เรือนไทย

General Category => ชมรมอนุรักษ์ภาพจิตรกรรมไทย => ข้อความที่เริ่มโดย: virain ที่ 13 พ.ค. 10, 09:08



กระทู้: จิตรกรรมในพระปรางค์ ภาพเขียนสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 13 พ.ค. 10, 09:08
สวัสดีครับ หลายวันก่อนได้มีโอกาสเดินทางไปราชบุรี และได้เข้าไปถ่ายภาพในคูหาพระมหาธาตุ
และโชคดีที่มีคนช่วยให้ความรู้ระหว่างถ่ายภาพ เรียกว่าได้เรื่องราวที่น่าสนใจหลายจุดทีเดียวครับ
ภาพเขียนรูปอตีตพุทธ หรือพระพุทธเจ้าทั้งหลายในอตีตเหล่านี้ จัดได้ว่าเป็นภาพเขียนประกอบ
พุทธศาสนาสถานที่เก่าแก่ที่สุดหนึ่งของเมืองไทยชิ้นหนึ่ง เพราะในปัจจุบันภาพเขียนที่มีอายุเก่าแก่
นับแต่สมัยอยุธยาตอนกลางขึ้นไป มีเหลือให้ชมอยู่ไม่กี่ที่เท่านั้น กระทู้นี้ผมจึงขอรวบรวมภาพบางส่วน
มาให้ชมกันโดยสังเขป เผื่อมีประเด็นที่ทำให้ท่านไหนอยากจะไปชมบ้างก็ดีครับ


กระทู้: จิตรกรรมในพระปรางค์ ภาพเขียนสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 13 พ.ค. 10, 09:19
สวัสดีครับ น้องเน อยากให้มีัคนมาเปิดกระทู้วัดมหาธาตุมาเนิ่นนานแล้ว เพราะหารูปชมยากเหลือเกิน

เวลาใครๆพูดถึงจิตรกรรมวัดมหาธาตุ ก็มักพูดกันถึงแต่อดีตพุทธ แต่ไม่ได้รู้เรื่องราวอะไรมากกว่านั้น ทั้งลวดลายประดับ สถาปัตยกรรม คติความเชื่อทางศาสนา

เมื่อก่อนอาจารย์ชมพูนุท เึคยกล่าวถึงเรื่องสีในจิตรกรรมวัดนี้ไปแล้ว ลองไปหาอ่านกัน แต่หลังจากนั้นก็ไม่มีใครกล่าวถึงอีก ยกเว้นอาจารย์สันติ เล็กสุขุม ที่ศึกษาเรื่องแบบพระพักตร์พระพุทธเจ้า

แม้แต่ตัวอย่างจิตรกรรม ก็มีเพียงรูปสองรูปให้ชมกันพอเป็นกษัย น่าน้อยใจนัก ทั้งๆที่สำคัญเหลือเกิน และเหลือสมบูรณ์อยู่ไม่กี่แห่งในไทย เชื่อมโยงได้ทั้งวัดราชบูีรณะและศรีลังกา พม่าพุกามจามเขมร (จามไม่เกี่ยว พูดให้คล้องกันเล่นๆ)

เอารูปใหญ่ๆเลยนะ


กระทู้: จิตรกรรมในพระปรางค์ ภาพเขียนสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 13 พ.ค. 10, 09:20
ที่วัดมหาธาตุกำลังมีการขุดค้นร่องรอยการทับซ้อนของสิ่งก่อสร้าง ในสมัยต่างๆที่อยู่ลึกลงไปในพื้นที่เดียวกัน
รู้มาว่ามีข้อมูลที่น่าสนใจมากมาย เห็นทีคงต้องไปคะยั้ยคะยอให้ คนที่ทำทีสิสเรื่องนี้เล่าให้ฟังว่ามีรายละเอียด
อะไรลึกไปกว่าที่เราเห็นๆกัน แต่คร่าวๆอย่างน้อยที่นี่ก็เป็นศาสนสถานที่มีมาตั้งแต่สมัยเขมรเมืองพระนครเรือง
อำนาจ ส่งอิทธิพลมาถึงลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา-แม่กลอง และปรากฏชิ้นโบราณวัตถุสมัยทวาราวดีด้วย แต่ยังไม่
เห็นสิ่งก่อสร้างทวาราวดีสนับสนุนชัดเจน เลยยังไม่แน่ใจนัก ภูมิสัณฐานของเมืองราชบุรีนั้นเป็นเมืองติดแม่น้ำ
แม่กลอง ปรากฏร่องรอยคูเมืองทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำ วัดมหาธาตุตั้งอยู่ภายในคูเมืองฝั่งนี้ เดิมทีอาจเป็น
เมืองที่สร้างคร่อมลำน้ำอย่างเมืองพิษณุโลก แต่ไม่ปรากฏร่องรอยให้เห็นได้ชัดเจนในปัจจุบัน ร่องรอยที่ปรากฏ
คล้ายกับเมืองสุพรรณบุรี



กระทู้: จิตรกรรมในพระปรางค์ ภาพเขียนสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 13 พ.ค. 10, 09:31
 ;D ...
  มาทักกันทันใจจริงๆเลยครับ ต้องขออกตัวก่อนครับว่าภาพที่ผมถ่ายมา เรื่องสีคงดูไม่ได้ชัดเจนนัก
เพราะในนั้นแสงน้อย และเป็นแสงจากหลอดฟลูออเรสเซนต์ ผมถ่ายโดยไม่ใช้แฟลชเลยอาจดูไม่สวยนัก
ขนาดภาพเอาเล็กๆไปก่อนเน้อ เอาไว้อัพแล้วจะลงลิงค์มาให้ แต่สำหรับพี่กุเดี๋ยวไรท์ให้เลยทั้งชุด ไม่ต้องห่วงครับ

จะว่าไปตอนมาไล่ภาพที่หลังผมเองก็งงๆเหมือนกัน เพราะตอนถ่ายก็ไม่ได้ถ่ายมาเป็นระบบระเบียบเท่าไหร่
เรื่องตำแห่นงของภาพอาจเพี้ยนไปบ้าง เชื่อว่าคงมีคนเริ่มบ่นว่าแล้วผมจะมาตั้งกระทู้ทำไม อ่ะ..นะ เหอะๆ



กระทู้: จิตรกรรมในพระปรางค์ ภาพเขียนสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 13 พ.ค. 10, 09:34
อิอิ น้องเนเล่าเลยครับ เผื่อบางคนเขาทำทีสิสจะได้ลอกไปทำวิทยานิพนธ์

สำหรับเรื่องประวัติวัดมหาธาตุและสถาปัตยกรรม เอาไว้คุยกันกระทู้เ้ป็นเรื่องเป็นราวดีกว่า เพราะแค่ประวัติจิตรกรรมที่นี่ก็อลังการจนทำทีสิสได้อีกเล่มนึง (จริงๆนะ)

จิตรกรรมฝาผนังวัดมหาธาุตุราชบุรีนี้ ที่เหลือมาจนทุกวันนี้ได้ ต้องยกความดีในกับคุณธนิต อยู่โำพธิ์ อธิบดีกรมศิลปากรสมัย 2500

"อธิบดีกรมศิลปากรได้แจ้งมาให้ทราบว่า วันที่ 7 เมษายนนี้ ได้เดินทางไปสำรวจและถ่ายภาำพสีที่วัดมหาธาตุ จังหวัดราชบุรี เห็นว่าจิตรกรรมไทยที่องค์พระปรางค์วัดมหาธาตุ เป็นฝีมือช่างสมัยอยุธยาได้เขียนไว้งดงามมากเช่นเดียวกับโถงชั้นบนพระปรางค์วัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา"

"ได้ทราบจากเจ้าอาวาสวัดมหาธาตุว่า กำลังจะกะเทาะภาพออกเพื่อโบกปูนใหม่และดัดแปลงเป็นที่บรรจุของโบราณที่ขุดได้จากวัดเพลง จึงเป็นที่น่าเสียดาย เพราะภาพนั้นงดงาม และเป็นภาพฝีมือที่แสดงความรู้สึกเป็นอย่างยิ่ง ฝีมือเขียนก็ละเอียดอ่อน ควรจะรักษาไว้หรือคัดลอกถ่ายภาพนั้นไว้เป็นประวัติศาสตร์ แต่ตอนกลับไปหาเจ้าอาวาสด้วยคิดจะฝากไว้ให้ช่วยรักษาไว้ก่อน บังเอิญท่านเจ้าอาวาสไม่อยู่ จึงไม่มีโอกาสได้เรียนปฏิบัติในการขอ แต่ได้ยับยั้งการกะเทาะปูนไว้ก่อน"


"ที่ประชุมรับทราบและขอให้กรมศิลปากรแจ้งให้เจ้าอาวาสวัดมหาธาตุ ขอให้งดการกะเทาะภาพจิตรกรรมฝาผนังในองค์พระปรางค์วัดมหาธาตุไว้่ก่อน"



อ่านแล้วจะเป็นลม............... :'( ขอบคุณคุณธนิตมากครับ


กระทู้: จิตรกรรมในพระปรางค์ ภาพเขียนสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 13 พ.ค. 10, 09:40
เรื่องประวัติศาสตร์ศิลป์คงต้องพึ่งพี่กุหรือท่านอื่นๆมาเล่าให้ฟัง เอาเป็นว่าเล่าเท่าที่ผมจำได้แล้วกันนะครับ
ภาพนี้เป็นภาพอดีตพุทธแถวเกือบบนสุด บนผนังทางทิศใต้ ด้านบนสุดสถาพค่อนข้างเลือนและถ่ายภายาก
เลยไม่ได้ถ่ายมา อดีตพุทธที่ฝั่งนี้เขียนเป็นพระปางมารวิชัยบนดอกบัว มีศิระประภาที่พระเศียรประดับด้วยซุ้ม
ครอบแบบต้นไม้เขียนใบไม้เป็นใบๆ คั่นด้วยรูปพระสาวกประนมมือปรากฏเป็นครึ่งองค์ ผิดถูกยังไงขอข้อมูล
แก้ไขด้วยครับ

 ???


กระทู้: จิตรกรรมในพระปรางค์ ภาพเขียนสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 13 พ.ค. 10, 09:50
โอ้.... สุดยอด เกือบไปๆ ที่จริงเมืองไทยภาพเขียนสมัยอยุธยานั้นคงมีอยู่หลายที่จริงๆ
แต่คงเจอเหตุการณ์ประมาณนี้เลยทำให้ กลายเป็นไม่เหลือแทน ... ซะอย่างนั้น
แต่ยังไงผนังทั้งสามด้านไม่นับทางเข้านั้น ก็ถูกหล่อคอนกรีตทับที่กึ่งกลางผนัง คล้ายว่าจะทำ
เพื่อเสริมความแข็งแรง ภาพเขียนจึงถูกทำลายโดยขนาดกว้างประมาณ 1 ฟุต กินความยาวตั้ง
แต่พื้นที่ยืนในห้องคูหานั้น จนสุดถึงเพดาน ... T-T

ภาพนี้ผมจำไม่ได้ว่าถ่ายมาจากทางผนังทางทิศใต้หรือทิศเหนือ แต่เป็นภาพในชั้นเดียวกัน
(พี่กุผมลืมว่าเขาเขียนอดีตพุทธไว้กี่ชั้นกันครับ) ที่น่าสังเกตจุดหนึ่งคือภาพต้นไม้ที่อยู่รอบพระเศียรนั้น
มีการเขียนใบต่างๆกันไป บางทีอาจจะซ่อนความหมายถึงต้นไม้หลายๆชนิดที่พระพุทธเจ้าประทับนั่ง
ภายใต้ต้นไม้เหล่านั้นครับ


กระทู้: จิตรกรรมในพระปรางค์ ภาพเขียนสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 13 พ.ค. 10, 09:59
กรุวัดมหาธาตุเกือบกลายเป็นห้องเก็บของไปแล้วไหมล่ะ ได้อ่านแล้วก็เศร้าใจ  :'(


ส่วนรูปประกอบ อิอิอิ ชอบๆๆ ขอรูปใหญ่ๆๆๆเลยนะ เอากว้างสัก 500 พิกเซลกำลังดี แล้วความสูงเด๊ยวมันเปลี่ยนให้เอง

ในเรื่องของหล่อปูนเป็นคานนั้น ผมคิดว่าอาจจะเป็นเทคนิกมาแต่โบราณกาลแล้ว เดิมอาจจะเป็นคานไม้วางเพื่อรับน้ำหนักอิฐ (หรือเปล่า?ต้องถามวิศวกร) เพราะที่กรุวัดพระรามก็มี เป็นรอยร่องบากกว้างคูณยาวกลางผนังเลย แต่ตัวคานหายไปแล้ว อาจทำด้วยไม้เลยผุไปตามกาลเวลา


กระทู้: จิตรกรรมในพระปรางค์ ภาพเขียนสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: jean1966 ที่ 13 พ.ค. 10, 10:59
ที่วัดมหาธาตุราชบุรีเมื่อปลายปีที่แล้วเข้าไปวัดคงคาแล้วว่าจะแวะก็ทราบว่ากำลังบูรณะอยู่ แล้ววันที่ไปฝนดันตกหนักก็เลยไม่ได้เข้าชม เมื่อคืนยังนั่งคิดถึงอยู่ เช้านี้มาเปิดดูกระทู้ เหลือเชื่อว่ามีน้องเนมาตั้งกระทู้วัดนี้พอดี ปัจจุบันยังบูรณะอยู่รึเปล่าแล้วถ่ายภาพมาครบหรือไม่ ไว้เจอกันจะได้ข้อข้อมูลบ้าง อิอิ
ข้อมูลวัดของจังหวัด
  วัดมหาธาตุราชวรวิหาร  ตำบลหน้าเมือง  อำเภอเมืองราชบุรี  ตั้งอยู่เกือบใจกลางเมืองราชบุรีนักโบราณคดีและนักประวัติศาสตร์ศิลปะสันนิษฐานจากหลักฐานทางโบราณคดีว่า  แรกสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยวัฒนธรรมทวารวดี  ราวพุทธศตวรรษที่  ๑๓  ต่อมาในราวพุทธศตวรรษที่  ๑๘  วัฒนธรรมเขมรจากราชอาณาจักรกัมพูชาได้แพร่เข้าสู่ดินแดนราชบุรี  จึงได้มีการก่อสร้างและดัดแปลงศาสนสถานกลางเมืองราชบุรีขึ้นเป็นพระปรางค์และสร้างกำแพงศิลาแลงล้อมรอบเพื่อให้เป็นศูนย์กลางของเมืองตามคติความเชื่อเรื่องภูมิจักรวาลของเขมร  ต่อมาในสมัยอยุธยาตอนต้น  ราวพุทธศตวรรษที่   ๒๐ – ๒๑  ได้มีการก่อสร้างพระปรางค์แบบอยุธยาขึ้งซ้อนทับและสร้างพระปรางค์บริวารขึ้นอีก  ๓  องค์บนฐานเดียวกัน  ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย  ได้ทรงพระกรุณาโปรกเกล้าฯ  ให้ย้ายเมืองราชบุรีจากฝั่งตะวันตกมายังฝั่งตะวันออก  ประชาชนก็ย้ายตามความเจริญไปด้วย  วัดมหาธาตุจึงกลายเป็นวัดร้างไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา  ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว  ใน  พ.ศ.  ๒๓๓๘  พระภิกษุองค์หนึ่งชื่อพระบุญมา  ได้ธุดงค์มาเห็นวัดนี้มีสถานที่ร่มรื่น  เหมาะสำหรับการปฏิบัติธรรมจึงได้ขอความร่วมมือจากพุทธศาสนิกชนช่วยกันปัดกวาดซ่อมแซมเสนาสนะต่างๆ  ในที่สุดวัดมหาธาตุจึงกลับมาเป็นศูนย์กลางของศาสนาเช่นเดิม  และยังคงเป็นมาจนถึงปัจจุบัน  สิ่งสำคัญในวัด  ได้แก่
         พระปรางค์ประธาน  เป็นสถาปัตยกรรมที่สร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่  ๑๘  และได้รับการซ่อมแวมเพิ่มเติมในสมัยอยุธยาตอนต้นตรงส่วนที่เป็นซุ้มด้านตะวันออก  และภาพจิตรกรรมภายใน  ประกอบด้วยพระปรางค์ประธานและพระปรางค์บริวาร  ๓  องค์บนฐานเดียวกันมีการตกแต่งองค์พระปรางค์ทั้งหมดด้วยลวดลายปูนปั้นอย่างงดงาม  ด้านตะวันออกของพระปรางค์ประธานมีบันไดและขึ้นมุขยื่น  ภายในเป็นคูหาเชื่อมต่อกับพระปรางค์  ผนังภายในองค์พระปรางค์ทุกด้านมีภาพจิตรกรรมรูปพระอดีตพุทะเจ้า  สันนิษฐานว่าเขียนขึ้นในสมัยเดียวกันกับการสร้างองค์พระปรางค์
         พระวิหารหลวง  อยู่ด้านหน้าพระปรางค์ภายนอกระเบียงคด  เป็นซากอาคารในแผนผังสี่เหลี่ยมผืนผ้า  ฐานด้านล่างสุดก่อด้วยศิลาแลง  ด้านหน้ามีมุขยื่น  บนพระวิหารเคยมีเจดีย์ขนาดเล็กตั้งอยู่  แต่พังทลายลงหมด  บนฐานวิหารมีอาคารไม้โล่ง  หลังคาเครื่องไม่มุงสังกะสี  อาคารหลังนี้กล่าวกันว่านายหยินบิดาของขุนสิทธิสุวรรณพงศ์  อดีตนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองราชบุรีเป็นผู้สร้างขึ้นเมื่อ  พ.ศ.  ๒๔๕๔  พระวิหารนี้เคยเป็นที่ตั้งโรงเรียนพระอภิธรรมราชบุรี  ภายในอาคารพระวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นแกนหินทรายขนาดใหญ่แสดงปางมารวิชัย  ๒  องค์  ประทับนั่งหันพระปฤษฎางค์ชนกัน  พุทธศิลปะแบบอยะยาตอนต้น  ด้านข้างทั้งสองและด้านหน้าของพระวิหารที่มุมด้านตะวันออกแยงเหนือและด้านตะวันออกเฉียงใต้  มีวิหารขนาดเล็ก  ประดิษฐานพระพุทธรูปหินทรายสีแดงปางมารวิชัยประทับนั่งหันพระปฤษฎางค์ชนกันคล้ายกับพระพุทธรูปบนพระวิหารหลวง
         กำแพงแก้ว  ก่อด้วยศิลาแลงรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า  ล้อมรอบองค์พระปรางค์ทั้งสี่ด้าน  เหนือกำแพงมีในเสมาทำด้วยหินทรายสีชมพูจำหลักพระพุทธรูปประทับนั่งปางสมาธิในซุ้มเรือนแก้ว  ลักษณะพุทธศิลปะเขมรแบบบายน  (ราวพุทธศตวรรษที่  ๑๘)  เมื่อ  พ.ศ.  ๒๕๓๐  ทางวัดมหาธาตุได้ดำเนินการขุดเพื่อก่อสร้างอาคารบริเวณด้านข้างวิหารเล็กที่มุมขนาดย่อมนอกจากนั้นยังพบชิ้นส่วนสถาปัตยกรรมส่วนยอดของพระปรางค์  สันนิษฐานว่าคงเป็นอาคารที่สร้างขึ้นคราวเดียวกับกำแพงแก้ว
         ราวบันไดรูปครุฑยุคนาค  พบจำนวน  ๒  ชิ้น  จำหลักจากหินทรายสีแดงตั้งอยู่ที่ทางเข้าภายในระเบียงคดด้านทิศตะวันออก  ปัจจุบันอยู่ในสภาพชำรุดลบเลือนชิ้นหนึ่งเป็นรูปครุฑจับนาค  ๓  เศียร  ด้านหลังเป็นเศียรนาค  ๕  เศียรแผ่พังพาน  อีกชิ้นหนึ่งเป็นรูปนาคห้าเศียรไม่มีรูปครุฑประกอบ  ทั้งสองชิ้นเป็นศิลปะเขมรแบบบายน  ราวพุทธศตวรรษที่  ๑๘
          พระอุโบสถ  สันนิษฐานจากลักษณะทางสถาปัตยกรรมว่าสร้างขึ้นตอนปลายสมัยอยุธยาราวพุทธศตวรรษที่  ๒๒  ได้รับการซ่อมแซมครั้งล่าสุดเมื่อ  พ.ศ.  ๒๕๐๙  เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน  หลังคาลด  ๒  ชั้น  ๓  ตับ  เป็นเครื่องไม้มุงกระเบื้อง  ด้านหน้าและด้านหลังทำพาไลยื่นรองรับโครงหลังคาด้วยเสาปูนจำนวน  ๓  ตับ  ด้านข้างมีชายคาปีกนกโดยรอบ  ฐานอาคารมีลักษณะศิลปะสถาปัตยกรรมแบบอยุธยาตอนปลาย  คือแอ่นโค้งคล้ายท้องเรือสำเภาหรือที่เรียกว่าแอ่นท้องช้าง  ซุ้มประตูหน้าต่างปั้นปูนประดับกระจกเป็นซุ้มหน้านาง  ภายในพระอุโบสถประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัยประทับนั่งบนฐานดอกบัว  ด้านนอกโดยรอบมีกำแพงแก้วก่ออิฐถือปูนล้อมรอบ
          พระมณฑป  ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของพระปรางค์ประธานภายนอกกำแพงแก้วปัจจุบันอยู่ในเขตสังฆาวาสของวัด  เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนในผังสี่เหลี่ยมย่อมุมไม้ยี่สิบบนฐานเขียงรองรับฐานสิงห์  ผนังรอบด้านมีซุ้มหน้าต่างทรงมณฑปด้านละ  ๑  ซุ้ม  เว้นด้านตะวันออกเป็นซุ้มประตูทางเข้ามีบันไดขึ้น – ลง  เครื่องหลัวคาของพระมณฑปพังทลายลงหมดแล้ว  ภายในพระมณฑปประดิษฐานรอยพระพุทธบาททำด้วยหินทรายสีแดง  ฝาผนังด้านในมีภาพจิตรกรรมเรื่องพุทธประวัติตอนเสด็จโปรดพระพุทธมารดาบนดาวดึงส์  และตอนผจญกองทัพพญามาร  ปัจจุบันมีสภาพลบเลือนเกือบหมด  เพราะไม่มีหลังคาคลุมทำให้น้ำฝนชะล้างสีจนภาพเลอะเลือน  พระมณฑปหลังนี้สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
          พระเจดีย์ เป็นเจดีย์รายเรียงเป็นแถวอยู่ด้านหน้าพระมณฑปจำนวน  ๕  องค์  เป็นพระเจดีย์ทรงระฆังกลมจำนวน  ๔  องค์  และพระเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสองอีก  ๑  องค์  ทั้งหมดเป็นศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์  ที่ฐานของพระเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสองมีจารึกบนแผ่นหินอ่อนความว่า  พระพุทธศักราช  ๒๔๖๒  สามเณรเซียะเล็ก  พร้อมบุตรทิพ  เจริญ  ฮกเซ่งพิจารณาเห็นว่า  พระเจดีย์เป็นปูชนียวัตถุถาวรจึงได้พร้อมใจกันมีศรัทธาสร้างขึ้นไว้ในพระพุทธศาสนานิพ์พานปัจจ์โยโหตุอนาคตะฯ
           วัดมหาธาตุได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติในราชกิจจาเบกษา  เล่ม  ๕๒  ตอนที่  ๗๕  เมื่อวันที่  ๘  มีนาคม  พ.ศ.๒๔๗๘  และได้รับการระวางแนวเขตโบราณในราชการกิจจานุเบกษา  เล่ม  ๑๐๐  ตอนที่  ๘๘  เมื่อวันที่  ๓๑  พฤษภาคม  พ.ศ.๒๕๒๖

 
         




 



 


 


กระทู้: จิตรกรรมในพระปรางค์ ภาพเขียนสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 13 พ.ค. 10, 11:31
ขอเสริมพี่ยีนส์ินิดหนึ่งนะครับ

แต่เดิมเชื่อกันมาโดยตลอดว่า พระปรางค์วัดมหาธาตุราชบุรี สร้างซ้อนทับปราสาทประธานในวัฒนธรรมพุทธศาสนามหายาน ที่แพร่มาจากเมืองพระนครในพุทธศตวรรษที่ 18 โดยดัดแปลงแก้ไขปราสาทเดิม ให้มีรสนิยมแบบอยุธยาตอนต้นในพุทธศตวรรษที่ 19-20

เมื่อแรกนั้นผมก็เชื่ออย่างนี้ เพราะเป็นเรื่องคอมมอนเซนส์ ไม่ว่าที่ไหนๆก็สร้างทับขอมทับทวารวดีทั้งนั้น อย่างพระปฐมเจดีย์ พระประโทน มหาธาตุ ลพบุรี เป็นต้น

ต่อมาเมื่อมีการขุดค้นขึ้น ความก็เลยแตก กลายเป็นว่า อยุธยาไปรื้อปราสาทประธานขอมทิ้งหมดเหลือแต่ฐาน แล้วไปก่อวิหารหลวงนั่นแหละ ทับปราสาทประธาน เกยกันอยู่ โผล่มานิดนึง

จากนั้นก็ย้ายศูนย์กลางของวัด คือพระปรางค์ประธาน ไปไว้ด้านหลังวิหารหลวง ตามสไตล์ของอยุธยาต้น มิหนำใจ ก่อกำแำพงวัดใหม่ ต่อจากของขอม ให้ยื่นยาวจนเป็นที่เห็นในปัจจุบัน ขณะที่กำแพงขอมของเดิม หยุดอยู่แค่แนวหลังวิหารหลวงเท่านั้นเอง

ส่วนปรางค์บริวาร 3 องค์นั้น เชื่อว่าเป็นของก่อใหม่สมัยอยุธยาตอนปลาย และแต่เดิมมีถึง 4 องค์เพิ่งจะพังไปในสมัยรัตนโกสินทร์นี่เอง เมื่อพังแล้วก็ไม่รู้จะทำยังไง ก็เลยก่อมุขให้มันยื่นยาวออกมาซะอย่างนั้น รอยต่อมุขยังปรากฏอยู่ ดูไปดูมาคล้ายมหาธาตุ ลพบุรีบ้าง พุทไธสวรรย์บ้าง ก็เลยเข้ารกเข้าพงกันใหญ่ (ผมก็เข้ามาแล้วกับเขาด้วย) เพราะถ้าดูจริงๆแล้ว มุขนั่นยาวผิดส่วนน่าเกลียดมาก มันทับลงไปบนฐานเดิมของปรางค์บริวารที่พังไป

แผนผังเดิมสมัยอยุธยาตอนต้นนั้น เชื่อว่าเป็นพระเจดีย์แปดเหลี่ยม 4 องค์ที่อยู่ประจำมุมมากกว่า เพราะต้องตามระเบียบกรุงศรีอยุธยานิยม อิอิ





กระทู้: จิตรกรรมในพระปรางค์ ภาพเขียนสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 13 พ.ค. 10, 11:40
เจอปราสาทประธานของขอมแล้วจ้า....... ;D

อยุธยารื้อเสียเละเลย เหลือแต่ฐานย่อมุม แถมสร้างวิหารทับ กลบดินเรียบร้อย ตอนแรกก็ขุดกันกลางวิหารเลย กะเจอแน่ๆ ปรากฏขุดลงไปสามเมตรยังไม่เจออะไร มาขุดใหม่หน้าิวิหาร นิดเดียวเจอเลย

แต่ดูไม่ค่อยรู้เรื่องเท่าไหร่


กระทู้: จิตรกรรมในพระปรางค์ ภาพเขียนสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 13 พ.ค. 10, 11:52
ภาพสันนิษฐานวัดมหาธาตุ ราชบุรียุคแรกครับ หลังจากรื้อของขอมเสียเละตุ้มเป๊ะแล้ว

เชื่อว่าจิตรกรรมในกรุก็เขียนขึ้นในระยะสมัยนี้ด้วย

ช่างท่านสร้างเจดีย์แปดเหลี่ยมตามสไตล์อโยธยา-สุพรรณภูมิ ไว้ประจำทิศ ยังไม่มีปรางค์บริวาร (เพราะฐานไพทีปรางค์บริวารกินเข้าไปในฐานเจดีย์แปดเหลี่ยม ย่อมสร้างทีหลัง) มีพระปรางค์ประธานองค์เดียว โดดเดี่ยวน่ารัก

สาเหตุที่รื้อของขอม ก็ยังตอบไม่ได้ครับ จะว่าเศรษฐกิจดีขึ้นเพราะตั้งเมืองหลวงที่อยุธยา ใกล้กว่าเมืองพระนคร ก็ใช่ แต่ทำไมต้องย้าย สร้างเพิ่มก็ได้นิ แบบมหาธาตุลพบุรี วัดนครโกษา

หรือฉันจะประกาศตัวไม่เอาพุทธศาสนามหายานก็ใช่ เพราะจากภาพเขียนในกรุ อ้างอิงพุทธวงศ์อันแต่งขึ้นในลังกา ฉันประกาศตัวเป็นเถรวาทเต็มขั้น หรือเปล่า?

ไม่หรอกๆ ไม่ว่าสมัยไหน ก็ไม่มีคนนับถือศาสนาบริสุทธิ์หรอก เราไปวัดยังเจอเจ้าแม่กวนอิมได้เลย


กระทู้: จิตรกรรมในพระปรางค์ ภาพเขียนสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 13 พ.ค. 10, 20:21
สวัสดีครับพี่ยีนส์ สภาพวัดมหาธาตุฯตอนนี้ก็กำลังขุดอยู่ล่ะครับ เพียงแต่องค์พระปรางค์
เขาทีสีขาวเป็นส่วนๆ เฉพาะตรงที่ไม่มีลายปูนปั้นครับ

ตามข้อมูลที่พี่กุ อธิบายมา ทำให้ทึกทักสันนิษฐานเอาว่า เดิมทีศาสนสถานมหายานของเขมรนั้น
เข้ามาตั้งในชุมชนนี้เพื่อ เผยแพร่ความคิดหรือเป็นการกระจายตัวของอารยะธรรมเขมรโบราณ
จนกระทั่งเมื่อเขมรอ่อนแอ ความอยากเป็นอิสระของแต่ละกลุ่มชนอาจทำให้เกิดการรื้อถอน
ศาสนสถานเดิมเหล่านั้นออก เพื่อลบภาพอารยะธรรมเดิมออกไปก่อน ต่อมาเมื่อชุมชนยังเจริญ
ต่อมาไม่ขาดสาย และพื้นที่เดิมยังคงสำคัญอยู่ สมัยอยุธยาตอนต้นเลยเข้าไปสร้างพระปรางค์มหาธาตุ
อันเป็นสัญลักษณ์ของเมืองสำคัญ แต่การทิ้งห่างของช่วงเวลาระยะหนึ่ง คงทำให้ตำแหน่งของประปรางค์
อยุธยาไม่ทับตรงจุดกึ่งกลางเดิมไปเสียทีเดียว เพราะตามปกติหากจะสร้างทับก็มักจะยึดจุดสำคัญเดิม
แล้วสร้างทับลงไป ตามที่พี่กุอธิบายไว้ แต่อย่างไรก็ดีเมืองราชบุรี ในสมัยอยุธยาตอนต้นนั้น อาจมีความสำคัญมาก
ไม่แพ้เมืองพิษณุโลก และสุพรรณบุรี (พระปรางค์องค์เดียว โดเดี่ยวน่ารัก ... เหอะๆ)

ที่ผนังทางด้านทิศเหนือนั้น มีภาพอดีตพุทธแถวบนๆชั้นหนึ่งเขียนภาพ ประกอบองค์พระแปลกไป คือเขียนแบบ
ฉากมุมตัดกั้นด้านหลังเหมือนฉากจีน มีลายสีขาวคล้ายลายเมฆครับ



กระทู้: จิตรกรรมในพระปรางค์ ภาพเขียนสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 13 พ.ค. 10, 20:30
กลับไปที่ผนังทางด้า่นทิศใต้ครับ แถวถัดลงมาเป็นภาพเขียนอดีตพุทธในลักษณะเดียวกัน แต่มีรายละเอียด
เพิ่มเติมเข้ามา คือที่ศิรประภาเขียนลายประดับแบบซุ้มเรือนแก้ว เป็นลายที่เหมือนจะร่วมสมัยกับลายสมัยสุโขทัย
และมีลักษณะคล้ายคลึงในรูปพระพิมพ์บางกลุ่ม


กระทู้: จิตรกรรมในพระปรางค์ ภาพเขียนสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 13 พ.ค. 10, 20:36
ในภาพนี้จะเห็นร่องรอยของรอยคอนกรีตชัดเจนครับ เป็นคอนกรีตผสมแบบสมัยใหม่ครับ
ที่ทับภาพบางส่วนไป


กระทู้: จิตรกรรมในพระปรางค์ ภาพเขียนสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 13 พ.ค. 10, 20:37
ภาพเขียนในคูหาพระปรางค์ชุดนี้ ปรากฏร่องรอยของรูปแบบลายหลายๆส่วน
ซึ่งมีจุดเกี่ยวเนื่องหลายส่วนที่น่าสนใจ ดูใกล้ๆกันหน่อยครับ


กระทู้: จิตรกรรมในพระปรางค์ ภาพเขียนสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 13 พ.ค. 10, 20:43
ในชั้นนี้ที่ผนังทางด้านทิศเหนือ เขียนในลักษณะต่างไปเล็กน้อย(ที่จริงอาจมีมากกว่านี้แต่ผู้ถ่ายภาพเห็นไม่หมด หุหุ..)
คือเพิ่มลวดลา่ยต่อจากกนกตัวเหงาที่ศิรประภาลงมาตามเส้นพระวรกาย เป็นรูปแบบซุ้มเรือนแก้ว ทำให้นึกถึงวัดไลย์ครับ
แม้อาจจะไม่ร่วมสมัยกัน แต่รูปแบบใกล้เคียงได้เงื่อนงำส่งต่อกันมาก


กระทู้: จิตรกรรมในพระปรางค์ ภาพเขียนสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 13 พ.ค. 10, 20:44
...


กระทู้: จิตรกรรมในพระปรางค์ ภาพเขียนสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 13 พ.ค. 10, 20:51
กระทู้นี้เห็นจะมีแต่ภาพอดีตพุทธ บางท่านอาจจะไม่ตื่นเต้นเร้าใจ เท่ากับภาพจิตรกรรมฝาผนังชุดอื่นๆ
แต่ภาพลักษณะนี้เขียนเป็นพุทธบูชา และเป็นพื้นที่ที่ไม่ได้ใช้งานเท่าอุโบสถหรือ วิหารใหญ่ๆ จึงไม่ค่อย
มีการรบกวนให้เปลี่ยนแปลงมากนัก การสืบหาข้อมูลที่เก่าไปถึงอยุธยาตอนด้น คงหนีไม่พ้นจิตรกรรมในกรุ
ที่มีอยู่ไม่กี่แห่งเหล่านี้ สำหรับท่านที่สนใจทางด้านศิลปะสถาปัตย์โบราณ ก็ติดตามกันต่อสักนิดครับ
 ....  ;D


กระทู้: จิตรกรรมในพระปรางค์ ภาพเขียนสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 13 พ.ค. 10, 20:54
เริ่มไม่มีเนื้อหา... ชวนดูภาพแล้วกันครับ อย่างไรขอท่านอื่นอธิบายกรรมวิธีการเขียนภาพ
เป็นวิทยาทานสักหน่อยครับ เรื่องสีด้วยก็ดีครับ  ....

ลองชมพระสาวกกันบ้าง ภาพพระสาวกองค์นี้โดดเด่นน่าประทับใจ


กระทู้: จิตรกรรมในพระปรางค์ ภาพเขียนสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: asia ที่ 13 พ.ค. 10, 21:05
งดงามขอรับ กระผม งามจับใจยิ่งนัก


กระทู้: จิตรกรรมในพระปรางค์ ภาพเขียนสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 13 พ.ค. 10, 21:07
กรุวัดมหาธาตุเต็มไปด้วยเรื่องราวครับน้องเน หาใช่ว่ามีแต่อดีตพุทธแล้วจักอธิบายเป็นเรื่องเป็นราวเล่านิทานไม่ได้

อย่างเทพชุมนุมวัดใหม่ประชุมพลก็มีเรื่องเป็นคุ้งเป็นแคว

เสียดายยังไม่ได้นับจำนวนอดีตพุทธเจ้า ว่าตรงกับคัมภีร์ไหน 33 34 24 28 60 หรืออะไรก็ว่าไป (จริงๆเคยนับแต่จำไม่ได้แล้ว)

สำคัญที่สุดคือ พุทธวงศ์ ที่เขียนขึ้นตรงด้านล่างสุดของผนังติดพื้น เป็นอดีตพระพุทธเจ้าจำนวน 24 พระองค์ ทำนายพระสมณโคดมพระเจ้าเรา ตั้งแต่พระพุทธทีปังกร ทำนายสุเมธดาบส ลองไปหาอ่าน

เผอิญผมไม่มีภาพในกรุเสียด้วย ต้องพึ่งน้องเนล้วนๆ ???


กระทู้: จิตรกรรมในพระปรางค์ ภาพเขียนสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 13 พ.ค. 10, 21:07
สวัสดีครับพี่เซีย ... 8)

ย้ายมาที่ผนังด้านสำคัญตรงข้ามกับด้านทางเข้า ที่ผนังด้านนี้ถ่ายภาพเต็มได้ไม่ถนัดเพราะ
มีการตั้งพระพุทธรูปเอาไว้กลางห้อง แถมด้วยภาพที่สำคัญและเป็นประธานที่กึ่งกลางผนัง
ด้านนี้ ก็โดนทับด้วยคอนกรีตไปแล้ว เดาว่าเป็นภาพพระมหาสมณโคดม ศรีศากยมุนีพุทธเจ้า
เป็นภาพประธานเขียนภาพใหญ่กว่าภาพอดีตพุทธองค์อื่นๆ สองข้างพระวรกายเขียนเป็นพระสาวก
ยืนพนมมือ ส่วนเหนือพระสากขึ้นไปยังมีรูปอดีตพุทธอีกเช่นกันแต่ แตกต่างตรงรูประหว่าง
อดีตพุทธนั้น มีเขียนเป็นรูปคล้ายจะเป็นเทวดาหรือพราหมณ์?สักอย่าง โผล่มาแค่ศีรษระ
จากกลุ่มเมฆ ภาพที่ผนังด้านนี้(ผนังด้านทิศตะวันตก)ดูแล้วนึกถึงภาพพระบฏ ของชาวธิเบตครับ


กระทู้: จิตรกรรมในพระปรางค์ ภาพเขียนสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 13 พ.ค. 10, 21:14
เรื่องพุทธวงศ์ที่พี่กุเล่าให้ฟัง กะไว้ว่าจะเอาไว้เป็นไคล์มแมก ซะหน่อย เหอะๆ 555
แต่น่าเสียดายที่ผมถ่ายมาแล้วมันเสียไปบางภาพ เสียดายจริงๆ แต่ยังไงจะลงให้ชมครับ
เดี๋ยวขอผนังฝั่งนี้ก่อน อุตสาห์ย้ายมา

... ย้ายเข้ากรุมาหาที่พึ่งทางใจ ระหว่างสถานการณ์ที่ยากจะอธิบาย T-T....


กระทู้: จิตรกรรมในพระปรางค์ ภาพเขียนสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 13 พ.ค. 10, 21:18
ภาพใน คคห.ที่22 จะเห็นว่าที่ด้านขวาของภาพ(ซ้ายมือของผู้ชม)จะมีรอยของแนวคอนกรีตอยู่
เป็นตำแหน่งของภาพประธานครับ สังเกตเห็นพุ่มไม้บริเวณด้านขวาของอดีตพุทธเจ้าครับ ซึ่งเห็น
ร่องรอยของพระอังสะของภาพประธาน ติดกับพระชานุของพระอดีตพุทธด้วย


กระทู้: จิตรกรรมในพระปรางค์ ภาพเขียนสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 13 พ.ค. 10, 21:22
...


กระทู้: จิตรกรรมในพระปรางค์ ภาพเขียนสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 13 พ.ค. 10, 21:28
เห็นเทวดา?หรือนักบวชท่านนี้ชูแบนแปลกๆ เลยเอามาให้ชมครับ

... ขอบคุณที่เข้ามาชมครับ ขอบคุณพี่กุกับพี่ยีนส์ด้วยที่นำข้อมูลต่างๆมาฝากกัน ....

 ;D ..... วันนี้ขอตัวก่อนครับ



กระทู้: จิตรกรรมในพระปรางค์ ภาพเขียนสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 13 พ.ค. 10, 21:44
อ่าวหรอๆๆๆ ขอโทษที ไม่แย่งซีนแล้วๆๆ บรรเลงเลยครับคุณน้อง  :-X

วัดมหาธาตุ ราชบุรี ระยะที่ 2 ครับ มีปรางค์งอกออกมาสี่ทิศแล้ว ทำไพทีหุ้มชั้นล่างสุดด้วย แต่ยังไม่ทำมุขปรางค์ประธานออกมา

ทั้งหมดนี้เป็นงานสันนิษฐานนะครับ ยังไม่ได้ศึกษาในเชิงลึก ใครมีข้อเสนอข้องใจข้องจิต ก็แลกเปลี่ยนหมุนข้อมูลกันได้ครับ


กระทู้: จิตรกรรมในพระปรางค์ ภาพเขียนสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: asia ที่ 13 พ.ค. 10, 21:50
จิตรกรรมฝาผนังในกรุวัดมหาธาตุ ราชบุรี เป็นภาพพระอดีตพุทธ และพระสาวกประทับนั่งซ้อนกันเป็นชั้น ภาพพระอดีตพุทธที่ประทับบนรัตนบัลลังก์
มีปัทมอาสน์เป็นกลีบบัวแบบกลีบบัวของประติมากรรมสมัยลพบุรี ภาพอดีตพุทธแถวบนมีลักษณะขอลอิทธิพลแบบอู่ทอง และสุโขทัย
เช่น พระเส๊ยรมีลักษณะแบนราบ วงพระพักตร์กว้าง พระรัศมีเป็นเปลว ส่วนอดีตพุทธแถวล่าง ส่วนใหญ่มีพระพักตร์รูปผลมะตูม การตัดเส้นภาพ โดยเฉพาะวงพระพักตร์
ใช้เส้นอ่อนไหวอันเป้นลักษณะของศิลปะสุโขทัย ภาพซุ้มหลังภาพอดีตพุทธช่วงบน เป็นซุ้มเรือนแก้ว หรือซุ้มประดับด้วยลวดลายพันธุ์พฤกษา



กระทู้: จิตรกรรมในพระปรางค์ ภาพเขียนสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 13 พ.ค. 10, 21:54
ท่าชูแขนแปลกๆนั้นคือวันทนามุทราครับ เป็นท่าแสดงความเคารพแบบอินเดีย

หวัดดีครับพี่เซีย

อ๊ะ เจดีย์ลอย พลาดแล้วเรา


กระทู้: จิตรกรรมในพระปรางค์ ภาพเขียนสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: asia ที่ 13 พ.ค. 10, 22:06
ช่วยเพิ่มสีอีกหน่อย น่ะคุณ kurukula หรือมีภาพผู้คนต้นไม้ ภาพที่ออกมาจะได้ดูเหมือนมีชิวิตชิวา  ติเพื่อก่อน่ะครับ


กระทู้: จิตรกรรมในพระปรางค์ ภาพเขียนสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 14 พ.ค. 10, 16:59
ไม่มีซีนครับ ไม่มีๆ ... ลองชมภาพพุทธวงศ์ที่เขียนไว้ด้านล่าง พุทธวงศ์ที่ว่านี้
เป็นพระพุทธเจ้า่ในพระชาติก่อนๆ รายละเอียดมีหลายเรื่อง ต้องวานพี่กุเล่าให้ฟังทีครับ
เพราะไม่ได้เป็นชาดก อย่างทศชาติที่เราคุ้นเคยกัน มีเรื่องหนึ่งที่ผมเองเคยได้ยินมา
แล้วบ้าง เดากันเอาว่าน่าจะเป็นภาพนี้

เป็นเรื่องสุเมธดาบส กับพระทีปังกรพุทธเจ้า พี่กุอธิบายตอนที่ไปชมด้วยกันว่า สุเมธดาบสนั้น
ทอดกายต่างสะพาน ให้พระทีปังกรพุทธเจ้าและสาวกเดินข้ามทางโคลนไป แต่ไม่มีใครนอนให้เห็นเลย
เจอแต่ภาพบุรุษผู้หนึ่งทำท่า แบบพระพุทธรูปปางรำพึง (อธิบายว่า สวัสดิกมุทรา-เป็นการแสดงอาคารเคารพ)
ในท่านั่ง ด้านข้างมีรูปพระยืนกับพระสาวก(ภาพชำรุด) เลยสัณนิษฐานกันว่าอาจจะเป็นภาพนี้
ภาพชุดล่างๆนี้อยู่ใกล้พื้นมากเลยค่อนข้างชำรุดหนัก ดูได้ยากพอสมควร ภาพที่ผมถ่ายมาก็ดันเสีย
เลยมีภาพมาให้ชมสำหรับฉากนี้ภาพเดียว

ภาพนี้อยู่ที่ผนังทางทิศใต้ ทางรักแร้ทิศตะวันตกเฉียงใต้


กระทู้: จิตรกรรมในพระปรางค์ ภาพเขียนสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 14 พ.ค. 10, 17:02
พุทธวงศ์อีกภาพหนึ่ง พี่กุบอกว่าเป็นตอนพระเจ้าเสวยชาติ เป็นสิงห์
เรื่องนี้ต้องเชิญวิทยากร.... มาดูภาพสิงห์แบบอยุธยาต้นกันดีกว่า :
เดิมทีต้องมีเป็นนาคด้วยแต่หาไม่พบ หรืออาจมีลิงด้วย ...หรือเปล่า??

ภาพนี้อยู่บนผนังทางทิศเหนือ ใกล้กับรักแร้ทิศตะวันออกเฉียงเหนือใกล้ทางเข้า


กระทู้: จิตรกรรมในพระปรางค์ ภาพเขียนสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 14 พ.ค. 10, 17:04
มีภาพย่อยๆอีกนิดหน่อย แต่ผมยังเดาไม่ออก ความรู้ยังไม่มีมากต้องลองอ่านหนังสือ
ที่เขียนเรื่องนี้เฉพาะดูครับ ...ลองดูภาพเทวดากันบ้าง


กระทู้: จิตรกรรมในพระปรางค์ ภาพเขียนสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 14 พ.ค. 10, 17:05
เห็นภาพนี้แล้วนึกถึงภาพในกรุพระปรางค์ในวัดราชบูรณะ ครับ


กระทู้: จิตรกรรมในพระปรางค์ ภาพเขียนสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 14 พ.ค. 10, 17:09
มาถึงภาพในชั้นนี้บ้าง เป็นภาพชุดที่พระพุทธเจ้าประทับในซุ้มอย่างซุ้มปราสาท ซึ่งเป็นอีกหนึ่ง
ข้อมูลทางประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมอยุธยาตอนต้น-สุโขทัย โดยนอกจากจะหาชมได้ตามพระพิมพ์
ชุดต่างๆ ซึ่งก็มีลักษณะซุ้มลักษณะคล้ายๆเช่นนี้ปรากฏเช่นกัน ในเชิงวิเคาระห์แล้ว อาจมีแนวความคิด
ไปในทิศทางเดียวกัน ทั้งในเรื่องการสร้างและความหมาย ซึ่งต้องศึกษาดูต่อไปครับ



กระทู้: จิตรกรรมในพระปรางค์ ภาพเขียนสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 14 พ.ค. 10, 17:14
ผนังทางด้านทิศใต้เป็นภาพพระพุทธเจ้าประทับในซุ้มแบบปราสาท คั่นภาพด้วยช่อดอกไม้
อย่างภาพที่เห็นด้านบนนั้น เป็นรูปเเจกันเสียบดอกไม้ หรือเป็นหม้อปูรณฆฏะ


กระทู้: จิตรกรรมในพระปรางค์ ภาพเขียนสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 14 พ.ค. 10, 17:16
ภาพนี้ จะเห็นรอยของคอนกรีตดังที่กล่าวไปแล้วเช่นกันครับ


กระทู้: จิตรกรรมในพระปรางค์ ภาพเขียนสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 14 พ.ค. 10, 17:20
รูปแบบของเครื่องไม่ที่ปรากฏนั้น มีลักษณะแตกต่างจากเครื่องไม้ที่เป็นเรือนยอดแบบมณฑป
โดนมีระบบการยกชั้น และยอดแบบกลศ ก่อนที่จะพัฒนาไปเป็นยอดแบบเหม หรือองค์ระฆัง

 ???.....


กระทู้: จิตรกรรมในพระปรางค์ ภาพเขียนสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 14 พ.ค. 10, 17:25
สุดท้ายครับ เป็นภาพจากทางผนังด้านทิศเหนือ เขียนเป็นรูปพระพุทธเจ้าประทับในซุ้ม
แบบปราสาทเช่นกันครับ แต่ใช้ลักษณะการเขียนเส้นสลับแบบฟันปลา แต่ออกโค้งๆ
จึงเหมือนเป็นกรอบภาพแบบกลีบบัว แล้วบรรจุลายลงไป ทำให้ได้เห็นการออกลายเถา
อย่างเก่า ซึ่งก็มีส่วนคล้ายลายจำหลักบนเสมาหินทรายแดงครับ....


กระทู้: จิตรกรรมในพระปรางค์ ภาพเขียนสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 14 พ.ค. 10, 17:29
กลายเป็นว่าเราได้พบเรื่องราวหลายอย่าง ในรายละเอียดของภาพจิตรกรรมที่นี่
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวที่เล่า รูปแบบลวดลายที่มีทั้งลายอย่างสุโขทัย ลายเถา ดอกไม้
ลายบนเครื่องประดับ ฯลฯ การเขียนภาพซุ้มแบบเรือนยอด ... ควรแก่การศึกษา
และอนุรักษ์ให้คงอยู่ต่อไป


กระทู้: จิตรกรรมในพระปรางค์ ภาพเขียนสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 16 พ.ค. 10, 17:19
น้องเนพูดมาก็ละเอียดละออครบถ้วนแล้วเป็นดี จะได้เป็นประโยชน์สำหรับคนที่มาศึกษาสนใจต่อไปในอนาคต เพราะหาแล้วไม่มีเวปไหนที่พูดเรื่องจิตรกรรมวัดมหาธาุตุ ราชบุรีอย่างละเอียดเลย น่าเศร้าใจจริงๆครับ

พุทธวงศ์นั้น เป็นเรื่องราวอยู่ใน พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๒๕ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ พุทธวงศ์-จริยาปิฎก - พุทธวงศ์

กล่าวถึงอดีตพระพุทธเจ้าจำนวน 27 องค์ แต่มีเพียง 24 องค์ที่ตรัสทำนายพระเจ้าเราในชาติต่างๆ ว่าจะได้ตรัสรู้ในอนาคต

3 องค์แรกคือ พระตัณหังกรสัมพุทธเจ้า ๑ พระเมธังกรสัมพุทธเจ้า ๑ พระสรณังกรสัมพุทธเจ้า ๑ ก่อนหน้านั้นมิได้ตรัสทำนาย

ฉะนั้น องค์แรกที่ตรัสทำนายคือทีปังกรพุทธเจ้า พระนามนั้นแปลว่า ผู้กระทำแสงสว่าง หรือจุดประทีปแห่งปัญญา ทรงทำนาย "สุเมธดาบส" สุเมธ แปลว่าผู้กระทำการบูชายัญอันดีงาม มีความหมายแฝงถึงพระเวทหรือศาสนาพราหมณ์ในยุคแรก หมายถึงพระพุทธเจ้าทรงเป็นแสงสว่างที่เหนือกว่าการบูชายัญ

น้องเนลงรูปไปแล้วนี่นา เอารูปจากลังกามาให้ดูบ้าง เรื่องพุทธวงศ์นี้เป็นที่นิยมหนักหนาในลังกา มีเกือบทุกวัด มีอรรถกถาที่แต่งในลังกาด้วย การที่วัดมหาธาตุราชบุรีมีจิตรกรรมเรื่องนี้ เป็นการประกาศตัวอย่างชัดเจนว่า ปรางค์องค์นี้เป็น "พุทธศาสนาเถรวาทแบบลังกาวงศ์" (เช่นเดียวกับวัดราชบูรณะก็มี)



กระทู้: จิตรกรรมในพระปรางค์ ภาพเขียนสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 16 พ.ค. 10, 17:29
พุืทธวงศ์ดูเหมือนจะฮิืตในเมืองไทยเพียงช่วงสั้นๆ (หรืออาจจะเหลืออยู่เพียงเท่านั้น) เท่าที่ทราบก็มี 2 วัดคือวัดนี้กับวัดราชบูรณะ

เริ่มต้นที่ทีปังกรพุทธวงศ์ตรัสทำนายสุเมธดาบสนะครับ

"เราสยายผมแล้ว...

เอาผ้าคากรองและหนังสัตว์ลาดลงบนเปือกตม นอนคว่ำลง ณ

ที่นั้น ด้วยคิดว่า พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระสาวก จงทรงเหยียบเราเสด็จไปเถิด อย่าทรงเหยียบเปือกตมนั้นเลย ข้อนั้นจักเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่เรา"

สุเมธดาบสตั้งใจจะเป็นพระพุืทธเจ้า

 "เมื่อเรานอนอยู่ที่พื้นดิน ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า เรา (มิได้) ปรารถนาว่า วันนี้ พระพุทธเจ้าพึงทรงเผากิเลสของเราประโยชน์อะไรแก่เราด้วยเพศที่ใครๆ ไม่รู้จัก และด้วยการทำให้แจ้งซึ่งธรรม ณ ที่นี้ เราพึงบรรลุสัพพัญญุตญาณหลุดพ้นแล้วพึงเปลื้องหมู่สัตว์พร้อมทั้งเทวดาให้หลุดพ้นเถิด ประโยชน์อะไรด้วยเราผู้เป็นคนมีกำลังจะข้ามไปคนเดียวเล่า เราบรรลุสัพพัญญุตญาณได้ และจะช่วยหมู่ชนให้ข้ามได้เป็นอันมาก ด้วยอธิการที่เราทำแล้วในพระพุทธเจ้านี้ เราตัดกระแสสงสารกำจัดภาพทั้ง ๓ ขึ้นสู่เรือคือธรรมแล้ว จักช่วยหมู่สัตว์พร้อมทั้งเทวดาให้ข้ามได้"


กระทู้: จิตรกรรมในพระปรางค์ ภาพเขียนสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 16 พ.ค. 10, 17:37
ดูพระทีปังกรของพม่าสมัยราชวงศ์ยองยานบ้าง ร่วมสมัยอยุธยาตอนกลางครับ


กระทู้: จิตรกรรมในพระปรางค์ ภาพเขียนสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 16 พ.ค. 10, 17:39
แบบเป็นประติมากรรมบ้าง


กระทู้: จิตรกรรมในพระปรางค์ ภาพเขียนสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 16 พ.ค. 10, 17:55
เรื่องพระทีปังกรมีมาตั้งแต่สมัยคันธาระ พุทธศตวรรษที่ 6 แล้ว แต่กว่าจะแต่งเป็นระบบได้ 24 องค์ ก็เกิดในลังกา ราวพุทธศตวรรษที่ 10


ที่มาของภาพ
http://huntington.wmc.ohio-state.edu/public/index.cfm?fuseaction=showThisDetail&ObjectID=10877&detail=large

    พระพุทธทีปังกรผู้ทรงรู้แจ้งโลก ผู้สมควรรับเครื่องบูชาประทับยืนอยู่เหนือศีรษะเรา ตรัสพระดำรัสว่า ท่านทั้งหลายจงดูชฎิลดาบสผู้มีตบะอันรุ่งเรืองนี้ เขาจักได้

เป็นพระพุทธเจ้าในโลกในกัปอันประมาณมิได้แต่กัปนี้ พระตถาคตชินเจ้าพระองค์นั้น ผู้มีพระเกียรติยศมากจักเสด็จออกจากพระนครกบิลพัสดุ์ อันน่ารื่นรมย์ จักทรง

บำเพ็ญความเพียรทำทุกกรกิริยา แล้วเสด็จไปประทับนั่งที่ควงไม้อชปาลนิโครธทรงรับข้าวมธุปายาส ณ ที่นั้นแล้ว เสด็จไปยังแม่น้ำเนรัญชรา พระองค์เสวยข้าว

มธุปายาสที่ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา แล้วเสด็จดำเนินตามทางราบเรียบที่เขาตกแต่งไว้ไปที่ควงไม้โพธิพฤกษ์แต่นั้นทรงทำประทักษิณโพธิมณฑลอันยอดเยี่ยมแล้ว จัก

ตรัสรู้ที่ควงไม้อัสสัตถพฤกษ์ พระมารดาบังเกิดเกล้าของพระตถาคตพระองค์นี้ จักมีพระนามว่ามายา พระบิดามีพระนามว่าสุทโธทนะ


พระตถาคตนี้จักมีพระนามว่าโคดม .......




กระทู้: จิตรกรรมในพระปรางค์ ภาพเขียนสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 16 พ.ค. 10, 18:08
ในพุทธวงศ์ กล่าวว่าพระพุทธเจ้าเรา ได้เสวยพระชาติเป็นบุคคลต่างๆ เป็นพระราชา เทวดา พรหม พ่อค้า แม้กระทั่งสัตว์ เช่นสิงห์ และนาค เราพบว่า ในวัดมหาธาุตุ ราชบุรีนั้น ก็มีรูปสิงห์นั่งฟังพุทธทำนายด้วย ดังที่น้องเนโพสท์ไปแล้วในความเห็นที่ 32


พระเจ้าเราเสวยพระชาติเป็นพระยาราชสีห์...

    พระโพธิสัตว์ของเราเป็นราชสีห์ เห็นพระองค์ประทับนั่งเข้านิโรธสมาบัติ ๗ วัน ก็มีจิตเลื่อมใส ทำประทักษิณ เกิดปีติโสมนัส บันลือสีหนาท ๓ ครั้ง ไม่ละปีติ

ที่มีพุทธคุณเป็นอารมณ์ ๗ วัน ด้วยปีติสุขนั่นแล ก็ไม่ออกหาเหยื่อ ยอมสละชีวิต ยืนอยู่ใกล้ ๆ. ครั้งนั้น ล่วงไป ๗ วัน พระศาสดาก็ออกจากนิโรธสมาบัติ

ผู้เป็นสีหะในนรชน ทรงตรวจดูราชสีห์ ทรงพระดำริว่า ขอราชสีห์นั้น จงมีจิตเลื่อมใสแม้ในภิกษุสงฆ์ ขอสงฆ์จงมา ภิกษุหลายโกฏิก็พากันมาทันทีทันใด

 ราชสีห์ก็ยังจิตให้เลื่อมใสในพระสงฆ์. ครั้งนั้น พระศาสดาทรงตรวจดูจิตของราชสีห์นั้น ก็ทรงพยากรณ์ว่า ในอนาคตกาล ราชสีห์ตัวนี้ จักเป็นพระพุทธเจ้า

พระนามว่า โคตมะ....


กระทู้: จิตรกรรมในพระปรางค์ ภาพเขียนสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 16 พ.ค. 10, 18:17
้เรื่องพุทธวงศ์จบแล้วครับ เพราะที่มหาธาตุราชบุรีเหลืออยู่เท่านั้นจริงๆ มีการตั้งข้อสังเกตว่า รูปแบบที่เขียน มีหลากหลายมาก เหมือนกับช่างได้เห็นอะไรต่ออะไรมามากมาย บางอย่างก็ดูคล้ายพม่าพุกาม บางอย่างก็เป็นเขมร บางอย่างก็มลังเมลืองสุโขทัย บางอย่างก็เห็นได้ชัดว่ามาจากลังกา

น่าแปลกใจที่ วันทนามุทรา และสวัสติกมุทรา ในไทยหายไปตั้งแต่หมดสมัยทวารวดี แต่ที่นี่กลับพบ ทั้ง 2 ท่าเป็นท่าที่ใช้มากในอินเดียใต้และลังกา เหมือนกับช่างจะสื่อว่า ฉันเคยไปลังกามานะ นอกจากนี้ ยังมีรูปแบบลังกาแท้ๆ อีก เช่นผมทรงชฏามกุฏ ซึ่งเป็นทรงผมของฤาษี ซึ่งในไทยไม่พบมาตั้งแต่หลังทวารวดีแล้ว แต่พบในอินเดียและลังกา ที่นี่กลับพบ เพียงแต่ปรับปรุงให้เป็นแบบไทยๆอยุธยาตอนต้นแล้ว ดูเหมือนจะเขียนได้ดีกว่าของต้นแบบเสียอีก


ผมเกล้าขึ้นไป ตกลงมาเป็นตัวห่วงคว่ำเต็มหัว คือชฎามกุฏครับ ฤาษีตนนี้กำลังทำวันทนามุทรา โดยยกแขนขึ้น เป็นท่าแสดงความเคารพที่นิยมในอินเดียใต้และลังกา


กระทู้: จิตรกรรมในพระปรางค์ ภาพเขียนสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 16 พ.ค. 10, 18:21
เทียบกับศรีลังกาครับ อันนี้ร่วมสมัยสุโขทัย อยุธยาตอนต้น คล้ายกันมากอย่างน่าตกใจ


กระทู้: จิตรกรรมในพระปรางค์ ภาพเขียนสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 16 พ.ค. 10, 18:58
จริงหรือนี่  :o


เรื่องสุเมธดาบสนี้ เป็นเรื่องที่น่าประทับใจมากๆ แต่ทำไมอยุธยากลับไม่เขียนต่อนะ ??
กลับไปถ่ายซ่อมมาให้ชมแล้วครับ เห็นพระธีปีงกรพุทธเจ้าแล้ว แต่น่าเสียดายที่ตอนล่าง
เสียหายไปหมด

ภาพนี้ปรับแต่งแล้วครับ


กระทู้: จิตรกรรมในพระปรางค์ ภาพเขียนสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 16 พ.ค. 10, 19:01
มองไม่ค่อยเหงอ่ะ เฮ้อออ.......

บางตำราสุเมธดาบสมีน้องสาวด้วยนะ จะได้ไปเกิดเป็นพิมพา


กระทู้: จิตรกรรมในพระปรางค์ ภาพเขียนสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 16 พ.ค. 10, 19:06
ทำได้แค่นี้ครับ ไม่ไหวแล้ว ..... อยากได้กล้องใหม่  :'(

ลองดูภาพ วันทนามุทรากับทรงผมชฎามงกุฏบ้างครับ ภาพนี้เขียนดีมาก เสียดายอยู่แถวรองสุดท้ายก่อน
ชนพื้น ทำให้ชำรุดหนักเช่นกัน (ผนังทางทิศใต้ มุมรักแร้ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้) สะท้อนแสงนิดหน่อย
ทำให้เห็นลายเครื่องชฏาไม่ชัดขออภัย กรรม ...555


กระทู้: จิตรกรรมในพระปรางค์ ภาพเขียนสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 16 พ.ค. 10, 19:09
เพิ่งเห็นว่าที่ใต้ภาพมีสุเมธดาบส ทอดตัวให้พระทีปังกรย่ำจริงๆ ตาถั่วจริงๆผม 8)


กระทู้: จิตรกรรมในพระปรางค์ ภาพเขียนสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 16 พ.ค. 10, 19:11
ไปดูภาพอีกชุดที่ติดค้างไว้ เพราะจำเป็นต้องไปถ่ายใหม่ เพราะตอนไปครั้งแรกถ่ายมาเสียเกือบหมด
ตอนไปใหม่กลับมานี้ก็ยังมีเสียอยู่ เพราะเป็นด้านย้อนแสง(หลอดไฟ) ทำให้กล้องผมโฟกัสไม่ได้
เลยได้ดูกันแค่บางส่วน ต่อไปนี้ครับ

ภาพที่ผนังด้านทิศตะวันออก คือผนังข้างกรอบประตูสองด้านนั้น เขียนเป็นเทพชั้นสูงสององค์
องค์แรกคือพระพรหม เขียนไว้ทางฝั่งทิศเหนือ(ซ้่าย)


กระทู้: จิตรกรรมในพระปรางค์ ภาพเขียนสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 16 พ.ค. 10, 19:16
จริงด้วย ..... เหลือนิดเดียวเอง Cool!~ :o

เป็นภาพพระพรหม ถือบาตร สันนิษฐานว่าอาจเป็นตอนเสด็จลงจากดาวดึวษ์ (มั่ว)
เพราะด้านบนเห็นแค่พระบาท พี่กุบอกว่าเป็นพระปางลีลา (มองดูในกรุนั้นไม่เห็น)


กระทู้: จิตรกรรมในพระปรางค์ ภาพเขียนสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 16 พ.ค. 10, 19:20
เออ เพิ่งเห็นว่าถือบาตร งั้นอีกด้านคงเป็นพระอินทร์แน่แล้ว หาใช่พระอิศวรไม่ ประกอบตอนภิเนษกรมณ์เลย


กระทู้: จิตรกรรมในพระปรางค์ ภาพเขียนสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 16 พ.ค. 10, 19:21
(ถ่ายได้แค่นี้ครับ) จะใช่ มหาภิเนษกรมณ์ หรือครับ มีพระพุทธเจ้าอย่างทำลีลาอยู่ด้านบนนะ

 ???


กระทู้: จิตรกรรมในพระปรางค์ ภาพเขียนสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 16 พ.ค. 10, 19:25
ป่าวๆ หมายถึง พระพรหมกับพระอินทร์ถือบาตรกับบริขาร เป็นองค์ประกอบสำคัญของมหาภิเนษกรมณ์ครับ

ส่วนข้างบนจะเป็นลีลาหรือไม่ ยังไม่แน่ใจเหมือนกัน


กระทู้: จิตรกรรมในพระปรางค์ ภาพเขียนสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 16 พ.ค. 10, 19:29

อ้อ...ครับ   :D
อีกฝั่ง(ขวา) เป็นรูปเทพมีพระเนตรที่พระนลาฎ ผมคิดว่าน่าจะเป็นพระอิศวร
แต่แทบไม่เคยปรากฏรูปพระอิศวร ในลักษณะนี้มาก่อนเลย ทำให้เป็นไปได้ว่า
น่าจะหมายถึงท้าวสหัสนัยน์ แต่ภาพด้านนี้เหลือให้เราชมแค่เพียงช่างพระนลาฎ
แต่เท่านั้น ไม่รู้ว่าจะถืออะไร
แต่ก็ไม่แน่นะ ช่างอาจจะแหวกแนว นำพระอิศวรมาก็ได้ ??? หุหุ

ด้านบนทางฝั่งนี้ก็เขียนรูปพระลีลาเช่นกัน แต่เสียดายว่า ที่เหนือกรอบประตูขึ้นไป
ถูกโบกคอนกรีตด้วยเช่นกัน ทำให้ไม่รู้ว่าเป็นรูปอะไร


กระทู้: จิตรกรรมในพระปรางค์ ภาพเขียนสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 16 พ.ค. 10, 19:31
นึกออกแล้วแก เขาเขียนพระเจ้าหย่อนตีนหรอก ให้ช่องตรงกลางเป็นบันไดแก้วของพระพุทธองค์ มีบันไดเงินบันไดทองให้พระอินทร์พระพรหมเสด็จลงมา ซีนนี้นิยมในลังกานิดหน่อย อิอิ


กระทู้: จิตรกรรมในพระปรางค์ ภาพเขียนสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 16 พ.ค. 10, 19:35

พระลีลาที่เขียนไว้ด้านบน มีที่อยู่ทั้งทางฝั่งซ้ายและขวาเลยนะครับ ??
ที่ตรงกลางจะเป็นอะไร ผมก็เดาไม่ออก

ภาพทางด้านช่องประตูนี้เขียนได้ฝีมืองามมาก ดูได้จากพักตร์ของพระพรหม ถ้าภาพทางด้านนี้ยังอยู่ครบ
จะทำให้เราได้เห็นเครื่อง แต่งกายอย่างประณีตมีสันชัดเจน เพราะภา่พมีขนาดใหญ่ ...


กระทู้: จิตรกรรมในพระปรางค์ ภาพเขียนสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 16 พ.ค. 10, 19:38
พระเจ้าหย่อนตีนของพุกามปลายครับ



กระทู้: จิตรกรรมในพระปรางค์ ภาพเขียนสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 16 พ.ค. 10, 19:45
งามมากๆเลยครับพี่กุ น่าทึ่งๆ  :o

ชักอยากไปดูแล้วสิ แต่ยังไม่มีปัญญา หุหุ

ลองขีดลากเส้นดู(อาจดูแย่หน่อย) เป็นมุมเงยครับ


กระทู้: จิตรกรรมในพระปรางค์ ภาพเขียนสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 16 พ.ค. 10, 19:47
มันเป็นอย่างนั้นจริงๆใช่ไหม ลายแต้มน่ะ ยังมีเค้าโครงใช่้่มะ อืมม น่าสนใจๆ ปกติเกือบ 90 เปอร์เซนต์ของพระลีลาสุโขทัย จะยกมือซ้ายขึ้น มือขวาทอดลง

ดูพระลีลาสไตล์นี้แล้ว คล้ายๆพวกพระพิมพ์เนื้อชินจากกรุวัดราชบูรณะเลยครับ :-[


กระทู้: จิตรกรรมในพระปรางค์ ภาพเขียนสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 16 พ.ค. 10, 19:56

มีท่านหนึ่งเคยแซวว่า ถ้าผมไปถ่ายภาพพุกาม สงสัยต้องเก็บข้าวของไปอยู่เป็นเดือน
ได้ยินว่ามีมากมายนัก คงน่าสนุก...

ดูจากอีกฝั่งหนึ่งบ้างครับ (ลากตามการเดานะครับ เส้นนี้เกิดจากจนตนาการ หุหุ) แต่ภาพเลือนๆ
เพราะไม่มีกล้องคุณสมบัติดีๆเข้าไปถ่าย เลยลำบากหน่อย แบบนี้


กระทู้: จิตรกรรมในพระปรางค์ ภาพเขียนสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 16 พ.ค. 10, 19:58
...


กระทู้: จิตรกรรมในพระปรางค์ ภาพเขียนสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 16 พ.ค. 10, 20:02
น่าสนใจจริงๆเลย ดูไปดูมาแล้วจิตรกรรมที่นี่มีเนื้อหาสาระมากกว่าที่คิด !!!

ไม่ใช่อดีตพุทธอย่างเดียว ช่างที่เขาให้เขียนในวัดใหญ่ขนาดนี้ย่อมไม่เขียนอะไรกระจอกๆ ต้องออกแบบวางแผนมาอย่างดีมีความรู้

พระอินทร์พม่าครับ มีสามตาเหมือนที่นี่เลย!!!


กระทู้: จิตรกรรมในพระปรางค์ ภาพเขียนสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 16 พ.ค. 10, 20:05
พระพรหมถือฉัตรของพม่าครับ คู่กับพระอินทร์เป่าสังข์วิชัยยุทธ เครดิตรูปภาพจากอาจารย์เชษฐ์ครับ

อิมมมมมม....ส่งรูปไฟล์เต็มพระลีลาอีกข้างมาให้หน่อยสิ เป็นไปได้ว่า ไม่ใช่พระเจ้าหย่อนตีน ถ้ามีพระลีลาถึง 2 องค์แล้ว มีความเป็นไปได้สูงว่าจะเป็น

ยมกปาฏิหาริย์........


กระทู้: จิตรกรรมในพระปรางค์ ภาพเขียนสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 16 พ.ค. 10, 20:08
งามมากๆครับ อ้อ...พระอินทร์ที่พม่ามีตาที่สามนี่เอง ถึงว่ามีแต่คนบอกว่าเป็นพระอินทร์
ภาพฝั่งไหนครับพี่กุ ??


กระทู้: จิตรกรรมในพระปรางค์ ภาพเขียนสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 16 พ.ค. 10, 20:12
ฝั่งที่ไม่ชัดน่้ะ จะเอามาดูร่องรอย เฮ้อ....ยิ่งตามยิ่งสนุก ยิ่งตามยิ่งเจอ ไม่เคยตามอะไรได้เร็วขนาดนี้ ใครบอกว่าเป็นอดีตพุทธเฉยๆฟระ เปลี่ยนหัวข้อวิทยานิพนธ์ดีกว่าวุ้ย.......

พระลีลาเป็นพระพิมพ์ครับ


กระทู้: จิตรกรรมในพระปรางค์ ภาพเขียนสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 16 พ.ค. 10, 20:16
อันนี้เผอิญเจอ เหมือนกันๆเลย เป็นพระพุทธรูปนั่งอยู่ในปราสาท คล้ายมหาธาตุราชบุรีมาก เสียดายไม่รู้มาจากไหน เซ็งเป็ด

อืม...เป็นครั้งแรกเลยมั้ง ที่มีการกล่าวถึงจิตรกรรมวัดมหาธาตุราชบุรี อย่างละเอียดละออขนาดนี้...โดยเฉพาะประเด็นเรื่องราวการวาด


กระทู้: จิตรกรรมในพระปรางค์ ภาพเขียนสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 16 พ.ค. 10, 20:25
ชิ้นเดียวกันครับ ที่ถ่ายมาก็เพราะว่านึกถึงภาพที่ราชบุรีนี่ล่ะ ลักษณะของเครื่องบนคล้ายๆกัน
เชื่อมโยงกับรูปแบบพระเครื่อง ต้องลองหาเซียนพระมาถามดู

ว่าแต่ทำไมเขาลืมมหาธาตุบุรีกันไปหรือครับ ถึงไม่ค่อยมีใครเขียนเอาไว้ น่าจะมีบ้างนะ
ลองหาดูกันครับ..?


กระทู้: จิตรกรรมในพระปรางค์ ภาพเขียนสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 16 พ.ค. 10, 20:27
แล้วจาโพสท์ซ้ำกันทามมายวะ


กระทู้: จิตรกรรมในพระปรางค์ ภาพเขียนสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 16 พ.ค. 10, 20:29
หุหุ  :D เอามาแซวน่ะ

ลองเอาพระเครื่องมาเทียบกันดูเล่นๆดีกว่า อย่างนี้ใช่ไหมครับ ที่เรียกว่าเรือนแก้ว
แบบลังกา ?? มีภาพอิมพร์อทจากลังกาไหมครับ

พระลีลาส่งไปแล้วเน้อ สามภาพ


กระทู้: จิตรกรรมในพระปรางค์ ภาพเขียนสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 16 พ.ค. 10, 20:31
ถ้ามันย่อมุมสักหน่อย เติมยอดเล็กๆที่เก็จสักนิด ก็จะเป็นแบบนี้


กระทู้: จิตรกรรมในพระปรางค์ ภาพเขียนสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 16 พ.ค. 10, 20:32
 :o สุดยอดๆ ไม่เคยเห็น นึกถึงบาหลี --> ไปโน่นออกทะเล

ลองดูซุ้มนี้บ้างครับ


กระทู้: จิตรกรรมในพระปรางค์ ภาพเขียนสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 16 พ.ค. 10, 20:36
เชื่อว่าหลังจากปราสาทในวัดมหาธาตุ ราชบุรี มันจะกลายเป็นแบบนี้ ยืดๆเหมือนโขงประตูทางเหนือ แต่ก่อนทางใต้คงใช้เหมือนกัน แต่หายไปหมดแล้ว มันจะไปเหมือนกู่พระเจ้า้ล้านทองในวัดลำปางหลวง พุทธศตวรรษที่ 21 (อ๊ะ กำลังจะออกนอกเรื่อง กลับๆๆ)


กระทู้: จิตรกรรมในพระปรางค์ ภาพเขียนสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 16 พ.ค. 10, 20:41
องค์นี้ด้วย


กระทู้: จิตรกรรมในพระปรางค์ ภาพเขียนสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 16 พ.ค. 10, 20:41
เหมือนช่างที่นี่เห็นมาเยอะ ทั้งซุ้มไทยพม่า เขมร ลังกา เพราะเขียนรวมๆกันหมดเลย แล้วเขียนถูกด้วย ราวกับเป็นครูช่างสอนประวัติศาสตร์ศิลปะ ตื่นเต้นมากมาย

กำลังหาภาพซุ้มลังกาอยู่ ส่วนพระองค์สุดท้าย เหมือนยอดบนสุดเป็นหน้าบัน เหมือนพระนั่งอยู่ในอาคารด้านสะกัด ที่เป็นอาคารทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้ามากกว่ามณฑป

การเขียนอดีตพุทธในมณฑป ไม่แน่ใจว่าเคยเห็นที่ไหนบ้าง มีที่พม่า กับลังกา เขมรไม่แน่ใจ ไม่น่าจะมีนะ เหมือนนั่งแค่ในต้นโพธิ์พฤกษ์มากกว่า


กระทู้: จิตรกรรมในพระปรางค์ ภาพเขียนสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 16 พ.ค. 10, 20:52
อดีตพุทธนั่งอยู่ในปราสาทพม่าสมัยพุกามตอนปลาย แปลกใจว่าเมืองไทยมีที่ราชบุรีแห่งเดียวเท่านั้นที่มีอดีตพระพุทธเจ้านั่งในปราสาท (สมัยอยุธยาตอนต้นนะ)


กระทู้: จิตรกรรมในพระปรางค์ ภาพเขียนสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 16 พ.ค. 10, 20:54
ใน คคห.ที่41 ก็คล้ายๆจะเป็นซุ้มนะ อยู่ในปราสาทอีกที เก่าไหมครับ

ไหนๆก็มาถึงนี่ละ ลองดูอีกสักอีกชิ้นหนึ่ง ...จัดไป


กระทู้: จิตรกรรมในพระปรางค์ ภาพเขียนสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 16 พ.ค. 10, 20:56
...


กระทู้: จิตรกรรมในพระปรางค์ ภาพเขียนสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 16 พ.ค. 10, 20:59
เจออีกแล้ว .. ลองชมชิ้นนี้บ้างครับ

ปล.เดี๋ยวนี้กระทู้ขอแบนที่มาของโบราณวัตถุครับ เดี๋ยวโดนเล่น หุหุ


กระทู้: จิตรกรรมในพระปรางค์ ภาพเขียนสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 16 พ.ค. 10, 20:59
ครับ แต่ในไทยไม่รู้ว่าจะมีที่ไหนบ้าง นอกจากวัดมหาธาตุแห่งนี้ ส่วนมากก็นั่งกันในเรือนแก้ว (ภาพจิตรกรรมนะ)

เอาของลังกามาดูบ้าง แต่ไม่เก่ามากนัก ดูข้างๆมีดอกมณฑาร่วงด้วย คนโบราณเขียนดอกมณฑาเหมือนจริงๆ เป็นดอกจำปาบ้านเราเลย อิอิ

อันนี้เป็นพุทธวงศ์ตอนหนึ่ง แต่ไม่รู้ว่าตอนไหน สังเกตเห็นปราสาทซ้อนชั้นเหมือนกัน ถ้าซ้อนขึ้นไปมากๆก็เหมือนของไทยอยู่ แต่ดูจะเป็นเครื่องไม้


กระทู้: จิตรกรรมในพระปรางค์ ภาพเขียนสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 16 พ.ค. 10, 21:04
แค่นี้ก็คล้ายแล้วนะครับ .. แสดงว่าเครื่องไม้อยุธยาต้นคงคล้ายๆลังกาอยู่ไม่มากก็น้อย
เห็นว่าช่วงนั้นลังกากำลังดัง คงได้อะไรมามากกว่าพระพุทธศาสนาเถรวาท


กระทู้: จิตรกรรมในพระปรางค์ ภาพเขียนสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 16 พ.ค. 10, 21:11
มีแต่ประเด็นๆๆ ใหม่พรั่งพรูออกมาราวกับจะทำทีสิสเอง น่าอิจฉาเพื่อนฉันจริงๆวุ้ย


กระทู้: จิตรกรรมในพระปรางค์ ภาพเขียนสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 16 พ.ค. 10, 21:28
ประเด็นเล็กน้อยก็ยังมีอีกนะ อย่างมือของฤาษีตนนี้เป็นสีแดง หรือตัมพปัณณิ เป็นชื่อเก่าของทวีปลังกา หมายถึงทวีปของคนที่มีฝ่ามือแดง คนอินเดียชั้นสูงนิยมทางสีแดงที่มือ อาจเพื่อความเป็นมงคลหรือคล้ายกับมีสุขภาพดี

ฤาษีตนนี้เขียนแบบอินเดียใต้มากๆ ทั้งท่า ทั้งทรงผม ทั้งฝ่ามือ เพราะมือของเทพตนอื่นๆก็ไม่้เป็นสีแดง


กระทู้: จิตรกรรมในพระปรางค์ ภาพเขียนสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 16 พ.ค. 10, 21:32
มือของพระวิษณุครับ  ที่ถ้ำดัมบูละ สมัยแึคนดี้ ประมาณอยุธยาตอนปลาย


กระทู้: จิตรกรรมในพระปรางค์ ภาพเขียนสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: ติบอ ที่ 16 พ.ค. 10, 22:04
เรียนถาม คุณกุรุกุลา และคุณวิเรนทร์

กำลังนึกอยู่ว่าโบราณสถานสมัยทวารวดีหลายแห่งในเมืองราชบุรี
เช่น โกลนหินสลักและปูนปั้นรูปพระโพธิสัตว์ หรือเทวดาประจำต้นสาละ
จากศาสนสถานถ้ที่เขางู อาจมีภาพบุคคลกำลังทำท่าวันทนามุทรา หรือสวัสติกะมุทราอยู่

จะเป็นไปได้ไหม ว่านอกจากอิทธิพลลังกาแล้ว ช่างอาจมีการคัดลอกงานกันเกิดขึ้น ?


กระทู้: จิตรกรรมในพระปรางค์ ภาพเขียนสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 16 พ.ค. 10, 22:11
ไม่รู้ครับ อิอิ

อันนี้เป็นพระลีลาที่จัดแสงแล้ว พระหัตถ์ทรงทาสีแดงเป็นลังกาเลย ภาพของน้องเนแหละ เอามาจัดแสงดู


กระทู้: จิตรกรรมในพระปรางค์ ภาพเขียนสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: ฉันรักบางกอก ที่ 17 พ.ค. 10, 00:15
เพลิดเพลินจำเริญใจ

ขอบคุณสำหรับข้อมูลและภาพจ๊าาาาา


กระทู้: จิตรกรรมในพระปรางค์ ภาพเขียนสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 17 พ.ค. 10, 09:08
สวัสดีครับพี่แพร อยากไปเที่ยวราชบุรีแบบละเอียดยิบจริงๆ มันมีตั้งหลายวัดที่ไปได้ยาก 5555 :-[


กระทู้: จิตรกรรมในพระปรางค์ ภาพเขียนสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: ฉันรักบางกอก ที่ 17 พ.ค. 10, 09:17
 8) หรอจ๊ะ แหมๆ ๆ



กระทู้: จิตรกรรมในพระปรางค์ ภาพเขียนสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 17 พ.ค. 10, 09:21
อ่าว ยังอยู่หรอครับ แปลว่าวันนี้พี่แพรไม่ไปทำงาน อิอิอิ พรุ่งนี้เนมันชวนไปอยุธยา ไม่รู้จะไปได้หรือเปล่า ฝนตกทุกวันเลยอะ :-X


กระทู้: จิตรกรรมในพระปรางค์ ภาพเขียนสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: ฉันรักบางกอก ที่ 17 พ.ค. 10, 09:54
 ไม่ชวนก็ไม่ไป เชอะ :( วันนี้ทำงานจ๊ะ พรุ่งนี้หยุด ชวนสิ


กระทู้: จิตรกรรมในพระปรางค์ ภาพเขียนสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 17 พ.ค. 10, 09:57
อยากไปหรอครับ อิอิอิอิอิอิ อยากไปเหมือนกันไปมะล่ะ อิอิ ชวนแล้วๆ :-[


กระทู้: จิตรกรรมในพระปรางค์ ภาพเขียนสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: yutthana ที่ 17 พ.ค. 10, 11:04
ไปด้วยๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆไอ้พวกนี้เนี่ยทิ้งพี่ทิ้งเชื้อ


กระทู้: จิตรกรรมในพระปรางค์ ภาพเขียนสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: ฉันรักบางกอก ที่ 17 พ.ค. 10, 13:35
ขอถอยสิบล้อก่อนนะ 8)


กระทู้: จิตรกรรมในพระปรางค์ ภาพเขียนสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 17 พ.ค. 10, 13:59
อยากไปอยุธยาครับ แต่ก็ยังไงๆไม่รุ้ ฝนก็ตก การเดินทางก็เหมือนจะลำบาก เพราะไม่มีรถ
ไปกันเยอะๆแล้วนั่งรถโดยสารเห็นทีจะไม่เหมาะ กลัวจะเสียเวลา

ยังไงดีล่ะครับ เพราะสมาชิกที่จะไป มี ผม พี่แพร พี่ยุทธ พี่กุ พี่ทอมมี่ พี่ภูมิ อยากให้ไปพร้อมๆกันด้วย

ทริปที่ผมเองอยากไปและจัดไว้เป็นการส่วนตัว โดยถ่างเวลาไว้ห่างๆเพื่อความชิว
คือ หมายเลข TOG 01
-ถึงอยุธยา 8.00 น.
-ดูวัดวรเชษฐ์เทพบำรุง และกินข้าวเช้า
-พิพิธภัณฑ์วัดศาลาปูนใช้เวลา 2-3 ชม. เสร็จไม่เกิน 11.00 น.
-วัดหน้าพระเมรุ และธรรมาสน์วัด... (เพนียด) 12.00 น.ถึง14.00 น.
-แวะกินกาแฟที่อโยเดีย 14.00 ถึง 15.00
-ไปดูภาพเขียนที่วัดพุทไธสวรรย์ 15.30 น. ถึง 16.30 น.
-ถ้าทันหรือไปได้ ไปดูวัเตว็ด ก่อนกลับ

หมายเลข TOG 02 (แนวสถาปัตย์กรรม เสนอโดย พี่ทอมมี่)
-ถึงอยุธยา 8.00 น.
-ไปดูวัดมเหยงค์ กินข้าวเช้า
-ฐานพระราชวังใช้เวลา 2-3 ชม.(เผื่ออยากดูละเอียด) เสร็จไม่เกิน 11.00 น.
-ไปดูวัดพระราม และกินข้าวเที่ยง เสร็จราว 13.30 น.
-ไปดูวัดราชบูรณะ และวัดมหาธาตุ 14.00 น. ถึง 16.00 น.
-แวะกินกาแฟที่อโยเดีย ก่อนกลับ

หมายเลข TOG 03
-ถึงบางปะอิน 8.00 น.
-ไปดูพระราชวังบางปะอิน กินข้าวเช้า
-สำรวจตามฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออก ใช้เวลาถึง 12.00 น.
-ไปดูวัดพณัญเชิง และกินข้าวเที่ยง เสร็จราว 14.00 น.
-ดูวัดทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ นอกเกาะเมือง เสร็จก่อนเวลา 16.30 น.
-แวะกินกาแฟที่อโยเดีย ก่อนกลับ

หมายเลข TOG 04 (แนวสถาปัตย์กรรม เสนอโดย พี่ทอมมี่)
-ถึงสะพานเชียงราก 8.00 น.
-หาที่ กินข้าวเช้า
-สำรวจตามฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก ใช้เวลาถึง 12.00 น.
-ไปดูวัด?? และกินข้าวเที่ยง เสร็จราว 13.30 น.
-ไปดูวัด?? ถึง 15.00 น.
-ไปดูวัดส้ม
-แวะกินกาแฟที่อโยเดีย ก่อนกลับ

เขียนเล่้นๆน่ะครับ หุหุ


กระทู้: จิตรกรรมในพระปรางค์ ภาพเขียนสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 17 พ.ค. 10, 14:05
เสนอบ้าง

น้องเนไปถึงอยุธยา 08.00 น. ไปถ่ายภาพวัดศาลาปูน

-8.35 พี่ออกจากกรุงเทพ
-10.00 พี่ถึงอยุธยา
-10.00-15.00 ไปนั่งกินกาแฟที่ร้านโยเดีย
-15.00-16.00 ไปซื้อโรตีสายไหม
-16.00 กลับบ้าน  8)


กระทู้: จิตรกรรมในพระปรางค์ ภาพเขียนสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 17 พ.ค. 10, 14:09
เหอะๆ ... เอางั้นเลยหรอ  ;D

ปล. - ช่วงเวลา 15.00 -16.00 น. ฝากซื้อด้วยนะ
     - และ 8.00 น. วันรุ่งขึ้น เนไรท์ภาพทั้งหมดไปให้พี่กุ
     - อย่าลืม วัดท่าพูดนะครับ ว่าที่พระยานมาศ คันที่ 7


กระทู้: จิตรกรรมในพระปรางค์ ภาพเขียนสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 17 พ.ค. 10, 14:22
เพื่อนพี่มันหนีไปพุกามซะแล้ว ท่าทางจะรออีกนานกว่ามันจะยอมเอารถไปราชบุรี

อยากไปด้วย แต่ไม่มีสตางค์อะ


กระทู้: จิตรกรรมในพระปรางค์ ภาพเขียนสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: ฉันรักบางกอก ที่ 17 พ.ค. 10, 15:04
โอ้โฮเฮ๊ะ มีรหัสทัวร์ด้วยอ่ะ ว่าแต่เคอร์ฟิวแล้วอ่ะ
 


กระทู้: จิตรกรรมในพระปรางค์ ภาพเขียนสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 17 พ.ค. 10, 15:44
จริงหรอ จะได้ไปไหมเนี่ย


กระทู้: จิตรกรรมในพระปรางค์ ภาพเขียนสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 17 พ.ค. 10, 15:55
โถ่... ที่จริงมันก็น่าร้ายแรงมากมาหลายวันแล้วนะครับ  :-\

กลับเข้ากรุดีกว่า .....

เนื่องจากไปตามค้นดูหนังสือที่พอจะมีในห้องมาอ่านดู เจอเกี่ยวกับภาพเขียนที่วัดมหาธาตุราชบุรีนี้สองฉบับ
ฉบับแรกพี่ภูมิให้ไว้ สำหรับใช้ศึกษาข้อมูลไปเพชรบุรี นึกแล้วนึกขึ้นได้ว่ามีเกี่ยวกับภาพเขียนที่นี่อยู่ด้วยเลย
แงะมาอ่านใหม่ เลยขอนำมาลงไว้ให้ผู้ที่สนใจได้อ่านประกอบการรับชมครับ


ภาพที่ผนังทางด้านทิศเหนือ


กระทู้: จิตรกรรมในพระปรางค์ ภาพเขียนสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 17 พ.ค. 10, 15:57
คัดจาก...
จดหมายเหตุระยะทางไปมลฑลราชบุรี
พระนิพนธ์
สมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระยานริศรานุวัติวงศ์

... ข้างในปรางมีแท่นฐานปูนรองพระ แต่พระไม่มี เห็นจะถูกขุด เพดาลปรางพังเสียแล้ว ผนังเขียนยังเห็นได้ เขียนดีน้ำยาดี สังเกตเห็น
ที่ยังมีเหลือเห็นเป็นเก่าที่สุดที่เคยเห็นมา เขียนรูปพระปางหน้าโตขนาด ๘ นิ้วถึง ๔ นิ้ว ท่าทีเขียนแบ่งเป็นชั้นอย่างเทพชุมนุม ในเบ่ง
เป็นทำนองกลีบบัว กลีบใหญ่เป็นรูปพระเจ้านั่งในซุ้มปราสาท ทีเหมือนชวาบ้างนั่งในร่มไม้มีรัศมีล้อมอย่างเดี๋ยวนี้บ้าง ที่กลีบแทรกนั้น
เป็นพระสาวกบ้าง เป็นพราหมณ์บ้าง แขกบ้าง ทีจะเปนพวกมาถามปัญหาแล้วบวช คือพวกชาวบ้านแลอาชีวก ที่ลายคั่นชั้นบางทีมีหนังสือ
บอกเรื่องเป็นหนังสือขอมปนไทย อ่านไม่ได้ความเพราะกะเทาะเปนหย่อม ท่าทีเขียนตามว่าว่ามาดังนี้ (ทรงวาดไว้)
มีซ้อนต่อๆกันหลายชั้น พระเจ้านั้น ที่เขียนมีหนวดเต็มที่ก็มี เป็นหลักดีที่จะเป็นที่อ้างอิงในการเขียนวัดเบญจมพิตร รูปพระสาวกที่มีหนวดก็มี
พระสาวกทั้งหลายทาผมดำทั้งนั้น ดีกว่าทาครามเปนโกนใหม่ๆมาก ...

ภาพประกอบ ภาพจากผนังทางด้านทิศเหนือ   


กระทู้: จิตรกรรมในพระปรางค์ ภาพเขียนสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 17 พ.ค. 10, 16:04
... พวกสาวกที่ยังไม่ได้บวช หัวมีหลายอย่าง มวยผมดำ ทั้งมีหนวดเคราก็มี มวยผมขาว และถักพิฤกพิลั่นอย่างนี้ก็มี
(ทรงวาดไว้ 1) ใช้สีขาวทาตัดดำ ใส่หมวกเตอร์กีก็มี ใส่หมวกตุ้มปีอย่างนี้ก็มี (ทรงวาดไว้ 2) บางทีหมวกอย่างนี้จะเป็น
ภาพตัวดีอย่างใส่มงกุฎทีเดียว เพราะทาเหลืองตัดแดงแปลว่าเปนทอง แลตัดหน้าก็ตัดอย่างงามด้วย หัวอย่างอื่นตัดหน้า
เปนทีกาก แต่หมวกอย่างนี้จะกินกับหูอย่างไรไม่ทราบ เพราะต่อมาพัง กลัวจะหวีกล้วยเพราะมีกรอบหน้าด้วย จะเป็นตัว
กษัตรนั่นเอง ได้หาตัวกษัตรนักแล้ว ไม่ได้พบเลย ฝ่ายซุ้มเรือนแก้วหลังพระก็ชอบกล ที่แท้ก็แปลว่าบุษบก แต่มันเตี้ย
เปนทรงชวา ได้ขีดเส้นฟันไม้ทรงนอกมาดูนี่แล้ว (ทรงวาดไว้) ยังมีความจับใจอีกมาก รับร้อนละเสียสักหน่อย ...

ภาพจากภาพที่สันนิษฐานว่าทรงวาดไว้ 1


กระทู้: จิตรกรรมในพระปรางค์ ภาพเขียนสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 17 พ.ค. 10, 16:07
ส่วน "ใส่หมวกเตอร์กีก็มี ใส่หมวกตุ้มปีอย่างนี้ก็มี" นั้นไม่แน่ใจว่าจะเป็นอันไหน
เดาตามที่ทางวาดไว้ 2 ก็น่าจะเป็นภาพนี้ครับ

พี่กุครับ เห็นสมเด็จท่านอ้างถึงชวา มีภาพจากชวาไหม ??


กระทู้: จิตรกรรมในพระปรางค์ ภาพเขียนสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 17 พ.ค. 10, 16:56
มาดูทางอีกท่านหนึ่งบ้าง อาจารย์ น. ณ ปากน้ำ ก็เคยเข้าไปดูภาพเขียนในคูหาพระปรางค์นี้เช่นกัน
ข้อความนี้คัดจาก หนังสือ ความงามในศิลปะไทย ครับ...

... ข้าพเจ้าเดินทางไปราชบุรี ได้มีโอกาสเข้าไปชมภาพเขียนบนผนังปรางค์องค์ใหญ่ที่วัดมหาธาตุ ภาพเขียนเหล่านี้
เป็นภาพในสมัยอยุธยาตอนต้น เท่าที่สันนิษฐานเช่นนี้ก็เพราะระเบียบการเขียนภาพคล้ายคลึงกับที่นายเฟื้อ หริพิทักษ์
อาจารย์มหาวิทยาลัยศิลปากร ผู้เคยค้นคว้าคัดลอกภาพเขียนจากผนังปรางค์ในวัดมหาธาตุที่อยุธยามาให้ชมนานมาแล้ว
ภาพเหล่านั้นเป็นภาพเขียนพระพุทธรูปนั่งในซุ้มเรียงกันเป็นแถว คล้ายกับภาพเทพชุมนุมในสมัยหลัง ภาพเขียนที่
วัดมหาธาตุ อยุธยา เป็นฝีมือสมัยอยุธยาตอนต้น ภาพเขียนบนผนังปรางค์ที่วัดมหาธาตุ ราชบุรี ก็เขียนเป็นภาพเขียน
พระอันดับเช่นกัน ทั้งสี่ผนังที่ค่อนข้างมืดทึบนั้นเขียนเป็นพระอันดับซ้อนกันหลายแถว นั่งอยู่บนซุ้มเหลี่ยมที่แบคกราวนด์
หลังพระเศียรเขียนเป็นซุ้มใบโพธิ์คล้ายคลึงกับที่อยุธยา ที่น่าสังเกตพิเศษอยู่อย่างหนึ่งก็คือที่พระพักตร์พระพุทธรูปใน
ภาพเขียนหลายภาพด้วยกันเขียนพระพักตร์เหลี่ยม คล้ายคลึงกับพระพักตร์พระพุทธรูปสมัยที่เรียกกันว่าอู่ทองไม่ผิดเพี้ยน
ที่ซุ้มคล้ายจะเป็นเรือนแก้ว เขียนเป็ฯสี่เหลี่ยมสันผิดแผกไปจากแบบอยุธยา สีที่ผ้าจีวรเขียนด้วยสีดินแดง ภาพเหล่านี้เขียน
ด้วยสี ๓ สี คือ สีแดงจากดินแดง สีขาวจากดินขาว และเขม่าสีดำ ได้พิจารณาดูที่เนื้อผนังซึ่งส่วนมากกะเทาะร่อนหลายแห่ง
เห็นว่าภาพเขียนติดแนบกับตัวผนังที่ฉาบปูนไว้อย่างสนิท แสดงว่าประสิทธิภาพของยางไม้ที่ใช้ในการผสมสีของคนโบราณ
นั้นจัดว่าดีเลิศ ดีกว่าภาพเขียนโบราณรุ่นใหม่สมัยรัตนโกสินทร์นี้ ที่บางแห่งผนังยังไม่กะเทาะสีก็ล่อนเสียหายหมด ...


กระทู้: จิตรกรรมในพระปรางค์ ภาพเขียนสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 17 พ.ค. 10, 17:01
... สำหรับภาพเขียนบนผนังปรางค์ที่ราชบุรีนั้น เข้าใจว่าคงเก่ากว่าภาพเขียนที่วัดมหาธาตุและวัดราชบูรณะ
คงเป็นฝีมือรุ่นสุวรรณภูมิ (หรือที่เรียกกันว่าอู่ทอง) ....
...แต่เป็นที่น่าสังเกตว่าภาพเขียนในสมัยอยุธยาตอนต้นยังไม่มีการปิดทอง ผิดกับภาพเขียนในสมัย
รัตนโกสินทร์ตอนต้นที่มักจะเขียนองค์พระพุทธรูปปิดทองทั้งองค์ เว้นจีวรไว้ระบายด้วยสีดินแดง ตรงผิวเนื้อ
ขององค์พระเขาผสมสีขาวกับเหลือง (เข้าใจว่าใช้รงที่ทำจากยางไม้) การตัดเส้นพู่กันคงใช้พู่กันธรรมดา
ไม่มีพู่กันพิเศษที่เรียกกันว่าพู่กันหนวดหนู อย่างเช่นภาพเขียนในวัดใหญ่สุวรรณาราม ...


บางทีข้อมูลอาจจะระบุไว้ต่างกันบ้างครับ เนื่องจากเกิดความต่างของสภาพ ในตอนที่ท่านไปสำรวจพบเห็น
จึุงแสดงความคิดเห็นออกมาตามนั้น ...
เช่นที่เราแสดงความคิดเห็นกัน ยังอาจไม่ถูกต้องทั้งหมดร้อยเปอร์เซ็นต์ เพียงแต่เป็นที่รวบรวมข้อมูลเอาไว้
เพื่อพูดคุย หาคำตอบกันไปเรื่ือยๆ ยังเกิดแนวคิดแยกออกไปต่างๆนาๆได้อีกครับ


กระทู้: จิตรกรรมในพระปรางค์ ภาพเขียนสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 17 พ.ค. 10, 17:31
หวัดดีน้องเน สนุกไหมครับ นั่งตอบกระทู้


กระทู้: จิตรกรรมในพระปรางค์ ภาพเขียนสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 19 พ.ค. 10, 11:22
วันก่อนถามเรื่อง "ชวา" ของกรมนริศยังไม่ได้ตอบเลย

พระองค์คงหมายถึงอาคารทรงปราสาทที่เตี้ยแจ้เป็นทรงชวา ว่าคล้ายกับปราสาทในวัดมหาธาตุ แต่จะมีความสัมพันธ์กันหรือไม่ คิดว่าคงไม่หรอกครับ คงเป็นความคิดพื้นฐานเกี่ยวกับเรือนซ้อนที่ได้มาจากอินเดีย แสดงออกมาคล้ายๆกัน

เทวาลัย 400 หลังที่เดียงพลาโต ที่ราบสูงเดียง ไว้บูชาภูเขาไฟกะหมังกุหนิง ( ???) ความสูงเลยยอดดอยอินทนนท์


กระทู้: จิตรกรรมในพระปรางค์ ภาพเขียนสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 19 พ.ค. 10, 11:25
ซากเทวาลัย 400 หลัง ทุกวันนี้เหลือไม่ถึงสิบหลัง เฮ้ออ..เป็นที่ราบมีภูเขาล้อมทุกด้าน อากาศหนาวๆชื้นๆ มีหมอกด้วย ชาวบ้านปลูกไม้เมืองหนาวคล้ายๆดอยตุงเลย

เทวาลัยพวกนี้ถือว่าเก่าแก่ที่สุดในชวา ราวพุทธศตวรรษที่ 12-13 เกิดจากการนับถือภูเขาไฟบวกกับศาสนาฮินดู เพราะเกิดภูเขาไฟระเบิดบ่อย กว่าจะขึ้นมาได้รถเสียไปรอบนึง ไม่รู้คนชวาจะบ้าพลังขึ้นมาทำไม


กระทู้: จิตรกรรมในพระปรางค์ ภาพเขียนสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 19 พ.ค. 10, 11:30
ปราสาททรงเตี้ยแจ้แบบชวา ของทวารวดีก็คงเล็กๆอย่างนี้แหละ


กระทู้: จิตรกรรมในพระปรางค์ ภาพเขียนสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 19 พ.ค. 10, 11:34
พระเจ้าประทับอยู่ในปราสาทครับ



กระทู้: จิตรกรรมในพระปรางค์ ภาพเขียนสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 19 พ.ค. 10, 11:39
ปราสาทชวาแบบเตี้ยๆครับ เพลาสัน


กระทู้: จิตรกรรมในพระปรางค์ ภาพเขียนสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 19 พ.ค. 10, 11:40
ถ้าดูจากทางอากาศ จะเห็นว่าเขาสร้างเป็นมณฑลเลย โดยมีเจดีย์กลมตรงกลาง และมีปราสาทเล็กๆล้อมรอบเป็นตาราง เหมือนยันต์ต่างๆ


กระทู้: จิตรกรรมในพระปรางค์ ภาพเขียนสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 15 ก.ค. 11, 14:33
กระทู้หลุดไปชวาจนได้ ...

เพิ่มเติมด้วยจิตรกรรมวัดพระราม ซึ่งเป็นมหาธาตุสำคัญองค์หนึ่งในย่านกลางพระนครศรีอยุธยา
วัดนี้เข้าใจว่าผ่านการบูรณะซ่อมแซม และมีการก่อสร้างเพิ่มเติมอยู่ตลอดช่วงที่กรุงศรีอยธยา
เป็นราชธานี ดังนั้นจึงมีร่องรอยของงานศิลปะสถาปัตยกรรม รวมไปถึงแนวคิด ที่สะท้อน
ความนิยมและความเปลี่ยนแปลงในสังคมเมืองของอยุธยา
ในคูหาปรางค์ประธานหรือครรภคฤหะนั้น มีภาพเขียนอดีตพุทธอยู่ที่ผนัง ซึ่งเป็นผนังทึบสามด้าน
มีทางเข้าอยู่ทางตะวันออก ที่ผนังขนาบทางเดินเข้าสู่ห้องคูหาพระปรางค์นั้นก็ปรากฏ
จิตรกรรมอยอยู่ด้วยเช่นกัน และตำแหน่งผนังในคูหาพระปรางค์นี้ทำให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลง
ของโครงสร้างของพระปรางค์ด้วย


กระทู้: จิตรกรรมในพระปรางค์ ภาพเขียนสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 15 ก.ค. 11, 16:13
จิตรกรรมในคูหาพระปรางค์นี้เขียนขึ้นในสมัยไหนยังเป็นเรื่องที่ยากสำหรับผม แต่จากการพูดคุยกันส่วนตัวกับสมาชิกท่านอื่นๆ
มีบางท่านคิดเห็นว่าน่าจะเขียนขึ้นในสมัยพระเจ้าปราสาททอง ซึ่งตรงกับข้อมูลที่ว่าทรงปฏิสังขรณ์วัดนี้ในรัชกาลดังกล่าว
แต่ในความคิดเห็นส่วนตัวผมยังไม่คิดว่าภาพจิตรกรรมชุดนี้ เขียนขึ้นในคราวบูรณะครั้งใหญ่สมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาทองครับ


กระทู้: จิตรกรรมในพระปรางค์ ภาพเขียนสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 15 ก.ค. 11, 16:45
เข้ามาชมความงามของกรุงศรีอยุธยาด้วยนะครับ จึงอยากเรียนถามว่า ภาพจิตรกรรมฝาผนังที่นำมาให้ชมนี้ เป็นคราบที่ถูกทำลายเป็นคลื่น ๆ ทั่วบริเวณ เกิดจากน้ำฝนหรือครับ


กระทู้: จิตรกรรมในพระปรางค์ ภาพเขียนสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 15 ก.ค. 11, 16:53
ผู้รู้ท่านหนึ่งอธิบายว่ามีร่องรอยความเสียหายจากการถูกไฟเผาครับ และในนั้นก็เป็นที่อาศัยของค้างคาว
อีกสาเหตุหนึ่งอาจจะมาจากความชื้นที่ซึมเข้ามาตามแนวอิฐ เพราะผนังด้านนอกผิวปูนที่ฉาบไว้หลุดไปมากแล้วครับ


กระทู้: จิตรกรรมในพระปรางค์ ภาพเขียนสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 15 ก.ค. 11, 17:27
วัดนี้คงจะเป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัยอยุธยาต้นแน่นอน แต่มีการซ่อมแซมเพิ่มเติมกันมาโดยตลอด
จนมามีรูปแบบอย่างที่เหลือหลักฐานให้เห็นกันในปัจจุบัน
แต่การเปลี่ยนแปลงชุดปรางค์ประธานนั้นมีลำดับการเปลี่ยนแปลงอย่างไร
และทำกันในสมัยไหนนั้นยังไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดพอ ดังนั้นจึงต้องดูรูปแบบในเชิงวิวัฒนาการ
ทางศิลปะและคติที่เกี่ยวข้องมาเป็นตัวสันนิษฐาน




กระทู้: จิตรกรรมในพระปรางค์ ภาพเขียนสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 15 ก.ค. 11, 17:40
ภาพรวมของปรางค์ประธานวัดพระรามนั้น มีลักษณะอย่างปรางค์ห้ายอด ซึ่งแน่นอนว่าต้องมีการปรับผังในส่วนนี้ใหม่
ในรัชกาลใดรัชกาลหนึ่ง ซึ่งควรจะเป็นช่วงแรกของอยุธยาปลาย หรือไม่ก็เป็นช่วงสุดท้ายของอยุธยาปลายนั่นเอง
แต่จากลักษณะของห้องครรภคฤหะของปรางค์ประธาน ซึ่งเป็นผนังทึบสามด้านและมีทางเข้าทางด้านตะวันออกเพียงด้านเดียว
ผนังทุกด้านมีร่องรอยของการเขียนจิตรกรรมเอาไว้ทุกด้าน แม้ต่บริเวณมุมรักแร้ที่ผนังริมประตูด้านทางเข้า
และยังเขียนอดีตพุทธที่ผนังตรงทางเข้าไปด้านในหรือห้องอันตราละนั้นด้วย ทำให้ผมสันนิษฐานว่าการต่อเติม
พระปรางค์ครั้งใหญ่นั้น อาจจะไม่ส่งผลกระทบกับจิตรกรรม??


กระทู้: จิตรกรรมในพระปรางค์ ภาพเขียนสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 15 ก.ค. 11, 17:49
ดังนั้นรูปแบบของปรางค์ประธานแต่เดิมนั้นน่าจะมีลักษณะคล้ายอย่างวัดราชบูรณะ คือมีลักษณะคล้ายอย่างปราสาทเขมร
คือมีห้องครรภคฤหะที่มีเรือนยอดสูงขึ้นไปเป็นประธาน แล้วมีการต่อห้องมณฑปที่มีลักษณะเป็นมุขหรือคูหาด้านหน้าออกมา
ซึ่งเป็นแบบแผนทั่วไปของปรางค์ในสมัยอยุธยาต้น นอกจากนั้นก็มีเจดีย์ประจำมุม และมีพระปรางค์ทิศประจำที่ด้าน
..นับได้ว่าตัวอย่างนี้ชวนให้นึกถึงมหาธาตุสุโขทัยได้ด้วย


กระทู้: จิตรกรรมในพระปรางค์ ภาพเขียนสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 15 ก.ค. 11, 21:45
หากจะลองกำหนดช่วงเวลาที่มีการแปลงสภาพกลุ่มปรางค์ประธานวัดพระราม จนมีผังอย่างที่เห็นในปัจจุบัน
โดยจากหลักฐานทางพงศาวดารที่พอจะอ้างอิงได้สองช่วง ก็คืออยู่ในสมัยอยุธยาตอนปลายช่วงราชวงศ์ปราสาททอง
และสมัยอยุธยาปลายช่วงสุดท้ายก่อนเสียกรุง
แต่จากลักษณะของจิตรกรรมอดีตพุทธที่ปรากฏนั้นพอจะบอกได้ว่า ควรจะเก่ากว่าศิลปะในช่วงราชวงศ์บ้านพลูหลวง

ดังนั้นจิตรกรรมอดีตพุทธในคูหาพระปรางค์ประธานวัดพระรามนั้น น่าจะเขียนขึ้นก่อนสมัยพระเพทราชาขึ้นไป
แต่การที่จะบอกว่าภาพเขียนจะเก่ากว่าช่วงราชวงศ์ปราสาททองหรือไม่นั้น ยังไม่อาจจะหาข้อสรุปที่แน่นอนได้จริง
เพราะถึงแม้ผมจะอ้างว่าภาพเขียนชุดนี้ปรากฏขึ้นบนผนังที่มีมาก่อนการปรับผังของชุดปรางค์ประธาน แต่ก็ไม่สามารถ
รู้ได้ว่าระหว่างการต่อเติมพระปรางค์นั้นได้มีการซ่อมแซมจิตรกรรมภายในหรือไม่

สมมุติฐานที่ผมตั้งขึ้นว่าจิตรกรรมชุดนี้น่าจะเก่ากว่าช่วงราชวงศ์ปราสาททอง นอกจากเรื่องผังที่กล่าวถึงทางมาก่อนหน้าแล้วก็คือ
ร่องรอยลวดบัวที่ปรากฏบนผนังด้านในของห้องครรภคฤหะซึ่งน่าจะเป็นลวดบัวในสมัยการปรับสร้างพระปรางค์ช่วงราชวงศ์ปราสาททอง
ซึ่งได้ก่อทับร่องรอยจิตรกรรมที่ควรจะเขียนขึ้นมาก่อนหน้า

เหล่านี่เป็นประเด็นที่ผมเสนอไว้เพื่อให้มีการศึกษาหรือพิจารณากันต่อไปอีกครับ


กระทู้: จิตรกรรมในพระปรางค์ ภาพเขียนสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 16 ก.ค. 11, 11:23
ขออนุญาตแทรกภาพถ่ายมุมสูงพระปรางค์วัดพระราม จะได้สอดคล้องกับผังวัดด้านบนครับ


กระทู้: จิตรกรรมในพระปรางค์ ภาพเขียนสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 16 ก.ค. 11, 19:02
ขอบคุณมากครับ กำลังอยากได้ภาพแนวๆนี้อย่พอดีเลย  ;D
 ภาพนี้บอกลักษณะการก่ออิฐบริเวณทางเข้าคูหาพระปรางค์ครับ เป็นการก่ออิฐแบบเหลื่อมชนซึ่งเป็นจุดสังเกตหนึ่ง
ที่ทำให้คิดว่าการต่อเติมน่าจะทำก่อนสมัยสมเด็จพระนารายณ์ฯ เพราะในสมัยพระนารายณ์มักเป็นงาน
เรียงอิฐแบบไล่องศาหรือทรูอาร์ค


กระทู้: จิตรกรรมในพระปรางค์ ภาพเขียนสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 16 ก.ค. 11, 19:05
ภาพนี้ถ่ายจากผนังภายในห้องครรภคฤหะของพระปรางค์


กระทู้: จิตรกรรมในพระปรางค์ ภาพเขียนสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 16 ก.ค. 11, 19:08
ภาพเขียนบริเวณผนังทางเข้าไปในห้องครรภคฤหะ ซึ่งจะเขียนพระเป็นเจ้าให้องค์เล็กกว่าด้านใน


กระทู้: จิตรกรรมในพระปรางค์ ภาพเขียนสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 19 ก.ค. 11, 14:02
พี่ว่าเนลองเปิดกระทู้ใหม่ดูไหม เวลาค้นข้อมูลได้เสริชหาได้ง่ายๆ  ;)


กระทู้: จิตรกรรมในพระปรางค์ ภาพเขียนสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 19 ก.ค. 11, 14:05
เริ่มไปแล้วอ่า...


กระทู้: จิตรกรรมในพระปรางค์ ภาพเขียนสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: ติบอ ที่ 24 พ.ย. 11, 00:44
เลยกลายเป็นเงียบไปเลยนะเนี่ยะ