เรือนไทย

General Category => ประวัติศาสตร์ไทย => ข้อความที่เริ่มโดย: NAVARAT.C ที่ 21 ส.ค. 14, 10:27



กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 21 ส.ค. 14, 10:27
พระบวรฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวสององค์ ที่ตีพิมพ์อยู่ในหนังสือ “สมุดภาพรัชกาลที่๔” โดยคุณพิพัฒน์ พงศ์รพีพรนี้ ถูกระบุว่าถ่ายโดยฟรันซิส จิต ทั้งคู่

โปรดสังเกตว่านอกจากฉลองพระองค์นายทหารเรือที่ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไม่เหมือนกันแล้ว นอกนั้นเหมือนกันหมด ตั้งแต่พระมาลาลงไปถึงรอยย่นที่พระสนับเพลา การวางพระหัตถ์ขวาที่สวมพระธรรมรงค์ และลักษณะการทรงกุมพระแสงกระบี่ด้วยพระหัตถ์ซ้าย
ขอเชิญท่านทั้งหลายช่วยกันถก พระบวรฉายาลักษณ์ทั้งสององค์นี้ องค์ไหนจริง องค์ไหนใช้เทคนิกตกแต่ง และตกแต่งมาแต่สมัยใด ผมขอรับรองว่าผมมิได้กระทำการบิดเบือนพระบวรฉายาลักษณ์ทั้งสองโดยวิธีการใดๆทั้งสิ้น


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 21 ส.ค. 14, 10:50
1    พระรูปทั้งสองนี้เป็นพระรูปเดียวกัน  ไม่ใช่ว่าถ่ายคนละทีในอิริยาบถเดียวกัน แต่เปลี่ยนฉลองพระองค์เป็นคนละแบบ
2    คิดว่าภาพขวาน่าจะเป็นพระรูปดั้งเดิม  ส่วนทางซ้ายมาตกแต่งใหม่ในภายหลัง   ซึ่งอาจจะเป็นยุคสมัยที่มีร้านถ่ายรูป สามารถตกแต่งระบายภาพต้นแบบได้แล้ว
3   สังเกตว่ารูปซ้าย  ส่วนที่เป็นพระองค์สมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ  สีเข้มชัดเจนมากกว่าแบคกราวน์เช่นม่านและผ้าปูโต๊ะตลอดจนดอกไม้
4   น่าจะตกแต่งใหม่ในส่วนฉลองพระองค์และพระพักตร์   ลบส่วนเครื่องราชฯที่เบลอในภาพต้นฉบับออกไป แล้วตกแต่งให้เหลือเครื่องราชดวงกลมๆดวงเดียว

ทั้งหมดนี้ใช้ verb to เดา เพื่อปั่นเรตติ้งกระทู้   ขอเชิญท่านผู้รู้ตัวจริงมาชี้แจงค่ะ


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 21 ส.ค. 14, 11:12
ท่านผู้รู้ตัวจริงเห็นจะมีก็คือคุณหนุ่มรัตนสยามในนามว่าSiamese ขอเชิญให้ความเห็นหน่อยครับ


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 21 ส.ค. 14, 12:00
ท่านผู้รู้อีกท่านหนึ่งซึ่งน่าจะพอตอบให้หายข้องใจได้ น่าจะเป็นคุณพิพัฒน์เจ้าของหนังสือนั่นแหละ  ;)

เราได้ทราบเหตุผลแล้ว ว่าในการระบุชื่อช่างภาพนั้น คุณคล๊อดใช้วิธีประเมินเอา เมื่อไปพบพระรูปอยู่ในกลุ่มที่คล้ายกับผลงานของโรสซิเย่ร์
จึงเขียนคำอธิบายไว้อย่างนั้น วิธีนี้ผมก็ใช้นะครับ ไม่ใช่เรื่องเสียหายอะไร เรื่องก่อนเกิดใครจะไปรู้ไปหมด ใช่ใหมครับ

พระรูปนี้ พบแพร่หลาย เท่าที่เคยเห็นผ่านตาก็มีที่คลังรูปของ MEP Missions Entrangeres de Paris
อาจารย์ศักดาเชิญมาลงหนังสือของท่าน ขอลงชื่อหนังสือด้วยละกัน กษัตริย์ & กล้อง 2535 เดี๋ยวจะหาไม่เจออีก
แต่ที่พบเก่าแก่สุดก็คือในหนังสือมูโอต์

ทีนี้ ถ้าท่านช่างสังเกตสักนิด จะเห็นว่าพระรูปนั้นเหมือนกันทุกอย่าง จะไม่เหมือนก็คือองค์หนึ่งทรงเหรียญตรามากว่าเท่านั้น นับว่าน่าสงสัย
เอาละ ใช้หลักเจอที่ใหน ที่นั่นถ่าย ก็จะได้ช่างภาพ 3 คนเข้าไปละ คือคุณคล๊อดระบุและมีคนไทยที่เชื่อฝรั่ง เชื่อว่าเป็นฝีมือโรสซิเย่ร์
สองคือบาทหลวงลาร์นอร์ดี ตามที่อาจารย์ศักดาท่านระบุเพราะพบในคลังรูปของคณะนักบวชต้นสังกัดของท่านผู้นี้
และสามคือใครสักคน ที่ผมมั่วระบุว่า เป็นนายจิตอีกหนึ่ง


(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=2474.0;attach=3122;image)

การเจออีกสำเนาหนึ่ง คราวนี้มียี่ห้อช่างภาพอะดิครับ

เรื่องใหญ่ละท่าน ตกลงต้องเพิ่มช่างภาพเข้าไปอีกหนึ่ง เป็นสี่
พระรูปนี้ สหายจากแดนไกลส่งมาให้ชื่นชม เจ้าตัวภูมิใจมาก บอกว่าทรงเสด็จไปถ่ายถึงสิงค์โปร์
แต่ช่างภาพหรือใครสักคนเขียนสลักหลังผิด บอกว่าเป็นพระเจ้าแผ่นดินที่หนึ่ง ยังดีที่โลโก้จะผิดไม่ได้ คือห้องภาพ A Sachtler

ผมรีบคัดค้านสหายในทันทีว่า ช้าก่อนประเพณีไทยนั้น เจ้านายชั้นสูงไม่เคยออกนอกประเทศ เพิ่งยกเลิกเมื่อรัชกาลที่ 5 นี้เอง
ดังนั้น เป็นไปได้มากสุดคือ ห้องภาพแซคเล่อร์นี้ เข้ามาฉายพระรูป

กรณีพระบรมรูปชิ้นนี้ เราจะลงความเห็นว่าเป็นฝีมือผู้ใดดีล่ะ ท่าน


(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=6059.0;attach=50846;image)


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 21 ส.ค. 14, 14:22
ให้ภาพนี้กับผู้เป็นทายาทหน่อเนื้อฯ ชมไปพลางก่อนนะครับ  ;D


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 21 ส.ค. 14, 15:54
..คือ… ผมไม่ได้ติดใจเท่าไหร่กับการที่จะหาว่าใครเป็นช่างภาพผู้ถ่ายพระรูปดังกล่าว เท่ากับคำตอบว่าสองพระบวรฉายาลักษณ์ปริศนาที่นำมาเปรียบเทียบให้ดูนั่น ภาพใดจริง ภาพใดปลอม

ความจริงผมก็ผ่านตาภาพปริศนาทั้งสองมาหลายครั้ง แต่ก็นึกเหมือนกับที่ท่านอาจารย์เทาชมพูเดาไว้นั่นเอง องค์ที่ฉลองพระองค์ดูเข้มชัดน่าจะตกแต่งขึ้นทีหลัง
แต่มานึกเอะใจก็ได้เห็นพระบวรสาทิสลักษณ์ที่ฝรั่งทำไว้เป็นลายเส้น ตีพิมพ์ในL’ILASTRATIONที่ฝรั่งเศสตั้งแต่ปีค.ศ.๑๘๖๓ หรือ พ.ศ.๒๔๐๖ เป็นภาพที่ทรงเครื่องราชอิสริยาภรณ์เพียงองค์เดียว คือเหมือนกันกับพระบวรฉายาลักษณ์ที่เราคิดว่าตกแต่งขึ้นนั่น แสดงว่าพระบวรสาทิสลักษณ์ที่นึกว่าตกแต่งขึ้นใหม่หลังนั้น กลับมีมาตั้งแต่ต้นแล้ว
เอาละซีครับ ถึงตรงนี้ตกลงองค์ไหนเป็นภาพจริง องค์ไหนเป็นภาพตกแต่ง


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 21 ส.ค. 14, 16:04
ให้ภาพนี้กับผู้เป็นทายาทหน่อเนื้อฯ ชมไปพลางก่อนนะครับ  ;D
จากพระบวรฉายาลักษณ์องค์นั้น ฝรั่งมาเขียนเป็นลายเส้น ตีพิมพ์ในวารสารฉบับเดียวกันในปี ๑๘๖๖ หรืออีก๓ปีต่อมา


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 21 ส.ค. 14, 18:52
พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯทรงฉลองพระองค์จอมพลเรือสยาม


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 21 ส.ค. 14, 19:42
พระบวรฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวภาพที่ผมแสดงนี้เป็นภาพถ่ายแรก (ถือเป็นต้นแบบให้มีการแต่งเสริมภาพในภายหลัง)


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 21 ส.ค. 14, 19:46
ภาพซ้ายมือคือภาพต้นแบบ และมีการนำมาตกแต่งภาพใหม่ ใส่โยงสายที่ได้ตกแต่งขึ้นในเวลาต่อมา


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 21 ส.ค. 14, 19:51
ภาพขยายบริเวณวงกลางใหญ่ จะเห็นร่องรอยการลบของเสื้อ จากเหรียญกลมใหญ่ให้เป็นพื้นผ้า และมีการวาดเหรียญตราขึ้นใหม่

ส่วนวงกลมเล็กปลายสายไม่ชัดเจน และบริเวณสายโยงต่างๆ ดูไม่เป็นธรรมชาติและดูหลอกตากว่าบริเวณภาพถ่ายองค์ประกอบอื่นๆ


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 21 ส.ค. 14, 19:56
ลักษณะปลายสายเป็นโลหะต้องเป็นลักษณะตามภาพซ้ายมือ ส่วนภาพขวามือเป็นการตกแต่งภาพ


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 21 ส.ค. 14, 20:45
ท่านผู้รู้ตัวจริงเห็นจะมีก็คือคุณหนุ่มรัตนสยามในนามว่าSiamese ขอเชิญให้ความเห็นหน่อยครับ
สมกับเป็นผู้รู้จริงๆ แจ่มแจ้ง ไร้ข้อกังขา

คราวนี้อยากทราบว่า การตกแต่งภาพดังกล่าวมีมาแต่สมัยใด ด้วยกรรมวิธีอย่างไร ที่สำคัญ ลองเดาได้ไหมว่าคนทำเช่นนั้น เค้าทำไปเพื่ออะไรครับ เพื่อสนุกๆเล่นกระนั้นหรือ
แต่แรกก็นึกว่ามาจากคลังภาพของนายจิตจริงๆ นี่ถ้าไม่เห็นข้อความที่คุณเพ็ญชมพูอุตส่าห์หามาลงให้รู้ว่า ผู้เขียนบรรยายภาพสารภาพว่าตนเองมั่วที่เขียนว่านายจิตเป็นผู้ถ่ายภาพ
อ้างถึง
ทีนี้ ถ้าท่านช่างสังเกตสักนิด จะเห็นว่าพระรูปนั้นเหมือนกันทุกอย่าง จะไม่เหมือนก็คือองค์หนึ่งทรงเหรียญตรามากว่าเท่านั้น นับว่าน่าสงสัย
เอาละ ใช้หลักเจอที่ใหน ที่นั่นถ่าย ก็จะได้ช่างภาพ 3 คนเข้าไปละ คือคุณคล๊อดระบุและมีคนไทยที่เชื่อฝรั่ง เชื่อว่าเป็นฝีมือโรสซิเย่ร์
สองคือบาทหลวงลาร์นอร์ดี ตามที่อาจารย์ศักดาท่านระบุเพราะพบในคลังรูปของคณะนักบวชต้นสังกัดของท่านผู้นี้และสามคือใครสักคน ที่ผมมั่วระบุว่า เป็นนายจิตอีกหนึ่ง
เป็นอันว่าเรื่องจบง่ายขึ้นแยะ


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 21 ส.ค. 14, 20:52
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์องค์เดียวกัน Legion d'honneur ของฝรั่งเศส ที่พระเจ้านโปเลียนส่งมาทูลเกล้าฯถวายในปี ๒๔๐๖


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 21 ส.ค. 14, 21:04
Legion d'honneur


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 22 ส.ค. 14, 07:54
ท่านผู้รู้ตัวจริงเห็นจะมีก็คือคุณหนุ่มรัตนสยามในนามว่าSiamese ขอเชิญให้ความเห็นหน่อยครับ
สมกับเป็นผู้รู้จริงๆ แจ่มแจ้ง ไร้ข้อกังขา

คราวนี้อยากทราบว่า การตกแต่งภาพดังกล่าวมีมาแต่สมัยใด ด้วยกรรมวิธีอย่างไร ที่สำคัญ ลองเดาได้ไหมว่าคนทำเช่นนั้น เค้าทำไปเพื่ออะไรครับ เพื่อสนุกๆเล่นกระนั้นหรือ

การตกแต่งภาพก็เกิดขึ้นมาพร้อมกับการถือกำเนิดการถ่ายภาพแบบระบบดาร์แกโรไทป์เลยครับ เป็นความอยากรู้ของมนุษย์เองที่ต้องการถ่ายภาพนั้นให้ดี เช่นภาพที่แสดงนี้เป็นการถ่ายภาพพระราชพิธีโสกันต์เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ ด้วยความที่เกิดอาการภาพไม่ชัด ช่างก็สามารถตกแต่งเพื่อให้ภาพมีความชัดขึ้นมาได้


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 22 ส.ค. 14, 08:00
ตัวอย่างการตกแต่งภาพ โดยนำพื้นหลังออกไปกลายเป็นสีดำ


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 22 ส.ค. 14, 09:18
ขอบคุณนะครับ
อย่างน้อยคราวนี้เราก็ทราบกันละว่า พระรูปไหนเป็นของจริงและของตกแต่ง แม้ว่าเราจะไม่ทราบวัตถุประสงค์ชัดๆของผู้กระทำว่า ต้องการจะเพิ่มเครื่องทรงองค์ประดับของท่านไปอีกทำไม


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 22 ส.ค. 14, 09:50
พระบรมฉายาลักษณ์รัชกาลที่ ๔ ทรงเครื่องต้นอย่างกษัตริย์ตามโบราณราชประเพณี ขยายเฉพาะส่วนฐานพระที่นั่ง รูปครุฑ และเครื่องต้นลายไทย ล้วนทำการตกแต่งภาพให้มีความงามมากขึ้น


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 22 ส.ค. 14, 09:54
พระบรมฉายาลักษณ์รัชกาลที่ ๔ พร้อมด้วยสมเด็จพระราชินี สมเด็จพระเทพศิรินทราฯ และพระโอรสหรือพระธิดา (ไม่ยืนยัน) ให้ดูว่าภาพนี้ก็มีการตกแต่งภาพที่เครื่องประดับพระมาลาเพชร และที่เทียร่าของพระนางก็ได้รับการตกแต่งภาพให้มีความชัด ดูให้เป็นเครื่องประดับเพชรมากยิ่งขึ้น


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 22 ส.ค. 14, 21:33
รูปของคุณหนุ่มรัตนสยามแทบจะดูไม่ออกว่าทรงอุ้มพระกุมารหรือพระกุมารีอยู่ แต่องค์นี้ทรงฉายในคราวเดียวกันแต่ชัดกว่ามาก


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 22 ส.ค. 14, 22:38
ผมกำลังพยายามตอบคำถามของตนเอง ว่าใครเป็นผู้ตกแต่งพระบวรฉายาลักษณ์ และด้วยเหตุผลอะไร

ขอแกะรอยจากพระบวรฉายาลักษณ์ที่ทรงฉายในปี ๒๔๐๖ หลังจากทรงได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ Legion d'honneur ที่พระเจ้านโปเลียนที่๓แห่งฝรั่งเศส ทรงส่งมาถวาย


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 22 ส.ค. 14, 22:51
ข้อความโดยเพ็ญชมพู
การเจออีกสำเนาหนึ่ง คราวนี้มียี่ห้อช่างภาพอะดิครับ

เรื่องใหญ่ละท่าน ตกลงต้องเพิ่มช่างภาพเข้าไปอีกหนึ่ง เป็นสี่
พระรูปนี้ สหายจากแดนไกลส่งมาให้ชื่นชม เจ้าตัวภูมิใจมาก บอกว่าทรงเสด็จไปถ่ายถึงสิงค์โปร์
แต่ช่างภาพหรือใครสักคนเขียนสลักหลังผิด บอกว่าเป็นพระเจ้าแผ่นดินที่หนึ่ง ยังดีที่โลโก้จะผิดไม่ได้ คือห้องภาพ A Sachtler

ผมรีบคัดค้านสหายในทันทีว่า ช้าก่อนประเพณีไทยนั้น เจ้านายชั้นสูงไม่เคยออกนอกประเทศ เพิ่งยกเลิกเมื่อรัชกาลที่ 5 นี้เอง
ดังนั้น เป็นไปได้มากสุดคือ ห้องภาพแซคเล่อร์นี้ เข้ามาฉายพระรูป

กรณีพระบรมรูปชิ้นนี้ เราจะลงความเห็นว่าเป็นฝีมือผู้ใดดีล่ะ ท่าน

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=2474.0;attach=3124;image)
ผมว่าอีตานี่เลยครับ นาย A Sachtler ที่อยู่สิงคโปรนี่แหละ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯท่านมิเคยเสด็จไปทรงถายรูปกับหมอ และหมอก็ไม่เคยมาเมืองไทยเพื่อถ่ายรูปอะไร แต่คงได้พระบวรฉายาลักษณ์จากใครสักคน แล้วลงมือตกแต่งภาพด้วยความชำนาญ เอาเหรียญตราเดิมของพระองค์ท่านออก แล้วเอาเครื่องราชย์ของฝรั่งเศสใส่ลงไปแทน สำเร็จผลลงด้วยความภาคภูมิใจมาก ขนาดอัดใส่แผ่นพับพะยี่ห้อของหมอออกจำหน่ายเลยทีเดียว

ดีนะที่คนไทยในสยามมิได้บ้าจี้ไปกับหมอ พระบวรฉายาลักษณ์ที่ทางราชการนำออกแสดงหรือเผยแพร่ จะใช้องค์จริงตลอด ไม่เคยเอาของปลอมของหมอออกแสดงเลย





กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 22 ส.ค. 14, 23:04
ผมพยายามจะแกะรอยต่อไป แล้วเครื่องหมายที่ทรงประดับในพระบวรฉายาลักษณืดั้งเดิมคือดวงตราอะไร คุณหนุ่มรัตนสยามจะช่วยผมค้นหาได้ไหมครับ


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 23 ส.ค. 14, 08:32
รูปของคุณหนุ่มรัตนสยามแทบจะดูไม่ออกว่าทรงอุ้มพระกุมารหรือพระกุมารีอยู่ แต่องค์นี้ทรงฉายในคราวเดียวกันแต่ชัดกว่ามาก

ภาพทรงอุ้มพระโอรสหรือพระธิดา ในภาพที่แสดงนี้ปรากฎ ๒ พระองค์นะครับ ดูให้ดีๆ จะเห็นทั้งรัชกาลที่ ๔ และสมเด็จพระเทพศิรินทรฯ ทรงอุ้มอยู่ด้วย


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 23 ส.ค. 14, 08:35
ส่วนภาพแสดงให้เห็นนี้เป็นภาพถ่ายรัชกาลที่ ๔ พร้อมพระธิดา ส่งไปเป็นของขวัญให้แก่ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา มีความพิเศษคือ ใช้เทคนิคการลงสีให้กับภาพ ซึ่งเป็นงานฝีมือชั้นเยี่ยมของคนโบราณ

ที่กล่าวว่าเป็นพระธิดา เนื่องจากในเอกสารจากอับบราฮัมลิงคอร์น กล่าวไว้ว่าท่านได้รับสิ่งของจากสยามพร้อมรูปถ่ายพร้อมด้วยพระธิดาน้อยๆของพระองค์ครับ


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 23 ส.ค. 14, 10:03
ภาพลายเส้นขยายบริเวณหน้าอก จากหนังสือการเดินทางของ อองรี มูโอต์


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 23 ส.ค. 14, 10:14
ผมว่า ภาพเขียนที่มาจากภาพวาดที่หารายละเอียดมืได้เช่นนี้ ศิลปืนก็ใช้ Verb to Dow สถานเดียว พิจารณาแล้วเชื่อไม่ได้ครับ


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 23 ส.ค. 14, 10:32
ในนิทรรศการตะวันออกพบตะวันตก จัดที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ วังหน้า(ซึ่งกำลังเปิดให้ชมฟรีจนถึงสิ้นเดือนสิงหาคมนี้) มีพระบวรสาทิศลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯภาพหนึ่งจัดแสดงไว้ เป็นภาพสีน้ำมันฝีมือศิลปินไทยนิรนามร่วมสมัยท่านขรัวอินโข่ง จึงออกแนวแบนๆเหมือนจิตรกรรมฝาผนังสักหน่อย เอาเถอะ อย่าไปวิจารณ์พระพักตร์ท่านว่าเหมือนหรือไม่เหมือนเลย เอาตรงดาราที่ทรงประดับ ท่านศิลปินก็ดูจะเคอะเขินกระมืดกระเมี้ยนเขียนไว้แค่เสี้ยวเดียว ทั้งๆที่คงจะต้องได้เห็นของจริง แต่ก็พอมองออกว่าเป็นดวงตราแบบไทยๆ ไม่ใช่ของฝรั่งมังค่าชาติใด (ซึ่งนี่กระมังที่เป็นต้นเหตุของการปลอมแปลงพระบวรสาทิศลักษณ์ให้ Go inter ขี้นสักหน่อย)


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 23 ส.ค. 14, 10:41
ในสมัยต้นรัชกาลที่๔ สยามยังไม่มีเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตามคติฝรั่ง จวบจนกลางรัชกาล พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯจึงทรงสร้างดวงตราเครื่องราชอิสริยาภรณ์ขึ้น สำหรับพระองค์ท่านและพระอนุชา ตลอดจนพระราชทานแด่เจ้านาย ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่หลายๆท่านด้วย

องค์ที่พระราชทานพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ เป็นดวงตราไอยราพต ดูรูปพรรณสันฐานเป็นรูปไข่ มีแฉกแล้ว ไม่น่าจะเป็นที่ทรงประดับที่เห็นในพระบวรฉายาลักษณ์


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 23 ส.ค. 14, 10:43
ผมว่า ภาพเขียนที่มาจากภาพวาดที่หารายละเอียดมืได้เช่นนี้ ศิลปืนก็ใช้ Verb to Dow สถานเดียว พิจารณาแล้วเชื่อไม่ได้ครับ

อาก็อย่าเพิ่งติเรือทั้งโกลนซิครับ ผมขอส่งภาพให้อาช่วย Verb to View ดูสักเล็กน้อยว่า เทคโนโลยีการแกะลายเส้นในสมัยรัชกาลที่ ๔ - ๕ ก่อนที่จะแทรกภาพไปในหนังสือนั้นก้าวหน้าพอสมควร (ไม่เหมือนยุคอยุธยา - คอร์เฟอร์ดในสมัย ร.๒)

จึงขอนำมาเปรียบเทียบให้ชมกันระหว่างภาพลายเส้น และภาพต้นฉบับ ซึ่งอย่างน้อยการแกะภาพลายเส้นนั้น แกะขึ้นโดยอาศัยภาพถ่ายเป็นหลัก ย่อมจะมีร่องรอยอะไรบ้าง


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 23 ส.ค. 14, 10:49
^
ก็รูปชุดนี้ของคุณมันมีรายละเอียดพอสมควรนี่ เขาก็เขียนได้เหมือนซิ
แล้วที่ผมว่า ภาพเขียนที่มาจากภาพวาดที่หารายละเอียดมิได้เช่นนี้ ศิลปินก็ใช้ Verb to Dow สถานเดียว พิจารณาแล้วเชื่อไม่ได้ครับ

มันจริงไม่ใช่หรือ จะว่าผมติเรือทั้งโกลนได้ยังไง


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 23 ส.ค. 14, 10:56
ในสมัยต้นรัชกาลที่๔ สยามยังไม่มีเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตามคติฝรั่ง จวบจนกลางรัชกาล พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯจึงทรงสร้างดวงตราเครื่องราชอิสริยาภรณ์ขึ้น สำหรับพระองค์ท่านและพระอนุชา ตลอดจนพระราชทานแด่เจ้านาย ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่หลายๆท่านด้วย

องค์ที่พระราชทานพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ เป็นดวงตราไอยราพต ดูรูปพรรณสันฐานเป็นรูปไข่ มีแฉกแล้ว ไม่น่าจะเป็นที่ทรงประดับที่เห็นในพระบวรฉายาลักษณ์

ทีแรกก็คิดอยู่ว่าอาจจะเป็นตราช้างเหมือนกัน แต่ดูตรานั้นกลมใหญ่มีความสูงประมาณระยะ ๒ กระดุม ในขณะที่ตราช้างสูงห่างประมาณช่วง ๑ กระดุมเอง

แต่ทั้งนี้เมื่อเห็นภาพจากขรัวอินโข่งวาดไว้ เป็นกระดุมสีเขียวลงยามีรูปสมอเรือ ช่างละเอียดนัก ส่วนดวงตรามีลายบัวรอบ คิดว่าจะเป็นโครงสร้างของผ้าทำเป็นโบว์รอบๆ รองไว้อีกชั้นก็น่าจะเป็นได้


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 23 ส.ค. 14, 11:00
แต่ทั้งนี้เมื่อเห็นภาพจากขรัวอินโข่งวาดไว้ เป็นกระดุมสีเขียวลงยามีรูปสมอเรือ ช่างละเอียดนัก ส่วนดวงตรามีลายบัวรอบ คิดว่าจะเป็นโครงสร้างของผ้าทำเป็นโบว์รอบๆ รองไว้อีกชั้นก็น่าจะเป็นได้
[/quote]
ความข้างบนนี้สิ น่าคิดยิ่งนัก ส่วนตัวเหรียญ จะเป็นดวงนี้ได้ไหมเล่า


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 23 ส.ค. 14, 11:02
แต่ทั้งนี้เมื่อเห็นภาพจากขรัวอินโข่งวาดไว้ เป็นกระดุมสีเขียวลงยามีรูปสมอเรือ ช่างละเอียดนัก ส่วนดวงตรามีลายบัวรอบ คิดว่าจะเป็นโครงสร้างของผ้าทำเป็นโบว์รอบๆ รองไว้อีกชั้นก็น่าจะเป็นได้
ความข้างบนนี้สิ น่าคิดยิ่งนัก ส่วนตัวเหรียญ จะเป็นดวงนี้ได้ไหมเล่า
[/quote]

จับเทียบกันดู ดูลักษณะแล้วรอบๆ เหมือนจะทำเป็นริบบี้นรอบๆ ท่านขรัวอินโข่งวาดเป็นดอกบัว มีสอดสีแดงไว้ด้วย


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 23 ส.ค. 14, 11:18
เหรียญแต้เม้ง เป็นไปได้ยาก

๑. ถามเพื่อนนักสะสมเหรียญระดับรัชกาลที่ ๔ ให้ข้อมูลว่า เส้นผ่านศูนย์กลางแต้เม้งทองคำ ขนาด ๔.๕๐ เซนติเมตร มีทั้งหูเชื่อม และเหรียญเปลือย (นำมาเชื่อมติดเข็มกลัดกันเอง)

    การทำหูเชื่อมนั้นรัชกาลที่ ๔ โปรดเกล้าฯให้สร้างเพื่อแจกชาวจีน ให้ทำการประดับเหรียญแบบถักด้ายร้อยแบบมงคล แขวนคอ เพื่อเข้าเฝ้า

๒. สมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ จะสร้างสรรค์เหรียญนี้มาติดกับโบว์ + แต่งชุดทหารเรือ เพื่ออะไร ?

๓. ผมว่าเหรียญแต้เม้ง ขนาด ๔.๕๐ เซนติเมตร นำมากลัดเสื้อพร้อมโบว์รองนัน ผมว่าเหรียญจะมีขนาดเล็กเกินไปนะครับอา


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 23 ส.ค. 14, 12:19
งั้น..ท่านทำดวงตราประจำพระองค์ ตราจุฑามณีของท่านได้หรือเปล่าล่ะ


ก็ย่อมได้นะ


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 27 ส.ค. 14, 12:12
ดูตราที่พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงษาธิราชสนิท ซิครับมีลักษณะที่คล้ายกัน


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 27 ส.ค. 14, 12:13
พระบวรฉายาลักษณ์สมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ กับดวงตรา ๒ ดวง ด้านบนเป็นตราช้าง คิดว่าจะเป็นตราปริศนาหรือไม่  ???


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 30 ส.ค. 14, 11:11
สำหรับพระบวรฉายาลักษณ์สมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ภาพนี้เป็นสมบัติส่วนตัวของพี่อรรถดา คอมันตร์ ที่นำลงพิมพ์ในหนังสือสยามเรเนสซอง และได้ทำการขออนุญาตจากพี่อรรถดาในการใช้ภาพนี้เพื่อเป็นการศึกษาและค้นคว้าโดยไม่มีผลประโยชน์ทางแสวงหากำไร เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
จึงขอขอบพระคุณมา ณ ที่นี้ด้วย

สำหรับคำถามที่เจ้าของภาพตั้งคำถามไว้คือ

๑. เหตุไรต้องมีการตกแต่งภาพ เพื่อจุดประสงค์อะไร ในเมื่อได้รับเครื่องราชย์จากฝรั่งเศสก็ควรจะถ่ายภาพให้สมพระเกียรติยศไม่ดีกว่าหรือ สมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ทรงอนุมัติด้วยไหม

๒. ช่างภาพเป็นใคร ไทย หรือเทศ ?



กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 30 ส.ค. 14, 11:20
อ้างถึง
สำหรับคำถามที่เจ้าของภาพตั้งคำถามไว้คือ

๑. เหตุไรต้องมีการตกแต่งภาพ เพื่อจุดประสงค์อะไร ในเมื่อได้รับเครื่องราชย์จากฝรั่งเศสก็ควรจะถ่ายภาพให้สมพระเกียรติยศไม่ดีกว่าหรือ สมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ทรงอนุมัติด้วยไหม

๒. ช่างภาพเป็นใคร ไทย หรือเทศ ?

ผมคิดว่า กระทู้นี้ได้มีคำตอบให้ทั้งหมดแล้วทั้งสองข้อ

แต่ยังมีคำถามที่ค้างอยู่หาข้อสรุปมิได้ คือในพระบวรฉายาลักษณ์องค์ที่ถูกต้อง ทรงประดับเหรียญอะไร
ขอฝากไว้ก่อนก็แล้วกัน


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 30 ส.ค. 14, 11:25
อ้างถึง
สำหรับคำถามที่เจ้าของภาพตั้งคำถามไว้คือ

๑. เหตุไรต้องมีการตกแต่งภาพ เพื่อจุดประสงค์อะไร ในเมื่อได้รับเครื่องราชย์จากฝรั่งเศสก็ควรจะถ่ายภาพให้สมพระเกียรติยศไม่ดีกว่าหรือ สมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ทรงอนุมัติด้วยไหม

๒. ช่างภาพเป็นใคร ไทย หรือเทศ ?

ผมคิดว่า กระทู้นี้ได้มีคำตอบให้ทั้งหมดแล้วทั้งสองข้อ

แต่ยังมีคำถามที่ค้างอยู่หาข้อสรุปมิได้ คือในพระบวรฉายาลักษณ์องค์ที่ถูกต้อง ทรงประดับเหรียญอะไร
ขอฝากไว้ก่อนก็แล้วกัน


ก็ได้อธิบายแล้วในคำตอบต้นๆว่า มีภาพถ่ายและตกแต่ง นี่ผมกำลังติดต่อซื้อภาพจากต่างประเทศ คงมีอะไรดีๆ ให้ค้นคว้่าต่อไป


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 30 ส.ค. 14, 14:04
สำหรับพระบวรฉายาลักษณ์สมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ภาพนี้เป็นสมบัติส่วนตัวของพี่อรรถดา คอมันตร์ ที่นำลงพิมพ์ในหนังสือสยามเรเนสซอง และได้ทำการขออนุญาตจากพี่อรรถดาในการใช้ภาพนี้เพื่อเป็นการศึกษาและค้นคว้าโดยไม่มีผลประโยชน์ทางแสวงหากำไร เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
จึงขอขอบพระคุณมา ณ ที่นี้ด้วย

ดิฉันไม่ทราบว่าพระบวรฉายาลักษณ์ในค.ห.ไหน  ที่เป็นลิขสิทธิ์ของคุณอรรถดา    เพิ่งทราบจากคุณ siamese วันนี้เองว่าพระบวรฉายาลักษณ์ติดลิขสิทธิ์อยู่    ขอเรียนคุณอรรถดาด้วยความเคารพว่า เรือนไทยไม่ประสงค์จะละเมิดลิขสิทธิ์ของใคร     แต่ถ้าจะลบกระทู้ทั้งหมด  ก็เสียดายเนื้อหาความรู้ที่คุณ siamese คุณ NAVARAT.C  และคุณเพ็ญชมพูช่วยกันศึกษาค้นคว้าเป็นวิทยาทานแก่คนอ่าน   ถ้าต้องพลอยถูกลบทิ้งไปด้วยก็น่าเสียดาย

ดังนั้นดิฉันจึงหาทางออกด้วยการเปลี่ยนภาพประกอบเท่าที่จะทำได้  เป็นภาพที่ปรากฏอยู่ในกูเกิ้ลอย่างแพร่หลายมานานแล้ว   คิดว่าคงไม่มีผู้มาทักท้วง   ขอแต่เพียงให้บอกว่าจะลบภาพไหนอีก  หรือจะให้ซูมแต่ภาพเครื่องราชอิสริยาภรณ์มาลงแทน   ก็จะดำเนินการให้ตามนั้นค่ะ


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 30 ส.ค. 14, 21:28
พระบรมฉายาลักษณ์และพระบวรฉายาลักษณ์ทุกภาพ รวมทั้งภาพถ่ายโบราณที่มีอายุเกิน๕๐ปี ถือเป็นสมบัติของชาติ ไฉนบุคคลใดบุคคลหนึ่งจะอ้างว่ามีลิขสิทธื์ในภาพใดภาพหนึ่งได้ สิทธิ์ดังกล่าวเกิดขึ้นได้อย่างไร

แล้วทำไมจึงขอให้ลบกระทู้ หรือลบภาพที่ถูกนำมาลงเพื่อการศึกษานี้ด้วย
ถ้าจะเอาออกไป ผมขอประท้วงครับ


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 31 ส.ค. 14, 08:54
เรื่องนี้ต้องอธิบายกันยาว  จะค่อยๆลำดับเรื่อง ตามนี้

1    สาเหตุคือ   มีผู้แจ้งมาทางคุณ siamese  ว่า ตนเองเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์พระบวรฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ที่คุณ NAVARAT.C  นำมาลงในตอนต้นกระทู้นี้
คือพระรูปนี้ค่ะ

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=6059.0;attach=50320;image)

แต่พระบวรฉายาลักษณ์ทั้งสองภาพนี้  คุณ NAVARAT.C  นำมาจากหนังสือ “สมุดภาพรัชกาลที่๔” ของคุณพิพัฒน์ พงศ์รพีพร ซึ่งคุณพิพัฒน์ระบุไว้ใต้ภาพแรกว่า "เป็นสมบัติของ MEP  จาก ศักดา ศิริพันธุ์" ภาพหลังไม่ได้ระบุ
จุดประสงค์ของคุณ NAVARAT.C  คือเพื่อจะขอความกระจ่างว่าพระรูปไหนเป็นของแท้ พระรูปไหนตกแต่งขึ้น เพราะดวงตราเครื่องราชฯ ในภาพไม่ตรงกัน

2    ผู้ที่บอกว่าตนเองเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์พระบวรฉายาลักษณ์  ชื่อคุณอรรถดา    ได้เตือนผ่านคุณ siamese มาว่า ในฐานะผู้ถือครองภาพต้นฉบับ   กำลังจะฟ้องร้องเรือนไทยว่าเอาภาพมาใช้     คุณ siamese จึงเห็นว่า เพื่อความสบายใจ  ขอให้ลบกระทู้ดีกว่า

3    ดิฉันไม่ยอมลบกระทู้  เพราะเห็นว่าถ้าลบ  ความรู้ที่ท่านสมาชิกเข้ามาโพสไว้ในกระทู้นี้ก็จะพลอยสูญหายไปด้วย     น่าเสียดาย   ถ้าจะลบก็ขอลบแต่ภาพที่ติดลิขสิทธิ์   
เมื่อแจ้งกลับไปยังคุณ siamese   ก็ได้คำตอบว่าถ้าลบเฉพาะภาพ  กระทู้ก็จะขาดๆวิ่นๆ   ซึ่งก็เป็นความจริง

4   ในตอนแรกคุณ siamese ไม่ได้บอกชัดเจนว่าภาพไหน แต่ทำลิ้งค์ไปที่ภาพในค.ห. 38   ดิฉันก็ไปเปลี่ยนภาพในค.ห.นั้น  มารู้ทีหลังว่าไม่ใช่ หลังจากตอบค.ห.ที่ 42 ไปแล้ว    ว่าที่จริงเป็นภาพในค.ห.แรก ที่คุณ NAVARAT.C นำมาลง

5   คุณ siamese ได้พยายามแก้ปัญหาโดยการขออนุญาตคุณอรรถดา เพื่อนำภาพมาลง  คุณอรรถดาก็ยินยอมให้ใช้ภาพนี้
คุณ siamese จึงนำข้อความข้างล่างนี้มาลง
สำหรับพระบวรฉายาลักษณ์สมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ภาพนี้เป็นสมบัติส่วนตัวของพี่อรรถดา คอมันตร์ ที่นำลงพิมพ์ในหนังสือสยามเรเนสซอง และได้ทำการขออนุญาตจากพี่อรรถดาในการใช้ภาพนี้เพื่อเป็นการศึกษาและค้นคว้าโดยไม่มีผลประโยชน์ทางแสวงหากำไร เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
จึงขอขอบพระคุณมา ณ ที่นี้ด้วย



กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 31 ส.ค. 14, 09:13
หลังจากโพสต์ค.ห. 42 ไปแล้ว     ดิฉันก็ลองไปค้นกูเกิ้ลดูถึงที่มาของพระบวรฉายาลักษณ์ที่เป็นประเด็นลิขสิทธิ์   เพราะยังมีความข้องใจบางประการอยู่
ดิฉันไม่มีข้อข้องใจในเรื่องการถือครองพระบวรฉายาลักษณ์สมเด็จพระปิ่นเกล้าฯที่คุณอรรถดามี   เพราะไปเจอคำให้สัมภาษณ์ของคุณอรรถดาในเรื่องนี้  และเห็นพระรูปของสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯหนึ่งในสองภาพที่คุณอรรถดานำมาลง   จึงขอยกมาประกอบในค.ห.นี้เพื่อความเข้าใจให้ชัดเจนขึ้น

(http://i1.wp.com/hunt-magazine.com/wp-content/uploads/2013/02/%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B8%94%E0%B8%B2-10.jpg?resize=536%2C536)

จะเห็นได้ว่าเป็นภาพถ่ายพระอิริยาบถเดียวกันกับที่ลงในหนังสือ สมุดภาพรัชกาลที่ ๔ ของคุณพิพัฒน์ พงศ์รพีพร     ซึ่งคุณ NAVARAT.C ไปอ้างอิงมาอีกต่อหนึ่ง

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=6059.0;attach=50320;image)

สิ่งที่ดิฉันข้องใจก็คือ   คุณอรรถดามีลิขสิทธิ์ หรือว่ามีสิทธิ์ ในภาพพระรูปสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ กันแน่?

ถ้ามีลิขสิทธิ์ แปลว่าใครจะนำพระรูปสมเด็จพระปิ่นเกล้าที่ถ่ายโดยห้องภาพสิงคโปร์ เวอร์ชั่นนี้  ไม่ว่าจะมีใบเดียวหรือกี่ใบ  อยู่ ณ แห่งหนใดในโลก   ไปเผยแพร่โดยไม่ได้รับอนุญาตของคุณอรรถดาไม่ได้  ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์   คุณอรรถดาสามารถฟ้องร้องได้ตามที่ท่านได้แจ้งผ่านคุณ siamese มาให้ดิฉันทราบ     ถ้าจะเอาเรื่องกันทุกคน ทั้งคุณพิพัฒน์ คุณ NAVARAT.C  และดิฉัน ตกเป็นจำเลยหมด
แต่ถ้าคุณอรรถดา มีสิทธิ์  ในฐานะที่พระรูปใบนี้เป็นทรัพย์สินที่คุณอรรถดาไปซื้อมาด้วยราคาแพง   สิทธิ์นี้จำกัดอยู่แค่ว่า ใครอื่นๆ ไม่สามารถจะไปเอารูปใบที่อยู่ในครอบครองของท่านมาทำอะไรตามใจชอบ    ต้องได้รับอนุญาตจากท่าน
แต่ไม่รวมพระรูปใบอื่นๆในพระอิริยาบถเดียวกันนี้ที่ตกอยู่ในส่วนอื่นๆของโลกและในความครอบครองของคนอื่น

ตามความเข้าใจของดิฉัน  คุณอรรถดา มีสิทธิ์ แต่มิใช่มีลิขสิทธิ์


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 31 ส.ค. 14, 09:37

แต่ถ้าคุณอรรถดา มีสิทธิ์  ในฐานะที่พระรูปใบนี้เป็นทรัพย์สินที่คุณอรรถดาไปซื้อมาด้วยราคาแพง   สิทธิ์นี้จำกัดอยู่แค่ว่า ใครอื่นๆ ไม่สามารถจะไปเอารูปใบที่อยู่ในครอบครองของท่านมาทำอะไรตามใจชอบ    ต้องได้รับอนุญาตจากท่าน
แต่ไม่รวมพระรูปใบอื่นๆในพระอิริยาบถเดียวกันนี้ที่ตกอยู่ในส่วนอื่นๆของโลกและในความครอบครองของคนอื่น

ตามความเข้าใจของดิฉัน  คุณอรรถดา มีสิทธิ์ แต่มิใช่มีลิขสิทธิ์

ก็เป็นเพราะว่าพระบรมรูปสมเด็จพระปิ่นเกล้า พระรูปนี้พี่อรรถดา กว้านค้นหาทั่วยุโรปมาแล้วเป็นภาพเก่าโบราณแท้ พบเพียง ๒ ภาพเท่านั้นคือ สวย กับ ไม่สวย ท่านเก็บมาหมดเลย จึงเชื่อได้ว่ามีอยู่เพียง ๒ ชิ้นต้นฉบับอยู่ในมือ ส่วนภาพที่ปล่อยออกมาตามหนังสือตามแหล่งออนไลน์ต่างๆ ก็ต้องตามพิสูจน์กันไปครับ

เพราะว่าภาพสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ นี้มีความพิเศษมาก ไม่พบเห็นที่ใดมาก่อนเลย ส่วนมากพระองค์จะทรงฉายพระรูปเอียงๆ และยิ่งมีการตกแต่งสายสะพายทหารเรือให้กับรูป ยิ่งเพิ่มความน่าสงสัยให้มากขึ้น


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 31 ส.ค. 14, 09:43
ขณะนี้ คุณอรรถดายังมั่นใจหรือครับว่าตนมีลิขสิทธิ์พระบวรฉายาลักษณ์ดังกล่าวตามกฏหมาย


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 31 ส.ค. 14, 09:53
ดิฉันเข้าใจว่าห้องภาพสิงคโปร์ที่ถ่ายพระรูปสมเด็จพระปิ่นเกล้า  ไม่ได้ถ่ายเอาไว้แค่ใบเดียว     แต่ว่าได้อัดก๊อปปี้ไว้จำนวนหนึ่ง ตามแบบห้องภาพที่ถ่ายบุคคลสำคัญของโลก ย่อมไม่ถ่ายเอาไว้แค่ใบเดียว  แต่อัดภาพไว้มากๆเพื่อจำหน่ายแก่บุคคลที่สนใจ   เพราะภาพถ่ายไม่เหมือนภาพวาด จะอัดก๊อปปี้ไว้เท่าใดก็ถือว่าแท้เหมือนกันหมด  ไม่ถือว่าเป็นภาพปลอม    ผิดกับภาพวาดของศิลปินที่วาดได้หนเดียว  

ด้วยเหตุนี้พระบวรฉายาลักษณ์ในพระอิริยาบถนี้จึงมีให้เห็นในประเทศไทยหลายพระรูปด้วยกัน   แม้แต่ที่หอจดหมายเหตุก็คงจะมี  ยังไม่รวมภาพในครอบครองของเอกชนอีกหลายท่าน      ถ้าไม่มีหลายใบแล้ว คุณศักดา ศิริพันธุ์และคุณพิพัฒน์ พงศ์รพีพรจะได้มาจากไหน  ในเมื่อเทียบรายละเอียดในภาพกับพระรูปที่คุณอรรถดาครอบครองอยู่  เห็นได้ว่าคนละใบกัน

เมื่อคุณ NAVARAT.C  อ้างพระรูปนี้จากหนังสือภาพของคุณพิพัฒน์    จึงแสดงว่า ท่านมิได้นำมาจากพระรูปที่คุณอรรถดามีอยู่    ดังนั้นคุณอรรถดาก็คงสบายใจได้ว่า ไม่มีการละเมิดสิทธิ์พระรูปในครอบครองของคุณ

ต่อไปจะขอพูดเรื่องกฎหมายลิขสิทธิ์สักเล็กน้อย เพื่อประโยชน์แก่ท่านผู้อ่านเรือนไทย


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 31 ส.ค. 14, 10:03
ต้องขอทำความเข้าใจกับ อ.เทาชมพู กับ อ. Navarat.c ครับว่า ภาพที่มีเจ้าของครอบครองคือภาพสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ รูปนี้ซึ่งมีด้านหลังเป็นลายมือ กับช่างภาพที่สิงคโปร์ครับ (รูปอื่นไม่เกี่ยว)
ดังนั้นภาพพระปิ่นเกล้าฯภาพอื่นไม่เกี่ยวนะครับ เป็นลิขสิทธิ์ของทางสำนักพิมพ์ครับ ดังนั้นจะใช้ภาพนี้ก็ต้องขอกับทางเจ้าของต้นฉบับครับ

คือใครใช้ภาพพระปิ่นนี้ ตอนนี้มีเจ้าของนะครับจะใช้ต้องทำการขออนุญาตเพราะภาพนี้พิมพ์ลงในหนังสือภาพเก่า


ภาพติดลิขสิทธิ์ ขอลบค่ะ


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 31 ส.ค. 14, 10:11
คุณเพ็ญชมพูเป็นคนเอามาลงไม่ใช่หรือ คุณเพ็ญไปเอามาจากไหนเล่า

แล้วที่เห็นนี้ เป็นสองภาพนะครับ ซ้ายกับขวา ที่อ้างลิขสิทธิ์เป็นภาพไหน เฉพาะภาพที่เขียนไว้หรือทั้งสองภาพ


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 31 ส.ค. 14, 10:24
ลิขสิทธิ์้เป็นสิทธิ์ประเภทหนึ่งในทรัพย์สิน แต่กฎหมายจำแนกออกมาว่าไม่ใช่ทรัพย์สินเงินทองทั่วไป   แต่เป็นทรัพย์สินทางปัญญา  
ผู้สร้างสรรค์ย่อมมีสิทธิ์ในทรัพย์สินจากปัญญาของตน   ภาพถ่ายก็เป็นทรัพย์สินทางปัญญาประเภทหนึ่ง

แต่ทรัพย์สินทางปัญญานี้ไม่เหมือนแก้วแหวนเงินทองที่จะตกทอดไปให้ลูกหลานเจ้าของทรัพย์ได้แบบไม่มีกำหนดเวลา     ถ้าเจ้าคุณปู่ของท่านผู้อ่านเรือนไทยเป็นเจ้าของที่ดินแถวถนนสีลม จะยกโฉนดที่ดินให้คุณผู้เป็นหลาน  ท่านทำได้  คุณจะยกต่อไปให้เหลนคุณก็ทำได้เช่นกัน  เหลนอยู่มาจนแก่เป็นทวด  จะยกต่อให้เหลนของตนอีก ก็ไม่มีกฎหมายที่ไหนห้าม

แต่ถ้าคุณปู่เป็นเจ้าของห้องภาพ  ท่านได้ถ่ายภาพเจ้านายสยามไว้ตั้งแต่รัชกาลที่ 4   (โดยเจ้านายพระองค์นั้นอนุญาตให้คุณปู่ครอบครอง พิมพ์จำหน่ายได้)  ถือว่าคุณปู่มีลิขสิทธิ์ในพระรูป   ใครอยากได้พระรูปต้องมาซื้อจากห้องภาพของท่าน  แต่เมื่อคุณปู่สร้างงานนี้ได้ครบ 50 ปี แล้ว   ลิขสิทธิ์ในภาพฝีมือคุณปู่หมดไปแล้วค่ะ   พระรูปเจ้านายที่คุณปู่ถ่ายนั้นกลายเป็นของสาธารณะ  ใครจะทำสำเนาอัดก๊อปปี้ เอาไปขายไปตีพิมพ์ที่ไหนก็ทำได้โดยอิสระ  

แต่ถ้าใครไปซื้อกระจกภาพที่คุณปู่เก็บเป็นสมบัติส่วนตัวมา  เขาคนนั้นก็มีสิทธิ์ในกระจกภาพนั้น ใครจะมาหยิบกระจกภาพไปอัดรูปจากกระจกตามใจชอบไม่ได้  แต่เขาไม่ได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ภาพเจ้านายสยามอย่างที่คุณปู่เคยเป็น  เพราะท่านเป็นคนสร้างสรรค์ผลงานภาพถ่าย   คนซื้อมาทีหลังไม่ได้เป็นคนสร้างงานชิ้นนี้    คุณปู่เป็นคนเดียว

ช่วยดิฉันอ่าน พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตราที่ 19-26 ดูหน่อยได้ไหม  เผื่อใครมีพ.ร.บ.ฉบับใหม่กว่านี้ ช่วยนำมาให้ดูด้วยนะคะ

:: ส่วนที่ 4 อายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์

มาตรา 21 ลิขสิทธิ์ในงานภาพถ่าย โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง หรืองานแพร่เสียงแพร่ภาพให้มีอายุห้าสิบปีนับแต่ได้สร้างสรรค์งานนั้นขึ้น แต่ถ้าได้มีการโฆษณางานนั้นในระหว่างระยะเวลาดังกล่าว ให้ลิขสิทธิ์มีอายุห้าสิบปี นับแต่ได้มี การโฆษณาเป็นครั้งแรก

ส่วนบทประพันธ์ บทกวี  ก็เช่นกัน   มีอายุยาวกว่าภาพถ่าย   คือยาวถึง 50 ปีหลังเจ้าของถึงแก่กรรม  แยกไปอีกมาตราหนึ่งคือ
มาตรา 19
มาตรา 19  ภายใต้บังคับ มาตรา 21 และ มาตรา 22 ลิขสิทธิ์ตาม พระราชบัญญัตินี้ให้มีอยู่ตลอดอายุของผู้สร้างสรรค์ และมีอยู่ต่อไปอีกเป็นเวลาห้าสิบปี นับแต่ผู้สร้างสรรค์ถึงแก่ความตาย
ในกรณีที่มีผู้สร้างสรรค์ร่วม ลิขสิทธิ์ในงานดังกล่าวให้มีอยู่ตลอดอายุของ ผู้สร้างสรรค์ร่วม และมีอยู่ต่อไปอีกเป็นเวลาห้าสิบปีนับแต่ผู้สร้างสรรค์ร่วมคนสุดท้ายถึงแก่ ความตาย

จากนั้นกลายเป็นสมบัติของสาธารณะ   เช่นทุกวันนี้ใครจะเอางานของสุนทรภู่  หรือนายมีศิษย์สุนทรภู่  มาพิมพ์จำหน่ายก็ทำได้  ไม่ต้องไปขอซื้อจากลูกหลานเหลนของท่าน





กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 31 ส.ค. 14, 10:25
คุณเพ็ญชมพูเป็นคนเอามาลงไม่ใช่หรือ คุณเพ็ญไปเอามาจากไหนเล่า

คือจะขอทำความเข้าใจและช่วยแก้ต่างให้พี่อรรถดา ให้เพื่อนสมาชิกฟัง ดังนี้ครับ

1. ทางเจ้าของภาพไม่ได้เป็นเจ้าของภาพพระปิ่นเกล้าที่อาจารย์ท่านอื่นถืออยู่แต่ท่านเป็นเจ้าของภาพที่มีช่างภาพและลายเซ็นต์ชื่อ จากสิงคโปร์

2. การใช้ภาพดังกล่าวมีลิขสิทธิ์ของทางสำนักพิมพ์ ก็เพียงบอกเครดิทและที่มาของภาพเพียงเท่านี้ เพราะเป็นการศึกษาไม่ได้เพื่อการค้า  เนื่องจากภาพนี้ได้ถูกตีพิมพ์ลงในหนังสือภาพเก่าโดยสำนักพิมพ์เรียบร้อยแล้วเมื่อไม่กี่ปีนี้เองครับ จึงมีลิขสิทธิ์ทางสำนักพิมพ์

3. เจ้าของภาพเกรงว่าจะมีการเข้าใจผิดไปมากกว่านี้ จึงขออธิบายผ่านมายังผมขอให้เข้าใจว่า ท่านได้ภาพนี้มานานแล้วแต่ภาพเกิดหลุดออกไปเมืองนอก  เนื่องจากสาเหตุอะไรก็แล้วแต่ ซึ่งท่านสะสมภาพนี้มานานกว่าปี 2008 แล้ว ดังนั้นภาพพระปิ่น + ด้านหลังลายเซ็นต์นี้เป็นของมีลิขสิทธ์ จะใช้ภาพต้องขอสำนักพิมพ์เพื่อให้เครดิทสำหรับการศึกษาครับ

ส่วนขอ้ความที่กล่าวว่า "สหายจากแดนไกล" ณ เวลานั้นๆ เจ้าของภาพได้ถือต้นฉบับเป็นที่เรียบร้อยแล้วครับ


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 31 ส.ค. 14, 10:53
อ้างถึง
ดังนั้นภาพพระปิ่น + ด้านหลังลายเซ็นต์นี้เป็นของมีลิขสิทธ์ จะใช้ภาพต้องขอสำนักพิมพ์เพื่อให้เครดิทสำหรับการศึกษาครับ

ผมเห็นด้วยครับ

แต่การที่คุณเพ็ญอ้างคุณพิพัฒน์ ผมก็ถือว่าคุณเพ็ญให้เครดิตของภาพแล้ว คุณเพ็ญคงไม่ทราบว่าเพื่อนจากแดนไกลที่ถูกเอ่ยถึงคือใคร และคงไม่ทราบว่าภาพคู่นี้ได้รับการตีพิมพ์ในหนังสือของสำนักพิมพ์ใด การให้เครดิตถูกต้องตัวคนจึงเป็นไปได้ยาก

เมื่อเจ้าของลิขสิทธิ์ต้องการเพียงให้ให้เครดิต ก็อยู่ในวิสัยที่จะให้เกียรติกันได้ ผมเชื่อว่าบัดนี้ผู้อ่านในเรือนไทยคงทราบแล้วว่า ถ้าไม่มีคนอย่างคุณอรรถดา คอมันตร์ ดั้นด้นไปพบพระบวรฉายาลักษณ์นั้นในยุโรปแล้วซื้อมา คนไทยคงไม่มีโอกาสได้เห็น ฝรั่งคงซื้อไปเก็บเรียบร้อยแล้ว
ในส่วนตัวผม ขอแสดงความชื่นชมและขอคารวะ


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 31 ส.ค. 14, 10:55
คุณเพ็ญชมพูเป็นคนเอามาลงไม่ใช่หรือ คุณเพ็ญไปเอามาจากไหนเล่า

คือจะขอทำความเข้าใจและแก้ต่างให้พี่อรรถดาดังนี้ครับ

1. ทางเจ้าของภาพไม่ได้เป็นเจ้าของภาพพระปิ่นเกล้าที่อาจารย์ท่านอื่นถืออยู่แต่ท่านเป็นเจ้าของภาพที่มีช่างภาพและลายเซ็นต์ชื่อ จากสิงคโปร์

2. การใช้ภาพดังกล่าวมีลิขสิทธิ์ของทางสำนักพิมพ์ ก็เพียงบอกเครดิทและที่มาของภาพเพียงเท่านี้ เพราะเป็นการศึกษาไม่ได้เพื่อการค้า

3. เจ้าของภาพเกรงว่าจะมีการเข้าใจผิดไปมากกว่านี้ จึงขออธิบายผ่านมายังผมขอให้เข้าใจว่า ท่านได้ภาพนี้มานานแล้วแต่ภาพเกิดหลุดออกไปเมืองนอก เนื่องจากสาเหตุอะไรก็แล้วแต่ ซึ่งท่านสะสมภาพนี้มานานกว่าปี 2008 แล้ว ดังนั้นภาพพระปิ่น + ด้านหลังลายเซ็นต์นี้เป็นของมีลิขสิทธ์ จะใช้ภาพต้องขอสำนักพิมพ์เพื่อให้เครดิทสำหรับการศึกษาครับ

ส่วนขอ้ความที่กล่าวว่า "สหายจากแดนไกล" ณ เวลานั้นๆ เจ้าของภาพได้ถือต้นฉบับเป็นที่เรียบร้อยแล้วครับ

ขอถอดความจากคำชี้แจงของคุณ siamese ว่า...

1    เมื่อคุณพิพัฒน์นำพระรูปสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯที่ถ่ายโดยห้องภาพสิงคโปร์มาลงในเรือนไทย เมื่อปี 2008   สิทธิ์การครอบครองภาพนั้นตกอยู่กับคุณอรรถดาเรียบร้อยแล้ว
2     แต่คุณพิพัฒน์มิได้นำภาพนี้มาจากคุณอรรถดา แต่บอกว่าได้มาจาก "สหายจากแดนไกล"
3    ดังนั้นคุณพิพัฒน์จึงมิได้ขออนุญาตจากคุณอรรถดา  ในปี 2008
4     เมื่อภาพนี้ถูกคุณเพ็ญชมพูนำมาอ้างอิงอีกครั้งในปี 2014   คุณอรรถดาจึงทักท้วงมา  โดยเห็นว่าเป็นภาพลิขสิทธิ์ของท่าน

ขออธิบายเรื่องข้อยกเว้นในการละเมิดลิขสิทธิ์ นะคะ เพื่อประโยชน์แก่ท่านผู้อ่านเรือนไทย
เนื่องจากกระทู้เกือบทุกกระทู้มีภาพประกอบ   ดิฉันใส่เองบ้าง ท่านสมาชิกใส่บ้าง    ถ้าเข้าใจเรื่องลิขสิทธิ์ ท่านจะได้สบายใจว่าการใส่ภาพประกอบเป็นการละเมิดหรือไม่    เพราะเหตุใด

ส่วนที่ ๖
ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์

มาตรา ๓๒ การกระทำแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของบุคคลอื่นตามพระราชบัญญัตินี้ หากไม่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงาน อันมีลิขสิทธิ์ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์ และไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินสมควร มิให้ถือว่า เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ภายใต้บังคับบทบัญญัติในวรรคหนึ่ง
การกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ตามวรรคหนึ่ง มิให้ถือว่าเป็น การละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้กระทำดังต่อไปนี้
(๑) วิจัยหรือศึกษางานนั้น อันมิใช่การกระทำเพื่อหากำไร
(๒) ใช้เพื่อประโยชน์ของตนเอง หรือเพื่อประโยชน์ของตนเองและบุคคลอื่นในครอบครัวหรือญาติสนิท
(๓) ติชม วิจารณ์ หรือแนะนำผลงานโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น
(๔) เสนอรายงานข่าวทางสื่อสารมวลชนโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น
(๕) ทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดง หรือทำให้ปรากฏ เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาของศาลหรือเจ้าพนักงาน ซึ่งมีอำนาจตามกฎหมาย หรือในการรายงานผลการพิจารณาดังกล่าว
(๖) ทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดง หรือทำให้ปรากฏ โดยผู้สอนเพื่อประโยชน์ ในการสอนของตน อันมิใช่การกระทำเพื่อหากำไร
(๗) ทำซ้ำ ดัดแปลงบางส่วนของงาน หรือตัดทอน หรือทำบทสรุปโดยผู้สอน หรือสถาบันศึกษา เพื่อแจกจ่ายหรือจำหน่ายแก่ผู้เรียนในชั้นเรียนหรือในสถาบันศึกษา ทั้งนี้ ต้องไม่เป็นการกระทำเพื่อหากำไร
(๘) นำงานนั้นมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการถามและตอบในการสอบ
มาตรา ๓๓ การกล่าว คัด ลอก เลียน หรืออ้างอิงงานบางตอนตามสมควรจากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ โดยมีการรับรู้ถึง ความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้ปฏิบัติตามมาตรา ๓๒ วรรคหนึ่ง
มาตรา ๓๔ การทำซ้ำโดยบรรณารักษ์ของห้องสมุดซึ่งงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ หากการทำซ้ำนั้นมิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อหากำไร และได้ปฏิบัติตามมาตรา ๓๒ วรรคหนึ่ง ในกรณีดังต่อไปนี้
(๑) การทำซ้ำเพื่อใช้ในห้องสมุดหรือให้แก่ห้องสมุดอื่น
(๒) การทำซ้ำงานบางตอนตามสมควรให้แก่บุคคลอื่น เพื่อประโยชน์ในการ วิจัยหรือการศึกษา


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 31 ส.ค. 14, 11:00
อ้างถึง
ดังนั้นภาพพระปิ่น + ด้านหลังลายเซ็นต์นี้เป็นของมีลิขสิทธ์ จะใช้ภาพต้องขอสำนักพิมพ์เพื่อให้เครดิทสำหรับการศึกษาครับ

ผมเห็นด้วยครับ

แต่การที่คุณเพ็ญอ้างคุณพิพัฒน์ ผมก็ถือว่าคุณเพ็ญให้เครดิตของภาพแล้ว คุณเพ็ญคงไม่ทราบว่าเพื่อนจากแดนไกลที่ถูกเอ่ยถึงคือใคร และคงไม่ทราบว่าภาพคู่นี้ได้รับการตีพิมพ์ในหนังสือของสำนักพิมพ์ใด การให้เครดิตถูกต้องตัวคนจึงเป็นไปได้ยาก

เมื่อเจ้าของลิขสิทธิ์ต้องการเพียงให้ให้เครดิต ก็อยู่ในวิสัยที่จะให้เกียรติกันได้ ผมเชื่อว่าบัดนี้ผู้อ่านในเรือนไทยคงทราบแล้วว่า ถ้าไม่มีคนอย่างคุณอรรถดา คอมันตร์ ดั้นด้นไปพบพระบวรฉายาลักษณ์นั้นในยุโรปแล้วซื้อมา คนไทยคงไม่มีโอกาสได้เห็น ฝรั่งคงซื้อไปเก็บเรียบร้อยแล้ว
ในส่วนตัวผม ขอแสดงความชื่นชมและขอคารวะ


เจ้าของภาพท่าน Nice ครับ คุยกันแล้วก็ต้องชื่นชมพี่อรรถ เนื่องจากภาพนี้ได้ตีพิมพ์ลงในหนังสือไม่กีปีที่ผ่านมา ดังนั้นจึงมีลิขสิทธิ์ของทางสำนักพิมพ์ พี่เขาก็เป็นห่วงจึงได้ติงมา และได้ให้เครดิทเรียบร้อยแล้ว และเพื่อทางความรู้ไม่ใช่ทางการค้าพี่เขาก็ให้ครับ

ส่วนเรื่อง อ.เทาชมพู กล่าวถึงกฏหมายลิขสิทธ์ ควรตั้งกระทู้ใหม่ โดยหาตัวอย่างหลายๆ เคส มาศึกษาจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 31 ส.ค. 14, 11:06
สำหรับพระบวรฉายาลักษณ์สมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ภาพนี้เป็นสมบัติส่วนตัวของพี่อรรถดา คอมันตร์ ที่นำลงพิมพ์ในหนังสือสยามเรเนสซอง และได้ทำการขออนุญาตจากพี่อรรถดาในการใช้ภาพนี้เพื่อเป็นการศึกษาและค้นคว้าโดยไม่มีผลประโยชน์ทางแสวงหากำไร เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
จึงขอขอบพระคุณมา ณ ที่นี้ด้วย

ดิฉันขอขอบคุณคุณอรรถดาเช่นเดียวกับคุณ siamese    ที่อนุญาตให้ใช้ภาพนี้ได้  แต่ในเมื่อภาพนี้ได้มีลิขสิทธิ์ของสำนักพิมพ์ซ้อนเข้ามาอีก   เพื่อคลี่คลายความลำบากใจของทุกฝ่าย ดิฉันจะขอลบพระบวรฉายาลักษณ์ของสมเด็จพระปิ่นเกล้าที่มีชื่อห้องภาพสิงคโปร์ออกไป และหาพระรูปอื่นในลักษณะเดียวกันมาแทนที่      เพราะจุดมุ่งหมายของกระทู้นี้ เน้นที่เครื่องราชอิสริยาภรณ์ในพระรูป   ไม่ใช่ตัวพระรูปเอง ดังนั้นพระรูปอื่นที่คล้ายกันก็คงจะใช้ได้

และขอประทานโทษคุณอรรถดาที่ทำให้ยุ่งยากเสียเวลา  ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของทางฝ่ายดิฉัน ที่เกิดขึ้นด้วยค่ะ   เมื่อรู้แล้วก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ จะพยายามแก้ไขอย่างดีที่สุด


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 31 ส.ค. 14, 11:07
ไม่น่าที่จะต้องลบนี่ครับ

เอาภาพเดิม(คู่กัน)นั่นแหละ paintคำว่า "ภาพมีลิขสิทธิ์" ลงไปแทน น่าจะจบด้วยดี คนอ่านๆมาถึงหลังๆจะได้ไม่เสียอรรถรส



กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 31 ส.ค. 14, 11:13
สำหรับพระบวรฉายาลักษณ์สมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ภาพนี้เป็นสมบัติส่วนตัวของพี่อรรถดา คอมันตร์ ที่นำลงพิมพ์ในหนังสือสยามเรเนสซอง และได้ทำการขออนุญาตจากพี่อรรถดาในการใช้ภาพนี้เพื่อเป็นการศึกษาและค้นคว้าโดยไม่มีผลประโยชน์ทางแสวงหากำไร เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
จึงขอขอบพระคุณมา ณ ที่นี้ด้วย

ดิฉันขอขอบคุณคุณอรรถดาเช่นเดียวกับคุณ siamese    ที่อนุญาตให้ใช้ภาพนี้ได้  แต่ในเมื่อภาพนี้ได้มีลิขสิทธิ์ของสำนักพิมพ์ซ้อนเข้ามาอีก   เพื่อคลี่คลายความลำบากใจของทุกฝ่าย ดิฉันจะขอลบพระบวรฉายาลักษณ์ของสมเด็จพระปิ่นเกล้าที่มีชื่อห้องภาพสิงคโปร์ออกไป และหาพระรูปอื่นในลักษณะเดียวกันมาแทนที่      เพราะจุดมุ่งหมายของกระทู้นี้ เน้นที่เครื่องราชอิสริยาภรณ์ในพระรูป   ไม่ใช่ตัวพระรูปเอง ดังนั้นพระรูปอื่นที่คล้ายกันก็คงจะใช้ได้

และขอประทานโทษคุณอรรถดาที่ทำให้ยุ่งยากเสียเวลา  ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของทางฝ่ายดิฉัน ที่เกิดขึ้นด้วยค่ะ   เมื่อรู้แล้วก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ จะพยายามแก้ไขอย่างดีที่สุด

ไม่ต้องลบครับ อ.เทาชมพู / พี่ท่านได้โทรมาคุยกับผมแล้ว ไม่ติดใจอะไรและฝากนับถือ อ.เทาชมพู และ อ. Navarat ด้วยครับ สิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดนี้พี่ท่านได้ทิ้งท้ายไว้อย่างเดียวว่า ไม่อยากให้คนไทยเข้าใจผิดไปว่าภาพนี้อยู่เมืองนอก ตอนนี้ภาพนี้อยู่เมืองไทย โดยคนไทยแล้ว และทำเพื่อความรู้ยิ่งสนับสนุนเพียงแต่ให้เครดิทก็เพียงพอ เพราะพี่ท่านลงทุนซื้อภาพ ( ราคาหลายบาทนะคับ เท่าที่ผมได้ยินมา - หนุ่มสยาม)  ดังนี้แล้วกระทู้คุยเรื่องค้นหาตราปริศนาต่อไปละกันครับ


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 31 ส.ค. 14, 11:22
ที่อยากลบเพราะเกรงใจสำนักพิมพ์ค่ะ  ปกติดิฉันก็มีมิตรภาพที่ดีกับสำนักพิมพ์ทั้งหลายในฐานะผู้มีหน้าที่การงานเกี่ยวข้องกันอยู่แล้ว
เราควรเกรงใจเขาเสียก่อนเขาจะมาเกรงใจเรา

ตอนนี้ยิ่งรู้ว่าภาพราคาเป็นล้านๆก็ยิ่งกลัว      ถ้าพลาดพลั้งแม้แต่นิดเดียว   ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ในเรื่องอะไรก็ตาม    ดิฉันจะขายเว็บใช้หนี้ก็ไม่คุ้มแม้แต่หนึ่งในร้อย   จะไปรบกวนท่านนวรัตนและท่านหนุ่มสยาม ก็มิบังอาจอยู่แล้ว


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 31 ส.ค. 14, 11:29
อ้างถึง
ตอนนี้ยิ่งรู้ว่าภาพราคาเป็นล้านๆก็ยิ่งกลัว      ถ้าพลาดพลั้งแม้แต่นิดเดียว   ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ในเรื่องอะไรก็ตาม    ดิฉันจะขายเว็บใช้หนี้ก็ไม่คุ้มแม้แต่หนึ่งในร้อย   จะไปรบกวนท่านนวรัตนและท่านหนุ่มสยาม ก็มิบังอาจอยู่แล้ว

รบกวนได้เลยครับ ไม่ต้อง เ ก ง จ า ย


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 31 ส.ค. 14, 11:40
มาช่วยพี่อรรถดา ค้นหาว่า A. Sachtler เป็นใคร เป็นคนถ่ายหรือไม่ มีจุดประสงค์อะไร กันดีกว่า


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 31 ส.ค. 14, 12:49
A. Sachtler มีชื่อว่า August Sachtler มีน้องชายชื่อ E. Hermann Sachtler

นาย August Sachtler เริ่มต้นเปิดสตูดิโอถ่ายภาพที่สิงคโปร์กับเพื่อนชื่อ K. Feilberg ก่อนราว พ.ศ. ๒๔๐๖ และได้ถ่ายภาพบ้านเมืองสหพันธรัฐมลายา และสิงคโปร์ไว้หลายภาพ


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 31 ส.ค. 14, 13:59
อ้างถึง
อ้างจาก: NAVARAT.C ที่ วันนี้ เวลา 10:11

คุณเพ็ญชมพูเป็นคนเอามาลงไม่ใช่หรือ คุณเพ็ญไปเอามาจากไหนเล่า

คุณเพ็ญไม่ได้เข้ามาตอบ สงสัยจะหยุดเล่นเน็ตวันวีคเอ็น แต่ผมก็เจอที่มาที่ไปแล้ว

http://www.reurnthai.com/index.php?topic=2474.120 (http://www.reurnthai.com/index.php?topic=2474.120)


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: hobo ที่ 31 ส.ค. 14, 14:57
อันนี้ไม่มีลิขสิทธิ์ครับ นำไปใช้ได้ จากหนังสือของ  Henri Mouhot


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 31 ส.ค. 14, 15:20
ท่านเจ้าของภาพให้ภาพมาเพื่อการศึกษาและต่อยอดถึงที่มาและที่ไปเพื่อให้ค้นคว้ากันต่อไป

ภาพพระองค์เจ้า (คงถ่ายภาพบุคคลสายวังหน้า) ซึ่งน่าจะอยู่ในคราวเดียวกัน ด้านหลังการ์ดลงชื่อสตูดิโอของ August Sachtler


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 31 ส.ค. 14, 15:58
^
อยากรู้จริงว่าคือพระองค์ใด


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 31 ส.ค. 14, 16:38
ช่างภาพน่าจะเป็นคนเดียวกัน และถ่ายภาพในคราวเดียวกัน


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 31 ส.ค. 14, 16:45
รวมถึงนี่ด้วย


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 01 ก.ย. 14, 07:47
สองภาพซ้ายมือถ่ายไว้ในคราวเดียวกัน แต่ไม่ใช่สำหรับภาพขวามือ


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 01 ก.ย. 14, 07:49
เห็นด้วยครับ

แต่...คงต้องได้คุยกันต่อยาว


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 01 ก.ย. 14, 07:52
พระรูปพระราชโอรสของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าที่ยังไม่สามารถระบุพระนามได้
(และยังเป็นปริศนาอีกมาก)


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 01 ก.ย. 14, 08:49
ขอเสนอท่านเจ้าเรือน คุณหนุ่ม และคุณนวรัตน

ตั้งแต่ # ๖๕ คงสามารถแยกเป็นกระทู้ "ปริศนาพระรูปพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้า" ได้อีกกระทู้  ;D


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 01 ก.ย. 14, 08:53
เห็นด้วยครับ
แต่ไปเปิดกระทู้ใหม่ดีกว่า ตัดกระทู้นี้ไปความจะขาดหายไปอีก เสียอรรถรส
เอาเป็นว่า เราจะไปกล่าวถึงพระโอรสในกระทู้ใหม่ ส่วนกระทู้นี้จะตามต่อให้เจอว่า พระบวรฉายาลักษณ์อันเป็นปริศนา ใครเป็นผู้ถ่าย ใครเป็นผู้ปลอมแปลง


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 01 ก.ย. 14, 08:57
หน้าต่อไปนี้ ผมถ่ายภาพมาจากหนังสือ "กษัตริย์กับกล้อง" ของคุณศักดา ศิริพันธุ์ ซึ่งสำนักพิมพ์ได้มีข้อความแจ้งไว้ข้างล่าง คำว่าอัญญประกาศนั้น รอยอินให้ความหมายว่า ข้อความที่คัดลอกมาจากแหล่งอื่น


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 01 ก.ย. 14, 09:01
ภาพชุด ฝีมือบาดหลวง ปาเลอกัวส์ และคาร์โนตี ถ่ายในพ.ศ. ๒๕๐๕ ทั้งหมดเก็บอยู่ที่สถาบัน MEP กรุงปารีส รวมพระบรมฉายาลักษณ์องค์นี้


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 01 ก.ย. 14, 09:02
และพระบวรฉายาลักษณ์องค์นี้


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 01 ก.ย. 14, 09:07
ภาพทั้งสองมีความคมชัดสูง สูงกว่าที่ประชาชนทั่วไปจะหาได้จากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ เชื่อว่าเป็นภาพที่ทำสำเนามาจากต้นฉบับจริงๆ ข้อมูลเรื่องชื่อผู้ถ่ายจึงน่าเชื่อถือมาก


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 01 ก.ย. 14, 09:18
ส่วนพระบรมฉายาลักษณ์องค์นี้

La lettre impériale dont nous étions porteurs était un nouveau pas dans la voie d’intimité cordiale ouverte en 1856 par le traité de M. de Montigny, intimité à laquelle l’ambassade siamoise venue en France en 1861, ainsi que la grand’croix de la légion d’honneur envoyée au roi de Siam en 1863

เอกสารของฝรั่งเศสข้างบนระบุว่า เครื่องราชอิสริยาภรณ์ grand’croix de la légion d’honneurนั้น ได้จัดส่งมาถวายพระเจ้าแผ่นดินสยามในปี ๑๘๖๓ หรือพ.ศ. ๒๔๐๖ เวลานั้นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าทรงมีพระชนมายุ ๕๙ พระชนษา ส่วนพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าทรงมีพระชนมายุ ๕๕ พระชนษา แต่กว่าจะเดินทางจากปารีสมาถึงกรุงเทพ อาจจะหลังจากนั้นหลายเดือน และมิใช่ได้รับมาปุ๊บจะทรงเรียกช่างภาพมาถ่ายปั๊บ คงต้องเตรียมฉลองพระองค์อีกหลายเดือนกว่าจะพร้อม

หนังสือเล่มเดียวกัน ได้กล่าวว่า พระบรมฉายาลักษณ์ทรงเครื่องราชอิสริยาภรณ์ดังกล่าวพร้อมสายสะพายข้างล่าง เป็นฝีมือของนายจอห์น ทอมสัน ถ่ายในปี ๒๔๐๘


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 01 ก.ย. 14, 09:35
พระบวรฉายาลักษณ์ทั้งสองภาพ ทรงถ่ายเนื่องจากวาระเดียวกัน ขณะนั้นนายจอห์น ทอมสันได้ตระเวนถ่ายภาพในสยามอยู่สองปี เป็นไปได้มากทีเดียวที่จะได้เฝ้าพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้า และบันทึกภาพพระมหากษัตริย์พระองค์ที่๒ และเจ้านายวังหน้าไว้ แต่น่าเสียดายที่ภาพชุดนี้ไปตกหล่นเสียอย่างไรไม่ทราบ เลยไม่ปรากฏข้อมูล


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 01 ก.ย. 14, 09:39
อ้างถึง
อ้างจาก: NAVARAT.C ที่ วันนี้ เวลา 10:11

คุณเพ็ญชมพูเป็นคนเอามาลงไม่ใช่หรือ คุณเพ็ญไปเอามาจากไหนเล่า

คุณเพ็ญไม่ได้เข้ามาตอบ สงสัยจะหยุดเล่นเน็ตวันวีคเอ็น แต่ผมก็เจอที่มาที่ไปแล้ว

http://www.reurnthai.com/index.php?topic=2474.120 (http://www.reurnthai.com/index.php?topic=2474.120)

พระรูปปริศนาของรัชกาลที่ ๔ ที่สงสัยว่ามีการตกแต่งภาพที่คุณพิพัฒน์บอกว่าได้รับมาจาก "สหายจากแดนไกล" ลงในเรือนไทย พ.ศ. ๒๕๕๑ ยังมีพระรูปเดียวกัน (ซ้าย) ซึ่งคุณพิพัฒน์นำมาลงไว้ในเว็บวิชาการและเรือนไทยตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๙

(http://www.vcharkarn.com/uploads/37/37341.jpg)

พระปิ่นเกล้า มีพระรูปตกทอดมาน้อยมากครับ
 

คุณนวรัตนสามารถหาที่มาที่ไปโดยการกดที่ลิงก์ "อ้างจาก : pipat  ;D



กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 01 ก.ย. 14, 09:42
ครับ เรากำลังหาข้อมูลกันอยู่นี่แหละครับ


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 01 ก.ย. 14, 09:54
สำหรับตัวผมเชื่อว่า พระบรมฉายาลักษณ์และพระบวรฉายาลักษณ์สององค์นี้ ถ่ายโดยฝีมือนายจอห์น ทอมสัน ในปี ๒๔๐๘ โดยสังเกตุฝีไม้ลายมือ ต้นฉบับคงคมชัดมาก เหมือนพระรูปพระโอรสที่คุณอรรถดาฝากคุณหนุ่มสยามมาลงให้ใหม่

สังเกตุได้ว่า พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าทรงปรากฏอาการประชวรแล้ว พระโอษฐ์เริ่มผิดรูป เมื่อเทียบกับอีกภาพหนึ่งซึ่งถึงแม้จะทรงเครื่องแบบเหมือนกัน แต่พระมาลาต่างกัน (อาจจะถ่ายโดยนายจิต) ภาพที่ทรงนั่งไขว่ห้าง แม้จะก่อนหน้าปีสองปี แต่ยังทรงดูดีอยู่มาก
พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเส็จสรรคตปึ ๒๔๑๐



กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 01 ก.ย. 14, 10:18
(ภาพข้างบนผมลงผิด และได้แก้ไขแล้ว)

คราวนี้ต้องมาหาว่า ภาพทั้งสองภาพ(พระปิ่นเกล้าและพระโอรส)ที่นายแชสเลอร์ จากสิงคโปรเอาไปใส่ปกของตัวออกจำหน่ายนั้น มีที่มาที่ไปอย่างไร นายแชสเลอร์ได้มาสยามและได้เข้าเฝ้าเพื่อถ่ายพระบวรรูปและพระรูปเจ้านายจริงหรือ หรือว่านายแชสเลอร์ไม่เคยแม้แต่จะมาถ่ายรูปใดๆในสยาม(คืออาจจะมาเที่ยว แต่ไม่ได้แบกกล้องมาถ่ายรูป)

เห็นคุณหนุ่มเปรยๆว่าจะตามเสาะหานายเชสเลอร์ เจอภาพถ่ายที่นายเชสเลอร์มาถ่ายในสยามไหมครับ
ต้องขอคุณเพ็ญชมพูช่วยด้วย ตรงนี้ผมหมดปัญญาจริงๆ


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 01 ก.ย. 14, 10:24
สำหรับตัวผมเชื่อว่า พระบรมฉายาลักษณ์และพระบวรฉายาลักษณ์สององค์นี้ ถ่ายโดยฝีมือนายจอห์น ทอมสัน ในปี ๒๔๐๘ โดยสังเหตุฝีไม้ลายมือ ต้นฉบับคงคมชัดมาก เหมือนพระรูปพระโอรสที่คุณอรรถดาฝากคุณหนุ่มสยามมาลงให้ใหม่

สังเกตุได้ว่า พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าทรงปรากฏอาการประชวรแล้ว พระโอษฐ์เริ่มผิดรูป เมื่อเทียบกับอีกภาพหนึ่งซึ่งถึงแม้จะทรงเครื่องแบบเหมือนกัน แต่พระมาลาต่างกัน (อาจจะถ่ายโดยนายจิต) ภาพที่ทรงนั่งไขว่ห้าง แม้จะก่อนหน้าปีสองปี แต่ยังทรงดูดีอยู่มาก
พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเส็จสรรคตปึ ๒๔๑๐



ผมไม่เชื่อว่าจะเป็นภาพถ่ายของ จอนห์ ทอมสัน เนื่องจากได้อ่านในบันทึกการเดินทางเข้ามายังสยามของจอนห์ ทอมสัน จะบรรยายไว้โดยละเเอียดพอสมควร ว่าวันนี้พบใคร ทำอะไรบ้าง โดยเฉพาะฝรั่งที่ตื่นเต้นที่จะเข้าไปถ่ายพระบรมฉายาลักษณ์ หรือ First King of Siam ซึ่งจอนห์ ทอมสันก็บรรยายไว้ว่า ทรงแต่งชุดอะไรบ้าง เสด็จลงประทับให้ถ่ายภาพ

และเมื่ออยู่สยามสักสองอาทิตย์ ก็ได้รับอนุญาตให้ไปถ่ายภาพที่กัมพูชา (หลายเดือน) จึงกลับมาที่กรุงเทพอีกครั้ง ในการกลับมาที่กรุงเทพครั้งนี้เอง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทรงให้จอนห์ ทอมสันไปดูพิธีโสกันต์เจ้านาย ๕ พระองค์ของวังหน้าได้ Second King แต่ไม่ได้มีบันทึกไว้ว่ามีการถ่ายภาพและหรือพบพระปิ่นเกล้าฯ แต่อย่างใดเลย

หลังจากนั้นก็จอนห์ ทอมสันก็ไปหาหมอบรัดเล ไปเที่ยวอยุธยา ไปเที่ยวเขาวัง เพชรบุรี ซึ่งก็มีร่องรอยของภาพปรากฎในอัลบัมของทอมสัน ถ่ายภาพก็มีให้เห็น แต่ไม่มีพระบวรฉายาลักษณ์สมเด็จพระปิ่นเกล้าแต่อย่างใด ดังนี้ผมจึงไม่ค่อยเชื่อว่าจะเป็นฝีมือของทอมสัน  เป็นผู้ถ่ายภาพนี้


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 01 ก.ย. 14, 10:31
พระบรมฉายาลักษณ์แบบฝรั่งเศส ที่ทอมสันได้บรรยายไว้ดังนี้

"As that would have been a result distasteful to his royal highness, we patiently waited, and at length the King reappeared, dressed this time in a sort of French Field Marshal's Uninform. There was no stockings. The portrait was a great success, and his majesty afterwards sat in his court robe, requesting me to place him where and how I pleased."


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 02 ก.ย. 14, 10:03
พระบวรฉายาลักษณ์คู่นี้ หมายเลข 1 และ 2 ดูเหมือนจะคล้ายกัน แต่ความจริงแล้วไม่ใช่เป็นการถ่ายภาพจากมุมกล้องต่างกัน (ถ่ายกันสองตัว) แต่เป็น การถ่ายภาพต่างเวลากันครับ


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 02 ก.ย. 14, 10:06
อึมม์ Take 1 and Take 2


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 02 ก.ย. 14, 11:10
ช่าวโฆษณาเกี่ยวกับห้องภาพ Sachtler ที่สิงคโปร์ มีรูปจากหลายประเทศจำหน่ายรวมทั้งจากสยามด้วย นอกจากนี้ใน พ.ศ. ๒๔๑๒ นาย Sachtler ได้ปีนขึ้นไปถ่ายภาพบนหลังคาโบสถ์ เกิดลื่นไถลตกลงมาจากหลังคาโบสถ์สูง ๘๐ ฟุต หัวกะโหลกคงร้าว

ที่มา หอจดหมายเหตุสิงคโปร์


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 02 ก.ย. 14, 11:23

ผมไม่เชื่อว่าจะเป็นภาพถ่ายของ จอนห์ ทอมสัน เนื่องจากได้อ่านในบันทึกการเดินทางเข้ามายังสยามของจอนห์ ทอมสัน จะบรรยายไว้โดยละเเอียดพอสมควร ว่าวันนี้พบใคร ทำอะไรบ้าง โดยเฉพาะฝรั่งที่ตื่นเต้นที่จะเข้าไปถ่ายพระบรมฉายาลักษณ์ หรือ First King of Siam ซึ่งจอนห์ ทอมสันก็บรรยายไว้ว่า ทรงแต่งชุดอะไรบ้าง เสด็จลงประทับให้ถ่ายภาพ

และเมื่ออยู่สยามสักสองอาทิตย์ ก็ได้รับอนุญาตให้ไปถ่ายภาพที่กัมพูชา (หลายเดือน) จึงกลับมาที่กรุงเทพอีกครั้ง ในการกลับมาที่กรุงเทพครั้งนี้เอง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทรงให้จอนห์ ทอมสันไปดูพิธีโสกันต์เจ้านาย ๕ พระองค์ของวังหน้าได้ Second King แต่ไม่ได้มีบันทึกไว้ว่ามีการถ่ายภาพและหรือพบพระปิ่นเกล้าฯ แต่อย่างใดเลย

หลังจากนั้นก็จอนห์ ทอมสันก็ไปหาหมอบรัดเล ไปเที่ยวอยุธยา ไปเที่ยวเขาวัง เพชรบุรี ซึ่งก็มีร่องรอยของภาพปรากฎในอัลบัมของทอมสัน ถ่ายภาพก็มีให้เห็น แต่ไม่มีพระบวรฉายาลักษณ์สมเด็จพระปิ่นเกล้าแต่อย่างใด ดังนี้ผมจึงไม่ค่อยเชื่อว่าจะเป็นฝีมือของทอมสัน  เป็นผู้ถ่ายภาพนี้

เจอแล้วครับ ใครคือผู้ถ่ายภาพเจ้านายวังหน้าทุกพระองค์  

ทีมาของ  ฟรานซิส. จิตร ช่างภาพผู้ยิ่งใหญ่ชาวสยาม
http://www.sarakadee.com/feature/2002/03/francis.htm (http://www.sarakadee.com/feature/2002/03/francis.htm)

ประวัติย่อจากราชกิจจานุเบกษา

      แรกสุดต้องดูหนังสือราชกิจจานุเบกษา หน้า ๗๓ ก่อน ราชกิจจานุเบกษาเล่มที่อ้าง ถือเป็นหลักฐานสำคัญที่สุดที่ช่วยบอกประวัติย่อของนายจิตรในคราวถึงแก่กรรม หากไม่มีราชกิจจานุเบกษาฉบับนี้แล้ว การหาปีเกิดปีตายจะลำบากมาก
      หนังสือกล่าวว่า นายจิตรซึ่งเวลานั้นได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์และราชทินนามว่า หลวงอัคนีนฤมิตร เจ้ากรมหุงลมประทีป ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๓๔ อายุ ๖๑ ปี
      หนังสือไม่ได้บอกปีเกิด จึงต้องเอาอายุไปลบปีตาย ได้เป็นปีเกิด พ.ศ. ๒๓๗๓ ซึ่งเท่ากับนายจิตรเกิดเมื่อต้นสมัย รัชกาลที่ ๓ หรือเมื่อ ๑๗๒ ปีมาแล้วนับจาก พ.ศ. ๒๕๔๕
      ต่อไปหนังสือบอกแต่ว่าบิดานายจิตรชื่อตึง ทหารแม่นปืนฝ่ายพระราชวังบวร (วังหน้า) ไม่ระบุชื่อมารดา แล้วจากนั้นก็จับเข้าชีวิตราชการเลย ไม่มีการพูดถึงชีวิตวัยเด็กหรือพรรณนาฝีมือความสามารถใด ๆ ทั้งสิ้น เพราะข่าวตาย (ของเจ้านายกับข้าราชการ) ในหนังสือราชกิจจานุเบกษา นั้น แปลกนักที่ชอบพรรณนาอาการของโรคมากกว่าอย่างอื่น หนังสือว่านายจิตรเดิมเป็นมหาดเล็กหลวงอยู่เวรชิตภูบาล ได้รับพระราชทานเบี้ยหวัดปีละ ๕ ตำลึง ครั้นพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว (วังหน้า) สวรรคตใน พ.ศ. ๒๔๐๙ แล้ว นายจิตรก็ลงมาสมทบรับราชการในพระบรมมหาราชวัง (วังหลวง) หรือรับราชการกับพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นขุนสุนทรสาทิศลักษณ์ ช่างถ่ายรูปขึ้นกับกรมแสง (ว่าด้วยอาวุธ ไม่ใช่ลำแสง) ได้รับพระราชทานเบี้ยหวัดปีละชั่ง ห้าตำลึง
     จากนั้นได้เลื่อนเป็นหลวงอัคนีนฤมิตร เจ้ากรมหุงลมประทีป ซึ่งหมายถึงดูแลโรงแก๊ส พระราชทานเบี้ยหวัดปีละชั่งกับสิบตำลึง

อดีตเคยเป็นทหารแม่นปืนญวนอาสาถือคริตส์ สังกัดพระบวรราชวังของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อปรากฏฝีมือว่าเป็นช่างภาพระดับชาติที่ไม่แพ้ฝรั่ง จะโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ใครเป็นช่างภาพประจำราชสำนักวังหน้าเล่า


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 02 ก.ย. 14, 11:30
หมดธุระแล้วผมจะกลับมาว่าเรื่องนี้ต่อครับ

 
"การแอบอ้างผลงานของมิศฟะรันซิสจิต โดยช่างภาพระดับโลก"


การบรรยาย ณ แกเลอรี่ริมคลอง วันเสาร์ที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๕๓
พิพัฒน์ พงศ์รพีพร


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 02 ก.ย. 14, 11:48
หมดธุระแล้วผมจะกลับมาว่าเรื่องนี้ต่อครับ



จะไม่ค้นหาเหรียญที่กลัดหน้าอก กลมๆ ของพระปิ่นเกล้าฯ แล้วหรือ  ???


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 02 ก.ย. 14, 13:43
เรื่องเหรียญก็หาไป

เรื่องใครปลอมแปลงพระรูป และเส้นทางที่มันเป็นไป ก็อีกเรื่องนึงนะ แยกกันหาไม่ได้หรือ


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 02 ก.ย. 14, 13:49
ยังไงภาพนี้ก็ยังมีความลับอะไรหลายประการ

๑. ช่างภาพเป็นใคร

๒. ตกแต่งเครื่องราชย์ ทำไม

และในภาพเดียวกันนี้ภาพบน - ล่าง เป็นพระบวรฉายาลักษณ์สมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ แบบเดียวกัน แต่ต่างกันที่ด้านหลังซึ่งเป็นชื่อของช่างภาพ

ภาพหนึ่งเป็นของ A. Sachtler ส่วนภาพล่างเป็นของ ฟรานซิส จิตร ซึ่งมีสำเนาภาพที่หอจดหมายเหตุฯ ทั้งนี้ก็ต้องสืบต่อไปว่า สองช่างภาพนี้มาเกี่ยวข้องกันอย่างไร  ??? ใครลอกใคร ใครก๊อบใคร หรือ ไม่ก๊อบอาจจะซื้อขายภาพกัน


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 02 ก.ย. 14, 14:44
^
เยอะไปหรือเปล่า คุณหนุ่ม?
เรากำลังวิจัยหรือศึกษางานนั้น อันมิใช่การกระทำเพื่อหากำไร

ตกลงนาย August Sachtler นี่เคยมาเมืองไทยแล้วสร้างผลงานด้านการถ่ายภาพไว้หรือเปล่า คำตอบคือ--ไม่มี แต่อาจจะมาเที่ยว, ชอบปิ้ง
ชอปปิ้งอะไรบ้าง คำตอบคือ--เยอะแยะ หนึ่งในนั้นคือรูปถ่ายที่นายจิตรถ่ายไว้ รวมถึงพระบวรฉายาลักษณ์และเจ้านายบางองค์ของวังหน้า บางภาพนั้นก็คงจะซื้อต้นฉบับไปแบบเด็ดขาด ชนิดที่นายจิตรเองก็ไม่เหลืออะไรไว้

ไม่ต้องถามว่าเอาไปทำไม ก็เอาไปพะยี่ห้อของตัวเอง ขายลูกค้าฝรั่งยุโรปอเมริกันที่เดินทางผ่านสิงคโปรมา
สำหรับพระบวรฉายาลักษณ์องค์ดั้งเดิม ก็ใช้เทคนิกที่คุณหนุ่มขยายให้ดูแล้ว เติมแต่งสายยงยศและเครื่องราชย์ของฝรั่งเศสลงไป ก็ขายได้อีก

อย่างไรก็ดี มาถึงพ.ศ.ปัจจุบัน ภาพทุกภาพที่เรากำลังพูดกันในคคห.นี้ ไม่มีลิขสิทธิ์แล้ว มีแต่กรรมสิทธิ์ใน๒ภาพที่คุณอรรถดาเป็นเจ้าของ แต่ภาพหนึ่งนั้นก็มีผู้ลงไว้ในเน็ตนานนมก่อนหน้านี้ และคุณเพ็ญชมพูเชิญมาลงไว้ในกระทู้


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 02 ก.ย. 14, 14:58
หมดธุระแล้วผมจะกลับมาว่าเรื่องนี้ต่อครับ

 
"การแอบอ้างผลงานของมิศฟะรันซิสจิต โดยช่างภาพระดับโลก"


การบรรยาย ณ แกเลอรี่ริมคลอง วันเสาร์ที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๕๓
พิพัฒน์ พงศ์รพีพร

จากการบรรยายข้างต้นบางตอน พบว่าขนาดช่างภาพระดับโลกอย่างนายทอมสัน ยังซื้อภาพของนายจิตไปอ้างว่าเป็นฝีมือของตน นายจิตขายภาพให้ทุกคนที่มีเงินซื้อ และคงไม่สนใจด้วยว่าใครจะเอาภาพถ่ายของตนไปทำอะไร

จั บ ใ ต๋ ท อ ม สั น
เมื่อพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จกรุงลอนดอน พ.ศ. ๒๔๔๐ คราวประพาสยุโรปครั้งแรก มีผู้มาขอเฝ้าเป็น จำนวนมาก ชายสูงวัยผู้หนึ่ง เข้ามาแนะนำตัวว่า ข้าพระพุทธเจ้าเป็นผู้ฉายพระรูปพระองค์ เมื่อคราวโสกันต์ พ.ศ.๒๔๐๙ สามสิบปีมาแล้ว และได้ถวายรูปเหล่านั้น ทรงตอบแทนไปตามสมควร ปัจจุบัน รูปชุดนี้ยังเก็บรักษาที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ ชายคนนั้นชื่อ จอห์น ทอมสัน ชาวสก็อตผู้เป็นช่างภาพชั้นนำแห่งยุโรป ปีนั้นอายุ ๖๐

ทอมสัน เป็นเจ้าของผลงานสำคัญมากมายมาตั้งแต่เมื่อสามสิบปีก่อน จากการบุกไปถ่ายรูปนครวัดที่ป่าลึกเมืองเขมร เข้าไปบันทึกภาพประเทศจีนสมัยพระางซูสีไทเฮา  และที่สำคัญที่สุดคืองานชุด Street Life in London ผลงานภาพถ่ายบันทึกสังคม ชุดแรกของโลก ในปีที่เสด็จยุโรปนั้น ทอมสันย่างเข้าบั้นปลายของอาชีพแล้ว ต่อมาได้ขายรูปถ่ายและฟิล์มทั้งหมดให้กับมหาเศรษฐีเภสัชอุตสาหกรรม เซอร์ เวลคัม Sir Henry Solomon Wellcome (1853-1936) ปัจจุบันเราสามารถศึกษาข้อมูลชุดนี้ได้ ผ่านทางเวบไซท์สถาบันเวลลคัม

ท อ ม สั น เ ข้ า ม า สู่ ส ย า ม
ทอมสันมาปักหลักทำธุรกิจที่สิงค์โปรกับพี่ชาย เปิดห้องภาพและขายอุปกรณ์ ที่เกี่ยวข้อง วันหนึ่ง ได้อ่านหนังสือของอองรี มูโอต์ นักสำรวจผู้ยิ่งใหญ่ เรื่องนครโบราณในป่าดงดิบของเขมร ก็เกิด แรงบันดาลใจที่จะเข้ามาตามรอยบ้าง
ทอมสันขอแยกตัวจากพี่ชาย คงจะได้เงินส่วนแบ่งมามากพอ จึงเตรียมการที่จะเข้ามาสำรวจเขมรได้ เขามีหัวทางธุรกิจ ก่อนเข้ามาก็จ้างหมอบลัดเลให้ลงข่าวไว้ล่วงหน้า บอกกล่าวว่าจะเข้ามา และยินดีรับถ่ายรูปผู้สนใจในบางกอก นี่ก็คงเป็นการระดมทุนไปด้วยในตัว ทอมสันอยู่ในบางกอกประมาณหกเดือน ตั้งแต่เดือนกันยายน ๒๔๐๘ จนถึงต้นปี ๒๔๐๙ เพื่อรอหนังสืออนุญาตเข้าเขมร (ขณะนั้น เขมรยังเป็นประเทศราชของสยาม) ระหว่างนั้นก็ออกท่องเที่ยวไปถึงเพชรบุรี แะอยุธยา

สรุปความว่า ในที่สุดภาระกิจก็สำเร็จตามความประสงค์ ได้เนกะตีฟมาทั้งหมด ๖๐ แผ่น หมอบลัดเล ได้ลงประกาศอีกครั้งว่า ผู้สนใจเชิญมาดูได้ก่อนที่ช่างภาพจะเดินทางไปอังกฤษ เพื่อไปสร้างชื่อว่า เป็นช่างภาพผู้เชี่ยวชาญอาเชีย บรรยาย พิมพ์หนังสือการสำรวจของตน และขายรูปให้กับผู้สนใจ รวมทั้งกลับมาถ่ายรูปเมืองจีนอีก ในปีต่อๆ มา

ทุกวันนี้ เราจะพบผลงานของทอมสันในเอกสารหลักเกี่ยวกับเอเซียยุคล่าอาณานิคม รูปถ่ายจริงๆ ก็มีขายตามงานประมูลเสมอๆ ในพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ภาพถ่ายชั้นนำทุกแห่ง ต้องมีงานของเขา นักศึกษาส่วนใหญ่ยกย่องว่า เพราะความมานะอุตสาหของทอมสัน บวกกับฝีมือถ่ายรูป ในระดับศิลปิน เราจึงมีประจักษ์พยานชั้นยอด ในการทำความเข้าใจอดีตและชีวิตจิตใจของเอเชีย ตรงช่วงรอยต่อของการปลี่ยนไปสู่ความทันสมัย นักเขียนเหล่านั้นและผู้เชี่ยวชาญอีกมากมาย ไม่รู้เลยว่า บางส่วนของผลงานระดับโลกดังกล่าว ล้วนแต่ใช้รูปถ่ายฝีมือนายจิต โดยไม่อ้างอิง และทำให้ชาวโลกคิดว่า เป็นผลงานของตนเอง


http://www.sarakadee.com/feature/2002/03/francis.htm (http://www.sarakadee.com/feature/2002/03/francis.htm)


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 02 ก.ย. 14, 15:14
ท่อนสำคัญ

ท อ ม สั น โ ก ห ก

.......คำอธิบายรูปที่เราพบที่สถาบันเวลคัมนั้น ก็ชวนสงสัย เพราะผิดปกติวิสัยของคนที่ถ่ายรูปมาเองจะบอกอะไรผิดๆเพี้ยนๆอย่างนั้น โดยที่เรารู้อีกด้วยว่า ทอมสันมีฐานวิชาการอย่างดี เขาไม่ใช่ช่างภาพที่หลงๆลืมๆ เลอะๆเทอะๆ เว้นแต่จะจงใจหรือไม่รู้จริงๆ เป็นต้นว่า เขาอธิบายรูปพระเมรุรัชกาลที่ ๔ ว่า The cremation pyre of the 1st King of Siam, King Mongkut, son (Brir ?)ซึ่งอ่านแล้วไม่รู้เรื่อง หรือเรียกพระที่นั่งสุทไธสวรย์ว่า The King's Buddhist temple คือเรียกพระที่นั่งเป็นวัด และเขาจะมีรูปเมรุรัชกาลที่ ๔ ได้อย่างไร ในเมื่อขณะนั้น (พ.ศ. ๒๔๑๒) เขาหากินอยู่ที่ลอนดอนแล้ว

ข้อน่าสงสัยอย่างยิ่งก็คือ คนอื่นๆ มีรูปของทอมสันได้อย่างไรถ้าไม่ได้ซื้อจากมือของเขา อย่างเช่นนางแอนนา ใช้รูปที่ตรงกันถึงหก-เจ็ดชิ้น โดยที่นางออกจากบางกอกก็ตรงไปสหรัฐ จะมีเวลาที่ใหนไปแวะซื้อรูปจากทอมสันที่ลอนดอน เช่นเดียวกันสุภาพบุรุษฝรั่งเศสและอเมริกันก็ใช้รูปเหล่านี้ เชื่อได้ยากเช่นกันว่าจะซื้อจากมือทอมสันเพราะเข้ามาหลังถึงสองสามปี คนเหล่านี้ควรจะได้รูปทั้งหลายจากแหล่งเดียวกัน คือที่บางกอก ซึ่งทุกคนล้วนแวะมา และมีบางคนได้รูปที่สวยงามกว่าที่ทอมสันครอบครองอีกเสียด้วย

สุดท้ายของสุดท้าย ทอมสันยังปล่อยไก่ฝูงใหญ่ เมื่อเขาวิจารณ์นางแอนนาที่อธิบายพระรูปโสกันต์ว่าเป็นเจ้าหญิง ในเมื่อเป็นพระราชพิธีของเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ที่เป็นเจ้าชาย เรื่องเหลือเชื่อก็คืองานนี้ นางแอนนาถูกทอมสันที่อ้างว่าเป็นช่างภาพ กลับจำรูปตัวเองไม่ได้ นี่ทำให้ไม่น่าเชื่อว่าทอมสันจะถ่ายรูปที่อยู่ในคลังสะสมของเขาทุกชิ้น

จำ ล อ ง เ ห ตุ ก า ร ณ์

เราลองมาสันนิษฐานดู
ทอมสันเข้ามาบางกอกวันที่ ๒๗ กันยายน ๒๔๐๘ วันที่๒๗ มกราคม ๒๔๐๙ เข้าเขมร ระหว่างนั้นจะถ่ายรูปได้สักเท่าใดในเมื่อต้องสงวนกระจกไปใช้ในป่าดงเขมร เสร็จงานก็ ขนของกลับอังกฤษ ใครจะไปทราบว่าทอมสันจะไม่แวะเรือนแพของนายจิต ซึ่งมีโฆษณาลงในหนังสือพิมพ์บางกอก รีคอร์เดอร์ ตั้งแต่สามปีก่อนว่า มีรูปจำหน่ายมากมาย ใครๆ ที่ฉลาดก็คงกว้านซื้อรูปถ่ายของนายจิต ติดตัวไปด้วย ถ้าฉลาดยิ่งขึ้น ก็อาจจะขอก๊อปปี้กระจกไปด้วย

เมื่อกลับถึงบ้านเกิดเมืองนอน ใครจะไปสืบรู้ได้ว่า รูปใหนใครถ่าย กว่าจะมีคนรู้ ก็ผ่านไปกว่าร้อยปีแล้ว



กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 02 ก.ย. 14, 17:43
ไต๋ของทอมสันเคยถูกเผยไว้ครั้งหนึ่งแล้วที่ "เรือนไทย"  ;)

คุณพิพัฒน์ พงศ์รพีพร ได้ให้คำตอบไว้ในการบรรยาย ณ แกเลอรี่ริมคลอง วันเสาร์ที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๕๓ หัวข้อเรื่อง

"การแอบอ้างผลงานของ มิศฟะรันซิสจิต โดยช่างภาพระดับโลก" (http://archive.is/vJRv)

(http://img.archive.is/vJRv/21f6722e6fd680f8ff4dfbb94375b32dc98dd2ff.jpg)




กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 02 ก.ย. 14, 18:45
อ้างถึง
สุดท้ายของสุดท้าย ทอมสันยังปล่อยไก่ฝูงใหญ่ เมื่อเขาวิจารณ์นางแอนนาที่อธิบายพระรูปโสกันต์ว่าเป็นเจ้าหญิง ในเมื่อเป็นพระราชพิธีของเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ที่เป็นเจ้าชาย เรื่องเหลือเชื่อก็คืองานนี้ นางแอนนาถูกทอมสันที่อ้างว่าเป็นช่างภาพ กลับจำรูปตัวเองไม่ได้  นี่ทำให้ไม่น่าเชื่อว่าทอมสันจะถ่ายรูปที่อยู่ในคลังสะสมของเขาทุกชิ้น

ด้วยตรรกะเดียวกันข้างต้น ข้างหลังภาพของนายแชสเลอร์มีข้อความเขียนไว้หลังพระบวรฉายาลักษณ์ว่าเป็นกษัตริย์พระองค์ที่ ๑ แห่งสยาม ทั้งๆที่ภาพพระราชโอรสเขียนถูกว่าเป็นพระราชโอรสของกษัตริย์พระองค์ที่ ๒ ถ้าเขาเป็นผู้ถ่ายพระรูปเอง ทำไมจึงจำรูปของตนไม่ได้เล่า  เอาละ ลายมือที่เห็นอาจจะไม่ใช่ของนายแชสเลอร์ก็จริง นั่นเราไม่ทราบได้  แต่จะเป็นลายมือมิสเตอร์เอกซ์วายแซดอะไรก็ตาม ก็คงกลั่นกรองมาจากสมองของนายแชสเลอร์นั่นแหละ จะเขียนเองหรือถ่ายทอดให้คนอื่นเขียนเท่านั้น

พอจะสรุปได้หรือยังครับว่า นายแชสเลอร์ซื้อรูปภาพหรือสำเนากระจกของฟรันซิส จิตรไป แล้วนำไปตกแต่งเป็นภาพใหม่ของตัวเอง โดยเพิ่มเครื่องประดับให้แตกต่างกับภาพเดิมของนายจิตร
 
แหม ต้องชมฝีมือการตกแต่งภาพด้วยภู่กันและปลายเข็ม ช่างเนี๊ยบมากจริงๆ ผมดูแล้วดูอีกอดทึ่งไม่ได้ ช่างใกล้เคียงกับการใช้โฟโตชอปอย่างเหลือเชื่อ …เอ…หรือว่าเขาทำ New Antique ขึ้นมาด้วยกรรมวิธีสมัยปัจจุบันนี้ที่คอมพิวเตอร์เนรมิตรได้ทุกอย่าง

….เอาละซี จะเปิดอีกประเด็นหนึ่งไหมละนั่น ?


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 02 ก.ย. 14, 18:59
ก็บอกแล้วว่า สายที่เห็นถูกตกแต่งขึ้นมา  ;D


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 02 ก.ย. 14, 19:03
 ???อ้าว ใครไปว่าไว้ที่ไหนว่าของจริง  ??? ??? ???

อ้างถึง
พอจะสรุปได้หรือยังครับว่า นายแชสเลอร์ซื้อรูปภาพหรือสำเนากระจกของฟรันซิส จิตรไป แล้วนำไปตกแต่งเป็นภาพใหม่ของตัวเอง โดยเพิ่มเครื่องประดับให้แตกต่างกับภาพเดิมของนายจิตร


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 02 ก.ย. 14, 19:08
ภาพเปรียบเทียบให้เห็นว่าของจริง กับ ของเข็มเขี่ย ดูเป็นธรรมชาติ และไม่เป็นธรรมชาติเป็นอย่างไร

การทำลวดลาย และเครื่องราชย์ฝรั่งเศสนี้ ช่างทำต้องมีต้นแบบแน่นอน มิเช่นนั้นผลงานจะออกมาไม่งดงามเท่านี้


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 02 ก.ย. 14, 20:06
อะไรจะทำเนี๊ยบได้ขนาดนั้นในสมัยโน้น มีเบลอๆภาพได้ด้วย ถ้าเป็นรอยภู่กันหรือเข็มเขี่ยอย่างที่เทคโนโลยี่สมัยร๔อำนวย ก็จะได้ภาพที่เห็นร่องรอยคมชัดอย่างที่คุณหนุ่มเคยยกมาแสดงเป็นตัวอย่าง


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 02 ก.ย. 14, 22:21
ข้อความโดยเพ็ญชมพู

การเจออีกสำเนาหนึ่ง คราวนี้มียี่ห้อช่างภาพอะดิครับ

เรื่องใหญ่ละท่าน ตกลงต้องเพิ่มช่างภาพเข้าไปอีกหนึ่ง เป็นสี่
พระรูปนี้ สหายจากแดนไกลส่งมาให้ชื่นชม เจ้าตัวภูมิใจมาก บอกว่าทรงเสด็จไปถ่ายถึงสิงค์โปร์
แต่ช่างภาพหรือใครสักคนเขียนสลักหลังผิด บอกว่าเป็นพระเจ้าแผ่นดินที่หนึ่ง ยังดีที่โลโก้จะผิดไม่ได้ คือห้องภาพ A Sachtler

ผมรีบคัดค้านสหายในทันทีว่า ช้าก่อนประเพณีไทยนั้น เจ้านายชั้นสูงไม่เคยออกนอกประเทศ เพิ่งยกเลิกเมื่อรัชกาลที่ 5 นี้เอง
ดังนั้น เป็นไปได้มากสุดคือ ห้องภาพแซคเล่อร์นี้ เข้ามาฉายพระรูป

กรณีพระบรมรูปชิ้นนี้ เราจะลงความเห็นว่าเป็นฝีมือผู้ใดดีล่ะ ท่าน
(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=2474.0;attach=3124;image)



กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 02 ก.ย. 14, 22:30
โฟโต้ช๊อปออกจำหน่ายตั้งแต่ปี 1989 หรือปี 2532 คุณพิพัฒน์ได้รูปจากสหายที่อยู่แดนไกลในปี 2008 หรือก่อนหน้านั้น เพราะคุณพิพัฒน์ได้เคยนำมาลงในหนังสือสมุดภาพรัชกาลที่๔ ในปี 2547(2004) โฟโต้ช๊อปเก่งขึ้นอีกหลายขุม ใช้ได้แล้วกับWindow XP มือระดับเซียนเอามาทำมาหากินได้สบายมาก แค่ตกแต่งรูปเครื่องแบบนายทหารใส่เครื่องยศโดยตัดต่อจากภาพร่วมสมัยนั้น ง่ายเหมือนปอกทุเรียนเข้าปาก

แค่ทำสำเนาส่งมาล้อเพื่อนทางอินเทอเน็ตน่ะไม่มีปัญหา แต่ตัว Original นั่นเป็นอีกเรือง เพราะมันเกี่ยวกับกระดาษ ร่องรอยเคมีภัณฑ์ที่ใช้ในขบวนการอัดรูป เก่าจริงหรือเก่าปลอม พวกนี้ต้องใช้เซียนอีกวิทยายุทธหนึ่งเป็นผู้พิสูจน์ จะฟันธงลงไปตรงนี้เดี่ยวกลายเป็นหมอดูขี้โม้

แต่โลกธุรกิจที่ของโบราณมีค่าสูงงงงมาก ย่อมมีเซียนเหนือเซียน ไม่มีอะไรในโลกนี้ที่ปลอมไม่ได้ ไม่เชื่อถามคนจีนแผ่นดินใหญ่ดู





กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 03 ก.ย. 14, 08:12
ก็บอกแล้วว่า สายที่เห็นถูกตกแต่งขึ้นมา  ;D
นอกจากปลายสายจะไม่แนบเนียนดังที่คุณหนุ่มเคยตั้งข้อสังเกตุไว้ในล้อมกรอบ สี่เหลี่ยมแล้ว ในวงกลมที่ผมทำขึ้น จะเห็นตำหนิชัดเจน      สันนิษฐานว่าตำหนิเช่นนี้กระทำขึ้นไม่ได้จากปลายเข็ม  แต่จะเกิดจากอะไร ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญชี้ลงไป   

ป.ล.ผมกำลังจะเดินทางไปต่างจังหวัดสองวัน อาจไม่สะดวกที่จะเข้าเสริมต่อกระทู้ ต้องฝากคุณหนุ่มช่วยหาความจริงต่อ


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 04 ก.ย. 14, 07:09
หาภาพที่ได้รับการตกแต่งเก่า มาให้ชมกันเพิ่มครับ เป็นภาพสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ (ทัต บุนนาค) ด้านซ้ายเป็นภาพที่ถ่ายด้วยกล้องยุคแรกของสยาม ถ่ายบนแผ่นเงิน ถือเป็นภาพเก่าในรุ่นบุกเบิกของการมีกล้องถ่ายภาพในสยาม ส่วนด้านขวาเป็นการสำเนาภาพต่อๆกันมาและได้รับการตกแต่งภาพใหม่ให้งดงามขึ้น ลายผ้าเด่นขึ้น มือคีบบุหรีชัดขึ้น


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 04 ก.ย. 14, 07:14
ภาพพระองค์เจ้าหญิงดาราวดี ก็ได้รับการตกแต่งบริเวณเล็บ ให้ดูยาวจนน่าเกลียดเสียนี่กระไร ?  อันที่จริงไม่ควรเป็นแบบนี้เลย แต่ด้วยการตกแต่งภาพบางครั้งก็ทำให้เกิดข้อผิดพลาดบ้าง คือ เล็บมือนั้นยาวแหลมไว้เล็บแต่แต่งออกมาเกินจริงไปหน่อย


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 04 ก.ย. 14, 08:11
หาภาพที่ได้รับการตกแต่งเก่า มาให้ชมกันเพิ่มครับ เป็นภาพสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ (ทัต บุนนาค) ด้านซ้ายเป็นภาพที่ถ่ายด้วยกล้องยุคแรกของสยาม ถ่ายบนแผ่นเงิน ถือเป็นภาพเก่าในรุ่นบุกเบิกของการมีกล้องถ่ายภาพในสยาม ส่วนด้านขวาเป็นการสำเนาภาพต่อๆกันมาและได้รับการตกแต่งภาพใหม่ให้งดงามขึ้น ลายผ้าเด่นขึ้น มือคีบบุหรีชัดขึ้น

ภาพเหล่านี้ตกแต่งขึ้นภายหลังทั้งสิ้น แล้วมีใครอ้างลิขสิทธิ์หรือเปล่า ผมเห็นเอามาใช้กันเกร่อทั้งในเวปและในหนังสือ ในร้านขายรูปภาพเก่าๆก็ดูเหมือนจะเคยเจอ


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 05 ก.ย. 14, 05:34
ภาพจากหนังสือ ประวัติการถ่ายรูปของไทย โดยเอนก นาวิกมูล โดยสำนักพิมพ์สารคคีภาพตีพิมพ์ภาพนี้ไว้เมื่อ พ.ศ.๒๕๔๒ ผมผ่านตาหลายครั้งไม่รู้สึกอะไร แต่เพิ่งจะสังเกตุเห็นเมื่อเช้านี้เองว่า เป็นรูปที่ทรงอิสริยาภรณ์เลฌียง ดอเนอร์ (Legion d'honneur) เช่นกัน


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 05 ก.ย. 14, 05:38
ความสนุกของกระทู้ค้นหาความจริงมันอยู่ที่ตรงนี้แหละครับ ข้อมูลมันพลิกไปพลิกมา ฟันธงอะไรลงไปไม่ได้ ถ้ารูปนี้อยู่ในหีบภาพถ่ายโบราณที่ทายาทนายจิตรนำมามอบให้หแจดหมายเหตุแห่งชาตินานมาแล้ว เราเห็นจะต้องกลับไปตั้งต้นหาสมมติฐานใหม่


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 05 ก.ย. 14, 07:22
ความสนุกของกระทู้ค้นหาความจริงมันอยู่ที่ตรงนี้แหละครับ ข้อมูลมันพลิกไปพลิกมา ฟันธงอะไรลงไปไม่ได้ ถ้ารูปนี้อยู่ในหีบภาพถ่ายโบราณที่ทายาทนายจิตรนำมามอบให้หแจดหมายเหตุแห่งชาตินานมาแล้ว เราเห็นจะต้องกลับไปตั้งต้นหาสมมติฐานใหม่

ก็ผมเห็นภาพใน หจช. นานแล้วและก็คิดเสมอว่าไม่ใช่ของแต่งใหม่ แต่เป็นแต่งภาพมาแต่โบราณ แต่จะด้วยอะไรก็แล้วแต่ ฝีมือนั้นเนี๊ยบมากๆ ก็คิดได้หลายอย่างดังนี้

๑. ไทยถ่ายภาพ นำให้ฝรั่งตกแต่ง เพราะส่วนมากเป็นภาพพระปิ่นเกล้าฯ ประทับเก้าอี้แล้วเอียงพระองค์ ผิดกับภาพนี้ทรงหันหน้าค่อนข้างที่จะตรง

๒. ไทยถ่ายภาพ ไทยตกแต่ง ภาพหลุดออกไปต่างประเทศ

แต่ทั้ง ๑ และ ๒ ผมคิดว่าช่างกล้อง คงจะไม่ทะลึ่งพอที่คิดสนุกลงมือแต่งภาพนี้ขึ้นมา อย่างน้อยต้องได้รับการสั่ง หรือ อนุมัติให้เป็นผู้กระทำการขึ้นมาเพื่ออะไรสักอย่าง แต่เมื่อชิ้นงานทำสำเร็จออกมาแล้วจะโปรดหรือไม่โปรด ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 05 ก.ย. 14, 07:56
จากหนังสือเล่มเดียวกัน
ในพ.ศ.ที่ขีดเส้นใต้ โฟโต้ช๊อปยังไม่มีแน่นอน คอมพิวเตอร์เองก็ยังไม่ถือกำเนิดด้วยซ้ำ


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 05 ก.ย. 14, 08:20
หากเรามาตั้งต้นที่ ก.ไก่ กันใหม่ เมื่อเปรียบเทียบพระบวรฉายาลักษณ์ในภาพ จะเห็นว่าองค์ซ้าย ที่มักจะปรากฏในเอกสารและนิทรรศการของทางราชการเสมอนั้น ความจริงเป็นเพียงส่วนหนึ่งของพระบวรฉายาลักษณ์ทางซ้ายมือ พูดอีกนัยหนึ่งคือ ภาพซ้ายเป็นต้นฉบับของภาพขวาได้ ภาพขวาเป็นต้นฉบับของภาพซ้ายได้

ที่กล่าวอย่างนี้หมายความว่า อาจมีอีกภาพบริบูรณ์ของภาพซ้ายอีกภาพหนึ่งได้เหมือนกัน ที่เป็นต้นฉบับของทั้งสองภาพ


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 05 ก.ย. 14, 10:42
หันกลับมาตั้งข้อสงสัยด้านนี้บ้าง

พระบรมฉายาลักษณ์รุ่นแรกๆของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ถ่ายด้วยกล้องและแผ่นเงิน ความคมชัดโดยรวมตามที่เห็น แต่ก็ให้รายละเอียดเครืองทรงต่างๆได้อย่างน่าทึ่ง
เมื่อเปรียบเทียบกับพระบวรฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ซึ่งทรงถ่ายอย่างน้อยก็อีก๕ปีต่อมา โดยกล้องและแผ่นกระจกที่ทันสมัยกว่า ให้ความคมชัดมากขึ้น แต่เครื่องประดับทรงกลับตรงกันข้าม มองไม่ชัดเลยว่าเป็นภาพของอะไร


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 05 ก.ย. 14, 11:11
หันกลับมาตั้งข้อสงสัยด้านนี้บ้าง

พระบรมฉายาลักษณ์รุ่นแรกๆของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ถ่ายด้วยกล้องและแผ่นเงิน ความคมชัดโดยรวมตามที่เห็น แต่ก็ให้รายละเอียดเครืองทรงต่างๆได้อย่างน่าทึ่ง
เมื่อเปรียบเทียบกับพระบวรฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ซึ่งทรงถ่ายอย่างน้อยก็อีก๕ปีต่อมา โดยกล้องและแผ่นกระจกที่ทันสมัยกว่า ให้ความคมชัดมากขึ้น แต่เครื่องประดับทรงกลับตรงกันข้าม มองไม่ชัดเลยว่าเป็นภาพของอะไร

ต้นฉบับนั้นก็ย่อมชัดเจนครับ แต่เรายังไม่เห็นต้นฉบับก็เลยอาจจะมองไม่ชัด (ภาพความละเอียดสูงอยู่ต่างประเทศ) 

๑. พระบรมฉายาลักษณ์ ร.๔ ทรงเครื่องต้นถ่ายภาพด้วยระบบแผ่นเงิน และถ่ายทอดสำเนาลงสู่แผ่นกระจก ภาพนี้อยู่ต่างประเทศ มีความคมชัด

๒. พระบวรฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้า เป็นภาพโทนเหลือง ถ่ายสำเนาลงกระดาษด้วยเทคนิคอัลบูมิน (ไข่ขาวผสมสารไวแสง) ดังนั้นความคมชัดอาจจะด้อยลงไป


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 05 ก.ย. 14, 14:42
อ้างถึง
พระบวรฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้า เป็นภาพโทนเหลือง ถ่ายสำเนาลงกระดาษด้วยเทคนิคอัลบูมิน (ไข่ขาวผสมสารไวแสง) ดังนั้นความคมชัดอาจจะด้อยลงไป

งั้นเอาตัวอย่างภาพที่ถ่ายในระยะใกล้เคียงกัน กรรมวิธีเดียวกันให้ดูความคมชัดในรายละเอียดของวัตถุคล้ายๆกัน ภาพนี้อย่างน้อยก็พออ่านออกว่าอะไรเป็นอะไร


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 05 ก.ย. 14, 14:51
พระบวรฉายาลักษณ์ภาพนี้ มีขนาดไฟย์ภาพใหญ่พอสมควร ความละเอียด ผมใช้คำว่าโดยมวลก็ชัดเจนดี น่าพอใจ ยกเว้นที่ดวงตราอย่างเดียวที่เบลอจนดูไม่รู้เรื่อง


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 05 ก.ย. 14, 14:54
ขยาย


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 05 ก.ย. 14, 15:16
อ้างถึง
พระบวรฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้า เป็นภาพโทนเหลือง ถ่ายสำเนาลงกระดาษด้วยเทคนิคอัลบูมิน (ไข่ขาวผสมสารไวแสง) ดังนั้นความคมชัดอาจจะด้อยลงไป

งั้นเอาตัวอย่างภาพที่ถ่ายในระยะใกล้เคียงกัน กรรมวิธีเดียวกันให้ดูความคมชัดในรายละเอียดของวัตถุคล้ายๆกัน ภาพนี้อย่างน้อยก็พออ่านออกว่าอะไรเป็นอะไร

นี่หัวปั้นเหน่งเป็นมณี มันก็ดูภาพได้ซิครับ แต่เหรียญตราเป็นโลหะ ยังไงก็อ่านรายละเอียดได้ยาก เช่น เส้นแถบเข็มขัดถ้าภาพชัดจะเห็นแน่นอนครับ

ให้ดูภาพตัวอย่างที่ชัดๆ ต้องเป็นแบบนี้ครับ


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 05 ก.ย. 14, 15:21
เหรียญโลหะ + การเปิดหน้ากล้องนาน ย่อมทำให้กล้องรับแสงจากเหรียญมากเกินไป ทำให้ไม่เห็นรายละเอียดได้นะครับ


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 05 ก.ย. 14, 15:34
ภาพเดียวกันแต่ต่างกันที่คุณภาพ ภาพที่มีคุณภาพกว่าจะเห็นลายที่หัวเข็มขัดได้ชัดเจนกว่า ทำนองเดียวกันในภาพเหรียญตรา ต้องหาภาพที่มีคุณภาพสูงมาดูครับ (แต่ภาพนี้อยู่ต่างประเทศ)


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 05 ก.ย. 14, 21:30
ความสนุกของกระทู้ค้นหาความจริงมันอยู่ที่ตรงนี้แหละครับ ข้อมูลมันพลิกไปพลิกมา ฟันธงอะไรลงไปไม่ได้ ถ้ารูปนี้อยู่ในหีบภาพถ่ายโบราณที่ทายาทนายจิตรนำมามอบให้หแจดหมายเหตุแห่งชาตินานมาแล้ว เราเห็นจะต้องกลับไปตั้งต้นหาสมมติฐานใหม่

ก็ผมเห็นภาพใน หจช. นานแล้วและก็คิดเสมอว่าไม่ใช่ของแต่งใหม่ แต่เป็นแต่งภาพมาแต่โบราณ แต่จะด้วยอะไรก็แล้วแต่ ฝีมือนั้นเนี๊ยบมากๆ ก็คิดได้หลายอย่างดังนี้

๑. ไทยถ่ายภาพ นำให้ฝรั่งตกแต่ง เพราะส่วนมากเป็นภาพพระปิ่นเกล้าฯ ประทับเก้าอี้แล้วเอียงพระองค์ ผิดกับภาพนี้ทรงหันหน้าค่อนข้างที่จะตรง

๒. ไทยถ่ายภาพ ไทยตกแต่ง ภาพหลุดออกไปต่างประเทศ

แต่ทั้ง ๑ และ ๒ ผมคิดว่าช่างกล้อง คงจะไม่ทะลึ่งพอที่คิดสนุกลงมือแต่งภาพนี้ขึ้นมา อย่างน้อยต้องได้รับการสั่ง หรือ อนุมัติให้เป็นผู้กระทำการขึ้นมาเพื่ออะไรสักอย่าง แต่เมื่อชิ้นงานทำสำเร็จออกมาแล้วจะโปรดหรือไม่โปรด ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง

ลองหาภาพถ่ายเนี๊ยบๆเนียนอย่างพระบวรฉายาลักษณ์มาให้ชมกันหน่อยน่า จะเป็นไทยถ่ายภาพ นำให้ฝรั่งตกแต่ง หรือไทยถ่ายภาพ ไทยตกแต่งก็ได้ เพราะเคยเห็นกันแต่แบบนี้


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 05 ก.ย. 14, 21:34
นี่ก็อีกองค์นึง


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 06 ก.ย. 14, 08:52
ในประมาณปีค.ศ.๑๘๖๐(๒๔๓๐) หรือในช่วงท้ายๆของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ฝรั่งก็สามารถระบายสีลงไปในภาพถ่ายได้สวยงามกว่าที่เคยทำได้ก่อนหน้า แต่ทั้งหมดที่ผมพยายามค้นหาในอินเทอเน็ท ก็ไม่พบภาพที่เขียนอะไรเพิ่มเติมไปจากภาพดั้งเดิมในลักษณะเดียวกับพระบวรฉายาลักษณ์


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 06 ก.ย. 14, 09:03
ภาพในปีเดียวกันของนายทหารผู้นี้ เพียงแต่ถูกแต่งแต้มสีลงไปบนเครื่องประดับยศต่างๆด้วยสีทองให้ดูอร้าอร่ามขึ้น แต่ก็ไม่ถึงกับเพิ่มเติมสิ่งที่ไม่เคยมีลงไปให้มี ซึ่งถ้าทำก็ไม่ทราบว่าจะแนบเนียนหรือเปล่า

การที่ไม่เจอไม่ได้หมายความว่าไม่เคยมีนะครับ แต่พระบวรฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าอาจเป็นภาพชุดแรกที่ปรากฏหลักฐานชัดเจนถึงการตกแต่งประเภทเดียวกับที่โฟโต้ชอปทำได้ในยุคหลัง ซึ่งก็จะต้องติดตามกันต่อไปถึงเบื้องหน้าเบื้องหลังทั้งหมด


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 07 ก.ย. 14, 23:00
หากเรามาตั้งต้นที่ ก.ไก่ กันใหม่ เมื่อเปรียบเทียบพระบวรฉายาลักษณ์ในภาพ จะเห็นว่าองค์ซ้าย ที่มักจะปรากฏในเอกสารและนิทรรศการของทางราชการเสมอนั้น ความจริงเป็นเพียงส่วนหนึ่งของพระบวรฉายาลักษณ์ทางซ้ายมือ พูดอีกนัยหนึ่งคือ ภาพซ้ายเป็นต้นฉบับของภาพขวาได้ ภาพขวาเป็นต้นฉบับของภาพซ้ายได้

ที่กล่าวอย่างนี้หมายความว่า อาจมีอีกภาพบริบูรณ์ของภาพซ้ายอีกภาพหนึ่งได้เหมือนกัน ที่เป็นต้นฉบับของทั้งสองภาพ

วันนี้ได้พระบวรฉายาลักษณ์เพิ่มมาอีกหนึ่งภาพ ที่เป็นคำตอบในความเห็นของผมเองที่เขียนไปข้างบน


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 08 ก.ย. 14, 07:00

วันนี้ได้พระบวรฉายาลักษณ์เพิ่มมาอีกหนึ่งภาพ ที่เป็นคำตอบในความเห็นของผมเองที่เขียนไปข้างบน

ขอโทษครับ พระบวรฉายาลักษณ์ที่ว่านี้ซ้ำกับที่คุณหนุ่มสยามมาลงไว้ตั้งแต่ต้นๆ

ขอแก้ตัว เอาพระบวรสาทิศลักษณ์สีน้ำมันภาพเดียวกันแต่ไม่เหมือนกันกับที่คุณหนุ่มเคยลงไว้มาให้ศึกษากันอีกที
ภาพนี้ประดิษฐานอยู่บนพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท เขียนโดยฝรั่งในยุคหลังจากรัชกาลที่๔ไปแล้ว ก็ไม่ทราบเหมือนกันว่าใครไปให้ข้อมูลเขาให้เขียนสายสะพายลงไปด้วย

อิสริยาภรณ์เลฌียง ดอเนอร์ (Legion d'honneur) ที่พระเจ้านโปเลียนที่๓ส่งมาถวายพระมหากษัตริย์ไทยนั้น ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯเป็นชั้นปฐมาภรณ์ มีดวงดาราพร้อมสายสะพาย ส่วนของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ เป็นชั้นทุติยาภรณ์ เป็นดวงดาราและเหรียญประดับอก ไม่มีสายสะพาย

การเพิ่มอะไรให้ท่านเยี่ยงนี้ เห็นจะเป็นคติของคนอื่นในยุคหลังๆ


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 08 ก.ย. 14, 07:25
ในประมาณปีค.ศ.๑๘๖๐(๒๔๓๐) หรือในช่วงท้ายๆของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ฝรั่งก็สามารถระบายสีลงไปในภาพถ่ายได้สวยงามกว่าที่เคยทำได้ก่อนหน้า แต่ทั้งหมดที่ผมพยายามค้นหาในอินเทอเน็ท ก็ไม่พบภาพที่เขียนอะไรเพิ่มเติมไปจากภาพดั้งเดิมในลักษณะเดียวกับพระบวรฉายาลักษณ์

อย่าเพิ่งด่วนสรุป อาจเป็นเพราะยังหาไม่เจอถึงเหตุแห่งการกระทำ  / ใน พ.ศ. ๒๔๐๗ ทางซีกโลกหนึ่งก็มีการถ่ายภาพบุคคลสำคัญของโลกคือ อับบราฮัม ลินคอร์นพร้อมครอบครัว ก็เกิดปัญหาแบบเดียวกับที่เรากำลังสงสัยอยู่เช่นเดียวกัน ถึงการตกแต่งภาพและรายละเอียดต่างๆ ตกแต่งสายนาฬิกาให้หายไป เพิ่มบุคคลเข้ามา เป็นการตกแต่งเก่าครับ


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 08 ก.ย. 14, 07:26
ยังไม่สรุป

เอ้า..ว่าต่อ
ปฏิมากรระดับปรมาจารย์อย่างท่านศิลป์ พีระศรีก็ยังทำ อาจจะเป็นใบสั่งจากเจ้านายที่กำกับกรมศิลปากรตอนนั้นอีกทีหนึ่งก็ได้ ที่ให้ประดับอะไรต่อมิอะไรตามรสนิยมของท่านผู้นำ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่เห็นจะเป็นที่กำเนิดขึ้นในยุคหลังแทบทั้งหมด


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 08 ก.ย. 14, 07:36
ส่งรูปทางสหรัฐอเมริกาภาพเดียว เกรงว่าจะไม่หนำใจ จึงขอส่งภาพ ชาร์ล ดิีกเกน ถ่ายภาพไว้เพื่อเป็นข่าวในสหรัฐอเมริกา ในพ.ศ. ๒๔๑๐ (1867) ทางสตูดิโอก็ได้ทำ "ศัลยกรรมห้องมืด" แปลงโฉมแต่งตัวให้ใหม่สดใสกว่าเดิม เป็นการแต่งเก่าในยุคโบราณ


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 08 ก.ย. 14, 07:56
ในยุดเดียวกัน กระแสการทำศัลยกรรมห้องมืด ผมว่าเป็น ศิลปะ ประเภทหนึ่งเพื่อตกแต่งภาพให้สวยงาม และเกิดความแปลกใหม่ให้กับภาพถ่าย ซึ่งได้รับความนิยมอย่างสูงมากๆ ทางโลกตะวันตกกำลังเห่อเทคโนโลยีการถ่ายภาพอย่างมาก ทำให้เกิดศิลปะใหม่ๆ ขึ้นมา

เช่นภาพที่แสดงนี้ ให้ลำตัวเดียวกัน เปลี่ยนศีรษะกันเลยครับ


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 08 ก.ย. 14, 08:51
ขออนุญาตคุณหนุ่มขึ้นเรือจากเมกากลับสู่เมืองไทย  ;)

คุณนวรัตนให้ข้อมูลเกี่ยวกับด้านภาพถ่ายและภาพวาด ลองดูข้อมูลเกี่ยวกับรูปปั้นดูบ้าง

พระบวรราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว  ประดิษฐานอยู่ภายในบริเวณโรงละครแห่งชาติ  ;D


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 08 ก.ย. 14, 09:01
โปรดสังเกตฉลองพระองค์ชุดทหารเรือเป็นชุดเดียวกัน  ;D


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 08 ก.ย. 14, 09:32
นี่ไงครับ

ภาพทั้งสองสร้างความสลับสับสนให้แก่คนรุ่นหลังผู้เกี่ยวข้องมาก ไม่ว่าผู้กระทำการตกแต่งภาพจะมีเจตนาอย่างไรก็ตาม
คงเหลือสิ่งที่ต้องค้นหาอย่างเดียวว่า การตกแต่งพระบวรฉายาลักษณ์ภาพแรกสุด กระทำในช่วงไหนพ.ศ.ไหน ถ้าทราบแน่จะได้คลำทางถูก

เป็นต้นว่า คนฝรั่งเศสเป็นผู้กระทำ เพื่อการโฆษณาชวนเชื่อประเทศชาติของเขา เนื่องจากเห็นว่าพระบวรฉายาลักษณ์ในตอนหนุ่ม ดูดีกว่าที่ทรงถ่ายในระยะหลังๆ


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 08 ก.ย. 14, 09:38
ผู้ออกแบบน่าจะได้เคยเห็นพระบวรฉายาลักษณ์ทั้ง ๒ องค์แล้ว การตัดสินใจใช้แบบขององค์นี้อาจเป็นเพราะเพียงเพื่อความสวยงาม เพราะดูมีเครื่องประดับมากกว่าอีกองค์หนึ่ง หรืออาจเป็นเพราะมีหลักฐานเชื่อว่พระบวรฉายาลักษณ์องค์นี้ถูกต้องตามต้นฉบับจริง  ???

อีกองค์หนึ่งที่กรมแพทย์ทหารเรือ  ;D


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 08 ก.ย. 14, 09:56
ลองนำพระบวรฉายาลักษณ์ทั้ง ๒ องค์นี้ไปสอบถามที่ พันทิป  (http://pantip.com/topic/32541376) ได้คำตอบมาเพียง ๒ คำตอบ เชื่อว่าองค์ขวาถูกต้องตามต้นฉบับ

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=6059.0;attach=50320;image)

คำตอบที่ ๑ มันน่าจะต้องไปดูต้นทางของรูปว่าใครเอามาจากไหน
แต่ถ้าดูจากรูปแค่นี้ ผมว่ารูปซ้ายน่ะแต่ง รูปขวาน่าจะต้นฉบับ

รูปซ้ายดำๆ มืดๆ ไม่มีรายละเอียดอะไรมาก ถึงไม่มี photoshop ก็คงทำได้ไม่ยาก
แต่รูปขวามีรายละเอียด น่าจะยากกว่าเยอะ
โดยเฉพาะถ้าต้นฉบับเป็นซ้ายเอามาทำเป็นรูปขวานี่ต้องเซียนเลยถึงจะทำได้เนียนๆ ต่อให้มี photoshop ก็เหอะ
 
TingTing  วันศุกร์ เวลา ๑๒.๒๐ น.

คำตอบที่ ๒ ต้องไปดูรูปต้นฉบับว่าภาพเต็มๆเป็นยังไง ส่วนตัวคิดว่าภาพซ้ายน่าจะถูกแต่งขึ้นมา เพราะการลบมันง่ายกว่าการเติม
ภาพขวามีรายละเอียด(ในส่วนที่ไม่จำเป็นต้องมี)เยอะกว่า แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องไปดูของจริงแหละ เพราะภาพที่เราเห็นผ่านการ Reproduce มาหลายขั้นแล้ว รายละเอียดที่ควรจะมีในของต้นฉบับมันก็ย่อมหายไปเป็นธรรมดา

คือต้องขอบอกก่อนว่าการเอาภาพมาตีพิมพ์นั้น ไม่ว่าจะทำมาดีแค่ไหน มันก็มีข้อจำกัดของระบบการพิมพ์
ดังนั้นภาพของ อ.ศักดา จึงไม่แปลกที่จะดูไม่ค่อยมีรายละเอียด ส่วนภาพขวาผมไม่รู้ว่ามีที่ีมาที่ไปยังไง ผ่านการจัดการมากี่ัขั้นตอนเลยตอบไม่ได้
  
Nexus   วันศุกร์ เวลา ๑๒.๕๐ น.

หากหาต้นฉบับ (กระจกเนกาตีฟหรือฟิล์มกระจก) ได้ น่าจะได้คำตอบที่ถูกต้องแน่นอน   ;D



กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 08 ก.ย. 14, 10:13
สำหรับ "หนุ่มรัตนะ" ยืนคำเดิมคือ ภาพซ้ายต้นฉบับ แล้วตกแต่งสายยศ และตราเครื่องราชย์ฝรั่งเศสเป็นภาพขวามือเราครับ  ;) ;D


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 08 ก.ย. 14, 10:22
สำหรับ "หนุ่มรัตนะ" ยืนคำเดิมคือ ภาพซ้ายต้นฉบับ แล้วตกแต่งสายยศ และตราเครื่องราชย์ฝรั่งเศสเป็นภาพขวามือเราครับ  ;) ;D
นวรัตนซีก็เชื่ออย่างนั้น โดยพิจารณาจากปีพ.ศ.ที่ทรงถ่ายพระบวรฉายาลักษณ์นี้ และปีพ.ศ.ที่ทรงได้รับอิสริยาภรณ์


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 08 ก.ย. 14, 11:48
ถ้าตัดประเด็นพระรูปที่มีเครื่องราชฯ 2 ดวงเป็นภาพตกแต่งขึ้นในยุคหลังรัชกาลที่ 4   จนถึงปัจจุบันออกไป    ก็เหลือคำถามว่า พระรูปที่ว่านี้หากแต่งใหม่ร่วมสมัยกับพระองค์ท่าน  ใครจะกล้าทำโดยพลการโดยไม่มีพระบวรราชโองการ   
ใครในยุคนั้นจะนึกสนุกลุกขึ้นมาแต่งเล่นๆ  เหมือนนักแต่งภาพสมัครเล่นสมัยนี้

แม้แต่นายฟรันซิส จิตรเอง ก็มีอาชีพเป็นช่างภาพ  ไม่ใช่นักแต่งภาพให้กลายเป็นอีกภาพหนึ่ง 
คนที่เป็นช่างภาพ จะแต่งภาพได้สวยเนียนเนี้ยบได้โดยอัตโนมัติ เหมือนถ่ายภาพเองก็ย่อมล้างภาพได้เอง หรือไม่   หรือว่าคนถ่ายก็คนหนึ่ง คนแต่งก็อีกคนหนึ่ง?

ภาพทั้งสองนี้ ไม่ว่าภาพไหนจะจริงภาพไหนจะแต่งก็เถอะค่ะ    ทำไมต้องแต่ง?  มันไม่ใช่แต่งเพื่อให้สดใสชัดเจนขึ้น  ลบรอยชำรุดออก  ตัดรายละเอียดที่ไม่จำเป็นออก   อย่างภาพที่คุณหนุ่มสยามนำมาเป็นตัวอย่าง 

ถ้าเรามองที่มาที่ไปได้ทะลุ อาจจะได้คำตอบว่าภาพไหนจริงกันแน่


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 08 ก.ย. 14, 13:51
ถ้าตัดประเด็นพระรูปที่มีเครื่องราชฯ 2 ดวงเป็นภาพตกแต่งขึ้นในยุคหลังรัชกาลที่ 4   จนถึงปัจจุบันออกไป    ก็เหลือคำถามว่า พระรูปที่ว่านี้หากแต่งใหม่ร่วมสมัยกับพระองค์ท่าน  ใครจะกล้าทำโดยพลการโดยไม่มีพระบวรราชโองการ   
ใครในยุคนั้นจะนึกสนุกลุกขึ้นมาแต่งเล่นๆ  เหมือนนักแต่งภาพสมัครเล่นสมัยนี้

แม้แต่นายฟรันซิส จิตรเอง ก็มีอาชีพเป็นช่างภาพ  ไม่ใช่นักแต่งภาพให้กลายเป็นอีกภาพหนึ่ง 
คนที่เป็นช่างภาพ จะแต่งภาพได้สวยเนียนเนี้ยบได้โดยอัตโนมัติ เหมือนถ่ายภาพเองก็ย่อมล้างภาพได้เอง หรือไม่   หรือว่าคนถ่ายก็คนหนึ่ง คนแต่งก็อีกคนหนึ่ง?



โดยทั่วไปแล้วช่างถ่ายภาพน่าจะเป็นคนที่รู้ดีที่สุดในแต่ละภาพนั้นๆ การถ่ายภาพแบบแผ่นเงิน หรือ แผ่นกระจก ควรจะรู้วิชาหลายอย่างประกอบกัน คือ วิชาการสร้างแผ่นเงินสำหรับถ่ายภาพ วิชาเคมีสำหรับสร้างภาพ วิชาตกแต่งภาพถ่ายเมื่อได้ภาพออกมาไม่ดี ฯลฯ ครับ


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 08 ก.ย. 14, 17:07
ผมโตทันที่ได้เห็นร้านถ่ายรูปสมัยก่อนใช้กล้องแบบไอ้โม่ง ถ่ายแต่ละภาพต้อง ๒ ครั้ง ห่างกันประมาณอึดใจนึง เพื่อกันเสียหรือเผื่อเลือก ได้เคยคลุกคลีกับช่างภาพมืออาชีพที่ต้องแต่งกระจกทุกครั้ง เพื่อลบรอยต่างๆให้อัดรูปออกมาดีที่สุด ช่างภาพบางคนเก่งขนาดเปลี่ยนหัว เอาตัวไปยืนแนบชิดกับนางงาม ยืนเต๊ะท่าหน้าหอไอเฟิลทั้งๆที่ไม่เคยไป หรือถ่ายแบบเหาะเหิรเดินอากาศ หรือเข้าไปนั่งกระจ๋องหง่องอยู่ในขวดบ้างอะไรพวกนี้ แต่ประเภทที่เพิ่มสร้อยสนิมพิมพาภรณ์ได้ละเอียดลอออย่างที่เห็นพระบวรฉายาลักษณ์นั้น ไม่เคยเจอเลย

วันนี้ไปหอจดหมายเหตุแห่งชาติมาเพื่อขอดูพระบวรฉายาลักษณ์ที่กล่าวถึงไปแล้ว พอเจ้าหน้าที่ยกแฟ้มภาพมาให้ดูผมก็ต้องผงะ เพราะพระรูปมีขนาดจิ๋วแค่ครึ่งโปสการ์ด และเป็นรูปที่เกิดจากการใช้กล้องถ่ายรูป ก๊อปปี้ภาพต้นฉบับมาอีกทีหนึ่ง
แต่แม้จะเป็นภาพระดับsecondary แต่ก็โบราณ เก่าแก่เกิน ๕๐ ปีแน่นอน


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 08 ก.ย. 14, 17:26
เอามาให้ดูกระจะๆ ผมจำเป็นต้องตกแต่งภาพบ้างเพื่อให้ชัดเจนขึ้น ถือเป็นงานศิลป์ที่สร้างขึ้นใหม่ตามกฏหมาย

แต่อย่าลืมนะครับ ทั้งข้อเขียนหรือรูปอะไรก็ตามที่ผมเอามาลงไว้ทั้งหลายทั้งปวง ผมไม่สงวนลิขสิทธิ์ ท่านสามารถเอาไปใช้ได้ตามสบาย หากผู้ใดนำไปทำมาหากินอย่างเป็นมรรคเป็นผลแล้วละก็ ผมก็จะยินดีกับท่านด้วยอย่างยิ่ง
ประกาศอย่างนี้มาหลายครั้งแล้ว ไม่เฉพาะกระทู้นี้นะครับ


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 08 ก.ย. 14, 18:46
เจ้าหน้าที่ในห้องเก็บภาพเก่าบอกผมว่า ภาพที่มีระหัส หวญ. ย่อมาจากหอสมุดวชิรญาณ คือเป็นภาพที่หอวชิรญาณเคยมีและโอนต่อมาให้กองจดหมายเหตุแห่งชาติ ซึ่งแปลว่าภาพนี้หอสมุดวชิรญาณจะได้มาอย่างไรก็ได้ อาจเป็นทายาทของฟรันซิส จิตร หรือไม่ใช่ หรือจะเป็นใครคนใดคนหนึ่งก็ได้

ถ้าเป็นภาพที่บุคคลมอบให้หอจดหมายเหตุแห่งชาติ ก็จะใช้ระห้สชื่อบุุคคลผู้มอบนั้น ซึ่งภาพของนายจิตรน่าจะมีจำนวนมากแต่กระจ้ดกระจายอยู่ที่ใด(เจ้าหน้าที่)ก็ไม่ทราบ(?)

นั่นคือย่อความที่ได้เรื่องมา ซึ่งโดยสรุปก็คือ ผมเชื่อว่าภาพพระบวรฉายาลักษณ์ฉบับตกแต่งนี่ไม่ใช่ฝีมือของฟรันซิส จิตรกระทำขึ้นเองอย่างแน่นอน และคงไม่มีใครในสยามกระทำขึ้น

เมื่อเป็นเช่นนั้น ก็ต้องเพ่งเล็งไปที่ฝรั่งว่าเป็นผู้กระทำ แต่จะเป็นฝรั่งสิงคโปรหรือฝรั่งเศสเท่านั้น แต่ในพ.ศ.โน้น ฝรั่งชาติอื่นคงไม่มีใครสนใจจะประดิษฐ์ประดอยทำไปเพื่ออะไร


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 08 ก.ย. 14, 18:47

วันนี้ไปหอจดหมายเหตุแห่งชาติมาเพื่อขอดูพระบวรฉายาลักษณ์ที่กล่าวถึงไปแล้ว พอเจ้าหน้าที่ยกแฟ้มภาพมาให้ดูผมก็ต้องผงะ เพราะพระรูปมีขนาดจิ๋วแค่ครึ่งโปสการ์ด และเป็นรูปที่เกิดจากการใช้กล้องถ่ายรูป ก๊อปปี้ภาพต้นฉบับมาอีกทีหนึ่ง
แต่แม้จะเป็นภาพระดับsecondary แต่ก็โบราณ เก่าแก่เกิน ๕๐ ปีแน่นอน

แน่นอนครับ เป็นธรรมชาติของการถ่ายรูปด้วยแผ่นเงินกระมังครับ ที่มีขนาดเล็กนิดเดียว และมีการการอัดลงใส่กระดาษเล็กเท่ากระดาษนามบัตร เรียกว่า Card De Visit ซึ่งเป็นที่นิยมกันมากในยุคสมัยนั้นครับ ไว้สำหรับอัดใส่กรอบ ทำใส่ลับแลตั้งโชว์ได้สวยงาม

แต่แปลกใจว่า ยังมีอีกภาพหนึ่งอยู่ในหนังสือคุณอเนก เป็นภาพเดียวกันนี้แต่มีลักษณะด้านหลังการ์ด มียี่ห้อ Francis Chit ประกอบอยู่ด้วยครับ ตัวหนังสือก็เขียนลายมือนี้แบบเดียวกัน  ???


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 08 ก.ย. 14, 19:24
ทำอย่างนี้บ้างได้มั้ย


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 08 ก.ย. 14, 19:29
ทำอย่างนี้บ้างได้มั้ย

ตอนมากรุงสยาม ยังมิได้ฉายพระบรมรูปนี้ ถ้าเจอก็จะคว้ามาปะยี่ห้อ....... ;D ;D


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 08 ก.ย. 14, 20:09
แน่นอนครับ เป็นธรรมชาติของการถ่ายรูปด้วยแผ่นเงินกระมังครับ ที่มีขนาดเล็กนิดเดียว และมีการการอัดลงใส่กระดาษเล็กเท่ากระดาษนามบัตร เรียกว่า Card De Visit ซึ่งเป็นที่นิยมกันมากในยุคสมัยนั้นครับ ไว้สำหรับอัดใส่กรอบ ทำใส่ลับแลตั้งโชว์ได้สวยงาม

ขอแยกซอยไปเล่าถึง Card De Visit  ซึ่งจริงๆแล้วสะกดว่า carte de visite หรือ carte-de-visite   มาจากภาษาฝรั่งเศส เป็นภาพถ่ายขนาดเล็กกว่าโปสการ์ดที่นิยมกันมากตอนกลางศตวรรษที่ 19  
สมัยนั้น  ผู้คนถ่ายรูปตัวเองเป็นภาพเล็ก เพื่อส่งให้แฟนพกพาไปได้สะดวก  หรือจะส่งให้ญาติมิตรเป็นที่ระลึกก็ง่ายกว่าภาพขนาดใหญ่ที่มีไว้ติดผนังเสียมากกว่า      ห้องภาพต่างๆนิยมอัดภาพเล็กของคนมีชื่อเสียงด้วย    เพราะชาวบ้านนิยมซื้อเอาไปเป็นคอลเลคชั่น ใส่อัลบั้มไว้ดูก็ได้อย่างภาพข้างล่างนี้
ในเมื่อสยามเปิดประเทศให้ชาวตะวันตกเข้ามาค้าขายเจริญพระราชไมตรีได้สะดวก     ชะรอยว่าพระรูปของเจ้านายสยามจะมีพ่อค้าหัวใสอัดเป็นภาพเล็ก เพื่อไว้ขายให้ลูกค้าฝรั่งในสิงคโปร์หรืออินเดีย ซื้อไปสะสมรวมกับภาพเจ้านายชาติอื่นๆกระมัง?
ภาพพระรูปเหล่านี้จึงมีอยู่หลายภาพ  กระจัดกระจายอยู่หลายแห่ง  เหลือรอดมาถึงปัจจุบัน


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 08 ก.ย. 14, 20:11
สมัยนั้นเขาอัดภาพ carte-de-visite  กันหลายๆรูปแบบนี้ค่ะ ขยายด้วยก็ได้
นึกถึงสมัยถ่ายรูปนิสิตเลย  อัดออกมาทีละหนึ่งโหล    เจ๊เจ้าของร้านก็ใช้เครื่องมือตัดให้ดูกันตรงหน้า


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 08 ก.ย. 14, 20:14
ตัวอย่างด้านหน้า และด้านหลัง


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 08 ก.ย. 14, 20:45
carte de visite  มีขนาดเท่านามบัตรในปัจจุบัน หรือ carte de visite  ๔ใบรวมกันจะมีขนาดเท่า Postcard ๑ใบ

แต่พระบวรฉายาลักษณ์ที่ผมกำลังพูดถึงมีขนาดใหญ่กว่าเท่าตัว คือ๒ใบรวมกันเท่ากับ Postcard ๑ใบ
พูดอีกนัยยะหนึ่ง ใหญ่กว่าcarte de visite ๑เท่า แต่เล็กกว่าPostcard ๑เท่า

ข้างหลังไม่มีตราประทับของฟรันซิส จิตร มีลายมือเขียนตามที่นำมาลงไว้เท่านั้น


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 08 ก.ย. 14, 20:59
วิกิฝรั่งให้คำอธิบายว่า
The size of a carte de visite is 54.0 mm (2.125 in) × 89 mm (3.5 in) mounted on a card sized 64 mm (2.5 in) × 100 mm (4 in)



กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 08 ก.ย. 14, 21:14
ไปค้นการตกแต่งภาพเก่าในสมัยปลายศตวรรษที่ 19 จนถึงต้นศตวรรษที่ 20 มาให้ดูกันค่ะ

สตรีเจ้าของภาพนี้คือ Marie Corelli  นักเขียนคนโปรดของดิฉัน  ที่คุณประกอบอุตส่าห์ไปหาบ้านเธอที่สแตรทฟอร์ดแล้วไม่เจอ
ไม่เป็นไร ผ่านไปอีกเมื่อไหร่แวะด้วยนะคะ

คอเรลลี่ตอนสาวๆเป็นผู้หญิงสวยน่ารัก ผิวขาว ผมทอง ตาสีฟ้า ตามแบบฉบับที่นิยมกันในอังกฤษ  แฟนหนังสือชื่นชมกันมาก  เธอจึงระแวดระวังกับรูปโฉมเมื่อเธอสูงวัยขึ้น   ในรูปทางซ้ายเกิดขึ้น เมื่อเธอไปถ่ายรูปในห้องภาพแห่งหนึ่งในลอนดอน   พอช่างล้างภาพออกมาส่งให้  ก็กลายเป็นยายแก่   เธอทนไม่ได้กับริ้วรอยบนใบหน้า จึงสั่งให้ช่างจัดการใหม่ ลดอายุลงมาประมาณ 20-30 ปี 
ช่างก็จัดการเสียจนกลายเป็นภาพขวา   อ่อนวัยลงสมใจเธอ

ที่จะตั้งข้อสังเกตก็คือฝีมือช่างภาพลอนดอน ซึ่งก็ต้องฝีมือไม่เบา เพราะคนดังแถมรวยด้วยอย่างคอเรลลี่ย่อมไม่เข้าห้องภาพกระจอกๆ  ดูจากรูปซ้ายคอเรลลี่คงอายุไม่ต่ำกว่า 50  ช่างทำสุดฝีมือได้ขนาดนี้ในยุคก่อนมีโฟโต้ช็อป   มองเห็นชัดว่าหน้าตาในรูปขวาไม่สมจริง   แทบจะกลายเป็นภาพเขียนไปเลยทั้งหน้า
เมื่อมาเทียบกับพระรูปปริศนา  ที่สายยงยศและเครื่องราชฯละเอียดประณีตมาก ต้องซูมเข้าไปจึงเห็น    ฝีมือช่างภาพปริศนาในยุคก่อนมีโฟโต้ช็อปในสิงคโปร์ หรือสยาม  เหนือชั้นกว่าช่างภาพลอนดอนอีกแฮะ


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 08 ก.ย. 14, 21:22
เห็นด้วยว่าภาพข้างบนแต่งไม่ยากครับ รอยเหี่ยวย่นบนใบหน้าช่างใช้ภู่กันเล็กๆเกลี่ยสบาย
อ้างถึง
นั่นคือย่อความที่ได้เรื่องมา ซึ่งโดยสรุปก็คือ ผมเชื่อว่าภาพพระบวรฉายาลักษณ์ฉบับตกแต่งนี่ไม่ใช่ฝีมือของฟรันซิส จิตรกระทำขึ้นเองอย่างแน่นอน และคงไม่มีใครในสยามกระทำขึ้น

เมื่อเป็นเช่นนั้น ก็ต้องเพ่งเล็งไปที่ฝรั่งว่าเป็นผู้กระทำ แต่จะเป็นฝรั่งสิงคโปรหรือฝรั่งเศสเท่านั้น แต่ในพ.ศ.โน้น ฝรั่งชาติอื่นคงไม่มีใครสนใจจะประดิษฐ์ประดอยทำไปเพื่ออะไร

นายแชสเลอร์ฝรั่งสิงคโปรก็ไม่น่าจะใช่ เพราะถ้าใช่ หมอนี่ก็ดังไปแล้วเพราะคงจะไม่ได้รับแต่งภาพเพียงภาพเดียว ไม่ใช่บุคคลสาบสูญขนาดอินทรเนตรก็ยังสอดส่องไปไม่พบร่องรอยฝีมือตะแก

ก็เหลือพวกหนังสือพิมพ์ฝรั่งเศสเท่านั้น เพราะถ้าถามว่าทำไปทำไม ก็คงมีคำตอบ


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 09 ก.ย. 14, 07:14
Carte de Visite แบบใหญ่ขนาดครึ่งโปสการ์ดผลิตในฝรั่งเศสใบนี้ นำมาแสดงเพื่อให้เห็นว่าตรายี่ห้อที่ประทับหลังภาพ ไม่จำเป็นต้องแปลว่าช่างภาพของห้องภาพนั้น ได้เดินทางมาสยามเพื่อถ่ายภาพดังกล่าวเอง แต่เขาจะซื้อภาพใครมาอัดขายก็ได้
พระบรมฉายาลักษณ์ภาพนี้ ผู้นำออกประมูลขายใช้คำว่า extremely rare photo หรือหายากสุดๆ แล้วก็จบราคากันแพงมากกกก ตั้ง ๑๕๐๐๐ บาท

อ้างถึง
LOT NO: 661     Starting: THB 15000   Approx: € 357    
Carte de Visite (CDV) 1868-80, "King Mongkut - Rama IV" Sitting Posture published by "Photograhie Frank - France" original b&w photo size 5.5x9cm. attached on to a thick card size 6.2x10.5cm., reverse printed company's name, extremely rare photo. VF(1)

บัตรรูปภาพ Carte de Visite(CDV) 2411-23 "พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว" ประทับนั่งฉลองพระองค์เต็มยศ ผลิตโดย"Photograhie Frank - France" ด้านหน้าเป็นภาพถ่ายขาว-ดำ ขนาด 5.5x9ซม. ผนึกติดบนกระดาษแข็ง ขนาด 6.2x10.5ซม. ด้านหลังชื่อและที่อยู่บริษัทฯ หายากมาก VF(1)

Auction Result for LOT NO:661:   Sold at THB 15000


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 09 ก.ย. 14, 07:56
พระบรมฉายาลักษณ์ชุดนี้ถ่ายในปี๒๔๐๓ หลายปีก่อนหน้าที่พระเจ้านโปเลียนที่๓ จะส่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์มาถวาย ซึ่งหลังจากนั้นก็ทรงฉลองพระองค์ประดับดวงดาราและสายสะพายดังกล่าวถ่ายทำพระบรมฉายาลักษณ์อีกชุดใหญ่ ส่งไปถวายผู้ที่ถวายมา ฝรั่งเศสมีภาพเหล่านั้นครบชุดแล้วมีความจำเป็นอย่างไรที่จะต้องเอาพระบรมฉายาลักษณ์เก่าๆมาตกแต่งเสียจนดูเป็นภาพใหม่อีก


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 09 ก.ย. 14, 08:15
คำตอบก็คือ มันเป็นเหตุผลทางการค้าครับ
พ่อค้าย่อมแสวงหาอะไรที่แปลกกว่าที่คนอื่นเขามีกัน มาฉีกตลาดออกไปบ้างเพื่อขายสินค้าของตน แม้จะต้องตกแต่งระดับminor change หรือจะถึงขั้นปลอมแปลงกันก็เอา

ตอนนั้น สยามเพิ่งจะเป็นที่รู้จักและน่าสนใจของชาวฝรั่งเศสหลังจากที่เฮนรี มูโอต์กลับไปเขียนเรื่องราวของสยามและเมืองขึ้น ฝรั่งเศสน่ะได้ญวนไปแล้ว เห็นลาวกับเขมรในภาพของนครวัตที่ว่ากันว่า ต้องเห็นให้ได้สักครั้งหนึ่งก่อนตาย ก็ย่อมอยากได้ และต้องศึกษาสยามซึ่งเป็นผู้ครอบครองในสมัยนั้น

ยิ่งสยามมีกษัตริย์สองพระองค์ในเวลาเดียวกันยิ่งน่าทึ่งเข้าไปใหญ่ ภาษาการตลาดเขาเรียกว่า"มีจุดขาย"  ภาพทั้งกษัตริย์องค์ที่หนึ่งและกษัตริย์องค์ที่สองทรงเครื่องราชย์ของฝรั่งเศส ย่อมมีผู้ต้องการซื้อเก็บไปดูเล่นหรือเป็นของสะสมพอสมควรทีเดียวแน่นอนครับ ชาวปารีสส่วนใหญ่จะไปทราบได้อย่างไรว่าภาพที่เห็นได้ถูกแต่งแต้มอะไรมาบ้าง


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 09 ก.ย. 14, 09:19
ที่หอจดหมายเหตุ ยังมีพระบวรฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าอีกภาพนะครับ ด้านหลังอย่างที่บอกไว้ว่าเป็นตราของฟรานซิส จิตร (ที่มา หนังสือภาพเก่า คุณอเนก)


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 09 ก.ย. 14, 10:06
เสียดายเมื่อวานผมไม่ได้ดูภาพนี้ อย่างที่เขาบอก ไม่มีระหัส หวญ.แต่ถ้าได้ระหัสนี้ไปอาจจะได้ดู

ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ ในฐานข้อมูล มีภาพพระปิ่นเกล้าเพียง๓ภาพเท่านั้น โชคดีมีที่ตามหา๑ภาพ อีก๒ ก็ที่เห็นๆกันจนเบื่อ ภาพที่ทรงประดับดารากลมๆ ไปเที่ยวนี้เขาก็บอกว่าไม่มี

เห็นการทำงานของหอจดหมายเหตุแล้ว คิดว่าถ้าจะให้มีบริการทางอินเทอเน็ตด้วยคงจะห่างไกลความจริงไปมากทีเดียว


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 09 ก.ย. 14, 10:15
ดูเนื้อภาพแล้วหยาบเกินไป ไม่น่าจะเป็นภาพที่อัดมาจากกระจก0riginal แต่สำเนามาจากภาพที่ "มิตรจากแดนไกล"ส่งมาให้มากกว่า


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 09 ก.ย. 14, 14:25
Carte de Visite ภาพเจ้าพระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษา (แพ บุนนาค) ราชทูตไปฝรั่งเศสสมัยจักรพรรดินโปเลียนที่ ๓ (บน) และ นายชายบุตรอุปทูต ซึ่งต่อมาคือ พระยาประภากรวงศวรวุฒิภักดี (ชาย บุนนาค) (ล่าง)  พ.ศ. ๒๔๐๔  ขนาด ๖.๔ X ๑๑.๔ เซนติเมตร ฝีมือห้องภาพฝรั่งเศส ;D

ภาพจาก  jgphot.free.fr   (http://jgphot.free.fr/collection/mover%20button/cv/NADAR/cv2.html)


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 09 ก.ย. 14, 18:09
เข้ามาแจ้งให้ทราบว่าผมได้ไปหอจดหมายเหตุแห่งชาติอีกครั้งพร้อมระหัสอ้างอิงของคุณหนุ่มรัตนสยาม เพื่อขอดูภาพให้หายข้องใจ หลังจากรออยู่นับชั่วโมง เจ้าหน้าที่บอกว่าที่ช้าเพราะค้นหาอยู่นานกว่าจะพบว่าภาพนั้นถูกส่งไปซ่อมอีกแผนกหนึ่ง ซึ่งเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบวันนี้ไม่มาทำงาน ผมจะต้องไปอีกครั้งหนึ่งวันอื่น

ท่านที่สนใจก็อดทนหน่อยนะครับ ใกล้สรุปได้เต็มทีแล้ว


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 09 ก.ย. 14, 18:19
เอาภาพเจ้านายไม่ปรากฏพระนามมาอภินันทนาการ และช่วยประชาสัมพันธ์ให้เค้าหน่อยก็แล้วกัน

ขณะนี้ห้องภาพเก่า ขอจดหมายเหตุแห่งชาติ ท่าวาสุกรี ได้เอาภาพมาจัด Grand Sales ราคาภาพขนาดใหญ่๘x๑๐ก็๒๐บาท  ๕x๗ ๑๐บาท ภาพที่เห็นเป็นขนาดโปสการ์ด ผมซื้อมารูปละ ๕ บาท ใครสนใจก็ไปเลือกซื้อหาได้นะครับ


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 09 ก.ย. 14, 19:23
เข้ามาแจ้งให้ทราบว่าผมได้ไปหอจดหมายเหตุแห่งชาติอีกครั้งพร้อมระหัสอ้างอิงของคุณหนุ่มรัตนสยาม เพื่อขอดูภาพให้หายข้องใจ หลังจากรออยู่นับชั่วโมง เจ้าหน้าที่บอกว่าที่ช้าเพราะค้นหาอยู่นานกว่าจะพบว่าภาพนั้นถูกส่งไปซ่อมอีกแผนกหนึ่ง ซึ่งเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบวันนี้ไม่มาทำงาน ผมจะต้องไปอีกครั้งหนึ่งวันอื่น

ท่านที่สนใจก็อดทนหน่อยนะครับ ใกล้สรุปได้เต็มทีแล้ว

ผมยังรอภาพเหรียญตรากลมๆ มากกว่าครับว่าเป็นเหรียญอะไร  ???


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 09 ก.ย. 14, 20:25
แล้วกันมารอทำไมล่ะ คุณเป็นเซียนทั้งรูปเก่าและเหรียญโบราณก็ช่วยหาซี มากะฟลุ๊กอะไรจากพ้ม

พระบวรฉายาลักษณ์ภาพนั้น แปลกแฮะ หอจดหมายเหตุบอกไม่มี ทั้งๆที่เมื่อเดือนที่แล้วกรมศิลปากรขยายภาพออกมาครึ่งเท่าพระองค์จริงในงานนิทรรศการวังหน้า ผมไปยืนจ้องและถ่ายclose upมาด้วย ก็ได้อย่างที่เห็นแหละครับ จะซื้อจากเวปฝรั่งก็ยังไม่สำเร็จซะที


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 10 ก.ย. 14, 07:04
น่าคิดต่อไปว่าการถ่ายภาพพระบวรฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ นั้นใช้เทคนิคอะไรในการถ่ายภาพ ระหว่าง

๑. ถ่ายบนแผ่นเงิน

๒. ถ่ายบนกระจกเปียก

++++++++++++++

๑. การถ่ายภาพบนแผ่นเงินนั้น จะได้ภาพติดกับตัวแผ่นเงิน มีลักษณะเงาคล้ายการมองฮาโลแกรม สามมิติในสมัยนี้ มีความเงาสะท้อนแสง แผ่นเงินมีขนาดเล็กได้ภาพออกมาคมชัดมาก แต่ขั้นตอนการทำนั้นยุ่งยากมากๆ

๒. ถ่ายบนกระจกเปียก เพียงเทสารไวแสงให้เคลือบกระจก ปล่อยให้แห้งแล้วนำไปถ่ายภาพ จากนั้นก็ทำสำเนาอัดลงบนกระดาษไวแสง คือ กระดาษอัลบูมิน (ทำด้วยไข่ขาว+สารไวแสง) ก็จะได้ภาพอัดลงบนกระดาษแล้ว


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 10 ก.ย. 14, 07:13
อุปกรณ์สำหรับถ่ายภาพแบบกระจกเปียก


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 10 ก.ย. 14, 15:40
ผมจะต้องไปอีกครั้งหนึ่งวันอื่น

ท่านที่สนใจก็อดทนหน่อยนะครับ ใกล้สรุปได้เต็มทีแล้ว


หากคุณนวรัตนไปหอจดหมายเหตุอีกครั้ง ฝากสอบถามถึงกระจกเนกาตีฟต้นฉบับของพระบวรฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ อาจฟลุคพบคำตอบก็ได้   ;D


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 10 ก.ย. 14, 16:57
ถามแล้ว เขาไม่ให้ดูครับ ใครดูได้ต้องมีเส้นใหญ่จริงๆ

คือประชาชนทั่วไปก็ไปหาบัญชีรายชื่อภาพ อยากดูภาพอะไรก็จดระหัสไปแจ้งเขา เขาก็จะไปหยิบมาให้ดู ไม่เอาเนกาตีฟให้ดูครับ
ภาพพระบวรฉายาลักษณ์ ขอให้เห็นตัวจริงก่อน ถ้าจำเป็นต้องดูค่อยหาเส้นไปขอดูอีกที



กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 11 ก.ย. 14, 09:23
ถามแล้ว เขาไม่ให้ดูครับ ใครดูได้ต้องมีเส้นใหญ่จริงๆ

คือประชาชนทั่วไปก็ไปหาบัญชีรายชื่อภาพ อยากดูภาพอะไรก็จดระหัสไปแจ้งเขา เขาก็จะไปหยิบมาให้ดู ไม่เอาเนกาตีฟให้ดูครับ
ภาพพระบวรฉายาลักษณ์ ขอให้เห็นตัวจริงก่อน ถ้าจำเป็นต้องดูค่อยหาเส้นไปขอดูอีกที



ขอดูต้องใช้เส้น ไปแบบประชาชนเต็มขั้นก็ได้มาตรฐานแบบนี้ ... ส่วนภาพอีกค้นหาก็ส่งซ่อม ไม่รู้ว่าจะเสร็จเมื่อใด ........ คำตอบอยู่ในสายลม


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 12 ก.ย. 14, 16:03
วันนี้พอผมเดินเข้าไปในห้องเก็บภาพเก่า เจ้าหน้าที่ก็จำได้และนำสิ่งที่ผมอยากเห็นมาให้ดูตามนัด สิ่งนั้นคืออัลบั้มภาพเก่าที่ปกเริ่มกรอบแล้ว เข้าใจเลยว่าที่เขาบอกว่าได้ส่งไปซ่อมนั้นก็เพราะเหตุใด ที่ต้องซ่อมไม่ใช่ตัวภาพในนั้นแต่เป็นตัวอัลบั้มนั่นเอง นี่เขาเห็นว่าผมสนใจเป็นพิเศษจึงขอยืมจากช่างมาให้ผมดู โดยไม่จำเป็นต้องใช้เส้นใช้สายอะไร ถือเป็นเป็นความกรุณา สงสัยจะสงสารคนมีอายุแบบผมที่ถ่อกายไปหลายครั้งแล้ว

รูปข้างล่างเอาลงมาให้ดูพอเป็นสังเขปว่า อัลบั้มที่ว่าหน้าตาเป็นอย่างไร

เจ้าของอัลบั้มคงเป็นเจ้านายสมัยรัชกาลที่๕ ที่เก็บภาพชนิด carte de visite ขนาดครึ่งโปสการ์ดไว้ในรูปแบบของการสะสม คล้ายๆกับนักเล่นแสตมป์ พระบวรฉายาลักษณ์อยู่ในหน้านึงแบบปะปนกับภาพเจ้านายองค์อื่นๆ ที่จำได้ก็มีพระองค์เจ้าปฤศฤางค์ที่ทรงถ่ายสมัยที่เป็นอัครราชทูตประจำประเทศอังกฤษแล้วองค์หนึ่งละ


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 12 ก.ย. 14, 16:05
ผมขอให้เขาช่วยกรุณานำภาพพระบวรฉายาลักษณ์ออกมาจากอัลบั้ม จึงได้เห็นระหัสหวญ.ชัดเจน หมายความว่าเป็นสมบัติของหอวชิรญาณมาแต่เดิม โดยเจ้าของผู้ไม่ทราบว่าเป็นใครมอบให้ แต่แน่นอนว่าไม่ใช่บุตรหลานของนายจิตร ถึงจะมีตราประทับข้างหลังว่า Francis Chit, Bangkok.ก็ตาม


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 12 ก.ย. 14, 16:06
พระบวรฉายาลักษณ์องค์นี้แบบเต็มๆ สำหรับผู้ที่ต้องการเก็บไว้ศึกษา


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 12 ก.ย. 14, 16:08
ผมขอตั้งข้อสังเกตว่า ตราประทับที่ระบุแต่ชื่อ Francis Chit อาจจะเป็นภาพที่ห้างของนายจิตรอัดออกขาย ไม่ใช่ภาพอัดจากกระจกแบบOriginalที่นายจิตรเป็นช่างภาพผู้ถ่ายเอง ซึ่งภาพเหล่านั้นนายจิตรจะประทับโลโก้เทียบชั้นห้องภาพชั้นดีของโลกอย่างไม่เคอะเขิน

กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ นายจิตรคงได้พระบวรฉายาลักษณ์นี้มาจากทางใดทางหนึ่ง แล้วนำมาอัดขายในเมืองไทยแบบให้ซื้อไปใส่อัลบั้มเล่นสะสม ซึ่งที่ห้างนายจิตรอาจมีเป็นสิบๆภาพให้เลือกเพื่อสนองความต้องการของบุคคลระดับไฮโซที่แสวงหาของเล่นในยุคนั้น


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 12 ก.ย. 14, 16:30
วันนี้พอผมเดินเข้าไปในห้องเก็บภาพเก่า เจ้าหน้าที่ก็จำได้และนำสิ่งที่ผมอยากเห็นมาให้ดูตามนัด สิ่งนั้นคืออัลบั้มภาพเก่าที่ปกเริ่มกรอบแล้ว เข้าใจเลยว่าที่เขาบอกว่าได้ส่งไปซ่อมนั้นก็เพราะเหตุใด ที่ต้องซ่อมไม่ใช่ตัวภาพในนั้นแต่เป็นตัวอัลบั้มนั่นเอง นี่เขาเห็นว่าผมสนใจเป็นพิเศษจึงขอยืมจากช่างมาให้ผมดู โดยไม่จำเป็นต้องใช้เส้นใช้สายอะไร ถือเป็นเป็นความกรุณา สงสัยจะสงสารคนมีอายุแบบผมที่ถ่อกายไปหลายครั้งแล้ว

รูปข้างล่างเอาลงมาให้ดูพอเป็นสังเขปว่า อัลบั้มที่ว่าหน้าตาเป็นอย่างไร

เจ้าของอัลบั้มคงเป็นเจ้านายสมัยรัชกาลที่๕ ที่เก็บภาพชนิด carte de visite ขนาดครึ่งโปสการ์ดไว้ในรูปแบบของการสะสม คล้ายๆกับนักเล่นแสตมป์ พระบวรฉายาลักษณ์อยู่ในหน้านึงแบบปะปนกับภาพเจ้านายองค์อื่นๆ ที่จำได้ก็มีพระองค์เจ้าปฤศฤางค์ที่ทรงถ่ายสมัยที่เป็นอัครราชทูตประจำประเทศอังกฤษแล้วองค์หนึ่งละ


(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=6059.0;attach=50842;image)

ยกนิ้วให้กับความอุตสาหะวิริยะของท่าน NAVARAT.C


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 12 ก.ย. 14, 16:37
งั้นพระบวรฉายาลักษณ์รูปนี้ก็นำลงในต้นกระทู้ แทนภาพเก่าที่มีกรรมสิทธิ์ได้แล้วละซีคะ  ดิฉันจะได้ย้อนกลับไปใส่ให้ครบ
เพื่อคนที่เข้ามาศึกษาในตอนหลังจะได้เข้าใจเนื้อความได้ครบถ้วน


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 12 ก.ย. 14, 16:41
พระบรมฉายาลักษณ์และพระบวรฉายาลักษณ์ทุกภาพ รวมทั้งภาพถ่ายโบราณที่มีอายุเกิน๕๐ปี ถือเป็นสมบัติของชาติ ไฉนบุคคลใดบุคคลหนึ่งจะอ้างว่ามีลิขสิทธื์ในภาพใดภาพหนึ่งได้ สิทธิ์ดังกล่าวเกิดขึ้นได้อย่างไร

แล้วทำไมจึงขอให้ลบกระทู้ หรือลบภาพที่ถูกนำมาลงเพื่อการศึกษานี้ด้วย
ถ้าจะเอาออกไป ผมขอประท้วงครับ


สำหรับพระบวรฉายาลักษณ์สมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ภาพนี้เป็นสมบัติส่วนตัวของพี่อรรถดา คอมันตร์ ที่นำลงพิมพ์ในหนังสือสยามเรเนสซอง และได้ทำการขออนุญาตจากพี่อรรถดาในการใช้ภาพนี้เพื่อเป็นการศึกษาและค้นคว้าโดยไม่มีผลประโยชน์ทางแสวงหากำไร เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
จึงขอขอบพระคุณมา ณ ที่นี้ด้วย

ดิฉันขอขอบคุณคุณอรรถดาเช่นเดียวกับคุณ siamese    ที่อนุญาตให้ใช้ภาพนี้ได้  แต่ในเมื่อภาพนี้ได้มีลิขสิทธิ์ของสำนักพิมพ์ซ้อนเข้ามาอีก   เพื่อคลี่คลายความลำบากใจของทุกฝ่าย ดิฉันจะขอลบพระบวรฉายาลักษณ์ของสมเด็จพระปิ่นเกล้าที่มีชื่อห้องภาพสิงคโปร์ออกไป และหาพระรูปอื่นในลักษณะเดียวกันมาแทนที่      เพราะจุดมุ่งหมายของกระทู้นี้ เน้นที่เครื่องราชอิสริยาภรณ์ในพระรูป   ไม่ใช่ตัวพระรูปเอง ดังนั้นพระรูปอื่นที่คล้ายกันก็คงจะใช้ได้

และขอประทานโทษคุณอรรถดาที่ทำให้ยุ่งยากเสียเวลา  ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของทางฝ่ายดิฉัน ที่เกิดขึ้นด้วยค่ะ   เมื่อรู้แล้วก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ จะพยายามแก้ไขอย่างดีที่สุด

ไม่ต้องลบครับ อ.เทาชมพู / พี่ท่านได้โทรมาคุยกับผมแล้ว ไม่ติดใจอะไรและฝากนับถือ อ.เทาชมพู และ อ. Navarat ด้วยครับ สิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดนี้พี่ท่านได้ทิ้งท้ายไว้อย่างเดียวว่า ไม่อยากให้คนไทยเข้าใจผิดไปว่าภาพนี้อยู่เมืองนอก ตอนนี้ภาพนี้อยู่เมืองไทย โดยคนไทยแล้ว และทำเพื่อความรู้ยิ่งสนับสนุนเพียงแต่ให้เครดิทก็เพียงพอ เพราะพี่ท่านลงทุนซื้อภาพ ( ราคาหลายบาทนะคับ เท่าที่ผมได้ยินมา - หนุ่มสยาม)  ดังนี้แล้วกระทู้คุยเรื่องค้นหาตราปริศนาต่อไปละกันครับ

ตามนั้นเลยครับ


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 12 ก.ย. 14, 16:54
ผมขอสรุปที่มาที่ไปของพระบวรฉายาลักษณ์ให้ชัดๆ

ภาพช้าย มาจากเวปของเยอรมัน (ซึ่งเขาได้มาอย่างไรต่อจากนี้เราจะแกะรอยกัน ทุกวันนี้สามารถเข้าไปซื้อได้ในราคา๒๕๐บาท จะได้ภาพที่มีความละเอียดสูง เหมาะจะเอามาหาว่าเหรียญที่ติดที่ฉลองพระองค์เป็นเหรียญอะไร) ผมถือว่าเป็นต้นฉบับ เพราะสีของฉลองพระองค์ในภาพไม่เข้มจนเกินไป
ภาพขวา ศาสตราจารย์ศักดาได้มาจากสถาบันMEPของฝรั่งเศส น่าจะแต่งความเข้มของฉลองพระองค์มาทีหนึ่งแล้ว แถมยังตัดภาพส่วนบนออกไปด้วย จึงไม่ใช่ต้นฉบับ(แม้ว่าที่เห็นนี้จะคมชัดกว่าก็ตาม)


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 12 ก.ย. 14, 17:04
จากภาพต้นฉบับ ผมยังเชื่อว่าการตกแต่งภาพเพื่อใส่เครื่องราชอิสริยาภรณ์ของเขาให้พระองค์ท่าน กระทำในฝรั่งเศสนั่นเอง แต่น่าจะเป็นสมัยหลังๆที่เกิดกระแสนิยมเล่นสะสมภาพ carte de visite กัน ทั้งขนาดเต็มโปสการ์ดและครึ่งโปสการ์ด แพร่ขยายจากยุโรปไปยังอาณานิคมฝรั่งต่างๆทั่วโลก รวมถึงเอเซีย แล้วมาถึงสยามในสมัยรัชกาลที่๕ โดยลูกหลานของนายจิตรรับมาจากยี่ปั๊วในสิงคโปรอีกทีหนึ่ง


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 12 ก.ย. 14, 17:37
ติดตามและคิดตามไปด้วย
มาถึงคำถามสรุป ว่าการแต่งเติมเครื่องราชให้พระองค์ท่าน ทำไปเพื่ออะไรคะ


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 12 ก.ย. 14, 17:57
คำตอบก็คือ มันเป็นเหตุผลทางการค้าครับ
พ่อค้าย่อมแสวงหาอะไรที่แปลกกว่าที่คนอื่นเขามีกัน มาฉีกตลาดออกไปบ้างเพื่อขายสินค้าของตน แม้จะต้องตกแต่งระดับminor change หรือจะถึงขั้นปลอมแปลงกันก็เอา

ตอนนั้น สยามเพิ่งจะเป็นที่รู้จักและน่าสนใจของชาวฝรั่งเศสหลังจากที่เฮนรี มูโอต์กลับไปเขียนเรื่องราวของสยามและเมืองขึ้น ฝรั่งเศสน่ะได้ญวนไปแล้ว เห็นลาวกับเขมรในภาพของนครวัตที่ว่ากันว่า ต้องเห็นให้ได้สักครั้งหนึ่งก่อนตาย ก็ย่อมอยากได้ และต้องศึกษาสยามซึ่งเป็นผู้ครอบครองในสมัยนั้น

ยิ่งสยามมีกษัตริย์สองพระองค์ในเวลาเดียวกันยิ่งน่าทึ่งเข้าไปใหญ่ ภาษาการตลาดเขาเรียกว่า"มีจุดขาย"  ภาพทั้งกษัตริย์องค์ที่หนึ่งและกษัตริย์องค์ที่สองทรงเครื่องราชย์ของฝรั่งเศส ย่อมมีผู้ต้องการซื้อเก็บไปดูเล่นหรือเป็นของสะสมพอสมควรทีเดียวแน่นอนครับ ชาวปารีสส่วนใหญ่จะไปทราบได้อย่างไรว่าภาพที่เห็นได้ถูกแต่งแต้มอะไรมาบ้าง
ขอฉายซ้ำอีกทีนึงครับ


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 14 ก.ย. 14, 10:06
ผมขอตั้งข้อสังเกตว่า ตราประทับที่ระบุแต่ชื่อ Francis Chit อาจจะเป็นภาพที่ห้างของนายจิตรอัดออกขาย ไม่ใช่ภาพอัดจากกระจกแบบOriginalที่นายจิตรเป็นช่างภาพผู้ถ่ายเอง ซึ่งภาพเหล่านั้นนายจิตรจะประทับโลโก้เทียบชั้นห้องภาพชั้นดีของโลกอย่างไม่เคอะเขิน

กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ นายจิตรคงได้พระบวรฉายาลักษณ์นี้มาจากทางใดทางหนึ่ง แล้วนำมาอัดขายในเมืองไทยแบบให้ซื้อไปใส่อัลบั้มเล่นสะสม ซึ่งที่ห้างนายจิตรอาจมีเป็นสิบๆภาพให้เลือกเพื่อสนองความต้องการของบุคคลระดับไฮโซที่แสวงหาของเล่นในยุคนั้น


อีกภาพหนึ่งที่สนับสนุนความเห็นของผม คือ carte de visite ภาพตัวนายจิตรเอง ถ้าอยู่ในสมัยรัชกาลที่ ๔ นายจิตรยังไม่ได้เป็นขุนนางระดับที่เห็นในภาพ และนอกไปจากนั้น ผู้ที่อัดจำหน่ายภาพนี้อาจจะเป็นลูกนายจิตรเอง ที่ยังใช้โลโก้ของพ่ออยู่สำหรับสินค้าประเภทนี้


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 16 ก.ย. 14, 12:20
ข้อมูลจากเวปไซด์ฝรั่งเศส ระบุว่าพระบวรฉายาลักษณ์นี้ ถ่ายโดยปีแอร์ โรซิเยท์ (เข้ามาสยาม เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๔)


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 16 ก.ย. 14, 12:42
^


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 16 ก.ย. 14, 13:45
ข้อมูลจากเวปไซด์ฝรั่งเศส ระบุว่าพระบวรฉายาลักษณ์นี้ ถ่ายโดยปีแอร์ โรซิเยท์ (เข้ามาสยาม เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๔)

ถ้าเป็นแบบนี้แล้ว การถ่ายภาพนี้ก็ควรเป็นการถ่ายภาพด้วยระบบกระจกเปียก แล้วทำสำเนาภาพลงบนกระดาษอัลบูมินอัดภาพได้หลายใบ

ดังนี้แล้วจึงต้องตั้งคำถามกลับไปว่า มีการตกแต่งสายสะพาย จากแผ่นกระจก (ต้นฉบับ) หรือตกแต่งจากกระดาษอัดรูปอีกต่อหนึ่ง  ???



กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 16 ก.ย. 14, 14:06
ข้อมูลจากเวปไซด์ฝรั่งเศส ระบุว่าพระบวรฉายาลักษณ์นี้ ถ่ายโดยปีแอร์ โรซิเยท์ (เข้ามาสยาม เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๔)

มีอยู่คนหนึ่งไม่เชื่อข้อมูลนี้  ;)

ผมได้คัดค้านแล้วว่า พระบรมรูปรัชกาลที่ 4 ทรงฉายกับเครื่องราชบรรณาการนั้น จะถ่ายโดยโรสซิเย่ร์ไม่ได้
พระบรมรูปอีกพระองค์ในนิทรรศการ คือพระบรมรูปพระปิ่นเกล้า ก็มิใช่เช่นกัน


(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=2474.0;attach=3121;image)


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 16 ก.ย. 14, 15:18
สนุกจริงๆ ไหนๆก็ไหนๆ Where Where is a Where Where

เอาโฆษณาของหมอบรัดเลย์มาลงซะเลย


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 16 ก.ย. 14, 16:38
สนุกจริงๆ ไหนๆก็ไหนๆ Where Where is a Where Where

เอาโฆษณาของหมอบรัดเลย์มาลงซะเลย

วันศุกร์ เดือน ๑๐ แรม ๑๓ ค่ำ (พศ อะไรหนอ  ???)


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 16 ก.ย. 14, 16:58
๒๔๐๘ ครับ


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 16 ก.ย. 14, 17:13
๒๔๐๘ ตามหนังสือของอาจรย์เอนก แต่ของอาจารย์ศักดา บอก ๒๔๐๗ หักลบกับค.ศ.แล้ว อาจารย์ศักดาบวกลบคูณหารถูกต้อง


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 16 ก.ย. 14, 18:16
ข้อมูลจากเวปไซด์ฝรั่งเศส ระบุว่าพระบวรฉายาลักษณ์นี้ ถ่ายโดยปีแอร์ โรซิเยท์ (เข้ามาสยาม เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๔)

มีอยู่คนหนึ่งไม่เชื่อข้อมูลนี้  ;)

ผมได้คัดค้านแล้วว่า พระบรมรูปรัชกาลที่ 4 ทรงฉายกับเครื่องราชบรรณาการนั้น จะถ่ายโดยโรสซิเย่ร์ไม่ได้
พระบรมรูปอีกพระองค์ในนิทรรศการ คือพระบรมรูปพระปิ่นเกล้า ก็มิใช่เช่นกัน


(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=2474.0;attach=3121;image)
อาจารย์พิพัฒน์มีเหตุผลอะไรหรือครับ


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 16 ก.ย. 14, 20:56
ข้อมูลจากเวปไซด์ฝรั่งเศส ระบุว่าพระบวรฉายาลักษณ์นี้ ถ่ายโดยปีแอร์ โรซิเยท์ (เข้ามาสยาม เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๔)

ถ้าเป็นแบบนี้แล้ว การถ่ายภาพนี้ก็ควรเป็นการถ่ายภาพด้วยระบบกระจกเปียก แล้วทำสำเนาภาพลงบนกระดาษอัลบูมินอัดภาพได้หลายใบ

ดังนี้แล้วจึงต้องตั้งคำถามกลับไปว่า มีการตกแต่งสายสะพาย จากแผ่นกระจก (ต้นฉบับ) หรือตกแต่งจากกระดาษอัดรูปอีกต่อหนึ่ง  ???


การแต่งกระจกทำได้โดยการขูดออก ซึ่งจะทิ้งร่องรอยให้เห็นได้ไม่ยาก การแต่งภาพบนกระดาษที่อัดรูปมาจะแนบเนียนกว่า แล้วนำกลับไปทำเนกาตีฟอีกที สังเกตุจากภาพของคุณอรรถา มีความพร่ามัวกว่าต้นฉบับที่เราดูกันอยู่นี้ ภาพที่หอจดหมายเหตุไม่ต้องพูดถึงเพราะเป็นภาพเล็ก ผมเอากล้องแบบดูพระส่องดูแล้วก็ยังไม่ชัดเท่ารูปที่เราดูบนจอคอมพิวเตอร์อยู่นี่ แต่ถึงอย่างไร พระบวรฉายาลักษณ์ที่ถูกตกแต่งก็โดยช่างฝีมือขั้นเทพ โฟโตชอฟถ้าคนทำมือไม่ถึงจริงก็ยังไม่แนบเนียนเท่า


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 16 ก.ย. 14, 21:22
เวปขายภาพโบราณของฝรั่ง กำลังเปิดประมูลรูปภาพที่ทำสำเนาโดยหอสมุดแห่งชาติฝรั่งเศส ให้ข้อมูลว่าถ่ายโดยปีแอร์ โรซิเยท์ ซึ่งรวมถึงภาพที่ถ่ายในสยามชุดนี้

ทั้งสามภาพ หนังสือของอาจารย์พิพัฒน์ระบุว่าฝีมือฟรันซิส จิตทั้งสิ้น


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 17 ก.ย. 14, 10:57
อาจารย์พิพัฒน์มีเหตุผลอะไรหรือครับ

คุณพิพัฒน์ไม่เชื่อคุณ Claude Estebe ช่างภาพชาวฝรั่งเศสซึ่งใช้วิธีประเมินเอา ในความเห็นของคุณพิพัฒน์โดยการประเมิน (มั่ว) เช่นกัน ก็น่าจะเป็นฝีมือคุณจิต  ;D

เราได้ทราบเหตุผลแล้ว ว่าในการระบุชื่อช่างภาพนั้น คุณคล๊อดใช้วิธีประเมินเอา เมื่อไปพบพระรูปอยู่ในกลุ่มที่คล้ายกับผลงานของโรสซิเย่ร์  
จึงเขียนคำอธิบายไว้อย่างนั้น วิธีนี้ผมก็ใช้นะครับ ไม่ใช่เรื่องเสียหายอะไร เรื่องก่อนเกิดใครจะไปรู้ไปหมด ใช่ใหมครับ

พระรูปนี้ พบแพร่หลาย เท่าที่เคยเห็นผ่านตาก็มีที่คลังรูปของ MEP Missions Entrangeres de Paris
อาจารย์ศักดาเชิญมาลงหนังสือของท่าน ขอลงชื่อหนังสือด้วยละกัน กษัตริย์ & กล้อง 2535 เดี๋ยวจะหาไม่เจออีก
แต่ที่พบเก่าแก่สุดก็คือในหนังสือมูโอต์

ทีนี้ ถ้าท่านช่างสังเกตสักนิด จะเห็นว่าพระรูปนั้นเหมือนกันทุกอย่าง จะไม่เหมือนก็คือองค์หนึ่งทรงเหรียญตรามากว่าเท่านั้น นับว่าน่าสงสัย
เอาละ ใช้หลักเจอที่ใหน ที่นั่นถ่าย ก็จะได้ช่างภาพ 3 คนเข้าไปละ คือคุณคล๊อดระบุและมีคนไทยที่เชื่อฝรั่ง เชื่อว่าเป็นฝีมือโรสซิเย่ร์
สองคือบาทหลวงลาร์นอร์ดี ตามที่อาจารย์ศักดาท่านระบุเพราะพบในคลังรูปของคณะนักบวชต้นสังกัดของท่านผู้นี้
และสามคือใครสักคน ที่ผมมั่วระบุว่า เป็นนายจิตอีกหนึ่ง


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 ก.ย. 14, 17:35
Claude Estebe ประเมินในฐานะไหนพอจะตามต่อได้ไหมครับ ในฐานะหอสมุดแห่งชาติของฝรั่งเศสหรือเปล่า ถ้าให้ลึกจริงก็ต้องหาว่าหอสมุดแห่งชาติของฝรั่งเศสบันทึกข้อมูลว่าถ่ายโดยโรซิเยต์ตั้งแต่สมัยไหน

คือผมสะกิดใจที่ภาพซึ่งคมชัด เกิดจากคุณภาพของเลนซ์ระดับAngénieuxของฝรั่งเศส ที่เทียบชั้นกับLeicaของเยอรมันได้เลยทีเดียว ภาพถ่ายของฟรันซิส จิตรจะไม่เฉียบขาดถึงขั้นนั้น


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 ก.ย. 14, 17:40
วันนี้ได้อีกรูปหนึ่งมาฝาก เสียดายมืดมัวแต่พอมองออกว่าใช่พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าแน่


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 ก.ย. 14, 17:49
เทียบกับพระบวรฉายาลักษณ์ น่าจะใช่ฝีมือฟรันซิส จิตรแน่ เห็นชัดว่ามีการตกแต่งภาพอีกแล้ว คราวนี้เล่นซะขนานใหญ่เลย


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 17 ก.ย. 14, 19:08
เทียบกับพระบวรฉายาลักษณ์ น่าจะใช่ฝีมือฟรันซิส จิตรแน่ เห็นชัดว่ามีการตกแต่งภาพอีกแล้ว คราวนี้เล่นซะขนานใหญ่เลย

คงไม่ตกแต่งใหม่หรอครับ อลังการเกินไป


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 ก.ย. 14, 19:31
ดูยังไง? ???


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 17 ก.ย. 14, 19:36
ดูยังไง? ???

ดูธรรมชาติของภาพ แม้ว่าจะวางข้อพระหัตถ์เดียวกันก็ตาม แต่ลำกล้องเครื่องมือวิทยาศาสตร์นั้น ไม่มีลักษณะที่ Fake ครับ


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 17 ก.ย. 14, 19:40
ชนกลางอากาศกับคำตอบ  แต่ก็ยังไม่กระจ่าง

ถ้าไม่มีการแต่งรูป พระบวรฉายาลักษณ์ใน #196   ถ่ายกันคนละเวลาหรือคะ  

หมายความว่าหลังจากฉายพระรูปครั้งแรกแล้ว ก็มีข้าราชบริพารมาเปลี่ยนฉลองพระองค์(ท่อนบน?) ให้ โดยไม่ทรงขยับเขยื้อน  หรือทรงขยับได้   แต่ต้องวางพระอิริยาบถให้เหมือนเดิมมากที่สุด


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 17 ก.ย. 14, 19:46
ชนกลางอากาศกับคำตอบ  แต่ก็ยังไม่กระจ่าง

ถ้าไม่มีการแต่งรูป พระบวรฉายาลักษณ์ใน #196   ถ่ายกันคนละเวลาหรือคะ  

หมายความว่าหลังจากฉายพระรูปครั้งแรกแล้ว ก็มีข้าราชบริพารมาเปลี่ยนฉลองพระองค์(ท่อนบน?) ให้ โดยไม่ทรงขยับเขยื้อน  หรือทรงขยับได้   แต่ต้องวางพระอิริยาบถให้เหมือนเดิมมากที่สุด

เป็นการถ่ายภาพในคราวเดียวกันแน่นอน แต่มุมกล้องเยื้องมาทางซ้ายมือ เนื่องจากระยะเส้นสีดำที่ทำไว้แตกต่างกันครับ การวางพระหัตถ์ของภาพขวามือ วางล้ำเข้าไปในโต๊ะมากกว่าชุดทหารเรือครับ

การแต่งพระองค์อาจจะมีเจ้าพนักงานช่วย แต่เรื่องสวมหมวกนั้น คงทำด้วยองค์เอง เพราะเป็นส่วนที่สูงสุด (แต่ไม่ใช่การตกแต่งภาพครับ)


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 17 ก.ย. 14, 19:54
มีเหตุผลอะไรหนอ  ที่จะต้องวางพระอิริยาบถเหมือนกันเป๊ะ?


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 30 ต.ค. 14, 08:24
วานนี้ได้หลักฐานมาเพิ่มจากหนังสือเล่มนี้ครับ


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 30 ต.ค. 14, 08:34
อ้างจาก: NAVARAT.C ที่  16 ก.ย. 14, 18:16

อ้างถึง
อาจารย์พิพัฒน์มีเหตุผลอะไรหรือครับ

อ้างจาก: เพ็ญชมพู ที่  21 ส.ค. 14, 12:00
อ้างถึง
คุณพิพัฒน์ไม่เชื่อคุณ Claude Estebe ช่างภาพชาวฝรั่งเศสซึ่งใช้วิธีประเมินเอา ในความเห็นของคุณพิพัฒน์โดยการประเมิน (มั่ว) เช่นกัน ก็น่าจะเป็นฝีมือคุณจิต  

อ้างจาก: pipat ที่  21 ก.ค. 08, 00:36

อ้างถึง
เราได้ทราบเหตุผลแล้ว ว่าในการระบุชื่อช่างภาพนั้น คุณคล๊อดใช้วิธีประเมินเอา เมื่อไปพบพระรูปอยู่ในกลุ่มที่คล้ายกับผลงานของโรสซิเย่ร์  
จึงเขียนคำอธิบายไว้อย่างนั้น วิธีนี้ผมก็ใช้นะครับ ไม่ใช่เรื่องเสียหายอะไร เรื่องก่อนเกิดใครจะไปรู้ไปหมด ใช่ใหมครับ

พระรูปนี้ พบแพร่หลาย เท่าที่เคยเห็นผ่านตาก็มีที่คลังรูปของ MEP Missions Entrangeres de Paris
อาจารย์ศักดาเชิญมาลงหนังสือของท่าน ขอลงชื่อหนังสือด้วยละกัน กษัตริย์ & กล้อง 2535 เดี๋ยวจะหาไม่เจออีก
แต่ที่พบเก่าแก่สุดก็คือในหนังสือมูโอต์

ทีนี้ ถ้าท่านช่างสังเกตสักนิด จะเห็นว่าพระรูปนั้นเหมือนกันทุกอย่าง จะไม่เหมือนก็คือองค์หนึ่งทรงเหรียญตรามากว่าเท่านั้น นับว่าน่าสงสัย
เอาละ ใช้หลักเจอที่ใหน ที่นั่นถ่าย ก็จะได้ช่างภาพ 3 คนเข้าไปละ คือคุณคล๊อดระบุและมีคนไทยที่เชื่อฝรั่ง เชื่อว่าเป็นฝีมือโรสซิเย่ร์
สองคือบาทหลวงลาร์นอร์ดี ตามที่อาจารย์ศักดาท่านระบุเพราะพบในคลังรูปของคณะนักบวชต้นสังกัดของท่านผู้นี้
และสามคือใครสักคน ที่ผมมั่วระบุว่า เป็นนายจิตอีกหนึ่ง

พระบวรฉายาลักษณ์ดังกล่าวประเมินโดยนาย Claude Estebe ผู้เชี่ยวชาญของพิพิธภัณฑ์ฝรั่งเศสว่านายปีแอร์ โรซิเยท์ (เข้ามาสยาม เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๔)เป็นผู้ถ่าย  ซึ่งก่อนหน้านี้คุณหนุ่มสยามได้เอาหลักฐานคล้ายกันมาแสดงแล้ว(คคห.๑๘๒) แต่คุณเพ็ญชมพูเอาความเห็นค้านของคุณพิพัฒน์มาประกบ เลยไม่มีการสรุป


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 30 ต.ค. 14, 09:03
คือ ในฐานะผู้ประเมินนะครับ ไหนๆคุณพิพัฒน์ท่านก็รับว่าท่านใช้วิธีมั่ว ก็ท่านรักฟรันซิส จิตท่านจึงมั่วว่าฟรันซิส จิตเป็นผู้ถ่าย

แต่ผมนั่งอ่านและพิจารณาภาพต่างๆในหนังสือนั้นที่ประเมินว่านายโรสิเยเป็นผู้ถ่าย โดยนายฟีร์แมง โบกูรต์เป็นผู้กำกับดูแล เห็นชัดเจนว่าทุกภาพมีความคมชัด เกิดจากคุณภาพของเลนซ์ระดับสุดยอดของยุคเท่าที่จะหาได้ตอนนั้น เหมาะสำหรับช่างภาพเอกที่มีผู้ยอมลงทุนให้เดินทางมาถ่ายภาพทางไกลถึงคนละมุมโลก

ผลงานของฟรันซิส จิตที่ผมนั่งพิจารณาจากภาพต้นฉบับในหอจดหมายเหตุแห่งชาติที่ผมไปมาสักสิบครั้งเห็นจะได้ในระยะเดือนสองเดือนนี้ บอกได้เลยว่าเลนซ์ของฟรันซิส จิตไม่สามารถเทียบกับเลนซ์ของช่างภาพระดับโลกที่มีผู้สปอนเซอร์ให้มาถ่ายภาพเข้าพิพิธภัณฑ์ และแวะเวียนมาเยือนสยามในยุคเดียวกันได้เลย

ผมเชื่อว่าพระบวรฉายาลักษณ์ภาพนี้  ถ่ายโดยช่างภาพฝรั่งเศส นายโรสิเย(Rossier Pierre Joseph)ครับ และเป็นภาพต้นฉบับก่อนที่ใครก็ไม่ทราบ แต่เป็นคนฝรั่งเศสแน่ จะแต่งเติมเอาเครื่องราชอิสสริยาภรณ์ที่พระเจ้านโปเลียนที่ ๓ ส่งมาถวายให้ท่านนั้น ใส่เข้าไปแทนที่ดวงตราเดิมที่ทรงประดับแต่แรก


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 30 ต.ค. 14, 10:46
อ้างถึง
ผมเชื่อว่าพระบวรฉายาลักษณ์ภาพนี้  ถ่ายโดยช่างภาพฝรั่งเศส นายโรสิเย(Rossier Pierre Joseph)ครับ และเป็นภาพต้นฉบับก่อนที่ใครก็ไม่ทราบ แต่เป็นคนฝรั่งเศสแน่ จะแต่งเติมเอาเครื่องราชอิสสริยาภรณ์ที่พระเจ้านโปเลียนที่ ๓ ส่งมาถวายให้ท่านนั้น ใส่เข้าไปแทนที่ดวงตราเดิมที่ทรงประดับแต่แรก
ขอแก้ไขว่า นายโรสิเย(Rossier Pierre Joseph)เป็นชาวสวิสครับ ไม่ใช่ฝรั่งเศส แต่หากินอยู่ในปารีสและลอนดอนก่อนที่จะได้ทุนจากบริษัทผู้ผลิตเลนซ์ชั้นยอดชื่อNegretti and Zambra ให้เดินทางมาถ่ายภาพสารคดี เพื่อโปรโมทเลนซ์ที่บริษัทผลิตขึ้น
เป้าหมายการเดินทางไม่ได้อยู่ที่สยาม เพียงแต่แวะมาก่อนจะไปยังจีนและญี่ปุ่นต่อไป

ช่วงที่อยู่ในสยามคาบเกี่ยวในปีค.ศ.1861-1862 (2404-2405) พอดีๆกับพระบวรฉายาลักษณ์ดังกล่าว


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: cameraman ที่ 30 ต.ค. 14, 12:02
สวัสดีครับ กระผมในฐานะที่ศึกษาภาพเก่าอยู่แล้ว อยากแลกเปลี่ยนความคิดเห็นครับ

ที่ท่านอาจารย์นวราชซึ กล่าวว่า

เป้าหมายการเดินทางไม่ได้อยู่ที่สยาม เพียงแต่แวะมาก่อนจะไปยังจีนและญี่ปุ่นต่อไป

อาจไม่ถูกต้องทั้งหมดครับ


ตากล้องสวิส ใช้เมืองจีนเป็นฐาน แล้วกระโดดมาสยามเป็นทริปข้างเคียง จงใจมา
เสร็จภารกิจแล้ว ก็กลับไปจีนอีก
ดังนั้นจะว่าไม่ตั้งใจมา ก็คงไม่ใช่มังครับ


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: cameraman ที่ 30 ต.ค. 14, 12:11
อีกประเด็นหนึ่ง กล้องที่ฟรานซิส จิต ใช้
ก็คือกล้องที่ตากล้องสวิส (น่าจะ) เป็นคนสั่งซื้อให้
เพราะมีหลักฐานว่าตากล้องสวิสสั่งซื้อกล้องชั้นดีให้พระมหากษัตริ์ยสยาม
ซึ่งเดาว่ากษัตริ์ยมอบให้ช่างภาพในราชสำนักเป็นคนจับต้อง

ต่อให้กล้องดีแค่ไหน ฝีมือการถ่าย ก็มีส่วนสำคัญในคุณภาพของภาพ ทั้งความคมชัด และการจัดองค์ประกอบของภาพ
ปี 2404 ตากล้องไทยยังไม่เปิดสตูดิโอริมน้ำ
น่าจะใช้เวลาสักพอประมาณในการบ่มเพาะวิชาจนแก่กล้า


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 30 ต.ค. 14, 12:14
เห็นด้วยกับคคห.แรกก่อนครับ

ความจริงเขารับงานมา แต่เป็นงานย่อยในงานใหญ่ โดยเป็นส่วนควบร่วมกับนายแฟร์แมง โบกูรต์ ซึ่งราชสำนักเชิญเข้ามาเก็บข้อมูลธรรมชาติวิทยา เป็นของขวัญแก่ฝรั่งเศสในโอกาสที่คณะฑูตได้ไปเจริญสัมพันธไมตรีมาเมื่อปีที่ผ่านมา

งานใหญ่ของเขาคือ ไปถ่ายทำภาพเรื่องราวในจีนและญี่ปุ่นด้วยกล้องถ่ายรูปสามมิติ หรือstereotype ตามที่บริษัทผลิตเลนซ์ให้ทุนทรัพย์ไปถ่ายครับ แต่คงเห็นว่าเป็นทางเดียวกัน และผู้ขอให้ไปแวะมาก็เส้นใหญ่บึ่ก ก็เลยได้มาสยามไงครับ

และนี่เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ภาพต้นฉบับชุดนี้จึงไปอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ว่าด้วยประวัติธรรมชาติวิทยาของประเทศฝรั่งเศส(Museum National D’Histoire naturelle (MNHN) Babliotheque Centrale. Paris) ภาพหลายภาพในหนังสือเล่มที่ผมให้ดูปก เป็นภาพที่ผมไม่เคยเห็นมาก่อนเลย


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 30 ต.ค. 14, 12:26
อีกประเด็นหนึ่ง กล้องที่ฟรานซิส จิต ใช้
ก็คือกล้องที่ตากล้องสวิส (น่าจะ) เป็นคนสั่งซื้อให้
เพราะมีหลักฐานว่าตากล้องสวิสสั่งซื้อกล้องชั้นดีให้พระมหากษัตริ์ยสยาม
ซึ่งเดาว่ากษัตริ์ยมอบให้ช่างภาพในราชสำนักเป็นคนจับต้อง

ต่อให้กล้องดีแค่ไหน ฝีมือการถ่าย ก็มีส่วนสำคัญในคุณภาพของภาพ ทั้งความคมชัด และการจัดองค์ประกอบของภาพ
ปี 2404 ตากล้องไทยยังไม่เปิดสตูดิโอริมน้ำ
น่าจะใช้เวลาสักพอประมาณในการบ่มเพาะวิชาจนแก่กล้า
เรื่องกล้องที่ฟรันซิส จิตสั่งซื้อมาใช้ ผมไม่ทราบก็ขอผ่านแล้วกัน แต่ในภาพยุคแรกๆมันชัดแต่ไม่คมจริงเพราะเลนซ์ไม่ไวแสงพอ เห็นว่าต้องออกมานั่งถ่ายกันกลางแดดจึงจะได้เรื่อง

ในกระทู้นี้ได้กล่าวถึงกล้องที่ฟรันซิส จิตใช้(ในยุคแรกๆ) น่าจะเป็นของมือสองจากบาดหลวง หรือกล้องหลวงอังกฤษถวายมา ที่โชคร้ายไปตกน้ำมาครั้งหนึ่ง อะไรต่อมิอะไรมันคงต้องเพี้ยนไปบ้างเป็นธรรมดา


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 30 ต.ค. 14, 12:29
siamese
อ้างถึง
จะไม่ค้นหาเหรียญที่กลัดหน้าอก กลมๆ ของพระปิ่นเกล้าฯ แล้วหรือ
ดูเหมือนว่า คุณอเนก นาวิกมูล ก็เชื่อว่าดวงตราบนฉลองพระองค์ในพระบวรฉายาลักษณ์ต้นฉบับ จะเป็นตราจุฑามณีอันเป็นพระราชลัญจกรเช่นกัน
(อันที่จริงก็ไม่มีช่องทางจะสันนิฐานเป็นประการอื่นได้)


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: hobo ที่ 31 ต.ค. 14, 03:27
ภาพของ Thompson ชุดเกี่ยวกับ ฮ่องกง ประมูลได้ 50000 pounds แปลกที่ภาพพวกนี้มีเกลื่อนทางอินเตอร์เนต ยังไม่ได้อ่านรายละเอียดรอ อ.เพ็ญมาย่อยครับ นักเรียนขี้เกียจ

http://www.dailymail.co.uk/news/article-2814613/Hong-Kong-ve-never-seen-Amazing-pictures-taken-1860s-Scottish-photographer-living-Far-East-sell-50-000.html (http://www.dailymail.co.uk/news/article-2814613/Hong-Kong-ve-never-seen-Amazing-pictures-taken-1860s-Scottish-photographer-living-Far-East-sell-50-000.html)


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 31 ต.ค. 14, 08:09
สงสัยคุณhoboจะโพสต์มาจากเมืองไกล
ตามระโยงที่ให้มานั้น คนที่นี่เข้าไปคลิ๊กแล้ว ปรากฏภาพนี้ครับ (แต่..เอ..ไม่แน่ใจ บางท่านที่เหนือกว่าอาจจะสั่งอินทรเนตรให้ไปหามาได้เช่นกัน ต้องคอยดูชมอิทธิฤทธิ์กันต่อไป)


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 31 ต.ค. 14, 09:03
แต่..เอ..ไม่แน่ใจ บางท่านที่เหนือกว่าอาจจะสั่งอินทรเนตรให้ไปหามาได้เช่นกัน ต้องคอยดูชมอิทธิฤทธิ์กันต่อไป

ภาพพาดหัวข่าวมีดังนี้  ;D


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: hobo ที่ 31 ต.ค. 14, 09:14
ต้องกราบขออภัยทุกท่านครับ internet บ้านนอกใช้ได้ ไม่นึกว่าจะมีปํญหา แต่บางทีเว็บนี้ก็ลงเรื่องเกินความจริง + ใส่ร้าย ป้ายสีไม่น้อย สมควรโดนอยู่ครับ

ประเด็นคือเขาเล่าเรื่อง Thompson มีรูปภาพ มีประวัติง่ายๆ คิดว่าจะเป็นประโยน์กับท่านที่อยากรู้มากขึ้น เกี่ยวกับคนที่ผ่านเข้ามาในเมืองไทยสมัยรัชกาลที่ 4 ครับ

เข้ามาเจอ อ.เพ็ญตรวจข้อสอบ ผมทำผิดด้วยไม่ได้อ่าน ขอโทษครับอาจารย์


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: hobo ที่ 31 ต.ค. 14, 09:14
เกาะฮ่องกง


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 31 ต.ค. 14, 09:19
อัลบัมชุดนี้ทอมสันมอบให้แก่เพื่อนชาวสกอต William Thomas Mercer, of Gorthie, Perth ในโอกาสพ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีทบวงอาณานิคมฮ่องกง ใน พ.ศ. ๒๔๑๑

ภาพ  William Thomas Mercer และอัลบัมครอบครัว

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=6059.0;attach=52185;image) (http://i.dailymail.co.uk/i/pix/2014/10/30/1414690465837_wps_17_Saltire_News_and_Sport_Lt.jpg)

ในข่าวพูดถึงการเดินทางของทอมสันเพียงว่าเคยเดินทางไปปีนัง สิงคโปร์ และฮ่องกงเท่านั้น ไม่มีสยามอยู่ในสายตา (ทอมสันอยู่ที่สยามระหว่าง พ.ศ. ๒๔๐๘-๒๔๐๙)

อดีต-ปัจจุบัน  ;D


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 31 ต.ค. 14, 09:37
ฮ่องกงในอดีต บางภาพในอัลบัมของทอมสัน  ;D


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 31 ต.ค. 14, 09:47
นี่ องค์ที่เหนือกว่าพระอินทร์ โปรดสังเกตุสี ชัดมั้ยๆ


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 31 ต.ค. 14, 10:21
^
องค์ใดน้อ....  ;D

ป.ล. เผื่อคุณโฮโบอยากเห็นหน้าตาคุณทอมสัน

เอารูป John Thomson นักถ่ายภาพยุคบุกเบิกมาให้ชม

ภาพนี้เขาตั้งกล้องถ่ายตนเอง


(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=5149.0;attach=32597;image)


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 31 ต.ค. 14, 10:35
ทำไมภาพนายทอมสันข้างบนโน้น(คคห.๒๑๗)หายไปครับ


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 31 ต.ค. 14, 10:39
ภาพข้างบนไม่ใช่คุณทอมสันดอก เป็นภาพคุณ Mercer ผู้รับมอบอัลบัมจากคุณทอมสัน  ;D

ภาพ  William Thomas Mercer และอัลบัมครอบครัว


กระทู้: สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เริ่มกระทู้โดย: hobo ที่ 31 ต.ค. 14, 10:48
ขอบพระคุณอาจารย์เพ็ญชมพูที่มาตรวจการบ้านครับ