เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3
  พิมพ์  
อ่าน: 12186 นิทานว่าด้วย "นายจิตรกับนายใจสนทนากัน"
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


 เมื่อ 14 พ.ย. 09, 22:28

ตามที่คุณหลวงเล็กมาชวนคุย


เพิ่งอ่าน  อัญมณีแห่งวรรณกรรมไทย   ของ  พิทยา  ว่องกุล 
จัดพิมพ์โดย  สำนักพิมพ์ดอกมะลิ   ๒๕๓๓    ราคา ๘๘ บาท   
ไปอีกรอบหนึ่ง คืนก่อนคุณหลวงมาถามพอดีค่ะ


บอกตรงๆเลยว่า  จะให้ลอกแปะนั้นไม่บังอาจ
ใครเล่าจะนำแป้งชาดไปทาดอกโบตั๋นได้(เย็บเล่มมาจาก ซูสีไทเฮา/หมายความว่าเก็บเศษกระดาษที่ไม่ค่อยจะไปด้วยกัน)


เมื่อคุณหลวงอ่านแล้ว  เรามาคุยกันว่าเราคิดกันอย่างไร  มีอะไรที่ท่านอื่น ๆ  คุณหลวงกับดิฉันอยากคุยกัน
เพราะเหตุการณ์นี้จัดเป็นเหตุใหญ่เหตุหนึ่ง


นิทานหรือเรื่องสั้นเรื่องแรกของไทย  ไม่ปรากฎชื่อผู้เขียน   นำรูปแบบการสนทนามาใช้
พิมพ์ครั้งแรกในดรุโณวาท เล่มแรก ปี ๒๔๑๗
อีกสี่เดือนต่อมา  หนังสือก็ปิด   บรรณาธิการแถลงว่าขาดทุน
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 14 พ.ย. 09, 22:39

เมื่อแรกเข้ามาในเรือนไทย  ไม่เคยอ่านดรุโณวาทมาก่อน  เพราะด้อยโอกาส




ดรุโณวาทเป็นหนังสือจดหมายเหตุรวบรวมข่าวในกรุงเทพแลต่างประเทศ
แลหนังสือวิชาการต่างๆ  พอเป็นที่ประดับปัญญาคนหนุ่ม
ตีพิมพ์ออกอังคารละหน

พิมพ์ในวังของพระองค์เจ้าเกษมสันต์โสภาคย์  ที่สุดถนนเจริญกรุง  ใกล้ประตูใหญ่วัดสะเกษ(รักษาตัวสะกดเดิม)

ปีหนึ่งมี ๕๒ ฉบับ  ราคา แปดบาท     ส่งถึงบ้าน สิบบาท
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 14 พ.ย. 09, 22:53

หนังสือที่ออกในช่วง ๒๔๐๘ - ๒๔๔๐   มี

จดหมายบางกอกรีคอร์เดอร์
มิเซียมหรือรัตนโกษ Bangkok Calendar
ราชกิจจานุเบกษา
ข่าวราชการ Court
จดหมายเหตุสยามไสมย
ดรุโณวาท
วชิรญาณวิเศษ
ธรรมศาสตร์สมัย   
สยามประเภท
ประตูใหม่


บางเล่มมีพิมพ์ต่ออายุ
เท่าที่เห็นมี
บางกอกรีคอร์เดอร์(แปลบทความมาจากภาษาอังกฤษเป็นส่วนหนึ่ง)
คอต
สยามไสมย(สนุกมาก)
เห็น  Bangkok Calendar  แว่บๆ  เล่มใหญ่ แต่ไม่หนา
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 14 พ.ย. 09, 23:12

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กริ้วผู้ประพันธ์ นายจิตรกับนายใจสนทนากัน
เพราะเรื่องได้พาดพิงถึงขุนนางผู้ใหญ่หลายท่าน
กระทบ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปวเรศวริยาลงกรณ์


ผู้ประพันธ์นั้นคือ  พระยาภาษกรวงษ์(ยศในเวลานั้น)   อายุ  ๒๕ ปี
ไฟแรง



ประวัติของท่านก็เป็นที่ทราบกันอยู่ทั่วไป ว่า ได้รับการศึกษาในประเทศอังกฤษเป็นเวลา ๓ ปี
เจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์เป็นราชฑูตออกไปยุโรป  ไม่มีล่ามใช้  ถึงหาได้ก็คงไว้ใจได้ยาก
จึงไปเรียกท่านมาใช้แล้วเลยพากลับบ้าน



เมื่อคุณหลวงเล็กได้อ่าน นายจิตรกับนายใจสนทนากัน   เราคงได้คุยกันเรื่องประเด็นเล็กๆน้อยๆ
ที่ท่านผู้ประพันธ์ เขียนถึง

ท่านแทบไม่เว้นใครเลย
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 14 พ.ย. 09, 23:39

ตัวลครมีอยู่ ๒ คนค่ะ


นายจิตรเป็น ทนายของขุนนางผู้ได้รับแต่งตั้งเป็นเคาน์ซิล

นายใจก็เป็นทนายในวังของเชื้อพระวงศ์ผู้ได้รับแต่งตั้งเป็นเคาน์ซิลเหมือนกัน

ทั้งสองไปทอดกฐินกันที่อยุธยาและจอดพัก



ท่านทั้งสองก็วิจารณ์การเมือง และ เรื่องราวของเคาน์ซิล
เรื่องที่คุณพิทยาไม่ได้เอ่ย แต่ความอยากรู้กระโดดมาจับตัวดิฉัน
คือเรื่อง พระยานรนาถ(ต้องถามสำนักงานคุณเงินปุ่นศรี ขอแฟ้มประวัติ)ถูกหวยฝรั่งเป็นร้อยชั่ง
บ่าวเสมียนตรากรมนาถูก ๕๐ ชั่ง   แต่พระยานรนาถเขาให้ผู้หญิงที่ในวัง



วันรุ่งขึ้นลืมตามายังไม่ได้ทำอะไรเพราะไม่มีอะไรจะทำ ก็เห็นภิกษุพายเรือผ่านมาใส่เกือกและถุงเท้าสีเหลือง
นายจิตรถามนายใจว่าพระญวณหรือพระเจ๊ก
หลังจากนั้นก็กินแถวเข้าไปอีกไกล



อยู่มาอีกวันทั้งสองก็พบกันอีก และแลกเปลี่ยนข่าวสารอย่างผู้รู้จริง
พาดพิงไปถึงท่านเคาน์ซิลที่มีโรงละคร ลือว่าเล่นสามก๊กดีนัก  แขวะไปถึงหม่อมไกรสร
ถากถางกลับมาที่วงสักวา  และอื่นๆอีก
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 15 พ.ย. 09, 08:38

อ้างถึง
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กริ้วผู้ประพันธ์ นายจิตรกับนายใจสนทนากัน
เพราะเรื่องได้พาดพิงถึงขุนนางผู้ใหญ่หลายท่าน
กระทบ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปวเรศวริยาลงกรณ์

ไม่เคยรู้ว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กริ้วผู้ประพันธ์เรื่องนี้    อ่านพบแต่ว่า กริ้วผู้ประพันธ์เรื่อง สนุกนึก   คือพระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าคคณางค์ กรมหลวงพิชิตปรีชากร  ลงในดรุโณวาท เช่นกัน
เพราะทรงเขียนเรื่องพระหนุ่มๆในวัดบวรนิเวศสนทนากันว่า สึกแล้วจะไปทำอะไรบ้าง      มีข้อความที่ทำให้สมเด็จพระสังฆราช กรมพระยาปวเรศฯ โทมนัส   เกรงว่าคนจะเข้าใจว่าพระในวัดของท่านเป็นอย่างนั้นจริงๆ
พระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชหัตถเลขาไปถวายสมเด็จฯ  ว่า กรมหลวงพิชิตฯ ทำอย่างโนเวลของฝรั่ง      แต่ก็ทรงตำหนิไปแล้ว    เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่  สนุกนึกก็เลยเขียนค้างอยู่ ลงไม่จบ
เป็นที่ถกเถียงกันว่า สนุกนึกคือ "นวนิยาย"เรื่องแรก   หรือ "เรื่องสั้น" เรื่องแรกกันแน่   ในสัมมนาของมหาวิทยาลัยศิลปากรเมื่อครบ ๑๐๐ ปี สนุกนึก

ดิฉันได้ทดลองดู  ว่าเป็นนวนิยายหรือเรื่องสั้น ด้วยการแต่งต่อเรื่องสนุกนึกให้จบ   ก็พบว่าจบได้ในอีกสองสามหน้า   
จะค้นที่เคยเขียนมาลงให้อ่าน แต่ขอเวลาสักพัก เพราะต้องพิมพ์ใหม่หมดทั้งเรื่อง     ยังหาต้นฉบับ"สนุกนึก"ของกรมหลวงพิชิตฯไม่ได้ค่ะ   คิดว่าเก็บลงกล่องไปแล้ว
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 15 พ.ย. 09, 09:22

                                                         สมมติเทวราชอุปบัติ

                                     วันที่ ๕ ฯ  ๑ ค่ำ  ๑๒๓๖
                                              ๑



ถึงเจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง


             ด้วยเรื่องหนังสือดรุโณวาทนั้น          ฉันมีความโกรธมาตั้งแต่วันที่เห็นหนังสือนั้นแล้ว
ได้สืบได้ความแต่วันนั้น    แต่ยังไม่มีผู้ใดมาว่ากล่าว         แต่วันนี้เธอมาว่าขึ้นนั้นฉันก็มีความยินดีด้วย
จะขอไม่ให้ชำระ        แต่ฉันว่าได้สั่งให้ชำระแล้วจะกลับไม่ได้แล้ว  ก็ลุกมาเสีย         การเรื่องนี้ได้
ชำระเสียเป็นดีนัก    แต่ดูเจ้าตัวก็ตื่นเต้นมากอยู่        ได้ส่งกระดาษเล็กมาให้ดูด้วย
เพราะกีดเจ้าหมื่นศรีนั่งอยู่ที่นั่นจะพูดไม่ได้    จึงพูดดังนี้

                 (พระบรมนามาภิไธย)      Chulalongkorn  R.



(คัดมาจากหน้า ๑๖๐   ของ อัญมณีแห่งวรรณกรรมไทย)
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 15 พ.ย. 09, 09:36

ในเรื่องของ "เม็ดดี"  นั้น  ดิฉันอ่านไม่ออกตั้งแต่แรก  และยังไม่กระจ่างจนวันนี้
คิดว่าคงมีท่านผู้รู้มาอธิบายเพิ่มเติม


แต่เรื่องราชกิจจานุเบกษา  ลงพิมพ์ศักดินา  (นายจิตรเล่า) เจ้าพระยาผู้หนึ่งมีศักดินาพันหนึ่ง
ขะโมยที่ไหนลักเอาศักดินาของท่านไปเก้าพันเล่า           คิด ๆ ดูก็น่าใจหาย
ด้วยศักดินานี้เปนที่หมายยศของท่าน       น่ากลัวตระกูลของท่านจะเศร้าหมองไปภายน่า


กรมหมื่นอักษรสาส์นโสภณ(กรมหลวงบดินทร์ไพศาลโสภณ) ก็โดนลูกหลงไปด้วย
ที่จริงก็เป็นการพิมพ์ผิดตกเลขศูนย์ไปตัวหนึ่ง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 15 พ.ย. 09, 10:09

http://www.reurnthai.com/index.php?topic=1616.0

วรรณกรรมไทยนอกจาก ดรุโณวาท ก็คือ วชิรญาณวิเศษ ออกเมื่อพ.ศ.๒๔๒๗ เป็นหนังสือของหอพระสมุดวชิรญาณในสมัยที่พระองค์เจ้าคคนางค์ยุคล กรมหลวงพิชิตปรีชากรทรงเป็นสภานายกและอยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นักเขียนสำคัญได้แก่กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ และกรมหลวงพิชิตปรีชากร

เมื่อถึง พ.ศ.๒๔๒๙ บทบาทของกรมหลวงพิชิตปรีชากรในฐานะ “คนรุ่นใหม่” ก็ได้ปรากฏขึ้น เมื่อนิพนธ์เรื่อง สนุกนึก

เรื่องนี้นับว่าเป็นการเริ่มต้นของวรรณกรรมไทยที่ได้รับอิทธิพลตะวันตกในยุคแรกอย่างเห็นได้ชัด แม้ว่ารูปแบบการเขียนยังเป็นแบบเก่า คือเล่าติดต่อกันไปเหมือน สามก๊ก และ ราชาธิราช ไม่มีการใช้เครื่องหมายคำพูด หรือการขึ้นบรรทัดใหม่เมื่อมีบทสนทนา ฯลฯ อย่างวิธีการเขียนนิยายปัจจุบัน แต่แนวคิดนั้นได้รับแนวตะวันตก คือแนวสัจนิยม (realism) มาอย่างเห็นได้ชัด

เนื้อเรื่องของ สนุกนึก บรรยายถึงพระสงฆ์หนุ่มๆ ๔ รูปพูดคุยกันว่าเมื่อสึกแล้วจะออกไปประกอบอาชีพต่างๆกัน เช่นทำราชการ และค้าขาย ผู้ที่ยังลังเลไม่สึกก็มีอุบาสิกาเตรียมมาจัดการให้สึกเพื่อจะเอาไปเป็นลูกเขย ข้อสำคัญคือฉากในเรื่องระบุว่าเป็นวัดบวรนิเวศ

ข้อนี้เอง เมื่อลงตีพิมพ์ก็เกิดเป็นเรื่องอื้อฉาวขึ้น เพราะคนอ่านเข้าใจว่าเป็นเรื่องจริงเนื่องจากคนไทยยังไม่คุ้นกับกลวิธีการแต่งแบบสมจริงเช่นนี้ กลายเป็นเรื่องให้วิพากษ์วิจารณ์กันไปต่างๆจนสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ขณะนั้นทรงเป็นเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศเดือดร้อนพระทัยว่าทำให้วัดมัวหมอง ความทราบถึงพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงกริ้วและกล่าวโทษกรมหลวงพิชิตปรีชากรพอประมาณแล้วก็ทรงไกล่เกลี่ยให้เรื่องยุติลงเพียงแค่นั้น เป็นอันว่าสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯก็ไม่ติดพระทัยจะกล่าวถึงเรื่องนี้อีก ส่วน สนุกนึก ก็ค้างอยู่เพียงตอนแรก ทิ้งปัญหาไว้ให้นักวิชาการถกเถียงกันว่าเรื่องนี้เป็นนวนิยายหรือเรื่องสั้นกันแน่ และยังไม่มีคำตอบตายตัวมาจนปัจจุบัน

สมัยนี้ เมื่อหยิบเรื่อง สนุกนึก ขึ้นมาอ่านด้วยสายตาคนปัจจุบัน ก็คงไม่เห็นว่ามีอะไรอื้อฉาวเป็นเรื่องเป็นราวได้ถึงขนาดนั้น อาจจะเป็นเรื่องค่อนข้างธรรมดาด้วยซ้ำไป เพราะตามปกติแล้วชายหนุ่มเมื่ออายุครบ ๒๐ปี ก็มักจะบวชสักหนึ่งพรรษาก่อนสึกออกไปประกอบอาชีพและมีครอบครัว ระหว่างบวชอยู่ เมื่อรวมกลุ่มกันก็คุยกันเรื่อยเปื่อยฆ่าเวลาไปบ้าง ไม่สู้จะสำรวมนักก็ไม่แปลกอะไร แต่ถ้ามองด้วยสายตาของคนรุ่นเก่าในสมัยรัชกาลที่ ๕ เรื่องนี้อาจเป็นเรื่องใหญ่เพราะวัดบวรนิเวศ เป็นวัดที่สำคัญที่สุดในสมัยนั้น วัดนี้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวประทับอยู่หลายปีขณะผนวช และทรงสถาปนาธรรมยุติกนิกายซึ่งได้ชื่อว่าเคร่งครัดมากก็ที่วัดนี้ ต่อมาเป็นวัดที่พระราชวงศ์ผนวชกันโดยมาก รวมทั้งกรมหลวงพิชิตปรีชากรด้วย เจ้าอาวาสนั้นเล่าก็เป็นเจ้านายผู้ใหญ่ เมื่อมีเรื่องเล่าว่าพระหนุ่มๆในวัดคุยกันอย่างไม่สำรวม บวชแล้วก็ไม่ได้นำพระธรรมไปกล่อมเกลาจิตใจ ซ้ำยังมีบทบาทของอุบาสิกาที่มาวัดเพื่อคอยจังหวะจะสึกพระไปเป็นลูกเขยอีกด้วย ก็ย่อมเป็นเป้าหมายการวิพากษ์วิจารณ์ได้มาก

ส่วนที่ร้ายที่สุดเห็นจะเป็นทัศนคติต่อการบวช แสดงผ่านทาง ความคิดเห็นของพระสมบุญว่า

“ผ้ากาสาวพัตรเป็นที่พึ่งของคนยาก ถึงไม่ทำให้ดีก็ไม่ทำให้ฉิบหาย ไม่ดิ้นไม่ขวนขวายแล้วไม่มีความทุกข์ เป็นที่พักที่ตั้งตัวของผู้แรกจะตั้งตัวดังนี้”

หมายความว่าการอยู่ในสมณเพศไม่ยอมสึกนั้นไม่ได้เกิดจากความศรัทธาในศาสนา แต่การอยู่วัดเปรียบได้กับหอพักชนิดไม่เสียเงินสำหรับผู้ยังไม่มีทางประกอบอาชีพ ถ้าอยู่ไปวันๆไม่ทะเยอทะยานอะไรมากก็ไม่มีความทุกข์ พูดง่ายๆคืออยู่อย่างนี้ขี้เกียจและอาศัยเกาะเป็นกาฝากได้อย่างสบายนั่นเอง จนกว่ามีลู่ทางไปดีกว่านี้ได้ก็ค่อยสึก

กรมหลวงพิชิตปรีชากรนั้นถ้าเทียบกับทางฝ่ายสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาปวเรศฯแล้ว ฝ่ายแรกน่าจะจัดเข้าประเภท “คนรุ่นใหม่” หรือ “คนหนุ่ม” ส่วนฝ่ายหลังคือ “คนรุ่นเก่า” กรมหลวงพิชิตปรีชากรทรงรับการศึกษาแผนใหม่ตามแบบเจ้านายรุ่นใหม่ เมื่อนิพนธ์เรื่อง สนุกนึก ทำนองนิยายฝรั่ง การสร้างเหตุการณ์เลียนแบบชีวิตคนจริงๆให้สมจริง ไม่ใช่นิทานประเภท “แต่ปางหลังยังมีจอมกษัตริย์” ดังนั้นความคิดอ่านของพระหนุ่มๆทั้ง ๔รูป จึงเป็นความคิดที่ไม่น่าจะไกลจากคนจริงๆนัก คือยังเป็นปุถุชน มีกิเลสและความเห็นแก่ตัวเช่นคนธรรมดา ไม่ใช่ว่าครองผ้าเหลืองแล้วจะตัดกิเลสได้หมดสิ้นเสมอไป

แต่ความสมจริงนั้นเมื่อแนบเนียนจนเหมือนเรื่องจริง บางครั้งความจริงก็ระคายหูได้มากกว่าความเท็จ ยากที่คนรุ่นเก่าจะยอมรับได้ เพราะถึงมีเหตุผลสมัยใหม่อย่างไร ก็ยังไม่อาจหักล้างความคิดที่ว่าสถาบันศาสนาเป็นเรื่องที่ต้องเคารพ และพระก็ไม่ควรออกนอกลู่นอกทางอยู่นั่นเอง

เรื่องทางธรรมเป็นเรื่องละเอียดอ่อนกว่าเรื่องทางโลก แตะต้องได้ยาก

เพราะเหตุนี้ สนุกนึก จึงไม่จบ หลังจากนั้นแม้ไม่มีเหตุการณ์อื้อฉาวใดๆเกิดขึ้นอีก วชิรญาณวิเศษยังออกตีพิมพ์อยู่จนกระทั่งถึง พ.ศ. ๒๔๓๗ เรื่องสั้นแนวอื่นแพร่หลายสืบต่อมาไม่ขาดสาย แต่เรื่องทำนองเดียวกับ สนุกนึก ไม่ได้ปรากฏออกมาอีกเลย

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 15 พ.ย. 09, 10:12

http://www.reurnthai.com/index.php?topic=1616.15

"หม่อมฉันทราบอยู่ว่ากรมหลวงพิชิตทำหนังสือนี้ปรารถนาจะทำอย่างหนังสือโนเวลฝรั่ง ที่เขาแต่งกันนับพันนับหมื่นเรื่อง เป็นเรื่องคิดผูกพันอ่านเล่นพอสนุก แต่เมื่อว่าความจริงผู้ที่จะแต่งหนังสือเช่นนั้นมักจะต้องมีที่หมายเทียบกับคนในปัจจุบันบ้าง แต่ไม่ได้ทำตามความที่ประพฤติจริง ๆ ทุกอย่าง เป็นแต่เก็บเค้าบ้าง ยักเยื้องเสียบ้าง จึงจะชวนให้คิด ก็ในการที่กรมหลวงพิชิตแต่งหนังสือฉบับนี้ที่ออกชื่อวัดบวรนิเวศน์นั้น หม่อมฉันเชื่อว่าไม่ประสงค์จะกล่าวด้วยความจริงที่เป็นอยู่ในบัดนี้  ถ้าการที่เป็นล่วงเกินแล้ว แต่ถึงหม่อมฉันจะไม่ได้นึกสงสัยยินร้ายวัดบวรนิเวศน์ประการใดเพราะได้อ่านหนังสือฉบับนี้ก็จริง แต่คนทั้งปวงเป็นอันมากที่ไม่ได้เคยอ่านโนเวลฝรั่ง คงจะหมายว่าหนังสือพิมพ์แล้วคงจะกล่าวถึงการที่ผู้แต่งนั้นทราบมาตามความจริง ฤๅแต่งเฉพาะหาความให้คนยินร้ายตามคำตัวพูด ไม่เข้าใจได้ว่าผู้แต่งรู้ตัวแลตั้งใจให้คนอื่นทราบว่า หนังสือที่ตัวแต่งนั้นไม่แต่งสำหรับให้คนอื่นเชื่อว่าเป็นความจริง เป็นแต่จะให้อ่านสนุกเท่านั้นดังนี้ได้ เพราะฉนั้นหม่อมฉันจึงได้ถามกรมหลวงพิชิตให้แก้ความเสียให้สว่างทั้ง ๕ ข้อคือ ข้อที่ได้กล่าวนั้นเป็นจริงบ้างฤๅไม่ ถ้าไม่เป็นความจริงแล้วเหตุใดจึงได้ชื่อวัดบวรนิเวศน์ ดังนี้ กรมหลวงพิชิตยังไม่ได้แก้กระทู้ไปทูลขอประทานโทษซึ่งโปรดประทานโทษให้เธอ แลรับสั่งไม่ให้มีความผิดแก่กรมหลวงพิชิตนั้น หม่อมฉันก็ยอมยกโทษถวาย แต่มีความเสียใจอยู่มากด้วยกรมหลวงพิชิตก็มิใช่คนอื่น เป็นคนบวชวัดบวรนิเวศน์ ได้ยกย่องเป็นถึงเจ้าต่างกรมผู้ใหญ่ มาเป็นคนไม่คิดหยั่งหน้าหลังให้รอบคอบ ทำให้เหตุที่คนไม่ทราบความจริงเป็นที่ยินร้ายแก่วัดดังนี้ เป็นการไม่ควรเลย แต่บัดนี้เธอก็รู้โทษแลผิดแลการที่ผิดก็ปรากฏแก่คนทั้งปวงแล้ว ก็เห็นจะเป็นอันล้างมนฑิลในวัด กลับเป็นโทษแก่ตัวผู้แต่งที่จะต้องติเตียนมากเหมือนกับได้รับบาปทันตาเห็นอยู่แล้ว ก็ตกลงเป็นพอความปรารถนาเป็นยุติกันได้เพียงเท่านี้"
พระราชหัตถเลขา ที่ล้นเกล้าฯ ร.๕ ทรงมีถึงสมเด็จกรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ครับ
*******************
ขออภัยที่ชักใบออกนอกนายจิตรนายใจไปเสียไกล  ค่ะ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 15 พ.ย. 09, 10:17

คัดมาจากหน้า ๑๖๑


"พระราชหัตถเลขา ลงวันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๔๑๗       ถึงเจ้าหมื่นศรีเสาวรักษ  ว่า


ด้วยหนังสือดรุโณวาทซึางว่าเขามีเม็ดดีนั้น    คิด ๆ ไปก็มีความวิตกอยู่   ด้วยคำอย่างนี้มีบ่อย ๆ ถึงสองครั้งแล้ว
เมื่อต้นไม้นั้นรากก็ชอนไชเข้ามาถึงในวัง    กลังคนทั้งปวงจะเห็นจะพูดไปตามคำนั้นหนาขึ้น  
คิดว่าต้องประกาศตอบเรื่องนี้ในราชกิจจานุเบกษาจึงจะใช้ได้"




ลายพระหัตถ์ ถึง "ท่านเล็กภาณุรังษีสว่างวงศ์"   เมื่อวันพฤหัส แรมหนึ่งค่ำ   เดือนอ้าย  จุลศักราช ๑๒๖๓
(หน้า ๑๖๒)

..........พระยาภาษมาตบประตูเรียกเจ้าเข่งอึงทีเดียว   เจ้าเข่งแกอึกเสียไม่ออกไปเป็นนาน    จนฉันใช้
ไปพบกันถึงทะเลาะกับเจ้าเข่ง   จะเข้ามาให้ได้   แล้วฉัน...รีบมาดู  หน้าแกซีดเต็มที

พออยู่กันสักครู่หนึ่ง   เจ้าพระยามหินทรศักดิ์ก็ตามเข้ามาถวายเรื่องราว   กระหนาบกันต่อหน้าทีเดียว
เจ้าพระยามหินทร์ถึงกับร้องไห้
......................................
......................................
.....................................
(รายละเอียด)

เจ้าพระยาศรีพิพัฒน์ก็บอกเข้าหุ้นโกรธ
ด้ยเจ้าพระยาธรรมจรันยาก็มาขอให้ช่วยชำระด้วย
.....................................................
....................................................."

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 15 พ.ย. 09, 10:47

ขอบคุณคุณเทาชมพูค่ะ


ยังไม่กล้ากระโดดไปสนุกนิ์นึก
เพราะเคยอ่าน  คิดอะไรไม่ได้มาก
ว่าจะคอยคุณเทาชมพูมาเล่า



มาเรื่องนายจิตรนายใจ  พอจะรู้จักบุคคลสำคัญในเรื่องบ้าง
(มีประวัติ พระยาธรรมจรันยา และสกุลวงศ์ ยืดยาว โดยความเอื้อเฟื้อของ ก.ศ.ร. กุหลาบ)
เคยอ่านและเห็นรูปปั้นของพระองค์เจ้ายี่เข่ง   นึกแล้วก็ขำเต็มประดา
ท่านคงแสดงความคิดของท่านต่อพระยาภาสกรวงศ์ไปไม่น้อย


รู้จักกรมหลวงบดินทร์ไพศาลโสถณ จากงานฉลองกรุงเทพร้อยปี
มาอ่านงานของคุณ พิทยา  ว่องกุล  ก็ได้เรียนรู้ว่า  ท่านโดนผลกระทบหลายต่อทีเดียว
ถ้าไม่ได้อ่าน  อัญมณีแห่งวรรณกรรมไทย   ก็คงไม่มีวันรู้


ปากพระยาภาษน่ากลัวเมื่อพูดเรื่องหม่อมไกรสรนอกรีต  แล้วว่าท่านเคาน์ซิลหลงละคร


เก็บข้อมูลเรื่องหม่อมไกรสรอยู่บ้าง  ยังขาดอีกนิดหน่อยเรื่องเจ้าจอมมารดาที่ไม่อาจเข้าใจได้
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 15 พ.ย. 09, 10:56

เรื่องสนุกนึก เคยเล่าไว้ในกระทู้เก่า  ตามไปอ่านได้ค่ะ
สิ่งที่ขาดตอนนี้ก็คือบทจบของสนุกนึก ที่ดิฉันต่อเอาไว้ให้จนจบ      ต้องไปค้นก่อน   แล้วจะแยกกระทู้ออกจากกระทู้นี้ อีกที
ข้อความที่คุณวันดีเว้นเอาไว้  ทำให้อ่านเรื่องไม่ปะติดปะต่อกัน    เลยไม่รู้เรื่อง   จะเก็บความมาเล่าสู่กันฟังได้ไหมคะ

อ้างถึง
ลายพระหัตถ์ ถึง "ท่านเล็กภาณุรังษีสว่างวงศ์"   เมื่อวันพฤหัส แรมหนึ่งค่ำ   เดือนอ้าย  จุลศักราช ๑๒๖๓
(หน้า ๑๖๒)

..........พระยาภาษมาตบประตูเรียกเจ้าเข่งอึงทีเดียว   เจ้าเข่งแกอึกเสียไม่ออกไปเป็นนาน    จนฉันใช้
ไปพบกันถึงทะเลาะกับเจ้าเข่ง   จะเข้ามาให้ได้   แล้วฉัน...รีบมาดู  หน้าแกซีดเต็มที

พออยู่กันสักครู่หนึ่ง   เจ้าพระยามหินทรศักดิ์ก็ตามเข้ามาถวายเรื่องราว   กระหนาบกันต่อหน้าทีเดียว
เจ้าพระยามหินทร์ถึงกับร้องไห้
......................................
......................................
.....................................
(รายละเอียด)

เจ้าพระยาศรีพิพัฒน์ก็บอกเข้าหุ้นโกรธ
ด้ยเจ้าพระยาธรรมจรันยาก็มาขอให้ช่วยชำระด้วย
.....................................................
....................................................."
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 15 พ.ย. 09, 11:45

ขอโทษค่ะ


"แล้วฉันให้รีบมาดูหน้าแกซีดเต็มที           

พออยู่สักครู่  เจ้าพระยามหินทรศักดิ์ก็ตามเข้ามาถวายเรื่องราวกระหนาบกันต่อหน้าทีเดียว
เจ้าพระยามหินทร์ถึงกับร้องไห้ว่า  ข้อที่ว่าเม็ดดีถ้าสืบได้จากคนทั้งปวงจนปากหนึ่งว่า ฉันหลงผู้หญิงให้เอาตัวไปตัดหัวเสียเถิด
อ้างจนสปิดสมเด็จเจ้าพระยา ฯ เรื่องงานราชาภิเษก

แต่ข้อที่เล่นละครสมจรด้วยสัตว์นั้นตามแต่มันจะว่าไปเถืด

แค้นอยู่อีกข้อที่ว่าดีอยู่แต่ภายในขนทรายเข้าวัด

พูดมาทีเดียวแล้วเจ้าพระยาศรีพิพัฒน์ก็บอกเข้าหุ้นโกรธ  ด้วยพระยาธรรมจรันยาก็มาช่วยขอให้ชำระด้วย

เวลานั้นหัวเราะแหะหน้าแก่ซีดเต็มที

ครั้นเจ้าพระยามหินทรออกไปแล้ว   แกจดหมายใส่ป๊อกเกตบุก  ว่าถ้าโปรดให้ชำระเรื่องดรุโณวาท  พระราชอาญาไม่พ้นเกล้าฯ

ฉันว่าสั่งเขาไปแล้วกลับไม่ได้           แกบ่นอุู้อี้กลัวเอดิเตอจะชี้ตัว   ควรจะต้องรับเอาเองจึงจะถูก

ฉันลุกมาเสีย
แต่เห็นเจ้าหมื่นศรีจะสอนให้ลุแก่โทษด้วยความใหญ่ถึงผิดน้ำสบด"
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 15 พ.ย. 09, 12:18

นายจิตรถามนายใจว่า

"เราได้ยินว่าสมเด็จกรมพระข้างใน   ทำการฉลองพระชนมพรรษาของท่าน   ให้เป็นการเจริญพระชนม์ยืดยาวไปภายหน้า
มีการเล่นการเลี้ยงสนุกใหญ่โตจริงฤา

นายใจบอกว่า   ท่านทำการเลี้ยงพระเลี้ยงขุนนางมาก    เจ้านายข้าราชการทั้งข้างหน้าข้างในก็มาช่วยท่านหมด
แล้วมีสักวามีละครเป็นการเล่นสนุกสนานมาก       

ละครของท่านเคาน์ซิลโรงหนึ่ง   เขาลือว่าเล่นเรื่องสามก๊กสนุกนัก
ละครสมเด็จพระประสาทก็สู้ไม่ได้          ท่านฝึกหัดของท่านเองเป็นขันเล็กขันใหญ่ดีนัก       ละครของท่านเคาน์ซิลโรงหนึ่งก็สู้ไม่ได้
ด้วยเพิ่งหัดใหม่  แต่เจ้าของหลงนัก        ท่านไม่เคยดูบ้างฤาจึงถามเรา


นายจิตรว่าเรายังไม่เคยดูเลย

       
แล้วนายจิตรพูดว่า  ท่านพูดกับเราแต่ก่อนนั้น    ว่าพวกเคาน์ซิลเอาใจใส่ในราชการนัก
ด้วยในหลวงตั้งไว้เป็นที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน
เราเห็นว่า  ท่านเคาน์ซิลที่มีละครเล่นอยู่แล้ว  เคยเอาใจใส่ในราชการก็จะมาท้อถอยไป   หาตั้งใจแข็งแรงไม่
ด้วยละครเป็นของประโลมโลกพาใจให้ลุ่มหลง   ยินดีตรึกตรองไปในการเล่น
จะรักษาคำสาบานไปไม่ได้ตลอดกระมัง



นายใจตอบว่า   ราชการเราก็ไม่เห็นว่าท่านท้อถอย
เราเห็นว่าท่านกลับแข็งแรงขึ้นอีก
แต่ละครั้งนั้นท่านจะหลงฤาไม่หลง  เราไม่รู้ท่านเลย
แต่คำสาบานนั้นเราทายท่านไม่ถูก         

แต่เห็นว่าถ้าผลประโยชน์ในราชการที่ท่านได้พออยู่แล้ว  ก็เห็นจะรักษาบริสุทธ์อยู่ได้

ถ้าผลประโยชน์ในราชการกระพ่องกระแพร่งอยู่แล้ว     น่ากลัวจะไม่บริสุทธ์ิไปได้




นายจิตรจึงว่าทำไมจะไม่หลง   แต่ที่ไหนท่านจะบอกใครว่าท่านหลงเล่า

ครั้งหม่อมไกรสร  ซึ่งเปนโทษแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น   ท่านไม่ได้ยินฤา
แต่นั้นนอกรีตหลงละครตัวผู้  ลืมลูกลืมเมียเสียสิ้น

นี่ละครตัวเมียทั้งนั้นแล้ว
เราเห็นจะหลงมากกว่าหม่อมไกรสร


บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.083 วินาที กับ 19 คำสั่ง