เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 ... 9
  พิมพ์  
อ่าน: 61433 พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าหญิงวิภาวดีรังสิต
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
 เมื่อ 22 มิ.ย. 05, 19:51

 หลายครั้งที่ผ่านไปตามถนนวิภาวดีรังสิต  ที่มีการจราจรหนาแน่น  สมเป็นถนนสายสำคัญสายหนึ่งของเมืองหลวง  ดิฉันมักจะนึกถึงที่มาของชื่อถนน    
ซึ่งเรียกได้เต็มปากว่า  เป็นพระนามของวีรสตรีพระองค์หนึ่งของยุครัตนโกสินทร์
ชวนให้นึกต่อไปถึงโคลงพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ประวัติวีรบุรุษไซร้........เตือนใจ เรานา
ว่าอาจจะยังชนม์...........เลิศได้
และยามจะบรรลัย..........ทิ้งซึ่ง
รอยบาทเหยียบแน่นไว้.........แทบพื้นทรายสมัย

ทรงแปลจากบทกวีของ Henry Wordsworth Longfellow ที่ว่า
Lives of great men all remind us
We can make our lives sublime
And, departing leave behind us
Footprints on the sand of time.

ถ้า "วีรบุรุษ" ในที่นี้ หมายความรวมถึง "วีรสตรี" โคลงพระราชนิพนธ์บทนี้ ก็เหมาะสมกับ
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงวิภาวดีรังสิต มากที่สุด

นักอักษรศาสตร์และผู้รักการอ่านนิยาย รู้จักพระองค์ในนามปากกา ว. ณ ประมวญมารค  ผู้สร้าง ปริศนา รัตนาวดี  เจ้าสาวของอานนท์   ฯลฯ  เป็นที่ลื่อเลื่องในวงการประพันธ์ตั้งแต่กว่า ๕๐ ปีก่อน
ผู้ชอบอ่านชีวประวัติบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ของยุโรป คงรู้จักพระนิพนธ์ พระราชินีนาถวิคตอเรีย   คลั่งเพราะรัก  และฤทธีราชินีสาว
ส่วนผู้รักชาติ รู้จักพระองค์ในนามวีรสตรีผู้พลีพระชนม์ชีพเพื่อชาติ    สมัยที่ไทยมีศึกต่อสู้กับผู้ก่อการร้ายเมื่อกว่า๓๐ ปีก่อน

เชิญติดตามพระประวัตินะคะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 22 มิ.ย. 05, 19:54

 พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงวิภาวดีรังสิตทรงมีพระนามเดิมว่า หม่อมเจ้า(หญิง)วิภาวดี  รัชนี
ประสูติเมื่อ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๔๖๓
ทรงเป็นพระธิดาในพระราชวรวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยาลงกรณ   (พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัส)   ผู้เป็นพระราชโอรสในกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ  กรมพระราชวังบวรสถานมงคล พระองค์สุดท้ายของไทย

ผู้รักวรรณคดี คงทราบดีว่า กรมหมื่นพิทยาลงกรณ หรือน.ม.ส. (นามปากกา ทรงนำมาจากอักษรท้ายชื่อพระนาม) ทรงเป็นกวีเอกองค์หนึ่งของไทยตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๖
พระนิพนธ์ "สามกรุง" " กนกนคร" "นิทานเวตาล" " พระนลคำฉันท์" เป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย

พระมารดาของพระองค์เจ้าหญิงวิภาวดีรังสิต หรือหม่อมเจ้า(หญิง) พรพิมลพรรณ วรวรรณ  เป็นพระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์(พระองค์เจ้าวรวรรณากร)   พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๔  ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเขียน

พระองค์เจ้าหญิงวิภาวดี ทรงมีพระอนุชาร่วมพระมารดาเดียวกันอีกองค์หนึ่ง คือหม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 22 มิ.ย. 05, 19:55

 กรมพระนราธิปฯ ทรงเป็นทั้งศิลปินและกวี      กรมหมื่นพิทยาลงกรณก็ทรงเป็นกวี    
สายเลือดของกวีของทั้งสองฝ่ายสืบมาถึงพระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิตอย่างเต็มเปี่ยม     จึงทรงแต่ง "ปริศนา" ขึ้นได้ตั้งแต่พระชนม์ยังน้อย แค่พระชันษาไม่เกิน ๒๐ ปี  
อยู่ในช่วงสงครามมหาเอเชียบูรพา

ดังที่ทรงเล่าว่า

" เรื่องปริศนานี้   ข้าพเจ้าเขียนขึ้นเมื่ออายุไม่เกิน ๒๐ ปี   คือเมื่อออกจากโรงเรียนมาอยู่บ้านใหม่ๆ
ใช้เวลาถึง ๓ ปีถึงเขียนเรื่องปริศนาจบ      
ท่านเจ้าของโรงพิมพ์ประมวญมารค( ทรงหมายถึงกรมหมื่นพิทยาลงกรณ) รับไว้เพื่อลงในหนังสือพิมพ์รายอาทิตย์ ประมวญสาร
อีก ๒ อาทิตย์เรื่อง "ปริศนา" จะลงพิมพ์  โรงพิมพ์ประมวญมารคก็ถูกระเบิด  เพลิงไหม้หมด    
ข้าพเจ้าได้เสี่ยงชีวิตวิ่งฝ่าไฟเข้าไปในออฟฟิศ ของโรงพิมพ์ซึ่งกำลังไฟลุก     ไปเอาต้นฉบับเรื่อง"ปริศนา"ซึ่งอยู่ในนั้น    
มิฉะนั้น ปริศนาก็คงตายเสียในไฟ    ไม่มีโอกาสให้ใครได้รู้จักเกิน ๔ คน"

ผลจากทรงวิ่งเข้าไปในกองไฟ  สูดควันไฟเข้าไปมากทำให้ประชวรค่อนข้างหนัก   แต่ก็ทรงโชคดีที่หายได้เป็นปกติ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 28 มิ.ย. 05, 12:36

 ทางด้านการศึกษา  พระองค์เจ้าหญิงวิภาวดีรังสิต ทรงเริ่มต้นที่ร.ร.ผดุงดรุณี อยู่ ๑ ปี
แล้วย้ายมาเข้าที่ร.ร. วัฒนาวิทยาลัย ไม่ถึงปี ก็เสด็จไปศึกษาที่ร.ร.มาแตร์เดอีวิทยาลัย จนจบชั้นมัธยมปีที่ ๘

การเรียนในสมัยของท่าน  แบ่งไม่เหมือนสมัยนี้ เขาแบ่งกันแบบนี้ค่ะ
อนุบาล จะเรียนหรือไม่เรียนก็ได้
ประถมปีที่ ๑-๔ เป็นภาคบังคับที่เด็กไทยทุกคนต้องเรียน
มัธยมปีที่ ๑-๖
มัธยมปีที่ ๗-๘  ถือเป็นชั้นสูงสุดของโรงเรียน
เมื่อจบมัธยมปีที่ ๖ แล้ว  จะไม่ต่อชั้น ๗-๘ แต่ไปเข้าเรียนโรงเรียนอาชีวะ  ก็ได้ค่ะ
ถ้าเรียนชั้น ๗-๘ แล้ว จะหยุดแค่นั้นก็ถือว่าเรียนมากพอตัวแล้ว  ไม่ต้องต่อที่ไหนก็มีความรู้พอจะเข้าทำงานได้  
ที่จริงครูสมัยนั้นจำนวนมากก็จบมัธยม ๘ นี่แหละ
แต่ถ้าเรียนต่อขั้นมหาวิทยาลัยก็ต้องจบมัธยมปีที่ ๘ เสียก่อน

ร.ร.มาแตร์เดอีฯ  เปิดชั้นพิเศษ ที่ไม่ค่อยจะมีโรงเรียนอื่นสอนกันนัก  พูดจริงๆคือไม่รู้ว่ามีที่ไหนสอนกันอีกหรือเปล่าในประเทศไทย
เป็นหลักสูตรของยุโรป เรียกว่าฟินิชชิง คอร์ส  (Finishing Course) ต้องเรียน ๓ ปีถึงจบหลักสูตร
ฟินิชชิง คอร์ส  สอนเด็กสาวที่ไม่ประสงค์จะเรียนต่อขั้นมหาวิทยาลัย  แต่เรียนรู้วิชาต่างๆที่จะเป็นประโยชน์แก่ตนเองต่อไปภายหน้า  
เช่นเรียนภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส (ในสมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง  ฝรั่งเศสเป็นภาษาสำคัญอีกภาษาหนึ่งของยุโรป)
เรียนการเข้าสังคม เช่นการแต่งกายให้เหมาะสมกับกาลเทศ   มารยาทสังคม  ลีลาศ
การจัดโต๊ะดินเนอร์   จัดดอกไม้  ต้อนรับแขกในฐานะเจ้าภาพสตรี  
ความรู้รอบตัว ในการสมาคม   การดูแลบ้านช่องให้มีระเบียบสวยงาม รวมทั้งการควบคุมเรื่องเงินทองให้ดีด้วย

ต่อมาหลังสงครามโลกครั้งที่สอง  วิชาสาขานี้ก็เลิกสอนไป  มีแต่เรียนชั้นมัธยม ๗ และ ๘  เท่านั้น

หลักสูตรฟินิชชิ่ง คอร์สนี่แหละที่พระองค์เจ้าหญิงทรงนำมาเป็นฉากของ ชั้นพิเศษ ๑และ ๒ ของโรงเรียนสิกขาลัย ในเรื่องปริศนา
ที่ท่านหญิงรัตนาวดีน้องพระเอก  เป็นหัวโจกซุกซนทำอะไรแผลงๆ กับเพื่อนนักเรียนด้วยกัน   ตามประสาเด็กสาววัยรุ่นเมื่อ ๖๐ ปีก่อนพึงจะซุกซนได้
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 28 มิ.ย. 05, 12:43

 การเรียนในร.ร.สมัยนั้น  ผู้สอนเป็นแม่ชีชาวอเมริกันและยุโรป  กวดขันเรื่องภาษาแก่เด็กนักเรียนอย่างเอาจริงเอาจัง
ตำราต่างๆล้วนเป็นภาษาอังกฤษ  แม้แต่ตำราคณิตศาสตร์ก็เรียนเป็นภาษาอังกฤษล้วนๆ
เด็กนักเรียนจึงอ่านเขียนและพูดภาษาอังกฤษได้คล่อง

พระองค์เจ้าหญิงวิภาวดีฯ ทรงเล่าว่า

" พูดอังกฤษได้คล่องตั้งแต่ยังเป็นนักเรียนอยู่   เพราะได้ศึกษาจากมาแมร์เจ็มมะ   ซึ่งจ้ำจี้จ้ำไชขนาดหนักมาตั้งแต่เด็ก  ต่อมาก็เรียนจากมหาวิทยาลัยน.ม.ส.  
ได้เคยเป็นเลขานุการของพ่อตอนพระเนตรเป็นต้อ    ก็ทรงบอกให้ฉันเขียนหน้าห้าไปลงหนังสือ "ประมวญวัน" ทุกวัน
และยังรับคำบอกของท่าน เรื่อง "สามกรุง" และอื่นๆ
เป็นเล่มๆทีเดียว"
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 05 ก.ค. 05, 10:23

 การที่ได้ทรงคลุกคลีอยู่กับหนังสือ และยังทรงได้ใกล้ชิดกับเสด็จพ่อ ผู้ทรงเป็นกวีเอก  ทำให้พระองค์เจ้าหญิงวิภาวดีรังสิต สนพระทัยที่จะนิพนธ์ขึ้นเองบ้าง  เมื่อพระชันษาเพียง 14 ปี

พระนิพนธ์เรื่องแรก ไม่ใช่ "ปริศนา" แต่เป็นเรื่องแปล ชื่อ "เด็กจอมแก่น"
ทรงแปลจากหนังสือรวมเรื่องสั้นชุด William ของ Richmal Crompton
ซึ่งเป็นนักเขียนวรรณกรรมเยาวชนชื่อดังของอังกฤษ ในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 1

วิลเลียม เป็นเด็กชายอายุ 11 ปี   อาศัยอยู่ในหมู่บ้านเล็กๆในชนบทของอังกฤษ
มีเพื่อนร่วมแก๊งค์อีก  3 คน ชื่อจินเจอร์   ดักลาส  เฮนรี่  เรียกตัวเองว่า คณะนอกกฎหมาย หรือ The Outlaws
เจตนาดีของวิลเลียม ด้วยความไร้เดียงสาประสาเด็ก  ก่อเรื่องปวดเศียรเวียนเกล้าให้ผู้ใหญ่เวียนหัวไปตามๆกัน  
แต่ก็ขบขันครื้นเครงสำหรับคนอ่าน

เรื่องนี้เมื่อลงพิมพ์ ใน " ประมวญสาร" เป็นเรื่องที่ขายดีมาก
นักเรียน ร.ร. กรุงเทพคริสเตียนที่อยู่ใกล้โรงพิมพ์  แห่กันมาซื้อจนเกลี้ยงโรงพิมพ์
กลายเป็นเรื่องขายดี เพราะเด็กนักเรียนชอบอ่าน

ทรงรำลึกว่า
"การที่ข้าพเจ้ากลายเป็นนักเขียนขึ้นมาตั้งแต่อายุ 14 ปีนั้น ก็เพราะข้าพเจ้ามีพ่อแม่ที่เข้มงวด    อยากให้ข้าพเจ้ารู้ค่าของเงิน
จึงไม่ได้ตามใจข้าพเจ้าให้เงินทองใช้จนเหลือเฟือ     แต่สนับสนุนข้าพเจ้าในทางที่ควร
คือสอนให้มีมานะ  ให้รู้จักใช้หัวคิดที่จะทำโน่นทำนี่เพื่อถึงจุดหมายในความต้องการของตน...
ถ้าพ่อแม่ของข้าพเจ้าไม่ฉลาด    เห็นการณ์ไกลและสนับสนุนข้าพเจ้าในทางที่ถูกที่ควรแล้ว
ว.ณ ประมวญมารค ก็คงจะไม่มีกำเนิดขึ้นมาในโลก    คงจะดำดินอยู่ตลอดชีวิต
ไม่มีผลงานออกมาให้ใครได้อ่านสักชิ้นเดียวเป็นแน่"

ขอออกนอกเรื่องหน่อยค่ะ

ดิฉันพยายามหาหนังสือชุด WIlliam มาด้วยความลำบาก เพราะไม่มีวางจำหน่าย
ต้องซื้อเป็นหนังสือมือสอง
ก็ได้มาเยอะพอสมควร  หลายสิบชุด
อ่านแล้วสนุกคุ้มความลำบากทีเดียว

พระองค์เจ้าหญิงวิภาวดีรังสิต ทรงแปลด้วยภาษาอ่านง่ายๆ สบายๆ
เป็นสำนวนไทยๆ ไม่มีกลิ่นนมกลิ่นเนย
แสดงถึงพระอัจฉริยภาพทางการนิพนธ์ ตั้งแต่พระชนม์ได้แค่ 14 อย่างแท้จริง
บันทึกการเข้า
paganini
องคต
*****
ตอบ: 406

ทำงาน


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 12 ก.ค. 05, 11:15

 แฟนขาประจำของคุณเทาชมพูรออ่านอยู่ครับบบ

เดี๋ยวว่างๆจะชวนคุยเรื่องเพชรพระอุมา ตอนนี้ผมอ่านมาถึงเล่ม 46 แล้ว อ่านมาด้วยความทรมาณทรกรรมอย่างแสนสาหัส
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 12 ก.ค. 05, 17:15

 กระทู้นี้คงช้าค่ะ ค่อยเป็นค่อยไป  
เพราะต้องอ่านหนังสือหลายเล่ม
เอามาเรียบเรียงใหม่

ว่างเมื่อไร  เชิญตั้งกระทู้เพชรพระอุมานะคะ
ดิฉันเป็นแฟนพันธุ์(เกือบ) แท้คนหนึ่งของเรื่องนี้
ชอบภาค ๑ มากกว่าชอบภาค ๒ และ ๓ ของเรื่อง  
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 14 ก.ค. 05, 10:50

 ปริศนา ออกสู่สายตาคนอ่านในนิตยสารเดลิเมล์วันจันทร์ เมื่อประมาณ พ.ศ. 2497 หลังสิ้นสุดสงครามโลกแล้วเกือบ 10 ปี
ทรงเล่าว่า
"มีคนติดมาก    ไปที่ไหนก็พูดถึง    หนังสือพิมพ์ต้องเพิ่มจำนวนพิมพ์จากกพันเป็นหมื่นทุกสัปดาห์ที่หนังสือออก
นักอ่านตามหัวเมืองเป็นจำนวนมากมายจะไปคอยดักรับหนังสือที่สถานี  เต็มทุกสถานี
ตั้งแต่อยุธยาไปจนถึงเชียงใหม่ทีเดียว  ทางใต้ทางอีสานก็เช่นกัน
และเมื่อพิมพ์จำหน่ายเป็นเล่มก็ทำสถิติในการขายดี"

ปริศนาเป็นสาวน้อยนักเรียนนอก ฉลาด ประเปรียว กล้า ผิดหญิงไทยร่วมสมัยทั่วไป
แต่ถึงกล้าก็ไม่เคยประพฤติเสียหาย   แต่ทำให้คนอ่านทึ่ง ว่าเธอโดดเด่น แปลกกว่านางเอกเรียบร้อยในนิยายอื่นๆที่คนไทยคุ้นเคย
ส่วนพระเอก ก็เลอเลิศ   เป็นหม่อมเจ้าชายที่โก้ เก่ง ฉลาด ร่ำรวยและแสนดี
ทรงบรรยายไว้ว่า
" ร่ำรวยมหาศาล   หยิ่งราวกับมาจากสวรรค์  โก้ราวกับพระเอกหนัง"

เมื่อมีการประกวดปริศนา   ให้หญิงสาวส่งภาพมาที่นิตยสารเพื่อดูว่าใครจะเข้าเค้าที่สุด
ก็มีรูปถ่ายหลั่งไหลมาหลายหมื่นใบ
แต่หญิงสาวที่พระองค์เจ้าวิภาวดี ฯ ทรงเห็นว่าเหมือนปริศนาที่สุด กลับไม่ใช่หนึ่งในคนที่ส่งรูปถ่ายมา
แต่เป็นลูกสาวอดีตเอกอัครราชทูตไทย ชื่อคุณวาสนา กระแสสินธุ์
เป็นหญิงสาวอายุราว 19-20 หน้าตาจิ้มลิ้ม ตากลมโต ผมหยิก ร่างระหงบาง
ภาพเธอลงเป็นภาพประกอบในปริศนา รวมเล่มครั้งแรก
เพิ่งเห็นแวบๆในร้านหนังสือเก่า ในงานมหกรรมหนังสือ  แต่ยังไม่ทันได้ซื้อเพราะมัวเลือกเรื่องอื่นอยู่  เลยหาไม่เจออีก

ส่วนท่านชายพจน์ปรีชา   ผู้นิพนธ์ทรงบรรยายว่า
สูงใหญ่ โก้ มีหนวดราวกับเออร์รอล ฟลินน์
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 14 ก.ค. 05, 11:09

 ตอนที่อ่านปริศนาครั้งแรก  ไม่รู้ว่าเออร์รอล ฟลินน์หน้าตาเป็นยังไง
ได้แต่เดาว่าเป็นดาราฝรั่ง รุ่นเก๋า  ซึ่งคงตายไปนานแล้ว
จนกระทั่งใช้เน็ตเป็น ถึงหารูปเออร์รอล ฟลินน์เจอ

ไม่นานมานี้ได้ดีวีดี หนังเก่าของฮอลลีวู้ดมาชุดหนึ่ง
เรื่อง The Adventures of Robin Hood  
เออร์รอล ฟลินน์เล่นเป็นพระเอกคู่กับโอลิเวีย เดอ ฮาวิลแลนด์ค่ะ
หล่อมาก

ค้นหาภาพถ่ายของเขามาลงให้ดู  
ลองวาดภาพว่าท่านชายพจน์หล่อ ไว้หนวดเรียวแบบนี้
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 14 ก.ค. 05, 11:14

 นี่ค่ะ โรบินฮู้ด
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 15 ก.ค. 05, 18:17

 มาต่อค่ะ
กระทู้นี้เงียบเหงา   ไม่ค่อยมีใครเข้ามาคุยขัดจังหวะหรือผสมโรงบ้างเลย
*********************************************
พระสหายสนิทชื่อ เกรส เปเรร่า ได้บันทึกไว้ว่า
"อุปนิสัยบางอย่างของปริศนา เป็นขององค์ท่านเอง    เช่นปริศนาแม้จะเก่งและมีนิสัยชอบเล่นเพียงใด แต่ก็อยู่ในโอวาทของผู้ใหญ่เสมอ  
ทั้งเป็นคนช่างคิด และรู้ว่าอะไรเหมาะอะไรควรแค่ไหน    
เพราะในส่วนพระองค์ของท่านหญิงแล้ว เสด็จพ่อและท่านแม่รับสั่งอย่างไร  ท่านก็ทรงปฏิบัติตามเสมอ
และจะเสด็จไหนก็ทูลท่านแม่ก่อนเสมอไม่เคยขาด
 
ยิ่งกว่านั้น   สิ่งใดท่านโปรดเป็นพิเศษท่านก็ทรงเขียนไว้ในเรื่อง "ปริศนา" เช่นกัน   เช่นกระโปรงขาวบานสำหรับงานราตรี    เข็มกลัดรูปดอกไม้ที่ท่านแม่ประทาน ในวันประสูติ
ปริศนาก็มีกระโปรงขาวบานสวยสะดุดตา   และเข็มกลัดรูปดอกไม้จากคุณนายสมรในวันเกิดเช่นเดียวกัน"
ยังมีพระนิสัยอีกหลายอย่างที่ทรงจำลองไว้ในตัวปริศนา  

เช่นโปรดสิ่งแปลกๆใหม่ๆ กล้าเสี่ยง
โปรดขับรถยนต์
โปรดสุนัข
เป็นองค์ของท่านเอง
สิ่งใดที่สนพระทัยก็ค้นคว้าด้วยพระองค์เอง
โปรดที่จะเสด็จไปหาเพื่อนสนิทที่บ้านอยู่ด้านหลังวัง  มีรั้วเดียวกัน   ทรงปีนข้ามไปด้วยการหาบันไดไม้ไผ่มาพาดรั้วทั้งสองด้าน  
พอทรงปีนบันไดไปจนสุดกำแพงก็ทรงลงไปอีกฟากหนึ่งด้วยบันไดที่พาดรอรับอยู่   สะดวกกว่าอ้อมไปทางหน้าวัง เดินไปตามถนนเพื่อเข้าประตูหน้าบ้านเพื่อน
เหตุการณ์นี้ก็ทรงใส่ไว้ในบ้านของปริศนาและบ้านของนพ เพื่อนสนิทของปริศนา
โปรด Serenade ของ Schubert ซึ่งทรงใส่ไว้ในเรื่องเช่นกัน
โปรดว่ายน้ำ  และเก่งภาษาอังกฤษ เช่นเดียวกับปริศนา
โปรดตั้งชื่อคนให้แปลกๆ อย่างชื่อเกรส  ข้าหลวงในวังเรียกไม่ชัดก็กลายเป็นคุณเกด  
ส่วนปริศนาเรียกตัวละครอีกตัวที่ชื่อเสมอว่า นาย Always
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 15 ก.ค. 05, 18:34

 พูดถึงแฟชั่นในเรื่องปริศนา     เป็นแฟชั่นยุค 1940s ซึ่งหารูปในเน็ตไม่เจอ  แต่รู้ว่ามันเป็นแบบไหน
เป็นแฟชั่นที่หรูหราอย่างนางเอกนิยายไทยร่วมสมัยไม่เคยใส่
นางเอกในเรื่องอื่นๆยังนุ่งผ้าซิ่นหรืออย่างดีก็กระโปรง  แต่ปริศนาสวมชุดราตรีผ้าโปร่งสีขาว ใช้ผ้าถึง ๓๐ เมตร  บนเนื้อผ้าติดดาวเงินเล็กๆ ทั่วตัว
กระทบแสงไฟแล้วเป็นประกายแว๊บๆไปทั้งตัว   ไฟสีอะไรก็ย้อมสีดาวเงินให้กลายเป็นสีนั้น

แฟชั่นผ้าโปร่ง ๓๐ เมตร แบบที่ปริศนาสวม จนบัดนี้ยังไม่ล้าสมัย
แต่ฝรั่งเขาไปแต่งเป็นชุดเจ้าสาวกันค่ะ   เพียงแต่ไม่มีดาวเงิน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 15 ก.ค. 05, 18:34

 นี่คือผ้าโปร่ง tulle แบบที่ปริศนาสวม
บันทึกการเข้า
ดารากร
อสุรผัด
*
ตอบ: 47

นักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 17 ก.ค. 05, 11:27


ดิฉันชอบเรื่องปริศนามากค่ะ จนต้องตามอ่านเรื่องเจ้าสาวของอานนท์ กับท่านหญิงรัตนาวดีต่อ ชุดสวยมากนะคะ คุณเทาชมพู น่าจะสวยสูสีกับชุดคุณรตี แต่คงไม่หวือหวาเท่า

เรื่องปริศนาทำให้ดิฉันนึกถึงหัวหินค่ะ ตอนที่ท่านชายพจน์ลงมาจากทางเหนือ มาหาปริศนา

รูปพระอาทิตย์ขึ้นที่หัวหินค่ะ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 ... 9
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.067 วินาที กับ 19 คำสั่ง