เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 9
  พิมพ์  
อ่าน: 33269 จิตรกรรมในพระปรางค์ ภาพเขียนสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 13 พ.ค. 10, 20:37

ภาพเขียนในคูหาพระปรางค์ชุดนี้ ปรากฏร่องรอยของรูปแบบลายหลายๆส่วน
ซึ่งมีจุดเกี่ยวเนื่องหลายส่วนที่น่าสนใจ ดูใกล้ๆกันหน่อยครับ


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 13 พ.ค. 10, 20:43

ในชั้นนี้ที่ผนังทางด้านทิศเหนือ เขียนในลักษณะต่างไปเล็กน้อย(ที่จริงอาจมีมากกว่านี้แต่ผู้ถ่ายภาพเห็นไม่หมด หุหุ..)
คือเพิ่มลวดลา่ยต่อจากกนกตัวเหงาที่ศิรประภาลงมาตามเส้นพระวรกาย เป็นรูปแบบซุ้มเรือนแก้ว ทำให้นึกถึงวัดไลย์ครับ
แม้อาจจะไม่ร่วมสมัยกัน แต่รูปแบบใกล้เคียงได้เงื่อนงำส่งต่อกันมาก


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 13 พ.ค. 10, 20:44

...


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 13 พ.ค. 10, 20:51

กระทู้นี้เห็นจะมีแต่ภาพอดีตพุทธ บางท่านอาจจะไม่ตื่นเต้นเร้าใจ เท่ากับภาพจิตรกรรมฝาผนังชุดอื่นๆ
แต่ภาพลักษณะนี้เขียนเป็นพุทธบูชา และเป็นพื้นที่ที่ไม่ได้ใช้งานเท่าอุโบสถหรือ วิหารใหญ่ๆ จึงไม่ค่อย
มีการรบกวนให้เปลี่ยนแปลงมากนัก การสืบหาข้อมูลที่เก่าไปถึงอยุธยาตอนด้น คงหนีไม่พ้นจิตรกรรมในกรุ
ที่มีอยู่ไม่กี่แห่งเหล่านี้ สำหรับท่านที่สนใจทางด้านศิลปะสถาปัตย์โบราณ ก็ติดตามกันต่อสักนิดครับ
 ....  ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 13 พ.ค. 10, 20:54

เริ่มไม่มีเนื้อหา... ชวนดูภาพแล้วกันครับ อย่างไรขอท่านอื่นอธิบายกรรมวิธีการเขียนภาพ
เป็นวิทยาทานสักหน่อยครับ เรื่องสีด้วยก็ดีครับ  ....

ลองชมพระสาวกกันบ้าง ภาพพระสาวกองค์นี้โดดเด่นน่าประทับใจ


บันทึกการเข้า
asia
มัจฉานุ
**
ตอบ: 78


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 13 พ.ค. 10, 21:05

งดงามขอรับ กระผม งามจับใจยิ่งนัก
บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 13 พ.ค. 10, 21:07

กรุวัดมหาธาตุเต็มไปด้วยเรื่องราวครับน้องเน หาใช่ว่ามีแต่อดีตพุทธแล้วจักอธิบายเป็นเรื่องเป็นราวเล่านิทานไม่ได้

อย่างเทพชุมนุมวัดใหม่ประชุมพลก็มีเรื่องเป็นคุ้งเป็นแคว

เสียดายยังไม่ได้นับจำนวนอดีตพุทธเจ้า ว่าตรงกับคัมภีร์ไหน 33 34 24 28 60 หรืออะไรก็ว่าไป (จริงๆเคยนับแต่จำไม่ได้แล้ว)

สำคัญที่สุดคือ พุทธวงศ์ ที่เขียนขึ้นตรงด้านล่างสุดของผนังติดพื้น เป็นอดีตพระพุทธเจ้าจำนวน 24 พระองค์ ทำนายพระสมณโคดมพระเจ้าเรา ตั้งแต่พระพุทธทีปังกร ทำนายสุเมธดาบส ลองไปหาอ่าน

เผอิญผมไม่มีภาพในกรุเสียด้วย ต้องพึ่งน้องเนล้วนๆ ฮืม
บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 13 พ.ค. 10, 21:07

สวัสดีครับพี่เซีย ... เจ๋ง

ย้ายมาที่ผนังด้านสำคัญตรงข้ามกับด้านทางเข้า ที่ผนังด้านนี้ถ่ายภาพเต็มได้ไม่ถนัดเพราะ
มีการตั้งพระพุทธรูปเอาไว้กลางห้อง แถมด้วยภาพที่สำคัญและเป็นประธานที่กึ่งกลางผนัง
ด้านนี้ ก็โดนทับด้วยคอนกรีตไปแล้ว เดาว่าเป็นภาพพระมหาสมณโคดม ศรีศากยมุนีพุทธเจ้า
เป็นภาพประธานเขียนภาพใหญ่กว่าภาพอดีตพุทธองค์อื่นๆ สองข้างพระวรกายเขียนเป็นพระสาวก
ยืนพนมมือ ส่วนเหนือพระสากขึ้นไปยังมีรูปอดีตพุทธอีกเช่นกันแต่ แตกต่างตรงรูประหว่าง
อดีตพุทธนั้น มีเขียนเป็นรูปคล้ายจะเป็นเทวดาหรือพราหมณ์?สักอย่าง โผล่มาแค่ศีรษระ
จากกลุ่มเมฆ ภาพที่ผนังด้านนี้(ผนังด้านทิศตะวันตก)ดูแล้วนึกถึงภาพพระบฏ ของชาวธิเบตครับ


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 13 พ.ค. 10, 21:14

เรื่องพุทธวงศ์ที่พี่กุเล่าให้ฟัง กะไว้ว่าจะเอาไว้เป็นไคล์มแมก ซะหน่อย เหอะๆ 555
แต่น่าเสียดายที่ผมถ่ายมาแล้วมันเสียไปบางภาพ เสียดายจริงๆ แต่ยังไงจะลงให้ชมครับ
เดี๋ยวขอผนังฝั่งนี้ก่อน อุตสาห์ย้ายมา

... ย้ายเข้ากรุมาหาที่พึ่งทางใจ ระหว่างสถานการณ์ที่ยากจะอธิบาย T-T....



บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 13 พ.ค. 10, 21:18

ภาพใน คคห.ที่22 จะเห็นว่าที่ด้านขวาของภาพ(ซ้ายมือของผู้ชม)จะมีรอยของแนวคอนกรีตอยู่
เป็นตำแหน่งของภาพประธานครับ สังเกตเห็นพุ่มไม้บริเวณด้านขวาของอดีตพุทธเจ้าครับ ซึ่งเห็น
ร่องรอยของพระอังสะของภาพประธาน ติดกับพระชานุของพระอดีตพุทธด้วย


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 13 พ.ค. 10, 21:22

...


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 13 พ.ค. 10, 21:28

เห็นเทวดา?หรือนักบวชท่านนี้ชูแบนแปลกๆ เลยเอามาให้ชมครับ

... ขอบคุณที่เข้ามาชมครับ ขอบคุณพี่กุกับพี่ยีนส์ด้วยที่นำข้อมูลต่างๆมาฝากกัน ....

 ยิงฟันยิ้ม ..... วันนี้ขอตัวก่อนครับ




บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 13 พ.ค. 10, 21:44

อ่าวหรอๆๆๆ ขอโทษที ไม่แย่งซีนแล้วๆๆ บรรเลงเลยครับคุณน้อง  รูดซิบปาก

วัดมหาธาตุ ราชบุรี ระยะที่ 2 ครับ มีปรางค์งอกออกมาสี่ทิศแล้ว ทำไพทีหุ้มชั้นล่างสุดด้วย แต่ยังไม่ทำมุขปรางค์ประธานออกมา

ทั้งหมดนี้เป็นงานสันนิษฐานนะครับ ยังไม่ได้ศึกษาในเชิงลึก ใครมีข้อเสนอข้องใจข้องจิต ก็แลกเปลี่ยนหมุนข้อมูลกันได้ครับ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
asia
มัจฉานุ
**
ตอบ: 78


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 13 พ.ค. 10, 21:50

จิตรกรรมฝาผนังในกรุวัดมหาธาตุ ราชบุรี เป็นภาพพระอดีตพุทธ และพระสาวกประทับนั่งซ้อนกันเป็นชั้น ภาพพระอดีตพุทธที่ประทับบนรัตนบัลลังก์
มีปัทมอาสน์เป็นกลีบบัวแบบกลีบบัวของประติมากรรมสมัยลพบุรี ภาพอดีตพุทธแถวบนมีลักษณะขอลอิทธิพลแบบอู่ทอง และสุโขทัย
เช่น พระเส๊ยรมีลักษณะแบนราบ วงพระพักตร์กว้าง พระรัศมีเป็นเปลว ส่วนอดีตพุทธแถวล่าง ส่วนใหญ่มีพระพักตร์รูปผลมะตูม การตัดเส้นภาพ โดยเฉพาะวงพระพักตร์
ใช้เส้นอ่อนไหวอันเป้นลักษณะของศิลปะสุโขทัย ภาพซุ้มหลังภาพอดีตพุทธช่วงบน เป็นซุ้มเรือนแก้ว หรือซุ้มประดับด้วยลวดลายพันธุ์พฤกษา

บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 13 พ.ค. 10, 21:54

ท่าชูแขนแปลกๆนั้นคือวันทนามุทราครับ เป็นท่าแสดงความเคารพแบบอินเดีย

หวัดดีครับพี่เซีย

อ๊ะ เจดีย์ลอย พลาดแล้วเรา


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 9
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.069 วินาที กับ 18 คำสั่ง