เรือนไทย

General Category => ภาษาวรรณคดี => ข้อความที่เริ่มโดย: werachaisubhong ที่ 31 พ.ค. 12, 15:22



กระทู้: อยากทราบว่า มานพระบัณฑูรสุรสิงหนาท มีความหมายอย่างไร
เริ่มกระทู้โดย: werachaisubhong ที่ 31 พ.ค. 12, 15:22
จึงมีพระบรมราชโองการมานพระบัณฑูรสุรสิงหนาท ผมอยากทราบว่ามีความหมายเช่นไร


กระทู้: อยากทราบว่า มานพระบัณฑูรสุรสิงหนาท มีความหมายอย่างไร
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 31 พ.ค. 12, 16:02
คำว่า "พระบัณฑูร" นั้น สำหรับเรียกคำสั่งของพระมหาอุปราช เค้ามูลมาแต่คำสั่งของพระเจ้าแผ่นดิน กำหนดไว้ในกฎมณเฑียรบาลเป็น ๒ อย่าง เรียกว่า พระราชโองการ อย่างหนึ่ง เรียกว่า พระบัณฑูร อย่างหนึ่ง ข้อนี้พึงเห็นได้ในคำเริ่มต้นเมื่อตั้งกฎหมาย แต่โบราณใช้ว่า "มีพระราชโองการมานพระบัณฑูร" ต่อกัน ดังนี้ถ้าว่าตามพิเคราะห์คำต้นศัพท์ "โองการ" หมายความว่า ประกาศิตของพระอิศวร "ราชโองการ" ก็หมายความว่า "ประกาศิต" ของพระอิศวรเมื่อแบ่งภาคลงมาเป็นพระราชาอยู่ในมนุษยโลก ซึ่งเรียกกันว่า "สมมติเทวราช"  คำ "บัณฑูร" นั้น เป็นภาษาเขมร หมายความว่า "สั่ง" เดิมคงจะใช้แต่ว่า "มีพระราชโองการบัณฑูร" คำว่า "มาน" (เป็นคำภาษาเขมรแปลว่า ‘มี’ นั่นเอง) เห็นจะเพิ่มเป็นสัมผัสให้เพราะขึ้นในภายหลัง
 
แต่อธิบายในกฎมณเฑียรบาลแยกพระราชโองการกับพระบัณฑูร ออกต่างหากจากกัน ด้วยกล่าวว่า ถ้าขัดขืนพระราชโองการต้องโทษถึงประหารชีวิต ถ้าขัดพระบัณฑูรโทษปรับไหมจตุรคุณ ดังนี้ แต่อย่างไรก็ดีที่ให้เรียกคำสั่งของพระมหาอุปราชว่าพระบัณฑูรนั้น พึงเข้าใจได้ว่า ให้มีอำนาจในสถานหนึ่งเสมอพระราชอำนาจของพระเจ้าแผ่นดิน แต่อำนาจพระบัณฑูรนี้พระราชทานเจ้านายพระองค์อื่นนอกจากพระมหาอุปราชก็มี เรียกว่า "พระบัณฑูรน้อย" เคยมีตัวอย่างทั้งในกรุงศรีอยุธยา และกรุงรัตนโกสินทร์นี้ (เมื่อรัชกาลที่ ๑) พระบัณฑูรน้อยจะมีตำแหน่งหน้าที่อย่างไรไม่ปรากฏ แต่เมื่อพระมหาอุปราชได้รับรัชทายาท ก็ทรงตั้งพระบัณฑูรน้อยเป็นพระมหาอุปราชทุกคราว

จาก พระราชพงศาวดารรัชกาลที่ ๕ พระนิพนธ์ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ

 ;D