เรือนไทย

General Category => ศิลปะวัฒนธรรม => ข้อความที่เริ่มโดย: rose Phirawat@hotmail.com ที่ 28 ธ.ค. 00, 01:57



กระทู้: อยากรู้จัง
เริ่มกระทู้โดย: rose Phirawat@hotmail.com ที่ 28 ธ.ค. 00, 01:57
ภาษาจีนที่คนไทยนำมาใช้มีคำว่าอะไรบ้างคะใครรู้ช่วยตอบที    ขอบคุณล่วงหน้าคะ  จากเด็กดอย


กระทู้: อยากรู้จัง
เริ่มกระทู้โดย: ปันปัน ที่ 16 ธ.ค. 00, 14:09
ภาษาอังกฤษที่คนไทนนำมาใช้พูดจนติดปากมีคำว่าอะไรบ้างคะขอบคุณค่ะ


กระทู้: อยากรู้จัง
เริ่มกระทู้โดย: อักกา ที่ 17 ธ.ค. 00, 06:46
เก้าอี้ เป็นคำยืมมาจากภาษาจีน ลองเลือกดูคำที่ไม่มีรากคำไทยแล้วเกี่ยวกับสิ่งที่น่าจะรับมาจากต่างประเทศ เช่น กะละมัง ตะแล็บแก็บ


กระทู้: อยากรู้จัง
เริ่มกระทู้โดย: คุณพระนาย ที่ 17 ธ.ค. 00, 08:45
บอล ครับ ลูกบอล คำว่าบอลนี่ไม่ใช่คำไทย แล้วก็ไม่ได้บัญญัติเป็นคำไทยด้วยนะผมว่า ใช้ของฝรั่งเค้าเต็ม ๆ


กระทู้: อยากรู้จัง
เริ่มกระทู้โดย: นนทิรา ที่ 17 ธ.ค. 00, 09:18
ก๋วยเตี๋ยวค่ะ คำว่าบะหมี่ เคยได้ยินคนจีนเรียกว่าหมี่เฉยๆ เลยไม่ทราบว่า ทำไมเราเรียกกันว่าบะหมี่
ปาท่องโก๋ล่ะคะ ใครทราบบ้างว่ามาจากคำจีนว่าอะไร


กระทู้: อยากรู้จัง
เริ่มกระทู้โดย: อักกา ที่ 17 ธ.ค. 00, 10:14
ผมสงสัยว่าทำไมเราไม่สะกดก๋วยเตี๋ยวว่า ก้วยเตี๋ยวตามที่ออกเสียง หรือผ้าขาวม้าว่า ผ้าขะม้า หรือไอศกรีมว่าไอศครีม
ส่วนปาท่องโก๋รู้สึกว่าจะเป็นการเรียกชื่อสับสนของคนไทยกับขนมสองชนิดที่ขายในหาบหน้าและหาบหลัง โดยเรียกขนมในหาบหน้าตามที่คนขายร้อง ทั้งที่เป็นชื่อของขนมในหาบหลัง


กระทู้: อยากรู้จัง
เริ่มกระทู้โดย: นกข. ที่ 17 ธ.ค. 00, 18:22
เยอะมากครับคำจีนในภาษาไทย
อาน (ม้า) ก็ใช่ ลู่ (ทาง) ก็น่าจะใช่ มีรายงานวิจัยโดยอาจารย์ประพิณ มโนมัยวิบูลย์ คณะอักษรจุฬา เรื่องนี้โดยเฉพาะ ให้บัญชีไว้หลายคำ เชิญค้นต่อได้นะครับ
หมี่ (จีนกลางเรียกเมี่ยน - เมี่ยนเถียว = เส้นหมี่หรือเส้นก๋วยเตี๋ยว) เป็นตัวเส้นครับ แต่ที่เราเรียก บะหมี่ บะ คำหน้าแปลว่าเนื้อครับ (เช่นในคำ บะช่อ บะกูเต๋ - ซุปเนื้อติดกระดูกตุ๋น) เดิม บะหมี่ คงแปลได้ว่าหมี่เนื้อ ไม่ใช่เนื้อวัวนะครับ เนื้อสัตว์อะไรก็ได้ แต่ไทยเราเอามาเรียกแยกเองในชั้นหลังของเราเองว่า เส้นหมี่ เป็นเส้นขาว เส้นบะหมี่ เป็นเส้นเหลือง

ใครเคยเรียนเคมีเจอสูตรสารประกอบชนิดนี้ไหมครับ BaMeH2O...
เป็นสารผสมอย่างหนึ่ง เรียกชื่อสามัญว่า บะหมี่น้ำ...


กระทู้: อยากรู้จัง
เริ่มกระทู้โดย: นกข. ที่ 17 ธ.ค. 00, 19:46
เคยได้ยินว่า ปาท่องโก๋ของจริง แปลว่าขนม (คลุก) น้ำตาลทรายขาว ผมไม่ทราบชัดว่าคำนี้เป็นภาษาจีนสำเนียงไหน แต่พอจะลากโดยเดาไปหาจีนกลางได้ว่า ไป๋ถงกั่ว
หน้าตารสชาติเป็นอย่างไรไม่ทราบเหมือนกัน เมื่อผมเกิดนั้นปาท่องโก๋ก็กลายเป็นคำเรียกขนมอิ้วจาก้วยไปแล้ว ไม่เคยเห็นปาท่องโก๋ของจริง
ถ้าแม่นางแซ่หลินหรือคุณ Linmou โผล่เข้ามาเยือนเรือนไทยจากกรุงปักกิ่ง  รบกวนเล่าเรื่องตำนานอิ้วจาก้วยหน่อยสิครับ ที่เกี่ยวกับขุนนางกังฉิน ฉินไคว่ กับขุนพลงักฮุยหรือเยว่เฟยนะครับ ขึ้นเป็นกระทู้ใหม่ก็ได้
ผมเคยไปเที่ยวศาลเจ้าต้นกำเนิดปาท่องโก๋ เอ๊ย อิ้วจาก้วย ที่เมืองหางโจว เป็นศาลเจ้าระลึกถึงงักฮุย รายละเอียดเชิญแม่นางหลินมาเล่าครับ


กระทู้: อยากรู้จัง
เริ่มกระทู้โดย: ก.แก้ว ที่ 18 ธ.ค. 00, 08:01
คำภาษาจีนที่คนไทยรู้จักดีแล้วก็ไม่ต้องแปลเป็นไทยเลยก็ เจี๊ยะ ไงคะ แป๊ะเจี๊ยะ เกําเจี๊ยะ
รับรองพอบอกเจี๊ยะเมื่อไรก็พร้อมพรึ่บทันที
คำภาษาอังกฤษก็ ฟรี ไงคะใช้กันจนไม่รู้สึกว่าเป็นคำเทศแล้ว
ชอบสูตร  บะหมี่เอชทูโอ   ของคุณนกข.
จังเลยค่ะ


กระทู้: อยากรู้จัง
เริ่มกระทู้โดย: ส้มหวาน ที่ 20 ธ.ค. 00, 01:27
เคยสงสัยอยู่คำหนึ่ง เวลาพนักงานร้านอาหารเปิดประตูให้เราเข้าไปพร้อมโค้งศีรษะและกล่าวคำว่า เชิญครับ คำว่า  เชืญ คำนั้น ใช่มาจากภาษาเยอรมัน Bitte Schoen ที่พนักงานเปิดประตูชาวเยอรมันใช้อยู่หรือเปล่า จะว่าเขายืมไทยมาใช้ก็คงจะไม่ใช่ เพราะธรรมเนียมเปิดประตูต้อนรับเช่นนี้น่าจะมาจากตะวันตก หรือไม่ก็อาจจะเป็นการบังเอิญที่เสียงมันพ้องกันนะคะ


กระทู้: อยากรู้จัง
เริ่มกระทู้โดย: นกข. ที่ 20 ธ.ค. 00, 15:10
ฟันธงตอบลงไปได้เลยว่าแค่เสียงพ้องกันครับ ไม่ได้เป็นญาติอะไรกัน
เชิญ เรามีใช้มาเป็นนมเป็นนาน มีคำว่า อัญเชิญ เชื้อเชิญ แปลว่า invite
แต่ บิตเตอะเชิ่น ในภาษาเยอรมัน แปลว่า Please? ไม่ใช่หรือครับ?  แปลเอาความว่า ได้โปรด (เข้าประตู) เชิ่นของเยอรมันยังมีไปต่อสร้อยคำว่า ขอบคุณให้สุภาพขึ้นเป็น ดังเค่อะเชิ่น ด้วย เห็นได้ชัดว่า ตรงนี้ไม่เกี่ยวกับการเชิญ (invite) ในภาษาไทยแล้ว
มีเรื่องโจ๊กเล่าถึงคุณผู้หญิงคนหนึ่งที่เผอิญไม่รู้ภาษาอังกฤษ แต่ไปได้สามีที่ต้องทำงานกับฝรั่งมังค่าทั้งหลาย วันหนึ่งเกิดจะต้องมีงานเลี้ยงที่บ้าน คุณเธอก็เปิดพจนานุกรมศึกษาภาษาอังกฤษเร่งรัดด้วยตัวเอง แล้วก็ไปยืนอยู่ปากประตู ออกปากกับแขกว่า - อินไวต์ - อินไวต์ - (แปลของเธอว่า เชิญค่ะเชิญ...)
โจ๊กน่ะครับโจ๊ก อย่าคิดมาก ไม่ใช่เรื่องจริงครับ


กระทู้: อยากรู้จัง
เริ่มกระทู้โดย: ส้มหวาน ที่ 22 ธ.ค. 00, 00:11
คงจะเป็นเช่นนั้นค่ะ
มีโจกเหมิอนกันค่ะซึ่งเป็นที่มาของคำว่ามังคุดในภาษาอังกฤษ
ฝรั่งมาเมิองไทย เห็นมังคุด จึงถามว่า นี่อะไร แม่ค้าก็ตอบว่ามังคุค (สมัยนั้นแม่ค้ายังพูดภาษาอ้งกฤษไม่ได้ ) ฝรั่งฟังเป็น Mango ก็เลยบอก อ้อ Mango  แม่ค้าบอกว่าไม่ใช่ Mango  ..มังคุด  ..ฝรั่งก็ตอบ อ้อ Mango  .งแม่ค้ฉุน เลยบอกว่า  (ขอลอกคำแม่ค้าเลยนะคะ..หยาบหน่อยๆค่ะ) Mangoส้นตีน สิ  ... ฝรั่งจึงตอบ อ้อ!!  Mangosteen !!  

แค่โจ๊กค่ะ ฟังเขามาอีกที


กระทู้: อยากรู้จัง
เริ่มกระทู้โดย: ส้มหวาน ที่ 22 ธ.ค. 00, 00:15
อ้อ..แล้วทำไมต้องเรียก ฝรั่ง (ชาวต่าวชาต ผมสีน้ำตาล) ว่า ฝรั่งคะ


กระทู้: อยากรู้จัง
เริ่มกระทู้โดย: อักกา ที่ 22 ธ.ค. 00, 11:06
น่าจะมาจากสมัยสมเด็จพระนาราย์มหาราชที่ใช้เรียกชาวฝรั่งเศส ซึ่งเป็นชาติตะวันตกสุดท้ายที่เข้ามาติดต่อที่ก่อนที่นโยบายจะเปลี่ยนสมัยสมเด็จพระเพทราชาตัดขาดการค้าขายกับชาติตะวันตกด้วยความกลัวที่จะถูกเป็นอาณานิคมหรือถูกเปลี่ยนศาสนาในช่วงสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
ในช่วงปลายกรุงศรีอยุธยาคนไทยแทบไม่ได้เห็นชาวตะวันตกเลยและเมื่อมาเห็นชาวตะวันตกที่เข้ามาใหม่ในสมัยหลังเข้าจึงเรียกตามที่เคยเรียกครั้งสุดท้าย


กระทู้: อยากรู้จัง
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 22 ธ.ค. 00, 12:27
นักวิชาการบางท่านสันนิษฐานกันว่ามาจาก Francais ที่หมายถึงภาษาฝรั่งเศส
แต่เคยอ่านพบว่ามาจากภาษาโปรตุเกส ว่า ฟรังคี หมายถึงพวกฝรั่งทางเหนือของยุโรปอย่างฝรั่งเศสอังกฤษ  แต่ไม่สามารถตรวจสอบได้ค่ะ เพราะไม่รู้ภาษาโปรตุเกส
ใครทราบช่วยบอกด้วย
โปรตุเกสเป็นฝรั่งชาติที่เข้ามาก่อนฝรั่งเศส  สมัยก่อนเสียกรุงครั้งที่ ๑ ก็เข้ามาแล้ว  
ศัพท์จากโปรตุเกสตกทอดมาหลายคำ  เท่าที่รู้ ขนมปังที่ฝรั่งเศสออกว่า แปง  โปรตุเกสเรียก ปัง
คำว่า กากี ที่หมายถึงสีน้ำตาลอ่อนอย่างเครื่องแบบตำรวจ   มาจากภาษาโปรตุเกส แปลว่าทราย  
สีกากีคือสีน้ำตาลอย่างสีทราย  ไม่เกี่ยวอะไรกับนางกากีที่แปลว่ากาตัวเมียค่ะ


กระทู้: อยากรู้จัง
เริ่มกระทู้โดย: พวงร้อย ที่ 22 ธ.ค. 00, 13:52
ดิฉันเคยคุยกับเพื่อนนักประวัติศาสตร์มา  เค้าบอกว่า  ดินแดนประเทศฝรั่งเศสไปจนจรดอังกฤษสมัยก่อน  ครอบครองโดยพวกนอกศาสนาคริสต์  
เรียกว่า แฟร้งค์ (Frank) ค่ะ  มีมาเรื่อยจนถึงยุคกลางน่ะค่ะ  กว่าพวกคริสต์จากโรมันจะขจัดอิทธิพลพวกแฟร้งค์ไปได้อย่างสมบูรณ์  พวกแฟร้งค์นี่  
นอกจากจะรบกับพวกคริสต์จากโรมแล้ว  ก็ยังรบกับพวกมัวร์ คือแขกอาหรับ  แข่งกันแพ้แข่งกันชนะ  สมัยนั้นใครแพ้ก็ถูกจับไปเป็นทาส  
พวกแฟร้งค์นี่ก็มีเข้ามาเป็นทาสพวกอาหรับถึงในตะวันออกกลางมาแต่สมัยโบราณแล้ว  เข้มาถึงอาณาจักร พาร์เธีย(Parthia)
ที่ติดต่อค้าขายกับจีนด้วยซำ้  คำว่า แฟร้งค์ นี่ก็เป็นทั้งต้นกำเนิดของคำว่า France และ ฝรั่งที่เป็นสำเนียงอาหรับ  และเผยแพร่เข้ามาผ่านอินเดีย
ยังบ้านเรา  ก่อนสมัยพระนารายณ์อีกค่ะ  ดิฉันไปค้นดูตารางแผนผังประวัติศาสตร์  อาณาจักรแฟร้งค์ หรือ Frankish Empire
นี่รุ่งเรืองที่สุดประมาณปี  800 A.D. ค่ะ


กระทู้: อยากรู้จัง
เริ่มกระทู้โดย: อักกา ที่ 22 ธ.ค. 00, 13:55
ผมเคยสงสัยว่ากระดาษนี่จะมาจากภาษาโปรตุเกสหริือเปล่า เพราะอาจารย์สอนภาษาไทยเคยยกตัวอย่างว่ากระดาษเป็นคำไทย แต่ผมแย้งว่ากระดาษ สะกดด้วย ษ ไม่น่าจะเป็นคำไทยแท้ อีกทั้งไทยก็ไม่ได้เขียนบันทึกบนแผ่นกระดาษบางๆแต่จารลงสมุดข่อยหนาๆหรือใบลาน กระดาษน่าจะรับมาจากประเทศตะวันตกหรือไม่ก็จีน แต่คำจีนไม่เคยเห็นลงท้ายด้วย ษ สักที


กระทู้: อยากรู้จัง
เริ่มกระทู้โดย: ส้มหวาน ที่ 27 ธ.ค. 00, 19:35
ถ้าคำว่าฝรั่งมาจากคำว่า France ในภาษาฝรั่งเศส ก็แปลกดี เพราะ France เป็นชื่อประเทศ ส่วนFrancais(e) เป็นคำเรียกคนของประเทศนั้น ซึ่งรู้สีกคนไทยจะเรียกกลับกัน คนฝรั่ง(France) ประเทศ ฝรั่งเศส (francais(e) )


กระทู้: อยากรู้จัง
เริ่มกระทู้โดย: พวงร้อย ที่ 28 ธ.ค. 00, 13:57
Frank ไม่ใช่ France ค่ะ