เรือนไทย

General Category => ทันกระแส => ข้อความที่เริ่มโดย: เทาชมพู ที่ 23 พ.ค. 22, 10:23



กระทู้: ฝีดาษลิง : พึงตระหนักแต่อย่าตระหนก
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 23 พ.ค. 22, 10:23
เพิ่งมีกำลังใจว่าโควิดกำลังลดลงเรื่อยๆ   ก็มาใจฝ่อกับไวรัสตัวใหม่ ฝีดาษลิง

ชวนรู้จัก! โรคฝีดาษลิง ติดจากสัตว์สู่คน หลังอังกฤษผวาหนัก เจอผู้ติดเชื้อ 7 ราย
https://www.khaosod.co.th/lifestyle/news_7056644

คุณเพ็ญชมพูจะมีคำแนะนำอะไรไหมคะ ในของฝากจากน้องจ๋อคราวนี้


กระทู้: ฝีดาษลิง : พึงตระหนักแต่อย่าตระหนก
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 23 พ.ค. 22, 10:53
คุณเพ็ญชมพูจะมีคำแนะนำอะไรไหมคะ ในของฝากจากน้องจ๋อคราวนี้

พึงตระหนัก แต่อย่าตระหนก ;D


กระทู้: ฝีดาษลิง : พึงตระหนักแต่อย่าตระหนก
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 24 พ.ค. 22, 08:35
;D


กระทู้: ฝีดาษลิง : พึงตระหนักแต่อย่าตระหนก
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 26 พ.ค. 22, 08:35
ขออนุญาตเสนอแนะ

หากแยกกระทู้ตั้งแต่ความคิดเห็นที่ ๒๖๒ เป็นกระทู้ใหม่ในชื่อ "ฝีดาษลิง : พึงตระหนักแต่อย่าตระหนก" หรือชื่ออื่นที่เหมาะสม น่าจะเป็นประโยชน์ ทำให้มีคนเห็นและให้ข้อมูลได้มากขึ้น

https://youtu.be/h6X60H4YwHE


กระทู้: ฝีดาษลิง : พึงตระหนักแต่อย่าตระหนก
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 26 พ.ค. 22, 10:07
https://www.youtube.com/watch?v=CKbxR-d9IF8&t=195s


กระทู้: ฝีดาษลิง : พึงตระหนักแต่อย่าตระหนก
เริ่มกระทู้โดย: CVT ที่ 26 พ.ค. 22, 15:20
(https://idthai.org/2015/files_upload/images/%E0%B8%9D%E0%B8%B5%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A3-1%20%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B9%87%E0%B8%9A.jpg)


กระทู้: ฝีดาษลิง : พึงตระหนักแต่อย่าตระหนก
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 26 พ.ค. 22, 15:58
ช่วยคุณหมอ CVT จัดการกับขนาดของแถลงการณ์ เรื่องโรคฝีดาษวานร*จาก ๕ องค์กรวิชาชีพ

* เป็นชื่อที่ศาสตราจารย์นายแพทย์ประเสริฐ ทองเจริญ ตั้งเพื่อใช้เรียกชื่อโรคนี้

จาก เว็บไซต์สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย (https://www.idthai.org/Contents/Views/?d=DTPA!8!4!!828!uQvdErz4)

(https://idthai.org/2015/files_upload/images/%E0%B8%9D%E0%B8%B5%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A3-1%20%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B9%87%E0%B8%9A.jpg)
(https://idthai.org/2015/files_upload/images/%E0%B8%9D%E0%B8%B5%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A3-2%20%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B9%87%E0%B8%9A.jpg)

ลดขนาดแถลงการณ์ลง น่าจะอ่านได้สะดวกขึ้น ;D


กระทู้: ฝีดาษลิง : พึงตระหนักแต่อย่าตระหนก
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 27 พ.ค. 22, 08:04
กรมควบคุมโรค เตือน อย่าแชร์ข้อมูลเท็จ พบฝีดาษลิงที่เกาะช้าง ตรวจสอบแล้ว เป็นโรคมาลาเรีย ด้าน "อนุทิน" หารือ ผอ.ใหญ่ WHO ขอสนับสนุนวัคซีนฝีดาษคน

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานข่าว จากที่มีการแชร์ "พบฝีดาษลิงที่เกาะช้าง" ตรวจสอบแล้ว พบว่าข้อมูลดังกล่าวเป็นข้อมูลเท็จ ความจริงคือ ข่าวการพบโรคมาลาเรีย ที่เกาะช้าง ซึ่งโรคดังกล่าว มีส่วนที่ลิงกับยุงเป็นพาหะ ไม่ใช่โรคฝีดาษลิงแต่อย่างใด

ด้านนายอนุทิน ชาญวีรกุล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งล่าสุดได้มีการหารือกับผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก (WHO) ขอสนับสนุนวัคซีนฝีดาษคน เพื่อเตรียมการรองรับกรณีมีการแพร่ระบาดของโรคฝีดาษวานร เนื่องจากประเทศไทยมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามามากขึ้น เผย ไทยเป็นแกนหลักของ WHO Biohub และได้ลงนามร่วมองค์การอนามัยโลก เพื่อแบ่งปันเชื้อโควิด - 19

อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการวิชาการภายใต้คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ มีมติให้โรคฝีดาษวานรเป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังแล้ว ซึ่งประเทศไทยยังไม่มีผู้ป่วยหรือผู้ป่วยต้องสงสัยเดินทางเข้ามา แต่เนื่องจากมีนักท่องเที่ยวเริ่มเดินทางเข้าประเทศเพิ่มมากขึ้น จึงมีการเตรียมพร้อมเฝ้าระวังคัดกรองโรคในผู้ที่เดินทางมาจากประเทศที่มีการแพร่ระบาด โดยในการเข้าพบนายเท็ดรอส ได้มีการหารือเพื่อขอรับการสนับสนุนเรื่องวัคซีนฝีดาษคน (Smallpox)จากในการประชุมสมัชชาอนามัยโลก (WHA) สมัยที่ 75 ที่นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคมที่ผ่านมา นายอนุทินและผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข ได้เข้าพบเพื่อแสดงความยินดีกับนายเท็ดรอส อัดฮานอม เกเบรเยซุส ที่ได้รับการเลือกตั้งเป็นผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก(Director-General) อีกหนึ่งวาระ และชื่นชมผลงานของนายเท็ดรอส รวมถึงทีมงานจากองค์การอนามัยโลกที่เดินทางมาประเทศไทย เมื่อเดือนเมษายน 2565 เพื่อทำการประเมินความพร้อมกรณีภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขและสุขภาพถ้วนหน้า (Universal Preparedness Review) ทำให้ประเทศไทยได้ถอดบทเรียนและแบ่งปันประสบการณ์การดำเนินงานแก่ประเทศสมาชิกองค์การอนามัยโลกในการประชุมครั้งนี้

https://www.thansettakij.com/general-news/526440


กระทู้: ฝีดาษลิง : พึงตระหนักแต่อย่าตระหนก
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 27 พ.ค. 22, 09:04
สถานการณ์การระบาดของโรคฝีดาษลิงทั่วโลก ณ วันที่ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๖๕


กระทู้: ฝีดาษลิง : พึงตระหนักแต่อย่าตระหนก
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 27 พ.ค. 22, 10:35
กลัวฝีดาษลิง แต่อย่ากลัวลิงจนเกินเหตุ❗️

ฝีดาษลิงที่ติดในมนุษย์ส่วนใหญ่เกือบทั้งหมดไม่ได้ติดจากลิง ลิงอาจเป็นเพียงสัตว์ป่วยจากการถูกสัตว์ฟันแทะมากัด แต่ขณะนี้ได้เกิดความเข้าใจผิด ๆ ส่งผลต่อการอยู่อาศัยของลิงในประเทศไทย เพราะถูกคนบางส่วนรังเกียจ

สัตวแพทย์หญิงจุฑามาศ สุพะนาม หรือ หมอเตย ผู้อุทิศตนคอยช่วยเหลือดูแลลิง ศาลพระกาฬ จังหวัดลพบุรี มานานกว่า ๒๐ ปี ได้เล่าว่า จากข่าวการระบาดของฝีดาษลิง ทำให้ชาวบ้านในพื้นที่รู้สึกหวั่นไหว มีการไล่ต้อนลิงที่มาเกาะหน้าต่างตามที่อยู่อาศัย ได้ส่งผลกระทบค่อนข้างมากต่อลิงที่อยู่คู่กับลพบุรีมานาน

"อยากบอกว่าลิงไม่ใช่สัตว์ที่เป็นสาเหตุของเชื้อโรคกลุ่มนี้ อย่าโทษลิง และการพบเชื้อไวรัสนี้ครั้งแรกในลิง อาจถูกหนูกัด หรือกระต่ายที่ปนเปื้อนเชื้อนี้กัด เลยสรุปกันไปก่อนและตั้งชื่อฝีดาษลิง อย่าให้ความผิดตรงนี้ไปอยู่ที่ลิงเลย เพราะแทบทุกวันนี้ลิงก็ใช้ชีวิตลำบาก ต้องไปอาศัยตามตึกเพื่อหลบแดด และขณะนี้หลายตึกทยอยขึงลวด ไม่ให้ลิงเข้าไปทำลายทรัพย์สิน แต่พอเกิดฝีดาษลิง จนลิงเดือดร้อนหนัก กลายเป็นจำเลยไปทั่วโลก ไม่ใช่เฉพาะไทย ทำให้ลิงไม่มีที่นอนที่กิน และภาครัฐของไทย ไม่เคยสร้างที่อยู่พาลิงเข้าไปอยู่ในที่ปลอดภัย มีอาหารและน้ำให้ ปล่อยให้ทุกวันนี้เป็นลิงเร่ร่อน บางตัวโชคร้ายถูกรถชนอัดกำแพง อยากให้มองลิงเป็นสัตว์น่ารัก ได้รับความเมตตา ไม่อยากให้ลิงถูกมองเป็นผู้ร้าย"

จาก ไทยรัฐ (https://www.thairath.co.th/scoop/theissue/2403075)


กระทู้: ฝีดาษลิง : พึงตระหนักแต่อย่าตระหนก
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 27 พ.ค. 22, 13:29
ฝีดาษวานรกำลังโจมตีกลุ่มความหลากหลายทางเพศ

การระบาดของฝีดาษวานรหรือฝีดาษลิงกำลังถูกจับตามากขึ้น   ไม่ใช่แค่ในฐานะของภัยคุกคามด้านสาธารณสุขครั้งใหญ่เท่านั้น แต่ยังเป็นเพราะการที่มันเป็นโรคที่เสี่ยงติดเชื้อได้ในกลุ่มความหลากหลายทางเพศโดยเฉพาะเกย์และไบเซ็กชวล

นั่นก็เพราะการระบาดครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่มีการพบการแพร่ระบาดในชุมชนนอกแอฟริกา และพบผู้ป่วยรายแรกในและการแพร่กระจายระหว่างชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย (MSM) และเคสส่วนใหญ่อยู่ในชายหนุ่มที่ระบุตัวเองว่าเป็นชายรักชาย โดยเป็นการแพร่เชื้อระหว่างคู่นอน อันเนื่องมาจากการสัมผัสใกล้ชิดระหว่างมีเพศสัมพันธ์และเกิดรอยแผบที่ผิวหนังจนติดเชื้อโรค น่าจะเป็นรูปแบบการแพร่เชื้อในกลุ่มชายรักชาย

อ่านต่อได้ที่นี่ค่ะ.

https://www.hfocus.org/content/2022/05/25175


กระทู้: ฝีดาษลิง : พึงตระหนักแต่อย่าตระหนก
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 28 พ.ค. 22, 10:16
กลัวฝีดาษลิง แต่อย่ากลัวลิงจนเกินเหตุ❗️

https://youtu.be/BEXRPv_AFQM


กระทู้: ฝีดาษลิง : พึงตระหนักแต่อย่าตระหนก
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 28 พ.ค. 22, 10:35
สัตว์ที่ควรระวังในกรณีมีการระบาดของโรคฝีดาษลิงคือ สัตว์พวกพวกฟันแทะที่เป็นสัตว์เลี้ยงเช่นหนูตะเภาและแฮมสเตอร์ รวมทั้งที่ไม่ได้เลี้ยงเช่นหนูที่อยู่ตามท่อระบายน้ำทั้งหลาย ‼️

ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งสหภาพยุโรป (European Centre for Disease Prevention and Control - ECDC) ได้ออกมาเตือนให้ผู้ป่วยฝีดาษลิงต้องแยกห่างจากสัตว์เลี้ยงประเภทสัตว์ฟันแทะ ของตัวเอง หรือ ในกรณีที่แย่ที่สุดต้องทำลายสัตว์เลี้ยงนั้น

สัตว์เลี้ยงประเภทสัตว์ฟันแทะของผู้ป่วยควรต้องถูกกักตัวในห้องทดลองของรัฐ แต่ถ้าการเฝ้าระวังและกักตัวไม่สามารถทำได้ จำเป็นต้องพิจารณาการทำลายสัตว์เลี้ยงนั้น ๆ เนื่องจากสัตว์ฟันแทะสามารถติดโรคฝีดาษลิงได้ จึงต้องป้องกันไม่ให้กลายเป็นพาหะแพร่เชื้อไปทั่วยุโรป

สัตว์เลี้ยงประเภทสุนัขและแมวมีโอกาสติดเชื้อต่ำกว่าสัตว์ฟันแทะ สามารถอยู่ร่วมกับผู้ป่วยได้แต่ต้องเว้นระยะห่างและเลี่ยงการสัมผัสให้มากที่สุด

ภาพจาก The Telegraph (https://www.telegraph.co.uk/global-health/science-and-disease/pet-hamsters-belonging-monkeypox-patients-should-isolated-killed/)


กระทู้: ฝีดาษลิง : พึงตระหนักแต่อย่าตระหนก
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 29 พ.ค. 22, 15:35
‘หมอยง’เผย‘ฝีดาษวานร’ ป้องกันได้ด้วย‘วัคซีน’ ไม่เริ่มต้นจากศูนย์
วันอาทิตย์ ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2565, 10.31 น.

‘หมอยง’เผย‘ฝีดาษวานร’ ป้องกันได้ด้วย‘วัคซีน’ ไม่เริ่มต้นจากศูนย์

29 พฤษภาคม 2565 ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก Yong Poovorawan หัวข้อ “ฝีดาษวานร ป้องกันได้ด้วยวัคซีน” มีเนื้อหาดังนี้

ยง ภู่วรวรรณ 29 พฤษภาคม 2565

ไข้ทรพิษหรือฝีดาษ รวมทั้งฝีดาษวานร สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน

ไวรัสในกลุ่มฝีดาษ ไข้ทรพิษ และ ฝีดาษวานร มีส่วนคล้ายคลึงกันมาก ในกลุ่มฝีดาษ ระบบภูมิคุ้มกันข้ามมาป้องกัน ซึ่งกันและกัน
สมัยเอ็ดเวิร์ด เจนเนอร์ ที่ใช้ฝีดาษวัว (Vaccinia) มาปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษ เมื่อกว่า 200 ปีที่แล้ว และประสบผลสำเร็จ จนในที่สุด โรคไข้ทรพิษ ได้หายไปจนหมดสิ้น องค์การอนามัยโลกยกเลิกการปลูกฝีอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ.2523 หลายประเทศยกเลิกก่อนหน้านั้น

ในปัจจุบันมีการพัฒนาวัคซีนให้ดีขึ้น (ใช้ Vaccinia Ankara strain) แทนการปลูกฝี เป็นไวรัสเชื้อเป็นที่ถูกทำให้อ่อนฤทธิ์และไม่แบ่งตัว มาใช้วิธีการฉีดเข้าใต้ผิวหนัง โดยไม่เกิดอาการตุ่มหนองฝี มีอาการแทรกซ้อนน้อยกว่าวิธีการปลูกฝี

ปัจจุบันวัคซีนได้อนุมัติใช้ทางประเทศตะวันตก ยุโรปและอเมริกา

โรคฝีดาษวานร วัคซีนที่ใช้ในการป้องกันก็ไม่ได้เริ่มต้นมาจากศูนย์ แบบการพัฒนาวัคซีนป้องกัน covid 19”

https://www.naewna.com/local/656732


กระทู้: ฝีดาษลิง : พึงตระหนักแต่อย่าตระหนก
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 30 พ.ค. 22, 16:16
ติดตาม 12 รายสัมผัสผู้ป่วย "ฝีดาษลิง" ต่อเครื่องไปออสเตรเลีย ไม่มีอาการ ส่วนสอบสวน 5 รายสงสัย ยันชัดเป็นเริม

สธ.เผยผลสอบสวนโรค 3 พี่น้องชาวไอร์แลนด์ ผู้ป่วยสงสัย "ฝีดาษลิง" มีผื่นตุ่มขึ้น หลังคลุกคลีในยิมมวยที่ภูเก็ต ใช้อุปกรณ์ร่วมกัน สอบสวนโรคเจอต่างชาติอีก 2 รายมีอาการด้วย ผลตรวจแล็บเป็นเชื้อเริมทั้งหมด   ส่วนผู้ป่วยฝีดาษลิงมาทรานซิสที่ไทยก่อนไปออสเตรเลีย มีผู้สัมผัสใกล้ชิด 12 ราย แต่ไม่ใช่ผู้สัมผัสเสี่ยงสูง ติดตามอาการ 7 วัน ยังไม่มีอาการ ไปทำงานได้ตามปกติ ติดตามต่อเนื่องจนครบ 21 วัน
อ่านต่อได้ที่

https://mgronline.com/qol/detail/9650000051290


กระทู้: ฝีดาษลิง : พึงตระหนักแต่อย่าตระหนก
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 03 มิ.ย. 22, 08:50
องค์การอนามัยโลกเตือน 'ฝีดาษลิง'จะระบาดมากขึ้น ยอดพุ่งกว่า 550 คน

3 มิ.ย.65 สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า องค์การอนามัยโลกประจำยุโรป เปิดเผยข้อมูลว่า จำนวนผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงในประเทศต่างๆ ทั่วโลกที่ไม่ใช่ประเทศที่ฝีดาษลิงเป็นโรคประจำถิ่นขณะนี้เพิ่มเป็นกว่า 550 คนแล้ว ในจำนวนนี้เป็นผู้ป่วยในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป 321 คน พบอยู่ใน 12 ประเทศ นอกจากนี้ยังพบการระบาดในอังกฤษ สหรัฐฯ แคนาดา ออสเตรเลีย และอีกหลายประเทศ

องค์การอนามัยโลก ระบุว่า โรคฝีดาษลิงน่าจะเริ่มระบาดในยุโรปมาตั้งแต่ช่วงต้นเดือนเมษายน โดยโรคนี้สามารถติดต่อกันได้จากการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยจากการเข้าร่วมกิจกรรมขนาดใหญ่หรือในงานเลี้ยง ดังนั้นจึงต้องเร่งหามาตรการควบคุมโรคไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดในวงกว้าง โดยขอให้รัฐบาลและหน่วยงานด้านการแพทย์ของประเทศต่างๆ เร่งดำเนินการแยกตัวผู้ป่วยและสืบหาผู้สัมผัสใกล้ชิด รวมทั้งเตรียมความพร้อมด้านสาธารณสุขให้เร็วที่สุด เพราะในช่วงอีกไม่กี่เดือนข้างหน้าจะมีงานเทศกาลและกิจกรรมขนาดใหญ่หลายงานในยุโรปซึ่งจะทำให้เกิดการแพร่เชื้อได้ง่ายขึ้น พร้อมกันนี้ก็ขอให้ผู้จัดงานแจ้งเตือนให้ผู้มาร่วมงานระมัดระวังความเสี่ยงจากการติดเชื้อด้วย

https://www.naewna.com/inter/657886


กระทู้: ฝีดาษลิง : พึงตระหนักแต่อย่าตระหนก
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 06 มิ.ย. 22, 16:37
จาก FB  ของคุณหมอ Yong Poovorawan

ฝีดาษวานร จำนวนผู้ป่วยทั่วโลกยังเพิ่มมากขึ้น
ยง ภู่วรวรรณ   6 มิถุนายน 2565

ผู้ป่วยฝีดาษวานร ยังมีแนวโน้มพุ่งสูงขึ้น ขณะนี้มีผู้ป่วยยืนยันแล้ว 920 คน  ในร่วม 30 ประเทศ โดยพบมากในประเทศอังกฤษ สเปน โปรตุเกส ในยุโรปและอเมริกา และยังมีผู้ต้องสงสัยอีกหลายร้อยรายที่รอการยืนยัน
ประเทศไทยมีผู้ต้องสงสัย แต่เมื่อตรวจแล้วพบว่าไม่ใช่เป็นฝีดาษวานร
เมื่อวิเคราะห์ดูจำนวนผู้ป่วย ในรายงานที่ออกมา จะบอกเพศสภาพ 290 คน ส่วนใหญ่ไม่ได้บอกเพศสภาพ
ที่รายงานเพศสภาพ ก็ยังเป็นเพศชายเกือบทั้งหมด 287 คน เพศหญิง 3 คน (www.global.health)
ยังไม่มีผู้ป่วยเสียชีวิต โรคหายได้เอง การควบคุมการระบาดในครั้งนี้ คงทำได้ยากกว่าทุกครั้ง


กระทู้: ฝีดาษลิง : พึงตระหนักแต่อย่าตระหนก
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 07 มิ.ย. 22, 11:10
คำเตือนจากหมอแล็บแพนด้า


กระทู้: ฝีดาษลิง : พึงตระหนักแต่อย่าตระหนก
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 10 มิ.ย. 22, 18:25
สถานการณ์การระบาดของโรคฝีดาษลิงทั่วโลก ณ วันที่ ๘ มิถุนายน ๒๕๖๕ ยังไม่พบผู้เสียชีวิต และยังไม่พบผู้ป่วยในไทย


กระทู้: ฝีดาษลิง : พึงตระหนักแต่อย่าตระหนก
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 11 มิ.ย. 22, 12:35
คำเตือนจากหมอแล็บแพนด้า

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=7300.0;attach=78111;image)

ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (Centers for Disease Control and Prevention - CDC) ของสหรัฐได้ตัดสินใจถอดคำแนะนำเรื่องการสวมหน้ากากอนามัยออกจากหนังสือเตือนเกี่ยวกับโรคฝีดาษลิงระหว่างการเดินทาง (Monkeypox Travel Health Notice) เพื่อหลีกเลี่ยงความสับสนเกี่ยวกับโรคฝีดาษลิงซึ่งได้รับการวินิจฉัยในเบื้องต้นว่า สามารถแพร่เชื้อผ่านการสัมผัสโดยตรง

"CDC ได้ตัดสินใจถอดคำแนะนำเรื่องการสวมหน้ากากอนามัยออกจากหนังสือ Monkeypox Travel Health Notice แล้ว เพราะอาจจะสร้างความสับสน หลังจากที่ก่อนหน้านี้ CDC แนะนำนักเดินทางว่า การสวมหน้ากากอนามัยสามารถป้องกันโรคต่าง ๆ ได้ ซึ่งรวมถึงโรคฝีดาษลิง" CDC ระบุ

เว็บไซต์ของ CDC ระบุว่า โรคฝีดาษลิงนั้นนอกจากจะแพร่ระบาดผ่านการสัมผัสโดยตรงกับแผลติดเชื้อ สะเก็ดแผล หรือของเหลวจากร่างกายแล้ว โรคนี้ยังสามารถแพร่ระบาดผ่านสารคัดหลั่งทางเดินหายใจในระหว่างที่มีการสัมผัสกันเป็นเวลานาน

https://www.reuters.com/world/us/us-cdc-removes-mask-recommendation-monkeypox-travel-notice-avoid-confusion-2022-06-07/


กระทู้: ฝีดาษลิง : พึงตระหนักแต่อย่าตระหนก
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 22 ก.ค. 22, 08:35
และแล้วฝีดาษลิงก็มาถึงเมืองไทย ‼️

เมื่อวานนี้ (๒๑ กรกฎาคม ๒๕๖๕) กรมควบคุมโรคเผยว่า ได้รับรายงานว่า พบผู้ป่วยต้องสงสัยติดเชื้อโรคฝีดาษลิงรายแรกในประเทศไทย ที่โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดภูเก็ต ก่อนจะลงพื้นที่ตรวจสอบและพบว่าติดเชื้อจริง

ผู้ป่วยรายดังกล่าว เป็นเพศชาย สัญชาติไนจีเรีย อายุ ๒๗ ปี มีประวัติเดินทางมาจากประเทศไนจีเรีย โดยเริ่มมีอาการเมื่อประมาณ ๑ สัปดาห์ก่อน นั่นคือ มีไข้ ไอ เจ็บคอ น้ำมูก มีผื่นแดง ตุ่มนูนแดง ตุ่มหนอง เริ่มจากอวัยวะเพศลามไปใบหน้า ลำตัว แขน

ทีมปฏิบัติการสอบสวนควบคุมโรค จึงเก็บตัวอย่างส่งตรวจหาเชื้อก่อโรค ซึ่งผลการตรวจพบเชื้อ Monkeypox virus จึงได้ผลสรุปว่า นี่เป็นผู้ป่วยยืนยันฝีดาษลิงที่พบในประเทศไทยเป็นครั้งแรก

ขณะเดียวกัน สถานการณ์โรคฝีดาษลิงทั่วโลก (ข้อมูลวันที่ ๑๗ กรกฎาคม ๒๕๖๕) จำนวนผู้ป่วยยืนยันทั่วโลก ๑๒,๖๐๘ ราย พบผู้ป่วยยืนยันเพิ่มขึ้นเป็น ๖๖ ประเทศ ประเทศที่มีผู้ป่วยสูง ๕ ลำดับแรก ได้แก่ สเปน ๒,๘๓๕ ราย เยอรมัน ๑,๘๕๙ ราย สหรัฐอเมริกา ๑,๘๑๓ ราย อังกฤษ ๑,๗๗๘ ราย และฝรั่งเศส ๙๐๘ ราย

จาก The MATTER (https://www.facebook.com/1721313428084052/posts/pfbid02zYZ2Zy8AhAn5GJhKRqrXpiTKey8CpJf8H3K9Seds7BMRMYMc91Rviu4Aj24u7eZFl/?d=n)

https://youtu.be/kN2FFHBP5vA


กระทู้: ฝีดาษลิง : พึงตระหนักแต่อย่าตระหนก
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 22 ก.ค. 22, 16:35
แล้วก็หลบหนีไป ทิ้งไว้แต่ความกังวลให้ผู้คน ‼️

จาก WorkpointTODAY (https://www.facebook.com/153951094974177/posts/pfbid02V291dNX7hRx5Lqma41QUSBwV7haDhp2ptJ5F7dfAJ6TX56t1xs7Gve1gqUiHMx99l/?d=n)


กระทู้: ฝีดาษลิง : พึงตระหนักแต่อย่าตระหนก
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 23 ก.ค. 22, 09:25
สงสัยว่า นายคนนี้เข้ามาอยู่ในไทยตั้งแต่ปลายปี 64  เรื่อยมาจนปัจจุบัน จนขาดวีซ่า   แล้วไปติดฝีดาษลิงตอนไหน 
อาการแสดงว่าเขาเพิ่งติดมาพักหนึ่งแล้ว    ติดจากใคร แสดงว่าต้นตอต้องมีอยู่ในไทย
คนที่เขาแพร่เชื้อให้   ป่านนี้ไปแพร่เชื้อให้คนในครอบครัว หรือเพื่อนร่วมห้อง กี่คนแล้ว
ล้วนแต่คำถามชวนให้กังวลหนักขึ้นไปอีกค่ะ

 


กระทู้: ฝีดาษลิง : พึงตระหนักแต่อย่าตระหนก
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 24 ก.ค. 22, 08:35
องค์การอนามัยโลกประกาศให้การระบาดของโรคฝีดาษลิง เป็นสถานการณ์ฉุกเฉินทางสาธารณสุขแล้ว❗️

ดร.เท็ดรอส อัดฮานอม กีบรีเยซุส ผู้อำนวยการใหญ่ขององค์การอนามัยโลก (WHO) เปิดเผยผลการประชุมคณะกรรมการฉุกเฉินภายใต้การจัดการด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศเกี่ยวกับโรคฝีดาษลิง (monkeypox) ในการประเมินว่าการระบาดครั้งนี้เป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศหรือไม่

แม้ทางคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญไม่ได้มีมติเป็นเอกฉันท์ โดยผู้ที่เห็นชอบให้ประกาศมีเพียง ๖ เสียง ซึ่งเป็นเสียงส่วนน้อย ขณะที่ผู้คัดค้านมี ๙ เสียง แต่สุดท้ายแล้วทาง WHO ตัดสินใจประกาศให้โรคฝีดาษลิงเป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นคำเตือนระดับสูงสุด

ปกติแล้ว ทางผู้อำนวยการ WHO มักจะอิงการตัดสินใจตามเสียงของคณะกรรมการเป็นหลัก แต่ครั้งนี้ทางแหล่งข่าวของสำนักข่าวรอยเตอร์สอ้างว่าเขาตัดสินใจประกาศภาวะฉุกเฉินระดับสูงสุด เนื่องจากมีความกังวลเกี่ยวกับจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้น และยังไม่มีวัคซีนหรือยารักษาเพียงพอ จึงทำให้ทาง WHO ตัดสินใจประกาศสวนทางกับมติส่วนใหญ่

ที่ผ่านมา โรคที่เคยจัดว่าเข้าข่ายภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศได้แก่ โรคไข้หวัดหมู โรคโปลิโอ โรคอีโบลา โรคไข้ซิกา และโรคโควิด-๑๙

โดยโรคที่กล่าวมาข้างต้นนี้จัดว่าเป็นเหตุการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุข ที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อประเทศอื่น ๆ จากการแพร่ระบาดระหว่างประเทศและต้องอาศัยความร่วมมือจากนานาประเทศในการรับมือกับเหตุการณ์นั้น

ปัจจุบันมีการพบผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงทั่วโลกกว่า ๑๖,๐๐๐ ราย และเสียชีวิต ๕ รายใน ๗๕ ประเทศ

จาก WorkpointTODAY (https://www.facebook.com/153951094974177/posts/pfbid0Y4jXQ1k9pd1nLdFj29tYK6jKoXy39RHc6gXCVSk4CE1sbErWJs63ySWovtwjFxmYl/?d=n)

https://youtu.be/z6eqwZKo8G0


กระทู้: ฝีดาษลิง : พึงตระหนักแต่อย่าตระหนก
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 24 ก.ค. 22, 08:44
ผู้ป่วยฝีดาษลิง  ออกนอกประเทศไทยไปแล้ว

เปิดเส้นทางหลบหนี ผู้ป่วยฝีดาษลิง ชาวไนจีเรีย ออกจากไทยแล้ว ผ่านทางอรัญประเทศ

จากกรณีพบผู้ติดไวรัสฝีดาษลิงรายแรกที่ จ.ภูเก็ต เป็นชายชาวไนจีเรีย อายุ 27 ปี เดินทางเข้ามาทาง ตม.ทอ.สุวรรณภูมิ เมื่อวันที่ 21 ต.ค. 64 โดยแจ้งว่าจะเดินทางไปมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งที่จังหวัดเชียงใหม่ แต่เดินทางเข้าจังหวัดภูเก็ต เข้าพบเเพทย์ที่ รพ.กรุงเทพภูเก็ต เพราะอาการมีตุ่มหนองขึ้นตามผิวหนังเมื่อวันที่ 16 ก.ค. 65 เเละได้กลับไปยังที่พัก พื้นที่ อ.กะทู้ จ.ภูเก็ต

ต่อมา​ รพ. ได้ส่งตัวอย่างเชื้อไปตรวจยืนยันผลถึงสองครั้งใน​ รพ.จุฬา และ จากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ฯ ก่อนประสานจะเข้ามารับการรักษาที่​ รพ. แต่ไม่ยอมมาตามนัด และติดต่อไม่ได้ตามที่เสนอข่าวไปนั้น

เจ้าหน้าที่ได้แกะรอยวงจรปิดโดยรอบ และสอบปากคำพยานแวดล้อม รวบรวมพยานหลักฐานจนเชื่อได้ว่า ชายคนดังกล่าวได้หลบหนีออกนอกประเทศไทยผ่านช่องทางธรรมชาติ ไปยังประเทศเพื่อนบ้านทางแถบภาคตะวันออกแล้ว

ช่นเดียวกันกับคำยืนยันจาก นายอนุทิน ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ที่แจ้งเมื่อช่วงค่ำวานนี้ ( 22 ก.ค.) ว่า ผู้ติดเชื้อฝีดาษลิง ได้เดินทางออกจากภูเก็ตไปแล้ว จากการตรวจสอบสัญญาณโทรศัพท์ พบพิกัดสุดท้ายอยู่ที่จังหวัดสระแก้ว คาดว่า ผู้ป่วยหลบออกทางชายแดนแล้ว โดยจะมีการประสานประเทศเพื่อนบ้านให้ได้ทราบต่อไป

ต่อมา เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา จ.สระแก้ว นำภาพพิกัดการเดินทางของผู้ป่วยชาวไนจีเรียคนดังกล่าว ซึ่งมาโผล่ที่บ้านคลองลึก จ.สระแก้ว และมีรายงานจากตำรวจว่า พบความเคลื่อนไหวอยู่แถวพื้นที่คลองลึก อ.อรัญประเทศ เตรียมหลบหนีออกนอกประเทศผ่านช่องทางธรรมชาติ

โดยพบว่า มีการใช้เส้นทางถนนสายใหม่ มุ่งหน้าสะพานมิตรภาพไทย-กัมพูชา หรือ สะพานหนองเอี่ยน-สตรึงบท ซึ่งยังไม่มีการเปิดใช้สะพานอย่างเป็นทางการ แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าถนนทางหลวงหมายเลข 3511 เดินเข้าช่องทางธรรมชาติบริเวณใต้สะพานและว่ายน้ำข้ามไปยังฝั่งประเทศกัมพูชา ช่วงเวลาประมาณ 19.00-20.00 น. ของเมื่อวันที่ 21 ก.ค. ก่อนจะมีคนรับตัวเดินทางต่อไปมุ่งหน้าไปยังเมืองสีหนุวิวล์ ประเทศกัมพูชา

https://www.sanook.com/news/8596530/


กระทู้: ฝีดาษลิง : พึงตระหนักแต่อย่าตระหนก
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 24 ก.ค. 22, 08:47
ตำรวจกัมพูชา รวบตัวชาวไนจีเรียป่วย 'ฝีดาษลิง' หลบหนีการรักษา

23 ก.ค.2565 - เพจเฟซบุ๊ก ที่นี่ภูเก็ต โพสต์ภาพและข้อความว่า ตำรวจกัมพูชา รวบตัวชายไนจีเรีย ผู้ป่วย ‘ฝีดาษลิง’ รายแรกของไทย หลบหนีการรักษา พบหนีไปอยู่อพาทเม้นต์ในกรุงพนมเปญ

กรณี ชายชาวไนจีเรียที่ติดเชื้อฝีดาษลิง หรือฝีดาษวานร อยู่จังหวัดภูเก็ต จากนั้นเมื่อยืนผลพบเชื้อ แต่ไม่สามารถติดต่อได้ ก่อนพบว่าหลบหนีการรักษาไปประเทศกัมพูชา เมื่อวันที่ 22 กค 65 นั้น

ช่วงเย็นวันนี้(23 กค 65) ผู้ตำรวจกัมพูชา รวบตัว Mr.OSMOND CHIHAZIRIM NZEREM ชาวไนจีเรีย โดย นาย Keut Chhe ผู้ว่าฯ กรุงพนมเปญ ยืนยันจับได้บริเวณตลาด “Doeum Thkov” ในกรุงพนมเปญ เมื่อช่วงย็นที่ผ่านมา

พล.ต.ต อาชยน ไกรทอง รองผู้บัญชาการตำรวจตรวจคนเข้าเมืองระบุว่า ขั้นตอนขณะนี้ อยู่ในส่วนของทางการกัมพูชา หลังจากจับกุมได้ ก็นำตัวชายชาวไนจีเรียเข้าสู่ระบบการคัดกรองและรักษาที่โรงพยาบาลในกรุงพนมเปญ

ส่วนขั้นตอนประสานส่งกลับไทยหรือไม่นั้น อยู่ระหว่างการตรวจสอบข้อมูล

https://www.thaipost.net/district-news/186517/


กระทู้: ฝีดาษลิง : พึงตระหนักแต่อย่าตระหนก
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 24 ก.ค. 22, 08:50
;D

https://youtu.be/YEVBXJ0Co3w


กระทู้: ฝีดาษลิง : พึงตระหนักแต่อย่าตระหนก
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 25 ก.ค. 22, 08:35
สรุปอาการของฝีดาษลิงจาก ๑๖ ประเทศทั่วโลก

Thornhill JP และคณะได้เผยแพร่ ผลการศึกษาอาการฝีดาษลิง ในผู้ป่วย ๕๒๘ คนจาก ๑๖ ประเทศทั่วโลก ตั้งแต่เมษายนถึงมิถุนายน ๒๐๒๒ (https://www.nejm.org/doi/pdf/10.1056/NEJMoa2207323) ตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ระดับโลก New England Journal of Medicine เมื่อ ๒๑ กรกฎาคม ๒๐๒๒ ที่ผ่านมา

สาระสำคัญคือ

ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเกย์ และไบเซ็กชวล (มีเพศสัมพันธ์กับทั้งเพศชายและเพศหญิง) อายุเฉลี่ย (ค่ามัธยฐาน) ๓๘ ปี (วัยทำงาน)

๔๑% ที่ติดเชื้อเอชไอวีอยู่ด้วย
๙๕% มีประวัติที่คาดว่าติดเชื้อจากการมีเพศสัมพันธ์
๙๕% จะเกิดผื่นตามผิวหนังหลังจากติดเชื้อฝีดาษลิง โดยผื่นจะพบบริเวณทวารหนักหรืออวัยวะเพศราวสามในสี่ (๗๓%)
อาการผิดปกติอื่น ๆ ที่พบบ่อยก่อนเกิดผื่นคือ ไข้ (๖๒%) ต่อมน้ำเหลืองโต (๕๖%) อ่อนเพลีย (๔๑%) ปวดกล้ามเนื้อ (๓๑%) และปวดหัว (๒๗%)
ระยะเวลาฟักตัว (ตั้งแต่เริ่มติดเชื้อจนถึงเริ่มเกิดอาการป่วย) เฉลี่ย ๗ วัน โดยเป็นได้ตั้งแต่ ๓-๒๐ วัน

มีราวหนึ่งในสาม (๒๙%) ที่พบว่าติดเชื้อโรคทางเพศสัมพันธ์อื่นร่วมด้วย เช่น หนองใน ซิฟิลิส เริม ที่สำคัญคือ จากการตรวจน้ำอสุจิ ๓๒ คน สามารถตรวจพบสารพันธุกรรมของไวรัสฝีดาษลิงได้ถึง ๒๙ คน สามารถตรวจพบสารพันธุกรรมของไวรัสในลำคอ และจมูก ได้ถึงหนึ่งในสี่ (๒๖%) และยังตรวจพบในเลือดและปัสสาวะได้ในบางคน

ฝีดาษลิงได้รับการประกาศเป็นภาวะฉุกเฉินทางด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ โดยองค์การอนามัยโลก ประชาชนจึงจำเป็นต้องมีความรู้ ติดตามสถานการณ์ เพื่อให้รู้เท่าทัน และป้องกันตัวให้ห่างไกลจากฝีดาษลิง ระมัดระวังการสัมผัสคลุกคลีใกล้ชิดกับคนแปลกหน้า หมั่นสังเกตอาการผิดปกติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ทำงานด้านบริการ ดูแลรักษา  รวมถึงแหล่งบันเทิงท่องเที่ยวที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมทางเพศ

ด้วยสถานการณ์ปัจจุบันที่มีการเดินทางระหว่างประเทศ และการท่องเที่ยวเสรี โอกาสมีการติดเชื้อแฝงในชุมชน และแพร่ระบาดย่อมมีสูง

รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ (https://www.facebook.com/1607465964/posts/pfbid0wArMEBjhgpx24fhHpFt6AQ3bEXbVFMNPTqRc9KC5Ro9NNqbyc9DM8GRqaQs6GHDHl/?d=n)
ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


กระทู้: ฝีดาษลิง : พึงตระหนักแต่อย่าตระหนก
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 25 ก.ค. 22, 08:39
จาก  FB  อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์

(รายงานข่าว) อ.เจษฎ์ตอบชัด 'ฝีดาษลิง' ติดเชื้อง่ายๆ เพียงแค่ปัสสาวะกระเด็น จริงหรือไม่?

จากกรณี นายโอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค เผยไทยพบผู้ติดไวรัสฝีดาษลิง (Monkeypox) หรือฝีดาษวานร รายแรกที่ จ.ภูเก็ต เป็นชายชาวไนจีเรีย อายุ 27 ปี โดยผลตรวจยืนยันตั้งแต่วันอังคาร (19 ก.ค.) ทำให้ประชาชนเกิดความกังวลมากมาย โดยเฉพาะในเรื่องการแพร่กระจายเชื้อ
เหตุ โรคฝีดาษลิง (Monkeypox) หรือฝีดาษวานร เป็นโรคติดต่อจากไวรัส โดยการสัมผัสโดยตรงกับเลือด สารคัดหลั่ง หรือตุ่มหนองของสัตว์ที่ติดเชื้อ หรือถูกสัตว์ที่มีเชื้อกัดข่วน การกินเนื้อสัตว์ที่ปรุงไม่สุก และการสัมผัสผู้ป่วยผ่านทางสารคัดหลั่ง จากน้ำมูกน้ำลาย เลือด ผิวหนังที่เป็นตุ่มหนอง อุปกรณ์ที่มีการปนเปื้อนเชื้อ หรือทางปัสสาวะในห้องน้ำ อาจมีความเสี่ยง จนเกิดข้อถกเถียงมากมายว่า เพียงแค่ปัสสาวะของผู้ติดเชื้อกระเด็นใส่สามารถติดเชื้อฝีดาษลิงจริง ๆ หรือไม่
รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ โพสต์ผ่านเพจเฟซบุ๊ก อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์ ระบุชัดเจนตอบกระแสความกังวลว่า “ฝีดาษลิง ไม่ได้ติดกันง่ายๆ เพียงแค่โดนฉี่กระเด็นใส่ นะครับ”
“ตอนนี้กระแสความกังวลเรื่อง “ฝีดาษลิง” เหมือนจะไปกันใหญ่แล้วนะครับ แน่นอนว่ามันเป็นโรคที่ถ้าเป็นขึ้นมา แล้วจะดูไม่ดีเอาเสียเลยกับการมีฝีตุ่มขึ้นเต็มตัว (เหมือนสมัยที่โรคอีสุกอีใส ยังเคยระบาดในไทย) แต่มันก็ไม่ได้จะอันตรายร้ายแรงมากนัก”
“โอกาสติดโรคก็ไม่ได้จะสูงมากมายอย่างโควิดนะครับ หลักๆ จะเป็นการใกล้ชิด พูดคุย คลุกคลี ใช้สิ่งของร่วมกัน สัมผัสโดนน้ำคัดหลั่งจากผู้ติดเชื้อแล้วมาเข้าสู่บาดแผลบนตัวเรา หรือเข้าไปทางปาก จมูก ตา ให้จำนวนไวรัสเข้าไปเยอะมากเพียงพอที่จะเป็นโรค ไม่ใช่ว่าโดนผิวปุ๊บ แล้วติดโรคปั๊บ”
“ล่าสุดนี่ เห็นคนแชร์คลิปติ๊กต็อกเตือนเข้าห้องน้ำ แล้วจะติดโรคฝีดาษลิงได้ (ซึ่งจริงๆ ก็ยังไม่มีรายงานการระบาดในไทยนะ) อันเนื่องจากไปสัมผัสโดนฉี่ที่เปื้อนอยู่ตามฝารองนั่งชักโครก !? ทำเอาตกอกตกใจกันใหญ่ จะไม่กล้าเข้าห้องน้ำสาธารณะกัน กลัวติดฝีดาษลิง (ซึ่งจริงๆ ก็ควรทำความสะอาดอยู่แล้วนะ เวลาจะใช้เนี่ย)”
“ต้องขอยกนพ.โสภณ เอี่ยมศิริถาวร รองอธิบดีกรมควบคุมโรค ที่ให้สัมภาษณ์เรื่องนี้เอาไว้นะครับ ว่า “ความกังวลใจของคนในการเข้าห้องน้ำสาธารณะ เกรงว่าจะติดเชื้อฝีดาษลิง อยากให้เข้าใจว่าการปัสสาวะไม่ได้ฟุ้งกระจายมาก จนแพร่เชื้อหรือรับเชื้อได้ แต่อยู่ที่ตุ่มบริเวณอวัยวะเพศ หากแตกออกมาก็สามารถแพร่เชื้อได้จากการสัมผัสโดยตรง ไม่ใช่จากการปัสสาวะ จากความกลัวของหลายๆ คน”
พร้อมทั้งอธิบายเพิ่มเติมว่า เมื่อคนรับเชื้อเข้าสู่ร่างกาย จะมีระยะฟักตัวประมาณ 7-14 วัน หรืออาจนานถึง 21 วัน แต่สามารถควบคุมการระบาดได้ด้วยการฉีดวัคซีนไข้ทรพิษ ทำให้ประชากรในไทยที่เคยฉีดวัคซีนหรือปลูกฝี
ช่วงก่อนปี 2523 มีความเสี่ยงน้อยกว่ากลุ่มที่เกิดหลังปี 2523 ซึ่งไม่เคยได้รับการปลูกฝีมาก่อน นั่นหมายความว่า ผู้ที่เคยปลูกฝี หรืออายุประมาณ 42 ปีขึ้นไป แม้จะติดเชื้อฝีดาษลิง แต่ตุ่มที่เกิดขึ้นจะน้อยมาก เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ได้เคยปลูกฝีมาก่อน
https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_7175653




กระทู้: ฝีดาษลิง : พึงตระหนักแต่อย่าตระหนก
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 25 ก.ค. 22, 08:43
จาก  FB  อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์
(อีกครั้ง)

"คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญฯ มีมติ 9 ต่อ 6 ไม่ประกาศให้โรคฝีดาษลิงเป็นภาวะฉุกเฉิน .. แต่ ผอ. WHO โอเวอร์รูล มติครับ"
คงเห็นข่าวเมื่อวานกันแล้ว ว่า องค์การอนามัยโลก หรือ WHO ประกาศจัดให้การระบาดของโรค "ฝีดาษลิง monkeypox" ระลอกปัจจุบัน เป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณะสุขระหว่างประเทศ หรือ PHEIC (อ่านว่า เฟค) แล้ว หลังพบผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นมาก
ซึ่งแม้ว่าจะเป็นเรื่องดี ที่องค์การอนามัยโลกได้ออกมาจริงจังกับโรคฝีดาษลิง แต่ก็เป็นที่งุนงงของวงการสาธารณสุขทั่วโลก อยู่เหมือนกัน ว่าทำไมโรคที่มีอัตราการแพร่ระบาดไม่ค่อยสูงนัก และไม่ค่อยมีความรุนแรงต่อผู้ป่วย ถึงต้องมีประกาศในระดับเป็นสถานการณ์ฉุกเฉินเช่นนั้น
จริงๆ แล้ว ผลการประชุมของคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญขององค์การอนามัยโลก มีมติ 9 ต่อ 6 ที่คัดค้านการประกาศดังกล่าว แต่ผู้อำนวยการ WHO คือ Tedros Adhanom Ghebreyesus ได้ตัดสินใจเป็นการส่วนตัวในการออกคำสั่งประกาศ นับเป็นครั้งแรกที่มีการ over rule เช่นนี้เกิดขึ้น คาดกันว่าเป็นผลจากการที่เขาเคยถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก กับการรับมือโรคโควิด-19 ล่าช้าเกินไป
จริงๆ แล้ว โรคฝีดาษลิงนี้ ก็ระบาดอยู่ในประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะในทวีปแอฟริกา มาหลายปีแล้ว แต่พึ่งได้รับความสนใจเมื่อมันแพร่ระบาดออกไปในยุโรปและสหรัฐอเมริกา
องค์การอนามัยโลกประเมินความเสี่ยงในการแพร่ระบาด ของโรคนี้ เอาไว้ที่ "ปานกลาง " สำหรับทั้งโลก แต่ประเมินไว้ระดับ "สูง" สำหรับยุโรป
โรคฝีดาษลิง เกิดจากเชื้อไวรัสกลุ่มที่ใกล้เคียงกับโรคฝีดาษในคนและโรคอีสุกอีใส ทำให้เกิดอาการเหมือนเป็นไข้หวัดใหญ่ ตามด้วยการมีแผลผื่นตุ่มขึ้น ที่มักจะเริ่มจากใบหน้าและลามลงไปถึงลำตัว มีอาการป่วยนานตั้งแต่ 2 สัปดาห์ถึงเป็นเดือน จึงจะหาย และมีบางคนที่เสียชีวิต (มักเป็นเด็กเล็ก)
รายงานการระบาดล่าสุด มีผู้ป่วยจำนวนประมาณ 16,000 รายใน 75 ประเทศ (ส่วนใหญ่เป็นเคสในยุโรป มักเป็นชาย อายุประมาณ 31-40 ปี และจำนวนมากเป็นกลุ่มชายรักชาย ที่มีคู่นอนมากกว่า 1 คน) และมีผู้เสียชีวิตเพียง 5 ราย (พบในแอฟริกา)
ข้อมูลจาก https://www.bloomberg.com/.../who-declares-monkeypox...
-------
(รายงานข่าว) สำนักข่าว แชนเนลนิวส์เอเชีย รายงานว่า ดร.เทดรอส อัดฮานอม เกเบรเยซุส ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศในวันเสาร์ที่ 23 ก.ค. 2565 ว่า เขาจัดให้การระบาดของไวรัส ฝีดาษลิง ที่กำลังเกิดขึ้นหลายพื้นทั่วโลกตอนนี้ เป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ (PHEIC) ซึ่งเป็นการเตือนภัยขั้นสูงสุดที่ WHO จะทำได้
ดร.อัดฮานอม เกเบรเนซุส กล่าวว่า ในตอนที่เขาจัดการประชุมฉุกเฉินของ WHO เมื่อเดือนก่อน เพื่อประเมินว่าการระบาดของฝีดาษลิงรอบนี้เป็นภาวะฉุกเฉินระหว่างประเทศหรือไม่นั้น ยังมีผู้ติดเชื้อราว 3,040 รายใน 47 ประเทศเท่านั้น แต่ตอนนี้ จำนวนผู้ติดเชื้อพุ่งขึ้นเป็นมากกว่า 16,000 ราย ใน 75 ประเทศและดินแดน ขณะที่มีผู้เสียชีวิต 5 ศพ
“เรามีการระบาดที่แพร่กระจายไปทั่วโลกอย่างรวดเร็ว ผ่านการติดต่อรูปแบบใหม่ ที่เรามีความเข้าใจน้อยเกินไป ซึ่งเข้าเกณฑ์การจัดให้เป็นภาวะฉุกเฉินตามกฎอนามัยระหว่างประเทศ (International Health Regulation)” ดร.อัดฮานอม เกเบรเนซุส กล่าว
ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลกเสริมด้วยว่า ตอนนี้มีความเสี่ยงชัดเจนที่จะมีการะแพร่กระจายระหว่างประเทศมากขึ้น แต่ย้ำว่า ความเสี่ยงส่งผลกระทบต่อการเดินทางระหว่างประเทศยังคงต่ำ
WHO ยังประเมินด้วยว่า ความเสี่ยงจากไวรัสฝีดาษลิงอยู่ในระดับปานกลางในทุกภูมิภาค ยกเว้นที่ยุโรป ซึ่งพวกเขาจัดให้ความเสี่ยงอยู่ในระดับสูง[/color]
ข่าวจาก  https://www.thairath.co.th/news/foreign/2453578


กระทู้: ฝีดาษลิง : พึงตระหนักแต่อย่าตระหนก
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 26 ก.ค. 22, 10:46
สธ.ไม่ยกระดับสถานะฝีดาษลิง ยังเป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง

คกก.ด้านวิชาการ ตามพรบ.โรคติดต่อ พ.ศ. 2558 มีมติให้ฝีดาษลิงเป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังตามเดิม พร้อมจัดการเฝ้าระวังเฉพาะกลุ่มเฉพาะพื้นที่

วันที่ 25 กรกฎาคม​ 2565 ศ.เกียรติคุณ นายแพทย์สมหวัง ด่านชัยวิจิตร ประธานคณะกรรมการด้านวิชาการ ตามพรบ.โรคติดต่อ พ.ศ. 2558 กล่าวว่า ภายหลังจากที่องค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้การระบาดของไวรัสฝีดาษลิง (Monkeypox) เป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ

สำหรับประเทศไทยได้เตรียมความพร้อมในการเฝ้าระวัง ป้องกันควบคุมโรคฝีดาษลิง มานานกว่า 2 เดือน และรายงานผู้ป่วยยืนยันรายแรกเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2565

ที่ประชุมพิจารณายังคงให้เป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง เนื่องจากอาการของโรคฝีดาษวานรไม่รุนแรง รวมถึง การแพร่เชื้อต้องมีการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย

ทั้งนี้ให้ยกระดับการเฝ้าระวัง เพิ่มการเฝ้าระวังแบบ sentinel (หรือเฝ้าระวังเฉพาะกลุ่มเฉพาะพื้นที่) ในกลุ่มเสี่ยง เช่น นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ กลุ่มหลากหลายทางเพศ เพื่อสร้างความมั่นใจให้ประชาชน

หากพบผู้ป่วยเข้าข่ายให้สอบสวนโรคและดำเนินการเก็บตัวอย่างส่งตรวจวินิจฉัย หากติดเชื้อให้แยกกัก 21 วัน

สำหรับสถานการณ์โรคฝีดาษวานรในประเทศไทย พบผู้ป่วยยืนยัน 1 ราย เป็นชายชาวไนจีเรีย อายุ 27 ปี

ซึ่งผลตรวจพบว่าเป็นสายพันธุ์ West Africa (A.2) ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ไม่รุนแรง พบการแพร่ระบาดน้อย ยังไม่พบผู้เสียชีวิต

สำหรับความคืบหน้าผลการตรวจ PCR ในผู้สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยโรคฝีดาษวานรชาวไนจีเรีย ทั้ง 19 รายนั้น ผลตรวจเป็นลบทั้งหมด

อ่านรายละเอียดที่
https://www.prachachat.net/marketing/news-990554



กระทู้: ฝีดาษลิง : พึงตระหนักแต่อย่าตระหนก
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 27 ก.ค. 22, 14:28
นครนิวยอร์กของสหรัฐฯ เรียกร้องให้องค์การอนามัยโลก (WHO) เปลี่ยนชื่อโรคฝีดาษลิง หรือ monkeypox เพื่อหลีกเลี่ยงการสร้างตราบาป ซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยรู้สึกอับอายจนปฏิเสธการรักษา

https://mgronline.com/around/detail/9650000071521


กระทู้: ฝีดาษลิง : พึงตระหนักแต่อย่าตระหนก
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 28 ก.ค. 22, 18:13
ในที่สุด ฝีดาษลิงก็มาถึงกรุงเทพ :o :o

วันนี้ (28 กรกฎาคม 2565) นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า เมื่อวันที่ 27 ก.ค. 65 ได้รับแจ้งจากโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง เขตดุสิต กรุงเทพฯ พบผู้ป่วยสงสัยโรคฝีดาษวานร จึงมอบหมายให้สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง กรมควบคุมโรค ลงพื้นที่สอบสวนโรคทันที จากการสอบสวนเบื้องต้นพบว่า ผู้ป่วยเป็นชายไทย อายุ 47 ปี ประวัติมีเพศสัมพันธ์กับชายต่างชาติ ไม่ทราบสัญชาติ และให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า เริ่มมีอาการปวดเมื่อยตามตัวเมื่อ 1 สัปดาห์ก่อน และมีตุ่มหนองที่อวัยวะเพศ ได้แยกตัวจากคนในบ้านซึ่งมีผู้สัมผัสร่วม 10 ราย ขณะนี้อยู่ระหว่างการตรวจหาเชื้อ และให้สังเกตอาการ 21 วัน 

ต่อมาผู้ป่วยไปซื้อยามาทา ทำให้ตุ่มหนองแห้ง แต่เริ่มขึ้นใหม่บริเวณแขน ขา ใบหน้า ศีรษะ และได้เข้ามารักษาที่โรงพยาบาลด้วยอาการผื่นและอวัยวะเพศบวม เจ็บ แสบ ได้เก็บตัวอย่างส่งตรวจ หาเชื้อก่อโรค โดยห้องปฏิบัติการ (แล็บ) ของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข และห้องปฏิบัติการที่คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ผลการตรวจ PCR ทั้งสองที่ตรงกัน พบเชื้อ Monkeypox virus ขณะนี้ให้ผู้ป่วยรักษาในห้องแยกเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ ซึ่งผู้ป่วยรายดังกล่าวเป็นชายไทยรายแรกของประเทศ และเป็นรายที่ 2 ที่ตรวจพบการติดเชื้อฝีดาษวานรในประเทศไทย (รายแรกเป็นชายชาวไนจีเรีย)

สถานการณ์โรคฝีดาษวานรทั่วโลก (ข้อมูล ณ วันที่ 27 ก.ค. 65) ผู้ป่วยยืนยันทั่วโลก 20,849 ราย พบผู้ป่วยยืนยันเพิ่มขึ้นเป็น 74 ประเทศ โดยพื้นที่การแพร่ระบาดส่วนใหญ่พบอยู่ในแถบทวีปยุโรป ประเทศที่มีผู้ป่วยสูง 5 ลำดับแรก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา 4,639 ราย สเปน 4,001 ราย เยอรมัน 2,459 ราย สหราชอาณาจักร 2,367 ราย และฝรั่งเศส 978 ราย ส่วนใหญ่เป็นเพศชายเกือบทั้งหมด

นายแพทย์โอภาส กล่าวเพิ่มเติมว่า ขณะนี้ได้ส่งทีมไปสอบสวนโรคเพิ่มในบริเวณพื้นที่ใกล้เคียง พร้อมค้นหาผู้สัมผัสเสี่ยงสูง และเร่งติดตามตัวชายชาวต่างชาติแล้ว และเน้นย้ำว่า โรคฝีดาษวานรไม่ได้ติดต่อกันได้ง่ายๆ ซึ่งจะติดต่อได้จากการสัมผัสใกล้ชิดมากๆ จึงขอให้กลุ่มเสี่ยงเพิ่มความระมัดระวัง และลดการสัมผัสใกล้ชิดกับคนแปลกหน้า เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อฝีดาษวานรและลดการ และป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นอีกด้วย ทั้งนี้ หากประชาชนมีอาการสงสัยว่าตนเองมีอาการป่วยเข้าได้กับโรคฝีดาษลิง สามารถติดต่อสถานพยาบาลใกล้บ้านเพื่อรับการตรวจหาเชื้อได้ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร. 1422


กระทู้: ฝีดาษลิง : พึงตระหนักแต่อย่าตระหนก
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 05 ส.ค. 22, 12:45
สาวไทยรายแรกติด "ฝีดาษลิง" นับเป็นคนที่ 4 พบใกล้ชิดหนุ่มต่างชาติที่ผับ

กรมควบคุมโรค เผยพบผู้ป่วยฝืดาษลิงรายที่ 4 เป็นผู้หญิงคนแรกของไทย มีประวัติใกล้ชิดชายต่างชาติที่สถานบันเทิงใน กทม. มีอาการตั้งแต่ 29 ก.ค. เร่งติดตามเพื่อนร่วมห้อง 2 ราย ค้นหาสัมผัสใกล้ชิดรายอื่น และหนุ่มต่างชาติ

เมื่อวันที่ 5 ส.ค. นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า กรมควบคุมโรคได้รับรายงานพบผู้ป่วยยืนยันโรคฝีดาษวานร รายที่ 4 ของประเทศไทย เป็นหญิงไทยอายุ 22 ปี มีประวัติเสี่ยงไปเที่ยวสถานบันเทิง ในพื้นที่ กทม. ย่านที่ชาวต่างชาตินิยมมาเที่ยวเป็นประจำประมาณสัปดาห์ละครั้ง และมีการสัมผัสใกล้ชิดกับชายชาวต่างชาติ โดยผู้ป่วยเริ่มมีไข้ตั้งแต่วันที่ 29 ก.ค. 2565 แต่ยังไปเที่ยวสถานบันเทิงพร้อมเพื่อนชาวไทย และชาวต่างชาติ วันที่ 30 ก.ค. 2565 เริ่มมีตุ่มขึ้นที่แขนขา แล้วลามไปทั่วร่างกาย รวมถึงอวัยะเพศ

วันที่ 3 ส.ค. 2565 จึงเดินทางเข้ารับการรักษาที่ รพ.แห่งหนึ่งใน จ.สมุทรปราการ และผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการยืนยันจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และห้องปฏิบัติการที่คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ยืนยันพบเชื้อฝืดาษวานร (Monkeypox virus) วันที่ 4 ส.ค. 2565 ก่อนส่งตัวผู้ป่วยมารับการดูแลรักษาต่อที่สถาบันบำราศนราดูร กรมควบคุมโรค นับเป็นผู้ติดเชื้อโรคฝืดาษวานรรายที่ 4 และเป็นเพศหญิงรายแรกในประเทศ โดยผู้ติดเชื้อรายแรกเป็นชายชาวไนจีเรียที่ภูเก็ต รายที่ 2 ชายชาวไทย ใน กทม. และรายที่ 3 ชายชาวเยอรมันที่ภูเก็ต

นพ.โอภาส กล่าวว่า ขณะนี้ได้กำชับให้สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จ ชลบุรี ประสานสำนักงานป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง (สปคม.) และสำนักอนามัย กทม. เร่งติดตามผู้สัมผัสเสี่ยงสูงที่เป็นเพื่อนร่วมห้องของผู้ป่วยทั้ง 2 ราย ผู้สัมผัสคนอื่นๆ และเร่งติดตามตัวชายชาวต่างชาติแล้ว เน้นย้ำว่า โรคผีดาษวานรไม่ได้ติดต่อกันได้ง่ายๆ ซึ่งจะติดต่อได้จากการสัมผัสใกล้ชิดมากๆ จึงขอให้กลุ่มเสี่ยงเพิ่มความระมัดระวังและงดการสัมผัสใกล้ชิดกับคนแปลกหน้าเพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อฝืดาษวานร

"ขอแนะนำประชาชน ให้ปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโรคฝืดาษวานร หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับคนแปลกหน้า หรือเพิ่งรู้จักกัน งดการมีเพศสัมพันธ์กับคนที่ไม่รู้จัก เพราะมีความเสี่ยงที่ไม่รู้ประวัติพฤดิกรรมและการปวยของคนนั้น ย้ำการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโรคโควิด 19 ยังสามารถป้องกันฝึดาษวานได้ โดยการล้างมือบ่อยๆ เว้นระยะห่าง สวมหน้ากากอนามัย ไม่ใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น กินอาหารร้อนปรุงสุก หลีกเลียงสัมผัสใกล้ชิดผู้ที่มีอาการเข้าข่ายของโรคฝืดาษวานร โดยเฉพาะผู้ที่มีผื่น ตุ่ม หนอง ตามผิวหนัง และพยายามไม่จับบริเวณหน้า ตา จมูก ปาก หากมีอาการสงสัยเข้าได้กับโรคฝืดาษวานร สามารถติดต่อสถานพยาบาลใกล้บ้านเพื่อตรวจหาเชื้อได้ทันที" นพ.โอภาสกล่าว


กระทู้: ฝีดาษลิง : พึงตระหนักแต่อย่าตระหนก
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 15 ส.ค. 22, 14:19
รายที่ 5  มาแล้ว

ไทยพบผู้ป่วยฝีดาษลิงคนที่ 5 เป็นหญิงไทยวัย 25 พบเดินทางกลับจากดูไบ

วันที่ 15 สิงหาคม 2565 นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค เปิดเผยว่า พบผู้ป่วยติดเชื้อฝีดาษวานรรายที่ 5 เป็นหญิงไทยอายุ 25 ปี มีประวัติเดินทางมาจากนครดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เข้าไทยเมื่อวันที่ 14 สิงหาคมที่ผ่านมา โดยมีการคัดกรองเฝ้าระวังที่ด่านควบคุมโรคที่สนามบินสุวรรณภูมิ ประกอบกับมีอาการป่วยตั้งแต่ก่อนเดินทาง จึงให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี และเจ้าหน้าที่สังเกตพบตุ่มขึ้นที่ร่างกาย ผลการตรวจติดเชื้อฝีดาษวานร นำตัวเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลแล้ว และจากการสอบสวนโรคไม่พบมีผู้สัมผัสใกล้ชิด เนื่องจากเป็นการติดเชื้อจากต่างประเทศ จึงทำให้มีผู้สัมผัสใกล้ชิดเพียงคนที่นั่งใกล้ขณะโดยสารเครื่องบินแค่ 2 คน เป็นชาวต่างประเทศ จึงดำเนินการให้ติดตามและเฝ้าระวังต่อไป

นพ.โอภาส กล่าวว่า สำหรับการติดเชื้อฝีดาษวานรนั้นยืนยันไม่ได้ติดเชื้อง่ายแบบโควิด-19 ผ่านระบบทางเดินหายใจ หรือรับประทานอาหารร่วมกัน แต่เป็นการติดเชื้อแบบสัมผัสใกล้ชิดจริงๆ และไม่ใช่ว่าโรคนี้ติดจากเพศสัมพันธ์ เพียงแต่กิจกรรมที่พบว่าผู้ป่วยติดเชื้อมาจากการมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งเป็นการสัมผัสแบบใกล้ชิด อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ทั่วโลกพบผู้ติดเชื้อแล้วกว่า 30,000 คน มีผู้เสียชีวิตประมาณ 6 คนเท่านั้น


กระทู้: ฝีดาษลิง : พึงตระหนักแต่อย่าตระหนก
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 18 ส.ค. 22, 15:43
 พบ ‘สุนัข’ ติด ‘ฝีดาษลิง’ จากมนุษย์เคสแรกในโลก WHO เตือนความเสี่ยง ‘เชื้อกลายพันธุ์’

องค์การอนามัยโลก (WHO) ออกมาแถลงเตือนในวันพุธ (17 ส.ค.) ให้ผู้ป่วยฝีดาษลิงหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสัตว์เลี้ยง หลังพบ “สุนัข” ติดเชื้อฝีดาษลิงจากมนุษย์เป็นเคสแรกของโลก

สัปดาห์ที่แล้ว วารสารการแพทย์ The Lancet ได้เผยแพร่รายงานการติดเชื้อฝีดาษลิงของสุนัขสายพันธุ์อิตาเลียนเกรฮาวนด์ ซึ่งอาศัยอยู่กับเจ้าของที่เป็นชาย 2 คนในกรุงปารีส
“มันคือการแพร่เชื้อจากมนุษย์ไปสู่สัตว์เคสแรกที่เคยพบมา และเราเชื่อว่ามันอาจจะเป็นสุนัขตัวแรกที่ติดเชื้อฝีดาษลิงด้วย” โรซามุนด์ ลิวอิส หัวหน้าฝ่ายเทคนิคโรคฝีดาษลิงของ WHO ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชน พร้อมระบุว่าผู้เชี่ยวชาญตระหนักอยู่แล้วถึงความเสี่ยงในทางทฤษฎีที่อาจจะเกิดการแพร่เชื้อข้ามสายพันธุ์ในลักษณะนี้ได้ และหน่วยงานสาธารณสุขก็มีการแจ้งเตือนไปยังผู้ป่วยแล้วให้ “แยกตัว” ออกจากสัตว์เลี้ยงของพวกเขา

ลิวอิส ย้ำว่า “การจัดการสิ่งปฏิกูลก็เป็นสิ่งสำคัญมาก” เพราะจะช่วยลดความเสี่ยงที่เชื้ออาจแพร่ไปสู่สัตว์จำพวกหนู และสัตว์ที่อยู่นอกบ้าน

ทั้งนี้ เมื่อไวรัสแพร่กระจายข้ามไปยังสัตว์ต่างสายพันธุ์ ก็อาจจะทำให้เกิดการ “กลายพันธุ์” ที่อันตรายขึ้นได้

ไมเคิล ไรอัน ผู้อำนวยการฝ่ายสถานการณ์ฉุกเฉินของ WHO ระบุว่า สิ่งที่น่ากังวลก็คือเชื้อไวรัสอาจแพร่ไปสู่สัตว์นอกครัวเรือน และหากสัตว์ตัวหนึ่งติดเชื้อ และแพร่เชื้อไปสู่สัตว์ตัวอื่นๆ ต่อเนื่องไปเรื่อยๆ “สิ่งที่คุณจะเห็นต่อไปก็คือ ไวรัสจะมีการกลายพันธุ์อย่างรวดเร็ว”

อย่างไรก็ดี ไรอัน ย้ำว่าสัตว์เลี้ยงภายในบ้านไม่ใช่สิ่งที่น่ากังวล

^

“ผมไม่คิดว่าไวรัสจะพัฒนาตัวเองได้อย่างรวดเร็วผ่านสุนัขตัวเดียวมากกว่ามนุษย์ 1 คน... แต่เราจำเป็นต้องเฝ้าระวังกันต่อไป” เขากล่าว

ไวรัสฝีดาษลิงถูกพบเป็นครั้งแรกในลิงที่ใช้สำหรับการวิจัยที่เดนมาร์กเมื่อปี 1958 ทว่าไวรัสชนิดนี้จะมีอยู่ในสัตว์ฟันแทะ (rodents) เสียเป็นส่วนใหญ่ ส่วนการติดเชื้อในคนพบครั้งแรกเมื่อปี 1970 ก่อนที่ฝีดาษลิงจะกลายเป็นโรคประจำถิ่นที่แพร่กระจายอยู่ในกลุ่มประเทศแถบแอฟริกากลางและตะวันตก

อย่างไรก็ตาม ในปีนี้เริ่มปรากฏว่ามีผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงนอกทวีปแอฟริกาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่ช่วงเดือน พ.ค. โดยเฉพาะในกลุ่มชายรักชายที่มีเพศสัมพันธ์กัน และจนถึงตอนนี้มียอดผู้ป่วยฝีดาษลิงสะสมทั่วโลกมากกว่า 35,000 คนใน 92 ประเทศ และมีผู้เสียชีวิตในการระบาดครั้งนี้แล้วอย่างน้อย 12 คน

ที่มา: เอเอฟพี

https://mgronline.com/around/detail/9650000079148


กระทู้: ฝีดาษลิง : พึงตระหนักแต่อย่าตระหนก
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 26 ส.ค. 22, 18:56
พบผู้ป่วยฝีดาษลิง รายที่ 6 เป็นเพศหญิง อาชีพนวดแผนไทย เดินทางมาจากกาตาร์

26 ส.ค. 2565- นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า เมื่อวันที่ 24 ส.ค. 65 ได้รับรายงานจากโรงพยาบาลพยัคฆภูมิพิสัย จ.มหาสารคาม ว่าพบผู้ติดเชื้อยืนยันโรคฝีดาษวานร เป็นเพศหญิง อายุ 21 ปี สัญชาติไทย ไปประกอบอาชีพพนักงานนวดแผนไทยที่ประเทศกาตาร์ และในวันที่ 10 ส.ค. 65 เริ่มมีตุ่มขึ้นบริเวณอวัยวะเพศ 
วันที่ 21 ส.ค. 65 เดินทางกลับมาประเทศไทย และเดินทางกลับบ้านที่ จ.มหาสารคาม  วันที่ 22 ส.ค. 65 เข้าพบแพทย์ที่โรงพยาบาลพยัคฆภูมิพิสัย พบว่ามีตุ่มน้ำใส และอาการป่วยเข้าได้กับนิยามผู้ป่วยสงสัยฝีดาษวานร จึงได้เก็บตัวอย่างส่งตรวจ วันที่ 24 ส.ค. 65 ผลตรวจยืนยันพบเชื้อโรคฝีดาษวานร โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และจากการค้นหาผู้สัมผัสใกล้ชิด พบผู้สัมผัสจำนวน 28 คน แบ่งเป็นเสี่ยงสูง 4 คน และเสี่ยงต่ำ 24 คน และให้ผู้สัมผัสทุกคนสังเกตอาการตนเอง

“สรุปได้ว่าผู้ป่วยรายดังกล่าว มีอาการตั้งแต่อยู่ที่ต่างประเทศ ขณะเดินทางผู้ป่วยแสดงอาการผื่น เพียงเล็กน้อย และอยู่ในร่มผ้า อย่างไรก็ตาม ระหว่างเดินทางผู้ป่วยมีการป้องกันตนเอง โดยการสวมหน้ากากอนามัย และรักษาระยะห่างจากผู้โดยสารคนอื่นๆ ผู้ป่วยรายนี้นับเป็นผู้ป่วยรายที่ 6 ของประเทศไทย และเป็นเพศหญิง     รายที่ 3” นายแพทย์โอภาส กล่าว

สถานการณ์โรคฝีดาษวานรทั่วโลก (ข้อมูล ณ วันที่ 25 ส.ค. 65) พบผู้ติดเชื้อโรคฝีดาษวานรยืนยัน จำนวน 46,047 ราย เสียชีวิต 15 ราย ประเทศที่มีผู้ป่วยสูงสุด 5 ลำดับแรก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา 16,603 ราย สเปน 6,318 ราย  บราซิล 4,144 ราย  เยอรมนี 3,350 ราย  และสหราชอาณาจักร 3,207 ราย ผู้ป่วยส่วนใหญ่ยังอยู่ในแถบทวีปยุโรป  ส่วนสถานการณ์ฝีดาษวานรในประเทศไทย พบผู้ป่วยยืนยันสะสม 6 ราย แบ่งเป็นการติดเชื้อในประเทศที่มีประวัติสัมผัสกับชาวต่างชาติ 3 ราย และเดินทางมาจากต่างประเทศ 3 ราย ขณะนี้รักษาหายแล้ว 4 ราย อยู่ระหว่างการรักษา 2 ราย จากการติดตามผู้สัมผัสเสี่ยงสูงของผู้ป่วยยืนยันรายที่ 1-5 จนครบกำหนด 21 วันแล้ว รวมจำนวน 44 คน ไม่มีอาการป่วย และไม่เป็นผู้ติดเชื้อฝีดาษวานรด้วย       


กระทู้: ฝีดาษลิง : พึงตระหนักแต่อย่าตระหนก
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 29 ส.ค. 22, 08:40
"ฝีดาษลิง" รายที่ 7 เป็นหญิงไทย อายุ 37 ปี อยู่ในกทม.ใกล้ชิดชายต่างชาติผิวสี

กรมควบคุมโรค แถลงผู้ป่วยฝีดาษลิงรายที่ 7 เป็นเพศหญิง สัญชาติไทย อายุ 37 ปี พบประวัติมีเพศสัมพันธ์กับชายต่างชาติผิวสีก่อนมีอาการป่วย มีผู้สัมผัสใกล้ชิดเสี่ยงสูง 3 ราย

วันนี้ (28 ส.ค.65) นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ได้รับรายงานจากสถาบันบำราศนราดูร ว่าพบผู้ป่วยยืนยันโรคฝีดาษวานรรายที่ 7 เป็นเพศหญิง อาศัยอยู่ที่กรุงเทพมหานคร จึงมอบหมายให้ทีมปฏิบัติการสอบสวนโรค กองระบาดวิทยา ลงพื้นที่ร่วมกับเจ้าหน้าที่ระบาดวิทยา สถาบันบำราศนราดูร ดำเนินการสอบสวนโรค


ทั้งนี้ จากการสอบถามประวัติของผู้ป่วย เป็นเพศหญิง สัญชาติไทย อายุ 37 ปี มีโรคประจำตัว อาศัยอยู่บ้านคนเดียวที่กรุงเทพฯ ไม่มีประวัติสัมผัสสัตว์ฟันแทะ และไม่ได้ไปประเทศที่มีการระบาด และพบประวัติมีเพศสัมพันธ์กับชายต่างชาติผิวสีก่อนมีอาการป่วย

จากการสอบสวนโรคและเวชระเบียนของสถาบันบำราศนราดูรพบว่า ในระยะ 3 สัปดาห์ก่อนป่วย ไปเที่ยวย่านบันเทิงที่เป็นที่นิยมของชาวต่างชาติวันที่ 20 ส.ค. 65 ผู้ป่วยเริ่มมีไข้ต่ำๆ วันที่ 21 ส.ค. 65 เริ่มมีตุ่มเหมือนหนองขนาดเล็กบริเวณทวารหนัก

หลังจากนั้นในวันที่ 22 ส.ค. 65 เริ่มมีตุ่มหนองลักษณะเดียวกันผุดมากขึ้นเริ่มจากนิ้วมือ แขน หลัง และลามไปที่ใบหน้ารวมถึงอวัยวะเพศ อาการเป็นมากขึ้น ผู้ป่วยจึงเข้ารับการรักษาในสถาบันบำราศนราดูร

ต่อมาวันที่ 26 ส.ค. 65 แพทย์ทำการเก็บตัวอย่างส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการจากเลือด ตุ่มหนอง และลำคอ ด้วยวิธีการ Real-time polymerase chain reaction (Real-time PCR) ส่งตรวจไปยังกลุ่มงานเอชไอวีขั้นสูงและเชื้ออุบัติใหม่ สถาบันบำราศนราดูร และศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ ผลพบสารพันธุกรรมเชื้อไวรัสฝีดาษวานรในทุกสิ่งส่งตรวจ

นอกจากนี้ ผู้ป่วยรายดังกล่าวมีประวัติไปเยี่ยมญาติสูงอายุ ทำให้มีผู้สัมผัสใกล้ชิดเสี่ยงสูง 3 ราย จึงกำชับให้หน่วยงาน ในสังกัดที่เกี่ยวข้อง ติดตามเฝ้าระวังอาการผู้สัมผัสใกล้ชิดเสี่ยงสูงทั้ง 3 รายอย่างใกล้ชิด ซึ่งวันที่สัมผัสผู้ป่วยวันสุดท้ายคือวันที่ 21 ส.ค. 65 และจะครบกำหนดระยะเฝ้าระวังในวันที่ 11 ก.ย. 65

สำหรับสถานการณ์โรคฝีดาษวานรทั่วโลก (ข้อมูล ณ วันที่ 27 ส.ค. 65) ผู้ป่วยยืนยันทั่วโลก 48,331 ราย พบผู้ป่วยยืนยันเพิ่มขึ้นเป็น 83 ประเทศ โดยประเทศที่มีผู้ป่วยสูง 5 ลำดับแรก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา 17,432 ราย สเปน 6,458 ราย บราซิล 4,472 ราย ฝรั่งเศส 3,421 ราย เยอรมนี 3,405 ราย และมีผู้เสียชีวิต 15 ราย

นพ.โอภาส กล่าวต่อว่า โรคฝีดาษวานรไม่ได้ติดต่อง่ายหรือมีความรุนแรง ขอแนะนำให้ประชาชนหลีกเลี่ยงการสัมผัสแนบชิดกับผู้ที่มีไข้ ผื่น มีตุ่มน้ำ ตุ่มหนองบริเวณร่างกาย และสวมหน้ากากอนามัยขณะอยู่ใกล้ชิดผู้อื่น ล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำสบู่หรือแอลกอฮอล์เจล ไม่มีเพศสัมพันธ์กับคนที่ไม่รู้จัก

หากผู้ที่มีอาการสงสัย เช่น มีผื่นตามลำตัว เป็นตุ่มนูน ตุ่มน้ำใส ตุ่มหนอง ตุ่มตกสะเก็ด หลังจากมีไข้ เจ็บคอ ปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อ ต่อมน้ำเหลืองโต เป็นต้น สามารถเข้ารับการตรวจเชื้อได้ที่โรงพยาบาลใกล้บ้านท่าน ได้ทันที สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร. 1422.

https://www.tnnthailand.com/news/social/123442/


กระทู้: ฝีดาษลิง : พึงตระหนักแต่อย่าตระหนก
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 16 ก.ย. 22, 14:31
สธ.เผยพบผู้ป่วยยืนยันโรคฝีดาษลิง รายที่ 8 ชาวไทย เดินทางกลับมาจากกาตาร์

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 16 ก.ย. 2565 นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ได้รับรายงานจากสถาบันบำราศนราดูร ตรวจพบผู้ป่วยโรคฝีดาษวานร เป็นคนไทย อายุ 23 ปี ไม่มีโรคประจำตัว ไปประกอบอาชีพให้บริการที่ประเทศกาตาร์ จากการสอบสวนโรคเบื้องต้นพบว่า มีประวัติ มีเพศสัมพันธ์กับชายที่มีตุ่มบริเวณหลังลักษณะคล้ายสิว และเริ่มมีอาการป่วย เมื่อวันที่ 8 ก.ย. 2565 มีไข้ หนาวสั่น ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดหลัง เบื่ออาหารและมีผื่นบริเวณฝ่ามือข้างขวา นิ้วกลางข้างซ้าย ใต้รักแร้ซ้าย แขนซ้าย หลัง ก้นและทวาร ตามลำดับ โดยรวมตุ่มแผลประมาณ 15 ตุ่ม ผู้ป่วยเดินทางกลับจากประเทศกาตาร์ถึงประเทศไทย เมื่อวันที่ 13 ก.ย. 2565 หลังจากเดินทางเข้าประเทศไทยมีประวัติสัมผัสเพื่อนชาวไทย 2 คน คนแรก ผู้ป่วยไปเก็บของที่ห้องของเพื่อน รับประทานอาหารร่วมกัน และเข้าใช้ห้องน้ำที่ห้องเพื่อน และคนที่สอง ผู้ป่วยนำกระเป๋าไปฝากเพื่อนโดยไม่ได้เข้าไปในห้องเพื่อน ซึ่งเพื่อนทั้งสองคนไม่ได้สัมผัสผิวหนังหรือบริเวณที่มีตุ่มแผล และวันที่ 14 ก.ย. 2565 จึงเข้าไปตรวจ ที่สถาบันบำราศนราดูร และแพทย์เก็บตัวอย่างส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการของสถาบันบำราศนราดูร และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ผลพบเชื้อฝีดาษวานร

“สรุปได้ว่าผู้ป่วยรายดังกล่าว มีอาการตั้งแต่อยู่ที่ต่างประเทศและในขณะเดินทางผู้ป่วยแสดงอาการป่วยแล้ว อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยไม่มีประวัติการเดินทางไปที่ชุมชน/เข้าร่วมกิจกรรมที่มีคนพลุกพล่าน หลังพบอาการต้องสงสัยจึงเข้าพบแพทย์ในทันที” นพ.โอภาส กล่าว


กระทู้: ฝีดาษลิง : พึงตระหนักแต่อย่าตระหนก
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 29 พ.ย. 22, 13:35
นครนิวยอร์กของสหรัฐฯ เรียกร้องให้องค์การอนามัยโลก (WHO) เปลี่ยนชื่อโรคฝีดาษลิง หรือ monkeypox เพื่อหลีกเลี่ยงการสร้างตราบาป ซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยรู้สึกอับอายจนปฏิเสธการรักษา

WHO ประกาศเปลี่ยนชื่อ Monkeypox (ฝีดาษลิง) เป็น Mpox (เอ็มพ็อกซ์) แล้ว

องค์การอนามัยโลกได้มีข้อสรุปและประกาศเมื่อวานนี้ (๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๕) เปลี่ยนชื่อ Monkeypox (ฝีดาษลิง) เป็น Mpox (เอ็มพ็อกซ์) โดยทั้ง ๒ ชื่อจะใช้ควบคู่กันเป็นระยะเวลา ๑ ปีในการเปลี่ยนผ่าน เพื่อให้เวลาแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูล รวมถึงผลงานที่ตีพิมพ์ในวารสารต่าง ๆ ด้วย และลดความสับสนที่อาจจะเกิดขึ้น

https://www.who.int/news/item/28-11-2022-who-recommends-new-name-for-monkeypox-disease


https://youtu.be/oQEHAmn_Mcs


กระทู้: ฝีดาษลิง : พึงตระหนักแต่อย่าตระหนก
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 12 พ.ค. 23, 18:35
เมื่อวานนี้ (๑๑ พฤษภาคม ๒๕๖๖) องค์การอนามัยโลก (WHO)ได้ประกาศให้โรคฝีดาษลิงไม่เป็นภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขระหว่างประเทศอีกต่อไป โดยประกาศดังกล่าวมีขึ้นหลังจากที่การระบาดของโรคฝีดาษลิงแพร่กระจายไปทั่วโลกเกือบ ๑ ปีที่ผ่านมา

ดร.ทีโดรส อัดฮานอม กีบรีเยซุส (Dr.Tedros Adhanom Ghebreyesus) ผู้อำนวยการใหญ่ของ WHO กล่าวในการแถลงข่าวทางออนไลน์ว่า เขายอมรับคำแนะนำของคณะกรรมการฉุกเฉินของ WHO เรื่องฝีดาษลิง เพื่อยกเลิกการเตือนภัยขั้นสูงสุด

ขณะที่ประกาศดังกล่าวมีขึ้นเพียง ๑ สัปดาห์หลังจากที่ WHO ประกาศให้โควิดไม่ถือเป็นภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขระหว่างประเทศอีกต่อไป

"ในขณะที่ภาวะฉุกเฉินของฝีดาษลิงและโควิดสิ้นสุดแล้ว ภัยคุกคามของระลอกการระบาดของทั้ง ๒ โรคยังคงอยู่ เชื้อไวรัสทั้ง ๒ ชนิดยังคงแพร่กระจายและยังคงคร่าชีวิตผู้คนต่อไป" เขากล่าว พร้อมเรียกร้องให้ประเทศต่าง ๆ ยังคงเฝ้าระวัง โดยชี้ว่า "ฝีดาษลิงยังคงเป็นความท้าทายด้านสาธารณสุขที่สำคัญ ซึ่งต้องการการรับมือที่เข้มข้น เป็นไปในเชิงรุก และมีความยั่งยืน"

https://youtu.be/IMU68NzioLg

ทั้งนี้ ข้อมูลจากเว็บไซต์ของ WHO ระบุว่า โรคฝีดาษลิงเกิดจากเชื้อไวรัสฝีดาษลิง และเป็นการติดเชื้อจากสัตว์สู่คน ซึ่งหมายความว่าสามารถแพร่กระจายจากสัตว์สู่คนได้ และแพร่กระจายจากคนสู่คนได้ด้วย

อาการของฝีดาษลิงที่พบได้ทั่วไป ได้แก่ ไข้ ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ไม่มีแรง และต่อมน้ำเหลืองโต ในภายหลังอาจมีอาการอื่นๆ ตามมา เช่น มีตุ่มขึ้น ซึ่งจะอยู่ประมาณ ๒-๓ สัปดาห์ โดยตุ่มนูนจะเกิดขึ้นได้ตามใบหน้า ฝ่ามือ ฝ่าเท้า ตา จมูก คอ ขาหนีบ อวัยวะเพศ และรอบๆ ทวารหนัก

ขณะที่ WHO ประกาศให้ฝีดาษลิงเป็นภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขระหว่างประเทศเมื่อเดือนกรกฎาคมปีที่แล้ว หลังพบการแพร่ระบาดเริ่มต้นขึ้นในยุโรป อเมริกาเหนือ และประเทศอื่น ๆ รวมถึงในไทย โดยส่วนใหญ่พบในกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย ซึ่งจำนวนผู้ติดเชื้อที่พบมีมากกว่า ๘๖,๐๐๐ ราย และเสียชีวิต ๑๔๐ ราย ใน ๑๑๑ ประเทศทั่วโลก

อย่างไรก็ตาม จำนวนผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงนั้นลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยในช่วง ๓ เดือนที่ผ่านมา มีผู้ติดเชื้อน้อยลงเกือบ ๙๐% เมื่อเทียบกับช่วง ๓ เดือนก่อนหน้า

ข่าวจาก เดอะสแตนดาร์ด (https://thestandard.co/monkeypox-no-longer-global-health-emergency/)


กระทู้: ฝีดาษลิง : พึงตระหนักแต่อย่าตระหนก
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 12 พ.ค. 23, 18:53
ถือเป็นข่าวดีค่ะ


กระทู้: ฝีดาษลิง : พึงตระหนักแต่อย่าตระหนก
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 02 มิ.ย. 23, 11:35
อย่างไรก็ตาม พึงตระหนักว่า ฝีดาษลิง ยังคงมีการระบาดอยู่ :o

วันนี้ (๒ มิถุนายน ๒๕๖๖) นายแพทย์ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า โรคฝีดาษลิงเป็นโรคติดต่ออุบัติใหม่ของประเทศไทย พบผู้ป่วยรายแรกเมื่อเดือนกรกฎาคม ๒๕๖๔ ปัจจุบันมีรายงานผู้ป่วยรวม ๔๓ ราย (เฉพาะเดือนพฤษภาคม ๒๕๖๖ มีผู้ป่วย ๒๑ ราย) เและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โรคนี้ป้องกันได้โดยการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง ประชาชนสามารถตรวจสอบอาการเบื้องต้นได้ด้วยตนเอง หากมีประวัติสัมผัสใกล้ชิด หรือมีเพศสัมพันธ์กับผู้สงสัยฝีดาษลิง หรือผู้ป่วยฝีดาษลิง หรือมีผื่น/ตุ่มสงสัย ดังนี้

๑. มีเพศสัมพันธ์กับผู้ป่วยสงสัย หรือผู้ป่วยฝีดาษลิง ทางช่องทางดังต่อไปนี้ อวัยวะเพศ ทวารหนัก หรือปาก

๒. ทำความสะอาดห้อง หรือใช้ห้องน้ำร่วมกับผู้ป่วยสงสัย หรือผู้ป่วยฝีดาษลิงขณะผู้ป่วยมีอาการ

๓. เคยดูแลผู้ป่วยสงสัย หรือผู้ป่วยฝีดาษลิงขณะป่วย ให้สังเกตภายหลังสัมผัสผู้ป่วยภายใน ๒๑ วัน หากมีอาการ ไข้ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดหลัง ต่อมน้ำเหลืองโต เช่น บริเวณหลังหู คอ ขาหนีบ เจ็บคอ คัดจมูก หรือไอ มีผื่น มีตุ่มน้ำ ตุ่มหนองขึ้นบริเวณอวัยวะเพศ หรือทวารหนัก หรือบริเวณรอบๆ ตามมือ เท้า หน้าอก ใบหน้า หรือบริเวณปาก หากมีอาการให้รีบเข้ารับการตรวจที่สถานบริการสุขภาพ หรือโรงพยาบาล โดยแจ้งอาการและประวัติเสี่ยงทันที

ทั้งนี้ มีวิธีป้องกันการติดเชื้อโรคฝีดาษลิง เช่น หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์กับคนแปลกหน้าที่ไม่รู้จัก หลีกเลี่ยงการสัมผัสแนบชิดกับผู้ที่มีผื่น ตุ่ม หรือหนอง หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่แออัด รวมทั้งแนะนำให้ล้างมือบ่อย ๆ  และไม่ใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น เป็นต้น

ข่าวจาก TNN (https://www.tnnthailand.com/news/social/147656/)


กระทู้: ฝีดาษลิง : พึงตระหนักแต่อย่าตระหนก
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 02 ก.ค. 23, 09:35
ฝีดาษลิงยังระบาดเพิ่มขึ้น :o

กรมควบคุมโรค เผยไทยพบผู้ป่วยโรคฝีดาษลิงเดือนมิถุนายน ๒๕๖๖ จำนวน ๔๘ คน สูงกว่าเดือนพฤษภาคมที่มีรายงานผู้ป่วย ๒๑ คน เพิ่มขึ้นเป็น ๒.๓ เท่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเพศชาย พร้อมเน้นย้ำ โรคฝีดาษลิงป้องกันได้โดยงดการสัมผัสแนบชิดกับผิวหนังผู้ป่วย

ข่าวจาก ไทยพีบีเอส (https://www.thaipbs.or.th/news/content/329296)


กระทู้: ฝีดาษลิง : พึงตระหนักแต่อย่าตระหนก
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 15 ส.ค. 23, 09:35
พบผู้ป่วยฝีดาษลิงในไทย เสียชีวิตรายแรก :o

กรมควบคุมโรคได้รายงานพบ ผู้ป่วยโรคฝีดาษลิงในประเทศไทยเสียชีวิตเป็นรายแรก เป็นชาย อายุ ๓๔ ปี เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลเอกชน ในจังหวัดชลบุรี  เมื่อ ๑๑ กรกฎาคม ซึ่งมีอาการเข้ากันได้กับโรคฝีดาษลิง จึงได้เก็บตัวอย่างส่งตรวจเพิ่มเติม ยืนยันพบเชื้อฝีดาษลิง และพบการติดเชื้อเอชไอวีและเชื้อซิฟิลิสด้วย

ภายหลังจากเข้ารับการรักษาเป็นเวลา ๔ สัปดาห์ แพทย์อนุญาตให้กลับบ้านได้ ต่อมามีอาการอ่อนเพลีย หายใจลำบาก พบว่า เชื้อฝีดาษาลิงได้กระจายไปทั่วตัว มีอการตายของเนื้อเยื่อ มีการติดเชื้อแทรกซ้อน ผลตรวจเม็ดเลือดขาวชนิด CD4 เท่ากับ ๑๖ เซลล์ต่อมิลลิลิตร แสดงถึงภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องรุนแรง ผู้ป่วยมีอาการทรุดลง และเสียชีวิตในคืนวันที่ ๑๑ สิงหาคม ที่ผ่านมา

นายแพทย์ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค แจ้งสถานการณ์ล่าสุด ข้อมูล ณ วันที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๖๖ มีรายงานผู้ป่วยรวม ๑๘๙ รายในไทย เป็นสัญชาติไทย ๑๖๑ ราย ชาวต่างชาติ ๒๘ ราย มีแนวโน้มระบาดเพิ่มขึ้น ซึ่งระยะแรกพบผู้ป่วยในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ปริมณฑล ก่อนแพร่ไปจังหวัดอื่น ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย และมีติดเชื้อเอชไอวีร่วมด้วยจำนวน ๘๒ ราย (ร้อยละ ๔๓)

ข่าวจาก ไทยรัฐ (https://www.thairath.co.th/news/local/bangkok/2717195)

หมายเหตุ WHO (http://www.reurnthai.com/index.php?topic=7300.msg182870#msg182870) ประกาศเปลี่ยนชื่อ ฝีดาษลิง (Monkeypox) เป็น เอ็มพ็อกซ์ (Mpox) ตั้งแต่พฤศจิกายนปีที่แล้ว กรมควบคุมโรคควรพิจารณาเลิกใช้ชื่อ ฝีดาษวานร หรือ ฝีดาษลิงได้แล้ว


กระทู้: ฝีดาษลิง : พึงตระหนักแต่อย่าตระหนก
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 04 ก.ย. 23, 10:05
ฝีดาษลิง เดือนนี้เห็นทีจะต้องตระหนกแล้ว   หลังจากโค(วิด)ถอนทัพไป   ลิงก็เริ่มเข้ามาแทน

วันนี้ (3 ก.ย.2566) นายแพทย์ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า สถานการณ์ล่าสุดของโรคฝีดาษวานรหรือฝีดาษลิง ในประเทศไทย ล่าสุด มีรายงานผู้ป่วยรวม 316 คน (ข้อมูล 31 ส.ค.66) เสียชีวิต 1 คนเป็นผู้ป่วยภูมิคุ้มกันบกพร่อง) เป็นกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายมากถึง 271 คน หรือ ร้อยละ 85.8 และมีผู้ติดเชื้อ เอชไอวี 143 คน หรือร้อยละ 45.3 มีสัญชาติไทย 277 คน ชาวต่างชาติ 36 คน ไม่ระบุ 3 คน

ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร 198 คน จังหวัดชลบุรี 22 คน นนทบุรี 17 คน และสมุทรปราการ 12 คน ผู้ป่วย ส่วนใหญ่อายุ 30-39 ปี จำนวน 152 คน รองลงมาอายุ 20-29 ปี จำนวน 85 คน กลุ่มเยาวชน อายุ 15-24 ปี จำนวน 28 คน

กลุ่มเยาวชนมีความเสี่ยงติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว สถานการณ์ 4 เดือนย้อนหลังพบการระบาด อย่างต่อเนื่อง ในเดือนพ.ค.นี้ ได้รับรายงานผู้ป่วย 22 คน มิ.ย.48 คน ส่วนก.ค.ขยับเป็น 80 คน และส.ค.เพิ่มอีก 145 คน เกือบทั้งหมดเป็นคนไทย และรับเชื้อภายในประเทศ ในจำนวนนี้มีรายงานพบผู้ป่วยฝีดาษวานรเสียชีวิต 1 คนเป็นผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่มีอาการรุนแรงและติดเชื้อฉวยโอกาสแทรกซ้อน

ทั้งนี้ ประเทศไทยได้รับการสนับสนุนยา Tecovirimat (ชื่อการค้า TPOXX) จากองค์การอนามัยโลกให้นำมาใช้ในกรณีฉุกเฉิน เป็นยาที่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อไวรัสกลุ่ม Poxvirus เพื่อใช้รักษาผู้ป่วยยืนยันที่มีอาการมากและแพทย์รับเข้ารักษาในโรงพยาบาลเท่านั้น

มีรายงานจากทีมปฏิบัติการสอบสวนควบคุมโรค กองระบาดวิทยา สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จ.ชลบุรี ร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชลบุรีและหน่วยงานในพื้นที่ สอบสวนผู้ป่วยยืนยันฝีดาษลิง

พบหนึ่งคนเป็นนักเรียนชาย อายุ 16 ปี เริ่มป่วยเมื่อวันที่ 6 ส.ค.นี้  เข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยในเมื่อ14 ส.ค.นี้ ด้วยอาการตุ่มน้ำใสขึ้นตามร่างกาย ร่วมกับอวัยวะเพศบวมอักเสบ ตรวจพบเชื้อฝีดาษลิง
ประวัติเสี่ยง ผู้ป่วยมีเพศสัมพันธ์กับหลายคน ดำเนินการติดตามอาการของผู้สัมผัสเสี่ยงสูง ซึ่งเป็นผู้สัมผัสร่วมบ้าน จนครบ 21 วันนับตั้งแต่วันสัมผัสผู้ป่วยวันสุดท้าย ยังไม่พบผู้ป่วยในครัวเรือน



กระทู้: ฝีดาษลิง : พึงตระหนักแต่อย่าตระหนก
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 04 ก.ย. 23, 10:05
 :o


กระทู้: ฝีดาษลิง : พึงตระหนักแต่อย่าตระหนก
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 04 ก.ย. 23, 10:35
กลุ่มเยาวชนมีความเสี่ยงติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว สถานการณ์ 4 เดือนย้อนหลังพบการระบาด อย่างต่อเนื่อง ในเดือนพ.ค.นี้ ได้รับรายงานผู้ป่วย 22 คน มิ.ย.48 คน ส่วนก.ค.ขยับเป็น 80 คน และส.ค.เพิ่มอีก 145 คน เกือบทั้งหมดเป็นคนไทย และรับเชื้อภายในประเทศ

ฝีดาษลิง หรือ เอ็มพ็อกซ์ (Mpox) ยังระบาดอยู่และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามควรตระหนัก อย่าเพิ่งตระหนกจนเกินเหตุ ;D