เรือนไทย

General Category => หน้าต่างโลก => ข้อความที่เริ่มโดย: นายชินจัง ที่ 01 ต.ค. 05, 09:33



กระทู้: สงสัย ตะเกียง จากเรื่องอะลาดิน . ..
เริ่มกระทู้โดย: นายชินจัง ที่ 01 ต.ค. 05, 09:33
  เห็นมาตั้งนมนาน . .เพิ่งจะมาสงสัยเอาตอนโต. .
ว่าทำไม อะลาดิน กับ ตะเกียงวิเศษ

ว่าด้วยเรื่องตะเกียง เด็นรูปจากการ์ตูนบ้าง หนังสือนิทานบ้าง.
เป็นแบบในรูปทั้งสิ้น . . เลยสงสัยว่าทำไมจึงเรียกว่าตะเกียง ?
แล้วถ้าเป็นตะเกียงแบบนี้ สามารถใช้ทำอะไรได้ครับ
( ตามหลักจริงๆนะครับ ไม่ใช่แบบใช้ถูขอพรวิเศษ )

ผมสงสัยว่าที่เรียกตะเกียง เอาไว้จุดไฟ หรือเอาไว้ทำอย่างอื่นครับ

ขอบคุณมากครับ !  


กระทู้: สงสัย ตะเกียง จากเรื่องอะลาดิน . ..
เริ่มกระทู้โดย: อ.อ้อย ที่ 01 ต.ค. 05, 14:26
 ตะเกียงอาละดินถือเป็น state of the arts ในยุคต้น 19xx เลย

 http://aladdinlamps.us

 http://aladdinknights.org/click/click.htm  


กระทู้: สงสัย ตะเกียง จากเรื่องอะลาดิน . ..
เริ่มกระทู้โดย: ติบอ ที่ 01 ต.ค. 05, 21:02
 อาจารย์อ้อยครับ
ผมเข้าใจว่าตะเกียงที่คุณ "นายชินจัง" พูดถึง
จะเป็นตะเกียงแบบที่เป็นพวยหรือเปล่าครับ ??


กระทู้: สงสัย ตะเกียง จากเรื่องอะลาดิน . ..
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 02 ต.ค. 05, 07:44
 ก็เป็นตะเกียงจุดไฟนี่แหละค่ะ
ดูตามรูปนะคะ  


กระทู้: สงสัย ตะเกียง จากเรื่องอะลาดิน . ..
เริ่มกระทู้โดย: อ.อ้อย ที่ 02 ต.ค. 05, 09:12

ตะเกียงแบบที่เป็นพวยแบบนี้ของไทยก็มีคะ


กระทู้: สงสัย ตะเกียง จากเรื่องอะลาดิน . ..
เริ่มกระทู้โดย: Hotacunus ที่ 05 ต.ค. 05, 05:37
 ปัจจุบันเราขาดหลอดไฟไม่ได้ฉันใด สมัยโบราณก็ขาดตะเกียงไม่ได้ฉันนั้นครับ

จะว่าไปแล้วตะเกียงนี้เป็น "ของนอก" นะครับ รูปแบบต้นๆ ของตะเกียงก็เป็นถ้วยดินขนาดเล็กๆ ใส่น้ำมันที่สกัดมาจากสัตว์ หรือ พืช หรือ จากหินแร่ จากนั้นก็ไส้ไว้จุดไฟ

ถ้วยดินแบบนี้ จากหลักฐานทางโบราณคดีนะครับ บอกว่าในประเทศเราเริ่มมีใช้กันอย่างน้อยที่สุดก็ต้องแต่ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ ก็สมัยที่ติดต่อกับอินเดียจนพัฒนามาเป็นวัฒนธรรมทวารวดีนั่นแหละครับ (จริงๆ อาจเก่ากว่านั้นอีกซัก สี่ ห้าร้อยปีก็ได้)

ถ้วยดินเล็กๆ นี้ มีศัพท์เฉพาะเรียกกันนะครับว่า "ตะคันดินเผา"

นอกจากตะคันดินเผาแล้ว ในสมัยทวารวดีก็พบว่ามีการใช้ "ตะเกียงดินเผา" ซึ่งมีรูปแบบคล้ายกันที่มีใช้กันอยู่ที่อินเดียด้วยครับ อุปกรณ์ดินเผาทั้ง ๒ นี้ ดูจะเป็นเครื่องใช้ที่แพร่หลายมากในสมัยนั้นครับ

ส่วนโลหะหนะมีหรือเปล่า ? ก็ตอบว่ามีครับ แต่เป็นของ import เลย เพราะว่าเรายังไม่พบหลักฐานว่าเรามีการหล่อตะเกียงโลหะใช้กัน ตะเกียงโลหะ (สำริด) ที่นำเข้ามาก็เป็นตะเกียงแบบโรมันครับ พบไม่กี่ชิ้น คาดว่าคงเป็นสินค้านั่นแหละครับ

ตะเกียงโลหะ ดูเหมือนว่าจะเป็นเครื่องใช้ที่นิยมกันในวัฒนธรรมกรีก-โรมัน แล้วลามมาถึงพวกอาหรับ และอินเดียด้วยครับ

ดังนั้น ตะเกียงวิเศษ ก็คือตะเกียงใส่น้ำมัน สำหรับให้แสงสว่างนั่นแหละครับ ส่วนการขัด ก็เป็นการทำความสะอาดธรรมดา ไม่มีอะไร เพราะว่าตะเกียงมักจะถูกวางทิ้งไว้นาน ก็ย่อมมีฝุ่นมาเกาะเป็นธรรมดา

ตะเกียงก็จัดได้ว่าเป็น generation หนึ่งของอุปกรณ์ให้แสงสว่างครับ ถ้าเทียบกับปัจจุบัน เดิมเรามีหลอดไฟเหลืองๆ ก่อน ต่อมาก็มีหลอดนีออน ปัจจุบันก็พัฒนาไปเป็นพวกหลอดประหยัดไฟ ดังนั้น ตะเกียงก็คือสุดยอดอุปกรณ์ให้แสงสว่างในโลกยุคโบราณก็คงว่าได้ครับ

ลองไปดูรูปและเนื้อหาเกี่ยวกับเครื่องปั้นดินเผาได้ที่นี่ครับ
 http://kanchanapisek.or.th/kp6/BOOK22/chapter2/t22-2-l2.htm

ส่วนรากศัพท์ของคำว่าตะเกียงนั้น ผมก็ไม่ทราบเหมือนกันครับ เข้าใจว่า น่าจะมาจากภาษาจีนนะครับ ไม่น่าที่จะเป็นคำไทย ไม่รู้ทำไมถึงคิดแบบนั้นเหมือนกัน อาจเป็นเพราะไปเทียบกับคำว่า "ตะเกียบ" มั้ง อิอิ ตะเกียบ มาจากคำแต้จิ๋วว่า "เต็กเกี๊ยบ"  

ใครทราบช่วยขยายด้วยครับ


กระทู้: สงสัย ตะเกียง จากเรื่องอะลาดิน . ..
เริ่มกระทู้โดย: Hotacunus ที่ 05 ต.ค. 05, 06:10
 มันคาใจอ่ะครับ อิอิ เลยไปค้นมา

灯 (ตัวย่อครับ ตัวเต็มคือ 燈) dēng (เต็ง) แปลว่า ตะเกียง (Lamp) หรือ แสง

灯笼 dēng long แปลว่า ตะเกียง (Lantern)

แต่ไปเจอคำจีนน่าสนใจ ๒ คำครับ

燈光 dēng guāng (stage) lighting / light หมายถึง แสงไฟ แต่เป็นไฟบนเวที อ่านว่า "เต็งกวง" คล้าย "ตะเกียง" หรือเปล่าครับ อิอิ

อีกคำ

臺燈 tái dēng desk lamp / table lamp หมายถึง ตะเกียงตั้งโต๊ะ อ่านว่า "ไต๋เต็ง" คล้าย "ตะเกียง" อีกหรือเปล่าเนี้ย ???

ตามความเห็นของผมนะครับ ผมคิดว่าน่าจะเป็นคำว่า "ไต๋เต็ง" มากกว่า ซึ่ง "ไต๋เต็ง" เป็นการออกสำเนียงจีนกลางครับ ดังนั้น คำว่า "ตะเกียง" ก็อาจจะเพี้ยนมาจากภาษาจีน แต่คงเป็นสำเนียงถิ่นอื่น เช่น แต้จิ๋ว หรือ ฮกเกี้ยน มั้งครับ

ไต - ตะ - กะ มันเพี้ยนๆ ไปมากันได้
เต็ง - เก็ง - เกียง - เจียง มันก็เพี้ยนๆ ไปมากันได้เช่นกัน
(ไม่ได้มั่วนะครับ เป็นหลักของทางสัทธศาสตร์ ระหว่างเสียงในกลุ่ม ก - ต - จ)

ถ้าผมออกเสียงกำกับภาษาจีนกลางผิด ผู้รู้แก้ให้ด้วยนะครับ และถ้าใครทราบว่า สำเนียแต้จิ๋ว กับ ฮกเกี้ยน ออกเสียงอย่างไรก็ บอกกันบ้างนะครับ


กระทู้: สงสัย ตะเกียง จากเรื่องอะลาดิน . ..
เริ่มกระทู้โดย: Hotacunus ที่ 05 ต.ค. 05, 06:22

อ้าว ดันไม่แสดงอักษรจีน อิอิ  งั้นโพสเป็นภาพแล้วกันนะครับ เอาแต่คำที่ผมสงสัยคือ "ไต๋เต็ง"

ผมเอามาจากที่นี่ครับ เป็น หน้ารวมศัพท์จีนเกี่ยวกับตะเกียง
 http://asl2.dyndns.org:8002/chars?char=71c8&prev=0&next=0  


กระทู้: สงสัย ตะเกียง จากเรื่องอะลาดิน . ..
เริ่มกระทู้โดย: เหลนนางพญา ที่ 08 ต.ค. 05, 22:48
 สำเนียงจีนกลาง ออกเสียงว่า "ไถ เติง" ครับ แต่คำว่าตะเกียง น่าจะมาจากภาษาจีน สำเนียงแต้จิ๋วมากกว่าครับ ส่วนในสำเนียงแต้จิ๋ว จะอ่านออกเสียงว่าอย่างไรนั้นผมก็ไม่ทราบครับ แหะๆ วานผู้รู้บอกด้วยครับ


กระทู้: สงสัย ตะเกียง จากเรื่องอะลาดิน . ..
เริ่มกระทู้โดย: Nuchana ที่ 17 ต.ค. 05, 16:39
 แต้จิ๋ว        ออกเสียง  "ไต๋ เต็ง"

จีนกลาง     ออกเสียง  "ไถ เติง" ถูกแล้วค่ะ
ในจีนกลาง ตามพินยิน  "D"         อ่านออกเสียง  "ต"

แปลว่า ไฟ หรือ แสง


กระทู้: สงสัย ตะเกียง จากเรื่องอะลาดิน . ..
เริ่มกระทู้โดย: เหลนนางพญา ที่ 17 ต.ค. 05, 20:37
 คุณ Nuchan ได้เข้ามาตอบแล้ว ขอคุณครับ
ผมได้อ่านกระทู้ต่างๆ ที่คุณ Nuchan ได้เข้าไปช่วยตอบและให้ความรู้พวกเราแล้ว รู้สึกชื่นชมคุณ Nuchan มากครับ เพราะรู้สึกว่าคุณจะมีความชำนาญและมีความรู้ทั้งทางด้านวิทยาศาสตร์ และศิลปศาสตร์ ไม่ทราบว่าคุณมีเทคนิคและวิธีการอย่างไรในการศึกษาเพื่อจะได้มีความรู้รอบตัวเช่นคุณครับ ขอบคุณครับ


กระทู้: สงสัย ตะเกียง จากเรื่องอะลาดิน . ..
เริ่มกระทู้โดย: Nuchana ที่ 18 ต.ค. 05, 23:15
 ขอบคุณคุณเหลนค่ะ ไม่ใช่ความรู้รอบตัวอะไรหรอก แต่เป็นสัญชาตญาณเอาตัวรอดมากกว่า
ดิฉันเรียนวิทย์ตอน ม. ปลายได้ไม่นาน ก็มีเหตุให้ต้องไปเรียนมัธยมต่างแดน เรียน Old Testament และวรรณคดีบางอย่าง  ซึ่งไม่ชอบเลย

กลับเมืองไทยมาเรียนต่อ พอเรียนมหาวิทยาลัยได้ระยะหนึ่ง  ต้องย้ายถิ่นอีก  ทราบแล้วว่าวิชาพื้นฐานปี 1-2 มีหนังสือนอกเวลามาก  ดิฉันจึงลงทะเบียนให้กระจายกระจายกัน และลงวิชา science  เอาไว้ดึงเกรด  ตอนเรียนจบ สาขาที่เรียนควรจะได้ B.A. แต่ดิฉันได้ B.Sc.  เพราะมีหน่วยกิตทาง science ล้นหลาม

เรื่องภาษาจีนนั้น จีนแต้จิ๋วเป็นเองค่ะ จีนกลางโดนบังคับเรียนตอนเล็กๆ แต่เป็นการสะกดแบบเก่า ปัว พัว มัว ฟัว แม้คนจีนรุ่นใหม่ยังไม่รู้จัก การสะกดแบบพินยินของม. ปักกิ่งนี้ พึ่งมาเรียนตอนโต

เรื่องแก๊สอย่าแปลกใจเลย ดิฉันทำงาน oil/gas/petrochemical เสียนาน ยังเดินทางกลับไปทำงานด้านนี้อีก  ตั้งใจจะล้างมือเด็ดขาด พึ่งกลับมาตอบในกระทู้ ม.จ. อากาศฯ เป็นครั้งแรก


กระทู้: สงสัย ตะเกียง จากเรื่องอะลาดิน . ..
เริ่มกระทู้โดย: Nuchana ที่ 18 ต.ค. 05, 23:24
 เรื่องตะเกียงนั้น มีประวัติเก่าแก่เท่ากับอารยธรรมของมนุษย์เลยทีเดียวค่ะ ไล่มาตั้งแต่ยุคอียิปต์โบราณ จีน และอินเดียโบราณ หรือจะเป็นสมัยกรีก โรมัน หรืออิสลาม หน้าตาก็คล้ายๆกันคือเหมือนป้านน้ำชา มีหูจับ  สมัยก่อนมักทำด้วยดินเหนียวตากแดดหรือดินเผา ก่อนพัฒนามาเป็นสำริด และทองเหลืองเหมือนรูปข้างบนค่ะ

ตะเกียงอะลาดิน แถวกรีก ใช้น้ำมันมะกอก แต่น้ำมันพืชหรือไขมันสัตว์ ก็ใช้ได้ และต้องมีไส้ตะเกียง (wick) ที่ทำด้วยฝ้ายถัก เป็นตัวพาเชื้อเพลิงขึ้นมา นิยมใช้เป็น table lamp ตอนรับประทานอาหาร

ในยุคหลังก่อนที่มนุษย์จะมีไฟฟ้าใช้ ประภาคารกลางทะเลเริ่มใช้ตะเกียงแก๊สคาร์ไบด์ เพราะให้แสงสว่างนวล     ส่องไกล ไม่ต้องมีไส้ตะเกียง

แก๊สคาร์ไบด์ (Calcium Carbide – CaC2)  เป็นแก๊สก้อนเหม็นๆที่เอาไว้หยอดสับประรดให้ติดผลเร็ว หรือเอาไว้บ่มมะม่วง เมื่อผสมน้ำจะเกิดปฏิกิริยาเคมีได้ก๊าซอะเซติลีน (C2H2) ในภาวะที่มีออกซิเจนเพียงพอ ก๊าซอะเซติลีนจะให้เปลวที่มีความร้อนสูง สามารถใช้ตัดเหล็กหนาได้ แก๊สนี้พวกโจรปล้นแบ้งค์เอาไว้เป่าประตูห้องนิรภัยค่ะ

คุณชินจัง เกิดทันเห็นแม่ค้าตามงานวัดใช้ตะเกียงคาร์ไบด์แบบไทยไหมคะ เป็นกระป๋องราวๆ 1 ลิตร และมีเสาสูง 10 นิ้วเป็นปล่องลำเลียงแก๊ส ในกระป๋องจะมี 2 ช่อง ไส่แก๊สก้อน 1 ช่อง อีกช่องใส่น้ำให้หยดติ๋งๆ ที่โคนคอลัมน์จะมีวาล์วตัวเล็กๆเอาไว้ปรับปริมาณแก๊สเพื่อคอนโทรลเปลวให้สูงต่ำตามใจชอบน่ะคะ  


กระทู้: สงสัย ตะเกียง จากเรื่องอะลาดิน . ..
เริ่มกระทู้โดย: Nuchana ที่ 18 ต.ค. 05, 23:27

oiginal Islamic lamp


กระทู้: สงสัย ตะเกียง จากเรื่องอะลาดิน . ..
เริ่มกระทู้โดย: Nuchana ที่ 18 ต.ค. 05, 23:37

Palestinian


กระทู้: สงสัย ตะเกียง จากเรื่องอะลาดิน . ..
เริ่มกระทู้โดย: ju ที่ 03 พ.ย. 05, 10:02
 เป็นตะเกียงที่ดูคลาสสิคมากค่ะ