เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 7
  พิมพ์  
อ่าน: 46971 เรื่องหนักหัว
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 06 ก.ย. 06, 12:48

 เครื่องครอบศีรษะนี่ เป็นเรื่องใหญ่ขนาดสารานุกรมมนุษย์ชาติเชียวละครับ ตั้งแต่วีนัสข้างบน เรื่อยมาจนถึงหมวกนักบินอวกาศ
ออกเป็นหนังสือชุดได้หนึ่งชั้นหนังสือทีเดียว
แต่น่ารู้มาก อาจารย์ตั้งหัวข้อได้เจ๋งขนาด
อันนี้ผู้น้อยขอรับประกัน

ว่ากันเฉพาะเอเชีย ครอบหัวเจ๊กกับแขกก็ยุ่งขิงเป็นลิงทะเลาะกันแล้ว ยังต้องมาดูพวกดองซอน บ้านเชียง เบ๊กธาโน เลยไปถึงชวา....โอ๊ย ท่านเอาสมองส่วนใหนมาคิดหัวข้อกันนี่
ครีเอถีปสุดๆ

ว่าแต่ว่า คำว่า "หมวก" เป็นคำไตหรือเป่ากั๊บ
อันนี้น่าจะจับตั้งต้นก่อนจะหลงทาง
แล้วท่านจะแถมความเชื่อเกี่ยวกับขวัญ กระบาล หัว ศีรษะ แถมด้วยหรือเปล่า

งานนี้กลิ้งภูเขาทับครกยังง่ายกว่าเล็ยยยย...........
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 06 ก.ย. 06, 13:06

พจนานุกรมของราชบัณฑิตฯ ให้นิยามคำว่า หมวก ไว้ว่า
เครื่องสวมศีรษะมีรูปต่างๆ เพื่อเป็นเครื่องประดับหรือกันแดดกันฝนเป็นต้น.
ไม่ได้บอกว่าเป็นคำจากภาษาอะไร   ตีความได้ว่า
๑) เป็นคำไทย
หรือ
๒) ไม่รู้ที่มา

ถ้าเป็นข้อ ๒  ขนาดท่านราชบัณฑิตยังไม่รู้แล้วดิฉันจะไปรู้กระไรได้   ก็รีบฉวยช่องว่างตรงนี้เป็นประโยชน์แก่ตัว ด้วยการถือว่าเป็นภาษาอะไรก็ช่างมันไปก่อน

ยึดเส้นทางเดิมตามหัวข้อนี้ว่า "เรื่องหนักหัว" คือเล่าถึงสิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นมาวางไว้บนหัว  มีน้ำหนักมากกว่าตอนที่ไม่มีมันอยู่บนหัว จนรู้สึกได้ถึงความแตกต่าง

ดิฉันจะจับเส้นทางใหญ่ คือจากยุคก่อนประวัติศาสตร์  แล้วมุ่งหน้าสู่ถนนไปอียิปต์ แล้วเข้ากรีกกับโรมัน  ก่อนจะไปอังกฤษ
แล้วตามเรือสินค้าฝรั่งมาเข้าอ่าวไทย
เส้นทางที่จะไป  นำชมสองข้างทางแบบที่สำนวนจีนเรียกว่า "ขี่ม้าชมดอกไม้" คือดูผ่านๆ  ไม่มีเวลาและปัญญาจะดูให้ละเอียดกว่านี้
มันจะหนักหัวมากเกินไป  และเผลอๆจะจบไม่ลง
ปล่อยให้คนอื่นต่อยอดกันไปตามสะดวกดีกว่า

แต่มีความเชื่อมั่นว่าในเรือนไทย มีหลายท่านที่รู้จักเส้นทางมากกว่าดิฉัน ก็คงจะพาลูกทัวร์เข้าซอยแยกไปชมวัฒนธรรมหนักหัวได้โดยละเอียดกว่า
ขอเชิญทุกท่านมาร่วมวงด้วยค่ะ
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 06 ก.ย. 06, 13:34

 แอบมานั่งหลังห้องครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 06 ก.ย. 06, 13:53

ว่ากันว่า อวัยวะทุกอย่างของมนุษย์ถูกพระเจ้าดีไซน์มาเพื่อใช้สอยเป็นประโยชน์ในการดำเนินชีวิตทั้งสิ้น   ไม่มีส่วนใดเกินจำเป็น  (ยกเว้นไส้ติ่ง ที่ยังขบคิดไม่ออกว่าประทานมาทำไม)  

ดังนั้น ถ้ายึดตามหลักเกณฑ์นี้   สิ่งที่อยู่บนหัวของคน ได้แก่ผม  ก็เป็นสิ่งที่พระเจ้าประทานมาเพื่อช่วยเหลือหัว ไม่ให้ลำบากลำบนเกินไปกับความหนาวร้อนและแรงกระทบกระแทกจนเป็นอันตราย

อย่างไรก็ตาม ถือว่ามนุษย์คนแรกที่รู้จักเอาสิ่งหนึ่งขึ้นมาครอบหัว  เป็นคนที่เริ่มรู้สึกว่า ผมที่ได้รับมานั้นยังไม่พอ   เขาสามารถจะเพิ่มเติมให้มันดีขึ้นกว่าเก่าด้วย
เมื่อเริ่มที่จุดนี้ได้แล้ว   หัวของมนุษย์ก็กลายเป็นที่รองรับวัตถุอันประดิษฐ์คิดค้นขึ้น เพื่อผลดีของมนุษย์เองต่อเนื่องยาวนานกันมาก่อนประวัติศาสตร์จนถึงประวัติศาสตร์ปัจจุบัน
ผลดีที่ว่านี้  ดิฉันแบ่งเอง ไม่ได้พึ่งทฤษฎีใคร  เพราะยังหาไม่เจอว่าใครเขียนไว้บ้าง
๑) ผลดีทางกาย
๒) ผลดีทางใจ
หรือจะเรียกให้ยากแบบนักวิชาการก็ได้ว่า อย่างที่ ๑ คือผลดีทางรูปธรรม และอย่างที่ ๒ คือผลดีทางนามธรรม

มนุษย์คนแรกที่หาอะไรมาคลุมหัว แกคงไม่ได้คิดลึกซึ้งไปถึงข้อ ๒ คงหยุดอยู่แค่ข้อ ๑ ว่า ถ้าเอาใบไม้ปิดหัว หัวก็เปียกฝนน้อยกว่าไม่มีอะไรปิด      หรือในถิ่นหนาว ถ้าเอาขนสัตว์คลุมหัวไว้ได้ ก็อุ่นหัวสบายกว่าไม่มีอะไรคลุม
จุดมุ่งหมายของหมวกหรือเครื่องคลุมศีรษะคงมีแค่นี้ในยุคแรกๆ ที่สังคมมนุษย์ยังเรียบง่ายเกือบจะเท่าสัตว์โลกชนิดอื่น  จนกระทั่งสังคมซับซ้อนขึ้น     หมวกจึงมีบทบาทพัฒนามาถึงข้อ ๒
บันทึกการเข้า
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 06 ก.ย. 06, 22:13

 ขออภัย หายไปนานมาก ....
งานแยะครับ และงส่วนก็ไม่สนุก ถ้าจะให้ผมบ่นก็คงจะบ่นได้ว่าหนักหัวจริงๆ และรำคาญใครหรืออะไรบางอย่างมากๆ แต่เดี๋ยวจะกลายเป็นการคุยเรื่องการเมืองไป เพราะฉะนั้นผมจะหยุดบ่น
ดีกว่า
เข้าประเด็นกระทู้นะครับ

ถ้าคุณครูเทาชมพูย้อนไกลไปถึงมนุษย์ก่อน ปวศ. ผมก็เห็นจะต้องรับฟังอย่างเดียวเลย เพราะเกิดไม่ทันครับ แต่มีข้อสังเกตว่า ลิงใหญ่บางชนิดในสมัยนี้ ก็รู้จักหักเอาใบไม้มาปิดหัวกันฝนเหมือนกัน ลิงที่ว่านี่ไม่ได้เป็นบรรพบุรุษของคน เป็นแต่เพียงญาติของคน คือคนไม่ได้วิวัฒนาการมาจากลิง แต่ทั้งคนทั้งลิง (ปัจจุบัน) มีบรรพชนร่วมกัน แต่แยกสายวิวัฒน์ไปคนละทาง

ถ้าถืออนุโลมตามพฤติกรรมของลิงเอปบางประเภท ก็สงสัยว่ามนุษย์จะรู้จักเอาอะไรดปะปิดหัวมานานมากแล้วตั้งแต่ยังไม่เป็นมนุษย์ ยังเป็นกึ่งๆ วานรอยุ่ด้วยซ้ำครับ
บันทึกการเข้า
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 06 ก.ย. 06, 22:17


ตัดข้ามเวลาพรวดมากี่แสนล้านปีก้ไม่รู้ แต่ว่าตอนนั้นเข้ายุคประวัติศาสตร์แล้ว คือเมื่อ 800 ปีมานี้เอง

ขณะนั้น เจงกีสข่านเพิ่งรวบรวมเผ่ามงโกลต่างๆ ตั้งเป็นอาณาจักรมองโกลเดียวกันได้สำเร็จ ก่อนยุคพ่อขุนรามของเราไม่ถึงร้อยปี

เผอิญผมเพิ่งไปมองโกเลียไปร่วมฉลอง 800 ปี แห่งการตั้งประเทศเขา จึงขออนุญาตเอารูปหมวกมองโกลมาฝากครับ

รูปแรก เจงกีสข่านเอง บนยี่ห้อวอดก้า ใส่หมวกขนสัตว์กันหนาว
บันทึกการเข้า
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 06 ก.ย. 06, 22:19


นางแบบมงโกลที่โชว์ขวดก็ใส่หมวกแบบสตรีครับ
ถัดไป สารพันหมวกในพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์มองโกเลีย แบบหมวกเหล่านี้จะเก่าแก่เท่าไหร่ผมก็ไม่ทราบ แต่คิดว่าไม่เก่ามากกว่าพันปีไปได้
บันทึกการเข้า
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 06 ก.ย. 06, 22:20


อีกใบครับ
บันทึกการเข้า
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 06 ก.ย. 06, 22:21


เอ๊ะ แปะไม่ติด - ลองใหม่
บันทึกการเข้า
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 06 ก.ย. 06, 22:22


อีกใบหนึ่งครับ ใบนี้สวย เป็นหมวกกำมะหยี่เบาๆ ของผู้หญิงใส่หน้าร้อน ปักขนนกฮูก
บันทึกการเข้า
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 06 ก.ย. 06, 22:24


หมวกมองโกล ใบสุดท้ายครับ
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 06 ก.ย. 06, 23:32

เครื่องหนักกระบาลนี่ น่าจะแบ่งเป็น 2 สาขานะครับ
1 คือพวกที่ไม่ใส่ กระบาลจะหนักยิ่งกว่า คือต้องหามาปกปิดเพราะเหตุจำเป็นทางกายภาพมันบังคับ เช่นกันเปียก หรือกันเลือดโชก
2 พวกที่ใส่ให้หนักกระบาลอย่างเดียว ประเภทนาโปเลยองไงครับ

ใช้คำว่ากระบาลเพราะรู้สึกว่าตรงกว่าหัว
ตีกระบาลนี่ ถ้าโดนท้ายทอยคงต้องถือว่าตีผิด
แต่ถ้าดักตีหัวนี่ ตามสะบายครับ คุณนิลเล็งไอ้ตัวน่าหมั่นไส้แถวๆนั้น ฟาดเข้าไปตรงไหนก็ได้ ขอให้เลยคอขึ้นมา น่าจะถือว่าตีหัว

ขอต้อนรับคุณนิลกลับบ้านครับ หายไปนาน โชคดียังจำทางกลับเรือนได้...5555
บันทึกการเข้า
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 07 ก.ย. 06, 03:33

 มากราบสวัสดี คุณเทาชมพูครับ

เรื่อง "หมวก" นี่น่าสนใจครับ ผมลองให้ในพจนานุกรมคำตระกูลไท-กะได  ( http://starling.rinet.ru/cgi-bin/response.cgi?root=config&morpho=0&basename=data   haizhtaet&first=581  ) ก็ไม่พบ

ไม่รู้ว่าจะเป็นมอญ-เขมร ได้หรือไม่ ฮืม

เรื่องภาพบุคคลสวมหมวกในภาพวาดก่อนประวัติศาสตร์นี่ มีอยู่เกือบทุกแห่งบนโลกเลยครับ แม้แต่ของไทยเองก็มี แต่เรามักจะเรียกว่า "เครื่องประดับศีรษะ" เพราะภาพพวกนี้ มักไม่ชัดเจน แต่ก็ถือได้ว่า เป็นหมวกประเภทหนึ่ง

แต่อย่างไรก็ตาม ก็จะมีคำถามตามขึ้นมาอีกว่า "หมวก" ที่ว่านี้ มีหน้าที่อย่างไรในสังคมก่อนประวัติศาสตร์ ?

เป็นที่น่าสังเกตอย่างหนึ่งว่า "หมวก" มักจะมีการใช้กันแพร่หลายในกลุ่มประเทศที่มีอากาศหนาวเย็น ซึ่งนอกจากจะทำให้ที่ให้ความอบอุ่นให้กับหัวแล้ว ยังเป็นเครื่องประดับอีกด้วย

สำหรับกลุ่มประเทศร้อนๆ อย่างบ้านเราก็มีหมวก แต่มีวัตถุประสงค์เพื่อกันความร้อน โดยเฉพาะชาวนา ชาวไร่ ที่ต้องสู้แดดกันทั้งวัน ดังนั้น หมวกของชาวนาจึงไม่ได้เป็นเรื่องประดับแต่อย่างใด เพราะ ถ้าใส่กันร้อนๆ ไม่ถอดทั้งวัน ขี้กลากขึ้นหัวแน่ๆ ครับ อิอิ

---------------------------------------------------------

"เครื่องประดับศีรษะ" กับ "หมวก" อันนี้ มีความเหมือนในความแตกต่างครับ ภาพก่อนประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่จะถูกตีความว่า เป็น หมวก ที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องประดับศีรษะ เพื่อบ่งบอกสถานภาพทางสังคม และเพื่อการประกอบพิธีธรรมของเผ่า

ดังนั้น เราจะพบได้ว่า "หมวก" มีหน้าที่หลักๆ อยู่ ๓ ประการครับ

๑. เป็นอุปกรณ์ป้องกันแดด ป้องกันความหนาวเย็น (เราเรียก หมวก)
๒. เป็นอุปกรณ์แสดงสถานภาพทางสังคม (ถ้าเป็นหมวกที่แสดงสถานภาพความเป็นพระราชา เราเรียกมงกุฎ หรือ อย่างพวกขุนนางจีนสมัยแมนจูก็สวมหมวก ไทยเองก็พวกขุนนางสมัยอยุธยาก็สวมหมวกครับ)
๓. เป็นอุปกรณ์แสดงความโก้เก๋ (Fashion) กรณีนี้อาจเข้ากับกระแส "ทั่นผู้นำ" ที่พยายามจะทำให้ "หมวก" เป็นสัญลักษณ์ของความเจริญแบบฝรั่ง (ทั้งๆ ที่บ้านเราร้อนกว่าบ้านฝรั่ง ! )

นี่แหละครับ เรื่องหนักหัว ที่ใครๆ ก็อยากได้
บันทึกการเข้า
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 07 ก.ย. 06, 03:46


ที่มา http://www.memoires-de-siam.com/  (ภาษาฝรั่งเศส)

ภาพโกษาปาน สวมหมวกขุนนางแบบอยุธยาครับ
บันทึกการเข้า
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 07 ก.ย. 06, 04:05


ที่มา http://www.memoires-de-siam.com/  (ภาษาฝรั่งเศส)

ภาพออกขุนชำนาญ "ทูตเรือแตก" สวมหมวกเก๋ไก๋ จำเรื่องราวของท่านไม่ได้แล้วครับ จำได้ว่าท่านเรือแตกแถวๆ อาฟริกาใต้ หรือไงนี่แหละครับ ต้องกินรองเท้าหนังต่างข้าว ใครจำได้ช่วยเล่าด้วยนะครับ (ตั้งกระทู้ใหม่ก็ได้ครับ)
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 7
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.046 วินาที กับ 21 คำสั่ง