เรือนไทย

General Category => ชมรมอนุรักษ์ภาพจิตรกรรมไทย => ข้อความที่เริ่มโดย: yutthana ที่ 30 ส.ค. 10, 14:41



กระทู้: วัดเชิงท่าเชิงช่างครูรัตนโกสินทร์
เริ่มกระทู้โดย: yutthana ที่ 30 ส.ค. 10, 14:41
 :-[ ว่าจะหาเวลาลงกระทู้วัดเชิงท่าอยู่หลายหน 

แต่ติดว่าภาพมีมากและต้องย่อภาพให้เหมาะสมและปรับแต่ง

เลยไม่ค่อยมีเวลาที่จะลงแต่ถ้าไม่ลงอะไรเลย กระทู้คงซบเซา

หลังจากมิตติ้ง คุยเรื่องแนวทางชมรมกับสมาชิกทั้งหลาย

กลับมาคิดดู  ว่าเหตุผลที่ทำให้เกิดชมรม   คือความรักและประทับใจ

ในงานศิลปกรรมต่างๆ    ความรักและชื่นชมต่อความงามทางศิลปะไทย

และเกี่ยวเนื่องกับจารีตประเพณี วัฒนธรรมต่างๆและคุณค่าทางประวัตติศาสตร์

จึงทำให้เกิดการรวมตัวของชมรม  แน่นอนว่าในอดีตรุ่นครูอาจารย์เองก็ได้มีการ

เก็บข้อมูลต่างๆไว้มากมาย  แต่ก็เป็นลักษณะที่ต่างคนต่างเก็บ  มิได้  มีลักษณะ

รวมกันเป็นแหล่งข้อมูลสำหรับการศึกษาศิลปะไทยกันแบบร่วมมือกันและทุกคนมีสิทธิ

ในการใช้ข้อมูลได้แน่นอนละว่า คนคนเดียวคงไม่สามารถเก็บข้อมูลได้หมด

หรือไปทุกที่ที่อยากไปได้   ถ้าทุกคนร่วมมือและเปิดใจ ไม่มีอคติหรืออัตตาในการรวบรวมข้อมูล

ทางศิลปะไทยเหล่านี้ จะเป็นประโยชน์อยากมากมายมหาศาลกับศิลปะของไทยเป็นอย่างยิ่ง และเป็นแนวทางที่ยังไม่มีในโลกอินเตอร์เน็ตแห่งนี้

อนึ่งเหตุปัจจัยหนึ่งที่ต้องเก็บข้อมูลรวมกัน คือ ความรวดเร็วในการสูญเสียศิลปกรรมไทยอันทรงคุณค่า

ไม่ว่าจากกาลเวลาหรือน้ำมือมนุษย์  ภายในไม่เกิน๓๐ ปี งานดีๆคงแทบจะไม่เหลือให้สืบต่อกัน

จากประสบการณ์ที่มีชีวิตเห็นการเปลี่ยนแปลงของศิลปกรรมต่างๆ   คงไม่อาจจะห้ามสิ่งเหล่านี้ได้

ทางที่ทำได้คงเป็นการเก็บข้อมูลให้แก่คนรุ่นต่อไป ได้เห็นของดีๆ งานงามๆที่ช่างบรรจงสร้างงามวิจิตร

และสืบต่องานช่างต่อไป  ผมเองเชื่อว่างานศิลปะไทยนั้นคงจะกลับมารุ่งเรืองและเป็นที่ชื่นชมกับคนไทย

ในคนรุ่นหลัง เพียงแต่ต้องไม่มีงานศิลปกรรมไทยให้ดูเสียก่อนถึงจะรู้สึกได้ถึงการสูญเสียความเป็นเอกลักษณ์

ของชาติเรา  วัตถุประสงค์ของชมรมอนุรักษ์ศิลปกรรมไทย(ในความคิดส่วนตัว) คงมีอยู่ไม่กี่ข้อ

คือ ๑. รวบรวมข้อมูลทางศิลปกรรมของไทย
    ๒. วิจัยหรือตกผลึกองค์ความรู้และเทคนิคต่างๆในงานศิลปกรรมไทย
    ๓.เผยแพร่ความรู้ทางศิลปกรรมไทยให้แก่คนทั่วไปในการเสพงานที่เป็นของชาติไทย
    ๔.เป็นแหล่งข้อมูลในการศึกษา สืบต่อ  แก่ช่าง และนักศึกษาหรือบุลคลที่สนใจในการพัฒนาความเชี่ยวชาญ
   
สำหรับผมเองแค่สี่ข้อนี้ที่อยากจะทำ ซึ่งคงยากถ้าไม่มีใครเอาด้วย แต่ก็ยังคงจะทำไปจนกว่าที่สุด 

บ่นมามากแล้วเข้าสู่ตัวเรื่องกันดีกว่า    วัดเชิ่งท่า  ที่จังหวัดอยุธยา  มีจิตรกรรมสมัยรัตนโกสินทร์อยู่ฝีมือช่างงามมาก

ว่าจะไปถ่ายเก็บหลายต่อหลายครั้ง  ก็ไม่มีเวลาเสียที  เมื่อมีโอกาสก็เก็บไว้เสียก่อนที่จะไม่มีให้ถ่าย   ส่วนประวัติของวัดคงหาอ่านกันตามเน็ตได้

คงไม่ต้องมาบรรยายอีกเอาเป็นว่าชมภาพเพลินๆก็แล้วกันครับ   ผมจะเป็นไกด์นำท่านชมก็แล้วกันครับ

เดินเข้ามาในศาลาเก่าเข้ามากราบพระอย่างที่เห็นในรูปจะเห็นธรรมมาสสองหลังอยู่ด้านหลังสมัยอยุธยาดังรูป


กระทู้: วัดเชิงท่าเชิงช่างครูรัตนโกสินทร์
เริ่มกระทู้โดย: yutthana ที่ 30 ส.ค. 10, 14:45
เมื่อกราบพระแล้วก็มาดูภาพจิตรกรรมฝาผนัง

 ด้านหน้าองค์พระซึ่งอยู่ตรงกลางระหว่างประตูทางเข้าทั้งสองบาน

 เป็นภาพบรรยากาศของตลาดใครไม่เคยเห็นตลาดสมัยก่อนหาดูได้ในภาพนี้ครับ


กระทู้: วัดเชิงท่าเชิงช่างครูรัตนโกสินทร์
เริ่มกระทู้โดย: yutthana ที่ 30 ส.ค. 10, 14:50
เมื่อดูภาพแล้วก็เสียดายเพราะหลุดร่อนเกือบหมดเพราะความชื้น

ซึ่งเป็นปัญหาของสิ่งก่อสร้างของไทย เอ้าดูใกล้อีกนิดหนึ่งอย่าเพิ่งเบื่อนะครับ


กระทู้: วัดเชิงท่าเชิงช่างครูรัตนโกสินทร์
เริ่มกระทู้โดย: yutthana ที่ 30 ส.ค. 10, 14:57
ภาพขยายต่อมา


กระทู้: วัดเชิงท่าเชิงช่างครูรัตนโกสินทร์
เริ่มกระทู้โดย: ฉันรักบางกอก ที่ 30 ส.ค. 10, 16:22
ขอบคุณพี่ยุทธคะ พักนี้ทำงานตัวเป็นเกลียว ไม่มีอะไรมาอวดกับเค้าเลยคะ

อย่าลืมเรื่องตราเรานะคะ


กระทู้: วัดเชิงท่าเชิงช่างครูรัตนโกสินทร์
เริ่มกระทู้โดย: yutthana ที่ 30 ส.ค. 10, 17:28
ภาพต่อมาครับ


กระทู้: วัดเชิงท่าเชิงช่างครูรัตนโกสินทร์
เริ่มกระทู้โดย: yutthana ที่ 30 ส.ค. 10, 17:29
ภาพต่อมาครับ


กระทู้: วัดเชิงท่าเชิงช่างครูรัตนโกสินทร์
เริ่มกระทู้โดย: yutthana ที่ 30 ส.ค. 10, 17:30
ภาพต่อมาครับ ได้บรรยากาศตลาดสดมีทั้งชนไก่


กระทู้: วัดเชิงท่าเชิงช่างครูรัตนโกสินทร์
เริ่มกระทู้โดย: yutthana ที่ 30 ส.ค. 10, 17:32
ภาพต่อมาครับ


กระทู้: วัดเชิงท่าเชิงช่างครูรัตนโกสินทร์
เริ่มกระทู้โดย: yutthana ที่ 30 ส.ค. 10, 17:34
ภาพต่อมาครับ


กระทู้: วัดเชิงท่าเชิงช่างครูรัตนโกสินทร์
เริ่มกระทู้โดย: yutthana ที่ 30 ส.ค. 10, 17:34
ภาพต่อมาครับ


กระทู้: วัดเชิงท่าเชิงช่างครูรัตนโกสินทร์
เริ่มกระทู้โดย: yutthana ที่ 30 ส.ค. 10, 17:35
ภาพต่อมาครับ


กระทู้: วัดเชิงท่าเชิงช่างครูรัตนโกสินทร์
เริ่มกระทู้โดย: yutthana ที่ 30 ส.ค. 10, 17:36
ภาพต่อมาครับ


กระทู้: วัดเชิงท่าเชิงช่างครูรัตนโกสินทร์
เริ่มกระทู้โดย: yutthana ที่ 30 ส.ค. 10, 17:37
ภาพต่อมาครับ


กระทู้: วัดเชิงท่าเชิงช่างครูรัตนโกสินทร์
เริ่มกระทู้โดย: yutthana ที่ 30 ส.ค. 10, 17:38
ภาพต่อมาครับ


กระทู้: วัดเชิงท่าเชิงช่างครูรัตนโกสินทร์
เริ่มกระทู้โดย: yutthana ที่ 30 ส.ค. 10, 17:42
ภาพสุดท้ายสำหรับฝนังแรกครับ   

บางท่านอาจรู้สึกว่าภาพเหมือนๆกันก็ผ่านเลยไปบ้าง

ก็ได้ครับเพียงแต่ผมอยากให้เห็นรายละเอียดส่วนต่างๆครับ

สำหรับผู้ชื่นชอบทางจิตรกรรมและผู้ศึกษาโดยเฉพาะ


กระทู้: วัดเชิงท่าเชิงช่างครูรัตนโกสินทร์
เริ่มกระทู้โดย: yutthana ที่ 30 ส.ค. 10, 17:44
ลายอกเลาเป็นดอกพุตตาลอันเป็นเอกลักษณ์ของงานรัชกาลที่๓และ๔โดะเฉพาะครับ


กระทู้: วัดเชิงท่าเชิงช่างครูรัตนโกสินทร์
เริ่มกระทู้โดย: yutthana ที่ 30 ส.ค. 10, 17:57
บานประตูเป็นรูปเสี้ยวกางทำเป็นลายรดน้ำลองคิดดูครับว่าสมัยตอนนั้นจะงดงามแค่ไหน(แต่ปัจจุบันเหลือแต่ร่องรอยที่มองด้วยตาเปล่า  ถ่ายรูปคงดูไม่ชัดเจนครับ)


กระทู้: วัดเชิงท่าเชิงช่างครูรัตนโกสินทร์
เริ่มกระทู้โดย: yutthana ที่ 30 ส.ค. 10, 18:02
หลังประตูมีความงามอยู๋ดูเอาเอง  วัดนี้เรียกได้ว่า ช่างเต็มที่มีฝีมือเท่าไหร่ใส่หมด


กระทู้: วัดเชิงท่าเชิงช่างครูรัตนโกสินทร์
เริ่มกระทู้โดย: yutthana ที่ 30 ส.ค. 10, 18:05
ลายละเอียดของภาพ ผมเดินไล่ถ่ายจากกลางไปทางขวาเรื่อยๆ ลองชมตามกันดู


กระทู้: วัดเชิงท่าเชิงช่างครูรัตนโกสินทร์
เริ่มกระทู้โดย: yutthana ที่ 30 ส.ค. 10, 18:14
เห็นสีแล้วการทับซ้อนของสียิ่งงามวิจิตร   สีไม่ทึบตันเหมือนที่ซ่อมสมัยใหม่ซึ่งเป็นการทำลายมากกว่า


กระทู้: วัดเชิงท่าเชิงช่างครูรัตนโกสินทร์
เริ่มกระทู้โดย: yutthana ที่ 30 ส.ค. 10, 18:16
ดูทางด้านขวาบ้างครับ


กระทู้: วัดเชิงท่าเชิงช่างครูรัตนโกสินทร์
เริ่มกระทู้โดย: yutthana ที่ 30 ส.ค. 10, 18:18
อันนี้แถมเป็นมังกรจีน

และขอคั่นเวลาแค่นี้ก่อนนะครับแล้วมีเวลาจะมีต่อครับ


กระทู้: วัดเชิงท่าเชิงช่างครูรัตนโกสินทร์
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 30 ส.ค. 10, 19:52
สวยงามมากๆครับ ไปที่นั่นแล้วได้ความรู้หลายแขนงจริงๆ


กระทู้: วัดเชิงท่าเชิงช่างครูรัตนโกสินทร์
เริ่มกระทู้โดย: yutthana ที่ 30 ส.ค. 10, 21:20
ผนังต่อมาเสียหายหลุดร่อนหมดอย่างที่เห็น ใครเคยถ่ายภาพที่สภาพดีอยู่ได้มาให้ดูจะกราบงามๆที


กระทู้: วัดเชิงท่าเชิงช่างครูรัตนโกสินทร์
เริ่มกระทู้โดย: yutthana ที่ 30 ส.ค. 10, 21:26
ผนังต่อมางามไม่แพ้กันเป็นการเขียนต่อเนื่องกัน ในมุมผนัง  งามอย่างไรเสพความงามกันเลยครับ


กระทู้: วัดเชิงท่าเชิงช่างครูรัตนโกสินทร์
เริ่มกระทู้โดย: yutthana ที่ 30 ส.ค. 10, 21:32
รายละเอียดของภาพ


กระทู้: วัดเชิงท่าเชิงช่างครูรัตนโกสินทร์
เริ่มกระทู้โดย: yutthana ที่ 30 ส.ค. 10, 21:33
รายละเอียดของภาพ


กระทู้: วัดเชิงท่าเชิงช่างครูรัตนโกสินทร์
เริ่มกระทู้โดย: yutthana ที่ 30 ส.ค. 10, 21:33
รายละเอียดของภาพ


กระทู้: วัดเชิงท่าเชิงช่างครูรัตนโกสินทร์
เริ่มกระทู้โดย: yutthana ที่ 30 ส.ค. 10, 21:34
รายละเอียดของภาพ


กระทู้: วัดเชิงท่าเชิงช่างครูรัตนโกสินทร์
เริ่มกระทู้โดย: yutthana ที่ 30 ส.ค. 10, 21:35
รายละเอียดของภาพ


กระทู้: วัดเชิงท่าเชิงช่างครูรัตนโกสินทร์
เริ่มกระทู้โดย: yutthana ที่ 30 ส.ค. 10, 21:35
รายละเอียดของภาพ


กระทู้: วัดเชิงท่าเชิงช่างครูรัตนโกสินทร์
เริ่มกระทู้โดย: yutthana ที่ 30 ส.ค. 10, 21:36
รายละเอียดของภาพ


กระทู้: วัดเชิงท่าเชิงช่างครูรัตนโกสินทร์
เริ่มกระทู้โดย: yutthana ที่ 30 ส.ค. 10, 21:38
รายละเอียดของภาพ


กระทู้: วัดเชิงท่าเชิงช่างครูรัตนโกสินทร์
เริ่มกระทู้โดย: yutthana ที่ 30 ส.ค. 10, 21:38
รายละเอียดของภาพ


กระทู้: วัดเชิงท่าเชิงช่างครูรัตนโกสินทร์
เริ่มกระทู้โดย: yutthana ที่ 30 ส.ค. 10, 21:39
รายละเอียดของภาพ


กระทู้: วัดเชิงท่าเชิงช่างครูรัตนโกสินทร์
เริ่มกระทู้โดย: yutthana ที่ 30 ส.ค. 10, 21:40
รายละเอียดของภาพ


กระทู้: วัดเชิงท่าเชิงช่างครูรัตนโกสินทร์
เริ่มกระทู้โดย: yutthana ที่ 30 ส.ค. 10, 21:41
รายละเอียดของภาพ


กระทู้: วัดเชิงท่าเชิงช่างครูรัตนโกสินทร์
เริ่มกระทู้โดย: yutthana ที่ 30 ส.ค. 10, 21:42
รายละเอียดของภาพ


กระทู้: วัดเชิงท่าเชิงช่างครูรัตนโกสินทร์
เริ่มกระทู้โดย: yutthana ที่ 30 ส.ค. 10, 21:44
รายละเอียดของภาพ


กระทู้: วัดเชิงท่าเชิงช่างครูรัตนโกสินทร์
เริ่มกระทู้โดย: yutthana ที่ 30 ส.ค. 10, 21:48
รายละเอียดของภาพ


กระทู้: วัดเชิงท่าเชิงช่างครูรัตนโกสินทร์
เริ่มกระทู้โดย: yutthana ที่ 30 ส.ค. 10, 21:50
รายละเอียดของภาพ แสดงถึงการแต่งตัวเข้าเฝ้าของขุนนางในสมัยนั้น

เพราะงั้นจิตรกรรมเปรียบเหมือนภาพถ่ายทีมีคุณค่าในการถ่ายทอดประวัติศาสตร์อย่างหนึ่ง

 แต่เรากลับปล่อยให้สิ่งเหล่านี้สูญหายไป


กระทู้: วัดเชิงท่าเชิงช่างครูรัตนโกสินทร์
เริ่มกระทู้โดย: yutthana ที่ 30 ส.ค. 10, 21:59
รายละเอียดของภาพ


กระทู้: วัดเชิงท่าเชิงช่างครูรัตนโกสินทร์
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 30 ส.ค. 10, 22:41
พี่ยุทธเอาจริง อิิอิ ;D

หากศาลาการเปรียญวัดใหญ่สุวรรณารามเป็นของคู่เมืองเพชร เป็นเพชรสมัยอยุธยา ศาลาการเปรียญวัดเชิงท่าก็ถือเป็นเพชรน้ำเอกของศิลปะรัชกาลที่ 4 ได้เช่นกัน

เมื่อเราชมศิลปะสมัยพระจอมเกล้า ก็มักเกิดอคติว่า จะต้องเลียนอย่างตะวันตก เขียนฝีมือด้อยสู้รัชกาลที่ 3 ไม่ได้ ติไปต่างๆนาๆ แต่ถ้าหาชมไปเรื่อยๆ จิตรกรรมสมัยรัชกาลที่ 4 หลายต่อหลายแห่ง โดยเฉพาะที่ไม่ค่อยจะมีชื่อเสียงโด่งดัง (ตัดวัดบวรนิเวศออกไปในอันดับต้นๆ) จะพบว่าจิตรกรรมเหล่านี้ช่างงดงามน่ารักกระจุ๋มกระจิ๋ม เขียนฝีมือประณีตเสียกลัวว่าช่างเขียนเสร็จแล้วคงตาบอดไปเลย

ไม่ได้ยกยอจนเลิศเลอ แต่อยากให้หันกลับมาชื่นชมจิตรกรรมสมัยพระจอมเกล้าบ้างครับ


กระทู้: วัดเชิงท่าเชิงช่างครูรัตนโกสินทร์
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 31 ส.ค. 10, 08:52
ชอบภาพจิตรกรรมฝาผนังที่เป็นภาพบรรยากาศตลาดสด  มีรายละเอียดน่าสนใจหลายอย่าง
มีการยื้อฉุดแย่งผู้หญิงกันกลางตลาดด้วย

ภาพอื่นๆ คงจะเป็นทศชาติชาดก  แต่ดูออกบางภาพคือ
ภาพในความเห็นที่ ๔๒ เป็นเรื่องวิธูรชาดก
ภาพในความเห็นที่ ๒๖ - ๓๒  น่าจะเป็นเรื่องภูริทัตชาดก
ภาพที่คนขี่ช้างนั้น  อาจจะเป็นมโหสถชาดกหรือไม่ก็เวสสันดรชาดก

 ;D


กระทู้: วัดเชิงท่าเชิงช่างครูรัตนโกสินทร์
เริ่มกระทู้โดย: kui045 ที่ 31 ส.ค. 10, 19:33
ชอบรรยากาศในตลาดสดจริงๆ
ดูกี่ครั้งก็ไม่เบื่อ

เปิดภาพแรกมาสะดุดกับธรรมมาส (หรือเปล่า) หลังองค์พระเสียจริงๆ ไม่รู้ว่ามีภาพขยายหรือเปล่าครับ

กับลายมังกร-ผ้าม่านชุดเครื่องไหว้อย่างจีน บนบานประตู ก็สวยงาม อ่อนช้อย มีชีวิตชีวา


กระทู้: วัดเชิงท่าเชิงช่างครูรัตนโกสินทร์
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 31 ส.ค. 10, 23:37
อยากตอบหน่อยครับ ในคห.ที่ 25 ลงมา ทั้งหมดเขียนเรื่องวิธูรบัณฑิตครับ ตั้งแต่พระเจ้าธนัญชัยแพ้พนันสกาปุณณกยักษ์ ถึงเทศนาโปรดนาคพิภพ อันเป็นตอนสุดท้าย

สำหรับในคห.25 ที่เห็นมีนาคมากๆ เป็นซีนสุดท้ายของชาดกเรื่องนี้ ตอนพระโพธิสัตว์เสด็จไปโปรดนาคพิภพ เนื่องจากภรรยานาค นางวิมาลาได้ฟังชื่อเสียงของวิธุรบัณฑิตแล้วอยากเจอองค์เป็นๆ จึงออกอุบายแกล้งป่้วย อยากได้หัวใจพระโพธิสัตว์ งานนี้นางอิรันทตี ลูกสาวจึงออกไปร้องเพลงอยู่ริมเขากาฬคีรี ว่าใครอยากได้นางเป็นภรรยาจะต้องเอาหัวใจวิธูรบัณฑิตมาแลก

เ่รื่องจึงดำเนินไปเรื่อยๆ ปุณกยักษ์ขับม้าสินธพผ่านมา เกิดต้องใจนางอิรันทตีนาคินี จึงอาสาไปเอาหัวใจมหาบัณฑิต โดยไปท้าพนันสกากับพระเจ้าธนัญชัย ทรงเล่นแพ้ จึงต้องเสียวิธูรบัณฑิต แต่เนื่องจากเป็นพระเอกของเรื่องนี้ จึงฆ่าไม่ตาย สุดท้ายก็ได้เทศน์โปรดปุณกยักษ์ และทราบสาเหตุที่แท้จริงว่า นางวิมาลาต้องการหัวใจของวิธุรบัณฑิต ก็คือต้องการฟังธรรมนั่นเอง

สุดท้ายก็จบแบบแฮปปี้เอนดิ้ง นางวิมาลาได้ฟังธรรมในพิภพนาค ปุณกยักษ์ได้นางอิรันทตี และวิธูรบัณฑิตได้กลับมาบ้านเมือง


กระทู้: วัดเชิงท่าเชิงช่างครูรัตนโกสินทร์
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 01 ก.ย. 10, 08:44
ว้า...มาปล่อยไก่เสียแล้วเรา :-[  แต่ก็ยังดีตอบถูกอยู่บ้าง


กระทู้: วัดเชิงท่าเชิงช่างครูรัตนโกสินทร์
เริ่มกระทู้โดย: yutthana ที่ 02 ก.ย. 10, 13:57
ขอบคุณน้องกุที่มาช่วยให้ความกระจ่างครับ   ลองมาดูภาพขยายใน คห. ๓๔  ครับน่าจะเป็นนาฬิกาหรือเปล่า   นี่แหละครับคุณค่าทางประวัติศาสตร์ในศิลปะไทย


กระทู้: วัดเชิงท่าเชิงช่างครูรัตนโกสินทร์
เริ่มกระทู้โดย: yutthana ที่ 02 ก.ย. 10, 14:19
มาต่อกันดีกว่าพอเอาภาพมาลงแล้วเห็นว่าน่าจะเอาเนื้อหามาปรพกอบด้วยคงจะดีได้อรรถรสในการชมและเห็นว่าเป็นประโยชน์ครับเชิญทัศนาภาพต่อครับ


วิทูรชาดก

ในเมืองอินทปัตต์ แคว้นกุรุ พระราชาทรง พระนามว่า ธนัญชัย

 ทรงมีนักปราชญ์ประจำ ราชสำนักชื่อว่า วิธุร วิ ธุรเป็นผู้มีวาจาฉลาด

หลักแหลม เมื่อจะกล่าวถ้อยคำสิ่งใด ก็สามารถ ทำให้ผู้ฟังเกิดความเลื่อมใสครัทธรา

และ ชื่นชมยินดีในถ้อยคำนั้น ในครั้งนั้น มีพราหมณ์อยู่ 4 คน เคยเป็นเพื่อน สนิทกันมาแต่เก่าก่อน

ต่อมาพราหมณ์ทั้งสี่ ได้ออกบวช เป็นฤษีบำเพ็ญพรตอยู่ในป่า หิมพานต์ และบางครั้งก็เข้ามาสั่งสอนธรรม

แก่ผู้คนในเมืองบ้าง ครั้งหนึ่งมี เศรษฐี 4 คน ได้อัญเชิญฤาษีทั้งสี่ ไปที่บ้านของตน เมื่อ ฤาษีบริโภคอาหารแล้ว

ได้เล่าให้เศรษฐีฟังถึง สมบัติในเมืองต่างๆทีตนได้เคยไปเยือนมา ฤาษีองค์หนึ่งเล่าถึงสมบัติของพระอินทร์

องค์ที่สองเล่าถึง สมบัติของพญานาค องค์ที่สาม เล่าถึงสมบัติพญาครุฑ และองค์สุดท้ายเล่าถึง สมบัติของพระราชาธนัญชัย

แห่งเมืองอินทปัตต์ เศรษฐีทั้งสี่ได้ฟังคำพรรณนา ก็เกิดความ เลื่อมใสอยากจะได้สมบัติเช่นนั้นบ้าง

ต่างก็ พยายามบำเพ็ญบุญ ให้ทาน รักษาศีลและอธิษฐาน ขอให้ได้ไปเกิดเป็นเจ้าขอสมบัติดังที่ต้องการ

ด้วยอำนาจแห่งบุญ ทาน และศีล เมื่อสิ้น อายุแล้ว เศรษฐีทั้งสี่ก็ได้ไปเกิดในที่ที่ตั้ง ความปรารถนาไว้

 คือ คนหนึ่งไปเกิดเป็น ท้าวสักกะเทวราช คนที่สองไปเกิดเป็น พญานาคชื่อว่า ท้าววรุณ

คนที่สามไปเกิดเป็น พญาครุฑ และคนที่สี่ไปเกิดเป็นโอรสพระเจ้าธนัญชัย

 ครั้นเมื่อพระราชาธนัญชัยสวรรคตแล้ว ก็ได้ครอง ราชสมบัติในเมืองอินทปัตต์

ต่อมา ทั้งท้าวสักกะ พญานาควรุณ พญาครุฑ และ พระราชา ล้วนมีจิตใจ ปรารถนาจะรักษาศีล บำเพ็ญธรรม

 ต่างก็ได้แสวงหาโอกาสที่จะรักษา ศีลอุโบสถและบำเพ็ญบุญ ให้ทาน อยู่เป็นนิตย์

 วันหนึ่งบุคคลทั้งสี่เผอิญได้มาพบกันที่สระ โบกขรณี ด้วยอำนาจแห่งความผูกพันที่มี มาตั้งแต่ครั้งยังเกิด

เป็นเศรษฐีสี่สหาย ทั้งสี่ คนจึงได้ทักทายปราศรัยกันด้วยไมตรี ขณะกำลังสนทนาก็ได้เกิดถกเถียงกันขึ้นว่า

ศีลของใครประเสริฐที่สุด ท้าวสักกะกล่าวว่า พระองค์ทรงละทิ้งสมบัติทิพย์ในดาวดึงส์ มา บำเพ็ญ พรตอยู่ในมนุษย์โลก ศีลของพระองค์ จึงบริสุทธิกว่าผู้อื่น

 ฝ่ายพญานาควรุณกล่าวว่า ธรรมดาครุฑนั้น เป็นศัตรูตัวร้ายของนาค เมื่อตนได้พบกับพญาครุฑ

กลับสามารถ อดกลั้นความโกรธเคืองได้ จึงนับว่า ศีลของ ตนบริสุทธิ์กว่าผู้อื่น

พญาครุฑกล่าวแย้งว่า ธรรมดานาคเป็นอาหารของครุฑ ตนได้พบ นาคแต่ สามารถอดกลั้นความอยากใน อาหารได้

นับว่าศีลของตนประเสริฐที่สุด ส่วนพระราชาทรงกล่าวว่า พระองค์ได้ทรงละ พระราชวังอันเป็นสถานที่สำราญ พรั่งพร้อม

 ด้วยเหล่านารีที่เฝ้าปรนนิบัติ มาบำเพ็ญธรรม แต่ลำพังเพื่อประสงค์ความสงบ ดังนั้นจึงควร นับว่า ศีลของพระองค์ บริสุทธิ์ที่สุด

 ทั้งสี่ถกเถียงกันเป็นเวลานาน แต่ก็ไม่สามารถ ตกลงกันได้ จึงชวนกันไปหาวิธุรบัณฑิต เพื่อให้ ช่วยตัดสิน วิธุรบัณฑิตจึงถามว่า

"เรื่องราวเป็น มาอย่างไรกัน ข้าพเจ้าไม่อาจตัดสินได้หากไม่ ทราบเหตุอันเป็นต้น เรื่องของปัญหาอย่างละเอียด ชัดเจนเสียก่อน"

แล้ว ทั้งสี่ก็เล่าถึงเรื่องราวทั้งหมด วิธุรบัณฑิตฟังแล้วก็ตัดสินว่า

"คุณธรรมทั้งสี่ ประการนั้น ล้วนเป็นคุณธรรมอันเลิศทั้งสิ้น ต่างอุดหนุน เชิดชูซึ่งกันและกัน ไม่มีธรรมข้อไหน ต่ำต้อยกว่ากันหรือเลิศกว่ากัน

บุคคลใดตั้งมั่น อยู่ในคุณธรรมทั้งสี่นี้ ถือได้ว่าเป็นสันติชนในโลก"

ทั้งสี่เมื่อได้สดับคำตัดสินนั้น ก็มีความชื่นชม ยินดีในปัญญาของวิธุรบัณฑิต ที่สามารถแก้ ปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างมีเหตุมีผล

ต่างคน ต่างก็ได้บูชาความสามารถของวิธุรบัณฑิต ด้วยของมีค่าที่เป็นสมบัติของตน

เมื่อพญานาควรุณกลับมาถึงเมืองนาคพิภพ พระนางวิมลา มเหสีได้ทูลถามขึ้นว่า "แก้ว มณีที่พระศอของ พระองค์หายไปไหนเพคะ"

พญานาควรุณตอบว่า "เราได้ถอดแก้วมณี ออกให้กับวิธุรบัณฑิต ผู้มีสติ ปัญญาเฉียบ แหลมมีวาจาอันประกอบด้วยธรรมไพเราะ

 จับใจเราเป็นอย่างยิ่ง และไม่ใช่แต่เราเท่านั้น ที่ได้ให้ของอันมีค่ายิ่งแก่วิธุรบัณฑิต ทั้งท้าว สักกะเทวราช พญาครุฑ และพระราชา

 ต่างก็ ได้มอบของมีค่าสูง เพื่อบูชาธรรมที่วิธุรบัณฑิต แสดงแก่เราทั้งหลาย"

พระนางวิมลาทูลถามว่า "ธรรมของวิธุร บัณฑิตนั้นไพเราะจับใจอย่างไร"

พญานาค ทรงตอบว่า "วิธุรบัณฑิตเป็นผู้มี ปัญญา เฉียบแหลม รู้หลักคุณธรรมอันลึกซึ้ง

 และสามารถแสดงธรรมเหล่านั้น ได้อย่าง ไพเราะจับใจ ทำให้ผู้ฟังเกิดความชื่นชม ยินดีในสัจจะแห่งธรรมนั้น"

พระนางวิมลาได้ฟังดังนั้นก็เกิดความปราถนา จะได้ฟังวิธุรบัณฑิตแสดงธรรมบ้าง จึงทรงทำ อุบายว่าเป็นไข้

เมื่อพญานาควรุณทรงทราบก็ เสด็จไปเยี่ยมตรัสถามว่า พระนางป่วยเป็นโรค ใดทำอย่างไรจึงจะหาย จากโรคได้

พระนางวิมลา ทูลตอบว่า "หม่อมฉันไม่สบาย อย่างยิ่ง ถ้าจะให้ หายจากอาการ ก็ขอได้โปรดประทานหัวใจ วิธุรบัณฑิตให้หม่อมฉันด้วยเถิด"

พญานาคได้ฟังก็ตกพระทัย ตรัสว่า วิธุรบัณฑิต เป็นที่รักใคร่ของผู้คนทั้งหลายยิ่งนัก คงจะไม่มี ผู้ใด

สามารถล่วงล้ำเข้าไปเอาหัวใจวิธุรบัณฑิต มาได้ พระนางวิมลาก็แสร้งทำเป็นอาการป่วย

กำเริบหนักขึ้นอีก พญานาควรุณก็ทรง กลัดกลุ้มพระทัยอย่างยิ่ง ฝ่ายนางอริทันตี ธิดาพญานาคเห็นพระบิดา

 วิตกกังวลจึงถามถึงเหตุที่เกิดขึ้น พญานาควรุณ ก็เล่าให้นาง ฟัง นางอริทันตีจึงทูลว่า นางประสงค์

จะช่วยให้พระมารดาได้สิ่งที่ต้องการให้จงได้ นางอริทันตีจึงป่าวประกาศให้บรรดาคนธรรพ์ นาค ครุฑ มนุษย์ กินนร ทั้งปวงได้ทราบว่า

หากผู้ใด สามารถนำหัวใจวิธุรบัณฑิตมาให้ นางได้ นางจะยอมแต่งงานด้วย ขณะนั้น ปุณณกยักษ์ผู้เป็นหลานของ

ท้าวเวสุวัณมหาราชผ่านมา ได้เห็นนางก็นึก รักอยากจะได้นางเป็น ชายา จึงเข้าไปหา นางและบอกกับนางว่า

 "เรา ชื่อปุณณกยักษ์ ประสงค์จะได้นางมาเป็นชายา จงบอกแก่ เราเถิดว่าวิธุรบัณฑิตเป็นใคร อยู่ที่ไหน เราจะ นำหัวใจของเขามาให้นาง"

เมื่อปุณณกยักษ์ ได้ทราบว่าวิธุรบัณฑิตเป็น มหาราชครูในราชสำนักพระเจ้าธนัญชัย

จึงดำริว่า "หากเรา ต้องการตัววิธุรบัณฑิต จะไปพามาง่ายๆ นั้น คงไม่ได้ ทางที่ดีเราจะ

 ต้องท้าพนันสกากับพระเจ้าธนัญชัย โดย เอาวิธุรบัณฑิตเป็นสิ่งเดิมพัน ด้วยวิธีนี้เราคง จะเอาตัววิธุรบัณฑิตมาได้"

คิดดังนั้นแล้ว ปุณณกยักษ์ก็ไปสู่ราชสำนัก ของพระราชาธนัญชัย และทูลพระราชาว่า

 "ข้าพระองค์มาท้า พนันสกา หากพระองค์ชนะ ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะถวายแก้วมณีวิเศษอันเป็น

 สมบัติสำหรับพระจักรพรรดิ กับจะถวายม้าวิเศษ คู่บุญจักรพรรดิ"

พระราชาธนัญชัยทรงปรารถนาจะได้แก้วมณี และม้าแก้วอันเป็นของคู่บุญจักรพรรดิ จึงตอบ ปุณณกยักษ์ ว่า

พระองค์ยินดีจะเล่นพนันสกา ด้วยปุณณกยักษ์ก็ทูลถามว่า หากพระราชาแพ้พนัน จะให้อะไร เป็น เดิมพัน

พระราชาก็ทรงตอบว่า "ยกเว้นตัวเรา เศวตฉัตร และมเหสีแล้ว เจ้าจะเอา อะไรเป็นเดิมพันเราก็ ยินยอมทั้งสิ้น"

 ปุณณกยักษ์ พอใจคำตอบ จึงตกลงเริ่มทอดสกาพนัน ปรากฏว่าพระราชาทรงทอดสกาแพ้ ปุณณก ยักษ์จึงทวงทรัพย์เดิมพัน

 โดยทูลพระราชาว่า "ข้าพเจ้าไม่ปรารถนาทรัพย์สมบัติใดๆ ทั้งสิ้น ขอแต่วิธุรบัณฑิตแต่ผู้เดียวเป็นรางวัลเดิมพันสกา"

พระราชาตกพระทัย ตรัสกับปุณณกยักษ์ว่า "อัน วิธุรบัณฑิตนั้นก็เปรียบได้กับตัวเราเอง เราบอกแล้วว่า ยกเว้นตัวเรา เศวตฉัตร และ มเหสีแล้ว เจ้าจะขออะไรก็จะให้ทั้งนั้น"

ปุณณกยักษ์ทูลว่า "เราอย่ามาโต้เถียงกันเลย ขอให้วิธุรบัณฑิตเป็นผู้ตัดสินดีกว่า"

เมื่อ พระราชาให้ไปตามวิธุรบัณฑิตมา ปุณณก ยักษ์ก็ถามว่า "ท่านเป็นทาสของพระราชา หรือว่าท่านเสมอกับพระราชา หรือสูงกว่า พระราชา"

วิธุรบัณฑิตตอบว่า "ข้าพเจ้า เป็นทาสของพระราชา พระราชาตรัสสิ่งใด ข้าพเจ้าก็ จะทำตาม ถึงแม้ว่าพระองค์จะ พระราชทานข้าพเจ้าเป็นค่าพนัน ข้าพเจ้า ก็จะยินยอมโดยดี"

พระราชาได้ทรงฟังวิธุรบัณฑิตตอบดังนั้น ก็เสียพระทัยว่า วิธุรบัณฑิตไม่เห็นแก่ พระองค์กลับไปเห็นแก่ ปุณณกยักษ์ ซึ่ง ไม่เคยได้พบกันมาก่อนเลย

วิธุรบัณฑิต จึงทูลว่า "ข้าพระองค์จักพูดใน สิ่งที่เป็นจริง สิ่งที่ เป็นธรรมเสมอ ข้าพระองค์ จักไม่ หลีกเลี่ยงความเป็นจริงเป็นอันขาด วาจา อันไพเราะนั้นจะมีค่าก็ต่อ เมื่อประกอบ ด้วยหลักธรรม"

พระราชาได้ฟังก็ทรงเข้าพระทัย แต่ก็มี ความโทมนัสที่จะสูญเสียวิธุรบัณฑิตไป

จึงขออนุญาตปุณณกยักษ์ ให้วิธุรบัณฑิต ได้แสดงธรรมแก่พระองค์เป็นครั้งสุดท้าย

 ปุณณกยักษ์ก็ยินยอม วิธุรบัณฑิตจึงได้แสดง ธรรมของผู้ครองเรือนถวายแด่พระราชา

ครั้นเมื่องแสดงธรรมเสร็จแล้ว ปุณณกยักษ์ก็ สั่งให้วิธุรบัณฑิตไปกับตน เพราะพระราชา ได้ยกให้เป็นสิน พนันแก่ตนแล้ว

วิธุรบัณฑิต จึงกล่าวแก่ปุณณกยักษ์ว่า "ขอ ให้ข้าพเจ้า มีเวลาสั่งสอนบุตรและภรรยาสักสามวันก่อน

 ท่านก็ได้เห็นแล้วว่าข้าพเจ้าพูดแต่ความเป็นจริง พูดโดยธรรม มิได้เห็นแก่ผู้ใดหรือสิ่งหนึ่ง

 สิ่งใด ยิ่งไปกว่าธรรม ท่านได้เห็นแล้วว่าข้าพเจ้า มีคุณ แก่ท่าน ในการที่ทูลความเป็นจริงแก่พระราชา

ฉะนั้นขอให้ท่านยินยอมตามความประสงค์ ของข้าพเจ้าเถิด"

ปุณณกยักษ์ได้ฟังดังนั้น ก็เห็นจริงในถ้อยคำ ที่วิธุรบัณฑิตกล่าว จึงยินยอมที่จะพักอยู่เป็น เวลาสามวัน

 เพื่อให้วิธุรบัณฑิตมีเวลาสั่งสอน บุตรภรรยา วิธุรบัณฑิตจึงเรียกบุตรภรรยา มาเล่าให้ทราบความที่เกิดขึ้น

 แล้วจึงสอนบุตร ธิดาว่า "เมื่อพ่อไปจากราชสำนักพระราชา ธนัญชัยแล้ว พระองค์อาจจะทรงไต่ถามเจ้า

ทั้งหลายว่า พ่อได้เคยสั่งสอนธรรมอันใดไว้บ้าง เมื่อพวกเจ้ากราบทูลพระองค์ไป หากเป็นที่พอ พระทัยก็

อาจจะตรัสอนุญาตให้เจ้า นั่งเสมอ พระราชอาสน์ เจ้าจงจดจำไว้ว่า ราชสกุลนั้น

จะมีผู้ใดเสมอมิได้เป็นอันขาด จงทูลปฏิเสธ พระองค์ และนั่งอยู่ในที่อันควรแก่ฐานะของตน"

จากนั้น วิธุรบัณฑิตก็แสดงธรรมชื่อว่า ราชวสดีธรรมอันเป็นธรรมสำหรับข้าราชการ จะพึงปฏิบัติ

เพื่อให้เกิดความเจริญก้าวหน้า ในหน้าที่การงานและเพื่อเป็นหลักสำหรับ

 ยึดถือในการปฏิบัติหน้าที่และการแก้ไข ปัญหาที่อาจเกิดขึ้น

วิธุรบัณฑิตกล่าวในที่สุด ว่า"เป็นข้าราชการ ต้องเป็นผู้สุขุมรอบคอบ ฉลาดในราชกิจ

สามารถจัดการต่างๆ ให้ดำเนินไปโดยเรียบร้อย รู้จักกาล รู้จักสมัย ว่าควรปฏิบัติอย่างไร"

เมื่อได้แสดงราชวสดีธรรมแล้ว วิธุรบัณฑิต จึงได้ออกเดินทางไปกับปุณณกยักษ์

ในระหว่าง ทางปุณณยักษ์คิดว่า เราเอาแต่หัวใจของวิธุร บัณฑิตไปคงจะสะดวกกว่าพาไปทั้งตัว

 คิดแล้ว ก็พยายามจะ ฆ่าวิธุรบัณฑิตด้วยวิธีต่างๆ แต่ ก็ไม่เป็นผล ในที่สุด

วิธุรบัณฑิตจึงถามว่า "ความจริงท่านเป็นใคร ท่านต้องการจะฆ่าข้าพเจ้าทำไม"

ปุณณกยักษ์จึงเล่าความเป็นมาทั้งหมด วิธุรบัณฑิตหยั่งรู้ได้ด้วยปัญญาว่า

ที่แท้นั้นพระ นางวิมลา ปราถนาจะได้ฟังธรรมอันเป็นที่ เลื่องลือของตนเท่านั้น

จึงคิดว่าควรจะแสดง ธรรมแก่ปุณณกยักษ์ เพื่อมิให้หลงผิด กระทำ การอันมิควรกระทำ

 ครั้นแล้ววิธุรบัณฑิต จึงได้แสดงธรรมชื่อว่า สาธุนรธรรม ธรรม ของคนดี แก่ปุณณกยักษ์

มีใจความว่า บุคคลที่มีอุปการคุณ ชื่อว่าเป็นเผาฝ่ามือ อันชุ่มเสีย แลัวยังได้ชื่อว่าเป็นผู้ประทุษร้าย

 ต่อมิตรด้วย อนึ่ง ไม่ควรตกอยู่ในอำนาจของ สตรีที่ประพฤติการอันไม่สมควร ปุณณกยักษ์ได้ฟังธรรม

 ก็รู้สึกในความผิดว่า วิธุรบัณฑิตมีอุปการคุณแก่ตน ไม่ควรจะกระทำร้ายหรือแม้ แต่คิดร้ายต่อวิธุรบัณฑิต

 ปุณณก ยักษ์จึงตัดสินใจว่าจะพาวิธุรบัณฑิตกลับ ไปยังอินทปัตต์ ตนเองจะไม่ตั้ง ความปรารถนา

ในนางอริทันตีอีกต่อไปแล้ว เมื่อวิธุรบัณฑิต ทราบถึงการตัดสินใจของปุณณกยักษ์จึง กล่าวว่า

 "นำข้าพเจ้าไปนาคพิภพเถิด ข้าพเจ้า ไม่เกรงกลัวอันตรายที่จะเกิดขึ้น ข้าพเจ้าไม่เคย ทำความชั่ว

ไว้ในที่ใด จึงไม่เคยรู้สึกกลัวว่า ความตายจะมาถึงเมื่อไร"

ปุณณกยักษ์จึงนำวิธุรบัณฑิตไปเฝ้า พญานาควรุณในนาคพิภพ เมื่ออยู่ต่อหน้า พญานาควรุณ

วิธุรบัณฑิต ทูลถามว่า สมบัติในนาคพิภพนี้ พญานาควรุณได้มา อย่างไร พญานาควรุณตรัสตอบว่า

 ได้มา ด้วยผลบุญ เมื่อครั้งที่ได้บำเพ็ญธรรม รักษาศีลและให้ทานในชาติก่อนที่เกิด เป็นเศรษฐี

วิธุรบัณฑิตจึงทูลว่า ถ้าเช่นนั้น ก็แสดงว่าพญานาควรุณทรงตระหนักถึง กรรม และผลแห่งกรรมดี

ขอให้ทรงประกอบ กรรมดีต่อไป แม้ว่าในเมืองนาคนี้จะไม่มีสมณ ชีพราหมณ์ที่พญานาคจะบำเพ็ญทานได้

ก็ขอให้ทรงมีเมตตาแก่บุคคล ทั้งหลายใน เมืองนาคนี้ อย่าได้ประทุษร้ายแก่ผู้ใดเลย หากกระทำได้ดังนั้น

ก็จะได้เสด็จไปสู่เทวโลก ที่ดียิ่งกว่านาคพิภพนี้ พญานาควรุณได้ฟังธรรมอันประกอบด้วย วาจาไพเราะของวิธุรบัณฑิตก็มีความพอ

 พระทัยเป็นอันมาก และตรัสให้พาพระนางวิมลา มาพบวิธุรบัณฑิต เมื่อพระนางทอดพระเนตร เห็นวิธุรบัณฑิตก็ได้ถามว่า

"ท่านตกอยู่ใน อันตรายถึงเพียงนี้ เหตุใดจึงไม่มีอาการ เศร้าโศกหรือหวาดกลัวแต่อย่างใด"

วิธุรบัณฑิตทูลตอบว่า "ข้าพเจ้าไม่เคยทำความ ชั่วจึงไม่กลัวความตาย ข้าพเจ้ามีหลักธรรม และมีปัญญา เป็นเครื่องประกอบตัว จึงไม่หวั่น เกรงภัยใดๆ ทั้งสิ้น"

พญานาควรุณและพระนางวิมลาพอพระทัย ในปัญญาและความมั่นคงในธรรมของวิธุรบัณฑิต

พญานาควรุณจึงตรัสว่า "ปัญญานั้นแหละคือหัวใจ ของบัณฑิต หาใช่หัวใจที่เป็นเลือดเนื้อไม่"

จากนั้นพญานาควรุณก็ได้ยกนางอริทันตี ให้แก่ปุณณกยักษ์ ผู้ซึ่งมีดวงตาสว่างไสว

ขึ้นด้วยธรรมของวิธุร บัณฑิต พ้นจากความหลง ในสตรีคือนางอริทันตี แล้วสั่งให้ปุณณกยักษ์พา

วิธุรบัณฑิตไปส่งยังสำนักของ พระราชาธนัญชัย พระราชาทรงโสมนัสยินดีอย่างยิ่ง ตรัสถาม

 วิธุรบัณฑิตถึงความเป็นไปทั้งหลาย วิธุรบัณฑิต จึงทูลเล่า เรื่องราวทั้งสิ้น และกราบทูลในที่ สุดท้ายว่า

" ธรรมเป็นสิ่งสูงสุด บุคคลผู้มี ธรรมและปัญญาย่อมไม่หวั่นเกรงภยันตราย ย่อมสามารถเอาชนะภยันตรายทั้งปวงด้วย

 คุณธรรมและด้วยปัญญาของตน การแสดงธรรม แก่บุคคล ทั้งหลายนั้นคือการแสดงความจริง ให้ประจักษ์ด้วยปัญญา "
 
คติธรรม : บำเพ็ญสัจจบารมี

เหตุแห่งความพิบัติคือการพนัน และการมีเมตตาจิตย่อมส่งผลให้ได้รับเมตตาจิตตอบด้วยในที่สุด


กระทู้: วัดเชิงท่าเชิงช่างครูรัตนโกสินทร์
เริ่มกระทู้โดย: yutthana ที่ 02 ก.ย. 10, 14:21
มาทัศนาต่อเลยครับ


กระทู้: วัดเชิงท่าเชิงช่างครูรัตนโกสินทร์
เริ่มกระทู้โดย: yutthana ที่ 02 ก.ย. 10, 14:22
มาทัศนาต่อเลยครับ


กระทู้: วัดเชิงท่าเชิงช่างครูรัตนโกสินทร์
เริ่มกระทู้โดย: yutthana ที่ 03 ก.ย. 10, 10:40
มาต่อกันเลยครับ


กระทู้: วัดเชิงท่าเชิงช่างครูรัตนโกสินทร์
เริ่มกระทู้โดย: yutthana ที่ 03 ก.ย. 10, 10:42
ภาพต่อไป


กระทู้: วัดเชิงท่าเชิงช่างครูรัตนโกสินทร์
เริ่มกระทู้โดย: yutthana ที่ 03 ก.ย. 10, 10:45
ภาพต่อไป ภาพบางภาพอาจจะเบลอไปบ้างเนื่องจากอยู่สูงบ้างรีบถ่ายบ้างต้องขออภัยครับ


กระทู้: วัดเชิงท่าเชิงช่างครูรัตนโกสินทร์
เริ่มกระทู้โดย: yutthana ที่ 03 ก.ย. 10, 10:46
ภาพต่อไปครับ


กระทู้: วัดเชิงท่าเชิงช่างครูรัตนโกสินทร์
เริ่มกระทู้โดย: yutthana ที่ 03 ก.ย. 10, 10:47
ภาพต่อไป


กระทู้: วัดเชิงท่าเชิงช่างครูรัตนโกสินทร์
เริ่มกระทู้โดย: yutthana ที่ 03 ก.ย. 10, 10:48
ภาพต่อไป


กระทู้: วัดเชิงท่าเชิงช่างครูรัตนโกสินทร์
เริ่มกระทู้โดย: yutthana ที่ 03 ก.ย. 10, 10:49
ภาพต่อไป


กระทู้: วัดเชิงท่าเชิงช่างครูรัตนโกสินทร์
เริ่มกระทู้โดย: yutthana ที่ 03 ก.ย. 10, 10:51
ภาพต่อไป


กระทู้: วัดเชิงท่าเชิงช่างครูรัตนโกสินทร์
เริ่มกระทู้โดย: yutthana ที่ 03 ก.ย. 10, 10:54
ภาพต่อไป


กระทู้: วัดเชิงท่าเชิงช่างครูรัตนโกสินทร์
เริ่มกระทู้โดย: yutthana ที่ 03 ก.ย. 10, 10:56
ภาพต่อไป


กระทู้: วัดเชิงท่าเชิงช่างครูรัตนโกสินทร์
เริ่มกระทู้โดย: yutthana ที่ 03 ก.ย. 10, 10:57
ภาพต่อไป


กระทู้: วัดเชิงท่าเชิงช่างครูรัตนโกสินทร์
เริ่มกระทู้โดย: yutthana ที่ 03 ก.ย. 10, 11:01
ภาพต่อไป


กระทู้: วัดเชิงท่าเชิงช่างครูรัตนโกสินทร์
เริ่มกระทู้โดย: yutthana ที่ 03 ก.ย. 10, 11:02
ภาพต่อไป เสน่ห์ของงานจิตรกรรมรัตนโกสินทร์สมัยรัชกาลที่๔ อีกอย่างก็คือสถาปัตยกรรมซึ่งมีลักษณะเหมือนของจริง


กระทู้: วัดเชิงท่าเชิงช่างครูรัตนโกสินทร์
เริ่มกระทู้โดย: yutthana ที่ 03 ก.ย. 10, 11:04
ภาพต่อไป


กระทู้: วัดเชิงท่าเชิงช่างครูรัตนโกสินทร์
เริ่มกระทู้โดย: yutthana ที่ 03 ก.ย. 10, 11:07
ภาพต่อไปครับ  ภาพนี้ถ่ายให้ดูถึงการเขียนเรื่องราวเชื่อมต่อระหว่างผนัง และเป็นภาพสุดท้ายของเรื่องนี้ครับ


กระทู้: วัดเชิงท่าเชิงช่างครูรัตนโกสินทร์
เริ่มกระทู้โดย: yutthana ที่ 03 ก.ย. 10, 11:09
ภาพต่อไป เป็นภาพด้านข้างริมหน้าต่างครับเขียนเป็นรูปดอกไม้ต่างๆพร้อมภาพสัตว์  อันนี้แมลงปอตัวแดงเชียว


กระทู้: วัดเชิงท่าเชิงช่างครูรัตนโกสินทร์
เริ่มกระทู้โดย: yutthana ที่ 03 ก.ย. 10, 11:12
ภาพต่อไปครับ รูปนี้มีกระต่ายด้วย


กระทู้: วัดเชิงท่าเชิงช่างครูรัตนโกสินทร์
เริ่มกระทู้โดย: yutthana ที่ 03 ก.ย. 10, 11:14
ภาพต่อไปครับ


กระทู้: วัดเชิงท่าเชิงช่างครูรัตนโกสินทร์
เริ่มกระทู้โดย: yutthana ที่ 03 ก.ย. 10, 11:14
ภาพต่อไปครับ


กระทู้: วัดเชิงท่าเชิงช่างครูรัตนโกสินทร์
เริ่มกระทู้โดย: yutthana ที่ 03 ก.ย. 10, 11:15
ภาพต่อไปครับ


กระทู้: วัดเชิงท่าเชิงช่างครูรัตนโกสินทร์
เริ่มกระทู้โดย: yutthana ที่ 03 ก.ย. 10, 11:16
ภาพต่อไปครับ


กระทู้: วัดเชิงท่าเชิงช่างครูรัตนโกสินทร์
เริ่มกระทู้โดย: yutthana ที่ 03 ก.ย. 10, 11:18
ภาพต่อไปครับบานหน้าต่างด้านซ้ายมือ(หันหน้าหาพระประธาน) บานแรกยังสมบูรณ์อยู่ครับ


กระทู้: วัดเชิงท่าเชิงช่างครูรัตนโกสินทร์
เริ่มกระทู้โดย: yutthana ที่ 03 ก.ย. 10, 13:06
รายละเอียดของภาพครับ


กระทู้: วัดเชิงท่าเชิงช่างครูรัตนโกสินทร์
เริ่มกระทู้โดย: yutthana ที่ 03 ก.ย. 10, 13:09
ภาพต่อไป


กระทู้: วัดเชิงท่าเชิงช่างครูรัตนโกสินทร์
เริ่มกระทู้โดย: yutthana ที่ 03 ก.ย. 10, 13:11
 ;Dภาพต่อไป


กระทู้: วัดเชิงท่าเชิงช่างครูรัตนโกสินทร์
เริ่มกระทู้โดย: yutthana ที่ 03 ก.ย. 10, 13:13
ภาพต่อไป


กระทู้: วัดเชิงท่าเชิงช่างครูรัตนโกสินทร์
เริ่มกระทู้โดย: yutthana ที่ 03 ก.ย. 10, 13:14
ภาพต่อไป


กระทู้: วัดเชิงท่าเชิงช่างครูรัตนโกสินทร์
เริ่มกระทู้โดย: yutthana ที่ 03 ก.ย. 10, 13:16
ภาพต่อไป


กระทู้: วัดเชิงท่าเชิงช่างครูรัตนโกสินทร์
เริ่มกระทู้โดย: yutthana ที่ 03 ก.ย. 10, 13:18
ภาพต่อไป


กระทู้: วัดเชิงท่าเชิงช่างครูรัตนโกสินทร์
เริ่มกระทู้โดย: yutthana ที่ 03 ก.ย. 10, 13:20
ลายแกะอกเลาหน้าต่าง คาดว่าลายหน้าต่างน่าจะเขียนเป็นลายรดน้ำด้วยแต่เลือนหมดไม่สามารถดูออกว่าเป็นลายอะไร


กระทู้: วัดเชิงท่าเชิงช่างครูรัตนโกสินทร์
เริ่มกระทู้โดย: yutthana ที่ 03 ก.ย. 10, 13:28
สำหรับผนังนี้เขียนเรื่องพรหมนารท  เหลือไม่มากชำรุดเสียหายเสียมาก

พระราชาองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า อังคติราช ครองเมืองมิถิลา เป็นผู้ที่ตั้งมั่นในทศพิธราชธรรม พระธิดาของพระเจ้าอังคติราชมีพระนามว่า รุจาราชกุมารี มีรูปโฉมงดงาม พระราชาทรง รักใคร่พระธิดา อย่างยิ่ง คืน

วันหนึ่งเป็นเทศกาลมหรสพ ประชาชนพากัน ตกแต่งเคหสถานอย่างงดงาม พระเจ้าอังคติราช ประทับอยู่ท่ามกลางเหล่าอำมาตย์ในปราสาทใหญ่ ประดับประดาอย่างวิจิตรตระการ พระจันทร์กำลัง ทรงกลด เด่นอยู่

กลางท้องฟ้า พระราชาทรงปรารภ กับหมู่อำมาตย์ว่า "ราตรีเช่นนี้น่ารื่นรมย์นัก เราจะทำอะไรให้ เพลิดเพลินดีหนอ"  อลาตอำมาตย์ทูลว่า "ขอเดชะ ควรจะเตรียม กองทัพใหญ่ยกออกไปกวาดต้อนดินแดนน้อย

ใหญ่ ให้เข้า มาอยู่ในพระราชอำนาจพระเจ้าข้า" สุนามอำมาตย์ทูลว่า "ทุกประเทศใหญ่น้อยก็มา สวามิภักดิ์อยู่ในพระราชอำนาจหมดแล้ว ควรที่จะ จัดการ เลี้ยงดู ดื่มอวยชัยให้สำราญ และหาความ เพลิดเพลิน

จากระบำรำฟ้อนเถิดพระเจ้าข้า" วิชัยอำมาตย์ทูลว่า "ข้าแต่พระองค์ เรื่องการระบำ ดนตรีฟ้อนร้องนั้น เป็นสิ่งที่พระองค์ได้ทรงทอด พระเนตรอยู่แล้วเป็นนิตย์ ในราตรีอันผุดผ่องเช่นนี้ ควรไปหาสมณพราหมณ์ผู้รู้

ธรรม แล้วนิมนต์ ท่านแสดง ธรรมะจะเป็นการควรกว่าพระเจ้าค่ะ" พระราชาพอพระทัยคำทูลของวิชัยอำมาตย์ จึงตรัสถามว่า "เออ แล้วเราจะไปหาใครเล่าที่เป็น ผู้รู้ธรรม" อลาตอำมาตย์แนะขึ้นว่า "มีชีเปลือย รูป

หนึ่ง อยู่ในมิคทายวัน เป็นพหูสูตร พูดจาน่าฟัง ท่านคงจะช่วยขจัดข้อสงสัยของเราทั้งหลายได้ ท่านมีชื่อว่า คุณาชีวก" พระเจ้าอังคติราชได้ทรงฟังก็ยินดี สั่งให้เตรียม กระบวน เสด็จไปหาชีเปลือยชื่อคุณาชีวก

นั้น เมื่อไปถึงที่ ก็ทรงเข้าไปหาคุณาชีวก ตรัสถาม ปัญหาธรรมที่พระองค์สงสัยอยู่ว่า บุคคลพึง ประพฤติธรรมกับบิดา มารดา อาจารย์ บุตร ภรรยา อย่างไร เหตุใดชนบางพวกจึงไม่ตั้งอยู่ ในธรรม ฯลฯ คำถาม

เหล่านี้ เป็น ปัญหาธรรม ขั้นสูงอันยากจะตอบได้ ยิ่งคุณาชีวกเป็นมิจฉา ทิฏฐิผู้โง่เขลาเบาปัญญาด้วยแล้ว ไม่มีทางจะ เข้าใจได้ คุณาชีวกจึงแกล้งทูลไปเสียทางอื่นว่า "พระองค์จะสนพระทัยเรื่องเหล่านี้ไปทำไม

ไม่มี ประโยชน์อันใดเลยพระเจ้าข้า โปรดฟังข้าพเจ้าเถิด ในโลกนี้ บุญไม่มี บาปไม่มี ปรโลกไม่มี ไม่มีบิดา มารดาปู่ย่า ตายาย สัตว์ทั้งหลายเกิดมาเสมอกัน หมด จะได้ดีได้ชั่วก็ได้เอง ทานไม่มี ผลแห่งทาน ก็

ไม่มี ร่างกายที่ประกอบกันขึ้นมานี้ เมื่อตายไป แล้วก็สูญสลายแยกออกจากกันไป สุขทุกข์ก็สิ้นไป ใครจะฆ่า จะทำร้าย ทำอันตราย ก็ไม่เป็นบาป เพราะบาปไม่มี สัตว์ทุกจำพวก เมื่อเกิดมาครบ 84 กัปป์ก็จะ

บริสุทธิ์พ้นทุกข์ ไปเอง ถ้ายังไม่ครบ ถึงจะทำบุญทำกุศลเท่าไร ก็ไม่อาจบริสุทธิ์ไปได้ แต่ถ้าถึงกำหนด 84 กัปป์ แม้จะทำบาปมากมาย ก็จะบริสุทธิ์ไปเอง" พระราชาได้ฟังดังนั้นจึงตรัสว่า "ท่านอาจารย์ ข้าพเจ้า

นี้โง่เขลาจริงๆ ข้าพเจ้ามัวหลงเชื่อว่า ทำความดี แล้วจะไปสู่สุคติ อุตส่าห์พากเพียร บำเพ็ญกุศลกรรม บัดนี้ข้าพเจ้าทราบแล้วว่า บุญไม่มี บาปไม่มี ผลกรรมใดๆ ไม่มีทั้งสิ้น บุคคลจะบริสุทธิ์เองเมื่อถึงกำหนดเวลา

แม้แต่ การฟังธรรมจากท่านอาจารย์ก็ หามีประโยชน์ อันใดไม่ ข้าพเจ้าขอลาไปก่อนละ" เมื่อเสด็จกลับมาถึงพระราชวัง พระเจ้า อังคติราชก็มีพระราชโองการว่า ต่อไปนี้พระองค์ จะไม่ปฏิบัติราชกิจใดๆทั้งสิ้น

เพราะการทั้งปวง ไม่มีประโยชน์ ไม่มีผลอันใด พระองค์จะแสวงหา ความเพลิดเพลินใน ชีวิตแต่เพียงอย่างเดียว ไม่ อาทรร้อนใจกับผลบุญผลกรรมใดๆทั้งสิ้น จากนั้นก็เกิดเสียงเล่าลือไปทั้งพระนครว่า พระราชา

กลายเป็นมิจฉาทิฐิ คือ หลงผิด เชื่อคำ ของชีเปลือยคุณาชีวก บ้านเมืองย่อมจะถึง ความเสื่อม หากพระราชาทรงมีพระดำริดังนั้น ความนี้ทราบไปถึงเจ้าหญิง รุจาราชกุมารี ทรงร้อนพระทัยเมื่อทราบว่า พระบิดาให้

รื้อโรงทาน ทั้งสี่มุมเมือง จะไม่บริจาคทานอีกต่อ ไป ทั้งยังได้ กระทำการข่มเหงน้ำใจชาวเมืองมากมายหลาย ประการ ด้วยความที่ทรงเชื่อว่า บุญไม่มี บาปไม่มี บุคคลไปสู่สุคติเองเมื่อถึงเวลา เจ้าหญิงรุจาราช

กุมารีจึงเข้าเฝ้าพระบิดา ทูลขอ พระราชทานทรัพย์หนึ่งพัน เพื่อจะเอาไปทรงทำทาน พระบิดาเตือนว่า "ลูกรัก ทานไม่มีประโยชน์ดอก ปรโลกไม่มี เจ้าจะไม่ได้ผลอะไรตอบแทน หากเจ้า ยังถือศีลอดอาหารวัน

อุโบสถอยู่ ก็จงเลิกเสียเถิด ไม่มีผลดอกลูกรัก" รุจาราชกุมารีพยายามกราบทูลเตือนสติพระบิดา ว่า"ข้าแต่พระชนก บุคคลกระทำบาปสั่งสมไว้ ถึงวัน หนึ่งเมื่อผลบาปเพียบเข้า บุคคลนั้นก็จะต้องรับผล แห่งบาปที่

ก่อ เหมือนเรือที่บรรทุกแม้ทีละน้อย เมื่อเต็มเพียบเข้า ก็จะจมในที่สุดเหมือนกัน ธรรมดาใบไม้ นั้นหากเอาไปหุ้มห่อของเน่าเหม็น ใบไม้นั้นก็จะ เหม็นไปด้วย หากห่อของหอมใบไม้ นั้นก็จะหอม ปราชญ์จึงเลือก

คบแต่คนดี หากคบ คนชั่วก็จะพลอย แปดเปื้อน เหมือนลูกศรอาบยาพิษ ย่อมทำให้แล่งศรแปดเปื้อนไปด้วย" ราชกุมารีกราบทูลต่อว่า "หม่อมฉันรำลึกได้ ว่า ในชาติก่อนได้เคยเกิดเป็นบุตรช่างทาง ได้คบหา

มิตรกับ คนชั่ว ก็พลอยกระทำแต่สิ่งที่ชั่วร้าย ครั้น ชาติต่อมาเกิดในตระกูลเศรษฐี มีมิตรดีจึงได้พลอย บำเพ็ญบุญบ้าง เมื่อตายไป ผลกรรมก็ตามมาทัน หม่อมฉันต้องไปทนทุกข์ทรมาณในนรกอยู่เป็นเวลา หลาย

ชาติ หลายภพ ครั้นได้เกิดเป็นมนุษย์ก็ต้องทน ทุกข์รำเค็ญมากมาย กว่าจะใช้หนี้กรรมนั้นหมด และผลบุญ เริ่มส่งผล จึงได้มาเกิดในที่ดีขึ้นเป็นลำดับ อันผลบุญผลบาปย่อมติดตามเราไปทุกๆ ชาติ ไม่มีหยุด ย่อม

ได้รับผลตามกรรมที่ก่อไว้ทุกประการ ขอพระบิดาจงฟังคำหม่อมฉันเถิด" พระราชามิได้เชื่อคำรุจาราชกุมารี ยังคงยึดมั่น ตามที่ได้ฟังมาจากคุณาชีวก เจ้าหญิงทรงเป็น ทุกข์ถึงผลที่ พระบิดาจะได้รับเมื่อสิ้นพระ

ชนม์ จึง ทรงตั้งจิตอธิษฐานว่า "หากเทพยดาฟ้าดินมีอยู่ ขอได้โปรดมาช่วยเปลื้องความเห็นผิดของ พระบิดาด้วยเถิด จะได้บังเกิดสุขแก่ปวงชน" ขณะนั้น มีพรหมเทพองค์หนึ่งชื่อ นารท เป็นผู้มี ความกรุณาใน

สรรพสัตว์ มักอุปการะเกื้อกูลผู้อื่น อยู่เสมอ นารทพรหมเล็งเห็นความทุกข์ของ รุจาราชกุมารี และเล็งเห็นความเดือดร้อนอันจะเกิด แก่ประชาชน หากพระราชาทรงเป็นมิจฉาทิฏฐิ จึงเสด็จจากเทวโลกแปลงเป็น

บรรพชิต เอาภาชนะ ทองใส่สาแหรกข้างหนึ่ง คนโทแก้วใส่สาแหรก อีกข้างหนึ่ง ใส่คานทาน วางบนบ่าเหาะมาสู่ปราสาท พระเจ้า อิงคติราช มาลอยอยู่ตรงหน้าพระพักตร์ พระราชาทรงตกตะลึงตรัสถามว่า

 "ข้าแต่ท่าน ผู้มีวรรณะงามราวจันทร์เพ็ญ ท่านมาจากไหน" นารทพรหมตอบว่า "อาตมาภาพมากจากเทวโลก มีนามว่า นารท" พระราชาตรัสถามว่า "เหตุใดท่าน จึงมีฤทธิ์ลอยอยู่ในอากาศได้เช่นนั้น น่าอัศจรรย์"

"อาตมาภาพบำเพ็ญคุณธรรม 4 ประการ ในชาติ ก่อนคือ สัจจะ ธรรมะ ทมะ และจาคะ จึงมีฤทธิ์เดช ไป ไหนได้ตามใจปรารถนา"
"ผลบุญมีด้วยหรือ ถ้าผลบุญมีจริงอย่างที่ท่านว่า ได้โปรดอธิบายให้ข้าพเจ้าทราบด้วยเถิด"

พระนารท พรหมจึงอธิบายว่า "ผลบุญมี จริง ผลบาปก็มีจริง มี เทวดา มีบิดามารดา มีปรโลก มีทุกสิ่งทุกอย่างทั้งนั้น แต่เหล่าผู้งมงายหาได้รู้ไม่" พระราชาตรัสว่า "ถ้าปรโลกมีจริง ขอยืมเงิน ข้าพเจ้าสักห้าร้อย

เถิด ข้าพเจ้าจะใช้ให้ท่าน ในโลกหน้า" พระนารทตอบว่า "ถ้าท่านเป็นผู้ ประพฤติธรรม มากกว่าห้าร้อยเราก็ให้ท่านยืมได้ เพราะเรารู้ว่าผู้อยู่ใน ศีลธรรม ผู้ประพฤติกรรมดี เมื่อเสร็จจากธุระแล้ว ก็ย่อมนำเงินมาใช้

คืนให้เอง แต่อย่างท่านนี้ตายไป แล้วก็จะต้องไปเกิดในนรก ใครเล่าจะตามไปทวงทรัพย์คืนจากท่านได้" พระราชาไม่อาจตอบได้ จึงนิ่งอั้นอยู่ นารทพรหม ทูลว่า "หากพระองค์ยังทรงมีมิจฉาทิฏฐิอยู่ เมื่อสิ้น พระ

ชนม์ ก็ต้องไปสู่นรก ทนทุกขเวทนาสาหัส ในโลกหน้าพระองค์ก็จะต้องชดใช้ผลบาปที่ได้ก่อไว้ ในชาตินี้" พระนารทได้โอกาสพรรณนาความทุกข์ ทรมานต่างๆ ในนรกให้พระราชาเกิดความสะพรึงกลัว เกิดความ

สยดสยองต่อบาป พระราชาได้ฟังคำพรรณนา ก็สลดพระทัยยิ่งนัก รู้พระองค์ว่าได้ดำเนินทางผิด จึงตรัสว่า "ได้โปรดเป็นที่พึ่งของข้าพเจ้า ด้วยเถิด บัดนี้ ข้าพเจ้าเกิดความกลัวภัยในนรก ขอท่านจง เป็นแสงสว่าง

ส่องทางให้ข้าพเจ้าด้วยเถิด โปรด สอนธรรมะให้แก่ข้าพเจ้าผู้ได้หลงไปในทางผิด ขอจง บอกหนทางที่ถูกต้องแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด" พระนารทพรหมฤษีจึงได้โอกาสตรัสสอนธรรมะ แก่พระราชาอังคติราช ทรงสอน

ให้พระราชตั้งมั่น ในทาน ในศีล อันเป็นหนทางไปสู่สวรรค์เทวโลก แล้วจึงแสดงธรรมเปรียบร่างกายกับรถ เพื่อให้ พระราชาทรงเห็นว่า รถที่ประกอบด้วยชิ้นส่วนอันดี อันถูกต้องแล่นไปในทางที่เรียบรื่น มีสติเป็น

ประดุจปฏัก มีความ เพียรเป็นบังเหียน และมีปัญญาเป็นห้ามล้อ รถอันประกอบด้วยชิ้นส่วนอันดีนั้นก็จะแล่นไปใน ทางที่ถูกต้อง โดยปราศจากภัยอันตราย พระราชาอังคติราชทรงละมิจฉาทิฏฐิคือความเห็นผิด ละ

หนทางบาป นารถพรหมฤษีจึงถวายโอวาทว่า "ขอ พระองค์จะละบาปมิต คบแต่กัลยาณมิตร อย่าได้ ทรงประมาทเลย" ในระหว่างนั้น พระนารทพรหม ฤษีได้อันตรธานหายไป พระราชาก็ทรงตั้งมั่นในศีล ในธรรม

ทรงเริ่มทำบุญทำทาน ทรงเลือกคบแต่ผู้ที่จะ นำไปในทางที่ถูกที่ควร เมื่อพระราชาทรงตั้งอยู่ใน ทศพิธราชธรรม ประชาชนก็มีความสุข บ้านเมืองสงบ ร่มเย็น สมดังที่พระนารทพรหมฤษีทรงกล่าวว่า
" จงละบาปมิตร จงคบกัลยาณมิตร จงทำบุญละจากบาป ตั้งอยู่ในความไม่ประมาทเถิด "
 
คติธรรม : บำเพ็ญอุเบกขาบารมี
สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ทำดีย่อมได้ดี ทำผิดบาปย่อมได้ชั่วช้าสามานย์เป็นผลตอบ และการคบมิตรสหายนั้นก็จะส่งผลดีเลวแก่ตัวบุคคลนั้นด้วย


กระทู้: วัดเชิงท่าเชิงช่างครูรัตนโกสินทร์
เริ่มกระทู้โดย: yutthana ที่ 03 ก.ย. 10, 13:30
ภาพต่อไป


กระทู้: วัดเชิงท่าเชิงช่างครูรัตนโกสินทร์
เริ่มกระทู้โดย: yutthana ที่ 03 ก.ย. 10, 13:30
ภาพต่อไป


กระทู้: วัดเชิงท่าเชิงช่างครูรัตนโกสินทร์
เริ่มกระทู้โดย: yutthana ที่ 03 ก.ย. 10, 13:32
ภาพต่อไป


กระทู้: วัดเชิงท่าเชิงช่างครูรัตนโกสินทร์
เริ่มกระทู้โดย: yutthana ที่ 03 ก.ย. 10, 13:43
ภาพต่อไป


กระทู้: วัดเชิงท่าเชิงช่างครูรัตนโกสินทร์
เริ่มกระทู้โดย: yutthana ที่ 03 ก.ย. 10, 13:46
รูปนารทพรหม   ลากันด้วยรูปนี้ก่อนแล้วกันครับไว้ช่วงเย็นๆจะมาลงต่อครับ  ตัวหนังสืออาจมากไปนิดแต่อยากใ้ห้รู้เรื่องของภาพ  จะได้ดูสนุกครับ


กระทู้: วัดเชิงท่าเชิงช่างครูรัตนโกสินทร์
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 04 ก.ย. 10, 01:28
รายละเอียดมากจริงๆ


กระทู้: วัดเชิงท่าเชิงช่างครูรัตนโกสินทร์
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 04 ก.ย. 10, 10:23
เพิ่งเห็นว่าพรหมนารทที่วัดเชิงท่านี้แต่งเครื่องฤาษี เป็นเพศนักบวช แสดงว่าช่างอ่านอรรถกถาครบจริงๆ


กระทู้: วัดเชิงท่าเชิงช่างครูรัตนโกสินทร์
เริ่มกระทู้โดย: yutthana ที่ 07 ก.ย. 10, 13:27
เท่าที่รู้ช่างที่เขียนวัดเชิงท่านั้นเป็นพระภิกษุเสียเป็นส่วนใหญ่ครับ
 
มาดูกันต่อเลยครับเมื่อมีเวลากัน ภาพต่อไป


กระทู้: วัดเชิงท่าเชิงช่างครูรัตนโกสินทร์
เริ่มกระทู้โดย: yutthana ที่ 07 ก.ย. 10, 13:29
ภาพต่อไป


กระทู้: วัดเชิงท่าเชิงช่างครูรัตนโกสินทร์
เริ่มกระทู้โดย: yutthana ที่ 07 ก.ย. 10, 13:30
ภาพต่อไป


กระทู้: วัดเชิงท่าเชิงช่างครูรัตนโกสินทร์
เริ่มกระทู้โดย: yutthana ที่ 07 ก.ย. 10, 13:30
ภาพต่อไป


กระทู้: วัดเชิงท่าเชิงช่างครูรัตนโกสินทร์
เริ่มกระทู้โดย: yutthana ที่ 07 ก.ย. 10, 13:31
ภาพต่อไป


กระทู้: วัดเชิงท่าเชิงช่างครูรัตนโกสินทร์
เริ่มกระทู้โดย: yutthana ที่ 07 ก.ย. 10, 13:32
ภาพต่อไป


กระทู้: วัดเชิงท่าเชิงช่างครูรัตนโกสินทร์
เริ่มกระทู้โดย: yutthana ที่ 07 ก.ย. 10, 13:33
ภาพต่อไป


กระทู้: วัดเชิงท่าเชิงช่างครูรัตนโกสินทร์
เริ่มกระทู้โดย: yutthana ที่ 07 ก.ย. 10, 13:34
ภาพต่อไป   สังเกตสีแดงชาด แม้เวลาผ่านไปนานก็ยังฉ่ำไม่จางหาย


กระทู้: วัดเชิงท่าเชิงช่างครูรัตนโกสินทร์
เริ่มกระทู้โดย: yutthana ที่ 07 ก.ย. 10, 13:36
ภาพต่อไป


กระทู้: วัดเชิงท่าเชิงช่างครูรัตนโกสินทร์
เริ่มกระทู้โดย: yutthana ที่ 07 ก.ย. 10, 13:37
ภาพต่อไป


กระทู้: วัดเชิงท่าเชิงช่างครูรัตนโกสินทร์
เริ่มกระทู้โดย: yutthana ที่ 07 ก.ย. 10, 13:39
ภาพต่อไป


กระทู้: วัดเชิงท่าเชิงช่างครูรัตนโกสินทร์
เริ่มกระทู้โดย: yutthana ที่ 07 ก.ย. 10, 13:40
ภาพต่อไป


กระทู้: วัดเชิงท่าเชิงช่างครูรัตนโกสินทร์
เริ่มกระทู้โดย: yutthana ที่ 07 ก.ย. 10, 13:41
 ;Dภาพต่อไป


กระทู้: วัดเชิงท่าเชิงช่างครูรัตนโกสินทร์
เริ่มกระทู้โดย: yutthana ที่ 07 ก.ย. 10, 13:43
ภาพต่อไป


กระทู้: วัดเชิงท่าเชิงช่างครูรัตนโกสินทร์
เริ่มกระทู้โดย: yutthana ที่ 07 ก.ย. 10, 13:44
ภาพต่อไป บานหน้าต่างบานต่อมา ผมไล่ถ่ายภาพจากตรงกลางหน้าพระประธาน ไล่มาทางขวาเรี่อยๆสำหรับหน้าต่างนี้เขียนภาพมงคลต่างๆด้านบนเป็นรูปหงส์


กระทู้: วัดเชิงท่าเชิงช่างครูรัตนโกสินทร์
เริ่มกระทู้โดย: yutthana ที่ 07 ก.ย. 10, 13:46
ภาพต่อไป


กระทู้: วัดเชิงท่าเชิงช่างครูรัตนโกสินทร์
เริ่มกระทู้โดย: yutthana ที่ 07 ก.ย. 10, 13:49
ภาพต่อไป


กระทู้: วัดเชิงท่าเชิงช่างครูรัตนโกสินทร์
เริ่มกระทู้โดย: yutthana ที่ 07 ก.ย. 10, 13:49
ภาพต่อไป


กระทู้: วัดเชิงท่าเชิงช่างครูรัตนโกสินทร์
เริ่มกระทู้โดย: yutthana ที่ 07 ก.ย. 10, 13:51
ภาพต่อไป  ดูภาพขยายอีกด้านสวยงามไม่แพ้กัน


กระทู้: วัดเชิงท่าเชิงช่างครูรัตนโกสินทร์
เริ่มกระทู้โดย: yutthana ที่ 07 ก.ย. 10, 13:52
ภาพต่อไป


กระทู้: วัดเชิงท่าเชิงช่างครูรัตนโกสินทร์
เริ่มกระทู้โดย: yutthana ที่ 07 ก.ย. 10, 13:53
ภาพต่อไป


กระทู้: วัดเชิงท่าเชิงช่างครูรัตนโกสินทร์
เริ่มกระทู้โดย: yutthana ที่ 07 ก.ย. 10, 13:56
ภาพต่อไป


กระทู้: วัดเชิงท่าเชิงช่างครูรัตนโกสินทร์
เริ่มกระทู้โดย: yutthana ที่ 07 ก.ย. 10, 14:03
ภาพต่อไป


กระทู้: วัดเชิงท่าเชิงช่างครูรัตนโกสินทร์
เริ่มกระทู้โดย: pansa ที่ 17 ก.ย. 10, 02:00
วัดเชิงท่า เป็นวัดที่อยากทำโมเดลมาก ถึงมากเลยล่ะครับ

แต่ปัญหาคือ รอยต่อของแต่ละยุคสมัยทำให้ลำบากยากที่จะสรุปว่า .. ควรทำแบบไหน

จนบัดนี้...หยากใย่ขึ้นเต็มแบบแปลนแหระล่ะครับพี่ทั่น... :-X


กระทู้: วัดเชิงท่าเชิงช่างครูรัตนโกสินทร์
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 18 ก.ย. 10, 08:57
ผมก็อยากทำเหมือนกันครับ วัดเชิงท่าคือวิหารพระสี่อิริยาบถแบบสุโขทัย ที่ชะลอลงมาไว้ยังพระนครศรีอยุธยา แผนผังมิได้ต่างกับวัดมหาธาตุ พิษณุโลก หรือมหาธาตุ เชลียงเลย


กระทู้: วัดเชิงท่าเชิงช่างครูรัตนโกสินทร์
เริ่มกระทู้โดย: ohm md ที่ 06 ม.ค. 11, 11:25
ผมไปวัดเชิงท่ามาเมื่อวันที่ 25 ธค กระจังที่สังเค็ดสวดหายไปไหนหมดแล้วอ่ะคับ