เรือนไทย

General Category => ภาษาวรรณคดี => ข้อความที่เริ่มโดย: 1144 ที่ 21 ต.ค. 05, 15:54



กระทู้: ช่วยอธิบายโครงบทนี้ที
เริ่มกระทู้โดย: 1144 ที่ 21 ต.ค. 05, 15:54
เว้นวิจารณ์ ว่างเว้น ประดับฟัง
เว้นที่ถาม อันยัง ไป่รู้
เว้นเล่าลิขิตสัง เกตุว่างเว้นนา
เว้นดังกล่าว ผู้ปราชญ์ได้ฤๅมี


กระทู้: ช่วยอธิบายโครงบทนี้ที
เริ่มกระทู้โดย: Nuchana ที่ 22 ต.ค. 05, 17:01
 http://hospital.moph.go.th/somdetp/history_b48_13.html
สุ จิ ปุ ลิ
เล่าสู่กันฟัง อ่านไป คิดไป
ต้องมีบทความหรือข้อเขียน เป็นองค์ความรู้ ซึ่งได้จากการเขียนหรือลิขิตนั่นเอง
การเรียนรู้ ได้จาก สุ จิ ปุ ลิ
สุ มาจาก สุตะ คือ ฟัง รวมถึงการอ่าน
จิ มาจาก จินตะ คือ คิด พินิจพิจารณา วิจารณญาณ
ปุ มาจาก ปุจฉา คือ ถาม เพื่อให้เข้าใจแจ่มแจ้ง
ลิ มาจาก ลิขิต คือ เขียน หรือสามารถสรุปความรู้ได้
เมื่อ มีองค์ความรู้ (KNOWLEDGE)
ต้องสามารถนำไปใช้ (IMPLEMENTATION)
เพื่อให้เกิดประโยชน์และมีคุณค่า (BENEFIT AND VALUE)


กระทู้: ช่วยอธิบายโครงบทนี้ที
เริ่มกระทู้โดย: Hotacunus ที่ 30 ต.ค. 05, 03:52
 -- ช่วยอธิบายโครงบทนี้ที --

ยังใช้ภาษาไทยได้ไม่ดีเท่าไหร่นะครับ

"โคลง" ครับ ไม่ใช่ "โครง" อันนี้คงเป็นผลจากการพูดหรือเปล่าครับที่ไม่ออกเสียง "ร" กับ "ล" ให้ชัดเจน พอเขียนหนังสือเลยงง เอ้า ไม่ "ร" ก็ "ล" เขียนไปก่อน อิอิ เอาหละ อันนี้ไม่ใช่ประเด็น

ประเด็นคือ แต่ขอตินิดนะครับ การตั้งคำถามนั้น ดูไม่ค่อยมีสัมมาคารวะเท่าไหร่

ยังดีที่คุณ Nuchan ไม่ถือสานะครับ จึงช่วยตอบให้

การลงท้ายเพียง "ที" นั้น ดูทำตัวสนิทเกินควรครับ เพราะที่นี่ก็มีผู้ใหญ่หลายท่าน เราเป็นเด็กก็ควรใช้ภาษาที่แสดงความเคารพด้วยนะครับ เพราะถ้าน้องไม่มีสัมมาคารวะ ต่อไปเวลาทำงานจะลำบากนะครับ

น้องควรจะถามว่า "ช่วยอธิบายโครงบทนี้ให้หน่อยนะครับ/ค่ะ" ถ้าฉลาดที่จะถามก็น่าจะมีเกริ่นอะไรอีกเล็กน้อย เช่น "

ผม/หนู ได้อ่านโคลงบทนี้แล้วไม่เข้าใจ ท่านได้รู้ช่วยอธิบายให้หน่อยนะครับ/ค่ะ ขอบคุณครับ / ค่ะ"

ถ้าถามมาแบบตัวอย่างนี้ ใครๆ ก็อยากช่วยครับ


กระทู้: ช่วยอธิบายโครงบทนี้ที
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 30 ต.ค. 05, 08:42
 คุณ Hotacunus สังเกตอีกอย่างหรือเปล่าคะ
ว่าคำขอบคุณ คุณ Nuchan  เขาก็ไม่มีให้เหมือนกัน

ถ้าหากว่าอ่านโคลงนี้แล้วไม่เข้าใจ
พยายามตีความเอง ขั้นหนึ่งก่อน
แล้วมาถามว่าเขาเข้าใจถูกหรือผิด
แบบนี้ดิฉันจะตอบ เพราะถือว่าเขาพยายามแล้ว
ที่เหลือมันอาจจะยากเกินกว่าเขาจะคิดได้  เรารู้คำตอบก็ช่วยตอบให้
แต่มาโยนโคลงให้ตอบทั้งบท  ตัวเองไม่ทำอะไรสักอย่าง
แบบนี้ไม่ตอบค่ะ  


กระทู้: ช่วยอธิบายโครงบทนี้ที
เริ่มกระทู้โดย: Nuchana ที่ 30 ต.ค. 05, 11:48
 ใครว่าดิฉันไม่รู้สึกค่ะ หะแรกที่เห็นคำถามทำให้อึ้ง
นึกถึงตอนอยากทานน้ำมะนาว แล้วไปปลิดจากต้น มะนาวหน้าแล้งไม่มีน้ำเสียจริงๆ
เมื่อออกแรงทั้งบีบทั้งเค้น น้ำขมจากเปลือกมะนาว ทำให้น้ำมะนาวที่ได้ทั้งขื่นทั้งฝาด ดื่มไม่ได้

ดิฉันพึ่งเป็นชาวเน็ทหน้าใหม่ในเว็บนี้ค่ะ จึงคร้านจะตำหนิ แต่นึกอยู่ในใจว่า
สมัยนี้โรงเรียนมัธยมเขาไม่สอนการพูดการจาที่เรียกว่า "ปิยวาจา" กันดอกหรือ

ดิฉันเดาว่าที่ช่วยตอบไปคงเป็นเพราะตอนเรียนหนังสือดิฉันไดัรับความช่วยเหลือมากเหลือเกิน
จึงอยากช่วยกลับ ความอยากช่วยกลับทำให้มองข้าม หรือ "อโหสิ" คำพูดที่แข็งกระด้างไปค่ะ


ความช่วยเหลือที่ดิฉันได้รับ ยังจำได้ว่าวันหนึ่งตอนเที่ยงคืน ดิฉันโทรศัพท์ไปถามการบ้าน
จากอาจารย์วัยสูงอายุท่านหนึ่งที่ช่วยสอนภาษาอังกฤษเป็นวิทยทานให้มาโดยตลอด
พอนึกได้ว่าเที่ยงคืน ดิฉันรีบวางหูไม่ทัน อีก 15 วินาทีต่อมา อาจารย์ท่านนี้โทรมาถามว่า
ดิฉันได้โทรไปหรือเปล่า แล้วเราจึงคุยเรื่องการบ้านกัน

จริงอย่างที่อาจารย์เทาฯว่าไว้ค่ะ ก่อนจะถามใคร เราต้องช่วยตัวเองก่อน
คำถามที่ดิฉันถามออกไป หลายครั้งเป็นสิ่งที่ท้าทายทำให้ท่านต้องค้นคว้า
ท่านจึงรู้สึกสนุกที่ได้กลับมาทบทวนความรู้เก่าๆ หรือคิดในแง่มุมที่ท่านไม่เคยคิดมาก่อน
ด้วยเหตุนี้กระมังคะ ตลอด 7-8 ปี ดิฉันได้รับความช่วยเหลือมาโดยสม่ำเสมอ

ดิฉันดีใจที่พบเว็บนี้ นอกจากจะเป็นสังคมที่แบ่งปันแล้ว ยังช่วยผดุงมารยาทไทยๆอีกค่ะ

-ดิฉันใคร่ขอยืมภาพที่ อ. เทาฯทำไว้มาฉายอีกครั้งหนึ่งค่ะ ภาพนี้ดิฉันชอบมาก
สำหรับเด็กๆที่ไม่ทราบคำแปล คำคมกล่าวทำนองว่าเมื่อเรามีเทียนไข 1 เล่ม
เราสามารถช่วยจุดให้เทียนไขอีก 100 เล่มสว่างได้ โดยเทียนไขเล่มแรก
ก็ไม่ได้สูญเสียความสว่างแต่อย่างใด เปรียบกับการมีความรู้แล้วแบ่งปัน
(กระนั้นต้องอย่าลืมวาจาสุภาพด้วยคะ)
.