เรือนไทย

General Category => ประวัติศาสตร์ไทย => ข้อความที่เริ่มโดย: pipat ที่ 03 พ.ย. 07, 19:49



กระทู้: สาวน้อยใจถึง
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 03 พ.ย. 07, 19:49
มีลายเส้นโบราณอยู่ชิ้นหนึ่ง อยากชวนให้ช่วยกันชม
เป็นลายเส้นจากรูปถ่าย ในเทคนิคแม่พิมพ์โลหะร่องลึก
เนื่องจากในยุคนั้น ยังไม่สามารถพิมพ์รูปถ่ายชนิดมีน้ำหนักอ่อนแก่ได้

พิมพ์ในหนังสือของอองรีมูโอต์ นักสำรวจใจถึงชาวฝรั่งเศส ที่เข้ามาขอสำรวจประเทศเขมรในรัชกาลที่ 4
ดูรูปก่อนครับ


กระทู้: สาวน้อยใจถึง
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 03 พ.ย. 07, 20:18
เคยผ่านตา     กำลังรอว่าคุณพพ.จะเสนอให้ชมสาวน้อยในแง่ไหน
สงสัยว่าเธอทั้งสองเป็นสาวไทยหรือว่าเขมรกันแน่


กระทู้: สาวน้อยใจถึง
เริ่มกระทู้โดย: กุ้งแห้งเยอรมัน ที่ 03 พ.ย. 07, 21:23
เห็นบ่อย ไม่ค่อยจะเชื่อว่าเป็นเขมร ตัวสูงใหญ่ สุขภาพดี และสวย


กระทู้: สาวน้อยใจถึง
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 03 พ.ย. 07, 22:25
สังเกตว่าหญิงที่นั่งใส่เอี๊ยม  อาจเป็นหญิงจีน 
หญิงทั้งสองสวยงาม  ไว้ผมทัด  แต่นุ่งผ้าลาย  แสดงว่าแม่เล้าให้แต่งตัวอย่างดี


กระทู้: สาวน้อยใจถึง
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 03 พ.ย. 07, 22:30
แหะๆๆ...
แว๊บไปดูพรีเมียร์หลีกมา
ต่อครับ

หนังสือของมูโอต์ พิมพ์หลังจากเขาเสียชีวิตแล้ว 2 ปี
โดยน้องชายเป็นผู้ดำเนินการต่อจากต้นฉบับที่นักสำรวจจอมทรหด ทำสำเร็จก่อนตาย
แต่รูปประกอบนั้น เราทราบจากจดหมายโต้ตอบว่า บางส่วนมูโอต์เตรียมไว้ แต่ที่เหลือ ทำขึ้นภายหลัง
เข้าใจว่า รูปสาวงามนี้ ก็น่าจะมาทีหลัง แต่ก็เพียงปี-สองปี จากวันตายของมูโอต์
ผมจึงวางอายุรูปนี้ไว้ที่ปี 2405 จัดว่าเป็นรูปที่เก่ามากพอใช้

ลายเส้น แสดงสาวร่างใหญ๋นางนี้ ห่มผ้าปิดท่อนบน เหมือนที่ปฏิบัติกันในยุคนั้น
ลายเส้นทำออกมาได้สมจริงมาก จึงเชื่อว่า เธอห่มไว้จริง
แต่เมื่อมาเจอรูปถ่ายอีกชิ้นหนึ่ง ผมก็ออกอาการเป๋

เพราะเธอเปลือยท่อนบนครับ


กระทู้: สาวน้อยใจถึง
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 03 พ.ย. 07, 22:40
เผลอกดส่ง 2 ครั้ง รูปจึงซ้อนเพิ่มมา.....

รูปถ่ายนี้ ทำให้ทราบว่า ลายเส้นในหนังสือ มาจากรูปสองชิ้น
โครงหน้าของสาวน้อย ออกจะเข้ม เป็นหน้าสี่เหลี่ยม คล้ายอัปษราแห่งอังกอร์วัดจริงๆ
แต่การแต่งกายนั้น ค่อนข้างหรู โดยเฉพาะการเก็บไรผม
แสดงว่าเธอมีคนรับใช้ ทำให้

หรือมิเช่นนั้น เธอก็อยู่ในกิจการที่ต้องแต่งองค์ทรงเครื่องเต็มที่
ลางสังหรณ์ชวนให้คิดว่า รึเธอประกอบอาชีพเก่าแก่ที่สุดในโลก


กระทู้: สาวน้อยใจถึง
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 03 พ.ย. 07, 23:02
ลองเทียบไกล้ๆ นะครับ


กระทู้: สาวน้อยใจถึง
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 04 พ.ย. 07, 08:24
มองได้ 2 ทาง
1  สาวน้อยห่มสไบ ตอนถ่ายภาพ  แล้วมาลบสไบทิ้ง  แต่งภาพให้เปลือยอก
หรือ
2  สาวน้อยเปลือยอก ตอนถ่ายภาพ แล้วมาวาดสไบทับทีหลัง

สังเกตว่าสไบผืนที่ห่มนั้นไม่ใช่สไบเกลี้ยงๆ ห่มเฉยๆ  แต่มีรายละเอียด เช่นลวดลายผ้า  มีรอยริ้วของผ้าให้เห็นอย่างประณีตทีเดียว   
ถ้าเป็นการวาดทับ  แสดงว่าคนวาดนอกจากรู้จักการห่มสไบสมัยนั้นดี คือห่มคลุมถึงข้อศอก  ทับไหล่ซ้ายไม่ใช่ไหล่ขวา  ยังรู้จักผ้าสมัยนั้นด้วยว่าเป็นผ้านิ่ม ห่มแล้วเนียนไปกับรูปทรง   ไม่ใช่สไบแข็งอย่างสไบนางละครรำ
ถ้าเป็นการวาดทับ  คนวาดทับน่าจะเคยเห็นสไบของจริง   ไม่ใช่ไปวาดทับที่เมืองนอกโดยช่างวาดที่ไม่รู้จักการแต่งกายของหญิงสยาม

จึงเกิดคำถามข้อ 3 ขึ้นมาว่า
เป็นไปได้ไหมที่สาวน้อยคนนี้ถ่ายภาพ 2 หนในอิริยาบถเดิม  ภาพหนึ่งห่มสไบ  ในเมื่อเป็นสไบของจริง จึงมีรายละเอียดให้เห็นเกินกว่าจะเป็นการวาดทับอย่างลวกๆ
และอีกภาพหนึ่งเธอเปลือยอก


กระทู้: สาวน้อยใจถึง
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 04 พ.ย. 07, 08:51
น่าสังเกตอีกอย่างว่า ในรูปที่เปลือยอก  น้องหนูเธอมีสายอะไรอย่างหนึ่งสะพายแล่ง   จะเป็นเชือก หรือสร้อยแบนๆ แบบสร้อยตัว  ก็อาจเป็นได้
ท่าทีจะเป็นเครื่องประดับตัว
แต่พอห่มสไบ มองไม่เห็นว่าสายนี้ไปอยู่ไหน  กลืนไปกับผ้าสไบหรือถูกสไบห่มทับไปเลย

ลองซูมภาพดู   เธอสวมแหวนเม็ดโตด้วยนะคะที่นิ้วก้อยมือขวา


กระทู้: สาวน้อยใจถึง
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 04 พ.ย. 07, 10:36
เทียบอย่างเต็มตัว
เห็นข้อแตกต่างคือ การยันมือซ้ายของเธอ ในรูปถ่ายศอกจะหักออกจากตัว
ในลายเส้น ศอกจะผายเข้านิดหน่อย

รอยยับของผ้านุ่ง ต่างกันนิดหน่อย โดยเฉพาะที่หน้าแข้งขวา
เดาว่า ถ่ายสองรูปครับ รูปเปลือยอกก่อน แล้วค่อยคลุมตัว แต่ก็คลุมไม่เรียบร้อย
หน้าอกยังแพลมออกมา ส่อว่าปกติสาวน้อยของเรา ไม่ชอบห่มผ้าอยู่แล้ว
จึงไม่สนใจการปกปิดมิดชิด

แหวน....ดูเหมือนจะสองวงด้วยตรับ (ดูจากลายเส้น)
สร้อยตัวนั้น น่าจะเป็นโลหะ เพราะทิ้งนำหนักแนบตัว เห็นเป็นเกล็ดลางๆ


กระทู้: สาวน้อยใจถึง
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 04 พ.ย. 07, 10:45
เพิ่มรูปสาวนั่งยองให้พิจารณาอีก
แต่งตัวมีทองหยองครบครัน....แต่ไม่ใส่กำไลเท้า ทั้งคู่
แสดงว่าออกเรือนแล้วกระมัง

ฉากหลังก็น่าคิดนะครับ ในรูปถ่ายเป็นฉากเกลี้ยงๆ
แต่ลายเส้น กลายเป็นชานเรือน มีเครื่องประกอบหลายชิ้นด้วย
ไม่รู้จักว่าปลาปักเป้าใช้ทำอะไร
สมัยเด็กเจอบ่อย แต่ตัวไม่โตเท่านี้ครับ


กระทู้: สาวน้อยใจถึง
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 04 พ.ย. 07, 11:34
สาวน้อย ๒ คนนี้ เป็นใคร
๑  ประดับกายหรูหรา เกินหน้าภาพถ่ายคุณนายที่คุณพพ.เคยเอามาให้ดูอีก มีสร้อยตัว แหวน กำไล  สร้อยข้อมือ เพียบ
๒  แต่งเผ้าผมทันสมัย  กันไรผม  ไว้ผมทัดยาว
๓  ไม่ใช่สาวแส้ยังไม่ทันออกเรือน  เห็นได้จากไม่มีกำไลเท้าแล้ว  ถ้าเป็นสาวรุ่นยังไม่มีสามีต้องสวมกำไลเท้า
๔ ไม่กระดากที่จะเปลือยอกถ่ายรูป
๕ ไม่ขัดข้องที่จะให้ฝรั่งเอาเครื่องมือแปลกๆมาใช้กับตัวเอง   การถ่ายรูปไม่เป็นที่นิยม
๖ คนยืนนั้นรูปร่างดี   หน้าตาจิ้มลิ้ม  ยืนมองกล้องอย่างองอาจไม่สะทกสะท้าน เหมือนถูกจับให้ยืนท่าไหนก็ท่านั้น
ส่วนเพื่อนสาวของเธอ นั่งยองๆแบบชาวบ้าน  แสดงถึงพื้นเพได้อย่างดีว่าไม่ใช่ลูกผู้ลากมากดี
๗ เท้าของสองคน ขนาดใหญ่เทอะทะ แสดงว่าชินกับเดินเท้าเปล่ามาแต่เกิด  น่าจะตรากตรำติดดินมากกว่าใช้ชีวิตอย่างคุณหนูบนเรือนฝากระดาน
๘  ผ้าห่มของเธอคนยืน  เป็นแพรนิ่ม น่าจะมาจากเมืองจีน เป็นของมีราคา   ส่วนเอี๊ยมของคนที่สองนั้นตกแต่งลวดลายสะดุดตาทีเดียว

สรุปแบบคุณ Wandee ค่ะ   ว่าเธอน่าจะไม่ใช่ลูกชาวบ้านธรรมดาเก็บผักหักฟืน  เครื่องแต่งกายบอกฐานะที่แตกต่างจากลูกสาวกำนัน  แต่องค์ประกอบหลายๆอย่างก็ห่างไกลลูกสาวคุณหลวง
คงจะเป็นดาราในสำนักประกอบอาชีพเก่าแก่ที่สุดในโลกละมัง    เห็นว่าภาพถ่ายหญิงไทย โพสท่าเป็นนางแบบเดี่ยวๆอีกหลายภาพ  ดูเหมือนสมัยรัชกาลที่ ๕  ก็สาวอาชีพเดียวกันทั้งนั้น   ลูกคนดีๆไม่มีใครมาเปิดมาเปลือยให้ฝรั่งดู


กระทู้: สาวน้อยใจถึง
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 04 พ.ย. 07, 11:50
รูปนี้ สาวนุ่งเอี้ยมเปิบข้าวครับ
ทั้งกลุ่มดูเหมือนจะเป็นสาวผู้ดีนะครับ ถ้าไม่ใช่ตัวผู้ดีเอง ก็น่าจะไกล้ชิดผู้ลากมากดีที่เดียว


กระทู้: สาวน้อยใจถึง
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 04 พ.ย. 07, 11:56
ขยายให้เห็นใบหน้า คนขวาจะใช่สาวเปลือยอกหรือไม่ ไม่แน่ใจครับ


กระทู้: สาวน้อยใจถึง
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 04 พ.ย. 07, 12:09
ได้คำตอบแล้วครับ จากรูปนี้
ทั้งหมดเป็นลายเส้นในหนังสือเล่มเดียวกัน จึงประเมินว่าอยู่ในรุ่นราวคราวเดียวกัน
บังเอิญผมมีรูปถ่ายตัวละคอนชายท่านนี้ เดี๋ยวจะไปค้นมาให้ชม
แกนั่งอยู่บนตั่งตัวเดียวกับที่สาวๆ ของเรานั่งเปิบครับ

สรุปว่า เป็นการถ่ายรูปคณะละคอนครับ
สาวเจ้าจึงแต่งตัวดี แต่ท่าทางไม่ยี่หระกับสายตาชาวโลก


กระทู้: สาวน้อยใจถึง
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 04 พ.ย. 07, 12:26
ในรัชกาลที่ ๓ ละครนอกยังใช้ผู้ชายเล่นเป็นตัวนาง  เห็นหลักฐานได้จากกรณีหม่อมไกรสร
รัชกาลที่ ๔ มีนางละครหญิงแล้วหรือคะ
โรงละครเจ้าพระยามหินทรฯ หรือว่าโรงละครนอกอื่นๆ?


กระทู้: สาวน้อยใจถึง
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 04 พ.ย. 07, 13:52
เพิ่มอีก 2 รูปครับ
รูปบนแสดงตั่งและการปูเสื่อที่เหมือนรูปเปิบอาหาร
ซึ่งมีสาวนุ่งเอี้ยมเหมือนรูปสาวใจถึง

จึงอนุมานว่าเป็นการถ่ายในครั้งเดียวกัน
รูปล่าง เห็นนางละคอน เป็นสตรีแน่ๆ ครับ


กระทู้: สาวน้อยใจถึง
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 04 พ.ย. 07, 14:22
แถมอีกรูปครับ
ชายจริงหญิงแท้อีกเหมือนกัน


กระทู้: สาวน้อยใจถึง
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 04 พ.ย. 07, 14:52
ยังไม่ค่อยเชื่อว่าสาวน้อยท็อปเลสเป็นนางละครค่ะ
แต่คิดว่าฉากที่ใช้ถ่ายทำ คือวางตั่งหรือแท่นอะไรไว้สักอย่างหนึ่ง มีผ้าคลุมยืนพื้น  เป็นสตูดิโอชั่วคราว
หลังจากนั้นก็เรียกนายแบบนางแบบที่ว่าจ้าง ผลัดกันเข้ามาแสดงบทหน้ากล้อง
มีนางแบบนางแบบที่เป็นตัวละครนอก  ชุดหนึ่ง ทั้งชายหญิง   วางท่าทางต่างๆในบทละคร  ถ่ายเสร็จแล้วก็จบกันไป
นอกจากนั้นก็เรียกนางแบบอีกชุดเข้ามา    แต่งตัวคนละแบบกับชุดแรก   เป็นนางแบบแสดงเสื้อผ้าในชีวิตประจำวัน    แสดงท่าทีในชีวิตประจำวัน  เช่นนั่งล้อมวงกินข้าว
จ้างพวกไหนมา   ก็ต้องพวกที่ยินดีมาแสดงแบบให้ดูตามว่าจ้าง  รวมทั้งเปลือยท่อนบนด้วยก็ไม่ว่ากัน 
จึงนึกถึงมาม่าซังนั่งเปิบข้าว กับหนูๆของพวกเธอ

ที่คิดว่าสาวน้อยใจถึงของคุณพิพัฒน์ไม่ใช่นางละคร ก็เพราะเห็นว่านางละครเวลาแต่งเครื่องรำ  เป็นชุดที่มิดชิดเรียบร้อย   ลักษณะเสื้อผ้าก็ไม่ต่างจากละครในเท่าไร อาจจะลดลงด้านความอลังการ
ละครพวกนี้น่าจะมีการไหว้ครู   มีพิธีกรรมต่างๆเพื่อความศักดิ์สิทธิ์ ด้วย  ยังคงเห็นเค้าตกทอดมาในการรำละครไทยของกรมศิลปากรจนทุกวันนี้
เพราะฉะนั้นนางละครสาวพวกนี้ พอถอดเครื่องปุ๊บ จะท็อปเลสปั๊บให้ฝรั่งดูกันกลางแจ้ง  ดิฉันคิดว่านางละครไทยน่าจะสำรวมกว่านั้นค่ะ 
อีกอย่าง กิริยาท่าทีของหญิงสาวที่หัดละคร  สังเกตจากท่าตอนแต่งเครื่อง เป็นท่าที่ถูกฝึกในการทรงตัว ท่านั่ง ท่ายืน อย่างสง่างาม   ท่าพวกนี้น่าจะติดตัวอยู่ไม่มากก็น้อย   ผิดกับท่าสาวน้อยคาดเอี๊ยม  ที่เธอนั่งแบบไร้การฝึกฝนอบรมเอาเลยจริงๆ 


กระทู้: สาวน้อยใจถึง
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 04 พ.ย. 07, 15:24
สาวคาดเอี๊ยม เปิบข้าวด้วยนิ้วทั้งห้า  ยกศอกขึ้นสูง  ถ้ายกขนาดนี้ก็คงกางออก แทบจะศอกหญิงที่่นั่ั้งอยู่ติดกันทางขวามือ

ขาดการอบรมในมารยาทเบื้องต้น  คือก้มหน้าก้มตากิน

โกนจุกแล้วทำไมไม่ห่มผ้า



กระทู้: สาวน้อยใจถึง
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 04 พ.ย. 07, 16:21
เห็นอะไรเพิ่มอีกเล็กน้อย

รูปนี้เป็นการจัดฉากแสดงวิธีการกิน    ตั่งเป็นเครื่องประกอบฉากที่ฝรั่งช่างภาพหามาวาง  อาจจะเพื่อมุมกล้อง   
แต่ไม่ใช่ที่นั่งกินอาหารตามปกติของผู้หญิงในรูป     เธอสี่คนก็เลยต้องแออัดเบียดกันบนตั่ง
สองคนที่นั่งหน้า ซ้ายขวา นั่งพับขากันทุลักทุเล  จนน่าจะเป็นเหน็บ  คุณป้าคนขวาแทบจะพลัดตกจากตั่ง

ท่ากินของคุณป้าทางขวาก็แปลกๆนะคะ ไม่แช่มช้อยเป็นผู้ลากมากดีเสียเลย   เธอยกมือขวาขึ้นทำอะไร มองไม่ชัด    คล้ายๆจะซดน้ำแกงจากช้อน
ท่านั่งของหญิงสาวด้านหลังคุณป้าก็เหมือนกัน  ไม่นิ่มนวล  นั่งยกแขนงอมืออยู่ยังงั้นเหมือนรอจังหวะหยิบกับข้าว


กระทู้: สาวน้อยใจถึง
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 04 พ.ย. 07, 18:21
รูปเหล่านี้ คนไทยถ่ายคนไทยด้วยกันครับ
ฝรั่งเข้ามาก็ไปที่เรือนแพนายจิต ซื้อหาออกไปทำมาหารับประทาน
เราอยู่ทางนี้ก็นึกว่าฝรั่งขนกล้องเข้ามา เก็บรูปออกไป

หามิได้ครับ
ทั้งหมดที่เห็น น่าจะเป็นฝีมือนายจิต....เดาว่าคณะละคอนนี้มาว่าจ้างให้ไปเก็บรูปที่โรง
หาใช่ยกกองทัพมาถ่ายที่สตูดิโอลอยน้ำของนายจิตไม่
เฉพาะผ้าปูและหนังเสือที่รองนั่ง ก็หลายเงินอยู่แล้วครับ

การวางท่าที่ดูขัดเขินนั้น น่าจะเป็นเพราะเขินกล้อง
รวมทั้งการที่จับยัดให้นั่งบนตั่งตัวเดียว ก็เพราะข้อจำกัดในการถ่ายทำ
กล้องตัวนี้ใช้เลนส์ที่กว้างไม่พอ เพราะเป็นเลนส์ถ่ายพอร์เทรต หากใช้เลนส์มุมกว้าง
ก็จะกว้างมากเกินไป ตัวตนจะเล็กนิดเดียว ดูไม่เต็มตา


กระทู้: สาวน้อยใจถึง
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 06 พ.ย. 07, 09:15
ถ้าหากว่าเป็นภาพถ่ายฝีมือท่านฟรันซิส จิตร  ดิฉันขออนุญาตนั่งทางในอีกแบบ
ว่า

ประมาณ พ.ศ. ๒๔๐๕
มีฝรั่งสำรวจอาณาจักรตะวันออก เข้ามาในสยาม   ว่าจ้างช่างภาพไทยคนเดียวที่มีอยู่ในพระนคร  ชื่อเสียงโด่งดัง
ให้ยูช่วยรับจ๊อบ ถ่ายรูปคนไทย หลายอาชีพ   เพื่อไอจะเอาไปประกอบหนังสือ
อาชีพที่ไอเลือก ก็..อะไรดีล่ะ   ละครแต่งตัวสวยๆ ไอไปเห็นมาแล้ว   ชอบมั่ก    พูหญิงสยาม สาวๆ แก่ๆ ได้ทั้งนั้น
ไออยากได้รูปชาวสยามเขากินเขาอยู่ยังไง ด้วย
ขอด่วน   เพราะไอจะเดินทางไปเขมร   แล้วไม่ย้อนกลับมาที่นี่อีก 

ท่านช่างภาพของเรา ก็ยิ้ม ตอบว่าไม่ยาก
ส่วนหนึ่งถ่ายได้ในสตูดิโอของฉันเอง เครื่องไม้เครื่องมือพร้อม  ของแต่งฉากก็มี  ดีกว่าหอบกล้องไปข้างนอก เจอฝนตกแดดหลบเข้าจะยุ่งยาก
ฝรั่งต้องการรูปกลุ่มคนไทย   ฉันก็ติดต่อจ้างวานมาได้หลายกลุ่ม
คณะละครนอกเขาตกลงจะมาให้ชักรูป ตามจ้าง    เอารูปแถมไปให้เขาได้โฆษณาละครไปในตัว

แต่ผู้หญิงทั่วไปนี่สิหายากหน่อย  ส่วนใหญ่ก็เชื่อว่าถ่ายรูปแล้วจะอายุสั้น  นอกจากนี้  พ่อแม่ก็หวง ไม่ยอมให้ถ่ายรูป  ยิ่งฝรั่งสั่งให้เปลื้องผ้าห่มด้วย   ช่างภาพจะโดนตบเอาง่ายๆ
ก็มีทางเดียว  ไปหาผู้หญิงที่ว่าจ้างได้  ให้เงินเสียอย่าง จะให้ทำยังไงมันก็ยอม    แต่งปะวะหล่ำกำไลให้สะสวย
พอแม่เล้าคุมตัวมาส่ง   ฉันก็นึกออก   ให้นั่งกินข้าวรวมหมู่ในสตูดิโอ  ก็ตั่งเดิมผ้าคลุมเดิมที่ละครเพิ่งจะมาถ่ายรูปเสร็จกลับไป   
เครื่องประกอบฉากฉันมีสารพัด   ทั้งโต๊ะเก้าอี้ฝาหรั่งสำหรับคุณหลวงคุณนายมาถ่ายรูปกับลูก  ตั่งเตียงผ้าเสือดาวหรูหรา  ผ้ายกฉันยังมีให้ยืมแต่งนี่นา 
ทำนอง"มัคสิน"ฝาหรั่งที่ทูลกระหม่อมฟ้าน้อยท่านโปรดทรง   แล้วหยิบยื่นมาให้ฉันดูรูปสวยๆในนั้น  ท่านทรงเล่าว่า ห้องชักภาพฝาหรั่ง มันมีโต๊ะเก้าอี้ผ้าคลุมหมอนอิงดีๆ ให้คนมาถ่าย  ไม่ต้องหอบมาจากบ้านให้รุงรัง


กระทู้: สาวน้อยใจถึง
เริ่มกระทู้โดย: กุ้งแห้งเยอรมัน ที่ 06 พ.ย. 07, 11:23
คุณพพ. ระวังน้า อาจารย์นั่งทางในได้เยี่ยมมาก


กระทู้: สาวน้อยใจถึง
เริ่มกระทู้โดย: CrazyHOrse ที่ 06 พ.ย. 07, 11:49
รูปในหนังสือของมูโอต์เป็นรูปที่เขียนขึ้นจากภาพที่มูโอต์เตรียมไว้อีกทีนี่ครับ เห็นตัวอย่างจากรูปสาวเปลือยอกกับสาวใส่เอี๊ยมซึ่งมีต้นฉบับเป็นรูปถ่ายสาวเปลือยอกยืนคนเดียว(?) ผมว่ารูปสี่สาวเปิบข้าวก็น่าจะมาตะเภาเดียวกัน คือยำจากหลายรูปประกอบกันอีกทีนะครับ


กระทู้: สาวน้อยใจถึง
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 06 พ.ย. 07, 12:40
รูปเดิม คือรูปผู้หญิงสองคน  ถ่ายรูปมีฉากหลังพร้อม 
ถ่ายสองครั้ง   ผู้หญิงคนยืนห่มสไบครั้งหนึ่ง  เปลื้องสไบออกอีกครั้งหนึ่ง
ประกอบฉากหนังสือของนักสำรวจชาวฝรั่งเศส

ต่อมาอีกหลายปี หนังสือเล่มในอเมริกาที่พิมพ์หนังสือของนางแอนนา เลียวโนเวนส์ 
จะหารูปเกี่ยวกับสยาม  ในอเมริกาไม่มี     ก็เลยไปหาหนังสือจากยุโรปของมูโอต์
ตัดเอาแต่ผู้หญิงคนเดียวมา  ฉากก็ตัดออก  เอามาใส่ปกหนังสือ
กลายเป็นภาพที่คุณพพ.นำมาลงให้ดูไงคะ


กระทู้: สาวน้อยใจถึง
เริ่มกระทู้โดย: CrazyHOrse ที่ 06 พ.ย. 07, 15:09
เอ... ภาพประกอบในหนังสือของมูโอต์น่าเป็นภาพลายเส้น ไม่ใช่ภาพถ่ายนะครับ
ผมคิดว่าหนังสือของมูโอต์ใช้ภาพถ่ายนี้เป็นต้นแบบครับ
ถ้าภาพนี้ปรากฏในหนังสือของแหม่มแอนนาก็น่าจะใช้ต้นฉบับเดียวกัน แต่ไม่ได้เอามาจากหนังสือของมูโอต์นะครับ


กระทู้: สาวน้อยใจถึง
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 06 พ.ย. 07, 15:23
ถ้างั้นภาพถ่ายต้นแบบของมูโอต์อยู่ในหนังสือของใครล่ะคะ 
ต้องเป็นหนังสือร่วมสมัย ที่ลงภาพถ่ายนี้
หรือไม่ มูโอต์ก็เอาภาพถ่ายต้นแบบจากสยามเก็บไว้ที่ใดที่หนึ่งเช่นในพิพิธภัณฑ์
แล้วคนที่พิมพ์ Romance of the Harem  ก็ไปเอามา


กระทู้: สาวน้อยใจถึง
เริ่มกระทู้โดย: CrazyHOrse ที่ 06 พ.ย. 07, 19:56
มาคิดดู มูโอต์ตายแถวหลวงพระบาง คำนำในหนังสือบอกว่าภาพประกอบวาดจากภาพร่างของมูโอต์อีกที

แต่รูปที่เห็นนี่มาจากรูปถ่ายแน่นอน เป็นไปได้ว่า
- มูโอต์รวบรวมภาพถ่ายไว้ด้วยบางส่วน นอกจากภาพร่างของตัวเอง
- ภาพนี้ถูกแทรกเข้ามาภายหลัง ไม่เกี่ยวกับมูโอต์

ทีนี้มีปัญหาเชิงเทคโนโลยีอยู่ 2 ข้อ
1. สมัยนั้นมีเทคโนโลยีการอัดภาพจากฟิล์มแล้วหรือยัง
2. เทคโนโลยีการพิมพ์ สามารถตีพิมพ์ภาพถ่ายได้โดยตรงตั้งแต่เมื่อไหร่ (ผมเข้าใจว่าภาพจากหนังสือของมูโอต์เป็นภาพพิมพ์จากแม่พิมพ์โลหะ อาจเป็นข้อจำกัดของเทคโนโลยีการพิมพ์สมัยนั้นครับ)


กระทู้: สาวน้อยใจถึง
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 07 พ.ย. 07, 00:02
ขอรับประทานโทษ...ท่านทั้งหลายเดาออกทะเลไปถึงหลวงพระบางเลย...แฮ่
ผมเดามั่ง

มูโอต์หนุ่ม เข้ามาถึงบางกอกเมื่อต้นปี 2403 กำเงินมาเต็มฟ่อน
เป็นทุนจากราชสมาคมภูมิศาสตร์แห่งลึนดึ้น แกไปขอราชสมาคมฟร้องเส แล้ว ทางนั้นบอกให้ใหโง่เรอะ
เมียมูโอต์เป็นอังกฤษ ก็เลยหาช่องทางจากพวกนี้ได้ในที่สุด
มูโอต์ต้องเดินเรื่องขออนุญาตอยู่หลายเดือน ระหว่างนั้น จึงออกเที่ยวเมืองไทยพลางๆ
ได้ไปพระพุทธบาท และอยุธยา กลับมา เอกสารก็เสร็จ จึงรีบไปเขมรในทันใด

มูโอต์ทำงานคนเดียว มีลูกหาบเป็นผู้ช่วย เขาเป็นคนมีฝีมือทางช่าง ถ่ายรูปก็เป็น
วาดลายเส้น ทำแผนผังได้เก่งมาก สมที่สนใจทางการสำรวจ แต่เขาไม่ได้พกกล้องไปกับตัว
เขาได้เข้าเฝ้าพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 และทรงรับจะพระราชทานพระบรมรูปให้เป็นพิเศษ
มูโอต์ได้รับข่าวสมเด็จพระนางเธอสิ้นพระชนม์ในป่า จึงเขียนว่า ผู้อ่านจะได้ชมพระสิริโฉมในหนังสือ
แปลว่า เขาเตรียมรูปประกอบเอาไว้บ้างแล้ว

เมื่อเขาตาย ทุกคนที่รู้จักต่างเสียดาย
เสอร์รอเบิร์ต จอมเบิร์ก กงศุลอังกฤษ เขียนจดหมายแสดงความเสียใจมายังน้องชาย
และบอกว่า ได้แนบพระรูปที่พระราชทานมาพร้อมจดหมายนี้ แสดงว่า มูโอต์นั้นถือพาสปอร์ตอังกฤษ (ก็รับทุนอังกฤษนี่นา....)
และการเข้าเฝ้า ก็โดยกงศุลนำไป

น้องชายได้รับต้นฉบับลายมือของพี่ จากคนนำทาง เขารวบรวมทุกอย่างแล้วรีบไปยุโรป
ต้นฉบับเป็นภาษาฝรั่งเศส น้องชายจัดการส่งให้สำนักพิมพ์ยักษ์ใหญ่ที่ปารีสพิมพ์ออกมาก่อน
ฉบับแปลนั้น พิมพ์ตามมาในปีรุ่งขึ้น
รูปประกอบทั้งหมด ไม่ตรงกับเนื้อเรื่อง ยกเว้นที่เป็นลายเส้นของมูโอต์
หมายความว่า รูปประกอบแบ่งเป็นสองพวกครับ พวกแรก เป็นฝีมือเสก็ตช์ของมูโอต์
อีกพวกหนึ่ง มาจากรูปถ่าย

เดิมทีผมก็คิดว่า รูปถ่ายต่างๆ มูโอต์เป็นคนถ่าย แต่มาเปลี่ยนใจ เมื่อพบว่า
รูปจากเขมรทั้งหมด ไม่ได้มาจากต้นฉบับที่เป็นรูปถ่ายแม้สักชิ้นเดียว
แม้แต่รูปทิวทัศน์พระบาท ก็ไม่ใช่รูปถ่าย เป็นงานวาดสดๆ
แสดงว่า มูโอต์ออกสำรวจพร้อมกระดานเขียนรูป ไม่ได้ขนอุปกรณ์กล้องเข้าป่าด้วย
แล้วรูปพวกนี้ มาจากใหนกัน


กระทู้: สาวน้อยใจถึง
เริ่มกระทู้โดย: ติบอ ที่ 07 พ.ย. 07, 02:59
เอื้อก......

หลังจากไปdadjari ทำตัวเป็นนักชักรูปมือสมัครเล่นสิบกว่าวันจนสะบักสะบอมกลับบ้านมา


นายติบอขออนุญาตมาดันให้เรือออกไปกลางมหาสมุทรมากขึ้นหน่อยครับ
เริ่มจากตามูโอเข้ามาในประเทศสยาม
แกคงกำเงินมาเป็นฟ่อนจริงๆ อย่างที่คุณณพิพัฒน์ว่า
แต่จะฟ่อนเล็กฟ่อนใหญ่แค่ไหนเกินความสามารถในการเดาของนายติบอ
เอาเป็นว่ามันไม่มน่าจะมากพอที่จะทำให้แกตัดสินใจเช่ากล้องถ่ายรูป
และคณะผู้ถ่ายภาพ รวมถึงลูกหาบเพิ่มอีกเท่าที่จำเป็นไปด้วย แม้กระทั่งไปพระบาทสระบุรี
เลยต้องใช้วิธีวาดเอาแทน....... (หรือตาคนนี้จะเป็นพวกหัวเก่า/ติดส์แตกก็ไม่รู้อีกเหมือนกัน)

ในที่สุด มูโอต์ก็ไปเขมร.... และกลับมาเพียงแค่ต้นฉบับของหนังสือ
ท่ากงสุลจึงต้องส่งจดหมายแสดงความเสียใจ และต้นฉบับนี้คืนให้แก่น้องชายของมูโอต์
แต่เนื่องจากมูโอต์ และครอบครัวเป็นชาวฝรั่งเศส ซึ่งเดินทางมาในนามของทุนรัฐบาลอังกฤษ
ท่านกงสุลซึ่งเป็นคนอังกฤษและเสียดายเงินแทนประเทศ
จึงต้องแสดงความประสงค์แก่น้องชายของมูโอต์ว่าหนังสือเล่มนี้ควรจะตีพิมพ์
ท่านจึงว่าจ้างคุณฟรานซิส ของคุณพิพัฒน์ ให้ถ่ายภาพวิถีชีวิตไทยให้ด้วย

รูปถ่ายชุดนี้จึงถ่ายอย่างค่อนข้างรีบร้อน ไม่ได้ตระเตรียมอุปกรณ์ต่างๆมากนัก.....
ภาพเลยอกมามีพิรุธมากอย่างที่คุรพิพัฒน์ และอาจารย์ จับผิดไว้ได้หลายที่




เอ๊า เลิกเดาดีกว่าครับ ยิ่งเดายิ่งเหนื่อย



มีข้อสังเกตมาเสนอนิดหน่อยครับผม

1. ถ้าภาพ "การนั่งยองๆ" เกิดขึ้นเพื่อต้องการแสดง "วิธีนั่งของคนสยาม" จะเป็นไปได้มั้ยครับ ?
เพราะชาติพันธุ์ในกลุ่มคอเคซอย เขามี laxity ของระยางค์ขาค่อนข้างต่ำ
จะให้ฝรั่งมานั่งยองๆ นั่งพับเพียบนี่...... ท่าทางจะฝืนสังขารพี่แกเอาการ
ผมเชื่อว่าแรกๆที่ฝรั่งมาถึงเมืองไทย มาเจอะเอาคนสยามนั่งยองๆได้ หรือ ถ่ายอุจจาระยองๆได้ แกคงแปลกใจพอดู

2. ดูจากภาพถ่ายคุณปริศนา (ชื่อเหมือนนางเอกนิยายเลยวุ๊ย) ที่มีผ้าสไบปิดพลอมแพลมแล้ว
ผมเดาเอาว่าน่าจะเป็นแพรจีนเนื้อบางครับ เพราะลักษณะลาย และเนื้อผ้าเป็นของที่นิยมใช้ในช่วงนั้น

3. ผมเดาเอาเองอีกเช่นเคย ว่าแม่หญิงคนที่นั่งยองๆน่าจะเป็นคนเดียวกับคนที่ใส่เอี้ยมที่คุณพิพัฒน์ตัดภาพมาอีกรอบ
เพราะจากลักษณะเอี้ยม สร้อยตัว และต่างหูเหมือนกัน.... แต่ภาพที่นั่งยองๆอาจจะถูกอัดกลับข้าง (หรือเปล่า ?)



เดาได้เท่านี้เองครับ แหะๆ


กระทู้: สาวน้อยใจถึง
เริ่มกระทู้โดย: elvisbhu ที่ 12 พ.ย. 07, 21:26
เจ้าของกระทู้หมดไฟแล้วยังครับ กรุณามาร่ายต่อครับ


กระทู้: สาวน้อยใจถึง
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 19 เม.ย. 08, 21:20
คุณบาตอฟเธอสดุดีผมไว้สนุกสนาน ได้บอกแล้วว่าไม่ถือสา ก็ไม่ถือจริงๆ
แต่เธออ้างกระทู้นี้มาด่าผม ผมเห็นว่ามีสาระน่าจะพูดคุยต่อ ขอยกคำของเธอมากก่อนนะครับ
--------------------
นายพิพัฒน์ตั้งตนเป็นผู้นักวิชาการ หากินกับภาพถ่ายเก่าของนายจิตร
เจอภาพถ่ายใด ไม่ทราบผู้แต่ง เป็นต้องมั่วว่าฝีมือนายจิตร ทุกครั้งไป
ใครยกครูให้คุณกัน ไม่สั่งสอนหรือว่าริจะเป็นนักวิชาการนั้น
ต้องอย่ามั่ว

จะบอกให้เอาบุญนะ มีท่านผู้รู้ที่รำคาญการอวดรู้ของคุณ
เขาว่าคุณ "สู่รู้" คนอ่านเรือนไทยไม่ใช่ควาย
เจอศิลปินอุตริ ได้มาพักพิงเรือนไทย ยกเมฆบัดซบ อุตริซะไม่มี
แถมคุณหญิงดันก้นให้คุณเป็นนักเขียนประจำ "สกุลไทย" ทั้งที
ก่อนมั่ว ควรตรวจเช็คข้อมูล ไว้หน้าท่านบ้าง

ภาพชุดด้านล่างนี้
คริสตี้ เคยเปิดประมูล บอกประวัติเสร็จสรรพว่า
ฝรั่งเป็นคนถ่ายรูปนี้ ต้นฉบับยังอยู่ครบถ้วน

พี่เรือนไทยท่านหนึ่ง ติดโบร์ชัวร์คริสตี้มาให้ข้าฯ ดู
เพื่อให้ข้าฯ แก้โง่พิพัฒน์ เพราะท่านกลัวมือเปื้อน
 ---------------------------
เธอยังด่ามากกว่านี้ ท่านที่สนใจเชิญไปเกาะขอบจอที่เวบเธอได้
แต่ที่จะเสริมต่อไปนี้ หวังว่าจะยังประโยชน์แก่ผู้อ่านได้บ้าง

การที่ผมสันนิษฐานรูปสาวน้อยนี้ ว่าเป็นฝีมือนายจิต(ขอเน้นว่า ผมไม่เคยใช้ นายจิตร แม้แต่ครั้งเดียวนะครับ)
มาจากการประมวลหลักฐาน แต่อาจจะประมวลไม่ดี เลยถูกหาว่ามั่ว ต้องประมวลใหม่อีกทีดังนี้
1 รูปสาวน้อยใจถึงนี้ พบครั้งแรกในหนังสือของมูโอต์ ซึ่งพิมพ์ครั้งแรกปี 2405
2 นาน...หลังจากนั้น ผมมาพบรูปถ่ายที่เป็นต้นฉบับในหน้าปกหนังสือเล่มหนึ่ง
ดังที่สแกนรูปมาให้ดู ยังติดขอบสีแดงที่เป็นลวดลายตกแต่งอยู่เลย
3 คุณบาตอฟได้ความรู้จากสมาชิกเรือนไทยท่านหนึ่ง บอกว่ามีรูปนี้ออกประมูลโดยคริสตี้ส์
4 คุณบาตอฟเชื่อคำอธิบายของคริสตี้ส์ว่าฝรั่งเป็นคนถ่ายรูปนี้
5 ดังนั้นสันนิษฐานของผมจึงผิด

ถ้าผมจะสันนิษฐานอะไรผิดละก้อ ยินดีแก้ความเห็นเสมอ ไม่ดันทุรังดอก
แต่ก่อนจะชี้ผิดในสันนิษฐานของผมนั้น น่าจะเสนอหลักฐานประกอบ ผมจะได้ยอมแพ้โดยดุษฎี
อีกอย่าง กระทู้นี้ ยังค้างเติ่งอยู่ น่าจะส่งความเห็นมาลงที่นี่ เรียกว่าตีให้ตายคาที่ไปเลย

อย่ากระนั้นเลย ผมจะต่อความให้ก็แล้วกันนะครับ


กระทู้: สาวน้อยใจถึง
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 19 เม.ย. 08, 21:21
เธอลงรูปไว้ 2 ชิ้น ขอนำมาลงที่นี่ต่อนะครับ



กระทู้: สาวน้อยใจถึง
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 19 เม.ย. 08, 21:22
เลือกรูปผิด ขออภัยครับ


กระทู้: สาวน้อยใจถึง
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 19 เม.ย. 08, 21:39
รูปที่เพิ่งชมไป คงเป็นรูปที่คริสตี้ส์นำออกประมูล เสียดายที่ไม่ได้บอกว่าเป็นครั้งใหน
จะได้ตามไปอ่านรายละเอียดมาให้ครบถ้วน

ที่น่าติดใจก็คือคุณตอฟเธอยืนยันว่าเธอเชื่อฝรั่ง อันนี้ผมก็เชื่อนะครับ ถ้ามันถูกต้อง
แต่ฝรั่งที่ทำผิดพลาดก็มี เราคงเจอกันบ่อย ผมเองก็เคยท้วงการกำหนดอายุของฝรั่งคนดังว่าผิดไป 200 ปี
สุดท้ายแกก็ยอมแก้ให้เป็นไปตามที่ผมท้วง ผมก็เห็นว่าแกเป็นนักวิชาการที่แท้ ไม่กลัวผิด และไม่กลัวที่ต้องแก้

ตามระบบของคริสตี้ส์นั้น เขาจะหาผู้เชี่ยวชาญมาเขียนแคตตะล๊อค ผู้เชี่ยวชาญเรื่องนี้ ในโลกมีไม่กี่คน
เพราะเป็นเรื่องเล็กครับ ประวัติศาสตร์ภาพถ่ายของสยามนั้น น่าจะมีคนที่เชื่อถือได้ ไม่เกินนิ้วมือหนึ่งข้าง
ไปเปิดดูในวิกิก็คงเห็นเอง ที่พูดอย่างนี้ เพราะจะได้ตามตัวถูก ถ้าจะต้องทักท้วงกัน
คนที่ถูกท้วงก็จะชอบ ไม่มีใครคิดว่าตัวเองเป็นพหูสูตรหรอกครับ

แล้วรูปนี้ ฝรั่งถ่ายไว้จริงหรือ ????


กระทู้: สาวน้อยใจถึง
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 19 เม.ย. 08, 21:57
จะตามรอย เราต้องสางไปหาหลักฐานเก่าสุดก่อน
ซึ่งก็คือหนังสือของมูโอต์ พิมพ์ปี 2405 สางกลับไปอีก มูโอต์ตาย 2403 รูปนี้ จึงมีอายุในช่วงนี้
ระยะ 2403-2405 เรามีเอกสารให้อ้างน้อย เท่าที่ทราบก็คือ ในปี 2404 พระเจ้าอยู่หัวทรงฉายพระรูป
พระราชทานไปยังฝรั่งเศส ทรงบอกว่าเป็นฝีมือช่างไทย แต่ก็ทรงเล่าด้วยว่า มีช่างภาพชาวสวีเดนมาช่วย
จนถึงทุกวันนี้ ยังไม่มีใครสืบพบตัวช่างภาพผู้นี้

มูโอต์เข้ามาบางกอกในช่วงนี้ เดิมเราเชื่อกันว่า เขาเป็นช่างภาพ ผมก็เคยเชื่อเช่นนั้น
มาฉุกคิดว่า ทำไมเขาไม่มีรูปถ่ายเกี่ยวกับเขมรเลย ทั้งๆ ที่เป้าหมายของเขาคือมาสำรวจเขมร
เงินทุนที่ได้รับ ก็เพื่องานนี้ ถ้ามีกล้อง จะไม่ใช้เทียวหรือ จะบอกว่าไม่มีเงิน เป็นไปไม่ได้
แค่รังวัดอังกอร์วัด เห็นจะใช้เงินพอซื้อกล้องแน่ๆ และทำงานขนาดนี้ มีกล้องจะไม่ถ่ายหลักฐานมาประกอบรายงานละหรือ
ในเมื่อส่วนที่เล่าเรื่องสยาม พิมพ์รูปไว้บานตะเกียง
อันที่จริงก็คือ เป็นส่วนเดียว ที่ใช้กล้องถ่ายรูปเก็บข้อมูล ทั้งที่ไม่ใช่เป้าหมาย ไม่ใช่รูปสองรูปนะครับ หลายสิบรูปครับ
แต่ละรูป ไม่ใช่ถ่ายง่ายๆ อย่างชุดที่ถ่ายอยุธยา ต้องถางป่าเข้าไป ถ่ายคลองก็ต้องว่าเรือเข้าไป

เอ....ไม่ยักทำอะไรอย่างนี้ในเขมรเลย


กระทู้: สาวน้อยใจถึง
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 20 เม.ย. 08, 01:34
เราลองมาสอบดูว่าอองรี มูโอต์จะเป็นเจ้าของรูปในหนังสือของตนได้หรือไม่
เขาเสียชีวิตกลางป่าในประเทศลาว ด้วยพิษไข้ป่า เมื่อวันที่ 10 พศจิกายน 2404
ก่อนหน้านั้น เขากำลังสำรวจประเทศลาว ซึ่งหมายความว่า ตั้งแต่ต้นปี 2403 ที่เขาเข้าถึงอังกอร์
มูโอต์มิได้กลับเข้าบางกอกอีกเลย

ถ้าเช่นนั้น ใครเล่าที่ฉายพระรูปพระเจ้าอยู่หัวและพระราชินีไว้ เพื่อให้เซอร์รอเบิร์ต จอมเบอร์ก
เชิญมาให้แก่น้องชายของมูโอต์ เพื่อประดับหนังสือตามที่มูโอต์เขียนข้อความเอาไว้ล่วงหน้า
พระบรมรูปนี้ อยู่ในชุดเดียวกับที่ผมเรียกว่า พระบรมรูปวันที่รัชกาล 3525
ซึ่งหนึ่งในพระบรมรูปชุดนี้ ได้พระราชทานไปกับคณะฑูตที่เจริญพระราชไมตรีกับกรุงฝรั่งเศส

แปลกหนักยิ่งขึ้นไปอีก ที่หนังสือของมูโอต์ พิมพ์รูปพระเมรุของสมเด็จพระเทพศิรินทร์อีกด้วย
ก็งานพระเมรุน่ะ มีหลังมูโอต์ตายนี่นา

ถ้าเชื่อฝรั่ง หรือพยายามเข้าข้างฝรั่ง เราก็อาจจะบอกว่า
หลังมูโอต์ตาย คนข้างหลังคงรวบรวมรูปเพิ่มเข้าไปน่ะซี้
ถ้าคิดอย่างนั้นได้ ทำไมไม่คิดบ้าง ว่า ทุกรูปแหละครับ ที่รวบรวมขึ้นในภายหลัง
เป็นผลงานของช่างภาพนิรนาม (ไม่ใช่นายจิตดอก เอางั้นก็ได้)

ผมมีรูปที่แก้สงสัยข้อนี้ครับ


กระทู้: สาวน้อยใจถึง
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 20 เม.ย. 08, 02:04
ไอ้คนที่เห็นฝาหรั่งเป็นเทวดานี่ บางทีก็ตาหลกนะครับ
คือมีแม้กระทั่งเขียนหนังสือยกย่องว่า ขอบคุณพวกนี้ ที่เข้ามาถ่ายรูปเมืองไทยเอาไว้ให้
(เพราะคนไทยมันทำอะไรดีๆ อย่างนี้ไม่เป็น)

คุณบ้าก็มาอีหร็อบเดียวกัน คือยังงัยคริสตี้ส์น่ะ ต้องถูก พพ.จะสู้ฝรั่งได้งัย
ไม่รู้เล้ยยย....ว่าใครที่คริสตี้ส์ เขาปรึกษาในเรื่องรูปถ่ายโบราณของสยาม
เหมือนกับที่คุณอะรัยคนหนึ่ง เคยยกสมุดแคตตะล๊อคการประมูลของคริสตี้ส์
มาค้านผมเรื่องจิตรกรรมหลากสีรูปไก่อาละวาดของศิลปินแห่งชาติท่านหนึ่ง
จะถกเถียงกันไม่มีใครรังเกียจดอกนะครับ แต่ต้องรู้ด้วยว่า ใครเป็นคนเขียนแคตตะล๊อคเล่มนั้น
จะได้ยันกันได้เต็มเหนี่ยว

เอางี้ ผมอ้างฝาหรั่งมั่งก้อด้ายยย.....
Chit's large panoramas of Bangkok form a unique record of the capital's architecture and its changes over time.
Modern research indicates that he was the author of some images claimed and published by, among others,
John Thomson and Wilhelm Burger.
Régine Thiriez

ข้างบนนั้น เป็นฉบับย่อ อ่านฉบับเต็มที่นี่นะจ๊ะ
http://www.answers.com/topic/19th-century-indo-china
ขอลงก้อปปี้ไร้ท์ไว้หน่อยละกัน เดี๋ยวจะหาว่าไปเอามาจากสำนักพิมพ์ห้องแถว ....หึหึ
Photography Encyclopedia.
The Oxford Companion to the Photograph. Copyright © 2005 by Oxford University Press.
All rights reserved.

อ้อ ถ้ามีกะตังค์เหลือใช้ จะอ้างอิงจาก
Encyclopedia of 19th-Century Photography
ของสำนักพิมพ์ Routledge ก็ได้นะครับ ดูในหัวข้อ Francis Chit ก็จะได้ข้อความคล้ายกัน

สรุปว่า ณวันนี้ สิ่งพิมพ์มาตรฐานโลก เขายอมรับในความสำคัญของฟะรันซิศ จิต โดยไม่มามัวเหยียดเรื่องฝาหรั่งไม่หรั่งอะไรให้ขายขี้หน้า
ลอกก็ยอมรับว่าลอก จะโกหกไปทำไม

ไม่ใช่พ่อใช่แม่เราเสียสักหน่อย


กระทู้: สาวน้อยใจถึง
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 21 เม.ย. 08, 16:19
รูปนี้อยู่ในหนังสือของมูโอต์ เป็นคุ้งแม่น้ำเจ้าพระยา
รูปบนนั้น ตรงตามที่พิมพ์ รูปล่าง กลับซ้ายเป็นขวา

ทำไมต้องยุ่งยากด้วย
ปัญหานี้ เป็นเรื่องเทคนิคที่ต้องรู้เมื่ออ่านข้อมูล เดิมก็ไม่คิดจะเล่าเพราะมันจุกจิก
แต่เมื่อมีคนยกตำแหน่งนักมั่วให้ ก็ต้องชี้แจงหน่อย ว่ามั่วนะอาจจะจริง แต่ที่จริงกว่าการมั่วคือมั่วมาก มั่วละเอียด
เพื่อจะได้เลิกมั่ว....เข้าใจใหมจ๊ะ
ถ้ารูปบนถูกต้อง รูปนี้ จะต้องถ่ายจากแถวๆ หน้าโรงพยาบาาลศิริราช
ใครที่ข้ามเรือมาท่าช้างท่าพระจันทร์เป็นหลายสิบปี ย่อมจะคุ้นตา และอาจจะแปลกใจนิดหน่อยว่า มุมนี้ ต้องอยู่กลางแม่น้ำ จึงจะเห็นครับ
บางคนที่แม่นแผนที่ อาจจะชี้ได้ด้วยซ้ำว่า ท่าน้ำทางซ้ายมือ อยู่แถวๆ วัดมหาธาตุ
แล้วก็จะต้องงงว่า ทำไมดูเล็กจัง ไม่สมฐานะพระอารามหลวงอันเป็นที่สถิตย์ของพระสังฆราชมาจนถึงรัชกาลที่ 3

แต่ถ้ารูปล่างถูกต้อง
รูปนี้ก็น่าจะถ่ายแถวๆ กระดีจีน หรือถอยลงมาแถวตึกขาวตึกแดง
ท่าน้ำขวามือ อาจจะตรงกับวัดเลียบ หรือกลุ่มวัดแถวสำเพ็ง
ตัวกล้อง ก็อาจจะตั้งบนนอกกะชาน ของเรือนแพหลังริมสุดได้

ที่พล่ามมายาว เพื่อจะบอกว่า นี่คือรูปที่ถอดลายเส้นออกมาจากรูปถ่ายแน่ๆ รายละเอียดหลายอย่าง ตาเปล่ามองไม่ออกหรอกครับ
โดยเฉพาะรูปทรงของศาลาท่าน้ำนั้น แม้แต่ช่างไทยแท้ๆ ก็ยังถอดลายเส้นออกมาไม่ได้เป๊ะๆ อย่างนี้
แล้วคุณโบกูรต์ช่างแกะ ซึ่งไม่ได้มาบางกอกกะเขาด้วย จะมีตาทิพย์เขียนออกมาเหมือนขนาดนี้ได้หรือ
เว้นเสียแต่ว่า แกมีรูปถ่ายอยู่ในมือ



กระทู้: สาวน้อยใจถึง
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 21 เม.ย. 08, 16:36
ย้ายมาเขมร นี่เป็นหนึ่งในรูปชิ้นเอก เห็นมหาสถาปัตยกรรมเด่นชัดเต็มสองตา
ใครพอจะบอกได้ใหมครับ ว่าใช้กล้องอะไรถ่าย
ผมเองบอกได้แต่ว่า นี่ไม่ใช่มาจากรูปถ่ายครับ
เป็นฝีมือสเก็ตช์ของคนเป็นๆ คนนั้น น่าจะชื่อมูโอต์


กระทู้: สาวน้อยใจถึง
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 21 เม.ย. 08, 17:51
มาดูรูปใหม่ วัดอรุณ จากหนังสือมูโอต์เหมือนกัน
ดูการแจกแจงรายละเอียดสิครับ


กระทู้: สาวน้อยใจถึง
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 21 เม.ย. 08, 18:00
ถามว่า มูโอต์ เอากล้องแสนละเอียดนี้ ไปทิ้งที่ใหน ในการสำรวจเขมร
ตอบว่า มูโอต์ไม่ได้พากล้องเข้ามน่ะซี
แม้แต่ Delaporte ที่เข้ามาสำรวจอีกครั้ง อย่างยิ่งใหญ่มโหฬาร เพราะตอนนั้น เขมรเป็นอาณานิคมโดยสมบูรณ์แล้ว ยังไม่ได้ใช้กล้องถ่ายรูปเลย
(ลายเส้นจากหนังสือของเดลาปอร์ต)


กระทู้: สาวน้อยใจถึง
เริ่มกระทู้โดย: ติบอ ที่ 21 เม.ย. 08, 23:33
ตั้งแต่ได้รู้จักคุณป่วนมา.... หลายครั้งผมนึกตำหนิเธอในใจ....



แต่แปลกจัง ครั้งนี้ผมอยากขอบคุณเธอ
เท่าที่ผมเห็นมา.... เธอเป็นคนแรกมั้ง
ที่สามารถทำให้ อ. พิพัฒน์กะเทาะเรื่องราวดีๆ
ที่ อ. เก็บเอาไว้ออกมาได้อย่างหมดเปลือก




ขอบคุณคุณป่วนจิตป่วยมากฮะ


กระทู้: สาวน้อยใจถึง
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 22 เม.ย. 08, 02:29
แหม่ แฟนควับเขาด่ามา
มีน้ำใจให้ขนาดนี้ ก็ต้องสนองกลับ สมความมุ่งมั่นสิครับ

คุณติบอจะลองบ้างก็ไม่ว่านะครับ คือว่า ความมั่ว มันต้องมีแรงผลักดันน่ะครับ
--------------------
ตามแนวทางสอบสวนอย่างอนาถาของผม พบว่าพวกฝรั่งเศสนี่แปลกมาก คือไม่ค่อยพกกล้องเข้ามาในอาณานิคม
พกมาแต่ปืนฮ่า.....55555

บางทีอาจจะเป็นเพราะชาตินิยม เนื่องจากพอถึงต้นรัชกาลที่ 4 นั้น เทคนิคถ่ายรูปของฝรั่งเศส แพ้อังกฤษราบคาบ
คือกล้องที่ใช้แผ่นเงินเป็นตัวรับแสงของนายดาร์แกร์ แพ้กล้องที่ใช้กระจกเปียกเป็นตัวรับแสงของอาเชอร์ สก๊อตต์ราบคาบ
รอยต่อตรงนี้ ปรากฏในพระราชพงศาวดารไทยเหมือนกัน

คือเมื่อเสอร์เบาริ่งกลับออกไปนั้น แกก็จัดแจงรายการเครื่องราชบรรณาการอย่างยิ่งใหญ่
ทางกระทรวงการต่างประเทศที่ลอนดอน ก็ขมีขมันไม่แพ้กัน
หนึ่งในของล้ำค่าที่จะทูลเกล้าถวาย ก็คือกล้องถ่ายรูป เป็นกล้องเทคนิคกระจกเปียก ซึ่งกำลังเข้าสู่ความนิยม

ปีรุ่งขึ้น เมื่อแฮรี่ ปาร์คเชิญสนธิสัญญากลับเข้ามาเพื่อลงสัตยาบัน แกควบคุมเครื่องราชบรรณาการมาด้วย 40 หีบ
แต่ด้วยโชคร้าย เรือล่มที่สิงค์โปร์ ของหายไปตั้งครึ่ง เสียหายก็ตั้งมาก ที่เสียหายก็มีกล้องดังกล่าวด้วย

แกก็ขนมาถวายทั้งพังๆ อย่างนั้นแหละครับ พระเจ้าอยู่หัวทรงพระเมตตา ออกใบรับให้ และปลอบโยนว่ามิใช่ความผิดของท่านดอก
กล้องนั้น มานอนนิ่งในคลังนานร่วมปี นายโหมด อัจฉริยะประหลาดของเรา ค่อยๆ ซ่อมกลับขึ้นมา
โดยมีคำแนะนำจากช่างภาพสวีเดนคนหนึ่ง ที่แวะเข้ามาเที่ยว พอใช้ได้ ก็โปรดให้ชักพระรูป
ส่งกลับให้ควีนวิคตอเรียชมดูว่า ชาวสยามไม่ได้ป่าเถื่อนอย่างที่ลูกหลานปัจจุบันมันคิดดอก.....

เล่ามาเสียยึดยาว ก็เพื่อจะเน้นย้ำคนคลั่งฝาหรั่ง จงได้รู้สำเหนียกเสียบ้าง ว่า
คนไทยไม่ได้โง่เหมือนตัวเองไปเสียทุกคน คนฉลาดที่ทำเรื่องอันมีคุณอนันต์ ยังมีติดประวัติศาสตร์อยู่บ้าง
ขนาดกล้องถ่ายรูปพัง ท่านยังทำให้กลับคืนดีได้
โรงปั๊มเหรียญกษาปณ์ ทั้งโรง เราสั่งเข้ามาใช้ แต่ฝรั่งที่จะต้องเป็นนายช่าง ดันตกน้ำตายเสียทั้งคู่
นายโหมดยังประกอบโรงงานนี้ขึ้นมา สัมมะหาอะไรกับการถ่ายรูป ทำไม คนไทยจะทำไม่ได้

อนึ่ง ระหว่างที่กล้องบรรณาการนี้ ยังใช้การไม่ได้ พระเจ้าอยู่หัวได้ทรงฉายพระรูปพระราชทานไปเมืองกังหันเนเธอแลนด์ด้วย
ถามว่า ใช้กล้องอะไรถ่ายล่ะ
ตอบว่า มีปัญญา ก็สั่งเข้ามาใช้สิ ยากอะไร ท่านมีผู้แทนการค้าอยู่ทุกเมืองใหญ่ แม้แต่ระบบพิมพ์หนังสือรุ่่นใหม่ยังทรงแนะฑูตไทย ให้ลองสืบหาดู
ก็ท่านเคยออกนอกประเทศหรือ จึงมีความรอบรู้ดั่งนี้ หามิได้
ตอบว่า ท่านเรียนรู้ทางไกลครับ หนังสือพิมพ์ระดับ Illustrated London News ก็ทรงบอกรับเป็นสมาชิก
ทรงเขียนข่าวพระราชทานให้ด้วยซ้ำไป

แล้วหนังสือพิมพ์เอกอุเล่มนี้ เป็นตำนานแห่งการสื่อข่าวที่พวกคอเคซอยอันเป็นที่เคารพรักของคุณ ภูมิใจนักหนา
ทำข่าวผิดไม่เป็นหรือไร .....ผิดขนาดนี้นะท่าน
พิมพ์รูปสมเด็จเจ้าพระยาองค์น้อย บอกว่าเป็นพระบรมรูป นี่ก็มิต้องเชื่อเหมือนคุณก้มหน้าก้มตา เชื่อคริสตี้ งั้นละซี

การสอบสวนข้อมูลของผมนั้น ไม่ใช่ว่าจะถูกต้องร้อยเปอร์เซนต์ดอก แค่สิบห้าเปอร์เซ็นต์ ผมก็พึงใจแล้ว
เชื่อกันมาร่วมร้อยปี ว่ารูปถ่ายอันล้ำค่าของเรา เป็นพระเดชพระคุณที่ท่านตาน้ำข้าวของคุณ มาทำทิ้งไว้ให้
ผมเอาหลักฐานมายันว่า ที่เชื่อกันมาแต่เดิมน่ะ ไม่น่าเชื่อ
ฝรั่งพวกนี้ จะเห็นอะไรของเราดีมีค่ามากไปกว่าทรัพย์สินที่ไม่ใช่ของตัวเอง แต่หน้าด้านอยากได้
คุณไปอ่านหนังสือของเจ้าตอมสั้นดูเถิด มันดูถูกคนไทยไว้ขนาดใหน
ทุกอย่างที่มันเจอ เป็นต้องเก่า พัง ล้าสมัย ใช้ไม่เป็น มีไว้อวดประดับว่าทันสมัย
แต่ตัวมันเอง จำรูปตัวเองถ่ายมะด้าย....เออ เคยรู้เห็นมั่งป่าว

ฝาหรั่งตั้งแต่เบาริ่ง มาถึงตัมสั้น มาถึงแอนนา มาถึงเบอร์เกอร์  และอีกมากมาย
หากินกับรูปถ่ายประเทศสยามมาไม่รู้ตั้งเท่าไหร่
แต่ที่จริง ใช่รูปที่ตัวเองถ่ายหรือไม่เล่า...คุณมีหลักฐานมาพิสูจน์ที่ดีกว่าแคตตะล๊อคเกอร์ของคริสตี้ส์ใหม
อ้อ อย่าใช้คำว่าโบรชัวร์ของคริสตี้ส์อีกต่อไปนะจ๊ะ มันโชว์ความไม่รู้
เอกสารประกอบการประมูลน่ะนะ ชาวโลกที่เก่งเรื่องภาษาประกิต เขาเรียกแคตตะล๊อค
ไม่ใช่ขายไวอะกร้านี่ จะได้ออกโบชัวร์มาหลอกรับประทานคนปัญญาต่ำเล่นง่ายๆ

หรือว่าไม่จริง

คุณจะเห็นว่าคริสตี้ส์ เป็นศาลฎีกาเรื่องรูปถ่ายโบราณ ก็กรรมส่วนบุคคลของคุณ
จะหาว่าผมมั่วข้อมูลสู่รู้ ก็เป็นสิทธิของคุณ

ผมเอง ทำได้ก็เพียงค้นอะไรเล่นมาเล่าสู่กันฟัง
แค่กู้เกียรติยศคืนให้ยอดช่างภาพ มิศฟะรันซิศจิต จนเดี๋ยวนี้ นามของท่าน บันจุไว้ในทำเนียบคนสำคัญได้
คุณไม่ชอบ แต่ผมคิดว่าจะมีบางคนชอบนา.......


กระทู้: สาวน้อยใจถึง
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 22 เม.ย. 08, 02:31
ทิ้งท้ายคำตอบที่รูป สองชิ้น
มีใครเห็นอะไรน่าสนใจใหมครับ


กระทู้: สาวน้อยใจถึง
เริ่มกระทู้โดย: ติบอ ที่ 22 เม.ย. 08, 09:14
ฟังจากคุณพิพัฒน์พูด.... ดูเหมือนจะมีคนเชื่อแคตตาลอกการประมูลของพวกฝรั่งอยู่ ???
กรรมเวร.....
เวรกรรมจริงๆ

นี่มันปี 2008 แล้วนา..... ผมว่าการยึดเอาขี้ปากฝรั่ง
เรื่องเกี่ยวกับศิลปะวัตถุในดินแดนเล็กกระจิ๋วหลิวเกือบสุดปลายบูรพทิศ
อย่างประเทศไทยนี่.... เป็นมรณกรรมอย่างหนึ่งในแวดวงประวัติศาสตร์ศิลป์นะครับ



ผมอาจจะเขียนภาษาไทยไม่แตก ฟังภาษาอังกฤษไม่กระดิกหู
ไม่เคยไปศึกษาศิลปะวิทยาการมาจากต่างประเทศ
อ่านงานเขียนเชิงวิชาการมาน้อย คุยกับผู้รู้ก็ไม่มาก
แต่อย่างน้อยผมก็รู้มาล่ะว่า เครื่องสังคโลกปลอม
นอกจากเขาจะทำขายให้พิพิธภัณฑ์เอกชนบ้องไม่ลึก
ที่เป็นคนไทยแท้ๆ แต่ดันไปจ้างฝรั่งมาซื้อของปลอมให้.......
ทางปล่อยอีกทางหนึ่งก็ผ่านการประมูลต่างชาตินี่แหละ เหอๆ

แล้วข้อมูลของของที่ดูยากกว่าสังคโลก อย่างรูปถ่าย..... มันจะเชื่อได้เราะ ???





ปล. รูปคุณพิพัฒน์ 2 ชิ้น
ถ่ายคนละวัน คนละเวลากันนี่ครับ รูปบนที่เป็นภาพพิมพ์แกะไม้
ถ้าดูจากเงาของใบกล้วย หรือกองไม้รวกที่อยู่หลังเรือนแพลำแรก
ดูเหมือนว่าแดดจะจัด และเงาตกเกือบตรง
(ขออนุญาตเดาอย่างคนรู้น้อย) ว่าน่าจะถ่ายช่วง 11.00 - 13.30 น. โดยประมาณ

ส่วนภาพด้านล่างที่เป็นรูปถ่ายกองไม้รวกหายไปแล้ว
หลังคาของเรือนแพลำใหญ่ที่ดูเหมือนจะยังมุงไม่เรียบร้อยในรูปบน
ก็มุงได้เรียบร้อยดีแล้ว แต่เรือประทุนที่ผูกไว้อีกฝั่งคลอง
ยังผูกในทิศเดิม มุมเดิมอยู่ เหมือนเรือที่ผูกไว้ฝั่งนี้ที่ยังไม่ต่างจากเดิมนัก...
แต่ด้านหลังเรือประทุนที่อยู่ฝั่งฟากขะโน้น.... ดันมีเพิงอะไรม่ะรุ ก่อขึ้นมาแระ

นายติบอขออนุญาตเดาเอาว่ารูปบนถ่ายหลังรูปล่างครับ
น่าจะหลายวันอยู่เหมือนกันอ่ะคับ แหะๆ
แต่อาจจะใช้บริเวณที่ตั้งกล้องบริเวณเดิม
(ถ้าดูจากการครอปภาพ เดาว่ารูปบนถ่ายไกลกว่ารูปล่างนิดส์นึง
เพราะเก็บมุมกล้องได้กว้างกว่า....)
นึกออกแค่นี้.... อ. พิพัฒน์ อย่าดุอย่าตีนะคับ ป๋มกัวแย๊ว.... งุงิ


กระทู้: สาวน้อยใจถึง
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 22 เม.ย. 08, 11:01
คนตาดี คงเห็นชัดว่าสองรูปนี้ คือสถานที่เดียวกัน ถ่ายห่างวันกัน น่าจะไม่เกินนับนิ้วมือหนึ่ง
แต่ฝาหรั่ง(บังเกิดเกล้าของใครไม่รู้) บอกว่า อายุห่างกัน 3-4 ปี
ไม่ใช่ฝรั่งขี้นกด้วยหนาคุณ มีชื่อเสียงเป็นออธอริตี้เรื่องภาพถ่ายของนายตัมสั้น
มีหนังสือเล่มอย่างดี โดยสำนักพิมพ์เธมส์และฮัดสันประกอบนิทรรศการระดับโลก
เอาว่า คริสตี้ส์ของคุณอะไรนั่น ต้องอ้างเขาละกัน....เขาชื่อนายไวท์
ผมก็เคยอ้างครับ สมัยก่อน แต่เดี๋ยวนี้ .โทษที..... ขอสอบก่อน

คุณขาวคนนี้ เขาบอกว่ารูปถ่าย(ล่าง)น่ะ ฝีมือตัมสั้น ก็แปลว่าถ่ายเมื่อ 2409 ปีที่เจ้าหมอนี่ เข้ามาบางกอก
แต่ลายเส้นข้างบนน่ะ พิมพ์ในหนังสือของมูโอต์ 2405 โน่น.......
เอาละซี ฝรั่งกัดกัน คุณจะเข้าข้างใครดีล่ะ โน่นก็ที่เคารพ นี่ก็ที่นับถือ

ตัวผมเอง เชื่อหลักฐานฮ่า ไม่เชื่อแม้แต่ตัวเอง
แปลกเสียจริง ที่รูปถ่ายนี้ มีอยู่ในหอจดหมายเหตุท่าวาสุกรีด้วย คนที่เคยเห็นเขาบอกไว้ เสียดายผมไม่ได้ทำสำเนาออกมา
จึงกลายเป็นว่า รูปชุดนี้ เจอเข้าไปสามประเทศ สามยุค ยุ่งใหมล่ะ
ถ้าผมเป็นคนเห่อฝรั่ง ก็คงตัดรำคาญด้วยการเชื่อใครสักคนที่ตัวเองอยากจะเชื่อ จบ
แล้วเอาความเชื่อนั้น มาด่าคนอื่น ที่เขาเชื่อไม่เหมือนเรา ด่าๆๆๆๆๆๆๆ....โดยไม่ต้องแถลงหลักฐาน
แค่เขาไม่เชื่อฝรั่ง บังอาจค้านฝรั่ง แค่นี้ก็ผิดวายป่วงแล้วละ (ไม่นับที่ข้าเกลียดเอ็งอีกตะหาก....ฮึ)

ก็ในเมื่อผมไม่เชื่อว่ามูโอต์ใช้กล้องถ่ายรูป
ไม่เชื่อว่าติมสั้นเป็นเจ้าของรูปที่เขาลงชื่อไว้
และไม่เชื่อฝาหรั่ง.......ผมก็ต้องมั่วเดาเอาแหละครับ ว่ามีคนไทยถ่ายรูปเหล่านี้ไว้

เพราะผมเชื่อว่า มีแต่คนไทย ที่ได้รับพระบรมราชานุญาต มีทุนรอน เวลา และความสามารถเท่านั้น
ที่จะตามถ่ายรูปเมืองสยามเอาไว้
ตั้งแต่เมื่อบาทหลวงปาเลกัวส์ สั่งให้บาทหลวงลานอร์ดี นำกล้องถ่ายรูปตัวแรกเข้ามาในสยาม
แล้วขายให้ให้เจ้านายพระองค์หนึ่ง หลังจากใช้มาแล้วสองปี
เจ้านายพระองค์นั้น คงไม่ซื้อไปดูเล่นแน่ๆ

การที่ประเทศสยาม มีพระรูปถ่ายพระเจ้าอยู่หัว ส่งไปวอชิงตันและลอนดอนตั้งแต่ต้นรัชกาล
และส่งออกไปต่อเนื่อง นับจำนวนไม่ถ้วน ต้องจ้างฝรั่งเข้ามาทำงานให้หรือ
แล้วการที่นายจิตลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์ บอกว่าตนเองมีรูปถ่ายจำหน่าย และรับจ้างถ่ายรูปนอกสถานที่
การที่เจ้าเมืองเพชรบุรี มาว่าจ้างนายจิต ถ่ายรูปผู้ใหญ่ของตระกูลเอาไว้หมด
และพระเจ้าอยู่หัว ทรงเล่าว่า ได้ช่วยกำกับการถ่ายรูปที่ส่งให้ฝรั่ง

เหล่านี้ ยกเมฆทั้งนั้น
เป็นผลงานของฝรั่งทั้งนั้น......เฮ้อ
เอาเข้าไป


กระทู้: สาวน้อยใจถึง
เริ่มกระทู้โดย: นงนภัส ที่ 22 เม.ย. 08, 12:45
ขอเรียนถามว่า source ของภาพถ่ายเปลือยอก และคณะละครนั้น
ี้อยู่ที่ใดคะ อยากชมบ้างค่ะ


กระทู้: สาวน้อยใจถึง
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 22 เม.ย. 08, 13:53
เชิญรู้จักมูโอต์ได้ที่นี่ครับ
http://en.wikipedia.org/wiki/Henri_Mouhot

หนังสือของเขา เล่มที่สนองสันดานล่าอาณานิคมของชาวปารีเซียง ชื่อ
Travels in the Central Parts of Indo-China (Siam), Cambodia, and Laos During the Years 1858, 1859, and 1860
คุณเอนก นาวิกมูลเคยนำรูปในเล่มนี้มาพิมพ์อธิบาย ชื่อว่า ภาพสยามของอองรี มูโอต์ ....หรืออะไรประมาณนี้ครับ
ส่วนกรมศิลปากร เคยแปลและพิมพ็เฉพาะตอนที่เกี่ยวกับประเทศสยาม อยู่ในรวมเรื่องแปล.....เล่มที่เท่าไรก็ลืมเหมือนกัน
ถ้าต้องการทราบจริงๆ จะพยายามไปหาชื่อมาให้อีกทีนะครับ
แต่เล่มที่ควรอ่านไม่แพ้เล่มแรก คือหนังสือบันทึกประจำวันของมูโอต์ ซึ่งเพิ่งพิมพ์เมื่อไม่กี่ปีมานี้เอง
วิกิให้รายการที่จำเป็นไว้ครบถ้วนแล้ว ตามรอยไป ก็น่าจะได้ความรู้ที่สำคัญตามแต่กำลังใครจะไขว่คว้ามาได้

ควรจะเน้นว่า เพราะหนังสือของเขานี่เอง ที่กระตุ้นพวกเหยี่ยวในสภาฝรั่งเศสให้รีบจัดการยึดเขมรมาเป็นของตน
ผมจึงขอยกย่องว่า เป็นหนังสือที่ก่อเกิดหายนะภัยแก่สยามและเพื่อนบ้านในระดับที่มิอาจประเมินได้
ถ้านับรวมตั้งแต่กองเรือฝรั่งเศสเริ่มมากล้ำกรายอ่าวตังเกี๋ย จนถึงวันที่พวกนี้แพ้หางจุกก้นออกจากนรกที่เดียนเบียนฟู
ก็กินเวลาเป็นร้อยปี มีคนตายไปไม่รู้กี่ล้าน ถ้านับถึงสมัยเขมรแดงต่อมาอีกครึ่งศตวรรษ จะยิ่งวายวอดอีกเท่าไร
เครื่องคิดเลขที่บ้าน คิดไม่ออกครับ มันมากมายเกินจินตนาการ

หนังสือของมูโอต์พิมพ์สองครั้งติดๆ กัน ถ้าจะเดา ผมคิดว่าต้นฉบับของเขาคงเป็นภาษาฝรั่งเศส
เมื่อตาย ผู้ช่วยชาวเขมร(กระมัง) เก็บรวบรวมทรัพย์สินของเขา นำเข้ามากรุงเทพ มอบให้น้องชาย
ซึ่งนำกลับไปปารีส ดำเนินการพิมพ์โดยมอบให้สำนักพิมพ์ใหญ่ของฝรั่งเศสพิมพ์ก่อน เป็นภาษาฝรั่งเศส
เล่มโตมาก ขนาดเท่ามติชนรายสัปดาห์หรือสยามรัฐ
ในขณะเดียวกัน ก็แปลเป็นอังกฤษ มอบให้อีกสำนัก พิมพ์เป็นเล่มปกแข็งขนาดแปดหน้ายก
แต่รูปประกอบนั้น ตรงกัน ขนาดเท่ากัน

รูปประกอบแบ่งเป็นสามกลุ่ม กลุ่มแรก ถอดลายเส้นออกจากรูปถ่าย
กลุ่มที่สองถอดลายเส้นออกจากงานสเก็ตช์ของมูโอต์(ฝีมือเขียนรูปของมูโอต์ ดีมาก)
กลุ่มสุดท้าย เป็นพวกแผนที่ และแผนผัง ซึ่งมูโอต์เห็นจะต้องจ้างคนพื้นเมืองช่วยรังวัด โดยเขาเป็นผู้อำนวยการ

ด้วยหนังสือนี้เล่มเดียว ประเทศใดก็ได้ ที่งกจัด สามารถใช้เป็นคู่มือยึดครองประเทศอ่อนแออย่างสารขัณฑ์ได้ ซำบายบรื๋อออ....
ในคำนำหนังสือ ให้ข้อมูลสำคัญหลายอย่าง อย่างหนึ่งก็คือจดหมายของเซอร์รอเบิร์ต จอมเบิร์ก ฑูตอังกฤษในปีนั้น
สรรเสริญผลงานนี้ไว้เลิศหรู และบอกว่า ได้รับพระราชทานพระรูป ที่เชิญประดับเปิดเล่ม
แต่สิ่งที่หนังสือไม่ได้บอกก็คือ เหตุใด รูปประกอบในภาคที่เกี่ยวกับเขมร จึงไม่มีที่มาจากต้นฉบับรูปถ่ายเลย
ไม่ว่าจะเป็นรูปบุคคล หรือรูปสถาปัตยกรรม

ผมขอเชิญชมลายเส้นชิ้นหนึ่ง ที่มาจากเสก็ตช์ของมูโอต์ เป็นรูปที่ซับซ้อนมาก เพราะเขียนพระพุทธบาททั้งอาณาบริเวณ
แสดงถึงความแม่นยำในฝีมือร่างรูปอย่างพิเศษ ....แม้กระนั้น ก็ยังเขียนผิดพลาดมากมาย
นี่ขนาดมานั่งเขียนหน้าของจริงนะครับ....แล้วพวกช่างแกะ ที่นี่งอยู่ปารีส จะรู้ซึ้งถึงรายละเอียดต่างๆ ได้อย่างไร
ถ้าไม่ใชเพราะรูปถ่ายต้นฉบับ มีคุณภาพสูงมากๆๆๆๆๆ มากจนแค่ลากเส้นทับ ก็ได้ความจริงออกมา

กระบวนการถ่ายทอดนี้ ยังคุยได้อีกยาวเชียวนะครับ


กระทู้: สาวน้อยใจถึง
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 22 เม.ย. 08, 13:55
เชิญชมรูปสามัญชน ในหนังสือของมูโอต์ครับ


กระทู้: สาวน้อยใจถึง
เริ่มกระทู้โดย: นงนภัส ที่ 22 เม.ย. 08, 17:52
ขอบคุณสำหรับลิ้งค์ที่น่าสนใจ

อยากทราบว่าภาพไทยโบราณ ชุดเปลือยอกใน คคห 33 ปัจจุบันแสดงอยู่ที่ใดคะ
อยากไปชมบ้างค่ะ


กระทู้: สาวน้อยใจถึง
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 22 เม.ย. 08, 21:29
เท่าที่พอนึกได้
ห้องสมุดของคอรแนลล์
คลังสะสมของบริษัทกระดาษกิลแมน
สองแห่งอยู่อเมริกาครับ

ที่อังกฤษมีวิคตอเรียอัลเบิร์ตมิวเซียม
บริติชไลแบรรี่
คลังสะสมของบริษัทเวลลคัม

ปกติรูปจำพวกนี้ เขาไม่จัดแสดงกันครับ เพราะวัสดุไม่คงทนต่อแสงสว่าง ความชื้นและฝุ่นละออง
นานๆ ที จึงอาจจะจัดเป็นนิทรรศการพิเศษสักครั้ง
อย่างเช่นที่โรงแรมคอนราดเคยจัดเมื่อหลายปีก่อน ยังมีการพูดถึงในกระทู้หนึ่งของที่นี่

รูปสาวเปลือยอกนี้ ผู้นำมาอวด บอกว่ามาจากการประมูลของคริสตีส์
ผมจะสอบถามเจ้าหน้าที่ของบริษัทนี้ว่า ประมูลที่ใหน เมื่อไร

ถ้าโชคดี เขาน่าจะสอบให้ได้ครับ


กระทู้: สาวน้อยใจถึง
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 22 เม.ย. 08, 21:45
ลักษณะของผลงาน ที่นำมาประมูล
มักจะจัดเป็นชุด พยายามสร้างเนื้อหาขึ้นมาเพื่อให้น่าเป็นเจ้าของ
อาจจะมาจากเจ้าของเดียว หรือหลายๆ เจ้าของ


กระทู้: สาวน้อยใจถึง
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 23 เม.ย. 08, 00:36
ย้อนกลับไปที่ลายเส้นของมูโอต์ต่อ

ทีนี้จะตามรอยไปทีละน้อยนะครับ ขอให้ดูรูปถ่ายชิ้นนี้ก่อน ว่าตรงกับรูปของมูโอต์เพียงใหน
คุณติบอ ถ้าว่าง ช่วยมาให้รายละเอียดเรื่องผ้และการแต่งกายด้วย
กระผมเอง ไม่มีฟามรู้ทางสังคม เศรษฐศาสตร์ วิญญานศาสตร์ กระยาศาสตร์
หรือลางสาด

ทำได้แต่ก๊อปปี้แล้วแปะ
หากินกับชาวบ้านไปวันๆ ความรู้ย่อมจะไม่มีอยู่แล้ว ที่มีมากคือความไม่รู้...หึหึ


กระทู้: สาวน้อยใจถึง
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 23 เม.ย. 08, 00:41
เมื่อเทียบกัน จะเห็นว่า มีอะไรที่ประหลาดมากมายพอดู
ประการแรก คือรูปมันกลับกัน ตรงนี้เป็นไปตามความเคยชินของช่างแกะบล๊อครุ่นนั้น อันหมายฟามต่อได้ว่า
รูปในมูโอต์ จะกลับซ้ายขวากี่รูปก็ไม่รู้

แต่นั่นยังไม่น่าสนใจเท่า ทำมะรัย ลายเส้นมี 3 คนหว่า
เพิ่มคนยืนมาอีกหนึ่ง เพิ่มเสาให้เกาะมาอีกหนึ่ง
และ
ข้อสุดท้าย รูปถ่ายจากหนังสือของดือห์ริงนี้ ใช้เทคนิคทำฉากหลังให้เทาลง
เพื่อเน้นแบบทั้งสาม

อันนี้เป็นเทคนิคใหม่รุ่นรัชกาลที่ 6 เพราะหนังสือน่ะพิมพ์รุ่นนั้น


อ้าว....ทำไมรูปถูกพิมพ์ห่างกันตั้ง 2 รัชกาลล่ะ


กระทู้: สาวน้อยใจถึง
เริ่มกระทู้โดย: ติบอ ที่ 23 เม.ย. 08, 01:17
ดูจากผ้าซิ่นทั้งลาย ทั้งวิธีนุ่ง
ตอบได้อย่างเดียวครับ ว่าเป็นรูปของชาวไทยทรงดำ


แล้วถ้าย้อนเวลาไปอีกนิดนึง....
ไทยทรงดำยุคแรกๆในไทย
(เท่าที่นายติบอเข้าใจ - ไม่รู้ว่าผิดหรือเปล่านะครับ)
ในเขตภาคกลางมี 2 กลุ่ม
คือที่ จ. เพชรบุรี
และ จ. นครปฐม


แต่ดูจากรูปอีกน่ะแหละ เดามั่วว่าเป็นกลุ่มใน จ. เพชรบุรีแล้วกัน
เพราะกลุ่มที่อยู่ใน จ. นครปฐมลายผ้านุ่งมักจะต่างกับในรูปนิดหน่อย





ที่เหลือ รอสมาชิกท่านอื่นช่วยอธิบายดีกว่าครับ แหะๆ


กระทู้: สาวน้อยใจถึง
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 23 เม.ย. 08, 03:00
จะเป็นนครปฐม หรือเพชรบุรี ผมก้อม่ายสนครับ

เพราะตามปากคำของมูโอต์เอง เขาไม่ได้แวะสองเมืองนี้ครับ
เขาไปพระบาท และไปเที่ยวกรุงเก่า...ระหว่างรอใบสำคัญเข้าประเทศเขมร
(วันนั้น เขมรเป็นเมืองประเทศราชของสยามครับ) ได้มาก็รีบเข้าเขมรเลย

ดังนั้น พ่อมูโอต์ (จะคนพี่ หรือคนน้อง ก็ช่าง) ไปถ่ายรูปมาได้อย่างไรล่ะเนี่ยะ
คนเชื่อคริสตี้ส์ คงตะแบงออกไปได้ว่า ก็เขาให้คนอื่นถ่ายไม่ได้รึงัย
มิเช่นนั้นก็ เขาคงหามาเติมทีหลังน่าซิ

ผมก็ขออำนวยพรให้ยึดมั่นในตาน้ำข้าวต่อไปละกัน
เพราะผมยังเจอรูปคล้ายกันนี้ ในคลังรูปที่อ้างว่าเป็นของตอมสั้นอีก
หมายความว่า รูปชุดนี้ เริ่มที่มูโอต์ ต่อไปที่ตอมสั้น แล้วไปเจอกับดือห์ริง....กินเวลากว่าครึ่งศตวรรษ
คนอย่างผม ที่"ยกเมฆบัดซบ อุตริซะไม่มี"
ทำได้แต่ตาปริบๆ ไม่รู้จะวิเคราะห์คอเคซอยที่เคารพของคุณคนนั้นอย่างไรดี
จึงจะย้อนศรกลับเข้าฝั่ง หลังออกทะเลนานโข ว่า

"เจอภาพถ่ายใด ไม่ทราบผู้แต่ง เป็นต้องมั่วว่าฝีมือนายจิตร ทุกครั้งไป
ใครยกครูให้คุณกัน ไม่สั่งสอนหรือว่าริจะเป็นนักวิชาการนั้น ต้องอย่ามั่ว"

ผมเองนั่งอ่านข้อมูลชุดนี้มาร่วมสิบปี
ทำได้แค่ที่เล่ามาข้างต้น
ส่วนคนที่ชอบคำว่าบัดซบ ไม่รู้จะไม่มั่วได้สักกี่ตัวอักษร
อยากอ่านจริงๆ.....



กระทู้: สาวน้อยใจถึง
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 23 เม.ย. 08, 03:11
ปล. รูปคุณพิพัฒน์ 2 ชิ้น
ถ่ายคนละวัน คนละเวลากันนี่ครับ รูปบนที่เป็นภาพพิมพ์แกะไม้
------------------
ต้องท้วงคำอธิบายของคุณติบอสักหน่อย เดี๋ยวปากหอยๆ ปูๆ จะค่อนแคะเอาอีก

ผมเห็นว่า งานลายเส้นในหยังสือมูโอต์นั้น น่าจะไม่ใช่ภาพพิมพ์แกะไม้ครับ
เห็นว่าน่าจะเป็นแม่พิมพ์โลหะร่องลึก
ที่เป็นแกะไม้น่ะ ของท่านปาเลกัวส์ครับ

ระหว่างแม่พิมพ์แกะไม้ กับแม่พิมพ์โลหะร่องลึกนี่ ต้นทุนห่างกันสุดกู่ทีเดียว
เปรียบไปก็คือ มูโอต์ใช้เทคนิคสร้างแม่พิมพ์ระดับ"เกือบ"สุดยอดของยุคสมัย
แสดงว่า ต้นทุนการผลิตนั้นสูงนักหนา จะบอกไว้ไม่จำกัด ก็คงจะยกเมฆไปหน่อย
แต่ใครที่มีความรู้ และเป็นนักเล่นหนังสือโบราณ น่าจะรู้ดีว่า
หนังสือที่พิมพ์รูปประกอบด้วยแม่พิมพ์โลหะนั้น หายากเพียงใดก่อนปีค.ศ. 1880

แม่แอนนาเอง หนังสือหล่อนก็ยังเป็นแม่พิมพ์ไม้ครับ
อันนี้มิได้สู่รู้ พิสูจน์ทราบได้ง่าย ถ้าเป็นคนรู้จริง

ทั้งหมดเพื่อจะย้ำถามว่า
รวยขนาดนี้....ทำไมไม่ถ่ายรูปเมืองเขมรออกมาสักแม้แต่หนึ่งชิ้น...ฮึ
ปล่อยให้ผมสางประวัติ เพื่อจะเอารูปดีๆ ไปยัดใส่ประวัติของนายจิต
จนคนไทยที่เคารพฝรั่งทนไม่ได้ ทนไม่ด้ายยย.....

เฮ้อ


กระทู้: สาวน้อยใจถึง
เริ่มกระทู้โดย: Hotacunus ที่ 23 เม.ย. 08, 04:55
ความคิดเห็นที่ 55

โอ้ การ "ตัดต่อ" ยุคก่อน Photoshop ครองโลก  ;D

ผมคิดว่า น่าจะเป็นการนำภาพสองภาพมาจัดองค์ประกอบใหม่ คุณพิพัฒน์มีภาพถ่ายตัวเป็นๆ ของสาวน้อยเกาะเสาด้วยหรือเปล่าครับ ?


กระทู้: สาวน้อยใจถึง
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 23 เม.ย. 08, 13:47
หึหึ...ยังหาสาวน้อยเกาะเสา คนที่ 3 ไม่เจอครับ
เล่นรูปเก่า สนุกก็ตรงตามหาส่วนที่ขาด
หาพิรุธได้ แต่กว่าจะได้ส่วนที่ไขความลับ บางทีสิบปีผ่านไปโดยไม่ได้อะไรเลย

สองรูปข้างล่าง อยู่ในคลังสะสมบริษัทเวลลคัมแห่งอังกฤษ  ที่บอกว่าซื้อมาจากตอมสั้นโดยตรง
ผมเชื่อว่า เป็นรูปชุดเดียวกันกับที่เป็นลายเส้นในมูโอต์ แต่ยังไม่มีหลักฐานชี้ชัดมากกว่านี้
ที่คิดอย่างนั้น ก็เพราะความคล้ายคลึงกันของรูป เช่นการจัดองค์ประกอบ ท่าทีที่แบบมองกล้อง
ขนาด สัดส่วนของคนซึ่งเป็นผลมาจากการเลือกเลนส์ เรียกทางเทคนิคว่าเปอร์สะเป๊คตีพของเลนส์
แต่ละตัวจะมีลายมือเฉพาะ
เป็นเรื่องยากมาก ที่รูปโบราณจากช่างภาพสองรุ่น จะออกมาคล้ายกัน

ทีนี้จะบอกถึงความลับในการถ่ายรูปโบราณสักหน่อย
ทุกวันนี้ เวลาเราไปที่ไกลๆ และเราชอบถ่ายรูป รับประกันว่า 1-200 รูปไม่พอเราถ่าย
แต่ย้อนกลับไปสมัยที่ยังใช้ฟิล์มอยู่ อย่างมากเราก็ถ่ายครั้งละม้วน หรือสองม้วน
เว้นแต่ตากล้องมืออาชีพ นั่นจะมีกระเป๋าฟิล์มอีกหนึ่งใบติดกายตลอดเวลา

สมัยมูโอต์ เรื่องยิ่งยุ่งยากกว่านั้น...มากมาย
สมมติคุณจ้างลูกหาบห้าคนไปด้วย เข้าถึงเมืองร้าง คุณก็ต้องเดินป่าเข้าไป
เอาละ ถึงปราสาทโบราณ คุณตั้งกล้องลงมือเก็บรูป
ถามว่า ถ่ายได้วันละกี่รูป

ตอบว่า อาจจะได้ถึงสิบ ถ้าแดดดี
อ้าว ไหงเป็นงั้นล่ะ ถ่ายรูปหนึ่งชิ้นอย่างมากก็ห้านาที เห็นเขาถ่ายกันใช้ความเร็วหน้ากล้อง หนึ่งในหกสิบวินาที
ยังบอกกันว่าสปีดต่ำเลย
งานแต่งงานครั้งหนึ่งๆ สองสามร้อยรูป เขายิงกันไม่กี่ชั่วโมงเอง

ตอบว่า เทคโนโลยีไม่เหมือนกันนี่ท่าน
สมัยนายจิตทำงาน แดดเปรี้ยงๆ แกยังเปิดหน้ากล้องถึง 10 นาที แดดไม่เปรี้ยง ก็ไม่ต้องถ่าย....55555
วันหนึ่ง วันหนึ่ง จะถ่ายรูปได้ถึงแปดเก้ารูป ต้องถือว่าเบื้องบนเป็นใจ
เพราะคุณจะมีเวลาทำงานเพียง ห้า-หก ชั่วโมงเท่านั้น คือสิบโมงเช้า ถึงสี่โมงเย็น
เจ้าตอมสั้น ลงทุนมหาศาล เพื่อจะเข้าไปถ่ายนครวัด เข้าไปทำงานนานหลายเดือน
ได้รูปออกมากี่ชิ้น ทราบใหมครับ

60 ครับ


กระทู้: สาวน้อยใจถึง
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 23 เม.ย. 08, 14:51
ทำไมน้อยนักล่ะ
ตอบว่า แค่นี้ก็มากเกินจะขนแล้ว...ลองนึกจำลองเหตุการณ์ต่อไปนะครับ
รูป 60 ชิ้น จะเก็บอย่างไรในเมื่อเป็นฟิล์มกระจก
ดูรูปประกอบแล้ว ท่านอาจจะนึกออก

แต่....มีมากกว่านั้นครับ
ท่านจะพกกระจกเข้าไปได้สักกี่แผ่นกันล่ะ

ในวันนั้น ช่างภาพทุกคน ที่ออกภาคสนาม จะต้องพกห้องมืดติดตัวไปด้วย
ของหลักๆ ที่จะต้องมี ก็คือกระโจมห้องมืดแบบครึ่งตัว ใช้ทำกระจกให้กลายเป็นแผ่นไวแสง
นั่นแปลว่า ท่านจะต้องมีน้ำยาเคมีไปอีกหลายขวดใหญ่ มีอ่างรองรับน้ำยา มีคีมคีบ มีถุงมือ ผ้า และอะไรอีกจิปาถะ
ทั้งหมดต้องพร้อมใช้งาน เพราะสมมติว่า เดินป่าเข้าไป 3 วัน แล้วดันลืมนำยาไฮโป งานของกร่อยไม่เป็นสับปะรส
แต่ในบันดาของทั้งหมด กระจกจึงเป็นหัวใจครับ

ท่านต้องมีกล่องไม้เก็บกระจกเหล่านี้ ขนไปได้กี่กล่อง ก็คือดัชนีชี้ว่า งานนี้ถ่ายได้เท่าไร
สมัยที่นายจิตรับพระบรมราชโองการเข้าไปถ่ายรูปปราสาทหินพิมาย
เจ้าพระยาจักรี ต้องมีหมายให้ถือติดตัว ไปถึงเมืองใหนก็ยื่น เพื่อให้เจ้าเมืองจัดกองกำลัง พาหนะ เครื่องถางป่า
และนำเข้าไปยังจุดหมายปลายทาง

กรณีตอมสั้น กระจก 60 แผ่น อย่างน้อยก็ต้องมีกล่องไม้ 3 หีบใหญ่ จุกล่องละ 20 สำหรับเก็บผลงานล้ำค่า
แต่ละใบคงไม่เล็กไปกว่าตู้เซฟหัวเตียงของปัจจุบัน


กระทู้: สาวน้อยใจถึง
เริ่มกระทู้โดย: นงนภัส ที่ 23 เม.ย. 08, 17:24
เฉลยว่า ช่างภาพที่สิงคโปร์ G R Lambert
http://babatov.coolpage.biz/ppp.html


หรือคลิกไปที่ คริสตี้ ตามลิ้งค์ด้านล่าง
http://www.christies.com/LotFinder/lot_details.aspx?from=searchresults&intObjectID=4548364



กระทู้: สาวน้อยใจถึง
เริ่มกระทู้โดย: ติบอ ที่ 23 เม.ย. 08, 18:03
ขอบพระคุณ คุณพิพัฒน์สำหรับการแก้ข้อมูลครับ
ผมก็ทราบมาแค่งูๆปลาๆ เรื่องภาพพิมพ์
วันนี้ได้ความรู้มากขึ้น ก็ดีใจครับ



ปล. ผมคิดไปเองว่าความเชื่อในข้อมูลที่หยิบยกมา
ก่อนจะพูดออกไป หรือตีพิมพ์เผยแพร่ ย่อมต้องใช้วิจารณญานส่วนบุคคล
ซึ่งแตกต่างกันไปตามแต่ต้นทุนทางสังคมของบุคคลนั้นๆ

สำหรับผมขอยกขึ้นมาแค่ประเด็ดเดียวที่จะพูดถึง
คือ ผมคิดว่าคนที่เขียนเลขไทยนำหน้าภาษาอังกฤษ
น่าจะเป็นคนที่นับเลขว่า "หนึ่ง สอง สาม" อยู่ในอนุสติของเขา
ประเด็นนี้ผมขอยกมือให้คุณพิพัฒน์นะครับ


กระทู้: สาวน้อยใจถึง
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 23 เม.ย. 08, 19:11
ขอบคุณ คุณนงนภัสที่บอกลิงค์ครับ
ดีใจที่คุณบ้าตอบ หาอะไรที่เป็นชิ้นเป็นอันมาเสนอประชาชนบ้าง.....แม้จะต้องรับต่อมาจากคนอื่นก็เหอะ
ขอแก้คำผิดก่อน เรื่องเพชรบุรี อันนี้ยอมรับผิด ต่อไปจะแก้ให้ถูกครับ

คราวนี้มาดูสิ่งที่คุณตอฟเธอจี้มา
บอกก่อนว่า พยายามอ่าน แต่อ่านไม่รู้เรื่อง วันหลังน่าจะหาน้ำท่ามาอยู่ไกล้ๆ ดื่มดับอารมณ์เสียก่อน
คนอื่นเขาจะได้ปรบมือเฮ.......ว่าเจ๋ง

เท่าที่อ่านรู้เรื่อง คุณตอฟเธออ้างคริสตีส์ว่า ช่างภาพคือ
G.R. LAMBERT (PHOTOGRPAHERS).
[Court Actors, circa 1868]. Albumen print carte-de-visite (94 x 59mm) on card mount (106 x 62mm),
photographer's stamp on verso of mount G.R. Lambert and Co. Singapore.
The image shows the actors in costume as characters from a Thai epic.
The photograph is very reminiscent of the plate facing page 176 in the above work
(and see also lot 134 for this Singapore commercial photographers' work)

โดยที่นักอ่านภาพของคริสตีส์ นำรูปไปเทียบกับหนังสือของยัยแอนนา และให้ปีถ่ายไว้ที่ 1868 ตรงกับ 2411
เลขศักราชนี้ ที่ปรึกษาของคุณตอฟ ก็สังเกตเห็นว่ามันไม่ตรงกับปีพิมพ์หนังสือของมูโอต์ ห่างกันตั้ง 5 - 6 ปี
แล้วจะสรุปยังไงล่ะ
ถ้าถือฝรั่งเป็นพระเจ้า พระเจ้าสององค์ก็ทรงตีกันอยู่ คนไม่มีต้นทุนความรู้ คงต้องรอพระเจ้าตาน้ำข้าวอีกองค์ มาตัดสิน
แล้วเอามาป่าวประกาศอีกที

ผมไม่สนฝรั่ง ผมสอบเองก็ได้
แลมเบิร์ตผู้นี้ คนที่เล่นรูปเก่าเป็นต้องรู้จัก และจะระวัง เมื่อต้องอ้างชื่อนี้ เพราะเขาไม่ใช่คนครับ
เขาเป็นบริษัท มีที่ทำการพร้อมกันทั้งที่ปัตตาเวีย สิงค์โปร์ และบางกอก
ทีนี้ แลมเบิร์ตนี่ มาเกี่ยวข้องกับสยามครั้งใหน ถ้ารู้ ก็จะร้องอ๋อ และเข้าใจต่อว่า เกี่ยวกับสยามอย่างไร

แต่บอกได้อย่างหนึ่งละครับ ว่ารูปที่คุณตอฟ แปะไว้ และบอกว่า "G.R. Lambert เขาเคลมว่าของเขา ลุงพิ"
ทั้งสองรูป เป็นลายเส้น ดูเหมือนที่ปรึกษาคุณ เขาจะเตือนแล้วว่า ชิ้นหนึ่งเป็นฝีมือ โบกูร์
ผมก็จะบอกว่า อีกชิ้นหนึ่งก็เป็นลายเส้นเหมือนกัน จากหนังสืออีกเล่ม

ฮิฮิ....คุณรู้หรือไม่ว่า แลมเบิร์ต ไม่เคยทำผลงานเป็นลายเส้น
คนอื่นมาเอารูปถ่ายของเขาไปทำ นั่นละใช่
แต่รูปสองนั่นมันเมืองเขมร ไม่เคยทราบว่า ยี่ห้อนี้ เขาเข้าเขมรด้วยแฮะ

เอ....สรุปว่าอย่างไรดีล่ะ
สรุปว่า อันใหนชี้ข้อผิดผมได้ ก็ขอบคุณ อันใหนที่ยังไม่รู้เรื่อง ก็รอที่ปรึกษาอ่านที่ผมพิมพ์ ปรึกษากันให้แน่ๆ
สอบปี สอบเหตุการณ์ให้ลงรอยกัน ค่อยมาแย้ง ไม่ต้องรีบครับ ผมไม่หนีไปใหน
มาแย้งที่นี่ก็ได้ จะได้ไม่ต้องไปเปิดโน่นนี่ เสียค่าไฟ


กระทู้: สาวน้อยใจถึง
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 23 เม.ย. 08, 19:16
ภาพนี้ไปถ่ายทำที่ลานวัดแห่งหนึ่ง ดูลักษณะพื้นสิเป็นลานหิน ใช่อิฐตัวหนอนมาเรียงนะจ๊ะ
--------------
คุณตอฟเธอคงตาถั่วกว่าผมเสียอีก พื้นที่เห็นนั่น ไม่ใช่อิฐตัวหนอน
ผมตามรอยจนมั่นใจว่า รู้สถานที่แล้ว แต่บอกตรงนี้ก่อน ว่าเป็นพื้นปูแผ่นศิลา
ไม่น่าจะใช่วัด


กระทู้: สาวน้อยใจถึง
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 23 เม.ย. 08, 19:24
แล้วภาพนี้ลุงว่ามูโอต์เอามาจากภาพ sketch หรือภาพถ่ายล่ะ?
---------------------
ผมไม่เชื่อฝรั่ง แม้เขาจะเขียนไว้ชัดเจนว่า เป็นฝีมือโบกูร์จากรูปถ่ายของมูโอต์
และไม่ใส่ลายเส้นนี้ ในหนังสือที่ผมรวบรวมด้วย
เพราะในปี 2404+....นั้น กล้องถ่ายรูป ที่ดีที่สุด ยังไม่สามารถถ่ายรูปในถ้ำได้
ตรงนี้ คุณต้องไปสอบประวัติศาสตร์ภาพถ่ายเสียหน่อย ว่าการถ่ายรูปในอุโมงค์ ซึ่งก็คือสถานการณ์เดียวกับถ้ำน่ะ
เกิดเมื่อไร โดยใคร

ตามสายตาช่างเขียน จะเห็นชัดว่า ลายเส้นนี้ ไม่ได้แสดงข้อเท็จจริงของรูปถ่าย
เป็นลายเส้นจากการเสก็ตช์อีกที
มุมมองตามรูปนั้น ไม่มีเลนส์ตัวใหนในปี 2400+ จะทำได้ครับ


กระทู้: สาวน้อยใจถึง
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 23 เม.ย. 08, 19:30
ส่วนอันนี้ ขอโวยหน่อยนะ
คุณบอกว่า รูปซ้าย จากหนังสือมูโอต์....ขอโทษ
จากผมครับ จากความเห็นที่ 16 ในกระทู้นี้เองแหละ
ส่วนลายเส้นจากมูโอต์น่ะ คือรูปก่อนหน้าจะถึงรูปนี้....ซึ่ง ขอโทษอีกทีเถอะ

ก๊อปจากผมอีกนั่นแหละ


กระทู้: สาวน้อยใจถึง
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 23 เม.ย. 08, 20:07
ฝีมือการถ่ายภาพตามตำราบอกว่าเป็นฝรั่งใกล้ๆ
ก็น่าเชื่อเพราะฝีมือถ่ายละครชาย (ภาพคนแก่บนๆ) สู้ท่าน  F. Chit ไม่ได้

------------------
ปิดท้ายด้วยความงง ตกลงในรูปที่คุณตอฟเอามาอวดนี่
มีที่เป็นฝีมือ F Chit ด้วยละหรือ

ใหนว่าเป็นฝีมือฝรั่งงัยล่ะ


กระทู้: สาวน้อยใจถึง
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 23 เม.ย. 08, 21:00
เกี่ยวกับแลมเบิร์ต มีหนังสือเล่มหนึ่งที่น่าสนใจนัก

A Vision of the Past
A History of Early Photography in Singapore and Malaya
The Photographs of G.R. Lambert & Co., 1880-1910
John Falconer; Times Edition 1987

กรุณาสังเกตนะครับ ว่าเขาลงปีต่อท้ายไว้อย่างไร
1880-1910 ตรงกับ 2423-2463
เทียบก็คือ ต้นรัชกาลที่ 5 ลงมา ถึงปีที่ไกล้จะเกิดสงครามยุโรป
ทำไมใหม่อย่างนั้นล่ะ

ถ้าคุณค้นต่อไปดีๆ เขายังบอกอีกว่า
G.R. Lambert from Dresden opens photographic studio at 1 High Street, Singapore, 10April 1867.
เทียบวันเดือนปีนะครับ เขาเปิดกิจการที่สิงค์โปร์ ตรงกับ พ.ศ. 2410 แต่รูปชนิดที่เป็นชิ้นเป็นอันน่ะ ต้องรออีกสิบกว่าปี
แม้กระนั้น วันแรกที่เขาเปิดห้าง มูโอต์ก็ตายไปตั้งกี่ปีแล้ว....นับเลขดูเถิด
ลองคิดต่อดีๆ ด้วยว่า ปีที่น้องชายมูโอต์ กำลังจัดการต้นฉบับให้พี่ชายอยู่
แลมเบิร์ตอยู่ใหนเอ่ย...อยู่เอเซียรึยัง

เรื่องง่ายๆ แค่นี้ คิดออกอยู่แล้ว
(อ้อ หลักฐานที่ผมอ้าง มาจากพระเจ้าตาน้ำข้าว คงจะน่าเชื่ออยู่นะ)


กระทู้: สาวน้อยใจถึง
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 23 เม.ย. 08, 21:24
เด็ดสุด ก็คืออันนี้ฮ่า.......
ที่ปรึกษาคุณ อ้างแคตะล๊อคคริสตี้ส์ ที่ชื่อ treasure of siam 1999

วานไปถามคนที่ตั้งชื่องานประมูลครั้งนี้ ถึงชื่อผมหน่อยเถอะนะ


กระทู้: สาวน้อยใจถึง
เริ่มกระทู้โดย: CrazyHOrse ที่ 23 เม.ย. 08, 21:46
เทคโนโลยีภาพถ่ายในยุคมูโอต์นั้นยังเป็นช่วงตั้งไข่ กว่าโกดักจะทำฟิล์ม Ektachrome รุ่นแรกออกมาก็เป็นทศวรรษ 1930 แล้ว โดยฟิล์มรุ่นนั้นมีค่าความไวแสง ASA 6 ที่เดี๋ยวนี้นิยมใช้ว่า ISO 6 ย้อนหลังไปถึงยุคแผ่นกระจก ความไวแสงนั้นต่ำมาก ผมยังหาตัวเลขเป็นหลักฐานไม่ได้ แต่ ISO น้อยกว่า 1 อยู่หลายเท่าแน่นอน

นั่นหมายความว่าการถ่ายภาพในสภาพที่แสงน้อยมากอย่างในถ้ำ ต้องเปิดช่องรับแสงเป็นเวลานานมาก อาจจะต้องนานเป็นวัน ซึ่งสภาพแบบนั้น noise จะมากจนภาพไม่เป็นภาพเลยครับ ยิ่งพิจารณารูปใน #66 จะเห็นได้ว่าบางส่วนของภาพจะเป็นบริเวณนอกถ้ำซึ่งได้รับแสงธรรมชาติ เห็นได้ชัดว่าผิดธรรมชาติ ถ้าเป็นภาพถ่ายจริง หากมองเห็นรายละเอียดส่วนมืดได้ขนาดนี้ ส่วนสว่างจะกลายเป็นสีขาวโพลน ไม่สามารถมองเห็นรายละเอียดได้

มีอุปกรณ์รับภาพเพียงอย่างเดียวที่สามารถเก็บภาพแบบนี้ได้ นั่นคือ...

ตาของมนุษย์เรานี่เองครับ

ภาพนี้เป็นภาพสเก็ตช์อย่างไม่ต้องสงสัยครับ


กระทู้: สาวน้อยใจถึง
เริ่มกระทู้โดย: CrazyHOrse ที่ 23 เม.ย. 08, 21:52
ส่วนรูปล่างใน #64

ดูความเรียบร้อยของสถานที่ ต้องคิดให้ดีๆว่าวันที่มูโอต์เข้าไป เมืองพระนครเป็นเมืองร้างปกคลุมด้วยป่ารก สภาพควรจะเป็นอย่างไร?

ยิ่งดูรายละเอียดการเรียงหิน คนที่เคยไปเหยีบอังกอร์มา ถ้าไม่ได้ไปแบบจิ้มจุ่ม ควรตอบได้ทุกคนว่ามันไม่ได้เป็นแบบนี้

รูปนี้ก็มากจากรูปสเก็ตช์อีกเช่นกัน

ไม่ต้องสงสัยเลย


กระทู้: สาวน้อยใจถึง
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 24 เม.ย. 08, 00:33
ในการถ่ายรูปกลางวันแสกๆ เวลาประมาณก่อนเที่ยง
ผมพบว่า นายจิตต้องเปิดหน้ากล้องเป็นสิบนาที
รูปข้างล่างนี้ ถ่ายหลังการตายของมูโอต์ ประมาณ 4 ปี คือเมื่อปลายปี 2407
เห็นชัดว่า เข็มสั้นอยู่ที่เลขสิบกว่าๆ เข็มยาวกำลังเคลื่อนที่ เปิดหน้ากล้องนาน จนจับรายละเอียดไม่ได้
แต่รู้แน่ว่าอยู่ระหว่างเลขหนึ่งไปถึงเลขสาม เท่ากับสิบห้านาทีตามการเดินของนาฬิกา
นั่นคือกล้องกำลังบอกเราถึงเวลาที่ใช้ไปในการถ่ายรูปครั้งนี้ ประเมินว่า 10 นาที คงไม่ผิดไปกี่มากน้อย
ผมยังมีรูปภายในของโบสถ์วัดพระแก้ว ซึ่งสว่างกว่าถ้ำที่เพชรบุรีมากมายนัก
ยังต้องเปิดหน้ากล้องนานจนสามารถจับประกายระยิบระยับของแดดบนเครื่องโลหะ และลวดลายตกแต่ง
ทั้งๆ ที่ถ่ายหลังจากรูปนาฬิกานี้เสียอีก
ผมจึงไม่เชื่อว่า รูปในถ้ำที่เพชรบุรี จะมีกล้องอะไรไปถ่ายออกมาได้

ด้วยข้อมูลที่ว่ามานี้ ผมจึงไม่ยอมรับในคำของฝรั่งที่บอกว่าลายเส้นรูปถ้ำ ทำมาจากรูปถ่าย


กระทู้: สาวน้อยใจถึง
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 24 เม.ย. 08, 00:47
สังเกตได้นะครับ ว่าพระพุทธรูปองค์เล็กในกรอบล่าง
ซึ่งเป็นการขยายขึ้นมาอย่างมาก
เป็นประกายวูบวาบราวกับท่านเคลื่อนไหว

แปลว่ากล้องจับการเดินของแสงสว่งในเวลาสิบนาทีขึ้นไป เอาไว้ได้
เทียบเหมือนทุกวันนี้ ถ่ายรูปถนนตอนกลางคืน
เห็นไฟท้ายรถเป็นสายสีแดง อย่างั้นเลยทีเดียว


กระทู้: สาวน้อยใจถึง
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 24 เม.ย. 08, 01:01
เพื่อให้คุยกันออกรส
ขอนำปกแคตตะล๊อค....ขอย้ำ ไม่ใชโบชัวรนะครับคุณสุ
ขอให้เปลี่ยนความเข้าใจด้วย

เป็นเอกสารจากคริสตี้ส์ ลอนดอน 15 july 2005
เผื่อใครที่สนใจจะได้ตามหาเจอ


กระทู้: สาวน้อยใจถึง
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 24 เม.ย. 08, 02:49
นี่คือแคตตะล๊อคของการประมูล 1999
ทำที่กรุงเทพ ณโรงแรมใหญ่แถวสี่แยกราชประสงค์
เป็นการเปิดกิจการคริสตี้ส์ ประเทศไทย และเป็นการประมูลรูปถ่ายโบราณเต็มรูปแบบ
เป็นครั้งแรกอีกเหมือนกัน

ถ้าอยากรู้เรื่องการประมูลครั้งนี้ จะขอให้คนรับผิดชอบ มาเล่าให้ฟังแทนก็ได้นะครับ


กระทู้: สาวน้อยใจถึง
เริ่มกระทู้โดย: กุ้งแห้งเยอรมัน ที่ 24 เม.ย. 08, 09:41
คุณpipatกำลังบอกว่า ความเคลื่อนไหวของการประมูลของคริสตี้สในประเทศไทย อยู่ในสายตาและคลังการเก็บบันทึกของคุณpipatตลอดหรือเปล่าคะ ถึงได้มีเรื่องมีรูปให้หวนเสียดายอยู่มากอย่างนี้
แล้วสำนักพิพิธภัณฑ์ของชาติ มีงบสำหรับประมูลภาพ งาน ตลอดจนหนังสือดีๆ ไม่ให้หลุดไปนอกประเทศหรือเปล่า


กระทู้: สาวน้อยใจถึง
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 24 เม.ย. 08, 11:53
ทั้ง Christie's และ Sotheby ต่างก็มีตัวแทนอยู่ในประเทศไทยมานาน
คนไฮโซ ย่อมรู้กันดี

คริสตี้ส์ กล้าเปิดสำนักงานเป็นกิจจะลักษณะ หลังจากประสบความสำเร็จในการประมูลศิลปกรรม ปรส.
ซึ่งสร้างสถิติหลายอย่าง ทั้งทางดีและทางเลว
แต่สำนักงานกรุงเทพ ก็ยังเป็นแค่ลูกไล่ของสำนักสิงค์โปร์ แทนที่จะขึ้นตรงกับฮ่องกง
หรือดีที่สุดคือรายงานตรงถึงลอนดอน

เท่าที่ทราบ มีการประมูลเต็มรูปแบบ 2 ครั้ง รวมกับครั้ง ปรส. ก็เป็น 3 ครั้ง
ครั้งปรส หน้าปกเป็นจิตรกรรมของอาจารย์ทวี นันทขว้าง รูปไม้ใหญ่ต้องลมแรง
(ฮิฮิ....ให้เข้าบรรยากาศการเงิน ตอนนั้น)
ครั้งที่สอง แต่คริสตี้ส์นับเป็นหนึ่ง ปกเป็นรูปของพี่สุเชาวน์
http://www.gotomanager.com/news/details.aspx?id=1261
ครั้งที่สาม ปกเป็นพระบรมรูปสีน้ำมันสมเด็จย่าเมื่อยังสาว ฝีมือพี่จักรพันธ์
ทั้งสามครั้ง ล้วนแต่เป็นการประมูลศิลปกรรม เน้นจิตรกรรมเป็นพื้น

ที่น่าสนใจคือ เมื่อกำลังเตรียมงานครั้งที่สองนั้น มีนักสะสมคนหนึ่งเข้ามาติดต่อ
เขามีหนังสือและรูปถ่ายเกี่ยวกับประเทศไทยมาก ปกติเป็นลูกค้าสำคัญของสำนักนิวยอร์ค
ได้รับคำแนะนำว่า กำลังจะมีสาขาคริสตี้ส์ในกรุงเทพ ก็เลยแวะมา
ทำให้เกิดเป็นการประมูลอีกหนึ่งรายการเพิ่มขึ้นมา ที่ผมเอาปกพื้นดำมาอวด
จะเห็นว่า มีข้อความระบุว่า มาจากนักสะสมเพียงท่านเดียว....อันนี้เป็นเทคนิคการสร้างแคตตะล๊อค

การประมูลครั้งนี้ ประสบความสำเร็จมาก...มากกว่าการประมูลศิลปกรรมที่คาดหวังไว้เสียอีก
หนังสือเก่าสำคัญๆ หลายเล่ม โผล่มาให้เราเห็นเป็นบุญตา บางเล่มทำราคาเหยียบล้าน หรือมากกว่า
รูปโบราณก็ขายได้เกือบหมด
ทำให้มีการจัดประมูลหนังสือและรูปเก่าควบในการประมูลครั้งที่สอง ซึ่งหน้าปกเป็นหนังสือชวนน้ำลายหก
TWENTIETH CENTURY IMPRESSION OF SIAM
http://www.chulabook.com/cgi-bin/main/2007/description.asp?barcode=9789748495002
จากราคาเรือนพัน สมัยที่ผมนุ่งขาสั้น มาเป็นครึ่งล้านในการประมูลนี้

ที่คุณกุ้งแห้งกังวลนั้น อย่ากังวลเลยครับ
คนที่เล่นของเก่า เขาไม่คิดจะเผื่อแผ่ความรู้ให้ใครอยู่แล้ว
มหาเศรษฐีหลายคน มีของดีเก็บไว้ ไม่เคยแบ่งใครดู ไม่เคยเผยแพร่เป็นความรู้
และไม่สนใจที่จะศึกษาอะไรออกจากของล้ำค่าพวกนี้
ไอ้คนขาย ก็ขายด้วยแนวทางปั่นราคา หลอกลูกค้า ทำปลอม ซ่อม หรือขโมยออกมา
ทำไงก็ได้ ให้ได้เงินจากทรัพย์สมบัติสาธารณะให้มากที่สุด เป็นพอ

ผมเคยถามผู้ใหญ่ในกรมฯ เขาตอบมีหลักการครับ หนึ่งคือกรมไม่รู้ว่าเป็นของจริงหรือเปล่า
สองคือ เมื่อเป็นการประมูล ย่อมจะไม่ทราบราคาสุดท้าย แล้วจะไปตั้งเบิกอย่างไร
ความจริง ไม่แต่เพียงงานประมูลดอกครับ แม้แต่ศิลปะร่วมสมัย กรมก็ไม่เคยตั้งงบซื้อ
ราวกับว่าของพวกนี้ เป็นของได้เปล่าทั้งสิ้น.....ฮือๆๆๆๆๆ

ทุกวันนี้ รัฐบาลจีนตั้งงบไล่ประมูล ตามล่าหาซื้อของดีกลับบ้าน
ส่วนสิงค์โปร์ ตั้งบริษัทบริหารศิลปะแห่งชาติ ไล่ซื้องานดีๆ ของเอเชียเข้าเกาะมาก่อนนั้นสิบปี
คนที่เข้ามาก็เป็นหนุ่มสามสิบปลาย ท่าทางคล่องแคล่ว ตัดสินใจซื้อได้ในชั่วอึดใจ
เพียงสองอาทิตย์ก็ได้ใบลิขสิทธิ์กลับบ้าน ของที่ซื้อก็เป็นหลายแสน ครั้งละหลายๆ ชิ้น

ส่วนของชนิดที่เป็นสมบัติโลก จะไม่ผ่านระบบประมูลพวกนี้
คงจำกรณีทับหลังนารายณ์บันทมสินธุ์ได้ ชิ้นนั้นหนักเป็นตัน แต่เปลี่ยนมือกันราวกะกล่องทิชชู่
นั่นเป็นกรณีตัวอย่างของการปล้นทรัพย์ชาวบ้าน....ซึ่งมาซ้ำรอยที่อิรัค

ผู้ใหญ่อีกคนชี้เงื่อนงำของระบบประมูลนี้ให้ฟังอย่างน่าทึ่ง
สมมติว่าผมมีเงินจากการค้าผงสัก 50 ล้านเหรียญ ผมก็เจียดส่วนหนึ่งไปซื้องานมาสักชิ้น
ส่งให้บริษัทประมูลพวกนี้จัดการ....แล้วผมก็ตั้งอีกชื่อหนึ่งประมูลงานนี้ สู้ราคาถึง 50 ล้านเหรียญ
ผม ที่เป็นพ่อค้าผงเจ้าของงาน ก็สามารถบันทึกรายรับ 50 ล้านเหรียญเข้าบัญชี
เงินที่อยู่ใต้ดิน ก็ถูกซักจนสะอาด นอนนิ่งอยู่ในรายการเสียภาษีอย่างเป็นทางการ
บริษัทประมูลก็ได้ส่วนแบ่งจากการขายและการซื้อ 15 % ของ 50 ล้าน สะบายๆ


กระทู้: สาวน้อยใจถึง
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 24 เม.ย. 08, 12:22
พูดถึงการประมูลแล้ว ก็ขอพูดถึงคุณต๊อฟอีกหน่อย เธอด่าผมเกี่ยวกับรูปในการประมูลว่า
"ศิลปินถวัลย์ ดัชนี วาดรูปให้ผู้การชาติชาย ชุณหะวัณ ฟรีๆ
พิพัดก็ไปดูหมิ่นศิลปินแห่งชาติคนนี้ว่าวาดซ้ำ ไม่ไปถามลูกสาวผู้การเล่า ว่าเอาของฟรีออกประมูล
ยังจะไปใส่ความเขาอีก" เรื่องเดิมอยู่ในกระทู้ ดาวร้ายระบือนาม ลองไปอ่านดูได้

ในลิ้งค์ผู้จัดการข้างต้น ให้ข่าวว่า
"ภาพ "ไก่ชน" เป็นภาพสีน้ำมันขนาด 118x176 ซม.ของถวัลย์ ดัชนี ก็เป็นอีกภาพหนึ่งที่ทำราคาได้สูงเป็นอันดับสอง
จากราคาประเมินที่ตั้งไว้ 600,000-700,000 บาท ไปปิดที่ราคา 2,070,000 บาท
ภาพนี้เป็นภาพที่ถวัลย์ได้มอบให้กับพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ สมัยที่ยังมีชีวิตอยู่ ในโอกาสขึ้นบ้านใหม่
และพลเอกชาติชายได้นำภาพนี้ไปที่กรุงบัวโนสไอเรส และกรุงเวียนนาด้วยเมื่อท่านเป็นทูตประจำอยู่ที่ต่างประเทศ
เป็นผลงานช่วงแรกๆ ของถวัลย์ที่ยังเต็มไปด้วยสีสัน เพราะงานยุคหลังของถวัลย์จะมีการลดสีใช้เพียงสีขาวดำเท่านั้น"

ข่าวหนังสือพิมพ์นั้น ผู้จัดประมูลเป็นคนให้ข้อมูล ส่วนข้อความของคุณสุ เธอไม่บอกว่ามาจากใหน แต่ท่าทางจะรู้จริง(แฮะ)
ผมสงสัยตรงที่บอกว่า "ไม่ไปถามลูกสาวผู้การเล่า ว่าเอาของฟรีออกประมูล"
มันออกจะพิลึกอยู่หน่อย ทำนองว่าลูกสาวผู้การ (ตำแหน่งของคุณชาติชายสมัยที่ได้รูปนี้มา) เป็นคนเอารูปนี้ออกประมูล
ตามธรรมเนียมของคริสตี้ส์แล้ว จะไม่มีการเปิดเผยชื่อลูกค้าเป็นอันขาด มันเป็นมารยาท
ผมรู้ว่าใครเอามาให้ประมูล ผมก็ขอไม่บอก เพราะต้องเคารพความเป็นส่วนตัวของคนอื่น

แต่การที่คุณเขียนข้อความในทำนองที่ว่า ลูกสาวท่านเอาของฟรีออกขายนี่ ผมไม่แน่ใจว่าคนที่เกี่ยวข้องจะคิดอย่างไร
ได้แต่ยืนยันว่า ข้อมูลเรื่องศิลปินและผู้การนั้น แหล่งข่าวที่ไกล้ชิดทั้งสองฝ่ายเป็นคนเล่า
คุณอาจจะไม่ทราบว่า ผมเคยเกี่ยวข้องกับการสร้างหนังสือ "ศิลปะแห่งรัชกาลที่ ๙"
ได้รับข้อมูลปฐมภูมิจากคนในวงการมากมาย มิเช่นนั้นก็ไม่สามารถทำโครงการให้ลุล่วงได้
การที่รูปไก่ชนนี้เปลี่ยนมือจากท่านผู้การมาเป็นคนอื่นได้อย่างไร
ก็มาจากการทำงานเหล่านี้

แถมท้าย
ลองมาฟังเรื่องนี้ จากปากคุณถวัลย์เอาเองละกัน มีคนเล่าไว้จากการฟังคำบรรยายของศิลปินโดยตรง
"มีภาพหนึ่งเป็นภาพไก่ชน อาจารย์ได้ขายภาพนี้ให้กับท่านชาติชาย ชุณหะวัณ ในราคา สี่พันบาท
แต่ท่านชาติชาย ไม่ชอบไก่ชน จึงได้ขายต่อให้กับคนอื่นไป จนบัดนี้รูปนี้ได้มีการประมูลในราคา เจ็ดล้านบาท"

http://www.tarad.com/lekservice/article.php?id=938&lang=th



กระทู้: สาวน้อยใจถึง
เริ่มกระทู้โดย: ติบอ ที่ 24 เม.ย. 08, 12:40
อ่านแล้วชักสนุก หลายๆเรื่องที่เคยได้ยินได้ฟังมาแล้วหรือเคยรู้มาอยู่บ้าง....
ทำไมพอผ่านมือคุณพิพัฒน์แล้วสีสันมันเตะตาขึ้นเยอะเลย...... มาขอสมัครเป็นแฟนกระทู้ครับพ๊ม


กระทู้: สาวน้อยใจถึง
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 24 เม.ย. 08, 14:57
คุณชาติชายถูกคุณสฤษดิ์ เนรเทศไปอยู่บัวโนสแอเรส หลังการปฏิวัติ 2500
นั่นแปลว่า รูปไก่ชน คงซื้อขายกันช่วงก่อนหน้านั้น....กระนั้นหรือ
บวกลบปีเกิดแล้ว ก็น่าสงสัยว่าเป็นไปได้อย่างไร ปีนั้นเฮียศิลปินเพิ่ง 18
ขายรูปเขียนได้เงินถึง 4000 บาทแล้วหรือ ใครจะกล้าซื้อ

ท่านทราบหรือไม่ว่า เมื่อกึ่งพุทธกาลน่ะ เงินเดือนเริ่มต้นของวุฒิปริญญาตรีสาขาเฉพาะทางอย่างวิศวกรน่ะ
เดือนละเท่าไหร่ เงินเดือนลูกจ้างชาวไทยชั้นผู้บริหารในบริษัทฝรั่งขณะนั้นเดือนละเท่าไร
ปีนั้น ผมยังกินก๋วยเตี๋ยวชามละ 50 สตางค์อยู่เลย ราดหน้าซึ่งเป็นของหรู แค่ชามละ 2 บาท
กาแฟร้อนแก้วละ 70 สตางค์ บ้านไม่สองชั้นที่ครอบครัวเช่าเขาอยู่ เดือนละ 80 บาท อยู่กันเป็นสิบ
เงิน 4,000 บาทในวันนั้น มากพอจะสร้างบ้านไม้หนึ่งหลังทีเดียว

อนึ่ง คุณถวัลย์เอง ให้ราคารูปนี้ว่าประมูลได้สูงถึงเจ็ดล้าน ในขณะที่คริสตี้ส์กลับบอกว่า สองล้าน
หรือตัวเลขจริงๆ คือสองล้านเจ็ดหมื่นบาท ไม่รวมภาษี
ตรงนี้ คงมีใครเลอะเลือนแน่ๆ ระบบของคริสตี้ส์คือ จะมีการออกเอกสารผลการประมูลหลังปิดการขาย
ตัวเลขจะโกงมิได้ เพราะจะต้องตรงกับที่เกิดจริง เนื่องจากมีผู้รู้เห็นอย่างโปร่งใส
ผมเองไม่ค่อยประหลาดใจในการเล่าเรื่องของศิลปินแห่งชาติท่านนี้ ปกติก็ไม่ค่อยสนใจจำอยู่แล้ว
กรณีนี้ จึงต้องบอกว่า คนเรา แก่ตัวลง อาจจะหลงลืมได้เป็นธรรมดา

เรื่องจริงคงเป็นอย่างคุณสุต๊อฟเธอว่า....เอ่อ คุณหนอนบุ้งสิ ที่เป็นคนเริ่ม เอาว่าให้เครดิตทั้งคู่เลย คือ
ศิลปินหนุ่ม ที่ยังเรียนเพาะช่างอยู่เลย (2497-2500 เขาเรียนเพาะช่าง 2501-2505 เรียนศิลปากร)
เข้าไปผูกสัมพันธ์กับนายทหารม้าคนดัง
ผู้ซึ่งเมื่อไปกินเหล้าที่บางปู เจ้าพ่อปากน้ำทุกวันนี้ต้องกราบตีนเพราะไปมีเรื่องกัน
สนิทสนมขนาดเอารูปใหญ่เบ่อเร่อร่า มอบเป็นของขวัญขึ้นบ้านใหม่
ยามที่ผู้การตกยาก ยังอุตส่าห์ขนรูปได้ฟรีนี้ ไปต่างประเทศด้วย....แสดงว่ารักมาก

อ้าว แล้วไหง พอได้เป็นนายกฯ กลับทอดทิ้งจนในที่สุด ลูกสาวท่านต้องนำออกประมูลล่ะ
ลองคิดไปว่าท่านให้ลูกสาวโดยเสน่หา คนที่รู้จักตระกูลนี้ย่อมทราบว่าท่านนายก ยกงานศิลปะให้ลูกคนใด
แต่จะเป็นลูกคนใหน ก็แปลกแหละครับ ที่เอาออกประมูล
ช่างไม่คิดถึงหัวอกศิลปินที่ยังนั่งหัวโด่เป็นเสาหลักของภาคเหนือ ว่าเอางานที่เขาสร้างให้ด้วยน้ำใจไปขายซะงั้น

ข้างศิลปินเอง แทนที่จะน้อยใจว่าเอารูปฟรีผมไปเปลี่ยนเงินมาตั้งสองล้าน...อ้าว ดันบอกว่าขายได้เจ็ดล้าน
และรูปนี้ ท่านนายกไม่ชอบ......งงไม้ล่ะท่าน
จะไม่งงก็คงเป็นคุณหนอนบุ้ง คุณบาบาต๊อฟ คุณสุ กับที่ปรึกษาทั้งโขลงกระมัง

เหอๆๆๆๆๆ


กระทู้: สาวน้อยใจถึง
เริ่มกระทู้โดย: นงนภัส ที่ 25 เม.ย. 08, 16:16
อยากทราบว่าหมายเลข 11 มาจากละครเรื่องใด เห็นไว้เล็บยาวน่ะค่ะ


กระทู้: สาวน้อยใจถึง
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 25 เม.ย. 08, 17:22
รูปที่นำมาเสนอนี้ มาจากไฟล์ดิจิตัล
แสดงว่าทำสำเนาจากรูปถ่ายจริง นับว่าเป็นคลังรูปถ่ายโบราณที่มีคุณค่า
หาที่เทียบได้ยาก

ถ้าคุณนงนภัส สามารถเข้าภึงรูปจริงได้อย่างนี้ ไม่ใช่เจ้าของ ก็ต้องสนิทกับเจ้าของมาก
ปัจจุบันนี้ นักสะสมมีความรู้ลึกซึ้งในสิ่งที่ตนเองครอบครอง มักจะรู้ดีกว่าคนทั่วไป
ถ้าได้รูปผ่านการประมูลมา ก็จะต้องได้รับข้อมูลละเอียดแนบมากับสินค้า
ถ้าครอบครองมาโดยวิธีอื่น ก็น่าจะส่งไปให้ผู้เชี่ยวชาญศึกษา

คุณน้ำอบที่เรือนคุณน้ำอบ เป็นช่างฟ้อนมีความเชี่ยวชาญเรื่องนี้ คงจะช่วยคุณได้
ลองนำรูปไปแสดงที่นั่นสิครับ น่าจะได้รับความกระจ่าง
http://www.khunnamob.net/


กระทู้: สาวน้อยใจถึง
เริ่มกระทู้โดย: นงนภัส ที่ 25 เม.ย. 08, 18:24
ปกติตัวพระโดยทั่วไปไม่ไว้เล็บยาวค่ะ ยิ่งละครในภาคกลางด้วยแล้ว
ที่มีเล็บยาวก็เป็นฟ้อนเล็บทางเหนือ หรือละครชาตรีทางใต้
เดาว่าเป็นเรื่องอิเหนาค่ะ

รูปบนจากลิ้งค์
http://babatov.coolpage.biz/

ส่วนรูปร่างจากเวบสกุลไทย
ละครของกรมศิลปากร เรื่อง “อิเหนา” ตอนส่งดอกลำเจียกให้นางค่อม
แสดงเมื่อประมาณ พ.ศ.๒๔๘๕ สมัยมีพระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ
(สมัยนั้นเขียนว่า ‘พระราชบัญญัติ วัธนธัมแห่งชาติ’) เป็นเรื่องแรกที่ให้ตัวพระ
ซึ่งเป็นท้าวพระยามหากษัตริย์ สวมรองเท้าปลายงอน
http://www.sakulthai.com/DSakulcolumndetail.asp?stcolumnid=1623&stissueid=2497&stcolcatid=2&stauthorid=13



กระทู้: สาวน้อยใจถึง
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 25 เม.ย. 08, 19:40
ในเวบคุณสุ เธอมีช่องให้ถามตอบ
ลองถามเธอดูดีกว่าครับ

ผมไม่ได้สนใจจะเข้าไปที่นั่นเสียด้วย


กระทู้: สาวน้อยใจถึง
เริ่มกระทู้โดย: ติบอ ที่ 28 เม.ย. 08, 21:39
เห็นคุณพิพัฒน์ไมได้เข้ามาตอบกระทู้นี้เพิ่มเติมได้สองสามวันแล้ว
ผมเลยขออนุญาต(แอบ) เข้ามาเขย่าซะหน่อยนะครับ


ผมอ่านที่คุณที่ฟากขะนู้นแกเขียนไว้แล้วสงสัย อย่างนึง คือ....
เมื่อก่อนผมรู้สึกว่าคุณพิพัฒน์เป็นคนใช้ภาษาค่อนข้าง "หน้าพระลาน" พอสมควร
สมาชิกหลายๆท่านที่ไม่คุ้นชินกับภาษาแนวนี้พออ่านเข้าก็อาจจะไม่พอใจเอาได้
โดยเฉพาะสมาชิกบางท่านที่จำต้องอัปเปหิออกจากเรือนไป ด้วยมีพฤติกรรมอันไม่ถูกไม่ควรเป็นเวลานาน
(ครั้งเดียวเขาไม่ไล่คุณไปหรอกครับ โตๆกันแล้ว ผมเชื่อว่าคณะผู้ดูแลเรือนท่านย่อมต้องเตือนเสียก่อน)
ก็เลยอาจจะยกเอาเรื่องการใช้ภาษาของคุณพิพัฒน์ขึ้นมาโวยวายเอาได้...

แต่พอเห็นคำศัพท์ที่คุณที่ฟากขะนู้นแกยกมาใช้เอง...... ผมว่าจะเรียกว่า "หน้าทำเนียบ" ยังเบาไป
สงสัยจะต้องเรียกว่า  "วงเหล้า(หลังตลาด)" เสียมากกว่า (เพราะวงเหล้าสุภาพชนเขาก็ไม่พูดกันแบบนี้)
คุณที่ฟากขะโน้นเองเธอก็ดูไม่ใช่คนไม่มีความรู้เนาะ.... น่าจะมากกว่าผมอยู่มากโข
เพราะเห็นเธอยกเอาดีกรีสูงปรี๊ดมาแปะไว้ (ดูเหมือนจะสูงเสียปรอทแตกเชียวแหละ)
และจากหลายๆความเห็นที่อาจารย์เทาชมพูท่านได้เล่ามาก็ดูเหมือนว่า
เธอเองก็พยายามจะติดต่อกับท่านอาจารย์เทาชมพูอยู่ (?)
โดยพยายามแสดงว่าเธอยังเคารพอาจารย์ (?)
และตัวปัญหาทั้งหมดคือคุณพิพัฒน์ (?)
(ไอ้พวกที่ผมใส่เครื่องหมายคำถามตามมา ขออนุญาตแจ้งก่อนนะครับ ว่าเป็นสมมุตฐานของผมเอง)

ถ้าเป็นอย่างที่ผมเข้าใจแล้ว ผมขออนุญาตเรียนนอกเรื่องไว้ในกระทู้นี้ซักนิดเถอะ
ว่าผมเชื่อ ว่าท่านอาจารย์เทาชมพูท่านเป็นผู้ทรงคุณวุฒิมากพอ
พอที่จะเข้าใจด้วยตัวของท่านเองได้ ว่าใครดีใครชั่ว
และมิได้ถูกใครดูถูกได้ด้วยการ "เป่าหู" เอาง่ายๆ (ด้วยเรื่องจับแพะชนแกะ) อย่างที่คุณที่ฟากขะโน้นเธอกล่าวอ้าง

สิ่งที่คุณที่ฟากขะนู้นได้กระทำลงไป ย่อมส่อแสดงให้ทุกคนทราบ ว่าเธอเองมีพฤติกรรมเช่นไร
ตั้งแต่ก่อนที่คุณพิพัฒน์จะรู้จักเรือนไทย เธอก็ก่อเรื่องปลอมลอคอินเข้ามาหลายชื่อ
พอถูกอาจารย์สงสัยก็ตอบกลบเกลื่อนเสียว่าอยากลองดูว่าอาจารย์จะจับแนวการเขียนของเธอได้ไวซักแค่ไหน
ทำอยู่ครั้งแล้วครั้งเล่าเหมือนเป็นเรื่องธรรมดาที่พึงกระทำกันทั่วไป พอถูกจับได้ก็ทำเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น
ถ้าเขาเคารพในตัวท่านอาจารย์เทาชมพู.... เขาจะทำตัวอย่างนี้หรือ ?

แล้วเรื่องที่เธอบริจาคเงินจำนวนหนึ่งให้แก่เวบ
พอเธอถูกตัดสิทธิ์ในการเป็นสมาชิก เธอก็ตั้งชื่อที่ไม่เหมาะสมเข้ามากล่าวทวงเงินบริจาค
(แถมทวงมากกว่าจำนวนที่บริจาคเสียอีกแหนะ.... ยังกะปล่อยเงินกู้นอกระบบให้เวบซะงั้นอ่ะนะ)
ผู้ที่มีเจตนาดีต่อท่านอาจารย์เทาชมพู จะประพฤติในพฤติกรรมเช่นนี้หรือ.... ?

และเมื่อเธอถูกตัดสิทธิ์จากการเป็นสมาชิกเรือนแล้ว
เธอกลับเข้ามาแฮคข้อมูลในเรือน และลบกระทู้ไปโดยพละการ
คนปรกติทั่วไป จะกระทำตัวเช่นนี้หรือ.... ?

อ่อ รวมทั้งเรื่องที่เธอทำนับแต่นั้นสืบมา จวบจนถึงทุกวันนี้.......
ถ้าใครซักคนที่ได้รู้จักเธอคนนั้น.... จะคิดว่าเธอมิได้มีอาการทางจิตหรือ ????????
โดยส่วนตัว ผมเองชื่นชมในความเป็นเจ้าเรือนของอาจารย์เทาชมพู
ที่ท่านต่อสู้อย่างไม่ย่อท้อกับผู้ที่มีพฤติกรรมอย่างที่ผมพูดถึงได้ตลอดมาครับ

ผมล่ะอยากรู้จัง.... ว่าคำว่าจับแพะชนแกะที่เขาเที่ยวหว่าให้ใครไปทั่วนี่....
เขาเคยคิดจะมองย้อนเข้าหาตัวเขามั้ย ว่าเขากำลังทำอยู่หรือเปล่า ??
ขนาดลากคุณโมนิค กับคุณวิวันดามาเป็นคนๆเดียวกันเพราะอยู่แคนนาดาได้..... จับแพะไปชนสถานีอวกาศแล้วกระมัง ?
แบบนี้ชาวพันทิป - เรือนไทยซักคนไปเที่ยวแคนนาดา เปิดเข้ามาเล่นพันทิป ก็คงโดนจับไปเป็นชื่อที่ 3 4 หรือ 5 ด้วยกระมัง
หรือเพราะที่ผ่านๆมา "ข้าฯ ถูกเสมอ" ? เลยไม่มีคำว่า "จับแพะชนแกะ" อยู่ใน "สาระบบของข้าฯ"
เคราะห์กรรมอะไรของเรือนไทยก็ไม่รู้ น่าเศร้าจริง





ปล. ถ้าท่านอาจารย์เทาชมพู หรือ คุณ CrazyHOrse เห็นสมควร
จะลบข้อความที่ผมโพสต์ไว้ผมก็ต้องกราบขออภัยมา ณ ที่นี้ครับ
เรื่องเหนื่อยใจสำหรับชาวเรือนไทยมีมากเหลือเกินแล้ว
ขออนุญาตสมาชิกคนหนึ่ง ที่เข้ามาเล่นซุกซนอยู่ในเรือนบ่นซักหน่อยเถอะนะครับ
ปีนี้หน้าฝนมาไว คน......(อะไร)...... ก็เลยมาเจอกันเสียแล้ว


กระทู้: สาวน้อยใจถึง
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 29 เม.ย. 08, 00:09
ที่เงียบไปเพราะไม่อยากต่อความน่ะครับ

ได้เคยบอกไว้ว่าไม่ถือสา ก็ยังยืนคำนั้น
คนเราทะเลาะกันได้ โดยไม่ต้องวางบัตรดอกครับ ด่ากันมันก็ต้องให้เจ็บแสบ
ผมก็นึกว่าตัวเองเป็นส้วมไปเสียชั่วคราว ไม่หนักหนาอะไร
ถ้าถูกด่าโดยคนที่เหนือเรา นั่นสิเจ็บ
น้องติบอก็อย่าลดตัวให้ไปเท่าคนที่เราไม่พึงใจเลย ขุ่นใจเปล่าๆ

คุณสุเธอมีของดีที่ได้มาจากคนอื่น เมื่อเอามาอวดและใช้ติติงความเห็นของผม
ถ้าแก้ตัวแล้วทำให้ความรู้งอกเงยขึ้นมา ก็สมควรทำ
ผมยังมีข้อข้องใจติดค้างเรื่องรูปสาวเปลือยอก
คือดูเหมือนว่าเธอน่าจะเข้าถึงรูปนี้ได้มากกว่าการอ่านแคตตะลอกคริสตี้ส์
เป็นต้นว่า เจ้าของรูปชุดนี้ส่งข้อมูลให้ตรง เพราะมีรูปมากกว่าในสมุดแคตตะลอก
นี่เอง ทำให้สงสัยว่า ไม่รู้จักดูเนื้อกระดาษ รอยประทับ ขนาดรูป น้ำยาไวแสง รอยชำรุด
ซึ่งเป็นเรื่องจำเป็น ในการตีความงาน

ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเคยเห็นงานของนายจิตมาพอสมควร
ย่อมจะรู้ว่าท่านใช้กระดาษอัดรูปแบบใหน ความหนาของน้ำยาเป็นอย่างไร สีออกเฉดใหน
มีจุดอ่อนที่ขอบหรือตรงกลางรูปหรือไม่....ฯลฯ ไม่ใช่หลับหูหลับตาเชื่อฝรั่ง

ผมเองวินิจฉัยออกมา ก็เป็นแค่เสคกั้นแฮนด์สะตั้ดดี้ ไม่ได้คลำของจริงทุกชิ้น
ฟังหูไว้หูบ้างก็ดี

เมื่อตามรอยต่อไป ได้พบว่า เธอเอารูปพวกนี้ออกมาอวดหลายครั้ง เช่นเมื่อ 9 ก.ค. 50 ความเห็นที่ 13
http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2007/07/K5590105/K5590105.html
ในนั้นเล่นสนทนากันอยู่ 3 คน ไม่ยักจะลงลึกไปได้ถึงใหนว่ารูปถ่ายสาวน้อยเปลือยอกนี่ น่าสนใจอย่างไร
แถมเอามาใส่ในกระทู้เรื่องทาสเสียด้วย น่าขำจริงๆ
ในความคิดเห็นที่ 5  ยังอธิบายรูปหนึ่งว่า "รูปภาพท่าทางตอนเฝ้าขุนนางสมัยพระนารายณ์ ที่ฝรั่งบรรยายไว้"
นี่ก็พิลึกยิ่ง นักเลงหนังสือเห็นรูปนี้เป็นร้องอ๋อ ว่ามาจากสิ่งพิมพ์ชื่อไร ยุคใหน ...ยุคพระนารายณ์แน่หรือ
ดังนั้น ที่เธอมาแดกดันว่าผมเห็นรูปเก่าเป็นต้องบอกว่าฝีมือนายจิต ควรฟังหรือไม่ ก็น่าคิดสงเคราะห์กันดู

มีข้อหนึ่งที่ผมออกจะข้องใจ คือเธอกล่าวหาว่าผมใช้ภาษาไม่เหมาะสมกับการเอ่ยถึงสถาบัน
อันนี้ก็นานาจิตตัง แต่งงว่า ถ้าเธอระแวดระวังความสูงส่งของสถาบันถึงเพียงนี้
ไปคบหากับนักวิชาการซ้ายสนิท ที่เขียนเป็นแต่เรื่องหมิ่นกษัตริย์ จงเกลียดจงชังสถาบัน
เอ่ยปากออกมาก็มีแต่เรื่องคดีลอบปลงพระชนม์ พระราชพินัยกรรม เพลงปลุกใจ กรณีตุลาเลือด.....

แบบนี้ทนคบได้แฮะ เอามายกย่องด้วย

พิลึกคน


กระทู้: สาวน้อยใจถึง
เริ่มกระทู้โดย: pakun2k1d ที่ 29 เม.ย. 08, 05:55
จริงค่ะคุณติบอ  เรื่องอะไรถ้ามาผ่านคุณพิพัฒน์แล้วล่ะก็มีทั้งสีและรส จัดจ้าน ทันใดเชียวค่ะ  แล้วคุณครูพิพัฒน์อย่าลืมไปเติมสีสันให้กระทู้ศัพทาภิธานศิลปะด้วยนะคะ  เหงามานานแล้วค่ะ


กระทู้: สาวน้อยใจถึง
เริ่มกระทู้โดย: weenacha ที่ 29 เม.ย. 08, 10:08
 เราเองก็เพิ่งเข้ามาในเวบเรือนไทยได้ไม่เท่าไหร่  ส่วนใหญ่จะเข้ามาอ่านมากกว่าแสดงความคิดเห็น  และในกระทู้นี้เราเห็นด้วยกับคุณติบอ  อีกอย่างรู้สึกดี..ที่คุณพิพัฒน์  เข้ามาชี้แจงทำให้ข้อสงสัย และข้อขัดใจหายไปเป็นปริทิ้ง...  ไหนๆก็เข้ามาแล้วงั้นก็ขอทักทายและสมัครเป็นน้องใหม่เรือนไทยด้วยคนนะ.. 


กระทู้: สาวน้อยใจถึง
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 29 เม.ย. 08, 12:17
สองคนข้างบนนั้นบ่นอะไรกันคะ  ;)

ถ้าคุณติบอหงุดหงิดอยู่บ้างละก็  ขอแนะนำวิธีให้ทางหนึ่ง คือหัดอ่านระหว่างบรรทัด
ลองถามชาวหน้าพระลานดูก็ได้ว่าเขามีวิธีอ่านอารมณ์ของงานฝีมือแต่ละชิ้นยังไงบ้าง  อ่านระหว่างบรรทัดก็หลักการเดียวกันละค่ะ

คุณอาจจะพบว่า คนที่จิตใจสงบเป็นปกติ   ย่อมสะท้อนออกมาในวิธีเรียบเรียงความคิด และการใช้ถ้อยคำ ให้คนอื่นเห็นได้ว่านี่เป็นถ้อยคำปกติ
คนมีเหตุผลก็พูดและเขียนมีเหตุผล  คนไม่มีเหตุผล อะไรที่เขียนออกมามันก็แย้งกันเองหมด  ไม่ต้องรอคนอื่นมาแย้งเสียด้วยซ้ำ

ถ้าไม่ตั้งใจบิดเบือนเสียอย่าง  ถ้อยคำของคนออกจากปากมาเป็นยังไง  ตัวตนเขาก็เป็นยังงั้น   
คนที่เจ็บปวดทุกข์ทรมาน ย่อมใช้ถ้อยคำอย่างอื่นไปไม่ได้นอกจากสะท้อนความเจ็บปวดทุกข์ทรมาน
ความทุกข์นี่เหมือนบาป   ของใครของมัน ไม่มีใครบาปแทนใครได้

ถ้ามองเห็นข้อนี้  คุณติบออาจจะหายหงุดหงิด แล้วเปลี่ยนเป็นเวทนา   ภาวนาให้เขารักษาจิตใจให้หายขาดได้ในที่สุด


กระทู้: สาวน้อยใจถึง
เริ่มกระทู้โดย: pakun2k1d ที่ 29 เม.ย. 08, 12:46
น้อมรับ "สติ" และ "ปัญญา" ที่อาจารย์เทาชมพูให้ค่ะ


กระทู้: สาวน้อยใจถึง
เริ่มกระทู้โดย: ติบอ ที่ 29 เม.ย. 08, 23:32
ขอบพระคุณ ในคำเตือนทั้งของท่านอาจารย์เทาชมพูและคุณพิพัฒน์ครับ :-[


กระทู้: สาวน้อยใจถึง
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 18 มิ.ย. 08, 09:49
       จากนสพ. มติชนวันนี้ คุณสุจิตต์ นำรูปสาวน้อยใจถึง(และอีก ๒ รูป)
มาแสดงและเขียนถึงครับ

         ......อีก 2 ภาพ เป็นรูปสาวอายุ 18 กับหญิงให้นมลูก สาวสยามอายุ 18 “อกรวบเหมือนบวบต้ม”
เพราะอะไร? แสดงว่ามีลูกแล้วใช่ไหม? มีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรหรือไง?

http://www.matichon.co.th/matichon/matichon_detail.php?s_tag=01pra02180651&day=2008-06-18&sectionid=0131

หญิงชาวสยามขณะให้นมบุตร และหญิงสาววัย ๑๘ ปี, ค.ศ. ๑๘๖๒ (พ.ศ. ๒๔๐๕)
ถ่ายโดยปิแอร์ โรซิเยร์


กระทู้: สาวน้อยใจถึง
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 18 มิ.ย. 08, 10:26
คำบรรยายว่า หญิงสาววัย ๑๘  เดาว่าคงเป็นคำบรรยายภาพ  มาแต่เดิม    คุณสุจิตต์จึงยึดตามนี้
ตามความเห็นส่วนตัว
๑ ผู้หญิงทั้งสองเป็นคนละคนกัน
๒ ทางซ้าย แม่ที่ให้นมลูก  สังขารน่าจะมากกว่าวัย ๑๘  พูดอย่างไม่เกรงใจคือรูปร่างเธอทรุดโทรมโกโรโกโสมาก  ผอม เหี่ยวแห้ง ราวกับสัก ๓๐
น่าจะมีลูกมาแล้วหลายคน   แม่ลูกอ่อนที่เพิ่งมีลูกคนแรก อายุแม่ก็ ๑๘  น่าจะเปล่งปลั่งมีเนื้อมีหนังกว่านี้

แต่ถึงอายุ ๑๘ จริง ก็ไม่มีอะไรควรคู่กับคำว่า "มีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร"   เพราะผู้หญิงเมื่อหนึ่งร้อยห้าสิบปีก่อน  โกนจุกไม่เท่าไร แค่ปีสองปี  ก็เป็นสาวออกเรือนได้แล้ว 
ในขุนช้างขุนแผนถึงมีคำบรรยายนางพิมว่า "กำลังสาวราวสิบสี่ปีมะเส็ง"   ตอนพลายแก้วปีนเข้าห้อง ถามอายุอานามกัน เธอบอกว่าอายุ ๑๖ 
ตอนนั้นเธอก็สาวพอที่ขุนช้างจะมาสู่ขอ  แม่ไม่ได้รู้สึกว่าลูกสาวเด็กเกินไป   แต่งงานไปได้แล้ว

เพราะฉะนั้น ๑๘ สมัยนั้นเห็นจะพอๆกับ ๒๘ ในยุค ๒๐๐๘


กระทู้: สาวน้อยใจถึง
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 18 มิ.ย. 08, 14:27
ขอบคุณ คุณ SILA ครับ
ถ้าข้อมูลดังกล่าวไม่ผิดพลาด เราจะได้รับข้อเท็จจริงที่น่าสนใจเพิ่มขึ้นมา และทำให้ความเห็นของอาจารย์เทาชมพูที่เคยบอกว่า
การถ่ายรูปหญิงเปลือยเช่นนี้ น่าจะเป็นรสนิยมฝรั่ง ถูกเผงเลยทีเดียว

ภัณฑารักษ์ของนิทรรศการนี้ คือ Claude Estebe เป็นผู้พบหลักฐานว่า ในปี 1861-1862 มีนักสัตว์ศาสตร์ชาวฝรั่งเศส Firmin Bocourt
เข้ามาทำการสำรวจในสยาม (เรื่องนี้ ยังไม่พบหลักฐานฝ่ายไทย) เขานำช่างภาพเข้ามาด้วย คือ Pierre Joseph Rossier (1829-1883 หรือ 1898) ชาวสวิส
ดูประวัติในได้ที่
http://en.wikipedia.org/wiki/Pierre_Rossier

หลักฐานเรื่องการเข้ามาของนักสำรวจชุดนี้ คุณคล๊อดพบใน Academie des sciences, Seance du 10 aoet 1863,
cote Y 324, p. 2. (แปลจากฝรั่งเศสได้ความว่า Mr. Bocourt took advantage of the fact that a good artist ((M. Rossier)) was staying
in Bangkok and asked him to make numerous photographs)
แต่ที่คุณคล๊อดระบุในนิทรรศการว่า Rossier เป็นช่างภาพหลวงระหว่าง 1850-1860 นั้นยังน่าสงสัย
เรื่องนี้ต้องหาทางสืบสวนเสียหน่อย

ตามประวัติ เขาเริ่มไปหากินที่อังกฤษราวปี 1855 รับจ้างบริษัท Negretti and Zambra บันทึกรูปสงตรามฝิ่นครั้งที่ 2 ราวปี 1855-57
แต่เดินทางมาไม่ทัน จึงถือโอกาสถ่ายรูปในจีน ญี่ปุ่น ฟิลิบปินส์ และสยาม
(ดูข้อมูลที่นี่ http://en.wikipedia.org/wiki/Negretti_and_Zambra)

ปี 1858 เขาเริ่มถ่ายรูปที่ฮ่องกง ปีรุ่งขึ้น Negretti and Zambra (NZ) พิมพ์รูปถ่ายชุดนี้ 50 รูป มีรูปจากกล้องสองตา (stereographs) รวมอยู่ด้วย
ปีนั้นเองเขาไปถ่ายรูปที่ฟิลิปปินส์ และต่อไปญี่ปุ่น กลายเป็นช่างภาพอาชีพคนแรกที่เข้าประเทศนั้น
เขาเข้าจีนในปี 1860 เพื่อเป็นช่างภาพประจำกองทัพแต่ไม่สำเร็จ ทั้งอังกฤษและฝรั่งเศสต่างจ้างช่างภาพไว้แล้ว
หนึ่งในนั้นคือ Falice Beato (1833/4-1907) ผู้ซึ่งต่อมาจะกลายเป็นคนสำคัญในประวัติศาสตร์ภาพถ่าย

เมื่อผิดหวังจากจีน Rossier กลับมาหากินที่ญี่ปุ่น และกลายเป็นบิดาแห่งการถ่ายรูปของประเทศนั้น เขารับสอนคนญี่ปุ่นหลายคน
ให้กลายเป็นช่างภาพ น่าแปลกใจที่เขาถูกเรียกว่า "คนอังกฤษ" บางทีอาจเพราะเป็นลูกจ้างบริษัทอังกฤษ และคงจะใช้ภาษานี้ด้วยกระมัง
ประเด็นนี้อาจจะไขความลับในพระราชสาส์นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฉบับหนึ่งได้

ปี 1861 เขารับงานบันทึกภาพให้กับ  Marie Firmin Bocourt (1819 - 1904) นักสัตว์ศาสตร์ ที่ทำงานในสยามระหว่าง 1861-3
http://en.wikipedia.org/wiki/Marie_Firmin_Bocourt
แต่ Rossier อยู๋ในสยามเพียงหนึ่งปี เพราะต้นปี 1862 เขาก็ขายทรัพย์สินทั้งหมดที่ญี่ปุ่น แล้วกลับไปหากินที่บ้านเกิด
ปีนั้นเอง NZ ก็พิมพ์รูปถ่ายชุดแรกของสยามออกจำหน่าย

ในพระราชสาส์นถึงพระราชินีวิคตอเรีย ตอบรับเครื่องราชบรรณาการที่แฮรี่ ปาร์กทำตกน้ำที่สิงคโปร์
พระจอมเกล้าทรงเล่าว่า กล้องถ่ายรูปนั้น ต้องรอซ่อมนาน จนได้กงศุลอังกฤษ พาชาวสวิสเดนและสุภาพบุรุษชาวอังกฤษมาให้คำแนะนำ จึงใช้การได้
น่าสังเกตว่า ทรงเอ่ยถึงบุคคลสองคน หนึ่งในนั้น จะเป็น Rossier ได้หรือไม่
ปาร์คส์เข้ามาเดือนมีนาคม 2398 อีกปีเศษคือเดือนกรกฏาคม 2400 คณะฑูตชุดพระยามนตรีสุริยวงศ์ ก็ออกเดินทางจากประเทศไทย
เชิญพระบรมสาทิศฉายาลักษณ์หลายพระองค์ออกไป แต่เป็นรูปชนิดแผ่นเงิน daguerreotype แต่กล้องที่จมน้ำเป็นชนิดกระจกเปียก
เพราะเมื่อซ่อมเสร็จ ทรงส่งออกไปถวายพระราชินีเพื่อขอบพระทัยพร้อมคณะฑูตชุดไปฝรั่งเศส 2403
ช่วงเวลา 2398-2403 เทียบคศ. ตรงกับ 1855-1860 เป็นไปได้หรือไม่ที่ Rossier จะเข้ามาเป็นผู้ให้คำแนะนำการซ่อมกล้อง
เราต้องการข้อมูลที่ชัดเจนกว่านี้ ในการตัดสินใจเพราะการนับวันในครั้งนั้นออกจะลักหลั่นกันบางทีผิดไปถึงหนึ่งปี
เพราะการเปลี่ยนระบบปฎิทินในสมัยจอมพลป.

ทีนี้ ก็มาถึงปัญหาสำคัญละครับ ว่า มูโอต์ เจอกับโรสิเย่ร์ได้อย่างไร
มูโฮต์เข้ามาสำรวจ 1858-1860 เสียชีวิตเมื่อ 1861 เราคงเห็นอย่างง่ายๆละ ว่าคู่นี้ ไม่น่าจะเจอกัน


เรื่องนี้มีประเด็นให้ศึกษาต่ออีกแยะครับ


กระทู้: สาวน้อยใจถึง
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 07 ก.ค. 08, 00:54
วันนี้ได้แวะไปชมนิทรรศการรูปถ่ายโบราณ ที่ทางสถานฑูต และสถาบันฝรั่งเศสนำมาแสดงที่หอศิลปสมเด็จพระนางเจ้าฯ ผ่านฟ้า
น่ายินดีที่มีการนำรูปน่าชมเหล่านี้มาให้ชาวไทยได้รับรู้ แต่เสียดายที่เกือบทั้งหมด เป็นงานจำลอง
(มีงานสมัยใหม่เท่านั้น ที่-เข้าใจว่าจะ-เป็นงานจริง)

ผมจะข้ามไม่กล่าวถึงงานสมัยใหม่ ขอพูดถึงรูปถ่ายสมัยรัชกาลที่ 4 ซึ่งมีผู้หวังดีมาช่วยแก้ไขข้อมูลให้ผม
ถ้าเป็นข้อเท็จจริงที่ยอมรับได้ ผมจะได้แก้ข้อผิดพลาดในงานของตนเอง เป็นสิ่งดีที่ได้รู้ข้อบกพร่องของตนเอง
น่าผิดหวังที่มีข้อมูลประกอบน้อยมาก เข้าใจว่า การนำเสนองานชุดรัชกาลที่ 4 อาจจะมิใช่เป้าหมายหลัก
สูจิบัตรนิทรรศการนั้นทำอย่างสวยงาม (ต้องขอ เขาจึงจะแจกให้นะครับ แต่หมดเสียแล้ว....แย่จัง)
มีกล่าวถึงรูปโบราณไว้อย่างสังเขปว่า

หลังนิทรรศการที่พระราชวังแก้วแล้ว มีช่างภาพถูกส่งออกมาเก็บรูปถ่ายแบบสามมิติ ทั่วทุกมุมโลก รวมทั้งสยาม
บริษัท NZ ก็ส่งโรสซิเย่ร์เข้ามาในปี 2402 และระบุว่าได้ถ่ายรูปพระเจ้าอยู่หัว บุคคลสำคัญ นักแสดง ทหารหญิง....ไว้มากมาย
แต่แล้วในย่อหน้าต่อมา ก็กลับอธิบายต่อว่า โรสซิเย่ร์ได้ถ่ายรูปสำคัญๆ ในสยามเพราะทำงานให้กับแฟร์แมง โบกูรต์
ซึ่งราชสำนักเชิญเข้ามาเก็บข้อมูลธรรมชาติวิทยา เป็นของขวัญแก่ฝรั่งเศสในโอกาสที่คณะฑูตได้ไปเจริญสัมพันธไมตรีมาเมื่อปีที่แล้ว

ข้อความข้างต้นน่าสงสัยยิ่ง จะขอเสนอเป็นข้อๆ ก่อนว่า
1 บริษัทอังกฤษ ส่งโรสซิเย่ร์เข้ามาถ่ายรูปสามมิติ คือ stereotype เพราะคนยุโรปกำลังคลั่งรูปแบบนี้
2 โรสซิเย่ร์ได้ถ่ายรูปสำคัญๆ ไว้มาก ด้วยคุณภาพที่สูง เพราะได้รับจ้างคณะนักธรรมชาติวิทยาฝรั่งเศส
3 คณะนี้ เข้ามาหลังจากมีฑูตไทยไปฝรั่งเศสแล้ว

ที่สงสัยก็คือ ปีที่โรสซิเย่ร์เข้ามา คือ 2402 นั้น ยังไม่มีใครไปฝรั่งเศส จะไปก็ปี 2403
ยิ่งบอกว่าเข้ามาหลังจากคณะฑูตกลับมาหนึ่งปี ก็ต้องเป็น 2405 หรือเร็วกว่านั้น ก็คือ 2404
สรุปว่า ผิดปีไปอย่างไม่น่าเป็นไปได้
นี่ประการที่หนึ่ง

ในนิทรรศการ ได้เชิญพระบรมรูปพระจอมเกล้ามาแสดงด้วยหนึ่งองค์ บอกว่า ถ่ายโดยโรสซิเย่ร์
ผมไม่สามารถสแกนรูปนั้นมาให้ชม จึงขอนำรูปจากที่อื่นมาแทน
เป็นพระบรมรูปประทับกับปืนสั้นและปืนยาว มีหีบหนึ่งใบอยู่บนโต๊ะ และทรงกระบี่ฝรั่งกับผ้าซับพระภักตร์

พระรูปนี้ จะเป็นโรสซิเย่ร์ถ่ายไม่ได้เป็นอันขาด เพราะเป็นพระรูปที่ส่งไปอังกฤษ ได้ลงพิมพ์ใน illustrated london news 17.2.1860
ที่กล้ายืนยันอย่างนั้น ก็เพราะมีพระราชหัตถเลขาระบุว่าถ่ายจากกล้องที่นายแฮรี่ ปาร์ก ทำตกน้ำ
"เครื่องถ่ายรูปนั้น ต้องรออยู่นาน ชาวสยามประกอบการหาสนัดไม่ ต่อมีช่างถ่ายรูปชาวสวิสเดนคนหนึ่งกับอังกฤษอีกคนหนึ่ง
ซึ่งเซอรรอเบิศจอมเบิกกงสุลภามาหา ช่วยแนะนำให้ทำชาวสยามจึ่งทำได้....." ขอเน้นว่าทรงยืนยันว่าชาวสยามทำ
มิได้บอกว่าชาวประเทศใดอื่นทำ คุณเอนก นาวิกมูลเห็นว่าช่างภาพคือนายโหมด
แต่กรมพระนราธิปทรงยืนยันว่าเป็นพระปิ่นเกล้าทรงเป็นช่างภาพ
"พิมพ์พระรูปเดียว ประดิษฐานไว้เบื้องสูงแห่งแท่นพระบรรทม พระที่นั่งอิศเรศรังสรรค์...."(โคลงลิขิตมหามกุฏราชคุณานุสรณ์ ฉบับมีพระรูป)

ทำไมจึงกล้ายืนยันว่าพระรูปนี้ไม่เกี่ยวกับฝรั่งเศส ขอให้ดูที่ปืน และหีบ
และขอให้ดูพระรูปเต็มๆ ที่จะอวดข้างล่าง


กระทู้: สาวน้อยใจถึง
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 07 ก.ค. 08, 00:57
วันนี้ได้แวะไปชมนิทรรศการรูปถ่ายโบราณ ที่ทางสถานฑูต และสถาบันฝรั่งเศสนำมาแสดงที่หอศิลปสมเด็จพระนางเจ้าฯ ผ่านฟ้า
น่ายินดีที่มีการนำรูปน่าชมเหล่านี้มาให้ชาวไทยได้รับรู้ แต่เสียดายที่เกือบทั้งหมด เป็นงานจำลอง
(มีงานสมัยใหม่เท่านั้น ที่-เข้าใจว่าจะ-เป็นงานจริง)

ผมจะข้ามไม่กล่าวถึงงานสมัยใหม่ ขอพูดถึงรูปถ่ายสมัยรัชกาลที่ 4 ซึ่งมีผู้หวังดีมาช่วยแก้ไขข้อมูลให้ผม
ถ้าเป็นข้อเท็จจริงที่ยอมรับได้ ผมจะได้แก้ข้อผิดพลาดในงานของตนเอง เป็นสิ่งดีที่ได้รู้ข้อบกพร่องของตนเอง
น่าผิดหวังที่มีข้อมูลประกอบน้อยมาก เข้าใจว่า การนำเสนองานชุดรัชกาลที่ 4 อาจจะมิใช่เป้าหมายหลัก
สูจิบัตรนิทรรศการนั้นทำอย่างสวยงาม (ต้องขอ เขาจึงจะแจกให้นะครับ แต่หมดเสียแล้ว....แย่จัง)
มีกล่าวถึงรูปโบราณไว้อย่างสังเขปว่า

หลังนิทรรศการที่พระราชวังแก้วแล้ว มีช่างภาพถูกส่งออกมาเก็บรูปถ่ายแบบสามมิติ ทั่วทุกมุมโลก รวมทั้งสยาม
บริษัท NZ ก็ส่งโรสซิเย่ร์เข้ามาในปี 2402 และระบุว่าได้ถ่ายรูปพระเจ้าอยู่หัว บุคคลสำคัญ นักแสดง ทหารหญิง....ไว้มากมาย
แต่แล้วในย่อหน้าต่อมา ก็กลับอธิบายต่อว่า โรสซิเย่ร์ได้ถ่ายรูปสำคัญๆ ในสยามเพราะทำงานให้กับแฟร์แมง โบกูรต์
ซึ่งราชสำนักเชิญเข้ามาเก็บข้อมูลธรรมชาติวิทยา เป็นของขวัญแก่ฝรั่งเศสในโอกาสที่คณะฑูตได้ไปเจริญสัมพันธไมตรีมาเมื่อปีที่แล้ว

ข้อความข้างต้นน่าสงสัยยิ่ง จะขอเสนอเป็นข้อๆ ก่อนว่า
1 บริษัทอังกฤษ ส่งโรสซิเย่ร์เข้ามาถ่ายรูปสามมิติ คือ stereotype เพราะคนยุโรปกำลังคลั่งรูปแบบนี้
2 โรสซิเย่ร์ได้ถ่ายรูปสำคัญๆ ไว้มาก ด้วยคุณภาพที่สูง เพราะได้รับจ้างคณะนักธรรมชาติวิทยาฝรั่งเศส
3 คณะนี้ เข้ามาหลังจากมีฑูตไทยไปฝรั่งเศสแล้ว

ที่สงสัยก็คือ ปีที่โรสซิเย่ร์เข้ามา คือ 2402 นั้น ยังไม่มีใครไปฝรั่งเศส จะไปก็ปี 2403
ยิ่งบอกว่าเข้ามาหลังจากคณะฑูตกลับมาหนึ่งปี ก็ต้องเป็น 2405 หรือเร็วกว่านั้น ก็คือ 2404
สรุปว่า ผิดปีไปอย่างไม่น่าเป็นไปได้
นี่ประการที่หนึ่ง

ในนิทรรศการ ได้เชิญพระบรมรูปพระจอมเกล้ามาแสดงด้วยหนึ่งองค์ บอกว่า ถ่ายโดยโรสซิเย่ร์
ผมไม่สามารถสแกนรูปนั้นมาให้ชม จึงขอนำรูปจากที่อื่นมาแทน
เป็นพระบรมรูปประทับกับปืนสั้นและปืนยาว มีหีบหนึ่งใบอยู่บนโต๊ะ และทรงกระบี่ฝรั่งกับผ้าซับพระภักตร์

พระรูปนี้ จะเป็นโรสซิเย่ร์ถ่ายไม่ได้เป็นอันขาด เพราะเป็นพระรูปที่ส่งไปอังกฤษ ได้ลงพิมพ์ใน illustrated london news 17.2.1860
ที่กล้ายืนยันอย่างนั้น ก็เพราะมีพระราชหัตถเลขาระบุว่าถ่ายจากกล้องที่นายแฮรี่ ปาร์ก ทำตกน้ำ
"เครื่องถ่ายรูปนั้น ต้องรออยู่นาน ชาวสยามประกอบการหาสนัดไม่ ต่อมีช่างถ่ายรูปชาวสวิสเดนคนหนึ่งกับอังกฤษอีกคนหนึ่ง
ซึ่งเซอรรอเบิศจอมเบิกกงสุลภามาหา ช่วยแนะนำให้ทำชาวสยามจึ่งทำได้....." ขอเน้นว่าทรงยืนยันว่าชาวสยามทำ
มิได้บอกว่าชาวประเทศใดอื่นทำ คุณเอนก นาวิกมูลเห็นว่าช่างภาพคือนายโหมด
แต่กรมพระนราธิปทรงยืนยันว่าเป็นพระปิ่นเกล้าทรงเป็นช่างภาพ
"พิมพ์พระรูปเดียว ประดิษฐานไว้เบื้องสูงแห่งแท่นพระบรรทม พระที่นั่งอิศเรศรังสรรค์...."(โคลงลิขิตมหามกุฏราชคุณานุสรณ์ ฉบับมีพระรูป)

ทำไมจึงกล้ายืนยันว่าพระรูปนี้ไม่เกี่ยวกับฝรั่งเศส ขอให้ดูที่ปืน และหีบ
และขอให้ดูพระรูปเต็มๆ ที่จะอวดข้างล่าง


กระทู้: สาวน้อยใจถึง
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 07 ก.ค. 08, 01:07
คงเห็นนะครับ ว่าพระรูปในนิทรรศการนั้น เป็นการตัดส่วนออกมา จากรูปเต็มที่มีเครื่องราชบรรณาการครบถ้วน
ปืนนั้น ทรงได้รับจากพระราชินีวิคตอเรีย เช่นเดียวกับหีบอันงดงาม
เป็นหีบเครื่องเขียน ที่หนังสือพิมพ์ลอนดอนชมเชยมาก ถึงกับเขียนข่าวว่า...."ความงดงามของกระปุกหมึก จะเป็นแรงบันดาลให้....
ทรงจุ้มหมึกพระราชนิพนธ์เรื่องใดออกมาแล้ว อาจจะทำให้พระองค์ทรงเป็นนักเขียนที่มีชื่อเสียงที่สุดแห่งยุคก็ได้"
(แผ่นดินพระจอมเกล้า หน้า 245 คำแปลโดยนิจ ทองโสภิต)

นอกจากนั้น เรายังมีพระบรมรูปในชุดที่พระราชทานแก่ฝรั่งเศส มีความละม้ายคล้ายกัน แต่ไม่เหมือนกัน (ดูพระรูปในกษัตริย์กับกล้อง....ถ้าสนใจ)

สรุปว่า ผู้จัดนิทรรศการนี้ อาจจะทำการบ้านมาไม่สมบูรณ์ จึงเกิดสับสนในเรื่องข้อมูล
หรืออาจจะเป็นอย่างที่เลวร้ายกว่า คือไม่มีการเข้าถึงข้อมูลมากพอ หรือรอบคอบพอ ก็ด่วนสรุปเพื่อหาทางเสริมเกียรติยศให้กับช่างภาพที่ตนสนใจ
(ฮิ...ข้อนี้ ผมก็เป็นครับ.....)

มาถึงข้อสงสัยที่สอง
โรสซิเย่ร์ เข้ามาเพื่อถ่ายรูปสามมิติ
แล้วรูปสามมิติไปใหนกันหมดล่ะ ที่นำมาอวดนั้น มีแต่รูปชนิดเต็มแผ่น ไม่มีแบบสามมิติเลย
ในกระทู้เก่าอีกเรื่องหนึ่ง ผมเคยเชิญพระรูปจากกล้องสามมิติมาให้ชมกันแล้ว
คุณภาพต่ำมาก ไม่ตรงกับที่ระบุในนิทรรศการว่า เป็นงานคุณภาพสูง แปลว่า โรสซิเย่ร์มีกล้องมามากกว่าหนึ่ง กระนั้นหรือ
ผมมีความสงสัย เพราะเท่าที่สอบดูจากกูเกิล ยังไม่เคยเห็นรูปเต็มแผ่นฝีมือโรสซิเย่ร์เลย แม้แต่ในรูปชุดญี่ปุ่น
http://www.old-japan.co.uk/article_rossier.html
แต่จะได้เห็นเมื่อเขากลับไปหากินที่ยุโรปแล้ว อย่างรูปนี้เป็นต้น
http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/6/69/Swiss_priest.jpg

สำหรับคนที่ถ่ายรูปเป็น ขอบอกว่าลายมือต่างจากรูปสาวๆ ที่คุณสุจิตเอามาให้ชมอยู่ไม่น้อย
อย่างไรก็ดี ผมไม่มีความสามารถที่จะเข้าไปลุยค้นคว้าที่ Bibliotheque Nationale de France เจ้าของรูปต้นฉบับเหล่านี้
จึงได้แต่สงสัยว่า นิทรรศการดีๆ อย่างนี้ ทำไมไม่สามารถทำให้ความมึนงงของผม ละลายหายไปได้
คงได้แต่ค้นคว้าก๊อกๆ แก๊กๆ ต่อไป


กระทู้: สาวน้อยใจถึง
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 09 ก.ค. 08, 03:51
มีคนทักมาเรื่องปีพ.ศ. ปรากฏว่าบวกลบเลขผิดไปหลายปี ต้องขออำไพจริงๆ ต่อไปจะระวังให้มากกว่านี้

สำหรับความสงกะสัยหาไคร่ในใจนั้น ทำผมต้องโทรไปหาซินแปด....หึหึ ชื่อนี้จริงๆ ครับ
ฝ่ายตอบคำถามของหอจดหมายเหตุแห่งชาติฝรั่งเศส เขาเรียกตัวเองว่า SINBAD น่ารักจริง
ถามปุ๊บ เขาตอบกลับปั๊บ บอกว่า ม่ายรู้ฮ่า......
คุณต้องถามคุณคล๊อดเอาเอง ให้ที่อยู่มาพร้อมสรรพ ก็เลยถามไปแล้วเรียบร้อย กำลังนี้ รอคำตอบอยู่ครับ

ถามไปว่า พระบรมรูปที่ท่านบอกว่าฝีมือโรสซิเย่ร์นั้น
หลักฐานฝ่ายไทยบอกว่าเป็นฝีมือช่างไทย ด้วยกล้องที่แฮรี่ ปาร์ก ทำตกน้ำที่สิงค์โปร์....นี่นา

ผมไม่ได้แนบหลักฐานประกอบไป เพราะเขียนประกิตไม่แข็ง หึหึ ถึงแข็งก็ไม่เขียน
ไม่มีความจำเป็น คนที่จะทำงานระดับนานาชาติ และเล่นประวัติศาสตร์รัชกาลที่ 4
ต้องรู้ว่ามิสเตอร์ปาร์ก เดือดร้อนขนาดใหนในการทำงานใหญ่ครั้งแรกแล้วล้มเหลว
เครื่องราชบรรณาการ 40 หีบ เสียหายเกือบหมด จะอ่านเรื่องพวกนี้ได้ที่ใหน ไม่มีใครเขามาปลอกกล้วยเข้าปากกันง่ายๆ ดอก
จริงใหมท่าน ถ้าเรื่องแค่นี้ หาไม่เจอ ก็คงไม่สามารถหาต่อไปว่า ทำไมคุณเอนกจึงยืนยันว่าเป็นฝีมือนายโหมด
ส่วนที่ผมอ้างโคลงลิขิตนั้น ไม่เป็นนักเลงหนังสือจริง ชีวิตนี้จะเคยเห็นโคลงลิขิตมหามกูฎฯ รื้อ
พูดแซวเล่นอย่างนี้ เซียนหนังสืออย่างคุณ wandee คงนึกเอ็นดูบอกว่า ฉันเพิ่งเก็บหนีปลวกไปเมื่อกี้เอง

ผมเองจนใจที่พิมพ์ดีดไม่เก่ง ไม่สามารถคัดพระราชหัตถเลขา และพระราชสาส์นในรัชกาลที่ 4 มาให้อ่านได้
ท่านที่สนใจคงต้องขวนขวายสักหน่อย

พระราชหัตถเลขานั้น กรมศิลป์ทำเป็นซีดีรอม แนบในหนังสือเฉลิมพระเกียรติชุด 200 ปีพระจอมเกล้า
แต่พระราชสาส์นนั้น มีสองภาค ไม่เห็นว่าท่านได้ทำ ในนั้นมีพระราชนิพนธ์เกี่ยวกับการฉายพระรูปอย่างเห็นภาพ
จำได้ว่า ทรงเล่า....กรุงสยามได้ช่วยช่างจัดการถ่ายรูป....ฯลฯ ประมาณนี้

ดังนั้น ที่จะมาอธิบายกันดื้อๆ ว่าโรสซิเย่ร์เป็นผู้ฉายพระรุป ก็ต้องสู้กันด้วยข้อมูลดูสักตั้ง


กระทู้: สาวน้อยใจถึง
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 09 ก.ค. 08, 04:01
ผมยังสงสัยการวินิจฉัยของคุณคล๊อดอีกหลายข้อ อย่างที่บอกว่า เขาฉายสไลด์วนอยู่ชุดใหญ่
ผมเข้าใจเอาเองว่า เป็นการแนะนำงานของโรสซิเย่ร์

รูปที่สงสัยก็คือรูปถ่ายแม่น้ำเจ้าพระยา จากยอดวัดอรุณ มาทางฝั่งท่าเตียน
รูปชุดนี้มีสองชุดที่ถ่ายครั้งรัชกาลที่ 4 ต่างก็เห็นการก่อสร้างที่วัดราชประดิษฐ์

การกำหนดอายุรูปถ่ายนั้น ทำได้จากข้อมูลในรูปนั้นเอง ข้อมูลที่สำคัญที่สุดก็คือการสร้างวัดราชประดิษฐ์ ซึ่งใช้เวลาเพียง 8 เดือน
นี่เป็นหมุดเวลาที่มั่นคงที่สุด เพราะมีพระราชหัตถเลขาและจารึกบอกวันเวลาแน่นอน
"ด้านหลังพระวิหาร มีซุ้มซึ่งแกะสลักด้วยหินอ่อนทั้งแผ่น ภายในซุ้มเป็นที่ประดิษฐานศิลาจารึก ประกาศในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ๒ ฉบับ
ฉบับแรกเป็นประกาศสร้างวัดถวายพระสงฆ์ธรรมยุกติกนิกาย ลง พ.ศ. ๒๔๐๗ ฉบับหลังเป็นประกาศงานพระราชพิธีผูกพัทธสีมา ลง พ.ศ. ๒๔๐๘
ข้อความในศิลาจารึกทั้ง ๒ ฉบับ นั้นนับว่ามีความสำคัญซึ่งเป็นมหามรดกล้ำค่า ที่เป็นมหาสมบัติของคณะธรรมยุติกายที่ได้รับพระราชตกทอดมาจากล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๔"
http://www.dhammathai.org/watthai/bangkok/watratchapradit.php
http://th.wikipedia.org/wiki/วัดราชประดิษฐ์

ตรงนี้คงบวกเลขไม่ผิดอีก คือโรสซิเย่ร์ออกไปจากเอเชีย เมื่อ 1862/2405 February, in Shanghai, sold cameras and other photographic equipment before embarking for Europe (จากวิกิ) แต่ว่าอีกสองปี 2407 วัดราชประดิฐ์ จึงเริ่มสร้าง

รูปถ่ายใด เห็นการก่อสร้างวัดนี้ ก็เท่ากับติดปฏิทินและอาจจะนาฬิกา ไว้ที่รูป ....555555
หวังใจว่าคนไทยที่เทิดฝรั่ง จะไม่อกแตกตายจากการวินิจฉัยเพี้ยนๆ ครั้งี้นะขอรับ


กระทู้: สาวน้อยใจถึง
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 13 ก.ค. 08, 21:54
คุณคล๊อดตอบคำถามมาแล้วครับ ทำให้ได้รับความกระจ่างพอสมควร ต้องขอบคุณในความเอาใจใส่ของเขาจริงๆ   
ขอยกมาให้อ่านเล็กน้อยนะครับ

ประการแรก รูปเหล่านี้ ไม่มีชื่อผู้ถ่าย คุณคล๊อดจึงใช้หลักฐานแวดล้อมในการระบุนามช่างภาพ
I found these photographs which were without photographer name but very similar to some in others
museums by Rossier and were actually a dation from the Natural History Museum.

อันเป็นเหตุให้ระบุพระรูปที่ส่งพระนางวิคตอเรีย เป็นฝีมือของโรสสิเย่ร์
The portrait of King Mongkut shown last month in Bangkok was repertoried in the french Museum
in the list of Rossier pictures so I attributed it to Rossier in the exhibition.

ข้อมูลตรงนี้ น่าสนใจมากครับ ที่บอกว่ารอสซิเย่ร์สอนพระเจ้าอยู่หัวของเราถ่ายรูป
F. Bocourt brings back to France in early 1862 a lot of photographs of Siam acquired from
Pierre Rossier who was around 1861-1862 in Siam and probably teached photography
to King Mongkut for whom he bought a set of camera from England.

เขาไม่เชื่อว่านายจิต จะมีความสามารถในการถ่ายรูปในปีนั้น...ราวๆ 1862
I’m not sure if Francis Chit have already a good practise of photography at this time.

และเขาไม่ทราบข้อมูลเรื่องแฮรี่ ปารคส์ ทำกล้องตกน้ำอีกด้วย แปลว่าเขาคงไม่ได้ใช้หนังสือของคุณมอฟเฝ็ต
ในการศึกษาเรื่องรัชกาลที่ 4
About the accidental drop of a camera in Singapour, do you have the datation of this incident ?
เราคนไทยจึงโชคดีกว่า ที่ได้รู้เรื่องนี้ ทั้งจากการค้นคว้าของคุณมอฟเฦ็ต ที่มีการแปลเป็นภาษาไทย
จากพระราชสาส์นในรัชกาลที่ 4 ซึ่งกรมศิลปากรได้รวมพิมพ์ไว้สองภาค และจากหนังสือของอาจารย์ศักดา
สุดท้าย คือบทความที่คุณเอนกเขียนไว้เกี่ยวกับพระบรมรูปองค์นี้.....555555

รวมความว่า เรื่องนี้ยังต้องค้นต่อไป

จบข่าวต้นชั่วโมง


กระทู้: สาวน้อยใจถึง
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 16 ก.ค. 08, 13:43
มีผู้สนใจตามรอยข้อความเรื่องเครื่องราชบรรณาการในความเห็นที่ 98 ข้างบน
เชื่อใหมครับ ว่าหาไม่เจอ โวยเสียงดังขะโหมงโฉงเฉง บอกว่า (เวลาอ่านต้องใส่อารมณ์หน่อยนะครับ)
.................................................
ตรวจเช็คคุณพิพัฒน์เล่นๆ กลับพบความชุ่xบัxซxของคุณ(ขอแปลงสารหน่อยนะครับ ต้นฉบับหยาบไปหน่อย)
หนังสือหน้าที่คุณอ้างอิง พูดถึงช้าง หนังสือนี้เพิ่งตีพิมพ์
ครั้งแรก ครั้งเดียวปี 2544 ไม่เกี่ยวกับทรงจุ้มหมึกเลย.........
..................................................

เพิ่งรู้ว่า เรื่องแค่นี้ต้องใช้ถ้อยคำขนาดนี้ และเรื่องแค่นี้หาไม่เจอ(แฮะ)
ผมไม่ได้ยกคำฝาหรั่งมาลง แต่ก็ลงข้อความไว้ชัดๆ ว่ามิได้ยกเมฆ กลายเป็นว่ามีคนไทยใจนานาชาติไม่เชื่อถือ
น่ายินดีครับที่สนใจค้นคว้าเพิ่มเติม อย่าเชื่ออะไรคนไทยด้วยกันง่ายนัก
ประเด็นก็ไม่ได้สลับซับซ้อนอะไร เด็กประถม-มัธยมก็น่าจะตามรอยเอกสารได้ถูก
ตามไม่ถูกก็แวะห้องสมุด เปิดบัตรรายการ หาชื่อนิจ ทองโสภิต หรือแผ่นดินพระจอมเกล้า หรือทั้งสองอย่าง ที่ผมให้ไว้แป๊ปเดียวก็คงเจอ
หรือถ้าฉลาดหน่อย แหะๆ ...เป็นนิกกะเนมของคำว่าขี้เกียจน่ะ ก็พิมพ์สองคำนี้ ให้น้องกุ๊กเขาหาให้ บัดเดี๋ยวใจก็เจอ
http://www.google.com/search?client=safari&rls=en&q=นิจ%20ทองโสภิต%20แผ่นดินพระจอมเกล้า&ie=UTF-8&oe=UTF-8

ที่ประหลาดใจก็คือ ไปคว้าหนังสือ "แผ่นดินพระจอมเกล้า" มาได้เหมือนกัน แต่ผิดเล่มฮ่า
เล่มของคุณหมอพูนพิศ พิมพ์ปี 2544......เหอๆๆๆๆๆๆ พลิกให้นิ้วกุด ก็ไม่เจอเรื่องที่ผมอ้างดอก
คุณหมอเธอรวมเล่มบทความหลังคุณนิจ แปลเรื่องให้คุณศสษ. ไปจัดพิมพ์ตั้งยี่สิบกว่าปี
ผมไม่ได้นึกว่า ขนาดบอกชื่อที่เกี่ยวข้องอย่างละเอียด ยังออกทะเลไปไกลถึงเพียงนี้
ความที่ตัวเองถือว่าหนังสือแปลเล่มนี้ เป็นหลักของวิชาพระจอมเกล้าศึกษา เลยนึกว่าประชาชีจะนึกอย่างนั้นด้วย
ไม่นึกว่าจะมีคนยกสารคดีของคุณหมอขึ้นชั้นมาใช้สอบหลักฐานทางประวัติศาสตร์กะเขาด้วย คุณหมอคงปลื้มใจน่าดูทีเดียว

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า อย่ามั่วนะตัวเอง.....มีคนหวังดีคอยตรวจปรูฟอยู่ทุกตัวอักษร ไม่ต้องจ้างต้องวานเสียด้วย
เอ....นี่ผมจะต้องยกเอาเรื่องกล้องตกน้ำพร้อมกับหีบเครื่องราชบรรณาการ 45 กล่องมาแปะให้อ่านเสียละกระมัง
เกิดมีคนอ่านผิดเป็นแฮรี่ ป๊อตเต้อร์ ณ ปาร์คนายเลิศไปเสียนั่น จะมธุรสอะไรออกมาอีกให้เสียอารมณ์นิ

(ขอแก้จำนวน เดิมบอกว่า 40 หีบเพราะเขียนเร็วๆ เดี๋ยวมีคนมาตรวจปรูฟเจอ จะด่าเอาอีก)


กระทู้: สาวน้อยใจถึง
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 16 ก.ค. 08, 14:32
กระทู็นี้ทำไมยาวได้เป็นร้อย....งง
เห็นจะต้องเก็บของเสียที ปิดฉาก

ตามที่คุณคล๊อดเล่า รูปสาวน้อยใจถึงนั้น เขาพบที่คลังรูปของหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรุงปารีส
ไม่มีรายละเอียด เพียงแต่เขาเห็นว่าคล้ายกับรูปของโรสซิเย่ร์ ก็จึงสันนิษฐานว่าเป็นฝีมือเดียวกัน
เรายังพบรูปนี้ในแหล่งอื่นอีก ดังที่ผมได้แสดงไว้ตอนเริ่มต้นกระทู้ (ความเห็นหมายเลข 4)
เป็นปกของหนังสือ romance of the harem ที่ยัยแอนนายำเสียเละเทะนั่นแหละ
http://www.amazon.com/gp/reader/0813913284/ref=sib_dp_pt/102-6177201-4100147#reader-link

มีคนอธิบายว่า ได้รูปจากมหาวิทยาลัยคอเนล ผมก็เลยไปตามหา
อยู่ในแผนกเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นรูปเดียวกับที่คุณคล๊อดเจอนั่นเอง ยิ่งกว่านั้น ยังเจอรูปผู้หญิงนั่งท้าวแขน ที่ถูกรวมเข้าเป็นงานของโรสซิเย่ร์อีกด้วย
ทางคอร์เนลให้รายละเอียดรูปนี้ว่า อยู่ในอัลบัมขนาด 98 แผ่น เสียดายไม่ได้บอกขนาดรูป ผมจึงขอยึดขนาดตามที่คุณคล๊อดนำมาแสดงนะครับ
คือประมาณเล็กกว่า 8x10 นิ้วอยู่หน่อยหนึ่ง ที่คุณต๊อฟเธออวดว่าเป็นรูปขนาดยักษ์น่ะ ทำผมงงมาหลายเวลา
เพิ่งมารู้ว่ายักษ์เพราะต้องโหลดนาน เนตเต่าก็อย่างนี้แหละครับ รูปโบราณเขาไม่มีใหญ่กว่านี้ ยกเว้นโอกาสพิเศษจริงๆ
หลายท่านอาจจะไม่ทราบว่า สมัยนั้นขยายรูปไม่ได้นะครับ ทุกรูปอัดประกบเท่าฟิล์มทั้งนั้น
เครื่องขยายรูปสำหรับฟิล์มแปดคูณสิบ อย่างน้อยต้องสูงถึงเพดานห้อง คนที่เรียนถ่ายรูปจะรู้ดี

คอเนลอธิบายข้อมูลรูปชุดนี้ว่า
"Album photographs of Siam (Thailand). Subjects include Siamese royalty, religious figures and residences, politicos,
group social scenes, theatre folk, street scenes, musicians, and other views of Bangkok and Thailand"
ที่สำคัญก็คือ ให้อายุไว้ 1900 ครับ เป็นคศ. คือ ปี 2443 ประมาณนั้น.......อึ๋ยยย์ ไม่ใครก็ใครละครับ หน้าแหกแน่นอน

คำอธิบายรูปอย่างละเอียด บอกเพิ่มเติมว่า
Image format: Photographs
Image geographic information: Thailand
Image Date information: 1900/1909
Image Keyword information: women | costume
Image Caption information: A Siamese Woman in her usual dress
No valid text available for this image

ตรงนี้ระบุหนักเข้าไปอีกว่า อายุรูปอยู่ระหว่าง 2443-2552 พูดง่ายๆ ว่าเป็นสิบปีสุดท้ายของรัชกาลที่ 5 นั่นแหละครับ

สำหรับคนที่เทิดทูนฝรั่งไว้เหนือเกล้า คงจะต้องอกหักเสียงดังเหมือนกำนันคนหนึ่ง เพราะฝาหรั่งตีกันเอง(อีกแระ)
ข้างหนึ่งน่ะมะหาปะลัยระดับโลก อีกข้างหนึ่งก็ผลงานระดับโพสต์ด้อก เก่งๆ ทั้งนั้น อีกแห่งก็สำนักประมูลเอกอุ
ถ้ารวมหมดทุกแหล่งข้อมูล ก็จะมีช่างภาพสัก 5-6 คน ที่เป็นเจ้าของรูปนี้

คงจะต้องสรุปให้เข้าใจง่ายๆ ดังนี้


กระทู้: สาวน้อยใจถึง
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 18 ก.ค. 08, 04:14
เรื่องสาวน้อยไม่นุ่งผ้านี้ หยิบมาจากหนังสือของผมเอง เป็นประเด็นที่น่าค้นคว้า จึงนำมาขยายความในเรือนไทย
เพราะในหนังสือไม่มีที่พอให้แสดงเนื้อหาสาระได้มาก ลำพังแต่พิมพ์รูปถ่ายและรูปภาพสมัยรัชกาลที่ 4 ก็กินทุนผมไปจนล่มจมแล้ว
ขืนเพิ่มเติมเนื้อหาเข้าไปอีก ก็ต้องขายบ้านขายช่องกันเท่านั้นเอง

1
รูปสาวน้อยของเรา พบครั้งแรก นุ่งผ้าเรียบร้อยอยู่ในหนังสือของมูโอต์
Mouhot, Henri Voyage dans les royaumes de Siam, de Cambodge, de Laos et autres parties centrales de l'Indo-Chine, 1858-1861
พิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี 1863 เป็นภาษาฝรั่งเศส อยู่ในชุดเที่ยวรอบโลกของสำนักพิมพ์ชั้นนำแห่งฝรั่งเศส
Le Tour Du Monde. Nouveau Journal Des Voyages public sous la direction de M. Edouard Charton et illustre par nos plus celebres artistes.
Published: Libraire Hachette et Co. Paris. 1863
เล่มโตเท่ากระดาษ A3 หรือประมาณมติชนสุดสัปดาห์ หรือสยามรัฐ เล่มเดียวจบ

ฉบับแปลอังกฤษ พิมพ์ปีรุ่งขึ้น 1864 ใช้แม่พิมพ์รูปลายเส้นชุดเดียวกัน แต่เปลี่ยนรูปเล่มเป็นขนาดแปดหน้ายก ปกแข็ง สองเล่มจบ
Travels in the Central Parts of Indo-China, Cambodia and Laos During the Years 1858,1859, and 1860. London, John Murrey 1864
ข้อมูลนี้ ช่วยสกัดหลังว่า สาวน้อยของเรา จะถ่ายไว้หลัง 1863 หรือ 2406 ไม่ได้เป็นอันขาด

2
ต่อมาสาวน้อยไปเป็นปกหนังสือเล่มหนึ่ง Romance of the Harem คราวนี้เธอเปลือยอก
นั่นทำให้ทราบต่อไปว่า สาวน้อยอาจจะถูกเติมผ้าเข้าไปกันอุดจาดตาโดยช่างแกะแม่พิมพ์ โบกูร์ Etienne Gabriel Bocourt 1821-1882
หรือมิเช่นนั้น ก็มีการถ่ายไว้สองแผ่น แผ่นหนึ่งเปลือยท่อนบน อีกแผ่นห่มผ้าเรียบร้อย

3
ประเด็นที่ผมสนใจนั้น มิใช่เรื่องห่มไม่ห่มผ้า สนใจเรื่องเจอต้นฉบับรูปโบราณตะหาก
ความรู้นี้ ช่วยให้เข้าใจข้อเท็จจริงเรื่องอดีต แจ่มชัดขึ้น อย่างน้อยก็ในมุมที่ผทสนใจ
นั่นคือ ใครเป็นช่างภาพให้มูโอต์

ตามที่ยึดถือกันมานั้น ใครๆ ก็บอกว่ามูโอต์เป็นช่างภาพเอง เพราะตามประวัติแล้ว เขาเคยหัดถ่ายรูปด้วยกล้องแผ่นเงิน
จึงประเมินว่า พอมาถึงยุคที่ใช้กระจกเปียก ก็น่าจะใช้ด้วย แต่ใช้เป็นหรือถ่ายรูปเป็น เป็นคนละเรื่องกับรูปถ่ายในหนังสือ
ผมสงสัยมานานแล้วว่า ทำไมรูปประกอบหนังสือจากการสำรวจเขมร จึงเป็นลายเส้นจากเสก็ตช์ ไม่ใช่ลายเส้นจากรูปถ่าย
แสดงว่าไม่ได้พกกล้องเข้าเขมรหรือ
ตรงนี้ต้องมีคนสงสัย ถามว่า รู้ได้งัยว่าเป็นเสก็ตช์มือ หรือเป็นรุปถ่าย
ก็ขอตอบแบบกำปั้นทุบดินว่า เพราะผมเสก็ตช์มือเป็น และถ่ายรูปเป็นน่ะครับ จึงดูแล้วเข้าใจ

ข้อสงสัยต่อมาก็คือมีหลายรูปที่ถ่ายหลังจากมูโอต์เสียชีวิต ที่แน่ๆ คือรูปพระเมรุพระเทพศิรินทร์
พระราชพิธีนั้น ทำในเดือนเมษายน 2405 แต่มูโอต์ตายเดือนพฤศจิกายน 2404 ห่างกันหลายเดือนอยู่
พระรูปรัชกาลที่ 4 และพระนางเธอ ที่เชิญประดับหนังสือ
ก็เพิ่งได้รับจากเซอร์จอมเบิร์ก กงศุลอังกฤษตอนที่ท่านเซ่อร์เขียนคำไว้อาลัยให้น้องชายมูโอต์

ข้อสงสัยที่สามก็คือ แล้วรูปมากมายก่ายกองในหนังสือ หายไปใหน(ล่ะ)
ที่ถามอย่างนี้ ก็เพราะรู้ว่ามูโอต์เป็นนักสำรวจ คุณสมบัติสำคัญของวิชาชีพนี้คือการเก็บหลักฐาน ซึ่งลามมาถึงทายาท
เราจึงพบว่าร้อยกว่าปีให้หลัง สำนักพิมพ์อ๊อกสเฝิร์ด ยังเก็บเอาบันทึกประจำวันของมูโอต์มาพิมพ์ได้
พร้อมรูปสเก็ตช์ตัวจริงให้เราได้ชมเป็นขวัญตา แต่ไม่ยักมีรูปถ่ายมาอวดบ้าง

ว่าไปแล้ว รูปถ่ายต้นฉบับทั้งหมด ดูเหมือนจะหายไปจากโลกนี้ ยกเว้นบางรูป แต่ทุกรูปมาจากแหล่งที่หาความเชื่อมโยงถึงมูโอต์มิได้เลย
อย่างเช่นรูปเจ้าจอมแต่งแหม่ม เจอในหีบผลงานของนายจิต คุณเอนกเป็นคนเจอที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ
รูปตัวละคอน บางรูป กลายเป็นรูปที่จี อาร์ แลมเบิร์ต(G.R. Lambert) ทำขายที่สิงค์โปร์
ประหลาดสุดก็ที่นางแอนนาเอาไปใช้ในหนังสือของหล่อนเสียนั่น แม่นี่เข้ามาหลังมูโอต์ตายหลายปีทีเดียว

อาศัยเหตุที่มีพิรุธให้งงหลายข้อ ผมจึงไม่เชื่อว่ามูโอต์จะพากล้องเข้ามาด้วย และไม่เชื่อว่าเขาเป็นเจ้าของรูปถ่ายเหล่านั้น
จะต้องมีช่างภาพอีกคนเป็นเจ้าของผลงานเหล่านี้ และเป็นช่างที่ตั้งวงทำมาหากินอยู่ในสยามเสียด้วย
มูโอต์จึงไม่มีรูปถ่ายเมืองเขมรเลย

(ยังมีต่อครับ)


กระทู้: สาวน้อยใจถึง
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 18 ก.ค. 08, 12:30
เชิญชมรูปปรากรอบ


กระทู้: สาวน้อยใจถึง
เริ่มกระทู้โดย: ติบอ ที่ 18 ก.ค. 08, 20:50
เข้ามาติดตามผลงานของคุณพิพัฒน์ต่อไป
ผมอยากเรียนวิชาประวัติศาสตร์ภาพถ่ายครับ
เสียดาย.... มหาวิทยาลัยไม่ยอมเปิดสอน
แงๆ


กระทู้: สาวน้อยใจถึง
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 19 ก.ค. 08, 14:47
สนใจก็เรียนเองได้ครับ ไม่ยากเย็นกระไรนัก
ขอให้รวยเป็นใช้ได้
-----------------------------------------

4
รูปเจ้าจอมนี้ น่าสนใจมาก
มูโอต์ลงไว้ 2 รูป หมายถึงมูโอต์คนน้องนะครับ แล้วก็ไม่ได้พบเจออีกเลยไม่ว่าที่ใหน
แต่........
ในประเทศไทยนั้น เรารู้จักกันดีครับ ว่ามีหลายก๊อปปี้
กรมพระนราธิปฯ นำลงพระนิพนธ์ของพระองค์ไว้ชิ้นหนึ่ง บอกชื่อได้อย่างชัดเจน
กรมศิลป์เอง เมื่อชำระข้อมูลทำหนังสือประชุมภาพประวัติศาสตร์ แผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ก็ระบุได้นามได้ครบทุกท่าน

ยิ่งกว่านั้น ในหอจดหมายเหตุของเรา ยังเก็บรุปชุดนี้ไว้มากมาย ดังจะนำมาให้ดูเป็นประจักษ์พยาน
รูปลายเส้นข้างล่าง มาจากหนังสือของมูโอต์


กระทู้: สาวน้อยใจถึง
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 19 ก.ค. 08, 14:53
ลองสนใจรูปเจ้าจอมแต่งแหม่มดูนะครับ
แรกเริ่มเดิมที เราได้เห็นของจริงจากการค้นคว้าของคุณเอนก จากนั้นผมก็คุ้ยต่อได้มาอีกหน่อย
ครั้นกรมศิลป์พิมพ์หนังสือเล่มดังกล่าว ....อ้าวได้มาอีกสำเนาแฮะ ไม่เหมือนกันเลย
แม้จะเป็นรูปเดียวกัน


กระทู้: สาวน้อยใจถึง
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 19 ก.ค. 08, 14:57
มีการคร๊อบแต่ละนางออกมาด้วย


กระทู้: สาวน้อยใจถึง
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 19 ก.ค. 08, 15:08
ใช้สามัญสำนึกตรองดู ก็ต้องบอกว่่าแหล่งใดเป็นที่ชุมนุมอุ่นหนาฝาคั่งของข้อมูล
แหล่งนั้นก็น่าจะเป็นเจ้าของข้อมูลเหล่านั้น มากกว่าแหล่งที่แห้งแล้ง

ประเทศไทยมีรูปที่ตรงกับที่พิมพ์ในหนังสือของมูโอต์ มากกว่ามาก
ทั้งยังเป็นสถานนีกลาง ที่รูปเหล่านี้แพร่ออกไป จะไปบอกว่าพวกที่ได้รูปไป เป็นเจ้าของรูป
แล้วประเทศไทยเพียงแต่รับส่วนบุญ คือเขาทิ้งเศษๆ เอาไว้ให้
น่าจะเป็นความคิดที่แผลงคนมากไปหน่อย

ยิ่งกว่านั้น ยกเว้นหนังสือของปาเลกัวส์ ซึ่งเรามีหลักฐานว่าท่านเป็นผู้นำกล้องตัวแรกเข้ามาในประเทศ
ฝรั่งนอกจากนั้นทุกคน ที่ตีพิมพ์รูปจากสยาม เรื่อยมาจนสิ้นสุดรัชกาลที่ 6
ล้วนแต่ไม่ได้ถ่ายรูปเอง ไม่เว้นแม้แต่นายตอมสั้น ซึ่งเป็นช่างภาพเอกของโลก
ผมก็ยังเจอว่า อธิบายรูปที่(อ้างว่า)ตัวเองถ่าย ผิดเลยครับ


กระทู้: สาวน้อยใจถึง
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 19 ก.ค. 08, 23:44
รูปต่อมาคือทหารหญิง ผมเทียบให้ดูเลยนะครับว่านางแอนนาก็เอาไปใช้(รูปขวา)
ถ้าใช้หลักว่าอยู่กะใครคนนั้นคือเจ้าของหรือคนถ่าย นางแอนนาก็เป็นช่างภาพด้วยอะดิ
แต่ ช้าก่อน ในหอจดหมายเหตุมีรูปชุดนี้อีกเหมือนกัน แต่คนละท่า
ยิ่งทำให้น่าเชื่อว่า ที่ครงกับในหนังสือนั้น สักวันคงจะเจอ ถ้างั้นใครน่าจะเป็นเจ้าของล่ะ

แล้วเราจะไม่ให้เครดิตเลยละหรือ ว่ารูปมากมายที่หอพระสมุดรวบรวมขึ้นช่วงที่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ
ทรงดำริจะจัดตั้งหอรูป และไปได้ชุดใหญ่มาจากทายาทนายจิต (อีกชุดใหญ่มาจากฉายานรสิงห์)
ไม่ใช่ผลงานนายจิต

ถ้านายจิตไม่ใช่ช่างภาพ เป็นนายอะไรสักนามหนึ่ง ผมก็คงจะไม่ตั้งแง่ดอกว่ามีคนมาแอบอ้างชื่อท่าน
นายจิตนั้น เกิดเมื่อรัชกาลที่ 3 วันที่กล้องแผ่นเงินตัวแรกเข้ามาบางกอก อายุ 15
วันที่กล้องเปลี่ยนมือมาเป็นของเจ้าฟ้าพระองค์หนึ่ง ท่านอายุ 17 ตามประวัติที่คุณอเนกค้นมา ได้ความจากนายกุหลาบว่า
ทั้งนายจิตและนายกุหลาบต่างก็เป็นศิษย์บาดหลวง คือท่านปาเลกัวส์
การที่นายจิตมาได้ดี เป็นขุนสุนทรสาทิศลักษณ์ตอนปลายรัชกาลที่ 4 ได้รับพระบรมราชโองการให้ไปถ่ายรูปพิมาย
และมีชื่ออยู่ในทำเนียบนามขุนนางที่ทรงตั้งใหม่ จะให้คิดว่าอย่างไร เป็นช่างภาพแต่ในนาม กระนั้นหรือ
ตัวจริงคอยขโมยรูปที่ฝรั่งเข้ามาถ่ายทิ้งไว้ อ้างเป็นของตัวเอง


กระทู้: สาวน้อยใจถึง
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 19 ก.ค. 08, 23:51
นี่คือรูปอื่นในชุด ที่ไม่มีฝาหรั่งเอาไปใช้ เลยค้างอยู่ในบางกอกให้นายจิตมาคว้าไปใส่ในกล่องไม้ ตีตราของตัวเอง
เฮ้อ ฉงฉานคนไทยที่ไม่เชื่อสีมือคนไทย อยากจะประเคนแผ่นดิน....เอ้ย มะช่าย
จะประเคนของดีให้นายเหนือหัว....อ้าว ผิดอีกเระ ประเคนเครดิตให้ฝาหรั่ง.....555555


กระทู้: สาวน้อยใจถึง
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 19 ก.ค. 08, 23:55
นี่คือรูปการใช้งานแท้จริงของทหารหญิงทั้งหลาย
อันทำให้ผมไม่ยอมรับว่ารูปเจ้าจอมแต่งทหารนี้คือ ทหารหญิง ยังคิดอยู่เสมอว่าเป็นนางละคอน


กระทู้: สาวน้อยใจถึง
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 19 ก.ค. 08, 23:59
นี่คือโรงละคอนที่แสดงผลงานในรูปข้างบน
คงจะต้องกราบขอบพระเดชพระคุณนายฝรั่งเทวดาอะไรสักคน ที่เมตตาเข้ามาถ่ายรูปสยามเอาไว้เสียละเอียดยิบ
เข้านอกออกในได้มันเสียทุกที่

แต่....เอ ทำไม้ ถ่ายไว้แล้วไม่เอาใช้หนอ มีแค่รูปสองรูป กระปริบกระปรอย


กระทู้: สาวน้อยใจถึง
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 20 ก.ค. 08, 01:07
5
นายจิตเก่งแค่ใหนกัน จึงทำให้ผมเที่ยวยกรูปสมัยรัชกาลที่ 4 ให้เป็นฝีมือของท่าน
ตอบว่า

มาชมฝีมือท่านขุนกันหน่อย
นี่คือพิมายเมื่อปีเกือบสุดท้ายของรัชกาลที่ 4 หน้าแล้ง ปี 2410
นางแอนนาก็เอาไปใช้ แต่ที่เหลือเชื่อก็คือ วิลเฮล์ม เบอร์เกอร์ ช่างภาพใหญ่ชาวออสเตรีย ก็เอาไปใช้(แฮะ)
อยู่ในสมุดภาพที่ทำออกจำหน่ายหลังการมาเยือนบางกอกเมื่อต้นรัชกาลที่ 5 (มีบันทึกเหตุการนี้ ในจิตรกรรมพระที่นั่งทรงผนวช)
ถามว่า รู้ได้งัย ว่าอีตาขุนสุนทรถ่าย นี่คงไปเม้มฝาหรั่งมาอีกแหละ
สมัยก่อน คนทั้งหลายก็คิดอย่างนี้แหละครับ ค่าที่ว่ารูปนี้งามเหลือใจ คนไทยถ่ายได้งัย เป็นไปไม่ได้

เครดิตเรื่องนี้ ต้องยกให้คุณศรัยญ์ ทองปานแห่งสำนักพิมพ์เมืองโบราณ และคุณอเนก เจ้าเก่า
ทั้งคู่เจอสารตราให้ขุนสุนทรไปทำงานนี้ และเจอลายมือชื่อท่านขุน อยู่ในรูป(ด้วยแหละ)
พวกทาสฝรั่งจะต้องโวย รู้ได้งัยว่ารูปนี้เป็นฝีมือนายจิต
ยังกับท่านจะรู้แน่ะ ท่านเล่นเซนต์ชื่อไว้เลย ไม่ใช่รูปเดียวนะครับ หลายรูป
มีอยู่รูปหนึ่ง ไปถึงอังกฤษ อยู่ในพิพิธภัณฑ์วิคตอเรียและอัลเบิร์ต คงจะรู้กันนะครับ
ว่าที่นี่คือที่แสดงเครื่องราชบรรณาการและของขวัญที่ควีนได้รับจากนานาประเทศ


กระทู้: สาวน้อยใจถึง
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 20 ก.ค. 08, 01:08
เอ๊ะ....นี่อะไร


กระทู้: สาวน้อยใจถึง
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 20 ก.ค. 08, 01:11
ท่านยังกลัวว่าจะมีคนขี้ดูถูก หาว่านายจิตบ่มิไก๊
ท่านจึงทิ้งอะไรที่น่าพิศวงให้ไว้เป็นหลักฐาน ดูที่รูปขยายให้เห็นห้องมืดชนิดเคลื่อนที่ได้ มาจากรูปเต็มชิ้นหนึ่ง
และตรงที่เจ้าหนุ่มนั่งยองๆ จะเห็นชัด ว่ามีชุดน้ำชาตั้งบนธรณีปราสาท

ถามว่าฝรั่งบ้านใหนน่ะ กินน้ำชาแบบนี้


กระทู้: สาวน้อยใจถึง
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 20 ก.ค. 08, 01:12
ตอบว่าคนไทยเมืองสยามครับ กินน้ำชาแบบนี้


กระทู้: สาวน้อยใจถึง
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 20 ก.ค. 08, 21:47
สำหรับคนที่ไม่เชื่อในความสามารถของชาวไทย การที่ผมบอกว่านายจิต เป็นคนเก่ง เป็นเจ้าของผลงานชิ้นนั้นๆๆๆ.....ท่านก็บอกสั้นๆ ว่ายกเมฆ
จบ ...(อาจจะแถวคำอะไรตามแต่วงศ์สกุลจะสอนสั่งตามออกมาสักชุด หึหึ)..........จบ (จริงๆ)

เมื่อไม่เชื่อความเห็นของผม ลองฟังความรู้จากผู้รู้ดูสักที ความว่า
"ในหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ท่าวาสุกรี มีหีบไม้สักขนาดเล็กใหญ่จำนวนนับร้อยใบ ตั้งแต่ขนาดฝ่ามือไปจนถึงขนาดสูงเกือบข้อศอก บรรจุกระจกเนกาติฟ
ฝีมือนายจิตรไว้นับไม่ถ้วน ในอัลบัมเก่าบางเล่มของหอจดหมายเหตุแห่งชาติ มีพระบรมฉายาลักษณ์รัชกาลที่ ๕ ตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ และรูปถ่ายเจ้านาย
ขุนนาง พร้อมตราร้านนายจิตรเต็มไปหมด ในหนังสือพิมพ์เก่าบางฉบับในหอสมุดแห่งชาติ ลงโฆษณารับจ้างถ่ายรูปของนายจิตรหลายครั้งหลาย
เมื่อยิ่งสืบก็ยิ่งพบผลงานของนายจิตร"(อเนก นาวิกมูล นิตยสารสารคดี ปีที่ ๑๗ ฉบับที่ ๒๐๔ เดือน กุมภาพันธ์ ๒๕๔๕)
นี่เจ้าตัวไปเห็นมาเอง สมัยที่หอจดหมายเหตุยังต้องพึ่งความรู้ของคนนอกอยู่ เดี๋ยวนี้ ใครก็อย่าหวังได้เห็นคลังข้อมูลอย่างนี้
ถามว่ากล่องเป็นร้อย แปลว่าอย่าเที่ยวเหมาว่ารูปอะไรๆ ในกรุงสยามยุคนั้น เป็นฝีมือเจ้าของกล่อง อย่างนั้นหรือ

ถ้ายังไม่เชื่อข้อความข้างบน จะเชื่อข้อความที่นายจิตบอกไว้เองหรือไม่เล่า....???????
"Photographics Studio established 1863 F. Chit & Son
Portraits taken daily from 7 to 11 A.M. views of All parts of Siam always on hand, also Siamese Celebrities and Characters of Siamese Lifes"
(the Siam Merkcantile Gazette 1889)
โฆษณานี้ บอกย้อนหลังถึงยี่สิบหกปี ถึงการก่อตั้งห้องถ่ายของนายจิต .......และบอกเนื้อหาของผลงานไว้ น่าจะพอประเมินออกเพราะเขียนเป็นภาษาเทพ

ถ้ายังไม่เชื่ออีก
ไปอ่านโฆษณา ที่ไกล้กับปีตั้งห้องถ่ายกันดู
"อนึ่ง มิศฟะรันซิศจิต, เปนพนักงานสำหรับชักเงารูป ปราถนาจะให้คนในกรุงนอกกรุงเข้าใจว่า, ตัวนั้นอยู่ที่แพ้ (ใส่ไม้โท คงหลงลืม -เอนก) น่าบ้านกะดีจีน,
ได้เป็นพนักงานสำรับชักเงารูปต่าง ๆ. รูปที่ได้ชักไว้แล้วนั้น, ก็มีหลายอย่าง, คือรูปวัง, แลรูปวัด, รูปตึก,รูปเรือน, แลรูปเงาต้นไม้, แลรูปท่านผู้มีวาศนาต่าง ๆ
ในกรุงเทพนี้. ถ้าท่านผู้ใดปราถนา, จะให้ข้าพเจ้าไปชักเงารูปที่บ้านของท่าน ข้าพเจ้าก็จะไปทำ, ราคาค่าจ้างนั้น จะเอาแต่อย่างกลางภอสมควร."
ลงพิมพ์เป็นภาษาคน....เอ้ยภาษาไทยเสียด้วย ในหนังสือจดหมายเหตุ ของหมอปลัดเลฉบับภาษาคน....เอ้ยภาษาไทย ปี 2408 คือสองปีหลังเปิดกิจการ

คนที่คิดต่อได้ คงคิดต่อได้ว่า ลงโฆษณาบอกไว้เป็นชุดใหญ่ถึงรูปที่ท่านมีไว้ให้บริการ ก็ต้องมีให้หาซื้อได้จริงๆ
ถามว่า บริการใคร ใครกันจะอยากได้รูปถ่ายพวกนั้น และจะสะสมจนมีมากขนาดนั้น ต้องทำอย่างไรบ้าง
คอยเก็บเศษที่พวกฝาหรั่งทำหล่นไว้ ก็ได้มากอย่างนั้นละหรือ แล้วที่ท่านเป็นช่างภาพหลวงล่ะ ว่างงานหรือ

ข้อมูลที่สำคัญที่สุดอีกชิ้นหนึ่งนั้น เป็นของลี้ลับ ผู้ใหญ่ท่านหนึ่งเมตตาถ่ายเอกสารส่งมาให้ จ่าหน้าปกว่า
"ต้นบาญชีรูปต่าง ๆ เล่มที่ ๑ ที่ข้าพเจ้าขุนสุลทรสาทิศรักษ เปนผู้ชั่งชักรูปอยู่ในกรุงเทพฯ ซึ่งได้ทำไว้ ได้ลงพิมพ์ในปีขานสำเรจธิศก ๑๒๔๐"
หน้าต้นๆ หายไป และหน้าท้ายก็ไม่แน่ใจว่าจะเป็นหน้าสุดท้าย แม้กระนั้น ลำดับเลขที่รูปก็ยังมีถึงเลขพัน
ในสมุดภาพรัชกาลที่ 4 ผมถือโอกาสใช้ชื่อรูปจากบาญชีนี้ กับรูปถ่ายที่มั่นใจว่าตรงกัน เช่น
"พระรูปพระบาทสมเดจพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเครื่องอย่างฝรังเสศ เสด็จยืนกุมพระกรสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ"

ศักดิ์ศรีของท่าน จะเห็นได้อย่างน่าเคารพ ในชื่อรูปชิ้นหนึ่ง ว่า
"พระรูปพระบาทสมเดจพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเครื่องต้น ถ่ายต่อพระรูปที่มิษเตอทอมซันเปนผู้ถ่าย หมายนำเบอ..."
คือบอกไว้ไม่ปิดบังว่าถ่ายกีอปปี้จากใคร แต่ที่ใครปิดบังว่าเอาของใครมาใส่ชื่อตัวนั้น ต้องไปถามเหล่าคอเคซอยฟีเว่อร์ว่า เคยเห็นเขาทำกันหรือไม่

บาญชีของท่านนั้น บอกปีพิมพ์ไว้ตรงกับพ.ศ. 2421 หมายความว่า 15 ปี ตั้งแต่เปิดห้องถ่ายรูปมาได้สะสมรูปไว้นับจำนวนมหาศาล
มากมายขนาดนั้น เห็นจะต้องให้ช่างภาพตาน้ำข้าว ยกทัพมากินอยู่สักกี่คณะดีล่ะ อย่างรายนายตำสั้นนั่น เข้าเขมรตั้งหลายเดือน ได้มา 60 แผ่นเท่านั้นเอง
หรือยังไม่เชื่ออีก ก็ไปเปิดหนังสือคอร์ต ที่ลงรายงานเรื่องสิ่งของที่บันจุในอู่พระฤกษ์ ใต้พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ในพระราชพิธีก่อพระฤกษ์
วันพุธ เดือนหก แรม๑๐ค่ำ ปีชวดอัฐศก ศักราช ๑๒๓๘ คือก่อนบาญชี สองปี
แลมีรูปถ่ายต่างๆ ดังจะได้มีบาญชีบอกต่อไปนี้.....รวมทั้งสิ้นเปน ๕๓ รูปๆ เหล่านั้นม้วนผูกในถุงเข้มขาบ บรรจุในหีบตะกั่วนั้นเหมือนกัน.... "
น่าประหลาดใจ ที่บาญชีรูปที่บันจุ ทำไมละม้ายคล้ายบาญชีนายจิตเสียจริงๆ แถมมาตรงกับรูปมากมายที่เห็นกันเจนตา

ถามว่า ทั้งหมดนั่น เราจ้างฝรั่งมาถ่ายหรือ แล้วให้ช่างภาพหลวงนั่งตบยุง....เฮอะๆ


กระทู้: สาวน้อยใจถึง
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 21 ก.ค. 08, 00:35
คราวนี้ จะย้อนมาพิจารณาความเห็นของคุณคล๊อดต่อสักเล็กน้อย

ผมได้คัดค้านแล้วว่า พระบรมรูปรัชกาลที่ 4 ทรงฉายกับเครื่องราชบรรณาการนั้น จะถ่ายโดยโรสซิเย่ร์ไม่ได้
พระบรมรูปอีกพระองค์ในนิทรรศการ คือพระบรมรูปพระปิ่นเกล้า ก็มิใช่เช่นกัน
โชคร้ายที่ไม่สามารถเชิญพระรูปมาแสดงในเวบได้

ปรากฏว่า ช่างตรวจปรูฟประจำตัวผม คือคุณบาบาตอฟ เมตตาทำให้ ขอนำมาใช้ต่อก็แล้วกันนะครับ
โชคดีจริงๆ ที่มีคนสนใจการค้นคว้าของผม ติดตามไกล้ชิดโดยไม่ต้องจ้างวาน หาไม่ได้อีกแล้ว


กระทู้: สาวน้อยใจถึง
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 21 ก.ค. 08, 00:36
ข้างบนคือรูปที่แสดงในนิทรรศการ งานนี้ห้ามถ่ายรูป การได้รูปมาจึงต้องถือว่าเป็นวงในล้ำลึก
-------------------
เราได้ทราบเหตุผลแล้ว ว่าในการระบุชื่อช่างภาพนั้น คุณคล๊อดใช้วิธีประเมินเอา เมื่อไปพบพระรูปอยู่ในกลุ่มที่คล้ายกับผลงานของโรสซิเย่ร์
จึงเขียนคำอธิบายไว้อย่างนั้น วิธีนี้ผมก็ใช้นะครับ ไม่ใช่เรื่องเสียหายอะไร เรื่องก่อนเกิดใครจะไปรู้ไปหมด ใช่ใหมครับ

พระรูปนี้ พบแพร่หลาย เท่าที่เคยเห็นผ่านตาก็มีที่คลังรูปของ MEP Missions Entrangeres de Paris
อาจารย์ศักดาเชิญมาลงหนังสือของท่าน ขอลงชื่อหนังสือด้วยละกัน กษัตริย์ & กล้อง 2535 เดี๋ยวจะหาไม่เจออีก
แต่ที่พบเก่าแก่สุดก็คือในหนังสือมูโอต์

ทีนี้ ถ้าท่านช่างสังเกตสักนิด จะเห็นว่าพระรูปนั้นเหมือนกันทุกอย่าง จะไม่เหมือนก็คือองค์หนึ่งทรงเหรียญตรามากว่าเท่านั้น นับว่าน่าสงสัย
เอาละ ใช้หลักเจอที่ใหน ที่นั่นถ่าย ก็จะได้ช่างภาพ 3 คนเข้าไปละ คือคุณคล๊อดระบุและมีคนไทยที่เชื่อฝรั่ง เชื่อว่าเป็นฝีมือโรสซิเย่ร์
สองคือบาทหลวงลาร์นอร์ดี ตามที่อาจารย์ศักดาท่านระบุเพราะพบในคลังรูปของคณะนักบวชต้นสังกัดของท่านผู้นี้
และสามคือใครสักคน ที่ผมมั่วระบุว่า เป็นนายจิตอีกหนึ่ง


กระทู้: สาวน้อยใจถึง
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 21 ก.ค. 08, 01:01
พระรูปในนิทรรศการทั้งสององค์ มีข้อน่าสงสัยก็คือ เป็นรูปที่ตัดส่วนออกมาอีกที
การที่พบรูปถูกตัดส่วนเช่นนี้ ทำให้น้ำหนักของการเป็นเจ้ามือ หายไปหลายขีด
รูปในสมัยนั้น มักจะแสดงเต็มทั้งชิ้น หากจะคร๊อบ ก็มักจะทำให้เข้ากับกรอบตกแต่ง อย่างเช่นพระรูปองค์ขวาสุด
แต่....ตรงนี้ต้องย้ำหน่อย คร๊อบอย่างที่เชิญมาแสดงเช่นนี้ ถือว่าผิดปกติ อาจจะเป็นการทำซ้ำออกมาอีกต่อหนึ่ง หรือหลายต่อ
แต่.....คร๊อบแค่นี้ ยังไม่สำคัญเท่ากับ การเจออีกสำเนาหนึ่ง คราวนี้มียี่ห้อช่างภาพอะดิครับ

เรื่องใหญ่ละท่าน ตกลงต้องเพิ่มช่างภาพเข้าไปอีกหนึ่ง เป็นสี่
พระรูปนี้ สหายจากแดนไกลส่งมาให้ชื่นชม เจ้าตัวภูมิใจมาก บอกว่าทรงเสด็จไปถ่ายถึงสิงค์โปร์
แต่ช่างภาพหรือใครสักคนเขียนสลักหลังผิด บอกว่าเป็นพระเจ้าแผ่นดินที่หนึ่ง ยังดีที่โลโก้จะผิดไม่ได้ คือห้องภาพ A Sachtler

ผมรีบคัดค้านสหายในทันทีว่า ช้าก่อนประเพณีไทยนั้น เจ้านายชั้นสูงไม่เคยออกนอกประเทศ เพิ่งยกเลิกเมื่อรัชกาลที่ 5 นี้เอง
ดังนั้น เป็นไปได้มากสุดคือ ห้องภาพแซคเล่อร์นี้ เข้ามาฉายพระรูป

กรณีพระบรมรูปชิ้นนี้ เราจะลงความเห็นว่าเป็นฝีมือผู้ใดดีล่ะ ท่าน


กระทู้: สาวน้อยใจถึง
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 21 ก.ค. 08, 02:39
ขอปิดท้ายเรื่องนี้ ด้วยปัญหาความไม่แน่นอนของกระดาษอัดรูปที่มีตราประทับ
เป็นอุทาหรณ์ให้กับคนที่ริจะเข้ามาวินิจฉัยรูปเก่า พึงระวังความยอกย้อนของหลักฐาน
การที่ไม่รู้ว่าข้อความอะไรอยู่ในเอกสารเรื่องอะไร แล้วมาร้องถามปาวๆ นั้น ก็น่าสังเวชอยู่แล้ว
การที่มีรูปอยู่ในมือ แล้วไม่รู้ว่ารูปเหล่านั้น แผงเงื่อนงำอะไรไว้บ้าง ยิ่งน่าสงสารกว่า
แต่การเที่ยวป่าวประกาศว่าฉันจะแก้โง่ชาวบ้านนั้น ทำได้ก็ดีกับตัว อย่าให้เป็นตรงข้ามละกัน
อันนี้สิ ทำแล้วลบไม่ได้เสียด้วย

รูปที่แสดงไว้นี้ เป็นคาร์ดเดอวิสิท CDV หรืออาจจะเรียกว่ารูปนามบัตรก็ได้ ตีตรานูน GR Lambert
อยู่ในการประมูลของคริสตี้ส์กรุงเทพ the treasure of siam 7 august 1999 lot 246 ในคู่มือประมูล ระบุปี 1868 หรือ พ.ศ. 2412
เห็นๆ กันอยู่ว่าการระบุนี้มีปัญหา เพราะรูปนี้ อยู่ในหนังสือมูโอต์เช่นกัน
คุณนงนภัสในความเห็นที่ 62 ข้างบนอุตส่าห์มาบอกว่า "เฉลยว่า ช่างภาพที่สิงคโปร์ G R Lambert "
มีลิ้งค์ให้เข้าไปอ่านต่อ ตามไปแล้วเจอการโต้ตอบอย่างน่าตื่นเต้นว่า
AA says: คู่พระคู่นาง โทรหาหน่อย พระทั้งคู่นะบอกแล้ว ของ G.R. Lambert 1866(ตรงนีผิดนะครับ ขอแก้ไข ต้อง 1868)
หนังเสือกับเสื่อ นี่แหละ จะเป็นเบาะแส
....บล่าๆๆๆๆๆๆๆ........

แล้วก็มีการยกรูปต่อเนื่องออกมาอีกชุดใหญ่ โดยที่มีอาการอมภูมิ หรืออมอะไรสักอย่างว่า
เป็นคลังรูปของตน มีมากมายใหญ่โตมโหฬารพันลึก แต่ติดนู่นติดนี่เอาให้ดูไม่ได้ คนดูก็อารมณ์ค้างสิครับ
ความจริงก็แค่บอกไปตรงๆ ว่าอาศัยก๊อปมาจากเวบของคอแนลเขาเท่านั้นเอง ทำเป็นลึกลับ หึหึ
http://dlxs.library.cornell.edu/s/sea/

นำมาให้ดูไปทีเดียว ลายเส้นจากมูโอต์ รูปคู่มาจากการประมูล และรูปถ่ายสองรูปล่าง มาจากคอแนล


กระทู้: สาวน้อยใจถึง
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 21 ก.ค. 08, 02:51
ไม่อยากจะบอกเลยครับ ว่าการอ้างคำอธิบายของคริสตี้ส์เล่มนั้นให้อ่านน่ะ ยิ่งกว่าขายสวนให้ลูกมะพร้าว
ผมอาจจะบอกได้ด้วยซ้ำไปว่า ขณะที่คนทำคำอธิบายกำลังพิมพ์ข้อความอยู่ เขาใส่เสื้อสีอะไร กินกาแฟยี่ห้ออะไร ใส่น้ำตาลกี่ก้อน...5555
และเขาเอาปีที่ระบุนั่น มาจากใหน   ......แต่ช่างเถอะ ไม่ใช่ประเด็นที่ควรใส่ใจ

ประเด็นมันอยู่ตรงที่ว่า แน่หรือที่ช่างภาพคือแลมเบิร์ต

ตอนมูโอต์คนน้องกำลังแพครูปนี้ลงหีบจะกลับปารีสน่ะ จีอาร์ แลมเบิร์ต ยังเดินเล่นอยู่เดรสเดนเล้ย
"G.R. Lambert, from Dresden, arrived in Singapore in 1875".......(ลองพิมพ์ G.R. Lambert แล้วให้น้องกุ๊กหาดู ก็จะเจอข้อความที่ผมยกมา)
แปลง่ายๆ ว่า จนหนังสือพิมพ์เสร็จ จนตอมสั้นมาหากินจนพ่อนี่ไปลอนด้อน จนพ่อวิลเฮล์ม เบอร์เจอร์เข้ามากรุงสยาม จนกลับไปใหนๆ
พ่อแลมเบิร์ตจึงยกห้างมาตั้งที่สิงคโปร์ ในปี 2418
เพราะฉะนั้น การสะเปะสะปะอ้างอิงข้อมูลต่างๆ นั้น ข้อมูลทำพิษเอาไม่รู้ตัว
การเชื่อคริสตี้ส์ สักแต่ว่าเขาเป็นฝรั่ง (ฮิฮิ เชาคนนั้นเลือดผสมสี่ชาติครับ) หรือเชื่อคุณคล๊อดที่บอกว่าเดา
แม้กระทั้งเชื่อคอแนล ล้วนแต่พาตกเหว
คงจำได้ว่า คอแนลให้อายุรูปชุดนี้ไว้ 1909 หรือพ.ศ. 2452

ถ้าเชื่อตามคุณนกรู้ บอกว่าช่างภาพคือโรสซิเย่ร์ ก็แปลว่า แลมเบิร์ตไปเจอกับเขาที่ยุโรป วันหนึ่งวันใดก่อนปี 1875
สวิสเซอร์แลนด์กับเดรสเดนนี่ ห่างกันแค่ใหนก็ไม่รู้ แต่ถ้าไปเจอกันได้ ทำมะไรแลมเบิร์ตมักน้อยจัง ได้มาแค่รูปนี้ กับอีกไม่กี่รูป
ทำไมไม่ยกคอลเลคชั่นมาเลย ที่ว่ากี่ร้อยรูปน่ะ ฮึ

ไม่อยากสอบต่อแล้วละครับ ฉงฉานคนเชี่ยวชาญที่จะชำระงานให้ฝรั่ง
ความจริงยังต้องสรุปประเด็นเรื่องกล้องสองตาอีก แต่ไม่ไหวละครับ
เพื่อนมาชวนอยู่เหย็งๆ จะไปหัดสีซอ .....ขออำลาแต่เพียงเท่านี้

คุณน้องติบออ่านมาถึงตรงนี้ คงถอนหายใจโล่งอก จบเสียทีทั้งที่ยังไม่จบ
อยากศึกษาประวัติศาสตร์ภาพถ่าย ขอเชิญหลังจอมาคุยได้ครับ

จะได้มีเพื่อนช่วยกันชุ่-บั-ซ- เพิ่ม


กระทู้: สาวน้อยใจถึง
เริ่มกระทู้โดย: ติบอ ที่ 25 ก.ค. 08, 23:53
งั้นเอาประเด็นใหม่มาเปิดกระทู้ใหม่เข้าขบวนการ ชบซ. เพิ่มดีกว่าครับ
มีนักวิชาการบางท่าน.... อธิบายว่า "มูโอต์ทำจารกรรมข้อมูลให้ฝรั่งเศส" ครับ
เอามาชวนกัน ชบซ. นิดหน่อยพอขำๆครับ.... เผื่อจะอธิบายได้ว่าที่มูโอต์ทุ่มเทเหลือเกิน
เพราะแกมาจารกรรมข้อมูล..... คงเหมาะกับคนคลั่งฝรั่งนะครับ  :P