เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9 10 ... 31
  พิมพ์  
อ่าน: 141287 นอนอยู่กับแผ่นดินไหว
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 105  เมื่อ 08 มิ.ย. 14, 07:28

ภาพนี้เอามาฝากผู้ที่มีพื้นฐานพอจะเข้าใจได้เองเท่านั้น และขออนุญาตไม่อธิบายเพราะภูมิไม่ถึง


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 106  เมื่อ 08 มิ.ย. 14, 07:30

ลองดูการทำงานของการก่อสร้างวิธีนี้


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 107  เมื่อ 08 มิ.ย. 14, 08:42



อ้างถึง
อ้างจาก: เทาชมพู
ไม่รู้ว่าสถานที่เดียวกันหรือเปล่า แต่หามาได้ใกล้เคียงที่สุดแค่นี้ค่ะ
อ้างถึง
ข้อความโดย: naitang
ที่เดียวกันครับ
ผมเดาถูก

ขอบคุณครับ จากภาพ ดูจากเหล็กนั่งร้านที่พังลงมา บอกได้ว่าตึกนี้ยังสร้างไม่เสร็จ แต่ตึกดูเก่ามาก อาจถูกระงับการก่อสร้างในอดีตที่ผ่านมาแต่ยังต่อสู่คดีอยู่ จึงยังไม่ได้ทำการรื้อทิ้ง แต่ที่ผมยังสงสัยอยู่คือ ดูเหมือนว่าจะมีคนเข้าไปใช้อาคารนี้ จะไปพักอาศัยหรือเก็บของด้วยหรือไม่

อย่างไรก็ดี การที่อาคารหลังนี้พังลงมาหลังเกิดแผ่นดินไหวก็สมควรแก่เหตุอยู่แล้ว
บันทึกการเข้า
พวงแก้ว
อสุรผัด
*
ตอบ: 6


ความคิดเห็นที่ 108  เมื่อ 08 มิ.ย. 14, 11:48

 "การเสริมเหล็กตรงโคนเสาให้ถี่ขึ้นนั้น    หากเป็นการเสริมเหล็กเส้นในแนวตั้งที่โคนเสา ก็คงจะไม่ใช่กระมัง ควรจะเป็นการเสริมเหล็กปลอก หรือข้อรัดให้มีระยะถี่ยิ่งขึ้นมากกว่า  "

 ขอบคุณคุณตั้งที่ช่วยอธิบายคะ เคยได้ยินมาเช่นนี้เหมือนกัน แต่ไม่มีความรู้จึงถาม เพื่อไว้เป็นข้อสังเกตเท่านั้น.... ขอบคุณในความกรุณาค่ะ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 109  เมื่อ 08 มิ.ย. 14, 15:15

NAVARAT.C ความคิดเห็นที่ 101
อ้างจาก
http://www.trf.or.th/index.php?option=com_content&view=article&id=4346:2-4&catid=249:2014-02-03-07-51-16&Itemid=370
 
ขอแนะนำกฎ 4 ข้อ สำหรับการก่อสร้างเสาบ้านปูนในเขตเสี่ยงแผ่นดินไหว ดังนี้

1.เสาของบ้านปูนที่มีความสูง 2 ชั้นควรมีขนาดไม่น้อยกว่า 20-25 ซม. และขนาดไม่น้อยกว่า 30-35 ซม. สำหรับความสูง 3 ชั้น
2.เหล็กแกนในเสาต้องไม่น้อยกว่า 4 เส้น หากใช้ 6 เส้นหรือ 8 เส้นจะดีมาก และขนาดของเหล็กแกนต้องไม่เล็กกว่า 12 มม. หากใช้เหล็ก 16 มม. ได้ยิ่งดี เพื่อให้เหล็กไม่คดงอได้ง่ายเมื่อคอนกรีตกะเทาะหลุดออก
3.เหล็กปลอก สำหรับบ้าน 2 ชั้นควรใช้ไม่น้อยกว่า 6 มม. พันรอบเหล็กแกนเสาให้มีระยะเรียงไม่เกิน 7.5 ซม. ส่วนบ้าน 3 ชั้นควรใช้เหล็กปลอกไม่น้อยกว่า 9 มม. พันรอบเหล็กแกนให้มีระยะเรียงไม่เกิน 7.5 ซม. ตำแหน่งที่พันเหล็กปลอกถี่นี้ให้วัด 50 ซม. จากปลายบนและปลายล่างของเสา ส่วนตรงกลางเสาให้ใช้ระยะเรียงเหล็กปลอกเป็นสองเท่าหรือ 15 ซม. ได้
4.เสาตอม่อ หรือเสาใต้ถุนบ้าน ควรมีขนาดใหญ่กว่าเสาชั้นบนด้านละ 5 ซม. และควรเสริมเหล็กปลอกให้ถี่ตามข้อ 3 ตลอดความสูงเสา

บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 110  เมื่อ 08 มิ.ย. 14, 21:10

ขอบคุณท่าน NAVARAT.C มากๆครับ สำหรับข้อมูลต่างๆ

ตึกสูงทนแผ่นดินไหวที่ได้ออกแบบและสร้างในช่วงระยะเวลาประมาณ 10 ปีที่ผ่านมานั้น ได้มีการพัฒนาไปใช้การใส่ตุ้มน้ำหนัก (pendulum) กลางตัวอาคาร และโชคอัพ (shock absorber) ที่ขอบตัวอาคาร  ผมคิดว่าเป็นอีกความก้าวหน้าหนึ่งนอกเหนือไปจากการใช้ isolation base

ในเมืองไทยเราก็มีการออกแบบใช้ระบบ isolation base เหมือนกันนะครับ   ผมคิดว่ามีอยู่หนึ่งเดียวเท่านั้นอีกด้วย    ครับ...อยู่ในพุทธมณฑล บริเวณสังเวชนียสถาน 4 ตำบล    คือ ฐานที่รองรับหินพระธรรมจักรครับ   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 111  เมื่อ 08 มิ.ย. 14, 22:20

ภาพระยะใกล้ของ อ.เทาชมพู ใน คห.ที่ 97  ได้ทำให้ผมบรรยายสิ่งที่ได้พบเห็นมาง่ายขึ้นมากเลยครับ ขอบพระคุณจริงๆ

เรื่องแรก   ลักษณะทางธรณีวิทยาของพื้นที่ในภาคเหนือตอนบนที่มีผู้คนทำการเกษตรและอยู่กันเป็นชุมขนกระจัดกระจายอยู่นั้น โดยรวมๆแล้วเป็นพื้นที่ราบ (ความลาดชันต่ำ) ที่อยู่ในร่องระหว่างทิวเขา (ridge and valley terrain) หรือไม่ก็เป็นพื้นที่ในแอ่งล้อมรอบด้วยภูเขา (intermontane basin)

สำหรับพื่นที่ราบในร่องระหว่างทิวเขานั้น ตะกอนดินทรายที่มาทับถมกันอยู่นั้น เป็นตะกอนที่ไหลกลิ้งลงมาจากไหล่เขา (เรียกตะกอนนี้ว่า eluvial depossits หรือ eluvium) ไม่ได้ผ่านกระบวนการพัดพาโดยน้ำไหล จึงไม่มีการคัดแยกขนาด (sorting)ที่ดี เป็นตะกอนดินทรายที่ทับถมกันหนาไม่มาก เนื้อค่อนข้างหยาบและขนาดของเนื้อตะกอนคละขนาดกัน (poor sorted)  ผิวดินที่ปิดผิวหน้าค่อนข้างบาง ชั้นตะกอนลักษณะนี้รับน้ำหนักที่กดทับลงมาได้ดี

ผลจากสภาพทางธรณีวิทยาเช่นนี้ ทำให้อาคารบ้านเรือนในภาคเหนือเกือบจะไม่มีการใช้เสาเข็มเลย วิธีการที่ทำสืบต่อเนื่องกันมาก็คือ ขุดหลุมลึกประมาณ 1 - 2 เมตร เทหินหรือกรวดลงไปเพื่อให้สามารถเกลี่ยปรับระดับได้ ผูกเหล็กแล้วหล่อเสาตอหม้อขึ้นมา ทำคานคอดิน...ฯลฯ  บางบ้านก็ใช้เสาตีนเป็ดหล่อสำเร็จ (เป็นเสาบ้านไปเลย) วางตั้งบนตะแกรงเหล็ก (wire mesh) แล้วเทปูนกลบตีนเป็ดเลย ทำคานคอดิน...ฯลฯ

ข้อชวนสงสัยก็คือ เมื่อกระบวนคิดและกระบวนทำมันก็เหมือนๆกัน เหตุไฉนเมื่อเกิดแผ่นดินไหวแล้ว บางบ้านก็ไม่ได้รับความเสียหายใดๆ บางบ้านก็พอจะมีบ้าง แต่บางบ้านกลับเสียหายมาก



บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 112  เมื่อ 08 มิ.ย. 14, 22:55

สิ่งที่ผมเห็นมาและพอจะเป็นคำตอบข้อสงสัย คือ แม้จะเป็นการก่อสร้างที่ใช้วัสดุเหมือนกัน เทคนิคเดียวกัน  แต่ก็มีความต่าง (ค่อนข้างมาก) ในเชิงของความละเอียดและความใส่ใจในการสร้างชิ้นงานแต่ละชิ้น อาทิ
   -เทปูนแล้วไม่ใช้ไม้แทงไล่ฟองอากาศ ซึ่งทำให้คอนกรีตของเสาและคานต่างๆไม่จับตัวกันแน่น ความแข็งแรงของเสาหรือคานจึงมีน้อยมาก
   -การใช้เสาสำเร็จแทนเสาหล่อ   เสาพวกนี้เกือบจะไม่มีความแข็งแรงใดๆเลย
   -ฐานของตีนเสามีขนาดเล็กและบาง    เมื่อถูกแผ่นดินไหวเขย่าขึ้นลง น้ำหนักของตัวบ้านที่ถ่ายลงมาที่เสาแต่ละเสาไม่เท่ากัน (ด้วยสาเหตุต่างๆ) ได้ทำให้เสาทรุด และทรุดไม่เท่ากัน (เหมือนคนตอกตะปู) ส่งผลให้ทรงโครงสร้างของบ้านบูดเบี้ยวไป
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 113  เมื่อ 09 มิ.ย. 14, 09:34

ดิฉันไปหารูปบ้านที่พังจากแผ่นดินไหวมาให้ดูอีก     หลายหลังส่วนหลังคาพังทลายลงมา   ไม่ทราบว่าเป็นเพราะเสารับน้ำหนักไม่ได้ หรือเกิดจากอะไรอื่นนะคะ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 114  เมื่อ 09 มิ.ย. 14, 09:36

ส่วนโรงแรมนี้   เสาน่าจะรับน้ำหนักได้อยู่ แต่ว่าผนังแตกร้าวหมด


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 115  เมื่อ 09 มิ.ย. 14, 20:31

กำลังจะต่อไปในเรื่องความเสียหายลักษณะตามภาพที่ อ.เทาชมพู ได้กรุณาค้นหานำมาโพสต์ 
ขอบพระคุณครับ
แต่จะขอต่อเรื่องเดิมให้จบก่อนนะครับ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 116  เมื่อ 09 มิ.ย. 14, 21:25

ภาพใน คห.97 โดยเฉพาะ 2 ภาพแรก ได้แสดงให้เห็นว่าอาคารได้ทรุดจมลงไปในดิน ซึ่งคงจะเกิดจากเสาตอหม้อด้านหนึ่งทรุดตัวจมลงไปในดิน  การพังลงของบ้านก็เกิดจากสาเหตุนี้ส่วนหนึ่ง
 
อีกส่วนหนึ่ง  ก็ขอให้สังเกตในภาพ ดูที่ปลายเสาของชั้นสองทั้งหมดทุกต้น จะไม่เห็นมีคานเชื่อมหัวเสา และหลังคาก็หลุดยกทั้งโครงและทั้งกระเบื้องมุงหลังคา กล่าวได้ว่ายกกระบิออกไปเลย (ตามภาพที่ 3)   

ที่ผมได้เห็นได้สัมผัสกับบ้านที่กำลังก่อสร้างหลายหลังในพื้นที่ พบว่า บ้านที่ก่อสร้างในสมัยปัจจุบันนี้ จะไม่มีการทำคานเชื่อมหัวเสา แต่จะใช้เหล็กตัว c วางพาดหัวเสาและเชื่อมติดกับเหล็กแกนของเสา จะเรียกว่าเชื่อมแบบดีแข็งแรงแน่นหนา ก็คงไม่ใช่เลย ผมเห็นว่าเป็นการแต้มให้เหล็กติดกันมากกว่าเป็นการเชื่อม แถมส่วนมากยังเชื่อมกับเหล็กแกนเพียงสองเส้น เชื่อมกับเหล็กแกนเส้นเดียวก็เคยเห็นครับ  แล้วใช้เหล็กที่เชื่อมต่อระหว่างหัวเสานี้เป็นฐานสำหรับโครงหลังคา  ผมไม่มีความรู้ทางวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม ก็เข้าใจว่าก็คงเป็นวิธีการที่ทำได้หากวัสดุทั้งหลายเป็นไปตามมาตรฐานและข้อกำหนดทางวิศวกรรม รวมทั้งการเชื่อมที่เป็นการเชื่อมจริงๆ มิใช่การแต้มให้เหล็กติดกัน

ลองนึกดูนะครับว่า บ้านยังสร้างไม่เสร็จสมบูรณ์ ชั้นสองมีแต่เสาโด่เด่ ผนังก็ยังไม่มีการก่อ (ซึ่งจะไปช่วยให้เกิดเป็นทรงกล่องที่มีความแข็งแรง) แล้วมีหลังคาวางครอบทับหัวเสา อีกทั้งยังเป็นหลังคาประเภทใช้กระเบื้องหนักมุงอีกด้วย แผ่นดินไหวมาเขย่านิดเดียว ก็เหมือนชาวบ้านเดินเทินถาดใส่ของหนักๆไว้บนหัวแล้วถูกเขย่าตัว ก็คงหนีไม่พ้นที่จะต้องล้มระเนระนาดกันไป
   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 117  เมื่อ 09 มิ.ย. 14, 21:52

อีกเรื่องหนึ่งที่ผมได้พบเห็นมา เป็นเรื่องเกี่ยวกับคาน เอ็น และทับหลัง ซึ่งพอจะทราบมาว่า ตามปรกติแล้ว การก่อสร้างที่ดีมีฝีมือนั้น บริเวณวงกบหน้าต่างและประตูจะต้องมีโครงสร้างที่เป็นคานรองรับ มีเอ็นกระหนาบข้าง และมีทับหลังไว้รับน้ำหนักผนังด้านบนกรอบหน้าต่างหรือประตู

ผมเรียกชื่อถูกหรือเปล่าก็ไม่รู้ เดี๋ยวท่านสถาปนิกก็จะมาช่วยแก้ไขและขยายความให้เอง

ทั้งสามอย่างนี้มีส่วนช่วยให้ผนังบ้านมีความแข็งแรงมากขึ้นอีกด้วย แต่ก็จะเสียเวลาและค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น  บ้านชาวบ้านทั้งหลายก็มีทั้งแบบที่มีหรือไม่มีโครงสร้างนี้  ที่ผมเห็นมาจากแผ่นดินไหวในครั้งนี้ก็พบว่า พวกบ้านที่ไม่มีโครงนี้จะได้รับความเสียหายมากบ้างน้อยบ้างตามขนาดพื้นที่ของผนัง ซึ่งมีทั้งพัง โป่ง และโย้เป็นลอนคลื่น แต่พวกบ้านที่มีโครงสร้างนี้เกือบจะไม่ได้รับผลกระทบใดเลย

หากจะลองเพ่งดูในภาพระยะใกล้ของ คห.97 จะเห็นว่าเป็นบ้านที่ผนังบ้านไม่มีโครงสร้างนี้ที่บริเวณหน้าต่าง
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 118  เมื่อ 09 มิ.ย. 14, 22:36

อ้างถึง
อีกเรื่องหนึ่งที่ผมได้พบเห็นมา เป็นเรื่องเกี่ยวกับคาน เอ็น และทับหลัง ซึ่งพอจะทราบมาว่า ตามปรกติแล้ว การก่อสร้างที่ดีมีฝีมือนั้น บริเวณวงกบหน้าต่างและประตูจะต้องมีโครงสร้างที่เป็นคานรองรับ มีเอ็นกระหนาบข้าง และมีทับหลังไว้รับน้ำหนักผนังด้านบนกรอบหน้าต่างหรือประตู

ผมเรียกชื่อถูกหรือเปล่าก็ไม่รู้ เดี๋ยวท่านสถาปนิกก็จะมาช่วยแก้ไขและขยายความให้เอง
เอ็นและทับหลังเป็นคำเรียกย่อของ เสาเอ็นและคานทับหลัง ซึ่งอาคารก่ออิฐฉาบปูนที่สร้างตามมาตรฐานทั้งหลายพึงมีในตำแหน่งต่างๆดังรูปที่ผมนำมาแสดง

ส่วนอาคารที่ไปลดมาตรฐานลงเพื่อหวังทุ่นค่าก่อสร้าง แถมยังก่อสร้างไม่เสร็จ เมื่อพังลงในสถานการณ์วิกฤตอย่างนี้ก็มิพึงต้องข้องใจแต่ประการใด

ผมอยากจะคอยอ่านต่อว่ามีอาคารร่วมสมัยใดบ้างที่สร้างโดยใช้ค่าความปลอดภัย(safty factor)จากแผ่นดินไหวตามมาตรฐานที่วิศวกรรมสถานกำหนด แล้วยังได้รับความเสียหายจากแผ่นดินไหวคราวนี้บ้าง ถ้าไม่มีก็น่ายินดี แต่ถ้ามี ก็เห็นจะต้องเพิ่มค่าความปลอดภัยขึ้นอีก


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 119  เมื่อ 09 มิ.ย. 14, 22:44

เชิญท่านนายตั้งต่อครับ

 
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9 10 ... 31
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.069 วินาที กับ 19 คำสั่ง