อะไรแน่ แต่ไม่ได้ใช้ไม้ถ่อไปยืนถ่ออยู่ท้ายเรือแน่ เพราะการทำเช่นนั้นไม่สามารถกระทำได้ขณะเรือวิ่ง การถ่อ จะใช้ไม้ปักไปข้างหน้าก่อน แล้วรอจนไม้ยกตัวขึ้น พอพ้นแนวตั้งฉากจึงจะออกแรง ถ่อให้เรือวิ่งไปข้างหน้าต่อเนื่อง ดังนั้น การถ่อจะต้องยืนถ่อที่กราบเรือเท่านั้น
เรือข้าวสมัยก่อนถึงกับทำกราบเรือให้กว้างพอที่คนถ่อเรือ จะเดินถ่อตั้งแต่หัวเรือมาจรดท้ายเรือ เมื่อสุดกราบแล้ว ก็เดินลากถ่อมาเริ่มต้นที่หัวเรือใหม่

ส่วนใหญ่การถ่อจะใช้เฉพาะเขตน้ำตื้น เช่นในคลอง ส่วนแม่น้ำนั้นลึกเกินด้ามถ่อ ใช้วิธีนี้ไม่ได้ ดังนั้น ข้อสันนิฐานที่ว่าเรือพระยาจีนจันตุอาจจะใช้การถ่อที่ท้ายเรือนั้น ตัดไปได้เลย


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 27 เม.ย. 11, 20:22
อ. NAVARAT.C ดูภาพเรือนี้ เร็วใช้นะครับ


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 27 เม.ย. 11, 20:23
ภาพนี้ สตรีก็โล้ได้


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 27 เม.ย. 11, 21:16
พวกเล่นเรือใบจะบัญญัติศัพท์ไว้ดังนี้นะครับ

ลมเบา คือลมที่มีความเร็ว 5 - 8 น๊อต หรือ 9-15 กม./ชม. ( 1 น๊อตเท่ากับ 1.85กม./ชม. )
ลมปานกลาง คือลมที่มีความเร็ว 8 - 12น๊อตหรือ15-22 กม./ชม.
ลมแรง คือลมที่มีความเร็ว 12น๊อต หรือ22กม./ชม.ขึ้นไป

ในภาพของคุณหนุ่มสยาม ลมแรงจนเกือบจะเป็นพายุแล้วนะครับ เรือใบจึงวิ่งฉิวไปเลย

ในฤดูหนาว ช่วงธันวาคมที่พระยาจีนจันตุหนี ลมตะวันออกเฉียงเหนือ มีความเร็วเฉลี่ย 15-30 กม./ชม (ข้อมูลจากกรมอุตุฯ)
แต่มิได้หมายความว่าความเร็วลมเท่าไหร่ เรือใบจะวิ่งได้เท่านั้นนะครับ จะต้องมาหักด้วยน้ำหนักเรือ พื้นที่ของใบเรือ รูปทรงของเรือ และที่สำคัญ การวิ่งเฉียงลม หรือทวนลมในบางครั้ง ทำให้ความเร็วเฉลี่ยของเรือ จะทำได้ประมาณครึ่งนึง

ผมเคยเขียนไว้ว่า ความเร็วเรือสำเภาของพระยาจีนจันตุน่าจะเฉลี่ยประมาณ๘น๊อต หรือประมาณ๑๕ กม./ชม. ก็เร็วพอสมควร ใช้ลมอย่างเดียวไม่ต้องโล้ก็ได้ แต่ในระยะสั้นแพ้เรือเร็วของสมเด็จพระนเรศวรแน่ไม่ต้องสงสัย

ดังนั้น เรือสำเภาจึงต้องออกล่วงหน้ามานาน จนเรือเร็วตามมาแค่เกือบจะทันกันแบบเห็นหลังไวไวเท่านั้น คงจะไม่ใช่ทันแบบประกบลำกันนะครับ ผมว่า เพราะถ้าประกบลำกันได้จริงๆ พระยาจีนจันตุเสร็จทหารของสมเด็จพระนเรศวรร้อยเปอร์เชนต์


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 27 เม.ย. 11, 21:51
เอาแผนที่แม่น้ำเจ้าพระยามาให้ดูครับ ความยาววัดรวมคุ้งน้ำต่างๆจากอยุธยามาปากน้ำประมาณราวๆ 120 กม.

ผมคิดว่าที่พระยาจีนจันตุเลือกออกเรือตอน๒ยาม ก็น่าจะเป็นช่วงที่น้ำกำลังจะขึ้นสูงสุดแล้ว และจะทรงอยู่สักช่วงหนึ่งก่อนที่จะเริ่มไหลลงสู่ทะเลใหม่ เรือจะได้วิ่งตามน้ำตามลมมาสบายๆ ถ้าความเร็วเรือเฉลี่ยประมาณ๘น๊อต หรือประมาณ๑๕ กม./ชม. ก็น่าจะออกปากอ่าวได้ในตอนสายๆ

เรือดั้งของพระนเรศวร โชคดีที่พายตามน้ำมาเหมือนกัน ถ้าจ้ำๆหน่อยก็เร็วมากแต่จะยืนระยะไม่อยู่ ถ้ามาแบบเร่งๆแต่ไม่รีบ(เอ๊ะ แปลว่าอะไร?) พอไม่ให้เหนื่อยจนขาดใจไปเสียก่อน ก็น่าจะมาได้ประมาณ ๓๐ กม./ชม. เพราะมีความเร็วของกระแสน้ำส่งให้ด้วย

เผลอๆ คงจะมายิงกันแถวบางกอกนี่แหละครับ ช่วงที่น่าลุ้นก็คือตอนเรือสำเภาเข้าคุ้งบางกระเจ้า ตรงนั้นแม่น้ำเจ้าพระยาโค้งเหมือนกระเพาะหมู เรือสำเภาใช้ใบต้องวิ่งสลับฟันปลาไปด้วยลำบากแน่ เหมาะที่เรือดั้งจะเข้ารุมกินโต๊ะ แต่พอพ้นไปแล้ว แถวพระประแดง แม่น้ำถึงไม่ตรงก็เกือบตรง เรือสำเภาก็วิ่งได้ฉิวแล้วละครับ

จะทรงวางปืนก็คงจะตอนนั้น ไม่ต้องต่อไปปากน้ำให้ทหารเหนื่อยตายคาเรือเสียเปล่าๆ


ผมลองเอาตัวเลขมาคำนวณตามข้อมูลที่ อ.NAVARAT.C เคยให้ไว้คือ ระยะทางแม่น้ำเจ้าพระยา - ปากอ่าว ยาวประมาณ 120 กม. และลองใช้ความเร็วตามที่เคยกล่าวกันไว้ จะเห็นว่าใช้ความเร็ว 8 ชั่วโมงในการหนี ซึ่งถือว่าเร็วมาก


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 28 เม.ย. 11, 09:06
ความคิดของผมนะ ผมว่า

พระยาจีนจันตุหนีออกมาจากกรุงศรีอยุธยาตอน 2 ยาม ลัดเลาะลงมาเรื่อยๆ ตามลำแม่น้ำโดยอาศัยความมืดเป็นกำบัง เพราะพระจันทร์ก็ยังไม่สว่างเต็มที (ขึ้น 4 ค่ำ)
แถมอาจจะมีหมอกลงตอนกลางคืนด้วยซ้ำไป (เป็นหน้าหนาว) บวกกับเป็นหน้าน้ำ (เดือนยี่) จึงอาจมีกระแสน้ำช่วยพาส่งให้เรือล่องได้เร็วขึ้น ล่องมาเรื่อยๆ
จนเกือบย่ำรุ่งแถวๆ เมืองนนท์ พวกชาวด่านเห็นเรือพระยาจีนจันตุถนัด จึงไล่จับกันไปตามทาง พายเทียบบ้าง จะปีนขึ้นเรือบ้าง ยิงปะทะกันบ้าง เรือพระยาจีนจันตุ
ก็รั้งรอช้าลงๆ ด้วยฝีมือชาวด่าน

ฝ่ายสมเด็จพระนเรศวรก็ไม่ทรงรุู้เรื่องจนกระทั่งพระยาจีนจันตุไปได้ไกลโข จึงทรงออกจากวังจันทน์เกษมดำเนินการไล่ล่าทันที ทรงลงเรือรบ เรือไล่ ของวังหน้า
(ยังไม่ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไม่มีสิทธิ์ใช้เรือพระที่นั่งทรงของสมเด็จพระมหาธรรมราชา) ใช้ความเร็วและความคล่องแคล่ว จ้ำพายติดตามจนทันเรือพระยาจีนจันตุ
ที่ถูกพวกชาวด่านรุมกินโต๊ะอยู่แถวๆ เมืองนนท์ ก็จึงเกิดยุทธนาวีอันลือเลื่องตามพระราชพงศาวดาร ไล่ยิงไล่ตามกันจนถึงเมืองธนบุรี แต่พระองค์ไม่สามารถหยุดเรือ
พระยาจีนจันตุได้ จึงต้องปล่อยให้พระยาจีนจันตุหลุดมือไป (แถวปากน้ำ หรือพระประแดง (เก่าหรือใหม่ ???)???)


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 28 เม.ย. 11, 09:37
^
บอกมาตรงๆเลยว่า โล้เรือ เป็นอย่างไร อย่าได้ลีลาทวนท่าอยู่ตลาดเมืองนนท์ ชะรอยติดใจแม่ค้าหรือของหวาน  ;D ;D


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 28 เม.ย. 11, 10:15
^
บอกมาตรงๆเลยว่า โล้เรือ เป็นอย่างไร อย่าได้ลีลาทวนท่าอยู่ตลาดเมืองนนท์ ชะรอยติดใจแม่ค้าหรือของหวาน  ;D ;D

อันนี้เกินกำลัง สู้จีบแม่ค้าตาคมขายขนมหวานตลาดเมืองนนท์ดีกว่า

กินขนมไป จีบแม่ค้าไป สังเกตการณ์ไป ;D


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 28 เม.ย. 11, 11:11
อ้างถึง
ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาไม่ได้บอกว่า
กองเรือที่สมเด็จพระนเรศวรเสด็จไปตามตีเรือพระยาจีนจันตุ
เริ่มต้นทางที่ไหนแน่ กรุงศรีอยุธยา หรือเป็นตำบลที่อยู่ล่างลงมา
กองเรือที่ตามเรือพระยาจีนจันตุในช่วงแรก
อาจจะเป็นเรือชาวด่านที่รักษาด่านด่านตามลำน้ำเจ้าพระยา
(เช่นแถวตลาดขวัญ บางกอก พระประแดง ฯลฯ)
ที่ไล่ตีเรือพระยาจีนจันตุทำให้เรือพระยาจีนจันตุเดินทางได้ไม่เร็ว
ทำให้กองเรือ(เรือเร็ว)สมเด็จพระนเรศวรตามทันก็ได้
ทั้งนี้ สมเด็จพระนเรศวรอาจจะไม่ได้เสด็จลงเรือ
มาตั้งแต่กรุงศรี แต่อาจจะทรงม้ามาเสด็จลงเรือแถบตำบลล่างๆ
ก็ได้กระมัง เพราะถ้าเส้นทางแม่น้ำคดอ้อมขนาดนั้น
กว่าจะพายเรือเร็วมาทันกัน ดูจะยากนัก

อันนี้คิดเล่นๆ นะ อย่าถือเป็นจริงเป็นจัง

ผมก็คิดเล่นๆต่อว่า ด่านที่รักษาแม่น้ำเจ้าพระยาสมัยอยุธยาจะมีไหมน๊อ ถ้ามี จะมีอยู่แห่งหนตำบลใด
หลักฐานทางประวัติศาสตร์เราก็ไม่มีให้ค้นกันง่ายๆเลย นอกจากคำว่า “ขนอน” ซึ่งแปลว่า ด่านภาษี และเรามีวัดขนอนอยู่มากมายหลายจังหวัด อาจตั้งอยู่ในตำบลต่างๆที่รัฐตั้งด่านเก็บภาษี

ผมไล่ลำน้ำเจ้าพระยามา ติดใจตรงที่ตั้งของ “ขนอนหลวง” อยู่ริมแม่น้ำพอดี น่าจะ “ใช่เลย” เป็นด่านภาษีแน่ๆ และธรรมเนียมของด่าน ก็ต้องมีกองกำลังด้วย พระยาจีนจันตุจะผ่านไปง่ายๆได้รึ
แต่ทว่า ขนอนหลวงนี้ อยู่ใกล้กรุงศรีอยุธยาเพียงพายเรืออึดใจเดียว ถ้าพระยาจีนจันตุหลุดตรงนี้ได้ ก็คงจะหลุดยาวไปถึงปากน้ำเลย ไม่มีขนอนที่ไหนอีก (วัดขนอนเหนือและวัดขนอนใต้ที่นนทบุรี ไม่อยู่ติดแม่น้ำ อาจเป็นด่านสำหรับเส้นทางทางบก ที่ตลาดขวัญไม่มีขนอน มีแต่แม่ค้ากับคนไปจีบแม่ค้า ;D)

คิดต่อว่า แล้วพระยาจีนจันตุหลุดด่านนี้ไปได้อย่างไร
ก็มีทางเดียวที่จะเดา
เรื่องค่าน้ำร้อนน้ำชาระหว่างพ่อค้าจีนกับชาวด่านเป็นของคู่กันมาช้านาน แบบไม่ต้องเหนียมแม้น้อย ถ้าก่อนออกเรือ จะโล้เรือมาคุยซะแต่หัววัน ขออำนวยความสะดวกที่จะผ่านด่านตอนน้ำขึ้นรอบดึก ถ้ามีการ “จัดให้” หนักหน่อยสมน้ำสมเนื้อ บางที เรือสำเภาตอนผ่านด่านอาจจะแค่ยกมือบ๋ายบายกัน ไม่ต้องเทียบท่าก็ได้

อันนี้ก็คิดเล่นๆเหมือนกันนะ ใครอย่าถือเป็นจริงเป็นจังไปเชียว


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 28 เม.ย. 11, 11:15
ภาพพระราชพงศาวดารประกอบโคลงชุดนี้ ทรงโปรดให้สร้างไว้ทั้งหมด ๙๑ภาพ  สำนักพระราชวัง ติดประดับที่พระที่นั่งวโรพิมาน พระราชวังบางปะอิน ๒๓ ภาพ เก็บรักษาไว้ ๒๔ ภาพ กรมศิลปากรได้รับพระราชทานมาซ่อม และแสดงที่หอศิลป์และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ๑๗ ภาพ รวมกันแล้วเพียง ๔๑ ภาพ ที่เหลืออยู่แห่งใด ในหนังสือมิได้แจงไว้
ส่วนโคลงที่ประกอบภาพทั้งหมดมีอยู่ครบ บางบทแม้ไม่มีภาพจริง ผมก็คิดว่าน่าจะดูภาพจิตรกรรมฝาผนังที่วัดสุวรรณดารารามประกอบได้ เพราะเขียนขึ้นร่วมสมัยและน่าจะมีอิทธิพลต่อกันบ้างพอสมควร

โคลงเรื่อง สมเด็จพระนเรศวรปีนค่ายพระเจ้าหงสาวดี


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 28 เม.ย. 11, 11:18
เรื่องนี้มีอยู่ว่า หลังจากที่พระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงยกทัพกลับจากไปปราบกบฏเมืองอังวะสำเร็จ ก็ยกทัพใหญ่มีพลห้าแสนนาย ช้างสามพันเชือกม้าหมื่นตัว เข้าทางด่านแม่ละเมา เพื่อจะมาเชคบิลกับอยุธามั่ง  ถึงแล้วก็ตั้งค่ายล้อมเอาไว้ที่สีกุก ที่กุ่มดอง(บ้านกุ่ม) ที่วัดสังฆาวาสแต่ตั้งทัพหลวงตั้งไกลหน่อย ที่บางประหัน

ค่ายของพระมหาอุปราชา อยู่ที่กุ่มดอง เพราะฉนั้นค่ายของพวกกองหน้าก็น่าจะอยู่แถวทุ่งลุมพลี ซึ่งอยู่ไม่ห่างจากพระราชวังจันทรเกษมเท่าไรนัก สมเด็จพระนเรศวรจึงจัดกองทหารม้าเพียงร้อยกว่าคนยกออกไปปล้นค่าย และเกิดเหตุการณ์ที่ทรงคาบดาบนำทหารปีนค่าย จนถูกแทงตกลงมาหลายหน ก่อนจะเสด็จยกทหารกลับเข้าพระนครศรีอยุธยาไป


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 28 เม.ย. 11, 11:24

เรื่องนี้ พระราชพงศาวดารของพม่าเขียนไว้สั้นๆ ข้อความไม่ตรงกับของเราว่า

๏ศักราช ๙๔๘ จอศก (พ.ศ.๒๑๒๙) ณ วัน ๒ฯ๘๑๒ ค่ำ (ตรงกับวันจันทร์ที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๑๒๙)พระเจ้าหงษางาจีสะยาง(พระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรง) ยกพลลงมาถึงกรุงพระนคร ณ วัน ๕ ๒ฯ๒ ค่ำ (วันพฤหัสบดีที่ ๑๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๑๒๙) แลพระเจ้าหงษาเข้าล้อมพระนคร แลตั้งทัพตำบล ขนอนปากคู (ด่านภาษีที่เข้าออกทางแม่น้ำน้อย) แลทัพมหาอุปราชตั้งขนองบางตนาวแลทัพทั้งปวงนั้นก็ตั้งรายกันไปล้อมพระนครอยู่ แลครั้งนั้นได้รบพุ่งกันเป็นสามารถ แลพระเจ้าหงษาเลิกทัพคืนไป ฯl๛

ในพระราชพงศาวดารของไทยระบุว่า

" “ฝ่ายพระเจ้าหงสาวดีเสด็จถึงพระนครแล้ว ก็ทรงพระดำริแต่ที่จะเอากรุงพระนครศรีอยุธยาให้ได้ ก็ให้จัดทแกล้วทหารบำรุงช้างม้ารี้พลเครื่องสรรพศัสตราวุธเสบียงอาหาร กระสุนดินประสิวไว้พร้อมเสร็จ และเมื่อพระ เจ้าหงสาวดีให้เตรียมทัพครั้งนั้น พลห้าสิบหมื่น ช้างเครื่องสามพัน ม้าหมื่นหนึ่ง ให้พระมหาอุปราชา พระเจ้าแปร พระเจ้าเชียงใหม่เข้ากระบวนทัพด้วย

ครั้น ณ วันอาทิตย์ ขึ้น ๑ ค่ำ เดือนอ้าย ศักราช ๙๓๒ ปีมะเมีย โทศก(พ.ศ.๒๑๑๓)เพลาอุษาโยค สมเด็จพระเจ้าหงสาวดีก็ทรงเครื่องพิชัยยุทธนาลังการาภรณวิภูสิตพิพิธโภคมหิมา ดูโมฬาราดิเรกสำหรับชัตติยราชรามัญประเทศไทยพิชัยยุทธสงครามเสร็จ ครั้นได้เพลามหามหุติฤกษ์มังคลาโหราธิบดีลั่นฆ้องชัย ชีพ่อพราหมณ์ถวายเสียงสังข์ประนังศัพทฆ้องกลองกาหลสนั่นนฤนาท เสร็จทรงช้างต้นพลายชัยมงคลเป็นราชพาหนะ ประดับเครื่องคชาภรณ์อลังการ เคลื่อนพยุหโยธาหาญโดยกระบวนซ้ายขวาหน้าหลัง พลดาบดั้งโตมรสลอนพลเสโลทวนทองระยาบ พลดาบเขนเป็นขนัดริ้วรายดูสุดสายตาไสวเถือกธงชัยธงฉานวาลวิชนีกลิ้งกลดบดบังแสงทินกร ไพโรจน์โชตนาการพันลึก อธึกดูพร้อมพรั่งดาษดารอนแรมมาโดยสถลมารค ข้ามแม่น้ำเมาะตะมะ เข้าทางเมืองกำแพงเพชร เสด็จถึงกรุงพระนครศรีอยุธยา ณ วันอังคาร แรม ๑๔ ค่ำ เดือนอ้าย สมเด็จพระเจ้าหงสาวดีตั้งค่ายหลวงตำบลบางประหัน พระมหาอุปราชาตั้งค่ายกุ่มดอง พระเจ้าแปรตั้งค่ายสีกุก พระเจ้าเชียงใหม่ตั้งค่ายตำบลวัดสังฆาวาส

สมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้า ตรัสทราบว่าทัพพระเจ้าหงสาวดียกมา ก็ทรงม้าทวนกับทหารสามกองๆ หนึ่งยี่สิบสองคน กองหนึ่งสี่สิบสองคน กองหนึ่งเจ็ดสิบสองคน ขี่ม้าถือทวนครบมือยกออกไปกองหน้าข้าศึกออกมารบทหารกรุงเทพมหานครตีแตกฉานเข้าไป สมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้าทรงคาบพระแสงดาบกับทหารปีนค่ายขึ้นไปข้าศึกในค่ายเอาทวนแทงพลัดตกลงมาเป็นหลายครั้ง ขึ้นมิได้ ทรงม้าพระที่นั่งกลับเข้าพระนคร ข้าศึกเอาการซึ่งได้รบพุ่งไปกราบทูลสมเด็จพระเจ้าหงสาวดีๆ ตรัสถามเสนาบดีว่าพระนเรศวรออกมาทำเป็นอย่างทหารดังนี้ เหมือนหนึ่งเอาพิมเสนมาแลกเกลือ พระราชบิดานั้นจะรู้หรือหาไม่ เสนาบดีกราบทูลว่า เห็นพระราชบิดาจะไม่รู้ ถ้ารู้แล้วเห็นจะมิให้ออกมาทำ

ด้านล่างเป็นฉากหนึ่งในหนังของท่านมุ้ย ทรงสร้างค่ายไว้เสียสูงลิบ สมเด็จพระนเรศวรคงไม่สามารถปีนขึ้นไปแล้วถูกแทงตกลงมาเป็นหลายครั้งแน่ 


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 28 เม.ย. 11, 11:33
^
ผมสงสัยเกี่ยวกับการพาดบันไดขึ้นไปยังป้อมค่าย ผมคิดว่าถ้าปลายบันได ไม่มีขอไว้เกี่ยวกับค่าย คนด้านบนก็คงผลักบันไดออกจากตัวค่ายโดยง่าย น่าจะมีเหล็กขอสำหรับไว้เกี่ยวรั้งไว้นะครับ


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 28 เม.ย. 11, 13:55
อนึ่งกรุงศรีอยุธยามีด่านขนอนคอยเหตุการณ์ต่างๆ
ตั้งอยู่ตามลำแม่น้ำรอบกรุงทั้ง ๔ ทิศ  ซึ่งเปน
ทางแม่น้ำใหญ่จะเข้ามาในพระนครนั้น
ทิศตวันออกตั้งด่านที่ตำบลบ้านเข้าม่านด่าน ๑
ทิศใต้ตั้งด่านที่ตำบลบ้านบาง.......(เอกสารขาด)ด่าน ๑
ทิศตวันตกตั้งด่านที่ตำบลบ้านปากคูด่าน ๑
ทิศเหนือตั้งด่านที่ตำบลบ้าน..........(เอกสารขาด)ด่าน ๑
รวมเปนด่าน ๔  ตำบล เรียกท่าขนอนหลวง ๔ ทิศรอบกรุง
มีขุนด่านหมื่นขนอนและไพร่หลวงรักษาด่าน
นาย ๒  ไพร่ ๒....... (เอกสารขาด) ในเดือนหนึ่งผลัดเปลี่ยนเวียน
เวรละ  ๑๕  วัน   สำหรับตรวจตราของต้องห้ามตามกฎหมาย
และเครื่องศาสตราวุธที่แปลกประหลาด  แลผู้คนที่แปลก
............(เอกสารขาด)ออก  ต้องทักท้วงไต่ถามตามเหตุการณ์
ที่ด่านทั้ง ๔  ตำบลนั้น  มี.........(เอกสารขาด)ไว้สำหรับคอย
บอกเหตุการณ์มาในกรุง

คัดลอกตามต้นฉบับ


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 28 เม.ย. 11, 14:28
การที่พระยาจีนจันตุล่องสำเภาลงมาโดยไม่มีพวกด่านจับได้นั้น
สันนิษฐานได้หลายประการ

๑.พระยาจีนจันตุอาศัยอยู่นอกด่านขนอนลงมาทางใต้
ทำให้กว่าชาวด่านจะรู้ว่าพระยาจีนจันตุล่องสำเภาหนีลงมาแล้ว
พระยาจีนจันตุก็เดินทางล่วงมาหลายได้เส้น
และลำพังชาวด่านที่เข้าเดือนเวียนเวรกัน ๑๕ วัน
มีนาย ๒ ไพร่เข้าเวร ๑๕ คน  กับเรือเล็กและอาวุธเบาที่ไม่ร้ายแรง
ย่อมไม่สามารถหยุดยั้งเรือพระยาจีนจันตุได้

๒.ในพระราชพงศาวดารบอกว่า
...สมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้าก็เสด็จยกทัพเรือตามพระยาจีนจันตุ
ลงไปในเพลากลางคืนนั้น แล้วตรัสให้ เรือประตู เรือกัน และเรือท้าวพระยาทั้งหลาย
เข้าล้อมสาเภาพระยาจีนจันตุ และได้รบพุ่งกันป็นสามารถ
พระยาจีนจันตุก็ให้โล้สำเภาไปกลางน้ำ...

แสดงว่า  พระยาจีนจันตุไม่ได้ล่องสำเภามากลางแม่น้ำ
แต่ล่องเลาะริมตลิ่งมาตลอดทาง   ทำไมพระยาจีนจันตุถึงทำอย่างนั้น
สันนิษฐานว่า   ถ้าล่องสำเภามากลางน้ำ ย่อมเป็นสังเกตได้ง่าย
เพราะปกติสำเภาพ่อค้าคงจะไม่ได้ล่องขึ้นลงในเวลากลางคืน
ฉะนั้นจึงล่องสำเภามาใกล้ตลิ่ง  ซึ่งก็เสี่ยงที่ชนตลิ่งอยู่ไม่น้อย
และยิ่งแม่น้ำเจ้าพระยาที่ที่คดที่โค้งหลายแห่ง   การล่องมาเวลากลางคืน
ที่พระจันทร์ไม่สว่าง  (ขึ้น  ๔ ค่ำ ) โอกาสที่จะไปชนตลิ่งย่อมมีมาก
ซึ่งแม้ในฤดูกาลจะมีลม  แต่คิดว่าพระยาจีนจันตุคงจะไม่ได้ใช้ใบ
เพราะการล่องสำเภาใกล้ตลิ่งโดยใช้ใบก็ยิ่งจะทำให้ชนตลิ่งง่ายเข้าไปอีก

ฉะนั้นวิธีการดีที่สุดคือ โล้  (จะโล้อย่างไรเชิญเลือกเอาตามใจชอบ)
หรือถ่อสำเภาให้แล่นเลียบตลิ่งไป  ยิ่งในคืนเดือนไม่สว่างเช่นนี้
คงไม่เป็นที่สังเกตได้ง่ายนั้น   เพราะริมฝั่งส่วนใหญ่ก็เป็นที่รกมากแห่ง
อีกทั้งสำเภาพ่อค้าที่มีอยู่รายทางลำน้ำก็คงพอมีบ้าง


แต่เมื่อเรือสมเด็จพระนเรศวรตามมาทัน  การจะโล้สำเภาเลียบฝั่ง
ย่อมไม่ปลอดภัยหนีไม่ทันแน่  พระยาจีนจันตุจึงให้โล้สำเภา
ออกไปกลางแม่น้ำ   เข้าใจว่า  ตอนนี้คงจะใช้ใบและให้กระแสน้ำ
ช่วยเดินเรือให้เร็วขึ้น  (คิดว่าตอนนั้น น้ำคงกำลังลง)
เมื่อเป็นเช่นนี้  สำเภาพระยาจีนจันตุก็แล่นได้เร็ว  และคงจะทิ้งระยะ
กับกองเรือสมเด็จพระนเรศวร   พระองค์จึงให้เรือเล็กไปล้อมสำเภา
แต่ก็แปลกใจว่า  ก็ในเมื่อล้อมสำเภาได้แต่ทำไมขึ้นสำเภาไม่ได้เลย
ทั้งที่กำลังคนและความเร็วกับความคล่องว่องไวของเรือเล็กน่าดีกว่าสำเภา


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 28 เม.ย. 11, 15:17
^
ผมสงสัยเกี่ยวกับการพาดบันไดขึ้นไปยังป้อมค่าย ผมคิดว่าถ้าปลายบันได ไม่มีขอไว้เกี่ยวกับค่าย คนด้านบนก็คงผลักบันไดออกจากตัวค่ายโดยง่าย น่าจะมีเหล็กขอสำหรับไว้เกี่ยวรั้งไว้นะครับ

ผมว่าถึงมีตะขอเกี่ยวไว้กับเสาระเนียดค่าย ข้าศึกก็คงหาหนทางผลักออกมาได้กระมั้งคุณไซมีส
ทหารพม่าคงไม่อยากให้ทหารไทยปีนขึ้นค่ายได้หรอก


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 28 เม.ย. 11, 15:28
^
ผมสงสัยเกี่ยวกับการพาดบันไดขึ้นไปยังป้อมค่าย ผมคิดว่าถ้าปลายบันได ไม่มีขอไว้เกี่ยวกับค่าย คนด้านบนก็คงผลักบันไดออกจากตัวค่ายโดยง่าย น่าจะมีเหล็กขอสำหรับไว้เกี่ยวรั้งไว้นะครับ

ผมว่าถึงมีตะขอเกี่ยวไว้กับเสาระเนียดค่าย ข้าศึกก็คงหาหนทางผลักออกมาได้กระมั้งคุณไซมีส
ทหารพม่าคงไม่อยากให้ทหารไทยปีนขึ้นค่ายได้หรอก

อันนี้ไม่เถียงว่าเขาต้องหาทางยกออก แต่เราก็ประวิงเวลาได้ ไม่ใช่พาดไป เขาก็ผลักออก นี่การรบนะ ไม่ใช่เล่นกายกรรม คือการที่คิดว่ามีตะขอสับไว้ เมื่อมีการปีน น้ำหนักของตัวเราจะเพิ่มน้ำหนักให้กับบันได หากทหารข้าศึกจะผลักบันไดออกก็ต้องยกบันไดออกเพราะติดตะขอที่เกี่ยวไว้ ทำได้รื้อบันไดยากกว่า แถมยังด้านล้างมีคนหน่วงไว้ หรืออีกทางหนึ่งจัดดาบฟันไปที่บันไดให้หักลงเสียเลย

หากมีตัวช่วยเช่น ทรายร้อน น้ำร้อน น้ำมันดิน ราดลงไปก็ช่วยพ้นภาระคนปีนขึ้นบันไดได้นะขอรับ


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 28 เม.ย. 11, 15:30
^
ผมสงสัยเกี่ยวกับการพาดบันไดขึ้นไปยังป้อมค่าย ผมคิดว่าถ้าปลายบันได ไม่มีขอไว้เกี่ยวกับค่าย คนด้านบนก็คงผลักบันไดออกจากตัวค่ายโดยง่าย น่าจะมีเหล็กขอสำหรับไว้เกี่ยวรั้งไว้นะครับ

ผมว่าถึงมีตะขอเกี่ยวไว้กับเสาระเนียดค่าย ข้าศึกก็คงหาหนทางผลักออกมาได้กระมั้งคุณไซมีส
ทหารพม่าคงไม่อยากให้ทหารไทยปีนขึ้นค่ายได้หรอก

อ๋อ  เขาเตรียมคั่วทรายรอไว้แล้ว  มาถึงก็เทลงไป
บางทีก็ทิ้งหม้อดินระเบิด ตูมเดียววิ่งกันกระจาย

ก่อนที่จะเอาบันไดไปพาดเสาระเนียดค่ายได้  
คงต้องมีออเดิฟนำทางก่อน  เช่น  ปืนใหญ่
ธนูไฟ เป็นต้น

เพื่อให้ในค่ายอลเวง  ละทิ้งเชิงเทินค่ายไปดับไฟ
จากนั้นค่อยประชิดกำแพงค่าย

หรือไม่อย่างนั้น  ให้ข้าศึกเผลอ  ก็ลอบเข้าใกล้ค่าย
สบจังหวะก็ปีนเข้าปล้นค่ายให้ข้าศึกตั้งรับไม่ทัน


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 28 เม.ย. 11, 15:36
มันมีบันไดทำด้วยไม้ อยู่ชนิดหนึ่ง เรียกว่า belfry  ฝรั่งใช้มาตั้งแต่ยุคกลางสำหรับปีนกำแพงปราสาทฝ่ายข้าศึก   เป็นบันไดแบบ ladder  (คือบันไดที่ช่างทาสีใช้กัน)
แต่เบลฟรายต่างจาก ladder ตรงที่ไม่ใช้พิงกำแพง หรือเป็นขาหยั่ง  แต่มีฐานตั้งบนพื้น  ด้านข้างเป็นไม้กระดานตั้งฉาก  และมีบันไดพาดข้างในอีกที    เมื่อปีนขึ้นไป ข้าศึกบนเชิงเทินผลักยังไงก็ไม่ล้ม  เพราะบันไดชนิดนี้ยันพื้นอยู่แล้ว
นอกจากนี้ belfry แบบปิด  จะมีไม้กระดานปิดข้างอีกด้าน   คนปีนอยู่ข้างใน    ปีนขึ้นไปถึงเชิงเทินได้    ข้าศึกยิงไม่ถนัด    จึงเรียกอีกอย่างว่า ป้อมเคลื่อนที่
เมื่อเลิกรบกันแล้ว   ป้อมเคลื่อนที่ก็เปลี่ยนเป็นป้อมประจำที่    ความหมายของ belfry ก็กลายไปเป็นอย่างที่เราเห็นกันในปัจจุบัน

ไม่ได้ยืนยันว่าสมเด็จพระนเรศวรทรงใช้ belfry เพราะไม่มีหลักฐานให้เห็น      แต่ถ้าถามความเป็นไปได้   โปรตุเกสเข้ามาในเอเชียอาคเนย์แล้ว จนไทยและพม่ามีปืนไฟใช้    ถ้าพวกนี้จะออกไอเดียสร้าง belfry ขายให้กองทัพอยุธยาบ้าง  ก็หาวัตถุดิบไม่ยาก    ไม้ในป่ามีเหลือเฟือ     เขียนแบบให้กองทัพอยุธยาดู แล้วให้ไปหาไม้มาทำ  ก็สามารถทำได้ตอนล้อมเมืองอยู่น่ะแหละ  ไม่ต้องแบกไปจากกรุงศรีอยุธยา

ภาพตัวอย่าง belfry ที่เจอในกูเกิ้ล เล็กนิดเดียว  คงพอมองเห็นหน้าตานะคะ


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 28 เม.ย. 11, 15:41
บันไดปีนค่ายของอาจารย์เทาก็ไม่เลวนัก นึกถึงพวกยุคกลางทำสงครามกัน แบบฝรั่งเศสตีเมืองอังกฤษอะไรทำนองนี้

ผมคิดเล่นๆ ว่า หากสมเด็จพระนเรศวรทรงปีนค่ายพม่าสูงๆ จนถูกแทงพลัดตกลงมา น่าจะทรง "ยอก" บ้างกระมัง
คงไม่ทรงพลัดลงมาแล้วรีบปีนขึ้นไปใหม่หรอกนะครับ อย่างนั้นหลายๆ หนน่าจะเหนื่อยอยู่มาก


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 28 เม.ย. 11, 15:47
บันไดปีนค่ายของอาจารย์เทาก็ไม่เลวนัก นึกถึงพวกยุคกลางทำสงครามกัน แบบฝรั่งเศสตีเมืองอังกฤษอะไรทำนองนี้

ผมคิดเล่นๆ ว่า หากสมเด็จพระนเรศวรทรงปีนค่ายพม่าสูงๆ จนถูกแทงพลัดตกลงมา น่าจะทรง "ยอก" บ้างกระมัง
คงไม่ทรงพลัดลงมาแล้วรีบปีนขึ้นไปใหม่หรอกนะครับ อย่างนั้นหลายๆ หนน่าจะเหนื่อยอยู่มาก
ความอดทนของคนสมัยก่อนน่าจะมากกว่าคนสมัยเราหลายสิบเท่า    อย่างการยกทัพไปตีข้ามประเทศ เดินกันไปวันแล้ววันเล่า  ยาวนานเป็นเดือนเป็นปี   ก็ยังมีแรงตะลุมบอนกันได้ทันที  เมื่อเจอหน้าข้าศึก   
อย่างพวกเราสมัยนี้   ไปฝึกร.ด. เดินกันไม่ได้หยุดตั้งแต่เช้ายันเย็น วันเดียวสองวัน ก็เหนื่อยแล้วค่ะ


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 28 เม.ย. 11, 15:51
คิดอย่างนี้ไหมว่า  ขณะที่สมเด็จพระนเรศวรทรงปีนบันไดขึ้นไป
ทหารข้างล่างอาจจะยิงธนูหน้าไม้ใส่ฝ่ายข้าศึกที่อยู่บนเชิงเทิน
ทำให้ทรงปีนขึ้นได้ง่ายขึ้น    ปกติแล้ว  กองทัพที่ไป
ย่อมไม่ได้ไปแต่พลทหารประเภทเดียว  แต่ผสมไปกันหลายหน่วย
เพื่อสนับสนุนแผนการโจมตีซึ่งกันและกัน


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 28 เม.ย. 11, 15:57
ภาพตัวอย่าง belfry ที่เจอในกูเกิ้ล เล็กนิดเดียว  คงพอมองเห็นหน้าตานะคะ

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=4341.0;attach=19000;image)

ใหญ่ขนาดนี้พอไหวไหม

(https://lh3.googleusercontent.com/-8DammWBqTKo/TXCiCcQ1qbI/AAAAAAAAKTc/QiWaGc0-Xoo/s640/372px-Assaut.courtine.avec.beffroi.png)

(https://lh3.googleusercontent.com/-S43FdNWk_R4/TXCiCycbnnI/AAAAAAAAKTg/4Z3TXvhDbY8/s640/389px-Beffroi.d.assaut.png)

(https://lh4.googleusercontent.com/-yTV1NC_Scvk/TXCiDSAuO-I/AAAAAAAAKTk/pguzRqEi7Zc/s640/459px-Grose-Francis-Pavisors-and-Moveable-Tower-Assaulting-Castle-1812.jpg)

ภาพจาก  http://machinesforwar.blogspot.com/2011/03/siege-tower-or-belfry-siege-engine-to.html

 ;D


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 28 เม.ย. 11, 16:06
^  ถ้าใหญ่อย่างนี้  กองทัพสมเด็จพระนเรศวรจะขนไปใช้ไหวหรือ
การเดินทัพของเราสมัยก่อน บุกป่าฝ่าดง ข้ามแม่น้ำ ข้ามภูเขา
ลำพังเอาชีวิตให้รอดก็ยากจะแย่แล้ว  ขึ้นต้องเข็นยุทโธปกรณ์ใหญ่ๆ
ไพร่พลไม่หนีทัพกันหมดหรือ    ???


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 28 เม.ย. 11, 16:12
เป็นเครื่องมือการรบที่น่าสนใจ แต่อย่างน้อยเราน่าจะเห็นการวาดภาพจิตรกรรมฝาผนังบ้าง หรือ งานลายรดน้ำ บ้างเช่น เรายังเห็นรูปปืนไฟ ปืนใหญ่ ทหารฝรั่ง เป็นต้น


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 28 เม.ย. 11, 16:14
^  ถ้าใหญ่อย่างนี้  กองทัพสมเด็จพระนเรศวรจะขนไปใช้ไหวหรือ
การเดินทัพของเราสมัยก่อน บุกป่าฝ่าดง ข้ามแม่น้ำ ข้ามภูเขา
ลำพังเอาชีวิตให้รอดก็ยากจะแย่แล้ว  ขึ้นต้องเข็นยุทโธปกรณ์ใหญ่ๆ
ไพร่พลไม่หนีทัพกันหมดหรือ    ???


คุณหลวงเล็กต้องกลับไปอ่านชาติพันธุ์วรรณาในขุนช้างขุนแผน  ส่วนที่คุณ NAVARAT เขียนอธิบายไว้ชัดเจนเรื่องค่าย     การทำค่ายซึ่งใช้ไม้จำนวนมาก   เขาก็ตัดไม้ในป่าได้ ไม่ต้องขนไม้ไปจากอยุธยา   เอาไปแต่อาวุธหนัก  เพราะผลิตในป่าไม่ได้  ;D
ถ้ากองทัพอยุธยาจะใช้ belfry จริงๆ   ไม่จำเป็นต้อง copy มาทุกกระเบียดนิ้ว  ดัดแปลงเอาแต่โครงสร้างได้    ในกรณีที่มีการใช้บันไดแบบอื่น    ที่ปลอดภัยว่าพาดขึ้นไปดื้อๆ      ไหนจะถูกศัตรูคั่วกรวดทรายเทลงมา   ยิงธนูเป็นห่าฝนลงมา   แถมถ้าทางอยุธยายิงธนูสวนขึ้นไปอีก  คนปีนบันไดอาจมีสิทธิ์ถูกลูกหลงทั้งสองทาง


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 28 เม.ย. 11, 16:30
ถ้าบันไดแบบ อ.เทาชมพู เสนอขึ้นมา ผมก็ต้องนึกถึงอุปกรณ์การรบแบบยุโรปที่ใช้ควบกัน คือ เครื่องยิงลูกกระสุน ใช้ระบบคานเหวี่ยง อาจจะใช้เหวี่ยงหม้อดินระเบิดเข้าไป หรือ น้ำมันเพลิงไปเผารั้ว เผาป้อมประตูค่ายก็ได้ เพราะการตั้งค่ายแถบนี้ไม่ได้สร้างด้วยป้อมปราการศิลา เป็นไม้ล้วนๆ ไม้ย่อมแพ้ไฟ


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 28 เม.ย. 11, 16:31

คุณหลวงเล็กต้องกลับไปอ่านชาติพันธุ์วรรณาในขุนช้างขุนแผน  ส่วนที่คุณ NAVARAT เขียนอธิบายไว้ชัดเจนเรื่องค่าย     การทำค่ายซึ่งใช้ไม้จำนวนมาก   เขาก็ตัดไม้ในป่าได้ ไม่ต้องขนไม้ไปจากอยุธยา   เอาไปแต่อาวุธหนัก  เพราะผลิตในป่าไม่ได้  ;D
ถ้ากองทัพอยุธยาจะใช้ belfry จริงๆ   ไม่จำเป็นต้อง copy มาทุกกระเบียดนิ้ว  ดัดแปลงเอาแต่โครงสร้างได้    ในกรณีที่มีการใช้บันไดแบบอื่น    ที่ปลอดภัยว่าพาดขึ้นไปดื้อๆ      ไหนจะถูกศัตรูคั่วกรวดทรายเทลงมา   ยิงธนูเป็นห่าฝนลงมา   แถมถ้าทางอยุธยายิงธนูสวนขึ้นไปอีก  คนปีนบันไดอาจมีสิทธิ์ถูกลูกหลงทั้งสองทาง


แต่ต้องไม่ลืมว่า เราไม่ได้ตั้งค่ายกันในระยะประชิดค่ายข้าศึก  
การที่ขนบันไดไม้ดังกล่าวเข้าไปใกล้ค่าย  โดยที่ข้าศึกไม่ทำอะไรเลยคงยาก

การตั้งค่ายรบใช้ไม้มากก็จริง  แต่ไม้เหล่านั้นนำมาใช้โดยไม่มีพิธีรีตองมาก
อย่างที่คุณไซมีสว่า  ก็ถ้ามีของเช่นนี้ใช้ในสยามมาก่อน  ทำไมไม่มีการกล่าวถึง
หรือภาพวาดในจิตรกรรมฝาผนังให้เราเห็นบ้าง
การรบของคนไทยสมัยก่อน ถ้าเป็นการโจมตีค่ายเวลาค่ำอย่างนี้
ต้องเงียบ  และเคลื่อนที่รวดเร็ว  ให้ข้าศึกรู้ตัวช้าที่สุด

พลธนูหน้าไม้  เขายิงใส่ข้าศึก  โดยยืนหรือนั่งเล็งห่างออกไปจากกำแพง
ไม่ใช่ไปยืนยิงที่ตีนบันได  ชุลมุนขนาดนั้น  อย่าว่าจะยิงโดนฝ่ายตัวเองเลย
จะเล็งยังยาก     อาวุธพวกหน้าไม้  ธนู  ไม่ใช่อาวุธที่ใช้สู้ในที่ประชิดตัว
ต้องใช้ในระยะห่างจากข้าศึกพอสมควร

ถ้าเป็นเหตุการณ์การรบจริง   ผมคิดว่าพวกพลธนูฝ่ายข้าศึกคงไม่มาอออยู่บนเชิงเทิน
เพราะกว่าจะเล็งกว่าจะยิงกินเวลา   ถึงยิงได้คนหนึ่ง
แต่คนที่ต่อหลังขึ้นบันไดมาก็คงฟันหรือแทงไปแล้ว  


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 28 เม.ย. 11, 16:39
จิตรกรรมฝาผนังวัดเขียน แต่เป็นบรรยากาศหลังป้อม ใบบัง


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 28 เม.ย. 11, 16:44
กำลังตอบ  พอดีชนกลางอากาศกับคุณ  siamese    บันไดที่เห็นขวามือเป็นบันไดภายในกำแพง  ให้ทหารปีนขึ้นไปที่ป้อมหรือเปล่าคะ
หรือคิดว่านอกกำแพงในกำแพงก็พาดบันไดกันแบบนี้  เสี่ยงกับการถูกข้างบนผลักเอาเอง 
ย้อนกลับไปสู่คำถามแรกอีกครั้ง

ดิฉันยังไม่อยากเดาต่อ     อดใจรอผู้รู้อย่างคุณ NAVARAT มาเล่าดีกว่าค่ะ    คงได้ฟังอะไรสนุกๆขึ้นอีกมาก


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 28 เม.ย. 11, 16:51
กำลังตอบ  พอดีชนกลางอากาศกับคุณ  siamese    บันไดที่เห็นขวามือเป็นบันไดภายในกำแพง  ให้ทหารปีนขึ้นไปที่ป้อมหรือเปล่าคะ
หรือคิดว่านอกกำแพงในกำแพงก็พาดบันไดกันแบบนี้  เสี่ยงกับการถูกข้างบนผลักเอาเอง 
ย้อนกลับไปสู่คำถามแรกอีกครั้ง

ดิฉันยังไม่อยากเดาต่อ     อดใจรอผู้รู้อย่างคุณ NAVARAT มาเล่าดีกว่าค่ะ    คงได้ฟังอะไรสนุกๆขึ้นอีกมาก

บรรยากาศภายในเมืองครับ ดูจากทหารอยู่หลังบังใบ  ;D


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 28 เม.ย. 11, 17:00
^
บอกมาตรงๆเลยว่า โล้เรือ เป็นอย่างไร อย่าได้ลีลาทวนท่าอยู่ตลาดเมืองนนท์ ชะรอยติดใจแม่ค้าหรือของหวาน  ;D ;D

เอามาฝากคุณ siamese 

    มลักเห็นใบจากเจ้า   นฤมิต
เป็นสำเภาไพจิตร      เลื่อนโล้
จักลงระวางคิด      จวนแก่
ผิว(ะ)หนุ่มแล้วโอ้      พี่เพี้ยงโดยสาร

   มีอีกสำนวนหนึ่ง บอกว่า

     มลักเห็นใบจากเจ้า     นิรมิต
เป็นสำเภาไพจิตร            แปดโล้
จะละระวางวิด                จวนแก่ อกเอย
แม้หนุ่มวันนั้นโอ้             พี่เพี้ยงโดยสาร



กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: ShopperKimpy ที่ 28 เม.ย. 11, 18:15
ในความคิดของผม ผมคิดว่าค่ายพม่าที่พระนเรศวรและทหารเข้าปิดล้อม
น่าจะเป็นค่ายย่อย คือไม่ใช่ค่ายของกองทัพหลัก
อาจจะเพิ่งปลูกได้ไม่นาน อาจจะไม่แข็งแรง มีอาวุธป้องกันการปิดล้อม อย่างพวกปืนใหญ่ น้ำมันร้อน ฯลฯ ไม่มากนัก
พลปืนเองก็อาจจะมีจำนวนไม่มาก ทำให้ไม่เป็นอุปสรรคต่อฝ่ายผู้เข้าโจมตีสักเท่าไหร่
ยิ่งถ้าบวกกับการที่ฝ่ายโจมตีใช้ช่วงเวลาที่ถูกต้อง อย่างเช่นตอนกลางคืน หรือ หมอกลงจัด
และเข้าโจมตีพร้อมกันหลายๆด้าน ฝ่ายตั้งรับก็อาจจะต้องเจองานหนักได้


ปล.รูปเพิ่มเติมครับ

กองทัพพระเจ้าตากตีป้อมที่เมืองบันทายมาศ
(http://i587.photobucket.com/albums/ss316/shopperkimpy/DSC_0081.jpg)

กองทัพสยามตีค่ายพม่าที่ทวาย
(http://i587.photobucket.com/albums/ss316/shopperkimpy/DSC_0133.jpg)

กองทัพสยามกลับจากเขมร
(http://i587.photobucket.com/albums/ss316/shopperkimpy/DSC_0162.jpg)


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 28 เม.ย. 11, 18:37
^
จากภาพที่น่าสนใจคือ วัสดุที่ใช้สร้างค่าย ช่างเขียนจงใจเลือกใช้ไม้ไผ่ อาจจะด้วยความเหนียว ลื่น


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 28 เม.ย. 11, 20:07
อ้างถึง
ดิฉันยังไม่อยากเดาต่อ อดใจรอผู้รู้อย่างคุณ NAVARAT มาเล่าดีกว่าค่ะ คงได้ฟังอะไรสนุกๆขึ้นอีกมาก
ผมกลับเข้ามาเจอประโยคนี้เข้าถึงกับผงะ เดี๋ยวผู้รู้ตัวจริงที่ซุ่มๆอ่านอยู่เขม่นผมแย่ ผมเองนั้นคือผู้ที่ไม่รู้มากกว่ารู้
 
จะเล่าให้ฟังว่าเมื่อบ่ายวันนี้ผมไปตีกอล์ฟกับเพื่อนๆถาปัดมาครับ ที่หลุมนึงมีต้นชมพู่ออกลูกเล็กๆสะพรั่ง เพื่อนคนหนึ่งถามแคดดี้ว่านั่นต้นอะไร แคดดี้มองหน้าแล้วตอบว่า ต้นชมพู่ไง ต้นชมพู่นายไม่รู้จักเหรอ (แก่จนหัวหงอกแล้ว) เพื่อนผมย้อนถามแคดดี้ว่า แล้วเธอรู้จักตงไหม แคดดี้ส่ายหน้าแบบงงๆบอกว่าไม่รู้จัก เพื่อนผมได้ทีจึงกล่าวว่า เห็นไหม ทางใครทางมัน เธอมันลูกชาวสวนเธอก็รู้จักต้นชมพู่ ฉันไม่ใช่ ฉันก็เลยไม่รู้จัก แต่ฉันรู้จักตง เพราะฉันเป็นสถาปนิก เธอไม่ใช่สถาปนิกเธอก็ไม่รู้จักตง

ทั้งเพื่อนๆทั้งกลุ่มแคดดี้หัวเราะกันคิกคัก ผมชมเขาว่าตรรกะใช้ได้ แม้คนอื่นจะว่าเขาว่าโง่ไปหน่อยที่ไม่รู้จักต้นชมพู่ก็ตาม
ที่เล่ามานี้จะเกี่ยวหรือไม่เกี่ยวกับเรื่องข้อเท็จจริงที่เราแลกเปลี่ยนทัศนะกันในกระทู้ประการใด แล้วแต่ท่านจะตีความ


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 28 เม.ย. 11, 20:09
เอ้ามาเข้าเรื่องกันต่อดีกว่า

ที่คุณ ShopperKimpy เสนอความเห็นข้างต้นไว้ ตรงกับใจผม บางทีหนังของท่านมุ้ยจะสร้างจินตนาภาพที่เกินจริงให้แก่เรามากเกิน ผมขอเอารูปมาให้ดูมั่ง

รูปแรก เป็นกำแพงเมืองมัณฑะเลย์ ที่สร้างขึ้นใหม่ในราวรัชกาลที่๓ แม้จะใหญ่โตกว่ากำแพงเมืองรัตนโกสินทร์มาก อาจเป็นเพราะพม่าได้ลิ้มรสชาดปืนใหญ่อังกฤษเข้าไปแล้ว จึงต้องสร้างกำแพงเมืองให้สูงใหญ่ไว้สักหน่อย



กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 28 เม.ย. 11, 20:13
ในสงครามกับอังกฤษครั้งแรก พม่ามีเวลาและทรัพยากรมาก จึงสร้างค่ายทหารด้วยไม้สัก ตั้งรับกองทัพอังกฤษที่เมืองย่างกุ้ง แต่ถูกปืนใหญ่ยิงกระเจิง ทหารอังกฤษย่ำเท้าเข้าบดขยี้ทหารพม่าแตกพ่ายหมดทางสู้

ผมอยากให้สังเกตุขนาดของค่าย เวลาห่างกันกับสมัยของสมเด็จพระนเรศวรร่วมสองร้อยปี แต่ค่ายก็ไม่ได้วิวัฒนาการไปมากมาย ที่สำคัญเพนียดค่ายยังสูงนิดเดียวไม่ได้สูงใหญ่อย่างของท่านมุ้ย


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 28 เม.ย. 11, 20:15
ในสงครามครั้งที่สาม พม่ามีค่ายที่สร้างด้วยไม้สักเช่นภาพแรกอยู่เช่นกัน จะเห็นขนาดของพะเนียดชัดเจน


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 28 เม.ย. 11, 20:20
ในสงครามครั้งที่สาม ตรงกับสมัยรัชกาลที่๕ อังกฤษใช้เรือกลไฟเป็นพาหนะ ขนทหารไปตามแม่น้ำอิระวดีเพื่อไปตีมัณฑะเลย์ ระหว่างทางพม่ามาตั้งค่ายต้านทาน อังกฤษก็ตีแตกไปทุกค่าย โปรดสังเกตุทหารพม่ายังนุ่งผ้าเตี่ยวเหมือนในรูปเมื่อกี้อยู่เลย หาความน่าเกรงขามเหมือนในหนังท่านมุ้ยมิได้ ส่วนทหารอังกฤษส่วมเครื่องแบบสนามเต็มพิกัด


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 28 เม.ย. 11, 20:22
ค่ายของพม่าในภาพเขียนนี้ เหมือนในหนังของท่านมุ้ยที่สร้างได้ใกล้เคียงข้อเท็จจริงที่สุด คือค่ายพระเจ้าเชียงใหม่ ซึ่งขุดคูเอาดินมาพูนเป็นกำแพง (ในเชียงใหม่ยังมีกำแพงดินเช่นนี้อยู่) แล้วเสี้ยมไม้ไผ่เอามาปักเป็นแนวต้านทาน พระเจ้าเชียงใหม่ตอนนั้นเป็นพม่าแท้ๆ กำแพงดินนี้น่าจะเป็นเทคนิกของพม่าสมัยนั้นด้วย


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 28 เม.ย. 11, 20:31
ในสงครามครั้งที่สามเช่นกัน เป็นภาพถ่ายค่ายทหารพม่าแห่งหนึ่งที่อังกฤษยึดได้ ก็แค่เนี๊ยะ

ตามพงศาวดารกล่าวว่า ค่ายที่พระนเรศวรแต่งทหารม้าออกไปตีเป็นค่ายของทัพหน้าพม่าค่ายหนึ่ง ที่เข้ามาตั้งแบบลองเชิงไม่ห่างจากพระนคร และเมื่อพม่ายกทัพมาถึงก็ต้องรีบสร้างค่ายอย่างเร่งรีบ จะไปรอตัดไม้งามๆชักลากมาคงไม่ไหว ต้นไม้ที่ถือเป็นยุทธปัจจัยไทยคงไม่เหลือไว้ใกล้ๆพระนครให้พม่าข้าศึกได้ใช้ประโยชน์ นอกจากไม้ไผ่ที่คงจะพอหาได้ไม่ยาก
 
ผมว่า ค่ายพม่าที่พระนเรศวรออกตีน่าจะประมาณเท่าในรูปนี้ เพราะพงศาวดารกล่าวต่อว่า ทรงไม่รั้งรอให้พม่าตั้งตัวได้ รีบจัดทัพม้าออกมาตีเพื่อหมายข่มขวัญ อีกประการหนึ่ง ถ้ายิ่งนานวัน พม่าก็ยิ่งเอาขวากหนามอุปสรรคมาเสริมแนวป้องกันค่าย จะเข้าหักโดยง่ายคงไม่ได้เสียแล้ว

ถ้าความสูงขนาดนี้ ก็ทรงปีนได้โดยไม่ต้องใช้บันได เพราะพงศาวดารกล่าวว่าทหารที่ไปเป็นทหารม้าเคลื่อนที่เร็วล้วนๆ เพราะต้องการบุกเร็วถอยเร็ว  ไม่ได้เอ่ยถึงทหารเดินเท้าแบกกระได หรือเข็นหอคอยไปด้วยเลย ตอนปีนก็ต้องใช้พระหัตถ์ทั้งสองเหนี่ยวพะเนียด พระบาทสอดไปตามช่องว่างของไม้ โหนพระองคืขึ้นไป พระแสงดาบจึงต้องทรงต้องคาบไว้ พอพม่าแทงสวนมาเห็นหนักนักก็พอจะกระโดดลงมาได้ไม่เจ็บตัวเท่าไหร่ แล้วคงจะทรงปีนขึ้นไปได้อีกหลายรอบหน่อย





กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 28 เม.ย. 11, 20:42

ถ้าความสูงขนาดนี้ ก็ทรงปีนได้โดยไม่ต้องใช้บันได เพราะพงศาวดารกล่าวว่าทหารที่ไปเป็นทหารม้าเคลื่อนที่เร็วล้วนๆ เพราะต้องการบุกเร็วถอยเร็ว  ไม่ได้เอ่ยถึงทหารเดินเท้าแบกกระได หรือเข็นหอคอยไปด้วยเลย ตอนปีนก็ต้องใช้พระหัตถ์ทั้งสองเหนี่ยวพะเนียด พระบาทสอดไปตามช่องว่างของไม้ โหนพระองคืขึ้นไป พระแสงดาบจึงต้องทรงต้องคาบไว้ พอพม่าแทงสวนมาเห็นหนักนักก็พอจะกระโดดลงมาได้ไม่เจ็บตัวเท่าไหร่ แล้วคงจะทรงปีนขึ้นไปได้อีกหลายรอบหน่อย


ผมคล้อยตามความคิดเห็นคุณ NAVARAT.C ที่ว่ากำแพงค่ายพม่าคงไม่สูงนักหนาหรอก บางทีอาจไม่ใช่ไม้ซุง ไม้ท่อน
อาจเป็นแค่ไม้ไผ่ผูกติดกันเป็นแพปักทำรั้วก็เท่านั้น อีกอย่างดินที่ปักเสาระเนียดก็ยังต้องพูนสูงให้รับแรงระเบิดของปืนใหญ่
และเป็นรากฐานมั่นคงของรั้วนั้นๆ ด้วย ทั้งยังมีขวากหนาม (อย่างค่ายพระเจ้าเชียงใหม่) ปักที่มูลดินด้านล่าง กันช้างม้าผู้คนประชิด

ซึ่งทั้งขวากหนาม มูลดิน และเสาระเนียด อาจเป็นส่วนหนึ่งในอุปกรณ์ที่ให้สมเด็จพระนเรศวร "ปีน" เข้าค่ายพม่าได้เช่นกัน


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 28 เม.ย. 11, 20:44
ในสงครามครั้งที่สาม พม่ามีค่ายที่สร้างด้วยไม้สักเช่นภาพแรกอยู่เช่นกัน จะเห็นขนาดของพะเนียดชัดเจน

รอ อ.NAVARAT.C ตั้งนานให้มาตอบตามคำเชิญของ อ.เทาชพู ...ท่านมัวไปตีกอล์ฟหลุมที่ ๑๙ หรือเปล่า  8)

เห็นรั้วค่ายของพม่าที่ อ. NAVARAT.C แบบนี้พม่านิยมใช้ตั้งค่ายมาตั้งแต่โบราณ ผมมีหลักฐานอ้างถึงเกี่ยวกับการสร้างค่าย "ค่ายโพธิ์สามต้น" ครับ

จากแหล่งขุดค้นทางโบราณคดีที่ค่ายโพธิ์สามต้น พบว่า

๑. ชั้นล่าง เป็นมูลดินถมที่ขุดขึ้นมาบริเวณรอบๆ

๒. ต่อจากชั้นล่าง คาดว่ามีการปักเสาไม้เพนียดล้อมไว้

๓. เมื่อเห็นว่าค่ายนี้ตั้งมั่นคงและอยู่เวลานาน จึงได้ก่อด้วยอิฐ ๘ รูทับไม้เพนียดเพื่อให้แข็งแรง เป็นป้อมปูนขึ้นมา


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 28 เม.ย. 11, 20:46
ค่ายที่กำลังสร้าง พอดีทหารอังกฤษมาถึงและเข้าโจมตีเสียก่อน ทหารพม่าจึงทิ้งค่ายหนีเอาตัวรอดไป

ระยะสมัยห่างกันยังเป็นแค่นี้เอง ค่ายพม่าที่มาล้อมกรุงศรี(ไม่ใช่ค่ายหลวงนะครับ)ก็คงไม่ต่างจากภาพที่ผมเอามาให้ดูเหล่านี้สักเท่าไหร่ดอก

ส่วนค่ายโพธิ์สามต้น พม่ากะจะตั้งแบบค่อนข้างถาวรเพื่อจะครอบครองรักษากรุงศรีอยุธยา อาจจะทำแน่นหนาหน่อยครับเพราะมีเวลามากด้วย


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 28 เม.ย. 11, 21:37
ถ้าความสูงขนาดนี้ ก็ทรงปีนได้โดยไม่ต้องใช้บันได เพราะพงศาวดารกล่าวว่าทหารที่ไปเป็นทหารม้าเคลื่อนที่เร็วล้วนๆ เพราะต้องการบุกเร็วถอยเร็ว  ไม่ได้เอ่ยถึงทหารเดินเท้าแบกกระได หรือเข็นหอคอยไปด้วยเลย


สถาปนิกเจ้าของค่ายตัวจริงมาแล้ว    ช่วยกันลากกระไดกับหอคอย กลับอังกฤษกันเถอะ  คุณเพ็นโน   ;D


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 28 เม.ย. 11, 21:44
ขออำไพคะรับ


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 28 เม.ย. 11, 21:50
แล้วถ้าไม่มีบันได แล้วไซร้ ประวัติ "พระแสงดาบคาบค่าย" ละครับเกิดขึ้นได้อย่างไร  ??? แล้วถ้าไม่ทรงใช้บันได ทรงกระโดด ? กระโดดจาก ?

อ.NAVARAT.C วานบอก  ;D ;D


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 28 เม.ย. 11, 21:56
^
^

ถ้าความสูงขนาดนี้ ก็ทรงปีนได้โดยไม่ต้องใช้บันได เพราะพงศาวดารกล่าวว่าทหารที่ไปเป็นทหารม้าเคลื่อนที่เร็วล้วนๆ เพราะต้องการบุกเร็วถอยเร็ว  ไม่ได้เอ่ยถึงทหารเดินเท้าแบกกระได หรือเข็นหอคอยไปด้วยเลย ตอนปีนก็ต้องใช้พระหัตถ์ทั้งสองเหนี่ยวพะเนียด พระบาทสอดไปตามช่องว่างของไม้ โหนพระองคืขึ้นไป พระแสงดาบจึงต้องทรงต้องคาบไว้ พอพม่าแทงสวนมาเห็นหนักนักก็พอจะกระโดดลงมาได้ไม่เจ็บตัวเท่าไหร่ แล้วคงจะทรงปีนขึ้นไปได้อีกหลายรอบหน่อย

 ;D


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 28 เม.ย. 11, 22:06
^
^

ถ้าความสูงขนาดนี้ ก็ทรงปีนได้โดยไม่ต้องใช้บันได เพราะพงศาวดารกล่าวว่าทหารที่ไปเป็นทหารม้าเคลื่อนที่เร็วล้วนๆ เพราะต้องการบุกเร็วถอยเร็ว  ไม่ได้เอ่ยถึงทหารเดินเท้าแบกกระได หรือเข็นหอคอยไปด้วยเลย ตอนปีนก็ต้องใช้พระหัตถ์ทั้งสองเหนี่ยวพะเนียด พระบาทสอดไปตามช่องว่างของไม้ โหนพระองคืขึ้นไป พระแสงดาบจึงต้องทรงต้องคาบไว้ พอพม่าแทงสวนมาเห็นหนักนักก็พอจะกระโดดลงมาได้ไม่เจ็บตัวเท่าไหร่ แล้วคงจะทรงปีนขึ้นไปได้อีกหลายรอบหน่อย

 ;D

^
^
ปะ ช่วยกันๆ ลากบันไดกลับ


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 29 เม.ย. 11, 06:10
ขอบคุณคุณเพ็ญ ขออำไพคุณหนุ่มสยาม


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 29 เม.ย. 11, 07:05
อ.NAVARAT.C ครับเมื่อค่ายต่างๆได้สู้รบกันเป็นสามารถแล้ว เมื่อถึงเวลาถอยทัพนั้น
๑. อยากทราบว่าจะมีการถอนไม้รั้วออกไปหรือไม่ คือ มีการนำกลับมาใช้กันใหม่ หรือเพียงมองว่า ป่าไม้ทรัพยากรเยอะไปหาเอาข้างหน้า

๒. การตั้งค่ายกล เพื่อหลอกล่อศัตรู เป็นอย่างไร


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 29 เม.ย. 11, 07:53
^
คำถามทั้งสองคำถามมีคำตอบอยู่ในกระทู้เรื่อง " อานามสยามยุทธ สงครามสร้างชาติสยาม ภาค ๒ " โดย คุณแมวเซา ซึ่งได้รับเลือกเป็นกระทู้ยอดนิยมอันดับ ๑.ในเวปของศาลาโกหก
 
ผมคัดลอกสำนวนชั้นครูมาให้อ่านเฉพาะตอนที่คุณหนุ่มสยามอยากทราบ แม้ว่าจะเป็นสงครามระหว่างไทยกับญวนมิใช่พม่า แต่มันก็โหดเหี้ยมทารุณเหมือนๆกัน
ขออนุญาตคุณแมวเซาด้วยความเคารพด้วย
 
ข้างพระยานครราชสีมาได้เห็นกองช้างญวนไล่ฆ่าฟันกองลาดตระเวณที่ริมลำน้ำโขงฝั่งตรงข้ามแล้วก็ช่วยเหลือไม่ได้ คงเพราะปืนใหญ่ยิงไม่ถึง เรือรบก็ไม่มีแล้ว เพียงแต่เตรียมตัวรับศึกกับญวน สั่งกองเสบียงและเขมรเคลื่อนย้ายไปก่อน ให้คนโคราชถือปืนคุมไปด้วย ครั้นรอญวนข้ามน้ำอยู่สามวันก็ไม่เห็นญวนเตรียมทำแพข้ามน้ำสักที ก็ประเมินว่าญวนรอกองทัพเรือกองใหญ่ขึ้นมาช่วยเป็นแน่ จึงเปลี่ยนแผนยุทธการใหม่ทันที จัดการนำเอาปืนใหญ่ขนาดใหญ่ๆที่ขนด้วยช้างไปยากลำบากนั้น เอามาบรรจุดินดำและกระสุนให้เกินสัดส่วนหลายเท่า นำมาขุดดินฝังไว้ใต้ดินในค่ายหลายสิบกระบอก ต่อสายชนวนล่ามเข้ากันโดยรอบ แล้วต่อไปถึงเตาไฟทุกแห่ง ทำสำเร็จแล้วทำทีทิ้งข้าวของเสบียงอาหารไว้บ้าง จากนั้นก็ทิ้งค่ายออกเดินทัพล่าถอยมาเวลากลางคืน จัดให้พระยาพิไชยสงคราม และพระยาชนะพลแสน คุมไพร่พล 500คน เป็นกองรั้งหลังคอยฟังข่าวญวนด้วยว่าจะโดนระเบิดตามอุบายหรือไม่

กองทัพเรือญวนมาติดกับดักฝ่ายไทย


เมื่อกองทัพพระยานครราชสีมาได้ล่าถอยพร้อมจัดการตามแผนเสร็จแล้วกองทัพเรือญวนก็ยกขึ้นมาจริงๆ “องกูเลย”แม่ทัพใหญ่ สั่งให้ “องถูเลือก” เป็นแม่ทัพหน้าข้ามแม่น้ำมาก่อนด้วยเรือรบ 40ลำ ไพร่พล 800คน ยกขึ้นบกแล้วไม่เห็นมีทหารไทยออกไปต่อสู้ แลไม่เห็นไทยทั้งในค่ายนอกค่าย จึงกรูกันยกเข้าค่ายไทยในเวลาบ่ายสองโมงเศษ เมื่อมั่นใจว่าไม่มีทหารไทยแน่นอนแล้ว ทหารญวนเกือบหมดทั้ง 800คนรวมทั้ง“องถูเลือก”แม่ทัพหน้าด้วย พากันเข้ารื้อค้นแล้วเข้าพักกันในค่ายนั้นเอง “องถูเลือก”ก็ได้จัดส่งหนังสือข้ามไปส่งข่าวแม่ทัพใหญ่ด้วยว่า “ไทยทิ้งค่ายหนีไปเสียก่อนแล้ว”

พอได้เวลาบ่ายเย็นใกล้ค่ำวันนั้น ไพร่พลญวนก็พากันเก็บฟืนที่ไทยทิ้งไว้ให้ นำมาก่อไฟเพื่อหุงหาอาหาร ตามเตาไฟเก่าๆที่ไทยเคยใช้งานอยู่นั้นหลายสิบเตา พอไฟในเตาติดคุร้อนไหม้ไปถึงชนวนดินดำที่ฝังไว้ใต้ดินนั้น ดินระเบิดก็ประทุขึ้นในเวลาใกล้เคียงกันไปทั่วทั้งค่าย “เสียงดังกัมปนาทหวาดหวั่นไหวสะเทือนสะท้านแผ่นดินดังพสุธาจะถล่ม เป็นเสียงดังดุจอัสนียบาต”

ครั้งนั้น พระยาพิไชยสงคราม และพระยาชนะพลแสน เดินทัพรอฟังเสียงระเบิดอยู่ ก็ได้ยินเสียงเหมือนฟ้าร้อง จึงแน่ใจว่ามีการระเบิดเกิดขึ้นแล้ว ตามกลอุบายของแม่ทัพใหญ่ รีบสั่งให้หลวงสุทราวุธ กับพระพรหมาธิบดี นายกองลาวเมืองนครราชสีมา คุมทหาร 50ม้าไปสืบข่าวทหารญวนล่วงหน้าแล้ว พาทหารที่เหลือติดตามมาด้วย พอมาถึงค่ายก็พบทหารญวนนอนตายกลาดเกลื่อนอยู่สัก 500เศษ ทั้งที่โดนแรงระเบิดและสะเก็ดระเบิดจากกระบอกปืนใหญ่ที่แตกออกเป็นเสี่ยงๆ ที่บาดเจ็บลำบากอยู่ ประมาณหนึ่งร้อยเศษ ถามคนที่บาดเจ็บอยู่นั้นได้ความว่ามีคนหนีเข้าป่าไปได้บ้าง ก็สั่งให้กองทหารม้าไปไล่จับกลับมาได้ 64คน

พระยาพิไชยสงคราม แลเห็นเรือญวนที่จอดริมตลิ่งนั้นตั้ง 40ลำ ยังมีปืนใหญ่พร้อมอยู่ก็ไล่ต้อนทหารลงเรือทันที กะว่าจะไปตามตีพวกกองทัพใหญ่ของญวนฝั่งโน้น แต่พอข้ามมาได้กองทัพใหญ่ทางบกญวนที่เคยห้าวหาญนักก็หนีหายไปหมดเกลี้ยงแล้ว จึงยกกองเรือ 40ลำข้ามกลับมา จากนั้นก็จัดการเผาทำลายเรือรบเสียเหลือไว้เพียง 4ลำ แล้วให้ตัดศรีษะญวนที่ถูกดินระเบิดตายแล้วกับที่ใกล้ตายใส่เรือทั้ง 4ลำ กับเอาญวนที่บาดเจ็บมาตัดมือตัดเท้าเสียลองข้างให้เป็นนายท้ายเรือ คุมไปลำละ 15คน แล้วให้เขียนหนังสือผูกคอญวนที่ถูกตัดมือตัดเท้าทุกคนนั้นเป็นภาษาญวนบ้าง ภาษาเขมรบ้าง ให้เนื้อความถูกต้องตรงกันว่า

“หนังสือนายทัพนายกองฝ่ายไทย ซึ่งเป็นกองทัพปีกหนึ่งของท่านแม่ทัพใหญ่แจ้งความมาถึงแม่ทัพนายกองฝ่ายญวน หรือพลเมืองชาวบ้านและลูกค้าพานิชฝ่ายญวนได้แจ้งว่า เราได้ให้ไพร่พลในกองทัพไทยไปเที่ยวเก็บได้ศรีษะญวนห้าร้อยหกสิบสองศรีษะบรรทุกเรือสี่ลำ ส่งมาเป็นบรรณาการถวายพระเจ้ากรุงเวียดนาม ซึ่งทรงพระนามว่าสมเด็จพระเจ้าเวียดนามมินมางดึกกว่างเด้ พระเจ้าแผ่นดินกรุงเว้ขอทรงทราบว่า ซึ่งนายทัพไทยได้ส่งศรีษะญวนเข้ามาถวายนี้ เพื่อจะขอพระราชทานแลกเปลี่ยนศรีษะไพร่พลในกองทัพพระยานครสวรรค์ซึ่งแม่ทัพญวนฆ่าเสียที่ริมฝั่งแม่น้ำโขงท่าข้ามใกล้เมืองลาวหนึ่งพันคนนั้น ขอท่านนายทัพนายกองฝ่ายญวนและเจ้าบ้านผ่านเมือง หรือด่านขนอนของญวนทุกตำบล ผู้ใดได้พบปะเรือบรรทุกศรีษะญวน 562 ศีรษะนี้ ซึ่งส่งมาแลกเปลี่ยนศพไทยพันหนึ่งนั้น แต่บรรดาท่านที่ได้พบเรือทั้งสี่ลำนี้ ขอจงเห็นแก่ทางไมตรีเพื่อนสนุกในการศึกสงครามมาด้วยกัน ช่วยสงเคราะห์ส่งเรือสี่ลำนี้ไปให้ท่านเสนาบดีกรุงเว้ ท่านจะได้นำศีรษะญวนขึ้นทูลเกล้าถวายพระเจ้าเวียดนามตามความประสงค์ของนายทัพไทยด้วยเถิด”


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 29 เม.ย. 11, 08:17
กลับมาสมัยสมเด็จพระนเรศวรใหม่


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 29 เม.ย. 11, 08:29
ความตามพระราชพงศาวดารต่อจากทรงคาบพระแสงดาบปล้นค่ายพม่า

สมเด็จพระเจ้าหงสาวดีจึงตรัสว่า พระนเรศวรทำศึกอาจหาญนัก ถ้าออกมาอีกถึงมาตรแม้นเราจะเสียทหารมากก็จะแลกเอาตัวให้จงได้ แล้วสั่งให้จัดทหารที่มีฝีมือสันทัดทุกกองให้ได้หมื่นหนึ่ง เอาไปช่วยค่ายลักไวทำมูและทหารทศตำบลลุมพลี ถ้าพระนเรศวรออกมาตีค่าย ให้กุมเอาเป็นจงได้

ครั้นถึงเดือน 4 แรม 10 ค่ำ สมเด็จพระนเรศวรฯเสด็จออกไปตั้งทัพซุ่มอยู่ที่ทุ่งลุมพลีหมายจะ เข้าปล้นค่ายพระเจ้าหงสาวดีอีก ลักไวทำมูจึงให้ทหารม้ากอง ยกมารบล่อสมเด็จพระนเรศวร ฯ พระองค์ เห็นข้าศึกมีน้อยก็เสด็จทรงม้าเข้ารบพุ่งไล่โดยลำพัง ส่วนกระบวนราบตามไปข้างหลัง พม่าสู้พลาง หนีพลางล่อให้ไล่ไปจนถึงที่ที่ลักไวทำมูนำกองทหารทศซุ่มกำลังรออยู่ก็กรูกันออกมา ห้อมล้อม จะจับตัวสมเด็จพระนเรศวรฯ พระองค์ทรงต่อสู้ข้าศึกเป็นสามารถ ลักไวทำมูขับม้า เข้ามาจะจับพระองค์ พระองค์จึงทรงแทงพระแสงทวนถูกลักไวทำมูตาย ทหารทศเข้ามาแก้ ลักไวทำมู ก็ทรงฟันด้วย พระแสงดาบตายอีก1 คน แต่พวกพม่าเห็นทหารไทยมีน้อยจึงล้อมไว้ สู้รบกันอย่ากว่าชั่วโมง จนพวกทหารราบตามไปทัน จึงเข้าแก้ไขสมเด็จพระนเรศวรฯออกมาจากที่ล้อมหนีกลับพระนครได้

คราวนี้เป็นการรบกันตอนกลางวัน ทรงมีทหารราบตามไปด้วยกะจะเข้าปล้นค่ายเต็มรูปแบบ
จะเห็นว่าการเคลื่อนตัวของทหารราบช้ามาก ทรงตกอยู่ในวงล้อมข้าศึกถึงกว่าชั่วโมง จึงสามารถตามไปแก้ไขพระองค์ได้
ชวนให้คิดว่า ถ้ามิใช่ประกาศิตของพระเจ้าหงสาวดีที่ห้ามทำร้าย ให้จับเป็นสมเด็จพระนเรศวรเท่านั้น พวกพม่าจึงได้แต่ล้อมไว้ รบหลอกล่อให้พระองค์อ่อนแรงแล้วจึงจะเข้าเกาะกุม โดยไม่กล้ารุมอาวุธหมายชีวิต

มิฉะนั้นประวัติศาสตร์อาจจะพลิกผกผัน ไม่เป็นอย่างทุกวันนี้ก็ได้


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 29 เม.ย. 11, 08:53
อีกสำนวนหนึ่งจาก ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๖๔ พงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ ( เจิม )

เสด็จเถิงที่ใกล้กรุงพระนครศรีอยุธยาณวันอังคารเดือนอ้ายแรม ๑๔ ค่ำ สมเด็จพระเจ้าหงสาวดีตั้งทัพค่ายบางปะหันพระมหาอุปราชาตั้งค่ายกุมดอง พระเจ้าแปรตั้งค่ายสีกุก พระเจ้าเชียงใหม่ตั้งตำบลวัดสังกะวาด สมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้าตรัสทราบว่าทัพพระเจ้าหงสาวดียกมา ก็ม้าทวนกับทหาร ๓ กอง กองหนึ่ง ๒๒ คน กองหนึ่ง ๔๒ คนกองหนึ่ง ๗๒ คน ขึ้นม้าถือทวนครบ เมื่อยกออกไปกองหน้าข้าศึก ออกมารบ ทหารกรุงเทพมหานครตีแตกฉานเข้าไป สมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้าทรงคาบพระแสงดาบกับทหารปีค่ายขึ้นไป ข้าศึกในค่ายเอาทวนแทงพลัดตกลงมาเป็นหลายครั้งขึ้นมิได้ จึงทรงม้าที่นั่งกลับเข้ามาพระนคร ข้าศึกจึงเอาการซึ่งได้รบพุ่งไปกราบทูล สมเด็จพระเจ้าหงสาวดีตรัสถามเสนาบดีว่า พระนเรศวรออกมาทำเป็นอย่างทหารดังนี้ เหมือนหนึ่งเอาพิมเสนมาแลกเกลือ พระราชบิดานั้นจะรู้หรือหาไม่ เสนาบดีกราบทูลว่า เห็นพระราชบิดาจะไม่รู้ หรือรู้แล้วจะมิได้ให้ออกมาทำ สมเด็จพระเจ้าหงสาวดีจึงตรัสสั่งว่า พระนเรศวรทำศึกอาจหาญหนัก ถ้าออกมาอีกถึงมาตรว่าเราจะเสียทหารมากก็จะแลกเอาตัว ให้จงได้ แล้วสั่งให้จัดทหารที่มีฝีมือสันทัด ทุกทัพทุกกองให้ได้ ๑๐,๐๐๐ เอาไปช่วยค่ายลักไวทำมูทหารทดตำบลลุมพลี ถ้าพระนเรศวรออกมาตีค่าย ให้กุมเอาเป็นจงได้ สมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้าทรงม้าพระที่นั่งออกไปทหาร ๓ กอง ทัพล้อมวง ๑๐๐๐ ถือโตมรและดาบดั้งออกไป ได้รบพุ่งกันแต่เพลาเช้า ๓ โมงจนถึง ๔ โมงข้าศึกแตกเข้าไปอยู่สักครู่หนึ่ง กลับเอาม้า ๓๐ ออกมายั่วทัพ จึงแต่งเป็นปีกฉนางและกองซุ่มไว้ปีกหนึ่ง ลักไวทำมูปีกหนึ่ง ทหารทดสมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้าทรงม้าทวนไล่ข้าศึกเข้าไป และข้าศึก ๒ ปีกออกหุ้มพระองค์และทหารนั้น เข้าไว้ ลักไวทำมูถือดาบดั้งเข้ามาจะกุมเอาพระองค์ ๆ ทรงแทรกด้วยพระแสงทวนถูกลักไวทำมู ๆ ฟันต้องพระแสงทวนเป็นแผล แต่ลักไวทำมูตาย ทหารทดถือโตมรและหอกใหญ่ตรงเข้ามา ทรงฟันด้วยพระแสงดาบถูกสะพายแล่งล้มลงตาย ก็เสด็จกลับเข้ามาพระนคร สมเด็จพระเจ้าหงสาวดี ให้เข้ามาตีค่ายชาวพระนคร ถึง ๒-๓ ครั้งมิได้แตกฉาน จึงตรัสว่าจวนเทศกาลฟ้าฝนน้ำนองอยู่แล้ว ก็ส่งให้เลิกทัพเสด็จกลับไปเมืองหงสาวดี  

ทหารทด(ทศ)คืออะไร? ช่วยกันค้นทีเร๊ว


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 29 เม.ย. 11, 10:38
ว่างๆ ขอย้อนกลับไปตอบคุณหลวงเล็กหน่อย ขอโทษที่ทิ้งไว้นาน
อ้างถึง
อนึ่งกรุงศรีอยุธยามีด่านขนอนคอยเหตุการณ์ต่างๆ
ตั้งอยู่ตามลำแม่น้ำรอบกรุงทั้ง ๔ ทิศ ซึ่งเปน
ทางแม่น้ำใหญ่จะเข้ามาในพระนครนั้น
ทิศตวันออกตั้งด่านที่ตำบลบ้านเข้าม่านด่าน ๑
ทิศใต้ตั้งด่านที่ตำบลบ้านบาง.......(เอกสารขาด)ด่าน ๑
ทิศตวันตกตั้งด่านที่ตำบลบ้านปากคูด่าน ๑
ทิศเหนือตั้งด่านที่ตำบลบ้าน..........(เอกสารขาด)ด่าน ๑
รวมเปนด่าน ๔ ตำบล เรียกท่าขนอนหลวง ๔ ทิศรอบกรุง
มีขุนด่านหมื่นขนอนและไพร่หลวงรักษาด่าน
นาย ๒ ไพร่ ๒....... (เอกสารขาด) ในเดือนหนึ่งผลัดเปลี่ยนเวียน
เวรละ ๑๕ วัน สำหรับตรวจตราของต้องห้ามตามกฎหมาย
และเครื่องศาสตราวุธที่แปลกประหลาด แลผู้คนที่แปลก
............(เอกสารขาด)ออก ต้องทักท้วงไต่ถามตามเหตุการณ์
ที่ด่านทั้ง ๔ ตำบลนั้น มี.........(เอกสารขาด)ไว้สำหรับคอย
บอกเหตุการณ์มาในกรุง

คุณหลวงเก่งมากครับที่ค้นหาเอกสารมาได้ เป็นอันว่ากรุงศรีอยุธยามีขนอนหลวง(ด่าน)ทั้งสี่ทิศ แต่เมื่อไม่มีแผนที่ประกอบ ผมก็เดาว่าขนอนหลวงริมแม่น้ำเจ้าพระยาที่ผมวงในแผนที่ คือตำแหน่งขนอนด้านใต้ของกรุง ซึ่งเป็นด่านสำคัญตามบทบาทของพระยาจีนจันตุ เพราะเป็นเส้นทางหนี ด่านอื่นไม่เกี่ยว


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 29 เม.ย. 11, 10:42
อ้างถึง
การที่พระยาจีนจันตุล่องสำเภาลงมาโดยไม่มีพวกด่านจับได้นั้น
สันนิษฐานได้หลายประการ

๑.พระยาจีนจันตุอาศัยอยู่นอกด่านขนอนลงมาทางใต้
ทำให้กว่าชาวด่านจะรู้ว่าพระยาจีนจันตุล่องสำเภาหนีลงมาแล้ว
พระยาจีนจันตุก็เดินทางล่วงมาหลายได้เส้น
และลำพังชาวด่านที่เข้าเดือนเวียนเวรกัน ๑๕ วัน
มีนาย ๒ ไพร่เข้าเวร ๑๕ คน กับเรือเล็กและอาวุธเบาที่ไม่ร้ายแรง
ย่อมไม่สามารถหยุดยั้งเรือพระยาจีนจันตุได้

อ้าว เรือไปอยู่นอกด่านได้อย่างไร ตัวน่ะไปอาศัยนอนกับแม่ค้าด้านใต้ของขนอมได้ ;D แต่เรือยังไงๆก็ต้องผ่านด่านเข้ามาก่อน เพราะด่านเขามีไว้ให้เรือผ่านเข้ามาให้เขาตรวจนะครับ ไม่ใช่ว่าใครไม่อยากให้ตรวจก็จอดไว้นอกด่านได้ และผ่านมาแล้วก็ต้องอยู่ในด่านจนกว่าจะกลับออกไปจริงๆ แต่ก็ต้องตรวจตรากันอีกทีหนึ่ง

พระยาจีนจันตุเป็นต่างด้าวที่มีชนักติดหลังเพราะเพิ่งไปตีเพชรบุรีมาแต่ไม่สำเร็จ จึงทำทีมาขอพึ่งพระบรมโพธิสัมภาร เข้ามาแล้วไว้วางพระราชหฤทัย วันดีคืนดีจะทำเป็นรอบจัดขอเอาเรือไปไว้ใต้ด่าน หัวจะหลุดจากบ่าเสียก่อนจะหนี


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 29 เม.ย. 11, 10:46
อ้างถึง
๒.ในพระราชพงศาวดารบอกว่า
...สมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้าก็เสด็จยกทัพเรือตามพระยาจีนจันตุ
ลงไปในเพลากลางคืนนั้น แล้วตรัสให้ เรือประตู เรือกัน และเรือท้าวพระยาทั้งหลาย
เข้าล้อมสาเภาพระยาจีนจันตุ และได้รบพุ่งกันป็นสามารถ
พระยาจีนจันตุก็ให้โล้สำเภาไปกลางน้ำ...

แสดงว่า พระยาจีนจันตุไม่ได้ล่องสำเภามากลางแม่น้ำ
แต่ล่องเลาะริมตลิ่งมาตลอดทาง ทำไมพระยาจีนจันตุถึงทำอย่างนั้น
สันนิษฐานว่า ถ้าล่องสำเภามากลางน้ำ ย่อมเป็นสังเกตได้ง่าย
เพราะปกติสำเภาพ่อค้าคงจะไม่ได้ล่องขึ้นลงในเวลากลางคืน
ฉะนั้นจึงล่องสำเภามาใกล้ตลิ่ง ซึ่งก็เสี่ยงที่ชนตลิ่งอยู่ไม่น้อย
และยิ่งแม่น้ำเจ้าพระยาที่ที่คดที่โค้งหลายแห่ง การล่องมาเวลากลางคืน
ที่พระจันทร์ไม่สว่าง (ขึ้น ๔ ค่ำ ) โอกาสที่จะไปชนตลิ่งย่อมมีมาก
ซึ่งแม้ในฤดูกาลจะมีลม แต่คิดว่าพระยาจีนจันตุคงจะไม่ได้ใช้ใบ
เพราะการล่องสำเภาใกล้ตลิ่งโดยใช้ใบก็ยิ่งจะทำให้ชนตลิ่งง่ายเข้าไปอีก

ฉะนั้นวิธีการดีที่สุดคือ โล้ (จะโล้อย่างไรเชิญเลือกเอาตามใจชอบ)
หรือถ่อสำเภาให้แล่นเลียบตลิ่งไป ยิ่งในคืนเดือนไม่สว่างเช่นนี้
คงไม่เป็นที่สังเกตได้ง่ายนั้น เพราะริมฝั่งส่วนใหญ่ก็เป็นที่รกมากแห่ง
อีกทั้งสำเภาพ่อค้าที่มีอยู่รายทางลำน้ำก็คงพอมีบ้าง

ผมขออนุญาตเห็นต่าง

พระยาจีนจันตุเลือกเวลาน้ำขึ้นสูงสุดแล้วกำลังจะลงเป็นเวลาออกเรือกลางดึก เดือนที่เลือกก็เพราะมีลมส่ง สำเภาสามารถแล่นใบได้ เรือเมื่อกินลมแล้วไม่ต้องไปช่วยพายให้เมื่อย เพราะมันจะวิ่งเร็วกว่าฝีพายอยู่แล้ว นอกจากเวลาที่เข้าคุ้งที่โค้งเข้าทวนลม ตรงนี้จะทำให้เรือต้องชลอความเร็วตามปกติของมัน และอาจจะต้องใช้พายช่วยด้วยเพื่อรักษาแนวกลางน้ำไว้ ไม่ใช่แอบเดินทางมาริมตลิ่ง เพราะไม่กล้าวิ่งกลางน้ำกลัวจะเป็นที่สังเกตุได้ง่าย ตรงนี้ผมก็งงเป็นพิเศษเพราะการเลียบตลิ่ง ด้านไกลอาจมองไม่ชัดก็จริงอยู่ แต่ด้านใกล้ยิ่งเห็นชัดใหญ่ เผลอๆคว้าก้อนหินปาไปอาจถูกหัวพระยาจีนจันตุแตกก็ได้ แม่น้ำมันมี๒ตลิ่งนะครับ ไม่ใช่วิ่งเลียบฝั่งทะเล

ถ้าสำเภาพระยาจีนจันตุไม่ใช้ใบ แต่ใช้โล้ใช้พายอะไรก็ตาม เสร็จเรือเร็วของสมเด็จพระนเรศวรตั้งแต่คืนนั้นแล้ว ท่านลองคิดง่ายๆ เอาเรือสำเภากับเรือกราบมาพายแข่งกัน ใครจะเร็วกว่ากันนั้นไม่ต้องถาม แต่จะเร็วกว่ากันกี่เท่าต่างหากที่น่าคิด

การที่พระราชพงศาวดารบอกว่า เรือสมเด็จพระนเรศวรมาทันยิงกันกับสำเภาพระยาจีนจันตุก็รุ่งสางพอเห็นท้ายกันแล้ว ผมก็พยายามสันนิฐานว่าน่าเป็นไปได้ด้วยเหตุใด และน่าจะมาทันแถวคุ้งใหญ่บางกระเจ้า เพราะสำเภาตรงนั้นต้องวิ่งสวนลมตรงๆเป็นระยะทางไกล ซึ่งพอหลุดตรงนั้นได้แล้วก็ไม่ต้องไปตาม แต่คุณหลวงก็บอกว่าขี้เกียจย้อนไปอ่านซะอีก
 
เรื่องความมืดในคืนขึ้น๔ค่ำไม่ต้องเป็นห่วงหรอกครับ วิ่งรักษาแนวกลางน้ำไว้ ยังไงๆก็มองเห็นอะไรเป็นน้ำอะไรเป็นบก ไม่ชนตลิ่งแน่นอน แม่น้ำเจ้าพระยาไม่ได้แคบเหมือนคลองแสนแสบที่เรือเมล์วิ่งสวนกัน น้ำคลำกระฉอกคนโดยสารเปียกปอนไปตามกัน


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 29 เม.ย. 11, 10:51
อ้างถึง
แต่เมื่อเรือสมเด็จพระนเรศวรตามมาทัน การจะโล้สำเภาเลียบฝั่ง
ย่อมไม่ปลอดภัยหนีไม่ทันแน่ พระยาจีนจันตุจึงให้โล้สำเภา
ออกไปกลางแม่น้ำ เข้าใจว่า ตอนนี้คงจะใช้ใบและให้กระแสน้ำ
ช่วยเดินเรือให้เร็วขึ้น (คิดว่าตอนนั้น น้ำคงกำลังลง)
เมื่อเป็นเช่นนี้ สำเภาพระยาจีนจันตุก็แล่นได้เร็ว และคงจะทิ้งระยะ
กับกองเรือสมเด็จพระนเรศวร พระองค์จึงให้เรือเล็กไปล้อมสำเภา
แต่ก็แปลกใจว่า ก็ในเมื่อล้อมสำเภาได้แต่ทำไมขึ้นสำเภาไม่ได้เลย
ทั้งที่กำลังคนและความเร็วกับความคล่องว่องไวของเรือเล็กน่าดีกว่าสำเภา

ก็เพราะกองเรือของพระองค์ไม่ทันได้ล้อมน่ะซีครับ เรือใบตอนกินลมเต็มที่ความเร็วไม่น้อยอย่าดูถูกนะครับ (ขอแรงย้อนกลับไปดูรูปเรือสำเภาจีนแล่นใบของคุณหนุ่มสยามหน่อย) แถมยังก่อให้เกิดคลื่นหัวเรืออีก เรือกราบเข้าไปประชิด ดีไม่ดีเรือคว่ำได้ อาจมีบางลำที่พยายามเข้าเสียบเข้าท้ายสำเภาเพราะตรงนั้นปลอดคลื่นหัวเรือ แต่ก็ปีนไม่สำเร็จเพราะท้ายเรือสูง คนบนเรือป้องกันง่าย พอเรือสำเภาวิ่งเข้าทางลมเต็มตัวก็ทิ้งห่าง ต้องเลิกรบ


หวังว่าคงจะจบเรื่องพระยาจีนจันตุนะครับ


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 02 พ.ค. 11, 09:53
^
ผมว่ายังไม่จบครับ  ;D

บังเอิญไปเจอภาพเหล่าเรือสำเภาค้าขายที่เมืองฮ่องกง เห็นท้ายเรือถือพายยาว ๒ อันพร้อมคนอยู่เบื้องหลัง แบบนี้คงเป็นการโล้เรือที่ท้ายเรือแน่เลย


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 02 พ.ค. 11, 10:07
^
ถ้าท้ายเรือไม่สูงจากน้ำมาก ก็พอไหวครับ
ตามภาพ ไม่ใช่เรือสำเภา เป็นเรือสำปั้นขนาดใหญ่ที่ออกแบบสำหรับให้โล้เลยทีเดียว


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 02 พ.ค. 11, 10:55
อะไรกัน  จะรีบจบไปไหน

ในพงศาวดารตอนพระยาจีนจันตุหนีโดยสำเภานั้นมีข้อความว่า

แล้วเอาเรือพระที่นั่งหนุนเข้าไปให้ชิดสาเภา
แล้วทรงปืนนกสับยิงถูกจีนผู้ใหญ่ตายสามคน
พระยาจีนจันตุก็ยิงปืนนกสับมา ต้องรางปืนต้นอันทรงนั้นแตก
พระยาจีนจันตุก็รบพุ่งป้องกันเป็นสามารถ
พลทหารข้าหลวงจะปีนขึ้นสำเภามิได้
พระยาจีนจันตุก็ให้โล้สำเภาออกพ้นปากน้ำตกลึก

แม้สำเภาของพระยาจีนจันตุจะหนีจากกองเรือสมเด็จพระนเรศวร
ที่ตามตีได้

แต่อุปสรรคของพระยาจีนจันตุยังไม่ได้หมดแต่เท่านั้น
ยังมีสิ่งที่สำเภาหรือเรือใหญ่ทุกลำที่ล่องเข้าออกแม่น้ำเจ้าพระยา
ต้องคำนึงถึงด้วยเสมอ  นั่นคือ สันดอนปากแม่น้ำเจ้าพระยา

สันดอนปากแม่น้ำเจ้าพระยากินอาณาบริเวณกว้างหลายกิโลเมตร
ก่อนที่มีการขุดลอกสันดอนปากแม่น้ำเจ้าพระยาในช่วงปี ๒๔๙๔
สันดอนนี้เป็นปัญหาในการเดินเรือเข้าออกในแม่น้ำเจ้าพระยามานาน
ดังที่มีบันทึกชาวต่างชาติจดไว้มากมาย

อย่างบันทึกชาวต่างชาติฉบับหนึ่งว่า

น้ำตรงสันดอนลึกประมาณ  ๑๒ ฟุต 
น้ำตรงสันดอนตื้นที่สุดในเดือนมีนาคม
ตรงน้ำลึกจะลึกเพียง  ๑๓ ฟุตเท่านั้น 
ในเดือนพฤศจิกายน  น้ำจะลึกที่สุดถึง ๑๘  ฟุต

ที่ว่าลึกหรือตื้นสุดตามบันทึกนี้ 
เป็นความลึกเมื่อน้ำขึ้นสูงสุดในแต่ละเดือน

และก็มีหลักฐานจากทางไทยที่จดไว้ว่า

ครั้นถึงเมืองปากน้ำพอย่ำฆ้อง  ดุเหว่าร้องเพลาประจุสสมัย 
ทอดสมอรอรั้งประทังใจ  อยู่ที่ปากชลาลัยนั้นสองวัน 
ต่อน้ำขึ้นจึงได้ถอยออกลอยล่อง  จำเพาะร่องสำเภาผายผัน 
แต่ฉุดชากลากเข็นอยู่เป็นควัน  หวังให้ทันมรสุมสำเภาไป 
ครั้นข้ามโขดหลังเต่าออกตกลึก  ก็ตั้งตรึกตรมจนกมลไหม้ 
เขาผูกจัดเชือกเสาแลเพลาใบ  แล้วคอยลมที่จะได้ไคลคลา 

ข้อความนี้คัดจากนิราศพระยามหานุภาพไปเมืองจีน
เมื่อวันอังคารแรม ๑๓ ค่ำเดือน ๗ ปี ๒๓๒๔
ก็ขนาดสำเภาพระยามหานุภาพไปเดือน ๗ ยังต้องรอออกจากปากน้ำ
ถึง ๒ วันเพื่อให้ถึงวันแรม ๑๕ ค่ำ  น้ำจึงจะขึ้นสูงพอจะเอาเรือข้ามสันดอนได้
กระนั้นกว่าข้ามไปได้  ก็ต้องฉุดกระชากลากเข็นกันพอสมควร
ทั้งนี้ต้องไม่ลืมว่า  เดือน ๗ นั้น เป็นเทศกาลฝนแล้ว 
น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาก็น่าจะมากกว่าช่วงเดือน  ๓-๔ (เดือนมีนาคม) แต่ก็ยังข้ามสันดอนลำบาก

ทีนี้มาดูสำเภาพระยาจีนจันตุซึ่งหนีมาตอนวันแรม ๔ ค่ำ
ซึ่งไม่ใช่ช่วงเวลาที่น้ำขึ้นสูง  คือ วันขึ้น แรม ๑๕ ค่ำ 
(แถมวันขึ้นแรม ๑ ค่ำให้อีกวัน)  แถมช่วงนั้นเป็นช่วงฝนแล้ง
น้ำในแม่น้ำย่อมไม่มาก  จะมากก็แต่วันที่น้ำทะเลหนุนสูง
คือวันขึ้นแรม ๑๕ ค่ำ  ที่เรียกว่าวันน้ำเกิด

ปกติชาวเรือเมื่อล่องเรือมาถึงปากน้ำจะทอดสายดิ่งหยั่งความลึกของน้ำ
แล้วจะต้องรอจนกระทั่งวัน ๑๕ ค่ำก่อน
และรอน้ำขึ้นสูงสุดจึงจะเอาเรือข้ามสันดอนไป 

กรณีพระยาจีนจันตุ เอาสำเภามาในช่วงไม่ใช่เวลาน้ำเกิด
และหนีเขามา  จะได้ทอดสายดิ่งหยั่งน้ำดูหรือเราก็ไม่ทราบ
แต่พระยาจีนจันตุสามารถเอาสำเภาข้ามสันดอนปากแม่น้ำ
เจ้าพระยาด้วยการโล้จนลึกได้ในวัน แรม ๔ ค่ำ เดือน ๒
นับว่าเก่งมาก   

การที่สมเด็จพระนเรศวรให้กองเรือตามพระยาจีนจันตุมาถึงปากน้ำนั้น
คงจะคาดการณ์ไว้แล้วว่า  สำเภาพระยาจีนจันตุจะข้ามสันดอน
ไปยังไม่ง่าย  ถึงอย่างไรก็ก็อาจจะตามจับได้ที่สันดอนนั่นเอง
ซึ่งในระหว่างนั้น  กองเรือของสมเด็จพระนเรศวรอาจจะกำลังรอ
ทัพเรือที่กำลังตามมาสมทบด้วย  แต่ปรากฏว่าทัพเรือสมทบมาช้า
ไม่ทันการณ์  พระยาจีนจันตุ โล้ สำเภาพ้นสันดอนตกลึกไปแล้ว

ผมก็สงสัยอยุ่ว่า  ถ้าโล้อย่างที่คุณNAVARAT.C ว่า
พระยาจีนจันตุ  แกจะเอาสำเภาของแกข้ามสันดอน
ที่กินอาณาบริเวณกว้างเป็นหลายกิโลเมตร
ในช่วงน้ำขึ้นน้อยในเดือน ๒ ได้อย่างไร  ??? 


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 02 พ.ค. 11, 16:27
^
อ้างถึง
ข้อความนี้คัดจากนิราศพระยามหานุภาพไปเมืองจีน
เมื่อวันอังคารแรม ๑๓ ค่ำเดือน ๗ ปี ๒๓๒๔
ก็ขนาดสำเภาพระยามหานุภาพไปเดือน ๗ ยังต้องรอออกจากปากน้ำ
ถึง ๒ วันเพื่อให้ถึงวันแรม ๑๕ ค่ำ น้ำจึงจะขึ้นสูงพอจะเอาเรือข้ามสันดอนได้
กระนั้นกว่าข้ามไปได้ ก็ต้องฉุดกระชากลากเข็นกันพอสมควร
ทั้งนี้ต้องไม่ลืมว่า เดือน ๗ นั้น เป็นเทศกาลฝนแล้ว
น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาก็น่าจะมากกว่าช่วงเดือน ๓-๔ (เดือนมีนาคม) แต่ก็ยังข้ามสันดอนลำบาก

พระยามหานุภาพคงไปกับเรือสำเภาที่แต่งสินค้าไปขายเมืองจีนด้วย คงต้องเอาของบรรทุกลงระวางเพียบเพื่อให้ได้กำไรสูงสุด น้ำหนักเรือคงจะแปร้น้ำ ก็เป็นปกติที่สำเภาพวกนี้จะออกสันดอนได้ก็ในช่วงน้ำใหญ่(น้ำขึ้นสูงสุดในแต่ละปักษ์)เท่านั้น ก็เขาจะรอกี่วันก็ได้ ไม่รีบร้อนหนีตายใครมานี่

แล้วยังไงครับ เรือพระยาจีนจันตุจะต้องไปรอเหมือนเขาด้วยเหรอ ???

จากพระราชพงศาวดาร

ครั้นถึง ณ วันอาทิตย์ เดือนยี่ ขึ้นสี่ค่า ปีระกา ตรีศก ( ตรงกับ ศักราช ๙๒๓ ) เพลาประมาณ สองนาฬิกา พระยาจีนจันตุ ก็พาครัวลงสาเภาหนีล่องลงไป

ผมเคยเขียนไว้แล้วนะครับว่า
เดือนยี่ คือเดือนธันวาคม เป็นช่วงที่ลมเหนือพัดพาเอาหนาวลงมาจากจีนพอดี ตรงตามที่ผมสันนิฐานไว้ พระยาจีนจันตุคงมีแผนหนีอยู่นานแล้ว ไม่ใช่เรื่อบังเอิญแบบเหตุการณ์พาไปอย่างในหนัง ขึ้นสี่ค่ำ น้ำยังเต็มฝั่งอยู่ วิ่งไม่ต้องกลัวท้องครูดเลนใต้น้ำในบางช่วงด้วย

ไม่ใช่ช่วงเดือน ๓-๔ (เดือนมีนาคม)ที่คุณหลวงว่านะครับ

อีกตอนหนึ่งก็เขียนไว้ว่า
ผมคิดว่าที่พระยาจีนจันตุเลือกออกเรือตอน๒ยาม ก็น่าจะเป็นช่วงที่น้ำกำลังจะขึ้นสูงสุดแล้ว และจะทรงอยู่สักช่วงหนึ่งก่อนที่จะเริ่มไหลลงสู่ทะเลใหม่ เรือจะได้วิ่งตามน้ำตามลมมาสบายๆ ถ้าความเร็วเรือเฉลี่ยประมาณ๘น๊อต หรือประมาณ๑๕ กม./ชม. ก็น่าจะออกปากอ่าวได้ในตอนสายๆ


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 02 พ.ค. 11, 16:30
อ้างถึง
ทีนี้มาดูสำเภาพระยาจีนจันตุซึ่งหนีมาตอนวันแรม ๔ ค่ำ
ซึ่งไม่ใช่ช่วงเวลาที่น้ำขึ้นสูง คือ วันขึ้น แรม ๑๕ ค่ำ
(แถมวันขึ้นแรม ๑ ค่ำให้อีกวัน) แถมช่วงนั้นเป็นช่วงฝนแล้ง
น้ำในแม่น้ำย่อมไม่มาก จะมากก็แต่วันที่น้ำทะเลหนุนสูง
คือวันขึ้นแรม ๑๕ ค่ำ ที่เรียกว่าวันน้ำเกิด

ความจากสารานุกรม ของราชบัณฑิตสถาน

น้ำเกิด-น้ำตาย เป็นสภาวะอย่างหนึ่งของน้ำขึ้นน้ำลงในบริเวณริมทะเลหรือบริเวณที่ได้รับผลกระทบจากน้ำทะเล.

น้ำเกิด หมายถึง น้ำขึ้นในระดับสูงมากและลงต่ำมากในช่วงวัน เนื่องจากดวงจันทร์และดวงอาทิตย์โคจรมาอยู่ในแนวเดียวกับโลก จึงมีอิทธิพลในการดึงดูดน้ำทะเลให้มีระดับแตกต่างกันมากดังกล่าว. ในแต่ละเดือน มีน้ำเกิด ๒ ช่วง คือ ช่วงวันเดือนเพ็ญ ตั้งแต่ วันขึ้น ๑๓ ค่ำถึงวันแรม ๒ ค่ำ และช่วงวันเดือนดับ ตั้งแต่ วันแรม ๑๓ ค่ำ ถึงวันขึ้น ๒ ค่ำ.

ส่วน น้ำตาย หมายถึง น้ำขึ้นน้อยและลงน้อย บางครั้งจะสังเกตไม่ค่อยได้ว่าเป็นน้ำขึ้นหรือน้ำลง ทั้งนี้เนื่องจาก ดวงจันทร์ โลก และดวงอาทิตย์ โคจรมาอยู่ในแนวตั้งฉากซึ่งกันและกัน. ในแต่ละเดือนมีน้ำตาย ๒ ช่วง คือ ช่วงกึ่งปักษ์แรก คือ ระหว่างขึ้น ๕-๙ ค่ำ และช่วงกึ่งปักษ์หลัง คือ ระหว่างแรม ๕-๙ ค่ำ

ทีนี้ผมเอาระดับน้ำที่ขึ้นสูงสุดและลงต่ำสุด ในแต่ละเดือน เก็บจากมาตราน้ำ กองทัพเรือ มาให้ดูเป็นความรู้

(หน่วยเป็นเมตร สูงกว่าระดับน้ำทะเลปานกลาง)
มค  3.86-0.74   กพ 3.77-0.94   มีค 3.66 -0.88  เมย 3.68-0.72
พค  3.69-0.60   มิย 3.70-0.38   กค  0.72-0.25  สค 3.77-0.46
กย  3.61 -0.79  ตค 3.42-0.65   พย 3.75-0.42   ธค 3.89-0.53
ที่มา
http://www.navy.mi.th/hydro/services2011.htm

จะเห็นว่าน้ำในเดือนยี่หรือธันวาคมถือว่ามากที่สุดในแต่ละปี เพิ่งจะผ่านวันลอยกระทงไปได้ไม่กี่วันเอง
เมื่อคุณหลวงตั้งสมมติฐานผิด มันก็เลยผิดตลอด
และถ้าพระยาจีนจันตุเลือกหนีในวันคืนที่เป็นช่วงน้ำตายของเดือนยี่ คือวันแรม๔ค่ำ ระดับน้ำขึ้นไม่มากเกินไป ลงก็ไม่มากเกินไป จะสะดวกตั้งแต่ออกเรือจากอยุธยามาตามแม่น้ำเจ้าพระยา เพียงแต่กะเวลาให้เรือมาถึงสันดอนในช่วงน้ำขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ก็เอาตัวรอดแล้ว


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 02 พ.ค. 11, 16:32
อ้างถึง
ปกติชาวเรือเมื่อล่องเรือมาถึงปากน้ำจะทอดสายดิ่งหยั่งความลึกของน้ำ
แล้วจะต้องรอจนกระทั่งวัน ๑๕ ค่ำก่อน
และรอน้ำขึ้นสูงสุดจึงจะเอาเรือข้ามสันดอนไป

กรณีพระยาจีนจันตุ เอาสำเภามาในช่วงไม่ใช่เวลาน้ำเกิด
และหนีเขามา จะได้ทอดสายดิ่งหยั่งน้ำดูหรือเราก็ไม่ทราบ
แต่พระยาจีนจันตุสามารถเอาสำเภาข้ามสันดอนปากแม่น้ำ
เจ้าพระยาด้วยการโล้จนลึกได้ในวัน แรม ๔ ค่ำ เดือน ๒
นับว่าเก่งมาก


อย่าลืมว่าพระยาจันตุเป็นจารชน ไม่ใช่พ่อค้าธรรมดาๆนะครับ เขาเข้ามาแล้วก็ต้องเตรียมทีหนีทีไล่ให้รอบคอบ เรื่องทิ้งดิ่งหาความติ้นลึกของสันดอนและแม่น้ำเจ้าพระยาตลอดเส้นทางนั้น ตัวคุณอาจจะไม่ทราบ แต่เขาต้องทำแน่นอน นายเรือทุกคนก็ต้องทำเช่นนั้นเป็นวิสัยอยู่แล้ว ไม่ต้องปกปิดเจ้าของประเทศด้วย

แผนการณ์หนีของเขาเมื่อข้อมูลครบ ก็ต้องกำหนดเวลาเรือออกให้พอดีจังหวะน้ำขึ้นน้ำลง น้ำหนักเรือและผู้คนข้าวของต้องเป๊ะ เรือต้องลอยข้ามสันดอนบริเวณปากอ่าวได้ไม่กินน้ำลึกมากเกิน ก็ไม่ได้เข้ามาค้าขายนี่นา จะแล่นเรือเปล่าๆออกไปก็ไม่ขาดทุนอะไร เดี่ยวถึงเมืองละแวกก็ได้รับปูนบำเหน็จตกเบิกอยู่แล้ว


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 02 พ.ค. 11, 16:33
อ้างถึง
การที่สมเด็จพระนเรศวรให้กองเรือตามพระยาจีนจันตุมาถึงปากน้ำนั้น
คงจะคาดการณ์ไว้แล้วว่า สำเภาพระยาจีนจันตุจะข้ามสันดอน
ไปยังไม่ง่าย ถึงอย่างไรก็ก็อาจจะตามจับได้ที่สันดอนนั่นเอง
ซึ่งในระหว่างนั้น กองเรือของสมเด็จพระนเรศวรอาจจะกำลังรอ
ทัพเรือที่กำลังตามมาสมทบด้วย แต่ปรากฏว่าทัพเรือสมทบมาช้า
ไม่ทันการณ์ พระยาจีนจันตุ โล้ สำเภาพ้นสันดอนตกลึกไปแล้ว

ถ้าคุณหลวงลงทุนอ่านที่ผมเขียนไปแล้วซะหน่อยก็จะพบว่า ผมไม่ได้เชื่อที่พงศาวดารเขียนว่าสมเด็จพระนเรศวรมาทันพระยาจีนจันตุที่ปากน้ำเลย ผมสันนิฐานว่าน่าจะทันๆกันที่คุ้งบางกระเจ้า เพราะพอเข้าทางตรง เรือสำเภาก็จะได้ลมส่งท้ายวิ่งฉิวไปแล้ว เรือดั้งเรือกราบทั้งหลายไม่มีทางตามทัน ไม่ต้องไปรอถึงปากอ่าวดอก

ส่วนเรื่องสันดอนนั้น ถ้าเรือกินน้ำลึกเกินไป มันก็ติด ไม่ใช่เพราะแล่นใบแล้วเรือจึงจะติด เลยต้องใช้วิธีโล้ถึงจะกระเดือกดึ๊บๆไปได้


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 02 พ.ค. 11, 16:36
อ้างถึง
ผมก็สงสัยอยุ่ว่า ถ้าโล้อย่างที่คุณNAVARAT.C ว่า
พระยาจีนจันตุ แกจะเอาสำเภาของแกข้ามสันดอน
ที่กินอาณาบริเวณกว้างเป็นหลายกิโลเมตร
ในช่วงน้ำขึ้นน้อยในเดือน ๒ ได้อย่างไร

ก็ไม่รู้ว่าเอาที่ไหนมาสงสัย ผมว่าไว้เมื่อไหร่ว่าพระยาจีนจันตุโล้เรือสำเภาข้ามสันดอน โธ่เอ๋ย ก็เรือมันแปลว่ายานพาหนะที่ต้องวิ่งบนน้ำ ไม่ใช่จะวิ่งบนเลนได้ ถ้าแล่นใบมาแล้วติดสันดอน ก็ต้องรอน้ำขึ้นสถานเดียวให้เรือหลุดจากโคลน ลอยขึ้นมากับน้ำนั่นแหละ ถึงจะไปต่อได้  ไม่ใช่ใช้วิธีโล้ให้เรือวิ่งไปบนเลนจนกว่าจะพ้นสันดอน นั่นมันหนังการ์ตูนมั๊ง

ถ้ายังข้องใจไม่อยากจะจบ ก็เชิญปุจฉาต่อนะครับ


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 02 พ.ค. 11, 16:56
ระดับน้ำที่คุณหามานั้น ไม่ได้หมายความว่า ระดับที่สันดอนจะต้องสูงเท่านั้นด้วยสักหน่อย  ที่ทั้งสันดอนนั้นสูงเป็นหลังเต่า  
มีบันทึกว่า  ขนาดน้ำขึ้นสูงแล้วยังสูงจากสันดอนไม่เท่าไร
ขนาดว่าทูตฝรั่งที่เข้ามาสยามสมัยกรุงศรีอยุธยา
มาเรือกำปั่นที่ไม่ได้บันทุกอะไรหนักหนา  
ยังทอดสมอเอาเรือไว้นอกสันดอน  


ที่สำคัญ  คุณตอบได้ไหมว่า  ช่วงที่พระยาจีนจันตุหนีไปนั้น
น้ำขึ้น หรือน้ำลง


ผมสงสัยว่า  สำเภาปกติกินน้ำลึกเท่าไร
และถึงไม่ได้บันทุกสินค้า  แต่ก็ต้องบันทุกเสบียง
คน  (ไม่ต่ำกว่า  ๕๐  คนแน่นอน)  โดยเฉพาะน้ำจืด
และจากปากน้ำเจ้าพระยา พระจันจันตุจะไปถึงท่าที่ใด
ถ้าไปปากน้ำโขง   คงใช้เวลาเดินพอสมควร
เพราะเมืองละแวกอยู่ในแผ่นดินเขมร

เว้นเสียแต่ว่าพระยาจีนจันตุจะไปจอดเรือที่เมืองอื่น


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 02 พ.ค. 11, 17:39
อ้างถึง
ระดับน้ำที่คุณหามานั้น ไม่ได้หมายความว่า ระดับที่สันดอนจะต้องสูงเท่านั้นด้วยสักหน่อย ที่ทั้งสันดอนนั้นสูงเป็นหลังเต่า
มีบันทึกว่า ขนาดน้ำขึ้นสูงแล้วยังสูงจากสันดอนไม่เท่าไร

ก็เขาวิ่งเรือขึ้นไปบนหลังเต่าที่ไหนละครับ

ทุกปากแม่น้ำในโลกนี้ตรงจุดที่เรียกว่าสันดอนนั้นจะมีร่องน้ำตามธรรมชาติ สมัยที่ยังไม่มีการขุดลอกสันดอนปากน้ำเจ้าพระยา เขาก็วิ่งเรือตามร่องน้ำ โดยมีผู้รับจ้างที่ชำนาญพื้นที่ “นำร่อง”ให้

เอารูปร่องน้ำธรรมชาติที่ไหลผ่านสันดอนมาให้ดูพอให้เข้าใจ (ไม่ใช่รูปแแม่น้ำเจ้าพระยานะครับ ขอบอก)


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 02 พ.ค. 11, 17:40
อ้างถึง
ขนาดว่าทูตฝรั่งที่เข้ามาสยามสมัยกรุงศรีอยุธยา
มาเรือกำปั่นที่ไม่ได้บันทุกอะไรหนักหนา
ยังทอดสมอเอาเรือไว้นอกสันดอน

เรือทูตเดินสมุทรมาจากยุโรประวางขับน้ำแค่ไหน(แปลว่าใหญ่แค่ไหน+กินน้ำลึกแต่ไหน) เรือพระยาจีนจันตุเป็นสำเภาที่หากินในน่านน้ำแถวนี้ไกลอย่างมากก็กวางตุ้ง เรือไม่ต้องใหญ่เท่าเรือที่ต้องอ้อมแหลมกู๊ดโฮป ผมเขียนไปแล้วว่าเมืองละแวกอยู่ในแม่น้ำ ลึกเข้าจากปากอ่าวพอๆกับกรุงศรีอยุธยา เรื่อวิ่งในแม่น้ำกับวิ่งเลียบฝั่งใกล้ๆได้ มันจะไปใหญ่โตเท่าเรือทูตได้อย่างไร



กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 02 พ.ค. 11, 17:43
อ้างถึง
ที่สำคัญ คุณตอบได้ไหมว่า ช่วงที่พระยาจีนจันตุหนีไปนั้น
น้ำขึ้น หรือน้ำลง

จะน้ำขึ้น หรือน้ำลง หรือน้ำตาย ไม่ใช่ประเด็น ประเด็นคือน้ำในร่องน้ำขณะนั้นลึกเท่าไหร่ ท้องเรือจะติดไหมถ้าวิ่งไปตามร่องน้ำโดยไม่ต้องมีนำร่อง
ตรงนี้พระยาจีนจันตุต้องเตรียมตัวมาอย่างดีแล้ว


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 02 พ.ค. 11, 17:45
อ้างถึง
ผมสงสัยว่า สำเภาปกติกินน้ำลึกเท่าไร


เรือสำเภาที่ใช้วิ่งเลียบชายฝั่งอ่าวไทย ขนาดเรือในภาพที่หากินในอ่าวกวางตุ้งนี่ ตัวเรือเปล่าๆก็ไม่น่าจะกินน้ำลึกเกินเมตรครึ่ง ทั้งนี้ย่อมขึ้นอยู่กับขนาดของเรือด้วย มันมีมาตรฐานซะเมื่อไหร่ว่าเรือสำเภาจะต้องใหญ่เท่านั้นเท่านี้



กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 02 พ.ค. 11, 17:48
อ้างถึง
และถึงไม่ได้บันทุกสินค้า แต่ก็ต้องบันทุกเสบียง
คน (ไม่ต่ำกว่า ๕๐ คนแน่นอน) โดยเฉพาะน้ำจืด

ผมว่าเอามาทำไมตั้ง๕๐  เอามาทำอะไร เปลืองข้าวสุก ดีไม่ดีพระเจ้าแผ่นดินเห็นเอาคนมามาก ก็ให้ไล่ออกไปเลยก็ได้

คนในเรือสัก๑๐คนก็มากเกินพอที่จะมาทำงานเฉพาะกิจ เสบียงก็ไม่ได้มากมาย น้ำจืดก็เรื่องเล็ก ถ้าเพื่อไว้ดื่มกินก็โอ่งเดียวพอ จุดจอดเรือมีตลอดทาง ม้าเร็วจากกรุงศรีอยุธยาไม่มีทางควบทันเพื่อแจ้งข่าว

ถ้าเรือเบาลมดีๆ เพียงสองสามวันก็เข้าเขตเขมรไปลึกแล้ว


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 02 พ.ค. 11, 17:50
อ้างถึง
และจากปากน้ำเจ้าพระยา พระจันจันตุจะไปถึงท่าที่ใด
ถ้าไปปากน้ำโขง คงใช้เวลาเดินพอสมควร
เพราะเมืองละแวกอยู่ในแผ่นดินเขมร
เว้นเสียแต่ว่าพระยาจีนจันตุจะไปจอดเรือที่เมืองอื่น

อันนี้ผมยังไม่ศึกษา จึงไม่อยากสันนิฐานไปมั่วๆ

เชิญถามอีกได้ครับ อะไรที่ตอบได้ผมจะพยายามตอบ อะไรที่ไม่รู้ผมก็จะบอกว่าไม่รู้ 


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: CrazyHOrse ที่ 03 พ.ค. 11, 00:04
เอาข้อมูลมาแจมสนุกๆนะครับ

แรมสี่ค่ำเดือนยี่ พระจันทร์ขึ้นราวสามทุ่ม ตกสายๆราว ๙ นาฬิกา แรมสี่ค่ำนี่พระจันทร์ค่อนข้างสว่างนะครับ เพิ่งจะผ่านวันเพ็ญไปแค่สี่วัน

วันแรมสี่ค่ำ น้ำจะขึ้นสูงสุดที่สันดอนปากแม่น้ำเจ้าพระยาในราว ๗-๙ นาฬิกา



กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: CrazyHOrse ที่ 04 พ.ค. 11, 16:01
กลับมาดูอีกที ปล่อยไก่อีกแล้ว ขออภัยครับ แรม 4 ค่ำ ไม่ใช่ขึ้น 4 ค่ำ

เรื่องน้ำนั้น ข้างแรม หรือ ข้างขึ้น ไม่ต่างกัน

แต่พระจันทร์ ขึ้นสี่ค่ำ พระจันทร์ขึ้นเอา ๙ นาฬิกาตอนเช้า ตกตอนสามทุ่มครับ กลับกับข้างแรม ดังนั้นช่วงนั้นหลังสามทุ่มไม่เห็นพระจันทร์ครับ


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 04 พ.ค. 11, 18:55
ช่วงเวลาน้ำที่ขึ้นสูงสุด หรือลงต่ำสุดของวันใดก็ตาม สมมติว่าเป็นวันแรม๔ค่ำก็ได้ จะไม่ตรงกันทุกปีหรอกครับ แต่จะเหลื่อมกันประมาณ๑ชั่วโมง+หรือ-ในวันนั้นของปีถัดไป ต้องอาศัยการคำนวณจึงจะทราบ

ตารางน้ำขึ้นน้ำลงที่เรียกว่ามาตราน้ำที่ผมlinkให้นี้ เป็นหน้าที่ของกรมอุทกศาสตร์ทหารเรือที่จะต้องคำนวณออกมาในแต่ละวัน ของทุกเดือน ของแต่ละปี ของแต่ละสถานีวัดน้ำทั้งในแม่น้ำ และทะเลตลอดน่านน้ำไทย แจกให้กับทหารเรือ และขายให้กับประชาชน เมื่อก่อนผมต้องไปซื้อทุกปี ปีละครั้ง เพราะมีหน้าที่การงานเกี่ยวข้องกับน้ำขึ้นน้ำลงอยู่หลายปี

ไม่ทราบว่าเวลาที่คุณม้ากล่าวถึง เป็นสมัยสมเด็จพระนเรศวรก็จริง แต่ถ้ารู้วันที่และพ.ศ.แน่นอน และมีสูตรคำนวณอยู่ในมือ ก็ไม่เหลือวิสัยที่วิศวกรคนหนึ่งจะคำนวณได้
ด้วยความเคารพ(ขอโทษ ไม่ได้เหวงนะครับ) คำถามก็คือคุณม้าได้ตัวเลขที่ว่ามาอย่างไรครับ





กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 04 พ.ค. 11, 20:03
ไม่ได้อ่านด้วยตาตัวเองก็ไม่อยากจะเชื่อ      ขอนำไปอวดคนภายนอกว่าในเว็บเรือนไทย  มีผู้สามารถนั่งยานเวลากลับไปดูน้ำขึ้นน้ำลงในคืนพระยาจีนจันตุ ลงเรือหนีสมเด็จพระนเรศวรได้    ถ้าไม่เชื่อให้มาพิสูจน์ในกระทู้นี้   
เสียดายที่ฝรั่งไม่ได้บอกวันเดือนปี ที่ทูตโปรตุเกสจากมะละกาพานักโทษโปรตุเกสในอยุธยาหนีจากพระเจ้าทรงธรรม  ออกอ่าวไทยไปได้โดยเรือหลวงจ้ำฝีพายตามไม่ทัน   (ในกระทู้โปรตุเกสเข้าเมือง)  ไม่งั้นคงได้นั่งยานเวลากลับไปดูกันอีกฉาก

ตอนที่เล่าถึงเหตุการณ์ที่สอง   ดิฉันอดคิดไม่ได้ว่า สันดอนแม่น้ำคงข้ามไม่ยากเย็นนักละมัง  เรือสำเภา(หรือกำปั่น?) จึงสามารถแล่นหนีออกสันดอนปากอ่าวไปได้ไม่ติดขัด   แม้ว่าเป็นการหนีแบบฉุกละหุก   เพราะทูตโปรตุเกสคงไม่ได้คำนวณล่วงหน้าว่าจะหนีตอนคืนไหนน้ำขึ้นมากเท่าไร    เพียงแต่เห็นท่าไม่ดีว่าพระเจ้าทรงธรรมเปลี่ยนพระทัย ทำท่าจะยึดนักโทษกลับเข้าคุก   ก็หนีเอาชีวิตรอดเลยในตอนนั้น  แล้วก็หนีสำเร็จเสียด้วย  ทหารเรือหลวงตามไม่ทัน


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: CrazyHOrse ที่ 04 พ.ค. 11, 20:46
ขออภัยที่ไม่ได้อ้างที่มาที่ไปครับ  ;D

ใช้ข้อมูลจากกรมอุทกศาสตร์กองทัพเรือเหมือนกันครับ เดี๋ยวนี้เขามีแจกบนเว็บแล้วครับ ผมเคยได้ใช้บริการข้อมูลนี้มาหลายครั้งแล้วครับ ขอขอบพระคุณไว้ ณ ที่นี้ด้วย

เรื่องน้ำขึ้นน้ำลง ถ้าเป็นในทะเล ก็จะคำนวณเอาจากแรงดึงดูดของดวงจันทร์เป็นหลัก เสริมด้วยแรงจากดวงอาทิตย์ ประเภทดาวเคราะห์เรียงตัวกัน 7-8 ดวงนี่ไม่ต้องครับ  ;D

แต่ในแม่น้ำลำคลอง มีเรื่องฝนฟ้าเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย น้ำขึ้นลงสูงสุดแค่ไหนจึงต้องบวกลบเผื่อไว้ด้วยดังที่คุณ Navarat.C กรุณาชี้แนะไว้ครับ

ระดับน้ำย้อนหลังไปนานๆก่อนที่จะมีบันทึกไว้ จึงทำได้ในระดับการดูสถิติย้อนหลังอ้างอิงเอาครับ


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: ราชปักษา ที่ 31 พ.ค. 18, 23:27
เข้ามาเก็บเล็กเชอร์  ลองอาจารย์ทักมาแบบนี้

แสดงว่า ความหมายของ ทหารทด ที่ทั่นมุ้ยเคยอธิบายไว้ ยังไม่ตรงเรอะขอรับ

(https://media.moddb.com/cache/images/mods/1/21/20975/thumb_620x2000/2015-01-30_00018.jpg)


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: Naris ที่ 01 มิ.ย. 18, 14:28
ตอนที่วิชานี้ยังคึกคัก ผมยังไม่ได้มาที่เรือนนี้เลยไม่ได้ฟังการบรรยายสด เพึ่งมาอ่านย้อนหลังเนี่ยแหละครับ


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 01 มิ.ย. 18, 16:44
ผมเพิ่งเข้ามาเจอ และไม่รู้จักคำว่าทหารทด คุณราชปักษาก็มิได้อ้างถึงว่ามาจากคคห.ไหน ทำให้ผมต้องย้อนไปอ่านทั้งเรื่อง แล้วก็ยังไม่เจอที่มาที่ไปอยู่ดี  คงไปอะไรต่อไม่ได้ครับ


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: ninpaat ที่ 01 มิ.ย. 18, 17:26
เข้ามาอ่าน และเกิดสงสัยคำว่า ทหารทด เหมือนกันครับ

เลยลองถามออเจ้ากูเกิ้ล จึงไปได้เบาะแส ที่เฟซบุ๊ค วิพากษ์ประวัติศาสตร์ (https://www.facebook.com/WipakHistory/?hc_ref=ARSIrjp03UxsnY8PYkdnKB1ZPJZtXKhu5e53tSxKvahB4ykbZ9ecfEH8psxaHN6T-wQ&fref=nf)
ตามระโยงนี้ครับ ลักไวทำมู ทหารทด ปีกฉนาง (https://www.facebook.com/WipakHistory/posts/1532812426782222)

จำได้ว่า ในภาพยนต์ของท่านมุ้ย ฉากนี้ จะมีทหารถือโล่ห์และทวน วิ่งวนเพื่อตั้งกระบวนค่ายกลเข้าโอบล้อม สมเด็จพระนเรศวรไว้เพียงลำพังครับ



กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 01 มิ.ย. 18, 17:36
ทหารทดสมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้าทรงม้าทวนไล่ข้าศึกเข้าไป และข้าศึก ๒ ปีกออกหุ้มพระองค์และทหารนั้น เข้าไว้ ลักไวทำมูถือดาบดั้งเข้ามาจะกุมเอาพระองค์ ๆ ทรงแทรกด้วยพระแสงทวนถูกลักไวทำมู ๆ ฟันต้องพระแสงทวนเป็นแผล แต่ลักไวทำมูตาย ทหารทดถือโตมรและหอกใหญ่ตรงเข้ามา ทรงฟันด้วยพระแสงดาบถูกสะพายแล่งล้มลงตาย ก็เสด็จกลับเข้ามาพระนคร สมเด็จพระเจ้าหงสาวดี ให้เข้ามาตีค่ายชาวพระนคร ถึง ๒-๓ ครั้งมิได้แตกฉาน จึงตรัสว่าจวนเทศกาลฟ้าฝนน้ำนองอยู่แล้ว ก็ส่งให้เลิกทัพเสด็จกลับไปเมืองหงสาวดี

ทหารทด(ทศ)คืออะไร? ช่วยกันค้นทีเร๊ว

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=4341.0;attach=19063;image)


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 01 มิ.ย. 18, 18:10
ทหารทดน่าจะมีความหมายเดียวกับทหารคุ้มกัน ทศคือคำที่ชวนให้นึกว่าพวกนี้มี ๑๐ คน

อันนี้ชวนคุยเฉยๆนะครับ ไม่ใช่คำตอบ


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: ราชปักษา ที่ 01 มิ.ย. 18, 20:34
อาจเป็นไปได้ทั้ง 2 ความหมายขอรับ คือ พวกนี้มีเป็นหมู่ย่อย และ ยังมีหน้าที่ ทดกั้นข้าศึกอีก

สังเกตุว่า ใช้อาวุธแบบดั้งใหญ่และหอกยาว ซึ่งปกติไพร่พลแถบนี้ไม่ค่อยนิยม เนื่องจากยาวเกะกะเกินในการรบถึงตัว


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 01 มิ.ย. 18, 21:38
ท่านรอยอินให้ความหมายของคำว่า ทด มาว่า
(๑) ก. กันไว้, กั้นไว้, ทำให้นํ้าท่วมท้นขึ้นมาด้วยทำนบเป็นต้น เช่น ทดนํ้า
(๒) ก. เพิ่ม
(๓)  (โบ) ก. แทน เช่น ทดข้าวทดปลา.

ทหารทด  น่าจะตรงกับความหมายที่ ๑ ค่ะ
ดูจากคำบรรยายทั้ง ๒ แห่ง ทหารทดอยู่ใกล้จอมทัพมาก  ในระยะประชิดตัว   น่าจะเป็นหน่วยคุ้มกันพระราชาเวลาออกศึก  มีทั้งในทัพไทยและทัพพม่า
ทหารที่ถือโตมรและหอกใหญ่เข้ามาถึงตัวสมเด็จพระนเรศวรได้ ก็น่าจะเป็นหน่วยคุ้มกันแม่ทัพของพม่า  เมื่อสมเด็จพระนเรศวรทรงลุยเข้าไปถึงตัวแม่ทัพลักไวทำมู  ทหารทดฝ่ายพม่าก็เลยลุยเข้ามาปะทะพระองค์ท่าน  แต่นายคนนี้เห็นทีไม่ได้ขี่ม้า   เป็นทหารเดินเท้า  เมื่อถูกฟันจึงล้มลงตาย


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: ninpaat ที่ 02 มิ.ย. 18, 08:42
ทหารทดน่าจะมีความหมายเดียวกับทหารคุ้มกัน ทศคือคำที่ชวนให้นึกว่าพวกนี้มี ๑๐ คน

ตัวผมคิดว่า ทหารทด น่าจะเป็นผู้ที่เข้าขัดขวางศัตรู หรือทหารคุ้มกัน นั่นเองครับ

พอดีผมนึกได้ว่า ตอนผู้นำเกาหลีเหนือและใต้มาประชุมร่วมกันที่ปันมุนจอม ได้มีคลิปถ่ายให้เห็นองครักษ์ 12 นาย วิ่งล้อมรอบรถของประธานาธิบดี คิมจองอัน

จึงขออนุญาต นำตัวอย่างของทหารทดในยุคปัจจุบัน ที่น่าจะมีความคล้ายคลึงกับทหารทดสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช มาแสดงให้พอเห็นภาพครับ

Credit : RT News

http://www.youtube.com/watch?v=jvDva0ro2WA (http://www.youtube.com/watch?v=jvDva0ro2WA)



กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 02 มิ.ย. 18, 10:51
เข้ามาเก็บเล็กเชอร์  ลองอาจารย์ทักมาแบบนี้

แสดงว่า ความหมายของ ทหารทด ที่ทั่นมุ้ยเคยอธิบายไว้ ยังไม่ตรงเรอะขอรับ

แล้วท่านมุ้ยอธิบายไว้ว่าอย่างไรครับ


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 02 มิ.ย. 18, 11:29
@ คุณ ninpaat

เอาทหารทดของทรัมป์มาโชว์บ้างค่ะ


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: ราชปักษา ที่ 02 มิ.ย. 18, 12:39


แล้วท่านมุ้ยอธิบายไว้ว่าอย่างไรครับ

ขออภัยอย่างมาก ความจำคลาดเคลื่อน คนอธิบายคือ ดร.สุเนตรครับ
ประเด็น เกี่ยวทหารทศ อยู่ที่นาทีตั้งแต่ 4.19.32

https://www.youtube.com/watch?v=pQ9zZD6FXCo


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: Naris ที่ 05 มิ.ย. 18, 15:24
ประเด็นเรื่องทหารทศ หรือทหารทด ตอนที่ภาพยนตร์ตำนานสมเด็จพระนเรศวรฯ ออกฉาย (ฉากทหารทดนี้ น่าจะอยู่ในภาคศึกนันทบุเรง) ก็มีการสนทนากันมาแล้วรอบหนึ่งครับ คำอธิบายของท่านอาจารย์สุเนตรฯ ก็เห็นว่า น่าจะหมายถึงทหารที่ทำหน้าที่ปิดกั้น ก็คือเห็นว่ามีความหมายอย่าง "ทดน้ำ"

โดยส่วนตัวแล้วผมยังมีข้อสงสัยครับ (หากประเด็นเหล่านี้มีคำตอบแล้วต้องขออภัยด้วยครับ)
1) ในโคลงนั้น ใช้คำว่า ทหารทศทายหอกจ้วง พระฮา  เป็นไปได้ไหมครับว่า คำว่า "ทศ" ไม่ได้มีความหมายอะไรเลย นอกจากการสร้างสัมผัสในกับ "ทาย"

2) หรือจริงๆแล้ว ชื่อของทหารหน่วยนี้ ต้องเรียกว่า ทหารทศทาย ถ้าเป็นเช่นนี้แล้ว "ทศทาย" จะมีความหมายอื่นใดหรือไม่ครับ

3) ทหารทด เป็นภาษาอะไรครับ เพราะคนที่ใช้ทหารนี้ออกมารบกับสมเด็จพระนเรศวรฯ เป็นชาวพม่า คำว่า ทด จึงอาจเป็นภาษาพม่าก็ได้ แล้วเอกสารทางฝ่ายพม่า เรียกทหารหน่วยนี้ว่าอะไรครับ มีความหมายแบบเดียวกันกับ ทดน้ำ หรือไม่ครับ
 
4) สืบเนื่องจาก 3) เป็นไปได้ไหมครับ ที่ ทศ หรือ ทด เป็นเพียงการเลียนเสียงเรียกชื่อหน่วย ที่เป็นภาษาพม่า (เหมือน เรือบด ที่มาจากคำว่า Boat)

5) ถ้าคำว่า ทหารทด เป็นภาษาไทย แสดงว่า ไทยเราก็ต้องมีทหารหน่วยนี้เช่นกัน ถ้าอย่างนั้นแล้วนอกจากครั้งรบลักไวทำมูแล้ว เคยมีการกล่าวถึงทหารทด ที่อื่นอีกบ้างไหมครับ คือ ถ้าทหารทดหรือ ทศ เป็นชื่อหน่วยทหารตามปรกติ เหมือน ทหารราบ ทหารม้า ทหารเลว ทหารอาสา ก็น่าจะเคยมีการใช้งานทหารทดในการรบที่อื่นหรือครั้งอื่นบ้าง และถ้าเป็นเช่นนั้น ก็น่าที่จะได้เห็นคำว่าทหารทดในที่อื่นๆ ด้วยสิครับ  


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: unicorn9u ที่ 05 มิ.ย. 18, 15:55

1) ในโคลงนั้น ใช้คำว่า ทหารทศทายหอกจ้วง พระฮา  เป็นไปได้ไหมครับว่า คำว่า "ทศ" ไม่ได้มีความหมายอะไรเลย นอกจากการสร้างสัมผัสในกับ "ทาย"


ทาย ในที่นี้น่าจะแปลว่าถือ ครับ
 ทายหอก = ถือหอก


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 05 มิ.ย. 18, 16:04
 ;D


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: Naris ที่ 06 มิ.ย. 18, 14:57
ขอบพระคุณทุกท่านครับ เรื่องนี้เป็นความรู้ใหม่ของผมเลยครับ


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 07 มิ.ย. 18, 11:42
ในทำเนียบพระไอยการตำแหน่งนาพลเรือน นาทหาร หัวเมือง  ไม่มีกรมหรือกองทหารทด    เลยสงสัยว่าเลิกไปตั้งแต่เมื่อไหร่
หรือว่าไม่มีกรมกองโดยเฉพาะ  คัดเลือกมาประจำหน้าที่เฉพาะยามศึกสงคราม?


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: ราชปักษา ที่ 14 มิ.ย. 18, 08:46
อาจจะเป็นไปได้ขอรับว่า คัดเลือกเอากองร้อยแต่ละหน่วยมาจัด สังเกตุจากรูปจิตรกรรมฝาผนังที่อายุมากที่สุดตรงหน้าก่อนแล้ว จะเห็นว่า ทหารทดพม่าในภาพมีทั้งกองม้า และ พลเดินเท้า


กระทู้: ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 29 มี.ค. 22, 20:10
เข้ามาตอบคำถามอาหน่อครับว่า คลองโยเดีย เจอแล้วครับอยู่ด้านตะวันออกของเมืองริมแม่น้ำสะโตง เหนือคุกเล็กน้อย ปัจจุบันยังใช้งานอยู่